Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงาน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าว

รายงาน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าว

Published by SKW Chanel, 2022-08-24 15:21:46

Description: รายงาน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าว

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าว เสนอ ครูอมรรัตน์ อ่อนจันทร์สกุล จัดทำโดย เด็กชายอภิสิทธิ์ จรแจ้ง เลขที่ 9 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาคลีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

คำนำ ร า ย ง า น ฉ บั บ นี้ เ ป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง วิ ช า วิ ท ย า ก า ร คำ น ว น (รหัสวิชา ว232103) ชั้นมัธยมศึกษษปีที่ 3 โดยมีจุดประสงค์เพื่ อ ศึ ก ษ า ค ว า ม รู้ที่ ไ ด้ จ า ก เ รื่ อ ง ก า ร ค้ น ค ว้ า ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง ข้อมูลซึ่งรายงานี้มีเนื้ อหาเกี่ยวกับความรู้จากผลิตภัณฑ์จากข้าว ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงานเนื่ องมาจากเป็น เ รื่ อ ง ที่ น่ า ส น ใ จ แ ล ะ ต้ อ ง ข อ ข อ บ คุ ณ ผู้ ใ ห้ค ว า ม รู้แ ล ะ แ น ว ท า ง ก า ร ศึกษาเพื่ อนๆทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่ารายการฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ กับผู้อ่านทุกท่าน ผู้จัดทำ เด็กชายอภิสิทธิ์ จรแจ้ง

สารบัญ ข้าว คือ ชีวิต 1 พันธุ์ของข้าว 5 การทำอาหาร 8 สารอาหารและความสำคัญทางโภชนาการของข้าว 10

1 ข้าว คือ ชีวิต การปลูกข้าวนั้นเกิดขึ้นควบคู่ไปกับวัฒนธรรมไทยมากว่า 5,500 ปีมาแล้ว โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญก็คือ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะไว้ใส่ข้าว ในสมัยสุโขทัยศิลาจารึกยึง ถูกบันทึกไว้ด้วยข้อมูลที่ระบุถ้อยคำว่า \"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว\" นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ก็คือการเปิดเสรี ทางการค้ากับต่งประเทศในสมัยอยุธยา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ข้าวเข้า มีมีบทบาทสำคัญในการเป็นสิ่งค้าส่งออกของประเทศไทยตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

2 ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ชื่อ วิทยาศาสตร์: Oryza sativa ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลก บริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จาก ข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็น อันดับสองทั่วโลก รองจากข้าวโพด[1] ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญ ที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะ ข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูก เมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของ จีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมา ปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชีย ตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำ มายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการ ยึดอาณานิคมของยุโรป

3 ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าว สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความ อุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร

4 การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและ ภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่ จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าว สามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบ ควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้น เมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการ ค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลง ชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบ ง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของ เขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและ วัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การ ทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่า ในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญ เติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน

5 พันธุ์ของข้าว Oryza sativa ปลูกทั่วไปทุกประเทศ ข้าวชนิด Oryza sativa ยัง แยกออกได้เป็น 1. indica มีปลูกมากในเขตร้อน 2. japonica มีปลูกมากในเขตอบอุ่น 3. Javanica แบ่งตามลักษณะเมล็ด ได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุก อย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด 1. เมล็ดข้าวเจ้า ประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30 2. เมล็ดข้าวเหนียว ประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7

6 แบ่งตามลักษณะเมล็ด ได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุก อย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด 1. เมล็ดข้าวเจ้า ประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อย ละ 15-30 2. เมล็ดข้าวเหนียว ประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7 3.ข้าวนาสวนนาชลประทานข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถ ควบคุมระดับน้ำได้โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมี พื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และ พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง 4. ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญ เติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืด ปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อ เหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชู รวง (kneeing ability)

7 5. ข้าวน้ำลึก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร 6. ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือ พื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ 7. ข้าวนาที่สูง ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถ ทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

8 การทำอาหาร ประเภทของข้าวหลายประเภท สำหรับหลายจุดประสงค์ถูก จำแนกเป็นข้าวเมล็ด ยาว กลาง สั้น เมล็ดของข้าวเมล็ดยาวหอม (อะไมโลสสูง) มีแนวโน้มว่าจะคงสภาพหลังจากหุง; ข้าวเมล็ด ปานกลาง (อะไมโลเพคตินสูง) จะเหนียวมากขึ้น บางประเภทของ ข้าวเมล็ดยาวมีอะไมโลเพคตินสูง เหล่านี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปใน ฐานะข้าวเหนียวไทย โดยปกติถูกนึ่ง ข้าวสำเร็จรูปแตกต่างจาก ข้าวนึ่งที่มันสุกเต็มที่และหลังจากนั้นถูกทำให้แห้ง มีการการลด ค่าอย่างมีนัยสำสำคัญในรสและความรู้สึกที่สัมผัส แป้งทำอาหาร และแป้งข้าวมักถูกใช้ในน้ำแป้งผสมและการทำขนมปังเพื่อเพิ่ม ความกรอบ

9 การเตรียม ไม่ว่าล้างข้าวก่อนหุงหรือไม่ก็ตามขึ้นอยู่กับที่ที่ข้าวถูกผลิต ข้าวที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาส่วนมากถูกเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ (เช่น เหล็ก) ซึ่งทำให้ข้าวดูเหมือนว่าเป็นผง ข้าวสหรัฐอเมริกามักถูกติด ป้ายว่า \"ถูกเสริมคุณค่า\" ถ้าคุณล้างข้าวหลังจากนั้นคุณเสียคุณค่า ทางอาหารเหล่านี้ไป ข้าวอินเดียไม่ถูกเพิ่มสารอาหาร ดังนั้นการ ชำระล้างดีสำหรับการเอาแป้งออก ในญี่ปุ่น พวกเขาล้างจนกระทั่ง น้ำใสและกล่าวว่าการทำเช่นนี้ช่วยการหุงข้าวให้สม่ำเสมอขึ้นและรส ดีขึ้น เมื่อข้าวถูกล้างมันอาจจะถูกล้างซ้ำ หรือแช่เป็นเวลา 30 นาที การแช่ยังลดเวลาหุง ประหยัดเชื้อเพลิง ทำให้ลดการสัมผัสกับ อุณหภูมิสูงให้น้อยที่สุดและดังนั้นลดความเหนียวของข้าว สำหรับ บางพันธุ์ การแช่ปรับปรุงความรู้สึกที่สัมผัสของข้าวหุงสุกโดยการ เพิ่มการขยายเมล็ด ยกตัวอย่างเช่น วิธีที่เหนือกว่าทางคุณค่าทาง อาหารสำหรับการเตรียมข้าวกล้องรู้จักในฐานะข้าวกาบาหรือจีบี อาร์ (germinated brown rice) อาจถูกใช้ นี้เกี่ยวข้องกับการแช่ข้าว กล้องที่ล้างแล้วเป็นเวลา 20 ชั่วโมงในน้ำอุ่น (38 °C หรือ 100 °F) ก่อนที่จะหุงมัน นี้กระตุ้นการงอกซึ่งกระตุ้นเอนไซม์ต่าง ๆ ในข้าว โดยวิธีการนี้ ผลของการวิจัยที่ถูกดำเนินการสำหรับปีสากลแห่ง ข้าวสหประชาชาติมันเป็นไปได้ที่จะได้รับรูปโครงร่างของกรดอะมิโน ที่ครบถ้วนมากขึ้น รวมถึงกาบา

10 สารอาหารและความสำคัญทางโภชนาการของข้าว ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรกว่าครึ่งโลก ข้าวเป็น แหล่งพลังงานหลักของประชากรมากว่าว 17 ประเทศในภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิก 9 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และ 8 ประเทศ ในทวีปแอฟริกา ร้อยละ 20 ของแหล่งพลังงานประชากร โลกเป็นข้าว ร้อยละ 19 และ 5 เป็นข้าวสาลีและข้าวโพด การ วิเคราะห์รายละเอียดของปริมาณสารอาหารของข้าวที่แสดงให้ เห็นว่าคุณค่าทางโภชนาการของข้าวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ข้าวที่อยู่ระหว่างสี ขาว, สีน้ำตาล, สีแดงและสีดำ (หรือสีม่วง) พันธุ์ข้าวแต่ละพื้นที่ แพร่หลายในส่วนต่างๆของโลก นอกจากนี้คุณภาพของสาร อาหารข้าวจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกข้าว และวิธีการแปรรูปข้าว พร้อมก่อนที่จะบริโภค

บรรณานุกรม 1.FAOSTAT. สืบค้นเมื่อ December 26, 2006. 2. Smith, Bruce D. (1998) The Emergence of Agriculture. Scientific American Library, A Division of HPHLP, New York, ISBN 0-7167- 6030-4. 3. หน้า 7, มนุษย์ทำนาเกือบ 10,000 ปีมาแล้ว. \"ทันโลก\". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21342: วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก 4. The analysis of Thai rice problem : Ph.d. Aat Pisanwanich and others History of Thai rice : In-depth Institutional Repository of Rice The position of Thai rice in AEC : Post Today ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าว

โรงเรียนสาคลีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook