Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงาน ประวัติการทำนาของทุ่งสาคลี

รายงาน ประวัติการทำนาของทุ่งสาคลี

Published by SKW Chanel, 2022-08-23 13:21:11

Description: รายงาน ประวัติการทำนาของทุ่งสาคลี

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง ประวัติการทำนาของทุ่งสาคลี เสนอ อาจารย์ อมรรัตน์ อ่อนจันทร์สกุล จัดทำโดย นางสาวกุลนุช กองพุฒิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เลขที่ 12 โรงเรียนสาคลีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

คำนำ รายงานฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่ งของวิชา ว23103 ชั้นมัธยมศึ กษา ปีที่3 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึ กษาความรู้ที่ได้จากเรื่องประวัติความ เป็นมาของข้อมูล ซึ่งรายงานนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ประวัติการ ทำนาของทุ่งสาคลี ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจและ ต้องขอขอบคุณสื่อออนไลน์77 ข่าวเด็ด ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึ กษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดย ตลอดผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้ จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์ แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ผู้จัดทำ น.ส. กุลนุช กองพุฒิ

คำนำ สารบัญ ประวัติโรงเรียน โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงที่สาคลี โรงเรียน : เวทีสร้างพลังปัญญาเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน บรรณานุกรม

1 ประวัติโรงเรียน 1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนสาคลีวิทยา ตั้งอยู่ที่ 73/1 หมู่ 1 ตำบลสามตุ่มสามตุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13110 สังกัดสำนั กงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา การติดต่อ โทรศัพท์ 0 3578 8463 โทรสาร 0 3578 8463 e-mail : [email protected] website : http://www.skw-ay.ac.th 1.2 คติพจน์ : คามาหิ คามะกานั ง นาถา - หมู่บ้านพึ่งตนเอง 1.3 คำขวัญ : เรียนดี มีวินั ย ใฝ่คุณธรรม ล้ำเลิศสามัคคี 1.4 สีประจำโรงเรียน : เขียว – ขาว เขียว หมายถึง ชีวิต ขาว หมายถึง ความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ 1.5 ตราประจำโรงเรียน รูปล้อเกวียนรองด้วยรวงข้าว 1.6 ประวัติโรงเรียน โรงเรียนสาคลีวิทยา ได้รับการบริจาคจากชุมชน จำนวนพื้นที่จำนวน 33 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา เพื่อสร้างโรงเรียนเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2501 มีนั กเรียน 34 คน ครู 1 คน โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาคลี (ประมวญราษฎร์บำรุง) โดยมีอาจารย์สุรินทร์ กิจนิ ตชีว์ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.5 - ป.7) ต่อมาเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนสาคลีวิทยา” เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2501 และจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1 - ม.ศ.3) และปี พ.ศ. 2540 ได้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มจนถึงปัจจุบัน

2 เกียรติคุณโรงเรียน - ปีการศึกษา 2525 ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ของกระทรวงศึกษาธิการ - ปีการศึกษา 2539 รับรางวัลโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและรางวัลห้องสมุดกาญจนาภิเษก - ปีการศึกษา 2545 ประกันคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนั กเรียนระดับดีมาก - ปีการศึกษา 2546 รับรางวัลโรงเรียนดำเนิ นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมี ประสิ ทธิภาพ - ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนต้นแบบระบบดูแลช่วยเหลือนั กเรียน ระดับยอดเยี่ยมโรงเรียนส่งเสริมสุข ภาพ ระดับเหรียญเงิน - ปีการศึกษา 2548 ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเงิน จากสาธารณะสุข จังหวัดร่วมกับสำนั กเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 - ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้ผ่านการประเมินสถานศึกษาเข้ารับรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จากกระทรวงศึกษาธิการ - ปีการศึกษา 2549 ได้ผ่านการประเมินโรงเรียนคุณภาพในฝัน 4 ด้าน สำนั กเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 - ปีการศึกษา 2550 ได้การรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนั กงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 อยู่ในระดับดีมาก 13 มาตรฐาน พอใช้ 1 มาตรฐาน - ปีการศึกษา 2551 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หนึ่ งอำเภอ หนึ่ งโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง”

3 - ปีการศึกษา 2550 - 2551 ได้รับเลือก เป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 - ปีการศึกษา 2552 ได้รับเลือก เป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จากกระทรวงศึกษาธิการ - ปีการศึกษา 2556 ได้ผ่านการประเมินโรงเรียนคุณภาพการศึกษา สมศ. รอบ 3 อยู่ในระดับดีมาก - ปีการศึกษา 2556 ได้ผ่านการประเมินโรงเรียนในฝัน สำนั กเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 - ปีการศึกษา 2556 ได้เหรียญทอง 7 เหรียญ , เงิน 11 เหรียญ , ทองแดง 8 เหรียญ ในการแข่งขัน ศิลป หัตถกรรมครั้งที่ 63 ระดับเขตพื้นที่ (สพม. เขต 3) และได้เหรียญทอง 3 เหรียญ,เงิน 1 เหรียญ และทองแดง 1 เหรียญ ในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 63 ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก - ปีการศึกษา 2557 ได้เหรียญทอง 13 เหรียญ, เงิน 9 เหรียญ, ทองแดง 17 เหรียญ ในการแข่งขัน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ระดับเขตพื้นที่ (สพม. เขต 3) และได้เหรียญทอง 1 เหรียญ, เงิน 2 เหรียญ และทองแดง 1 เหรียญ ในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก - ปีการศึกษา 2557 ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬา พุ่งเหลนและขว้างจักร อายุ 18 ปี ชายจำนวน 2 รายการ เหรียญเงิน ขว้างจักร และวิ่ง 4*400 ม.อายุ18 ปีชายในการแข่งขันกีฬาปาริชาติเกมส์ - ปีการศึกษา 2557 ได้รับรางวัลเหรียญทอง กรีฑา(วิ่ง) 1500 ม. 18 ปีชาย ในการแข่งขันกรีฑา โรงเรียน ส่ วนภูมิภาค - ปีการศึกษา 2557 ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง ในการแข่งขันตอบปัญหาสุขศึกษาและพลศึกษา ระดับ ชั้น ม.ต้น - ปีการศึกษา 2557 ได้รับรางวัลเหรียญทองพร้อมถ้วยรางวัล ฟุตบอล 18 ปี ชาย โดยการท่องเที่ยวและ กีฬา จ.พระนครศรีอยุธยา และเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับภาคฯ

4 วิสั ยทัศน์ โรงเรียนดีใกล้บ้าน ส่งเสริมวิชาการ ก้าวทันเทคโนโลยี มีทักษะด้านกีฬา พัฒนาคุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสาคลีวิทยาและชุมชนร่วมจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้น พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง เรียนรู้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันตา มกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมและพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพ คุณภาพ และเสมอภาคโดยมุ่งสัมฤทธิ์ผลที่เกิด กับผู้เรียนและสถานศึกษาเป็นสำคัญ

5 อัตลักษณ์ ลูกสาคลี คิดเป็น เน้นทำดี ตามวิถีพอเพียง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ - ซื่อสัตย์ สุจริต - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - มุ่งมั่นในการทำงาน - รักความเป็นไทย - มีจิตสาธารณะ

6 พื้นที่บริการ เขตบางนมโค : ทุกหมู่ ทุกหมู่ ทุกหมู่ เขตสามตุ่ม : เขตบ้านหลวง :

7 โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงที่สาคลี ก่อนปีพ.ศ 2530 โรงเรียนสาคลีวิทยา ชุมชน และตลาด บ้านสาคลี ยังคงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวชนบท ชาวบ้านเรียกชุมชน ดั้งเดิมละแวกนั้นว่าตลาดบ้านท่าเกวียน มีเรือบรรทุกข้าว ท่าขึ้น ข้าว และโรงสี ลักษณะบ้านเรือนเรียงรายไปตามสองฝั่ งคลอง ชาวบ้านท้องถิ่นทำนากันทุกครัวเรือน อยู่เย็นเป็นสุขอยู่ในพื้นที่อัน ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ อีกทั้งมี ปูมชุมชนที่เก่าแก่ เป็นสภาพวิถีชีวิตชุมชนที่สะท้อนอยู่ใน วรรณกรรมคลาสิคของไทยหลายเรื่อง วัด โรงเรียน ครู สถาบัน ครอบครัว และสถาบันผู้สูงอายุ มีบทบาทต่อการสร้างความสงบ สุขให้แก่ชุมชน ศานติ พอเพียง ทำนุบำรุงศาสนาและศิลป วัฒนธรรมให้มีความเจริญงอกงามอยู่กับชีวิตของสังคมท้องถิ่น การทำนาและชีวิตชุมชนเกษตรกรรม เป็นชีวิตชุมชนซึ่งมี กระบวนการเรียนรู้และสร้างภูมิปัญญาสะสมไว้ในวิถีการดำเนิน ชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก

8 ความตระหนักรู้ต่อภาวะกดดันเพื่อการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลานั้น การพัฒนาเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมของ ประเทศไทยก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดใน โลกอย่างต่อเนื่อง วิถีชีวิตชุมชนและการผลิตในภาคเกษตรกรรมของ คนส่วนใหญ่ในประเทศได้รับอิทธิพลต่อพัฒนาการดังกล่าวเป็นอย่าง สูง ชาวนามุ่งลงทุนผลิตเพื่อขายให้ได้กำไร เช่นเดียวกับที่ชาวบ้านของ ชุมชนสาคลี แต่เมื่อทำไปในวิถีดังกล่าวไประยะหนึ่ง ภาคการผลิต เกษตรกรรมของชาวบ้านก็เริ่มล่มสลาย ต้องลงทุนมากขึ้น อัดปุ๋ย ยา และต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานมากขึ้น แต่ได้ผลผลิตและกำไรน้อยลง พร้อมกับเป็นหนี้กันมากขึ้น ขณะเดียวกัน การบริโภคสิ่งที่ตนเองผลิตไม่ได้ก็กลับเพิ่มสูง ขึ้น ชาวนาเริ่มซื้อรถและสิ่งทันสมัย ต่อมาก็วิกฤติมากยิ่งขึ้น เช่น เกิด การระบาดของหนู ตั๊กแตน และโรคพืชสารพัด ทางด้านสังคมใน ชุมชนก็เสื่อมโทรม รวมไปจนถึงกระทบต่อบทบาทของโรงเรียนและ การศึกษาเรียนรู้ของเด็ก ปัญหาเด็กออกกลางครัน ติดยา ตั้งครรภ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอนตกต่ำ

9 ในอีกด้านหนึ่ง ความเฟื่ องฟูทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ของประเทศไทยก็ทำให้การลงทุนจากทั่วโลกมุ่งมายังประเทศไทย แรงผลักที่ชาวบ้านไม่อยากทำนาและขายที่ดิน กับความต้องการ ลงทุนที่กระจายออกจากกรุงเทพฯจึงเอื้อประโยชน์ต่อกัน ดังนั้น ใน ช่วงกลาง ทศวรรษ ๒๕๓๐ กระทั่งถึง ทศวรรษ ๒๕๔๐ ชุมชนสาคลี และโดยรอบก็มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า ๑๐ แห่ง จากชุมชนที่มีผู้คนอยู่ ๔๐๐-๕๐๐ ครัวเรือน ก็ขยายตัวเป็น ชุมชนที่มีประชากรวัยแรงงานจากทั่วประเทศเข้ามาอยู่ในพื้นที่ หลาย หมื่นคน กระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจกระทบต่อวิถีความเป็นท้อง ถิ่น และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่คนท้องถิ่นปรับตัว ไม่ทัน

10 สภาพดังกล่าวทำให้คนสาคลี ต้องอยู่ร้อนนอนทุกข์ ทิ้งบ้าน ทิ้งนาไร่ ขายที่ดิน บ้างก็ไปเป็นแรงงานในกรุงเทพฯและในโรงงาน อุตสาหกรรมที่ขยายตัวมาถึงอยุธยา สร้างความตระหนกต่อทั้งครูและ ผู้คนในชุมชน ลุงคุณครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คนชุมชนสาคลีและเป็นครู เก่าแก่ของโรงเรียนซึ่งรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทุกข์กระทั่งเป็นผู้นำใน การสร้างความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในเวลาต่อมา กล่าวถึงสิ่งที่เกิด ขึ้นต่อสังคมไทยที่สะท้อนให้เห็นอยู่ในชุมชนสาคลีด้วยเช่นกันว่า เป็น ความล่มสลายและสูญเสียยิ่งกว่าการเสียกรุงศรีอยุธยาในยุคสงคราม กับพม่าและน่ากลัวกว่าเสียอีกเพราะไม่สามารถเห็นศัตรูที่เป็นตัวตนได้ ศัตรูในการต่อสู้ของยุคนี้ไม่เหมือนกับอดีตแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ คนแต่เป็นความยากไร้ ความทุกข์ร่วมกัน และการขาดการเรียนรู้สิ่งที่ เป็นภูมิปัญญาและความเข้มแข็งของตนเอง ต้องต่อสู้ด้วยสติปัญญา และความรู้ที่อยู่บนรากฐานชีวิต ให้พึ่งตนเองได้พอเพียงและมีความ ทัดเทียมต่อการเรียนรู้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมกว่าเดิม

11 โรงเรียน : เวทีสร้างพลังปัญญาเพื่อ นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ครูกับชุมชนไม่สามารถเพิกเฉยอยู่ได้ ณ เวลานั้น คุณครู สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ จึงนำครูและชาวบ้านมาหารือกัน ปัญหาที่ผุดขึ้น มาสู่ความห่วงใยก่อนก็คือ การไม่สนใจศึกษาเล่าเรียนของลูกหลาน และการไม่มีทักษะที่จะดำเนินชีวิตให้มีความสุขต่อไปได้ในชุมชน ทำให้ ต้องละทิ้งบ้าน ยอมไปเป็นแรงงาน ทำให้ครอบครัวและชุมชนล่ม สลาย ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต และเป็นพลเมืองของส่วน รวมที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาโดยครอบครัวและชุมชนแต่ เพียงลำพังก็ไม่พอ และจะให้โรงเรียนแก้ปัญหาให้แก่เด็กฝ่ายเดียวก็ ไม่พอ ชุมชนกับโรงเรียนสาคลีวิทยาเมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อนจึงเปิด เข้าหากัน นำเอาภูมิปัญญาชุมชนและรากเหง้าของสังคมมาสู่การจัด กระบวนการเรียนรู้ โครงการเรียนรู้จากการทำไร่นาสวนผสม เป็น ปฏิบัติการแรกๆของโรงเรียนกับชุมชน

12 ห้องเรียนของนักเรียนชุมชนสาคลีวิทยาจึงผสมผสานทั้งการ ศึกษาตามมาตรฐานของหลักสูตรส่วนกลางในห้องและการศึกษา เพื่อสร้างลูกหลานให้มีความสำนึกใหม่ต่อสังคมตามแนวคิดของ โรงเรียนกับชุมชนโดยการออกไปเรียนรู้อยู่ในเรือกสวนไร่นา เด็กๆ นักเรียนของสาคลีวิทยาต้องเรียนรู้จากการทำนา ไถนา ดูพืชสวนนา ไร่ เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว สีข้าวและตำข้าว แปรข้าวเปลือกเป็นข้าวขาว รวมทั้งบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆเข้าสู่การผลิตของชุมชน เกษตรกรรม ชาวบ้าน พ่อแม่ พระ และคนเฒ่าคนแก่ ในชุมชน ก็มา ช่วยกันเป็นครูของเด็กๆ

13 ในที่สุดความเป็นชีวิตชุมชนและความเติบโตงอกงาม ของเด็กอย่างที่ควรจะเป็นก็เกิดขึ้น ปัญหาหลายอย่างของเด็ก นักเรียนลดลง ผลสัมฤทธิ์ต่อการสำเร็จในการเรียนของเด็กและ ออกไปทำมาหากินเป็นพลเมืองดีของชุมชน ดีกว่าเดิมมาก สุข ภาวะชุมชนดีขึ้น ชุมชนสามารถพึ่งตนเองในการเผชิญปัญหา ต่างๆและระดมความร่วมมือจากแหล่งต่างๆมาช่วยกันสร้าง โอกาสการพัฒนาสุขภาวะชุมชนได้มากขึ้น ผลผลิตจากการทำนา และเกษตรกรรมก็ขายราคาถูกให้ชาวบ้าน ทำให้มีทุนเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและช่วยเหลือเด็กที่ยากจน ชุมชนก็มีผัก และอาหารที่ปลอดสารพิษบริโภค สิ่งแวดล้อมของชุมชนมีความ ยั่งยืนและเอื้ อต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวสาคลีมากขึ้น

14 บทเรียนและความสำเร็จในระยะแรก เป็นพื้นฐานที่ทำให้ โรงเรียนสาคลีวิทยามีโอกาสในการพัฒนาตนเองต่อมาในหลาย ด้าน รวมทั้งเป็นตัวอย่างการปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้โดย ยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมชาวบ้านให้รวมตัวกัน สร้างสรรค์ความเป็นส่วนรวม และส่งเสริมการเรียนรู้รากเหง้าของ ชุมชน นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ชุมชนและความ สำนึกต่อศักดิ์ศรีของชุมชนเกษตรกรรม มาขับเคลื่อนพลังการมี ส่วนร่วมของชุมชน ปัจจุบัน ชุมชนและโรงเรียนสาคลีวิทยา ก็ยังคงสานต่อ ความริเริ่มต่างๆที่เคยร่วมทำกันมา และเป็นโรงเรียนตัวอย่างการ ทำและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน รวมทั้งโครงการเรียน รู้ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

บรรณานุกรม https://www.gotoknow.org/ https://www.gotoknow.org/posts/338517 https://data.bopp- obec.info/web/index_view_history.php? School_ID=1014310421&page=history

โรงเรียน สาคลีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึ กษามัธยมศึ กษาพระนครศรีอยุธยา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook