Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore งานอ.โน๊ต (1)

งานอ.โน๊ต (1)

Published by Nongnuch, 2022-08-02 04:37:56

Description: งานอ.โน๊ต (1)

Search

Read the Text Version

เมืองหลัก เมืองรอง ภาคเหนือ นางสาวนงนุช กองใส TG.4101 เลขที่ 16

เมืองหลัก เชียงใหม่ หมู่บ้านหัตถกรรมร่มบ่อสร้าง แหล่งผลิต ร่มบ่อสร้าง งานหัตถกรรมชื่อดังจนกลาย มาเป็นของที่ระลึกที่ใครๆ ก็ต้องซื้อติดไม้ติดมือเมื่อมาเยือนเชียงใหม่ ที่มาของชื่อ “ร่มบ่อสร้าง” นั้นมาจากชื่อของ หมู่บ้านบ่อสร้าง ย้อนไปในสมัยก่อน จะเห็นชาว บ้านออกมานั่งทำร่มกันที่ใต้ถุนบ้าน จากนั้นก็เอาร่มออกมากางไว้ตรงกลางลานบ้าน เพื่อผึ่งให้แห้ง ทำแบบนี้กันเป็นประจำจนในที่สุดก็เติบโต จนกลายเป็นอุตสาหกรรม การทำร่มแฮนด์เมดที่สะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของศิลปะ และการเอาใจใส่ในทุก กระบวนการผลิตจวบจนปั จจุบัน

ร่มบ่อสร้าง เป็นภูมิปัญญาพื้นเมืองที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน มีตำนานที่เล่า ขานกันว่า เมื่อร้อยปีก่อน มีพระภิกษุสงฆ์ ชื่อ พระอินถา แห่งสำนักบ่อสร้าง ได้เดิน ทางธุดงด์ไปถึงชายแดนพม่า ระหว่างนั้นก็มีชาวพม่านำร่มมาถวาย ความสวยงาม แปลกตาของร่มทำให้พระอินถาฉงนสงสัยในกรรมวิธีการสร้างเป็นอย่างมาก จึงขอ ติดตามชาวพม่าผู้นั้นไปยังถิ่นที่ผลิตร่ม หลังจากที่ได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนกันทำร่ม แล้วจึงนำวิชาที่ได้เรียนรู้กลับมาที่สำนักบ่อสร้าง จนในที่สุดก็กลายเป็นโรงเรียน สอนวิชาการทำร่มให้กับชาวบ้านจนสืบต่อมาจนถึงปั จจุบัน หมู่บ้านหัตถกรรมร่มบ่อสร้าง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมขั้นตอนการทำร่มได้ อย่างใกล้ชิด ซึ่งร่มบ่อสร้างนั้นมีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกันคือ ร่มผ้าแพร ร่มผ้าฝ้ าย และร่มกระดาษสา แม้จะทำจากวัสดุที่ต่างกัน แต่กลับมีกรรมวิธีในการทำที่เหมือน กัน คือเป็นกรรมวิธีแบบโบราณสืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ

เมืองรอง เชียงราย บ้านดำ หรือ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย สร้างขึ้นโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ที่มีฝีมือ ทางด้าน จิตรกรรม ปฏิมากรรม ได้สร้างงานด้านศิลปะไว้มากมาย ทั้งทางด้านภาพ เขียน และ ด้านปฏิมากรรมหลายชิ้น ลักษณะของบ้านดำจะเป็นกลุ่มบ้านไม้ ศิลปะ แบบล้านนา บ้านปูนรูปทรงแปลกตา บ้านเกือบทุกหลังทาด้วยสีดำ ซึ่งเป็นที่มาของ คำว่า “บ้านดำ” และยังเป็นสีที่ อ. ถวัลย์ โปรดปราน อีกด้วย ในบ้านแต่ละหลังจะ ประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วย เขาสัตว์ เช่น เขาควายมากกว่า 100 ชิ้น เขากวาง หนังจระเข้ เปลือกหอยขนาด ใหญ่ และยังมีกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกช้าง เป็นต้น ด้วยโทนสีของบ้านที่เป็นสีดำ ซึ่งตรงกันข้ามกับวัดร่องขุ่นของ อ.เฉลิมชัย มีคำพูดเปรียบเทียบสองสถานที่นี้ว่า “เฉลิมสร้าง สวรรค์ ถวัลย์สร้าง นรก”

ภายในบริเวณบ้านดำ มีต้นไม้นานาชนิด บรรยากาศที่ร่มรื่น ซึ่งในบริเวณประกอบไป ด้วยบ้านทั้งหมด 36 หลัง แต่ละหลังจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป สามารถเดินเข้าชมใน บ้านได้เพียง 2-3 หลัง ส่วนหลังอื่นๆ มองเข้าไปได้จากหน้ าประตูเท่านั้น สิ่งของที่สะสม และจัดแสดงภายในบ้านก็จะมีแนวคิดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบ้านเหล่านี้ไม่ได้สร้างไว้ สำหรับอยู่อาศัยแต่สร้างไว้สำหรับเก็บสิ่งของสะสมต่างๆ ของอาจารย์ถวัลย์ ส่วนภาพ เขียนของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ที่อยู่ในบ้านดำ มีเพียงไม่กี่ภาพ ปัจจุบันบ้านดำ เป็นหนึ่งใน สถานที่เที่ยวยอดนิยมของทัวร์จีน มีนักท่องเที่ยวจีนเป็นจำนวนมาก

เมืองรอง แม่ฮ่องสอน หมู่บ้านสันติชล ตั้งอยู่ในตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากตัว อำเภอปาย 4.5 ก.ม. เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่นำเสนอเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชาวจีนยูน นานอันเป็นรากฐานของ ชุมชนมาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว และยังใช้กิจกรรมท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือของการพัฒนาชุมชน ไปพร้อมกันทั้งด้านการฟื้ นฟูอนุรักษ์และสืบสาน วัฒนธรรมจีนยูนนาน การพัฒนาอาชีพ ที่ส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้เป็ นหมู่บ้านเกือบปิ ดเพราะปั ญหายาเสพติดทำให้คน ภายนอกไม่กล้าเข้าไปเที่ยวในชุมชน ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้หมดไปหลัง นโยบาย ปราบปรามยาเสพติดตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ชุมชนจึงร่วมกัน วิเคราะห์ตนเอง พบว่าหมู่บ้านยังมีปัญหาหลายประการที่รอการแก้ไขได้แก่ ไร้ สัญชาติการศึกษารายได้เสริม การจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่ล้นตลาดและ ราคาตกต่ำ โดยเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ร่วมกัน การท่องเที่ยว โดยชุมชนเป็ นประเด็นที่ชุมชนให้ความสนใจเพื่ อหารายได้เสริมให้แก่ครอบครัว เมื่อเข้ามาในบรรยากาศในหมู่บ้านจำลอง เหมือนเราได้ก้าวเข้ามาสู่ ประเทศจีน เนื่องจากลักษณะของการตกแต่งสถานที่จะเป็นสไตล์จีนยูนานทั้งหมด สิ่ง ก่อสร้างที่โดดเด่นเมื่อก้าวย่างเข้าไปในเขตของศูนย์วัฒนธรรม คือ มังกรสีสด พันอยู่กับเสาซี่งตั้งอยู่บนเนินหินสีเข้ม ด้านหน้ าของเนินหินมีอักษรภาษาจีน เมื่อเดินเข้ามาจะพบกับ บ้านดินสีส้มพลาสเทลสดใสตัดกับสีท้องฟ้ าใสตั้งเรียง รายอยู่มีร้านของที่ระลึก เช่น รองเท้า เสื้อผ้า ชา ผลไม้ดองและอบแห้ง อาหาร แปรรูปชนิดต่างๆ จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว และมีร้านอาหารจีนยูนานให้บริการ ด้วยอาหารที่เลี่ยงชื่อ ขาหมู หมั่นโถวที่รสชาติอร่อย

เมืองรอง ลำพูน สะพานขาวทาชมภู ตั้งอยู่ที่บ้านทาชมภู ตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา จังหวัดลำพูน เริ่ม ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2463 โดยมีรูปทรงเป็นทรงโค้งทาสี ขาวในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก นับเป็นสะพานประวัติศาสตร์ ที่มีความแปลกและ ท้าทาย คือเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็กเท่านั้น เพราะสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้าง สะพานเป็นภาวะสงคราม จึงไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณ และควบคุมงานที่ยอดเยี่ยมของ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตร ไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้ ทำให้สะพานขาวทาชมภูยังคงใช้งานได้อยู่ จนถึงทุกวันนี้ และในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยว ถือได้ว่า เป็นจุดเช็กอินหลักของจังหวัดลำพูนเลยก็ว่าได้ อีกทั้งทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุก ปี จะมีการจัดงานที่คู่รักจะมาจดทะเบียนสมรถ ณ สะพานขาวทาชมภูแห่งนี้



เมืองรอง ลำปาง “หล่มภูเขียว” เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีลักษณะเป็นแหล่งน้ำ ขนาดใหญ่เนื้อที่ราว 1-2 ไร่ เป็นแหล่งน้ำอยู่บนเขามีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟ น้ำ ในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียวมรกตสวยงาม แต่ความลึกนั้นไม่สามารถระบุ ได้ สันนิษฐานว่าแอ่งแห่งนี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกในสมัยดึกดำบรรพ์ หรือ อาจเกิดจากการยุบตัวของหินปูนซึ่งเคยเป็นเพดานถ้ำมาก่อน แล้วจมลงใต้น้ำ เรียก ว่าหลุมยุบ (Sink Hole) ต่อมาจึงกลายเป็นแหล่งรับน้ำ และในแอ่งน้ำนั้นมีปลาอาศัย อยู่เป็ นจำนวนมาก

ธรรมชาติโดยรอบหล่มภูเขียวเป็นป่าดิบแล้ง มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ที่พบสถานที่แห่งนี้เป็ นครั้งแรกคือชาวบ้านที่เดินป่ าเข้ามาพบแหล่งน้ำสีเขียว มรกตอยู่ภายใต้หุบเขาดังกล่าว จึงเรียกชื่อว่า \"หล่มภูเขียว\" ส่วนหุบเขาอีกแห่ง หนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกันแต่ไม่มีน้ำ เรียกว่า \"หล่มแล้ง\" ชาวบ้านเชื่อว่าหล่มภูเขียวเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีพญางูใหญ่อาศัยอยู่ จึงได้ทำ พิธีบูชาน้ำเป็นประจำทุกปี โดยมีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าสมัยก่อนชาวบ้านจะ นำขันข้าวพร้อมดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หล่มภูเขียว โดยนำเครื่อง บูชาไปวางบนขอนไม้และลอยไปกลางลำน้ำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบึงน้ำ และ ได้เกิดปรากฏการณ์ขอนไม้จมลงไปใต้น้ำแล้วลอยขึ้นมาโดยที่เทียนยังไม่ดับ จึงเกิดความเชื่อว่าแหล่งน้ำนี้เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงนำน้ำจากหล่ม ภูเขียวมาใช้ดื่มกินและอธิษฐานขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บและนำไปใช้ในพิธี อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านตามความเชื่ อสืบทอดกันมาถึงปั จจุบัน

เมืองรอง แม่ฮ่องสอน ถ้ำผานางคอย เป็นถ้ำที่มีมายาวนานแล้ว ถ้ำที่เกิดจากธรรมชาติมีลักษณะเป็น หน้ าผาสูง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย มีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้ อย รอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หินนางคอย

มีตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาว่า เมื่อ 800 ปี อาณาจักรแสนหวีมีกษัตริย์องค์ หนึ่ง ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์มีพระราชธิดาที่ทรงเลอโฉมนามว่า อรัญญาณี พระนางทรงมีพระทัยโอบอ้อมอารีย์ ในคราวหนึ่งพระนางทรงสำราญ ทางชลมาพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เรือพระที่นั่งถูกพายุพัดกระหน่ำจมลง พวก ข้าราชบริพารพากันหนีเอาตัวรอดตามลำพัง เว้นแต่คนองเดช หัวหน้ าฝีพาย หนุ่มได้เข้าช่วยพระนางไว้ทันและพาพระนางเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย ด้วยความ ใกล้ชิดและสำนึกในบุญคุณในความจงรักภักดีที่ช่วยผยุงฝาอันตราย จึงเกิดเป็น ความรักอมตะในดวงใจระหว่างข้ากับเจ้า ไม่ว่าบุรุษสตรีใดในพิภพนี้ย่อมไม่อาจ หลีกเลี่ยงซึ่งโลกีย์วิสัยไปได้ พระนางได้ประพฤติล่วงราชประเพณีผิดกฎ มณเฑียรบาล จึงถูกลงโทษขณะทรงตั้งครรภ์ คะนองเดชผู้ซื่อสัตย์ได้เสี่ยงชีวิต เข้าไปช่วยพระนางและหนีไปพร้อมกัน ทหารหลวงออกติดตามมาจนพบและ เล็งธนูหมายจะยิงคะนองเดช แต่ลูกธนูพลาดไปถูกพระนางกลางพระอุระจวบ กับเป็นเวลาพลบค่ำ คะนองเดชจึงอุ้มเจ้าหญิงเข้ามายังถ้ำแห่งนี้ ด้วยความรัก อันบริสุทธิ์พระนางได้บอกให้รีบหนีไปเสียก่อนที่ทหารจะตามมาพบ เจ้าหญิงได้ พูดกับคะนองเดชว่า “หญิงจะรออยู่ที่นี่กัลปวสาน” ด้วยแรงอธิษฐานทำให้ร่าง ของพระนางกลายเป็นหิน หันหน้ าไปทางทิศตะวันตก มือโอบพระโอรสไว้บน ตัก เบื้องหน้ าของพระนางมีหินย้อยเป็นรูปหัวใจอันขาวบริสุทธิ์ ประดับด้วยเพร ชกลิ้งอยู่แวววาว อันเป็นสัญลักษณ์ของดวงใจอันใสสะอาดปรากฏอยู่ตราบจน ทุกวันนี้ อรัญญานี..จะคอยพี่...อยู่ที่นี่ แม้ร้อยปี ....นานเท่านาน....ยังคงหวัง ขอเฝ้ าคอย...แม้จะสิ้น....ลมพลัง ชาติหน้ ายัง...คงคอยพี่...อยู่ที่เดิม ปั จจุบันถ้ำผานางคอยได้รับการปรับปรุงให้เป็ นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และในเดือนเมษายนช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการจัดงานถ้ำผานางคอยทุกปี

เมืองรอง แม่ฮ่องสอน วัดภูเก็ต ตั้งอยู่ในตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เห็นชื่อแล้วอาจจะแปลกใจ กันเล็กน้ อยว่าชื่อวัดน่าจะอยู่ในจังหวัดภูเก็ตมากกว่า ซึ่งตามจริงแล้ววัดภูเก็ต ตั้งชื่อ ตามหมู่บ้านที่ชื่อว่า หมูบ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งทางเหนือเรียกว่า “ดอย” หรือ “ภู” จึงตั้งชื่อว่า “วัดภูเก็ต” หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภู หรือ ดอย วัดภูเก็ต เป็นวัดที่มีภูมิทัศน์และวิวที่สวยงามโดยจุดเด่นของวัด คือ มีระเบียงชมวิว ด้านหลังวัด ติดกับทุ่งนาที่กว้างไกลพร้อมด้วยฉากหลังเป็นภูเขาของวนอุทยานดอย ภูคาในยามเช้าเป็ นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามอีกแห่งหนึ่ ง

ด้านล่างวัดมีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นน้ำซับซึมมาจากใต้ดิน ไหลรินรวมกันเป็น ลำธารให้ฝูงปลาและสัตว์น้ำอยู่อาศัย ทางวัดได้จัดให้เป็นเขตอภัยทานให้นัก ท่องเที่ยว สามารถให้อาหารจากลานข้างบน ผ่านท่อไหลลงไปให้กับฝูงปลาได้ และสามารถมองเห็นฝูงปลาที่อยู่ด้านล่างได้อย่างชัดเจน มีอุโบสถทรงล้านนา ประยุกต์ จิตรกรรม ฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนปัว หรือ หลวงพ่อพุทธเมตตา” ที่ศักดิ์สิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ภายในวัดยังมี เทมเพิลสเตย์ ชื่อว่า ภูเก็ตสนธยา เทมเพิลสเตย์ เป็น อาคารที่พักสำหรับผู้ที่มาปฎิบัติธรรมหรือนักนักท่องเที่ยวที่สนใจก็สามารถเข้า พักได้ อาคารตั้งอยู่ตรงจุดชมวิวสามารถเห็นวิวทุ่งนาเขียวขจีได้จากห้องพัก โดยสร้างเป็นอาคารขนาด 4 ชั้น มี 8 ห้องนอน โดยในชั้นที่ 4 จะเป็นห้อง ปฏิบัติธรรม ที่สร้างบริเวณเชิงเขาด้านล่างของโบสถ์ ทำให้บริเวณลานโบสถ์ กลายเป็นดาดฟ้ าของเทมเพิลสเตย์ และการที่เรียกว่าโรงแรมธรรมมะ เพราะมี การจัดห้องพักในลักษณะเดียวกับโรงแรม ซึ่งผู้ที่เข้ามาพักจะได้มีโอกาสปฏิบัติ ธรรมร่วมกับทางวัด โรงแรมธรรมะของวัดภูเก็ตถือเป็นแห่งแรกใน ประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่การเปิดศาลาวัดให้คนเข้าไปนอนแล้วมาตั้งชื่อว่าเป็น โรงแรม แต่ที่วัดภูเก็ตมีการสร้างอาคารและห้องพัก ที่มีลักษณะเหมือนกับ โรงแรมทั่วไป ประมาณโรงแรมระดับ 3 ดาว เพียงแต่ผู้ที่จะเข้ามาพักหากมา เพื่อปฏิบัติธรรมไม่ต้องเสียค่าที่พัก ซึ่งแนวทางนี้วัดต่างๆสามารถนำไปพัฒนา ต่อได้เพราะถือ ว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรม มากขึ้นทั้ งยังช่วยให้ผู้ที่เข้าพักได้มีโอกาสศึกษาวิถีชีวิต ของผู้คนที่พักอาศัยอยู่ รอบวัดด้วย

เมืองรอง อุตรดิตถ์ พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ตั้งอยู่ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสถานที่รวบรวม เรื่องราวประวัติของเมือง วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมือง ลับแล โดยจำลองผ่านเรือนในแต่ละหลัง เมืองลับแลนั้นเป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งใน จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เดิมเป็นเมืองที่การเดินทางไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่ เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล แต่ปัจจุบันมีถนน ตัดผ่านทำให้สภาพป่าหมดไป ความลึกลับของเมืองจึงหายไป และยังมีอีกหลาย ตำนานที่กล่าวถึงเมืองลับแล

จากตัวเมืองอุตรดิตถ์เพียง 8 กิโลเมตร จะเห็นซุ้มประตูเมืองลับแลขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึงว่าได้เดินทางเข้าสู่เมืองลับแลอย่างเป็นทางการ ซุ้มประตูเมืองถือว่า เป็นแลนด์มาร์ค ที่ทุกคนต้องแวะ ข้างซุ้มประตู มี ประติมากรรมแม่ม่าย อีก หนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองลับแล เป็นรูปปั้นหญิงสาวยืนอุ้มลูกน้ อยสีหน้ าเศร้า สร้อย ข้างมีสามีนั่งคอตกในมือถือถุงย่ามใส่ขมิ้นเตรียมเดินทางจากเมืองลับแล บริเวณฐานจารึกข้อความ “ขอเพียงสัจจะวาจา” ที่แสดงถึงตำนานของเมือง ลับแล ที่เล่าถึงแม่หม้ายผู้ที่ยอมเสียสละ เพื่อรักษาสัจจะวาจาที่เป็นกฎของเมือง ว่าเมืองนี้ห้ามพูดโกหก ถัดไปจากซุ้มประตูเมือง คือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เมือง ลับแล บริเวณด้านหน้ าทางเข้าสวยงามด้วยต้นลีลาวดีที่ปลูกเรียงรายเป็นทิว แถวยาวไปจนถึงตัวพิพิธภัณฑ์ พื้นที่บริเวณโดยรอบ เป็นสนามหญ้ากวางขวาง มีข้อความป้ ายตัวอักษร สีสันสดใส หลงลับแล เมืองลับแลเมืองนี้ห้ามพูดโกหก ตามตำนานนิทานพื้นบ้านเล่ากันว่าเป็นเมือง ของคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต โกหกคำเดียวไม่ได้ ลูกเขยเห็นลูกร้องไห้ กล่อม แบบไหนก็ไม่หยุด หลุดปากหลอกลูกว่า แม่มาแล้วเท่านั้น ก็ต้องออกจากเมือง

เมืองรอง กำแพงเพชร วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้ เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมือง เดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง จึงกำหนดอายุว่า น่าจะร่วมสมัยกับโบราณสถาน ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อครั้งยังเป็น เมืองชากังราว เฉพาะองค์หลวงพ่อเทพโมฬี เป็นพระประธานในอุโบสถมาแต่เดิม ได้ ชำรุดแตกหักเหลือแต่พระปฤษฎางค์และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป มี ต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมี งู แมงป่อง เป็นต้น จำนวนมากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้ เพื่อจะได้ เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา ท่านจึงปรึกษาหารือกับ นายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร อัยการจังหวัดจำรูญเรียน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้าน นับถือกันมาก อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้ มีความ ศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธศาสนสถานแห่งสาธารณชน อยู่ในความดูแลของวัด เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบ ไหว้บูชาเพื่อขอพร และแก้บนเมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาต่อท่าน เสมอมิได้ขาด สำหรับเครื่องแก้บน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับ แป้ งข้าวหมาก สาธุชนท่านใดที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี ที่วัดเทพโมฬี โทร. ๐๘๑-๗๒๗-๒๖๘๙ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว

เมืองรอง นครสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อนาคราช ตั้งอยู่ที่ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็น ศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนจันเสนมาอย่างยาวนาน โดยชาวจันเสนนั้น เชื่อกันว่าที่ นี่มี เจ้าพ่อนาคราช คอยช่วยดูแลทรัพย์สมบัติใต้พื้นดินทั้งหมดอยู่ เลยทำให้เกิด การตั้งศาลเจ้านี้ขึ้นมา แต่ตอนนั้นก็เป็นเพียงแค่เพิงสังกะสีเล็กๆ เท่านั้น

โดยผู้สร้าง ศาลเจ้าพ่อนาคราช นั่นก็คือ อาก๊ง ซึ่งสาเหตุที่ก่อตั้งศาลนี้ ก็คือ วันหนึ่งท่านได้เห็น พญานาค 2 ตัวเล่นน้ำอยู่ในบึงโบราณ ซึ่งเป็นบึง คู่บ้านคู่เมืองจันเสน มานับตั้งแต่สมัยทวาราวดี และเห็นอยู่บ่อยครั้ง เลยเกิดความสงสัย ก็เลย ลองเสี่ยงทายดู จนได้รู้ว่าเจ้าพ่อนาคราชนั้น ตั้งใจมาบอกให้สร้างศาลให้นั่นเอง จนเมื่อปี พ.ศ. 2544 ก็ได้มีการบูรณะศาลเจ้า ครั้งใหญ่ จนทำให้เกิดองค์เทพ เทวรูป พระใน ปางต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระยูไล เจ้า แม่กวนอิม เทพเจ้านาจา เทพเจ้าตี่จั่งอ๊วง เทพ เจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ยะ เทพเจ้ากวนอู พระ 18 อรหันต์ เป็นต้น รวมไปถึง พระยูไลองค์ใหญ่ ที่สร้างจน เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพื่อให้ ศาลเจ้าพ่อ นาคราช นั้นกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธ ศิลป์แบบจีนโบราณ แหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม ที่จะมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนจัน เสนและพื้นที่ใกล้เคียง

เมืองรอง สุโขทัย วัดพิพัฒน์มงคล อยู่ที่ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของจังหวัด แต่เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างกลางทุ่งนา น่าจะเป็น วัดอายุประมาณ 700 ปี ได้ แต่ไม่มีหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ พบเพียง รากฐานอุโบสถ เจดีย์โบราณเท่านั้นที่จมอยู่ใต้พื้นดินลงไปประมาณ 1.50 เมตร ตรงกลางของวัด

ในปัจจุบัน วัดนี้ เป็นที่รู้จักดีทั่วทั้งประเทศ และยังไปถึงต่างประเทศด้วยเหมือนกัน ค่ะ ถือเป็นอันดับต้นๆ ของไทย ที่สำคัญยังเป็นแหล่งสถานที่ศึกษาเชิงพุทธศาสนา และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกด้วยนะคะ โดยมี หลวงพ่อพระครูวรคุณประ ยุต พระอาจารย์พิพัฒน์มงคล เจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอ ทุ่งเสลี่ยม ก่อตั้งสร้างวัด และได้พัฒนาวัด จนเป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา ส่วนของ วิจิตรเชิงศิลปะโบราณทรงไทยแบบล้านนานั้น จะมีเยอะมากเลยค่ะ ไม่ว่า จะ โบสถ์เรือนแก้ว วิหารล้านนา ลานศึกษาพระปริยัติธรรม รวมไปถึง พระพุทธรูป ทองคำ ที่ประดิษฐานและสร้างชื่อเสียงโด่งดังให้กับวัดและจังหวัดสุโขทัยด้วยเหมือน กันค่ะ ใช้เวลาสร้างถึง 26 ปี บนพื้นที่ 119 ไร่ โดยคณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั้ง หลาย ร่วมบุญกัน สร้างวัดกับหลวงพ่อพิพัฒน์มงคล


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook