Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 30.เศรษฐฐกิจพอเพียง ม.ปลาย

30.เศรษฐฐกิจพอเพียง ม.ปลาย

Published by somporn.4p, 2022-08-24 04:14:54

Description: 30.เศรษฐฐกิจพอเพียง ม.ปลาย

Search

Read the Text Version

1

2 เอกสารสรุปเนื้อหาทต่ี องรู รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย รหัสวชิ า ทช31001 หลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551 สาํ นักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สาํ นักงานปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร กระทรวงศกึ ษาธกิ าร หามจาํ หนา ย หนงั สอื เรียนนีจ้ ัดพมิ พด ว ยเงนิ งบประมาณแผน ดินเพื่อการศกึ ษาตลอดชีวิตสาํ หรับประชาชน ลิขสทิ ธ์ิเปนของสํานักงาน กศน.สาํ นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



4 สารบัญ คาํ นํา หนา คาํ แนะนาํ การใชเ อกสารสรปุ เนือ้ หาทต่ี อ งรู บทท่ี 1 ความพอเพียง 1 บทท่ี 2 ชมุ ชนพอเพยี ง 4 บทท่ี 3 การแกปญ หาชมุ ชน 6 บทที่ 4 สถานการณข องประเทศไทยและสถานการณโลกกับความพอเพยี ง 12 บทที่ 5 การประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพยี งเพือ่ การสรางรายได 46 อยา งม่ันคง ม่ังคง่ั และย่ังยนื 51 กจิ กรรมทา ยเลม 64 บรรณานกุ รม 66 คณะผจู ัดทํา

5 คาํ แนะนาํ การใชเอกสารสรปุ เนื้อหาทีต่ อ งรู หนงั สือสรุปเนื้อหา สาระทักษะการดําเนนิ ชวี ิต รายวิชาเศรษฐกจิ พอเพียง ทช 31001 ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2554) เปน การสรปุ เนอื้ หาหนงั สือเรียนที่จดั ทาํ ขนึ้ สําหรบั ผเู รยี น ท่ีเปน นักศึกษา กศน. เพ่ือใหผูเรียนทําความเขาใจ เรียนรูในสาระสําคัญของเนื้อหารายวิชา สาํ คัญ ๆ ไดส ะดวก และสามารถเขา ถึงแกน ของเน้อื หาไดดียง่ิ ขึน้ ในการศึกษาหนงั สอื สรุปเนอ้ื หา สาระทกั ษะการดําเนินชีวิต รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ทช 31001 เลม นี้ ผูเรียนควรปฏบิ ัติดงั น้ี 1. ศึกษาโครงสราง รายวชิ าเศรษฐกจิ พอเพยี ง ทช 31001 ระดบั มัธยมศกึ ษา ตอนปลายหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2554) ใหเ ขาใจกอน 2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของหนังสือสรุปเนอื้ หา รายวชิ าเศรษฐกจิ พอเพียง ทช31001 ใหเขาใจอยา งชดั เจน ทลี ะบท จนครบ 5 บาท และทํากิจกรรมทายเลมตามที่กําหนด ถายงั ไมม่ันใจวาปฏบิ ตั ิตามกจิ กรรมไดอยางเหมาะสม ควรยอนกลับไปทําความเขาใจในเนื้อหาน้ัน อกี คร้ัง 3. หากตองการศึกษารายละเอียดเนอื้ หา รายวิชาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ผูเรยี น สามารถ ศกึ ษาหาความรูเ พม่ิ เติมจากตาํ รา หนังสอื เรยี น ท่ีมีอยูตามหองสมุด หรือรานจําหนาย หนงั สือเรยี น หรือครผู สู อน

1 บทที่ 1 ความพอเพยี ง เนอ้ื หาประกอบดวย 1. ความพอเพียง 2. ชมุ ชนพอเพียง 3. การแกป ญหาชุมชน 4. สถานการณข องประเทศไทยและสถานการณโ ลกกบั ความพอเพียง 5. การประกอบอาชพี ตามหลกั เศรษฐกจิ พอเพยี งเพอื่ การสรางรายไดอ ยางมนั่ คง มัง่ คัง่ และยงั่ ยืน 1. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เศรษฐกจิ พอเพียง หมายถงึ ปรัชญาทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัวไดท รงมพี ระราช ดํารัส ช้แี นะแนวทางท่ีควรดาํ รงอยูและปฏบิ ัติตนแกพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา 30 ป ตั้งแตกอ นเกิดวกิ ฤตเศรษฐกจิ 2550 ใหใชเปนแนวทางการแกไ ข เพ่ือใหรอดพน วกิ ฤต และ สามารถดํารงอยูไ ดอยางมัน่ คง และย่งั ยนื ภายใตความเปลี่ยนแปลงตา ง ๆ 2. ลักษณะของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง 2.1 เปนวิถกี ารดําเนินชีวิต ทีใ่ ชค ณุ ธรรมกํากบั ความรู 2.2 เปน การพัฒนาตวั เอง ครอบครวั องคก ร สงั คม ประเทศชาติ ใหกา วหนาไป พรอมกับความสมดลุ ม่นั คง ย่ังยืน 2.3 เปน หลักคดิ และหลักปฏิบตั ิ เพอื่ ใหค นสวนใหญพ อมพี อกินพอใช สามารถพ่ึงตนเองได เพื่อใหคนกับคนในสังคม สามารถอยูร วมกนั อยา งสนั ติสุข เพอื่ ใหค นกับธรรมชาติ อยรู วมกันอยางสมดลุ ยั่งยนื และใหแตล ะคนดาํ รง ตนอยางมศี กั ด์ิศรี และรากเหงา ทางวัฒนธรรม

2 3. องคป ระกอบปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกจิ พอเพียง ประกอบดวยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือ ทเี่ รียกวา 3 หวง 2 เงือ่ นไข คอื ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีตอความจําเปน และเหมาะสมกับ ฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดลอม รวมทั้งวัฒนธรรมในแตละทองถ่ิน ไมมากเกินไป ไมนอย เกินไป และตองไมเ บยี ดเบยี นตนเองและผอู นื่ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินการเรื่องตาง ๆ อยางมีเหตุผล ตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณา จากเหตปุ จ จัยท่ีเกยี่ วของ ตลอดจนคํานึงถึงผลท่ีคาดวาจะเกิดข้ึนจากการกระทํานั้น ๆ อยาง รอบรูและรอบคอบ ระบบภูมิคุมกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวใหพรอมรับตอผลกระทบ และการเปล่ียนแปลงในดานตาง ๆ ไมวาจะเปนดานเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอม และ วฒั นธรรม เพอ่ื ใหสามารถปรับตัวและรับมอื ไดอยางทันทวงที เงื่อนไขสําคัญที่จะทําใหการตัดสินใจ และการกระทําเปนไปพอเพียง จะตองอาศัย ทั้งคุณธรรมและความรู ดงั น้ี เง่ือนไขคุณธรรม ท่ีจะตองสรางเสริมใหเปนพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบดว ย ดานจติ ใจ คือการตระหนกั ในคณุ ธรรม รูผิดชอบชว่ั ดี ซอื่ สัตยสุจริต ใชสติปญญา อยางถูกตองและเหมาะสมในการดําเนินชีวิต และดานการกระทํา คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไมโลภ ไมตระหนี่ รจู กั แบง ปน และรบั ผดิ ชอบในการอยูรว มกบั ผอู ่ืนในสงั คม เงื่อนไขความรู ประกอบดว ยการฝกตนใหมคี วามรอบรูเก่ียวกับวิชาการตาง ๆ ที่เกยี่ วของอยา งรอบดาน มคี วามรอบคอบ และความระมัดระวังท่ีจะนําความรูตาง ๆ เหลานั้น มาพิจารณาใหเช่ือมโยงกัน เพ่ือประกอบการวางแผน และในขัน้ ปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียง เปนปรัชญาที่เปนทั้งแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติตนของ แตละบุคคล และองคกร โดยคํานึงถึงความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง และสภาวะ แวดลอ ม ความมีเหตมุ ีผล และการมีภมู คิ มุ กนั ทีด่ ใี นตัวเอง โดยใชความรูอยางถูกหลักวิชาการ ดว ยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคูไปกบั การมคี ุณธรรม ซ่ือสัตยสุจริต ไมเบียดเบียนกัน

3 แบง ปน ชวยเหลอื ซึ่งกันและกัน และรวมมอื ปรองดองกันในสังคม ซ่ึงจะชวยเสริมสรางสายใย เชอื่ มโยงคนในภาคสว นตา ง ๆ ของสงั คมเขา ดว ยกนั สรา งสรรคพ ลังในทางบวก นําไปสูความ สามคั คี การพฒั นาทส่ี มดลุ และยั่งยืน พรอ มรับตอการเปลย่ี นแปลงภายใตกระแสโลกาภิวัตนได การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปประยกุ ตใ ช ตองคํานงึ ถึง 4 มติ ิ ดังนี้ ดานเศรษฐกิจ ลดรายจาย / เพ่มิ รายได / ใชช วี ิตอยางพอควร / คิดและ วางแผนอยางรอบคอบ / มีภูมิคมุ กัน / ไมเสยี่ งเกนิ ไป / การ เผอื่ ทางเลอื กสํารอง ดา นสังคม ชวยเหลอื เก้อื กลู / รูรักสามคั คี / สรางความเขม แข็งให ครอบครัวและชุมชน ดา นทรพั ยากรธรรมชาติ รูจกั ใชและจดั การอยางฉลาดและรอบคอบ / เลอื กใช และสงิ่ แวดลอม ทรพั ยากรทม่ี อี ยูอยางรูคา และเกิดประโยชนสูงสุด / ฟน ฟู ทรัพยากรเพ่ือใหเกดิ ความย่งั ยืนสูงสุด ดานวฒั นธรรม รักและเหน็ คุณคา ในความเปนไทย เอกลักษณไ ทย / เหน็ ประโยชนแ ละคมุ คา ของภูมิปญ ญาไทย ภมู ิปญ ญาทองถน่ิ / รูจักแยกแยะและเลอื กรับวัฒนธรรมอ่ืน ๆ

4 บทท่ี 2 ชมุ ชนพอเพยี ง 1. ความหมาย ความสาํ คัญ การบรหิ ารจัดการชมุ ชน ความหมายของชุมชน หมายถึง ถ่ินฐานท่ีอยูของกลุม คน ถิ่นฐานน้ีมีพ้ืนท่ีอางอิงได และกลุม คนน้ี มีการอยูอ าศัยรว มกัน มีการทํากิจกรรมเรียนรู ติดตอ สื่อสารรว มมือและพ่ึงพา อาศัยกัน มีวัฒนธรรมและภูมิปญ ญาประจําถิ่น มีจิตวิญญาณและความผูกพันอยูก ับพื้นที่ แหง นัน้ อยูภายใตก ารปกครองเดยี วกนั โครงสรางของชมุ ชน ประกอบดวย 3 สว นคือ 1. กลุม คน 2. สถาบนั ทางสงั คม 3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ การบริหารจัดการชมุ ชน หมายถงึ แนวทางการดาํ เนนิ งาน หรือ การปฏิบตั งิ านท่ีบุคคล และ/หรือ หนวยงานนํามาใชในการเปล่ียนแปลง พัฒนาหรือ สรางความอยูเย็นเปนสุขอยาง ยั่งยืน มง่ั คงใหก ับประชาชน ชุมชน ประเทศชาติ 2. การบรหิ ารจดั การชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปนแนวทางวิถีทาง หรือมรรควธิ ี ท่นี าํ ไปสจู ุดหมายปลายทางสงู สุด คอื ประเทศชาติ และประชาชนอยูเย็นเปนสุข อยางม่ังคงและยั่งยืน โดยประกอบไดดวยขั้นตอนการคิด การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล ท้ังน้ีตั้งอยูบนทางสายกลาง เปนหลักการสําคัญ ยึดความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคมุ กนั บนพ้นื ฐานความรแู ละคณุ ธรรม ซงึ่ อาจมีข้นั ตอนการดําเนนิ การ ดังน้ี 1. วิเคราะหช ุมชน 2. การเรยี นรูแ ละการตดั สนิ ใจของชุมชน 3. การวางแผนชุมชน 4. การดําเนินกจิ กรรมชมุ ชน 5. การประเมนิ ผลการดําเนินงานของชมุ ชน

5 ในการบรหิ ารจัดการชุมชน ควรคํานึงถงึ องคประกอบการขบั เคลอื่ นชุมชน ดงั น้ี 1. โครงสรา งพน้ื ฐานทางสงั คมของชุมชน 2. ความคดิ พื้นฐานของประชาชน 3. บรรทัดฐานของชมุ ชน 4. วิถปี ระชาธิปไตย 3. กระบวนการ เทคนิคการบรหิ ารจัดการชุมชน ในการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใชในการบริหารจัดการชุมชน ควรมี กระบวนการ เทคนิคในการบริหารจดั การ ทสี่ าํ คญั ดงั น้ี 1. กลไกการพัฒนา (มศี ักยภาพและขดี ความสามารถ ประกอบดว ย ผูน ําชมุ ชน อาสาสมัคร กลมุ /องคก ร และเครอื ขา ย) 2. การบริหารจัดการชุมชน (เปนระบบและมีประสิทธิ์ภาพ ประกอบดวย 2.1 ระบบการบริหารจัดการชุมชน (มีองคกรบริหารการพัฒนา มีแผนชุชน และมีขอมูลเพื่อการพฒั นา) 2.2 กระบวนการพัฒนา (มีการวิเคราะห มีการวางแผน มีการปฏิบัติ ตามแผนมกี ารแบงปน ผลประโยชน และมกี ารติดตามผล) 2.3 กระบวนทัศนการพัฒนา (มีกระบวนทัศนเศรษฐกิจพอเพียงมีกระบวน ทัศนท ุนชมุ ชน มีกระบวนทัศนมุงสูอนาคตรว มกันและมกี ระบวนทศั นพ ึ่งตนเอง) 3. ชุมชนเขมแข็ง (จัดการตนเองได ปรับตัวทันการเปล่ียนแปลง และประชาชน อยูเย็นเปนสุข) เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง (ทุนชุมชนเปนธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจชุมชน พึงตนเองได).....

6 บทที่ 3 การแกปญหาชุมชน เรอื่ งที่ 1. ปญหาของชุมชนดานสงั คม เศรษฐกิจ สิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมพื้นฐานของ หลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ในแตละชมุ ชนจะมีปญหาที่แตกตางกันออกไปข้ึนอยูกับบริบทของชุมชน แตโดยทั่วไป เราสามารถแบงปญ หาของชมุ ชนออกในดา นตาง ๆ ดังนี้ 1. ปญหาดา นการศึกษา อาทิเชน จํานวนผูไมร ูหนังสือระดับการศึกษาของ ประชาชนอัตราการศึกษาในระดบั ตาง ๆ และแหลงเรยี นรูใ นชุมชน เปนตน 2. ปญหาดา นสุขภาพอนามัย ไดแก ภาวะโภชนาการคนพิการ โรคติดตอ โรคประจําตัวอัตราการตายของทารกแรกเกิดสถานพยาบาลในชุมชน การรับบริการดา น สาธารณสุข เปน ตน 3. ปญ หาดานสังคมการเมืองการปกครองไดแก การเกิดอาชญากรรมแหลง อบาย มขุ ความขัดแยงทางการเมือง กิจกรรมท่ีเกี่ยวของกับการเลอื กตัง้ ในระดับตาง ๆ 4. ปญ หาดา นส่ิงแวดลอ มและทรัพยากรธรรมชาติ ไดแก ปญหามลภาวะตา ง ๆ การทําลายทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอมของมูลฝอยกับธรรมชาตติ า ง ๆ 5. ปญหาดานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ไดแ ก การสืบทอดอนุรักษ และการปฏิบัติ ศาสนกจิ ของประชาชน ที่สง ผลถึงความรักและความสามัคคขี องคนในชาติ แนวทางการแกป ญหาชมุ ชนมีปจ จัยท่ีเก่ยี วของ ดงั นี้ 1. เนน เร่ืองปญหาเปน การเปลี่ยนแปลงที่เอาปญ หามาเปนตัวตั้งแลวหาแนวทาง จดั การหรือแกป ญหานน้ั ๆ ชุมชนเปล่ียนแปลงไปหรอื ไม อยางไร ดูที่ปญหาวา มีอยูแ ละแกไ ขไป อยางไร 2. เนน เร่ืองอํานาจเปน การเปล่ียนแปลง ท่ีมองตัวอํานาจเปนสําคัญ ชุมชน เปลี่ยนแปลงไปหรือไมอ ยางไร ดูท่ีใครเปน คนจัดการ อํานาจในการเปล่ียนแปลงอยูท ่ีไหน ศกั ยภาพในการเปลี่ยนแปลงเพ่ิมขน้ึ หรอื ไม และสุดทายมีการเปลี่ยนโครงสรา งอาํ นาจหรือไม

7 3. เนน การพัฒนาเปน การเปลี่ยนแปลงที่เนนที่พลังจากภายในชุมชนดําเนินการ เปลี่ยนแปลงชุมชนโดยการตัดสินใจการกระทําของคนในชุมชนเองไมไดไปเปล่ียนท่ีคนอ่ืน หากเปน การเปล่ียนที่ชุมชนและไมไ ดเ อาตัวปญ หาเปนตัวต้ัง แตเปน ความพยายามที่จัดสรา ง ชุมชนทพ่ี งึ่ ตนเองและสามารถยืนอยูไดด วยตนเอง เรื่องที่ 2. การพฒั นาชมุ ชนดา นสงั คม เศรษฐกจิ สิง่ แวดลอมและวฒั นธรรมตามหลัก แนวคิดปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง หวั ใจสาํ คญั ของการพัฒนาชุมชน คือ การยึดชมุ ชนเปนหลกั ประชาชนตอ งรวมมอื กัน ชวยเหลือกัน พึ่งตนเอง และสรางความเขมแข็งของชุมชน ซึ่งเปนเสมือนทุนทางสังคมไทย เร่ิมจากการสงเสริมการผลิตพ้ืนฐาน คือการเกษตรแบบผสมผสาน การมีสวนรวมของ ประชาชนในชุมชนเปนหลัก โดยการรวมมือของประชาชน ตองใชกิจกรรมทางเศรษฐกิจเปน เคร่ืองมือ มีการรวมกลุมโดยมีเปาหมายเปนผลผลิต สนับสนุนใหเกิดเครือขายของชาวบาน โดยภาครัฐสามารถเขาไปสนับสนุนใหตรงกับความตองการ อันจะทําใหเกิดการพัฒนา เศรษฐกิจพื้นฐานเพอ่ื การพง่ึ พาตนเองของชุมชนไดอยา งยัง่ ยืนตอ ไป การพฒั นาประเทศภายใตแนวคิดปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมวี ัตถปุ ระสงค ดังนี้ 1. ฟน ฟเู ศรษฐกจิ ใหม เี สถยี รภาพและมีภูมิคมุ กนั 2. วางรากฐานการพฒั นาประเทศใหเขม แข็งยัง่ ยนื สามารถพึ่งตนเองไดอ ยา งรู เทา ทนั โลก 3. ใหเ กิดการบริหารจดั การท่ีดใี นสงั คมไทยทกุ ระดบั 4. แกไ ขปญ หาความยากจนและเพมิ่ ศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึง่ พาตนเอง การพัฒนายงั่ ยนื ( Sustainable Development ) หมายถงึ การพัฒนาท่ีตอบสนอง ความตองการของปจจบุ นั โดยไมท าํ ใหผ ูคนในอนาคตเกิดปญหาในการตอบสนองความตองการ ของตนเอง (นิยามของคณะกรรมการโลกวาดวยส่ิงแวดลอมและการพัฒนา World Commission on Environment and Development ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report ) ในการพัฒนายั่งยืนรวมความถึง 3 ดาน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดลอม ซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธกัน โครงการพัฒนา ใด ๆ ตองคํานึงถึง องคประกอบทงั้ สามดา นนี้

8 เรื่องที่ 3. การมสี ว นรวม แกป ญ หา หรือพฒั นาชมุ ชนดานสังคม เศรษฐกจิ สง่ิ แวดลอม และวฒั นธรรมตามหลกั แนวคิดปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการจัดทาํ แผนพัฒนาหมบู า น/ชุมชน เปน กระบวนการเรียนรูและการมีสวน รว มของประชาชนในหมูบ านและชมุ ชน โดยเริ่มจากการกระตุนจิตสํานึก และความรับผิดชอบ ของประชาชน/ชมุ ชน ใหม จี ิตสาธารณะ และรวมกนั คิด รวมกันจัดหา รวมกันเรียนรู/วิเคราะห เพอื่ ใหร แู ละเขา ใจตน โดยใชกระบวนการชุมชน คือ การสํารวจขอมูลปญหาและศักยภาพของ ชมุ ชน การวิเคราะหสาเหตุ/แนวทางแกไข แลวกําหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตนเอง/ หมบู า น และชมุ ชน ออกมาเปน กิจกรรม/โครงการทจ่ี ะแกไ ขปญ หาและตอบสนองความตองการ การพฒั นา ในลกั ษณะจากชุมชน โดยชมุ ชน และเพื่อชุมชน ซ่ึงจะเปนการสรางความเขมแข็ง และพ่ึงตนเองอยางย่ังยืนของชุมชนดังน้ันแผนชุมชน จึงเปนเคร่ืองมือของการมีสวนรวม แกป ญ หา หรอื พฒั นาชุมชนดานสังคม เศรษฐกิจ ส่ิงแวดลอมและวัฒนธรรมตามหลักแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคดิ เก่ียวกบั การจัดทาํ แผนชมุ ชน การใหชาวบานในหมูบานและชุมชน จัดทําแผนชุมชนเพ่ือพัฒนาหมูบานและชุมชน ของตนเอง มีแนวคิดหลักการและความเชื่อในหลาย ๆ ดา น เชน 1. แนวคิดจากปรัชญาพัฒนาชุมชน ซึ่งเปนสากลที่บอกวาชาวบานมีศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองไดถาใหโอกาส และการพฒั นาตอ งเร่ิมตน ท่ชี าวบา น 2. แนวคดิ จากหลกั การพัฒนาชุมชน คือ การมสี ว นรวม การพง่ึ ตนเอง การชว ยเหลือ ซ่ึงกนั และกนั และการรบั ผิดชอบตอ ชุมชนของตนเอง 3. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนใหเขมแข็ง คือ การใหชุมชนไดมีกระบวนการในการ จดั การชุมชน มกี ารเรยี นรูรวมกนั ในกระบวนการชุมชน 4. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนใหเขมแข็ง คือ การสรางพลังชุมชน ใชพลังชุมชน ในการพฒั นาชมุ ชน 5. แนวคดิ ทว่ี า ไมมีใครรปู ญหาชมุ ชนเทา คนในชุมชน ดังน้ัน การแกปญหาชุมชนจึง เรมิ่ จากชุมชน การใหการสนับสนุนของภาครัฐจะตองเปนลักษณะ Bottom-up ไมใช Top Down

9 ความหมายของแผนชมุ ชน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ไดใหความหมาย ของแผนชุมชนวา หมายถึง การกําหนดอนาคตและกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยเกิดข้ึน จากคนในชมุ ชนทมี่ ีการรวมตวั กนั จัดทําแผนขึ้นมา เพื่อใชเปนแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือ ทองถนิ่ ของตนเอง ใหเ ปน ไปตามท่ีตอ งการและสามารถแกปญหาที่ชุมชนเผชิญอยู คนในชุมชน มีสวนรวมคิด รวมกําหนด แนวทางและทํากิจกรรมการพัฒนารวมกัน ยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก คํานึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และ สิ่งแวดลอมในทองถ่ินเปนหลัก จึงกลาวไดวา แผนชุมชนเปนของชุมชนดําเนินการโดยชุมชน และเพื่อประโยชนของชุมชนเอง ซึ่งแตกตางจากแผนท่ีภาครัฐจัดทําขึ้นเพ่ือการจัดสรร งบประมาณเปนหลัก กระบวนการจัดทาํ แผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ไดกําหนดข้ันตอนการจัดทําแผนชุมชนไว 5 ขั้นตอน (หนังสือ ระเบยี บวาระชุมชน : กรมการพัฒนาชุมชน ป 2551) ดังนี้ ข้นั ตอนที่ 1 เตรยี มความพรอมชุมชน โดยมกี ลุม เปา หมายคือ ผูนําชุมชน ผูแทนคุม บาน อบต. ผแู ทนกลุม/องคก รชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะหขอมูลเรียนรูตนเองและชุมชน กลุมเปาหมาย คือ ผูนํา ชุมชน ผูแทนคุม บาน อบต. ผูแ ทนกลมุ /องคกรชมุ ชน ตัวแทนครัวเรอื น ประชาชนในชุมชน ข้ันตอนท่ี 3 การกาํ หนดเปา หมายและทิศทางการพฒั นา กลุมเปา หมาย ผแู ทนคมุ บา น อบต. ผแู ทนกลมุ /องคกรชุมชน ประชาชนในชุมชน ขน้ั ตอนท่ี ๔ การกําหนดแผนงานโครงการพัฒนาชุมชน กลมุ เปา หมายผูนําชุมชน ผแู ทนคุมบา น อบต. ผูแทนกลุม/องคก รชมุ ชน ประชาชนในชุมชน ข้ันตอนท่ี ๕ การปฏิบัติตามแผนชุมชน กลุมเปาหมาย คณะกรรมการ-บริหาร ชุมชน อบต. หนวยงานสนบั สนุนการพัฒนาในพน้ื ที่ การจดั ทาํ แผนชมุ ชน 5 ขนั้ ตอน ดงั กลาวขางตนเปน แนวทางทีก่ รมการพฒั นาชุมชนได ศึกษาคนควาจากกรณีศึกษาแผนชุมชนที่ประสบความสําเร็จในการสงเสริมกระบวนการแผน ชุมชน อาจปรับใหเขากับบริบทลอมรอบหรือภูมิสังคมแตละพ้ืนที่ไดตามความเหมาะสม โดยคํานึงถงึ ประโยชนท ่ีประชาชนจะไดร บั จากการดําเนนิ งานนั้น ๆ

10 เรอื่ งท่ี 4 การสง เสรมิ เผยแพร ขยายผลงานการปฏบิ ัตติ ามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพยี งของบคุ คล ชมุ ชน ทปี่ ระสบความสําเร็จสอู าเซียน การท่ปี ระเทศไทยของเรานั้น จะกาวเขา สูการเปนประชมอาเซยี นไดอยางสมบูรณพรอม มูลนน้ั ยอ มจะตอ งอาศัยเหตปุ จจยั หลาย ๆ อยางมาประกอบเขาดวยกัน เพื่อเสถียรภาพ ทม่ี ่นั คงถาวรอยางแทจริง แนวทางสําคัญอยางหนึ่งท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัชกาลที่ 9 ทรงมอบไวแก ชาวไทยทุกๆคนน้ัน คือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงมีความเกี่ยวของและสอดคลองกับ ความพอประมาณ, การมีเหตุผลและการมีภูมิคุมกัน โดยตองอาศัยหลักความรูคูคุณธรรม ประกอบกันดวยหลักการเหลานี้สามารถที่จะนํามาประยุกตใชไดกับการเปนสวนหนึ่งของ ประชาคมอาเซียน เพราะวากอนที่จะเขาเปนสวนหน่ึงของประชาคมดังกลาวไดอยางเต็ม ภ า ค ภู มิ นั้ น จํ า ต อ ง ส ร า ง ค ว า ม มั่ น ค ง ท า ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ใ ห ไ ด ม า ก พ อ ท่ี จ ะ เ ป น ท่ี ย อ ม รั บ ข อ ง กลุม ประเทศตาง ๆ ในประชาคม เศรษฐกิจพอเพียงเปนการพัฒนาไปสูความสามารถในการพ่ึงตนเองในระดับตาง ๆ อยา งเปนขัน้ ตอนชว ยลดความเส่ียงเก่ียวกับการเปล่ียนแปลงจากปจจัยตาง ๆ โดยอาศัยความ พอประมาณ และความมีเหตุผล มีการสรางภูมิคุมกันที่ดี มีความรูควบคูคุณธรรม หัวใจของหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การ “อยูไดดวยส่ิงท่ีมีอยูอยางยั่งยืน” เปน หลักการและแนวปฏิบัติของโลกในอนาคต ดวยเร่ืองความพอเพียงเปนเรื่องของบุคคล และ องคก รทกุ ระดับเมอ่ื ไดรบั การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จนเกิดประสิทธิผลและเปนที่ ยอมรบั นอกจากน้ี ยังมี 13 นักคิดระดับโลก เห็นดวยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมี การนําเสนอบทความ บทสัมภาษณต าง ๆ เชน  ศ.ดร. วูลฟกัง ซัคส นักวชิ าการดานสิ่งแวดลอ มคนสําคญั ของเยอรมนีสนใจการ ประยุกตใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยางมาก และมองวานาจะเปนอีกทางเลือกหนึ่ง สําหรบั ทกุ ชาติ ในเวลานที้ ้ังมีแนวคดิ ผลักดนั เศรษฐกจิ พอเพยี งใหเ ปนทรี่ ูจ กั ในเยอรมนี  ศ.ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารยชาวอินเดียเจาของรางวัลโนเบลสาขา เศรษฐศาสตร ป ค.ศ. 1998 มองวา ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งเปนการใชส ง่ิ ตา ง ๆ ที่จําเปนตอ การดํารงชีพ และใชโอกาสใหพ อเพียงกับชีวิตที่ดีซ่ึงไมไดหมายถึงความไมตองการ แตตองรูจัก

11 ใชช วี ติ ใหดีพออยาใหค วามสําคญั กบั เร่ืองของรายไดแ ละความรํ่ารวยแตใหมองที่คุณคาของชีวิต มนุษย  จิกมี ทินเลย นายกรัฐมนตรีแหงประเทศภูฏาน ใหทรรศนะวา หากประเทศไทย กําหนดเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียง ใหเปนวาระระดับชาติและดําเนินตามแนวทางน้ีอยางจริงจัง “ผมวา ประเทศไทยสามารถสรางโลกใบใหมจากหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงสรา งชวี ิตท่ีย่งั ยืน และสดุ ทายจะไมหยุดเพยี งแคในประเทศแตจะเปน หลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทํา ไดสาํ เรจ็ ไทยก็คอื ผูนํา”และปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ไดร ับการเชดิ ชูเปน อยางสงู จากองคการ สหประชาชาติ โดย นายโคฟ อันนัน ในฐานะเลขาธิการองคการสหประชาชาติไดทูลเกลาฯ ถวายรางวลั ความสาํ เร็จสูงสดุ ดานการพัฒนามนษุ ยแดพ ระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เม่ือวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และไดมีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวาเปนปรัชญาท่ีมี ประโยชนตอประเทศไทย และนานาประเทศและสามารถเริ่มไดจากการสรางภูมิคุมกัน ในตนเอง สูหมูบาน และสูเศรษฐกิจในวงกวางข้ึนในที่สุดและนาย Håkan Björkman รักษาการผอู ํานวยการสาํ นกั งานโครงการพัฒนาแหง สหประชาชาติ ในประเทศไทยกลาวเชิดชู ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยังไดตระหนักถึงวิสัยทัศน และแนวคิดในการพัฒนาของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว และองคการสหประชาชาติยังไดสนับสนุนใหประเทศตาง ๆ ทีเ่ ปน สมาชกิ 166 ประเทศ ใหยึดเปน แนวทางสูการพัฒนาประเทศแบบย่งั ยืน

12 บทที่ 4 สถานการณข องประเทศไทยและสถานการณโ ลกกบั ความพอเพียง เรอ่ื งท่ี 1 สถานการณป ระเทศไทยกบั ความพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติไดจัดทําแผนพัฒนา เศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติเพ่อื ใชกาํ หนดทิศทางอนั สามารถจะถอื ไดว าเปนคานิยมรวมในการ วางแผนแมบทของหนวยงานตางๆซ่ึงเปนจุดกําเนิดที่สําคัญของการนําแนวคิด หลักการ ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคล่ือนการทํางานในทุกระดับของสังคมไทย “เศรษฐกิจ พอเพียง” เปนปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชดํารัสช้ีแนะแนวทางการ ดําเนินชีวิตแกชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา 25 ปต้ังแตกอนเกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจ และเม่ือภายหลังไดทรงเนนย้ําแนวทางการแกไขเพ่ือใหรอดพนและสามารถดํารงอยูไดอยาง มั่นคงยั่งยืนภายใตกระแสโลกาภิวัตน และการเปลี่ยนแปลงตางๆปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงสามารถประยกุ ตใชเ ปนพ้นื ฐานการบริหารและพัฒนาประเทศไดในทุกภาคการผลิตรวมท้ัง เปนแนวในการดํารงชีวิตและปฏิบัติงานของคนไทยทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและ สงั คม โดยคาํ นึงถึงประเด็นดงั น้ี - การดําเนินการในทางสายกลางที่อยูบนพื้นฐานความพอดีเนนการพึ่งตนเอง ขณะเดยี วกนั ใหก าวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน - ความพอเพยี งทีเ่ นนการผลติ และบรโิ ภคอยบู นความพอประมาณมเี หตุผล - ความสมดุลและการพัฒนาท่ียั่งยืน เปนการพัฒนาอยางมีองครวมมีสมดุล ระหวางกระแสการแขงขันจากโลกาภิวัฒนและกระแสทองถ่ินนิยมมีความหลากหลายใน โครงสรางการผลิตมีการใชทุนที่มีอยูในสังคมใหมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชนสูงสุดไมทําลาย ทรัพยากรธรรมชาตสิ งิ่ แวดลอมวฒั นธรรม ภูมิปญ ญาและวถิ ีชวี ิตท่ดี ีงาม - การมีภูมิคุมกันในตัวท่ีดีพอสมควรในการเตรียมความพรอมรูเทาทันตอ ผลกระทบ ที่เกิดจากการเปล่ียนแปลงตาง ๆ มีความยืดหยุนในการปรับตัวมีการตัดสินใจ อยางมเี หตผุ ลมคี วามเขม แขง็ มนั่ คง และย่งั ยนื - การเสริมสรางจิตใจคนและพัฒนาคนในชาติใหเปนคนดีมีคุณธรรมมีความ รบั ผิดชอบซอ่ื สัตยส ุจริตมสี ติปญญามคี วามเพยี รอดทนและรอบคอบ

13 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพฒั นาเศรษฐกิจไทย 1. โครงสรา งเศรษฐกิจไทยกอนใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจ กอนที่ประเทศไทยจะ ประกาศใชแ ผนพฒั นาเศรษฐกิจแหงชาติ ฉบับท่ี 1 (พ.ศ. 2504-2509) โครงสรางเศรษฐกิจ ของไทย มีสภาพ ดังนี้ 1) เศรษฐกิจแบบยังชีพ เศรษฐกิจไทยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัย รตั นโกสนิ ทรตอนตน มีโครงสรางทางเศรษฐกจิ แบบยงั ชีพ โดยผลติ อาหารและส่ิงของเคร่ืองใช ตาง ๆ พอกินพอใชภายในครอบครัวและหมูบาน เม่ือเหลือจากการบริโภคจึงนําไปคาขาย แลกเปลี่ยนยงั หวั เมอื ง และประเทศใกลเคยี ง 2) เศรษฐกิจแบบทุนนยิ ม หรอื เศรษฐกิจแบบการคาและใชเงินตรา เกิดข้ึน ภายหลังประเทศไทยทําสนธสิ ัญญาเบาวร ิงกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2398 สมัยรัชกาลท่ี 4 และ กบั ชาตติ ะวันตกอ่นื ๆ ในเวลาไลเลียกนั ทําใหเกดิ การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจตอประเทศ ไทย ดงั น้ี (1) มีการติดตอคาขายกับตางประเทศอยางกวางขวาง มีเรือสินคา ตางชาติเดินทางเขามาคา ขายในกรงุ เทพฯ เพิม่ จํานวนมากขนึ้ หลายเทา ตัว (2) ยกเลิกระบบการคาผูกขาดและเปลี่ยนมาเปนระบบการคาเสรี การผกู ขาดการคาของหนวยราชการทเ่ี รยี กวา “พระคลงั สนิ คา” ตองยุติลง พอคาชาวอังกฤษ และชาติตะวันตกอื่นๆ สามารถซ้ือขายสนิ คากับพอ คา ไทยไดโดยตรง เปนผลใหปริมาณการคา ระหวางไทยกับชาตติ ะวันตกขยายตัวกวา งขวาง (3)ระบบการผลิตแบบยังชพี เปลี่ยนมาเปน ระบบการผลิตเพื่อการคา ขาวกลายเปนสินคาออกท่ีสําคัญของไทย ชาวนาขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพ่ือสนองความ ตองการของตลาดโลก (4) ความตองการใชแรงงานทํางานในไรนามีมากข้ึน ทําใหราชการ ตองลดหยอนการเกณฑแรงงานไพร โดยใหจายเปนเงินคาราชการแทนเพื่อใหราษฎรมีเวลา ทํางานใน ไรนามากขึ้น สวนงานกอสรางของทางราชการ เชนขุดคลอง สรางถนน ฯลฯ ใชวธิ ีจา งแรงงาน ชาวจีนแทน (5) เกิดระบบเศรษฐกจิ แบบใชเ งนิ ตรา มกี ารจดั ตงั้ โรงงานกษาปณ ในป พ.ศ. 2403 เพ่ือใชเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ แบบประเทศตะวันตก และยกเลิกเงิน พดดวงแบบเดิม ซงึ่ ปลอมแปลงไดง า ย ทาํ ใหก ารซอ้ื ขายแลกเปลี่ยนสินคาทําไดสะดวกคลองตัว ยงิ่ ข้นึ

14 3) เศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มโดยรัฐ เกดิ ขนึ้ ระหวาง พ.ศ. 2475-2504 ภายหลัง เปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก ยังคง ดํารงอยูตลอดรัชกาล ซ่ึงมีผลกระทบตอประเทศไทย เพราะทําใหการสงออกสินคาไทยใน ตลาดโลกลดตาํ่ ลง อันเนื่องมาจากโครงสรา งเศรษฐกจิ ของไทยตอ งพ่งึ พารายไดจากการสงออก สินคา เพยี ง ไมกช่ี นดิ เชน ขายไมสกั และดีบกุ ชาวนาและผคู นสวนใหญในชนบทจึงยากจน ชวงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) เกิดภาวะเงินเฟอ ขาดแคลนสินคา และขาวของมีราคา แพง รฐั สงเสริมการขยายตัวการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากข้ึน โดยรัฐเขาดําเนินการผลิตโดยตรง เชน โรงงานทอผายาสบู ทํากระดาษ และโรงงานสรุ า เปน ตน จึงเรียกวา เปนยุคเศรษฐกิจแบบ ชาตินิยม หรือเศรษฐกิจแบบทนุ นิยมโดยรฐั 2. โครงสรา งเศรษฐกิจไทยในยคุ ทใ่ี ชแ ผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง ชาติ 1) ความเปน มาของแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คแหง ชาติ ภายหลงั สงครามโลกครั้งที่ 2 ส้นิ สุดลงสหรัฐอเมรกิ าเปนชาตผิ นู าํ ของโลกทนุ นยิ มไดสนับสนุนใหไทย พฒั นาความเจริญทางเศรษฐกจิ ของประเทศตามแนวทางทุนนิยมโดยผานธนาคารโลก ซึ่งชี้นาํ ใหป ระเทศไทยจัดตัง้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแหง ชาตแิ ละวางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ โดยเนนให ภาคเอกชนมบี ทบาทในการพัฒนามากขึน้ 2) การเปลี่ยนแปลงโครงสรางเศรษฐกิจของไทย ประเทศไทยเร่ิมใช แผนพฒั นาเศรษฐกจิ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ.2504-2509) จนกระทง้ั ในปจจุบันใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559) ผลจากการใชแผนพัฒนาดังกลาวมาเปน เวลา 50 ป ทาํ ใหเกิดการเปลย่ี นแปลงโครงสรา งเศรษฐกิจของประเทศไทย ดงั น้ี (1)ผลผลิตภาคการเกษตรลดปริมาณลงแตม กี ารกระจายหรอื เพมิ่ ชนิดข้ึน แตเ ดมิ มเี พยี ง ขาว ไมสัก และยางพารา ตอมามีสินคาออกเพิ่มข้ึนอีกหลายชนิด เชน ขาวโพด มันสาํ ปะหลัง ออ ย และผลไมตา ง ๆ เปน ตน (2) ผลผลิตภาคอตุ สาหกรรมและการบรกิ าร (ธนาคารพาณิชย การทองเที่ยว(โรงแรม) เพ่ิมข้ึนอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทาง การเกษตร ขณะเดียวกนั มกี ารนาํ เคร่อื งจักรและเทคโนโลยีการผลติ สมัยใหมม าใชมากข้ึน

15 (3) การคาระหวา งประเทศ ขยายตวั มีมูลคาเพ่ิมสงู ขึ้นมาก ทั้งสินคา ออก และสินคาเขา สินคาออก มีหลายชนิดมากขึ้น แตเดิมเปนผลผลิตทางการเกษตร แตใน ปจ จุบันเปน สนิ คาอุตสาหกรรมเปนสวนใหญ เชน ช้ินสวนอะไหลรถยนต อุปกรณคอมพิวเตอร และแผงวงจรไฟฟา 3. ความสําคญั ของการพฒั นาเศรษฐกจิ การพัฒนาเศรษฐกิจมีความจาํ เปน สําหรบั ประเทศไทย ในปจ จุบันเพราะสาเหตุ ดังน้ี 1) การเพม่ิ ของจาํ นวนประชากร ซงึ่ ไมสมดลุ กบั ทรัพยากรท่ีมีอยูอยาง จํากัด จึงจําเปนตองพัฒนาคนและใชทรัพยากรอยางคุมคา ผลของการพัฒนา เศรษฐกิจ คือ ประชากรมีความเปนอยูท่ีดีหรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงข้ึน มีชีวิตความ เปนอยูสะดวกสบาย ไดใชสินคาดีราคาไมแพง และมีบริการสนองความตองการอยางทั่วถึง และมคี ณุ ภาพ เชน การคมนาคมขนสง การส่อื สารทีอ่ ยูอาศัย ฯลฯ 2) โครงสรางทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีลักษณะผูกขาดโดย คนสวนนอ ยเกิดการกระจายรายไดท่ีไมเปนธรรม และมีชองวางระหวางคนรวยกับคนจนผล ของการพฒั นาเศรษฐกิจ คอื รัฐสามารถชว ยเหลือผูด อ ยโอกาสทางเศรษฐกจิ และสังคมไดมาก ข้ึนอยางมีคุณภาพ เชน คนยากจน คนพิการ เด็กกําพรา คนชรา คนวางงาน และผูประสบภัย พิบัติตา งๆ เปน ตน 3) ระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทยเปนระบบเปด คือ ตองพึ่งทุนและ การคากับตางประเทศ รวมท้ังเปด กวางรับเทคโนโลยี กาสื่อสาร วัฒนธรรม การศึกษา และ การปรโิ ภคจากโลกตะวนั ตกอยา งเตม็ ท่ี ทําใหสังคมไทยตองเรงพัฒนาตนเอง ใหสามารถแขงขัน และรูเทาทันความเปล่ียนแปลงในสังคมโลกได เพื่อมิใหถูกเอาเปรียบ ผลของการพัฒนา เศรษฐกจิ คือ ประเทศ ที่มีความเจริญกาวหนาทางเศรษฐกิจจนไดชื่อวาเปนประเทศที่พัฒนา แลวสงผลใหมีความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร มีกองทัพที่เขมแข็ง ทําใหไมตกอยูใต อาํ นาจหรอื อทิ ธิพลของชาติมหาอํานาจ 4) การเปล่ียนแปลงของสภาพแวดลอมทางธรรมชาติ เชน ภัยแลง อุทกภัย วาตภัย และภัยจากธรณีพิบัติ (แผนดินไหว และสึนามิ) เปนตน รวมทั้งการเกิด โรคระบาด เชน ไขหวัดนก ไขเลือดออก ฯลฯ ทําใหประชาชนไดรับความเดือดรอน ผลของ การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประเทศท่ีมีความเจริญกาวหนาทางเศรษฐกิจ จนไดช่ือวาเปน ประเทศท่ี พัฒนาแลว สงผลใหมีความม่ันคงทางการเมืองและการทหาร มีกองทัพ

16 ท่ีเขมแข็ง ทําใหไมตกอยู ใตอํานาจหรืออิทธิพลของชาติมหาอํานาจ ผลของการพัฒนา เศรษฐกิจ คอื ประเทศทม่ี กี ารพัฒนาเศรษฐกจิ เจรญิ กา วหนา จะเกิดผลดตี อ ประชาชน คอื (4.1) มีมาตรการปองกันภัยพิบัติตาง ๆ อยางมีประสิทธิภาพสามารถ ควบคุมวกิ ฤตจากภยั ธรรมชาติใหบรรเทาลงได (4.2) ชวยเหลือผูประสบภัยไดอยางทันทวงที และชวยใหประชาชน ดํารงชีวิตอยูอยางปลอดภัย เชน มีงบประมาณสรางเข่ือนประตูระบายนํ้า ศูนยเตือนภัย และ สรางบานทอ่ี ยูอาศัยใหผูป ระสบภัยพิบัติ เปนตน 5) ประชาชนสว นใหญใ นประเทศกาํ ลังพฒั นามีมาตรฐานการดาํ รงชีวิตทตี่ ่าํ กวาเกณฑพื้นฐาน อันเน่ืองมาจากปญหาความยากจน ทําใหขาดแคลนส่ิงอํานวยความ สะดวกตางๆ รวมทั้งปจจัย 4 ในการดํารงชีพ และไมอาจเลือกอาชีพการงานไดผลของการ พัฒนาเศรษฐกิจ คอื ประเทศทพ่ี ฒั นาแลว และมีเศรษฐกิจเจรญิ กาวหนาสงผลใหป ระชาชนมี อาชพี และรายไดดีมีกําลังซอ้ื สงู ทาํ ใหมีอิสระ ในการดําเนินชีวิตมากข้ึน เชน มีอิสระในการ เลอื กอาชพี ตามความถนดั และความสนใจทําใหช วี ติ มีสุข 4. ปจจยั สง เสรมิ การพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญกาวหนา อยา งรวดเรว็ เกิดจากความไดเ ปรียบในปจจยั สําคัญ 2 ประการ คอื 1) ปจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสําคัญตอการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรง สรปุ ไดดงั นี้ (1) ทด่ี ิน มีพื้นท่ีประเทศกวางใหญ มีดินและนํ้าอุดมสมบูรณ มีแมนํ้า สายยาวหลายสายไหลผานพื้นท่ีเพาะปลูก มีทรัพยากรปาไม แรธาตุ และมีทรัพยากร นนั ทนาการ (แหลงทอ งเท่ยี ว) อยางอดุ มสมบรู ณ (2) แรงงาน มีประชากรมีคุณภาพ มกี ารศึกษาดี มีระเบียบวินัย และ เคารพกฎหมายของบานเมอื ง เปนแรงงานมีฝมือซึง่ ผา นการพฒั นาฝก ฝนทักษะเปน อยางดี (3) ทุน มีเครื่องมือ เครื่องจักร และนิคมอุตสาหกรรมท่ีทันสมัย มีสาธารณูปโภค และปจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีคุณภาพอยางพียงพอ เชน ถนน ไฟฟา ประปา การสือ่ สารและการคมนาคมขนสง เปนตน รวมท้ังมีสถาบันการเงินเปน แหลง เงนิ ทนุ ทส่ี าํ คญั ของผปู ระกอบการ

17 (4) เทคโนโลยี มีความเจริญกาวหนาทางเทคโนโลยี โดยนําวิทยาการ หรือเทคโนโลยีสมยั ใหมมาใชในการผลติ สนิ คา ทัง้ ภาคเกษตร อตุ สาหกรรม และบรกิ าร (5) ตลาด มีตลาดขนาดใหญรองรับผลผลิตอยางกวางขวาง ท้ังตลาด ภายในประเทศและตลาดตางประเทศ ชวยกระตุนใหการผลิตขยายตัว เกิดการจางงาน และ เกิดธุรกจิ ใหมๆ เพ่มิ ขึน้ เชน การขนสงสนิ คา ประกันภัยสินคา ทาํ ปายโฆษณา ส่ิงพิมพ กลอ งกระดาษ และบรรจุภณั ฑ 2) ปจ จยั ทางสังคม และการเมืองการปกครอง เปนปจจัยสนับสนุนใหการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเจริญกาวหนาอยางรวดเร็ว ดังนี้ (1) สถาบันครอบครัว มีสถาบันครอบครัวท่ีเขมแข็ง มีความสามารถ ในการเลี้ยงดสู มาชิกในครอบครัวและใหก ารศึกษาอบรมอยา งมคี ุณภาพ (2) โครงสรางทางสังคมชนชั้นในสังคมไมยึดม่ันตายตัว ชนช้ันลางหรือ กลุมคนระดับรากหญาสามารถเปลี่ยนหรือเลื่อนฐานะทางสังคมไดงายจากการศึกษาและ อาชพี ทําใหเ กิดชนช้ันกลางใหม ๆ เพิม่ มากขึ้น เชน วิศวกร ชางฝมือ โปรแกรมเมอร ฯลฯ ซง่ึ เปนผลดตี อ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (3) การเมืองการปกครองและกฎหมาย เปนประเทศที่มีลักษณะดังนี้ มกี ารปกครองระบอบประชาธิปไตยท่ีมั่นคง บานเมืองสงบเรียบรอย ไมมีปญหาความขัดแยง ทางการเมืองภายในอยา งรนุ แรง และมบี รรยากาศท่เี อ้ือตอ การลงทนุ และการดําเนนิ ธุรกิจ มกี ฎหมายสงเสริมการลงทุน คุมครองแรงงาน คุมครองผูบริโภค และสนับสนุนเกษตรกรใน ดานราคาผลผลิต เปน ตน 6. เครื่องชวี้ ดั การเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกจิ การพัฒนาเศรษฐกจิ เปน การดาํ เนนิ กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหเกิดการเจรญิ เติบโตอยางเหมาะสมและมีเสถียรภาพ สงผลใหรายได ท่ีแทจริงเฉลี่ยตอบุคคลเพ่ิมสูงขึ้น และทายท่ีสุดทําใหคุณภาพชีวิตของประชาชนดีข้ึน โดยสามารถวดั การพัฒนาเศรษฐกิจจากความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจควบคูไปกับความอยูดีกิน ดีของประชาชน ดังน้ี 1.) ดชั นวี ัดการเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกิจแสดงถงึ การขยายตวั ทาง เศรษฐกิจ เชน ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศ ผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ รายได ประชาชาติ เปน ตน

18 2.) ดัชนวี ัดความอยูดีกินดีของประชาชนแสดงถึงระดับความเปน อยูของ ประชาชน เชน อัตราการอานออกเขียนได อายุเฉลี่ยของประชากร อัตราการตายของ ทารก อัตราสวนของแพทยตอจํานวนประชากร เปนตนท้ังน้ีดัชนีช้ีวัดการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ เปนดัชนีพื้นฐานเบื้องตนท่ีจะสะทอนภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ดังน้ี (1) ผลติ ภณั ฑม วลรวภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP )เปน ตัวช้ีวดั การเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ที่นยิ มใชม ากทีส่ ุด เพราะแสดงถึง ความสามารถในการผลิตและการบรโิ ภคของประเทศ โดยผลติ ภัณฑมวลรวมภายในประเทศ เปน มูลคา ของสนิ คาและบริการขั้นสุดทา ย ซ่ึงผลติ ข้นึ โดยใชทรัพยากรภายในประเทศในรอบ ระยะเวลา 1 ป GDP : มูลคา ของสนิ คา และบรกิ ารขัน้ สุดทา ยทผี่ ลติ ขนึ้ โดยคนไทยและ ชาวตางชาติโดย ใชท รพั ยากรของประเทศไทย (2) ผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ (Gross National Product : GNP) แสดงถึง ความสามารถในการผลิต การบริโภคของคนไทยทั้งประเทศ โดยผลิตภัณฑ มวลรวมประชาชาติเปนมูลคาของสินคาและบริการข้ันสุดทาย ซึ่งผลิตข้ึนโดยคนไทยใน ประเทศและคนไทยในตา งประเทศ GNP :GDP + รายไดสทุ ธิจากปจจัยการผลิตตางประเทศ (3) รายไดประชาชาติ (National Income : NI)คือ มูลคาของ รายไดที่ประชาชนคนไทยในประเทศและคนไทยที่ไปทํางานในตางประเทศไดรับในชวง ระยะเวลา 1 ป ทั้งน้ีรายไดประชาชาติคํานวณจากผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ หักดวย ภาษีทางออมและคาเส่อื มราคา NI : GNP – (ภาษที างออม + คาเส่ือมราคา) (4) รายไดเ ฉล่ียตอบคุ คล (Per Capita Income) คาํ นวณไดจ าก รายไดป ระชาชาตหิ ารดวยจาํ นวนประชากร ซึง่ ใชเ ปนดัชนสี ําหรบั เปรียบเทียบระดบั ความอยดู ี กินดีของประชาชนของประเทศตาง ๆ การวัดการเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกิจเปนสว นหนึ่งของ การวดั การพัฒนาเศรษฐกิจดังทีไ่ ดกลา วไปแลวขางตน อยางไรก็ตาม ในปจ จบุ ันมแี นวคิด การวัดความสขุ มวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness : GNH) ขนึ้ เนือ่ งจากการพัฒนาท่ีผานมามงุ เนน แตก ารเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจเพยี งอยา งเดยี ว จนละเลยความสขุ ซ่งึ เปน เปา หมายสูงสดุ ของการพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคม ทง้ั น้ียงั ไมมีดชั นี วัดความสขุ มวลรวมประชาชาติทแ่ี นนอนหรอื ชดั เจนในขณะนี้ แตถ ือเปนจุดเร่ิมตน ของการให ความสําคัญกบั ความสุขของประชาชน มากกวา การมุง เนนแตก ารเจริญเตบิ โตทางเศรษฐกิจ

19 ประเทศที่เปนผูนาํ เสนอแนวคิดการวัดความสขุ มวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness : GNH) ขึน้ คอื ประเทศภูฏาน โดยมีหลักการ สาํ คัญ 4 ประการ คือ  การพฒั นาทางเศรษฐกจิ ท่ีย่ังยืน  การอนรุ ักษแ ละสง เสริมคณุ คาทางวัฒนธรม  การรกั ษาส่ิงแวดลอมทางธรรมชาติ  การมีธรรมาภบิ าล 6. ความหมายและความเปน มาของแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหงชาติ 6.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ คือ การกําหนดแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อใหประชาชนมีชีวิตและความเปนอยูท่ีดีขึ้น โดยการเขา มามสี วนรวมของประชาชนทุกขน้ั ตอนอยา งเปนระบบ 6.2 ความเปน มาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ประเทศไทย ไดมีการริเริ่มจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติมาตั้งแตป พ.ศ. 2502 ในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษด์ิ ธนะรัชต โดยในป พ.ศ. 2504 ไดประกาศใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติ ฉบับแรกข้ึน ซ่ึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติ ฉบับที่ 1 มีระยะเวลาของแผน 6 ป โดยที่ แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาตฉิ บับตอ ๆ มา มีระยะเวลาของแผน 5 ป หนวยงานที่ มีหนาท่ีรับผิดชอบในการจัดทําแผน คือ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแหงชาติ โดยปจจุบันประเทศไทยกําลังอยูในชวงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แหงชาติฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559) ซ่ึงสาระสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แหงชาตแิ ตล ะฉบบั มีดังตอ ไปนี้ 7. ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงกบั การประยกุ ตใชในชวี ิตประจาํ วัน เศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกตใชไดทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของ เศรษฐกิจ ไมจําเปนจะตองจํากัดเฉพาะแตภาคเกษตร หรือภาคชนบท แมแตภาค การเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย และการคาการลงทุนระหวางประเทศ โดยมีหลักการ ทีค่ ลายคลึงกันคือ เนนการปฏิบัติอยางพอเพียง มีเหตุมีผล และสรางภูมิคุมกันใหแกตนเอง และสงั คม

20 7.1 การประยุกตใชปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรกรรม เม่ือป พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดพระราชทานแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ พ อ เ พี ย ง ใ ห เ ก ษ ต ร ก ร นํ า ไ ป ป ฏิ บั ติ เ พ่ื อ ย ก ฐ า น ะ แ ล ะ ชี วิ ต ค ว า ม เ ป น อ ยู ใ ห ดี ข้ึน เรียกวา การเกษตรทฤษฎีใหม หรอื ทฤษฎีใหม ซ่งึ มหี ลักปฏบิ ัติ 3 ข้ัน ดังนี้ ข้ันที่ 1 ผลิตอาหารเพื่อบริโภคแนวพระราชดําริทฤษฎีใหม เนนให เกษตรกรสรางความม่ันคงทางอาหารแกครอบครัวตนเองกอน โดยทํานาขาวเพ่ือเก็บไวกิน ตลอดป เหลือจากการบริโภคจึงขาย โปรดเกลาฯ ใหทดลองทฤษฎีใหมในท่ีดินสวน พระองค ณ วัดมงคลชัยพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จํานวน 15 ไร โดยแบงพ้ืนที่ เปน 4 สว นตามอตั ราสว น 30 : 30 : 30 : 10 เนน การบริหารจัดการที่ดินและนํ้า ซ่ึงถือวา เปน หัวใจของการเกษตรทฤษฎใี หม ดงั น้ี  รอยละ 30 ของพื้นท่ี ขุดสระนาํ้ ไวใชส อยและเลยี้ งปลา  รอ ยละ 30 ของพ้นื ที่ ทาํ นาขาว  รอ ยละ 30 ของพ้นื ที่ ปลกู ไมย นื ตน พืชไร พชื สวนครัว  รอ ยละ 10 ของพืน้ ที่ ปลกู บา น โรงนาเก็บอปุ กรณ โรงเลยี้ งสตั ว ขน้ั ที่ 2 รวมตัวจัดตัง้ กลุม ชมรม หรอื สหกรณ เกษตรกรจะพฒั นาไปสู ระดับพออยูพอกินพอใชใหสมบูรณย่ิงขึ้น มีรายไดจากผลผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยรวมมือจัดตั้ง เปน กลมุ ชมรม หรอื สหกรณ ดําเนนิ กิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมกัน ดงั นี้ (1) ดา นการผลิต มกี ารรวมตัวจัดตง้ั เปน กลุมแมบา น ชมรม หรอื สหกรณ ผลติ สินคาหรอื บริการของชุมชนเพ่อื หารายไดชวยเหลือครอบครัวอกี ทางหนงึ่ เชน งานหัตถกรรม (2) ดานการตลาด รว มกนั สรางอํานาจตอรองในการจาํ หนา ยผลผลิตให ไดร าคาดี ไมพ ึ่งพอ คาคนกลาง (3) ดานสวสั ดกิ ารและชีวติ ความเปนอยู มีการจัดตั้งกองทุนใหสมาชิก กูเงิน ยามฉุกเฉิน เพื่อชวยเหลือซึ่งกันและกันยามเจ็บไขไดปวย เกิดอุบัติเหตุ หรือประสบ ภัยธรรมชาตติ าง ๆ

21 ข้ันที่ 3 รวมมือกับองคกรหรือภาคเอกชนภายนอกชุมชนเปนข้ัน พัฒนากลุม ชมรม หรือสหกรณใหกาวหนา โดยกูเงินจากแหลงเงินทุนภายนอกชุมชนมา ลงทุนขยายกิจการ เชน ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร (ธกส.) บริษัท นาํ้ มัน ฯลฯ หรอื ขอความชว ยเหลือดา นวชิ าการจากหนวยงานทัง้ ภาครัฐและเอกชนเปาหมาย ของขน้ั ที่ 3 คอื พฒั นากิจการสหกรณ จัดต้ังและบริหารโรงสีขาวของชุมชน ปมนํ้ามันของ ชุมชนใหเขมแข็งยิ่งข้ึน พัฒนาคุณภาพของเกษตรกรใหอยูดีกินดี จําหนายผลผลิตไดราคา สูง ไมถูกกดราคา ซ้ือเครื่องมืออุปกรณการเกษตรและสินคาอุปโภคบริโภคตาง ๆ ในราคา ถูก เปน ตน 7.2 การประยกุ ตใ ชปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งในภาคอตุ สาหกรรมการคา และการบริการ หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งสามารถนาํ ไปประยุกตใ ชก ับธรุ กิจเอกชน ทงั้ ภาคอตุ สาหกรรม การคา และการบริการ ดังนี้ 1) ความพอประมาณ ผปู ระกอบการควรยดึ แนวทางปฏิบัติ ดงั นี้ (1) พอประมาณในการผลติ ไมผ ลติ สินคามากเกนิ ความตองการ ของผูบรโิ ภคจนเหลือลนตลาด ถอื เปน การชวยประหยัดพลงั งาน และทรัพยากรในการผลิต (2) พอประมาณในผลกําไร ไมค ากําไรเกนิ ควรจนผบู ริโภค เดือดรอน ไมกดราคา รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร มีการแบงปนผลกําไรสวนหน่ึงไปพัฒนา คุณภาพฝม อื แรงงานและองคกรของตน รวมทัง้ คืนกาํ ไรสูสังคม โดยตอบแทนชวยเหลือสังคม ในรปู แบบตา ง ๆ 2) ความมีเหตผุ ล แนวทางปฏิบตั ิดงั น้ี (1) มีเหตผุ ลในการพัฒนาองคกร โดยใหความสาํ คญั ตอการพัฒนา ประสทิ ธภิ าพการทํางานของบุคลากรในองคกร ทั้งพนักงาน ลูกจาง และผูใชแรงงาน ตัดทอน รายจายท่ไี มจําเปนรวมทงั้ พฒั นาคุณภาพสนิ คา และเพ่มิ ปริมาณผลผลติ เปน ตน (3) มเี หตุผลในการจดั สวัสดกิ ารใหพ นักงาน ลูกจา ง และผูใชแ รงงาน 3) การมีภมู ิคมุ กนั ที่ดี ผปู ระกอบการควรใหค วามสาํ คญั และนาํ ไป ปฏบิ ัติ ดงั น้ี (1) ติดตามขา วสารและสถานการณต าง ๆ ท้งั ภายในและ ตางประเทศ ซึ่งอาจมีผลกระทบตอการดําเนินธุรกิจของตน เชน ความผันผวนทาง เศรษฐกิจ การเมือง และความเปล่ียนแปลงของสภาพดินฟาอากาศและภัยธรรมชาติ

22 เปนตน เพื่อใหสามารถตัดสินใจบริหารองคกรธุรกิจของตนไดอยางถูกตองเหมาะสมและลด ความเสย่ี งใหเ หลือนอ ยที่สดุ (2) การกเู งินจากสถาบนั การเงิน เพ่ือดําเนินธุรกจิ หรือขยาย กจิ การตองดูตามกําลงั ฐานะของตน ไมท ําอะไรเกินตัวมฉิ ะนน้ั อาจเกิดความเสียหายได (3) มีเงินออมหรอื เงินเกบ็ เพอ่ื ใชเปน ทนุ หมนุ เวียน โดยเฉพาะ ธรุ กิจขนาดเลก็ ซึง่ ตองพง่ึ ตนเองใหมากที่สุด ควรจัดสรรผลกําไรสวนหน่ึงเปนเงินออมเพื่อใหมี ใชจ า ยเปน ทนุ หมนุ เวยี นในการดาํ เนินกจิ การ 4) เงือ่ นไขความรคู คู ณุ ธรรม มีแนวทางปฏิบตั ดิ ังนี้ (1) ดําเนนิ ธรุ กจิ ภายใตค ณุ ธรรม เชน ซื่อสัตยตอ ผบู รโิ ภค รักการใหบ ริการแกลกู คา และเอาใจใสพนกั งาน โดยจดั อบรมดา นคณุ ธรรมเปนระยะ ๆ (2) มคี วามรบั ผิดชอบตอ สังคมและเอาใจใสต อสง่ิ แวดลอม ไมทาํ ใหเกิดปญหามลพิษในแหลงนํ้า ดิน อากาศ ฯลฯ และมีสวนรวมกับชุมชนในการรักษา สิ่งแวดลอ ม เชน สนับสนนุ กจิ กรรมลดภาวะโลกรอนกบั โรงเรยี นในชุมชน 7.3 การประยุกตใชป รชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงสําหรับนักเรียนและ ประชาชนทั่วไป นกั เรยี นและประชาชนท่วั ไปควรยึดหลักปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือใหเ กิดประโยชนตอตนเองและครอบครวั ดงั น้ี (1) พ่ึงตนเอง มจี ติ สํานึกทดี่ ใี นการใชจ า ยเงิน รูจกั ประหยดั ลดรายจา ยที่ไม จําเปน ไมฟุงเฟอหรือใชจายฟุมเฟอย ไมหลงใหลกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมทางวัตถุ และมี วินยั ในการออมเงนิ เงนิ เปน ตน (2) ขยนั หมนั่ เพยี รในการประกอบอาชีพสุจรติ เพอ่ื เพิ่มพูนรายไดใ ห ตนเองและครอบครัว หรือรูจักหารายไดร ะหวางเรยี นเพ่อื แบงเบาภาระของผูปกครอง (3) ใฝศกึ ษาหาความรใู หม ๆ อยูเสมอ เพ่อื พัฒนาทักษะ ความสามารถ และประสบการณในการประกอบอาชีพ เพื่อใหมีรายไดเพ่ิมข้ึนและเพียงพอตอการดํารงชีพ (อางอิงจาก :https://sammy2830.wordpress.com/บทเรียน: เขาถึงเม่ือวันที่ 17 พฤษภาคม 2559)

23 เรือ่ งท่ี 2 การเลือกแนวทางการดาํ เนนิ ชวี ติ ภายใตสถานการณข องประเทศโดยใชหลัก ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง “.......การท่ีเราจะทําการคาขายไมใชเรื่องที่นาอายเพราะเงินท่ีไดเปนเงินที่เราหามาได ดวยความสจุ รติ ไมใ ช ไปขอเขา หากแตเ งนิ ท่ไี ดม าน้ันเปน เงินที่ไดมาดวยความทุจริตน้ันแหละ เปน สงิ่ ทน่ี า อายมากกวา ......” “ตวั อยางเศรษฐกิจพอเพยี งทขี่ าพเจารจู กั ” ในนา้ํ มปี ลาในนามีขาว แผนดินของเราชา งแสนอุดมสมบรู ณ...” ขาพเจาเคยไดยินเพลง นีต้ ั้งแตเ ดก็ ๆ ซึง่ ในชวี ิตประจําวนั หรอื ในสภาพแวดลอมของขา พเจา ก็ผกู พนั อยกู ับสิง่ เหลา นม้ี า เปนเวลานานแลว ขาพเจาอาศัยอยูใน หมูบานเล็กๆ แหงหนึ่งของอําเภอเดนชัย จังหวัดแพร ช่ือหมูบานปงปาหวาย สภาพแวดลอมโดยรวมก็จะเปนพ้ืนที่ราบ อาชีพสวนใหญในหมูบาน กค็ อื อาชีพเกษตรกรรม เชน ทํานา และปลกู ถั่วเหลืองสลับกนั ไป บานของขาพเจามีลักษณะเปนบานไมหลังเล็ก ๆ ยกใตถุนสูง บานก็ยังสรางไมคอย เรียบรอ ย หลังคาก็มงุ ดว ยสังกะสี อาชพี ของคนในครอบครัวกค็ อื รับจา งทาํ นา บา นของขาพเจา จะอยหู างจากหมูบานติดกับทุง นา ซ่งึ ก็มเี พยี ง ไมกหี่ ลงั ทเี่ หมอื นบานขา พเจา อากาศจึงคอนขาง ที่จะเย็นสบาย ต้ังแตเล็ก ๆ จนมาถึงปจจุบันขาพเจาก็มักจะเห็นการดํารงชีวิตของคนใน ครอบครัว พอ แมกจ็ ะไมคอ ยอยูบา น สวนใหญก็จะออกไปทํานา แมบานที่ขาพเจาอาศัยอยูจะ ไมหลังใหญโต สรางจะยังไมเสร็จ อาชีพของพอแมก็ไมใชเลิศหรู รับราชการเหมือนกับพอแม ของคนอื่น แตขา พเจา กไ็ มร สู กึ วา ตัวเองมปี มดอยหรืออิจฉาคนอื่นเลย ขาพเจาคิดวา ชีวิตความ เปนอยทู กุ วันน้ี เปน ชวี ิตที่มีความสุขมากเปนครอบครัวที่อบอุน กิจกรรมอยางหน่ึงท่ีทุกคนใน ครอบครัวทํารว มกันก็คือ การรับประทานอาหารพรอ มหนาพรอ มตากนั ซ่ึงหากเปรียบเทียบกับ อีกหลายครอบครัวแลวนอยคนที่จะมีโอกาสเชนน้ี เม่ือขาพเจามาน่ังนึกไตรตรองดู ขาพเจาคิดวาครอบครัวของขาพเจา น่ีแหละท่ีไดนํา แนวคิดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว มาใชเปนแนวทางในการ ดาํ รงชีวติ ประจาํ วันเปนอยางมากแบบไมรตู วั แมจะสอนขาพเจา เสมอในเรื่องความประหยัด มวาจะเปนในเรื่องการประหยัดเงินหรือเร่ืองตางๆ ขาพเจาจะถูกปลูกฝงมาตั้งแตเล็ก ๆ หลังจากทเ่ี ลิกโรงเรียนแลว ขาพเจาจะตองเหลอื เงินมาใสก ระปกุ ออมสนิ ดังนนั้ สิ่งของทีข่ าพเจา

24 ตอ งการซอ้ื จงึ ไมตอ งรบกวนพอแม นอกจากน้กี ย็ งั มีการประหยัดในเรื่องการปลูกผักสวนครัวไว กินเอง ครอบครัวของขาพเจาไมเคยซื้อผักสวนครัวเลย แมบอกวาผักปลูกเองนี่แหละ ปลอด สารพิษ ดังน้ัน สวนหลังบานของขาพเจาจึงเต็มไปดวยผักสวนครัว อาทิ ขิง ขา ตะไคร ใบกะเพรา ใบมะกรูด ชะอม ตึง ตนฟกทอง ถ่ัวฝกยาว พริก เปนตน การปลูกผักสวนครัว เหลานยี้ งั ถือไดวาเปนกิจกรรมอยางหนึ่งของครอบครัวท่ีมีการทํารวมกัน เวลาที่พอกับแมปลูก ขาพเจา จะชอบเขาไปชว ย พอจะเปน คนถางหญา และขดุ หลุมให สวนขา พเจา และแมจ ะเปนคน ปลูก แลว กช็ ว ยกันรดนํา้ ขาพเจา จึงคิดวามนั สนุกรอดวู า ผกั เหลา นจ่ี ะโต ระหวางน้ีก็ดูแลเอาใจ ใสโดยถอนหญา และ รดน้ํา ฉะน้นั เวลาทํากบั ขาวครอบครวั จงึ ไมตอ งซือ้ ผกั สวนครวั เหลาน้ี จงึ เปน การประหยัดรายจายในสวนน้ีเปนสวนมาก บางม้ือก็ไมตองเสียเงินซื้อแมแตบาทเดียว เลย อาทิ แกงผักรวม หรือทํานํ้าพริกหนุมจ้ิมผักน่ึง ซึ่งวัตถุดิบเหลาน้ีก็เก็บจากสวนหลังบาน บางคร้งั หากผกั เหลานี้มีมากเกินไปก็จะเก็บแบงใหเพื่อนบาน ก็ถือเปนการสรางน้ําใจใหเพื่อน บานดวยกนั และบางครง้ั เพือ่ นบานมีอะไรก็จะแบงใหเราเหมือนกัน หากจะพูดถึงผลไมท่ีบาน ของขา พเจา กจ็ ะมผี ลไม อาทิ มะละกอ มะขาม ลาํ ไย มะมว ง กลวย เปนตน ซ่ึงเมื่อถึงฤดูกาล ท่ีผลไมเหลานีอ้ อก ครอบครวั ก็ไมต อ งซ้อื กินเลย หากจะกนิ ก็สอยจากสวนหลังบาน ซงึ่ ตา งจากหลายครอบครวั ทต่ี อ งซื้อกนิ ครอบครัวของขา พเจา จะมีความเปนอยูท่ีเรียบงาย สันโดษ ไมหรูหรา ฟุมเฟอย รายได ของครอบครัวปหนึ่งๆ ก็ไมมาก ก็ประมาณ 20,000 - 25,000 บาท และรายไดสวนใหญก็มา จากอาชีพรับจางทํานาและรับจางท่ัวไป ซึ่งเราจะไมมีท่ีนาเปนของตัวเองจึงตองอาศัยการ รับจางทํานาของคนอื่น เมื่อไดผลผลิตสวนหน่ึง ก็จะแบงใหเจาของท่ีนา ที่เหลือก็จะแบงขาย และเกบ็ ไวก ินในครอบครวั แมข า พเจา จะทาํ นาไมเปนแตจากการทเ่ี หน็ พอแมต ง้ั แตเ ลก็ ๆ กพ็ อจะรูถึงขั้นตอนของการทาํ บา ง ซ่ึงขาพเจาคิดวามันเปนอาชีพท่ีคอนขางจะหนักและตอง หมั่นดแู ลเอาใจใสผ ลผลิต หากปไหนราคาขา วตก ศตั รูพืชรบกวน ปน ้นั ก็จะไดผลผลิตนอย และ หากจะรอแตผ ลผลิตจากการทํานาเพียงอยางเดียวก็คงไมพอกับคาใชจายในครอบครัวเปนแน ในชว งฤดกู าลทํานาจะแบงเปนชว งๆ คือ ชว งแรกกจ็ ะหวา น รอใหข าวเปนกลา จากนั้นก็นํากลา ไปปลูกและรอจนตน ขาวเหลืองถึงจะเก็บเก่ียวผลผลิตได และในชวงเวลาท่ีรอในแตละชวงพอ กับแมก ็จะไมป ลอ ยเวลาใหว าง ทา นจะเปน คนทีข่ ยันมาก ซึ่งพอก็จะไปรับจางตามหมูบาน เชน ถางหญา หรอื ไปรับจางไถนา จะรับจางทกุ อยา งที่สุจรติ ทตี่ นทาํ ได สวนแมก ็จะเหมอื นกัน แมก็ไปรบั จางคนอ่ืน เชน ปลูกนา เปน ตน นอกจากนก้ี ็ยังมีการเก็บพืชผัก สวนครวั ท่ปี ลูก

25 ในบานขายดวย หากผักสวนครัวชนิดใดท่ีกินไมทันก็จะเก็บไปขายและพืชบางอยาง ท่ีนํามา แปรรปู ได เชน กลวยสกุ แมจ ะนาํ มาตากแลว นง่ึ ไวกนิ เปน ตน ขา พเจา กจ็ ะขอไปชวยแมดว ย ผักที่เก็บก็จะเปนผักบุง บางคร้ังก็จะเอาเบ็ดไปตกปลาดวย หรือเก็บปูตามทุงนา หากมีมากก็จะ นําไปขาย อยางผักสวนครวั แมก็จะทําเปน มัดๆ มดั หนง่ึ ก็ไมแ พงประมาณ 3-5 บาท เวลาไปขาย ที่ตลาดขาพเจา กจ็ ะไป นัง่ ขายกับแมด วย แตละวันก็จะขายหมด เพราะคนจะรูวาบานเราปลูก ผกั ท่ีปลอดสารพิษ เงินที่ไดก็นํามาซื้อกับขาวก็ถือวาเปนการชวยประหยัดในครอบครัวอีกทาง หนึง่ แมเ คยสอนขา พเจาเสมอ วา “การทเ่ี ราจะทําการคา ขายไมใ ชเ ร่ืองท่ีนาอาย เพราะเงินท่ีได เปนเงินท่เี ราหามาไดดว ยความสจุ ริต ไมใชไปขอเขา หากแตเงินที่ไดมานั้น เปนเงินที่ไดมาดวย ความทจุ รติ นน่ั แหละเปนส่ิงท่ีนาอายมากกวา” ขาพเจา จึงไดจดจํามาจนถึงทุกวันนี้ ดังน้ันแม เพือ่ นหลาย ๆ คนจะถามขา พเจาถงึ เรอ่ื งท่ีไดน ั่งขายผักในตลาด ขาพเจา จึงตอบเพือ่ นไดเ ต็ม คาํ วา “ไมอาย” วิญญาณการเปนแมคาของขาพเจา จึงถูกปลูกฝงจากแมมาต้ังแตขาพเจายัง เปน เดก็ นอกจากจะมีผักสวนครัว สวนผลไมแลว บานของขาพเจาก็ยังมีการ เลี้ยงไกพันธุ พ้นื เมืองเอาไวก ินเองและบางคร้ังหากครอบครวั ไมมีเงินจริงๆ ก็สามารถนําไปขายได ก็พอที่จะ จนุ เจือครอบครวั ได และมลู ของไกก็สามารถนําไปใช เปน ปุย ใสพชื สวนครัวไดอีกดวย ครอบครัว ของเราจึงไมมีวนั ไหนทจี่ ะไมม ีเงนิ เลย แมจ ะไมม ีมากก็ยังจะพอมีซื้อของใชในครอบครัว เพราะ พอและแมจ ะเปนคนทนี่ าํ สิ่งของทม่ี ีในบานมาแปรรูปหรือประยุกตนําไปขาย อาทิ ผักสวนครัว เปน ตน หากครอบครวั เราทวี่ นั ไหนไมม กี ินจรงิ ๆ ผกั สวนครัวตามรวั้ และสวนหลังบานจึง เปนสิ่ง ที่ชวยชีวิตของทุกคน ในครอบครัวไดเปนอยางดี ครอบครัวของเราไมเคยที่จะไปขอความ ชว ยเหลอื จากใคร มีอะไรเราก็ กนิ ไปตามประสาพอ แม ลูก และ ขา พเจาคิดวา มนั กม็ ีความสุข ดี แมจ ะปลกู ฝง ใหข า พเจาเปน คนท่ปี ระหยัดตั้งแต เด็กๆ แลว โดยเฉพาะเรื่องเสือ้ ผาชุดนักเรียน หรอื แมกระท่งั หนังสอื เรยี น ขาพเจา มี พีอ่ ยู 2 คน ดังนน้ั สิง่ เหลา น้ีขาพเจาจึงไมเคยซ้ือใหมเลย เพราะจะใชตอ จากพีต่ ลอด แมกระทั่งสง่ิ ของช้นิ แรกทซ่ี ือ้ ตอนเด็กๆ ทีจ่ าํ ได กค็ ือ จักรยานเอาไว ใชป น ไปเรยี น ขาพเจา กย็ งั ซ้อื ตอ มอื สองจากพีข่ า งบาน พอ บอกวา “มันก็ขไี่ ดเ หมือนกนั ลูก เราไมใ ชค นรวยเหมือนคนอ่ืนเขา ส่ิงไหนท่ีเราพอประหยัดไดเราก็ประหยัด” ขาพเจาก็เช่ือพอ และไมไดอิจฉาอะไรกันเพ่ือนก็เขาใจพอกับแมและก็เห็นสภาพครอบครัวของเราวาเราเปน อยางไร ดังนั้นจึงเปนสิงหนึ่งท่ีขาพเจาจะชวยพอและแมประหยัดได และส่ิงที่ขาพเจาสราง ความภาคภมู ิใจใหกบั พอและแมตั้งแตเล็กๆ ก็คือการทําตนเปนคนดี ต้ังใจเรียน ชวยเหลืองาน บาน และเวลาโรงเรยี น มกี ิจกรรมอะไรขา พเจากจ็ ะเขารวมเสมอ เชน วาดรูป เรียงความ เขียน

26 คําขวัญ เนื่องในวันสําคัญตางๆ รางวัลที่ขาพเจาไดในแตละคร้ังก็จะเปน สมุด ดินสอ อุปกรณ การเรียนตาง ๆ และบางครั้งก็เปนเงินทุน ขาพเจาคิดวามันเปนการชวยแบงเบาภาระและ ประหยดั คา ใชจา ยในเร่อื งการเรียนของขาพเจา ไปมาก นอกจากน้ี สงิ่ ท่พี อ กับแมปลูกฝง เสมอก็คือการชว ยเหลือสงั คม แมเ ราจะไมมีเงินมากแต เรากช็ วยจากแรงกายของเราก็ได เชน เวลามีการพัฒนาวดั หรอื สถานที่สาํ คัญ ครอบครัวของเรา ก็จะไปชว ยกนั เสมอ และขา พเจา เปนคนทชี่ อบไปวดั เน่ืองจากจะเปน คนที่ติดแม จึงชอบไปไหน มาไหนกับแมและเปน คนท่ีชอบไปวดั ตง้ั แตเด็ก ๆ เวลาไปแลวจะรูสึกวาสบายใจ ไดเห็นขั้นตอน พธิ ีกรรมทางศาสนาและเหตผุ ลลกึ ๆทีข่ าพเจา ไปวดั กค็ ือจะชอบไปอธิษฐานตอหนาพระพุทธรูป ขอพรทาน ขอใหเรียนเกง บาง สอบไดที่ 1 บาง ขอใหครอบครัวมีความสุข ขอใหทุกคนมี รางกายท่ีแข็งแรงปราศจากโรคภยั ไรเจบ็ นก่ี ค็ อื เหตผุ ลที่ขาพเจาชอบไปวัด แตขาพเจาก็คิดวา มนั ชวยทาํ ใหเ รารสู ึกดี ชีวิตของการเปนลูกเกษตรกรมันทําใหขาพเจาโตมาพรอมกับความประหยัด และอยู ภายใตส ภาพแวดลอมที่เต็มไปดว ยธรรมชาติ เวลาขีจ่ ักรยานไปเรียนก็จะเหน็ ผคู นทําไรไถนากัน มันเปน วัฏจกั รแบบนเี้ รอื่ ยมาตัง้ แตข า พเจา เปนเด็กจนถึงปจจุบันหลังจากทุกคนเสร็จจากฤดู ทํานาแลวก็จะมีการปลูกถ่ัวเหลือง ก็คือเปนการปลูกพืชหมุนเวียนเรียกไดวาไมยอมปลอยให พ้ืนท่ีไดวางเปลาเลย ซ่ึงครอบครัวของขาพเจาก็มีการปลูกถ่ัวเหลืองเหมือนกัน และรายได จากถว่ั เหลอื งนแ่ี หละที่พอจะ ทําใหค รอบครัวของเราพอจะมีเงินเก็บบาง หรือพอจะแบงใชหน้ี ที่เรากูมาเปนทุนในการทํานา เพราะไมตองแบงใหเจาของที่นา การปลูกถั่วเหลืองน้ีจะเก็บ เกี่ยวในชว งประมาณปลายเดอื นกุมภาพันธ – ตนเดือนเมษายน และชวงท่ีเก็บเก่ียวนี้ ในเวลา ทีข่ าพเจา วา งในวันเสาร - อาทิตย ขา พเจากจ็ ะไปชวยแม เกบ็ เก่ียวดวย ขาพเจารสู กึ วารอ นมาก และก็รูถึงวา กวา ท่ีพอ แมจะไดเงิน แตละบาทมาใหเราใชนั้น มันตองอาศัยความอดทนเปน อยางมาก เสรจ็ จากการเก็บเกี่ยวแลวกจ็ ะมีเปลือกถว่ั เหลือง ซึง่ เปลือกถ่วั เหลืองนี้ที่ขาพเจาเห็น พอนาํ มาใชประโยชน คอื นาํ มาทาํ เปนปยุ หมัก ใชใสในทุงนาใหดนดื โดยพอจะขุดหลุมท่ีสวน หลงั บาน นาํ เปลือกถว่ั เหลืองและเศษใบไมในบาน อาทิ ใบลาํ ไย ใบมะขาม เปนตน ไปหมัก ทํา เปนปยุ รวมกับเปลอื กถัว่ เหลืองดวย และเปลอื กถ่วั เหลืองยังไมมปี ระโยชน เพยี งแคน้ียังสามารถ สรา งรายไดใ หกบั ครอบครวั ของขา พเจาไดอีกดว ย โดยพอจะนํารถเข็นไปขนเปลือกถ่ัวเหลืองมา ไวที่บาน จากน้ันก็จะมีการข้ึนเปนแปลงใสเปลือกถ่ัวเหลืองหมักไว ในแปลง รดนํ้าแลวนํา ใบไมมาปด หมักใหเปลือก ถั่วเหลืองเนาไวประมาณสัก 2-3 อาทิตย ก็จะมี เห็ดออก ซ่ึงเรา เรียกวา “เหด็ ถว่ั เหลอื ง” และเหด็ ถั่วน่ีเองท่ีเรานํามาใชทําประกอบอาหาร พอเห็ดออกมาก ๆ

27 เราก็จะนําไปขายแมจะเร่ิมเก็บประมาณ บาย 2-3 โมง เพราะหากเก็บค่ําจะไมทันขาย ซึ่งจะตองนํามาปอกท่โี คนและลางใหสะอาดกอนที่จะนําใสถุงขาย ราคาท่ีขายก็ถุงละ 10 บาท วนั หน่งึ ๆ ก็จะไดป ระมาณ 150-200 บาท บางทแี มจะเปนคนเก็บอยูที่บานสวนขาพเจาก็จะนํา บางสว นไปขายที่ตลาดกอนและเงินท่ไี ดมานนั้ มันกช็ วยทจ่ี ะแบง เบาภาระคาใชจายในครอบครัว ดวย ขาพเจา จะถกู ปลกู ฝงใหเ ห็นคณุ คาของเงนิ ตง้ั แตเ ลก็ ๆ ปจ จบุ นั น้ีขา พเจา ศึกษาอยูในระดับ มหาวทิ ยาลัยกจ็ าํ เปน ตอ ง ใชเงินเปน จํานวนมาก และสง่ิ หนึง่ ท่ขี า พเจา สามารถท่จี ะชวยแบง เบา ภาระของพอ แมไ ดก็คอื ในชวงปดภาคเรยี นขา พเจาจะไปทํางานหารายไดพิเศษ คือรับจางขาย ของกบั รา นคา ในตัวเมอื ง ซึ่งเงินที่ไดมันก็พอท่ีจะชวยประหยัดคาใชจายของพอแมไปบาง แตก็ ยงั ดที ี่รฐั สนบั สนุนในเรอื่ งการกูยืมเงินเพ่ือการศกึ ษา เพราะการทอี่ ยูหอนั้นคาใชจายคอนขางสูง โดยเฉพาะ ในเร่ืองเอกสารประกอบการเรียน แตขาพเจาก็หาวิธีประหยัดไดก็คือการขอ เอกสารตอจากรุนพ่ีในวิชาท่ีเรียนเหมือนกัน ก็ทําใหประหยัดคาใชจายในสวนน้ีเปนอยางมาก และอีกสงิ่ หนงึ่ ทข่ี า พเจาจะทําให พอและแมไ ดก ็คือ เปนคนดี ตั้งใจศึกษาเลาเรียนเพ่ือที่จบแลว จะไดมกี ารงานทมี่ นั่ คงและจะไดน าํ เงินสว นนน้ั มาชว ยเหลอื ครอบครวั และพอ แม ดังน้ัน ขาพเจาคิดวาจากตัวอยางเศรษฐกิจท่ีพอเพียงในครอบครัวของขาพเจา คงจะ เปนแนวทางท่ีใหผูอานไดใชเปนแนวทางในการดํารงชีวิตในครอบครัวกับหลาย ๆ ครอบครัว และกับหลายๆ คน ไมวา จะเปนในเร่ืองการ ปลูกพืชผักสวนครัวไวกินเอง การปลูกผลไมไวกิน เอง การทําการเกษตรโดยปลูกพืชหมุนเวียน การทําปุยหมัก เปนตน ซึ่งขาพเจาคิดวาหากเรา ทกุ คนรูจ กั ประมาณตน พอใจกบั สิง่ ท่ีตนเปน อยู ดํารงชีวติ โดยไมเบียดเบียนผอู ื่น โดยเร่ิมจากสิ่ง ทใ่ี กลต วั กอนก็คือ ตัวเอง ครอบครวั สังคม และประเทศชาติตอ ไป ประพฤติตนอยูใน ศีลธรรม ชวยเหลือสังคมเทาท่ีจะทําได มีน้ําใจกับผูอื่น ไมสรางความเดือดรอนใหกับผูอื่น โดยเฉพาะ เศรษฐกจิ ในยุคขา วยากหมากแพงในปจ จบุ นั “เศรษฐกจิ พอเพยี ง” เปน เร่อื งทส่ี าํ คญั มาก ท่ีทุกคนจะตอ งนํามาเปน หลกั เปนแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติตนในสังคม ไมวาจะเปนเรื่อง การชวยชาติประหยัด อาทิ ประหยัดไฟ ประหยัดนํ้า ประหยัดนํ้ามัน เปนตน นอกจากนี้ โดยเฉพาะวัยรนุ นกั ศึกษา ตอ งรูจกั ประมาณตน ในเร่ืองแฟชั่นตางๆ เชน ไมแตงตัวตามแฟช่ัน ไมใชโทรศัพท หรือสินคาที่หรูหราฟุมเฟอยตามเพื่อน เพราะเรายังไมมีรายได ซึ่งหากเราตาม เพือ่ นหรอื ตามแฟชัน่ กจ็ ะทาํ ใหเ ราทําในสิ่งผิด ๆ เพี่อที่จะให ไดส่ิงท่ีตองการมาก็ได และถาทุก คนดําเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางและความไมประมาท คํานึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสรางภูมคุมกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใชความรูดวยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเปนพื้นฐานในการตัดสินใจ และการกระทําในชีวิตประจําวัน

28 ขาพเจาเช่ือวาสังคมและประเทศชาติกค็ งจะดีขน้ึ เพราะทุกคนชวยกัน และเช่ือวาส่ิงเหลาน้ีทุก คนสามารถเรมิ่ ได ไมไดข ึ้นอยูกับวาคุณเปนใคร จะมีฐานะรวยหรือจน จะมีบานที่หลังเล็กหรือ ใหญ แตอยูท่ีวา คุณพรอมที่จะประพฤติตนดังกลาวหรือไม และขาพเจาก็เช่ือวา ทุกคนทําได และทําไดดีดวยหากเราต้ังใจท่ีจะทํา (วราภรณ สีศุข). ”พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แหงชาต”ิ ตัวอยา งเศรษฐกิจพอเพียงที่ขาพเจา รจู ัก ”2550”) เรอ่ื งท่ี 3 สถานการณโ ลกปจ จุบัน (ชว งป 2551-2552) เม่อื สหรฐั อเมริกาไดพัฒนาเศรษฐกิจของตนสูสูงสุดของทุนนิยมโลกเนื่องจากตลาดทุน จากทั่วโลกหลงั่ ไหลสูตลาดทนุ ในสหรัฐอเมรกิ า หลังจากเกิดวกิ ฤตเศรษฐกิจเอเชียและขยายตัว ออกไปทัว่ โลกสตอ กทุนจํานวนมหาศาลในแตละประเทศ ไมสามารถนําไปลงทุนได เน่ืองจาก เศรษฐกิจชะลอตวั ถึงขนั้ วิกฤต เม็ดเงนิ จากสตอ กทนุ ทวั่ ทกุ มมุ โลกไดไหลบา ทะลักสูตลาดทุนใน สหรัฐอเมริกา ปญ หาจากการเติบใหญข องทุนในสหรัฐอเมริกา ก็คือการขยายพ้ืนที่การลงทุน เพื่อกระจายทนุ ออกไปในขอบเขตปริมณฑลใหก วา งทส่ี ุดเพือ่ รองรบั การขยายตัวของทนุ ท่ีนับวัน จะเติบใหญ ป พ.ศ.2541 ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจกําลังเปน ภัยคุกคามประเทศตาง ๆ จากท่ัวโลก ตลาดทุนในสหรัฐอเมริกากลับพุงทะยานอยา งรวดเร็ว ดัชนีหุน DowJones พุง ทะยานทะลุ 10,000 จุด เปนคร้ังแรกและสูงสุดกวา 11,000 จุด Nasdaq สูงกวา 3,800 จุด สรางความเล่อื มใสศรทั ธางุนงง และไมเ ขาใจตอเศรษฐกิจอเมริกาท่ีสวนทางกับวิกฤตเศรษฐกิจ โลก ซึ่งจริงๆแลวเปน เรื่องที่สามารถทําความเขา ใจไดไ มยากเมื่อสตอกทุนในแตล ะประเทศ ไมสามารถนําไปลงทุนภายในประเทศได และความเช่ือมั่นในตลาดทุนอเมริกายังคงอยูใ นความ รูสกึ ทด่ี ขี องนกั ลงุ ทนุ ดังน้ันทุนจากท่วั ทุกมุมโลกจึงหลงั่ ไหลเขา สตู ลาดทุนในอเมริกา เมื่อตลาด ทุนในอเมรกิ าไมไ ดเติบโตบนพื้นฐานของความเปน จริงการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบฟองสบูข อง สหรฐั อเมรกิ าจึงนา จะยนื อยูไดไ มน าน ป 2001 ปฐมวัยยา งกาวแรกของรอบพันปท่ี 3 บริษัทยักษใหญใ นสหรัฐอเมริกา เริม่ ทยอยประกาศผลประกอบการกาํ ไรท่ลี ดลง และการประกาศปลดพนกั งาน เชน เม่ือ เดือน ธันวาคม 2543เจเนอรลั มอเตอรส (จีเอ็ม) ปลดพนกั งาน 15,000 คน วันพุธท่ี 24 มกราคม 2544 ลูเซนต เทคโนโลยีผูผลิตอุปกรณโทรศัพทยักษใ หญป ระกาศปลดพนักงาน 16,000 ตาํ แหนง เวริ ล พูล ผผู ลติ เครื่องใชไ ฟฟา ปลดพนักงาน 6,000 คน เอโอแอลไทม วอรเ นอร

29 กจิ การสือ่ ยุคใหม จากการผนวกระหวางอเมริกาออนไลน กับ ไทม วอรเ นอร ปลดพนักงาน 2,000 คน การแกวง ตวั อยางไรท ิศทาง และไมช ัดเจนของตลาดทุนในสหรัฐอเมริกา เร่ิมที่จะผัน ผวนและไมแ นนอน นักลงทนุ เร่ิมไมแนใจตอ ความเชื่อม่นั ตลาดทุนอเมริกา และเม่ือ นายคิอิชิ มิยาซาวา รัฐมนตรีคลังญ่ีปุน กลา ว เม่ือวันท่ี 8 มีนาคม 2544 ในการชี้แจงตอคณะ กรรมาธิการงบประมาณของวุฒิสภายอมรับความปราชัยทางเศรษฐกิจอยา งเปน ทางการ ครั้งแรก หลงั จากทเ่ี ศรษฐกิจญป่ี ุน ผุกรอ นเปนปญ หายืดยอ้ื ยาวนานมารวม 10 ป วา ฐานะ การเงนิ ของประเทศกาํ ลงั ยา่ํ แยเตม็ ที หรืออาจกลาวไดว า ใกลจะลมละลายแลวสัปดาห รุง ขึ้น หลังการแถลงของมิยาซาวา ตลาดทุนในสหรัฐอเมริกานําโดย NASDAQ รว งลงกวา 30% ตามดว ย DowJones,S&P และตลาดทุนท่ัวโลกพังทะลายลงทันทีจอรจ บุช เรียกสถาน การณน ว้ี าเปน WorldStockCrisis ขณะทนี่ ักลงทุนจากทั่วโลกเกิดความไมเชื่อมัน่ ตลาดทุนในสหรฐั อเมริกาเหตุการณค วาม ตึงเครียดในภูมิภาคตา ง ๆ ท่ัวโลก ในชวงของเดือนมีนาคม 2544 ไลต้ังแตการประกาศจะ พัฒนาขปี นาวธุ ปองกันตนเองของสหรฐั อเมรกิ า การจบั ตวั มิโลเซวชิ อดีตผนู าํ ยูโกสลาเวีย การตอสูของชาวปาเลสไตนท ่ีพัฒนาจากการขวา งกอนอิฐกอ นดินมาเปนการวางระเบิดและมี การใชป นความตึงเครยี ดในเชสเนีย การทําลายพระพุทธรูปท่ีใหญท ี่สุดในโลก ของกลุมตาลีบัน ในอัฟกานิสถานไดส ราง แผลลึกในจิตใจของชาวพุทธตอชาวมุสลิมองคท ะไลลามะธิเบต เยือนใตห วัน เรือดํานํ้าอเมริกาโผล ท่ีเกาะแหง หน่ึงในญี่ปุน โดยไมมีการแจงลวงหนา สหรัฐอเมริกา ประกาศขายอาวุธแกใตหวันปด ทา ย ดวยการย่ัวยุจีน ดวยการใชเ คร่ืองสอด แนมบินรุกล้ําเขาไปในนานฟาจีนกระท่ัง ทําใหจีนตอ งใชเคร่ืองบินขับไลสองลํา ขึ้นบังคับให เคร่ืองบินสอดแนมของสหรัฐลงจอดบนเกาะไหหลํา เหตุการณท ี่เกิดความตึงเครียดดังกลา ว ลว นเกดิ ขึ้นในเดือนมนี าคม ขณะที่วกิ ฤตตลาดทนุ ของสหรัฐอเมริกากําลังเกิดข้ึนพอดี โดยเบื้อง ลกึ จะเกิดจากการสรา งสถานการณ โดยสหรัฐอเมริกาหรือไมก็ตามภายในระยะเวลาเพียงหนึ่ง เดือน ดชั นีตลาดหนุ DowJones กด็ ดี กลบั ขึ้นมายนื อยูใ นระดับที่ สูงกวา เดือนมกราคมเสีย อกี ทงั้ ทเ่ี ศรษฐกจิ ของสหรัฐอเมรกิ ายงั ตกอยใู นภาวะทีเ่ ลวรา ย สถานการณเศรษฐกจิ สหรฐั อเมรกิ า–ญ่ีปุน กาํ ลงั จะนาํ ไปสูวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมการ เตรียมพรอมของสหรัฐอเมรกิ าในการต้งั รบั และเปดแนวรุกตอสถานการณด ังกลาวมานานกวา 20 ป น่ันก็คือ การเตรียมพรอ มดานยุทธศาสตร “การทําสงครามเลี้ยงเศรษฐกิจ”เนื่องจาก สหรัฐอเมรกิ า ไดพฒั นาปจ จยั การผลติ สูยคุ IT (InformationTechnology) ดงั นัน้ ยุทธศาสตร

30 ยุทธวธิ ที างสงครามไดถ ูกพฒั นารูปแบบสงครามสูยุค IT ขณะทรี่ ปู แบบยทุ ธศาสตร -ยุทธปจ จัย ของประเทศตางๆท่ัวโลก ยังคงใชร ูปแบบของสงครามในยุคอุตสาหกรรม (บางประเทศ มหาอํานาจอยางจีน–รัฐเซียรูปแบบสงครามอาจพัฒนาสูยุค IT แลว แตยังไมมีการสาธิตเชน สหรฐั อเมริกาท่ีไดผ านการสาธติ แลวในสงครามอา ว) ประเทศจีนหลังจากท่ีเติ้งเซ่ียวผิงไดประกาศนโยบายสี่ทันสมัยนําประเทศจีนสูก าร พฒั นา ดานพลงั การผลิตดวยนโยบายหน่ึง ประเทศสองระบบทําให GDP จีนเตบิ โตระหวาง 8–12% มาโดยตลอดแมปจุบันท่ีวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระทบกับทุกประเทศการเติบโตทาง เศรษฐกจิ ของจีนก็ยังยืนอยูใ นระดับ 7- 8%จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนดังกลา ว ยอมที่จะไปกระทบ และขัดขวางตอผลประโยชนของสหรัฐอเมรกิ า ในการท่จี ะแผอ ิทธิพล สูก ารเปน จักรวรรดินิยมจา วโลก ดังน้ัน ความพยายามในการที่จะทําลายจีนใหอ อ นกําลังลง ดวยการแยกสลายจีนจาก 8 เขต ปกครองตนใหเปน 8 ประเทศ เชนเดียวกับรัสเซีย จึงนับ เปนสดุ ยอดของยทุ ธศาสตร อนั จะนาํ ไปสคู วามสาํ เรจ็ ของการเปน จกั รวรรดนิ ิยมจา วโลก สถานการณพ ลังงานโลกกบั ผลกระทบเศรษฐกจิ ไทย ปญหาเรงดวนในปจจุบันที่สงผลกระทบตอ เกือบทุกประเทศในโลก คือ การท่ีราคา นา้ํ มนั ไดสูงข้นึ อยางรวดเรว็ และตอเน่ืองในชว งเวลา 4-5 ป ท่ีผา นมาและดูเหมือนนํ้ามันในปนี้ (พ.ศ.2551) จะแพงสูงสุดเปนประวัติการณแลว ภาวะน้ํามันแพงทําใหต น ทุนดา นพลังงาน (โดยเฉพาะอยา งยิง่ ในการขนสง ) สูงขึ้นอยา งรวดเร็วมผี ลลกู โซต อไปยังราคาสินคาและบรกิ าร ตาง ๆ นอกจากจะทําให คาครองชีพสูงขึ้นมากแลวยังเปน อุปสรรคตอ การขยายตัวทาง เศรษฐกจิ อกี ดว ย ผลกระทบเหลา นี้ไดก อ ใหเ กิดการประทว งของกลุมผูที่ตองแบกรับภาระ เชน คนขับรถบรรทกุ และชาวประมงในหลายประเทศ รวมทัง้ การเรียกรองใหร ฐั บาลยื่นมือเขามาแทรกแซง และใหความชว ยเหลือปญ หาราคานํ้ามันแพงมากในชว งน้ี ถือไดวาเปนวิกฤตการณน ้ํามัน ครั้งที่ 3ของโลกก็วาได 7 ปจ จัยตน เหตนุ า้ํ มันแพง! ราคานํ้ามันดิบในตลาดโลกเริ่มขยับตัวข้ึนสูงอยางเห็นไดชัดในป 2547 โดยราคา นํ้ามนั ดิบสงู ขนึ้ บารเรลละประมาณ $10 เปนกวา $38 ตอ บารเรลและหลังจากนั้น

31 เปน ตนมาราคาก็มี แนวโนมสูงข้ึนโดยตลอดจะมีลดลงบางในบางคร้ังเปนชว งสั้น ๆ เทา นั้น โดยความผนั ผวนของราคา มีมากข้ึนแตก ารเปล่ยี นแปลงเปน ไปในทางเพิ่มมากกวา ทางลด ในชวงปลายป 2550 ราคานํ้ามันดิบพุงสูงเกิน $100 ตอบารเรล ซึ่งนอกจากจะเปน ระดับท่ีสูงท่ีสุดเปน ประวัติการณ ในรูปของราคาปปจ จุบันในชว งครึ่งปแ รกของป 255 ราคา นํา้ มนั ก็ยงั คงขยบั สูงขึน้ อยา งตอ เน่ือง และอยูในระดับกวา $130 ตอบารเ รล ในสัปดาหที่ 2 ของเดอื นมิถนุ ายน2551 มบี ทความขอ เขียนจาํ นวนมากที่ไดวิเคราะห และอธิบายสาเหตุของ ภาวะนาํ้ มนั แพงดังกลาว สวนใหญม ีประเดน็ ท่เี หมือนกนั และสอดคลอ งกนั ดังนี้ 1. กําลังการผลิตสวนเกิน (excessproductioncapacity) ในตลาดน้ํามันดิบอยูใ น ระดับ ทีค่ อนขา งตํ่ามาตลอด 5 ป ท่ีผา นมาทั้งนี้เปน ผลจากการที่ประเทศผูผ ลิตน้ํามันหลาย แหง ขาดแรงจูงใจในการขยายกําลังการผลิต ในชวงท่ีราคานํ้ามันอยูใ นระดับคอ นขา งต่ํา ในชวงทศวรรษ 1990หนว ยงานพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานวาในเดือนกันยายน 2550 OPEC มีกาํ ลงั การผลิต สว นเกินเพียง 2 ลา นบารเรลตอ วัน (ประมาณ 2% ของปริมาณการใช นํา้ มนั ของโลก) โดยประมาณ 80% ของสว นเกินนีอ้ ยูในซาอุดอี าระเบยี เพียงประเทศเดียว 2. การผลิตน้ํามันจากแหลงใหม ๆ ในโลกเริ่มมีตน ทุนที่สูงมากข้ึนทั้งน้ีอาจเปนเพราะ แหลง น้ํามันขนาดใหญ ๆ ถูกคนพบ และใชงานเปน สวนใหญแลว ยังเหลืออยูก ็จะเปนแหลง นํา้ มนั ขนาดเล็กหรือทม่ี คี ุณภาพตา่ํ หรือทีอ่ ยใู นถิน่ ทรุ กนั ดาร/นํา้ ทะเลลกึ ๆซึ่งมีตนทุนการสํารวจ และการผลติ ที่สูงมากมกี ารวเิ คราะหพบวาในปจจุบนั ตน ทนุ การผลิตน้ํามันในปริมาณ4ลา นบาร เรลตอ วนั (คดิ เปน 5% ของปริมาณการผลิตของโลกในปจ จุบนั )มีตนทุนการผลติ สงู ถึง $70 ตอบารเรล ตวั อยางที่เห็นไดชดั คอื ทรายนํ้ามัน(tarssands) ในแคนาดาซ่ึงเริ่มผลิตออกมาแล วและมตี น ทุนการผลิตไมต่ํากวา $60 ตอ บารเ รล 3. ในประเทศผผู ลิตและสงออกนา้ํ มนั รายใหญ หลายรายการผลิตนา้ํ มันมีโอกาสหยุด ชะงักได (supply disruption)เพราะเหตุจากความไมสงบทางการเมืองสงคราม และภัย ธรรมชาติเหตุการณสําคัญท่ีบง ช้ีถึงปญ หานี้ ไดแก การบุกอิรักของกองทัพสหรัฐในป 2546 ทาํ ใหก าํ ลงั การผลติ น้ํามันของอริ ักลดลงระดบั หนึง่ และความไมสงบซ่ึงยังคงเกิดข้ึนในประเทศ หลังจากนั้นยังเปนอุปสรรคสําคัญตอการผลิตและการสงออกน้ํามันของอิรักใหกลับไปสูระดับ ปกติ ความขัดแยงระหวางอหิ รานกับประเทศตะวันตกเก่ียวกับโครงการพัฒนานิวเคลียรของ อิหราน (ซ่ึงเปนผูผ ลิตนํ้ามันมากเปน อันดับท่ี4 ของโลก) กอ ใหเกิดความตึงเครียดในภูมิภาค

32 ตะวันออกกลาง ระหวางอิหรา นและสหรัฐ โดยอิหรานประกาศวา จะใชน้ํามันเปนอาวุธ เพอ่ื ตอบโตม าตรการควาํ่ บาตรของสหรัฐ และในป 2551 ไดมีการเผชิญหนากันระหวา ง ทหาร อิหรา นและทหารสหรัฐ ในบริเวณชอ งแคบฮอรมุซ ซึ่งเปน ทางผา นสําคัญสําหรับการขนสง น้ํามันจากตะวันออกกลาง พายุเฮอรริเคนในแถบอา วเม็กซิโก ในเดือนกันยายน2548 มีผลกระทบตอแทน ผลิต นาํ้ มนั ของเม็กซิโก และโรงกล่ันที่ต้ังอยูต อนใตข องสหรัฐ มีผลใหร าคาน้ํามันเบนซินในสหรัฐ เพิม่ สงู ข้นึ เปน $3 ตอแกลลอน ซ่งึ เปนระดับท่ีสงู สุดในรอบ25ป ผกู อการรา ยในไนจเี รยี คกุ คามแหลง ผลิตน้ํามันหลายคร้งั ทาํ ใหป ระมาณการผลิตและ สง ออกน้าํ มันจากไนจีเรีย ลดลงประมาณ 500,000 บารเรลตอวัน ความขัดแยงทางการเมือง ระหวา งรฐั บาลเวเนซุเอลาและรัฐบาลสหรฐั ทาํ ใหการนําเขา นํ้ามันจากเวเนซุเอลาของสหรัฐมี ความเสี่ยงมากข้นึ 4. ในหลายประเทศที่สง ออกน้ํามันได มีการผลิตน้ํามันในปริมาณท่ีลดลงไป เพราะ ปรมิ าณสํารองเริม่ มีขอ จาํ กดั มากขึน้ ในขณะเดียวกันความตองการใชนํ้ามันในประเทศเหลา น้ี ก็เพิ่มข้นึ ตามการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกจิ ดวย ทาํ ใหหลายประเทศตอ งลดการ สง ออกลง เชนอินโดนีเซียเม็กซิโกนอรเ วย และอังกฤษ ในระหวางป 2005 ถึง 2006 การบริโภคนํ้ามันภายในประเทศผสู งออก 5 อันดับแรก คือ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย นอรเวย อิหราน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส ไดเ พิ่มสูงขึ้นถึงรอ ยละ 5.9 และมีปริมาณการสงออกลด ลงกวา รอยละ 3 เมอ่ื เทยี บกบั ปก อ นหนา น้ี หรือในกรณขี องอินโดนเี ซียทีร่ ัฐบาลมีการอุดหนุน ผูบริโภคภายในประเทศ และกรณีของซาอุดิอาระเบียท่ีราคาน้ํามันเบนซินในประเทศอยูท่ี 5 บาทตอ ลิตร ขณะที่มาเลเซียอยูใ นระดับ 20 บาทตอ ลิตร จึงทําใหเ กิดการคาดการณวา ปริมาณการสงออกนํ้ามันดิบของประเทศผูสงออกน้ํามันจะลดลงถึง 2.5 ลานบารเ รลตอ วัน ภายในชว ง 10 ปน้ี เม่ือไมกี่เดือนมานี้ขา ววารัฐบาลอินโดนีเซียกําลังพิจารณาจะถอนตัวจาก การเปนสมาชกิ OPEC เพราะอนิ โดนเี ซียจะไมส ามารถสง ออกน้ํามันไดอ ีกตอไป ในอนาคตอัน ใกลน้ี 5. นอกจากกาํ ลังการผลิตสว นเกนิ ของนาํ้ มนั ดิบจะมีนอ ย กําลังการกล่ันน้ํามันของโลก ก็มี ปญ หาคอขวดโดยมสี วนเกนิ นอ ยกวา 1 ลานบารเ รลตอ วัน ในขณะเดียวกันตลาดน้ํามันมี แนวโนม ตอ งการใชน้ํามนั ชนดิ เบาและสะอาดมากขึน้ จงึ สรา งแรงกดดันใหโ รงกล่นั นํา้ มัน ตองลงทุนปรับปรุงคุณภาพอกี ดวยขอจาํ กัดน้ี จงึ ทําใหราคาผลิตภณั ฑน ้ํามนั มรี าคาสงู ข้นึ

33 เพ่มิ ไปจากการเพ่มิ ของราคานํา้ มันดิบ และกาํ ไรของโรงกล่ันน้ํามันอยูใ นระดับท่ีคอ นขา งสูงมา โดยตลอด เปน ทน่ี าสังเกตดวยวาสหรัฐ ซึ่งเปน ผูใชน ้ํามันรายใหญที่สุดของโลก ไมไ ดกอสรา ง โรงกลั่นน้ํามนั แหง ใหมม าเลยต้ังแตท ศวรรษ 1970 6. ถึงแมว า ราคาน้ํามันระหวา ง ป 2546 ถึงป 2550 จะสูงขึ้นกวา 3เ ทา ตัว แลว แต ความ ตอ งการใชน้าํ มนั ของโลกก็ไมไ ดล ดลงเลย กลบั ยังคงเพ่มิ ขน้ึ ในอตั รา 3.55% ในป 2548 และในอัตราที่ยังสงู กวา 1% ในปตอ ๆมาปรากฏการณเ ชน นี้แตกตางจากท่ีเกิดข้ึนในชว ง วิกฤตนํ้ามัน สองครั้งแรก (ป 2516/17และป 2522/23) ซ่ึงเราพบวา ราคาน้ํามันที่สูงข้ึนมาก ทําใหความตองการนํา้ มันลดลง ในปตอมาในชวง 4-5 ป ทีผ่ า นมา เศรษฐกจิ โลกยังขยายตัวได คอนขางดีและดูเหมือนจะยังไมไดร ับผลกระทบจากภาวะราคาน้ํามันแพงมากนัก จีนและ อนิ เดียเปน ผใู ชพลังงานที่มอี ทิ ธพิ ล ตอ ตลาดนา้ํ มนั โลก 7. กองทุนประเภท hedgefunds หันไปลงทุนซื้อขายเก็งกําไรในตลาดนํ้ามันลวงหนา มากข้ึนทัง้ นเ้ี พอ่ื หลีกเลี่ยงการลงทนุ ในรปู ของเงนิ ดอลลารส หรฐั ซึ่งในระยะหลงั มีแนวโนม ออนคาลงมาก เม่อื เปรยี บเทยี บกับเงนิ สกลุ อ่นื ๆ เน่อื งจากภาวะตลาดน้าํ มันตามท่ีกลา วมาแลว ชี้ใหเ หน็ วา ราคาน้ํามันมีแนวโนมที่จะสูงขึ้น ผูจดั การกองทนุ เหลา นี้จึงเก็งกําไรโดยการซื้อน้ํามัน ไวล ว งหนา เพือ่ ขายเอากาํ ไรในอนาคตสงผลใหราคาน้ํามัน ทั้งในตลาด spot และตลาดลว ง หนา สูงขน้ึ อีกระดับหน่งึ ปรากฏการณโ ลกรอนและปรากฏการณเ รอื นกระจก คา ผิดปกติของอุณหภูมิเฉลี่ยท่ีผิวโลกท่ีเพ่ิมข้ึนในชว งป พ.ศ.2403–2549เทียบกับ อุณหภูมิระหวา ง พ.ศ.2504–2533 คาเฉล่ียอุณหภูมิผิวพื้นท่ีผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉล่ีย ระหวา ง ป พ.ศ.2538 ถึงพ.ศ.2547 ในชว ง 100 ปท ่ผี า นมา นบั ถึง พ.ศ.2548 อากาศใกลผิวดินท่ัวโลกโดยเฉล่ียมีคาสูงข้ึน 0.74±0.18 องศาเซลเซียสซึ่งคณะกรรมการระหวา งรัฐบาลวา ดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Intergovernmental Panelon Climate Change:IPCC) ของสหประชาชาติ ไดส รปุ ไวว า “จากการสงั เกตการณก ารเพิม่ อณุ หภูมิโดยเฉล่ยี ของโลกที่เกิดขน้ึ ตงั้ แตกลางคริสต ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต พ.ศ.2490) คอนขา งแนช ัดวาเกิดจากการเพิ่มความเขม ของ แกสเรือนกระจกที่เกดิ ขนึ้ โดยกิจกรรมของมนษุ ยที่เปนผลในรูปของปรากฏการณเรือนกระจก” ปรากฏการณธรรมชาติบางอยา ง เชน ความผันแปรของการแผร ังสีจากดวงอาทิตย และการ ระเบดิ ของภเู ขาไฟ อาจสงผลเพียงเล็กนอ ยตอ การเพิ่มอุณหภูมิ ในชวงกอนยุคอุตสาหกรรม

34 จนถึง พ.ศ.2490 และมีผลเพียง เล็กนอยตอการลดอุณหภูมิ หลังจากป 2490 เปนตนมา ขอ สรปุ พ้นื ฐานดงั กลาวนีไ้ ดรับการรับรองโดยสมาคม และสถาบนั การศกึ ษาทางวทิ ยาศาสตร ไมนอยกวา 30 แหง รวมท้ังราชสมาคมทาง วิทยาศาสตรระดับชาติ ท่ีสําคัญของประเทศ อุตสาหกรรมตา งๆ แมนกั วทิ ยาศาสตรบางคนจะมคี วามเหน็ โตแ ยงกบั ขอ สรุป ของ IPCC อยูบ าง[4] แตเสียงสวนใหญของนักวิทยาศาสตรที่ทํางานดานการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ของโลกโดยตรงเห็นดวยกับขอสรุปน้ี แบบจําลองการคาดคะเนภูมิอากาศบงชี้วาอุณหภูมิโลก โดยเฉล่ียท่ีผิวโลกจะเพ่ิมขนึ้ 1.1ถงึ 6.4 องศาเซลเซียส ในชว ง คริสตศ ตวรรษท่ี 21 (พ.ศ.2544 –2643) คาตัวเลขดังกลาวไดมาจากการจําลองสถานการณแบบตางๆของการแผข ยายแกส เรือนกระจกในอนาคต รวมถงึ การจาํ ลองคา ความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบแตความ รอนจะยังคงเพ่ิมข้ึน และระดับนํ้าทะเลก็จะสูงขึ้นตอ เนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แมว าระดับ ของแกส เรือนกระจกจะเขาสูภ าวะเสถียรแลวก็ตามการที่อุณหภูมิและระดับน้ําทะเลเขา สู สภาวะดุลยภาพไดช า เปนเหตุมาจากความจุความรอ นของนํ้าในมหาสมุทร ซง่ึ มีคา สงู มากการ ท่ีอุณหภูมิของโลกเพิม่ สงู ข้นึ ทาํ ใหร ะดบั นํ้าทะเลสูงขนึ้ และคาดวาทําใหเ กิดภาวะลมฟา อากาศ ที่รุนแรงมากขึ้นปริมาณ และรูปแบบการเกิดหยาดนํ้าฟา จะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณโ ลกรอน ไดแก การเปล่ียนแปลงของผลิตผลทางเกษตรการเคล่ือนถอยของ ธารน้ําแข็ง การ สญู พนั ธพุ ชื -สตั วตางๆ รวมท้ังการกลายพันธุ และแพรขยายโรคตาง ๆ เพ่มิ มากข้ึน รัฐบาลของประเทศตาง ๆ แทบทุกประเทศ ไดลงนามและใหส ัตยาบันในพิธีสาร เกียวโต ซึ่งมุงประเด็นไปท่ีการลดการปลอ ยแกส เรือนกระจก แตย ังคงมีการโตเ ถียงกันทาง การเมืองและการโตว าทีสาธารณะไปทั่ว ท้ังโลกเกี่ยวกับมาตรการวา ควรเปนอยางไรจึงจะลด หรอื ยอ นกลบั ความรอนทเ่ี พ่มิ ขึน้ ของโลกในอนาคตหรือจะปรับตัวกันอยา งไรตอผลกระทบของ ปรากฏการณโ ลกรอนท่คี าดวา จะตองเกิดข้นึ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว มพี ระราชดาํ รัสเก่ียวกบั ปรากฏการณเรือนกระจก ท่ีศาลาดสุ ดิ าลยั อยา งลึกซึ้ง กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี จงึ ไดร ับสนองกระแส พระราชดาํ รัสนําเขาประชุมคณะรัฐมนตรี จนกระทั่งทําใหว ันที่ 4 ธันวาคมของทุกป เปน วัน สงิ่ แวดลอมแหงชาติ ตงั้ แตป 2534 เปน ตนมา จากผลงานพระราชดําริ และการทรงลงมือปฏิบัติพัฒนาดวยพระองคเ อง เก่ียวกับ สภาพแวดลอม โดยเฉพาะอยางย่ิงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงท่ีมีคุณประโยชนต อ คนชนชาติ ตาง ๆ ทั้งดานเศรษฐกจิ สงั คมความมน่ั คงของมนุษย และการเมอื ง ซงึ่ เปนท่ีประจักษไ ปทั่วโลก องคก ารสหประชาชาติโดย นายโคฟ อันนัน อดีตเลขาธิการองคก ารสหประชาชาติ จึงได

35 เดินทางมาประเทศไทย ในวาระมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป เขา เฝา พระบาท สมเด็จพระเจาอยูหัววันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพ่ือถวายรางวัล “UNDP Human Develop ment Lifetime Achievement Award” (รางวัลความสําเร็จสูงสุดดา นการพัฒนามนุษย) ซึ่งเปนรางวัลประเภท Life-Long Achievement และพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเปน พระมหากษตั ริย พระองคแรกในโลกทไี่ ดร บั รางวลั นี้ องคการสหประชาชาติไดย กยองพระบาทสมเด็จพระเจา อยูห ัว เปน “พระมหากษัตริย นักพัฒนา” และกลาวถึงปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง(SufficiencyEconomy)ของพระองคว าเปน ปรัชญาหรือทฤษฎีใหม ที่นานาประเทศรูจักและยกยอ งโดยท่ีองคการสหประชาชาติ ไดสนับสนนุ ใหประเทศ ตา งๆทเ่ี ปน สมาชกิ ยึดเปน แนวทางสูการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง มใิ ชเ ปน เพียงปรัชญานามธรรมหากเปนแนวทางปฏิบตั ิ ซึ่งสามารถจะชวยทัง้ แกไขและปอ งกนั ปญหาทเี่ กิดจากกเิ ลสมนษุ ย และความเปลยี่ นแปลง ทีซ่ บั ซอนรุนแรงขนึ้ ที่กาํ ลังเกดิ ขน้ึ กบั มนษุ ยท งั้ โลกและปญ หาท่ีลกุ ลามตอถึงธรรมชาติกอ ใหเ กิด ความเปล่ยี นแปลงใหญใ นเชิงรนุ แรงและสรา งปญหายอนกลับมาทีม่ นษุ ย โดยทั่วไปมักเขา ใจกันวา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะที่จะใชเฉพาะกับคนยากจน คนระดับรากหญา และประเทศยากจน อกี ท้ังเคร่อื งมือเทคโนโลยีก็จะตอ งใชเ ฉพาะเคร่ืองมือ ราคาถูกเทคโนโลยีตํ่าการลงทุนไมควรจะมีการลงทุนระดับใหญ แตใ นความเปน จริงปรัชญา เศรษฐกิจพอเพยี งก็ตองการคนและความคดิ ท่ีกา วหนา คนทก่ี ลาคิดกลา ทาํ ในสงิ่ ใหมๆ เนอื่ งจากการนาํ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใชป ระโยชนในดานตางๆ ไมมีสูตรสําเร็จ หรอื คมู อื การใชป รัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับภารกิจ ดังเชน วิกฤตโลกรอนผูเ กี่ยวขอ งจึง ตองศึกษา ทาํ ความเขาใจแลวก็พฒั นาแนวทางหรือแนวปฏบิ ตั สิ าํ หรบั แตละปญ หาขน้ึ มา โดยยึดหลักทีส่ ําคัญ ดงั เชน - การคดิ อยางเปนระบบอยางเปน กระบวนการทางวิทยาศาสตร - หลักคิดที่ใช ตองเปนหลักการปฏิบัติท่ีเปนสายกลางท่ีใหค วามสําคัญของความ สมดุลพอดีระหวา งทกุ สิ่งทเี่ ก่ียวขอ งดงั เชน ระหวางธรรมชาติกับมนษุ ย - ขอมลู ทใ่ี ช จะตองเปน ขอมูลจรงิ ท่เี กิดจากการศกึ ษาการวจิ ัยหรือการลงสนามใหไ ด ขอ มลู ทเี่ ปนจริง - การสรา งภมู ิตานทานตอความเปล่ียนแปลงท่จี ะเกิดข้นึ

36 - การยดึ หลักของความถกู ตองคณุ ธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณในทุกข้ันตอนของการ ดําเนนิ งานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซ่ึงเปนกระบวนการสําคัญของการสรา งภูมิตา นทาน ตอ ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงท่ีกําลังเกดิ ข้นึ หรือที่จะเกิดข้นึ เหลา นี้เปน หลักการใหญๆ ซึ่งผูที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวขอ งหรือคิดจะทําโครงการหรือ กิจกรรมในระดับคอ นขางใหญ  จะตองคํานงึ ถงึ และสามารถจะนําปรัชญานี้ไปใชไ ดท ันที และมี ผทู ี่ ไดใ ชล ว นประสบความสําเร็จสงู สุดที่มนุษยพ ึงจะมีคือความสุขท่ยี ัง่ ยืน แลวเรื่องของการแขงขันชิงไหวชิงพริบการวางแผนยุทธศาสตรแ ละโลจิสติกส (การจัดซื้อจัดหาการจัดสง การบํารุงรักษาอุปกรณ และการรักษาพยาบาลบุคลากร) ในการ บริหารจัดการระบบหรือโครงการใหญๆ การใชจ ิตวิทยามวลชนการใชเทคโนโลยีกา วหนา การกําหนดแผนหรือตนเองใหเ ปน“ฝา ยรุก” มิใช “ฝายต้ังรับ”ละ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปฏเิ สธหรอื ไม? คําตอบ คือ ปฏิเสธ ถาใชอ ยางไมถ ูกตอ งอยางหลีกเล่ียงกฎหมายอยา งผิดคุณธรรม- จริยธรรม-และจรรยาบรรณ อยา งไมซ ่ือตรงตอหนา ที่และความรับผิดชอบอยา งมีเจตนา เพอื่ ผลประโยชนท ี่ไมส ุจรติ ของตนเองและพวกพอง แตจ ะตองรูจกั และใชอ ยางรูเ ทา ทันปกปอง และรกั ษาผลประโยชนของสว นรวมอยางมคี วามคิดกา วหนา ในเชิงสรางสรรค สําหรับการแกป ญหาหรือการเตรียมเผชิญกับปญหาจากวิกฤตโลกรอ น มีประเด็นและ เร่อื งราวท้ังเกา และใหม ดังเชน เรอ่ื งของมาตรการทถ่ี กู กาํ หนดข้ึนมา เพ่อื เผชญิ กับภาวะโลก รอ น เพ่ือใหป ระเทศที่พัฒนาแลว และที่กําลังพัฒนา(ดังเชน ประเทศไทย)ไดดํารงอยูรวมกัน พ่งึ พิงและเอือ้ อาทรตอกันอยางเหมาะสม ดังเชน เร่ืองคารบ อนเครดิตท่ีเปนเรื่องคอ นขางใหม ของประเทศไทยแตก ็เปน ท้งั “โอกาส”และ“ปญ หา” ท่ีประเทศไทยตอ งเผชิญ ซ่ึงก็ขึ้นอยูกับคน ไทยเราเองวาจะตอ งเตรียมตัวกันอยา งไรเพื่อใหส ามารถเปน“ท่ีพ่ึง”ของโลกหรือประเทศอื่น แทนท่จี ะเปน“ปญ หา”ทเี่ กิดจากความไมใ สใ จหรือความใสใ จแตเ พอ่ื จะกอบโกยผลประโยชน เทา น้นั เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิกฤตโลกรอ น จึงมีโจทย มีเปาหมายมากมาย ท่ที า ทายเชิญชวนใหผูคน และประเทศท่ีตองการมีชีวิตสรา งสรรค และมีความสุขอยา งยั่งยืน ได นาํ ไปใช โดยใชป ญ ญาเปนตัวนํา กํากับดว ยสติ และควบคุมดว ยคณุ ธรรมกบั จริยธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้ี ถูกใชเ ปนกรอบแนวคิด และทิศทางการพัฒนาระบบ เศรษฐกิจมหภาคของไทย ซ่ึงบรรจุอยูใ นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง ชาติ ฉบับท่ี 10

37 (พ.ศ.2550–2554)เพ่ือมุง สูการพัฒนาที่สมดุลย่ิงขึ้น และมีภูมิคุมกันเพื่อความอยูด ีมีสุขมุงสู สังคมท่ีมีความสุขอยางย่ังยืนดว ยหลักการดังกลาว แผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 10 น้ี จะเนน เร่ือง ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แตยังใหความสําคัญตอ ระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกตางกัน ระหวา งเศรษฐกิจชุมชน เมือง และชนบท แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เชน รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2550 ในสวนที่ 3 แนวนโยบาย ดา นการบรหิ ารราชการ แผน ดิน มาตรา78 (1) บริหารราชการแผน ดินใหเ ปน ไป เพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและ ความม่ันคงของประเทศอยางยั่งยืน โดยตองสงเสริมการดําเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และคํานงึ ถึงผลประโยชนของประเทศชาตใิ นภาพรวมเปนสาํ คญั นายสรุ เกียรติ เสถยี รไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการตา งประเทศไดก ลาว เม่ือวัน ท่ี 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอดTheFrancophonicOuagadougou คร้ังที่ 10ที่ Burkina Faso วาประเทศไทยไดย ึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคกู ับ “การพัฒนาแบบยัง่ ยืน”ในการพิจารณาประเทศ ท้ังทางดานการเกษตรกรรมเศรษฐกจิ และการ แขงขัน ซงึ่ เปน การสอดคลองกบั แนวทางของนานาชาตใิ นประชาคมโลก การประยกุ ตน าํ หลักปรัชญา เพ่อื นํามาพัฒนาประเทศในตางประเทศน้ัน ประเทศไทย ไดเปน ศูนยกลางการแลกเปลี่ยนผา นทางสํานักงานความรว มมือ เพื่อการพัฒนาระหวาง ประเทศ (สพร.) โดย สพร.มหี นา ท่คี อยประสานงานรับความชวยเหลือทางวิชาการดา นตาง ๆ จากตางประเทศมาสูภาครัฐแลว ถายทอดตอไปยงั ภาคประชาชน และยังสง ผา นความรูท ี่มีไปยัง ประเทศกําลังพัฒนาอ่ืนๆเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สพร.ถายทอดมาไมต่ํากวา 5 ป ประสานกับสํานกั งานคณะกรรมการพิเศษ เพ่ือประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราช ดําริ (กปร.) และคณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงตางชาติก็สนใจเรื่อง เศรษฐกจิ พอเพียง เพราะพสิ จู นแ ลว วาเปน สง่ิ ทดี่ แี ละมีประโยชน ซ่ึงแตล ะประเทศมีความตอง การประยกุ ตใ ชป รัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ไมเ หมือนกนั ข้นึ อยูก บั วถิ ีชีวิตสภาพภูมิศาสตร ฯลฯ เชน พมา ศรีลังกา เลโซโท ซูดาน อัฟกานิสถานบังกลาเทศ ภูฎาน จีน จิบูดี โคลัมเบีย อียปิ ต เอธิโอเปย แกมเบยี อินโดนิเซีย เคนยา เกาหลใี ต มาดากัสการ มัลดีฟส ปาปว นิวกินี แทนซาเนยี เวยี ดนาม ฯลฯ โดยไดใหป ระเทศเหลาน้ีไดมาดูงานในหลายระดับ ท้ังเจาหนาที่ ปฏบิ ตั งิ าน เจา หนา ท่ฝี ายนโยบาย จนถงึ ระดบั ปลดั กระทรวงรัฐมนตรีกระทรวงตา งๆ[14]

38 นอกจากน้ัน อดิศักด์ิ ภาณุพงศ เอกอัครราชทูตไทยประจํากรุงเวียนนา ประเทศ ออสเตรียไดกลาววาตา งชาติสนใจ เร่ือง เศรษฐกิจพอเพียง[14]เนื่องจากมาจากพระราชดําริ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจา อยูห ัว ท่ีทรงหวงใยราษฎรของพระองค และอยากรูว าทําไมรัฐบาล ไทยถึงไดนํามาเปน นโยบายสว นประเทศท่ีพัฒนาแลว ก็ตอ งการศึกษาพิจารณาเพื่อนําไปชว ย เหลือประเทศอ่ืน 13. นักคิดระดับโลกเห็นดว ยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนําเสนอ บทความบทสัมภาษณ เปน การย่ืนขอ เสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใหแ กโลก เชน ศ.ดร.วูล ฟกัง ซัคส นักวิชาการดา นสิ่งแวดลอม คนสําคัญของประเทศเยอรมนี สนใจการประยุกตใ ช หลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง อยางมาก และมองวานาจะเปนอกี ทางเลือกหน่ึงสําหรับทุกชาติ ในเวลาน้ี ท้ังมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงใหเปน ที่รูจักในเยอรมนี, ศ.ดร.อมาตยา เซนอ ศาสตราจารย ชาวอินเดียเจา ของรางวัลโนเบล สาขา เศรษฐศาสตร ป 1998 มองวา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปนการใชส ่ิงตา งๆท่ีจําเปน ตอ การดํารงชีพ และใชโ อกาสให พอเพยี งกับชีวิตท่ีดี ซ่ึงไมไดหมายถึงความไมตอ งการ แตตองรูจักใชช ีวิตใหดีพออยา ใหความ สาํ คญั กบั เรอ่ื งของรายได และความรํา่ รวยแตใ หมองทคี่ ุณคาของชีวติ มนุษย, นายจิกมี ทินเลย นายกรัฐมนตรีแหง ประเทศภูฎาน ใหทรรศนะวา หากประเทศไทยกําหนด เรื่อง เศรษฐกิจ พอเพียง ใหเ ปน วาระระดับชาติ และดําเนินตามแนวทางน้ีอยา งจริงจัง “ผมวาประเทศไทย สามารถสรา งโลกใบใหมจาก หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งสรา งชีวติ ทย่ี ่งั ยืน และสุดทายจะไม หยุดเพียงแคใ นประเทศแตจ ะเปนหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทําไดสําเร็จไทยก็คือ ผูนาํ ”[15] ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไดร ับการเชิดชูสูงสุดจาก องคการสหประชาชาติ (UN) โดย นายโคฟ อนั นนั ในฐานะเลขาธกิ ารองคการสหประชาชาติ ไดทูลเกลา ฯ ถวายรางวัล TheH umanDevelopment lifetimeAchievementAward แก พ ระบาทสมเดจ็ พระเจา อยูห ัว เมอ่ื วนั ท่ี 26 พฤษภาคม2549 และไดมีปาฐกถาถงึ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง วาเปน ปรัชญาที่มี ประโยชนตอ ประเทศไทยและนานาประเทศ[6] และสามารถเร่มิ ไดจ ากการสรา งภูมิคุม กันในตน เองสูหมบู า น และสูเศรษฐกจิ ในวงกวา งขน้ึ ในที่สุด นาย Hakan Bjorkman รกั ษาการ ผูอ ํานวยการ UNDP ในประเทศไทย กลา วเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP น้ัน ตระหนักถึงวิสัยทัศน แ ละแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ[16] โดยท่ีองคก าร

39 สหประชาชาติไดสนับสนุนใหป ระเทศตา งๆที่เปน สมาชิก 166 ประเทศยึดเปน แนวทางสูการ พฒั นาประเทศแบบยง่ั ยนื [7] อยา งไรกต็ ามศ.ดร.เควิน ฮิววิสัน อาจารยประจํามหาวิทยาลัยนอรธแคโรไลนา ท่ีแซพ เพลฮิลล ไดว ิจารณรายงานขององคการสหประชาชาติโดยสํานักงานโครงการพัฒนาแหง สหประชาชาติ (UNDP) ท่ียกยองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง[17]วารายงานฉบับดังกลา วไมไ ดมี เน้ือหาสนับสนนุ วา เศรษฐกิจพอเพียง “ทางเลือกท่ีจําเปนมากสําหรับโลกท่ีกําลังดําเนินไปใน เสน ทางที่ไมยั่งยืนอยูในขณะน้ี”(น.V.ในรายงาน UNDP) โดยเนื้อหาแทบทั้งหมดเปน การเทิด พระเกยี รติและเปน เพียงเคร่อื งมอื ในการโฆษณาชวนเช่ือ ภายในประเทศเทา นั้น (18) สว นHak an Bjorkman รกั ษาการผูอาํ นวยการ“UNDP” ตอ งการท่ีจะทําใหเ กิดการอภิปรายพิจารณา เรื่องนี้แตก ารอภิปรายดังกลาวนั้นเปนไปไมไ ด เพราะอาจสุมเส่ียงตอ การหม่ินพระบรมเดชา นภุ าพ ซึง่ มีโทษถงึ จาํ คุก (10) เมื่อปลายเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2 549 นายโคฟ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ไดเ ขา เฝา ทูลเกลา ฯถวายรางวัล Human Development Lifetime Achievement Award หมายความวา พระเจาอยูห วั สละความสขุ สว นพระองค และทมุ เทพระวรกายในการพฒั นา คนไทย ในชว ง 60 ป จนเปน ทปี่ ระจักษใ นความสาํ เร็จของพระราชกรณียกิจพระบรมราโชวาท และเปน แบบอยางทั่วโลกได คํากราบบังคมทูลของ นายโคฟ บงบอกใหเห็นเขาศึกษาเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยางละเอียดและรับปากวา จะนําไปเผยแพรท ่ัวโลก รวมท้ัง ประมุขหรือผูแทนของประเทศตา งๆทไี่ ดมาเขาเฝา และขออัญเชญิ ไปใชใ นประเทศของเขา เพราะเห็นวาเปนแนวทางทด่ี ี นอกจากUnited Nation Development Program (UNDP) เปน องคก รหนึ่งภายใต สหประชาชาติที่ดแู ลเก่ียวกับการพัฒนาดานหน่งึ ทีเ่ ขาตอ งดแู ล คอื การพัฒนาคนมีหนา ท่ีจัดทํา รายงานประจําป โดยในปหนาจะเตรียมจัดทําเรื่องการพัฒนาคนของโลก และคนในแตละ ประเทศ (Countryrepor tและ Globalreport) โดยในสว นของประเทศไทยจะนําเรื่อง ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งเปน หลักในการรายงานและเผยแพร ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อท่ีประเทศอื่นจะไดรับประโยชนจากของพระราชทานท่ีพระบาทสมเด็จพระเจา อยูห ัว พระราชทาน ใหค นไทยมากกวา 30 ป แลว จะเห็นไดวาขณะนปี้ รัชญาฯนีไ้ ดเผยแพร โดยองคกรระดบั โลกแลว เราในฐานะพสกนิกร ของพระองคทาน นาจะภูมิใจหันมาศึกษา และ นําไปปฏิบตั ิอยา งจรงิ จังก็จะบงั เกิดผลดีย่ิง

40 เรอื งที 4 การเลอื กแนวทางการดาํ เนินชีวิตภายใตสถานการณของโลก/ประเทศโดยใชหลัก ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง “.............ผใู หญวิบูลย เข็มเฉลมิ เกษตรกรผูรเิ ริ่มทําวนเกษตร ซึง่ ยดึ หลักเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถยืนหยัดอยา งเขมแข็มบนโลกทนุ นยิ มอยางสมภาคภมู ิ....” “ตวั อยางเศรษฐกจิ พอเพียงท่ขี า พเจารจู ัก” สังคมไทยในอดตี เปนสังคมแหงการพึ่งพิง อยูรวมกันเปนครอบครัวใหญ วิถีชีวิตผูกพัน กับธรรมชาติ และดํารงชีพดวยภูมิปญญาท่ีสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เปนความลงตัว ระหวา งมนษุ ยแ ละธรรมชาติท่ีตางเอ้ือประโยชนซึ่งกันและกัน ตั้งแตขาพเจาลืมตาข้ึนมาดูโลก จนกระท่ังจําความ ไดน้ัน บานเกิดของขาพเจาเปนสังคมชนบทที่ใชชีวิตอยางเรียบงายและ พงึ่ พาอาศัยกัน วถิ ีชวี ิตผคู น องิ อยูกับธรรมชาติบนรากฐานของเกษตรกรรม แตวันเวลาผานไป ไดลบรองรอยของอดีตเหลานั้น ใหเลือนหายไปจากความทรงจํา วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ และ ภูมิปญญาพื้นบานคอย ๆ ถูกกลืนไปดวยการไหลบาของวัฒนธรรมตะวันตกที่ครอบคลุมไป ทุกภาคสวน ไมเวน แมแตสงั คมชนบท สาํ หรบั สงั คมเมอื งการเปลี่ยนแปลงย่ิงเห็นชัดเจน วิถีชีวิต ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปชนิดหนามือเปนหลังมือ ระบบทุนนิยมเขามามีบทบาท กระแส บรโิ ภคนยิ มทดี่ ําเนินไปในทศิ ทางทผ่ี ดิ พลาด คอื มีการบริโภคมากกวา การผลิต ทําใหคนไทยฟง เฟอ ฟุมเฟอ ยและเสียดุลการคาตางชาติจํานวนมหาศาล และคนไทยก็ไดรับบทเรียนราคาแพง เมอ่ื เศรษฐกิจที่เฟอ งฟูเขาสยู คุ ฟองสบแู ตก วกิ ฤตการณทางเศรษฐกิจครัง้ ใหญเ ม่ือป พ.ศ. 2540 เปน จดุ เปลย่ี นท่ที ําใหคนไทย ตองหันมาทบทวนอดตี ทผี่ านมา และดํารงชพี อยางเขาใจชีวิตมาก ข้ึน เศรษฐกิจพอเพียงจึงเปนแนวทางหนึ่งที่ไดรับความสนใจ ดวยความหวังที่จะรอดพนและ ดํารงอยูอยางยั่งยนื ภายใตก ระแสโลกาภิวตั นและการเปล่ยี นแปลงตา ง ๆ

41 “เศรษฐกิจพอเพียงเปนเสมือนรากฐานของชวี ิต รากฐานความมนั่ คงของแผนดิน เปรียบเสมอื นเสาเขม็ ทีถ่ กู ตอกรองรับบานเรือนตัวอาคารไวม ั่นเอง สิ่งกอ สรา งจะมน่ั คงอยูไ ดกอ็ ยูท่เี สาเข็ม แตค นสว นมากมองไมเ ห็นเสาเขม็ และลมื เสาเขม็ เสยี ดว ยซ้ําไป” (พระราชดาํ รัสพระบาทสมเด็จพระเจา อยูหวั จากวารสารชยั พฒั นา) เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ไมไดเปนเรื่องใหม แตเปนปรัชญาการ ดาํ เนินชีวติ ทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจาอยหู ัวทรงมพี ระราชดาํ รัส ช้ีแนะแกพ สกนิกรมาโดยตลอด ต้ังแตกอ นเกดิ วกฤตการณท างเศรษฐกิจ เพียงแต ณ เวลาน้ันหาคนเขาใจและเห็นความสําคัญ ไดยากนัก โดย ครงั้ แรกที่ไดย ินคาํ นี้ จากสือ่ ตา งๆ ขา พเจาเองก็ตคี วามคดิ ของตนเองวา คือ วถิ ชี วี ติ ทท่ี วนกลับไป ดาํ รงชพี อยา งบรรพบรุ ุษในอดตี ท่ีพ่ึงพงิ เฉพาะธรรมชาตเิ ปนหลัก เปนสังคมพออยูพอกินไมเนนการ ทําการคา ซ่ึงตอมาเมื่อขาพเจาอายุมากข้ึน ทําใหทราบวา ความเขา ใจของตนน้ันยังคลาดเคล่ือนอยมู ากทเี ดยี ว พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระราชทานใน วโรกาสตา ง ๆ ซึง่ ไดม ีผปู ระมวลและกล่ันกรองเพ่ือเผยแพร ตอ สาธารณชนนนั้ ไดใหความหมาย ของความพอเพยี งวา “ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมทั้งความจําเปนที่จะตองมีระบบ ภูมคิ ุมกนั ในตวั ทีด่ ีพอสมควรตอการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทัง้ นี้ จะตองอาศัยความรู ความรอบคอบ และความระมัดระวังอยางยิ่ง ในการนํา วิชาตาง ๆ มาใชในการวางแผน และดําเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะตองเสริมสราง พน้ื ฐานจติ ใจของคนในชาตโิ ดยเฉพาะเจา หนา ทีข่ องรฐั นักทฤษฎี และนักธรุ กิจ ในทุกระดับใหมี สํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตยสุจริต และใหมีความรอบรูที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตดวยความ อดทน ความเพยี ร มีสติ ปญ ญา และความรอบคอบ เพ่ือใหสมดุลและพรอมตอการรองรับการ เปลี่ยนแปลงอยา งรวดเร็วและกวางขวาง ท้ังดานวัตถุ สังคม สิ่งแวดลอม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกไดเปน อยา งดี”

42 ซงึ่ แนวความคดิ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไดมีผูนําไปใชจนประสบความสําเร็จอยางมากมาย ในสังคมไทยที่ขาพเจาเคยไดยินช่ือเสียงก็มีหลายทาน แตทานหน่ึงซ่ึงขาพเจาอยากนําเสนอ เรื่องราวของทาน ณ โอกาสน้ี คือ ผูใหญวิบูลย เข็มเฉลิม เกษตรกรผูริเร่ิมการทําวนเกษตร ซ่ึงยึดหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงจนสามารถยืนหยัดอยางเขมแข็งบนโลกทุนนิยมไดอยางสม ภาคภูมิ เน่ืองดวยเมื่อไมนานมาน้ีขาพเจามีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมวนเกษตรของทาน ซ่ึงประกอบสัมมาชพี โดยใชการพึง่ ตนเองเปนหลักเปน ประสบการณตรงท่ีขาพเจาไดมีโอกาสได ไปพบปะพดู คุยกบั บคุ คลคณุ ภาพอยางทา น ซงึ่ ทานไดแ ลกเปล่ยี นแนวความคิดดี ๆ หลายอยาง ที่ฟงแลว รสู กึ วา ดมี เี หตุผล และอยากนาํ ไปประยกุ ตใชก ับตวั เอง ผูใหญว บิ ลู ย เข็มเฉลิม เปน ผูใหญบาน บา นหว ยหิน ต.ลาดกระทงิ อ.สนามชยั เขต จ.ฉะเชิงเทรา อาชีพเดิมของทานคือเปนนายหนาและพอคาคนกลาง กูเงินจากพอคาและ ธนาคารมาใหชาวไรชาวนากู ตอมาตัดสินใจเปน เกษตรกรเตม็ ขัน้ โดยเปน ผูน าํ กลมุ เกษตรกร ในพน้ื ท่ี ทานเปน ผูมปี ระสบการณโ ชกโชนในเร่อื งการเกษตรแผนใหม มีพื้นท่ีทําการเกษตรมาก ถึง 200 ไร โดยเนนปลูกพืชเศรษฐกิจ เชน มันสําปะหลังและฝาย ซึ่งชวงแรก ๆ ก็ประสบ ความสาํ เรจ็ เปนท่นี า พอใจ แตตอ มาตอ งเผชิญกบั ภาวะตนทุนสูงและราคาผลผลิตตกต่ําก็กลาย เปน คนมหี นีส้ ินไมแตกตางจากเพื่อนเกษตรกรจํานวนมาก จึงไดพยายามหาทางเอาชนะปญหา ดวยวิธีการตาง ๆ เชน ขยายพื้นที่ทําไรออกไป หรือรวมกลุมเกษตรกร เพ่ือเรียกรองใหมีการ ประกันราคา แตก็ไมพบทางออกท่ีดี จนในท่ีสุดทานก็หาขอสรุปไดวา การทําเกษตรแนบนี้ “ยิ่งทํามาก ย่ิงมีหน้ีมาก”ทานจึงทบทวนวิธีทํามาหากินใหมท้ังหมด ในที่สุดก็พบความจริงวา “การผลิตเพ่ือมุงทํากินเองใชเอง ทําใหคนในอดีตพ่ึงพาตนเองไดโดยไมตองเอาชีวิตผูกติดกับ ระบบตลาด” ดวยความคิดเชนน้ี ผูใหญวิบูลยจึงตัดสินใจหันเหชีวิตออกจากการผลิตเพ่ือหา รายไดและปรับเปล่ียนเปนการผลิตเพ่ือ “ลดรายจาย” เพ่ือการพึ่งพาตนเองในปจจัยส่ี และ สรางหลกั ประกนั ชวี ติ ในระยะยาว ป พ.ศ. 2525 เปนจุดเริ่มตนของการแสวงหาทางเลือกใหม ผูใหญวิบูลยตัดสินใจขาย ที่ดนิ ประมาณ 200 ไรที่มี เพ่ือปลดหน้ีสินใหหมดไป เหลือไวเพ่ือเปนอยูอาศัยและทํากินเพียง 9 ไรเศษ ทา นเริ่มตน ชวี ติ ใหมตามหลักการของวนเกษตรโดยมแี นวทางปฏิบัติคือ ในชวงแรกเรง ปลูกพืชอาหารอายุส้ันท่ีเปนที่ตองการของตลาด เชน ขาวโพด ถ่ัว แตงกวา มะระ โดยใช แรงงานตนเองและครอบครัวเปนหลัก ผลผลิตท่ีเหลือจากการบริโภคในครอบครัวเอาไปขาย เพ่ือนําเงินไปซื้อสิ่งจําเปนอื่น ๆ ทําไปไดสักระยะจึงคนพบวา ถาปลูกพืชกินไดไวมากเทาไหร

43 แมไมมีเงินติดบานเลยก็อยูไดไมเดือดรอน ตอมาหันมาปลูกพืชท่ีทนตอโรคและแมลง เพื่อลด การใชสารเคมี พรอมๆ กับปลูกสะสมสมุนไพรอยางจริงจัง ขณะท่ีขาพเจาเดินชมภายในวน เกษตรของทาน พบพืชหลายชนิดปลูกคละกัน ไมไดเปนสัดสวน และไมไดจัดแถวใหเปน ระเบียบ ทานบอกวาตองการใหเหมือนปาธรรมชาติมากท่ีสุด ที่ดิน 9 ไรเศษ มีพรรณไม หลากหลาย ทานปลูกท้ังไมผลและไมยืนตน หลายชนิดแซมกันไป โดยวัตถุประสงคเพ่ือเปน อาหาร เปน ไมใชส อย และบางชนิดปลูกเพื่อสรางสมดุลธรรมชาติ ทําใหตนไมเจริญเติบโตไดดี และเปนการฟน ฟรู ะบบนเิ วศนใ นธรรมชาตดิ ว ย จุดเริ่มตนตรงน้ีเองเปนที่มาของวนเกษตรศูนย การเรยี นรูภาคตะวันออกในปจ จบุ นั หากเทยี บเคยี งหลักวนเกษตรของผูใ หญวบิ ลู ย จะเหน็ ไดวาเปน ไปตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั กลา วคือ 1. ทา นมีกรอบแนวคิดและปรัชญาการดาํ เนินชีวติ ท่ียึดหลักความพอดีและปฏบิ ัติ ตนอยางเหมาะสม โดยใชวิถีชีวิตด้ังเดิมของบรรพบุรุษเปนพ้ืนฐาน ซ่ึงไมไดหมายถึงการยอน อดีตกลับไปมีวิถีชีวิตแบบคนยุคโบราณ แตความพิเศษอยูท่ีทานสามารถประยุกตภูมิปญญา ด้ังเดมิ ใหเ ขา กับยุคสมยั ไดอยางลงตัว ทานมองโลกเชิงระบบท่ีมีการเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา และมุงเนน การประกอบอาชีพเพือ่ รอดพนจากภยั และวิกฤตเพื่อใหเกิดความมั่นคงและย่ังยืนใน การพฒั นา 2. แนวทางการทําวนเกษตรของทาน สามารถนํามาประยกุ ตใ ชใ นการปฏิบตั ิไดก บั คนทกุ ระดบั ทุกสาขาอาชพี ไมเ ฉพาะเกษตรกรเทา นัน้ เพราะแนวคดิ ของทานน้ันสอนใหคนเรา เขา ใจชวี ติ มากข้ึน ไมตงึ เครียดหรอื หยอนยานกับชวี ิตมากเกนิ ไป เนนการปฏิบตั ิบนทาง สายกลาง เพือ่ ใหเ กิดการพฒั นาอยา งเปนขนั้ ตอนมีเหตุมีผลตอ ทุกการกระทํา 3. ความพอเพียงตามหลกั วนเกษตรของทานมี 3 คณุ ลักษณะ พรอ ม ๆ กัน ไดแก  ความพอประมาณ หรือความพอดี ตามวิถีชีวิตของผูใหญวิบูลย ความ พอดี ไมไดหมายถึงการสมถะจนเกินไป แตคือการใชชีวิตอยางสบาย ๆ ไมอ ตั คัด ไมเ บียดเบียนตนเองและผอู น่ื  ความมีเหตุผล ผูใหญวิบูลยบริหารจัดการเกี่ยวกับระดับความพอเพียง อยางมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุผลและปจจัยท่ีเก่ียวของ ตลอดจน คาํ นึงถึงผลที่คาดวา จะเกดิ ขนึ้ จากการกระทําน้ันอยางรอบคอบ เน่ืองจาก ชวี ิตไดผ านประสบการณ ทงั้ ในทางบวกและทางลบมากอน

44  การมีภูมิคุมกันท่ีดีเตรียมตัวพรอมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตาง ๆ ผูใหญวิบูลยเปนผูหนึ่งที่เรียนรูจากความผิดพลาดในอดีตของ ตนเอง แลวเปลี่ยนวธิ ีคิดและวิถีชีวิตจนคนพบแนวทางที่ใชสําหรับตนเอง แตทานก็ไมประมาทในการดําเนินชีวิต เพราะโลกยุคนี้หมุนเร็วย่ิงนัก การจะยืนอยไู ดอ ยา งมัน่ คงจงตอ งคาํ นึงถึง ความเปน ไปไดของสถานการณ ตาง ๆ ทีค่ าดวาจะเกิดขึน้ ทัง้ ในปจ จุบนั และในอนาคตดว ย 4. ผูใหญว ิบลู ยเปน ผใู ชค วามรูคคู ณุ ธรรมเปน พืน้ ฐานการดําเนนิ ชวี ิต แมท า นจะจบ การศกึ ษาสามัญเพยี งแคชัน้ ป.4 แตเ ปนผใู ฝท่จี ะเรยี นรูเพม่ิ เติม ทั้งในและนอกระบบการศึกษา จึงมีความรอบรูทั้งดานวิชาการและประสบการณชีวิต สามารถเชื่อมโยงแนวคิด และความรู อยางรอบคอบเพื่อประกอบการวางแผน และระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ นอกจากนี้ ทานยังได ขยายผลในรูปแบบเครือขายความสัมพันธกัลยาณมิตรไปทั่วประเทศ จนไดรับการยกยองเปน “คนดีศรสี ังคม” วนเกษตรของทา นกลายเปน ศูนยกลางการเรียนรูของบคุ คลท่วั ไป 5. แนวทางปฏบิ ัตขิ องผูใหญวบิ ลู ย เปนการพฒั นาทีส่ มดุลย่งั ยืนพรอมรบั การ เปล่ียนแปลงในทุกดาน ท้งั ดา นสงั คม เศรษฐกจิ สิง่ แวดลอม และเทคโนโลยี ทานเปนผูสาธิตให เห็นภูมปิ ญ ญาในการปรับตัวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนยิ ม ทานกลา ทําในส่งิ ทีค่ นสวนใหญ ยังไมเคยทํา แตเปนการกระทําที่สอดคลองกบั พนื้ ฐานทางวัฒนธรรมแตเดิมของไทย ทานเช่ือมั่นในอุดมการณวนเกษตรวา เปนทางออกท่ีเหมาะสม และมีคุณคานานาประการ ทั้งตอตัวทานเองและสังคม หลักความพอเพียงในการดํารงชีวิต จึงเปนหลักสากลท่ีสามารถ ประยุกตใชในการดําเนินชีวิตไดกับ คนทุกกลุม ไมใชเฉพาะเกษตรกร ตัวขาพเจาแมปจจุบัน ไมไดประกอบอาชีพเกษตรกรรม และดําเนินชีวิตในเมืองใหญ อยางกรุงเทพมหานคร ก็เชื่อม่ันวาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมี ประโยชนก ับตวั เองมาก เมอื่ ผนวกกบั ประสบการณท ่ีตนเองไดรบั จากการเปล่ียนความคิดเห็น กับผูมีประสบการณชีวติ หลาย ๆ ทา น ทําใหไ ดข อ สรุปกับตนเองวา แมเราอยูในสังคมเมืองแตก็ สามารถมีวิถีชีวิตท่ีพอเพียงไดเชนเดียวกัน ซึ่งความพอเพียงของคนเราน้ันยอมแตกตางกัน ออกไปแลว แตค วามตองการและวถิ ีชวี ิตของแตละคน อยา งไรก็ตามเราตองมีชีวิตอยอู ยางคนทเี่ ตรยี มพรอมและเขาใจชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง เปนเครอ่ื งมอื ทสี่ รา งสมดุลแหง ชีวิตใหกบั คนเราได สมดลุ ชีวิตจะทําใหคนเราประสบความสําเร็จ ในชีวิตอยางแทจริง ซึ่งผูที่ขาพเจาใหความเคารพ นับถือทานหนึ่งไดใหแงคิดกับขาพเจาวา

45 ความสาํ เรจ็ ในชีวิตอยางแทจริงน้ันไมไดวัดกันที่จํานวนเงินในกระเปา หรือตําแหนงหนาท่ีการ งานสูง ๆ แตดูไดจากการบริหารจดั การหลักสาํ คัญ 3 อยา งไดอ ยา งสมดุล น่นั คือ 1. มเี งิน มีรายไดเพยี งพอเล้ียงครอบครวั เพื่อใหตนเองและครอบครัวมีคุณภาพชวี ติ ทดี่ ี โดยไมจ าํ เปนตอ งดิ้นรนแสวงหาเงินทองเพื่อความรํ่ารวย ผูที่มีเงินทองมากมายแตไมมีเวลาหา ความสุขใหก บั ชวี ิต เงินท่ีมีอยกู ไ็ มมปี ระโยชนอ ะไร 2. มีเวลาใหก บั ตนเองและครอบครวั เพ่ือสรางสายสมั พันธอันดีระหวา งกนั เม่ือครอบครวั เขมแข็ง ยอมสงผลตอความแข็งแกรงของสังคมตามไปดวย ตนทุนเวลาเปนสิ่งท่ี สําคัญท่ีเราทุกคนไมควรมองขาม เพราะเวลาที่ผานไปแลว เราไมสามารถเรียกกลับคืนมาได และเปนตนทุนทม่ี ีอยจู าํ กดั และถดถอยไปเรอื่ ย ๆ 3. มีสขุ ภาพทีด่ ี สุขภาพเปน สงิ่ ทสี่ ําคัญทส่ี ุดในชวี ติ ของคนเรา เพราะเปน ตนทุนที่ นาํ ไปใชแลกเปลย่ี นส่งิ จําเปนอ่นื ๆ ในชีวิต ในวยั หนุมสาวคนเรามักใชความมสี ุขภาพดีไปแลกกับ การทํางานเพ่ือใหมีเงินมีรายไดมาก ๆ โดยลืมคํานึงถึงสุขภาพท่ีสูญเสียไป สุขภาพที่ดียอมนํา ความสขุ มาสผู ูเปน เจาของ หากเมือ่ ไรตวั เรา มีปญ หาสุขภาพ ความสขุ ท่มี อี ยูก็คงมลายไปเพราะ คุณภาพชวี ติ ที่ดหี มายรวมถงึ การมสี ุขภาพกายและจิตทแ่ี ข็งแรงดว ย ดังนั้นสังคมนี้จะสงบสุขไดตองเกิดจากแนวความคิดที่เขาใจชีวิตของคนในสังคมดวย แตนอยคนนักที่จะเขาใจแกนของความสําเร็จอยางแทจริงน้ี ตัวขาพเจาโชคดีที่ความรูและ ประสบการณจ ากผอู ื่นเปน ครูท่ที าํ ใหเราไดแ นวทางท่ีดี โดยไมจาํ เปนตองเสยี เวลาลองผดิ ลองถูก ดวยตนเอง อยางไรก็ตามเราตองเขาใจตนเองกอนวาวิถีชีวิตแบบไหนท่ีเหมาะกับตัวเราและ ประยุกตความรูเหลาน้ีใหเขากับวิถีชีวิตแบบท่ีเราตองการ รากฐานของเศรษฐกิจพอเพียงที่ ขาพเจาไดศึกษา เปรียบไดกับรากแกวของตนไมที่คอยพยุงลําตนใหแข็งแรงเพ่ือแตก กงิ่ กา นสาขา ทําใหชวี ิตทุกยางกาวของขา พเจามคี วามเช่ือม่ัน และมีเปาหมายท่ีชัดเจนวาจะทํา อะไร เพื่อสรางหลักประกันท่ีม่ันคงไมเพียงแตใหกับตัวเองเทาน้ัน และเปนการสรางรากฐาน ทางความคิดเพ่ือคนรุนหลังไดสืบทอดเจตนารมณเหลาน้ีตอไป ดังพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูห ัว ทีท่ รงเห็นวา การดาํ รงชีวิตอยางพอเพียงจะเปนวิถีทางท่ีจะสราง ประโยชนสุขแกประชาขนชาวไทยจึงสงเสริมแนวความคิดนี้เรื่อยมา ทรงทุมเทโดยไมเห็นแก ความเหนอ่ื ยยากเพ่อื ใหสมดังพระราชปณิธานวา “เราจะครองแผนดนิ โดยธรรมเพ่ือประโยชนสุขแหงมหาชนชาวสยาม”(อรทัย พววงแกว.” พฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหงชาติ ตัวอยางเศรษฐกจิ พอเพียงท่ขี ารูจ ัก,2550.)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook