Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทฤษฎีสี

ทฤษฎีสี

Published by bew_suphansa, 2021-10-15 17:49:57

Description: ทฤษฎีสี

Search

Read the Text Version

ทฤษฎีสี นางสาวสุพรรษา พุ่มยาธรรม 62060039 เอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา

ทฤษฎีสี ทฤษฎีสี สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิด ความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยัง สมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมาย อย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความ ประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงาน จิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง คำจำกัดความของสี คุณลักษณะของสี 1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์ สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็น สามารถรับสัมผัสได้ ลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง 2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) เหลือง น้ำเงิน ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วย 3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี สีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล

ประวัติความเป็นมาของสี มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีทั้งการเขียนสีลงบนผนังถ้ำ ผนังหิน บนพื้นผิว เครื่องปั้ นดินเผา และที่อื่นๆภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ(ROCK PAINTING) เริ่ม ทำตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยคนก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่าตอนปลาย ภาพเขียนสีที่ มีชื่อเสียงในยุคนี้พบที่ประเทศฝรั่งเศษและประเทศสเปนในประเทศ ไทย กรมศิลปากรได้สำรวจพบ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำ และ เพิงหินในที่ต่างๆ จะมีอายุระหว่าง 1500- 4000 ปี เป็นสมัยหินใหม่และยุคโลหะได้ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ครั้งแรกพบบนผนังถ้ำในอ่าว พังงา ต่อมาก็ค้นพบอีกซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี เป็นต้นสีที่เขียนบนผนังถ้ำ ส่วนใหญ่เป็นสีแดง นอกนั้นจะมีสีส้ม สีเลือดหมู สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำสีบนเครื่องปั้ นดินเผา ได้ค้นพบการเขียนลายครั้งแรกที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ.2510 สีที่เขียนเป็นสีแดง เป็นรูปลายก้านขดจิตกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆสมัยสุโขทัยและอยุธยามีหลักฐานว่า ใช้สีในการ เขียนภาพหลายสี แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเพียง 4 สี คือ สีดำ สีขาว สีดินแดง และสีเหลืองในสมัย โบราณนั้น ช่างเขียนจะเอาวัตถุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับเขียนภาพ เช่น ดินหรือหินขาวใช้ ทำสีขาว สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟ หรือจากตัวหมึกจีน เป็นชาติแรกที่พยายามค้นคว้าเรื่องสี ธรรมชาติได้มากกว่าชาติอื่นๆ คือ ใช้หินนำมาบดเป็นสีต่างๆ สีเหลืองนำมาจากยางไม้ รงหรือรง ทอง สีครามก็นำมาจากต้นไม้ส่วนใหญ่แล้วการค้นคว้าเรื่องสีก็เพื่อที่จะนำมาใช้ ย้อมผ้าต่างๆ ไม่ นิยมเขียนภาพเพราะจีนมีคติในการเขียนภาพเพียงสีเดียว คือ สีดำโดยใช้หมึกจีนเขียน สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สี ของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเอง ธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล 2.สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสง ประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่

แม่สี (PRIMARIES) แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สี มือยู่ 2 ชนิด คือ 1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี ) 2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้ งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ วงจรสี ( COLOUR CIRCLE) สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันใน อัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ใน อัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ อีก 6 สี คือ สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงิน สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ สีตรงข้าม สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส เท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้ 1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย 2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี 3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี สีกลาง สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

ประเภทของสี นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว นักเรียนควรได้รู้จักประเภทต่างๆ ของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้านักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเอง ต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไป ใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภท ต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางใน การศึกษาดังนี้ ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และ เหลืองหรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) ดังตัวอย่าง สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่น้ำหนักอ่อน แก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็น อย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มากในการสร้างงาน จิตรกรรม ดังตัวอย่าง

สีตัดกัน สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรง ข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้น หมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริงตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้ สีเอกรงค์ เอกรงค์ คือสี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีสวน รวมหรือสีครอบงำ แต่ที่จริงแล้วสีทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้ อาจเป็นสีสด หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียงสีเดียว แล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ เป็นต้น

ระบบสี RGB ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สี ของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น

ระบบสี CMYK ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน แต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง หรือ ระบบสี RGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan) แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง (Magenta) แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) ระบบการพิมพ์สี่ส ี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละส ี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้ลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง 100 %

เทคนิคการใช้สีให้งานเราสวยงาม Triad Colors คือ เทคนิคการใช้โครงสร้างสามเหลี่ยม คือการวาดสามเหลี่ยมขึ้นมาและใช้สีที่อยู่ บนโครงสามเหลี่ยมนี้เท่านั้น เทคนิคการใช้สีนี้จะทำให้งานดูสนุกสนานและทำให้เรา แมทสีที่ลงตัวได้ ง่ายขึ้น Complementary Colors จริงๆแล้วสีคู่ตรงห้ามส่วนใหญ่จะถูกสอนกันมาว่าห้ามใช้ แต่เรื่อง จริงก็คือ ถ้าใช้ให้ถูกวิธีจะทำให้งานเราดูโดดเด่นทันที!!! มันมีวิธีใช้สีคู่ตรงข้ามให้อยู่ด้วยกันได้ง่าย และลงตัว อย่างเช่น ถ้าเราจะใช้ แดง - เขียว ให้ทำตามขั้นตอนนี้ 1.เลือกสีแรก (แดง) ชิ้นงานของเราใช้สีแดงในปริมาณ 80% ของงาน + สีที่2 (เขียว) ใช้ใน ปริมาณ 20% ของงานเท่านั้น 2.ผสมสีคู่ตรงข้าม เพื่อลดทอนความเข้มข้นของกันและกัน เช่นถ้าเราใช่แดงเป็นสีหลักเราอาจจะ ปล่อยสีแดงเป็นสีสดได้ แต่สีเขียวที่เรานำมาใช้ ต้องแต่สีแดงเข้าไปนิดนึง สีเขียวจะเข้มขึ้นมาทันที 3.ผสมหรือใส่สีกลางเข้าไปในงาน เพื่อลดความรุนแรงของสี เพียงเท่านี้สีคู่ตรงข้ามก็ อยู่ด้วยกัน ได้แบบลงตัว

เทคนิคการใช้สีให้งานเราสวยงาม Analog Colors คือการเอาสีใกล้เคียงในวงจรสี ให้เลือกสีที่อยู่ติดกัน 3 สี แต่อาจจะใช้ได้ถึง 5 สี แต่ใช้ในปริมาณที่น้อย เช่นถ้าเลือกสีม่วงก็ควรจะลือกใช้ ม่วงแดง / น้ำเงินม่วง จิตวิทยาสีกับความรู้สึก จิตวิทยาสีเน้นที่สัญลักษณ์สี ความหมาย และวิธีการที่สีและชุดค่าผสมของพวกมันส่งผลกระทบต่อ อารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ หลักการของจิตวิทยาสีสามารถประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมและการ แสวงหามากมายเพื่อช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ หรือเจ้าของบ้าน ใหม่เลือกสีที่เหมาะสมสำหรับห้องอาหารของตน ทั้งนี้แต่ละสีทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่ เฉพาะเจาะจงจากผู้ชม

สีแดง สีแดงให้ความรู้สึกเร่าร้อน รุนแรง อันตราย ตื่นเต้น ช่วยกระตุ้นความฮึกเหิม ความกระตือรือร้น ปลุกความกล้า เสริมความมั่นใจ และสามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ สีเหลือง สีเหลืองให้ความรู้สึก สว่าง สดใส ร่าเริง ศรัทธา มั่งคั่ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนของการจดจำและความ คิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้เกิดการติดต่อสื่อสารและส่งเสริมความคิดในด้านบวก สีฟ้า สีฟ้าให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง แจ่มใส กว้าง ปราดเปรื่อง ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ และระงับ ความกระวนกระวายใจได้

สีส้ม สีสีส้มให้ความรู้สึกสดใส ร้อนแรง เจิดจ้า มีพลังและอำนาจ ช่วยลดความเห็นแก่ตัว เป็นสีแห่งมิตรภาพ สร้างความรู้สึกยินดีที่จะให้หรือแบ่งปัน สีชมพู สีชมพูให้ความรู้สึกอ่อนหวาน อ่อนวัย มีความเป็นผู้หญิง ร่าเริง อบอุ่นเหมือนกำลังถูกปกป้อง และปลอบประโลมจิตใจ สีเขียว สีเขียวให้ความรู้สึกสดใส สดชื่น เย็น ปลอดภัย สบายตา ผ่อน คลาย มุ่งหวัง และปลอบประโลมให้จิตใจสงบ อาจทำให้นึกถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การเติบโตและความ อุดมสมบูรณ์

สีม่วง สีม่วงให้ความรู้สึกทรงพลัง ความมั่นใจในตนเอง ลึกลับ น่าค้นหา ความสูงส่ง ความหรูหรา แต่บางทีก็ทำให้รู้สึกเศร้า หม่นหมอง สีน้ำเงิน สีน้ำเงินให้ความรู้สึกสงบ เงียบขรึม จริงจัง มีสมาธิ ความฉลาดปราดเปรื่อง เทคโนโลยีและความก้าวหน้า สีขาว สีขาวให้ความรู้สึกอ่อนโยนและไร้เดียงสา บริสุทธิ์ ว่างเปล่า สะอาด สดใส เบาบาง ความเมตตาและศรัทธา ความสงบสุขและเรียบง่าย ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างให้กับความคิด ใหม่ๆ

สีดำ สีดำเป็นสีคลาสสิค ให้ความรู้สึกหนักแน่น เข้มแข็ง เคร่งขรึม ลึกลับ อีกทั้งยังมีความ มืดมิด เศร้า และน่ากลัว สีขาว

ขอบคุณค่ะ นางสาวสุพรรษา พุ่มยาธรรม 62060039 เอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook