Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประวัติศาสตร์อยุธยา

ประวัติศาสตร์อยุธยา

Published by วิทวัส สุขจันดา, 2021-09-09 01:29:03

Description: ประวัติศาสตร์อยุธยา

Search

Read the Text Version

09 ประวตั ศิ าสตรน์ ิพนธ์ไทยวา่ ด้วยเร่อื งอยุธยา พ.ศ. 2520 -2529* Thai historiography of Ayutthaya 1977-1986 ปัญจวัลย์ ชาวดง** Panchawan Chaodong * บทความน้ีเปน็ สว่ นหนึ่งของวทิ ยานพิ นธ์เรอ่ื ง “ท้องถ่นิ อยธุ ยาในประวัตศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทย พ.ศ. 2520-2547” ในหลักสตู รปรญิ ญาอกั ษรศาสตรมหาบัณฑติ สาขาประวตั ิศาสตร์ ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ** นักศึกษาปริญญาโท หลกั สตู รปริญญาอักษรศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาประวตั ิศาสตร์ ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั

บ ท คั ด ย่ อ บทความชิน้ นม้ี ุง่ ศกึ ษางานประวตั ศิ าสตร์นพิ นธ์ไทยวา่ ด้วยเร่อื งอยธุ ยา พ.ศ. 2520-2529 โดยเร่ิมจากการสำ�รวจ รวบรวม สถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์ อยุธยา หลังจากน้ันจะเป็นการวิเคราะห์งานประวัติศาสตร์นิพนธ์เหล่าน้ัน รวมทั้ง ศึกษาบริบท และปัจจัยท่ีผลักดันให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วย เรื่องอยุธยาในประเด็นต่างๆ ผลการศึกษาพบว่างานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่า ด้วยเร่ืองอยุธยาช่วง พ.ศ. 2520-2529 ปรากฏประเด็นการศึกษาท่ีหลากหลาย เช่น ประวัติศาสตร์การเมืองและการปกครอง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการค้า ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประวตั ศิ าสตรศ์ ิลปะ เป็นตน้ แสดงถงึ ความสนใจในการศกึ ษาประวัติศาสตร์อยุธยา ของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ แม้งานส่วนใหญ่ยัง คงอธิบายเร่ืองราวของสถาบันกษัตริย์เก่ียวกับบทบาททางด้านการเมืองและการ ปกครอง เศรษฐกิจหรือการต่างประเทศ แตจ่ ะเห็นแนวโน้มการอธิบายเรอื่ งราวทาง สังคมของอยุธยามากขึน้ เชน่ กล่มุ คนในสงั คม วถิ ชี ีวติ ความเปน็ อยู่ของผคู้ นในสงั คม ของอาณาจกั รอยุธยา ซงึ่ การอธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตรท์ ่ปี รากฏภายในงาน ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเร่ืองอยุธยาช่วง พ.ศ. 2520-2529 เกิดจากบริบท ทางสังคม คือ กระแสการอธิบายประวัติศาสตร์ท่ีเน้นความเป็นศูนย์กลางท่ีรัฐชาติ กษัตริย์ ชาตินิยม กระแสการอธิบายประวัติศาสตร์ตามแนวคิดสังคมนิยมของลัทธิ มากซ์ และการค้นพบหลักฐานใหม่ๆ ท้ังภายในและต่างประเทศ ทำ�ให้เกิดความรู้ ใหมๆ่ ในการศกึ ษาประวัติศาสตร์อยธุ ยา นอกจากนน้ี ักวิชาการหลายด้านยังหันมาตี ความประวัติศาสตร์ใหม่จากหลักฐานชุดเดิม สร้างมุมมองและองค์ความรู้ใหม่แก่ วงการประวัติศาสตร์ อีกทั้งประวัติศาสตร์นิพนธ์อยุธยาจำ�นวนหนึ่งสร้างสรรค์เพื่อ ตอบสนองการคน้ คว้าและมมุ มองใหม่ๆ ทางประวัตศิ าสตร์ ค�ำ ส�ำ คัญ: ประวัตศิ าสตร์นพิ นธไ์ ทย, ประวัตศิ าสตร์อยุธยา 204 204 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

Abstract This article investigates Thai historiography related to Ayutthaya from 1977 to 1986. It starts out by surveying and collecting data concerning the state of the field of Ayutthayan historical studies. Subsequently, prior historiographical materials were analyzed in context and with consideration to the factors that contribute to the studies of Thai historiography concerning Ayutthaya in various aspects. Investigative results suggest that Thai historiographical works concerning Ayutthaya from 1977 to 1986 include a wide variety of subjects, such as, political history, economic and commercial history, social and cultural history, history of international relations, and art history. This reflects the diverse interests in the studies of Ayutthayan history by academics, historians, and members of the general public with a special interest in history. Most historical investigations from this period continue to recount stories of royalty, especially the monarch’s role in politics, the economy, and international relations. Nonetheless, there appeared to be an obvious trend towards explanations concerning the social situation of Ayutthaya, such as, the various social groups, the lifestyle of people in society of the Ayutthayan Empire. The explanation of history that appeared in historiographical works concerning Ayutthaya in 1977-1986 arose from the social context of the mainstream historical explanation, which evolved around the nation-state, the monarchy, and nationalism, the Marxist historical explanation, and the discovery of new historical evidence both in Thailand and abroad. This resulted in new findings and new knowledge in the studies of Ayutthayan history. Furthermore, academics from various fields came to propose new interpretations from the old set of evidence. These new interpretations contributed new perspectives and new knowledge to the field of history. This period also saw the rise of new historiographical works that respond to new directions and new perspectives in historical research. Keywords: Thai Historiography, Ayutthaya History Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 205 205

ประวัตศิ าสตร์นพิ นธไ์ ทย วา่ ด้วยเรือ่ งอยุธยา พ.ศ. 2520 -2529 ปญั จวัลย์ ชาวดง เมอื่ กลา่ วถงึ งานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยทป่ี รากฏในสงั คมไทย สว่ น ใหญแ่ บง่ การศกึ ษาออกเปน็ ชว่ งเวลา เพอื่ แสดงภาพของแตล่ ะยคุ แตล่ ะสมยั ท่ีชัดเจน และแสดงถึงความต่อเน่ืองของยุคสมัยหน่ึงมาสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ ซึ่งงานที่ปรากฏล้วนมีประเด็นทางการศึกษาท่ีหลากหลาย ท้ังทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น สำ�หรับงานประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทยท่ีอธิบายหรือกล่าวถึงเรื่องราวของอาณาจักรอยุธยาท่ีปรากฏใน สังคมไทยมีความหลากหลายทางประเด็นการศึกษา เช่น ประวัติศาสตร์ การเมืองและการปกครอง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์สังคม และวฒั นธรรม ประวตั ศิ าสตรค์ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศ ประวตั ศิ าสตร์ ศลิ ปะ เปน็ ตน้ ระยะแรกงานทปี่ รากฏสว่ นใหญอ่ ธบิ ายเรอ่ื งราวของสถาบนั พระมหากษตั รยิ ท์ ส่ี มั พนั ธก์ บั อาณาจกั รอยธุ ยา ทงั้ พระราชประวตั ิ พระราช กรณียกิจ การเมืองการปกครอง และการสงครามเป็นสำ�คัญ จนบางคร้ัง การอธิบายประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยาถูกบดบังโดยเรื่องราวของ สถาบันพระมหากษตั ริย์ ส่งผลให้เรอื่ งราวทางประวตั ศิ าสตรส์ ่วนอน่ื ๆ ของ อาณาจกั รอยธุ ยาถกู ลดความส�ำ คญั ลง หรอื อาจอธบิ ายเพยี งสว่ นทเ่ี กยี่ วพนั กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ทำ�ให้การศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาในระยะ 206 206 วดาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาิชารการ คณะโบราณคดี

แรกกลายเปน็ ยคุ จารตี ทเ่ี นน้ การอธบิ ายสถาบนั พระมหากษตั รยิ ท์ สี่ มั พนั ธก์ บั อาณาจกั รอยธุ ยาเปน็ ส�ำ คญั อยา่ งไรกต็ ามเมอ่ื ยคุ สมยั เปลยี่ นแปลงไปบรบิ ท ทางสังคมมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยเพิ่มขึ้น ท้ังกระแสการอธิบายประวัติศาสตร์ตามแนวคิดสังคมนิยมของลัทธิมากซ์ การคน้ พบหลกั ฐานใหมๆ่ ทง้ั ภายในและตา่ งประเทศ ท�ำ ใหเ้ กดิ ความรใู้ หมๆ่ ในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ รวมท้ังการศึกษาประวตั ิศาสตร์อยุธยาด้วย อกี ท้งั การหนั มาตีความประวตั ศิ าสตรใ์ หม่จากหลักฐานชุดเดมิ ของนักวชิ าการ ยังสรา้ งมุมมองและองคค์ วามรู้ใหมแ่ ก่วงการประวัตศิ าสตรด์ ว้ ย ซงึ่ ในยุคนี้ อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเร่ืองอยุธยามิได้ มงุ่ เนน้ การศกึ ษาเรอ่ื งราวของสถาบนั พระมหากษตั รยิ เ์ พยี งอยา่ งเดยี ว แตย่ งั ศกึ ษาเรอ่ื งราวสว่ นอน่ื ๆ ของอาณาจกั รอยธุ ยาเพม่ิ ขน้ึ เชน่ คนกลมุ่ ตา่ งๆ ใน สงั คม วิถีชีวติ ความเปน็ อยู่ วัฒนธรรม ความเชอ่ื ความศรัทธา เป็นต้น เพื่อ อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยาได้ชัดเจนและลุ่ม ลึกมากย่ิงขึ้น ซึ่งบทความชิ้นนี้ต้องการแสดงงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย วา่ ด้วยเรือ่ งอยุธยา พ.ศ. 2520-2529 ทีม่ คี วามหลากหลายทางการศกึ ษา มากข้นึ กว่ายุคกอ่ นหนา้ ทเ่ี คยศึกษามา Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 207 207

บทบริบททางสงั คม ท่มี ผี ลตอ่ การสร้างงานประวัติศาสตร์นพิ นธ์ไทย บริบททางสังคมท่ีส่งผลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยยุคน้ี มาจากกระแสความพยายามในการอธบิ าย ศึกษา วเิ คราะหป์ ระวตั ิศาสตร์ นิพนธ์ในยุคจารีต เน้ือหายังคงอธิบายเร่ืองราวของสถาบันกษัตริย์เก่ียว กับบทบาททางด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจหรือการต่าง ประเทศ (สถาบันกษัตริย์) ซึ่งการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยใน ช่วงทศวรรษ 2520 เป็นส่ิงท่ีสืบเนื่องมาจากแนวการเขียนอันเกิดจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งก่อให้เกิดลักษณะของการเขียน ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกระแสหลักที่เน้นความเป็นศูนย์กลางท่ีรัฐชาติ กษตั รยิ ์ ชาตนิ ยิ ม ซง่ึ แนวเขยี นดงั กลา่ วสบื เนอื่ งมาตง้ั แตช่ ว่ งการเปลยี่ นแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 จนกระท่ังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ การเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2510 ส่งผลให้งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ ไทยกระแสหลักยังคงเป็นจารีตการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ท่ียังคงเป็น ท่ีนิยมและปรากฏในสังคมไทยเสมอมา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ที่นิยมผลิต งานเขียนประวัติศาสตร์กระแสหลักท่ีสำ�คัญ เช่น ศาสตราจารย์รอง ศยา มานนท์ และศาสตราจารยข์ จร สขุ พานิช เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏนัก ประวตั ศิ าสตร์สมัครเล่นทสี่ นใจผลติ งานกระแสหลกั ด้วย เช่น ณฐั วฒุ ิ สทุ ธิ สงคราม ประยทุ ธ สทิ ธพิ นั ธุ์ เปน็ ตน้ 1 ส�ำ หรบั งานประวตั ศิ าสตรก์ ระแสหลกั ของณฐั วฒุ สิ ะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากทฤษฎมี หาบรุ ษุ 2 เนน้ ใหค้ วาม ส�ำ คญั แกช่ นชน้ั น�ำ ในสงั คม ฐานะทมี่ บี ทบาทก�ำ หนดความเปน็ ไปของสงั คม 1 ยุพา ชุมจันทร,์ “ประวตั ิศาสตร์นิพนธไ์ ทย พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2516,” (วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญา มหาบณั ฑิต ภาควชิ าประวัติศาสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2530), 113. 2 ทฤษฎีมหาบรุ ษุ หมายถึง ภาวะผนู้ �ำ ท่เี กิดขึน้ เองตามธรรมชาติหรือเป็นคุณลักษณะทีต่ ิดตัวมา แต่กำ�เนดิ ไมส่ ามารถเปลยี่ นแปลงได้ แต่สามารถพัฒนาข้นึ ได้ (อรวรรณ อมรชร, ทฤษฎภี าวะ ผนู้ �ำ (Leadership Theorise) (ออนไลน์), เขา้ ถึงเมอ่ื 1 เมษายน 2556. เข้าถึงจาก www. learner.in.th/blogs/posts/532759) 208 208 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาิชารการ คณะโบราณคดี

ทงั้ ยงั ปรากฏแนวคิดชาตนิ ยิ มยกย่อง เชิดชูมหาบุรุษของชาตไิ ทย3 สง่ ผลให้ ชว่ งทศวรรษ 2520 ปรากฏงานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยกระแสหลกั ทย่ี งั คง ดำ�รงอยู่ในสงั คมไทย และผลิตงานลกั ษณะดังกลา่ วนคี้ วบคไู่ ปกบั งานเขียน ประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธก์ ระแสรองตามแนวคดิ แบบสงั คมนยิ มในทศวรรษนด้ี ว้ ย นอกจากนบ้ี รบิ ททางสงั คมอกี ประการหนง่ึ ทสี่ ง่ ผลตอ่ การศกึ ษา การ อธบิ ายประวตั ิศาสตรน์ ิพนธไ์ ทย นา่ จะเกิดจากกระแสของลทั ธมิ ากซ์ หรือ แนวคิดแบบสังคมนิยมของลัทธิมากซ์ กล่าวคือ งานศึกษาประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทยได้รับแนวคิดแบบสังคมนิยมของลัทธิมากซ์เร่ิมปรากฏชัด ในช่วงทศวรรษ 2490 ปรากฏงานประวัติศาสตร์กระแสหลัก และงาน ประวัติศาสตร์กระแสรอง ซึ่งประวัติศาสตร์กระแสรองคือการใช้ทฤษฎี สังคมศาสตร์เพ่ือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย และเป็นจุดเร่ิม ตน้ ของประวตั ศิ าสตรป์ ระชาชน โดยเนน้ การอธบิ ายเรอื่ งราวของประชาชน เปน็ แกนกลางของการศกึ ษา4 อยา่ งไรกต็ ามหลงั จากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรชั ต์ กอ่ รัฐประหาร พ.ศ. 2501 การนำ�เสนอแนวคิดก้าวหนา้ ที่ขัดแยง้ กบั อ�ำ นาจ รัฐบาลกลายเป็นส่ิงต้องห้าม ส่งผลให้การศึกษาแนวคิดแบบสังคมนิยมดัง กล่าวถูกปิดก้ันไป จนกระท่ังช่วง พ.ศ. 2516-2519 กระแสของแนวคิด สงั คมนยิ มแบบมารก์ ไดร้ บั การรอื้ ฟน้ื ขน้ึ มาศกึ ษาอกี ครงั้ และการกลบั มาของ แนวคดิ ดงั กลา่ ว5 มอี ทิ ธพิ ลตอ่ แนวคดิ ทางการศกึ ษาประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทย วา่ ดว้ ยเรอื่ งอยธุ ยาในชว่ ง พ.ศ. 2520-2529 ปรากฏการอธบิ ายทง้ั เรอื่ งกลมุ่ คน ชมุ ชน หม่บู า้ น วิถีชวี ิต วัฒนธรรม และความเชอื่ ของคนสงั คมอยธุ ยา นอกจากน้ีการค้นพบหลักฐานใหม่ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ทำ�ให้เกิดการความรู้ใหม่ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา นอกจากนี้ 3 ยพุ า ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตรน์ ิพนธไ์ ทย พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2516”, 116. 4 เร่อื งเดยี วกัน, 143. 5 เร่อื งเดยี วกัน, 153. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 209 209

นักวิชาการหลายด้านยังหันมาตีความประวัติศาสตร์ใหม่จากหลักฐานชุด เดมิ สรา้ งมมุ มองและองคค์ วามรใู้ หมแ่ กว่ งการประวตั ศิ าสตร์ ประวตั ศิ าสตร์ นิพนธ์อยุธยาจำ�นวนหนึ่งสร้างสรรค์เพ่ือตอบสนองการค้นคว้าและมุมมอง ใหม่ๆ เชน่ การขดุ คน้ หมู่บา้ นโปรตเุ กสของกรมศิลปากรใน พ.ศ. 2527 น�ำ ไปสู่การผลิตบทความในวารสารฉบับต่างๆ เก่ียวกับหมู่บ้านโปรตุเกสและ ประวตั ศิ าสตรค์ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งไทยกบั โปรตเุ กสตง้ั แตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั หรือการผลิตงานในโอกาสพิเศษต่างๆ การผลิตงานเก่ียวกับความสัมพันธ์ เชน่ ใน พ.ศ. 2527 ถอื เปน็ ปคี รบรอบ 300 ปี ความสัมพันธร์ ะหว่างไทย กบั ฝรงั่ เศส ท�ำ ใหใ้ นชว่ ง พ.ศ. 2526-2528 มีบทความประวตั ิศาสตร์เกี่ยว กับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝร่ังเศสออกมาหลายชุด บริบททางสังคม เหล่านี้ส่งผลต่อการศึกษางานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยา ในชว่ งเวลาดงั กลา่ วใหม้ ีความหลากหลายเพิ่มข้นึ งานประวตั ิศาสตรน์ ิพนธ์ไทย พ.ศ. 2520-2529 งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2520-2529 พบงานศึกษาที่มี ประเดน็ การน�ำ เสนอทหี่ ลากหลาย ทงั้ ดา้ นการเมอื ง การปกครอง เศรษฐกจิ สังคม วัฒนธรรม ศิลปกรรม ความสมั พันธร์ ะหวา่ งประเทศ เปน็ ตน้ ซ่งึ งาน ประวตั ิศาสตรน์ ิพนธ์ไทย พ.ศ. 2520-2529 สามารถแบง่ ประเภทงานออก เปน็ 3 กลมุ่ คอื การเมอื ง เศรษฐกจิ สงั คมและวฒั นธรรม มรี ายละเอยี ดดงั นี้ ด้านการเมอื ง งานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยดา้ นการเมอื ง อธบิ ายรายละเอยี ดเกยี่ ว กบั บรรยากาศทางการเมอื งของอาณาจกั ร บทบาททางการเมอื งของคนกลมุ่ ตา่ งๆ ในสังคมอยธุ ยา เป็นตน้ ซ่งึ งานประวัตศิ าสตรน์ พิ นธใ์ นกลุม่ การเมอื ง อยุธยาปรากฏ อาทิ งานที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานวุ งศข์ องอาณาจกั รอยธุ ยา ทงั้ บทบาททางการเมอื ง การ ปกครอง และพระราชกรณีกิจที่สำ�คัญ รวมท้ังพระราชประวัติของแต่ละ 210 210 วดาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

พระองค์ เชน่ “การเมอื งไทยสมัยพระนารายณ์”6 ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็น บทความที่เสนอในการประชุมสัมมนาประวัติศาสตร์ลพบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 ปีถดั มาสถาบันไทยคดศี ึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรจ์ ัดพมิ พ์ เผยแพรใ่ นเอกสารวชิ าการของสถาบนั และภายหลงั น�ำ กลบั มาตพี มิ พเ์ ปน็ รปู เลม่ อกี หลายครง้ั หนงั สอื เลม่ นอ้ี ธบิ ายประวตั ศิ าสตรก์ ารเมอื งในสมยั แผน่ ดนิ สมเด็จพระนารายณ์ ด้วยมุมมองและการตีความประวัติศาสตร์ท่ีต่างจาก ความเข้าใจก่อนหน้า โดยกล่าวว่าการที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงสนับสนุน ให้กลุ่มชาวต่างชาติเข้ามาในราชสำ�นัก และการตั้งกองกำ�ลังส่วนพระองค์ ท่ีประกอบไปด้วยชาวต่างชาติ เกิดจากปัญหาการเมืองภายในอาณาจักร อยุธยามากกว่าปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งนี้ปัญหาจากการเมือง ภายในอาณาจักรอยุธยานี้เองเป็นแรงผลักดันให้เกิดนโยบายต่างประเทศ ในชว่ งเวลาดงั กลา่ ว ซ่งึ แนวคิดของนธิ ใิ นงานเขียนนีแ้ ตกต่างจากคำ�อธบิ าย กอ่ นหนา้ ทเี่ นน้ วา่ ปญั หาการเมอื งของอยธุ ยาในรชั สมยั สมเดจ็ พระนารายณ์ เกิดข้ึนมาจากบทบาทของชาวต่างชาติมีสาเหตุมาจากการที่พระนารายณ์ ต้องการกำ�ลังต่างชาติเพอื่ ถว่ งดลุ อำ�นาจของตา่ งชาติกันเอง “ชีวิตในประวัติศาสตร์”7 โดยณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ตีพิมพ์ครั้ง แรก พ.ศ. 2523 หนังสือเล่มนี้เน้นอธิบายเรื่องราวของสถาบันพระมหา กษตั รยิ ์ พระราชกรณียกจิ และการสงครามตง้ั แตส่ มัยกรงุ ศรอี ยุธยาถึงกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ โดยเฉพาะในสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาได้อธบิ ายถึงบทบาททางการ เมืองในสมัยอยุธยา เช่น บทบาทของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ในแผ่นดิน สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าชท่ีผลกั ดันพนั บุตรศรเี ทพไดก้ ้าวขึน้ ส่ตู ำ�แหนง่ เป็น ขุนวรวงศาธิราช และได้รับการราชาภเิ ษกขึน้ เป็นพระเจ้าแผน่ ดนิ แม้จะได้ ครองราชย์ได้ไม่นานแต่แสดงให้เห็นถึงบทบาทและอิทธิพลทางการเมือง 6 นธิ ิ เอียวศรีวงศ,์ การเมอื งไทยสมยั พระนารายณ์ (กรงุ เทพฯ: สถาบนั ไทยคดีศกึ ษา มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, 2523). 7 ณฐั วฒุ ิ สทุ ธสิ งคราม, ชวี ิตในประวัตศิ าสตร์ (กรงุ เทพฯ: วัชรินทรก์ ารพมิ พ์ , 2523). Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 211 211

ของสตรีสูงศักดิ์ในสมัยอยุธยา รวมถึงบรรยากาศการเมืองในสมัยดังกล่าว ได้ชัดเจน ซ่งึ งานของณฐั วฒุ ิ ส่วนใหญเ่ นน้ การอธิบายชีวประวตั ิของบุคคล ชั้นนำ�แทบทั้งส้ิน และยกย่องว่าเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง8 “ประวัติศาสตร์ มหาอาณาจักรไทย”9 ของประยุทธ สิทธิพันธ์ุ พิมพ์คร้ัง แรก พ.ศ. 2527 หนงั สอื เลม่ นอ้ี ธบิ ายถงึ ประวตั ศิ าสตรไ์ ทยตงั้ แตส่ มยั ยคุ ขอม ยังเรืองอำ�นาจอยู่ในอาณาจักรไทยจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส�ำ หรบั การอธบิ ายเกย่ี วกบั ประวตั ศิ าสตรอ์ ยธุ ยาในหนงั สอื เลม่ นี้ อธบิ ายถงึ แผน่ ดนิ ของพระมหากษตั รยิ อ์ งคต์ า่ งๆ ทแี่ สดงใหเ้ หน็ ถงึ บรรยากาศทางการ เมอื ง การแกง่ แยง่ ชงิ อำ�นาจกนั ในรชั สมัยของพระมหากษัตรยิ บ์ างพระองค์ การเขา้ มามบี ทบาทของขนุ นางในสมยั อยธุ ยา และพระราชกรณยี กจิ ทสี่ �ำ คญั ของพระมหากษตั รยิ ์ในสมยั อยุธยา เป็นตน้ “การเมอื งไทยสมยั พระเจา้ กรงุ ธนบรุ ”ี 10 พ.ศ. 2529 ของนธิ ิ เอยี วศรี วงศ์ อธบิ ายการเมอื งสมยั พระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี หรอื พระเจา้ ตากสนิ โดยเฉพาะ ประเดน็ การเมอื งปลายสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา กอ่ นเสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยาครง้ั ท่ี 2 อนั สง่ ผลตอ่ การเมอื งสมัยธนบรุ ีในเวลาตอ่ มา หลังเสียกรุงศรีอยุธยาเกดิ หนว่ ย ปกครองแบบชมุ นมุ กก๊ เหลา่ ตา่ งๆ ตงั้ ตนเปน็ ใหญ่ ไมไ่ ดร้ วมกนั เปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี ว เชน่ สมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา สง่ ผลใหภ้ ายหลงั จากกอบกเู้ อกราชพระเจา้ กรุงธนบุรตี อ้ งทรงปราบชมุ นมุ กก๊ เหลา่ ตา่ งๆ เพือ่ รวมให้เปน็ กรุงธนบรุ ที ี่ เปน็ ปกึ แผ่นอย่ภู ายใตก้ ารปกครองของพระองค์ การตัง้ ตนเปน็ ชมุ นุมต่างๆ ภายหลงั การเสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยาใน พ.ศ. 2310 เปน็ ผลมาจากกอ่ นการเสยี กรงุ การเมืองภายในอยธุ ยาเกดิ ความป่นั ปว่ นวนุ่ วาย เกิดกบฏในหวั เมอื งใหญๆ่ เชน่ นครศรีธรรมราช และนครราชสีมา เปน็ ต้น ท�ำ ให้อ�ำ นาจของรฐั บาล 8 ยพุ า ชุมจนั ทร,์ “ประวตั ิศาสตรน์ ิพนธไ์ ทย พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2516,” (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหา บณั ฑติ ภาควชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2530). 115. 9 ประยทุ ธ สทิ ธพิ นั ธ,์ ประวตั ศิ าสตร์ มหาอาณาจกั รไทย, (สมทุ รปราการ: แกว้ บรรณกจิ , 2527). 10 นธิ ิ เอยี วศรวี งศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรงุ ธนบรุ ี, (กรงุ เทพฯ: ศลิ ปวฒั นธรรม, 2529). 212 212 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาิชารการ คณะโบราณคดี

กลางถูกบน่ั ทอนและล้มเหลวในการควบคุม ซึ่งสะท้อนให้เห็นความไม่เปน็ หนึง่ เดียวของรฐั บาลกลางและหวั เมืองตา่ งๆ ซึง่ นธิ อิ ธิบายว่า “...การเสียอาณาจกั รอยธุ ยาวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ความจรงิ แล้วอาณาจักรอยุธยาได้พังทลายลงก่อนก่อนหน้ากำ�แพงเมืองอยุธยาจะ ถูกทำ�ลายลง กำ�ลังจากภายนอกได้บ่อนทำ�ลายสายสัมพันธ์อันเปราะบาง ของหวั เมอื งและราชธานลี งอยา่ งยอ่ ยยบั อาณาจกั รอยธุ ยามไิ ดม้ โี อกาสตอ่ สู้ ต่อข้าศึกเย่ียงราชอาณาจักรพึงจะทำ� แต่ต้องต่อสู้เพื่อความปลอดภัยของ เมืองตนอย่างกระจัดกระจายกัน ส่วนหนึ่งของความโกลาหลและอ่อนแอ เหล่านี้อาจเป็นความล้มเหลวของผู้นำ� แต่ส่วนสำ�คัญท่ีสุด คือ ความล้ม เหลวของระบบการเมอื งและสงั คมของอยธุ ยาในการจะปอ้ งกนั ภยั จากศตั รู ภายนอก...”11 ซ่ึงก่อนกรุงแตกอำ�นาจท้องถิ่นในแถบนครราชสีมาได้แยก ตัวจากอาณาจักรอยุธยาแล้ว12 “...การเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 จงึ ไมใ่ ชก่ ารสญู เสียเอกราชของรัฐหนง่ึ ให้แกร่ ฐั หน่ึงเท่าน้ัน แตเ่ ป็นหวั เลีย้ ว หัวต่อท่ีราชอาณาจักรท่ีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ในระดับหนึ่ง) ก�ำ ลังแตก สลายลงโดยสิ้นเชงิ ...”13 ภายหลังการสลายตวั ลงของอาณาจกั รอยุธยา ท�ำ ให้ผนู้ ำ�เดิมภายใต้ อำ�นาจของอยุธยาทุกคนเสมอกัน ไม่มีการกำ�หนดยศถาบรรดาศักด์ิหรือ ศักดินา ประหน่ึงว่าใครเข้มแข็งที่สุด คือ ผู้นำ�กลุ่ม ทำ�ให้กลุ่มคนในช่วง นน้ั เกิด ก๊กใหญ่ๆ 5 กก๊ 14 และจากสภาพบา้ นเมืองทแี่ ตกแยกจึงสง่ ผลต่อ การเมอื งไทยสมยั ธนบุรีในเวลาต่อมา งานชนิ้ น้ีเปน็ การอธบิ ายทั้งการเมือง อยุธยาในช่วงปลายสมัยและการเมืองสมัยธนบุรีที่ส่งผลต่อมุมมองและ 11 เรื่องเดียวกนั , 21. 12 เรอ่ื งเดยี วกนั , 29. 13 เรื่องเดียวกนั , 4. 14 เรอ่ื งเดียวกนั , 35-36. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 213 213

ทัศนคติทางประวัติศาสตร์การเมืองในสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นกรุง รตั นโกสนิ ทร์ งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่อธิบายบรรยากาศทางการเมืองของ อาณาจักรอยุธยา และบทบาททางการเมืองของผู้คนกลุ่มต่างๆ รวมถึง กลุ่มอิทธิพลทางการเมอื งของอาณาจกั รอยธุ ยา เชน่ บทความเร่อื ง “กบฏ ไพร่สมัยอยุธยากับแนวความคิดผู้มีบุญ-พระศรีอาริย์-พระมาลัย”15 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตีพิมพ์ลงวารสารธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2522 กล่าวถึง การกบฏของไพร่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือสภาพทางการเมืองภายในและภายนอก เช่น สงคราม หรือความปั่นป่วนภายในศูนย์กลางมีส่วนจุดชนวนของการกบฏ ได้เช่นเดียวกัน สำ�หรับสาเหตุความล้มเหลวในการก่อการกบฏ เกิดจาก การปราบปรามของฝ่ายราชการโดยใช้กองทัพและอาวุธที่ทันสมัย โดย ฝ่ายกบฏเสียเปรียบในเรื่องน้ี เน่ืองจากมีเพียงความเชื่อเร่ืองความอยู่ยง คงกระพัน หรือคาถาอาคม สำ�หรับการแย่งชิงอำ�นาจในสมัยอยุธยาท่ีทำ� ส�ำ เรจ็ เกดิ ขน้ึ วงในทงั้ สิ้น เช่น กรณีของพระมหาธรรมราชา หรอื กรณีของ พระเพทราชาท่ีแย่งชิงอำ�นาจจากพระนารายณ์โดยการรัฐประหารในราช ส�ำ นกั น่ีคอื สาเหตหุ นง่ึ ท่ีกบฏของไพร่ซึง่ เปน็ การท้าทายอ�ำ นาจจากวงนอก ไม่สามารถจะกำ�ชัยชนะได้16 และยังปรากฏงานที่อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยากับนานาประเทศที่เดินทางเข้ามาส รา้ งสมั พนั ธไมตรีทางการทูตกับอยุธยา สร้างสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ท่จี ะ ได้รบั จากอาณาจกั รอยธุ ยา เช่น บทความจากเอกสารสมั มนา 300 ปีความ สมั พนั ธไ์ ทย-ฝรงั่ เศส 14 -15 ธนั วาคม 2527 เร่ือง “ความสัมพันธร์ ะหว่าง 15 ชาญวทิ ย์ เกษตรศิร,ิ “กบฏไพรส่ มัยอยุธยากบั แนวความคิดผมู้ ีบญุ -พระศรีอารยิ ์-พระมาลัย,” ศลิ ปากร 9,1 (กรกฎาคม-กันยายน 2522): 53-86. 16 เร่อื งเดยี วกัน, 84-86. 214 214 วดาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาิชารการ คณะโบราณคดี

ไทยและฝรง่ั เศสสมัยกรงุ ศรอี ยุธยา: ความบังเอญิ และความจ�ำ เป็น”17 ของ Gilles Delouche อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝร่ังเศสในสมัย อยุธยา ความมุ่งหมายที่แตกต่างกันของทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศส ส่งผลให้ ขาดเสถยี รภาพทางการเมอื งและท�ำ ใหค้ วามสัมพันธ์ของท้ังสองประเทศไม่ ไดด้ �ำ เนนิ ไปตามความตอ้ งการของทง้ั สองฝา่ ย บทความตอ่ มาเรอื่ ง “เอกสาร สำ�คัญแห่งชาติเกี่ยวกับคณะราชทูตฝร่ังเศสและไทยในแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-พ.ศ. 2231)”18 ซ่ึงแปลโดยปอล ซาเวียร์ จดั พมิ พโ์ ดยกองวรรณคดแี ละประวตั ศิ าสตร์ กรมศลิ ปากร เปน็ เอกสารของ ราชทูต บันทกึ ล�ำ ดับเหตุการณใ์ นสมยั สมเด็จพระนารายณม์ หาราช นอกจากนยี้ งั ปรากฏงานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยวา่ ดว้ ยเรอื่ งอยธุ ยา ทีเ่ น้นการอธิบายเรอ่ื งราวทางการเมอื งอีกหลายชน้ิ เช่น “บทบาทมุสลมิ ใน ปลายสมัยอยุธยา-ธนบุรี พ.ศ. 2300-2350” ของเพญ็ ศรี กาญจโนมัย และ นนั ทนา กปลิ กาญจน์ “เจดยี ย์ ทุ ธหตั ถมี จี รงิ หรอื ” ของพเิ ศษ เจยี จนั ทรพ์ งษ์ “สมเด็จพระเพทราชาเปน็ ชาวสุพรรณและเปน็ ขบถหรอื ?” ของมนัส โอภา กุล “การศึกษาวิเคราะห์การทำ�สงครามไทยกับพม่า พ.ศ. 2081-2310” ของอนันต์ วิริยะพินิจ “การดึงอำ�นาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยพระเจ้าติโลก- ราช พ.ศ. 1985-พ.ศ. 2030” ของดวงฤทัย หริ ัญสถติ “คดีข้เี มา หรอื “คดี การเมือง” เหตเุ กิดเม่ือชาวดทั ช์ไปปคิ นิคในกรุงศรีอยธุ ยาเม่อื พ.ศ. 2179: สารคดพี เิ ศษเชิงวชิ าการ” บุญยก ตามไท แปลเรยี บเรียงมาจาก “A Dutch Picnic In Ayutthaya, 1636” ของ Han ten Brummelhuis และ John Kleinen “ฐานะของเมอื งสพุ รรณบุรีในประวตั ิศาสตร์อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 17 Gilles Delouche, “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรง่ั เศสสมยั กรงุ ศรีอยธุ ยา: ความบังเอญิ และความจำ�เป็น. เอกสารสัมมนา 300 ปคี วามสมั พันธ์ไทย-ฝรง่ั เศส,” ภาควิชาประวตั ศิ าสตร์ คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั รามคำ�แหง และศนู ย์ยุโรปศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย (14 -15 ธันวาคม 2527): 61-89. 18 ปอล ซาเวียร์ (แปล), “เอกสารส�ำ คัญแหง่ ชาติเก่ยี วกบั คณะราชทูตฝรง่ั เศสและไทยในแผ่น ดนิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-พ.ศ. 2231),” ศลิ ปากร 30,4 (กันยายน 2529): 48-58. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 215 215

1893-2231” ของรัตนา หนูน้อย “กบฏไพร่สมัยอยุธยา” ของสุเนตร ชตุ นิ ธรานนท์ “กรงุ แตก: ราชอาณาจกั รอยุธยาสลายตัว” ของนิธิ เอยี วศรี วงศ์ “A Political History of Siam under the Prasatthong Dynasty 1629-1688” ของธรี วตั ณ ปอ้ มเพชร “การศกึ ษาวเิ คราะห์ ความชอบธรรม ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยอยุธยา: รายงานการวิจัย” ของ จนั ทร์ฉาย ภคั อธคิ ม เปน็ ต้น เศรษฐกจิ งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยา ด้านเศรษฐกิจ ใน ช่วง พ.ศ. 2520-2529 อธิบายเรื่องการค้าภายในอาณาจักรอยุธยา ทั้ง บรรยากาศทางการค้า ผู้คนกลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร ที่เข้ามาสูเ่ ศรษฐกิจการคา้ ของอาณาจกั ร รวมท้ังอธบิ ายตลาด ยา่ นการค้า ภายในอาณาจกั ร และสินค้าตา่ งๆ ทสี่ ามารถคา้ ขายและพบเหน็ ไดภ้ ายใน อาณาจักรอยุธยา งานประวัตศิ าสตรน์ ิพนธ์ดา้ นเศรษฐกิจที่อธิบายเก่ียวกับ ระบบเศรษฐกจิ ของอาณาจกั รอยธุ ยา เชน่ “ระบบเศรษฐกจิ อยธุ ยา”19 พ.ศ. 2525 ของประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล ศึกษากำ�เนิดลักษณะและพัฒนาของ ระบบเศรษฐกิจอยุธยา โดยอธบิ ายถึงสภาพการเมอื ง เศรษฐกจิ และสงั คม ของอยุธยาผา่ นระบบเศรษฐกิจของอยุธยา โดยระบบเศรษฐกิจอยุธยาเกิด จากการเกษตรแบบล่มุ นํา้ และเศรษฐกจิ แบบส่งสว่ ย ซง่ึ เป็นวัฒนธรรมพืน้ บ้านรวมกับอุดมการณ์ทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ ซ่ึงมีปฏิสัมพันธ์กับ การขยายตัวของการค้าต่างประเทศกับเอกชนชาวจีน ระบบน้ีมีพระมหา กษตั รยิ เ์ ป็นผู้ออกกฎ และก�ำ หนดการค้าภายในอาณาจกั รอยธุ ยา เช่น การ เรยี กเกณฑ์แรงงาน ผลผลติ ทรัพยากร การเกบ็ ส่วยตา่ งๆ จากราษฎร ภาษี อากรตา่ งๆ ฤชาธรรมเนยี ม การควบคมุ การคา้ ภายใน การผกู ขาดสนิ คา้ รวม ถึงการทำ�การคา้ กับต่างประเทศ โดยผา่ นกลไกทางการค้าหรอื กล่มุ ร่วมผล 19 ประสิทธ์ิ รุ่งเรอื งรัตนกลุ , “ระบบเศรษฐกิจอยธุ ยา,” (วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบณั ฑิต ภาค วชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2525). 216 216 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาิชารการ คณะโบราณคดี

ประโยชน์ เชน่ สถาบนั ขนุ นาง สถาบนั พระบรมวงศานวุ งศ์ และชาวตา่ งชาติ เปน็ ตน้ สว่ นประชาชนทอ่ี ยใู่ นระบบไพรใ่ นสงั คมอยธุ ยา กลบั ไมไ่ ดร้ บั โอกาส ให้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมภายในระบบเศรษฐกิจของอยุธยาแต่อย่าง ใด ส่งผลให้ไม่เกิดชนช้ันกลางที่มาจากชาวพ้ืนเมือง ส่วนในเรื่องของการ ถา่ ยเทผลติ ผล ทรพั ยากรแรงงานและเงนิ ตราจากชนบทสศู่ นู ยก์ ลางของราช อาณาจักรเป็นไปอย่างรุนแรง รัฐไม่นำ�ผลประโยชน์จากการเก็บส่วย ภาษี อากรต่างๆ มาใช้จ่ายในด้านชลประทาน หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และคติพทุ ธศาสนา ค�ำ สอนความสัมพันธข์ องพระสงฆ์กับชาวบา้ น และวัด กับหมู่บ้าน มีส่วนช่วยลดทอนความรุนแรงของไพร่ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ อยธุ ยาไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ชมุ ชน หมบู่ า้ น สามารถด�ำ รงอยไู่ ดใ้ นลกั ษณะพอเพยี ง ในการดำ�เนินชีวิตภายในระบบเศรษฐกิจอยุธยา20 ซ่ึงทำ�ให้ประสิทธิสรุป ว่าปจั จยั ดงั กล่าวไม่ทำ�ใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสมัยอยธุ ยา “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484”21 พ.ศ. 2527 หนงั สอื รวมบทความเกยี่ วกบั ประวตั ศิ าสตรเ์ ศรษฐกจิ ไทยจนถงึ พ.ศ. 2484 มี ฉตั รทพิ ย์ นาถสุภา และสมภพ มานะรังสรรค์ เป็นบรรณาธกิ าร ประกอบ ด้วยบทความเช่น ระบบเศรษฐกจิ ไทยสมยั อยุธยา ไพรใ่ นสมัยอยธุ ยา หรือ ระบบศกั ดนิ า สว่ นหนงึ่ ของงานเปน็ การศกึ ษาสภาพสงั คมและเศรษฐกจิ ของ ไทยในบทความเรื่อง “ระบบเศรษฐกิจไทยสมัยอยุธยา”22 ของสิริลักษณ์ ศักดิ์เกรียงไกร อธิบายระบบราชการอันเป็นกลไกของรัฐ ท่ีมีส่วนให้เกิด การระดมทนุ ของชนช้ันพ่อคา้ ชาวจีน ก่อให้เกิดการประนปี ระนอมระหว่าง ฝา่ ยศกั ดนิ ากบั ฝา่ ยพอ่ คา้ เอกชน ตา่ งกบั ยโุ รปทอี่ �ำ นาจทนุ การคา้ ของพอ่ คา้ 20 เรื่องเดยี วกัน, จ. 21 ฉตั รทิพย์ นาถสภุ า และสมภพ มานะรังสรรค์ (บรรณาธิการ), ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกจิ ไทย จนถงึ พ.ศ. 2484, (กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร,์ 2527). 22 สิรลิ กั ษณ์ ศักดเ์ิ กรียงไกร เขยี น, “ระบบเศรษฐกจิ ไทยสมยั อยธุ ยา,” ใน ประวตั ศิ าสตร์ เศรษฐกจิ ไทยจนถึง พ.ศ. 2484, ฉตั รทพิ ย์ นาถสภุ า และสมภพ มานะรงั สรรค์ (บรรณาธกิ าร), (กรงุ เทพฯ: โรงพิมพม์ หาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร,์ 2527), Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 217 217

สามารถเปลย่ี นพลงั แรงงานสทู่ นุ ในมอื ของชนชนั้ นี้ เกดิ แรงงานอสิ ระเหน็ ได้ จากผลผลติ สว่ นเกนิ ทางเศรษฐกจิ จากความสมั พนั ธท์ างแรงงาน ซงึ่ ตา่ งจาก ลักษณะการสะสมทุนของพ่อค้าในสังคมศักดินาสมัยอยุธยา ที่ไม่สามารถ ทำ�ใหก้ จิ กรรมหัตถกรรมแยกจากกิจการเกษตรกรรม ตลาดภายในไมข่ ยาย ตวั ไมเ่ กดิ แรงงานอสิ ระจากความสมั พนั ธช์ มุ ชนหมบู่ า้ น ดงั นนั้ ฐานเศรษฐกจิ ของชนชนั้ พอ่ คา้ (จนี ) จงึ ออ่ นแอ สมยั อยธุ ยาและสมยั รตั นโกสนิ ทรก์ อ่ นเปดิ การคา้ เสรี พ.ศ. 2398 การผลติ ภายในยงั มลี กั ษณะผลติ เพอ่ื สง่ สว่ ยและเพอื่ เลีย้ งชพี อีกทั้งยังไม่มีเทคนคิ การผลติ อกี ด้วย23 ใน พ.ศ. 2527 พบบทความประวัติศาสตร์อยุธยาด้านเศรษฐกิจที่ อธิบายเก่ียวกับตลาด ย่านการค้า และสินค้าของอาณาจักรอยุธยา เร่ือง “การคา้ ภายในของเมอื งพระนครศรอี ยธุ ยาในสมยั อยธุ ยาตอนปลาย”24 โดย คมข�ำ ดีวงษา ตพี มิ พล์ งในวารสารเมืองโบราณ อธบิ ายการคา้ ภายในสมัย อยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะการค้าภายในอาณาจกั ร ตลาด สินคา้ ภายใน ตลาด ผปู้ ระกอบการ และนโยบายการค้าของอาณาจักรดว้ ย “การค้าของ ป่าในประวตั ศิ าสตร์อยุธยา”25 พ.ศ. 2528 ของปาริชาต วลิ าวรรณ ศกึ ษา ประวตั ศิ าสตรอ์ ยธุ ยาในดา้ นเศรษฐกจิ โดยใหค้ วามส�ำ คญั กบั การคา้ ของปา่ ในสมยั อยธุ ยา และศกึ ษาถงึ สภาพของปา่ ทเี่ ปน็ สนิ คา้ ออกทส่ี �ำ คญั และสรา้ ง รายได้ให้กับอาณาจักรอยุธยา โดยที่อยุธยาสามารถขยายเครือข่ายการค้า ของปา่ กับตลาดจนี ญปี่ ุน่ อินเดยี ตะวันออกกลาง และยโุ รป นอกจากนี้ยงั รวมถึงตลาดยอ่ ยๆ ในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ ซึ่งการขยายตัวของ 23 เรอื่ งเดยี วกนั , 46. 24 คมข�ำ ดีวงษา, “การคา้ ภายในของเมอื งพระนครศรีอยธุ ยาในสมัยอยุธยาตอนปลาย,” เมืองโบราณ 10,2 (เมษายน-มิถนุ ายน 2527): 61-84. 25 ปารชิ าต วิลาวรรณ, “การค้าของป่าในประวัติศาสตรอ์ ยุธยา พ.ศ. 1893-2310,” (วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั , 2528). 218 218 วดาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

การคา้ ของปา่ เรมิ่ ตน้ แตป่ ลายพทุ ธศตวรรษที่ 21-พทุ ธศตวรรษท่ี 22 อยธุ ยา สามารถรักษาฐานะของเมืองท่าค้าขายทางทะเล จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงพุทธ ศตวรรษท่ี 23 ในช่วงปลายสมัยอยุธยา พบว่าการค้าของป่าได้เริ่มสำ�คัญ นอ้ ยลง แตข่ ณะเดยี วกันการคา้ ขา้ วกลับเกดิ การขยายตัวข้นึ มาแทนท่ี โดย รัฐบาลจนี ไดห้ ันมาส่งั ซอ้ื ขา้ วเป็นสนิ ค้าหลักเขา้ สู่ประเทศ อันเนือ่ งจากเกดิ ทุพภกิ ขภัยอย่างรุนแรงภายในประเทศจนี 26 ดา้ นสังคมและวัฒนธรรม สำ�หรับงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเร่ืองอยุธยาในช่วง พ.ศ. 2520-2529 ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยส่วนมากอธิบายสภาพสังคม อาณาจักรอยุธยา ทง้ั วิถชี ีวติ วฒั นธรรม ประเพณี ศิลปวฒั นธรรม ความ เชอื่ ในสงั คม งานประวตั ิศาสตรน์ พิ นธใ์ นดา้ นนีท้ ่ปี รากฏ เช่น “บคุ ลิกภาพ และลกั ษณะนสิ ยั ของคนไทยในทรรศนะของชาวตะวนั ตกสมยั อยธุ ยา-พ.ศ. 2475”27 ของวรยิ า ศวิ ะศรยิ านนท์ และทววี ฒั น์ ปณุ ฑรกิ ววิ ฒั น์ ตพี มิ พจ์ าก รายงานการวจิ ยั เมอื่ พ.ศ. 2522 หนงั สอื อธบิ ายถงึ ทศั นคตขิ องชาวตะวนั ตก ทม่ี ีต่อคนไทยในดา้ นบุคลกิ ภาพและอปุ นิสัยใจคอ โดยชาวต่างชาติวจิ ารณ์ ลักษณะท่าทางของคนไทย การแต่งกาย อาหารการกิน การก่อสร้างบ้าน เรือน และประเพณีของคนไทย แสดงถงึ มมุ มองของชาวต่างชาตติ ่อคนไทย ในอดีต เพ่ือนำ�มาวิเคราะห์ ตีความและนำ�ข้อมูลที่ได้ปรับใช้กับสังคมไทย ในปจั จบุ นั ต่อไป28 26 เรอ่ื งเดยี วกัน, 193. 27 วริยา ศิวะศรยิ านนท์ และทวีวัฒน์ ปณุ ฑริกววิ ัฒน์, บคุ ลิกภาพและลกั ษณะนิสัยของคน ไทยในทรรศนะของชาวตะวนั ตกสมัยอยุธยา-พ.ศ. 2475, (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดศี ึกษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ 2523). 28 เร่ืองเดียวกัน, 123-137. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 219 219

“พระเจ้าอู่ทองสร้างบ้านแปลงเมือง”29 ของปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์ แพทย์ อธิบายการสร้างเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ท่ีสามารถรับมอื กบั ภัยธรรมชาติที่เกิดขนึ้ กบั บริเวณพ้ืนท่ีลุ่มในอยุธยา การ สร้างผังเมือง คูคลองต่างๆ เพื่อส่งน้ําลงสู่แม่น้ําอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการ สร้างพระนครศรอี ยุธยาในอดีต30 งานประวัติศาสตร์ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่อธิบายรายละเอียดใน เรอื่ ง ศาสนาและความเชอื่ ในสงั คมอยธุ ยา เชน่ “ววิ ฒั นาการของการแพทย์ ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มต้นจนถึงส้ินสุดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั ”31 ของยวุ ดี ตปนยี ากร พ.ศ. 2522 งานชนิ้ นแ้ี มจ้ ะไมใ่ ชง่ านศกึ ษา เกี่ยวกับประวตั ิศาสตร์อยธุ ยาโดยเฉพาะ แตส่ ่วนหน่ึงกลา่ วถึงเรอื่ งราวของ อยุธยาที่เก่ียวกับวิวัฒนาการทางการแพทย์นี้ เพ่ือให้เห็นพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่องทางการแพทย์ จากงานชิ้นนี้กล่าวถึง การป้องกันและการบำ�บัด โรคระบาดของไทยสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาจากบนั ทกึ ตา่ งชาตนิ นั้ คอื วธิ กี ารทาง ไสยศาสตร์ เช่น การผกู ตระกรุดพสิ มรคาดผ้าประเจยี ดลงเลขยนั ต์ ตลอด จนคาถาอาคม เป็นต้น32 และการเข้ามาของการแพทย์แผนตะวันตกเริ่ม เปน็ ที่รจู้ กั ในสังคมไทยในสมัยอยธุ ยาเชน่ กัน โดยเฉพาะรชั สมัยสมเด็จพระ นารายณม์ หาราช33 “ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างไทยกับลังกา ตั้งแต่รัชกาล สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศจนถงึ รชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ 29 ปฏพิ ัฒน์ พุ่มพงษแ์ พทย,์ “พระเจ้าอู่ทองสร้างบา้ นแปลงเมือง,” ศิลปวัฒนธรรม 6,8 (มถิ ุนายน 2528): 52-55. 30 เรอ่ื งเดียวกัน, 55. 31 ยวุ ดี ตปนยี ากร, “ ววิ ัฒนาการของการแพทยไ์ ทยตงั้ แต่สมัยเรม่ิ ต้นจนถึงส้ินสดุ รชั กาล พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ,” (วิทยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควชิ า ประวตั ศิ าสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, 2522). 32 เรื่องเดียวกัน, 23. 33 เรื่องเดยี วกัน, 292. 220 220 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

เจ้าอยู่หัว”34 พ.ศ. 2525 ของพิมพ์รำ�ไพ เปรมสมิทธ์ อธิบายเร่ืองราว พระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะการสร้าง การ ทำ�นบุ ำ�รุง และการบรู ณปฏิสงั ขรณว์ ดั วาอาราม แสดงถงึ การเปน็ ผู้อปุ ถมั ภ์ พระพุทธศาสนาอย่างสมํ่าเสมอ นอกจากน้ีงานชิ้นน้ียังเน้นอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างไทยกับลังกาในด้านพระพุทธศาสนาจนถึงสมัยพระบาท สมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู วั แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “ศาสนาและความ เป็นความตายของชาวค่ายโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยา”35 ของปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ อธิบายเกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกส และการขุดค้นทาง โบราณคดขี องหมบู่ า้ นโปรตเุ กส โดยเฉพาะการขดุ คน้ พบโครงกระดกู ไมน่ อ้ ย กวา่ 50 ศพ ทฝ่ี งั สลบั ซบั ซอ้ นกนั ในบรเิ วณบา้ นนกั บญุ เปโตร ภายในหมบู่ า้ น โปรตเุ กส36 โดยน�ำ หลกั ฐานทางโบราณคดมี าตรวจสอบกบั ประวตั ศิ าสตรท์ ี่ เกีย่ วกับชุมชนชาวโปรตเุ กส เพอื่ อธิบายเกี่ยวกับหลกั ฐานที่ขดุ คน้ พบ งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่อธิบายเกี่ยวกับ การสรา้ งสรรค์งานศิลปกรรมภายในอาณาจักรอยุธยา ท้ังในเรือ่ งจิตรกรรม สถาปตั ยกรรม วิจติ รศิลป์ หรอื ประณตี ศิลป์ เชน่ บทความประวัตศิ าสตร์ อยุธยาตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ เรื่อง “ศิลปะจีนท่ีเข้ามาสัมพันธ์กับ ศลิ ปะไทย”37 โดย น. ณ ปากน้ํา อธิบายแบบแผนศิลปะจีนท่เี ขา้ สู่สังคม ไทยตง้ั แตอ่ ดตี จนกลายเปน็ สว่ นหนงึ่ ของสงั คมไทยปจั จบุ นั ผสมกลมกลนื จน 34 พมิ พร์ ำ�ไพ เปรมสมทิ ธ์, “ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหวา่ งไทยกับลงั กาตั้งแต่ รชั กาลสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนส้นิ รัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว, (วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบณั ฑติ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2525). 35 ปฏพิ ัฒน์ พุ่มพงษแ์ พทย,์ “ศาสนาและความเป็นความตายของชาวค่ายโปรตเุ กสในกรงุ ศรีอยธุ ยา,” ศิลปวฒั นธรรม 6,1 (พฤศจกิ ายน 2527): 16-21. 36 เรือ่ งเดยี วกนั , หน้า 17. 37 น. ณ ปากนํา้ , “ศิลปะจีนที่เขา้ มาสมั พนั ธก์ ับศลิ ปะไทย,” เมืองโบราณ 5,6 (สิงหาคม- กนั ยายน 2522): 23-38. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 221 221

กลายเปน็ ศลิ ปะทบี่ ง่ บอกความสมั พนั ธอ์ นั ดรี ะหวา่ งไทยกบั จนี บทความเรอื่ ง “จนี ในไทย”38 โดยศรศี กั ร วลั ลโิ ภดม อธบิ ายเกย่ี วกบั คนจนี หรอื วฒั นธรรม จีนทเี่ ขา้ มาสัมพนั ธก์ ับสงั คมไทยต้ังแตอ่ ดีตจนปัจจุบัน โดยเฉพาะคนจีนใน สมยั อยธุ ยาทม่ี บี ทบาทในดา้ นตา่ งๆ อยา่ งชดั เจน เชน่ การคา้ ศลิ ปะ เปน็ ตน้ “อาชีพผูกขาดของคนต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา”39 ของ น. ณ ปากน้ํา พ.ศ. 2524 อธบิ ายเกี่ยวอาชพี ของชาวต่างชาตใิ นสมยั อยธุ ยาโดย ศกึ ษาจากภาพจติ รกรรมฝาผนังของวดั และตูพ้ ระไตรปิฎก เปน็ ตน้ “จาก พระเจ้าอู่ทองถึงพระเจ้าปราสาททอง”40 ของศรีศักร วัลลิโภดม อธิบาย เก่ียวกับประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าอู่ทองจนถึงพระเจ้าปราสาททอง เช่น ด้านการศาสนา การร้ือฟื้นประเพณีต่างๆ เป็นต้น “ศิลปะสมัยพระเจ้า ปราสาททอง”41 ของ น. ณ ปากนาํ้ อธบิ ายถงึ ศิลปะสมยั พระเจา้ ปราสาท ทอง เชน่ สถูปเจดียท์ ม่ี ีแบบแผนพิเศษประจำ�รชั กาล คอื เจดยี ์ส่ีเหล่ยี มย่อ มมุ สบิ สอง ภาพประดบั เพดานหอ้ งกลางเจดยี ว์ ดั ใหมป่ ระชมุ พล และปรางค์ วัดไชยวัฒนาราม เปน็ ตน้ “ศลิ ปะทเ่ี ขา้ มาพรอ้ มกบั การคา้ ”42 ของ น. ณ ปากนาํ้ เปน็ งานนพิ นธ์ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยที่แสดงถึงการผสมผสานกันระหว่างของไทย และตา่ งชาติ เชน่ จีน อินเดยี เปอร์เซีย หรอื แมก้ ระทั่งตะวันตก การผสม กลมกลนื และผลติ งานศลิ ปะออกสสู่ งั คมท�ำ ใหเ้ หน็ ถงึ การเขา้ มาเปน็ สว่ นหนงึ่ 38 ศรีศักร วลั ลิโภดม, “จีนในไทย,” เมืองโบราณ 5,6 (สิงหาคม-กนั ยายน 2522): 39-62. 39 น. ณ ปากนํา้ , “อาชีพผกู ชาดของคนตา่ งชาติในกรุงศรอี ยุธยา,” ศลิ ปวัฒนธรรม 2,11 (กนั ยายน 2524): 24-27. 40 ศรศี ักร วลั ลิโภดม, “จากพระเจ้าอูท่ องถึงพระเจา้ ปราสาททอง,” เมืองโบราณ 7,3 (สิงหาคม- พฤศจิกายน 2524): 35-50. 41 น. ณ ปากนาํ้ , “ศลิ ปะสมยั พระเจา้ ปราสาททอง,” เมืองโบราณ 7,3 (สงิ หาคม-พฤศจิกายน 2524): 51-70. 42 น. ณ ปากน้ํา, “ศิลปะทเี่ ข้ามาพรอ้ มกับการคา้ ,” เมอื งโบราณ 10,2 (เมษายน-มถิ นุ ายน 2527): 87-94. 222 222 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

ชาวตา่ งชาตใิ นสังคมไทย โดยท่ีกลุ่มคนเหล่านเ้ี ดนิ ทางเข้าในสงั คมไทยส่วน ใหญเ่ พอ่ื เหตผุ ลการคา้ และอยใู่ นสงั คมไทยจนกลายเปน็ สว่ นหนงึ่ ของสงั คม น�ำ ไปสกู่ ารสร้างสรรคง์ านศิลปะผสมผสานต่างวัฒนธรรม งานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธอ์ ธบิ ายเกยี่ วกบั ผคู้ นภายในอาณาจกั รอยธุ ยา แสดงถงึ ความหลากหลายของผคู้ นในอาณาจกั รอยธุ ยา เชน่ “จนี ในไทย”43 โดยศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเกี่ยวกับคนจีนหรือวัฒนธรรมจีนท่ีเข้ามา สมั พนั ธก์ บั สงั คมไทยตง้ั แตอ่ ดตี จนปจั จบุ นั โดยเฉพาะคนจนี ในสมยั อยธุ ยาท่ี มีบทบาทในดา้ นตา่ งๆ อยา่ งชดั เจน เช่น การค้า ศิลปะ เป็นต้น “คนจีนครง้ั สร้างกรุง”44 ของ ส. พลายนอ้ ย อธิบายบทบาทของชาวจีนท่มี ตี ่อการสร้าง กรุงธนบุรี และอธิบายเกีย่ วกับคนจีนในสงั คมอยุธยาหลงั เสยี กรงุ ศรีอยธุ ยา เช่น จ�ำ นวน รวมถึงการประกอบอาชีพ “โปรตุเกสฝรงั่ ชาตแิ รกที่มาติดตอ่ กบั ไทย”45 ของบญุ ยก ตามไท เลา่ เรอ่ื งราวของโปรตเุ กสทเี่ ขา้ มาตงั้ แตส่ มยั กรงุ ศรีอยธุ ยาจนกระทงั่ ช่วงรัชกาลที่ 6 แหง่ กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ บทความ เร่ือง “มอญในเมืองไทย”46 ของศรีศกั ร วลั ลโิ ภดม ตพี มิ พ์ ในวารสารเมืองโบราณ ฉบับที่ 3 ปที ่1ี 0 เดือนกรกฎาคม-กนั ยายน 2527 และ “ชาวมอญในประเทศไทย” ของสภุ รณ์ โอเจริญ อธบิ ายประวตั ิความ เป็นมาของชาวมอญในประเทศไทย โดยในสมัยอยุธยามีชาวมอญอพยพ เข้ามาต้ังถิ่นฐาน และมีบทบาทในสังคมอยุธยา “หมู่บ้านโปรตุเกสในสมัย อยุธยา”47 การอธิบายเร่ืองราวของหมู่บ้านโปรตุเกสซึ่งนักโบราณคดีของ 43 ศรีศกั ร วลั ลิโภดม, “จีนในไทย,” เมืองโบราณ 5,6 (สงิ หาคม-กันยายน 2522): 39-62. 44 ส. พลายนอ้ ย, “คนจีนคร้งั สร้างกรุง,” เมอื งโบราณ 5,6 (สิงหาคม-กันยายน 2522): 99-106. 45 บญุ ยก ตามไท, “โปรตเุ กสฝรั่งชาตแิ รกทีม่ าตดิ ต่อกับไทย,” ศิลปวฒั นธรรม 5,9 (กนั ยายน 2527): 84-92 46 ศรศี กั ร วลั ลโิ ภดม, “มอญในเมืองไทย,” เมอื งโบราณ, 10,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2527): 5-7. 47 มิรา ประชาบาล, “หมบู่ ้านโปรตุเกสในสมยั อยธุ ยา,” เมืองโบราณ 10,4 (ตุลาคม-ธนั วาคม 2527): 69-77. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 223 223

กรมศิลปากรได้ขุดค้น โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐาน ประเภทเอกสารประกอบ งานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยวา่ ดว้ ยเรอื่ งอยธุ ยาทอี่ ธบิ ายเรอื่ งราวทาง สังคมและวัฒนธรรมยังพบอีกหลายช้ิน เช่น “ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ในพระราชพงศาวดารอยุธยา” ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ “ปากไก่และใบเรือ” ของนธิ ิ เอียวศรีวงศ์ “วิเคราะห์แหล่งท่มี าและการใช้ศักราชชนดิ ต่างๆ ทม่ี ี ปรากฏในหลกั ฐานฝา่ ยไทย” ของพลู เหมอื นศาสตร์ “ระบบศกั ดนิ าไทยและ ยโุ รปศึกษาเปรยี บเทยี บโครงสรา้ งทางสงั คมและลักษณะพัฒนาการ” ของ กรรณกิ าร์ นโิ ลบล “สงั คมไทยลมุ่ แมน่ าํ้ เจา้ พระยากอ่ นสมยั ศรอี ยธุ ยา” เปน็ บทความพิเศษท่ีสจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ วจิ ารณ์งานเขยี นของจิตร ภูมศิ กั ด์ิ “พทุ ธ ศาสนาแถบลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออก” ของสุธวิ งศ์ พงศ์ไพบูลย์ “คณะทูตสเปนสมัยอยธุ ยา” ซ่ึงนันทนา ตนั ตเิ วสส แปลและเรียบเรยี งจาก เรื่อง Spanish Missions ของSir John Bowring “สมเดจ็ พระสรรเพชญ ที่ 2 แหง่ กรุงศรีอยุธยา” ของพนิ ิจ สวุ รรณะบณุ ย์ “เจดยี เ์ พมิ่ มุม เจดียย์ ่อ มุม สมัยอยุธยา” ของสันติ เล็กสุขุม “จิตรกรรมไทยสมัยอยุธยา” และ “จิตรกรรมไทยสมยั อยธุ ยา ตอนท่ี 2 วดั ใหญส่ วุ รรณารามเพชรบุรี” ของ วรรณภิ า ณ สงขลา เปน็ ต้น นอกจากนย้ี งั ปรากฏงานประวตั ศิ าสตรน์ พิ นธไ์ ทยวา่ ดว้ ยเรอื่ งอยธุ ยา ในช่วง พ.ศ. 2520-2529 ท่ีอธิบายครอบคลุมท้ังด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวฒั นธรรมอีกหลายชน้ิ เช่น “ข้อมลู ประวตั ศิ าสตร์: สมัยอยธุ ยา” ของขจร สุขพานิช โดยมวี ุฒิชัย มลู ศิลป์เป็นบรรณาธกิ าร “ความสมั พันธ์ ไทย-ฝรง่ั เศส สมยั อยธุ ยา” ของพลบั พลงึ มลู ศลิ ป์ “เศรษฐกจิ และสงั คมไทย ในสมัยปลายอยุธยา” ของสายชล วรรณรัตน์ “ศรรี ามเทพนคร: รวมความ เรยี งว่าด้วยประวัตศิ าสตร์อยธุ ยาตอนตน้ ” อาคม พฒั ิยะ และนิธิ เอียวศรี วงศ์ เปน็ บรรณาธกิ าร และ “กรงุ ศรอี ยธุ ยา: ราชธานแี หง่ แรกของเมอื งไทย” ของศรีศักร วลั ลิโภดม เปน็ ต้น 224 224 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

งานประศาสตร์นิพนธ์ไทยท่ีว่าด้วยเรื่องอยุธยาในช่วง พ.ศ. 2520- 2529 ปรากฏการอธบิ ายวถิ ชี วี ติ ของผคู้ นในสงั คมภายในงานประวตั ศิ าสตร์ นิพนธ์อยุธยาเป็นส่วนใหญ่ และในส่วนของกลุ่มคนและชุมชนในสังคม อยุธยาก็ปรากฏอยู่ในงานประวัติศาสตร์นิพนธ์อยุธยามากเป็นลำ�ดับรอง ลงมา ซงึ่ เร่ืองราวของท้ัง 2 กลมุ่ จ�ำ เป็นต้องอธิบายควบคูก่ ัน เพ่อื ให้เข้าใจ สภาพสังคมของผู้คนในท้องถ่ินอยุธยาได้ชัดเจนข้ึน นอกจากนี้ยังแสดงให้ เห็นว่าการอธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์อยุธยาเร่ิมมีการเปล่ียนแปลงไป จากเดมิ ทมี่ ักศกึ ษาเร่ืองราวของพระมหากษตั ริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ หรอื กลุ่มขุนนางซ่ึงเป็นชนช้ันปกครองของสังคมเป็นส�ำ คัญ แต่ในช่วงนี้ปรากฏ การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ท่ีเร่ิมอธิบายประวัติศาสตร์ของคนท่ัวไปใน สังคมมากขึ้น ส่งผลให้การผลิตงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเร่ือง อยุธยาเริ่มท่ีจะปรากฏการอธิบายถึงคนในสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ผคู้ นกลมุ่ ตา่ งๆ ในสงั คมอยธุ ยา เพอ่ื ใหค้ นในสงั คมปจั จบุ นั ทราบถงึ เรอื่ งราว ในอดีตของบรรพบุรุษของตนเอง แม้ว่างานประวัติศาสตร์ในระยะนี้ยังไม่ ปรากฏผลงานที่ศกึ ษาเรื่องราวทางสงั คมของสามญั ชน (ประชาชน) ภายใน อยธุ ยาโดยเฉพาะ แตเ่ รอ่ื งราวทางประวตั ศิ าสตรข์ องคนเหลา่ นยี้ งั คงปรากฏ เปน็ ส่วนหน่ึงของงานประวตั ศิ าสตร์อยู่เสมอ แมจ้ ะไมม่ ากมายนกั แต่กพ็ อ จะทำ�ให้ผคู้ นในสังคมเขา้ ใจสังคมในอดตี ไดช้ ัดเจนขึ้น Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 225 225

บรรณานกุ รม วิทยานพิ นธ์ ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล, “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา,” วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑติ ภาควิชา ประวัตศิ าสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2525. ปารชิ าต วลิ าวรรณ, “การคา้ ของป่าในประวัติศาสตร์อยธุ ยา พ.ศ. 1893-2310,” วิทยานิพนธ์ ปรญิ ญามหาบัณฑติ ภาควชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2528. พมิ พ์ร�ำ ไพ เปรมสมทิ ธ์, “ความสัมพนั ธท์ างพุทธศาสนาระหว่างไทยกบั ลงั กาตง้ั แตร่ ัชกาล สมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวบรมโกศจนสน้ิ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั ,” วิทยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบัณฑิต, ภาควชิ าประวตั ิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั , 2525. ยพุ า ชมุ จนั ทร์, “ประวตั ศิ าสตร์นพิ นธ์ไทย พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2516,” วิทยานิพนธป์ ริญญามหา บัณฑติ ภาควิชาประวตั ิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั , 2530. ยุวดี ตปนียากร, “วิวัฒนาการของการแพทย์ไทยตงั้ แตส่ มัยเริ่มตน้ จนถึงส้ินสดุ รัชกาลพระบาท สมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ -. เจา้ อยหู่ วั ,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบณั ฑติ , ภาควชิ า ประวตั ศิ าสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2522. หนงั สือ ชลธริ า สตั ยาวฒั นา. วฒั นธรรมทางวรรณศิลปใ์ นสมยั อยุธยาตอนตน้ . กรงุ เทพฯ: นวลจันทร,์ 2524. ณัฐวฒุ ิ สุทธิสงคราม. ชวี ติ ในประวตั ิศาสตร์. กรุงเทพฯ: วชั รินทรก์ ารพิมพ์ , 2523. นิธิ เอยี วศรีวงศ์. การเมอื งไทยสมัยพระเจา้ กรุงธนบุร.ี กรงุ เทพฯ: ศลิ ปวฒั นธรรม, 2529. ________. การเมอื งไทยสมยั พระนารายณ.์ กรงุ เทพฯ: สถาบนั ไทยคดีศกึ ษา มหาวทิ ยาลัย ธรรมศาสตร,์ 2523. ________. ประวตั ิศาสตรร์ ัตนโกสินทรใ์ นพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคม สังคมศาสตรแ์ ห่งประเทศไทย, 2521. ________. ปากไก่และใบเรอื . กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทร์การพิมพ,์ 2527. ประยทุ ธ สทิ ธิพันธ์. ประวัตศิ าสตร์ มหาอาณาจกั รไทย. สมทุ รปราการ: แกว้ บรรณกจิ , 2527. วริยา ศิวะศริยานนท์ และทวีวฒั น์ ปณุ ฑริกววิ ัฒน.์ บุคลกิ ภาพและลักษณะนิสยั ของคนไทย ในทรรศนะของชาวตะวนั ตกสมยั อยธุ ยา-พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: สถาบนั ไทยคดศี กึ ษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523. 226 226 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี

สายชล วรรณรัตน์. เศรษฐกิจและสงั คมไทยในสมัยปลายอยธุ ยา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดี ศึกษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ 2525. สนั ติ เลก็ สุขมุ . เจดยี เ์ พ่มิ มุม เจดยี ์ยอ่ มุม สมยั อยธุ ยา. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทรก์ ารพิมพ์, 2529. บทความ คมข�ำ ดวี งษา. “การคา้ ภายในของเมืองพระนครศรีอยุธยาในสมัยอยธุ ยาตอนปลาย.” เมอื ง โบราณ 10, 2 (เมษายน-มิถนุ ายน 2527): 61-84 ชาญวทิ ย์ เกษตรศิร.ิ “กบฏไพร่สมัยอยุธยากบั แนวความคิดผมู้ บี ุญ-พระศรอี ารยิ -์ พระมาลัย.” ศิลปากร 9, 1 (กรกฎาคม-กนั ยายน 2522): 53-86. บญุ ยก ตามไท. “โปรตุเกสฝร่ังชาตแิ รกท่มี าตดิ ตอ่ กบั ไทย.” ศิลปวัฒนธรรม 5, 9 (กนั ยายน 2527): 84-92. ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย.์ “พระเจ้าอทู่ องสร้างบา้ นแปลงเมอื ง.” ศิลปวัฒนธรรม 6, 8 (มิถนุ ายน 2528): 52-55. ________. “ศาสนาและความเปน็ ความตายของชาวคา่ ยโปรตุเกสในกรุงศรีอยธุ ยา,” ศลิ ปวัฒนธรรม 6, 1 (พฤศจิกายน 2527): 16-21. ปอล ซาเวียร์ (แปล). “เอกสารสำ�คัญแห่งชาติเกย่ี วกับคณะราชทตู ฝร่งั เศสและไทยในแผ่น ดนิ สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-พ.ศ. 2231).” ศิลปากร 30,4 (กนั ยายน 2529): 48-58. สิริลักษณ์ ศักด์เิ กรียงไกร, เขยี น. “ระบบเศรษฐกจิ ไทยสมัยอยธุ ยา.” ใน ประวตั ศิ าสตร์ เศรษฐกจิ ไทยจนถึง พ.ศ. 2484, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และสมภพ มานะรังสรรค์ (บรรณาธกิ าร), (กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ 2527): 46. น. ณ ปากนาํ้ . “ศิลปะจนี ทีเ่ ข้ามาสมั พันธ์กับศิลปะไทย.” เมืองโบราณ 5, 6 (สิงหาคม-กนั ยายน 2522): 23-38. ________. “ศิลปะท่ีเข้ามาพรอ้ มกบั การค้า.” เมืองโบราณ 10, 2 (เมษายน-มถิ ุนายน 2527): 87-94. ________. “อาชพี ผูกชาดของคนต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา.” ศิลปวฒั นธรรม 2, 11 (กนั ยายน 2524): 24-27. มิรา ประชาบาล. “หมูบ่ ้านโปรตุเกสในสมัยอยธุ ยา.” เมอื งโบราณ 10, 4 (ตุลาคม-ธนั วาคม 2527): 69-77. Journal of the FaDcultay omf Arrchoaeonloggy 227 227

ศรศี ักร วลั ลิโภดม. “จีนในไทย.” เมอื งโบราณ 5, 6 (สิงหาคม-กนั ยายน 2522): 39-62. ________. “มอญในเมอื งไทย.” เมอื งโบราณ 10, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2527): 5-7. ส. พลายน้อย. “คนจนี ครัง้ สร้างกรงุ .” เมอื งโบราณ 5, 6 (สงิ หาคม-กนั ยายน 2522): 99-106. Gilles Delouche. “ความสมั พันธ์ระหว่างไทยและฝรง่ั เศสสมยั กรุงศรอี ยุธยา: ความบังเอิญ และความจ�ำ เปน็ .” เอกสารสมั มนา 300 ปคี วามสมั พนั ธไ์ ทย-ฝร่งั เศส ภาควชิ า ประวตั ศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยรามคำ�แหง และศูนย์ยุโรปศกึ ษาทบวง มหาวทิ ยาลัย (14-15 ธันวาคม 2527): 61-89. 228 228 ดวาํราสารรรวงมบวทิ คชวาามทกางวาชิ ารการ คณะโบราณคดี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook