Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

Published by วีณา ลิ้มสกุล, 2020-01-28 00:38:52

Description: 4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

Search

Read the Text Version

แผนการสอนเรือ่ ง กระบวนการเปลย่ี นแปลงของผสู้ งู อายุ จานวนชัว่ โมงท่ใี ชส้ อน 4 ชวั่ โมง วตั ถปุ ระสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ 1. บอกปจั จยั ที่มผี ลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผ้สู งู อายุได้ 2. อธบิ ายการเปลีย่ นแปลงด้านร่างกายของผู้สูงอายไุ ด้ 3. อธิบายการเปล่ียนแปลงด้านจิตสังคมของผสู้ งู อายุได้ 4. วางแผนการพยาบาลทตี่ อบสนองต่อการเปลย่ี นแปลงดา้ นร่างกายและจิตสงั คมได้ หวั ข้อบรรยาย 1. ปัจจัยทม่ี ผี ลตอ่ กระบวนการเปลย่ี นแปลงของผสู้ งู อายุ 2. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย 3. การเปลี่ยนแปลงดา้ นจติ สงั คม กจิ กรรมการเรียนการสอน 1. ผสู้ อนยกตวั อย่างกรณีศึกษาใหน้ ักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นเกย่ี วกับความสงู อายเุ พื่อเชอื่ มโยงสู่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผูส้ ูงอายุ 2. ผูเ้ รยี นนากรณศี ึกษาของตนเองมาวเิ คราะห์ปัจจยั ที่มีผลต่อกระบวนการเปลีย่ นแปลงของผสู้ งู อายุ 3. แบง่ นักศึกษากลุ่มละ 11 คน ศกึ ษาการเปล่ียนแปลงของผู้สูงอายุดา้ นร่างกายและจติ สังคม จานวน 10 เรือ่ ง และนาเสนอในสปั ดาหท์ ี่ 2 ของหนว่ ย อาจารย์ สรปุ การเปล่ียนแปลงท่ีสาคญั ของผสู้ ูงอายุ 4. มอบหมายให้ทาแบบฝึกหัดท้ายบท สอื่ การเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนกระบวนการเปลย่ี นแปลงของผู้สงู อายุ 2. Power point 3. หนังสอื การพยาบาลผ้สู ูงอายุ 4. วดี ิทัศน์ Health Me Please | การดแู ลผ้สู ูงอายุ ตอนที่ 5 30

การประเมินผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้* วิธกี ารประเมนิ ** สัดสว่ นของการประเมนิ 1.4 มคี วามรบั ผิดชอบต่อการ - การเขา้ ช้ันเรียน - การมสี ทิ ธิ์สอบ กระทาของตนเอง - การแสดงความคิดเหน็ ในชั้น - สอบกลางภาค 20% ข้อสอบปรนัย, อัตนัย 2.1 มคี วามรู้และความเข้าใจใน เรียน ผา่ นเกณฑ์ 60% สาระสาคญั ของศาสตรพ์ ื้นฐาน - สอบกลางภาค - แบบประเมนิ กรณีศึกษา ชวี ติ และพนื้ ฐานทางวิทยาศาสตร์ -แบบประเมินการทางาน เป็นทีม สขุ ภาพของผสู้ ูงอายุในภาวะปกติ - การนาเสนอ 2 % และเจ็บป่วย -กรณีศึกษารายบุคคลการ - แบบประเมนิ การนาเสนอ งาน 2.2 มีความรู้และความเข้าใจใน วเิ คราะห์ปจั จยั ที่มผี ลต่อ สาระสาคญั ของศาสตรท์ างวชิ าชพี กระบวนการเปล่ียนแปลงของ การพยาบาลผสู้ งู อายุ ระบบ ผูส้ ูงอายุ สขุ ภาพและปัจจัยท่ีมีผลต่อการ - การศึกษาด้วยตนเองจาก เปล่ยี นแปลงของสังคมและต่อ หนังสือ ส่ือต่าง ๆ ทาง ระบบสุขภาพ internet, website เก่ียวกบั 3.2 สามารถสบื ค้นและวิเคราะห์ การเปลย่ี นแปลงของผู้สูงอายุ ข้อมูลจากแหลง่ ข้อมลู ที่ ด้านรา่ งกายและจติ สงั คม ราย หลากหลาย กลมุ่ ๆละ 11 คน จานวน 10 3.4 สามารถคิดวิเคราะห์โดยใช้ เร่อื ง และนาเสนอในการเรยี น องค์ความรู้ทางวิชาชีพและใช้ สัปดาห์ที่ 2 ของหน่วย ประสบการณเ์ ปน็ ฐานฯ - การนาเสนอที่ใช้เทคโนโลยีที่ 4.2 สามารถทางานเป็นทีมใน หลากหลาย powerpoint, บทบาทผนู้ าและสมาชกิ ทีมใน role play, clip, VDO, etc. สถานการณ์ทแ่ี ตกตา่ งกัน 5.3 สามารถส่ือสารข้อมลู ภาษาไทยได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ ทัง้ การพดู การฟัง การอา่ น การ เขียนและการนาเสนอ รวมท้ัง สามารถอ่านวารสาร และตารา ภาษาองั กฤษอยา่ งเขา้ ใจ 31

หวั ข้อบรรยายเร่อื ง กระบวนการเปล่ียนแปลงของผ้สู งู อายุ บทนา ความชราเป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายที่มีการเปล่ียนแปลงอย่างต่อเนื่อง ความเร็วและระดับของการเปล่ียนแปลงขึ้นอยู่กับบุคลิกลักษณะเฉพาะการใช้ชีวิตของบุคคลที่ผ่านมา เช่น ปัจจัยด้านพันธุกรรม ส่ิงแวดล้อม อาหาร ภาวะสุขภาพ ความเครียด การเลือกใช้ชีวิต และองค์ประกอบอื่นๆ (Eliopoulos, 2010) นักพฤฒาวิทยาเชื่อว่ากลไกความชรามาจากกลไกภายในร่างกายมากกว่ากลไกภายนอก หรือปจั จยั อนื่ ๆ 4.1 ปัจจัยทีม่ ผี ลตอ่ กระบวนการสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ มีการอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้าน ทั้งปัจจัยท่ีมีผลต่อ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุภายใน และปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ภายนอก ผลการเปล่ียนแปลงด้านร่างกาย และด้านจิตสังคม 1.ปจั จัยภายใน หมายถงึ พฤติกรรมท่เี ก่ยี วข้องกบั ตัวผ้สู ูงอายุโดยตรง เชน่ ภาวะสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการ ประสบการณ์ชีวิต ความเช่ือและวัฒนธรรม ปัจจัยภายในเห ล่านี้เป็น ตวั กาหนดท่สี าคญั ต่อกระบวนการสูงอายุ เนอ่ื งจากความชราเปน็ กลมุ่ ของกระบวนการทางชีวภาพที่ถูกกาหนด โดยพันธุกรรม ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีความสูงอายุท้ังในระดับเซลล์ ระดับโมเลกุล และระดับอวัยวะ การศกึ ษาที่บง่ บอกถงึ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในทางท่ีเสื่อมลง และมีอัตราการเจ็บป่วยเพ่ิมขึ้นจากปัจจัย เช่น ภาวะโภชนาการไม่ดี การได้รับมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ความเครียด ปัจจัยภายในประกอบด้วย (ศิริพันธ์ สาสัตย์, 2554; ศิริรตั น์ ปานอทุ ยั , 2560) 1.1 สุขภาพและพฤตกิ รรมสุขภาพ การให้การพยาบาลตอ้ งตระหนักถึงคนและพฤติกรรมของ มนุษยเ์ ปน็ สาคญั ขอ้ มูลเก่ียวกับปจั จัยต่าง ๆ ทสี่ ง่ ผลกระทบต่อสถานการณ์ทางสังคม สรุปได้ดังนี้ พฤตกิ รรมของมนษุ ย์ = f (บุคลิกลกั ษณะของแตล่ ะบคุ คล + สถานการณท์ างสงั คม) F หมายถึง ความสัมพนั ธร์ ะหว่างบคุ ลกิ ลกั ษณะของแตล่ ะบุคคลและสถานการณ์ทางสงั คม บุคลิกลกั ษณะของแตล่ ะบุคคล หมายถงึ ลักษณะทางด้านรา่ งกาย และจติ ใจ สถานการณ์ทางสังคม หมายถึง สถานการณ์ท่ีเราอยู่ แบ่งออกเป็นโครงสร้างทางสังคม และ วฒั นธรรม 1.2 ประสบการณ์ชีวิต รูปแบบการดาเนินชีวิตท่ีผ่านมาส่งผลกระทบต่อกระบวนการสูงอายุ ทางชีวภาพ การเปลย่ี นแปลงของความเสื่อมลงของร่างกาย 1.3 ความเชื่อ (belief) ความเชื่อเป็นภาวะหรือปกตินิสัยของภาวะทางด้านจิตใจที่จะให้ ความเชอ่ื ถอื หรือมน่ั ใจในบุคคลหรือสง่ิ ของ 32

1.4 วัฒนธรรม เป็นสถาบันในสังคมท่ีทรงพลังท่ีคนจะรู้สึกเมื่อเข้าไปอยู่อาศัย เป็นบรรทัด ฐานทางสงั คม เปน็ มาตรฐานความประพฤติภายในสถาบนั และเป็นความเช่ือท้ังในส่ิงท่ีเป็นอยู่คืออะไร และสิ่ง ท่ีควรจะเป็น วัฒนธรรมจึงมีความสาคัญอย่างย่ิงในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม อาจมาจากความแตกต่างของตัวผู้สูงอายุเอง เช่น ความแตกต่างด้านระดับการศึกษา สังคม เศรษฐกจิ 2. ปจั จัยภายนอก หมายถึง ปจั จัยทีเ่ ก่ยี วข้องกับส่ิงแวดล้อมและวิถีชวี ิตรอบตัวผสู้ ูงอายุ เช่น ระดับการศกึ ษา เศรษฐานะ การเกษียณการทางาน การเกษียณการทางาน (Retirement) หมายถึง การท่ีต้องหยุดทางานที่เคยทาเป็นประจา เพราะ เหตุอายุครบกาหนดท่ีหน่วยงานนั้นกาหนดไว้ ดังน้ันจึงส่งผลกระทบด้านร่างกายน้อย แต่ส่งผลกระทบด้าน จติ ใจ จากความม่ันคงดา้ นรายได้ ความมีศกั ดิ์ศรีในตนเองที่สามารถพึ่งตนเองได้ การเกษียณจากงานแบบค่อย เปน็ ค่อยไปจะมีผลต่อการเปล่ียนแปลงไม่มาก แต่ถ้าเกิดขึ้นทันทีทันใดทาให้บุคคลปรับตัวไม่ทัน เกิดความรู้สึก สูญเสยี ได้ (วไิ ลวรรณ ทองเจริญ, 2554) ระยะของการปลดเกษยี ณ แบ่งได้ 6 ระยะ 1. ระยะ pre-retirement เป็นระยะก่อนเกษยี ณ ส่วนใหญ่มีความรสู้ ึกท่ีดตี อ่ การเกษียณ 2. ระยะ retirement รายทป่ี ลดเกษียณตามระยะเวลาที่กาหนดมักมกี ารเตรยี มตัวในดา้ น ตา่ ง ๆ 3. ระยะ disenchantment เป็นระยะทผี่ ิดหวงั และไมแ่ นน่ อน 4. ระยะ reorientation เป็นระยะปรับเปล่ยี นบทบาทใหม่ 5. ระยะ retirement routine เป็นระยะทีใ่ ช้ชวี ิตหลงั ปลดเกษยี ณอยา่ งเต็มท่ี 6. ระยะtermination of retirement 4.2 การเปลี่ยนแปลงดา้ นร่างกาย การเปล่ียนแปลงด้านร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือการเปลี่ยนแปลงภายนอกท่ี สังเกตเหน็ ได้ การเปลี่ยนแปลงดา้ นประสาทสมั ผสั และการเปลยี่ นแปลงอืน่ ๆ (ศริ พิ ันธ์ สาสตั ย์, 2554) 1. การเปล่ียนแปลงภายนอกท่ีสงั เกตเหน็ ได้ (external signs of physical aging) ได้แก่ ผวิ หนัง ผมและการสรา้ ง ต่อมไขมันและตอ่ มเหง่อื เลบ็ มอื เลบ็ เท้า ส่วนสูงและน้าหนัก (ภาพที่ 4.2.1) 2. การเปลีย่ นแปลงดา้ นประสาทสมั ผัส (sensory changes) ได้แก่ สายตา (sight) การได้ยิน (hearing) การสมั ผสั และการรบั ความรสู้ ึก (touch and sensation) การรบั กลนิ่ (smell) การรับรส (taste) 3. การเปลีย่ นแปลงอ่ืน ๆ (other changes) ได้แก่ การเปล่ยี นแปลงระบบกระดูกและกลา้ มเน้ือ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ระบบ ประสาทสว่ นกลาง ระบบตอ่ มไรท้ ่อ และการควบคมุ อุณหภูมขิ องรา่ งกาย 33

ภาพที่ 4.2.1 การเปลี่ยนแปลงภายนอกทีส่ งั เกตเห็นไดข้ องผู้สูงอายุ ทมี่ า Eliopoulos, 2010. Gerontological Nursing: p50 1. การเปลีย่ นแปลงภายนอกทส่ี ังเกตเห็นได้ (external signs of physical aging) ผิวหนงั บาง ลง เซลล์ผวิ หนังลดลงความยดื หย่นุ ของผิวหนงั ไมด่ ี ผวิ หนังเหี่ยวย่น และมรี อยหย่อน ไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทา ใหร้ ่างกายทนตอ่ ความหนาวเยน็ ไดน้ อ้ ยลง ต่อมเหงื่อเสียหน้าท่ีไม่สามารถขับเหงื่อได้ ต่อมไขมันทางานน้อยลง ผิวหนังแห้งและแตกง่าย สีของผิวหนังจางลงเพราะเซลล์สร้างเม็ดสีทางานลดลงแต่มีรงควัตถุสะสมเป็นแห่งๆ ทาให้เป็นจุดสีน้าตาลทั่วไป ผมร่วง เปล่ียนเป็นสีขาว หรือหงอก และจานวนลดลงทาให้ผมบาง หัวล้าน ขน ตามรา่ งกายร่วงหลดุ งา่ ย ทีเ่ ห็นชัด คือ ขนรักแร้ ท้ังน้ีเน่ืองจากต่อมรูขุมขนทางานน้อย เล็บแข็งและหนาขึ้น สี เลบ็ เข้มขน้ึ ขาดความมันและความยดื หย่นุ ความสูงลดลง 2. การเปลย่ี นแปลงดา้ นประสาทสมั ผัส ระบบสมั ผัสพิเศษประกอบดว้ ย ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนงั ซ่งึ เม่อื ยา่ งเขา้ สูว่ ยั สงู อายกุ ม็ กี ารเปลย่ี นแปลง กล่าวคอื ตา การเสื่อมของตาทาให้ผู้สูงอายุมีปัญหาความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันและความสุข สบายอ่ืน ๆ การเปลี่ยนแปลงเร่ิมต้นต้ังแต่หนังตาบนซึ่งปกติจะบางไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิด หนังตาหย่อนได้ง่าย หนังตาล่างจะบวม (senile elastosis หรือ puff lids) เน่ืองจากไขมันท่ีอยู่ใต้ลูกตาย่ืน ออกมาเพราะผนงั กน้ั ไมแ่ ขง็ แรง ดวงตาผู้สงู อายไุ มม่ ปี ระกายสดใสเพราะน้าหลอ่ เล้ียงตาน้อยลง เนื่องจากเซลล์ กลอบเล็ท (globlet cell) ทางานน้อยลง ถ้าอยู่ในที่อากาศแห้งจะรู้สึกเคืองตา บริเวณกระจกตามีวงขาว 34

เกิดขึ้น หรือรองวงกลมถัดจากขอบนอกของตาดา เรียกว่าอาร์คัสสซีไนลิส (arcus senilis) กล้ามเน้ือม่านตา (iris) หย่อนทาให้รมู า่ นตาเลก็ กว่าวัยหนุ่มสาวเรียกว่า ซีไนล์ไมโอซีส (senile miosis) รูม่านตาหดและขยายช้า จงึ ทาให้ผู้สงู อายปุ รบั เปลี่ยนการมองวตั ถซุ ึ่งอยใู่ นทีม่ ืดแล้วมองในท่ีสวา่ งหรือมองในที่สว่างแล้วกลับไปมองในท่ี มืด เช่น การเปดิ ปดิ ไฟบ่อย ๆ ทาให้ไมส่ ามารถปรับสายตาให้มองเหน็ ชัดไดภ้ ายในช่วงเวลาสั้น ๆ ผู้สูงอายมุ กั สายตายาว เร่ิมมีสายตายาวเมื่ออายุ 40 ปี (Eliopoulos, 2010) การปรับสายตาจากการ มองใกล้เป็นมองไกล หรือมองไกลแล้วมองใกล้ได้ไม่ดี มองวัตถุที่เคล่ือนไหวเร็วๆ จะรู้สึกเวียนศีรษะเพราะการ ทรงตัวในผู้สูงอายุ ต้องอาศัยการมองเห็น เลนซ์ตามักขุ่นทาให้ทึบแสงมากข้ึน และมีสีเหลืองเพ่ิมข้ึน เม่ือแสง ผ่านเลนซ์ตาลักษณะน้ีจะแยกความแตกต่างของสีน้าเงิน เขียว และม่วง ได้อย่างชัดเจน (Eliopoulos, 2010) ผสู้ ูงอายจุ ะมองเห็นวัตถุสีแดงและสีเหลืองได้ชัดเจนดีมาก เน่ืองจากเลนซ์ตาท่ีกลายเป็นสีเหลืองมากข้ึนนี้ยอม ให้แสงสีเหลืองและสีแดงผ่านได้ดี การที่เลนซ์ตาขุ่นคือต้องใช้แสงสว่างมากข้ึน เพื่อการมองที่ชัดเจนและการ มองเห็นเก่ียวกับความลึกลดลงเน่ืองจากการตอบสนองของจอตาแสงที่ไปกระตุ้นถูกขัดขวาง จึงทาให้ ความสามารถในการเพ่งมอง (light accumulation) ลดลง และถ้าเลนซ์ตาขุ่นมากจนมีลักษณะทึบแสง เรียกวา่ เป็นต้อกระจก ลานสายตาแคบลงมองเห็นสิ่งรอบข้างไดล้ ดลง เกิดจากเลือดไปเลยี้ งจอตาน้อยลงทาใหม้ ีการเส่ือมของ จอตา เวลาเดินอาจชนสิ่งของท่ีอยู่ข้างทางเพราะมองไม่เห็น แต่ภาพท่ีมองวัตถุข้างหน้าค่อนข้างจะชัดเจน แต่ ถ้ามีความเสื่อมของแมกคูล่า (macular) ทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกตามัวลงอย่างมาก อ่านหนังสือหรือใช้สายตาไม่ได้ แตย่ งั สามารถเดนิ ได้ ตาจะไมส่ ามารถทางานที่ละเอียดได้ ทเี่ ป็นเชน่ น้ีเพราะจอตาส่วนแมกคูล่า มีเลือดไปเลี้ยง น้อยลง หู การเปลี่ยนแปลงของหูช้ันนอก มีขี้หูมากข้ึน หูช้ันกลางมีการเปลี่ยนแปลงของแก้วหู คือ จะแข็ง และฝอ่ สว่ นหูช้นั ในและหลงั โฆเคลีย (cochlea) มีการตายของเซลล์ขนตรงบรเิ วณก้นหอย ซ่ึงเกิดจากการขาด เลือดไปเลี้ยงร่วมกับมีของเหลว (endolymp) อยู่ภายในก้นหอยมากขึ้น ทาให้ผนังบวมกดดันเซลล์ขนจนใน ท่สี ุดเซลล์ขนตาย กอ่ นเซลลต์ ายอาจทาใหผ้ ู้สูงอายุรู้สึกเหมือนมีเสียงในหู เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน การได้ยิน ลดลงซึ่งจะสูญเสียการได้ยินเสียงท่ีมีความถี่สูงมากกว่าเสียงที่มีความถี่ต่า การสูญเสียการได้ยินทาให้ผู้สูงอายุ ถูกตัดขาดจากสิ่งแวดล้อม เมื่ออยากได้ยินเสียงอาจต้องขอร้องให้ผู้พูดพูดเสียงดัง อาจทาให้เข้าใจผิดว่าเป็น การพดู ไมเ่ พราะได้ หรือลกู หลานอาจแสดงอาการหงุดหงิด เมือ่ ผ้สู งู อายุฟังไม่รเู้ ร่ือง ล้ิน จานวนปุ่มรับรส ท่ียังทางานได้ลดลงจากเดิม ทาให้การรับรสได้ไม่ดี โดยเฉพาะรสหวาน ซึ่งมีปุ่ม รับรสอยบู่ รเิ วณปลายล้ินจะสูญเสียก่อน ทาให้ผ้สู งู อายตุ ้องรับประทานอาหารท่ีหวานจัดขึ้น จึงจะรู้สึกว่าหวาน ชื่นใจ ต่อมาจะสูญเสียการรับรสเค็ม ก็มีส่วนทาให้ผู้สูงอายุชอบอาหารที่มีรสเค็มจัดข้ึนเช่นกัน ปุ่มรับรสท่ีเสีย ช้าท่ีสุด คือ ปุ่มรับรสขมและรสเปรี้ยว แต่ผู้สูงอายุก็รับประทานอาหารที่มีรสขม เช่น ทานมะระได้ดีกว่าวัย หนุ่มสาว จากการท่ีปุ่มรับรสเหลือน้อยลงประกอบกับมีน้าลายในปากน้อยลง และจมูกรับกลิ่นได้ลดลง ทาให้ ผสู้ ูงอายเุ บ่ืออาหารได้ง่าย 35

จมูก ความสามารถในการรับกล่ินของผู้สูงอายุลดลง เนื่องจากจานวนใยประสาทรับกลิ่น มีจานวน น้อยลง ความสามารถในการรับกล่ินลดลงนี้ทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่ปลอดภัยเม่ือต้องอยู่คนเดียวเพราะอาจไม่ ว่องไวต่อกลิ่น ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายจากไฟไหม้ กล่ินแก็สร่ัว หรือกล่ินอันเกิดจากไฟช็อตก็ได้ นอกจากนี้ ผู้สงู อายบุ างรายอาจจะรบั ประทานอาหารทบี่ ูดโดยไม่ทราบเพราะทง้ั จมูกดมกลน่ิ และล้ินรบั รสเสียไปก็ได้ 3. การเปล่ยี นแปลงอื่น ๆ (other changes) ระบบกระดูกและกล้ามเนอ้ื การเปล่ียนแปลงเร่ิมตงั้ แตอ่ ายุ 30-40 ปี โดยทกุ 10 ปี ผู้หญิงจะสญู เสียเนอื้ กระดกู ประมาณ 8% ส่วนผู้ชายประมาณ 3% (Wold, 2008) กระดูกมีการเปล่ียนแปลงโดยการสลายตัวของแคลเซียมออกจาก กระดูกมากขึ้นการขาดวิตามินดี เพราะผู้สูงอายุมักไม่ชอบแสงแดดจะอยู่แต่ภายในบ้าน การกินอาหารไม่ เพียงพอเพราะมีปัญหาเรื่องการเค้ียว โอกาสขาดวิตามินดีจึงมีสูง อายุ 60 ปีข้ึนไปหมอนรองของกระดูกสัน หลังมักจะกรอ่ นและแบนลงมาก ทาให้หลงั โกงได้ มกี ารสูญเสียเนื้อกระดูกทัง้ กระดูกช้ันนอกที่แข็ง และชั้นในท่ี เป็นรูพรนุ ผู้หญิงทอี่ ยใู่ นวัยหมดประจาเดอื นแล้ว เม่ือเกิดอุบัติเหตุแม้เพียงเล็กน้อย เช่น การหกล้ม ก็จะทาให้ กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลังท่ีมีปริมาณของกระดูกชั้นในเป็นรูพรุนมากกว่ากระดูกท่อนอื่น ซึ่ง นาไปสู่อาการหลงั ค่อมไดใ้ นทส่ี ุด อาจพบกระดกู หกั ไดง้ ่ายที่กระดูกข้อสะโพก และข้อมอื สาเหตทุ ่เี น้ือกระดกู ลดลงข้ึนกับ 2 ปัจจัย 1. จานวนมวลเนอ้ื กระดกู ท่ีสะสมไว้เดิมสูงสุด ซ่ึงขึ้นกับ เชื้อชาติ หรือกรรมพันธุ์ ตลอดจนการสะสม กระดูกในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น ผู้ท่ีมีพฤติกรรมในการส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูกท่ีดีตั้งแต่วัยน้ี ก็จะมีมวล เนอ้ื กระดูกตั้งต้นท่มี ากกว่า โอกาสเกดิ โรคกระดูกพรนุ เมอื่ เข้าสวู่ ัยสูงอายุจึงนอ้ ยกวา่ 2. การสญู เสียเนอื้ กระดกู ความเสอ่ื มจากความชรา ทาให้การสรา้ งวติ ามินดจี ากไตลดลง โดยวิตามินดี จะทาหน้าที่ดูดซึมแคลเซียมจากในลาไส้และไต เก็บสะสมไว้ในเน้ือกระดูกต่อไป การที่เซลล์ท่ีสร้างกระดูก ลดลง เมื่อมีกระดูกหักกระบวนการซ่อมแซมจะทางานช้าลง กระดูกมีการเปล่ียนแปลงตลอดเวลา เส้นผ่าน ศูนย์กลางของกระดูกกว้างขึ้น เนื่องจากมีการทาลายกระดูกบริเวณแนวกลางของกระดูก การเปลี่ยนแปลง รวมถึงปัจจัยทางด้านฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มีผลต่อเซลล์ออสทีโอคาส (osteoclast) ทางานมากขึ้น จึงมีการ เคลื่อนยา้ ยแคลเซียมออกจากกระดูกมากขนึ้ นัน่ คือ การทางานของ osteoclast ลดลง ข้อ มีการเปลี่ยนแปลง คือ จากการท่กี ระดกู ต้องรับนา้ หนักตัวคอ่ นขา้ งมาก ส่งผลใหค้ วามยดื หยุ่นของ ข้อลดลง การทาหน้าท่ีของเส้นใยคอลลาเจนสูญเสียไป ทาให้สารอาหารท่ีได้รับจากน้าหล่อเลี้ยงข้อผ่านไป เลีย้ งเซลลท์ ่ีอยู่ลึกกว่าได้ยาก ทาให้การสร้างสารโปรตีนและคอลลาเจนลดลง เป็นส่วนสาคัญต่อความยืดหยุ่น ของบรเิ วณข้อ เกิดการขาดและหลดุ ออกจากผิวกระดกู ทาให้กระดกู อ่อนทีห่ ุ้มบรเิ วณขอ้ บางลง ส่วนปลายของ ข้อ มีการตอบสนองด้วยการสร้างไฟโบรบาส (fribroblast) มีการสร้างกระดูกใหม่ข้ึนมาทดแทนบริเวณของ กระดูก ทาให้ช่องว่างระหว่างข้อลดลง เกิดการเสียดสีของกระดูกขณะเคล่ือนไหว ถ้ากระดูกเจริญเติบโตมาก จะเกิดการเชอ่ื มกันระหวา่ งขอบกระดกู เป็นสาเหตุทาให้เกดิ ขอ้ ยึดตดิ ตาม 36

กล้ามเน้ือ ผู้สูงอายุที่สูญเสียน้าออกจากร่างกายจานวนมาก ได้แก่ ผู้สูงอายุได้รับยาขับปัสสาวะ กอ่ ใหเ้ กดิ การสญู เสยี โปแทสเซียมในเซลลจ์ ากการสูญเสยี นา้ อยา่ งรวดเร็ว มีผลทาใหก้ ารหดรัดตัวของกล้ามเน้ือ ลดลง ประกอบกับการที่กล้ามเน้ือน้ันไม่ได้ถูกใช้งานและขาดสารอาหารร่วมด้วย จึงมีผลให้เหนื่อยง่ายและ อ่อนแรง แรงหดตัวของกล้ามเนื้อลดน้อยลง เนื่องจากปริมาณกล้ามเน้ือโดยรวมลดลง การไม่เคลื่อนไหว ร่างกายเป็นเวลานานๆ ทาให้เกิดการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ การบาบัดฟ้ืนฟูเพ่ือให้มีแรงหดตัวดีข้ึนได้ เช่น การ ฝกึ ยกขาในท่าเข่าเหยยี ดตรง จะเพิม่ กาลังของกล้ามเน้ือต้นขา เมื่อร่างกายเสียสมดุลจะทาให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ ง่าย เพราะกล้ามเน้ือไม่สามารถหดตัวเพ่ือปรับการทรงตัวได้ทัน มีการใช้งานน้อยลงและพบการขาด โปแทสเซียมในกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ แนะนาให้ผู้สูงอายุออกกาลังกาย เพ่ือช่วยคืนความแข็งแรงของ กลา้ มเน้อื รวมทง้ั เพ่มิ การกนิ อาหารที่มโี ปแทสเซียมสงู และดม่ื น้าใหม้ ากๆ ระบบประสาท เนื่องจากเซลลป์ ระสาทมจี านวนทลี่ ดลง สง่ ผลใหเ้ กดิ ภาวะสมองเสอ่ื ม ความรสู้ กึ ชา้ การเคล่อื นไหวชา้ ความสัมพันธ์ระหว่างการทางานของสมอง กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ผิดปกติไป การทรงตัวแย่ลง มีอาการสั่นตาม รา่ งกาย บางรายอาจมีภาวะหลงลมื ได้ง่าย ด้านโครงสร้าง เซลล์สมองลดลง 1% ทุกปี เซลล์สมองบริเวณซีรีบรัมคอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) ลดลงประมาณ 20% (Eliopoulos, 2010) การที่สมองมีน้าหนักลดลงเช่ือว่าเกิดจากการสูญเสียของเซลล์ ประสาท ปริมาตรของสมอง การฝ่อลีบของเนื้อสมองเกิดเป็นลักษณะของการสูญเสียเซลล์ประสาท จานวน ของเซลล์ประสาทสมอง มีจานวนลดลง โดยจะพบว่าลักษณะเซลล์ประสาทใหญ่จะฝ่อลีบลงมากกว่าเซลล์ ประสาทท่ีมีขนาดเล็ก นอกจากน้ียังพบว่า จานวนของเดนไดรต์ที่ลดลง ซ่ึงในผู้สูงอายุท่ีได้รับการกระตุ้นจาก ส่ิงแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา พบว่าการสูญเสียของเซลล์ของเดนไดรต์น้อย สาหรับการทางานของ synapses มี ความสามารถลดลง ด้านชวี ภาพ การเปลี่ยนแปลงทางด้านชีวภาพของสมองพบว่า สารเคมีท่ีเกี่ยวข้องกับสารส่ือประสาท (neurotransmitter) ไดแ้ ก่แคทีโครามีน (catecholamines) และซโี รโตนิน (serotonin) ซึง่ องค์ประกอบของ สาร catecholamines ประกอบด้วยโดปามนิ (dopamine) นอร์อิพิเนพฟิน (norepinephrine) อิพิเนพฟิน (epinephrine) สารท้ังหมดน้ที าหนา้ ท่ีในการควบคุมและปรับหน้าท่ีของอวัยวะภายใน อารมณ์และการต่ืนตัว ส่วน serotonin จะเก่ียวข้องกับกระบวนการในสมองหลายๆอย่าง ได้แก่ การด่ืมน้า การหายใจ การทางาน ของหัวใจ การควบคุมอุณหภูมิ การนอนหลับ และความจา จากการเปลี่ยนของสารสื่อประสาทดังที่กล่าวใน ผู้สูงอายุพบว่า ความสามารถของระบบประสาทในการสร้างสารท้งั 2 ตวั นี้ ลดลง ดา้ นสรรี วิทยา เลอื ดที่ไปเลยี้ งสมองและขบวนการเมทาบอลิซึม ปริมาณของเลือดท่ีไหลเวียนในสมอง ลดลงอยา่ งชา้ ๆ ตามอายทุ ่เี พม่ิ มากข้ึน การเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายและทางสติปัญญา พบว่า ในเร่ือง การสนทนาและทักษะการใช้ภาษายังคงต่อไป ยกเว้นว่า มีภาวการณ์เจ็บป่วยเกิดขึ้นทางสมอง สาหรับ ความสามารถทางสติปัญญาในด้านการคิดเชิงซ้อน ได้แก่ การคานวณ การวิเคราะห์เชิงเหตุเชิงผล รวมถึง ความจา จะคอ่ ยๆลดลงตามอายุท่ีเพ่ิมมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเริ่มพบเม่ือภายหลัง อายุ 20 ปีเป็น 37

ต้นไป ความสามารถในด้านการใช้ความเร็ว ความสามารถของการรับสัมผัสการรับรู้ช้าลง ดังน้ันในการทา กิจกรรมต่างๆ จึงตอ้ งใช้เวลาขึ้น ผู้สงู อายยุ งั ตอ้ งมีกจิ กรรมโดยมผี ลการศกึ ษาผู้สูงอายุท่ีมีกิจกรรมต่างๆ จะเพิ่ม ความสามารถของสมอง ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเส่ือมของผู้สูงอายุได้ (Verghes, 2003) นอกจากนี้มกี ารเปลีย่ นแปลงเกี่ยวกับแบบแผนการนอนหลบั ระบบหัวใจและหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดข้ึนเป็นผลจาก พยาธิสภาพของโรค วัยสูงอายุขนาดของหัวใจไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน หัวใจท่ีโตสัมพันธ์กับโรคหัวใจ อาจมีหัวใจห้องล่างซ้ายโตขึ้นเพียงเล็กน้อย หลอดเลือดเอออร์ตา (aorta) ขยายตัว และมีความยืดหยุ่นลดลง ล้ินหัวใจเคล่ือนไหวช้าลงจากการมีพังผืดทาให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท นอกจากน้ีการส่งสัญญาณคล่ืนไฟฟ้าอาจ ผิดปกติจากการที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกรบกวนทาให้การเต้นของหัวใจหัวใจช้าหรือไม่สม่าเสมอ (Eliopoulos, 2010) ทาให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มทาให้เกิดความดันซีสโตลิกเพิ่มสูงข้ึน มีความไวในการ ตอบสนองตอ่ การหดตวั ของหลอดเลือดส่วนปลายและการเพิม่ อัตราการเตน้ ของหัวใจลดลง ภาพที่ 4.2.2 การเปล่ียนแปลงของระบบหวั ใจและหลอดเลอื ดในวัยสูงอายุ ทีม่ า Eliopoulos, 2010. Gerontological Nursing: p52 การเปล่ียนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือดแสดงออกหลายทาง (ภาพที่ 4.2.2) การเปลีย่ นแปลงของกล้ามเนื้อหวั ใจมปี ระสทิ ธิภาพและการบีบตัวลดลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ ต่อ 1 นาทีลดลง ระยะการหดรัดตัวและระยะเวลาคลายตัวของหัวใจยาวนานข้ึน วงรอบของการการบีบตัว และคลายตัวท่ีสมบูรณ์ต้องการเวลานานขึ้น ดังน้ันการตอบสนองที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและ หลอดเลือด ผ้สู ูงอายตุ ้องเรยี นรูท้ จ่ี ะปรับให้สะดวก โดยการขึ้นลิฟตแ์ ทนการขึ้นบันได น่ังรถแทนการเดินนานๆ และพักการทากิจกรรม 38

ระบบหายใจ ปอดจะยืดหยุ่นน้อยลง หลอดลมแข็งตัวและมีพังผืดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจึงเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ เพียงพอ ต้องชดเชยด้วยการหายใจให้เร็วข้ึน และหายใจแบบตื้นๆ ซึ่งผู้สูงอายุมักจะมีปอดท่ีไม่แข็งแรง การ หายใจตื้นๆ นี้มีส่วนทาให้ผู้สูงอายุติดเช้ือทางเดินหายใจได้ง่าย โปรตีนในปอด จะมีการเช่ือมไขว้ทางเคมีเพิ่ม มากข้ึนทาให้การยืดหยุ่นลดลงการการขยายตัวหดตัวทาได้ยากข้ึน หลังโก่งและการสะสมของแคลเซียมของ คอสทลั คาร์ทเิ ลท (costal cartilage) รว่ มกับการขยายตัวและสูญเสียไป การสะสมแคลเซียมในหลอดคอและ หลอดลมใหญ่ทาให้มีพื้นที่ไม่ใช้งานเพ่ิมมากขึ้น ทาให้มีการปิดทางการหายใจมากกว่าปกติ เน้ือปอดลดลงราว ร้อยละ 20 หรือลดลงประมาณ 2.7 ตารางเมตร ในทุก 10 ปี (ภาพท่ี 4.2.3) ภาพท่ี 4.2.3 การเปลย่ี นแปลงของระบบทางเดนิ หายใจในผู้สูงอายุ ท่ีมา Eliopoulos, 2010. Gerontological Nursing: p51 กระดกู สนั หลังทเ่ี ป็นแกนหลักของทรวงอกบางลงจากภาวะกระดูกพรุน ซ่ึงพบได้เสมอในผู้สูงอายุ ทา ให้กระดกู สันหลงั คดงอ ขณะเดียวกนั กระดูกซ่ีโครงยุบห่อตัวเข้าหากัน ทาให้การยืดขยายของทรวงอกขณะท่ีมี การหายใจเข้าไม่เต็มที่เท่าที่ควร จึงต้องอาศัยกระบังลมและกล้ามเน้ือหน้าท้องช่วยในการหายใจเพิ่มจาก กล้ามเน้ือหน้าอก เมื่อผู้สูงอายุท่ีได้รับการผ่าตัดช่องท้อง จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจหลังผ่าตัดได้ ง่าย ขณะเดียวกันการหายใจออก ซึ่งต้องอาศัยการดีดตัวกลับของเนื้อเย่ืออีลาสตินในปอดท่ีเสื่อมลง ทาให้มี อากาศหลงเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติ ทาให้การแลกเปล่ียนก๊าซออกซิเจนระหว่างอากาศท่ีหายใจเข้ากับ เลือดท่ีไหลเวียนมารับออกซิเจนท่ีปอดด้อยประสิทธิภาพลง ระดับออกซิเจนในเลือดแดงจึงลดต่ากว่าคนวัย หนุ่มสาว 39

เน้ือปอดจะสูญเสยี ความยืดหยุ่น เมอ่ื รว่ มกบั สภาวะท่ีทรวงอกขยายตวั ไมไ่ ดเ้ ตม็ ที่ ทาให้การ ไหลเวียนของก๊าซในปอดไม่ดีเท่าที่ควร เกิดการค่ังของก๊าซในปอด ส่วนที่ไม่มีการแลกเปล่ียนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากน้ันผนังท่ีเป็นทางผ่านของการแลกเปลี่ยนก๊าซท้ัง 2 หนาตัวข้ึน ทาให้ ผู้สงู อายทุ นตอ่ สภาวะที่ต้องการออกซิเจนเพิ่มขึน้ ไม่ไดด้ เี ท่าทีค่ วร เช่น ขณะออกกาลงั กาย หลอดลม ไม่ค่อยมีการเปล่ียนแปลงมากนกั ยกเวน้ ในผู้ท่สี บู บุหรี่เรอื้ รงั ระบบทางเดินอาหาร การเปล่ยี นแปลงของระบบทางเดนิ อาหารในผู้สงู อายุ (ภาพที่ 4.2.4) ไดแ้ ก่ 1. การรับประทานอาหารและสภาพโภชนาการ ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 85 ปี จะมีความเส่ียงต่อการ รับประทานอาหารได้น้อยลงและมีปัญหาน้าหนักลดลงอย่างมาก เน่ืองจากความอยากอาหารลดลง การรับรู้ รสชาดอาหารลดลง การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลาไส้ลดลง ความสามารถในการเตรียมและ รับประทานอาหารด้วยตนเองลดลง หากไม่มีญาติคอยดูแล แม้กระท่ังมีการเปล่ียนแปลงของระบบประสาท และตอ่ ไร้ท่อ ทาให้เกิดภาวะเบ่ืออาหารในผู้สูงอายุ และภาวะซึมเศร้า 2. การเปล่ียนแปลงหน้าท่ีของช่องปาก ฟันผุและการหลุดของฟันทาให้มีผลต่อการทางานและ ประสทิ ธิภาพของการบดเค้ียว การมีน้าลายลดลงทาให้รู้สึกปากแห้งและประสิทธิภาพของการกลืนลดลง การ เปล่ียนแปลงทางสมอง โดยเฉพาะสมองเสื่อมจะมีผลทาให้การกลืนมีปัญหามากข้ึน ซ่ึงเสี่ยงต่อการสาลัก อาหารลงปอด 3. การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของหลอดอาหาร จะมีการเปล่ียนแปลงการเคล่ือนไหวของหลอดอาหารที่ ผิดปกติ โดยที่ไม่มีการเปล่ียนแปลงความหนาตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดอาหาร หลอดอาหารจะมีแรงบีบ ตัวลดลงและการคลายตัวของหูรูดด้านล่าง (lower esophageal sphincter; LES) ไม่สมบูรณ์ ต่อมาเกิด หลอดอาหารขยายตวั ตามมา เรียกวา่ presbyesophagus หรือเกดิ ภาวะ GERD ได้ง่ายขึน้ 4. การเปลี่ยนแปลงหน้าท่ีของกระเพาะอาหาร มีการเปลี่ยนแปลงการลดลงของการส่งผ่านของน้า จากกระเพาะอาหารสู่ลาไส้เล็ก การรับรู้ต่อการตึงตัวของกระเพาะอาหารลดลง ระดับฮอร์โมนแกสติน (gastrin) เพ่ิมขึ้นตามอายุท่ีมากข้ึน ซ่ึงเชื่อว่าอาจเป็นการตอบสนองต่อแอนติบอดี้ต่อเย่ือกระเพาะอาหารและ อายุท่ีมากขึ้น จะเพิ่มความเส่ียงต่อการทาลายเยื่อบุกระเพาะอาหารจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) จากการลดลงของสารโพสตาแกนดิน (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารปกป้องเย่ือบุกระเพาะอาหาร ทาให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร และ กระเพาะอาหารทะลุ การเขา้ มาของเชอื้ แบคทเี รียเฮอริโคแบคเตอร์ ไพโรไล (Helicobacter pylori) 5. การเปลี่ยนแปลงหน้าท่ีของลาไส้เล็ก จะมีการลดลงของการดูดซึมวิตามินดี โฟลิก วิตามินบี 12 แคลเซียม ทองแดง สังกะสี กรดไขมันและคอเลสเตอรอล ยกเว้นธาตุเหล็กจะมีการดูดซึมมากข้ึน ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดโรคจากภาวะท่ีมีเหล็กมากเกินไป รวมทั้งอาจเกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียท่ีมากผิดปกติ ซึ่ง สัมพันธก์ ับน้าหนกั ตวั ที่ลดลง ระดบั อลั บมู ินในเลอื ดต่าและอจุ จาระรว่ งได้ง่าย 40

ภาพท่ี 4.2.4 การเปลยี่ นแปลงของระบบทางเดนิ อาหารในผ้สู งู อายุ ท่ีมา: Eliopoulos, 2010. Gerontological Nursing: p53 6. การเปล่ียนแปลงหน้าท่ีของลาไสใ้ หญ่ การเปล่ยี นแปลงรปู ร่างแมทาบอลิสมและภูมิคุ้มกันของเซลล์ เย่ือบุผิวลาไส้ใหญ่ การช้าลงของการเดินทางผ่านลาไส้ใหญ่ (colonic transit) ทาให้มีโอกาสเกิดติ่งเนื้อ (colonic polyp) มะเรง็ ลาไส้ใหญ่ ผนังลาไส้โปง่ พอง (colonic diverticulum) การเปล่ียนแปลงของนิสัยการ ขับถ่ายทาให้เกิดท้องผูกหรืออุจจาระร่วงได้ง่าย เกิดผลข้างเคียงจากยาต่อลาไส้ใหญ่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะจากยา ในกลุ่มแอนตโิ้ คลเิ นอรจ์ ิก (anticholinergic) และนารโ์ คติก (narcotic) 7. การเปล่ียนแปลงหน้าท่ีของตับและทางเดินน้าดี อายุที่มากข้ึนไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการทดสอบ การทางานของตับ สมรรถการทางานของตับอาจลดลงได้ ระบบทางเดินน้าดีจะมีความผิดปกติในการบีบตัว ของถุงน้าดีจึงมีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้าดีได้ง่ายขึ้น การเปล่ียนแปลงในระบบประสาทระบบความรู้สึกและ อตั โนมัติ ทาให้มอี าการรนุ แรงกรณีถุงน้าดอี กั เสบและอาจล่าช้าในการวินจิ ฉัยโรค 8. การเปลี่ยนแปลงหน้าท่ีและโครงสร้างตับอ่อน หลังอายุ 70 ปีจะมีการลดลงของมวลของเน้ือตับ ออ่ น และอาจเกิดการขยายโตของเยื่อบทุ ่อน้าดี พังผดื ท่อภายในท่อ และการเปล่ียนแปลงสูญหายของเซลล์อะ ซินาร์ (acinar cell degranulation) มีโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนได้เพิ่มขึ้น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของการ ทางานของกลา้ มเน้อื หรู ดู ของออดี้ (sphincter of oddi) ปริมาณของน้าย่อยรวมถึงปริมาณไบคารบ์ อเนต 9. การเปลี่ยนแปลงของระบบคูมิคุ้มกัน อายุท่ีมากขึ้นจะง่ายต่อการติดเชื้อในร่างกายและมีความ รนุ แรงมากขึ้นผา่ นทางระบบทางเดินอาหารจากภมู คิ ุ้มกันทีล่ ดลง 10. การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของยาในทางเดินอาหาร จะมีปัญหาปฏิกริยาต่อกันของยา รวมถึง ผลข้างเคียงของยาที่มากข้ึน ยาที่พบว่ามีปัญหาได้บ่อยได้แก่ ยาท่ีมี anticholinergic effect (neuroleptic, tricyclic antidepressant, antihistamines) 41

ผลข้างเคียงระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท เช่น ท้องผูก ปัญหาการกลืนอาหาร กระเพาะ อาหารไม่ทางานและสบั สน ยาลดกรดกลมุ่ ยับย้ัง proton pump อาจทาใหเ้ กิดปัญหาอุจจาระร่วง ยาต้านการ เตน้ ผิดจงั หวะของหวั ใจ อาจทาใหเ้ กดิ ปัญหาอุจจาระร่วงและคล่นื ไส้ ระบบตอ่ มไร้ท่อ วัยสูงอายุต่อมไร้ท่อมีขนาดเล็กลง หลั่งฮอร์โมนลดลง ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ข้ึน และมีพังผืด การ ทางานของตอ่ มไทรอยด์ลดลงสง่ ผลใหอ้ ัตราเมตาบอลิสมลดลง การหลั่งของ thyroid-stimulating hormone (TSH) และระดับของ thyroxine (T4) ไม่เปล่ียนแปลง การทางานของ adrenal cortex และการหล่ัง adenocorticotropic hormone (ACTH) ลดลง ตอ่ มใต้สมองของผ้สู งู อายุมนี ้าหนักลดลงประมาณ 20% (Eliopoulos, 2010:60) ระดับการลดลงของ ระดับฮอร์โมน ACTH, TSH, follicle-stimulating hormone, luteinizing hormone และ luteotropic hormone มีความแตกต่างกัน การหลั่งฮอร์โมนของต่อมเพศลดลงตามวัย รวมถึงการลดลงของเทสโทสเตอ โรน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เบต้าเซลล์ของตับอ่อนมีประสิทธิภาพการหลั่งอินซูลินช้าลง เช่ือว่าเกิด จากความไวของการตอบสนองเนื้อเยือ่ ลดลง วยั สูงอายุการเผาผลาญน้าตาลลดลง จงึ มีความเข้มข้นของน้าตาล ในเลือดสงู ข้ึนและมรี ะดับน้าตาลในเลือดสูง ระบบขับถา่ ยปัสสาวะ ระบบทางเดินปสั สาวะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของไต ทอ่ ไต และกระเพาะปสั สาวะ (ภาพท่ี 4.2.5) ขนาดของไตเล็กลง จาก 400 กรัมเมื่ออายุ 40 ปี เหลือ 250 กรัมเม่ืออายุ 80 ปี (Wold, 2008) ระหว่างอายุ 20-90 ปี เลือดไหลผ่านไตลดลงให้ประสิทธิภาพการกรองลดลง ค่าอัตรากรอง (glomerulo filtration rate) ของคนอายุ 90 ปี ลดลงจากคนอายุ 20 ปี ถึง 50% (Eliopoulos, 2010:55) การดูดซึมน้ากลับของทิวบูล (tubule) ของไตลดลงทาให้ปสั สาวะของผูส้ ูงอายุอาจมีความเข้มข้นน้อยลง ภาพที่ 4.2.5 การเปลย่ี นแปลงของระบบทางเดนิ ปสั สาวะในผู้สงู อายุ ท่ีมา Eliopoulos, 2010. Gerontological Nursing: p55 42

คา่ ความถ่วงจาเพาะของปสั สาวะของผู้สูงอายุไม่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน การดูดกลับน้าตาลท่ีลดลง ทาให้อาจพบโปรตีนและน้าตาลในปัสสาวะเท่ากับ 1+ (Eliopoulos, 2010: 55) โดยไม่มีโรคไต จาก ประสิทธิภาพการกรองของไตลดลงทาให้ค่า บี ยู เอ็น (BUN: blood urea nitrogen) ของคนอายุ 70 ปี เท่ากับ 21 ม.ก.% ในขณะทีว่ ัยผู้ใหญเ่ ท่ากับ 10-15 ม.ก.% (Wold, 2008) กระเพาะปัสสาวะ การเปลีย่ นแปลงของกล้ามเนื้อกระเพาะปสั สาวะ รว่ มกับภาวะหย่อนยานของกระ บังลม ทาใหม้ ีปสั สาวะคา้ งในกระเพาะหลังถ่ายปัสสาวะ ประกอบกับกระเพาะปัสสาวะจุน้าปัสสาวะได้น้อยลง จาก 200-400 ซีซ.ี เหลือเพยี ง 100 ซีซี (Wold, 2008) จึงทาให้กระเพาะปัสสาวะเต็มง่าย ทาให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน ซ่ึงเป็นเวลาท่ีมีเลือดไหลผ่านไตมาก หูรูดของกระเพาะปัสสาวะหย่อนยานโดยเฉพาะ ในหญิงสูงอายุที่ผ่านการคลอดบุตรหลายคน ร่วมกับการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทาให้อวัยวะภายในอุ้งเชิง กรานอ่อนแอ เกิดปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม (stress incontinence of urine) ทาให้สูญเสียภาพลักษณ์ ของตน การขับถา่ ยปสั สาวะ ผชู้ ายเมือ่ อายุมากกวา่ 50 ปี มักพบตอ่ มลูกหมากโต ทาให้อดุ กน้ั ทางเดนิ ปสั สาวะถ่ายปัสสาวะลาบาก มปี สั สาวะค่งั คา้ งในกระเพาะมาก ปสั สาวะออกช้าและสายปัสสาวะไม่พุ่งซึ่งทาให้ ผูส้ ูงอายรุ ้สู ึกทรมานมากและกงั วลเม่ือตอ้ งเดินทางไกล อวยั วะสบื พนั ธ์ุ การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธ์นุ ั้นเปน็ ผลจากระดับฮอรโ์ มนเพศลดลงคือ เอสโตรเจนในเพศหญิง และเทสโทสเตอร์โรนในเพศชายมีการเปลย่ี นแปลงคือ อวยั วะสบื พันธุเ์ พศหญิง พบว่าเตา้ นมจะหย่อนยาน หวั นมเล็กลง และเน้อื เย่ือของเต้านมมไี ขมนั มากข้ึน อวัยวะเพศภายนอกเห่ียวลงเพราะมีไขมันใต้ผิวหนังลดลง ขนบริเวณอวัยวะเพศมีน้อยลง แคมนอก แบนราบลง ช่องคลอดมีสีชมพูและแห้ง การยืดขยายมีน้อยลง เซลล์ผิวของช่องคลอดบางและไม่มีเส้นเลือด ภายในช่องคลอดมีสภาพเป็นด่างมากข้ึนทาให้ติดเช้ือได้ง่าย และชนิดของบักเตรีในช่องคลอดแตกต่างไปจาก วัยอื่นๆ ปากมดลูกเห่ียวเล็กลง มดลูกมีขนาดเล็กลง เยื่อบุมดลูกมักไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน ทาให้ เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจาเดือนได้ง่ายและเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทาให้อิทธิพล ของฮอร์โมนเอ็นโดรเจนมีมากขนึ้ ทาใหผ้ ู้สงู อายหุ ญิงบางรายมีขนบริเวณใบหน้า การตอบสนองของอวัยวะเพศ หญิงขณะมสี มั พนั ธท์ างเพศแตกต่างไปจากวัยสาว 4.3 การเปลี่ยนแปลงดา้ นจติ สังคม วัยสูงอายุเป็นช่วงรอยต่อของชีวิตจากวัยกลางคนเข้าสู่วัยสูงอายุทาให้ต้องเผชิญกับการเปล่ียนแปลง ต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การเปล่ียนทางจิตสังคมท่ีเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ ได้แก่การ เปล่ียนแปลงในเรอ่ื งการเกษียณจากงาน การเปล่ียนแปลงของสังคมครอบครัว การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปล่ียนแปลงด้านพัฒนาการทางจิตในวัยสูงอายุ (วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554) 43

การเกษียณจากงาน หมายถึงการที่ต้องหยุดทางานท่ีเคยทาอยู่เป็นประจา เพราะเหตุอายุครบตามท่ี หนว่ ยงานน้นั กาหนด หรือเพราะสภาพรา่ งกายไม่เหมาะสมจากการเจบ็ ป่วย การปลดเกษียณจากงานหรือออก จากกงานถ้าเกิดข้ึนแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้สูงอายุค่อยๆถอยตัวจากงานแบบสมัครใจ จะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมไม่มาก แต่หากเกิดข้ึนแบบทันทีทันใดโดยท่ียังไม่ต้องการให้เกิดขึ้น จะเป็นการ เปล่ียนแปลงคร้ังใหญข่ องชวี ิต บคุ คลปรบั ตวั ไมท่ ัน ทาให้เกิดความสญู เสยี ใน 4 ดา้ น ดงั นี้ 1. สญู เสียสถานภาพและบทบาททางสังคมจากท่ีเคยเปน็ บคุ คลทมี่ บี ทบาท และตาแหนง่ ต่าง ๆ เปล่ียนเป็นสมาชิกคนหน่ึงของสังคม ทาให้สูญเสียความมั่นคงของชีวิต รู้สึกว่าตนเองหมดความสาคัญ ในสังคม 2. สญู เสยี การสมาคมกบั เพ่อื นฝงู โอกาสสมาคมลดลงจากปัญหาทางด้านรา่ งกาย โรค ประจาตวั การช่วยเหลอื ตัวเองลดลง การเคล่ือนไหวชา้ ลง การเดินทางไปสมาคมไม่สะดวก 3. สญู เสียสภาวะทางการเงนิ ที่ดี จากการขาดรา่ ยได้ หรอื รายไดล้ ดลงหลงั เกษยี ณ ผสู้ ูงอายุ มปี ัญหาคา่ ครองชีพท่สี งู ขนึ้ 4. แบบแผนการดาเนนิ ชีวิตเปล่ยี นแปลง เน่ืองจากไม่ตอ้ งออกจากบา้ นไปทางาน ผูส้ งู อายุ ต้องปรับเปลย่ี นรูปแบบการดาเนินชวี ติ อาจรู้สกึ อดึ อัดใจ การเปลี่ยนแปลงของสงั คมครอบครัว สังคมเปลี่ยนเป็นครอบครัวเด่ียวมากขึ้น บุตรแต่งงานแยกครอบครัว ออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ทาใหผ้ ้สู งู อายุตอ้ งอยกู่ ันตามลาพัง ถูกทอดท้ิง และขาดที่พ่ึง โดยเฉพาะรายท่ีเศรษฐกิจไม่ดี นอกจากนั้นอาจมี การตายของคู่ครอง ทาให้ผู้สูงอายุที่มีชีวิตอยู่ต้องประสบกับความเหงา ขาดคนปรนนิบัติ ขาดการตอบสนอง ทางเพศ ผู้สูงอายุมักมีความรู้สึกผูกพันกับส่ิงแวดล้อมเดิม ไม่อยากเปลี่ยนแปลงหรือโยกย้ายไปอยู่อาศัยกับ บุตรหลาน ท่ตี อ้ งลดบทบาทจากหัวหน้าครอบครัวไปเปน็ สมาชกิ ซ่งึ อาจเกิดปญั หาการขาดการให้เกียรติ ความ เคารพนับถือ ขาดความสนใจหรือเก้ือกูลในครอบครัว ผู้สูงอายุจาเป็นต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น ถ้าไม่สามารถ ปรบั ตัวยอมรบั บทบาททเี่ ปล่ียนไป อาจทาให้เกดิ ความรสู้ ึกกดดนั ทางด้านจิตใจ การเปล่ยี นแปลงทางเศรษฐกจิ สังคม สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว จากสังคมการเกษตรเป็นสังคม อุตสาหกรรม ความเจริญก้าวหน้า อัตราค่าครองชีพเพิ่มข้ึน รายได้ของผู้สูงอายุลดลงเมื่อเทียบกับรายจ่าย ลูกหลานมีเจตคติต่อผู้สูงอายุเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุมีกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมกับสังคมลดลง สังคมให้การยอมรับ หรือให้โอกาสการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุน้อยลง เพราะไม่ต้องการการถ่ายทอดความรู้ทางด้านอาชีพ และประสบการณ์เหมอื นในอดีต ทาใหผ้ ู้สูงอายุมีคุณค่าลดลง ขาดการเรียนรู้จากสังคม การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ลดลง นาไปสู่การแยกห่างจากสังคมโดยส้ินเชิง ผู้สูงอายุมีประโยชน์เพียงคนเฝ้าบ้าน ช่วยดูแลลูกหลาน การ เคารพนับถือกตัญญูรู้คุณลดลง คนรุ่นใหม่ยึดถือวัตถุนิยม การวัดค่าของคนอาศัยความสามารถในการทางาน หาเงนิ ดังนั้นผ้สู งู อายุถูกมองว่าขาดคุณค่า ไม่มีความสามารถ ทาให้ผู้สูงอายุแยกตัวจากสังคมเป็นสมาชิกกลุ่ม 44

น้อย และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงตามแบบอย่างคนกลุ่มน้อย คือ อ่อนไหว ใจน้อยง่าย มีความรู้สึกไม่ม่ันคง ปลอดภัย คิดถึงแต่ตัวเอง มีความวิตกกังวลสูง โกรธง่าย พ่ึงพาผู้อื่นมากข้ึน การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมากน้อย แตกต่างกันขึ้นกับสภาวะเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม และภาวะวิกฤตท่ีเผชิญอยู่ ความสามารถในการเผชิญปัญห า ความรู้สึกมีคุณค่าของตัวเอง ปรัชญาในการดาเนินชีวิต ความเช่ือ ความหวังและความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยใน สังคม ในรายที่มีแรงกดดันมาก และไม่สามารถปรับตัวได้ บุคลิกภาพอาจเสียมากข้ึนกลายเป็นภาระต่อสังคม เกิดปญั หาทางจติ ทอ่ี าจทาร้ายตนเองและผอู้ ่ืนได้ การเปลย่ี นแปลงทางวัฒนธรรม วฒั นธรรมไทยเปลย่ี นแปลงไปเปน็ วฒั นธรรมทางตะวันตกมากขนึ้ ขณะที่ผู้สูงอายุยังคิดเห็นคงเดิม ยึด ม่ันคตินิยมตนเอง ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมด้ังเดิม ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการเรียนรู้และความจาส่ิง ใหม่ลดลง แต่ยังสามารถจาเร่ืองราวเก่าซึ่งประทับใจได้ดี ผู้สูงอายุเกิดความต่อต้านสิ่งใหม่ ล้าสมัย จู้จ้ีขี้บ่น เกดิ ช่องว่างระหวา่ งวยั บตุ รหลานไมอ่ ยากเลย้ี งดู กลายเป็นสว่ นเกินของครอบครัว ผู้สูงอายุจึงแยกตัวเอง และ เกิดความร้สู ึกท้อแทส้ นิ้ หวงั มากขน้ึ สรุป ปัจจุบันการพยาบาลผู้สูงอายุ มุ่งเน้นให้การพยาบาลแบบองค์รวม ที่ต้องอาศับการเรียนรู้เกี่ยวกับ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ สภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพ่ือนามาวางแผนให้การ พยาบาลผู้สูงอายุได้ตรงตามปัญหาสุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคม การวางแผนป้องความเส่ียงที่อาจเกิดข้ึนจาก กระบวนการเปล่ียนแปลง และวางแผนการส่งเสริมสุขภาพให้คงอยู่ในสภาพท่ีสมบูรณ์ตามวัย เป็นการพัฒนา บทบาทพยาบาล ในการดูแลผู้สูงอายุให้ก้าวทันไปกับกระแสสังคมผู้สูงอายุ นอกเหนือจากการสนับสนุน มาตรการตา่ งๆ สาหรับผู้สงู อายุของภาครัฐ เพือ่ รองรับประชากรเขา้ สสู่ งั คมผูส้ ูงอายุอย่างมีคุณภาพต่อไป ใบงานกิจกรรม แบ่งกลุ่มนักศึกษากลุ่มละ10-11 คน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุด้านร่างกายและจิตสังคม จานวน 10 เร่อื ง และนาเสนอในสัปดาหท์ ่ี 2 ของหน่วย 45

เอกสารอ้างอิง โครงการตาราสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การพยาบาล ผใู้ หญแ่ ละผู้สูงอายุ เลม่ 1 (พิมพ์ครงั้ ท่ี 13). นนทบุรี: ยุทธรนิ ทร์การพมิ พ์ จากดั . วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตรแ์ ละศลิ ป์การพยาบาลผ้สู งู อายุ. กรงุ เทพ: โครงการตารา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหดิ ล. ศริ ิพนั ธุ์ สาสตั ย.์ (2554). การพยาบาลผูส้ งู อายุ: ปญั หาท่ีพบบอ่ ยและแนวทางในการดูแล (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 3). กรุงเทพ: สานกั พิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. ประเสรฐิ อสั สันตชัย. (2554). ปญั หาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายแุ ละการป้องกัน (พิมพ์ครัง้ ท่ี 2). กรุงเทพ: ครเี อชน่ั จากัด. Eliopoulos, C. (2010). Gerontological Nursing (7th). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. Wold, G. H. (2008). Basic Geriatric Nursing (4th). Missouri: Mosby Elsevier. 46


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook