Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สูจิบัตรมนัสวี (1)

สูจิบัตรมนัสวี (1)

Published by maymay-34141, 2021-09-28 19:34:20

Description: สูจิบัตรมนัสวี (1)

Search

Read the Text Version

วันเสาร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม ๔ ภาค THAI WAY OF TOURISM FAIR FOLLOW IN THE FOOTSTEPS OF CIVILIZATION 4 ณ.ลานศาลากลางจังหวัดนครราชสี มา เวลางานเริ่ม : ๑๗ : ๐๐ นาที MANATSAWEE NILBUALA

สารจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสี มา ด้วยจังหวัดนครราชสี มา ได้กำหนดจัดงานมหกรรมท่องเที่ยว วิถีไทย ตามรอยอารยธรรม ๔ ภาค ในวันเสาร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ ลานศาลากลางจังหวัดนครราชสี มา ภายใต้โครงการส่ งเสริมการท่อง เที่ยววิถีไทย ตามนโยบายด้านการท่องเที่ยว ประจาปี ๒๕๖๔ เพื่อยก ระดับการท่องเที่ยว และการส่ งเสริมทางวัฒนธรรม ให้แก่ประชาชนทั่วไป ในจังหวัดนครราชสี มาและจังหวัดอื่น ๆ ให้เกิดความสนใจในการท่อง เที่ยว และภาคภูมิใจในวิถีชี วิตของความเป็นไทย ตามนโยบายรัฐบาล ในโอกาสนี้ ขออวยพรให้การจัดงานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามอารยธรรม 4 ภาค ในวันเสาร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ. ลานศาลากลางจังหวัดนครราชสี มา ประสบความสำเร็จและบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการขออำนาจคุณพระศรีรัตนไตรพระ สยามเทวาธิราช และพระนาคปรกเมืองไพร โปรดดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบความสุขความเจริญปรารถนาสิ่ งใด ขอให้รับสิ่ งดี และ สมปรารถนาทุกประการ (นายกอบชั ย บุญอรณะ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสี มา

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค สถานที่ : ลานศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 วัน/เดือน/ปี : วันเสาร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลางานเริ่ม : ๑๗ : ๐๐ นาที เวลาในการทาการแสดงทั้งหมด : ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที โดย ประมาณ (เล่นกลางแจ้ง) การจัดงานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค เพื่อนาเสนอการ ท่องเที่ยวการภายในประเทศทั้ง 4 ภาค ที่หลากหลายแง่มุม ทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถี ชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคัดเลือกของดีของเด็ดจากทั่วทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดมารวมอยู่ ในงานเดียว ภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยววิถีไทย ก็เที่ยวไปเลยสิเออ ” นอกจากยังมีการแสดง ศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค การจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมสาคัญอย่างยิ่งที่ช่วยส่งเสริม การมีส่วนร่วมทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน สอดคล้องและตอบ สนองตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ สร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้ง เป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีการแสดงประกอบด้วย ดังนี้ 1. ฟ้อนขันดอก ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 2. ฟ้อนสาวไหม ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 3. รำกลองยาว ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 4. เต้นการาเคียว ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 5. รำกระทบไม้ ลายอีสาน ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 12 คน 6. เซิ้งกะโป๋ ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 7. ระบำตารีกีปัสราหนะ ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 8 คน 8. การแสดงสร้างสรรค์ ชุด “ผืนไท” ใช้ผู้แสดงทั้งหมด จานวน 24 คน

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค กำหนดงาน Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 มหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม ๔ ภาค Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 วันเสาร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ.ลานศาลากลางจังหวัดนครราชสี มา 17.00 -17.30 ลงทะเบียน 17.30- 18.00 พิธีเปิด 18.00-19.00 การแสดงชุดที่ 1 ฟ้อนขันดอก การแสดงชุดที่ 2 ฟ้อนสาวไหม 19.00-20.00 การแสดงชุดที่ 3 รำกลองยาว การแสดงชุดที่ 4 เต้นการาเคียว 20.00-20.15 การแสดงชุดที่ 5 รำกระทบไม้ ลายอีสาน การแสดงชุดที่ 6 เซิ้งกะโป๋ การแสดงชุดที่ 7 ระบำตารีกีปัสราหนะ การแสดงชุดที่ 8 การแสดงชุด “ผืนไท” พิธีปิด

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๑ ฟ้อนขันดอก Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา ฟ้อนขันดอก เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ มีลีลาท่าฟ้อนได้มาจากการใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นเสา หลักเมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้ใช้ฟ้อนในงานพิธีมงคล เพลงที่ใช้ในการ ประกอบการแสดงใช้เพลงกุหลาบเชียงใหม่ ลีลาท่าฟ้อนอ่อนช้อยเข้ากับความอ่อนหวานของท่วงทานอง เพลงพ่อครูมานพ ยาระนะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการฟ้อนราบูชาพระรัตนตรัย เพื่อให้บังเกิดความสงบร่มเย็นให้แก่บ้าน เมือง โดยมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นขันดอก หรือพานไม้ใส่ดอกไม้แบบล้านนา ซึ่งใช้ตบแต่งเพื่อบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในงานบุญทางศาสนา การฟ้อนได้ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและ ขนบประเพณีชาวเหนือ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ทั้งการต่างกาย จังหวะ และลีลา ท่าทางการฟ้อนรา เพลงและ ดนตรีที่ใช้ประกอบ จึงนับเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชาวภาคเหนือที่ทรงคุณค่าอย่างแท้จริง อุปกรณ์ในการฟ้อน ขัน หรือ พาน โดยทั่วไปแล้ว ที่มักจะพบเห็นในยุคปัจจุบันนี้ การใช้ขันหรือพาน ส่วนใหญ่จะเป็นขันสี แดง หรือที่เรียกว่า ขันแดง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 การฟ้อนของภาคเหนือจะเห็นว่า ผู้หญิงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวถึงเท้า สวมเสื้อเกาะอก พร้อมห่มสไบ ยาวคล้องคลุมปล่อยชายลงมาถึงเข่า การแต่งกายแบบนี้เนื่องจาก อากาศทางภาคเหนือมีอากาศเย็นสบาย ประชาชนสมัยก่อนจึงนิยมใส่เกาะอก และห่มสไบ ผมเกล้าสูงทัดดอกไม้แล้วห้อยอุบะ ดอกไม้โลหะ ดอกไม้ สด เพราะทางภาคเหนือมีอากาศดี ดอกไม้จึงสวยงาม โดยเฉพาะดอกเอื้อง หรือดอกกล้วยไม้มีมาก นามา ประดับผมทาให้สวยงามทั้งผู้ฟ้อนและลีลาการฟ้อนและสวมใส่เครื่องประดับพองาม หรือแต่งกายอย่างสตรี ล้านนา รูปการแสดงฟ้อนขันดอก

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๒ ฟ้อนสาวไหม Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาว ไหมเป็นการฟ้อนราแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็น จังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก) ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่าราขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนาของบิดา ท่ารานี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหว ที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้ขัดเกลาท่าราขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่าราขึ้นมาเป็น แบบฉบับของวิทยาลัยเอง ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมัก ไม่นิยมนามาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาท ไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฎศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง \"ซอปั่นฝ้าย\" ซึ่งมีท่วงทานองเป็นเพลงซอทานองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารา รูปแบบการแสดง เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จน กระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสาเร็จแล้ว โอกาสที่แสดง แสดงได้ทุกโอกาส และในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ

การแต่งกาย งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค แต่งกายแบบพื้นเมือง คือ นุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 รูปการแสดง ฟ้อนสาวไหม

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๓ รำกลองยาว Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา รากลองยาว ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า นิยมเล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งที่พม่ามาทาสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็จะเล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็ จามาเล่นกันบ้างเมื่อชาวไทยเห็นว่ารากลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้าน ทุกเมืองมาจนทุกวันนี้ ประวัติความเป็นมา คณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงมากของชาวอาเภอพยุหะคีรี ได้แก่ คณะ บ.รุ่งเรือง ศิลป์ ของนายบุญ เอี่ยมเวช ซึ่งได้ดัดแปลงท่าร่ายรามาจากท่าร่ายราของลิเก พร้อมได้ดัดแปลงประดิษฐ์ชุดแต่งกายขึ้น โดยเลียนแบบจากเครื่องแต่งกายของลิเกเช่นกัน และใช้ชื่อว่า “กลองยาวประยุกต์” และได้นาออกแสดงเป็นครั้งแรก ราวปี พ.ศ. 2500 รูปแบบการแสดง ในตอนแรกผู้ร่ายราใช้ทั้งชายและหญิง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ผู้หญิงเป็นผู้ร่ายราเท่านั้น ส่วนผู้ชายทาหน้าที่ตี กลองยาว และเครื่องดนตรีประกอบ ในตอนแรกมีผู้เล่นทั้งหมด 16 คน โดยมีผู้ตีกลองยืน 3 คน และผู้ตีเครื่องดนตรี ประกอบได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ฆ้อง อีก 5 คน สาหรับผู้รามี 4 คู่ 8 คน มีผู้ราคนหนึ่งเป็นหัวหน้า คล้องนกหวีดไว้ที่คอ สาหรับเป่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารา ในตอนหลังมีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองอเมริกันและปี่ชวาขึ้น และเพิ่ม ความครึกครื้น ก็เพิ่มผู้ร่ายราเข้าไปอีก อุปกรณ์ในการเล่น กลองยาวที่ใช้ตีเป็นกลองยืน 3 ใบ กลองใหญ่ (กลองอเมริกัน) ฉาบเล็ก 1 คู่ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ปี่ชวา 1 เลา ฆ้อง 1 ใบ กรับ 1 คู่และกลองยาวที่ผู้ราใช้ประกอบการร่ายราอีกคนละ 1 ใบ เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 แต่เดิมไม่มีแบบแผน แต่ต่อมาได้คิดประดิษฐ์ชุดเครื่องแต่งกายขึ้นใหม่โดยแปลงจากชุดของลิเก คือ นุ่ง กางเกงคลุมเข่า และนุ่งผ้าโจงกระเบนทับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าคาดศีรษะ ทัดดอกไม้ไว้ข้างหู สวม ถุงเท้าสีขาวยาวถึงครึ่งน่อง มีผ้าคาดเอว -ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว -หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่ สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ รูปการแสดงรำกลองยาว

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๔ เต้นกำรำเคียว Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าแก่ของชาวชนบทในภาคกลาง แถบจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวชนบทส่วนมากมีอาชีพการทานาเป็นหลัก และด้วยนิสัยรักสนุกกับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้เกิด การเต้นการาเคียวขึ้น ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ลักษณะการรา จะเน้น ความสนุกเป็นใหญ่ มีทั้งเต้นและราควบคู่กันไป ในมือของผู้ราข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยว แล้ว จึงเรียกการแสดงนี้ว่า \"เต้นการาเคียว\" จะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว รูปแบบการแสดง จะมีผู้เล่นประมาณ ๕ คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่า แม่ เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นการาเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปราล่อฝ่าย หญิงและแม่เพลงก็ร้องและราแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆคน ช่วยกันร้องจนจบ เพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ โอกาสที่แสดง การเต้นการาเคียวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ซึ่งเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวชาวนามักมีการเอาแรงกันโดย ต่างฝ่ายต่างไปช่วยกัน เกี่ยวข้าวจะไม่มีการว่าจ้างกัน ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยว ข้าวกันไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าว ประมาณตะวัน บ่ายคล้อยแล้วการเต้นการาเคียวจึงเริ่มเล่น ดนตรีที่ใช้ ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้ เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนาไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข ้า-ออก

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดา มีผ้าขาวม้าคาดพุงสวมงอบไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อกระบอกสีดาทั้งชุด ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าเช่นกัน ผู้แสดง ทุกคนถือเคียวในมือขวา และถือรวงข้าวในมือซ้าย รูปการแสดงเต้นกำรำเคียว

การแสดงชุดที่ ๕ รำกระทบไม้ งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค ประวัติความเป็นมา Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 “ลาว-กระทบไม้” เป็นสิ่งซึ่งผู้คนโดยมากรับรู้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่พัฒนามาจากการละเล่น ดั้งเดิมที่เรียกว่า “เต้นสาก” เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” นิยมเล่นกันช่วงว่างเว้นหลัง ฤดูเก็บเกี่ยวตามวิถีชาวนาไทยลาวสองฝั่งแม่น้ำโขง ว่ากันว่าไทยนำ “เต้นสาก” ของลาวมาดัดแปลงคิดท่ารำ ใส่ดนตรีแล้วเรียก “ลาวกระทบไม้”แต่ยังอีกหลายชาติที่มีการละเล่นกระทบไม้อยู่ในวัฒนธรรมของตน จึงมี “เรือมอันเร” หรือ “เขมรกระทบไม้” ของชาวเขมร, “แสกเต้นสาก” ของชาวแสก (ชนชาติหนึ่งในกลุ่มภาษา ตระกูลไท-ลาว), “ม้าจกคอก” ของชาวไทใหญ่ “ตินิคลิ่ง” (Tinikling) หรือ “แบมบูแดนซ์” (Bamboo Dance) ของชาวฟิลิปปินส์ ฯลฯ รวมทั้ง “ติฮัว” หรือ “กะเหรี่ยงกระทบไม้” ของชาวกะเหรี่ยง แต่การค้นคว้าของ องค์ บรรจุน เขาเสนอว่า “กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนลาว” เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน อุปกรณ์การแสดง แต่เดิมวางไม้สากตามความยาว 2 อัน ให้ไม้หมอนรองหัวและท้ายไม้ทั้ง 2 ด้าน ปลายสากจะมีคน 2 คน จับปลายเพื่อกระทบกัน ภายหลังกรมศิลปากรปรับปรุง และจัดลำดับท่ารำให้เป็นระเบียบขึ้นแต่ยังคง รักษาเค้าแบบแผนเดิม โดยปรับปรุงเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ ขนาดเท่ากันยาวประมาณ 2 - 4 เมตร และใช้ไม้เนื้อ แข็งเป็นหมอนวางรองทั้งสองปลาย ผู้กระทบนั่งกับพื้นจับปลายทั้งสองคนเพื่อจะได้ตีกระทบกัน วิธีเล่นกระทบไม้ 1.วางไม้ไผ่ตันไว้กับพื้นให้ห่างกันพอที่จะวางไม้ไผ่สีสุกลง แล้วเหลือปลายไว้ใช้จับประมาณ 2 คืบ 2.ผู้เล่น (2 คน) จับไม้ยาวเคาะเป็นจังหวะ โดยรั้งให้ไม้ยาวมากระทบกัน 1 ครั้ง แล้วจึงยกไม้ยาวแยกห่างกัน ออก เคาะไปที่ไม้สั้น 2 ครั้ง สลับกันไปตามจังหวะเพลง ช่วงระยะเคาะไม้สั้นจะเว้นช่องว่างระหว่างไม้ยาว ประมาณ ครึ่งศอก เพื่อให้ผู้รำชาย - หญิง ได้หย่อนเท้าก้าวลงไปในช่องนั้น แล้วยกออกตามจังหวะเพลงได้ อย่างสวยงาม และถ้าผู้รำเผลอก้าวพลาดผิดจังหวะ ไม้ไผ่คู่นั้นจะกระทบเท้าผู้รำทันที

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค เครื่องแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 การแต่งกาย แต่งได้ 2 แบบ คือ 1.การแต่งกายแบบพื้นเมือง ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าคาดเอว และผ้าคาดไหล่ หญิง นุ่งผ้าซิ่นป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก คอปิดห่มสไบทับเสื้อ ปล่อยผมทัดดอกไม้ สวม เครื่องประดับพองาม มีสร้อยคอ ต่างหู 2.การแต่งกายแบบกรมศิลปากร ชาย นุ่งกางเกงขาสามส่วน หลากสี วามเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว และผ้าโพกศีรษะ หญิง นุ่งซิ่นมีเชิง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมหรือคอปิด ห่มสไบเฉียง เข็มขัดทับเสื้อ สวมสร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ รูปการณ์แสดงรำกระทบไม้

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๖ เซิ้งกะโป๋ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา กะโป๋ คือกะลามะพร้าว ชาวอีสานรู้จักการใช้ประโยชน์จากกะลามะพร้าวมาเป็นวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิต ประจำวัน เช่น กระบวยตักน้ำ และสามารถทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น พิณกระแสเดียว และซอของชาวอีสานใต้ เป็นต้น เซิ้งกะโป๋ เป็นการแสดงที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของชาวอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ในบริเวณจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้กะลาที่ขัดผิวจนมันเป็นอุปกรณ์หลักในการประกอบจังหวะ และที่น่าสังเกตคือ ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการละเล่น เกี่ยวกับการเคาะกะลาเช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋ในแบบฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้นำการแสดงชุด ระบำกะลา ของชาวอีสานใต้มาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบ นิยมของอีสาน เนื่องจากว่า ระบำกะลา มีจังหวะและท่วงทำนองท่าช้าเนิบนาบ จึงได้แต่งดนตรีขึ้นใหม่ให้มีจังหวะที่ สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยนำเอาแต่งลายดนตรีมาผสมกับลายเพลงพื้นเมืองอีสานใต้ ได้แก่ ทำนองเจรียงซันตรู๊จน์ จนได้ทำนอง เพลงที่เป็นลักษณะเฉพาะในการแสดงชุด “เซิ้งกะโป๋” (*ปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดมีความเห็นควรว่า คำว่า\"เซิ้ง\"ไม่ได้มีความหมายถึงการฟ้อนรำของชาวอีสาน เพราะ เซิ้ง คือการขับกาพย์ ซึ่งมักจะมีการฟ้อนประกอบด้วย ไม่นับเป็นการร่ายรำ ดังนั้น จึงได้บัญญัติคำว่า \"ฟ้อน\" ซึ่งเป็นคำที่ใช้ เรียกกริยาการฟ้อนรำของชาวอีสาน ชุดการแสดงใดๆที่เคยเรียกว่า เซิ้ง ก็เปลี่ยนมาเป็น ฟ้อน เช่น เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เปลี่ยนเป็น ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง ยกเว้น เซิ้ง บั้งไฟและเซิ้งนางด้ง เพราะเป็นการแสดงเซิ้งอย่างตรงตัวอยู่แล้ว) เซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น • วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของ พื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ • วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่ง กายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจง กระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า ทิ้งชายด้านหลัง เครื่องดนตรี - ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้ คือ เจรียงชันตรุจ

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 - หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ใช้สไบขิดเฉียงไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา นุ่งโจงกระเบน มีผ้าผืนยาวมัด เอว ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สวมเครื่องประดับเงินประเกือม - ชาย สวมเสื้อผ้าแพรแขนสั้น นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าสไบขิดพาดไหล่ มีผ้าผืนยาวมัดเอว สวมสร้อยคอและ กำไลเงิน รูปการณ์แสดงเซิ้งกะโป๋

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๗ ระบำตารีกีปัสราหนะ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา ระบำกีปัสราหนะ เป็นการฟ้อนรำของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ เป็นการแสดงอวดลีลาการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยใช้ กีปัส หรือ ฆีปัส ในสำเนียงมาลายู ปัตตานี ที่หมายถึง “พัด” มาเป็นองค์ประกอบ ด้วยเครื่องแต่งกายสวยงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวมุสลิม ประกอบกับลีลาอันพริ้วไหวในการใช้พัดร่ายรำ เข้าจังหวะกับ เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ทำให้เป็นการแสดงที่มีความสวยงามและสนุกสนาน ครบครัน และมีประวัติความเป็นมารูปแบบ การแสดงที่ปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงระบำตารีกีปัส ระบำตารีกีปัส เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย คำเรียกระบำชุดนี้เป็นภาษา มลายูท้องถิ่น พจนานุกรมฉบันไทย – มลายู อธิบายไว้ว่า “ตารี” หรือ ตาเรียน หมายถึง การฟ้อนรำ ส่วนคำว่า “กีปัส” หรือ ฆีปัส ออกเสียงตามประชาชนท้องถิ่นปัตตานี หมายถึง พัด รวมความแล้วตารีกีปัส หมายถึง การฟ้อนรำที่ใช้พัดประกอบการ แสดง การแสดงชุดนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยคณะครูโรงเรียนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก็ได้ชมการแสดงของรัฐต่าง ๆ หลาย ชุด เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ก็ได้เล่าถึงการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ของมาเลเซียที่ได้ไปชมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง และได้ ทราบว่าเมืองยะหริ่งเดิมก็เคยมีการแสดงที่คล้ายคลึงกันกับของมาเลเซียหลายชุด ดังนั้นจึงได้คิดฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุด ต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะชุดตารีกีปัส ได้นำออกแสดงครั้งแรกเนื่องในงานเลี้ยงเกษียณอายุข้าราชการครูโรงเรียนยะหริ่ง ต่อมา ได้มีการถ่ายทอดการแสดงชุดตารีกีปัสไปสู่ประชาชนครั้งแรก โดยเปิดสอนให้กับคณะลูกเสือของจังหวัดปัตตานี เพื่อนำไป แสดงในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อได้รับการ คัดเลือกเป็นระบำชุดเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ของจังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2524 นับว่าการแสดง ชุดตารีกีปัสได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและยังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง รูปแบบและลักษณะการแสดง การแสดงชุดตารีกีปัส มีรูปแบบการแสดงเป็นหมู่ระบำ ซึ่งรูปแบบการแสดงมีอยู่ 2 ลักษณะคือ 1. การแสดงเป็นคู่ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง 2. การแสดงเป็นหมู่ระบำโดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วน เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย คืออินัง ตังลุง เป็นเพลงผสมผสานระหว่างมลายูกับจีน

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค เครื่องแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 การแต่งกายแบบผู้หญิงล้วน แต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นการแต่งกาย ของตารีกีปัส ชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย (กีฬาแห่งชาติปัจจุบัน) ครั้งที่ 14 จังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2524 ประกอบด้วย 1. เสื้อในนาง ไม่มีแขนสีดำ 2. ผ้านุ่ง เป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ (Song Ket) สอดดิ้นเงิน – ทอง ประปรายแบบมาเลเซีย ตัดเย็บ แบบหน้านาง หรือเลียนแบบจับจีบหางไหล 3. ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นโบว์ด้านหน้า 4. เข็มขัด 5. สร้องคอ 6. ต่างหู 7. ดอกซัมเป็ง รูปการแสดงระบำตารีกีปัสราหนะ

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค การแสดงชุดที่ ๘ การแสดงสร้างสรรค์ ชุด “ผืนไทย” Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ประวัติความเป็นมา ผู้คนทุกภาคส่วนของประเทศจึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยโดยมีศิลปวัฒนธรรมเป็น อาภรณ์ที่งดงามแสดงความเป็นชาติอารยะภายใต้ร่มพระบารมีภายใต้ผืนธงไทย จึง เป็นแรงบันดาลใจให้ คณะศิลปะหน้าตาดุริยางค์ตระหนักถึงความสำคัญ ความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นดินอันเป็นที่เกิดที่ อาศัย แสดงการร้อยเรียงเรื่องราวของคนไทยทุกภูมิภาครวมใจเป็นหนึ่งอนุรักษ์สืบสานสร้างสรรค์งานศิลป์ เป็นที่ประจักษ์และภาคภูมิใจว่าปวงชนชาวไทยทุกภาคทุกท้องถิ่นมีความสุขสรรค์สร้างศิลปวัฒนธรรมอัน งดงามของแผ่นดินภายใต้ร่มพระบารมีร่มธงไทยด้วยความจงรักภักดีและสำนึกใน “ผืนไทย” การแสดงสร้างสรรค์ชุด “ผืนไท” เป็นการแสดงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาคณะนาฏดุริยางค์ วิทยาลัย นาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รูปแบบการแสดง ผืนผ้า ผืนภาค : สื่อถึงสัญลักษณ์ความเป็นเอกราชชาติไทยและความสุขของปวงชนชาวไทยที่หลากหลายวัฒนธรรม ในแต่ละภูมิภาค ผืนไทย : สื่อถึงความรักความสามัคคีความพอดีความพอเพียงบนพื้นแผ่นดินทอง องค์ประกอบในการแสดง ผู้แสดงผู้แสดงชายหญิงจำนวนทั้งหมด 24 คน เพลงและดนตรีที่ใช่ประกอบการแสดง เป็นการผสมผสานการใช้ เทคโนโลยีร่วมกับการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยภาคต่างๆโดยท่วงทำนองลีลา ของเพลงจะสื่อถึงเอกลักษณ์ของสำเนียงดนตรีพื้นเมือง 4 ภาคของไทยได้แก่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง อุปกรณ์ ประกอบด้วย ผืนผ้าสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีขาว ขนาดกว้าง 1.50 เมตรยาว 3 เมตรจำน วน 3 ผืน

งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค เครื่องแต่งกาย Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งกายของภูมิภาคทั้งสี่ภาคของไทยโดยมีการประยุกต์และปรับใช้ วัตถุดิบต่างๆให้มีความแปลกตาแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมการแต่งกายท้องถิ่น รูปการแสดงสร้างสรรค์ ชุด “ผืนไทย”

ขอขอบคุณ ๑. คณะกรรมการอานวยการ นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการ นายกรกต ธารงวงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. กาหนดแนวทางการดาเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และเป็นไปตามเวลาที่ กาหนด ๒. ควบคุมดูแล ให้คาปรึกษา แนะนา และอานวยความสะดวกในการปฏิบัติของคณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สาเร็จลุล่วงด้วยดี งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค ๒. คณะกรรมการดาเนินการ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 นายพิชยะวัสส์ ดิษยรัชฐากรณ์ ประธานกรรมการดาเนินการ นางสาวทวิพัน สร้างสวน รองประธานกรรมการดาเนินการ นางสาวนภัสรพี เค้ามูล กรรมการ นางสาวปิยธิดา กล้ากลาง กรรมการ นางสาววิสุธาทิพย์ เทพสถิต กรรมการ นางสาวมนัสวี นิลบัวลา กรรมการและเลขานุการ นางสาวธิดารัตน์ เฉยเฉลียง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. วางแผน เตรียมการ กากับ ดูแล และดาเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ๒. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ๓. คณะกรรมการฝ่ายต้อนรับและรับลงทะเบียน นางสาวแก้วมณี คือพันดุง ประธานกรรมการ นางสาวกรรณ์ทิมา พร่องครบุรี กรรมการ นางสาวสุพัตรา บุญรอด กรรมการ นางสาวกมลจิตร์ เกศคาขวา กรรมการ นางสาววิภาวดี บุญเรืองศรี กรรมการ นางสาววรรญา หมู่สะแก กรรมการและเลขานุการ นางสาวปัทมาพร อุรา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. เตรียมการประสานงานฝ่ายต่าง ๆ และแจ้งกาหนดการเพื่อให้การตอนรับคณะกรรมการ และผู้ เข้าร่วมงานได้รับทราบ ๒. จัดทาเอกสารและรับลงทะเบียนคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมงาน ๓. ดูแลแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อความสะดวกสบายของคณะและผู้เข้าร่วมงาน

๔. คณะกรรมการฝ่ายพิธีการ นางสาวชลธิชา บัวระพา (พิธีกร) ประธานกรรมการ นายพิชยะวัสส์ ดิษยรัชฐากรณ์ (พิธีกร) กรรมการ นางสาวรุ่งทิพย์ ชุ่มชัย กรรมการ นางสาวมุกนิล รังกลาง กรรมการและเลขานุการ นางสาวชุติมา ทีเหมาะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดทากาหนดการ ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน ๒. ทาหน้าที่พิธีกร ๓. รายงานกาหนดการ และปรับแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า โดยขอคาแนะนาปรึกษาจากผู้อานวย การ และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ๕. คณะกรรมการฝ่ายเอกสาร และประชาสัมพันธ์ นางสาวภาสุรี ดงทอง ประธานกรรมการ นางสาวอาภัสรา จิตพิมาย กรรมการ งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค นางสาวอริสรา พรมมิราช กรรมการ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 นางสาววริศรา ลาภขุนทด กรรมการ นางสาวสิริวิมล แนวกลาง กรรมการและเลขานุการ นางสาวธีมาพร แก้วศรีนวล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการจัดงานต่อสื่อมวลชน ๒. จัดทาป้ายประชาสัมพันธ์งาน บัตรเชิญ VIP และสูจิบัตร ๓. ประสานงานด้านเอกสารตามที่ฝ่ายต่าง ๆ ต้องการ ๖. คณะกรรมการฝ่ายจัดสถานที่ นายศตวรรษ ศรีม่วง ประธานกรรมการ นายนิธิพงษ์ ขาผา กรรมการ นายพงศธร เปียโคกสูง กรรมการ นายสหภาพ สีหาฤทธิ์ กรรมการ นายศุภวัฒน์ แกมกระโทก กรรมการ นายธวัชชัย พรมพาน กรรมการ นายอัษฏา ทุมชะ กรรมการ นายสาโรจน์ สุกใส กรรมการและเลขานุการ นายอภินันท์ เทียงปา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. ประสานงานกับคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในการจัดสถานที่เพื่อความเหมาะสมในการดาเนิน งาน ๒. อานวยความสะดวกเกี่ยวกับการเบิกจ่ายอุปกรณ์ครุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดสถานที่ให้แก่ผู้ ปฏิบัติงาน ๓. จัดตกแต่งสถานที่ในการจัดงานให้สวยงาม สะอาดเรียบร้อยและปลอดภัย

ขอขอบคุณ ๗. คณะกรรมการฝ่ายติดตั้ง ควบคุมแสง สี เสียง นายสุรไกร ไพรสณฑ์ ประธานกรรมการ นายพิทยา ผิวงาม กรรมการ นายสธิปัส บอมขุนทด กรรมการ นายศตวรรษ ศรีม่วง กรรมการ นายศุภวัฒน์ แกมกระโท กรรมการ นายธวัชชัย พรมพาน กรรมการ นายสยาม อาบจะบก กรรมการ นายธนาวุฒิ ตั้งใจ กรรมการ นายสาโรจน์ สุกใส กรรมการ นายอภินันท์ เทียงปา กรรมการ งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค นายสุรศักดิ์ หึกขุนทด กรรมการและเลขานุการ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 นายวิศาล คงสูงเนิน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง สี เสียงให้พร้อมต่อการใช้งาน เช่น ไฟบนเวที, เครื่องเสียง ๒. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ให้พร้อมใช้งานและเพียงพอ ๓. รายงานความพร้อม และปรับแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า โดยปรึกษาขอคาแนะนาจากคณะ กรรมการอานวยการ ๔. ประสานงานกับทุกฝ่ายให้ดาเนินเรียบร้อย ๘. คณะกรรมการฝ่ายเตรียมอุปกรณ์การแสดง และฉาก นายเอกลักษณ์ ทองประเทือง ประธานกรรมการ นายพิทยา ทองสาย กรรมการ นางสาวณัฐพร ตรีสงวนจันทร์ กรรมการ นายสิตา พลจันทึก กรรมการ นางสาวศศิวิมล ข้อสังข์ กรรมการ นางสาวอารีรัตน์ มนปาน กรรมการ นางสาวอภิชญา ฝาชัยภูมิ กรรมการ นางสาวศิริธร นอกพล กรรมการ นางสาวบุษกร สืบค้า กรรมการและเลขานุการ นางสาวศศิธร ไทยประสงค์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการแสดงและฉากในการแสดง ๒. จัดเตรียมเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ ๓. จัดหาช่างแต่งหน้า ทาผม

๙. คณะกรรมการฝ่ายบันทึกวีดีโอ และภาพนิ่ง นายณัฐพงศ์ ชนะชัย ประธานกรรมการ นายปริญญา ดลคุณาเศวต กรรมการ นายอิทธิพล เจตนา กรรมการ นายสิตา พลจันทึก กรรมการและเลขานุการ นายธีระวัฒน์ พลทอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดหาอุปกรณ์บันทึกวีดีโอ และภาพนิ่ง ๒. บันทึกภาพและการแสดงตลอดรายการ ๑๐. คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัย นายฉัตรชัย ถักไธสง ประธานกรรมการ งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค นายรชตภูมิ ปัตตังเว กรรมการ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 นายณัฎฐกิตต์ ลาภสันเทียะ กรรมการ นายรัชตะ วิเศษ กรรมการและเลขานุการ นายธาดา งามศรีประดิษฐ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ ๑. ดูแลความเรียบร้อยของผู้เข้าร่วมงานในการชมการแสดง ๒. ดูแลเรื่องสถานที่จอดรถของแขกผู้มีเกียรติ ๑๑. คณะกรรมการฝ่ายอาหาร และเครื่องดื่ม นางสาวอักษรา สุทราศิริ ประธานกรรมการ นางสาววิชุลัดดา สารวย กรรมการ นางสาวกิตติยา ศรีนอก กรรมการ นางสาวธิดามาศ ศรีนอก กรรมการ นางสาวลดา อินทรวิชัย กรรมการและเลขานุการ นางสาวณัฐธิกา บาลโสง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดเตรียมของว่างและเครื่องดื่มให้แก่แขกผู้มีเกียรติ ๒. ประสานเรืองจัดอาหาร และเครื่องดื่มให้แก่นักแสดง

ขอขอบคุณ ๑๒. คณะกรรมการฝ่ายการเงิน นางสาวณฐพร สวัสดิผล ประธานกรรมการ นางสาวนัทรียา หงอกวิลัย กรรมการ นางสาวสุกัญญา ห่วงญาติ กรรมการ นางสาวฟ้ารุ่ง พวงพิมาย กรรมการและเลขานุการ นางสาวสุทธิดา วิทักษะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. จัดทาบัญชีรายรับ และรายจ่ายต่าง ๆ ๒. หักจ่ายงบประมาณให้แต่ละฝ่ายที่มีความจาเป็นต้องใช้งบประมาณล่วงหน้า ๑๓. คณะกรรมการฝ่ายสรุปผลและประเมินผล งานมหกรรมท่องเที่ยววิถีไทย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค นางสาววรัญญา หนูศรีม่วง ประธานกรรมการ Thai way of tourism fair Follow in the footsteps of Civilization 4 นางสาวอารี สิทธิพันธ์ กรรมการ นางสาวกมลรัตน์ แย้มจอหอ กรรมการ นางสาวกรกภรณ์ ศรีอภัย กรรมการและเลขานุการ นางสาววิลาสินี ศิลา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. ออกแบบประเมินการจัดการแสดง ๒. แจกใบประเมิน เก็บรวบรวม และสรุปผล

THANK YOU ง า น ม ห ก ร ร ม ท่ อ ง เ ที่ ย ว วิ ถี ไ ท ย ตามรอยอารยธรรม 4 ภาค THAI WAY OF TOURISM FAIR FOLLOW IN THE FOOTSTEPS OF CIVILIZATION 4


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook