Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การปฏิวัติฝรั่งเศส f1

การปฏิวัติฝรั่งเศส f1

Description: การปฏิวัติฝรั่งเศส f1

Search

Read the Text Version

การปฏิวัติฝรั่งเศส

1789Timeline + พฤษภาคม การประชุมสภาฐานันดร มิถุนายน + การจัดตั้งสมัชชาแห่งชาติ พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ประกาศให้มีการเลือกตั้งสภา ประชาชนฝรั่งเศสฐานันดรที่สามได้ตังค์สภาของ ฐานันดรซึ่งแบ่งออกเป็นสามฐานันดรหรือสามสภา ตนเองเนื่องจากไม่ไว้ใจการทำงานของรัฐบาล มี การประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิส ว่าจะไม่ + 14 กรกฎาคม การบุกทำลายคุกบาสตีลย์ ยุบสภาจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญ มีข่าวลือรัฐบาลจะใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของ สิงหาคม + สมัชชาแห่งชาติ ประชาชนจึงบุกทำลายคุกบาสตีลย์ ประกาศสิทธิมนุษยชน ออกมากลายเป็นวันชาติฝรั่งเศส และพลเมือง + ตุลาคม การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซาย นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาหลักแสดงถึง หลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญ เดินขบวนจากปารีสไปยังพระราชวังแวร์ซาย และมี \"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ\" การปะทะกันถึงขั้นเสียชีวิต พระเจ้าหลุยส์มีอารมณ์ เศร้าหมอง แผ่นดินตกอยู่ในการตัดสินใจของราชินี 1790 มิถุนายน + + สิงหาคม การยกเลิกสิทธิพิเศษของขุนนาง การตรากฎหมายธรรมนูญ สภาผ่านมติให้ยกเลิกสิทธิพิเศษของขุนนาง แต่ การตรากฎหมายธรรมนูญว่าด้วยบรรพชิต ยุบ อนุญาตให้ขุนนางแต่ละคนครองบรรดาศักดิ์ตาม สมณศักดิ์ของนักบวชให้เหลือน้อยลง กำหนดให้ นักบวชทั้งหมดในประเทศคือผู้รับเงินเดือนจากรัฐ เดิม กันยายน + และบีบบังคับให้นักบวชกล่าวสาบานความภักดีต่อ ประเทศฝรั่งเศส ทำให้นักบวชในฝรั่งเศสแตกแยก สภาผ่านมติยกเลิกการปกครองโดยสภาอำมาตย์ เป็นสองฝ่าย 1791 + กรกฎาคม การสังหารหมู่ช็องเดอมาร์ส สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติมีมติว่า พระเจ้าหลุยส์จะ ได้คืนพระราชอำนาจหากทรงยอมรับรัฐธรรมนูญ มติ นี้สร้างความไม่พอใจแก่ชาวปารีส เกิดเหตุการณ์การ สังหารหมู่ช็องเดอมาร์ส

Timeline 21 กันยายน + การสถาปนาสาธารณรัฐ 1792 + 21 มกราคม 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฝรั่งเศสที่ 1 ถูกประหารชีวิต 1794 สภานิติบัญญัติมีมติให้ล้มเลิกระบอบ 1804 สภากงว็องซียงแห่งชาติมีมติเอกฉันท์ในวันที่ กษัตริย์ และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศส 15 มกราคม 1793 ว่าอดีตกษัตริย์มีความผิด ที่ 1 ในวันที่ 22 กันยนยน พร้อมกำหนดให้ 1188-3480 จริงฐาน \"สมคบประทุษร้ายต่อเสรีภาพปวงชน ปีนั้นเป็นปีที่ 1 ของระบบปฏิทินแบบใหม่ที่ และความมั่นคงแห่งรัฐ\" บทลงโทษเป็นการ หนึ่งปีมีสิบเดือน 1848 ประหารชีวิตในทันที 1848 สมัยแห่งความ + + ปราบดาภิเษกของนโปเลียน น่าสะพรึงกลัว นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ปราบดาตนขึ้น รอแบ็สปีแยร์ผู้กลายเป็นผู้มีอำนาจที่สุด เป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสที่มหาวิหารน็อทร์- สมาชิกสภาหวาดระแวงจึงร่วมมือกันอภิปราย ดามแห่งปารีส โจมตีและลงมติปลดรอแบ็สปีแยร์กลางสภา ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 เขาถูกนำตัวไป + การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ประหารชีวิตในวันรุ่งขึ้น ถือเป็นจุดจบของ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว การสละราชสมบัติของพระเจ้าหลุยส์ฟิลิปป์ที่ 1 ยกเลิกระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสและการก่อตั้ง การปฏิวัติเดือนกรกฎาคม + สาธารณรัฐที่สอง รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เริ่มต้นด้วยการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1830 และสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1848 ด้วยการ ปฏิวัติปี 1848 ความนิยมพระองค์ของเสื่อมลง และท้ายที่สุดก็นำไปสู่การสถาปนา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 สาธารณรัฐที่สองล่มสลาย +

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) ประสูติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1754 ณ พระรา ชวังแวร์ซาย พระนามเดิมคือ Louis-Auguste, Duc de Berry พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วย พระชนม์เพียง 20 พรรษาต่อจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระราชบิดา ซึ่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อภิเษกสมรสกับ พระนางมารีอ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) องค์ หญิงจากออสเตรีย ซึ่งมีพระชนม์เพียง 15 พรรษา นี่คือการแต่งงานเพื่อเชื่อมอำนาจของสอง อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งยุโรป แต่สุดท้ายทั้งคู่ก็กลายเป็นจำเลยของประวัติศาสตร์ จากข้อกล่าว หาถึงชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ นิยมความหรูหรา และการใช้ทรัพย์สินในท้องพระคลังจนเกือบถึงขั้นล้ม ละลายขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องอยู่อย่างลำบากยากแค้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์ในปี 1774 นโบายการฟื้นฟูอำนาจของรัฐสภา ในช่วงต้นรัชสมัย ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับระดับหนึ่ง แต่การดำเนินนโยบาย ด้านการทหาร และให้การสนับสนุนการตั้งอาณานิคมในอเมริกาได้ทำให้ฝรั่งเศส ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และพระองค์ก็ไม่อาจจัดการกับ ปัญหาได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่การเสื่อมความนิยมในหมู่ประชาชน จนเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ ต่อมาสภากงว็องซียงแห่งชาติมีมติเอกฉันท์ในวันที่ 15 มกราคม 1793 ว่าพระองค์มีความผิดจริงฐาน \"สมคบ ประทุษร้ายต่อเสรีภาพปวงชนและความมั่นคงแห่งรัฐ\" ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูก ประหารชีวิตด้วยกิโยติน ต่อหน้าสาธารณชน กลางจัตุรัส หลุยส์ที่ 15 หรือ กลางจัตุรัสกงกอร์ด (Place de la Concorde) วาทะสุดท้ายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่กล่าวกับประชาชน ฝรั่งเศสและกล่าวกับบรรดาขุนนางและเจ้าหน้าที่ในลานประหาร กล่าวไว้ว่า “ประชาชนเอ๋ย ข้าพเจ้าตายโดยไร้มลทิน ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ปราศจาก มลทินทุกข้อกล่าวหาข้าพเจ้าได้แต่หวังว่า เลือดของ ข้าพเจ้าจะคืนความสุขแก่ฝรั่งเศสได้”

สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 1. ปัญหาทางด้านการเมือง 3. ปัญหาทางด้านสังคม ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญา สิทธิ ราชย์ ทำให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจมาก ไม่มี ความเหลื่อมทางสังคมในฝรั่งเศส ซึ่งมีโครง สร้าง ขอบเขตจำกัด และทรงอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมือง ทางสังคมเป็นแบบชนชั้น โดยฐานะของผู้คนในสังคม โดยในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีการใช้อำนาจ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ ชนชั้นอภิสิทธิ์ และ โดยไม่ฟังเสียงประชาชน ทรงไม่สนพระทัยการบริหาร ชนชั้นสามัญชน และแบ่งฐานะของพลเมืองออกเป็น 3 บ้านเมืองเป็นการเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้า ชนชั้นหรือ 3 ฐานันดร ได้แก่ มาแทรกแซง ทำให้มีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ และ เนื่องด้วยประเทศฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การ ฐานันดรที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนา ปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ได้ ฐานันดรที่ 2 คือ ขุนนางและชนชั้นสูง ทั้งสอง รับการคุ้มครอง และชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติ ฐานันดรเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์มีจำนวนประมาณร้อย คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้มีการเปิดสภาฐานันดรขึ้นมา ละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีชีวิตความเป็น ใหม่หลังจากจากที่ถูกปิดไปนาน เพื่อขอเสียงสนับสนุน อยู่สะดวกสบายและหรูหรา จากตัวแทนของประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่ ฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น ยากจนและถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก รวมทั้ง พวก ชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ และปัญญาชน 2. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ 4.การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่าง ฝรั่งเศสประสบกับปัญหาภาวะฝืดเคืองทาง ชาติ เศรษฐกิจ ที่เกิดจากการใช้จ่ายในการทำสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะ ในสงครามประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน สืบเนื่องจาก การที่ฝรั่งเศสไปช่วยสหรัฐ อเมริกาใน ระหว่าง ค.ศ.1776-1781 เพื่อสนับสนุนให้ชาว การทำสงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ทำให้ อาณานิคมอเมริกาต่อสู้กับอังกฤษ อีกทั้งยังมีการใช้จ่าย ฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพ และ อย่างฟุ่มเฟือยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ที่เป็นปัญหา อิทธิพลทางความคิดที่สำคัญคือ ความคิดที่รับมาจาก สะสมจนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อีกทั้งยังพระองค์ยังทรง บรรดานักปรัชญากลุ่มฟิโลซอฟส์ (Philosophes) นัก อยู่ภายใต้อิทธิพลของพระนางมารีอังตัวเนตต์ (Marie ปรัชญาคนสำคัญคือ Voltaire, John Locke, Antoinette) พระราชินีของพระองค์ ซึ่งทรงนิยมใช้ Jean-Jacques Rousseau จ่ายในพระราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือยด้วยสาเหตุเหล่านี้ ทำให้รัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีนโยบายในการ เก็บภาษีอากร จากประชาชนเพื่อชดเชยรายจ่ายที่สูญ เสียไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ นอกจากนี้ในฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ จากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิด วิกฤตการทางการเกษตร ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ซึ่ง ไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิด ชนชั้นใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง ได้แก่ พวกพ่อค้า นายทุน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ

เหตุการณ์สำคัญทางกฎหมาย ที่ส่งผลไปสู่การปฏิวัติ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศสเผชิญหน้ากับวิกฤตครั้งสำคัญในรัชสมัยของหลุยส์ที่ 16 ก่อนจะปิดฉากลงด้วยการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงฤดูร้อนปี 1789 ในช่วง 2-3 ปีก่อนการปฏิวัติ มีเหตุการณ์ สำคัญทางกฎหมายที่ส่งผลต่อเนื่องอย่างคาดไม่ถึง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ “จุดชนวน” การปฏิวัติ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น กรณีศาลปาร์เลอมองต์ต่อต้านนโยบายปฏิรูปของกษัตริย์ และกรณีฐานันดร ที่สามชิงโอกาสจากการประชุมสภาฐานันดรเพื่อเปลี่ยนเป็นสภาแห่งชาติ ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง : กรณีศาลปาร์เลอมองต์ การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟื่อยสมัยหลุยส์ที่ 14 จนถึงหลุยส์ที่ 15 ประกอบกับการเข้าร่วมสงครามปลด ปล่อยอเมริกาจากอังกฤษ ทำให้ราชสำนักประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินการคลังอย่างรุนแรง ในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีเครื่องมือใดในการหารายได้เข้าคลังได้ดีไปกว่าการเรียกเก็บภาษี ดังนั้น อัคร เสนาบดีของหลุยส์ที่ 16 หลายคน จึงพยายามออกมาตรการปฏิรูประบบภาษี เพื่อให้รัฐสามารถเก็บภาษีได้ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นและสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการจ่ายภาษี Calonne เข้ารับตำแหน่งแทน Necker เขาได้เสนอ “แผนการปรับปรุงการคลัง” (Plan d'amelioration des Finances) ต่อหลุยส์ที่ 16 ในปี 1786 โดยมีเนื้อหาสาระ คือ สร้างระบบการจัดเก็บ ภาษีที่เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ ยกเลิกเอกสิทธิ์ทางภาษีของเจ้าของที่ดิน ต้องจ่ายภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกัน ยัง เสนอให้มีการตั้งสภาประจำพื้นที่ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่คำนวณและประเมินภาษี โดยสมาชิกสภามาจาก คนในพื้นที่ที่ถือครองทรัพย์สินและจ่ายภาษี และเพื่อเป็นการบรรเทาความยากลำบากของคนจน เสนอให้ ยกเลิกภาษีบางประเภทที่คนจนต้องแบกรับเอาไว้ แน่นอนที่สุดว่ามาตรการของ Calonne เช่นนี้ สร้างความ ไม่พอใจให้กับพวกขุนนางอย่างยิ่ง ดังนั้น เขาจึงพยายามหาช่องทางในการขจัดการขัดขวางของพวกขุนนาง ด้วยการเสนอให้หลุยส์ที่ 16 เรียกประชุม “สภาขุนนาง” (Assemblee de notables) เพื่อให้สภาแห่งนี้ ให้การรับรองมาตรการปฏิรูปทางภาษี และช่วยสร้างความชอบธรรมในการสู้กับแรงต่อต้านของศาลปาร์เลอ มองต์ได้ แต่สภาขุนนางก็ไม่เห็นด้วยกับมาตรการปฏิรูปภาษีของเขาอยู่ดี เมื่อนโยบายการปฏิรูปภาษีไม่ ประสบผลสำเร็จ หลุยส์ที่ 16 ตัดสินใจปลด Calonne ออก และแต่งตั้ง Lomenie de Brienne นักบวช จากเมืองตูลูส ขึ้นเป็นอัครเสนาบดีแทน Lomenie de Brienne ได้ผลักดันนโยบายปฏิรูปต่อไป โดยเขา พยายามดึงชนชั้นกระฎุมพีเป็นพวกเพื่อสร้างแนวร่วมในการสู้กับขุนนาง ตั้งสภาจังหวัดโดยให้มีผู้แทนจาก ฐานันดรที่สามมากขึ้นเป็นสองเท่าและให้ลงมติและนับคะแนนเป็นรายหัว นอกจากนี้เขายังคงยืนยันให้มี การปฏิรูประบบภาษีให้เท่าเทียมกันความพยายามปฏิรูปของ Lomenie de Brienne ทำให้พวกขุนนาง อภิสิทธิ์ไม่พอใจ

เหตุการณ์สำคัญทางกฎหมาย ที่ส่งผลไปสู่การปฏิวัติ ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง : กรณีศาลปาร์เลอมองต์ (ต่อ) ในส่วนของสภาขุนนางนั้น หลุยส์ที่ 16 ตัดสินใจยุติการประชุมและยุบเลิกสภาขุนนาง อย่างไร ก็ตามก่อนที่จะถูกยุบไปนั้น สภาขุนนางได้ยกประเด็นเรื่องสิทธิของชาติที่จะประชุมกันเป็นสภาฐานันดรขึ้น และได้มีมติว่าเรื่องสำคัญๆ อย่างมาตรการปฏิรูประบบภาษีนั้น ต้องให้สภาฐานันดรเป็นผู้พิจารณา เมื่อศาลปาร์เลอมองต์ยังคงยืนกรานต่อต้านนโยบายของราชสำนักเช่นนี้ “ฟางเส้นสุดท้าย” ก็ขาด สะบั้นลง ราชสำนักตัดสินใจ “ชน” กับศาลปาร์เลอมองต์ โดยหลุยส์ที่ 16 ใช้อำนาจในฐานะเป็น “บ่อเกิด ของความยุติธรรม” ด้วยการยืนยันขึ้นทะเบียนให้กับพระบรมราชโองการดังกล่าว และประกาศให้พระบรม ราชโองการมีผลใช้บังคับ ศาลปาร์เลอมองต์ไม่พอใจอย่างยิ่งและประท้วงกษัตริย์ ราชสำนักจึงใช้มาตรการ รุนแรงเข้าจัดการ โดยสั่งปลดและขับไล่ตุลาการศาลปาร์เลอมองต์ที่ต่อต้านกษัตริย์ออกไป ศาลปาร์เลอมอง ต์เปิดศึกชนกับราชสำนักอย่างเปิดเผยด้วยการเผยแพร่ “คำประกาศว่าด้วยกฎหมายพื้นฐานของราช อาณาจักร” เพื่อแจกแจงถึงกฎเกณฑ์ที่มีสถานะเป็นกฎหมายพื้นฐานของราชอาณาจักร การประท้วงของศาล ปาร์เลอมองต์ลุกลามออกไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ Rennes และ Grenoble ไม่เพียงแต่พวก พระและขุนนางที่สนับสนุนศาลปาร์เลอมองต์เท่านั้น พวกฐานันดรที่สามก็เห็นว่าราชสำนักใช้อำนาจเผด็จการ กดขี่และควรลุกขึ้นสู้กับราชสำนักเพื่อปกป้อง “เสรีภาพของจังหวัดต่างๆ” การชูธงปกป้องเสรีภาพของจังหวัด เช่นนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ราชสำนักก็โจมตีว่า พวกศาลปาร์เลอมองต์ไม่ได้ปกป้องเสรีภาพ ของจังหวัดต่างๆ แต่พวกเขาต้องการรักษาอภิสิทธิ์เอาไว้ต่างหาก การต่อต้านราชสำนักขยายวงออกไปมากขึ้น 1788 หลุยส์ที่ 16 จำเป็นต้องหาวิธีลดแรงเสียดทาน โดยยอมเรียกประชุมสภาฐานันดร พร้อมกับระงับการปฏิบัติหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ พิพากษาที่กษัตริย์แต่งตั้งขึ้น นอกจากนี้พระองค์ยังสั่งปลด Lomenie de Brienne และแต่งตั้ง Necker กลับเข้าเป็นอัครเสนาบดีอีกครั้ง ต่อมา Lamoignon ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม และตามมา ด้วย การยกเลิกมาตรการปฏิรูปศาลปาร์เลอมองต์ทั้งหมด

เหตุการณ์สำคัญทางกฎหมาย ที่ส่งผลไปสู่การปฏิวัติ การประชุมสภาฐานันดร : เปิดฉากการปฏิวัติโดยฐานันดรที่สาม งานชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนฐานันดรที่สาม โดยอธิบายให้เหตุผลที่หลุดกรอบไปจากเดิม เป็นงานที่ ส่งผลสะเทือนและปลุกเร้าให้เกิดการปฏิวัติ นั่นคือ Qu'est-ce que le Tiers Etat ? ของ Sieyès งานชิ้น นี้จะกระตุ้นเตือนให้ผู้แทนของฐานันดรที่สาม “ตาสว่าง” และร่วมมือกันเป็นกำลังสำคัญในการปฏิวัติ Sieyes เรียกร้องให้เพิ่มจำนวนสมาชิกฐานันดรที่สามให้เท่าเทียมกับฐานันดรพระและฐานันดรขุนนางและให้ลงมติ ร่วมกันทั้งสามฐานันดรโดยนับคะแนนเป็นรายคน ในความเห็นของ Sieyès “ชาติ” หรือ “Nation” ซึ่ง ประกอบไปด้วยฐานันดรที่สามนั้น มีบทบาทในการสถาปนารัฐธรรมนูญ เพราะ “ชาติ” แต่เพียงผู้เดียว เท่านั้นที่เป็นผู้ทรง “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” (pouvoir constituant) เมื่ออำนาจสถาปนา “รัฐธรรมนูญ” เป็นอำนาจอันอิสระเสรีจากทุกรูปแบบทางกฎหมายดังนั้น “ชาติ” (Nation) ซึ่งเป็นผู้ทรง อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญจึงเป็นองคภาวะที่อยู่สูงสุด และไม่ตกอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อยืนยันว่า “ชาติ” เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และ “ชาติ” เป็นผู้ที่ตัดสินใจก่อตั้งและกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมา “ชาติ” จึงมาก่อนรัฐธรรมนูญ และเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างในรัฐ เจตจำนงของ “ชาติ” จึงชอบด้วย กฎหมายเสมอ เพราะ “ชาติ” คือกฎหมายโดยตัวมันเอง หากจะมีอะไรที่มาก่อน “ชาติ” และอยู่เหนือ “ชาติ” ก็คงมีแต่เพียง “กฎหมายธรรมชาติ” เท่านั้น ความคิดของ Sieyes ได้ส่งผลทางการเมืองสองทางไปพร้อมกัน ด้านหนึ่ง คือ การเปิดฉากปฏิวัติ ด้วยการปลุกเร้าให้ฐานันดรที่สามเห็นความสำคัญของตนเอง ยกระดับ ฐานันดรที่สามให้กลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง มีอำนาจในการก่อตั้งรัฐธรรมนูญได้อีกด้านหนึ่ง คือ การปิดล้อมป ระชาชน-คนชั้นล่าง ด้วยการอธิบายผ่านเศรษฐศาสตร์การเมืองและระบบผู้แทน มีแต่เพียงฐานันดรทีสามซึ่ง ผลิตและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมเท่านั้นที่มีบทบาทในทางการเมือง ประชาชน-คนชั้นล่าง ไม่สามารถเข้า มามีส่วนร่วมในทางการเมืองได้

เหตุการณ์สำคัญทางกฎหมาย ที่ส่งผลไปสู่การปฏิวัติ การเปลี่ยนสภาฐานันดรให้เป็นสภาแห่งชาติ : การปฏิวัติของฐานันดรที่สาม สภาแห่งชาติจึงมีมติเพิ่มเติมสถานะของตนจากเดิมที่เป็น “สภาแห่งชาติ” (Assemblee nationale) ให้กลายเป็น “สภาแห่งชาติสถาปนารัฐธรรมนูญ” (Assemblee nationale constituante) เหตุการณ์ สำคัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้คนจำนวนมากมักคิดถึงเหตุการณ์ทลายคุก Bastille เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวันชาติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดตามที่กล่าวมาใน ตอนนี้กับตอนที่แล้ว จะเห็นได้ว่า วันอันเป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองฝรั่งเศส แบบ “พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน” ไม่ใช่วันที่ 14 กรกฎาคม 1789 แต่เป็นสี่วันอันสำคัญในสภาแห่งชาติ ได้แก่ 5 พฤษภาคม 1789 วันเปิดประชุมสภาฐานันดร เริ่มต้นโอกาสของฐานันดรที่สามในการเดินหน้าสู่การ ปฏิวัติ 17 มิถุนายน 1789 วันที่สภาฐานันดรที่สามลงมติประกาศตนเป็นสภาแห่งชาติ และยืนยันว่าอำนาจ อธิปไตยเป็นของชาติ มิใช่ของกษัตริย์ โดยมีสภาแห่งชาติเป็นผู้แทนในการใช้อำนาจอธิปไตย 20 มิถุนายน 1789 วันที่สมาชิกสภาแห่งชาติสาบานตนที่สนามเทนนิสว่าจะประชุมร่วมกันจนกว่าจะได้ รัฐธรรมนูญ 9 กรกฎาคม 1789 วันที่สภาแห่งชาติลงมติเพิ่มเติมภารกิจเข้าไปเป็น “สภาแห่งชาติสถาปนา รัฐธรรมนูญ”

การเริ่มต้นยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาแห่งชาติจึงมีมติตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ เรียกกันว่า “คณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญชุดที่หนึ่ง” ประกอบไปด้วย พวกฐานันดรที่สาม พวกขุนนาง พวกพระ เหตุการณ์ La Grande Peur กดดันให้สภาแห่งชาติต้องพิจารณา ประเด็นเกี่ยวกับระบบอภิสิทธิ์ที่ให้แก่พระและขุนนาง ในเวลานั้นสภาแห่งชาติ กำลังจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากสถานการณ์ทางการเมืองภายนอกสภาสับ สนอลหม่าก็อาจทำให้การเมืองในสภาดำเนินต่อไปไม่ได้ และขบวนการปฏิวัติ ที่ชนชั้นกระฎุมพีเป็นผู้ถางทางเริ่มต้นอาจหลุดมือไปจากพวกเขาไ ดังนั้นสภา แห่งชาติจึงจำเป็นต้องหาหนทางให้เหตุการณ์ความวุ่นวายภายนอกอันเกิดจาก ข่าวลือต่างๆ นานายุติลงให้จงได้ สภาแห่งชาติมีสองทางเลือก ทางเลือกแรก คือ การยืนยันหลักกรรมสิทธิ์ หมายความว่าจำเป็นต้องควบคุมและปราบปราม การก่อขบถในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ชาวนาตั้งตนเป็นศัตรูกับระบบฟิวดัลมากขึ้น ทางเลือกที่สอง คือ สร้างระบบการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและ คนจน ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลสำเร็จ กลุ่มเบรอตง (Club breton) จึงได้เสนอวิธีการใหม่ คือ การประกาศยกเลิกระบอบอภิสิทธิ์ เริ่มต้นจาก Vicomte de Noailles เสนอให้ยกเลิกอภิสิทธิ์ทั้งหมดเพื่อการลุกฮือในต่าง จังหวัดสงบลง ต่อมา Duc d'Aiguillon เสนอให้รับรองหลักความเสมอภาคใน การจ่ายภาษี และให้รัฐซื้ออภิสิทธิ์ต่างๆ คืนได้ในท้ายที่สุด มักกล่าวกันว่า วันที่ 4 สิงหาคม 1789 คือ วันยกเลิกระบบอภิสิทธิ์และสิ้นสุด ระบบฟิวดัล

ผลกระทบจากการ ปฏิวัติฝรั่งเศสในภาพรวม ในช่วง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่ง การเปลี่ยนโครงสร้างสังคมขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นใน สังคมฝรั่งเศสนี้ได้ปลดปล่อยให้เกิดกระบวนการอันยิ่ง กลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึง ใหญ่ทั้งสองมิติขึ้น กล่าวคือมันก่อให้เกิดกระบวนการ ปฏิวัติอันก้าวหน้าและพร้อมกันนั้นก็ก่อให้เกิดกระบวน รากฐาน ในฝรั่งเศส ซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อ การปฏิกิริยาย้อนกลับขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อกระบวนการ ปฏิวัติขยับก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ นั้น กลุ่มพลังของชนชั้น ฝรั่งเศสและประเทศในยุโรปที่เหลือ ระบอบ ผู้ครอบครองทรัพย์สินก็ไม่ต้องการให้ความเป็นอภิสิทธิ์ ของชนชั้นตนเองถูกคุกคามจากการปฏิวัติ ดังนั้นสมาชิก สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลาย ในชนชั้นนี้จึงพยายามที่จะยกเลิกความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากการปฏิวัติและพยายามร้องหาการรื้อฟื้นระเบียบ ศตวรรษ ล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการ และการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมแบบเก่ากลับมา แม้ว่า บรรดานักปฏิวัติจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะประสาน ปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ประโยชน์ระหว่างชนชั้นและประสานประโยชน์ของรูป แบบทางสังคมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วเอาไว้ด้วยกัน ของอภิชน และทางศาสนาหมดสิ้นไป ภายใต้การ บนหลักการพื้นฐานที่จะเสริมสร้างความเสมอภาคทาง สังคมที่มากขึ้นก็ตามหากแต่มันก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่าย ภายใต้สถานการณ์อันตึงเครียดและความไม่มั่นคง สาธารณรัฐมูลวิวัติ ฝูงชนบนท้องถนนและชาวนาใน ทางสังคมนี้เอง นโปเลียน ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นในหน้าฉาก ทางการเมืองพร้อมกับสถาปนารัฐโบนาปาร์ต ชนบท ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับ (Bonapartist state) ขึ้นผ่านการทำสงความและการ สร้างจักรวรรดิฝรั่งเศส ซึ่งท้ายที่สุดนั้นมันนำพาฝรั่งเศส บัญชา อภิชนและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดย ไปสู่การถูกล้อมกรอบและยึดครองจากบรรดาพันธมิตร ชาติยุโรป และตามมาด้วยการรื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ ความเสมอภาค ความเป็นพลเมือง และสิทธิที่ไม่สามารถ กลับเข้ามาในฝรั่งเศสอีกครั้ง โอนให้กันได้ ซึ่งเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศสการ เติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยมการแผ่ ภัยคุกคามจากนอกประเทศ เกิดสงครามปฏิวัติ ขยายของฆราวาสนิยมการพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่ และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น ฝรั่งเศสเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1792 และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะ ระหว่างการปฏิวัติ เหตุการณ์สืบเนื่องไปถึงการปฏิวัติมี สงครามนโปเลียนการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สอง ของฝรั่งเศส ที่อำนวยการพิชิตคาบสมุทรอิตาลี กลุ่ม ครั้งแยกกัน และการปฏิวัติอีกสองครั้ง (ค.ศ. 1830 และ 1848) ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อร่างขึ้น ประเทศแผ่นดินต่ำและดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตก ของแม่น้ำไรน์ ส่วนในประเทศ อารมณ์ของประชาชนได้ เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอย่างสำคัญ การปฏิวัติ ฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของ สาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของ ฆราวาสนิยมการพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการ ประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ ด้วยการขึ้นสู่อำนาจของมักซี มีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และกลุ่มฌากอแบ็ง (Jacobins) Cr: Les Miserables

ผลกระทบจากการปฏิวัติ ฝรั่งเศสต่อมวลมนุษยชาติ จากเหตุการณ์การปฏิวัติเกิดการยุติสิทธิพิเศษต่างๆ นอกจากนี้การปฏิรูปครั้งใหญ่ ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับ สภาสมัชชาแห่งชาติ (Assemblee Nationale) ได้ประกาศ ใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี ค.ศ. 1789 ส่งผล ว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการ งดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการ ไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลานได้ จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ, ประกอบอาชีพทุกอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน เกิดคำประกาศ ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต , ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น, มี สิทธิของมนุษย์และพลเมือง (La declaration des droits การปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส, การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้ว de l’homme et du citoyen) เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่ นำมาค้ำประกันพันธบัตรเพื่อระดมทุนจากประชาชนมาแก้ไข การร่างรัฐธรรมนูญ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ปัญหาหนี้ของประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลัก การพื้นฐานของการปฏิวัติ “เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ” ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1791 – 1804 ระหว่างห้วงเวลาของ โดย ความผันผวนของการปฏิวัติในประเทศแม่อาณานิคม ในที่ ห่างไกลบรรดาทาสบนเกาะโดมินิกัน ดินแดนอาณานิคมของ เสรีภาพ (Liberty) คือ การเน้นในเสรีภาพของบุคคล ฝรั่งเศสก็ลุกฮือขึ้นต่อต้านระบบทาสในไร่นาที่ทำให้พวกเขา หรือ ปัจเจกชนนิยม และได้ขยายไปในเรื่องเสรีภาพในด้าน มีชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน และเรียกร้องสิทธิพลเมืองให้แก่ ความคิด ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาหาความรู้ การพิมพ์ ตนเอง บรรดาทาสบนเกาะบุกเข้ายึดครองทรัพย์สินของเจ้า และเผยแพร่ข่าวสาร รวมทั้งเสรีภาพในทางการเมือง อาณานิคมและจับบรรดาเจ้าที่ดินมาลงโทษ ยกเลิกระบบ ทาส และสถาปนาสาธารณรัฐเฮติที่เรียกได้ว่าเป็นสาธารณรัฐ เสมอภาค (Equality) คือ ความเท่าเทียมกันตาม เสรีแห่งแรกในทวีปอเมริกา กฎหมายของปัจเจกชน ความเสมอภาค ขึ้นอยู่กับหลักความ เที่ยงธรรม ความเท่าเทียมกันในเรื่อง สิทธิและหน้าที่ เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยน ความเท่าเทียมในด้านการเสียภาษี การรับใช้ชาติโดยการ แปลงโครงสร้างทางสังคมอย่างมหาศาล และส่งผลต่อชีวิต เป็นทหาร และสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ของมนุษย์มากกว่ายี่สิบห้าล้านคนทั้งที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส และในประเทศอาณานิคมห่างไกลในอีกภูมิภาคอย่างเฮติ ใน ภราดรภาพ (Fraternity) คือ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ระหว่างห้วงเวลา 5 ปีของการต่อสู้ยื้อยุดกันระหว่างพลัง มนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกันและปฏิบัติต่อกันดุจ อำนาจของพวกปฏิกิริยา กับความมุ่งมั่นของการปฏิวัติ ผู้คน พี่น้อง ความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์ ในห้วงเวลานั้นต่างก็เผชิญกับความยากลำบาก แต่พร้อมกัน คือ การไม่เน้นผิวพรรณ หรือ เผ่าพันธุ์ นั้นพวกเขาก็ได้รับโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการแทรกแซงเข้าไป แก้ไขระบบการเมืองและบ่อนทำลายความสัมพันธ์ทางอำนาจ ที่ควบคุมชีวิตของเขาในยุคก่อนหน้า จากที่กล่าวมาทั้งหมด ห้วงเวลาของเหตุการณ์ไม่ใช่ห้วง เวลาที่เราจะมีชีวิตรอดได้อย่างง่ายดาย คนจำนวนมากนั้น ตกอยู่ท่ามกลางความอดอยากหิวโหด และอีกจำนวนมากตก อยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว หากแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นก็ เป็นเสมือนปรากฏการณ์การระเบิดของปรมาณูลูกแรกที่ทั้งน่า หวาดกลัวแต่ก็ไม่อาจจะย้อนกลับไปแก้ไขได้ มันส่งผลให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์อย่างถาวรและพลัง อำนาจที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติฝรั่งเศสก็กลายเป็นขุมกำลังที่ มีอำนาจมากพอจะขจัดอำนาจของระบอบแบบเก่าให้สลาย หายไปทั้งยุโรปเสมือนกับฟางที่ถูกเป่าให้หลุดลอยไป

ผลกระทบจากการปฏิวัติ ฝรั่งเศสต่อประเทศไทย การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่มีลักษณะพิเศษซึ่งส่งผลกระทบต่อทั่วโลกรวมถึงประ เทศ ไทยด้วย ประเทศไทยนั้นในบันทึกของรัชกาลที่ 7 ซึ่งอ้างถึงปาฐกถาของรัชกาลที่ 5 พูดเอา ไว้เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสยาม ปฏิรูประบบราชการ รัชกาลที่ 7 ให้นิยามว่า นี่ คือการพลิกแผ่นดินหรือ revolution จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ในช่วง เวลานั้นคณะราษฎรก็คิดว่านี่คือ revolution เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งในระบบรัฐสภา นอกจากนี้ในครั้นเสด็จ ประพาสยุโรป สมัยรัชกาลที่ 5 หนึ่งในประเทศที่ทรงเสด็จประพาสคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนำ มาปรับใช้กับประเทศไทยโดยมีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนแปลงระบบหัวเมือง เป็นระบบเทศาภิบาล ยกเลิกระบบไพร่และศักดินา และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการให้เรียกชื่อ จังหวัดและเมือง ซึ่สอดคล้องกับการแยก 83 จังหวัดในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ ร.6 โปรด ให้จัดตั้ง “ดุสิตธานี” ขึ้นเพื่อทดลองสร้างเมืองจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการ ปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทาง ประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การ ปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น เมืองดุสิตธานี ณ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส

สรุปการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรปโดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน เป็นการ ปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการ ปกครองในระบอบเก่า หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน สาเหตุ เมื่อประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้า หลุยส์ที่ 16 จึงทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพื่อขอคะแนน เสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลังแต่ได้เกิดปัญหาขึ้น เพราะกลุ่มฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้นเสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่มจึงทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 เดินออก จากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และ ร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ ในขณะเดียวกันกับความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่องในปารีส และได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความฝูงชนที่ก่อวุ่นวายในปารีส ดังนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล ซึ่งเป็น สถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า

ผลจากการปฏิวัติ เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบ สาธารณรัฐ (หลายคน) มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนที่ ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปกครองแบบเก่า มีการจับขุนนางประหารด้วยเครื่องกิโยตินมากมาย และที่สำคัญ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ถูก ตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1793 และพระนาง มารี อังตัวเนตต์ ถูก ตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในวันที่ 10 ตุลาคม 1793 เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์บ ลูบลองก์ที่ปกครองฝรั่งเศสมานาน มีการทำสงครามกับต่างชาติ มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติไปยังประเทศอื่น ๆ ใน ยุโรป

รายการอ้างอิง รายชื่อสมาชิก ณิชารัศม์ อัครรัตนาวิทย์ เลขที่ 10 ธมน เมฆรุ่งจรัส เลขที่ 15 ภคมน บุญญาอรุณเนตร เลขที่ 23 ภัทธินี ทองคง เลขที่ 25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.6


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook