วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 บทที่ 7 | คลนื่ แม่เหลก็ ไฟฟ้า 235 สิง่ ทีค่ รตู ้องเตรียมลว่ งหนา้ 1. รีโมทเครือ่ งฉายภาพหรือรีโมทของเครอ่ื งใชไ้ ฟฟ้าอืน่ ๆ สำ�หรับการสาธิตและการท�ำ กิจกรรม แนวการจัดการเรียนรู้ ครูช้ีแจงจุดประสงค์ข้อท่ี 3 หัวข้อ 7.2 ตามหนังสือเรียน จากน้ันครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้ นกั เรยี นยกตวั อยา่ งอปุ กรณท์ ส่ี ามารถควบคมุ การท�ำ งานของอปุ กรณอ์ กี ชน้ิ หนงึ่ โดยไมใ่ ชส้ ายเชอื่ มตอ่ ระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง เท่าท่ีนักเรียนทราบ จากน้ัน ครูสาธิตการใช้เคร่ืองควบคุมระยะไกล เช่น รีโมทของเครื่องฉายภาพ (projector) แล้วต้ังคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า อุปกรณ์ท่ีใช้ คลนื่ แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ควบคมุ การท�ำ งานระยะไกลโดยไมต่ อ้ งใชส้ าย มหี ลกั การท�ำ งานอยา่ งไร โดยครเู ปดิ โอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเหน็ อย่างอสิ ระ ไมค่ าดหวงั คำ�ตอบทีถ่ ูกตอ้ ง จากน้ัน อาจใหน้ กั เรยี น ทำ� กจิ กรรมลองท�ำ ดู เรื่อง สงั เกตรังสีอนิ ฟราเรดจากรโี มท ก่อนท่จี ะเขา้ สบู่ ทเรยี น ครแู บง่ กลมุ่ นกั เรยี นใหเ้ ลอื กศกึ ษาและน�ำ เสนอเกยี่ วกบั การท�ำ งานของอปุ กรณ์ 3 ชนดิ ทที่ �ำ งาน โดยอาศยั คลืน่ แม่เหลก็ ไฟฟา้ ไดแ้ ก่ 1. เครือ่ งควบคุมระยะไกล 2. เครือ่ งถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพวิ เตอร์ 3. เครือ่ งถา่ ยภาพการส่นั พ้องแม่เหลก็ โดยบางกลุ่มอาจเลือกเร่ืองท่ีซ้ำ�กันได้ แต่รวมทุกกลุ่มต้องมีการนำ�เสนอครบท้ังสามอุปกรณ์ ให้เวลานักเรียนพอสมควรในการศึกษาจากหนังสือเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ และสรุปเพื่อเตรียม ตวั น�ำ เสนอ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
บทที่ 7 | คลืน่ แมเ่ หล็กไฟฟา้ วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 236 ทงั้ นี้ ในการน�ำ เสนอของนกั เรยี น อาจมกี ารแนะใหน้ กั เรยี นสรา้ งสรรคว์ ธิ กี ารน�ำ เสนอในรปู แบบ ตา่ ง ๆ และเมอ่ื จบการน�ำ เสนอ เปดิ โอกาสใหถ้ าม ตอบ และวจิ ารณ์ โดยครแู ละนกั เรยี นรว่ มกนั ประเมนิ ใหค้ ะแนนการน�ำ เสนอของแต่ละกลมุ่ จากน้ัน ครแู ละนักเรยี นร่วมกนั อภปิ รายและสรุปเกี่ยวกบั หลกั การท�ำ งานของอุปกรณท์ ้ัง 3 ชนดิ ดงั นี้ • เคร่ืองควบคุมระยะไกลใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แปลงคำ�ส่ังต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของการส่ง รงั สอี นิ ฟราเรด หรอื คลื่นวทิ ยุ ไปยังเครอื่ งใชห้ รืออปุ กรณ์ไฟฟา้ ดงั แผนภาพ กดป่มุ แผงวงจรสร้างรหัส ส่งสัญญาณไฟฟ้า ส่วนส่งสัญญาณสง่ รังสี คำ�สงั่ และแปลงเป็น อนิ ฟราเรดรูปแบบที่ สอดคลอ้ งกับค�ำ สง่ั สญั ญาณไฟฟา้ • เคร่ืองถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ควบคุมให้แหล่งกำ�เนิดรังสีเอกซ์ฉายรังสีเอกซ์ไปยัง อวยั วะท่ีตอ้ งการวินิจฉยั พร้อมเคลอื่ นท่ไี ปรอบ ๆ และบนั ทึกผลการฉายรงั สที ม่ี มุ ตา่ ง ๆ แล้ว สง่ ข้อมูลไปยงั คอมพวิ เตอรส์ �ำ หรับการประมวลผลและสรา้ งภาพ 3 มติ ิ ดงั แผนภาพ แหล่งกำ�เนิดรงั สเี อกซ์ เครือ่ งตรวจวดั รงั สี ส่งข้อมลู ไปยงั เคลื่อนท่ีไปรอบ ๆ ตรวจวัดรงั สที ่ีผ่าน คอมพิวเตอรส์ �ำ หรับ พรอ้ มฉายรงั สี อวยั วะที่วนิ ิจฉยั สรา้ งภาพ 3 มิติ • เครื่องถ่ายภาพการสน่ั พ้องแม่เหลก็ สร้างสนามแมเ่ หลก็ ความเข้มสูงรอบ ๆ อวยั วะท่ีตอ้ งการ วนิ ิจฉัย สง่ ผลให้นวิ เคลยี สของไฮโดรเจนในน้ำ�และไขมันมีการเรียงตัวกนั ตามสนามแม่เหล็ก จากนั้นจะมีการส่งคล่ืนวิทยุที่มีความถ่ีสั่นพ้องกับนิวเคลียสของไฮโดรเจน ซึ่งส่งผลให้ นิวเคลียสมีการปล่อยคล่ืนวิทยุออกมา และถูกตรวจวัดด้วยเคร่ืองตรวจวัดคลื่นวิทยุรอบ ๆ กอ่ นจะสง่ ไปยังคอมพวิ เตอร์สำ�หรบั ประมวลผลและสรา้ งภาพ 3 มิติ ดงั แผนภาพ สร้างสนามแม่เหลก็ ส่งคลืน่ วทิ ยุทม่ี ีความถี่ เครื่องตรวจวดั ความเข้มสงู รอบ ๆ ส่นั พ้องกบั นิวเคลียส คลื่นวทิ ยสุ ่งข้อมูลไปยงั ของไฮโดรเจนของนำ้� อวยั วะ คอมพวิ เตอร์สำ�หรบั และไขมัน สรา้ งภาพ 3 มิติ ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.2 โดยอาจมีการเฉลยค�ำ ตอบและอภิปราย ค�ำ ตอบรว่ มกัน สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 บทที่ 7 | คลนื่ แมเ่ หล็กไฟฟ้า 237 แนวการวดั และประเมนิ ผล 1. ความรู้เก่ียวกับหลักการทำ�งานของเคร่ืองควบคุมระยะไกล เครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ และ เคร่ืองถา่ ยภาพการส่นั พอ้ งแมเ่ หลก็ จากการนำ�เสนอและค�ำ ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.2 2. ทักษะการสอ่ื สาร จากการน�ำ เสนอ 3. ทักษะการทำ�งานรว่ มกนั จากการรว่ มกนั สบื ค้นขอ้ มลู และนำ�เสนอ 4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผลและการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์จากการอภิปราย ร่วมกนั การสรุป และการตอบคำ�ถาม แนวค�ำ ตอบตรวจสอบความเขา้ ใจ 7.2 1. อุปกรณ์ตอ่ ไปนี้ใชค้ ลืน่ แม่เหลก็ ไฟฟา้ ชนิดใด ก. รีโมทเครื่องปรับอากาศ ข.เครอื่ งถา่ ยภาพการสน่ั พ้องแมเ่ หลก็ แนวคำ�ตอบ ก. รงั สีอนิ ฟราเรด ข. คล่ืนวทิ ยุ 2. ภาพท่ีได้จากเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แตกต่างจากภาพที่ได้จากเคร่ือง เอกซเรยท์ วั่ ไปอยา่ งไร แนวคำ�ตอบ ภาพท่ไี ดจ้ ากเครือ่ งถ่ายภาพเอกซเรยค์ อมพวิ เตอรเ์ ปน็ ภาพ 3 มติ ใิ นขณะ ทีภ่ าพทีไ่ ด้จากเคร่อื งเอกซเรยท์ ั่วไปเป็นภาพ 2 มติ ิ 3. เพราะเหตุใดการถ่ายภาพด้วยเคร่ืองถ่ายภาพส่ันพ้องแม่เหล็ก จึงมีอันตรายน้อยกว่า การถา่ ยภาพดว้ ยเครอ่ื งถ่ายภาพเอกซเรยค์ อมพวิ เตอร์ แ น ว คำ � ต อ บ เ พ ร า ะ ค ลื่ น วิ ท ยุ ที่ ใ ช้ ใ น เ ค รื่ อ ง ถ่ า ย ภ า พ ส่ั น พ้ อ ง แ ม่ เ ห ล็ ก มี ความถ่ีน้อยกว่ารังสีเอกซ์ที่ใช้ในเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คล่ืนวิทยุ จงึ มีพลังงานนอ้ ยกว่า จึงสง่ ผลขา้ งเคยี งกับร่างกายผูป้ ่วยน้อยกว่ารงั สเี อกซ์ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
บทที่ 7 | คลน่ื แมเ่ หล็กไฟฟ้า วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 238 7.3 การสอ่ื สารโดยอาศัยคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ 1. ยกตวั อย่างการส่ือสารโดยอาศัยคล่ืนแมเ่ หล็กไฟฟ้า 2. บอกความหมายของสัญญาณแอนะลอ็ กและสัญญาณดจิ ิทัล 3. เปรียบเทียบการส่ือสารดว้ ยสญั ญาณแอนะล็อกกบั สัญญาณดิจิทัล ความเขา้ ใจคลาดเคลือ่ นทอ่ี าจเกดิ ขึน้ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง 1. คล่ืนท่สี ่งมาจากสถานีวทิ ยุเป็นคลืน่ เสยี ง 1. ค ลน่ื ทส่ี ่งมาจากสถานวี ิทยเุ ป็นคล่ืนวทิ ยุ ส่งิ ท่ีครูตอ้ งเตรยี มล่วงหน้า 1. เตรยี มวสั ดอุ ปุ กรณส์ �ำ หรบั การสาธติ การท�ำ กจิ กรรมและการน�ำ เสนอใหค้ รบกบั จ�ำ นวนกลมุ่ 2. ทดสอบการท�ำ งานของอปุ กรณต์ า่ ง ๆ ที่จะใชใ้ นการสาธติ การทำ�กจิ กรรมและการน�ำ เสนอ แนวการจัดการเรียนรู้ ตอนที่ 1 ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อท่ี 4 จากหัวข้อ 7.3 ตามหนังสือเรียน จากน้ันครูนำ�เข้าสู่ บทเรียนโดยต้ังคำ�ถามว่า การสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคล่ือนท่ีมีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงความถี่ใด เป็นตัวนำ�สัญญาณจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่ คาดหวงั ค�ำ ตอบที่ถูกต้อง ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มให้เลือกศึกษาและนำ�เสนอเกี่ยวกับการสื่อสารโดยอาศัย คล่นื แมเ่ หลก็ ไฟฟ้า ในหวั ข้อตา่ ง ๆ ดงั น้ี ก. การกระจายสญั ญาณเสียงของสถานวี ิทยุ ข. การส่งและรบั สญั ญาณโทรศัพทเ์ คลอ่ื นท่ี ค. การสง่ และรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ง. การสอ่ื สารโดยอาศัยไมโครเวฟ จ. การส่อื สารโดยอาศัยแสง สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 บทที่ 7 | คลน่ื แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ 239 โดยเน้นให้นักเรียนนำ�เสนอประเด็น ชนิดของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าท่ีเก่ียวข้อง และหลักการส่ง และรับสัญญาณ ท้งั นี้บางกล่มุ อาจเลือกเร่ืองทซี่ ำ�้ กนั ได้ แต่รวมทกุ กลุ่มต้องมีการเสนอครบทุกหวั ข้อ ใหเ้ วลานกั เรยี นพอสมควรในการอา่ นเนอื้ หาในหนงั สอื เรยี น และสบื คน้ ขอ้ มลู เพม่ิ เตมิ จากแหลง่ เรียนรู้ตา่ ง ๆ เชน่ เว็บไซตใ์ นอินเทอรเ์ นต็ โดยช้แี จงกับนกั เรยี นด้วยวา่ ใหม้ ีการอา้ งองิ แหลง่ ท่ีมาของ แหลง่ เรยี นรทู้ ใ่ี ชใ้ นการน�ำ เสนอ ทงั้ นอ้ี าจมกี ารใหน้ กั เรยี นท�ำ สอ่ื ประกอบการน�ำ เสนอตามเวลาทอี่ �ำ นวย และระหวา่ งการท�ำ กิจกรรม ครูให้นักเรียนออกมานำ�เสนอ และเมื่อส้ินสุดการนำ�เสนอของแต่ละกลุ่ม เปิดโอกาสให้มีการ ถามและตอบระหวา่ งนกั เรยี นทเ่ี ป็นผูฟ้ งั กบั ผ้นู ำ�เสนอ ครูอาจถามนกั เรยี นเพิ่มเติมวา่ การสอ่ื สารในอนาคตจะมรี ูปแบบใด ครนู �ำ สรุปเก่ยี วกบั หลกั การพื้นฐานของการสอ่ื สารโดยอาศัยคลืน่ แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ดงั น้ี • ในการสง่ สารสนเทศ เชน่ เสยี งหรอื ภาพ โดยอาศยั คลน่ื แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ สารสนเทศจะถกู แปลง ให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าท่ีนำ�ไปผสมกับสัญญาณไฟฟ้าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกส่งไปยัง ปลายทาง โดยปลายทางจะมีการแยกสัญญาณไฟฟ้าของสารสนเทศออกมาแล้วแปลงกลับ เปน็ สารสนเทศท่เี หมอื นเดิม ตอนท่ี 2 ครชู แ้ี จงจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรขู้ อ้ ท่ี 5 และ 6 จากหวั ขอ้ 7.3 ตามหนงั สอื เรยี น จากนนั้ ครนู �ำ เขา้ ส่บู ทเรยี นโดยตงั้ ค�ำ ถามใหน้ ักเรยี นอภปิ รายร่วมกนั ดงั นี้ • นกั เรียนเคยได้ยินค�ำ วา่ “ยคุ ดจิ ิทลั ” หรือไม่ ค�ำ นี้หมายความวา่ อะไร • ยุคดิจทิ ลั ส่งผลอย่างไรกบั การใชช้ วี ิตของนักเรียน โดยครูเปดิ โอกาสให้นกั เรียนแสดงความคิดเหน็ อยา่ งอิสระ ไมค่ าดหวงั ค�ำ ตอบท่ถี กู ตอ้ ง ครูให้นักเรียนศึกษาเก่ียวกับลักษณะของสัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัล ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน และอาจศึกษาจากแหล่งความรู้อ่ืนเพิ่มเติม จากน้ันครูต้ังคำ�ถามว่า การสอ่ื สารดว้ ยสญั ญาณแอนะลอ็ กกบั สญั ญาณดจิ ทิ ลั ท�ำ ใหไ้ ดข้ อ้ มลู หรอื สารสนเทศแตกตา่ งกนั อยา่ งไร เพือ่ นำ�เข้าส่กู จิ กรรม 7.1 สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
บทท่ี 7 | คลื่นแม่เหลก็ ไฟฟา้ วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 240 กจิ กรรม 7.1 ส่งรบั สัญญาณระยะไกล จุดประสงค์ 1. เปรยี บเทยี บการส่ือสารด้วยสญั ญาณแอนะล็อกกบั สญั ญาณดจิ ิทัล เวลาที่ใช้ 30 นาที วัสดแุ ละอุปกรณ์ 2 แผ่น 1. กระดาษขนาด A4 2 แผน่ 2. กระดาษขนาด A4 ทีม่ ีตาราง 1 ชุด 3. สีเมจกิ 1 ชิน้ 4. อปุ กรณ์ท�ำ ให้เกิดเสียง สง่ิ ท่คี รูต้องเตรียม 1. เตรียมชดุ ภาพแบบแอนะล็อกและภาพแบบดจิ ทิ ลั ส�ำ หรบั นักเรยี น โดยครอู าจ สรา้ งขึ้นเอง หรือสามารถดาวน์โหลดตวั อยา่ งภาพได้จาก QR code หรอื URL ประจำ�บท หรอื เวบ็ ไซต์ http://physics.ipst.ac.th 2. อปุ กรณส์ รา้ งเสยี งท่ีแตกต่างกนั เชน่ กล่องขนาดเลก็ นกหวดี แทง่ ไม้ ข้อเสนอแนะการทำ�กิจกรรม 1. ครูควรทบทวนเง่ือนไขของการทำ�กิจกรรมรับส่งสัญญาณให้ชัดเจน โดยเน้นกับ นักเรียนว่า ระหว่างการสื่อสารไม่ควรให้ผู้รับสัญญาณเห็นภาพที่ผู้ส่งสัญญาณ ออกไป 2. ครูอาจนำ�ภาพที่จะใช้ในการส่งสัญญาณไปแปะไว้หลังเก้าอ้ี โดยหันด้านหลังภาพ เข้าหาผู้รับสัญญาณ เพ่ือที่ผู้ส่งสัญญาณจะไม่สามารถจับและพลิกภาพอีกด้าน หน่ึงให้ผู้รบั สัญญาณเห็นได้ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
วิทยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 บทท่ี 7 | คล่นื แม่เหล็กไฟฟ้า 241 แนวคำ�ตอบคำ�ถามทา้ ยกิจกรรม เมอ่ื เปรยี บเทยี บภาพวาดท่ไี ดจ้ ากการส่งสญั ญาณแอนะลอ็ กกับภาพวาดท่ีได้จากการ สง่ สญั ญาณดิจทิ ลั ภาพใดเหมอื นกบั ภาพต้นฉบับมากกว่า เพราะเหตใุ ด แนวค�ำ ตอบ ภาพวาดที่ไดจ้ ากการส่งสัญญาณดจิ ทิ ัล เพราะมตี ารางทม่ี เี พยี งสขี าวกบั สีดำ� ท่ีสามารถสอ่ื สารไดง้ า่ ยและผดิ พลาดนอ้ ยกวา่ ถา้ ขณะการส่งสัญญาณมีเสียงรบกวน การสง่ สญั ญาณแอนะล็อกหรอื การสง่ สัญญาณ ดจิ ทิ ัลทจ่ี ะมโี อกาสผิดพลาดมากกว่า เพราะเหตใุ ด แนวคำ�ตอบ การส่งสัญญาณแอนะล็อกจะมีโอกาสผิดพลาดมากกว่า เน่ืองจาก สัญญาณที่ใช้ส่ือสารเป็นไปได้ทุกค่า ทำ�ให้เกิดความสับสนในการรับสารของ ผู้รับปลายทาง ถา้ ต้องการสง่ สัญญาณดจิ ทิ ัลให้ผรู้ บั สญั ญาณวาดภาพแบบแอนะล็อกได้เหมอื นกับ ภาพตน้ ฉบบั มากท่ีสุด ควรทำ�อย่างไร แนวค�ำ ตอบ มกี ารเปลีย่ นภาพวาดแบบแอนะลอ็ กเปน็ ภาพวาดแบบดิจทิ ัล โดยมีการ ทำ�ตารางกำ�หนดส่วนที่มีการระบายสีดำ�และส่วนท่ีไม่มีสี เพ่ือให้การส่งสัญญาณมี เพียง 2 ค่า อภปิ รายหลงั ทำ�กิจกรรม ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม จากนั้นครูนำ�นักเรียนอภิปรายจนสรุป ได้ว่าจากภาพวาดที่นักเรียนได้ จะเห็นว่าการส่งสัญญาณดิจิทัลทำ�ให้ผู้รับสัญญาณ วาดภาพได้เหมือนกับภาพต้นฉบับท่ีผู้ส่งสัญญาณพยายามส่ือสารมากกว่า เพราะมีการ ทำ�ตารางท่ีระบุลักษณะของภาพแต่ละตำ�แหน่งอย่างชัดเจน และสัญญาณแบบดิจิทัลมี ความแตกต่างจากสัญญาณรบกวนรอบ ๆ ทำ�ให้ผู้รับสัญญาณสามารถแยกแยะสัญญาณ รบกวนออกได้ดีกวา่ ในลำ�ดับถัดมา ครูอาจให้นักเรียนอ่านเน้ือหาเก่ียวกับการเปรียบเทียบสัญญาณ แอนะล็อกกับสญั ญาณดจิ ทิ ัลในหนงั สอื เรียน จากน้ัน ครูเลือกใหน้ ักเรยี นบางคนสรุปให้ เพือ่ นรว่ มช้นั ฟงั โดยใช้รปู 7.19 และ 7.20 ประกอบ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
บทที่ 7 | คล่ืนแมเ่ หล็กไฟฟ้า วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 242 ครใู หค้ วามรเู้ พม่ิ เตมิ เกยี่ วกบั ขอ้ ดอี นื่ ๆ ของสญั ญาณดจิ ทิ ลั เชน่ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ากสญั ญาณดจิ ทิ ลั สามารถน�ำ มาจดั เกบ็ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพงา่ ยตอ่ การเขา้ ถงึ สามารถน�ำ ไปประมวลผลหรอื ปรบั ปรงุ แก้ไขได้ง่ายและหลากหลายแนวทางมากกว่า อีกทั้งข้อมูลจากสัญญาณดิจิทัลสามารถนำ�ไปเข้ารหัส เพ่ือการส่งข้อมูลปริมาณมากท่ีรวดเร็วขึ้น และเพ่ือความปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูลได้อีกด้วย จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ยุคดิจิทัลหมายความว่าอย่างไร และ สง่ ผลอย่างไรกับการด�ำ เนินชวี ิตของนกั เรยี น ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.3 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปราย ค�ำ ตอบรว่ มกัน แนวการวัดและประเมนิ ผล 1. ความรู้เก่ียวกับการส่ือสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ท้ายหวั ข้อ 7.3 และการนำ�เสนอ 2. ค วามรเู้ กยี่ วกบั ความแตกตา่ งระหวา่ งการสอ่ื สารดว้ ยสญั ญาณดจิ ทิ ลั กบั สญั ญาณแอนะลอ็ ก รวมทง้ั เปรยี บเทยี บการสอื่ สารดว้ ยสญั ญาณทง้ั สองประเภท จากค�ำ ถามตรวจสอบความเขา้ ใจ ท้ายหวั ข้อ 7.3 และการน�ำ เสนอ 3. ทกั ษะการสื่อสาร จากการน�ำ เสนอ 4. ทักษะการทำ�งานรว่ มกัน จากการรว่ มกนั สืบคน้ ข้อมูลและนำ�เสนอ 5. ท กั ษะการจ�ำ แนกประเภทและการคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ จากค�ำ ถามตรวจสอบความเขา้ ใจ ท้ายหัวขอ้ 7.3 6. จ ิตวิทยาศาสตร์ด้านความอยากรู้อยากเห็น ความมีเหตุผล และการเห็นคุณค่าทาง วทิ ยาศาสตร์จากขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ากการสบื ค้น และการอภิปรายร่วมกนั สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 บทท่ี 7 | คล่นื แม่เหล็กไฟฟา้ 243 แนวค�ำ ตอบตรวจสอบความเขา้ ใจ 7.3 1. ในการส่ือสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก่อนท่ีข้อมูลหรือสารสนเทศจะถูกส่งออก จากผสู้ ง่ ไปยงั ผรู้ บั จะต้องผา่ นกระบวนการใดกอ่ น แนวคำ�ตอบ ต้องมกี ารแปลงให้อยู่ในรูปสญั ญาณไฟฟา้ ก่อน 2. เพราะเหตใุ ด การสอ่ื สารของเครือข่ายโทรศพั ทเ์ คลอื่ นทจ่ี ึงไมใ่ ชค้ ลน่ื แสง แนวค�ำ ตอบ คลืน่ แสงไดร้ ับผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงสภาพอากาศไดง้ า่ ย 3. สญั ญาณแอนะลอ็ กแตกต่างจากสัญญาณดจิ ทิ ัลอยา่ งไร แนวค�ำ ตอบ สัญญาณแอนะลอ็ กเป็นสญั ญาณทมี่ คี า่ ตา่ ง ๆ เปลยี่ นแปลงอย่างตอ่ เนือ่ ง ตามเวลา สว่ นสญั ญาณดิจทิ ัลเป็นสญั ญาณที่มคี า่ ตา่ ง ๆ เปลี่ยนแปลงอยา่ งไม่ต่อเนื่อง ตามเวลา โดยมสี ถานะเพยี งสองสถานะเท่าน้นั ครทู บทวนสง่ิ ทไี่ ดเ้ รยี นรใู้ นบทที่ 7 ตามสรปุ สาระเนอ้ื หาภายในหนงั สอื เรยี น กอ่ นจะมอบหมาย ให้นักเรียนตอบค�ำ ถามในแบบฝึกหดั ท้ายบท เฉลยแบบฝึกหัดทา้ ยบทท่ี 7 1. การกดป่มุ เพ่อื เปดิ สวิตซไ์ ฟ จะท�ำ ให้เกิดคลื่นแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ได้หรอื ไม่ อย่างไร แนวคำ�ตอบ เมื่อกดปุ่มทำ�ให้มีการเช่ือมต่อตัวนำ�ไฟฟ้ากับสายไฟที่โยงไปยัง สวิตซ์ไฟ ทำ�ให้ประจุไฟฟ้าในสายไฟเคลื่อนท่ี ทำ�ให้เกิดคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า แผ่ออกมาได้ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
บทท่ี 7 | คล่นื แม่เหล็กไฟฟา้ วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 244 2. ถ้าสนามไฟฟ้าของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้ามีทิศทางดังแสดงในรูปด้านล่าง สนามแม่เหล็กของ คล่ืนแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ มีทศิ ทางใด และคลน่ื แมเ่ หลก็ ไฟฟ้าเคลือ่ นท่ไี ปในทิศทางใด y E x z แนวค�ำ ตอบ สนามแม่เหลก็ มีทศิ ทางในแนวขนานกบั แกน x คล่นื แม่เหลก็ ไฟฟา้ เคลื่อนที่ ในแนวที่ขนานกับแกน z 3. จากแผนภาพด้านล่าง ให้เติมคำ�หรือข้อความลงในช่องว่างให้สอดคล้องกับขั้นตอนการ ท�ำ งานของเครือ่ งควบคมุ ระยะไกลหรอื รีโมทคอนโทรล แนวค�ำ ตอบ กดปมุ่ ก. แผงวงจรสรา้ ง ส่งสญั ญาณไฟฟา้ ส่วนสง่ สญั ญาณ รหสั คำ�สงั่ และแปลง ข. สง่ รังสีอินฟราเรด เปน็ สญั ญาณไฟฟา้ ในรูปแบบทสี่ อดคล้อง กับค�ำ สั่ง สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 บทท่ี 7 | คล่ืนแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ 245 4. จากแผนภาพด้านล่าง ใหเ้ ตมิ ค�ำ หรอื ข้อความลงในช่องว่างใหส้ อดคล้องกับขั้นตอนการ ท�ำ งานของเคร่ืองถา่ ยภาพเอกซเรยค์ อมพิวเตอร์ แนวคำ�ตอบ แหล่งก�ำ เนดิ รังสีเอกซ์ เคร่ืองตรวจวดั รังสี ส่งขอ้ มลู ไปยัง เคล่ือนท่ไี ปรอบ ๆ เอกซ์ตรวจวดั รังสีท่ี คอมพิวเตอรส์ �ำ หรบั พร้อมฉายรังสี ผา่ นอวัยวะ สรา้ งภาพ 3 มิติ 5. เครื่องถ่ายภาพการส่ันพ้องแม่เหล็กใช้คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดในการสร้างภาพของ อวยั วะภายในรา่ งกายผู้ปว่ ย และคลน่ื นนั้ มีผลกับรา่ งกายผปู้ ่วยหรือไม่ อยา่ งไร แนวคำ�ตอบ เคร่ืองถ่ายภาพการสั่นพ้องแม่เหล็กใช้คล่ืนวิทยุ ซึ่งมีความถ่ีตำ่�และ มพี ลังงานน้อย จึงไม่เปน็ อันตรายกับร่างกายของผูป้ ่วย 6. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดในการรับส่งสารสนเทศ เพราะเหตุใด แนวคำ�ตอบ ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดคลื่นวิทยุ คล่ืนไมโครเวฟ คล่ืนแสง เพราะ คล่นื แมเ่ หล็กไฟฟ้า สามารถใชเ้ ป็นคล่นื พาหะในการรับส่งสารสนเทศได้ 7. การใชเ้ สยี งในการสื่อสารเปน็ การสื่อสารดว้ ยสัญญาณแอนะล็อกหรือสัญญาณดิจทิ ลั แนวค�ำ ตอบ สัญญาณแอนะล็อก เพราะเสยี งพูดเปน็ คลืน่ ท่ีมีการเปลี่ยนแปลงความถ่แี ละ แอมพลจิ ูดแบบต่อเนอื่ ง 8. เหตุใดโทรทัศน์ท่ีใช้ระบบรับสัญญาณดิจิทัล จึงให้ภาพและเสียงท่ีคมชัดกว่าโทรทัศน์ที่ใช้ ระบบรบั สัญญาณแอนะล็อก แนวคำ�ตอบ เน่ืองจากการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิทัลมีความผิดพลาด น้อยกว่าการส่งด้วยสัญญาณแอนะล็อก โดยสัญญาณรบกวนท่ีเกิดจากสิ่งแวดล้อมจะมีผล กบั การสง่ และรบั สญั ญาณแอนะลอ็ กมากกว่า สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
ภาคผนวก วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 246 ภาคผนวก
วิทยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 ภาคผนวก 247 ตัวอย่างเคร่ืองมอื วัดและประเมินผล แบบทดสอบ การประเมนิ ผลดว้ ยแบบทดสอบเปน็ วธิ ที น่ี ยิ มใชก้ นั อยา่ งแพรห่ ลายในการวดั ผลสมั ฤทธใิ์ นการเรยี น โดยเฉพาะดา้ นความรแู้ ละความสามารถทางสตปิ ญั ญา ครคู วรมคี วามเขา้ ใจในลกั ษณะของแบบทดสอบ รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของแบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือประโยชน์ในการสร้างหรือเลือกใช้แบบ ทดสอบให้เหมาะสมกับสิ่งท่ีต้องการวัด โดยลักษณะของแบบทดสอบ รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของ แบบทดสอบรปู แบบตา่ ง ๆ เปน็ ดงั นี้ 1) แบบทดสอบแบบทมี่ ตี วั เลอื ก แบบทดสอบแบบทม่ี ตี วั เลอื ก ไดแ้ ก่ แบบทดสอบแบบเลอื กตอบ แบบทดสอบแบบถกู หรอื ผดิ และ แบบทดสอบแบบจบั คู่ รายละเอยี ดของแบบทดสอบแต่ละแบบเปน็ ดังนี้ 1.1) แบบทดสอบแบบเลอื กตอบ เปน็ แบบทดสอบทม่ี กี ารก�ำ หนดตวั เลอื กใหห้ ลายตวั เลอื ก โดยมตี วั เลอื กทถ่ี กู เพยี งหนงึ่ ตวั เลอื ก องคป์ ระกอบหลักของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมี 2 สว่ น คอื ค�ำ ถามและตัวเลอื ก แตบ่ างกรณีอาจ มีส่วนของสถานการณ์เพ่ิมขึ้นมาด้วย แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีหลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบ แบบเลอื กตอบค�ำ ถามเดยี่ ว แบบทดสอบแบบเลอื กตอบค�ำ ถามชดุ แบบทดสอบแบบเลอื กตอบค�ำ ถาม 2 ชั้น โครงสร้างดังตัวอยา่ ง แบบทดสอบแบบเลอื กตอบแบบค�ำ ถามเด่ยี วท่ีไม่มีสถานการณ์ คำ�ถาม……………………………………………………………………. ตัวเลอื ก ก................................................ ข................................................ ค................................................ ง................................................
ภาคผนวก วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 248 แบบทดสอบแบบเลอื กตอบแบบคำ�ถามเด่ียวทมี่ ีสถานการณ์ สถานการณ…์ …………………………………………………………...................... ค�ำ ถาม…………………………………………………....................…………………. ตวั เลอื ก ก................................................ ข................................................ ค................................................ ง................................................ แบบทดสอบแบบเลอื กตอบแบบค�ำ ถามเปน็ ชุด สถานการณ…์ …………………………………………………………...................... ค�ำ ถาม…………………………………………………....................…………………. ตัวเลือก ก................................................ ข................................................ ค................................................ ง................................................ คำ�ถามท่ี 2 …………………………………………………………….................. ตวั เลือก ก................................................ ข................................................ ค................................................ ง................................................
วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 ภาคผนวก 249 แบบทดสอบแบบถกู หรือผิด คำ�สงั่ ใหพ้ ิจารณาว่าข้อความต่อไปนีถ้ กู หรือผดิ แล้วใส่เคร่ืองหมาย หรอื หนา้ ขอ้ ความ ………… 1. ข้อความ……………………………………………..……………..…………………..... ………… 2. ขอ้ ความ……………………………………………..……………..…………………..... ………… 3. ขอ้ ความ……………………………………………..……………..…………………..... ………… 4. ข้อความ……………………………………………..……………..…………………..... ………… 5. ข้อความ……………………………………………..……………..…………………..... แบบทดสอบรูปแบบน้ีสามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และครอบคลุมเนื้อหา สามารถตรวจได้ รวดเรว็ และใหค้ ะแนนไดต้ รงกนั แตน่ กั เรยี นมโี อกาสเดาไดม้ าก และการสรา้ งขอ้ ความใหเ้ ปน็ จรงิ หรอื เป็นเท็จโดยสมบูรณใ์ นบางเนอื้ ทำ�ไดย้ าก 1.3) แบบทดสอบแบบจับคู่ ประกอบดว้ ยส่วนทเ่ี ป็นค�ำ ส่งั และข้อความ 2 ชุด ทใ่ี หจ้ บั คกู่ ัน โดยขอ้ ความชุดที่ 1 อาจเป็น ค�ำ ถาม และขอ้ ความชดุ ที่ 2 อาจเปน็ ค�ำ ตอบหรอื ตวั เลอื ก โดยจ�ำ นวนขอ้ ความในชดุ ที่ 2 อาจมมี ากกวา่ ในชุดท่ี 1 ดังตวั อย่าง แบบทดสอบแบบจับคู่ ค�ำ ส่ัง ใหน้ �ำ ตวั อกั ษรหนา้ ขอ้ ความในชดุ ค�ำ ตอบมาเตมิ ในชอ่ งวา่ งหนา้ ขอ้ ความในชดุ คำ�ถาม ชดุ ค�ำ ถาม ชุดคำ�ตอบ ……… 1. ………………………………… ก. ………………………………… ……… 2. ………………………………… ข. ………………………………… ……… 3. ………………………………… ค. ………………………………… ง. …………………………………
ภาคผนวก วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 250 แบบทดสอบรูปแบบน้ีสร้างได้ง่ายตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน และเดาคำ�ตอบได้ยากเหมาะ สำ�หรับวัดความสามารถในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำ�หรือข้อความ 2 ชุด แต่ในกรณีที่นักเรียน จบั ค่ผู ิดไปแล้วจะท�ำ ใหม้ ีการจับคู่ผดิ ในค่อู ่นื ๆ ดว้ ย 2) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ เป็นแบบทดสอบท่ีให้นักเรียนคิดคำ�ตอบเอง จึงมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและสะท้อน ความคดิ ออกมาโดยการเขยี นใหผ้ อู้ า่ นเขา้ ใจ โดยทวั่ ไปการเขยี นตอบมี 2 แบบ คอื การเขยี นตอบแบบ เติมคำ�หรือการเขียนตอบอย่างสั้น และการเขียนตอบแบบอธิบาย รายละเอียดของแบบทดสอบที่มี การตอบแต่ละแบบเป็นดังน้ี 2.1) แบบทดสอบเขยี นตอบแบบเติมค�ำ หรือตอบอย่างสั้น ประกอบด้วยคำ�ส่ัง และข้อความท่ีไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีส่วนท่ีเว้นไว้เพ่ือให้เติมคำ�ตอบหรือ ขอ้ ความสน้ั ๆ ทท่ี �ำ ใหข้ อ้ ความขา้ งตน้ ถกู ตอ้ งหรอื สมบรู ณ์ นอกจากนแ้ี บบทดสอบยงั อาจประกอบดว้ ย สถานการณ์และคำ�ถามท่ีให้นักเรียนตอบโดยการเขียนอย่างอิสระ แต่สถานการณ์และคำ�ถามจะเป็น สง่ิ ทก่ี ำ�หนดคำ�ตอบใหม้ ีความถกู ตอ้ งและเหมาะสม แบบทดสอบรปู แบบน้ีสร้างไดง้ ่าย มโี อกาสเดาไดย้ าก และสามารถวนิ จิ ฉัยค�ำ ตอบทนี่ กั เรียน ตอบผิดเพ่ือให้ทราบถึงข้อบกพร่องทางการเรียนรู้หรือความเข้าใจท่ีคลาดเคล่ือนได้ แต่การจำ�กัด คำ�ตอบให้นักเรียนตอบเป็นคำ� วลี หรือประโยคได้ยาก ตรวจให้คะแนนได้ยากเนื่องจากบางคร้ังมี ค�ำ ตอบถูกตอ้ งหรอื ยอมรบั ไดห้ ลายค�ำ ตอบ 2.2) แบบทดสอบเขียนตอบแบบอธิบาย เป็นแบบทดสอบทต่ี อ้ งการใหน้ ักเรยี นสร้างคำ�ตอบอย่างอสิ ระ ประกอบดว้ ยสถานการณ์และ คำ�ถามที่สอดคล้องกนั โดยค�ำ ถามเป็นคำ�ถามแบบปลายเปดิ แบบทดสอบรปู แบบนใ้ี หอ้ สิ ระแกน่ กั เรยี นในการตอบจงึ สามารถใชว้ ดั ความคดิ ระดบั สงู ได้ แต่ เนอ่ื งจากนกั เรยี นตอ้ งใชเ้ วลาในการคดิ และเขยี นค�ำ ตอบมาก ท�ำ ใหถ้ ามไดน้ อ้ ยขอ้ จงึ อาจท�ำ ใหว้ ดั ไดไ้ ม่ ครอบคลมุ เนอ้ื หาทง้ั หมด รวมทง้ั ตรวจใหค้ ะแนนยาก และการตรวจใหค้ ะแนนอาจไมต่ รงกนั
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 ภาคผนวก 251 แบบประเมินทักษะ เมื่อนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงจะมีหลักฐานร่องรอยที่แสดงไว้ท้ังวิธีการปฏิบัติและ ผลการปฏบิ ตั ิ ซงึ่ หลกั ฐานรอ่ งรอยเหลา่ นนั้ สามารถใชใ้ นการประเมนิ ความสามารถ ทกั ษะการคดิ และ ทักษะปฏบิ ัตไิ ด้เปน็ อยา่ งดี การปฏบิ ตั กิ ารทดลองเปน็ กจิ กรรมทสี่ �ำ คญั ทใ่ี ชใ้ นการจดั การเรยี นรทู้ างวทิ ยาศาสตร์ โดยทว่ั ไปจะ ประเมิน 2 ส่วน คือ ประเมินทักษะการปฏิบัติการทดลองและการเขียนรายงานการทดลอง โดยเครื่องมอื ท่ใี ชป้ ระเมนิ ดงั ตัวอยา่ ง ตวั อย่างแบบสำ�รวจรายการทักษะปฏิบัตกิ ารทดลอง ผลการสำ�รวจ รายการทต่ี ้องส�ำ รวจ มี ไมม่ ี (ระบจุ �ำ นวนครั้ง) การวางแผนการทดลอง การทดลองตามขัน้ ตอน การสังเกตการทดลอง การบันทกึ ผล การอภปิ รายผลการทดลองกอ่ นลงขอ้ สรปุ
ภาคผนวก วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 252 ตวั อยา่ งแบบประเมนิ ทกั ษะปฏบิ ตั กิ ารทดลองทใ่ี ชเ้ กณฑก์ ารใหค้ ะแนนแบบแยกองคป์ ระกอบยอ่ ย ทกั ษะปฏิบัติ 3 คะแนน 1 การทดลอง 2 ก า ร เ ลื อ ก ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ / เ ลื อ ก ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ / เ ลื อ ก ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ / เ ลื อ ก ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ / เคร่ืองมอื ในการทดลอง เ ค ร่ื อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค ร่ื อ ง มื อ ใ น ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง ทดลองไดถ้ กู ตอ้ งแต่ ทดลองไมถ่ กู ตอ้ ง เหมาะสมกบั งาน ไมเ่ หมาะสมกบั งาน การใชอ้ ปุ กรณ/์ เครอ่ื งมอื ใชอ้ ปุ กรณ/์ เครอ่ื งมอื ใช้อุปกรณ์/เคร่ืองมือ ใชอ้ ปุ กรณ/์ เครอ่ื งมอื ในการทดลอง ใ น ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ ในการทดลองได้ถูก ในการทดลองไม่ถูก อ ย่ า ง ค ล่ อ ง แ ค ล่ ว ตอ้ งตามหลกั การ ตอ้ ง แ ล ะ ถู ก ต้ อ ง ต า ม ปฏบิ ตั ิ แตไ่ ม่ หลักการปฏบิ ตั ิ คล่องแคลว่ การทดลองตามแผนท่ี ทดลองตามวิธีการ ทดลองตามวิธีการ ทดลองตามวิธีการ กำ�หนด แ ล ะ ข้ั น ต อ น ที่ แ ล ะ ข้ั น ต อ น ที่ แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่ กำ�หนดไว้อย่างถูก กำ � ห น ด ไ ว้ มี ก า ร กำ � ห น ด ไ ว้ ห รื อ ต้อง มีการปรับปรุง ปรับปรงุ แก้ไขบ้าง ดำ � เ นิ น ก า ร ข้ า ม แก้ไขเปน็ ระยะ ข้ันตอนที่กำ�หนดไว้ ไ ม่ มี ก า ร ป รั บ ป รุ ง แก้ไข
วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 ภาคผนวก 253 ตัวอยา่ งแบบประเมนิ ทกั ษะปฏิบัตกิ ารทดลองที่ใช้เกณฑก์ ารใหค้ ะแนนแบบมาตรประมาณคา่ ทกั ษะทปี่ ระเมนิ ผลการประเมิน ระดับ 2 ระดบั 3 ระดบั 1 1. วางแผนการทดลองอย่างเป็น ระดบั 3 หมายถงึ ระดบั 2 หมายถงึ ระดบั 1 หมายถงึ ข้ันตอน ปฏบิ ตั ไิ ดท้ ง้ั 3 ขอ้ ปฏบิ ตั ไิ ดท้ ง้ั 2 ขอ้ ปฏบิ ตั ไิ ดท้ ง้ั 1 ขอ้ 2. ป ฏิ บั ติ ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ อ ย่ า ง คล่องแคล่ว สามารถเลือกใช้ อุปกรณ์ได้ถูกต้อง เหมาะสม และจดั วางอปุ กรณเ์ ปน็ ระเบยี บ สะดวกตอ่ การใช้งาน 3. บันทึกผลการทดลองได้ถูกต้อง และครบถว้ นสมบูรณ์ ตัวอยา่ งแนวทางการใหค้ ะแนนการเขยี นรายงานการทดลอง คะแนน 321 เขียนรายงานตาม เขียนรายงานการ เขียนรายงานโดย ลำ � ดั บ ขั้ น ต อ น ทดลองตามลำ�ดับ ลำ � ดั บ ข้ั น ต อ น ไ ม่ ผลการทดลองตรง แตไ่ มส่ อ่ื ความหมาย สอดคล้องกัน และ ตามสภาพจริงและ ไมส่ ่ือความหมาย สื่อความหมาย แบบประเมินคณุ ลักษณะดา้ นจิตวิทยาศาสตร์ การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำ�ได้โดยตรง โดยท่ัวไปทำ�โดยการตรวจสอบพฤติกรรม ภายนอกที่ปรากฏให้เหน็ ในลกั ษณะของคำ�พดู การแสดงความคดิ เห็น การปฏิบตั ิหรือพฤติกรรมบง่ ช้ี ทส่ี ามารถสงั เกตหรอื วดั ได้ และแปลผลไปถงึ จติ วทิ ยาศาสตรซ์ งึ่ เปน็ สง่ิ ทส่ี ง่ ผลใหเ้ กดิ พฤตกิ รรมดงั กลา่ ว เคร่อื งมอื ที่ใชป้ ระเมนิ คณุ ลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ดังตวั อยา่ ง
ภาคผนวก วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 254 ตัวอย่างแบบประเมนิ คุณลกั ษณะดา้ นจติ วิทยาศาสตร์ ค�ำ ชีแ้ จง จงทำ�เคร่ืองหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับคุณลักษณะท่ีนักเรียนแสดงออก โดยจำ�แนก ระดบั พฤตกิ รรมการแสดงออกเปน็ 4 ระดบั ดังน้ี มาก หมายถงึ นกั เรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านนั้ อยา่ งสม่ำ�เสมอ ปานกลาง หมายถงึ นกั เรยี นแสดงออกในพฤติกรรมเหลา่ นนั้ เป็นครั้งคราว นอ้ ย หมายถึง นกั เรียนแสดงออกในพฤตกิ รรมเหล่านน้ั นอ้ ยครงั้ ไม่มกี ารแสดงออก หมายถึง นกั เรยี นไม่แสดงออกในพฤติกรรมเหล่านน้ั เลย ระดบั พฤตกิ รรมการแสดงออก รายการพฤตกิ รรมการแสดงออก มาก ปาน นอ้ ย ไม่มีการ ด้านความอยากร้อู ยากเห็น กลาง แสดงออก 1. นักเรียนสอบถามจากผู้รู้หรือไปศึกษา ค้นคว้าเพ่ิมเติม เม่ือเกิดความสงสัยใน เรื่องราววิทยาศาสตร์ 2. นกั เรยี นชอบไปงานนทิ รรศการ วทิ ยาศาสตร์ 3. นักเรียนน�ำ การทดลองทส่ี นใจไป ทดลองตอ่ ท่ีบา้ น ด้านความซอื่ สัตย์ 1. นักเรียนรายงานผลการทดลองตามท่ี ทดลองได้จรงิ 2. เมอ่ื ท�ำ การทดลองผดิ พลาด นกั เรยี นจะ ลอกผลการทดลองของเพื่อสง่ ครู 3. เมอ่ื ครมู อบหมายใหท้ ำ�ชิ้นงาน ออกแบบสิ่งประดษิ ฐ์ นักเรียนจะ ประดษิ ฐต์ ามแบบทป่ี รากฏอยู่ใน หนงั สอื
วิทยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 ภาคผนวก 255 ระดับพฤตกิ รรมการแสดงออก รายการพฤติกรรมการแสดงออก มาก ปาน น้อย ไม่มีการ ด้านความใจกว้าง กลาง แสดงออก 1. แมว้ า่ นกั เรยี นจะไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั การสรปุ ผลการทดลองในกลุ่ม แต่ก็ยอมรับผล สรุปของสมาชกิ ส่วนใหญ่ 2. ถา้ เพอ่ื นแยง้ วธิ กี ารทดลองของนกั เรยี น และมีเหตุผลท่ีดีกว่า นักเรียนพร้อมที่ จ ะ นำ � ข้ อ เ ส น อ แ น ะ ข อ ง เ พื่ อ น ไ ป ปรับปรุงงานของตน 3. เม่ืองานท่ีนักเรียนต้ังใจและทุ่มเททำ� ถูกตำ�หนิหรือโต้แย้ง นักเรียนจะหมด ก�ำ ลงั ใจ ดา้ นความรอบคอบ 1. นักเรียนสรุปผลการทดลองทันทีเม่ือ เสร็จส้ินการทดลอง 2. นักเรียนทำ�การทดลองซ้ำ� ๆ ก่อนที่จะ สรปุ ผลการทดลอง 3. นักเรียนตรวจสอบความพร้อมของ อุปกรณก์ ่อนทำ�การทดลอง ด้านความมุ่งมน่ั อดทน 1. ถึงแม้ว่างานค้นคว้าท่ีทำ�อยู่มีโอกาส ส�ำ เรจ็ ไดย้ าก นกั เรยี นจะยงั คน้ ควา้ ตอ่ ไป 2. นกั เรยี นลม้ เลกิ การทดลองทนั ที เมอ่ื ผล การทดลองทไี่ ดข้ ดั จากทเ่ี คยไดเ้ รยี นมา 3. เมื่อทราบว่าชุดการทดลองท่ีนักเรียน สนใจต้องใช้ระยะเวลาในการทดลอง นาน นักเรียนกเ็ ปลี่ยนไปศึกษาชดุ การ ทดลองท่ีใช้เวลาน้อยกว่า
ภาคผนวก วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 256 ระดับพฤตกิ รรมการแสดงออก รายการพฤติกรรมการแสดงออก มาก ปาน น้อย ไม่มีการ เจตคตทิ ีด่ ีตอ่ วิทยาศาสตร์ กลาง แสดงออก 1. นักเรียนนำ�ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา ใช้แกป้ ัญหาในชีวิตประจ�ำ วันอยูเ่ สมอ 2. นกั เรยี นชอบท�ำ กจิ กรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั วิทยาศาสตร์ 3. นั ก เ รี ย น ส น ใ จ ติ ด ต า ม ข่ า ว ส า ร ที่ เก่ียวขอ้ งกบั วิทยาศาสตร์ วธิ ีการตรวจให้คะแนน ตรวจใหค้ ะแนนตามเกณฑโ์ ดยกำ�หนดน้�ำ หนกั ของตัวเลือกในช่องต่าง ๆ เป็น 4 3 2 1 ขอ้ ความทมี่ ี ความหมายเป็นทางบวก ก�ำ หนดใหค้ ะแนนแตล่ ะขอ้ ความดังนี้ ระดับพฤตกิ รรมการแสดงออก คะแนน มาก 4 ปานกลาง 3 นอ้ ย 2 ไม่มีการแสดงออก 1 ส่วนของข้อความที่มีความหมายเป็นทางลบการกำ�หนดให้คะแนนในแต่ละข้อความจะมีลักษณะ เป็นตรงกันขา้ ม การประเมนิ การนำ�เสนอผลงาน การประเมนิ ผลและใหค้ ะแนนการน�ำ เสนอผลงานใชแ้ นวทางการประเมนิ เชน่ เดยี วกบั การประเมนิ ภาระงานอ่ืน คือ การใช้คะแนนแบบภาพรวม และการให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย ดังราย ละเอยี ดต่อไปน้ี
วทิ ยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 ภาคผนวก 257 1) การใหค้ ะแนนในภาพรวม เปน็ การใหค้ ะแนนทตี่ อ้ งการสรปุ ภาพรวมจงึ ประเมนิ เฉพาะประเดน็ หลกั ทสี่ �ำ คญั ๆ เชน่ การประเมนิ ความถกู ตอ้ งของเนอ้ื หา ความรแู้ ละการประเมนิ สมรรถภาพดา้ นการ เขยี นโดยใช้เกณฑ์การใหค้ ะแนนแบบภาพรวม ดังตัวอย่างตอ่ ไปน้ี ตัวอยา่ งเกณฑ์การประเมินความถกู ต้องของเนอื้ หาความรู้ (แบบภาพรวม) รายการประเมนิ ระดบั คณุ ภาพ เน้อื หาไม่ถูกตอ้ งเปน็ สว่ นใหญ่ ต้องปรับปรุง เนอื้ หาถกู ต้องแตใ่ หส้ าระส�ำ คญั นอ้ ยมาก และไมร่ ะบุแหลง่ ทมี่ าของความรู้ เนอ้ื หาถกู ตอ้ ง มสี าระส�ำ คญั แตย่ งั ไมค่ รบถว้ น มกี ารระบแุ หลง่ ทม่ี าของความรู้ พอใช้ เนื้อหาถกู ต้อง มสี าระสำ�คญั ครบถ้วน และระบแุ หลง่ ท่มี าของความร้ชู ัดเจน ดี ดมี าก ตัวอยา่ งเกณฑ์การประเมนิ สมรรถภาพดา้ นการเขียน (แบบภาพรวม) รายการประเมิน ระดับคณุ ภาพ ต้องปรับปรงุ เขียนสับสน ไม่เป็นระบบ ไม่บอกปัญหาและจุดประสงค์ ขาดการเชื่อมโยง เน้ือหาบางส่วนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมและสะกดคำ� พอใช้ ไม่ถกู ต้อง ไมอ่ ้างองิ แหล่งทมี่ าของความรู้ ดี ขียนเป็นระบบแต่ไม่ชัดเจน บอกจุดประสงค์ไม่ชัดเจน เนื้อหาถูกต้องแต่มี ดมี าก รายละเอียดไมเ่ พียงพอ เนอ้ื หาบางตอนไมส่ ัมพนั ธ์กัน การเรียบเรยี บเนือ้ หา ไม่ต่อเน่ือง ใช้ภาษาถกู ต้อง อ้างอิงแหล่งทม่ี าของความรู้ เขยี นเปน็ ระบบ แสดงใหเ้ หน็ โครงสรา้ งของเรอ่ื ง บอกความส�ำ คญั และทม่ี าของ ปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักไม่ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญท้งั หมด เน้อื หา บางตอนเรียบเรียงไม่ต่อเน่ือง ใช้ภาษาถูกต้อง มีการยกตัวอย่าง รูปภาพ แผนภาพประกอบ อา้ งองิ แหลง่ ทม่ี าของความรู้ เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเร่ือง บอกความสำ�คัญและที่มา ของปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักได้ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญท้ังหมด เรียบเรียงเน้ือหาได้ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง ชัดเจนเข้าใจง่าย มีการ ยกตัวอย่าง รปู ภาพ แผนภาพประกอบ อา้ งอิงแหลง่ ท่ีมาของความรู้
ภาคผนวก วิทยาศาสตรก์ ายภาพ เลม่ 2 258 2) การใหค้ ะแนนแบบแยกองคป์ ระกอบยอ่ ย เปน็ การประเมนิ เพอื่ ตอ้ งการน�ำ ผลการประเมนิ ไปใช้ พัฒนางานให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ และพัฒนาคุณภาพให้สูงข้ึนกว่าเดิมอย่างต่อเน่ือง โดยใช้เกณฑ์ ยอ่ ย ๆ ในการประเมินเพื่อทำ�ให้รู้ทั้งจุดเด่นท่ีควรส่งเสริมและจุดด้อยที่ควรแก้ไขปรับปรุงการทำ�งาน ในสว่ นน้ัน ๆ เกณฑ์การใหค้ ะแนนแบบแยกองค์ประกอบยอ่ ย มีตวั อย่างดังนี้ ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพ (แบบแยกองคป์ ระกอบย่อย) รายการประเมนิ ระดับคุณภาพ ด้านการวางแผน ต้องปรบั ปรุง พอใช้ ไมส่ ามารถออกแบบได้ หรอื ออกแบบไดแ้ ตไ่ มต่ รงกบั ประเดน็ ปญั หาทต่ี อ้ งการ ดี เรยี นรู้ ดมี าก ออกแบบการได้ตามประเดน็ ส�ำ คัญของปญั หาเปน็ บางสว่ น ต้องปรับปรุง พอใช้ ออกแบบครอบคลมุ ประเดน็ ส�ำ คญั ของปญั หาเปน็ สว่ นใหญ่ แตย่ งั ไมช่ ดั เจน ดี ดีมาก ออกแบบไดค้ รอบคลมุ ทกุ ประเดน็ ส�ำ คญั ของปญั หาอยา่ งเปน็ ขนั้ ตอนทชี่ ดั เจน และตรงตามจุดประสงคท์ ่ีต้องการ ด้านการดำ�เนนิ การ ดำ�เนินการไม่เป็นไปตามแผน ใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบถูกต้องแต่ไม่ คลอ่ งแคลว่ ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ ใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบถูกต้องแต่ไม่ คลอ่ งแคล่ว ดำ�เนินการตามแผนท่ีวางไว้ ใช้อุปกรณ์และส่ือประกอบการสาธิตได้อย่าง คลอ่ งแคลว่ และเสรจ็ ทนั เวลา ผลงานในบางขน้ั ตอนไมเ่ ปน็ ไปตามจดุ ประสงค์ ด�ำ เนนิ การตามแผนทวี่ างไว้ ใชอ้ ปุ กรณแ์ ละสอื่ ประกอบไดถ้ กู ตอ้ ง คลอ่ งแคลว่ และเสรจ็ ทนั เวลา ผลงานทกุ ข้นั ตอนเปน็ ไปตามจุดประสงค์
วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 ภาคผนวก 259 รายการประเมิน ระดบั คุณภาพ ด้านการอธิบาย ต้องปรบั ปรุง พอใช้ อธบิ ายไมถ่ กู ตอ้ ง ขดั แย้งกับแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ดี ดมี าก อธิบายโดยอาศัยแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ แต่การอธิบายเป็นแบบ พรรณนาทัว่ ไปซง่ึ ไม่ค�ำ นงึ ถึงการเชอ่ื มโยงกับปญั หาทำ�ให้เขา้ ใจยาก อธบิ ายโดยอาศยั แนวคดิ หลกั ทางวทิ ยาศาสตร์ ตรงตามประเดน็ ของปญั หาแต่ ขา้ มไปในบางขน้ั ตอน ใชภ้ าษาไดถ้ กู ตอ้ ง อธิบายตามแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาและ จดุ ประสงค์ ใช้ภาษาไดถ้ ูกตอ้ งเข้าใจงา่ ย สอ่ื ความหมายได้ชัดเจน
บรรณานกุ รม วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 260 บรรณานุกรม • ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น . ( 2 5 5 6 ) . ศั พ ท์ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ อั ง ก ฤ ษ - ไ ท ย ไ ท ย - อั ง ก ฤ ษ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. พมิ พค์ รัง้ ท่ี 5 (แก้ไขเพ่มิ เตมิ ). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน. • สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลย.ี (2556).คมู่ อื ครรู ายวชิ าเพม่ิ เตมิ ฟสิ กิ ส์เลม่ 4. (พิมพค์ ร้ังที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพรา้ ว. • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ พลงั งาน ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 4 – 6 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้วทิ ยาศาสตร์ ตามหลักสตู ร แกนกลางการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ครุ ุสภาลาดพรา้ ว. • สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลย.ี (2555). ค่มู อื ครู รายวชิ าพื้นฐาน ฟสิ ิกส์ กลุม่ สาระการเรยี นร้วู ทิ ยาศาสตร์ สำ�หรับนักเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร.์ กรงุ เทพฯ : โรงพิมพค์ ุรุ สภาลาดพรา้ ว. • สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลย.ี (2555). คูม่ ือครู รายวชิ าเพ่ิมเติม ฟสิ ิกส์ เลม่ 5 ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 – 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการ ศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์คุรสุ ภาลาดพร้าว. • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ การเคลอื่ นทแี่ ละแรงในธรรมชาต.ิ (พมิ พ์คร้ังท่ี 1). กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพร้าว. • Jewett, Jr. J.W. and Serway, R. A. (2014). Physics for Scientists and Engineers. Boston, MA. Brooks/Cole. 9th Edition. • McLaughlin, C. W. (2011)., Thompson, M. & Zike, D. Physical Science. Columbus, OH. Glencoe/Mcgraw-Hill. • Cheng T. P., Li L. F. (2000). Gauge Theory of Elementary Particle Physics. th Applica- tions. Oxford University Press. • The National Energy Education Development (NEED) Project. (2016). Exploring Photo- voltaics: Student Guide. Retrieved 15 August 2016, from http://www.need.org/curric- ulum • The National Energy Education Development (NEED) Project. (2016). Exploring Photo- voltaics: Teacher Guide. Retrieved 15 August 2016, from http://www.need.org/curric- ulum • The National Energy Education Development (NEED) Project. (2016). Exploring Nucle- ar Energy. Retrieved 15 August 2016, from http://www.need.org/curriculum
วิทยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 คณะกรรมการจัดท�ำ คมู่ ือครู 261 คณะกรรมการจัดท�ำ คู่มือครู รายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 ตามมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตวั ช้ีวดั กล่มุ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2560) ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พื้นฐานพุทธศกั ราช 2551 คณะท่ปี รกึ ษา ผูอ้ �ำ นวยการ 1. ศ. ดร.ชูกจิ ลิมปจิ ำ�นงค์ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผูช้ ่วยผ้อู �ำ นวยการ 2. ดร.วนดิ า ธนประโยชนศ์ ักด ์ิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผ้จู ดั ทำ�คู่มือครู รายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพ ช้นั มธั ยมศึกษาปที ี่ 5 เล่ม 2 1. ผศ. ดร.บรุ นิ ทร์ อัศวพิภพ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั 2. นายรังสรรค์ ศรีสาคร ผเู้ ชย่ี วชาญ สาขาวิทยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 3. นายบญุ ชยั ตันไถง ผ้ชู �ำ นาญ สาขาวทิ ยาศาสตร์มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. นายวัฒนะ มากชนื่ ผ้ชู ำ�นาญ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. นายโฆสติ สงิ หสตุ ผชู้ �ำ นาญ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. นายรักษพล ธนานวุ งศ ์ นักวชิ าการอาวุโส สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 7. ดร.กวิน เชอ่ื มกลาง นักวชิ าการอาวุโส สาขาวทิ ยาศาสตร์มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. ดร.จ�ำ เรญิ ตา ปรญิ ญาธารมาศ นกั วชิ าการ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9. ดร.ปรดี า พชั รมณปี กรณ ์ นกั วิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มธั ยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
คณะกรรมการจดั ทำ�คมู่ อื ครู วทิ ยาศาสตรก์ ายภาพ เล่ม 2 262 คณะผู้รว่ มพจิ ารณาคู่มือครูราย วิชาพนื้ ฐานวิทยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์กายภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 5 เล่ม 2 (ฉบับรา่ ง) 1. ผศ. ดร.บรุ นิ ทร์ อัศวพภิ พ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั 2. นางสาวปิยะมาศ บญุ ประกอบ โรงเรียนวดั บวรนเิ วศ กรุงเทพมหานคร 3. นายพลพิพัฒน์ วฒั นเศรษฐานุกลุ โรงเรยี นมัธยมวัดบึงทองหลาง กรุงเทพมหานคร 4. นายอดศิ กั ดิ์ ยงยทุ ธ โรงเรยี นมธั ยมวดั หนองจอก กรงุ เทพมหานคร 5. นายชาลี ครองศักดิ์ศริ ิ โรงเรยี นเบญจมราชาลยั ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรงุ เทพมหานคร 6. นายบญุ โฮม สุขลว้ น โรงเรยี นรตั นโกสนิ ทร์สมโภชลาดกระบัง กรงุ เทพมหานคร 7. นายบัญญตั ิ จันทรเ์ ฉลยี ว โรงเรียนมารีย์อุปถมั ภ์ จ.นครปฐม 8. นายนกิ รณ์ นลิ พงษ์ โรงเรียนศรคี ณู วิทยบัลลงั ก์ จ.อำ�นาจเจรญิ 9. นางสาวสายชล สขุ โข โรงเรยี นจา่ นกร้อง จ.พษิ ณุโลก 10. นางศริ ิเพญ็ ศรตี ระกูล โรงเรียนขอนแกน่ วิทยายน จ.ขอนแกน่ 11. นายสมุ ติ ร สวนสขุ โรงเรียนสวนกุหลาบวทิ ยาลัย กรงุ เทพมหานคร 12. นายรังสรรค์ ศรีสาคร ผู้เชยี่ วชาญ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศึกษาตอนปลาย สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 13. นายบุญชัย ตันไถง ผู้ช�ำ นาญ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14. นายวัฒนะ มากชนื่ ผู้ช�ำ นาญ สาขาวิทยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 15. นายโฆสติ สงิ หสุต ผชู้ �ำ นาญ สาขาวทิ ยาศาสตร์มัธยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16. นายรกั ษพล ธนานวุ งศ์ นกั วิชาการอาวโุ ส สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17. ดร.กวนิ เช่อื มกลาง นกั วชิ าการอาวโุ ส สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์กายภาพ เลม่ 2 คณะกรรมการจดั ท�ำ คู่มอื ครู 263 18. ดร.จำ�เรญิ ตา ปริญญาธารมาศ น กั วิชาการ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19. ดร.ปรีดา พัชรมณปี กรณ์ นกั วิชาการ สาขาวทิ ยาศาสตร์มธั ยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี คณะบรรณาธิการ 1. ผศ. ดร.บุรนิ ทร์ อศั วพภิ พ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย 2. นายรังสรรค์ ศรีสาคร ผเู้ ช่ียวชาญ สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ัธยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. นายบญุ ชยั ตันไถง ผู้ช�ำ นาญ สาขาวิทยาศาสตรม์ ัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. นายวัฒนะ มากช่นื ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. นายรกั ษพล ธนานวุ งศ์ นักวิชาการอาวโุ ส สาขาวทิ ยาศาสตรม์ ธั ยมศึกษาตอนปลาย สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 6. ดร.กวนิ เช่ือมกลาง นกั วิชาการอาวโุ ส สาขาวทิ ยาศาสตร์มัธยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. ดร.จ�ำ เริญตา ปริญญาธารมาศ นกั วชิ าการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. ดร.ปรีดา พชั รมณีปกรณ ์ นกั วิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศกึ ษาตอนปลาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
สถาบนั สง� เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ� ละเทคโนโลยี กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280