Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 321วาริชาติ

321วาริชาติ

Published by Guset User, 2022-08-22 07:58:54

Description: 321วาริชาติ

Search

Read the Text Version

ปรากฎการณ์ของอากาศ

ลมและพายุฟ้าคะนอง

คำนำ สื่อประกอบการสอนปัจจุบัน มีความหลากหลาย ละน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้ลมบกลมทะเลเพื่อเป็นตัวอย่างใน การศึกษาค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเป็นหลักจึงพัฒนา และสร้างสื่อให้มี ความน่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สื่อประกอบการเรียนการสอน E-book เล่มนี้ จึงจัดทำเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสื่อเล่มนี้ได้สรุปเนื้อหาลมบกลมทะเล ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และเพิ่มภาพประกอบการบรรยายเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ มากยิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านผู้เรียนทุกท่าน ไม่มากก็น้อย ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือ e-book เล่มนี้ วาริชาต เรือนปัญญา

สารบัญ 1-8 9-10 หน้า/เรื่อง 11-13 14 ลมบกและลมทะเล 15 ลมและหุบเขา 16 ลมมรสุม ลมกรด แบบทดสอบ อ้างอิง

ลมบกและลมทะเล 1 ลมบก และลมทะเล เกิดจากความร้อนซึ่งแตกต่างกันระหว่างบริเวณทะเล และ พื้นดินตามชายฝั่งในตอนเช้าและตอนบ่าย เวลากลางวัน ผืนแผ่นดินตามชายฝั่ง ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณทะเล ดังนั้นอากาศใน บริเวณแผ่นดิน จึงมีความแน่นน้อยกว่า และความกดก็ลดลงด้วยจึงลอยตัวขึ้น ดัง นั้น อากาศเย็นตามบริเวณทะเลจะพัดเข้ามาแทนที่ ลมซึ่งพัดจากทะเลนี้เรียกว่า \"ลมทะเล\" (sea breeze) ซึ่งเกิดขึ้นในตอนบ่ายและเย็น นอกจากตามชายฝั่ง ทะเลแล้ว ลักษณะคล้ายลมทะเลนี้ อาจจะเกิดขึ้นตามทะเลสาบใหญ่ๆ ก็ได้ ลมทะเลพัดจากทะเลเข้าฝั่ง เวลากลางวัน

2 ส่วนมากลมบก (land breeze) นั้น เกิดขึ้นในทิศตรงกันข้ามกับ ลมทะเล และมีกำลังแรงน้อยกว่า กล่าวคือ ในตอนกลางคืน พื้นน้ำมี อุณหภูมิสูงกว่าผืนแผ่นดิน ดังนั้น อากาศในบริเวณทะเลซึ่งมีความ แน่นน้อยกว่าจะลอยตัวขึ้น อากาศเย็นในบริเวณแผ่นดินจะพัดออก ไปแทนที่ ลมบกพัดจากฝั่งไปยังทะเล เวลากลางคืน จากความรู้เรื่องลมบกลมทะเลนี้ ชาวประมงได้อาศัยกำลังของลมดังกล่าวเป็นเครื่องช่วย ในการแล่นเรือเข้าหรือออกจากฝั่งได้ดี ในการดำเนินอาชีพหาปลาของเขา

3 การดูดและคายความร้อนของดิน ( ทราย ) กับน้ำ เพราะลมทั้ง 2 ชนิดนั้นมีการเกิดที่ ทะเลที่มีส่วนบนบกที่เป็นชายหาดประกอบด้วยดินทรายเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เป็นน้ำ ทะเล ในตอนกลางวันดวงอาทิตย์แผ่รังสีและความร้อนมายังโลกของเรา ทุกสรรพสิ่งใน โลกก็จะได้รับความร้อน มีการดูดกลืนและสะท้อนกลับบางส่วน น้ำซึ่งมีความจุความร้อน จำเพาะสูงกว่าทราย ( ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ 4200 J kg-1 °C-1, ทราย 840 J kg-1 °C-1 ) จึงดูดความร้อนหรือเพิ่มอุณหภูมิได้ช้ากว่าทราย ทำให้อากาศเหนือ บริเวณชายหาดนั้นสูงกว่าบริเวณที่เป็นน้ำทะเล ในขณะที่เวลากลางคืนจะเป็นช่วงเวลา ของการคายความร้อน ทรายก็จะคายความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ จึงทำให้อากาศเหนือชายหาด นั้นเย็นกว่าบริเวณที่เป็นน้ำทะเลนั่นเอง

4 ลม เป็นการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวราบ เกิดจากความแตกต่างของ อุณหภูมิและความกดอากาศของ 2 บริเวณ สามารถอธิบายว่า อากาศในบริเวณที่มี อุณหภูมิสูงกว่า จะขยายตัวทำให้มีความหนาแน่นลดลงและเป็นผลให้ความกดอากาศ น้อยลงด้วย จึงลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าซึ่งมีความ หนาแน่นมากกว่า และมีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนที่เข้าแทนที่ การเคลื่อนที่ของ อากาศ จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดลม ความเร็วในการเคลื่อนที่ของลมขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศสูง และความกดอากาศต่ำของสองบริเวณ ถ้าความกดอากาศแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะ เป็นลมเอื่อย ๆ และถ้าแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ซึ่งจะขอกล่าวเพิ่มเติมพอ สังเขปเกี่ยวกับพายุที่พบในประเทศไทยที่เราควรรู้จักมี 2 ประเภท ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนอง ( Thunderstorm ) เกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง โดยเฉพาะบริเวณเส้นศูนย์สูตร พายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเภท นี้ โดยจะมาในรูปแบบของลมแรง ฝนตกหนักและติดต่อกันยาวนาน แต่ไม่ได้มีพายุลม หมุนให้เห็นชัดเจน พายุหมุนเขตร้อน ( Tropical Cyclone ) ซึ่งสามารถแบ่งย่อยตามความรุนแรงได้เป็น

5 ดีเปรสชั่น มีความเร็วสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุชนิด นี้ลมไม่แรงพอจะพังบ้านเรือน ทำให้เกิดฝนตกปานกลาง ถึงหนัก พายุโซนร้อน มีความเร็วลมไม่เกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุชนิดนี้จะเกิดลม กระโชกแรงพอที่จะพังบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ ฝนตกหนักมากขึ้นจนอาจ ก่อให้เกิดน้ำท่วมได้ ไต้ฝุ่น หรือเฮอร์ริเคน มีความเร็วลมสูงกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ความ รุนแรงก็เพิ่มระดับไปสู่ขั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง น้ำท่วมฉับพลันทันที บ้านเรือนปลิวหรือพังถล่มเสียหาย รวมถึงก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือได้ด้วย การเกิดลมจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของบรรยากาศของโลก โดยอากาศร้อนแถบ ศูนย์สูตรจะลอยตัวสูงขึ้นและเคลื่อนตัวไปยังขั้วโลกทั้งสอง แล้วอากาศเย็นที่ขั้วโลกไหล มาตามผิวโลกมาสู่แถบศูนย์สูตรถ้าหากว่าบรรยากาศของโลกไม่มีการเคลื่อนที่ อากาศ บริเวณขั้วโลกจะเย็นลงเรื่อย ๆ ขณะที่อากาศเหนือบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะร้อนขึ้น เรื่อยๆคนไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ลมยังช่วยให้เกิดการคมนาคม ทางน้ำ ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในการเล่นกีฬา เช่น ว่าว เรือใบ วินเสิร์ฟ เป็นต้น

6 ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณหนึ่งไปสู่บริเวณหนึ่ง สังเกตได้จากการไหวของต้นไม้ ลำดับสุดท้ายก็มาเข้าเรื่องที่เราต้องการนำเสนอคือ การเกิดลมบก และลมทะเล ผู้เขียนจะขอนำเสนอทีละประเภท ตามลำดับดังนี้ ลมทะเล ( Sea breeze ) ในเวลากลางวันพื้นดินจะดูดความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ทำให้อุณหภูมิเหนือ พื้นดินนั้นสูงกว่า อากาศขยายตัว และมีความกดอากาศต่ำกว่า อากาศเหนือพื้นน้ำที่ อุณหภูมิต่ำกว่า และมีความกดอากาศสูงจึงเคลื่อนที่เข้ามาแทน เรียกชื่อตามแหล่งที่ลม มาว่า ลมทะเล คือลมที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่งนั่นเอง ลมทะเลให้ความรู้สึกที่เย็นสบาย เมื่อเวลาเราไปเที่ยวทะเล และชาวประมงจะใช้ลมนี้ช่วยพัดเรือเข้าสู่ฝั่งอีกด้วย

ภาพแสดงกระบวนการเกิดลมทะเล 7 ลมบก ( Land breeze ) ส่วนในเวลากลางคืน พื้นดินจะคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ทำให้ อุณหภูมิเหนือพื้นน้ำนั้นสูงกว่า อากาศขยายตัว และมีความกดอากาศต่ำกว่า อากาศ เหนือพื้นดินที่อุณหภูมิต่ำกว่า และมีความกดอากาศสูงจึงเคลื่อนที่เข้ามาแทน ลมจึง พัดจากบกไปสู่ทะเล เรียกชื่อตามแหล่งที่ลมมาว่า ลมบก ชาวประมงใช้ประโยชน์จาก ลมบกในการพัดเรือออกจากฝั่ง เพื่อออกไปหาปลาในเวลากลางคืน

8 ภาพแสดงกระบวนการเกิดลมบก นอกจากตามชายฝั่งทะเลแล้ว ลักษณะคล้ายลมบกลมทะเลนี้ อาจจะเกิดขึ้นตามทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำใหญ่ ๆ ได้เช่นกัน

9 ลมภูเขาและลมหุบเขา ตามบริเวณภูเขาในขณะที่มีระบบลมอ่อน ลมมักจะพัดลงตามลาดของภูเขาในเวลา กลางคืน และพัดขึ้นลาดภูเขาในเวลากลางวัน ทั้งนี้เพราะในเวลากลางคืนตาม บริเวณภูเขาที่ระดับสูง มีอากาศเย็นกว่าตามที่ต่ำ ความแน่นของอากาศในที่สูง จึง มีมากกว่าในระดับต่ำ ลมจึงพัดลงตามเขา เราเรียกลมนี้ว่า ลมภูเขา (mountain wind or mountain breeze) ลมภลลูมเมภขภููเเาขขาาเเกเกิิกดดิดขึข้ขนึึ้้นนในใเใวนนลเาวกเลวลาลางกาคลืกนางลคืานงคืน

10 ลมหุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์แผ่รังสีให้แก่ภูเขา และหุบเขา ทำให้อุณหภูมิ ของระดับสูง หรือยอดเขาสูงกว่าอุณหภูมิตามที่ต่ำ หรือหุบเขา ความแน่นของอากาศใน ระดับสูงจึงน้อยกว่า และลอยตัวสูงขึ้น ฉะนั้นอากาศจากที่ต่ำ หรือหุบเขาจึงพัดขึ้นไป แทนที่ เราเรียกว่า ลมหุบเขา (valley wind or valley breeze) ตามธรรมดาแล้วลม ภูเขา (พัดลง) ย่อมมีความแรงกว่าลมหุบเขา (พัดขึ้น)

ลมมรสุม 11 หลักของการเกิดลมมรสุมก็เป็นเช่นเดียวกับหลักของการเกิดลมบก ลมทะเล หรือ ลมภูเขาและลมหุบเขา ซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิ ระหว่างบริเวณสองแห่ง แต่ทว่า ระบบของการเกิดลมมรสุมปกคลุมบริเวณกว้างใหญ่ กว่ามาก ซึ่งอาจจะกว้างยาวนับเป็นพันๆ กิโลเมตรได้ ความแตกต่างของอุณหภูมินี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศ คือ ในฤดูหนาว อุณหภูมิของ ทวีป จะเย็นกว่าอุณหภูมิของมหาสมุทร ความกดอากาศตามบริเวณแผ่นดิน จึงสูงกว่า ความกดตามบริเวณมหาสมุทร โดยเหตุนี้ ลมในระดับต่ำๆ จึงพัดจากทวีปไปสู่ มหาสมุทร ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของทวีปจะสูงกว่า อุณหภูมิของมหาสมุทร ความ กดอากาศตามบริเวณแผ่นดินจึงน้อยกว่าความกดอากาศตามบริเวณมหาสมุทร โดย เหตุนี้ ลมในระดับต่ำจะพัดจากมหาสมุทรไปสู่ทวีป การพัดของลมในฤดูหนึ่งๆ นี้ เรียกว่า \"ลมมรสุม\" แบบของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ในทิศตาม เส้นที่มีลูกศร) ซึ่งพัดผ่านประเทศไทยที่ระดับ ๖๐๐ เมตร เวลา ๑๗.๐๐ น. (เวลา ประเทศไทย) วันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๒

12 อิทธิพลของมรสุมมีมากที่สุดในทวีปเอเซีย บริเวณเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ณ บริเวณประเทศอินเดีย ปากีสถาน ไทย และแหลมอินโดจีน ใน ระหว่างฤดูหนาวผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียจะถูกปกคลุมด้วยอากาศเย็น และ มีความกดอากาศสูง ตั้งแต่ผิวพื้นไปจนถึงสูงประมาณ ๓ กิโลเมตร ส่วนตาม บริเวณมหาสมุทรอินเดียจะมีความกดอากาศต่ำ ในลักษณะนี้ จะมีลมพัดจากระบบ ความกดอากาศสูง ไปสู่ระบบความกดอากาศต่ำ ระบบของลมในบริเวณนี้มักจะพัด จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกกัน ว่า \"ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ\" (northeast monsoon) กระแสลมนี้ค่อนข้างเย็น และมี ความชื้นน้อย จึงมีฝนได้เพียงตามบริเวณชายฝั่งเท่านั้น เช่น ตามฝั่งอินโดจีน ส่วนบริเวณลึกเข้าไปในแผ่นดิน เช่น ตอนบนของประเทศไทย ฝนจะตกเป็น จำนวนน้อยมาก ฤดูนี้เรียกว่า ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ส่วนในฤดูร้อน ตั้งต้นจากเดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิบน ผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีนจะร้อนกว่า และมีความกดอากาศน้อยกว่าอากาศ ตามบริเวณพื้นมหาสมุทรอินเดีย ในลักษณะ นี้ลมจะพัดจากมหาสมุทรอินเดียไปสู่ แผ่นดินใหญ่ ลมนี้มักจะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือ เรียกว่า \"มรสุมตะวันตกเฉียงใต้\" (southwest monsoon) ลมชนิดนี้ค่อน ข้างชื้น และพัดหอบไอน้ำไปได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะลมมรสุมที่พัดผ่าน ประเทศไทยตอนบนขึ้นไป จะทำให้ฝนตกชุก ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม จึงอาจเรียกว่า เป็นฤดูฝนได้

13 แบบของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ในทิศตามเส้นที่มีลูกศร) ซึ่งพัดผ่าน ประเทศไทยที่ระดับ ๖๐๐ เมตร เวลา ๑๗.๐๐ น. (เวลาประเทศไทย) วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ กระแสลมอุ่น ซึ่งมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อพัดผ่านบริเวณภูเขาจะทำให้กระแสลมนี้ ลอยตัว ขึ้น ในการลอยตัวขึ้นนี้ อากาศก็จะขยายตัว และเย็นลง ไอน้ำจะกลั่นตัวตกลงมาเป็น ฝน และพายุฟ้าคะนองอย่างหนัก ตัวอย่างของปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้คือ ที่เมืองเชอราปุนจิ ใน ประเทศอินเดีย ได้เคยมีฝนตกมากถึง ๔๕๐ นิ้ว (๑๑,๒๕๐ มิลลิเมตร) ชั่วในระยะ เวลา เพียง ๔ เดือนเท่านั้น ลมมรสุมอาจจะเกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆ ของโลกได้ เช่น บริเวณตอนเหนือของทวีป ออสเตรเลีย บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และ ตะวันตกของทวีแอฟริกา เพราะในระหว่างฤดูร้อน เมื่อผืนแผ่นดินมีอุณหภูมิ และความกด อากาศต่ำ ลมจากทะเลจะพัดเข้าหาผืนแผ่นดิน แต่ปรากฏการณ์ของมรสุมตามบริเวณ ที่ ต่างๆ ของโลกดังกล่าว ยังไม่เด่นชัดเท่ากับปรากฏการณ์ของมรสุมตามบริเวณประเทศ อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงรายละเอียด ของมรสุมในประเทศไทยต่อไปในหัวข้อภูมิอากาศของประเทศไทย

ลมกรด 14 ลมกรด คือ แนวกระแสลมซึ่งมีความเร็วประมาณ ๒๐๐ ถึง ๔๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวกระแสลมกรด นี้ โดยมากพัดจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก และเป็นแนวโค้งคดเคี้ยวคล้ายๆ กับแม่น้ำโค้ง (meandering rivers) กระแสลมกรดส่วนมากอยู่ในระดับสูง ระหว่าง ๓ ถึง ๑๒ กิโลเมตร (ส่วนมากอยู่ ประมาณ ๙ ถึง ๑๐ กิโลเมตร) แนวกระแสลม กรดจะมีความลึก หรือความหนาเป็นสิบๆ กิโลเมตร กว้าง เป็นร้อยๆ กิโลเมตร ยาวเป็นพันๆ กิโลเมตร เกิดขึ้นในบริเวณละติจูด ๓๐ ถึง ๔๐ องศาเหนือ และพัด โค้งไปมาคล้ายแม่น้ำ จากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง กระแสลมกรดมีความสำคัญต่อการบินมาก ได้มีการค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งบิน และเห็นจุดหมายอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถไปใกล้จุดหมายนั้น ได้ เนื่องจาก บินสวนทิศกับกระแสลมกรดอยู่เรื่อย ซึ่งทำให้ความเร็วกับพื้นดิน (ground speed) ของ เครื่องบินลดลงไปมาก สมมุติว่า เครื่องบินสามารถบินได้ด้วยความเร็ว ๘๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอากาศซึ่งไม่มีลม ถ้าเครื่อง บินนี้ กำลังบินตามกระแสลมซึ่งมีความเร็ว ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้ความเร็วของเครื่องบินสูง ขึ้นเป็น ๑,๐๐๐ (หรือ ๘๐๐+๒๐๐) กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าเครื่องบินสวนทางกับลมนี้ ความเร็วของ เครื่องบินจะลดลงเหลือเพียง ๖๐๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เรื่องนี้เป็นปัญหาต่อความปลอดภัย และ เศรษฐกิจของบริษัทการบินมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมการบินมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว การประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ย่อมมีผลดีต่อเศรษฐกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะ ค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมงนั้นสูงมาก ถ้าบริษัทการบินสามารถประหยัดเวลาบินได้แต่ละครั้งแล้ว ในปี หนึ่งๆ สามารถจะประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความปลอดภัยได้มาก

สถานการณ์ปัญหา 15 เกดเป็นเด็กใต้ที่มีพ่อแม่เป็นชาวประมงและทุกๆค่ำพ่อของ เกดจะออกไปเดินเรือและจะกลับมาช่วงเช้าๆตลอดจึงทำให้เกดเกิดความ สงสัยว่าทำไมพ่อของเกดไม่ไปทำงานตอนกลางวันเกดจังไปถามแม่ว่าทำ ไปพ่อต้องไปทำงานแต่ตอนกลางคืนแล้วกลับมาเช้าหรือสายเลยไม่หนาว หรือคะ ทะเลมืดมากๆเลยไม่ใช่หรือคะแม่ แม่จึงตอบเกดไปว่าเป็นงานที่ ทำได้แต่กลางคืนจริงๆเพราะสะดวกกว่า แต่เกดก็ยังไม่หายสงสัยจึงไปหา ข้อมูลดู

ภารกิจ 15 1. เปรียบเทียบการเกิดลมบกลมทะเล และมรสุมจาก แบบจําลอง 2. อธิบายผลของลมบก ลมทะเล และมรสุมที่มีต่อสิ่งมี ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3. อธิบายผลของมรสุมต่อการเกิดฤดูของประเทศไทย

ฐานความช่วยเหลือ 15 ลมบก ลมทะเล และมรสุมเกิดจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและเหนือพื้นน้ำ จึงเกิด การเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปยัง บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ทั้งลมบก ลมทะเล และมรสุมมีหลัก การเกิดเช่นเดียวกันลมบก ลมทะเลเกิดบริเวณชายฝั่ง แต่ มรสุมเกิดขึ้นในบริเวณเขตร้อนของโลก ทั้งลมบกลมทะเล และมรสุมมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มรสุม ยังมีผลต่อการเกิดฤดูของประเทศไทย

บทสรุป 15 ลมบก และลมทะเล เกิดจากความร้อนซึ่งแตกต่างกันระหว่างบริเวณ ทะเล และพื้นดินตามชายฝั่งในตอนเช้าและตอนบ่าย เวลากลางวัน ผืนแผ่นดินตามชายฝั่งได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิสูง กว่าบริเวณทะเล ดังนั้นอากาศในบริเวณแผ่นดิน จึงมีความแน่นน้อย กว่า และความกดก็ลดลงด้วยจึงลอยตัวขึ้น ดังนั้น อากาศเย็นตาม บริเวณทะเลจะพัดเข้ามาแทนที่ ลมซึ่งพัดจากทะเลนี้เรียกว่า \"ลมทะเล\" (sea breeze) ซึ่งเกิดขึ้นในตอนบ่ายและเย็น นอกจาก ตามชายฝั่งทะเลแล้ว ลักษณะคล้ายลมทะเลนี้ อาจจะเกิดขึ้นตามทะเล สาบใหญ่ๆ ก็ได้ส่วนมากลมบก (land breeze) นั้น เกิดขึ้นในทิศ ตรงกันข้ามกับลมทะเล และมีกำลังแรงน้อยกว่า กล่าวคือ ในตอนกลาง คืน พื้นน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าผืนแผ่นดิน ดังนั้น อากาศในบริเวณ ทะเลซึ่งมีความแน่นน้อยกว่าจะลอยตัวขึ้น อากาศเย็นในบริเวณแผ่น ดินจะพัดออกไปแทนที่จากความรู้เรื่องลมบกลมทะเลนี้ ชาวประมงได้ อาศัยกำลังของลมดังกล่าวเป็นเครื่องช่วยในการแล่นเรือเข้าหรือออก จากฝั่งได้ดี ในการดำเนินอาชีพหาปลาของเขา

แบบทดสอบ 15 1.ลมบกส่วนมากเกิดขึ้นในทิศใดกับลมทะเล ก.ทิศเดียวกัน ข.ทิศเหนือ ค.ทิศใต้ ง.ทิศตรงข้าม 2.ลมภูเขาเกิดขึ้นในเวลาใด ก.ในเวลาเช้า ข.ในเวลาสาย ค.ในเวลาบ่าย ง.ในเวลากลางคืน 3.ลมกรดมีกระแสลมความเร็วประมาณกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก.200-400 ข.150-300 ค.200-400 ง.100-250 4.พายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีกี่ประเภท ก.1ประเภท ข.2ประเภท ค.3ประเภท ง.4ประเภท 5.พายุโซนร้อน มีความเร็วลมไม่เกินกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก.50 ข.100 ค.120 ง.118

16 อ้างอิง ทรูปลูกปัญญา. ประเภทของพายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/64517/-sciear-sci-สารานุกรมไทยสำหรับ เยาวชน ฯ เล่มที่ 20. ลมบกลมทะเล. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=4&chap=5&page=t4-5- infodetail05.html ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โลกและดาราศาสตร์. ลม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 จาก http://www.lesa.biz/earth/atmosphere/wind www.hk-phy.com. Specific Heat Capacity. Retrieved December 17, 2019 from http://www.hk- phy.org/contextual/heat/tep/temch02_e.html https://www.saranukromtha i.or.th/sub/book/book.php? book=4&chap=5&page=t4-5-infodetail05.html

ผู้จัดทำ นาย วาริชาต เรือนปัญญา รหัส 65181100321 คณะมนุษศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สาขา สังคมศึกษา



ปรากฎการณ์ของอากาศ ม.1


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook