Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นิตยสารส่งเสริมความคิดส้รางสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย CEA

นิตยสารส่งเสริมความคิดส้รางสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย CEA

Published by nongbualumphulibrary, 2019-12-06 23:49:47

Description: นิตยสารส่งเสริมความคิดส้รางสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย CEA

Keywords: นิตยสาร

Search

Read the Text Version

กันยายน 2558 ปท ่ี 6 I ฉบับท่ี 12 แจกฟรี อนาคตใหมบ นภเู ขาขอมูล CREATIVE CITY THE CREATIVE CREATIVE WILL New Orleans นที แสง Code for America



คุณไม่มีวันเปล่ียนอะไรไดถ้ า้ แคแ่ ข่งกบั ส่งิ ที่มีอยู่ flickr.com/Mark Sebastian แตต่ อ้ งสรา้ งส่งิ ใหม่ท่ที ำ�ใหส้ ง่ิ ที่มีอยู่นนั้ ล้าสมัย Buckminster Fuller สถาปนิก นักออกแบบ นักประดษิ ฐ์ และนกั เขยี นชาวอเมริกนั เจ้าของแนวคิดเปลี่ยนโลก

CONTENTS สารบัญ 6 The Subject Insight 20 The House of Clicks / Grey Tsunami Coming with New Big Data 22 Material Speculation: ISIS ความชราทีม่ าพรอ มกับขอมูลใหม 24 and Project Mosul / Thync: Wearable Technology / BauBax Jacket Creative Entrepreneur Wellograph นวตั กรรมคูใจคนรักสุขภาพ 8 Creative Resource Creative City Featured Book / Trend Book / Documentaries New Orleans: Using Data to Shift The City 10 Matter มหัศจรรยก ารเลียนแบบธรรมชาติ 12 Classic Item On the Origin of Species 14 Cover Story The Creative 28 Shaping The World 34 อนาคตใหมบ นภูเขาขอมลู นที แสง: Making The Shift Creative Will คนของเมืองในเมอื งของคน บรรณาธกิ ารอำนวยการ l อภสิ ทิ ธ์ิ ไลส ตั รไู กล ทป่ี รกึ ษา l ชมพนู ทุ วรี กติ ต,ิ พชิ ติ วรี งั คบตุ ร, จรนิ ทรท พิ ย ลยี ะวณชิ , พจน องคท วเี กยี รติ บรรณาธกิ าร l พชั รนิ ทร พฒั นาบญุ ไพบลู ย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จดั ทำโดย l ศนู ยส รา งสรรคง านออกแบบ (TCDC) ชน้ั 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สขุ ุมวทิ 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรงุ เทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดท่ี [email protected] พิมพที่ l บริษทั ทูโฟร พรนิ้ ต้งิ จำกดั โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นทติง้ั ยยังสเาปรน ฉมบติ ับรนตีใ้ อ ชสห งิ่ มแึกวพดลมิ อพมจ าแกลนะ้ำใมชันก ถระว่ั ดเหาลษือรงีไทซเ่ไี คมลิเปซน ึง่อเนัปตนรผาลยผตลอ ติ สขขุ อภงาผพูประกอบการไทย ใใจโดนนดั ยกกทศาาำรรูนภเขยผาับสยยเรใแคาตพลงโ ร่ือสคคนรรวรเงศาคกมรงาษารรนเูฐก“กอ่ยีCจิอวrไกeกทแaบั ยบtเiศบveรษสTำฐhนกaิจกัilaสงารnนาdงบสสรริหรราาคงรเแ(ศCลระrษeพฐaฒักtiจิvนไeาทอEยงcดคoว คnยวoคาmวมาyรม)ู (คแอดิลงสคะรผก าลางรกั สมดรหนัราคกช”านรใ)ชซค ึง่ วมาเีมปคา ดิหสมราายงสรรค สามารถดูสถานท่ีจัดวางทง้ั หมดไดท ี่ creativethailand.org อแสนดุญงาทตีม่ ใาห-ใ ไชมไใดชตเพามอ่ื สกัญารญคาาอ-อนนุญญุ าาตตคแรบีเอบทเดีฟียควอกมนั มอ3.น0สป ระเทศไทย

EDITOR'S NOTE flickr.com/Patty M. บทบรรณาธกิ าร ARNEVDOTLHUETNION หากเราลองมองย้อนกลบั ไปในประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติเศรษฐกิจโลก โลกผ่านการปฏิวัติเกษตรกรรม สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทเ่ี ทคโนโยลีการผลิตแบบ Mass Production ไดท้ ำ�ให้เกดิ กระบวนการผลิตแบบโรงงานคราวละมากๆ จากระบบไอนาํ้ และทางรถไฟ ส่กู ารประดิษฐ์ไฟฟา้ และเครือ่ งยนต์ จนเมือ่ ราว 50 ปี ก่อน การเกดิ ขน้ึ ของระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเวลิ ดไ์ วด์เวบ็ และระบบอนิ เทอร์เน็ต ท�ำ ใหโ้ ลกปฏิวตั กิ ระบวนการผลติ ใหม่อยา่ งท่ีไม่เคยเปน็ มากอ่ น โลกนี้จงึ กลายเป็นสถานทที่ ่ีแตกต่างกนั มากในเวลาเพยี งแค่ไม่ก่ีทศวรรษ กลายเปน็ สถานท่ีที่ตอ้ งปรบั ตัวสำ�หรบั คนในหลายเจเนอเรชน่ั และเป็นสถานทที่ ย่ี ากล�ำ บากมาก ขึ้นในการที่จะสร้างผลกำ�ไรทางธรุ กิจ  แตอ่ ัจฉริยภาพทางการคิดค้นของมนุษยไ์ ดน้ ำ�เทคโนโลยีการผลิตแบบใหมส่ วมใสล่ งบนการผลติ แบบเดมิ และออกแบบอนาคตใหม่ให้แกธ่ รุ กจิ ดังเชน่ บรษิ ัท Schoeler Textiles บริษัทอนั เกา่ แก่ของสวติ เซอร์แลนด์ทม่ี รี ากฐานมาตงั้ แต่ปี 1867 ในฐานะผู้ผลิตเสน้ ใยที่มคี ณุ ภาพและผ้าลกู ไม้ช้ันสูง ซึ่งเช่นเดียวกบั โรงงาน เทก็ ซ์ไทล์ทว่ั ไปที่ต้องต่อสู้กับความต้องการสนิ คา้ ราคายอ่ มเยา แต่ Schoeler เลอื กทจ่ี ะปฏิวัตติ ัวเอง โดยการทมุ่ เทกับส่วนงานวจิ ยั เพ่ือสร้างส่ิงทอสรา้ งสรรค์และ สร้างมิตใิ หมๆ่ ใหก้ บั สง่ิ ทอ เชน่ การพฒั นาสง่ิ ทอเพอ่ื ใชร้ กั ษาโรค โดยสรา้ งเสน้ ใยจากสารแขวนตะกอนนา้ํ มนั และพืชทมี่ ีฤทธ์ใิ นการรกั ษา อย่าง “อารน์ กิ า (Arnica)” ท่ีคลายอาการปวดกล้ามเน้ือ ซึ่งเส้นใยน้ีจะทำ�งานแบบกลุ่มสารแม่เหล็ก เมื่อสวมใส่สัมผัสกับผิวหนังตัวยาก็จะออกฤทธิ์บรรเทาอาการ หรือการสร้างสิ่งทอท่ีมี ความเร้าใจใหโ้ ลกแฟช่นั ชัน้ สูงแบบโอต์ กูตรู ์ ใหแ้ ก่ครสิ เตยี น ดิออร์ และชาแนล เชน่ ผา้ และลกู ไมท้ �ำ จากเส้นดา้ ยทองคำ�ยาว 1 เมตร มรี าคาระหว่าง 880-8,800 เหรยี ญสหรฐั ฯ ซงึ่ เกดิ ขนึ้ โดยนกั นาโนเทคโนโลยที ใ่ี ชก้ ระบวนการเคลอื บทองค�ำ เขา้ กบั เสน้ ใยโพลเี อสเตอรใ์ นตสู้ ญุ ญากาศ โดยไฟพลาสมา่ ทไ่ี ปกระแทกอะตอมของ ทองค�ำ และถกู ผลกั ไปในทศิ ทางทจ่ี ะควบแนน่ และเกดิ เปน็ ชน้ั ๆ กลายเปน็ เสน้ ใยโลหะแวววาวทม่ี นี าํ้ หนกั เบาอยา่ งนา่ อศั จรรย์ ซงึ่ ธรุ กจิ นวตั กรรมสงิ่ ทอนมี้ มี ลู คา่ ตลาดราว 700-800 เหรยี ญสหรฐั ฯ และเป็นเคร่อื งการนั ตคี วามเหนือชน้ั กวา่ บรษิ ัทสงิ่ ทออ่นื ๆ ในตลาดโลก เปา้ หมายทางธุรกจิ เปน็ มติ หิ นึง่ ของการปฏวิ ัตเิ ทคโนโลยใี นชว่ งเวลาหน่งึ เทา่ นัน้ อีก 20 ปีตอ่ จากน้ี เราอาจไดเ้ หน็ สงครามมนุษยจ์ กั รกล (Robotic War) ท่ี คนุ้ ตาจากโลกภาพยนตรใ์ นสมรภมู ริ บจรงิ ๆ หรอื หนุ่ ยนตข์ นาดเทา่ ผง้ึ ซง่ึ สามารถบนิ เขา้ ไปในชอ่ งหนา้ ตา่ งเลก็ ๆ เพอ่ื บนั ทกึ ภาพและเสยี ง อนั เปน็ สงิ่ ทเ่ี พนตากอน ได้บกุ เบิกมาอย่างยาวนานตง้ั แตช่ ่วงสงครามเยน็ ขณะท่ีในเชงิ พาณชิ ย์นน้ั มากกวา่ 70 ประเทศท่ัวโลกก�ำ ลงั พฒั นายานยนตไ์ ร้คนขับ เพราะเชื่อมนั่ ว่าอนาคตสิ่ง ทคี่ ดิ อยู่ในวนั น้ีจะเปน็ เพยี งบรกิ ารพืน้ ฐานของสงั คมเราเท่าน้นั เอง จากฝงู หนุ่ ยนตใ์ นสมรภมู ริ บกลางทะเลทราย โดรนสอดแนมขนาดเทา่ ผงึ้ ทน่ี อนป้องกันแผลกดทบั จนถึงเส้นดา้ ยทองค�ำ ท่เี พ่ิมความหรูหราให้กบั การสวมใส่ การปฏวิ ตั เิ ทคโนโลยไี ดส้ รา้ งความเปน็ ไปไดม้ ากมายใหแ้ กก่ ารใชช้ วี ติ ของผคู้ น แตก่ ารปฏิวัตริ ะบบการผลิตครั้งล่าสุดของโลกนี้ ไมใ่ ชก่ ารเปล่ียนโลกในเวลาข้ามคนื มันตอ้ งอาศยั ความพรอ้ มดา้ นโครงสรา้ งพน้ื ฐาน ทั้งการลงทุน ความรู้ และเทคโนโลยีมหาศาล และความจริงก็คือ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งผนู้ �ำ หน้ากับผ้เู ดินตามนนั้ ยิ่งห่างกันออกไปเรือ่ ยๆ โอกาสของการว่ิงไลล่ า่ อนาคตจึงตอ้ งเอาชนะขอ้ จำ�กัด เช่อื มต่อ และสร้างประโยชน์จากเทคโนโลยีเดิมให้ลํ้าเลิศกว่า เพอ่ื ให้การกา้ ว กระโดดนั้นมนั่ คง สรา้ งผลลัพธ์ที่นา่ จดจำ� และเปน็ สว่ นหนึง่ ของการปฏวิ ตั ิแหง่ ยุคของเราได้อยา่ งแทจ้ ริง อภสิ ทิ ธ์ิ ไลส่ ตั รูไกล บรรณาธกิ ารอาํ นวยการ [email protected] กันยายน 2558 l Creative Thailand l 5

THE SUBJECT ลงมอื คดิ เร่อื ง: มนพัชร์ วนสณั ฑ์ TอhอeกแHบoบuบsา้eนoโดf ยClBicikgsData เพื่อออกแบบบ้านในฝันที่แสดงให้เห็นภาพของชีวิตที่ชาวสวีเดนต้องการอย่าง แทจ้ ริง ในปัจจบุ นั Hemnet ใชป้ ระโยชน์จากฐานข้อมูลของผูใ้ ชเ้ วบ็ ไซตท์ ่ีมจี ำ�นวน ในยคุ ทกี่ ารเขา้ ถงึ อนิ เทอรเ์ นต็ แทบจะเรยี กไดว้ า่ เปน็ ปจั จยั หนงึ่ ในการด�ำ รงชวี ติ ของ มากถงึ 2 ลา้ นคนต่อวัน ดว้ ยการเกบ็ ข้อมลู พฤติกรรมของผ้ใู ช้บรกิ ารเวบ็ ไซต์ ไม่ว่า ผคู้ น การนำ� Big Data จากช่องทางออนไลน์ มาใชใ้ นการพฒั นาสนิ คา้ บรกิ าร และ จะเปน็ จ�ำ นวนการคลกิ เขา้ ชมบา้ นรปู แบบตา่ งๆ กวา่ 86,000 แบบ ยอดขายของบา้ น ธรุ กจิ นบั เปน็ ปรากฏการณท์ เ่ี หน็ ไดบ้ อ่ ยขน้ึ และกอ่ ใหเ้ กดิ สง่ิ ใหมๆ่ ทส่ี รา้ งสรรคอ์ ยเู่ สมอ แตล่ ะแบบใน 1 สปั ดาห์ รวมทง้ั รายละเอยี ดความชอบอนื่ ๆ ของผบู้ รโิ ภค เชน่ ขนาด ลา่ สดุ เวบ็ ไซตอ์ สงั หารมิ ทรพั ยใ์ นสวเี ดนภายใตแ้ บรนด์ Hemnet เลง็ เหน็ ความส�ำ คญั สสี ัน ประเภทของวสั ดุ เฟอรน์ ิเจอร์ และราคา ของขอ้ มูลขนาดใหญท่ ม่ี ศี ักยภาพ จึงก่อตัง้ โครงการออกแบบบา้ นจาก Big Data ที่ Hemnet น�ำ ผลทไ่ี ดจ้ ากการเกบ็ และวเิ คราะหข์ อ้ มลู นาน 10 เดอื น มาออกแบบ มชี ่ือว่า The Hemnet Home หรอื ทเี่ รยี กกนั ว่า The House of Clicks รว่ มกบั ทมี ออกแบบสถาปตั ยกรรมจาก Tham & Videgard เพอ่ื สรา้ งสรรคใ์ หบ้ า้ นที่ เกดิ จากBigData ออกมาเปน็ รปู เปน็ รา่ ง ผลงานทอ่ี อกมานน้ั สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความ hemnethemmet.se ตอ้ งการของผอู้ ยอู่ าศยั อยา่ งแทจ้ รงิ The House of Clicks เปน็ บา้ นทม่ี สี ว่ นผสมระหวา่ ง เอกลักษณ์ท้องถิ่นของสวเี ดนและกลนิ่ อายความเรียบง่ายในสไตล์โมเดิร์น ภายนอก Mกaดnอ้วadยบteเกPทrูว้irคaัฒoโljนeนSโcลธptยรeMรcี 3มuoDlsauPtilroinn:tiInSgIS เปน็ ไม้ทาดว้ ยสแี ดงฟาลู (Falu Red) สแี ดงเข้มท่ีมักจะใชท้ าสีโรงนาและบ้านแบบ ดง้ั เดมิ ในสวเี ดน สว่ นภายในประกอบดว้ ยผนงั สขี าว พน้ื ทีเ่ ปดิ โลง่ พรอ้ มทง้ั เฟอรน์ เิ จอร์ มาตรฐานอย่างโซฟาสีเทาและเตาผิง คาดการณ์ว่าบ้านหลังนี้จะเริ่มก่อสร้างจริง ในช่วงตน้ ปี 2016 และหากประสบความส�ำ เร็จด้านยอดขาย โครงการนีอ้ าจเป็นจุด เรมิ่ ตน้ ของมาตรฐานการออกแบบบา้ นในอนาคตก็เปน็ ได้ ทมี่ า: บทความ “Sweden Has Designed Its Dream House and It’s Gorgeous” โดย Katies Colins จาก wired.co.uk / บทความ “This Swedish House Was Designed by Two Milions People and It’s Surprisingly Attractive” โดย Chris Weller จาก businessinsider.com / บทความ “Two Million People Helped Design This Swedish Home” โดย Adam Williams จาก gizmag.com / hemnethemmet.se ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 มีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์การบุกรุกโบราณสถานใน autodesk.com/Material Speculation ISIS เมืองโมซูล ประเทศอริ กั โบราณวัตถุทม่ี คี ณุ คา่ ทางวฒั นธรรมถกู ทำ�ลายเพือ่ เป็นการ ส่งข้อความเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) สร้างความเสียหายต่อ เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ถูกทำ�ลายโดยละเอียด และสร้างแบบจำ�ลองข้ึนมาใหม่ด้วย หลักฐานทางวัฒนธรรมเก่าแก่ของอัสซีเรียเป็นอย่างมาก แต่ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) นอกจากลงมือทำ�ด้วยตนเองแล้ว เทคโนโลยกี ารเกบ็ ขอ้ มลู ขนาดใหญใ่ นรปู แบบของคลาวด์(Cloud) ไดส้ รา้ งขอ้ ไดเ้ ปรยี บ อัลลาห์ยารียังมีแผนท่ีจะเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้ที่มีศักยภาพในการสร้างวัตถุโบราณ ในการเก็บและส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายท่ัวโลก ส่งผลให้นักออกแบบรุ่นใหม่ เหล่านัน้ ข้ึนมาใหม่อกี ด้วย สรา้ งสรรคผ์ ลงานจากเหตกุ ารณน์ ไี้ ด้ นอกเหนือจากความเคลื่อนไหวของนกั ออกแบบในกลุ่ม Pier 9 แลว้ ยงั มีกลุม่ เพอื่ เปน็ การตอบโตอ้ ยา่ งมอี ารยะ มอเรหช์ นิ อลั ลาหย์ ารี(MorehshinAlahyari) นักออกแบบอาสาสมัครท่ีมองเห็นโอกาสในการกอบกู้วัฒนธรรมด้วยการพิมพ์ นกั ออกแบบและนกั เคลอ่ื นไหวทางสงั คมชาวอหิ รา่ น ผอู้ ยใู่ นโครงการสนบั สนนุ เครอื สามมติ ิ เช่น กลุม่ “Project Mosul” ทีส่ ร้างแบบจ�ำ ลองโบราณวัตถุทถ่ี กู ท�ำ ลายโดย ข่ายของเมกเกอร์ (Maker) นักออกแบบดิจิทัล (Fabricator) และนักออกแบบใน ใช้วธิ ีรวบรวมข้อมูลภาพถา่ ยจากมวลชน (Crowdsourced Photography) แสดงให้ สาขาต่างๆ ภายใตโ้ ครงการ Pier 9 ของแบรนดซ์ อฟต์แวรร์ ะดับโลก Autodesk ได้ เหน็ ถงึ ความส�ำ คญั และบทบาททเ่ี ปลย่ี นไปของการพมิ พส์ ามมติ ใิ นแงม่ มุ ทไ่ี มไ่ ดจ้ �ำ กดั รเิ รมิ่ โครงการชอื่ “ Material Speculation: ISIS “โดยอลั ลาหย์ ารที �ำ การคน้ ควา้ ขอ้ มลู อยแู่ คก่ ารผลิต แตย่ ังรวมถึงสงั คม การเมือง และวัฒนธรรมด้วย ท่ีมา: บทความ “ISIS VS 3D Printing” โดย Ben Valentine จาก motherboard.vice.com / บทความ “Project Mosul Aims to Resurrect the Artifacts Destroyed by ISIS” โดย John Biggs จาก techcrunch.com / autodesk.com 6 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558

THE SUBJECT ลงมือคดิ WTheyanrcabบl�ำ eบTัดeอcาhรnมoณlo์ดg้วyย Thync ถอื ก�ำ เนดิ ขน้ึ หลงั ไดร้ บั ทนุ จ�ำ นวน 20 ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ฯ จาก Khosla Ventures baubax.com บริษัทยักษใ์ หญใ่ นซลิ ิคอน แวลลยี ์ แหลง่ กำ�เนิดธรุ กจิ สตาร์ทอัพระดับโลก Khosla Ventures เล็งเห็นศักยภาพของ Thync อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยบำ�บัด เBมaอ่ื uไBอเaดxียJคaือcตk้นetทนุ ทดี่ ีทสี่ ุด อารมณซ์ ึ่งแซงหนา้ อปุ กรณ์สวมใสอ่ เิ ล็กทรอนิกส์ (Wearable Technology) อนื่ ๆ ที่ มอี ยู่ในปจั จบุ นั แนวคิดเบ้อื งต้นของ Thync นั้นไมใ่ ช่แค่การวดั และเกบ็ ข้อมูลเกีย่ ว BauBax Jacket เสือ้ แจค็ เกต็ สารพัดประโยชน์ เพง่ิ จะกลายเปน็ 1 ใน 10 โครงการ กบั ร่างกาย แต่เปน็ การแกไ้ ขปญั หาทเ่ี กิดขน้ึ ในรปู แบบของการรักษา เปรียบเสมือน ที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในเว็บไซต์ระดมทุนสาธารณะ kickstarter.com ใน ยารกั ษาโรคแบบดจิ ิทัล (Digital Drugs) ขณะทย่ี งั เหลอื เวลาในการระดมทนุ อกี 1 สปั ดาห์ โดยไดท้ นุ รวมมากกวา่ 6 ลา้ นเหรยี ญ คุณสมบัติของ Thync คือการยกระดับอารมณ์ของผู้ใช้ด้วยการปล่อยกระแส สหรฐั ฯ จากผูส้ นับสนนุ กว่า 33,000 คน ทั้งๆ ทเี่ รม่ิ แรกเจ้าของโครงการตง้ั เป้าการ ไฟฟา้ ออ่ นๆ ทไ่ี มเ่ ปน็ อนั ตรายจากอปุ กรณท์ รงสามเหลย่ี มไปยงั ระบบประสาทของผใู้ ช้ ระดมทนุ ไว้เพยี ง 20,000 เหรยี ญสหรฐั ฯ เทา่ นนั้ โดยสามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ทั้งนี้ผู้ใช้ จุดเร่ิมต้นของเสื้อแจ็คเก็ตที่สามารถโน้มน้าวใจคนจำ�นวนมากให้กลายเป็นผู้ สามารถเลือกรูปแบบและระยะเวลาในการบำ�บัดได้ โดยระยะเวลาที่ส้ันท่ีสุดท่ีเห็น สนับสนนุ นั้นเกิดจากปัญหาในชีวิตประจำ�วันของฮรี าล แซงยาวี (Hiral Sanghavi) ผลคอื 5 นาที ซงึ่ เปน็ เวลาท่ีแมแ้ ต่คนท่มี ชี ีวติ รีบเร่งกส็ ามารถใช้อปุ กรณ์นไ้ี ด้ นกั ธรุ กจิ ขา้ มชาตชิ าวอนิ เดยี ท่ตี อ้ งเดนิ ทางบ่อย เพ่ือติดต่อธรุ กจิ และเย่ยี มเยยี นโยแกนชี ปัจจุบัน Thync ยังคงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์เคร่ืองใช้ในชีวิตประจำ�วัน ชาห์ (Yoganshi Shah) ภรรยาของเขา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เพราะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ ชาหม์ องเหน็ ปญั หาของสามเี ธอทม่ี กั จะลมื พกหมอนรองคอและตอ้ งซอ้ื หมอนใบใหม่ ทางการแพทย์ได้ อยา่ งไรก็ตาม แนวคดิ ในการใช้อปุ กรณส์ วมใสอ่ เิ ล็กทรอนกิ ส์เพอ่ื ทกุ ครั้งท่ีเดินทางเสมอ ใชใ้ นการบ�ำ บดั อารมณโ์ ดยตรงถอื เปน็ แนวคดิ ทแี่ ปลกใหม่ และหาก Thync สามารถ ดว้ ยพน้ื ฐานการเปน็ นกั ออกแบบประสบการณผ์ ใู้ ช้ (User Experience Designer) พสิ จู นต์ วั เองได้ กจ็ ะนบั วา่ เปน็ กา้ วใหมข่ องอปุ กรณส์ วมใสอ่ เิ ลก็ ทรอนกิ สอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ ชาห์จึงมีความคิดเริ่มแรกในการแก้ปญั หานี้ดว้ ยการสร้างแอพพลเิ คชั่นส�ำ หรบั เตอื น ผู้ใช้ไม่ให้ลืมของสำ�คัญเมื่อต้องเดินทาง แต่แล้วเธอก็พบคำ�ตอบท่ีเรียบง่ายยิ่งกว่า ทม่ี า: บทความ “This Gadget Gives You a Low-Voltage Pick-Me-Up” โดย Geoffrey A. Fowler น่ันคือการออกแบบแจ็คเก็ตที่มีทุกอย่างท่ีผู้เดินทางต้องการอยู่ในตัว ไม่ว่าจะเป็น จาก wsj.com / บทความ “ Thync Mood-Changing Wearable Officialy Launches - We Go หมอนรองคอแบบเปา่ ลม ทป่ี ิดตาเพอ่ื ช่วยในการนอนหลบั บนเครื่องบนิ ช่องส�ำ หรับ Hands-On (again) โดย Wil Shanklin จาก gizmag.com ใส่นา้ํ ดมื่ ที่สามารถเปิดดมื่ ไดเ้ ลย และช่องส�ำ หรบั ใส่ของจำ�เป็นต่างๆ โดยสามีของ เธอกเ็ ห็นด้วย และมองวา่ แนวคิดนต้ี อ้ งได้รบั การตอบรับท่ดี ีแน่นอน Thync.com BauBax Jacket มีกำ�หนดท่จี ะส่งถึงมือผู้สนับสนุนในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ โดยแซงฮาวี เจา้ ของโครงการมลู คา่ มหาศาลมองวา่ นเี่ ปน็ เพยี งจดุ เรมิ่ ตน้ ของแบรนด์ เท่านั้น เขายังมีแผนท่ีจะเพ่ิมคุณสมบัติการใช้งานของแจ็คเก็ตโดยร่วมกับสมอง จกั รกล (Robotic Brain) ซง่ึ เป็นอีกหนง่ึ ธรุ กิจเทคโนโลยีท่เี ขาเป็นเจา้ ของอยูอ่ ีกดว้ ย ทมี่ า: บทความ “How This Couple Created Al-In-One Travel Jacket That Is Nearing $2 Milion on Kickstarter” โดย Catherine Clifford จาก entrepreneur.com / บทความ “World’s Best Travel Jacket Makes Kickstarter’s Top 10 Most Funded Project Ever” โดย Moly Brown จาก geekwire.com / kickstarter.com กันยายน 2558 l Creative Thailand l 7

CREATIVE RESOURCE วตั ถุดบิ ทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรกั ษ์ปัญญา และ อ�ำ ภา นอ้ ยศรี FEATURED BOOK รดี ฮอฟฟแ์ มน (Reid Hoffman) ผกู้ อ่ ตง้ั ลงิ ดอ์ นิ ถา้ ตคี า่ ตัวเลขในทางคณิตศาสตร์ ชอ่ งวา่ ง (LinkedIn) กล่าวถึงความเส่ียงท่ีนักลงทุน ระหวา่ งจำ�นวน 0 ถงึ 1 กบั 1 ถงึ 2 ก็คงไม่ตา่ ง ZERO TO ONE: สตาร์ทอัพต้องเผชิญว่า “การทำ�สตาร์ทอัพก็ กนั แต่ถา้ มองในเชิงความกา้ วหน้าแล้ว ทัง้ สอง เหมอื นกบั การกระโดดลงจากหนา้ ผา และสรา้ ง จ�ำ นวนกลับต่างกนั แทบจะสนิ้ เชงิ การก้าวจาก NOTES ON STARTUPS, เครื่องบินระหว่างทกี่ ำ�ลังตกลงไป” มีผู้คนไม่ 1 ไป 2 หรือ 3 เป็นความก้าวหนา้ ในแนวราบ OR HOW TO BUILD THE FUTURE น้อยท่ียอมเสี่ยงกระโจนลงไปเพื่อมุ่งหวังผล คือต่อยอดจากสิ่งที่คุ้นเคยหรือเพ่ิมจำ�นวนสิ่ง ตอบแทนทย่ี ง่ิ ใหญใ่ นเวลาอนั รวดเรว็ นา่ เสยี ดาย ท่ี มี อ ยู่ แ ล้ ว ใ ห้ ม า ก ขึ้ น อ ย่ า ง ท่ี เ รี ย ก กั น ว่ า โดย Peter Thiel ทคี่ นกวา่ 75 เปอรเ์ ซน็ ตส์ รา้ งเครื่องบนิ ไม่สำ�เรจ็ โลกาภวิ ฒั น์ แตก่ ารสรา้ ง 1 จาก 0 ทว่ี า่ งเปลา่ นน้ั จากรายงานของเว็บไซต์ Mashable ระบวุ า่ ใน เป็นการสร้างสิ่งใหม่ท่ีก่อให้เกิดประโยชน์กับ ปี 2012 มีผ้ปู ระกอบการมากกวา่ 500,000 ราย ผู้คนอย่างมาก เพราะความก้าวหน้าแบบด่ิง ที่ทำ�ธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ หรือเทคโนโลยีซ่งึ ต้องใชท้ ้งั แรงกาย ความคิด สามารถยืนหยดั ได้อยา่ งมั่นคง บางแหง่ เติบโต และความพยายามอยา่ งมาก คอื สง่ิ ทโี่ ลกตอ้ งการ อยา่ งรวดเรว็ แตม่ อี ายสุ น้ั บางแหง่ กไ็ มแ่ มแ้ ตจ่ ะ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างสรรค์ เหน็ ผลกำ�ไร ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) เปน็ หนงึ่ นวตั กรรมใหมๆ่ เพอ่ื พาเราไปขา้ งหนา้ อยา่ งกา้ ว ในผทู้ น่ี �ำ พาบรษิ ทั ใหเ้ ตบิ โตไดอ้ ยา่ งยง่ิ ใหญ่ เขา กระโดด และเมอื่ สรา้ งนวตั กรรมทต่ี อบสนองตอ่ ก่อตั้งบริษัทมูลค่าหลายพันล้านอย่าง Paypal ความต้องการของผคู้ นไดแ้ ล้ว บรษิ ทั ทีส่ ามารถ และ Palantir และเปน็ นกั ลงทนุ ทมี่ อี ทิ ธพิ ลทสี่ ดุ ท�ำ ในสงิ่ ทท่ี �ำ อยไู่ ดด้ จี นไมม่ ผี ทู้ ดแทนไดใ้ นระดบั คนหนึ่งของซิลคิ อนแวลลีย์ ผูอ้ อกเงนิ สนับสนุน ท่ีใกล้เคียงนี้ย่อมเติบโตอย่างก้าวกระโดดและ ให้กับบริษัทสตาร์ทอัพนับร้อยแห่ง และหลาย สามารถผูกขาดสินค้าเป็นสตาร์ทอัพที่ยืนอยู่ แห่งก็กลายมาเป็นบริษัทท่ีมีช่ือเสียงในเวลา เหนอื เหลา่ บริษทั คู่แขง่ ท้งั หลายได้ ตอ่ มาเชน่ Facebook และ SpaceX นอกจากน้ี เพราะการสรา้ งนวตั กรรมเปน็ สงิ่ ใหมแ่ ละมี เขากไ็ ด้เขยี นหนังสือเลม่ น้ีข้ึนจากประสบการณ์ เอกลกั ษณเ์ ฉพาะตวั ท�ำ ใหไ้ มม่ ขี นั้ ตอนการสรา้ ง การเป็นทั้งนักธุรกิจและนักลงทุนมาอย่าง ท่ชี ัดเจน หนงั สือเลม่ นี้จงึ ไมใ่ ชส่ ูตรของการทำ� ยาวนาน ธุรกจิ ให้สำ�เรจ็ แต่คือวธิ ีการสร้างบริษัทที่สร้าง ส่ิงใหม่ๆ และมุมมองการทำ�ธุรกิจในปัจจุบัน ตั้งแต่แนวคิดการสร้างธุรกิจ การตั้งคำ�ถามท่ี ตอ้ งตอบใหไ้ ด้ จนถงึ การประเมนิ ความเปน็ ไปได้ และยังชี้ให้เห็นว่าความเชื่อของการทำ�ธุรกิจ แบบดั้งเดิมอาจเป็นตัวฉุดไม่ให้สร้างส่ิงใหม่ๆ เพราะมัวหมกมุ่นอยู่กับโอกาสเดิมมากเกินไป เหมาะอย่างย่ิงกับผู้ท่ีต้องการเรียนรู้วิธีการทำ� ธุรกิจแบบก้าวกระโดด และนำ�มาปรับใช้กับ ธุรกจิ แนวอ่ืนไดห้ ลากหลาย 8 l Creative Thailand l กันยายน 2558

CREATIVE RESOURCE วตั ถุดิบทางความคดิ TREND BOOK DOCUMENTARY DOCUMENTARY เจาะเทรนด์โลก 2016 CAPITAL C SLINGSHOT โดย TCDC โดย Timon Birkhofer & Jørg M. Kundinger โดย Paul Lazarus “มนษุ ยจ์ ะไมถ่ กู แบง่ ออกดว้ ยชาตพิ นั ธอุ์ กี ตอ่ ไป ปัจจุบันการส่ือสารระหว่างกันบนโลกออนไลน์ การพฒั นาอตุ สาหกรรมอยา่ งกา้ วกระโดด ความ การประทับตราหรือเหมารวมผู้คนว่าเป็นคน นน้ั งา่ ยเพยี งปลายคลกิ น่ีจึงเป็นชอ่ งทางหลกั ที่ เปลยี่ นแปลงดา้ นสภาพแวดลอ้ ม อณุ หภมู โิ ลกท่ี กลุ่มไหน ชาติพนั ธใุ์ ด อาจเป็นเรอื่ งยากและซบั เหล่านักสร้างสรรค์ ศิลปิน หรือผู้ท่ีมีไอเดียใช้ เพม่ิ ขนึ้ ท�ำ ใหแ้ หลง่ นาํ้ สะอาดปนเปอ้ื นและเกดิ ซอ้ นมากยงิ่ ขน้ึ เพราะโลกก�ำ ลงั ผสมผสานตง้ั แต่ เป็นพ้ืนที่แสดงผลงานและชักชวนคนที่อยู่บน ความขาดแคลนแหล่งน้ําสะอาดสำ�หรับการ ระดบั พนั ธกุ รรม จนถงึ ประเพณี และการใชช้ วี ติ หนา้ จอใหร้ ว่ มวงในความสนใจเดยี วกนั เพอื่ รว่ ม อุปโภคบริโภค “Slingshot” คอื นวตั กรรมทด่ี นี คนในเจเนอเรชั่นใหม่จะเกิดการผสมผสาน สร้างสิ่งท่ีเช่ือให้เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการที่ คาเมน (Dean Kamen) คดิ คน้ ขน้ึ เพอื่ จดั การกบั ระหวา่ งเชอ้ื ชาติ โลกจะตอ้ งผลติ สนิ คา้ ทต่ี อบสนอง เรยี กวา่ “Crowdfunding” ทเ่ี ปน็ ทางออกในการ ปัญหาน้ี ด้วยเทคโนโลยี Vapor Compression ตอ่ ความหลากหลายมากขน้ึ เชน่ การเพ่มิ เฉด เสนอไอเดยี ใหค้ นทชี่ น่ื ชอบไดค้ น้ พบโปรเจก็ ตท์ ี่ Distiler ทแ่ี ปรสภาพนาํ้ ปนเปอ้ื นตามแหลง่ ตา่ งๆ สขี องรองพนื้ หรอื เครอ่ื งครวั ทเี่ หมาะกบั การปรงุ สนใจจากทว่ั ทกุ มมุ โลกผา่ นโลกออนไลน์ และได้ ให้นำ�กลับมาใช้บริโภคใหม่ได้อกี ครัง้ นบั เป็น อาหารหลายวัฒนธรรม” แสดงตวั สนบั สนนุ ดว้ ยการรว่ มลงทนุ ใหโ้ ปรเจก็ ต์ การสร้างความหวังใหม่ให้กับประชากรในพื้นที่ น่ีเป็นส่วนหน่ึงจากการคาดการณ์ส่ิงท่ีจะ นน้ั ๆ กลายเปน็ รปู ธรรมขน้ึ มา ขณะทค่ี วามส�ำ เรจ็ ทก่ี �ำ ลงั เผชญิ วกิ ฤตขิ าดแคลนนา้ํ โดยมโี คคา-โคลา เกดิ ขน้ึ ในปี 2016 หนงั สอื เลม่ นี้ไดร้ วบรวมเทรนด์ อาจไมไ่ ดอ้ ยทู่ ย่ี อดเงนิ ซงึ่ ระดมได้ แตอ่ ยทู่ ค่ี วาม รว่ มเปน็ ผสู้ นบั สนนุ การกระจาย Slingshot ไปยงั จากการทำ�นายของสำ�นักเทรนด์ต่างๆ นำ�มา สำ�เร็จของชนิ้ งานที่เฝา้ รอตา่ งหาก ชมุ ชนหา่ งไกลในแถบแอฟรกิ าและละตนิ อเมรกิ า สรปุ วเิ คราะห์ และแบง่ เปน็ สหี่ วั ขอ้ ใหญด่ ว้ ยกนั ซง่ึ ท�ำ ควบคไู่ ปกบั การอนรุ กั ษแ์ หลง่ น้าํ การจดั การ เพื่อช่วยใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์ นาํ้ อยา่ งเป็นระบบ และการสร้างจิตสำ�นึกทด่ี ี กระแสความนิยมในอนาคตตอ่ ไป ซ่ึงเป็นวิธีท่ีควรให้ความสำ�คัญมากกว่าการแก้ ปญั หาที่ปลายเหตุ พบกบั วตั ถดุ บิ ทางความคดิ เหลา่ นไ้ี ดท้ ี่ TCDC Resource Center กันยายน 2558 l Creative Thailand l 9

MATTER วัสดตุ ้นคิด เรอ่ื ง: ชมพูนทุ วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กล่นิ ศรสี ุข แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคน้ี แต่ผู้คนก็ยังคงให้ความสำ�คัญกับงานวิจัยเร่ืองไบโอมิมิครี (Biomimicry) หรือการเลียนแบบธรรมชาติเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ 10 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558 ความรู้ดา้ นชวี วิทยา เคมี และอน่ื ๆ ทล่ี งลกึ ไปในระดับของการนำ�เซลลห์ รือโมเลกลุ มาศกึ ษา และออกแบบ เพื่อพฒั นาเทคโนโลยีหรือกระบวนการต่างๆ โดยอาศยั การเลยี นแบบจากสง่ิ มี ชีวติ ท่มี คี ุณสมบัติโดดเด่นและตรงกบั ความตอ้ งการของมนษุ ย์ หนึ่งในนั้นได้จากการเฝ้าสังเกตธรรมชาติจนพบว่าปลาขนาดใหญ่อย่างฉลามที่ว่ายน้ํา อยา่ งเชอ่ื งชา้ ในมหาสมทุ รนน้ั มผี วิ หนงั ทสี่ ะอาด ไมม่ สี าหรา่ ยหรอื สงิ่ มชี วี ติ ใดๆ มาเกาะ ทเ่ี ปน็ เชน่ นน้ั กเ็ พราะผวิ หนงั ของปลาฉลามมลี กั ษณะพเิ ศษ ปกคลมุ ดว้ ยลวดลายขนาดเลก็ มากทเ่ี รยี ก วา่ Dentricles ลวดลายน้ีจดั เรียงอย่ใู นรปู ของเพชรทปี่ ระกอบดว้ ย Riblets ขนาดเล็กจ�ำ นวน มาก ท�ำ ให้ผิวของฉลามหยาบจนส่ิงมีชีวิตเล็กๆ ทั้งหลายไมส่ ามารถเกาะติดได้ และยงั ชว่ ยลด แรงเสียดทาน นักวทิ ยาศาสตร์จากองค์การนาซาไดร้ ว่ มกันท�ำ งานกบั บริษทั 3M จนสามารถ เลยี นแบบลวดลายผวิ หนงั ฉลาม โดยลดรปู รา่ งของลวดลายลงบางสว่ นและสรา้ งสรรคใ์ หร้ ปู รา่ ง Riblets กลายเป็นฟิล์มท่ีมคี วามบาง กอ่ นนำ�ไปใช้เคลือบตวั เรือใบ Stars & Stripes จนชนะการ แขง่ ขนั โอลมิ ปกิ และการแข่งขัน America’s Cup กอ่ นทีฟ่ ลิ ์ม Riblets จะถูกหา้ มใช้ในปี 1987 ขณะเดยี วกันดร. แอนโธนี เบรนแนน (Dr. Anthony Brennan) นักวทิ ยาศาสตรด์ ้านวสั ดแุ ละ วิศวกรจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาก็ได้ทำ�วิจัยให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อหากลยุทธ์ใหม่ที่จะ ปอ้ งกนั ไมใ่ หต้ วั เพรยี งและสงิ่ มชี วี ติ อน่ื ๆ มาเกาะตวั เรอื เนอื่ งจากตอ้ งการลดการใชส้ กี นั เพรยี ง ทีเ่ ป็นพิษตอ่ ส่งิ แวดล้อมลง นอกจากน้ี บรษิ ทั Sharklet Technologies  ยังพบวา่ โครงสร้างของ Dentricles หรอื Sharklet นั้นสามารถป้องกันการเจรญิ เติบโตของเชื้อโรคได้เปน็ อยา่ งด ี เพราะ การขยายพันธุ์ของแบคทีเรียบนผิวที่เลียนแบบผิวของฉลามน้ีเป็นไปได้ยาก การปรับลวดลาย กว้างยาวของ Sharklet จะเหมาะกับการใชง้ านท่แี ตกตา่ งกนั เช่น ถ้าปรับให้ลวดลายกว้างขึน้ วัสดุจะใสขึ้นเพราะการหักเหของแสงน้อยลง เหมาะกับการใช้ทำ�หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และ หน้าจอคอมพวิ เตอร์ในโรงพยาบาล เป็นตน้ แม้แต่วธิ ีการเกบ็ ข้อมูลใหย้ าวนานทสี่ ุด นกั วิทยาศาสตร์ก�ำ ลงั มองกลับไปทีธ่ รรมชาติ นนั่ คอื ดเี อน็ เอ ซง่ึ ก�ำ ลงั จะเปน็ อนาคตของวธิ เี กบ็ ขอ้ มลู โดยเฉพาะขอ้ มลู ทเ่ี กย่ี วกบั ซากดกึ ด�ำ บรรพ์ เนอ่ื งจากตระหนกั วา่ อปุ กรณเ์ กบ็ ขอ้ มลู ทใ่ี ชก้ นั อยมู่ อี ายสุ น้ั นกั วจิ ยั ท่ีสถาบนั เทคโนโลยสี วิส ซรู คิ (ETH Zurich) ในสวิตเซอรแ์ ลนดจ์ งึ เชื่อว่าระบบการเก็บข้อมลู ท่เี หมือนกบั ทมี่ อี ยใู่ นดเี อ็นเอของ สงิ่ มชี ีวิตทง้ั หลายนา่ จะเป็นคำ�ตอบของการแก้ปญั หาน้ี คาดกนั วา่ ดเี อน็ เอ 1 กรมั จะเก็บข้อมูล ได้ 455 เอกซะไบต1์ แต่การที่ดเี อ็นเอสญู สลายไดง้ า่ ยก็ยังเป็นโจทย์ให้นักวิทยาศาสตร์ต้องหา วธิ แี กไ้ ข ซึ่งจากการศึกษาพบว่าดีเอ็นเอจะมีอายุนานขึ้นในสภาวะท่เี ยน็ และแห้ง โดยเฉพาะ วัสดุประเภทเซรามกิ ที่แหง้ เช่น ฟนั กระดกู และเปลือกไข่ ซ่ึงต้องหลกี เลี่ยงนา้ํ และออกซิเจน ที่จะทำ�ใหด้ ีเอน็ เอสลายเร็วขนึ้  ในระหว่างนี้ทีมนักวิจัยได้ทดลองเก็บข้อมลู ขนาด 83 กิโลไบต์ โดยใช้กระบวนการผสมผสานระหว่างความก้าวหน้าทางการแพทย์ การวิเคราะห์พันธุกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่มี า: บทความ “Biomimicry เทคโนโลยเี ลยี นแบบธรรมชาต”ิ โดย ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณชิ ย์ จาก greenworld.or.th / บทความ “14 Smart Inventions Inspired by Nature: Biomimicry” โดย Amelia Hennighausen และ Eric Roston จาก bloomberg.com 1 1 เอกซะไบต์ เท่ากับ 1 พนั ลา้ นกกิ ะไบต์

หมดปญ หาหยบิ นติ ยสารไมทนั สมคั รสมาชกรายป คาใชจ า ยในการจัดสง 200 บาท (12 เลม ) หรอสมัครออนไลนไดท่ี tcdc.or.th/creative_thailand Thorn-D Dyneema (MC# 5041-02) ขอมูลผูสมัครสมาชิก เสน้ ใยส�ำ หรบั ท�ำ ตาขา่ ยกนั ตวั เพรยี งทปี่ ราศจากพษิ มคี วามคงทน และเป็นวิธที างกายภาพในการป้องกันเพรียง ผลติ จากเส้นใยสัน้ สมาชิกใหม สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชกิ ) ซึ่งทำ�ให้มีลักษณะเป็นหนามแหลมทั่วผิว ทำ�หน้าที่ป้องกันการ เกาะตัวของเพรียงได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อ ชื่อ ชาย หญิง อายุ อีเมล ส่งิ แวดล้อมและพนั ธป์ุ ลา ไมจ่ ำ�เปน็ ต้องท�ำ ความสะอาดหรอื ดูแล นามสกุล โทรศัพทมือถือ รกั ษาบอ่ ย จงึ ท�ำ ใหค้ า่ ใชจ้ า่ ยโดยรวมของผลติ ภณั ฑต์ ลอดอายกุ าร เพศ ใชง้ านลดลง นอกจากนยี้ งั เปน็ ประโยชนด์ า้ นสขุ ลกั ษณะ คณุ ภาพ โทรศัพท ชวี ติ และสงิ่ แวดลอ้ มในด้านต่างๆ เชน่ ระดบั คุณภาพนํา้ ทีด่ ขี ้ึน ปจั จุบันมกี ารน�ำ ไปใช้ในการประมง การเดินเรอื การขนสง่ และ อาชีพ การเพาะพนั ธป์ุ ลา นกั เรยี น นิสติ /นกั ศกึ ษา นักออกแบบ/ครีเอทฟี อาชพี อสิ ระ ขา ราชการ/รฐั วสิ าหกจิ Printing with DNA (MC# 5919-01) ครู/อาจารย พนักงานบริษัท ผปู ระกอบการ อ่นื ๆ โปรดระบุ กระบวนการบนั ทึกดีเอ็นเอลงบนสิง่ พมิ พ์ ประกอบด้วยการสกัด ดีเอ็นเอจากตัวอย่างเส้นผมหรือเล็บมือของมนุษย์หรือสัตว์ แล้ว สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน นำ�ไปผสมลงในหมึกพิมพ์ท่ีเป็นกรรมสิทธ์ิเฉพาะ สามารถนำ�ไป พมิ พล์ งบนกระดาษ ผา้ หรอื ไม้ ข้อมลู พันธุกรรมท่ถี กู เก็บไว้ใน โฆษณา สถาปต ยกรรม ทองเท่ียว/โรงแรม/สายการบิน หตั ถกรรม/งานฝมือ อาหาร คาปลีก/คาสง หมึกจะสามารถสกัดแยกกลับออกมาในภายหลังเพ่ือใช้เป็นหลัก แฟช่นั ศิลปะการแสดง วรรณกรรม/การพิมพ/สอื่ สงิ่ พิมพ การเงิน/ธนาคาร การแพทย โทรคมนาคม ฐานในการตรวจสอบและระบตุ วั ตนได้ สที พี่ มิ พม์ ที กุ สยี กเวน้ สที อง ดนตรี ภาพยนตร พิพิธภัณฑ/ หองแสดงงาน ทศั นศลิ ป/ การถา ยภาพ การออกแบบ สเี งนิ และสสี ะทอ้ นแสง เหมาะกบั การพมิ พบ์ นกระดาษทไี่ มเ่ คลอื บ โทรทศั น/ วทิ ยกุ ารกระจายเสยี ง ซอฟตแ วร/แอนเิ มชนั /วดิ โี อเกม อ่ืนๆ โปรดระบุ ผวิ เนอ่ื งจากหมกึ นพี้ มิ พแ์ ลว้ จะเปอ้ื นไดง้ า่ ย ปจั จบุ นั พนื้ ทขี่ องการ พิมพ์จะมีความยาวอยู่ระหว่าง 2 ถึง 4 เซนติเมตร และจำ�กัด ที่อยูในการจัดสง จ�ำ นวนพิมพ์อยูท่ ี่ 100 สำ�เนา หมบู าน/บรษิ ัท ซอย ถนน หนว ยงาน/แผนก อำเภอ/เขต พบกับวสั ดุต้นคดิ เหล่านีไ้ ด้ท่ี Material ConneXion® Bangkok, TCDC เลขที่ รหัสไปรษณยี  ตำบล/แขวง จงั หวดั ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมอื นท่ีอยูในการจัดสง ถนน หนว ยงาน/แผนก อำเภอ/เขต หมูบาน/บริษัท รหสั ไปรษณีย ตำบล/แขวง เลขที่ ซอย จังหวัด ตองการสมัครสมาชกิ นติ ยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เรม่ิ ต้ังแตฉบบั เดือน โดยยินดีเสยี คาใชจ ายในการจดั สงเปน จำนวนเงนิ 200 บาท วิธีการชำระเงิน เชค็ สง่ั จา ยศนู ยสรางสรรคง านออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงนิ เขาบัญชีออมทรัพย ศนู ยส รา งสรรคง านออกแบบ เลขท่บี ัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญส ลี ม • แฟกซใ บสมคั รพรอมหลักฐานการโอนเงินมาท่ี 02-664-7670 • หรือสงไปรษณยี ม าท่ี ศูนยส รางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอม็ โพเรียมทาวเวอรช้ัน 24 ถนนสขุ ุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรงุ เทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมคั รพรอมหลกั ฐานการโอนเงินมาที่อีเมล [email protected] สอบถามขอ มูลเพิม่ เติมไดท่ี 02-664-7667 ตอ 122

CLASSIC ITEM คลาสสกิ http://thehundredbooks.com เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์ หลายคนรดู้ วี า่ มนษุ ยม์ พี นั ธกุ รรมรอ้ ยละ 95 รว่ มกบั ลงิ ชมิ แปนซี แต่หากปราศจากการค้นพบของนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ที่ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน เราอาจไม่มีวันรู้เลยว่า แขนของมนุษย์น้ัน พัฒนามาจากครีบปลา และท้ังเราและปลาเคยมีบรรพบุรุษเป็น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวท่ีอยู่ในทะเล ที่น่าตกใจกว่าน้ันคือเรามี พันธกุ รรมรว่ มกับกะหลํา่ ปลถี ึงร้อยละ 40 ในปี ค.ศ.1859 ดารว์ นิ ตพี มิ พห์ นงั สอื ชือ่ ก�ำ เนดิ สปีชสี ์ (On the Origin of Species) และมนั คอื การปรบั เปลย่ี นกระบวนทศั น์ (Paradigm Shift) หรอื การยกระดับความคดิ ครั้งใหญข่ องมนุษยชาติ ในการเปล่ียนมมุ มองเรื่อง “ผู้สรา้ ง” มาสู่ “ววิ ฒั นาการ” สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร? จากท่ีเคยเชื่อกันว่าส่ิงมีชีวิตทุกชนิดมี พระเจ้าเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ ท้ังยังสมบูรณ์อย่างนี้มา ต้ังแต่วันสร้างโลก ดาร์วินไม่เพียงแต่อธิบายให้รู้ว่ามนุษย์เองก็พัฒนามา จากส่ิงมีชีวิตชนิดอื่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่การอธิบาย ทฤษฎีวิวัฒนาการด้วยกลไกการคัดเลือกตามธรรมชาติของเขายังได้เปิด ประตูสู่พ้ืนท่ีใหม่ให้มนุษย์ออกจากมุมมองเร่ืองเหนือธรรมชาติ สู่การ อธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่ามันคือการเปิด พ้นื ท่ีใหก้ บั การพัฒนาทางวทิ ยาศาสตรอ์ ันไม่รจู้ บดว้ ยเชน่ กนั 12 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558

CLASSIC ITEM คลาสสิก ชารล์ ส์ โรเบริ ต์ ดารว์ นิ เกดิ มาในครอบครวั มงั่ คง่ั เม่อื กลับมาถงึ องั กฤษ เขาใชเ้ วลาอีกกวา่ 20 ปี แม้ดาร์วินจะไม่ใช่คนแรกท่ีพูดเร่ืองทฤษฎี และมีชื่อเสียงในอังกฤษ เขามีพ่อเป็นหมอและ ในการไขปริศนาไปทีละน้อย จนสรุปได้ว่าสิ่ง วิวัฒนาการ แต่เมื่อเขานำ�เสนอความคิดเร่ือง เข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัย มชี วี ิตทุกชนิดมบี รรพบุรุษร่วมกนั พิสูจน์ได้จาก การคัดเลือกโดยธรรมชาติ มันก็แทบเป็นการ เอดินเบอระ แต่พบว่ามันน่าเบ่ือเกินกว่าจะเอา โครงสร้างของส่ิงมีชีวิตที่มีอะไรคล้ายคลึงกัน สรุปวา่ วิวฒั นาการคือค�ำ ตอบทแ่ี ท้จรงิ แม้ว่าเขา ใจใส่ น่นั ท�ำ ใหพ้ อ่ ของเขาไมพ่ อใจและสง่ เขาเขา้ เหตผุ ลหนงึ่ ทท่ี �ำ ใหเ้ ขาระมดั ระวงั อยา่ งยงิ่ และไม่ จะยงั อธบิ ายไมไ่ ดว้ า่ การปรบั ตวั เกดิ ขนึ้ ไดอ้ ยา่ งไร เรยี นคณะอกั ษรศาสตร์ ทมี่ หาวทิ ยาลยั เคมบรดิ จ์ ผลีผลามที่จะประกาศทฤษฎีของเขาก็เพราะ ก็ตาม โดยสิง่ ที่ช่วยใหท้ ฤษฎขี องดารว์ ินสมบรู ณ์ เพอ่ื เปน็ นกั บวชแทน แนน่ อนวา่ เขาไมส่ นใจเรยี น สถานะทางสังคม และการขัดต่อความเชื่อใน ก็คือการค้นพบความจริงเก่ียวกับการถ่ายทอด อีกเช่นกัน แต่ความหลงใหลเรื่องธรรมชาติมา ยุคนั้นอย่างรุนแรง แต่เพราะความไม่ผลีผลาม ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมของเกรเกอร์ เมนเดล งาน ตง้ั แต่เดก็ จนโต ก็พาเขามาพบกบั ศาสตราจารย์ นเี้ อง เมอื่ เขาน�ำ เสนอทฤษฎวี วิ ฒั นาการทม่ี กี ลไก ของพวกเขากลายมาเป็นหลักการสำ�คัญของ ดา้ นพฤกษศาสตร์ จอห์น เฮนสโลว์ ท่พี าเขาเข้า คือการคัดสรรโดยธรรมชาติผ่านหนังสือกำ�เนิด ชีววิทยาสมัยใหม่ และยังเป็นพื้นฐานความคิด สูโ่ ลกของธรรมชาติวทิ ยา สปีชีส์ มันจึงมีเหตุผลหนักแน่นเพียงพอท่ีจะได้ สำ�คัญจนถึงทกุ วันน้ี วิทยาศาสตร์ของดาร์วินต้องอ้อมไปไกลถึงเกาะ รบั การยอมรับในเวลาต่อมา ทฤษฎขี องดารว์ นิ ไมเ่ พยี งกอ่ ใหเ้ กดิ การเปลยี่ นแปลง กาลาปากอส ในเดอื นธันวาคม ค.ศ. 1831 เมอื่ แน่นอนว่า การลุกขึ้นมาหักล้างความเช่ือทาง ขนานใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่แวดวง ดาร์วินในวัย 22 ปีได้รับเชิญให้ลงเรือหลวง ศาสนาทำ�ให้เขาถูกต่อต้านอย่างมาก โรเบิร์ต หนงั สอื Pop Science ในปจั จุบนั ยงั ใช้ความคดิ “บเี กลิ ” (HMS Beagle) ของราชนาวีองั กฤษ ท่ี ฟิตซ์รอย ผู้เป็นกัปตันเรือบีเกิลถึงกับฆ่าตัวตาย เรื่องการคัดเลือกโดยธรรมชาติของเขามา ออกเดินทางสำ�รวจซีกโลกใต้เพ่ือทำ�แผนท่ีและ เพอ่ื แสดงความรบั ผดิ ชอบทพี่ าดารว์ นิ ลงเรอื ไปดว้ ย อธิบายความแตกต่างท้ังทางกายภาพและทาง เก็บข้อมูลด้านธรรมชาติในทวีปต่างๆ ระหว่าง แตเ่ มอื่ เวลาผา่ นไป ทฤษฎขี องดารว์ นิ ไมเ่ พยี งแต่ พฤตกิ รรมของสง่ิ มชี วี ติ โดยเฉพาะความแตกตา่ ง การเดินทางอันยาวนานถงึ 5 ปนี ี้ ดาร์วนิ ได้เกบ็ ได้รับการยอมรับในแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่ ระหว่างหญิงและชาย เช่น ท�ำ ไมผู้ชายถึงเจ้าชู้ ตัวอย่างฟอสซิล สเก็ตช์ภาพ และบันทึกส่ิงที่ สาธารณชนทั่วไปก็เชน่ กนั ท�ำ ไมนางเอกไม่รกั พระรอง และท�ำ ไมเราจูบ พบเหน็ ทุกอย่าง จนบันทึกของเขากลายป็นงาน ใจความหลักของการคัดเลือกโดยธรรมชาติก็คือ ชารล์ ส์ ดารว์ นิ ไดร้ บั ยกยอ่ งวา่ เปน็ หนง่ึ ในบคุ คล เขยี นเรอ่ื งการเดินทางของบเี กิล (The Voyage 1) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสามารถในการ ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ of the Beagle) ในเวลาตอ่ มา แพร่พันธ์ุสูง 2) ส่ิงมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกันมี และทฤษฎขี องเขาไดร้ บั การยอมรบั ใหเ้ ปน็ หนงึ่ ใน หมเู่ กาะกาลาปากอสทางตะวนั ตกของเอกวาดอร์ ความแตกต่างกันอยู่ 3) เพราะอาหารมีจำ�นวน ความคดิ ทด่ี ที สี่ ดุ เทา่ ทโี่ ลกเคยมี ดารว์ นิ โชคดกี วา่ ถือเป็นท่ีที่จุดประกายความคิดเรื่องวิวัฒนาการ จำ�กัด สิ่งมีชีวิตท่ีปรับตัวเข้ากับส่ิงแวดล้อมได้ดี กาลิเลโอที่พูดเร่ืองโลกกลมมาก เพราะทฤษฎี ให้กับดารว์ นิ ดว้ ยธรรมชาติที่หลากหลายและมี ที่สุดจะมีโอกาสในการอยู่รอดและแพร่พันธ์ุ เปลย่ี นโลกของเขาไดร้ บั การยอมรบั ในเวลาทเี่ ขา ลักษณะเฉพาะถึงแม้จะเป็นภูมิประเทศแห้งแล้ง มากกว่า 4) พวกที่อยู่รอดจะส่งต่อลักษณะ ยังมชี วี ติ และเมื่อจากโลกนไ้ี ป ศพของเขากย็ ัง เขาเริ่มจากการสังเกตนกฟินซ์ที่มีจงอยปาก พนั ธกุ รรมไปยงั ลกู หลาน 5) การเปล่ยี นแปลงที ไดร้ บั เกยี รตใิ หฝ้ งั เคยี งขา้ งกบั เซอร์ ไอแซก นวิ ตนั แตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะเกาะซง่ึ มธี รรมชาตแิ ตกตา่ ง ละนอ้ ยจะถกู สะสมจนเกดิ เปน็ สง่ิ มชี วี ติ ชนดิ ใหม่ ณ มหาวหิ ารเวสมินเตอร์ กลางกรุงลอนดอน กันเพียงเล็กน้อย และสันนิษฐานว่ามันคือการ เม่ือเวลาผ่านไป โดยลักษณะพันธุกรรมท่ีทำ�ให้ ปรับตัวให้เข้ากับอาหารท่ีมีอยู่ในแต่ละเกาะ อย่รู อดและแพร่พันธไุ์ ด้จะถูกเกบ็ เอาไว้ นั่นคือ เมล็ดพืช กระบองเพชร และแมลง ดารว์ นิ คดิ วา่ นไี่ มใ่ ชเ่ รอื่ งบงั เอญิ และมนั ท�ำ ใหเ้ ขา เรมิ่ คน้ หาการปรับตัวในส่ิงมีชีวติ ชนิดอ่นื www.nhbs.com ท่มี า: บทความ \"Charles Darwin’s paradigm shift\" โดย Tim M. Berra, วารสาร The Beagle, Museums and Art Galeries of the Northern Territory, 2008 / บทความ \"The Evolution of Evolutionary Theory\" โดย Massimo Pigliucci, Philosophy Now, Aug/Sep 2015 / ส่ือการสอนวิชาชีววทิ ยาเรอื่ ง \"ชารล์ ดารว์ ิน คอื ใคร\" จัดทำ�ข้ึนโดย สพฐ. รวมกับคณะวิทยาศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั / หนงั สือ 500 ลา้ นปีของความรัก โดยนายแพทยช์ ชั พล เกียรติขจรธาดา กันยายน 2558 l Creative Thailand l 13

COVER STORY flickr.com/Lia Reich เรอื่ งจากปก เรอ่ื ง: มนฑณิ ี ยงวิกุล การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำ�มาซ่ึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำ�รงชีวิตมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบัน นวตั กรรมทางดจิ ทิ ลั กำ�ลงั ทำ�หนา้ ทีน่ น้ั อกี คร้งั ในการเปล่ยี นสภาพแวดลอ้ มและผู้คนใหก้ ลายเป็นแหลง่ กำ�เนดิ ข้อมลู ขนาดใหญ่ พลิก กระบวนการคิดวเิ คราะห์ที่ลดอคติและการคาดเดา เพือ่ นำ�ไปสู่ศักยภาพใหมท่ ่ีรอวนั คน้ พบ 14 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558

COVER STORY เรอ่ื งจากปก ดนิ ฟ้าอากาศในกำ�มือ ผลผลติ ในพื้นทเ่ี กษตรขนาดใหญ่ พร้อมๆ กับ และระยะการเตบิ โตของผลผลติ ซงึ่ ไมเ่ พยี งชว่ ย พ้ืนท่ีขนาดใหญ่จะหว่านเมล็ดและใส่ปุ๋ยมาก การอนรุ กั ษแ์ หลง่ นา้ํ และส่งิ แวดลอ้ ม โดยตอ่ ยอด ประหยดั นา้ํ แตย่ งั ชว่ ยลดคา่ ใชจ้ า่ ยของเกษตรกร น้อยเทา่ ไรนน้ั ไม่ใชป่ ัญหาสำ�หรับเกษตรกรใน เทคโนโลยกี ารตง้ั คา่ ทพี่ ง่ึ พาระบบจพี เี อสมารวม ใหน้ ้อยลง สหรฐั อเมรกิ า เกษตรกรมากกวา่ รอ้ ยละ60 ของ กบั ระบบจไี อเอส (Geographical Information นอกจากการทดลองในสหรัฐอเมริกาแล้ว ที่นน่ั ไดร้ บั การเสนอจากภาครฐั ใหใ้ ชเ้ ทคโนโลยที ่ี System:GIS) รวมทง้ั การตรวจสภาพทางภมู ศิ าสตร์ ไอบเี อม็ ยงั สง่ ทมี นกั วจิ ยั ไปท�ำ การคน้ หาศกั ยภาพ ก�ำ หนดการตง้ั คา่ (VariableRateTechnology) และสภาพอากาศ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อ จากสภาพดินฟ้าอากาศและเช่ือมโยงข้อมูลไป ผ่านระบบจีพีเอส (Global Position System: การท�ำ เกษตรจากสภาพอากาศ สู่ภาคปฏิบัติ ดังเช่นงานของยูลิสเซส เมลโล GPS) โดยน�ำ มาตดิ กบั รถแทรกเตอรเ์ พอ่ื ก�ำ หนด กลมุ่ เกษตรกร เจา้ ของทดี่ นิ และผนู้ �ำ ชมุ ชน (Ulisses Melo) นกั วจิ ัยและทมี นกั วทิ ยาศาสตร์ ปรมิ าณการใสป่ ยุ๋ หรอื หวา่ นเมลด็ พนั ธ์ุที่เหมาะสม ในแถบลมุ่ แมน่ า้ํ ฟลินต์ (Flint River Soil and จากไอบีเอ็ม ที่ทำ�การทดลองอยู่ที่ประเทศ ในแตล่ ะพนื้ ที่ แตป่ ัญหาท่ที �ำ ให้เกษตรกรน้อย WaterConservationDistrict) ในมลรฐั จอรเ์ จยี บราซลิ เพอื่ นำ�ข้อมูลเรียลไทมจ์ ำ�นวนมหาศาล รายยอมใชเ้ ทคโนโลยนี อ้ี ยา่ งจรงิ จงั คอื การสง่ ดนิ (Georgia) ที่รวมตัวกันเพื่อหาแนวทางการทำ� จากระบบเซ็นเซอร์มาเช่ือมต่อกับระบบ ไปยังห้องทดลองเพ่ือให้นักวิจัยตรวจสอบเพ่ือ การเกษตรทสี่ ามารถอนรุ กั ษแ์ หลง่ นา้ํ ไดเ้ ขา้ รว่ ม การเกษตรทงั้ ห่วงโซ่ กำ�หนดระดับปุ๋ยที่เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่นั้น การทดลองใช้เทคโนโลยีภายใต้โครงการ เมลโลกล่าวว่าการเกษตรแบบด้ังเดิม มตี ้นทนุ ท่ีสงู และย่งิ แพงมากขึ้นหากไม่ละเลย Science and Technology Initiative Project เปน็ การแบง่ งานกนั เปน็ ส่วน แต่ด้วยระบบการ การคน้ หาและท�ำ ความเขา้ ใจเร่ืองความแตกตา่ ง เพอ่ื การอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตขิ องกระทรวง ประมวลผลข้อมูล (Big Data Analytics) ที่ ของดินในแต่ละเอเคอร์ เกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA-NRC : Natural จัดเก็บอย่างต่อเนื่องต้ังแต่ก่อนเพาะปลูก เพอื่ แกป้ ญั หาดงั กลา่ ว ระบบเซน็ เซอรท์ ถี่ กู Resources Conservation Service) โดยร่วมมือ ชว่ งเกบ็ เกย่ี ว และการขนสง่ สามารถบง่ บอกวา่ ฝังลงในพื้นดินที่ทำ�หน้าที่ในการเก็บข้อมูล กบั ไอบเี อม็ (IBM) ในการพฒั นาระบบการคาดการณ์ ควรหวา่ นเมลด็ พนั ธใุ์ นตารางเมตรใดของแปลง สภาพความเปน็ กรด ปรมิ าณไนโตรเจนเพอื่ ดู สภาพอากาศแบบแมน่ ย�ำ (Precision Weather เพาะปลูกท่ีมีความช้ืนและความอุดมสมบูรณ์ ความสมบรู ณข์ องดนิ หรอื ขอ้ มูลอ่นื ๆ ที่น�ำ มา Forecasting Pilot Project) และระบบการตง้ั ของดนิ ตา่ งกนั รวมทง้ั จดั ตารางและปรมิ าณการ ค�ำ นวณเปน็ แผนทท่ี ี่มสี สี ันตา่ งกัน จึงถกู พฒั นา เวลาการรดน้ําต้นทุนต่าํ (Low-Cost Irrigation รดน้ําที่สอดคล้องกับสภาพดินและอากาศใน ขน้ึ เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของการปฏวิ ตั วิ งการเกษตรที่ SchedulingTechnologyProject) มาใชใ้ นการ แต่ละช่วงเวลา และถ้าหากฝนตกก็ไม่จำ�เป็น เปดิ โอกาสใหบ้ รษิ ทั นกั ลงทนุ และเหลา่ สตารท์ กำ�หนดตารางเวลาและปริมาณน้ําท่ีใช้ให้ ตอ้ งใสป่ ุ๋ยให้ถูกชะล้าง รวมถึงการเกบ็ เกีย่ วพืช อัพรุ่นใหม่กระโดดเขา้ มาร่วมวงดว้ ย สอดคลอ้ งกบั ระดบั ความชน้ื อณุ หภมู ิ การระเหย บางชนดิ เช่น อ้อย ท่ีตอ้ งการพนื้ ดินแห้งสนทิ ข้อมูลอินไซต์ของพื้นที่เพาะปลูกถูกแปลง มาสู่เครื่องมือการติดตามผลผลิต (Yield prairieprecision.com Monitoring) เพอื่ ใชส้ �ำ หรบั คาดการณผ์ ลผลติ ท่ี จะเกดิ ขน้ึ ท่ีมคี วามแมน่ ย�ำ กวา่ ในอดตี และท�ำ ให้ เกษตรกรวางแผนการค้าและการเงินได้ดีข้ึน แต่ก็นบั วา่ ยงั ไม่สมบรู ณ์แบบมากนกั เพราะการ ทำ�เกษตรน้นั นอกจากสงิ่ ที่มองไม่เหน็ ในผนื ดนิ แล้ว สภาพอากาศท่ีมองไม่เห็นก็เป็นปัจจัย ส�ำ คัญที่ตอ้ งรบั มือ กว่า 10 ปีแล้วท่ีกระทรวงเกษตรสหรัฐ- อเมริกา (USDA) องค์การบริหารการบินและ อวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การบริหาร สมทุ รศาสตรแ์ ละบรรยากาศแหง่ ชาตสิ หรฐั อเมรกิ า (National Oceanic and Atmospheric Administration:NOAA) รว่ มกนั ท�ำ งานเพอ่ื เพม่ิ กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 15

COVER STORY flickr.com/NASA Goddard Space Flight Center เรื่องจากปก พอที่จะรับน้ําหนักอุปกรณ์เก็บเก่ียวเพื่อไม่ให้ spacenews.com flickr.com/jurvetson เครอ่ื งมอื ไปท�ำ ใหผ้ ลผลติ เสยี หาย ส�ำ หรบั บราซลิ นั้นการเลือกเส้นทางขนส่งก็สำ�คัญไม่แพ้กัน ภาพถา่ ยย่งิ กวา่ เล่าเรอ่ื ง ภาพถ่ายดาวเทียมทำ�ให้ข้อมูลมาถึงมือเร็วข้ึน เพราะฝนที่ตกลงมาบนถนนที่ถูกทับถมไปด้วย ขณะทก่ี ารเกษตรก�ำ ลงั เดนิ ไปบนเสน้ ทางใหมบ่ น และจากการค�ำ นวณดว้ ยอลั กอรทิ มึ อาจใหข้ อ้ มลู ฝุ่นจะทำ�ใหร้ ถบรรทุกตดิ หลม่ ไดง้ า่ ย การรู้ลว่ ง ฐานข้อมูลที่มาจากดาวเทียมเป็นองค์ประกอบ ทแ่ี ตกตา่ งกนั ไป เชน่ ฮาเวยี ร์ ซาลา-ไอ-มารต์ นิ หน้าเพ่ือวางแผนเปลี่ยนเส้นทางจึงช่วยลดการ สำ�คัญ วงการอ่นื ๆ ก็กำ�ลงั ต่ืนตวั เชน่ กันกบั การ (Xavier Sala-i-Martin) อาจารยส์ าขาเศรษฐศาสตร์ สูญเสยี ระหว่างการกระจายสนิ ค้า สรา้ งนยั ส�ำ คญั ใหมจ่ ากภาพถา่ ยดาวเทียม ประจ�ำ มหาวทิ ยาลยั โคลมั เบยี ใชข้ อ้ มลู แสงสวา่ ง แมว้ า่ นกั วจิ ยั จะสามารถไขปญั หาและพฒั นา แพลนเนต็ แลบ็ ส์ (Planet Labs) สตารท์ อพั ตอนกลางคนื มาวเิ คราะหค์ วามยากจนเทยี บกบั ระบบการเกษตรที่ใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน จากซานฟรานซสิ โก รว่ มกอ่ ตงั้ โดยวลิ ล์ มารแ์ ชล การสำ�รวจข้อมูลของธนาคารโลกที่ประมาณว่า อยา่ งแมน่ ย�ำ (Precision Agriculture) ไดด้ ยี ง่ิ ขน้ึ (Will Marshall) อดีตนักวิทยาศาสตร์ประจำ� รอ้ ยละ 30 ของคนท่ีอาศยั ในโลกเปน็ กลมุ่ ยากจน แต่การนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์น้ันอาจจะต้องรอ นาซา ทำ�ใหด้ าวเทยี มท่ีเคยมมี ลู ค่านับพันล้าน แต่จากการสำ�รวจและวิเคราะห์ภาพถ่ายจาก ใหเ้ ทคโนโลยสี กุ งอมมากกวา่ น้ี เพราะปจั จบุ นั และนาํ้ หนกั เปน็ ตนั กลายเปน็ อปุ กรณข์ นาดเทา่ ดาวเทียมพบว่ามีจำ�นวนครัวเรือนมากมายท่ีมี การจดั เกบ็ และใชข้ อ้ มลู จ�ำ นวนมหาศาลทเ่ี ชอ่ื ม กล่องรองเท้าที่เขาและทีมพัฒนาข้ึนเพื่อเป็น ไฟฟ้าใช้จนเกิดเป็นแสงสว่างในยามคํ่าคืน จึง ต่อกันท้ังระบบนั้นดูจะเกินกำ�ลังของฟาร์มที่ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลความเป็นไปบนโลก ท�ำ ใหผ้ ลวจิ ยั ของฮาเวยี รร์ ะบวุ า่ ปรมิ าณกลมุ่ คน เพาะปลูกพืชทั่วไปในการลงทุนกับระบบไอที หรอื เรยี กวา่ โดฟ(Dove) จ�ำ นวนมากกวา่ 50 ดวง ยากจนทวั่ โลกนน้ั มเี พยี งร้อยละ 6 เทา่ นัน้ หรือแม้กระทั่งการใช้เคร่ืองบินขนาดเล็กหรือ โคจรรอบโลกทุก 90 นาที เพอื่ เก็บภาพความ แอนดรูว์ ดาบาเลน (Andrew Dabalen) โดรน (Drone) เพ่ือเก็บขอ้ มูลท่ีลดขอ้ จำ�กดั ของ ละเอยี ดสงู วันตอ่ วนั และยง่ิ เปา้ หมายทางธรุ กิจ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ดูแลข้อมูลเก่ียวกับ ภาพถา่ ยดาวเทยี มทมี่ องเหน็ ไมช่ ดั ในวนั ฟา้ ครมึ้ ของแพลนเน็ต แล็บส์ คือการผลิตดาวเทียมที่ ความยากจนท่ีธนาคารโลก กล่าวว่าข้อมูล ระหว่างที่รอให้ฟาร์มน้อยใหญ่ปรับตัวน้ัน ไม่ซับซ้อน มีอายุไม่ก่ีปี และสามารถผลิตได้ แสงสว่างน่าจะใช้กับอุตสาหกรรมมากกว่าการ การรวมกันของจีไอเอสและจีพีเอสท่ีเผยความ จ�ำ นวนมาก น่ันยงิ่ ท�ำ ให้การวิเคราะห์เศรษฐกิจ สำ�รวจกิจกรรมในชนบท แม้จะไม่สามารถ ลับดินฟ้าอากาศก็ได้สร้างเส้นทางการเกษตร โลกและการกำ�หนดนโยบายของภาครัฐ ทดแทนข้อมูลแบบตัวต่อตัวท่ีมีการเก็บจาก แบบใหม่ที่สามารถพัฒนาไปถึงการเช่ือมต่อ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ครวั เรอื นโดยตรง แตก่ ม็ คี วามเปน็ ไปไดค้ อ่ นขา้ ง ข้อมูลกับอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในรูปของ ปัจจุบัน การตัดสินใจเชิงนโยบายบนฐาน มากที่จะนำ�ข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ควบคู่กับ เครอ่ื งมอื หรอื หนุ่ ยนต์ ทไี่ มเ่ พยี งสรา้ งผลผลติ ได้ ข้อมูลการสำ�รวจธุรกิจและครัวเรือน หรือการ กกาารรสรำา�รยวไจดส้ทำ�ี่ดมีขะึ้นโนปรpระreะหxชaวmา่ากpงlรeทเs.พ่ีกcoาื่อmรกโาตร้เปถรียะงมทาาณง มหาศาล แต่ยังทำ�ให้อาชีพเก่าแก่ที่สุดของ สำ�รวจอื่นๆ ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล แต่ มนุษยเ์ ปลี่ยนไปอยา่ งสน้ิ เชงิ flickr.com/ Phil Dolby 16 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558

วชิ าการยงั ไม่มีข้อสรปุ น้นั ภาคเอกชนบางแหง่ COVER STORY ไม่รอช้าที่จะนำ�วิธีการใหม่น้ีมาใช้ประกอบการ เรือ่ งจากปก ตัดสนิ ใจในการลงทุน รชิ แอบเบ (Rich Abbe) ผรู้ ว่ มก่อต้งั อโิ ลควอยส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ แกะรอยซีฟดู้ (Iroquois Capital Management) ในนิวยอร์ก สนใจการวเิ คราะหข์ อ้ มลู วธิ ใี หมน่ ี้ และไดล้ งทนุ เมอ่ื ตอนทีอ่ ลั เฟรโด ซเฟอร์ (Alfredo Sfeir) เปดิ ตัวเชลล์แคตช์ (Shelcatch) ในปี 2011 เขาคาดวา่ ซ้ือหุ้นของบริษัทผลิตเคร่ืองตรวจจับระยะไกล เทคโนโลยขี อ้ มลู ทท่ี �ำ ใหร้ วู้ า่ ปลาแตล่ ะตวั มาจากไหน จะชว่ ยลดการประมงทผ่ี ดิ กฎหมายและสรา้ งแรง แบบเมตรกิ (Remote Sensing Metrics LLC) จงู ใจให้มกี ารจบั ปลาในปรมิ าณท่กี �ำ หนดได้ เพ่อื น�ำ มาใชป้ ระกอบการลงทนุ เชน่ การวเิ คราะห์ โฮเซ บารอส เป็นหนึ่งในชาวประมงท่เี ขา้ ร่วมโปรแกรมของเชลลแ์ คตช์ เรอื ขนาด 30 ฟตุ ของเขา ขอ้ มลู ลานจอดรถทวั่ ประเทศเพอ่ื ตดั สนิ ใจลงทนุ ตดิ กลอ้ งจพี เี อสขนาดเลก็ ทบ่ี ง่ ชสี้ ถานทจ่ี บั พรอ้ มกบั บนั ทกึ ขอ้ มลู ชนดิ และนา้ํ หนกั ปลาทจี่ บั ผา่ นระบบ ในธรุ กจิ อาหารและคา้ ปลกี เชน่ ชโิ พเทลิ เมก็ ซกิ นั บาร์โค้ดและคิวอาร์โค้ดเฉพาะของเชลล์แคตช์ หลังจากน้ันก็จะส่งต่อข้อมูลนี้ไปให้ภัตตาคารเพื่อนำ� กริลล์ (Chipotle Mexican Grill) และเจ.ซี. โคด้ ไปติดบนปา้ ยโฆษณาอาหารหน้าร้าน เพนนยี ์(J.C.Penney) กอ่ นทจ่ี ะใชก้ ารวเิ คราะห์ ขอ้ มลู ทล่ี กู คา้ สแกนควิ อารโ์ คด้ ไมเ่ พยี งบง่ บอกวา่ ปลานน้ั มหี นา้ ตาอยา่ งไรและมาจากไหน แตย่ งั ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมน้ีขยายการลงทุน มีคลปิ การจบั ปลาของบารอสใหช้ มดว้ ย วิเซนโซ รลู ลิ เจา้ ของภตั ตาคารโอเชียนแปซฟิ กิ หนึง่ ใน 50 ไปยงั ธรุ กจิ เหมืองและนาํ้ มนั ตอ่ ไป ภตั ตาคารและซเู ปอรม์ ารเ์ กต็ ทเี่ ขา้ รว่ มกบั เชลลแ์ คตชก์ ลา่ ววา่ “ลกู คา้ ชอบทจ่ี ะรเู้ รอ่ื งราวตา่ งๆ บนโตะ๊ อาหาร” เชลล์แคตช์ทำ�ให้บารอสรู้ว่าแต่ละวันเขาต้องจับปลาก่ีตัวและจะขายในราคาเท่าไรตามออเดอร์ ท่มี าจากรา้ นคา้ จงึ ไมต่ อ้ งจบั ปลาเกนิ ความจ�ำ เปน็ และมีรายได้เพิ่มขนึ้ เฉลีย่ ถงึ รอ้ ยละ 25 นับเปน็ แรง จงู ใจทดี่ สี ำ�หรบั ชาวประมงรายเลก็ รายนอ้ ยในการเขา้ มาอยใู่ นระบบท่ีสามารถตรวจสอบได้งา่ ยน้ี แมจ้ ะมคี วามพยายามทจ่ี ะตดิ ตงั้ ระบบตรวจสอบเรอื ประมงไมใ่ หเ้ ขา้ ไปจบั ปลานอกเขต หรอื การ จบั ปลาทผ่ี ดิ กฎหมาย แตก่ ารจะตรวจสอบเรอื ประมงอสิ ระขนาดเลก็ นนั้ เปน็ ไปไดย้ าก ระบบของเชลล์ แคตช์ไม่เพียงสืบสาวกลับไปยังน่านนํ้าที่จับปลา แต่ยังมีส่วนช่วยในการพิสูจน์กรณีพิพาทระหว่าง ประเทศที่สหรัฐอเมริกาข่มขู่ว่าจะควํ่าบาตรการประมงประเทศเม็กซิโกด้วยข้อหาภัยคุกคามเต่าทะเล ทงั้ นเี้ พราะระบบกลอ้ งของเชลลแ์ คตชส์ ามารถตดิ ตงั้ ระบบการประมวลผลอตั โนมตั วิ า่ มเี ตา่ ทะเลบงั เอญิ ติดมาในอวนหรอื ไม่ การระดมทนุ เพอ่ื พฒั นาเชลลแ์ คตชน์ น้ั สว่ นหนง่ึ มาจากองคก์ รการกศุ ล องคก์ รเพื่อสง่ิ แวดลอ้ ม และ รฐั บาลชลิ ที เ่ี ลง็ เหน็ วา่ เชลลแ์ คตชจ์ ะมสี ว่ นชว่ ยในการท�ำ ประมงอยา่ งยง่ั ยนื และไดป้ ระโยชนจ์ ากนโยบาย ของประธานาธบิ ดีบารัค โอบามา ทีก่ �ำ ลังผลกั ดนั การค้าอาหารทะเลทสี่ ามารถสบื คน้ ที่มาของอาหาร แต่ละจานได้ จงึ ท�ำ ใหเ้ ชลล์แคตชข์ ยายเครือข่ายไปยงั เรอื ประมงอกี 200 ลำ�ที่หากนิ อยูใ่ นอ่าวเมก็ ซิโก bloomberg.com flickr.com/rebecaanchondo กันยายน 2558 l Creative Thailand l 17

COVER STORY เรอ่ื งจากปก ถกู ที่ ถูกเวลา และยังตอ้ งถกู คน “คนสว่ นมากเชก็ สภาพอากาศเพราะตอ้ งการ Schirmer) นกั ศกึ ษาวยั 21 ปใี นบอสตันทีม่ กั จะ ภาพถ่ายจากลานจอดรถอาจจะถูกแปรเป็น วางแผนทำ�อะไรบางอย่าง เราจะคาดการณ์ได้ เช็กสภาพอากาศจากแอพบนมอื ถือ และพบว่า ขอ้ มลู ประกอบการลงทนุ ในกลมุ่ คา้ ปลกี แตท่ วา่ ถ้าหากรู้ว่าพวกเขาเช็กสภาพอากาศที่ไหน ในชว่ งทอ่ี ากาศรอ้ นชวนใหเ้ หนอะหนะ ดา้ นขา้ ง ธรุ กจิ คา้ ปลกี เองกส็ ามารถน�ำ ขอ้ มลู สว่ นอน่ื ๆ ที่ เวลาไหน และสภาพอากาศรอบตัวเขาเป็น ข้อมูลความช้ืนมีภาพโฆษณาแชมพูสำ�หรับผม ดูไม่เก่ียวข้องอย่างเช่นสภาพอากาศมาเพิ่ม อยา่ งไรในเวลานน้ั ” เดวดิ เคนน่ี (David Kenny) หยิกพองตัว ทำ�ให้เธอถึงกับต่ืนเต้นว่าช่างร้ใู จ ก�ำ ไรและยอดขายได้เช่นกัน ประธานกรรมการและประธานกรรมการบรหิ าร เธอเสยี จริง การจับคู่ที่ดูไม่น่าโคจรมาเจอกันน้ีมาจาก บรษิ ทั เวทเธอร์ จำ�กดั กล่าว “การทำ�ธรุ กจิ แบบเก่าๆ นั้นเนน้ การต้ังรับ ความพยายามเพ่ืออยู่รอดของเดอะเวทเธอร์ แล้วพฤติกรรมการเช็กสภาพอากาศมีผล หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงสภาพอากาศ แต่เทคโนโลยี แชนแนล (The Weather Channel) ช่องเคเบลิ ต่อการขายสินคา้ อยา่ งไร สมยั ใหมท่ �ำ ใหธ้ รุ กจิ เปลย่ี นมาเตรยี มการและใช้ รายงานพยากรณ์อากาศท่ีมีสมาชิกผู้ชมถึง 97 ในการเปิดตัวแชมพูแพนทีน โปรวี สมูท ประโยชนอ์ ยา่ งเตม็ ท”ี่ พอล วอรช์ (PaulWalsh) ลา้ นราย และเปน็ ทตี่ อ้ งการอยา่ งมากในชว่ งทมี่ ี ของบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) อดีตนักดาราศาสตร์ประจำ�กองทัพอากาศ พายุเฮอร์ริเคน โดยยอดผู้ชมจะเพ่ิมขึ้นถึง 10 บริษัทตัดสินใจซ้ือพื้นท่ีโฆษณาในเว็บไซต์และ สหรัฐอเมริกา (United States Air Force) ที่ ล้านคน แซงหน้ารายการยอดนิยมจากช่อง แอพพลเิ คช่นั ที่รายงานสภาพอากาศ เพราะผหู้ ญงิ ปจั จบุ นั ด�ำ รงต�ำ แหนง่ รองประธานฝา่ ยวเิ คราะห์ ซีเอ็นเอน็ (CNN) และฟอ็ กซ์นวิ ส์ (Fox News) ท่ีเช็กสภาพอากาศและพบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะ ขอ้ มลู ของบรษิ ทั เวทเธอร์กลา่ ว แต่ในยามท่ีแดดออกหรือสภาพอากาศปกติน้ัน กบั การจดั การเสน้ ผมทห่ี ยกิ ในชว่ งทอ่ี ากาศรอ้ น การก้าวเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลของบริษัท โดยเฉล่ียจะเหลือจำ�นวนผู้ชมเพียง 214,000 และชนื้ นนั้ ชว่ ยเพ่ิมโอกาสทแี่ ชมพตู ัวใหม่นีจ้ ะ เวทเธอร์ขยับขยายไปได้ด้วยดีและมีการแตก คนต่อวัน น้อยกว่าช่องรายการเกี่ยวกับอาหาร ไดร้ บั ความสนใจและถกู ซอ้ื ไปทดลองใชม้ ากขน้ึ บรษิ ัทเวทเธอร์เอฟเอ็กซ์ (WeatherFX) ออกมา อยา่ งฟดู เน็ตเวิร์ก (Food Network) เกอื บครึง่ เควนิ ครอซอิ าตา (Kevin Crociata) ผอู้ �ำ นวยการ เพอื่ ใหบ้ รกิ ารขอ้ มลู และค�ำ ปรกึ ษาในการบรหิ าร หนง่ึ และยงั มที ที า่ วา่ อาจจะลดลงอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ฝ่ายการตลาดของพีแอนด์จีกล่าวว่า ได้เริ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาต่อสภาพอากาศ ดังน้ันการค้นหาส่ิงที่ผู้ชมต้องการจึงเป็นโจทย์ ทดลองนำ�เสนอโค้ดคูปองลดราคาผลิตภัณฑ์ และสินค้าท่ีมีความแตกต่างกันตามพ้ืนที่ ในการปรับช่องเคเบิลพยากรณ์อากาศเก่าแก่ท่ี สำ�หรับเส้นผมมาโฆษณาในแอพพลิเคชั่นของ อย่างเช่นยอดขายเคร่ืองปรับอากาศในชิคาโก ออกอากาศมาต้ังแต่ปี 1985 ให้กลับมามีชีวิต เวทเธอร์ พร้อมกับบอกท่ีต้งั ของร้านขายสินค้า เพ่มิ สงู ขึน้ ตง้ั แต่วนั แรกๆ ทีอ่ ากาศรอ้ นเกินกวา่ ชวี าอีกครั้ง ท่ีอยู่ใกล้เคียงตามสถานที่อยู่ของผู้ใช้แอพ ปกติ แตไ่ มใ่ ชส่ �ำ หรบั เมอื งแอตแลนตาทที่ นเหงอ่ื ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทีมข่าวได้มีการ ซง่ึ นบั วา่ ตรงใจลกู คา้ อยา่ งเจนน์ เชอรเ์ มอร์(Jenn ท่วมไปอกี สองวันก่อนท่จี ะตดั สินใจ ปรับช่องทางการนำ�เสนอข่าวจากโทรทัศน์ไปสู่ เว็บไซต์และแอพพลิเคช่ันบนโทรศัพท์มือถือ wsj.com พร้อมกับปรับวิธีการนำ�เสนอเน้ือหาใหม่ท่ี เก่ียวข้องกับผู้ชมและสนุกสนานมากข้ึน เช่น การรายงานสภาพอากาศผ่านเรื่องราวรอบตัว ตั้งแต่การท่องเที่ยว การลดน้ําหนัก จนถึง วิทยาศาสตร์และอวกาศ ส่งผลให้ยอดผู้ชม เว็บไซต์เวทเธอร์ (Weather.com) เพ่ิมข้ึนถึง เท่าตัว และเป็นจุดเร่ิมต้นของการเข้าสู่ธุรกิจ ดจิ ทิ ัลอยา่ งแทจ้ ริง โดยเปล่ยี นบริษัท เวทเธอร์ แชนแนล คอส.(WeatherChannelCos.) ผผู้ ลติ รายการทางช่องเคเบิลมาเป็นบริษัท เวทเธอร์ จำ�กดั (Weather Co.) บรษิ ทั ขายขอ้ มลู สภาพ อากาศให้กับแอพพลิเคชั่นตา่ งๆ และข้อมูล พฤตกิ รรมการเชก็ สภาพอากาศในแตล่ ะสถานท่ี ใหก้ บั ผูข้ ายสินค้า 18 l Creative Thailand l กันยายน 2558

COVER STORY เรื่องจากปก ความเป็นสว่ นตวั ทอ่ี าจร่ัวไหล backstagewithpdc.com d.ibtimes.co.uk การรใู้ จผา่ นแอพพลเิ คชนั่ หรอื โฆษณาในเวบ็ ไซต์ อาจจะไมท่ �ำ ใหล้ กู คา้ บางกลมุ่ ตกใจเทา่ กบั การเดนิ จากผลการส�ำ รวจของบรษิ ทั วจิ ยั หลายแหง่ สตีฟ วูด (Steve Wood) หัวหน้าฝ่าย เขา้ ไปในสวนสนกุ ทรี่ จู้ กั คณุ ตงั้ แตย่ า่ งเทา้ เขา้ ไป ได้ผลตรงกันว่า คนอเมริกันมีความวิตกกังวล นโยบายของคณะกรรมการข้อมลู (Information เมอื่ ปี 2013 สวนสนกุ ดสิ นยี แ์ ลนดท์ ไ่ี มห่ ยดุ เก่ียวกับความเป็นส่วนตัวท่ีถูกบันทึกจากร่อง Commissioner’s Office) กลา่ ววา่ “กฎหมาย นิ่งกับการพัฒนาบริการได้นำ�มายแมจิคพลัส รอยทที่ ง้ิ ไวใ้ นอปุ กรณแ์ ละสอื่ ออนไลนต์ า่ งๆ เพอ่ื ไมไ่ ดเ้ ปน็ ตวั ขดั ขวางนวตั กรรม แตใ่ ชเ้ ปน็ กรอบ (MyMagic+) มาสร้างสรรค์ประสบการณ์ท่ี นำ�ไปวิเคราะห์เพ่ือขายหรือใช้ในธุรกิจต่างๆ การทำ�งานท่ีส่งเสริมสิทธิส่วนบุคคล และการ สวยงามย่งิ ขน้ึ ใหก้ บั ลกู คา้ เพราะสายรดั ข้อมือ รวมถึงการตกเป็นเปา้ ในการขโมยขอ้ มูล อยา่ ง เก็บรักษาข้อมูลใหป้ ลอดภยั เราตระหนกั ถงึ ผล มายแมจิคพลัสน้ีจะทำ�หน้าท่ีแทนบัตรจ่ายเงิน เช่นที่เกิดข้ึนกับธุรกิจค้าปลีกทาร์เก็ต (Target ประโยชน์ทีเ่ กิดขึน้ แต่การทำ�ใหก้ ารใชบ้ ิก๊ เดต้า เมอื่ ใชค้ วบคกู่ บั แอพพลเิ คชนั่ กส็ ามารถจองรา้ น Corp) โฮมดโี ป้(HomeDepotInc) และแอนเธม โปร่งใสมากขึ้นจะช่วยให้ผู้คนม่ันใจในการเป็น อาหาร เครอื่ งเลน่ พรอ้ มระบบเตอื นวา่ ถงึ ควิ เลน่ (Anthem) บริษทั ประกนั ภยั สขุ ภาพอนั ดบั สอง พลเมอื งดิจิทัลมากขึ้น\" เครอื่ งแลว้ โดยไมต่ อ้ งยนื รอ ตลอดจนการจองที่ ของสหรัฐอเมรกิ า กฎหมายเพื่อการปกป้องความเป็นส่วนตัว นั่งวีไอพีสำ�หรับดูขบวนพาเหรดและดอกไม้ไฟ ผลส�ำ รวจทสี่ ะทอ้ นถงึ ความวติ กกงั วลของชาว หรือระบบการป้องกันการเจาะข้อมูลที่กำ�ลังจะ รวมทั้งการกล่าวทักทายของพนักงานและเหล่า อเมรกิ นั ทเ่ี พม่ิ ขน้ึ นท้ี �ำ ใหร้ ฐั บาลของประธานาธบิ ดี เกดิ ขึ้นในไมช่ ้า รวมทั้งการชักนำ�ข้อมูลเข้ามา เจ้าหญิงท่ีสามารถเรียกชื่อลูกค้าหรือกล่าว บารคั โอบามา เรง่ ผลกั ดนั กฎหมายปอ้ งกนั ความ เป็นองค์ประกอบใหม่ของวิถีชีวิตและธุรกิจที่ อวยพรวนั เกิดไดถ้ กู คน เป็นสว่ นตวั ใหผ้ า่ นสภาคองเกรสโดยเรว็ และข้ัน ก�ำ ลงั เปน็ ประเดน็ ทถ่ี กู กลา่ วขานในขณะน้ี แมว้ า่ “การจา่ ยเงนิ และความสะดวกสบายตา่ งๆ แรกคอื การปกปอ้ งไมใ่ หม้ กี ารเกบ็ ขอ้ มลู นกั เรยี น จะยงั ไมเ่ ดนิ หนา้ จนสรา้ งการเปลยี่ นแปลงอยา่ ง ทำ�ให้คนใช้เวลามากข้ึนในการเลน่ และการกิน” ผา่ นซอฟตแ์ วร์หรอื แอพพลเิ คชั่นด้านการศกึ ษา เต็มรูปแบบ แต่ก็พอมองเห็นเค้าลางของโลก เจย์ ราซูโล (Jay Rasulo) ประธานบริหารดา้ น ท่กี �ำ ลังเตบิ โตตามกระแสการเรียนส่วนบุคคล ใหมท่ ก่ี �ำ ลังรออยู่เบื้องหน้า การเงนิ ของดสิ นยี ์กล่าว การน�ำ มายแมจิคพลัส มาใช้จึงสามารถสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กและ ทมี่ า: งานวจิ ยั “Precision Agriculture: Using Predictive Weather Analytics to Feed Future Generations” จาก research.ibm.com / ผปู้ กครองใหห้ ลดุ พน้ จากการรอควิ อนั แสนนาน บทความ “Disney Bets $1 Bilion on Technology to Track Theme-Park Visitors” โดย Christopher Palmeri จาก bloomberg.com / รวมถึงการได้รับบริการพิเศษต่างๆ จึงทำ�ให้ บทความ “ICO Warns Big Data Projects Must Abide by Privacy Laws” โดย Dan Worth จาก v3.co.uk / บทความ “Is Precision ดสิ นยี ์แลนด์ก้าวลํ้าสวนสนกุ อ่ืนๆ อย่างไม่ต้อง Agriculture Finaly Taking Root?” โดย Heather Clancy จาก forbes.com / บทความ “Little Privacy in the Age of Big Data” สงสยั แตท่ ว่าสายรดั ข้อมอื ที่ท�ำ ใหช้ ีวิตแสนง่าย จาก theguardian.com / บทความ “Mickey Mouse is Watching You: MyMagic+ Wearable Tech Wristbands Track Visitors น้ีไม่ได้ทำ�ให้ทุกคนรู้สึกดีไปด้วย เพราะย่ิงการ in Disney Parks” โดย Mary-Ann Russon จาก ibtimes.co.uk / บทความ “Obama's 'Big Data' Privacy Plans Get Lift from บริการที่รู้ใจมากขึ้นเท่าไร นั่นหมายถึงข้อมูล Lawmakers” โดย Roberta Rampton จาก reuters.com / บทความ “Planet Labs Cubesats Deployed from ISS with Many พฤตกิ รรมการใชช้ วี ติ ทอ่ี ยใู่ นสวนสนกุ ถกู บนั ทกึ More to Folow” จาก spacenews.com / บทความ “Precision Farming” โดย David Herring จาก earthobservatory.nasa.gov / ไวเ้ สมอื นหนงึ่ ถกู จบั ตามองเขา้ ไปในชวี ติ สว่ นตวั บทความ “Public Perceptions of Privacy and Security in the Post-Snowden Era” โดย Mary Madden จาก pewinternet.org / มากขน้ึ เท่านนั้ บทความ “What You Didn't Know about Drones” โดย Jodie Wehrspann จาก farmindustrynews.com / บทความ “2014 US ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจทำ�ให้ข้อมูล Consumer Data Privacy Study: Consumer Privacy Edition from TRUSTe” จาก truste.com สว่ นบคุ คลทถ่ี กู บนั ทกึ ดว้ ยเทคนคิ ตา่ งๆ มจี �ำ นวน เพมิ่ ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ เพราะขอ้ มลู บก๊ิ เดตา้ ทผี่ า่ น การวเิ คราะหแ์ ลว้ นน้ั ไดร้ บั ความสนใจจากนกั ลงทนุ และหลายแบรนด์ดังท่ีต้องการสร้างกำ�ไร ทว่า ประเดน็ เรอ่ื งความเปน็ สว่ นตวั ของลกู คา้ กไ็ ดร้ บั ความสนใจจากนักวิชาการและสาธารณชนไม่ แพ้กันกับการป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกเจาะไปใช้ ในการก่ออาชญากรรม กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 19

INSIGHT อินไซต์ เรอ่ื ง: ปยิ พร อรณุ เกรียงไกร telegraph.co.uk เรามักจินตนาการถึงโลกอนาคตท่ีหมุนไป จากบนั ไดสู่ความสำ�เรจ็ สู่ข้นั กวา่ ของการเปลย่ี นแปลง พร้อมกับเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการ อาจเรียกได้ว่าเป็นชัยชนะของมนุษย์ที่คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์แทบทุกความต้องการพ้ืนฐานได้ อจั ฉรยิ ะอยา่ งในภาพยนตร์ Minority Report ส�ำ เร็จ ท้งั ด้านการแพทยแ์ ละยารกั ษาโรคท่ที ำ�ให้อตั ราการเสยี ชีวติ ลดลง โดยเฉพาะทารกแรกเกิด และเมอื่ (2002) Her (2013) หรอื อาจเปน็ โลกดสิ โทเปยี ความมั่งคง่ั ทางเศรษฐกจิ กระจายไปสรู่ ะดับภูมิภาคพร้อมกับบริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และการ ท่ีมนุษย์ต้องต่อสู้ด้ินรนกับภาวะขาดแคลน เติบโตของเมอื ง ผู้คนเริ่มมีคณุ ภาพชีวติ ท่ีดขี ึ้นและไดร้ บั อายยุ ืนยาวเป็นโบนสั ในทางกลบั กนั อตั ราการเกิด ทรัพยากรในยุคหลังสังคมล่มสลาย ดังเช่น และอัตราการเจริญพันธ์ุกลับลดลง เพราะคนรุ่นใหม่เร่ิมเปล่ียนทัศนคติเกี่ยวกับการมีบุตรและวางแผน Interstellar (2014) และ Mad Max: Fury ครอบครัว จากรายงาน \"สูงวัยในศตวรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย\" โดยกองทนุ ประชากรแห่ง Road (2015) จนไมท่ นั ไดส้ ังเกตว่าสิ่งทีก่ ำ�ลัง สหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) ร่วมกับองค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่าง รอเราอยู่ในอีก 35 ปีข้างหน้าก็คือ คล่ืน ประเทศ (HelpAge International) ระบุวา่ อายุคาดเฉลย่ี เมื่อแรกเกดิ ในแต่ละประเทศก�ำ ลงั เพ่ิมสงู ข้นึ โดย ประชากรของผู้สูงวัยท่เี พ่ิมขน้ึ เปน็ 2 เท่า หรอื พบว่าปจั จบุ นั ใน 33 ประเทศ มอี ายคุ าดเฉลยี่ เม่ือแรกเกิดมากถงึ 80 ปี และเมอ่ื สนิ้ สุดปี 2050 จะมี 64 คดิ เปน็ 2 พนั ลา้ นคนของประชากรโลกทง้ั หมด ประเทศที่มปี ระชากรสงู วัยมากกว่าร้อยละ 30 ซง่ึ อยใู่ นเกณฑ์ของสงั คมสงู วัยระดับสุดยอด (Super-Aged และนั่นหมายถึงในปี 2050 โลกของเราจะ Society) เชน่ เดยี วกบั ญปี่ ่นุ ขณะทปี่ ระเทศไทยจะเข้าสรู่ ะดับดงั กล่าวในชว่ งปี 2031- 2032 ส่วนวัยแรงงาน กลายเป็นสังคมแห่งคนแก่โดยสมบูรณ์ ในฝัง่ ยุโรปจะเหลอื เพยี ง 265 ล้านคนเทา่ นั้นในปี 2060 (Aged Society) ด้วยสัดส่วนของผู้สูงวัย แนน่ อนว่าปรากฏการณ์นไี้ มเ่ พียงสั่นคลอนโครงสร้างพีระมิดของประชากรโลก แต่ยังนำ�ไปสู่การ มากถงึ 1 ใน 5 ของประชากร ตามการคาดการณ์ เปลย่ี นแปลงในทกุ ดา้ น ตง้ั แตร่ ะดบั มหภาค เชน่ แรงงานการผลิต งบประมาณดา้ นสวสั ดิการส�ำ หรบั ผูส้ งู อายุ ขององค์การสหประชาชาติและองค์การ การพฒั นาชุมชนและสังคมท่ีเอ้อื ตอ่ ผ้สู งู วัย ไปจนถึงระดบั ปจั เจก เช่น ทศั นคตติ ่อความชรา การอยูอ่ าศยั อนามัยโลก และไลฟ์สไตล์ท่ีไมจ่ ำ�กัดอายุ เพราะไมว่ า่ จะในอดตี หรือปัจจบุ นั เดก็ กบั คนหน่มุ สาวมกั จะได้รบั โอกาสและ 20 l Creative Thailand l กันยายน 2558 ทางเลอื กมากกวา่ วยั โรยราซง่ึ ขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ไมไ่ ดอ้ ยา่ งเคย กระทงั่ สงั คมทเ่ี จรญิ แลว้ กไ็ มไ่ ดถ้ กู ออกแบบ มาเพื่อรองรับประชากรสูงวัยอย่างแท้จริง หลายฝ่ายจึงต้องหันกลับมาศึกษาและทำ�ความเข้าใจผู้สูงวัยใน ฐานะผบู้ ริโภคกลุ่มใหญ่ที่ครอบครองกำ�ลังซ้อื และความตอ้ งการใหมเ่ พ่อื หาทางรับมอื กับการเปลี่ยนแปลง

INSIGHT อนิ ไซต์ โลกใบเกา่ คนแก่ แต่ขอ้ มลู ใหม่ สภาพแวดลอ้ มทเ่ี หมาะสม เชน่ การเขา้ ถงึ ระบบขนสง่ การจัดการเชิงนโยบายอยา่ งเปน็ ระบบ สะทอ้ นใหเ้ ห็น อยา่ งไรกต็ าม แตล่ ะประเทศยอ่ มใช้เวลาเขา้ สสู่ งั คม สาธารณะได้สะดวก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน ว่าการเติบโตก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไม่อาจรับรองว่า ผสู้ งู วยั ไมเ่ ทา่ กนั ขน้ึ อยกู่ บั ปจั จยั ดา้ นเศรษฐกจิ และสงั คม ซง่ึ ทุกขอ้ ล้วนบง่ ช้ีถงึ ความเป็นอยทู่ ่ีดนี นั่ เอง ผสู้ ูงวยั จะมีคณุ ภาพชวี ติ ทดี่ เี สมอไป รวมทั้งการเตรียมพร้อมของรัฐบาล หลายประเทศจึง ระบบนีย้ งั มีฟงั ก์ชนั่ \"Compare Countries\" ให้ น้อยคนจะรู้ว่าดัชนีช้ีข้อมูลน้ีจัดทำ�ข้ึนเพ่ือสนอง เลอื กจะศกึ ษาเรยี นรจู้ ากผมู้ ปี ระสบการณท์ เ่ี ขา้ สสู่ งั คม เลือกประเภทข้อมูลและกลุ่มประเทศท่ีต้องการศึกษา ค�ำ เรยี กรอ้ งของนายบนั คมี นุ เลขาธกิ ารสหประชาชาติ ผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ไปก่อนใครเพื่อน เช่น สวีเดน เพอ่ื วิเคราะหข์ อ้ มูลเชิงเปรียบเทยี บได้ เพือ่ เอือ้ อำ�นวย ซ่ึงกำ�หนดให้มีการปฏิวัติข้อมูล (Data Revolution) (1972) สหราชอาณาจกั ร (1976) และ อิตาลี (1988) ให้หน่วยงานและคนที่สนใจนำ�ไปพัฒนางานวิชาการ อยา่ งยง่ั ยนื และยนื ยนั วา่ เมอ่ื ปี 2015 สน้ิ สดุ ลง จะไมม่ ี ที่ส�ำ คญั การสบื ค้นข้อมูลไม่ใช่ปญั หายงุ่ ยากอีกต่อไป นโยบาย คดิ วเิ คราะหแ์ นวโนม้ ของอนาคต และอาจได้ ใครถูกทิ้งไว้เบื้องหลังแผนการพัฒนาสำ�หรับโลก เมอื่ เทยี บกบั การจดั การปรมิ าณขอ้ มลู มหาศาลทสี่ ง่ ตรง บทสรุปใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงได้สะดวกย่ิงขึ้น ดังที่ทาง อนาคตอีกต่อไป ซึ่งหมายรวมถึงประชากรสูงวัยใน มาจากตัวผ้บู ริโภค โรงพยาบาล หรืออาจโอนถ่ายผ่าน องคก์ ารไดร้ ายงานขอ้ มลู เกย่ี วกบั ความมน่ั คงทางรายได้ ปจั จุบันด้วย เพราะที่ผา่ นมา คนสงู วัยมกั จะเป็นกล่มุ ระบบคลาวดม์ าอกี ทหี นง่ึ ไหนจะตอ้ งแกะรอยพฤตกิ รรม และเงนิ บ�ำ นาญส�ำ หรบั ผสู้ งู อายใุ นปี 2014 วา่ มปี ระชากร แรกๆ ที่ถูกตัดออกจากแผนพัฒนาและนโยบาย ใหมๆ่ ของผสู้ งู อายทุ หี่ นั มาใชอ้ ปุ กรณด์ จิ ทิ ลั และโซเชยี ล โลกแค่คร่ึงหนึ่งเท่านั้นที่คาดว่าจะได้รับเงินบำ�นาญ สาธารณะอยูบ่ ่อยคร้ัง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ท่ีฟังไม่คอ่ ย มีเดียกันยกใหญ่ เช่น แอพพลิเคชั่นสุขภาพ การทำ� หลงั วัยเกษยี ณ และประเทศพัฒนาหลายแหง่ กย็ ังขาด ขนึ้ เท่าไรนักว่า เราไม่มีข้อมูลเก่ียวกับผูส้ ูงอายุ ธรุ กรรมผา่ นอนิ เทอรเ์ นต็ การรบั ชมสอื่ ออนไลน์ ขอ้ มลู เหลา่ นเี้ ปรยี บไดก้ บั ประตสู อู่ นิ ไซตข์ องคนสงู วยั ทนี่ �ำ ไป asiasociety.org ต่อยอดไดแ้ ทบทุกสาขาวิชา ทกุ อุตสาหกรรม รวมท้ัง นโยบายการพฒั นาประเทศ แตก่ ลบั มจี �ำ นวนน้อยเมอ่ื องค์การสหประชาติได้แบ่งระดับสังคมผู้สูงอายุ flickr.com/neloqua เทยี บกบั ผบู้ รโิ ภควยั อนื่ งานนี้ นกั จดั การและวเิ คราะห์ เป็น 3 ระดบั ไดแ้ ก่ ข้อมูล (Data Scientist) จงึ ตอ้ งออกโรงมาจดั ระเบียบ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging ข้อมูลของผู้สูงอายุกันอยา่ งจรงิ จงั Society) กล่าวคือ ประเทศท่ีมีประชากร องค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศได้ อายุ 60 มากกว่ารอ้ ยละ 10 ของประชากร รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมผู้สูงวัยในปี ทงั้ ประเทศ หรอื มปี ระชากรอายุ 65 ปขี นึ้ ไป 2014 จาก 96 ประเทศทัว่ โลก เพอ่ื จัดทำ� \"ดัชนชี วี้ ัด เกนิ ร้อยละ 7 ของประชากรท้งั ประเทศ เกยี่ วกบั ผสู้ งู อายทุ วั่ โลก (Global Age Watch Index)” ระดบั สังคมผสู้ งู อายโุ ดยสมบรู ณ์ (Aged Society) กลา่ วคอื เมอ่ื ประชากรอายุ 60 ปขี ึน้ ไปเพิ่ม ทั้งในรูปแบบรายงานวิชาการและฐานข้อมูลออนไลน์ เปน็ รอ้ ยละ 20 ของประชากรทงั้ ประเทศ หรอื มปี ระชากรอายุ 65 เพมิ่ เปน็ รอ้ ยละ 14 ของประชากร ในเวบ็ ไซต์ helpage.org โดยไดร้ ับการสนับสนุนจาก ทั้งประเทศ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัย ระดับสงั คมผสู้ ูงอายุระดบั สูงสุด (Super-aged Society หรือ Hyper-Aged Society) กล่าวคือ โลก ธนาคารโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เมือ่ ประชากรอายุ 65 ข้นึ ไป มสี ัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทงั้ ประเทศ ภาคีเครือข่ายและผู้เชยี่ วชาญกว่า 40 รายจากสาขาที่ เกี่ยวข้อง เช่น ชราภาพวิทยา สุขภาพ การพัฒนา ทม่ี า: คณุ ภาพชีวิต รายงาน \"สงู วยั ในศตวรรษท่ี 21: การเฉลมิ ฉลองและความทา้ ทาย\" โดยกองทนุ ประชากรแหง่ สหประชาชาติ (United Nations Population หนา้ ทข่ี องระบบดชั นขี อ้ มลู น้ี ไมใ่ ชแ่ คช่ ว่ ยเปลย่ี น Fund: UNFPA) และ องคก์ ารช่วยเหลือผู้สูงอายรุ ะหว่างประเทศ (HelpAge International) helpage.org/global-agewatch ขอ้ มูลเป็นภาพ ตาราง แผนภมู ิ และแผนท่เี ทา่ น้ัน แต่ ยังทำ�ให้ผู้ใช้มองเห็นและเข้าใจภาพรวมของการ กันยายน 2558 l Creative Thailand l 21 เปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัยมากขึ้น สามารถติดตาม ขอ้ มลู เชงิ สถติ ขิ องจ�ำ นวนผสู้ งู วยั ใน 96 ประเทศทว่ั โลก และสืบค้นไปถึงข้อมูลเชิงลึกได้ว่าแต่ละประเทศมีวิธี การจดั การและพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ของผสู้ งู อายอุ ย่างไร นอกจากนี้ ทางองคก์ ารจะคอยรายงานการประเมนิ ผล ความสำ�เร็จของนโยบายน้อยใหญ่ท่ีเกิดข้ึน เพื่อเป็น แนวทางการศึกษาและพัฒนาสังคมสำ�หรับผู้สูงวัย อย่างเต็มรปู แบบในอนาคต โดยประมวลจากขอ้ มลู 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความมน่ั คงดา้ นรายได้ สุขภาพ ความสามารถ (การศึกษาและการว่าจ้างงาน) และ

CREATIVE ENTREPRENEUR คดิ ทำ� กิน เรอื่ ง: ณัฏฐนชิ ตัณมานะศิร ิ เทคโนโลยีอุปกรณ์สำ�หรับสวมใส่ หรือ Wearable นับว่าเป็น ภาพ: อดเิ ดช ชัยวัฒนกลุ กระแสที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากในช่วงหลายปีท่ีผ่านมา ด้วย ฟังก์ช่ันการเก็บข้อมูลการทำ�กิจกรรมและการเปลี่ยนแปลงของ พบแนวคิดใหม่จากผู้ประกอบการไทยที่น�ำความคิดสร้างสรรค์ ร่างกายในแต่ละวันของผู้ใช้งาน ก่อนจะส่งมาแสดงผลบน มาสรา้ งเปน็ มลู คา่ เพม่ิ ใหก้ บั สนิ คา้ และบรกิ ารไดท้ ่ี TCDCconnect.com คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเพื่อนำ�ไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ เว็บไซต์ท่ีรวบรวมรายช่ือและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ แม้ว่าปัจจุบันสินค้าประเภทนี้จะยังอยู่ในช่วงต้ังไข่และมีตลาด ผู้ประกอบการจากทุกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยไว้ ไม่กว้างนัก แต่ธุรกิจทั้งรายใหญ่รายเล็กต่างก็กระโดดลงมา ในทีเ่ ดยี วกัน เล่นในตลาดกันอย่างคึกคัก โดยอีกหนึ่งแบรนด์เล็กที่สะดุดตา ผู้บริโภคจำ�นวนไม่น้อย ก็คือนาฬิกาเพ่ือคนรักสุขภาพดีไซน์ 22 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558 สวยอย่าง Wellograph ซึ่งคว้ารางวัล International CES Innovations Design and Engineering Awards ไปครอง ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวเมื่อต้นปี 2014 ในงาน CES Innovations 2014 ท่ีสหรัฐฯ สง่ิ หนง่ึ ทนี่ า่ สนใจเกยี่ วกบั เวลโลกราฟ คอื นาฬกิ าอจั ฉรยิ ะเรอื นนค้ี ดิ คน้ และ พฒั นาโดยทมี งานคนไทยทง้ั หมด ภายใตก้ ารน�ำ ของ ดร.สารสนิ บพุ พานนท์ (อารต์ ) ผกู้ อ่ ตงั้ บรษิ ัท เอทซิ อินโนเวชั่น จ�ำ กัด ซ่ึงไม่ได้มีพืน้ ฐานความรู้ ดา้ นเทคโนโลยมี ากอ่ น แต่อาศยั ความหลงใหลเป็นทนุ ตั้งตน้ รวบรวมทมี วิศวกรต้ังสตาร์ทอัพรุ่นบุกเบิกเม่ือสิบปีก่อนในขณะที่กำ�ลังศึกษาอยู่ ที่สหรัฐฯ โดยพัฒนานวัตกรรมสินค้าช้ินแรกเป็นเครื่องสแกนหนังสือ Bookdrive ท่สี ามารถสแกนหนา้ หนังสอื ได้คมชัด ไมเ่ กดิ เงาบรเิ วณสว่ น เขา้ เลม่ และไมท่ �ำ ใหห้ นงั สอื เสยี รปู ทรง ตอบโจทยค์ วามตอ้ งการของลกู คา้ นิชมาร์เก็ตอย่างห้องสมุด มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่เก็บ ขอ้ มลู และจดั การเอกสารทวั่ โลกทต่ี อ้ งสแกนหนงั สอื จ�ำ นวนมาก โดยเฉพาะ หนงั สือทม่ี คี วามหนา หนังสอื เก่า และหนังสอื หายาก จนก้าวข้ึนเป็นหนึง่ ในผู้นำ�ตลาดสแกนเนอรใ์ นปัจจุบนั

START FROM WHAT YOU WANT WHEN FUNCTION MEETS DESIGN ดว้ ยความชน่ื ชอบในเรอ่ื งราวของเทคโนโลยีมาตงั้ แตเ่ ดก็ และมคี วามฝนั นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องแม่นยำ�และใช้งานได้จริงแล้ว อีกหนึ่ง วา่ อยากจะเปน็ ผสู้ รา้ งสรรคน์ วตั กรรมลา้ํ ยคุ ใหมๆ่ ใหแ้ กผ่ บู้ รโิ ภค การพฒั นา โจทยต์ งั้ ตน้ ของเวลโลกราฟกค็ อื ดไี ซนท์ สี่ วยงาม สวมใสไ่ ดใ้ นหลายโอกาส ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นของดร.สารสินเริ่มต้นจากการสังเกตปัญหาที่ยังไม่มี ซงึ่ เปน็ ปัจจยั ท่ีสำ�คญั ไม่แพ้กัน “สนิ ค้าของเราไม่ไดท้ ำ�เพอ่ื ขายอย่างเดยี ว สนิ ค้าใดในตลาดตอบโจทย์ได้ “ส่วนใหญ่จะมาจากความชอบของตัวเอง แต่เราอยากจะทำ�ให้ตัวเอง ให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ด้วย” คำ�ตอบของวัสดุ วา่ เราอยากได้สนิ คา้ อะไร เราก็จะจนิ ตนาการนนู่ น่ี ถา้ คิดวา่ มนั แจว๋ จรงิ ๆ สำ�หรับตัวเรือนจึงมาลงตัวท่ีกระจกแซฟไฟร์คริสตัลซ่ึงไม่เพียงทนทาน ก็จะดูวา่ มันมโี อกาสเป็นไปได้ไหม แตถ่ า้ มนั มใี นตลาดแลว้ และตอบโจทย์ ปอ้ งกันรอยขดี ข่วน แต่ยังให้สไตล์มินิมอลเรียบหรู รูปทรงมีเอกลกั ษณ์ ที่ตลาดตอ้ งการแลว้ ก็ไม่ต้องไปทำ�แขง่ กับเขา” โดดเดน่ จากสินคา้ Wearable ในชว่ งราคาใกล้เคยี งกันท่ีสว่ นใหญ่ท�ำ จาก “เมอื่ สปี่ ที แ่ี ลว้ เรารสู้ กึ วา่ เราอยากจะวดั อตั ราการเตน้ ของหวั ใจ อยาก กระจกกอรลิ ลา่ กลาสหรอื พลาสตกิ ทง้ั ยงั มาพรอ้ มกบั สายหนงั ทม่ี ใี หเ้ ลอื ก ตรวจสอบสุขภาพของตวั เองตลอดเวลา แต่ดว้ ยเทคโนโลยใี นขณะนัน้ เรา 3 สี โดยสามารถสลบั เปน็ สายผา้ นาโตร้ ะบายอากาศส�ำ หรบั ออกก�ำ ลงั กาย ต้องใส่สายคาดไวท้ อี่ ก ซึ่งมันล�ำ บากถา้ จะใสว่ ิ่งหรอื ทำ�กจิ กรรม เลยเกดิ ส�ำ หรบั แผนการในอนาคตเมอื่ มบี รษิ ทั ใหญม่ าจบั ตลาดสนิ คา้ Wear- ไอเดยี วา่ ถา้ เราวดั ทข่ี อ้ มอื ไดเ้ ลยคงจะแจว๋ มาก ผมเลยใหท้ มี งานตง้ั ทมี วจิ ยั able กนั มากขน้ึ ดร.สารสนิ มองวา่ บรษิ ทั เลก็ อยา่ งเวลโลกราฟซงึ่ ขบั เคลอ่ื น และพัฒนาเรือ่ งนี้โดยเฉพาะ ตอนแรกเราทำ�เป็นกึ่งงานอดิเรก ยังไมไ่ ด้ ด้วยการวจิ ัยและพัฒนาโดยทมี งานวศิ วกรทมี่ ีประสบการณร์ ว่ ม 20 ชีวติ เอาจริง จนพอมาถึงจุดหนึ่งแล้วเรามองว่ามันเป็นไปได้ ก็เลยรีบตั้งทีม ซงึ่ มเี พยี งไมก่ ที่ มี ในประเทศไทย ตอ้ งขยบั มาท�ำ สนิ คา้ ทม่ี ตี ลาดเฉพาะมาก เดนิ หนา้ พฒั นาอยา่ งจรงิ จงั ในระหวา่ งทางทก่ี ำ�ลังทำ�เราก็เห็นเทรนด์ชัด ขึ้น เช่น อปุ กรณ์ทางการแพทย์ หรอื เป็นผูป้ ้อนเทคโนโลยี (Technology ขนึ้ เรือ่ ยๆ เพราะธรุ กิจเจา้ ใหญๆ่ ก็เร่ิมออกสนิ คา้ ประเภท Wearable มา Provider) ให้แบรนดอ์ ืน่ ๆ ท่ขี าดความเช่ยี วชาญ เหมอื นกนั จนตอนนกี้ ก็ ลายเปน็ มาตรฐานใหมไ่ ปแลว้ วา่ Wearable ตา่ งๆ “เนอื่ งจากการท�ำ ฮารด์ แวรม์ นั ทา้ ทายกวา่ ซอฟตแ์ วร์มาก สตาร์ทอพั ที่ ในโลกจะตอ้ งมีเซน็ เซอรว์ ัดอัตราการเต้นของหวั ใจ” พฒั นาแอพพลิเคชนั่ เขาเพยี งแคจ่ ้างนักพฒั นาแอพฯ กับดีไซเนอรไ์ มก่ ค่ี น เวลโลกราฟนบั วา่ เปน็ นาฬกิ าอจั ฉรยิ ะรนุ่ แรกๆ ทส่ี ามารถวดั ชพี จรได้ 6 เดือนกเ็ หน็ แล้วว่ามันไปได้หรือไม่ได้ ไปได้ก็เลย้ี งต่อ ไมไ่ ด้กจ็ บไป แต่ จากขอ้ มอื โดยตรง ดว้ ยเซน็ เซอรแ์ สงแอลอดี ี ซง่ึ จะยงิ ผา่ นผวิ หนงั และอา่ น การทำ�ฮาร์ดแวร์ต้องใช้เงินลงทุนสูง ต้องมีเครือ่ งมือต่างๆ และการหา ค่าชพี จรจากคลนื่ ทสี่ ะทอ้ นกระดูกกลบั มา นอกจากนยี้ ังใชเ้ ซ็นเซอร์ตรวจ วิศวกรที่จะมาทำ�โปรเจ็กต์ระดับนี้ก็ยากมาก ดังนั้น ถ้าบริษัทใหญ่ซ่ึงมี จบั ความเคลอ่ื นไหวทม่ี ถี ึง 9 แกน ท�ำ ใหก้ ารตรวจวัดขอ้ มูลการเดนิ การ ทรพั ยากรมหาศาลเขา้ มาเลน่ ในตลาดดว้ ย เรากจ็ ะไมแ่ ขง่ กบั เขาตรงๆ เรา ออกกำ�ลงั กาย และการท�ำ กิจกรรมต่างๆ มีความแมน่ ยำ�สูง ในส่วนของ ต้องหาจุดต่างของสินค้า อาจจะต้องขยายไปทำ�สินค้าประเภท Cyber พลังงาน เวลโลกราฟมอี ายุการใช้งานนานถึง 7 วนั ตอ่ การชาร์จ 1 คร้งั Physical Product อื่นๆ ซึ่งยังมีโอกาสอีกค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องมา เพราะทมี งานเลอื กใชซ้ พี ยี ทู ก่ี นิ พลงั งานตาํ่ มาก และออกแบบระบบปฏบิ ตั ิ พจิ ารณาดวู า่ อะไรทจี่ ะมโี อกาสสงู ทสี่ ดุ และการแขง่ ขนั เหมาะสมกบั สเกล การขึ้นใหม่เพ่ือให้เหมาะสมกับขนาดแบตเตอรี่ ข้อมูลทั้งหมดจะถูก ของธรุ กจิ ของเรา” ประมวลมาแสดงผลบนหน้าจอด้วยกราฟิกที่อ่านง่ายและครบถ้วนโดยไม่ จำ�เป็นตอ้ งใชง้ านรว่ มกับสมาร์ทโฟน แตห่ ากผ้ใู ชต้ ้องการขอ้ มูลสขุ ภาพท่ี TIPS FOR ENTREPRENEURS ละเอยี ดมากข้ึน ก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน่ ซง่ึ รองรบั สมาร์ทโฟน “อย่าท�ำ ถา้ ไมแ่ น่จริง” ธรุ กจิ ฮารด์ แวร์มีความเสยี่ งสงู ทกุ อยา่ งต้องแข่งกบั เวลา ท้งั ระบบ iOS, Android และ Windows เพราะเทคโนโลยเี ปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ยงั ไมร่ วมความกดดนั ทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ หาก บริษัทคู่แข่งชิงออกสินค้าก่อนหรือถูกลอกเลียนแบบสินค้า ดร.สารสินแนะน�ำ ว่า ธุรกิจฮาร์ดแวร์จำ�เป็นต้องสร้างโมเดลที่จะทำ�ให้ตัวเองอยู่รอดได้ในตลาด เช่น การสรา้ งแบรนด์ทน่ี ่าเชอ่ื ถอื หรอื การสรา้ งซอฟตแ์ วรท์ ีท่ �ำ งานประสานอย่างดีกับ ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะทำ�ให้การเลียนแบบสินค้าทำ�ได้ยากขึ้น เพราะปัจจุบันบริษัท เทคโนโลยีทีจ่ ะมคี วามเชย่ี วชาญทั้งฮารด์ แวรแ์ ละซอฟตแ์ วร์ยังมีไมม่ ากนัก “พรอ้ มเปลีย่ นส่งิ ทีเ่ คยเชือ่ ” ในการท�ำ ธรุ กจิ ด้านเทคโนโลยี แนวคดิ ต่างๆ จะถกู ทา้ ทายตลอดเวลา สง่ิ ส�ำ คญั ทส่ี ดุ คอื ตอ้ งพรอ้ มยอมรบั ความเปลยี่ นแปลงทจี่ ะเกดิ ขึน้ ปรบั ตัวตามสถานการณ์ และพัฒนาอยู่ตลอด มิฉะนน้ั อาจกลับมาสง่ ผลเสยี ต่อธรุ กิจในท้ายทีส่ ดุ กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 23

CREATIVE CITY จับกระแสเมอื งสรา้ งสรรค์ เรอื่ ง: วรรณเพญ็ บญุ เพ็ญ ปี 2005 สหรัฐอเมริกาประสบกับภยั พิบัตทิ ีเ่ รยี กได้ว่ารนุ แรงและเสียหายมากทีส่ ดุ ในประวตั ิศาสตร์ น่นั คอื เหตุการณ์พายเุ ฮอรเิ คน แคทรนี าถล่มเมืองนวิ ออลีนส์ รฐั ลยุ เซยี นา เหตุการณ์ในครง้ั นั้นมีผ้เู สยี ชีวิตกว่า 1,200 คน และกวา่ รอ้ ยละ 80 ของเมอื งจมอย่ใู ตน้ ้าํ สหรัฐฯ สูญเสยี เม็ดเงินไปมหาศาลกวา่ 151 พันล้านเหรียญสหรฐั ฯ และในวนั นี้ ผ่านมา 10 ปีหลงั จากเหตภุ ยั พบิ ตั ิ นิวออลีนสก์ ลับ ถูกยกยอ่ งจากสถาบนั ต่างๆ ไม่วา่ จะฟอรบ์ ส์หรอื วอลสตรที เจอนลั ว่าเป็น “เมืองที่นา่ จบั ตามองที่สดุ ” และ “เมืองท่ีไดร้ บั การพัฒนา มากท่ีสุด” คำ�ถามคอื 10 ปที ีผ่ ่านมา นวิ ออลีนสท์ ำ�อย่างไรถึงก้าวมาสูจ่ ุดน้ีได้ 24 l Creative Thailand l กันยายน 2558

CREATIVE CITY จับกระแสเมอื งสรา้ งสรรค์ commons.wikimedia.org เช่น สถิติได้เผยให้เหน็ ว่า นิวออลนี สต์ ดิ อับดับ เมืองที่มีอาชญากรรมสูงเป็นลำ�ดับต้นๆ เป็น Reuters ประจ�ำ ทกุ ปี เพราะประชาชนชายผวิ สรี อ้ ยละ52 Reuters by Carlos Barria ไม่ทำ�งาน และร้อยละ 43 เคยมีประวัติก่อ อาชญากรรม การแก้ปัญหาแบบที่เคยแก้ทุกปี facebook.com/LouisianaCharterSchoolAssociation ไม่ได้ทำ�ให้อาชญากรรมหายไป เพราะรากลึก ของปัญหาคือความแปลกแยกของประชาชนที่ facebook.com/LouisianaCharterSchoolAssociation วิเคราะหไ์ ด้วา่ เมือ่ ประชากรผิวสเี หล่าน้ีไม่รู้สึก ว่าตนได้รับความปลอดภัยจากเมือง การก่อ DATA SHIFTS CITY ไปจนถึงบล็อกส่วนตัวที่ไว้ระบายความทุกข์ อาชญากรรมจึงมีให้เห็นตามมา ล่าสุดจึงเกิด “หลังจากเกิดแคทรีนา ไมม่ ใี ครมน่ั ใจไดเ้ ลยวา่ ขอ้ มลู ทงั้ หมดไดถ้ กู รวบรวมและจดั แจงใหมเ่ พอื่ โครงการ “NOLA for Life” ท่พี ยายามแกป้ ัญหา จะเกิดอะไรขึ้นอีก ส่งิ ทีป่ ระชาชนต้องการมาก รายงานความเสยี หายและความเปน็ ไปของเมอื ง อยา่ งรอบดา้ น ต้งั แต่การสง่ เสริมและให้โอกาส ท่ีสดุ ในขณะนน้ั คือข้อมูล” แอลสิ นั พลายเยอร์ ให้ประชาชนทราบ รวมทั้งวิเคราะห์ความ ในการท�ำ งาน การสนับสนุนให้ชาวเมืองมสี ว่ น (Alison Plyer) ผู้อำ�นวยการศูนยข์ อ้ มลู ประจำ� สัมพันธ์ระหว่างความช่วยเหลือใดๆ ก็ตามท่ี ร่วมเพื่อสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยยิ่งข้ึน นวิ ออลีนสก์ ลา่ ว รฐั บาลหรอื องค์กรต่างๆ ตอ้ งการจะหยิบยื่นให้ ไปจนถงึ การแกป้ ญั หาปลายทางดว้ ยการพฒั นา ขอ้ มลู ตา่ งๆ ทไี่ ดร้ บั แจง้ มาจากชาวนวิ ออลนี ส์ ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชน ณ ขณะนั้น แอพพลิเคชั่นท่ีระดมทุนได้จากชาวเมืองช่ือว่า ในเหตภุ ยั พบิ ตั คิ รง้ั นน้ั มมี ากมายและหลากหลาย ตอ้ งการจรงิ ๆ และเมอื่ ความทกุ ขจ์ ากภยั พบิ ตั ไิ ด้ “FrenchQuarterTaskForce” เพอ่ื ใหป้ ระชาชน ตน้ ทาง คนกลางส�ำ คญั อยา่ ง “The Greater New ทุเลาลง “ข้อมูล”ในครงั้ นน้ั จงึ ค่อยๆ เผยตวั ตน แจ้งเหตุด่วนหรือรายงานสิ่งต้องสงสัยว่าเป็น Orleans Community Data Center” คอื ตวั แทน ของเมอื งใหช้ าวนวิ ออลนี สไ์ ดเ้ หน็ ภาพเมอื งของ อนั ตรายกบั เมอื งยา่ นเฟรนซค์ วอเตอรไ์ ดส้ ะดวก ชาวเมอื งนวิ ออลนี สท์ คี่ อยรวบรวมขอ้ มลู ทไี่ ดร้ บั พวกเขาไดช้ ัดเจนมากข้นึ และรวดเร็วมากขึ้นกว่าการโทรหา 911 จากแหล่งขา่ วใหญ่ แหลง่ ข่าวทอ้ งถ่นิ โทรศพั ท์ หัวใจสำ�คัญของจุดเร่ิมต้นในการสร้าง เรือ่ งระบบการศึกษาก็เช่นกัน นวิ ออลีนส์ หรืออีเมลขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่างๆ นิวออลีนส์ไปในทิศทางใหม่ก็คือ ข้อมูลท่ีมีอยู่ ติดโผว่ามีระบบการศึกษาแย่ท่ีสุดของประเทศ ในมือ ณ ขณะนนั้ ของชาวนวิ ออลนี ส์ ตวั อยา่ ง มาโดยตลอด โดยสถิติเผยว่าก่อนเหตุการณ์ เฮอรเิ คนแคทรนี า เดก็ ๆ ชาวนวิ ออลนี สผ์ า่ นการ ศึกษาข้ันมาตรฐานเพยี งร้อยละ 30 แตห่ ลังจาก พายุเฮอริเคนท่ีพัดทำ�ลายโรงเรียนในเมืองลง อยา่ งราบคาบ ระบบการศกึ ษาแบบเกา่ ๆ อยา่ ง โรงเรยี นรฐั บาล (Public School) กส็ น้ิ สดุ ลงเชน่ กนั เพราะเมอื งเรมิ่ หนั มาใชร้ ะบบการศกึ ษาทาง เลือกอยา่ ง Charter School ซึ่งเป็นโรงเรยี นที่มี อิสระในการกำ�หนดหลักสูตรการเรียนการสอน อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพไดด้ ว้ ยตนเอง รวมถงึ ความ ช่วยเหลือของ Teach for America ซ่ึงเป็น องค์กรที่ช่วยต่อต้านความเหลื่อมลํ้าด้านการ ศึกษาในสหรฐั อเมรกิ า สรา้ งกลไกสนบั สนนุ และ ส่งเสริมนวตั กรรมด้านการเรียนการสอน ที่ท�ำ ใหเ้ ดก็ ๆ ในนวิ ออลนี สม์ โี อกาสเขา้ ถงึ การศกึ ษา ได้ดขี ึน้ ถงึ รอ้ ยละ 68 กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 25

CREATIVE CITY จบั กระแสเมืองสร้างสรรค์ SILICON “SOMETHING” ซ่ึงนั่นคงไม่ใช่จุดหมายท่ีชาวเมืองต้องการมาก commons.wikimedia.org/ChrisLitherlandBourbonSt รูปแบบการก้าวขึ้นมาเป็นเมืองท่ีเรียกแทนตัว ทส่ี ดุ แอลสิ นั พลายเยอร์ ผอู้ �ำ นวยการศนู ยข์ อ้ มลู flickr.com/kevinomara เองวา่ “ซิลิคอน” อะไรสักอย่าง มกั มเี ส้นทางท่ี ประจ�ำ นวิ ออลนี ส์ ใหค้ วามเหน็ วา่ “คณุ จะไดย้ นิ คลา้ ยๆ กนั คอื เปน็ สถานทซี่ ง่ึ บรรดาสตารท์ อพั ชาวเมอื งพดู กนั วา่ ทกุ อยา่ งดขี น้ึ เศรษฐกจิ ก�ำ ลงั นกั ศกึ ษาจบใหม่ นายทนุ เขา้ มาแสวงหาโอกาส พฒั นาไปมาก แตก่ ม็ เี สยี งอกี ดา้ นหนง่ึ พดู กนั วา่ สร้างฝันด้วยไอเดีย นวตั กรรม และเทคโนโลยี ทกุ อยา่ งแยล่ ง และทง้ั สองเรอ่ื งตา่ งเปน็ เรอ่ื งจรงิ ท่ี ใหก้ ลายเปน็ จรงิ กอ่ นทบ่ี ริษัทต่างๆ จะเข้ามา เกดิ ขน้ึ ทง้ั ค”ู่ เพราะในขณะทสี่ ตารท์ อพั ตา่ งๆ เขา้ ลงทนุ และลงหลกั ปักฐาน เช่น ซาน โฮเซ (San มาสร้างธรุ กจิ ดว้ ยไลฟ์สไตลเ์ ดิมๆ อนั ประกอบ Jose) ในซานฟรานซิสโก ที่แต่เดิมเป็นเมือง ดว้ ยแลป็ ทอ็ ป รา้ นกาแฟ และฟรไี วไฟ ไมต่ า่ งจาก เกษตรกรรมแตพ่ อมกี ารบกุ เบกิ ใหเ้ ปน็ “Silicon เมอื งซลิ คิ อนอนื่ ๆ ทขี่ บั เคลอื่ นให้เศรษฐกจิ ของ Valey” เมืองเกษตรกเ็ ปลี่ยนมาเปน็ ศูนย์กลาง เมอื งเตบิ โตขน้ึ เรอ่ื ยๆ ขณะเดยี วกนั กลมุ่ ชาวเมอื ง ของนวตั กรรมและบรษิ ทั เทคโนโลยชี น้ั น�ำ ของโลก เก่ากว่าร้อยละ 60 ของนิวออลีนส์ซ่ึงเป็นชาว ตอ่ มาทยี่ า่ นแมนฮตั ตนั ในนวิ ยอรก์ เปน็ ผนู้ �ำ ดา้ น แอฟรกิ นั -อเมรกิ นั ยงั คงอยูก่ บั ความไม่เทา่ เทยี ม เทคโนโลยีที่เด่นเร่อื งการทำ�โฆษณา ส่ือใหม่ๆ ซง่ึ Bloomberg Visual Data ได้จดั อันดบั ให้ และเทคโนโลยชี วี ภาพ จนไดช้ อื่ วา่ เปน็ “Silicon นวิ ออลนี สเ์ ปน็ เมอื งทม่ี คี วามเหลอื่ มลา้ํ ทางรายได้ Aley” แตเ่ พราะทง้ั นวิ ยอรก์ และซานฟรานซสิ โก มากท่ีสุดเป็นอันดบั 2 ของประเทศ นิวออลนี ส์ ตา่ งเปน็ เมอื งใหญท่ ม่ี คี า่ ครองชพี สงู ประกอบกบั จึงยังเป็นเมืองท่ีมีคนทั้งสองกลุ่มเติบโตไปใน การที่เทคโนโลยีและการส่ือสารพัฒนามากข้ึน ทศิ ทางท่ีคู่ขนาน สตาร์ทอัพจึงไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในเมืองใหญ่อีก ตอ่ ไป บางส่วนจึงกลบั ไปบุกเบกิ ทีบ่ ้านเกิดหรอื facebook.com/12YearsASlave เมอื งอน่ื ๆ ซง่ึ มคี า่ ครองชพี ไม่สูงมากนกั อยา่ งท่ี ดาลลั สใ์ นเทก็ ซสั ใหเ้ ปน็ “Silicon Prairie” หรอื ท่ี Hollywood South facebook.com/DalasBuyersClub พอรท์ แลนดเ์ ป็น “Silicon Forest” และทีน่ วิ ออลนี ส์ เองกเ็ ชน่ กนั เพราะในตอนนไ้ี ดช้ อื่ วา่ เปน็ “Silicon ปัจจัยที่ทำ�ให้นิวออลีนส์กลายเป็นเมืองเน้ือหอมสำ�หรับสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ต้องการเร่ิมต้นธุรกิจที่น่ีก็ Bayou” แตก่ ารประกาศตนวา่ ไดเ้ ปน็ ฮบั สตารท์ อพั คอื คา่ ครองชพี ท่ีไม่แพง ซงึ่ มคี า่ เฉลย่ี ต่ํากวา่ ท้งั ประเทศอยูร่ ้อยละ 3 (ในขณะทนี่ ิวยอร์กมคี า่ ครองชพี แห่งใหมก่ ไ็ ด้สร้างความกังวลใจให้คนทอ้ งถน่ิ ท่ี สูงกว่าคา่ เฉล่ียถงึ รอ้ ยละ 118) อีกปจั จยั สำ�คัญคือ การมีค่าภาษีทเ่ี อ้ือประโยชน์ต่อการท�ำ ธุรกจิ เหน็ ได้ ร้สู ึกว่า ก�ำ ลังเสีย่ งทจี่ ะต้องเสียสละวัฒนธรรม ชัดในกรณอี ตุ สาหกรรมภาพยนตร์ที่เขา้ มาลงทนุ ในนิวออลีนส์มากเปน็ อันดบั 1 แซงหนา้ ฮอลลีวูดไปได้ ทอ้ งถน่ิ ของตวั เองแลว้ หนั มาขบั เคลอื่ นเมอื งดว้ ย และไดร้ บั ฉายาใหม่วา่ เปน็ “Holywood South” น่ันเป็นเพราะเงนิ ทกุ ๆ ดอลลารท์ ีน่ ักสร้างภาพยนตร์ เทคโนโลยขี องผคู้ นท่ีเขา้ มาหาโอกาสในเมอื งแหง่ น้ี เขา้ มาลงทุนในสตดู ิโอหรอื บรษิ ัทท่ีรฐั ลยุ เซยี นา จะได้กลับคืนถึงรอ้ ยละ 30 ในรปู แบบภาษี และหากจดั จา้ งคนทอ้ งถ่นิ กจ็ ะไดค้ ืนเพมิ่ อกี ร้อยละ 5 ทำ�ให้รายการทวี ี หนังส้นั สารคดี ซรี สี ์ และภาพยนตรต์ า่ งๆ 26 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558 flickr.com/kevinomara เลอื กมาถา่ ยท�ำ ที่นิวออลีนส์ อยา่ งเรื่อง 12 Years a Slave (2013), Dalas Buyers Club (2013), G.I. Joe: Retaliation (2013), The Butler (2013), Dawn of the Planet of the Apes (2014), Now You See Me (2013) ฯลฯ ซ่ึงอุตสาหกรรมภาพยนตรท์ เ่ี ขา้ มาได้สรา้ งรายไดใ้ หเ้ มืองในปที ผี่ า่ นมากวา่ 813 ล้านเหรียญสหรฐั ฯ และสร้างการจา้ งงานให้คนในพ้นื ท่ไี ดก้ วา่ 13,000 ตำ�แหน่ง

CREATIVE CITY จับกระแสเมอื งสรา้ งสรรค์ DISASTER DRIVES FUTURE แมว้ า่ การน�ำ พาของเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมจะ facebook.com/GoPropeler REUTERS/Jonathan Bachman สามารถขับเคล่ือนเมืองให้พัฒนาและเจริญข้ึน ได้จริงจากตัวอย่างความสำ�เร็จของสตาร์ทอัพ ขา่ วSiliconBayouNews ไดร้ ายงานวา่ ปจั จบุ นั facebook.com/americanhorrorstory เมอื งตา่ งๆ แตจ่ ดุ เรมิ่ ตน้ ของการเปน็ สตารท์ อพั มีผู้ประกอบการเพื่อสังคมกว่า 4,600 องค์กร ซติ ขี้ องนิวออลีนส์ก็ต่างจากเมืองอน่ื ๆ อยมู่ าก แล้วในนิวออลีนส์ และทิม วิลเลียมสัน (Tim Did you know? เน่ืองจากนิวออลีนส์ไม่ได้เพียบพร้อมไปด้วย Wiliamson) ซีอีโอแห่ง Idea Vilage องค์กร ประวตั ศิ าสตรแ์ ละพน้ื เพทห่ี ลากหลายของชาวนวิ ออลนี ส์ บรรยากาศของเทคโนโลยี นวตั กรรม มหาวทิ ยาลยั ไม่แสวงหากำ�ไรเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการใน นบั เปน็ ขมุ ทรพั ยป์ ระจ�ำ เมอื ง เพราะสว่ นผสมของความ ชน้ั น�ำ หรอื เปน็ ทตี่ ง้ั ของบรษิ ทั ยกั ษใ์ หญท่ พ่ี รอ้ ม นิวออลีนส์ ได้ให้ความเห็นในฐานะสตาร์ทอัพ เปน็ แอฟรกิ นั -อเมรกิ นั ฝรง่ั เศส สเปน และแครบิ เบยี น ให้เด็กจบใหม่มาทดสอบฝีมือเหมือนอย่าง และในฐานะชาวเมอื งนวิ ออลนี สไ์ วว้ า่ เขาอยาก ท่ีมีอยู่มาอย่างยาวนานคู่เมืองนิวออลีนส์ได้ถ่ายทอด นวิ ยอรก์ หรอื ซานฟรานซสิ โก แตก่ ารเปน็ สตารท์ จะเปล่ียนแปลงปัญหาอาชญากรรม การ ผา่ นดนตรีแจ๊สและอาหารทโี่ ด่งดังเป็นที่รู้จกั ไปท่วั โลก อพั ของผคู้ นทนี่ เี่ รมิ่ ตน้ ดว้ ยการท�ำ ในสง่ิ ทจ่ี �ำ เปน็ คอร์รัปชั่นของการปกครอง ระบบการศึกษาที่ รวมถึงการจัดเทศกาลต่างๆ ท่ีเป็นเอกลักษณ์ดึงดูด ตอ้ งทำ� ธุรกจิ ตา่ งๆ เร่มิ ต้นขึ้นเพอ่ื พยายามขบั ล้มเหลว ซ่ึงแต่ก่อนส่ิงเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ นกั ทอ่ งเท่ยี วอย่างมารด์ กิ ราส์ (Mardi Gras) เทศกาล เคลื่อนเมืองหลังภัยพิบัติให้สามารถสตาร์ทข้ึน ไมม่ ใี ครใสใ่ จ แตต่ อนนเ้ี ขาและคนอน่ื ๆ ยอมรบั ทจ่ี ดั ขน้ึ เพอ่ื เตรยี มตวั ตอ้ นรบั เทศกาลอสี เตอร์ ในงานจะ ใหม่อีกคร้ังด้วยการทำ�เพื่อสังคมและชุมชน ไม่ไดอ้ ีกแลว้ “มันไม่โอเคเลยทเ่ี มืองของเราถูก มขี บวนพาเหรดตา่ งๆ ทแี่ ตง่ กายดว้ ยเสอื้ ผา้ หลากสสี นั (Social Entrepreneur) เชน่ การมขี ึ้นของ จัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีระบบการศึกษาและ พรอ้ มหนา้ กากทรงแปลกตาประดบั บนใบหนา้ ผคู้ นจะ Propeler องคก์ รบม่ เพาะผปู้ ระกอบการเพอ่ื สงั คม ระบบสาธารณสุขที่แย่ที่สุดในประเทศ แต่ผม เฉลิมฉลองดว้ ยการกนิ ด่ืม และเตน้ ร�ำ โดยส�ำ นักขา่ ว (Social Innovation Incubator) ทใี่ หค้ วาม เชื่อว่า เรากำ�ลังมผี ปู้ ระกอบการใหม่ๆ ทจ่ี ะทำ� ประจ�ำ นวิ ออลนี สค์ าดวา่ สนิ้ ปี2015 นจ้ี ะมนี กั ทอ่ งเทยี่ ว ช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะชาวผิวสีให้มี ให้ชาวเมืองมีปากมีเสียง และพร้อมที่จะสร้าง มากกวา่ 1 ล้านคนเดนิ ทางมารว่ มงานและจะส่งผลให้ โอกาสเร่ิมต้นธุรกิจของตัวเองเพื่อตั้งต้นชีวิต สงั คมใหม่ให้ดขี ึ้นได้” มีเงนิ สะพัดกว่า 144 ล้านเหรยี ญสหรฐั ฯ ใหม่อกี คร้ัง The Good Work Network องค์กร ซ่งึ กระบอกเสยี งเล็กๆ ของสตารท์ อัพเพ่อื นิวออลีนส์คือจุดเร่ิมต้นของหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จัดต้ังข้ึนหลังเฮอริเคนแคทรีนาเพื่อให้ความ สังคมเหล่าน้ีคงเป็นความหวังท่ีจะสมานความ เชน่ ดนตรแี จส๊ โอเปร่า โรงภาพยนตร์ และการเลน่ ไพ่ ชว่ ยเหลอื และสนบั สนนุ ประชาชนระดบั รากหญา้ เปน็ เมอื งคขู่ นานของนวิ ออลนี สใ์ หก้ ลบั มาเชอ่ื ม โปก๊ เกอร์ รวมทัง้ เรื่องความลึกลับปนสยองของแมม่ ด โดยเฉพาะผหู้ ญงิ ใหส้ ามารถมอี าชพี หรอื มธี รุ กจิ ต่อกันไดใ้ นไม่ชา้ มารี ลาโว (Marie Laveau) ราชินีวดู แู ห่งนวิ ออลีนส์ ท่ี เล็กๆ ของตวั เองเพอื่ กระตุ้นเศรษฐกจิ ในชมุ ชน เชอื่ กนั วา่ สามารถสาปใครใหเ้ ป็นอะไรก็ได้ และเพราะ หรอื บริษัท InnoGenomics ท่ีคดิ ค้นนวตั กรรม บรรยากาศท่ีมกี ลน่ิ อายนา่ กลัวนเ้ี อง ภาพยนตรแ์ ละซรี ีส์ การตรวจสอบดเี อน็ เอใหส้ ามารถระบตุ วั ตนของ ตา่ งๆ ที่ชอบผกู เรอ่ื งเกย่ี วกบั ความเชอ่ื และพธิ กี รรม จงึ เหยอื่ หรอื ผเู้ คราะหร์ า้ ยในเหตกุ ารณท์ ไี่ มค่ าดคดิ มกั ให้นวิ ออลีนส์เป็นฉากหลังของเร่ือง เชน่ ซีรสี ์เร่ือง หรอื ภยั พบิ ตั ติ า่ งๆ ทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ ไดอ้ กี ซงึ่ ส�ำ นกั American Horror Story และ True Blood DRIC(Cท(OA“nตพIeeม่ีnsoinrtุลฤlcceyoaาoKาศoi:avlsaคefTจivanoบoetsมิกersttrnทciinาro-LS2YคhyยaMent0o”วaนH'a1sauาHr(4urtnมWkธ2un-)big0ันnbuea?“จ1gp?dวkNE4า”H”าen)กeCtคe((,htwมเจrirมNgeมteeถิyาoeOpษ'กsนุL2viwreาnr0Wาetlaยese1ยnOsAhbนa3cนoeym)crnhnul2e2ns.Gs0erจc0aseR1roาE”1oinwi3cs5กfmsSe())asตHaจ.Esnจg”/uyุลาnDeาosกr(jาorบกxeส.i'คcctYynทcิงctมoeasehหaคimstnSexาdวy'2tt”eaคcaาe.0o/(tมมir1KtกlArtay1วguaัน.f2n“)กิopttยH0etr/ิพriiจg1าncBorเี 1ายบao.Klด/c)กyนaoท?ยี owบ”mtจคu2mroทiาว0(nn”oกกค1าad/(dร4มวธeiบกb)nานั rSฎทมu3c“จoว0t.าคNาาucc“GควกคetoTehมาhawมmf:oมeop2W.2rOcs/0bB“0hoRN1ir1egบlym5ee1es)ท.m)CaNwcค/nจoจeoaOวsาmาwmiบnากกriel”มทseO/btnค(aMhrสapบ“lวnee2oงิcrทาs.gaห5vokมคCun:iาrnRวgasuคIse“gาrtIม1/dมssaN0FiMst2บearho“o0YwnทuIenn1me.rคsc5dsNOaiว)odWeDreาrmsreจlewมhyRาAsayNaก/ff“nuetNtMWensบenweyrcoทhAUwtOvttyคimsmihioieวrnNOeelneeา-gerrMมsaiSlwce.tDtcnoaoaaa“osOkr'nNDstmmDiasnreaNlae:giw/AtsetaHaaCnxบtna-Oh-taaทsDDseGlrypคilrresNitirBiวvvitaetceeaาeheanswมslenn””stt กันยายน 2558 l Creative Thailand l 27

THE CREATIVE มุมมองของนกั คดิ เรอ่ื ง: นนั ท์นรี พานชิ กลุ ภาพ: รงั สิมันต์ สิทธพิ งษ์ 28 l Creative Thailand l กนั ยายน 2558

THE CREATIVE มมุ มองของนกั คดิ การเป็นคนมีไอเดียอย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำ�นั้นไม่มีความหมาย ในมุมมองของ “นที แสง” เจ้าของและซีอีโอ Makerspace Thailand เมกเกอร์สเปซจากเชียงใหม่ท่ีเพ่ิงเปิดตัวเม่ือเดือน มกราคมที่ผา่ นมา สำ�หรบั ผูท้ ีค่ รํ่าหวอดในแวดวงสรา้ งสรรคแ์ ละ นวตั กรรมในฐานะผปู้ ระกอบการดอทคอมมาหลายสบิ ปอี ยา่ งนที ไม่เพียงแค่จินตนาการท่ีสำ�คัญ แต่เป็นจินตนาการบวกกับการ กระทำ�ต่างหาก ที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง พื้นท่ีอย่างเมกเกอร์สเปซนั้นจึงนับเป็นพ้ืนท่ีสำ�คัญ ในฐานะจุด เริ่มต้นท่ีเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีไอเดียได้มาเป็นเมกเกอร์ ได้มา ทดลองสร้างงานต้นแบบและลงมือผลิตของที่อาจพลิกโลก อนาคต โลกที่การแบ่งปันและการเข้าถึงท้ังเคร่ืองมือและองค์ ความรู้ คอื หวั ใจของการสรา้ งนวัตกรรม คนทวั่ ไปที่อาจจะไมค่ ุ้นเคยกับแนวคดิ ของเมกเกอร์หรอื มองวา่ พนื้ ทอี่ ยา่ งเมกเกอรส์ เปซเปน็ เรอ่ื งของโอกาสการ เมกเกอร์สเปซ อาจจะมองว่าเพราะคนไทยเราไมช่ อบท�ำ เขา้ ถึงเครื่องมอื ในการผลิตอีกแบบหน่งึ อะไรเอง คณุ เหน็ ด้วยหรือไม่ ใชค่ รบั ปกตเิ ครอ่ื งมอื เหลา่ นแี้ พงมากส�ำ หรบั คนทวั่ ไป เครอ่ื งพมิ พส์ ามมติ ิ ผมไดย้ นิ คนไทยโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ คนกรงุ เทพฯ พดู ท�ำ นองนเ้ี ยอะ “คนไทย ของผมราคาเครอ่ื งละ 32,000 บาท แตท่ อ่ี นื่ บางเครอ่ื งราคาอาจขนึ้ ไปเปน็ จริงๆ ไม่ใช่เมกเกอร์” หรือ “คนไทยไม่ใช่คน DIY” แต่ผมไม่เห็นด้วย 120,000 บาท เครอ่ื งเลเซอร์คัตเตอร์ท่ผี มมีราคาเป็นแสน ใครจะซอื้ มาใช้ เมอื งไทยเตม็ ไปดว้ ยเมกเกอร์ ของทสี่ รา้ งอาจจะไมไ่ ดด้ แู ฟนซมี ากเหมอื น ทบ่ี า้ นใชไ่ หม แตต่ อนนกี้ ระแสของโลกก�ำ ลงั มาทางกระบวนการผลติ แบบ ที่เราอาจจะเห็นจากเมกเกอร์ในสหรัฐฯ แต่ผมมองว่ามันน่าต่ืนตาตื่นใจ ดิจิทัล (Digital Fabrication) ท่ีชว่ ยใหก้ ารผลติ งา่ ยข้ึน เราไมจ่ �ำ เป็นตอ้ ง มากกวา่ แลว้ นก่ี เ็ ปน็ เหตผุ ลทผ่ี มเปดิ เมกเกอรส์ เปซดว้ ย ลองมองไปรอบๆ ทำ�ทกุ อย่างดว้ ยมอื อกี ต่อไป ให้คอมพวิ เตอรท์ �ำ แทน แนน่ อนว่างานทีไ่ ด้ สิครับ ทุกคนสร้างอะไรบางอย่างกนั อย่ตู ลอดเวลา ซึ่งแนน่ อนถา้ มองจาก ออกมาไมส่ มบรู ณแ์ บบ ยงั ตอ้ งลงไมล้ งมอื ท�ำ อะไรเพมิ่ เตมิ อกี แตม่ นั งา่ ย มุมของคนที่ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัย มันอาจจะไม่ได้สวย ไม่ได้ ขน้ึ เยอะ ซง่ึ เราอยากใหค้ นมาลองเลน่ กบั เครอื่ งมอื ลองเลน่ กบั เทคโนโลยี ออกแบบมาดี แตม่ นั เปน็ ของทถี่ กู สรา้ งขนึ้ มาเพอ่ื ใชง้ านจรงิ ๆ ค�ำ เรยี กของ และสร้างสรรคอ์ ะไรบางอย่างขน้ึ มา พวกนท้ี ีพ่ ักหลังได้ยนิ บอ่ ยหนอ่ ยคอื “เทคโนโลยชี าวบ้าน” ส�ำ หรบั ผม คน เพื่อให้คนท่ัวไปเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ผมถึงคิดราคา ทท่ี ำ�ของพวกนี้ตา่ งหากทเ่ี ป็นเมกเกอรต์ ัวจรงิ ของเมืองไทย สมาชกิ Makerspace เดอื นละ 2,500 บาท คดิ ค่าใช้เครอ่ื งพมิ พส์ ามมติ ิ สองสามปีหลังๆ ผมเห็นตัวอย่างนวัตกรรมท่ีน่าสนใจจากท้องถนน ชัว่ โมงละ 30 บาท คดิ ค่าใช้งานเครอื่ งเลเซอร์คตั เตอร์ชั่วโมงละ 50 บาท ของกรงุ เทพฯ อยา่ งร้านรถเขน็ ไกย่ ่างทใี่ ชพ้ ัดลมมอเตอร์ไฟฟา้ ดูดควนั น่ี แต่ที่อ่นื บางทค่ี ิดค่าใชง้ านเครอ่ื งพมิ พ์สามมิติชว่ั โมงละ 200 - 300 บาท แหละคือ DIY โดยไม่ต้องให้อาจารย์มหาวิทยาลัยสอนว่าจะออกแบบ เครอื่ งเลเซอรค์ ตั เตอรน์ ปี่ กตแิ ลว้ เขาคดิ กนั นาทลี ะ 30 บาทนะครบั ใครจะ เครื่องดูดอากาศสำ�หรับรถเข็นขายไก่ย่างยังไง คนไทยเป็นคนช่างคิด ใชง้ านเครอ่ื งเลน่ ๆ ถา้ ราคาคา่ ใชบ้ รกิ ารแพงขนาดนน้ั กลบั กนั ถา้ มนั ชว่ั โมง ชา่ งประดษิ ฐ์ เรามที รพั ยากรจ�ำ กดั แตเ่ รารวมสองสงิ่ นเี้ ขา้ ดว้ ยกนั แลว้ สรา้ ง ละแค่ 30 บาท คนอาจจะรู้สึกอยากทดลองสร้างอะไรข้ึนมามากกว่า ส่ิงประดษิ ฐอ์ อกมาได้ ผมคดิ วา่ ถ้าผมสามารถสร้างเครือ่ งพิมพส์ ามมติ ิ มี ประเดน็ คอื เราอยากใหค้ นมาลองเล่นกบั เคร่ืองมอื ซ่ึงตอนนีเ้ รามีสมาชิก เครื่องเลเซอร์คัตเตอร์หรือเคร่ืองซีเอ็นซีแมชชีน แล้วเปิดให้เมกเกอร์ไทย คนไทยไม่น้อยเลยทีใ่ ช้เคร่ืองมือท�ำ ของท่ีน่าสนใจออกมามากมาย ไอเดยี เหลา่ นัน้ ได้เข้ามาใช้งาน ลองจนิ ตนาการส่งิ ตา่ งๆ ท่พี วกเขาจะสรา้ งขึ้น ดีๆ จะชว่ ยเปดิ มมุ มองเราใหก้ ว้างขนึ้ ซง่ึ ส่ิงเหลา่ นี้ก่อนหนา้ นีค้ นธรรมดา สคิ รบั นนั่ อาจจะเปน็ ปรชั ญาในการเปดิ พน้ื ทที่ �ำ งานแบบนใ้ี นเมอื งไทยดว้ ย ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน เราคิดว่าพื้นท่ีเมกเกอร์สเปซจะช่วยขยายขอบเขต โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในเชียงใหม่ เมืองท่ียงั มพี น้ื ที่ใหเ้ ราไดท้ ดลองสรา้ งของ ศักยภาพของคนใหก้ ว้างขวางข้ึน ให้เปน็ คนท่ีมคี วามคดิ สร้างสรรค์อย่าง สร้างอะไรขึ้นมาแบบจริงๆ จงั ๆ แท้จริง กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 29

THE CREATIVE มมุ มองของนกั คดิ คณุ เคยให้สมั ภาษณ์ไว้ว่าเรากำ�ลังอยู่ในยคุ Industrial ในโลกท่ีแทบจะทุกอย่างถกู ควบคมุ โดยคอมพิวเตอร์ ท�ำ ไม Revolution 2.0 ช่วยขยายความใหฟ้ ังได้ไหม การมีทักษะฝีมือ การลงมือทำ�งานจริง และเรียนรู้การใช้ แนวคิดคืออยา่ งนี้ครับ ตง้ั แตก่ ารปฏิวัตอิ ตุ สาหกรรมคร้งั สุดท้าย การจะ เคร่ืองมือท้ังแบบเดิมหรือเคร่ืองมือดิจิทัลจึงยังเป็นเร่ือง สรา้ งนวตั กรรมตา่ งๆ ขน้ึ มาตอ้ งใชเ้ งนิ มหาศาล ดงั นนั้ จะมแี ตบ่ รษิ ทั ขนาด สำ�คัญ ใหญ่อย่างจีอีหรือกูเกิลที่สามารถลงทุนในเทคโนโลยีได้ แต่เมื่อมี ผมว่าการท่ีเมืองไทยยังคงมีคนท่ีมีทักษะมีฝีมือมากกว่าเป็นข้อได้เปรียบ อินเทอร์เน็ต ส่ิงที่เคยเป็นการผูกขาดโดยบริษัทขนาดใหญ่ก็เปลี่ยนไป ในโลกใหมท่ กี่ �ำ ลงั จะมาถงึ ในสหรฐั ฯ ทกั ษะการท�ำ มอื หลายๆ อยา่ งก�ำ ลงั นวตั กรรมราคาถกู ลง แทนทคี่ นจบเอม็ บเี อจะเขยี นแผนธรุ กจิ เอาไปขอทนุ หายไปกลายเป็น White Colar Culture ทีท่ กุ คนทำ�งานแต่ในสำ�นักงาน คนกแ็ คล่ องโคด้ ตน้ แบบ สรา้ งตน้ แบบขนึ้ มา แลว้ คอ่ ยเอาไปเสนอนกั ลงทนุ แต่ท่ีเมืองไทยคนยังใช้มือ ยังมีทักษะ ดังนั้นพวกเขามีความเข้าใจเร่ือง ซง่ึ ถา้ นกั ลงทนุ สนใจกใ็ หเ้ งนิ ลงทนุ ตง้ั บรษิ ทั แลว้ ถงึ คอ่ ยจา้ งคนจบเอม็ บเี อ วสั ดุ ตอ้ งเขา้ ใจว่าเครื่องมือดจิ ทิ ลั (Digital Tools) ไม่ไดจ้ ะเข้ามาแทนที่ มาทำ�งานให้ เราเห็นการเกิดขึ้นของยุคดอทคอม ยุคโซเชียล 2.0 ยุค ทกั ษะฝมี อื นะครบั แตม่ าเพอ่ื ชว่ ยสองมอื มนษุ ย์ เราอาจจะบอกวา่ “กจ็ รงิ ๆ โซเชยี ลมเี ดยี แลว้ กย็ คุ โมบายแอพพลเิ คชนั่ ทกุ อยา่ งเปน็ นวตั กรรมทสี่ รา้ ง เครอื่ งพมิ พส์ ามมติ กิ พ็ มิ พไ์ ดท้ กุ อยา่ ง” ผมมสี มาชกิ บางคนทบ่ี อกวา่ มแี บบ ไดด้ ว้ ยเทคโนโลยที ร่ี าคาไมแ่ พง แต่ทุกอยา่ งเกิดขน้ึ ในโลกเสมือน แล้วอยากลองสร้างข้ึนมาด้วยเคร่ืองพิมพ์สามมิติท้ังหมด สำ�หรับผม ส่ิงที่เราเห็นตอนนี้ตา่ งออกไป มนั ไมใ่ ช่แคโ่ ลกเสมือนแตเ่ ป็นโลกจรงิ เครอ่ื งพมิ พส์ ามมติ เิ อาไวผ้ ลติ ชนิ้ สว่ นประกอบ ผมท�ำ ชนิ้ สว่ นประกอบของ ดว้ ย เครื่องมือในกระบวนการผลติ แบบดิจิทัลท�ำ ให้การผลิตส่งิ ต่างๆ เริ่ม งานต้นแบบดว้ ยวัสดุอน่ื ดว้ ยเครอ่ื งมืออ่ืนก็ได้ ไม่จ�ำ เป็นว่าทั้งชิ้นตอ้ งท�ำ มีราคาถูกลง ก่อนน้ีเราเห็นการเกิดข้ึนคร้ังยิ่งใหญ่ของนวัตกรรมในโลก จากพลาสติก ซง่ึ นั่นท�ำ ให้ผมสร้างของท่ซี บั ซอ้ นขนึ้ มาได้ เสมือน ซึง่ ตอนนก้ี ็ก�ำ ลังเกิดขึน้ ในโลกจรงิ ในอตั ราเร่งเดยี วกัน ย่งิ บวกกบั ถ้าเราเข้าใจวธิ กี ารใช้เครอ่ื งมือ เขา้ ใจทักษะการใชม้ อื ของเรา เราจะ ท่ีผมเพ่ิงพูดไปว่าคนไทยเป็นเมกเกอร์โดยธรรมชาติ นั่นย่ิงทำ�ให้เรามีข้อ สามารถท�ำ ของทไ่ี มเ่ พยี งแตส่ วยขน้ึ แตม่ นี วตั กรรมมากขนึ้ ไดด้ ว้ ย ยงิ่ เมอื ง ได้เปรียบในเชงิ แข่งขันอย่างมหาศาลในโลกใหม่ ส�ำ คัญมากท่ีเราจะต้อง ไทยยงั เปน็ ประเทศฐานการผลติ ดว้ ยแลว้ แถมยงั เปน็ ประเทศทมี่ วี ฒั นธรรม จับกระแสที่ผมเรยี กว่า Industrial Revolution 2.0 ที่ทำ�ใหน้ วตั กรรมใน ความคดิ สรา้ งสรรคส์ งู ผมคดิ วา่ ในอนาคตมนั จะเปน็ สง่ิ ทพ่ี าเราไปขา้ งหนา้ โลกจรงิ ราคาถกู ลงไปตามกาลเวลา และพน้ื ทอ่ี ยา่ งเมกเกอรส์ เปซจะกลาย ตอนนยี้ งั อาจจะเป็นยคุ แรกเรม่ิ ของกระบวนการผลติ แบบดจิ ทิ ลั แตน่ นั่ ยง่ิ เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม ท�ำ ใหเ้ ราตอ้ งชว่ ยใหค้ นเขา้ ใจวธิ กี ารใชเ้ ครอ่ื งมอื เหลา่ น้ี ใหค้ นุ้ เคยกับการใช้ เครื่องมอื เหล่าน้ี ใหร้ สู้ กึ ตนื่ เต้น ให้ไดล้ องใช้เครอ่ื งมอื สร้างสรรค์สิ่งตา่ งๆ พ้ืนท่ีอย่างเมกเกอร์สเปซจะมีบทบาทช่วยสร้างอนาคต ไดอ้ ย่างไร ตอนผมยงั สอนหนงั สอื ในมหาวทิ ยาลยั ผมถามนกั เรยี นวา่ “ตอนนส้ี ถานะ ของประเทศไทยในโลกเปน็ ยังไง” ทกุ คนก็ตอบวา่ “เราเปน็ ประเทศก�ำ ลัง พัฒนา จวนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” ตอนทผี่ มยังเรียนหนงั สอื ผมก็ เรยี นวา่ “ไทยเป็นประเทศกำ�ลังพัฒนา จวนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” ยอ้ นกลบั ไปสมยั พอ่ แม่ ตอนนน้ั เมอื งไทยกเ็ ปน็ “ประเทศก�ำ ลงั พฒั นา จวน จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” เราจวนจะเปน็ ประเทศพฒั นาแล้วมา 60 ปี นน่ั หมายความวา่ เราจะไมม่ วี นั เปน็ ประเทศพฒั นาแลว้ ถา้ ยงั เดนิ หนา้ กนั แบบนี้ ผมคดิ วา่ ต้องเปน็ ผูค้ นจากภาคเอกชนท่ีต้องลุกขนึ้ มา เรากำ�ลงั อย่ใู น ยุคแรกเริ่มของกระบวนการผลิตแบบดิจิทัล ดังนั้นสิ่งท่ีเราต้องการคือ โครงสรา้ งพน้ื ฐาน เราตอ้ งมพี น้ื ทส่ี �ำ หรบั การสรา้ งเมกเกอรส์ เปซ ตอ่ จากนน้ั เรากต็ ้องเรียนรูเ้ รื่องการใช้เครอื่ งมอื หมายถึงชั้นเรียนหรือการเรียนการ สอนบางอย่างที่จะช่วยเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องน้ีให้กว้างขวางไปท่ัว ประเทศ อยา่ ง Makerspace เอง เราเพ่ิงเปดิ ที่เชยี งใหม่ แตใ่ นอนาคต 30 l Creative Thailand l สงิ หาคม 2558

THE CREATIVE มมุ มองของนกั คดิ ผมว่านวัตกรรมเปล่ียนโลกช้ินถัดไป คงไมไ่ ดม้ าจากท่อี ย่างแอปเปลิ แต่มา จากเมกเกอร์สเปซ อนาคตอย่ทู ่นี ี่ ด้ ว ย ลั ก ษ ณ ะ แ ล ะ วิ ธี ก า ร จั ด ก า ร เมกเกอร์สเปซในรปู แบบน้ี เราเคยได้ เ ห็ น ก า ร เ กิ ด ขึ้ น ข อ ง กู เ กิ ล ห รื อ แอมะซอนจากการมีอินเทอร์เน็ต ถ้าง้ันมันก็เข้าใจได้ว่าทำ�ไมพื้นที่เช่น นี้จะกลายเป็นที่บ่มเพาะบริษัทชั้นนำ� แบบนนั้ ในอนาคต ขา้ งหนา้ เราตง้ั เปา้ ไวว้ า่ อยากไปเปดิ สาขาใหท้ ว่ั ทกุ ภมู ภิ าค เราอยากขยาย แนวทางทจ่ี ะท�ำ ใหพ้ น้ื ทเ่ี มกเกอรส์ เปซประสบความส�ำ เรจ็ องคค์ วามรู้ และให้คนสามารถเข้าถึงเคร่อื งมอื เข้าถงึ องคค์ วามรู้ เรายงั และสรา้ งความเปลี่ยนแปลงจริงๆ คือ สร้างพื้นที่ท่ีมีความเป็นนานาชาติ เราอยากให้คนไทยมาใช้ แต่ในเวลา ตอ้ งไมใ่ ชธ่ รุ กจิ การใหบ้ รกิ ารเครอื่ งมอื แตต่ อ้ งพงุ่ ประเดน็ ไปวา่ เราใชพ้ น้ื ท่ี เดียวกันเราก็ต้อนรับชาวต่างชาติ ไม่ใช่แค่มาสร้างของแต่มาแบ่งปัน และเครอ่ื งมอื พวกนสี้ รา้ งอะไรไดม้ ากกวา่ ผมไมไ่ ดเ้ ปดิ Makerspace เพอื่ องค์ความรู้ด้วยกับคนไทย ซึ่งเป็นไปด้วยดี เรามีสมาชิกทั้งคนไทยและ พดู วา่ ผมเปน็ เจา้ ของ ผมใหค้ นอนื่ มาใช้เครอื่ งมอื ทผี่ มลงทนุ ผมเองผมกใ็ ช้ ชาวตา่ งชาตซิ ง่ึ แบง่ ปนั ความรทู้ ไี่ ดร้ บั ซงึ่ กนั และกนั มนั ไมใ่ ชแ่ คฝ่ รง่ั เขา้ มา ผมก็อยากสร้างของเหมือนกัน สิ่งท่ีเราสามารถสร้างได้ทำ�ได้ที่น่ีไม่มีขีด แลว้ ชน้ี วิ้ ๆ สงั่ คนไทย แตพ่ วกเขากเ็ รยี นรอู้ ะไรจากคนไทยเยอะเหมอื นกนั จ�ำ กดั เลย เราพดู วา่ นวตั กรรมมาจากของเหลา่ น้ี น่ไี งครับ มันข้ึนกบั ไอเดีย นะครับ สมาชกิ ตา่ งชาตสิ ่วนใหญร่ ู้วิธีการใช้เครื่องมือเหล่านสี้ รา้ งของท่ี ความคิดที่เราอยากผลิตขึ้นมา ของท่ีเราผลิตขึ้นมาต่างหากที่จะสร้าง น่าสนใจต่างๆ อยู่แล้ว ซ่ึงสมาชิกคนไทยอาจจะต้องใช้เวลานิดหน่อยท่ี รายได้ สร้างกำ�ไรอย่างแท้จริงให้กับเมกเกอร์สเปซ คุณจะมัวแต่นั่งรอ จะตามใหท้ ัน แตก่ ารมีชาวต่างชาตเิ ปน็ ส่วนหน่งึ เป็นเรือ่ งทดี่ ี คนไทยก็จะ เกบ็ คา่ สมาชกิ ไมไ่ ด้ คณุ ตอ้ งลกุ ขนึ้ สรา้ งโนน่ นนี่ น่ั เองดว้ ย ไมง่ นั้ ผมจะเปดิ ได้พัฒนาขีดความสามารถเช่นกัน ผมมองมันเป็นแนวทางการพัฒนา เมกเกอรส์ เปซทำ�ไม ถ้าตวั ผมไมไ่ ดเ้ ป็นเมกเกอร์ มันคงตลกนา่ ดู ในเชิงวา่ ทำ�อย่างไรให้ไทยเปน็ ประเทศที่พฒั นา ไมใ่ ชจ่ วนเจียนจะพฒั นา ท่ี Makerspace เรากำ�ลังทำ�ต้นแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์สำ�หรับ แต่ไม่พฒั นาเสยี ที รกั ษาเท้าปุก1 โดยเปน็ เหมอื นเฝอื กอ่อน วัสดเุ ป็นแผ่นเทอร์โมพลาสตกิ ที่ ผ่านมาตรฐาน FDAซึ่งเราตัดตามแบบดว้ ยเครือ่ งมือที่เรามี วิธีใชค้ อื นำ�ไป แชน่ า้ํ อุณหภมู ิ 60 องศาเซลเซยี สใหน้ ิม่ แลว้ ดดั รูปทรงกอ่ นราดนํ้าเย็นให้ คงตวั ถ้าอยากดดั รูปเทา้ อีกครัง้ ก็แคใ่ ชไ้ ดรเ์ ปา่ ผมเป่าใหน้ ่ิม ดัดเฝอื กแลว้ ราดน้าํ การรกั ษาท่ีเคยต้องใชเ้ วลา 40 นาที กลายเป็น 5 นาที พลาสตกิ กต็ น้ ทนุ ถกู พอๆ กบั การหลอ่ เฝอื ก ผลติ ซาํ้ ใหมก่ ไ็ ด้ ใสซ่ องสง่ ไปรษณยี ไ์ ป ทไ่ี หนในโลกกง็ า่ ย นค่ี อื สง่ิ ทเี่ ราท�ำ ไดจ้ ากเมกเกอรส์ เปซ เมอ่ื กอ่ นแคค่ ดิ ถงึ เทอร์โมพลาสตกิ หรอื กระบวนการผลิตแบบโรงงาน คนธรรมดาๆ คงไมม่ ี ทางท�ำ ได้ มนั กข็ น้ึ กบั เราในฐานะ Creative Individual แลว้ วา่ จะท�ำ อะไร ความเปน็ ไปไดค้ อื อะไร ดปู ญั หาทกี่ �ำ ลงั เกดิ ขนึ้ บนโลกแลว้ ใชก้ ระบวนการ คดิ เชงิ ออกแบบเพอ่ื สรา้ งวธิ แี กป้ ญั หาใหมๆ่ จรงิ ๆ นะ ผมวา่ นวตั กรรมเปลย่ี น 1 โรคเทา้ ปกุ เปน็ ความผดิ ปกตขิ องเทา้ ตง้ั แตก่ �ำ เนดิ ประเภทหนง่ึ โดยขอ้ เทา้ จะจกิ ลงลา่ ง บดิ เขา้ ใน และฝา่ เทา้ หงายขน้ึ อาจเปน็ ขา้ งเดยี ว สงิ หาคม 2558 l Creative Thailand l 31 หรอื ทง้ั สองขา้ ง การรักษาตอ้ งใช้การดัดเทา้ และควบคมุ ดว้ ยเฝือกหรือรองเทา้ พิเศษ เพ่ือให้เทา้ กลับมีรูปรา่ งที่ปกติอย่างสมบูรณ์

THE CREATIVE มุมมองของนักคิด โลกชิ้นถัดไปคงไม่ได้มาจากท่ีอย่างแอปเปิล แต่มาจากเมกเกอร์สเปซ เราต้องมองโลกตามวิถตี ะวันตก ในเม่ือถา้ เงื่อนไขเดียวคือมนั มอี ยูใ่ นโลก อนาคตอยูท่ ่นี ่ี ด้วยลักษณะและวิธีการจัดการเมกเกอร์สเปซในรูปแบบน้ี จรงิ บา้ นเรายงั มชี า่ งฝมี อื ท�ำ ของทสี่ บื ทอดทกั ษะเปน็ มรดกตกทอดมาเปน็ เราเคยได้เห็นการเกิดข้ึนของกูเกิลหรือแอมะซอนจากการมีอินเทอร์เน็ต รอ้ ยๆ ปี น่คี ือเมกเกอรท์ ี่เราควรชืน่ ชม ส�ำ หรบั ผมพวกเขาคอื เมกเกอรแ์ ละ ถา้ งน้ั มนั กเ็ ขา้ ใจไดว้ า่ ท�ำ ไมพื้นที่เช่นน้จี ะกลายเปน็ ทีบ่ ่มเพาะบริษัทชน้ั นำ� คือเหตผุ ลท่ผี มบอกว่าบ้านเราเตม็ ไปด้วยเมกเกอร์ แบบนนั้ ในอนาคต ถ้าในเชิงการให้ทุนหรือการสนับสนุนโครงการของ CREATIVE INGREDIENTS เมกเกอร์ไทย ควรจะเปน็ โครงการแบบไหน หนงั สอื ท่ีอ่านแล้วให้แง่คดิ ส�ำ หรับผม เรามีศักยภาพในเชงิ เกษตรกรรม ในเชิงการผลติ และในเชงิ ผมอา่ น Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking  การทอ่ งเที่ยว ถ้ามีโครงการเมกเกอรใ์ นกลุ่มสามอุตสาหกรรมท็อปทรีนีก้ ็ โดย Susan Cain  เพอื่ ทำ�ความเขา้ ใจตัวเองในเชงิ จติ วทิ ยาเรือ่ งการเป็นคนมี เยีย่ ม ยกตัวอยา่ ง เพิ่งมี Maker Party ไปเม่อื สองสามเดือนก่อน ซ่งึ จัด บคุ ลิกเกบ็ ตวั และมโี ลกส่วนตัวสงู นอกจากนน้ั ก็มี StrengthsFinder 2.0 ของ โดย Maker Club เชียงใหม่ ในงานมีกิจกรรม Pitching Event ซึ่งมี Tom Rath แลว้ ก็หนงั สือของหลวงพอ่ ชา ทีผ่ มอา่ นเปน็ แนวทางในการปฏบิ ัติ โครงการหนึ่งที่ผมบอกเลยว่าเย่ียมมาก คือผู้ชายคนหนึ่งขอทุนทำ�โดรน และท�ำ สมาธิสมัยบวชเป็นพระทว่ี ัดอรณุ ราชวราราม ขับเคล่ือนอัตโนมตั สิ �ำ หรบั การท�ำ การเกษตร เขาได้ไปสามหมืน่ บาทตาม ส่งิ ท่ีตอ้ งทำ�เป็นประจำ�ทกุ วัน ท่ีเขาขอมาแบบไม่มีข้อผูกมัด โครงการที่สนับสนุนต่อยอดสิ่งที่คนไทย อา่ นขา่ ว ตอ้ งรวู้ า่ เกดิ อะไรขน้ึ บนโลก แลว้ กอ็ า่ นบลอ็ กออนไลน์ ชอบ lifehacker.com ท�ำ ไดด้ อี ยแู่ ลว้ แบบนี้ พวกเรายนิ ดชี ว่ ย ภาคการเกษตรของเราใหญอ่ ยแู่ ลว้ ชอบ instructables.com เปน็ แหลง่ รวมความรชู้ น้ั ยอดในการสรา้ งสง่ิ ตา่ งๆ แลว้ ด้วย นา่ จะมีทใ่ี ห้ทดลองไดเ้ ยอะดี และไมต่ ้องการเงินมากในการสรา้ งมัน กเ็ ลน่ เกมคอมพวิ เตอร์ พยายามเลน่ อยา่ งนอ้ ยวนั ละนดิ เลน่ WorldofWarships ข้ึนมา และน่าจะขายได้ คือสมมติถ้าเป็นแค่คนเดียวเดี่ยวๆ แล้วสนใจ ผมยงั ดแู อนิเมชนั เม่อื ก่อนเคยเปน็ ประธานชมรมแอนิเมชันที่ UCLA เคยเป็น เร่อื งอิเลก็ ทรอนิกส์ อยากเปน็ เมกเกอร์อิเลก็ ทรอนกิ ส์ ก็โอเค ทำ�เลย แต่ ผู้อำ�นวยการ Anime Expo ซง่ึ เป็นคอนเวนชั่นทีใ่ หญท่ ่สี ดุ นอกญป่ี ่นุ น่ีเราก�ำ ลงั พูดถึงเราในฐานะประเทศ วา่ จะพฒั นาอย่างไร จะเปน็ ประเทศ โครงการหรือเมกเกอรส์ เปซทช่ี อบ พัฒนาแล้วอย่างไร เราคงบอกไม่ได้หรือไม่ควรพูดว่า ทุกคนสร้างงาน ผมประทบั ใจ MakerBay ท่ีฮ่องกง ของซีซาร์ ฮาราดะ (makerbay.org) ซึ่ง อิเล็กทรอนิกส์ จะให้ไปบอกเกษตรกรว่าสร้างงานอิเล็กทรอนิกส์กันก็คง พฒั นานวัตกรรมหุ่นยนตท์ างน้ําแบบโอเพน่ ซอร์ซช่ือ Protie เพอื่ ใช้ส�ำ หรับการ ไมใ่ ช่ สำ�รวจทางทะเลต่างๆ เช่น มลภาวะ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเดียดได้ที่ คือไมใ่ ชด่ ูวา่ ทซ่ี ลิ ิคอน แวลลีย์ท�ำ อะไร ก็ทำ�อนั น้ัน คนหลายคนชอบ scoutbots.com พูดอย่างนั้น มันเป็นก็อปป้ีแคทซินโดรม ถ้าเรากำ�ลังพูดว่าเรากำ�ลังจะ Paradigm Shift หรอื เปลยี่ นทัง้ ประเทศ ผมขอโทษนะ ถา้ จะบอกว่าให้ Makerspace Thailand ลอกซลิ คิ อน แวลลยี ์ คนไทยกคี่ นทจ่ี ะสามารถเขา้ ไปมสี ว่ นรว่ มได้ นอ้ ยมากๆ 7/2 ซอย 4 ถ.ราชด�ำ เนิน ต.พระสงิ ห์ อ.เมืองเชยี งใหม่ จ.เชยี งใหม่ 50200 กลบั กนั ถา้ บอกวา่ จะผลติ รถยนตล์ ะ่ โครงการถดั ไปที่ Makerspace จะท�ำ โทร. 0918591572 คือเราจะแฮ็กรถสกูตเตอร์เป็นรถโกคาร์ท เรามที ะเบยี นส�ำ หรับรถสามลอ้ facebook.com/makerspaceth เราเป็นประเทศทอ็ ปเทน็ ผู้ผลิตรถยนต์ เราเป็นทห่ี นึง่ ในการผลติ รถปกิ อพั ของโลก ทีห่ นง่ึ ในการผลิตมอเตอร์ไซค์ของโลก มนั ไมส่ มเหตสุ มผลกว่า เหรอถ้าเราจะผลิตนวัตกรรมในหมวดน้ี ผมเพ่ิงไปงานเมกเกอร์แฟร์ท่ี เซนิ เจน้ิ มงี านเมกเกอรท์ เี่ ปน็ งานอเิ ลก็ ทรอนกิ สเ์ ยอะมากเพราะคนจนี ถนดั แลว้ เราถนัดอะไรละ่ เราเก่งอะไร ก็ควรท�ำ ส่ิงนนั้ นยิ ามการเปน็ เมกเกอร์ในศตวรรษท่ี 21 ของคณุ คอื คนเถียงกนั เยอะมาก ต้องเป็นนกั ประดิษฐ์ ตอ้ งเปน็ โอเพน่ ซอรซ์ ไม่เลย เมกเกอร์คือคนท่ีสร้างอะไรบางอย่างท่ีจับต้องได้ แค่น้ัน ตราบใดที่คุณ ผลติ มนั ขนึ้ มาแลว้ มนั มอี ยใู่ นโลกจรงิ คณุ เปน็ เมกเกอรแ์ ลว้ เราตอ้ งพลกิ วธิ ี คดิ เรา อยา่ คดิ แตว่ า่ โลกตะวนั ตกมองหรอื นยิ ามวา่ เมกเกอรค์ อื อะไร ท�ำ ไม 32 l Creative Thailand l กันยายน 2558



CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี เรือ่ ง: วชิ ยั สว่างพงศเ์ กษม chicago.cbslocal.com / codeforamerica.org ในประเทศท่ีเม่ือฤดูหนาวทุกพืน้ ทีจ่ ะเตม็ ไปด้วยหมิ ะ หัวจา่ ยนา้ํ ดับเพลิงมักจะถูกฝงั อยู่ใต้กอง หิมะและทำ�ให้การปฏิบัติหน้าท่ีของหน่วยดับเพลิงล่าช้า แตห่ ากจะหาผมู้ าคอยดแู ลหวั จา่ ยนา้ํ เหลา่ น้ีตลอดเวลาก็คงเสียทง้ั เวลาและงบประมาณ อีกท้ังบรรดาพลเมืองท่ีต่างมาตักโกยหิมะ ออกจากถนนกนั เป็นปกตอิ ยูแ่ ลว้ ก็ยงั ไม่เคยเห็นวา่ การทห่ี ัวจ่ายนํ้าดับเพลิงถกู ฝังอยู่ใต้หิมะ นน้ั เป็นปญั หาอยา่ งไร น่ันเพราะพวกเขาขาดข้อมลู ท่ีจะบอกให้รู้ ในวนั ท่ีเทคโนโลยกี ้าวหนา้ ไปอย่างรวดเรว็ หลายครงั้ ภาครัฐมกั จะเข้าถึง จากการสนบั สนนุ นี้ แอพพลิเคช่ันกว่า 30 รายการและกำ�ลังเพิ่มขน้ึ และน�ำ ความกา้ วหนา้ เหลา่ นม้ี าปรบั ใชไ้ ดช้ า้ กวา่ พลเมอื ง เจนนเิ ฟอร์ พอลกา อย่างต่อเนื่องได้รับการผลิตข้ึนเพ่ือเช่ือมโยงการบริหารเมืองของภาครัฐ (Jennifer Pahlka) จงึ ก่อตั้งองคก์ รไม่แสวงก�ำ ไร “Code for America” เข้ากับผู้คนในเมืองนน้ั ๆ ไม่ว่าจะเปน็ แอพพลเิ คช่นั CityVoice ทช่ี ว่ ยให้ เพอ่ื สง่ เสรมิ ใหพ้ ลเมอื งมสี ว่ นรว่ มกบั รฐั บาล เพราะการจดั การและดแู ลเมือง คนในชุมชนแสดงความคดิ เหน็ โดยตรงว่าชอบ ไมช่ อบ อยากได้ หรือมี ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งของภาครฐั เพยี งอยา่ งเดยี ว โดย Code for America จะชว่ ยเหลอื แนวทางปรับปรุงอะไรในเมืองอย่างไร แอพพลเิ คชัน่ Recovers ท่เี ป็น ผพู้ ฒั นาเทคโนโลยผี า่ นโครงการอย่าง Accelerator และ Incubator ทจ่ี ะ ตัวกลางการสื่อสารในยามเกิดภัยพิบัติ เป็นทั้งฐานข้อมูลสำ�หรับของ สนับสนุนเงินทุนรวมถึงจัดหาผู้นำ�ทางอุตสาหกรรมนั้นมาให้คำ�แนะนำ� บริจาค อาสาสมัคร และข่าวสารที่เก่ียวข้องให้อาสาสมัครหรือผู้บริจาค และช่วยปรับปรุงแอพพลิเคชั่นต้นแบบให้สมบูรณ์สามารถออกสู่ตลาดได้ ส่ิงของแก่ผู้ท่ีต้องการความช่วยเหลือติดต่อกันได้สะดวกและรวดเร็ว พรอ้ มให้โอกาสน�ำ เสนอต่อหน่วยงานตา่ งๆ ของรฐั บาล เพ่ือลดความเสียหาย นอกจากน้ียังมีเทคโนโลยีอ่ืนๆ อย่างโปรแกรม นอกจากนี้ Code for America ยงั ช่วยเหลือเรอ่ื งการเข้าถึงข้อมลู Captricity ท่ีอ่านและแปลงลายมือในกระดาษให้กลายเป็นข้อมูลดิจิทัล โดยมี Open Data ที่ผูพ้ ัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถน�ำ โค้ดโปรแกรมท่มี ี ท่ีใชง้ านไดท้ นั ที ไปประยุกต์ปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน แอพพลิเคชั่น Adopt-a- Code for America แสดงใหเ้ หน็ ว่าส่ิงทีพ่ ลเมอื งตอ้ งการที่สุดไม่ใช่ Hydrant ซงึ่ แกป้ ญั หาหวั จา่ ยนา้ํ ดบั เพลงิ ถกู ฝงั อยใู่ ตก้ องหมิ ะกเ็ ปน็ หนงึ่ ใน ความชว่ ยเหลอื แตเ่ ปน็ เครอื่ งมอื ทท่ี �ำ ใหพ้ วกเขาชว่ ยเหลอื ตวั เองและผอู้ นื่ นน้ั โดย Adopt-a-Hydrant เป็นแอพพลิเคช่ันงา่ ยๆ ท่อี ธิบายปญั หาและ ได้ด้วยอินเทอร์เน็ตและข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์ซท่ีทุกคนสามารถเข้าถึง ระบุตำ�แหน่งหัวจ่ายนํ้าไว้ให้ทุกคนรู้ คนในชุมชนจึงช่วยสอดส่องดูแลได้ ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดได้เป็นพื้นฐาน เพราะความสามารถในการ ความส�ำ เรจ็ ของแอพพลเิ คชนั่ นท้ี �ำ ใหเ้ กดิ การน�ำ โคด้ ไปประยกุ ตใ์ ชก้ บั กรณี เข้าถึงข้อมูลมีส่วนทำ�ให้คนในเมืองไม่ใช่แค่เสียงหน่ึงท่ีเลือกผู้แทนขึ้นมา อน่ื ๆ ในสถานที่อืน่ ๆ อย่างทอ่ ระบายนํ้าทม่ี ีใบไมอ้ ุดตัน หรือเสาสญั ญาณ แต่เป็นสองมอื ท่สี รา้ งเมืองท่พี วกเขาอยากอยูอ่ าศัยขึน้ มาได้ เตือนภยั สึนามทิ ถ่ี ูกขโมยแบตเตอรี่บอ่ ยๆ ท่มี า: codeforamerica.org 34 l Creative Thailand l กันยายน 2558

กนั ยายน 2558 l Creative Thailand l 35