1 บทที่ 1 บทนํา1. ความเปน็ มาและความสําคัญของปญั หา กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดเป้าหมายและตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง(พ.ศ.2552-2561) ในส่วนที่เก่ียวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนี้ ข้อที่ 1 คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายท่ี 1.4 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ิมขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายที่ 2.5 สัดส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ 10 ปขี ึน้ ไปเปน็ ร้อยละ 50 จะเหน็ ได้ว่าปัจจัยสําคัญในการพัฒนาคนอยู่ที่การศึกษาของพลเมือง เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สําคญั อยา่ งยิ่งของประเทศ ถา้ ประชากรมกี ารศกึ ษาดี ร้เู ทา่ ทันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมีทักษะมีความสามารถสูง รู้จักร่วมมือกันทํางานจะทําให้การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างมั่นคงรัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยจึงให้ความสําคัญเก่ียวกับการพัฒนาด้านการศึกษาซ่ึงจะเห็นได้จากการจัดงบประมาณด้านการศึกษาไว้สูง ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายนั้นจะต้องพัฒนาหลาย ๆด้านอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ซ่ึงต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ กระบวนการสําคัญท่ีจะช่วยพัฒนาบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอรท์ ม่ี คี ณุ ภาพ จงึ ต้องเริ่มต้ังแต่ระบบการจัดการศึกษาในโรงเรียนทจี่ ะต้องมีครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถและมีทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสมรรถนะสําคัญของหลักสูตรแกนกลางของการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ท่ีระบุไว้ในข้อ 5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จึงจําเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังเพื่อให้คนในสังคมไทยก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพ่ือการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2554–2556 กําหนดวิสัยทัศน์ว่า การศึกษาแห่งอนาคตเป็นจริงได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ(Enabling Future Education with ICT) ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานมีหน้าท่ีดูแลการศกึ ษาขั้นพื้นฐานของชาติได้ตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีจึงมุ่งหวังท่ีจะปรับการเรียนเปลยี่ นการสอนด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ตอบสนองต่อ
2ความตอ้ งการของประชาชนทั่วประเทศ ทัง้ นไี้ ด้จดั ทําโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอนิ เทอร์เนต็ ความเร็วสูงเพื่อการศึกษาข้ึน โดยมุ่งเน้นในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอรเ์ นต็ การพฒั นาสอ่ื อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาระบบงานคอมพวิ เตอร์ เพ่ือสนับสนุนการดาํ เนินงานทกุ ด้านดังกล่าว กอปรกับเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้หลายด้าน มีระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านWorld Wide Web เปน็ ตน้ อีกท้งั การเชอื่ มโยงเป็นเครอื ขา่ ยทําใหผ้ ู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท่ี ทุกเวลาสะดวกและรวดเร็ว สํานกั เทคโนโลยเี พ่อื การเรยี นการสอนไดเ้ ลง็ เหน็ ความสาํ คัญในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะส่อื การเรียนร้บู นเครอื ขา่ ยอนิ เทอรเ์ นต็ ซ่งึ ปจั จุบันส่ือท่ีมีคุณภาพยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอยู่ในความตอ้ งการไม่มีทสี่ ้ินสดุ ดว้ ยเหตุนี้ สํานักเทคโนโลยีเพ่อื การเรยี นการสอน โดยกล่มุ เผยแพรแ่ ละพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีจงึ ไดจ้ ัดทําโครงการพัฒนาส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น ซ่ึงได้ดําเนินการรวบรวมผลติ และพัฒนาสื่อการเรยี นรูอ้ อนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ VDO CLIP ภายใต้ชื่อ KruTubeChannel (ครูไทยยุคไอที สร้างคลิปดีให้เด็กดู) เพื่อเป็นคลังข้อมูลของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ให้กับครูนักเรียน และผู้สนใจท่ัวไป สามารถนําไปใช้บูรณาการกับการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มพูนความรู้อันจะส่งเสริมให้การจัดการศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานมคี ณุ ภาพและประสทิ ธิภาพยิง่ ขึ้น2. วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย เพอ่ื ศกึ ษาผลการดําเนินงานการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครสู งั กดั สาํ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน ด้านเนื้อหาสาระในการอบรม ดา้ นสถานทแี่ ละวัสดุอปุ กรณ์ และด้านการนําความรูไ้ ปใช้3. คาํ ถามของการวจิ ยั ความคิดเห็นของครูที่ผ่านการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน ด้านเน้ือหาสาระในการอบรม ด้านสถานทีแ่ ละวสั ดุอุปกรณ์ และดา้ นการนาํ ความรู้ไปใช้ วา่ อยู่ในระดับใด4. ขอบเขตของการวิจัย 4.1 รูปแบบการวิจยั เป็นการวจิ ัยเชิงสํารวจ (Survey Research) 4.2 ประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง
3 4.2.1 ประชากร คอื ครสู ังกดั สาํ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐานท่ีผ่านการอบรมจดั ทําสอ่ื การเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครอื ข่ายอินเทอร์เน็ต จํานวน 250 คน 4.2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ีผ่านการอบรมจดั ทาํ ส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (SimpleRandom Sampling) ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกําหนดขนาดของเครจซ่ีและมอร์แกน (Krejcieand Morgan, 1970, p. 608) จาํ นวน 152 คน 4.3 เน้อื หาสาระที่ใชใ้ นการวิจยั ประกอบดว้ ย 4 ด้าน คือ 4.3.1 ด้านการจัดกิจกรรมการดาํ เนินงาน 4.3.2 ดา้ นเนือ้ หาสาระในการอบรม 4.3.3 ด้านวสั ดอุ ปุ กรณ์ และสถานที่ 4.3.4 ด้านการนําความรู้ไปใช้ 4.4 ระยะเวลาดําเนนิ การวจิ ัย ระหวา่ งเดือนมิถนุ ายน-สงิ หาคม 25545. นิยามศัพทเ์ ฉพาะ 5.1 โครงการพฒั นาส่อื การเรยี นรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ข่ายอินเทอรเ์ น็ต หมายถึง โครงการที่จัดทาํ ข้ึนเพ่ือส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรครูในการใชส้ ื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพ่ือการจัดการเรยี นรู้ รวมท้งั พัฒนาบคุ ลากรครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้ส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยขั้นตอนท่ีรวดเร็วและสามารถนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้บุคลากรครูสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนรู้ได้ทง้ั นไี้ ดส้ ่งเสริมการรวมกลุ่มของบุคลากรทางการศึกษาให้ร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และส่งเสริม สนับสนุนให้ครูสามารถผลิตผลงานอย่างมีคุณภาพ เพ่ือเป็นต้นแบบในการนําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอรเ์ น็ตไปใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนอย่างเป็นรปู ธรรม 5.2 ครูสังกัดคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หมายถึง ครูท่ีเข้ารับการอบรมจัดทําสอื่ การเรยี นรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ ปีงบประมาณ 2554 จํานวน 250 คน 5.3 ส่อื การเรยี นรอู้ อนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง สื่อการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บไซต์ครูทูบ (KruTube Channel) ซ่ึงเป็นเว็บไซต์ท่ีให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและดาวน์โหลดแลกเปลี่ยนคลปิ วีดโี อผา่ นทางเว็บไซต์ โดยสามารถเข้าสูเ่ วบ็ ไซต์ทU่ี RL http://www.krutubechannel.com 5.4 การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การนําคลิปวีดีโอท่ีมีบนอินเตอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์ครูทูบ (KruTube Channel) เป็นเครื่องมือในการรวบรวม ค้นหาเพ่ือเป็นส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผา่ นเครอื ขา่ ยอินเทอร์เนต็ และนําไปใชใ้ นการจดั การเรยี นรู้ 5.5 ความคิดเห็นในการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึงความรู้สึกหรือความคิดเห็นของบุคลากรครูต่อการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่าย
4อนิ เทอรเ์ นต็ ของสํานกั เทคโนโลยีเพ่ือการเรียนการสอน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและความคิดเห็นจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้คลิปวิดีโอท่ีมีบนอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บไซต์ครูทูบ(KruTube Channel) เป็นเครือ่ งมือ6. ประโยชน์ของการวจิ ยั 6.1 สาํ นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานได้ข้อมูลสภาพการดําเนินงาน ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะ สําหรับใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผา่ นเครอื ขา่ ยอนิ เทอร์เน็ตของครูสังกดั สาํ นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน 6.2 สํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐานสามารถติดตามผลการนําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์ครูทูบ (KruTube Channel) เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ของครูสังกดั สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐานตอ่ ไป
5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวขอ้ ง การวิจัยผลการดําเนินการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคร้ังน้ี คณะผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวจิ ยั ท่เี กย่ี วข้อง ดังน้ี 1. แนวคิดเก่ยี วกับการจดั ทาํ ส่ือการเรยี นร้อู อนไลนผ์ ่านเครือข่ายอนิ เทอร์เนต็ 2. สือ่ การเรยี นรอู้ อนไลนผ์ า่ นเครือข่ายอนิ เทอร์เนต็ 3. เทคนิคการผลติ ส่ือการเรียนรูอ้ อนไลน์ในรูปแบบวิดีโอคลิป (VDO CLIP) 4. พระราชบญั ญัติว่าด้วยการกระทาํ ความผดิ เกีย่ วกับคอมพวิ เตอร์ พ.ศ.2550 5. งานวิจัยทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง1. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทําสื่อการเรียนรอู้ อนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอรเ์ นต็ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คณะผู้วิจัยไดศ้ ึกษาเอกสาร สรปุ ได้ดังน้ี พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545มาตรา 22 ได้กลา่ วถึงหลักการสาํ คญั ในการจัดการศกึ ษาที่เนน้ ใหผ้ เู้ รียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมีจดุ มุง่ หมายสาํ คัญ คือ การปฏิรูปการเรยี นรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ทุกเวลาทุกสถานที่ โดยมีทักษะการเรียนรู้ท่ีจําเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้เป็นเคร่ืองมือสําหรับการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต จากส่ือและแหล่งเรียนรทู้ หี่ ลากหลาย แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรบั ปรุง (พ.ศ. 2552-2555) ได้กําหนดวัตถุประสงค์ของแผนไว้ในข้อ 3 ว่า เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยมีแนวนโยบายเพื่อพัฒนาและนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพ่ือโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกันแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2550-2554) โดยมีวัตถุประสงค์และแนวนโยบายข้อ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพอื่ เป็นฐานในการพฒั นาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยสอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยี เพ่ือการศึกษาที่พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานให้มีการกระจายครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีกรอบการดําเนินงานเพ่ือพัฒนาและนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา
6คุณภาพ เพ่ิมโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมียุทธศาสตร์ท่ีสําคัญ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ท่ีเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้มีความทันสมัย มีการกระจายอย่างท่ัวถึง และมีความมั่นคงปลอดภยั สามารถรองรบั ความตอ้ งการของภาคสว่ นต่าง ๆ ได้ และมีการพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีจิตวิญญาณและรู้เท่าทัน พัฒนาบุคลากร ICT ท่ีมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับสากล รวมท้ังพัฒนาและประยุกต์ ICT เพ่ือลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสงั คม โดยสรา้ งโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้มีความทั่วถึงและทัดเทียมกันมากข้ึน โดยเฉพาะบริการพ้ืนฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดี ได้แก่การบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุข กอปรกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(พ.ศ. 2550-2554) มีกรอบแนวทางการพัฒนาในภาพรวม ภายใต้แผนและนโยบายระดับชาติท่ีมุ่งเน้นการพัฒนาคน/ทุนมนุษย์ ในบริบทของการพัฒนา ICT เพื่อรองรับการเปล่ียนแปลงเทคโนโลยีใหม่ ๆท่ีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นการวางรากฐานสําหรับโครงสร้างพ้ืนฐานทางปัญญาของประเทศในระยะยาว โดยส่งเสริมให้การศึกษาในระบบทุกระดับ นํา ICT มาใช้เป็นเคร่ืองมือในการเรียนการสอนเพมิ่ มากขึ้น ดังนี้ 1. อบรม/พัฒนาทักษะด้าน ICT ให้กับครูผู้สอนในโรงเรียน เพื่อให้ครูสามารถให้ประโยชน์ จาก ICTในการสอนวชิ าตา่ ง ๆ 2. ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ โดยให้ความสําคัญกับการเรียนการสอนท่ีเน้นการพฒั นาความสามารถในการคดิ วิเคราะห์ และการแก้ปญั หา โดยการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ 3. ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ ICT ในหลักสูตรภาคบังคับ ต้ังแต่ปีแรกทีเ่ ด็กเร่ิมเรียน ICT ตลอดทกุ ระดบั ชั้นการศึกษา 4. ส่งเสริมการพัฒนาส่ือการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ท่ีเหมาะสมกับการเรียนรู้ในสาระการเรียนรแู้ ละระดับชั้นต่าง ๆ โดยปรับปรุงส่ือท่ีมีอยู่แล้วให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และรัฐควรจัดจ้างพัฒนา (ในส่วนท่ียังไม่มี) และเมื่อผ่านการรับรองคุณภาพแล้วให้เผยแพร่แก่โรงเรียนได้ใช้งาน ท้ังในรปู แบบ on-line และ/หรอื off-line ตามความเหมาะสม 5. ส่งเสริมให้จัดทําและใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่ประกอบด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบในทุกกลุ่มสาระการเรียนรแู้ ละระดับช้นั และสร้างแรงจูงใจใหเ้ กิดการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ให้โรงเรียนอื่นได้ร่วมใช้ ท้ังนี้ให้ส่งเสริมการใช้เคร่ืองมือที่เป็นโอเพ่นซอร์ส (open source) ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว เพื่อให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้การใช้งานโอเพน่ ซอร์ส ควบคู่ไปกับการพัฒนาต่อยอด 6. สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดชุมชนออนไลน์ (on-line community) ของนักเรียนเพ่ือเป็นเวทใี หเ้ กิดการแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ การแสดงความคดิ เห็นเกยี่ วกับเน้ือหาทส่ี อดคลอ้ งกับสาระการเรียนรู้
7โดยสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม เช่น การยกย่อง/ให้รางวัลชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนเชิงสร้างสรรค์ ให้รางวัลแก่ครทู ่ีดแู ล/ใหค้ ําปรึกษาให้เกดิ ชุมชนดังกลา่ ว 7. จัดใหม้ ีการประเมนิ ผลโครงการท่ีเก่ียวกับ ICT ที่ได้ดําเนินการมาแล้ว โดยเฉพาะผลที่เกิดแก่ผ้เู รียน เพ่อื ใชป้ ระกอบการพิจารณาในการวางแผนการดาํ เนนิ งานในระยะตอ่ ไป การเรียนรูท้ ่ีเน้นผเู้ รยี นเป็นสาํ คญั เปน็ การจัดการเรยี นรทู้ ีเ่ น้นให้ผู้เรยี นเปน็ จุดสนใจ หรือเป็นสิ่งทีส่ าํ คัญทีส่ ดุ การเรียนรู้มุ่งเน้นที่ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างสรรคก์ จิ กรรมต่าง ๆ ของตนเอง รวมทั้งแสวงหาความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปล่ียนแปลงและความเจรญิ ก้าวหน้าทางวทิ ยาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการการส่ือสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคดิ วธิ กี ารทาํ งาน ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ท้ังนกี้ ารปฏริ ูปการเรียนรู้สูค่ วามสาํ เร็จของโรงเรียนในฝัน กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวทางและประเด็นในการพัฒนาครูมืออาชีพ เก่ียวกับจิตวิญญาณของความเปน็ ครู การจัดการเรียนร้เู ชิงบูรณาการ การพัฒนานวัตกรรมส่ือ เทคนิควิธีการ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร มีจิตวิทยา ดูแล ช่วยเหลือ พัฒนา นักเรียนตามธรรมชาติและศักยภาพ เพ่ิมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร การค้นคว้าและพัฒนาวิชาชีพ ในระบบประกันคุณภาพ การสร้างโอกาสและดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพ่ือให้โรงเรียนมีความพร้อมและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอื่ สารรว่ มกบั เครอื ข่าย ผูบ้ ริหาร ครู และนกั เรยี น ใชใ้ นการเรียนรู้ ปฏิบตั งิ าน และพัฒนาตนเองในระบบภาคีเครือข่าย ครูควรมีลักษณะที่สําคัญ คือ มีจิตวิญญาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีทักษะวิชาชีพในการพัฒนาหลักสตู รและกระบวนการเรียนรู้ ใชส้ ื่อนวตั กรรม เทคโนโลยที ที่ นั สมัย เหมาะสมกับผู้เรียน กระตือรือร้นและมีจิตวิทยาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ซ่ึงเปน็ งานหลกั ของการปฏริ ปู การเรยี นรขู้ องครูมอื อาชีพ โดยพัฒนาครูให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการจดั การเรยี นรู้ สร้างทักษะบรู ณาการซึ่งครอบคลุมงานด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดผล การจัดแหล่งเรียนรู้ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรม เทคนิควิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอื่ สาร ส่งเสริมใหค้ รพู ฒั นานวัตกรรมส่ือในการจัดการเรยี นรู้ มกี ารศึกษาวิจัยและพัฒนาวิธีสร้างสื่อท่ีมีคุณภาพ พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ส่ือที่สอดคล้องและตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน นําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเคร่ืองมือในการจัดการศึกษา ทั้งในด้านพัฒนาองค์ความรู้กระบวนการจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียน สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดี คนเก่ง ในการใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาความรแู้ ละพฒั นาองค์ความรู้ ปัจจบุ ันการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร ใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมือในการจัดการเรียนรู้ทางไกลผา่ นระบบเครอื ข่ายเทคโนโลยที ัง้ ในเวลาและนอกเวลาเรียน ทาํ ให้ระบบการเรียนรู้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยพัฒนาผู้เรียนท่ีมีความแตกต่างทางด้านฐานะ ความพร้อม และศักยภาพ ให้สามารถเรียนรู้ส่ิงใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา และสามารถปรับตวั เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมได้
8 ในปัจจุบันมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพ่ือการเรียนรู้และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีการพัฒนาผู้บริหารครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเน่ือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ ท้ังนี้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงมีอิทธิพลในวงการศึกษาเป็นอย่างย่ิง พัฒนาการอนั รวดเรว็ ของเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร เปน็ แรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกช้ันเรียน โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพ่ือให้ได้มาซึ่งคําตอบในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเป็นเครื่องมือ ข้อคําถามในการวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพ่ือการตอบคาํ ถาม 4 ประการหลัก คือ 1) ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เราควรที่จะจัดการเรียนรู้รูปแบบใดให้กับนักเรียนจึงจะเรียกว่าสามารถใชข้ อ้ มลู ขา่ วสารท่มี อี ยู่มากมายใหเ้ กดิ ประโยชน์มากท่ีสุด 2) ทําอย่างไรจึงจะสามารถเตรียมตัวนักเรยี นให้สามารถใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอื่ สารได้อย่างคล่องแคล่วจนสามารถดาํ รงชวี ิตในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไดอ้ ย่างมีความสุข 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ทําได้อย่างไรบ้าง ด้วยวิธใี ด และตอ้ งมอี ปุ กรณอ์ ะไรบา้ ง 4) ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีคุณลักษณะและมีบทบาทอย่างไรในการจัดการเรียนรู้และท่ีสําคัญการเตรียมผู้สอนและผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพื่อการจัดการเรียนรู้จะตอ้ งทําอย่างไร และมวี ธิ กี ารอยา่ งไร ประเด็นคําถามท่กี ลา่ วมานล้ี ้วนเป็นคําถามท่ีนกั การศึกษาต่างให้ความสนใจ และมักจะพบคําตอบดว้ ยความตระหนกั วา่ เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสารได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างโดดเด่น จนเป็นเคร่ืองมือที่สําคัญย่ิงในการแสวงหาความรู้ ในการสื่อสารและการพัฒนาในทุกมิติ รัฐบาลจึงได้ลงทุนเพ่ือสร้างความพร้อมให้แก่โรงเรียน ด้วยการจัดหาคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต และการปรับปรุงพัฒนาระบบการส่ือสารโดยจัดหาส่ือท่ีหลากหลายตลอดจนพัฒนาบุคลากร เพ่ือให้เยาวชนได้พัฒนาความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพ่ือการเรียนรู้และสร้างสรรค์ แม้จะได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง แต่สถานศึกษาส่วนใหญ่ยังมีประสบการณ์จํากัดในการพัฒนาระบบ การจัดการเรียนรู้ ระบบบริหารตลอดจนระบบสนับสนุนในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเคร่ืองมือ สืบเน่ืองจากปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการส่ือสาร ความก้าวหน้าของเทคโนโลยนี สี้ ่งผลกระทบต่อสังคมทุกด้าน และท่ีจัดว่ามากด้านหนึ่งก็น่าจะเป็นด้านการศึกษา ดังนั้นพระราชบัญญตั กิ ารศกึ ษาแห่งชาตหิ มวด 9 ได้ระบุแนวทางการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา สรุปได้ว่า
9รัฐบาลจะมกี ารส่งเสรมิ สนบั สนนุ ให้มกี ารผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา ตลอดจนให้มีการพัฒนาบคุ ลากรดา้ นผ้ผู ลติ และผใู้ ช้เทคโนโลยีเพอ่ื การศกึ ษาเพื่อใหม้ คี วามรูค้ วามสามารถและมีทักษะการผลิตรวมท้ังใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพอ่ื การศกึ ษา ในโอกาสแรกท่ที ําไดเ้ พือ่ ใหม้ คี วามรูแ้ ละทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองต่อเนื่องตลอดชีวิต การจะทําให้แนวคิดเรื่อง การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารประสบความสําเร็จ ประการแรกจะต้องทําให้ครูซึ่งมีบทบาทสําคัญในการจัดการเรียนรู้ได้ตระหนักถึงความสําคัญ เห็นประโยชน์และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีก่อน หลังจากน้ันจึงดําเนินการขยายผลให้กับนักเรียนโดยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนรู้ยึดถอื ผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นจุดมุ่งหมาย และใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่ากับทร่ี ัฐบาลและทางโรงเรียนได้ลงทุน นอกจากนั้นครูต้องสามารถสร้างและทําให้เทคโนโลยีเป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการดําเนนิ งานจะบรรลจุ ุดมงุ่ หมายได้ ครูต้องต้ังคําถามก่อนว่าจะใช้เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้อย่างไร ในลักษณะใด และอะไรคือเป้าหมายที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ในสภาพสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมทแ่ี ตกต่างกนั (สํานกั พัฒนานวตั กรรมการจดั การศกึ ษา, 2548 : 8-9) กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 217-218) กล่าวถึง แรกเร่ิมของการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาว่าวงการศกึ ษาเรมิ่ มีการใชค้ อมพวิ เตอร์เป็นครง้ั แรกในระยะประมาณปลายทศวรรษท่ี 1950 ซึ่งขณะน้ันมหาวทิ ยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้นําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านบริหาร เช่น ด้านการบัญชีและการเก็บขอ้ มลู เกี่ยวกับผู้เรยี น ขณะเดยี วกันก็มีผู้นําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนการวิจัยด้านนี้ได้แก่ “โครงการเพลโต” (PLATO) ที่มหาวิทยาลยั อลิ ลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซ่ึงเริ่มในปีพ.ศ. 2503 โดยมีวตั ถปุ ระสงค์ในการออกแบบการใช้คอมพิวเตอร์เพ่ือการเรยี นการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศกึ ษาได้มีการพัฒนาปรบั ปรงุ เรอื่ ยมา มบี ริษัทคอมพวิ เตอร์ 3 บริษัทพยายามคิดค้นประดิษฐ์เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ข้ึนและประสบผลสําเร็จในปี พ.ศ. 2520 นับเป็นการนําไปสู่การปฏิวัติการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาทําให้สถาบันการศึกษาในระดับโรงเรียนท้ังระดับประถม มัธยมและมหาวิทยาลัยได้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย คอมพิวเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ท่ีทรงอานุภาพย่ิงท่ีสามารถนํามาใช้ในการศึกษาเล่าเรียนได้มากมายหลายทาง โดยแบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่โดยใชบ้ ทบาทของ “ผู้สอน” (teacher) “ผู้ช่วย”(assistant) และ ผู้เรียน”(learner)อย่างไรก็ตาม ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันทําให้การแบ่งบทบาทเหล่านี้เห็นได้ไม่ชัดเจนนักแต่จะสามารถใช้คอมพวิ เตอรใ์ นทกุ บทบาทเหลา่ นีไ้ ด้ การใชค้ อมพวิ เตอรใ์ นทฤษฎีการเรยี นรู้ มนี ักการศึกษาได้กล่าวไวด้ งั นี้ ธีระ รุญเจริญ (2550 : 308-309) กล่าวว่า การศึกษาเป็นกระบวนการที่ต่อเน่ืองกันตลอดชีวิตการเรียนรู้ไม่ได้เกิดข้ึนเฉพาะในโรงเรียน แต่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา ทุกหนทุกแห่ง ทุกสถานการณ์ ผู้ท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการศึกษาควรตระหนักในเรื่องน้ีให้มาก กล่าวคือ ต้องเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียน
10เชน่ รู้และเขา้ ใจพ้ืนเพเดมิ ความสนใจ ความสามารถและความต้องการของผู้เรียน กอปรท้ังตระหนักในความแตกต่างดังกลา่ วดว้ ย การเรยี นรู้ หมายถึงการทีผ่ ู้เรยี นสามารถเปล่ียนแปลงพฤติกรรมไปเป็นอย่างอ่ืน เช่น เปลี่ยนจากการไม่รู้เป็นรู้ จากการทําไม่ได้เป็นทําได้ หรือเปลี่ยนจากการชอบ หรือจากการไม่ชอบเป็นชอบดังน้ัน อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากประสบการณ์ ตราบใดที่ยงั ไมม่ ีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเรยี นรู้จะไม่เกดิ ขึน้ ทฤษฎกี ารเรยี นรู้ เน่ืองจากผมู้ ีบทบาทสําคญั ในการศึกษายุคต้นมักเป็นนักจิตวิทยา เช่น Thorndike,Dewey, Gestalt เป็นต้น ฉะนั้นทฤษฎีต่าง ๆ ทางการศึกษา รวมท้ังการเรียนรู้จึงได้รับอิทธิพลจากบุคคลเหล่าน้ีที่ได้พยายามนําเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาประยุกต์ให้เป็นทฤษฎีทางการศึกษา หรือทางการเรียนการสอน ทฤษฎีทางจิตวิทยาท่ีนักจิตวิทยานํามาใช้ในการสร้างทฤษฎีทางการเรียนรู้ คือ ทฤษฎีพฤติกรรม(Theories of Behavior) กิดานนั ท์ มลทิ อง (2548 : 218-219) กลา่ วว่าทฤษฎีการเรียนรู้ของ กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยมและกลมุ่ สรา้ งสรรคน์ ิยม ท้ังเชิงความรู้ความเข้าใจและเชิงสังคม ที่มีความเก่ียวโยงกับเทคโนโลยีการศึกษาจะเหน็ ไดว้ ่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือท่ีสามารถตอบสนองการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีเหล่านั้นได้อย่างดียิ่งแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนปัจจุบันค่อนข้างจะมีแนวโน้มเปล่ียนจากสภาพแวดล้อมลักษณะบุคคลเดียวเป็นศูนย์กลาง (individual-centered environment) มาเป็นสภาพแวดล้อมเชิงสังคม (socially-oriented environment) และจากระบบปิดเปลี่ยนมาเป็นเคร่ืองมือเอนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลายประเภท เช่นแต่เดิมส่วนใหญ่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ใช้เรียนเป็นรายบุคคลเปน็ ส่วนใหญ่ ในขณะที่ปัจจบุ ันจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครือ่ งมือในการส่ือสารหรือเรียนรู้ร่วมกัน ท้ังในสถาบันเดียวกันหรือสถาบันอ่ืนท้ังในและนอกประเทศและทั่วโลก นอกจากนี้การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เหล่านั้นจะปิดกั้นอยู่ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนโดยผู้เรียนจะเรียนรู้อยเู่ พยี งภายในขอบขา่ ยเนือ้ หาทกี่ าํ หนดไว้เท่าน้ัน แต่ในทางตรงกันข้าม หากใช้ซอฟต์แวร์ท่ีเอื้อต่อสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ร่วมกัน หรือการสร้างเนื้อหาบทเรียนหลายมิติและมีการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตจะเปิดโอกาสใหผ้ ู้เรยี นคน้ ควา้ ข้อมูลเพมิ่ เติมจากเนอื้ หาที่เรียนไดส้ ะดวก ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเปิดกว้างมากข้ึนทั้งในรูปแบบการใช้งานและผนวกกบั การใช้เทคโนโลยีการส่ือสารเพ่ือสามารถตอบสนองกับการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 219) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)คือ คอมพวิ เตอร์ในบทบาท “ผสู้ อน” เป็นการนาํ เสนอเน้อื หาบทเรียน แบบทดสอบ กิจกรรม การปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและการให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนเช่นเดียวกับท่ีครูผู้สอนกระทําในห้องเรียน แต่การใช้คอมพิวเตอร์จะสามารถใช้กับผู้เรียนทั้งห้องหรือให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองในลักษณะการศึกษาเป็น
11รายบุคคลได้ด้วย การใช้ในบทบาทผู้สอนจึงใช้ได้ท้ังการศึกษาแบบปกติและการศึกษาทางไกลท่ีผู้เรียนเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนการสอนบนเว็บ การใช้งานลักษณะน้ีคอมพิวเตอร์จะมีบทบาทและหน้าทเี่ สมอื นผสู้ อน ทน่ี ําเสนอเนอื้ หาบทเรยี นและแบบทดสอบ วิภา อุดมฉันท์ (2544 : 80 -81) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เป็นส่ือท่ีเน้นการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งเป็นส่ือท่ีสามารถบรรจุทุกส่ิงทุกอย่างท่ีต้องการแสดงบนหน้าจอ ไดแ้ ก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก แผนภูมิ สามารถใช้สี ลงเสียง เพ่ือถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนได้ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนในห้อง โดยคอมพิวเตอร์จะนําเสนอเนื้อหาและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนตามแบบการสื่อสารสองทาง (Two–waycommunication) จากแนวทางการจัดการเรยี นการสอนผา่ นอินเทอรเ์ นต็ รวมท้งั ผลงานวจิ ยั และข้อค้นพบต่าง ๆเป็นท่ีน่าเชื่อได้ว่าระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทและเป็นสื่อสําคัญของการเรียนการสอนในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน ท้ังนี้ เป็นเพราะนักการศึกษาได้ใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต และวิธีการท่ีใช้อินเทอร์เน็ต เช่น การอภิปรายโต้แย้ง การศึกษาจากฐานข้อมูล การไม่มขี ้อจํากัดในเรื่องของเวลาและสถานท่ี เพื่อสร้างสภาพการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทวีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน ได้นําไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองท่ีเขา้ มาเสรมิ ระบบการเรียนแบบดงั้ เดมิ เทคโนโลยกี ารสื่อสารเครือขา่ ยอินเทอร์เน็ตและสื่อสําเร็จรูปต่าง ๆ ได้ถูกนํามาใช้เพิ่มทางเลือกในการเรียนรู้ของผู้เรียน การเรียนการสอนด้วยตนเองผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะถูกใช้มากขึ้น เพ่ือให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆรวมท้ังการพยายามทาํ ใหม้ กี ารเรยี นการสอนผา่ นระบบเครือข่ายใยแมงมุม โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการและความสามารถ โดยไม่จํากัดเวลาและสถานท่ี ผู้เรียนอาจจะเรียนโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากท่ีบ้าน โดยบทเรียนท่ีใช้อาจอยู่ในรูปของการเรียนหรือการสอนเสริมในส่วนที่ผู้เรียนต้องการศึกษาเนื้อหาเพ่ิมเติมหลังจากการเรียนภายในห้องเรียนก็ได้ ซ่ึงในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ได้เริม่ ใช้การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายใยแมงมุมกันบ้างแล้ว โดยอาศัยระบบทางด่วนข้อมูลข่าวสาร (Information Super Highway) แต่ด้วยปัญหาของโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาของประเทศไทยนั้น ยังไม่สามารถท่ีจะทําการจัดให้มีการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต็ ได้ เพราะความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารยังช้ามาก แต่การท่ีซอฟต์แวร์บนอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาก้าวไปไกลมาก การนําซอฟต์แวร์มาใช้ในองค์กรจึงเป็นหนทางหนึ่ง โดยจัดสร้างองค์กรเป็นเครือขา่ ยภายในขน้ึ เป็น Campus Network โดยวางมาตรฐานเดียวกับอินเทอร์เน็ต และนําซอฟต์แวร์ท่ีประยุกต์บนอนิ เทอรเ์ น็ตมาใช้ ซง่ึ แนวทางในการนําหลักการทางอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการออกแบบและประยุกต์เครือข่ายภายในน้ีเรียกว่า “อินทราเน็ต (Intranet)” มีจุดเด่นหลายประการในการพัฒนาเครือข่ายในองคก์ รในรูปแบบของอนิ ทราเนต็ คอื
12 1. สามารถหาซอฟตแ์ วรไ์ ด้ง่าย เพราะความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต ทําให้มีซอฟตแ์ วร์และความร้ใู นการพัฒนาต่าง ๆ มากมาย 2. เปน็ มาตรฐานเดยี วกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถ้าหากสถาบันใดมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเช่ือมเครือข่ายเข้ากับอินเทอร์เน็ตก็สามารถทําได้เลย เพราะเป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน 3. การพฒั นาซอฟต์แวรบ์ นเวบ็ สามารถใช้บนเครอื ขา่ ยและระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) ไดห้ ลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform) 4. ซอฟต์แวร์ท่ีใช้มีราคาถูก เนื่องจากเป็นมาตรฐานเดียวกับอินเทอร์เน็ตท่ีมีการพัฒนาท่ีแพร่หลายทาํ ใหม้ ีซอฟต์แวร์ท่ีใชห้ ลากหลาย มผี ้ผู ลิตมาก จงึ มีราคาถูก ทาํ ให้ตน้ ทนุ ในการผลติ ราคาถูกลงด้วย 5. ผู้ใช้สุดทา้ ย (End User) ไม่จาํ เป็นต้องเรยี นรู้มาก เพราะสามารถใชค้ วามสามารถของเว็บเบราเซอร์(Web browser) เพียงตัวเดียวในการอ่านข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผใู้ ชเ้ พียงแต่ใชเ้ วบ็ บราวเซอร์เป็นก็สามารถจะประยุกต์ใช้โปรแกรมและข้อมูลตา่ ง ๆ ได้โดยไมต่ ้องทําการฝึกอบรมมาก จากแนวคิดดงั กลา่ วจะเห็นได้ว่าสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้เห็นประโยชน์และคํานึงถึงความสําคัญของการนําเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาท่ีเร่ิมเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน ทําให้สถาบันการศึกษามีความจําเป็นอยา่ งเรง่ ด่วน ทีจ่ ะต้องพฒั นาให้สื่อการเรยี นการสอนมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตเพอื่ การเรยี นการสอนในห้องเรยี น โดยสามารถท่ีจะให้ผู้เรียนเข้ามาสืบค้นและเรียนรู้ผ่านเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ เปน็ แนวทางหนึ่งทจี่ ะทําให้การจดั การเรยี นการสอนมปี ระสิทธิภาพสูงสุด จากข้อมูลดงั กลา่ วขา้ งตน้ สามารถสรุปได้ว่า สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เป็นส่ือการเรียนการสอนในท่ีมีลักษณะเป็นส่ือประสมประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก เสียงและข้อความต่างๆ ผู้เรียนสามารถเรียนรูด้ ้วยตนเอง ไดบ้ ่อยคร้ังเท่าทีต่ อ้ งการ สามารถเรียนรู้หรือทบทวนบทเรียนซํ้าได้นอกเหนือเวลาเรยี น และสามารถสนองความแตกตา่ งระหว่างบุคคลได้ ทําใหล้ ดเวลาเรยี น และลดภาระของครู2. สือ่ การเรยี นรอู้ อนไลนผ์ ่านเครือขา่ ยอนิ เทอรเ์ น็ต นกั การศึกษาได้ให้ความหมาย ส่ือการเรียนรู้โดยใชเ้ ทคโนโลยไี ว้ ดงั น้ี สื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (learning by technology) เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเคร่ืองมือเพื่อการเรยี นรู้ เชน่ การใชค้ อมพวิ เตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้อนิ เทอร์เน็ตเพ่ือการค้นคว้า หรือส่ือสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet การเรียนรู้ไปกบั เทคโนโลยี (learning with technology) เป็นการเรียนรู้เก่ียวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกล ไปถึงไหนบ้างแล้ว ท้ังทางด้านวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เช่น ซอฟต์แวร์
13ใหม่ ๆ เครื่อง Tablet PC ซ่ึงเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพ เม่ือเรียนรู้ถึงความใหม่ ทันสมัยของเทคโนโลยี แลว้ จะนํามาประยกุ ตใ์ ช้ ในวงการต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ถ่ายภาพการสอนส่งไปบนอินเทอร์เน็ต เพ่ือให้ผู้เรียนใน สถาบันการศึกษาอ่ืนเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การถ่ายทําวิดีโอต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับเนื้อหาการเรียนรู้แล้วนําเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ให้ผู้อ่ืน เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสําคัญที่บุคคลในยุคสังคมแห่งความรู้จะต้องศึกษา เพื่อก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและต้องใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดํารงชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการทํางาน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนของครู จําเป็นจะต้องนําเทคโนโลยไี ปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ทง้ั นมี้ ีเว็บไซตท์ ่ีนยิ มนาํ มาอัพไฟลว์ ิดีโอ เพ่ือเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต็ คือ ยทู บู (YouTube) ยูทูบ (YouTube) เป็นเว็บไซตท์ ี่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปล่ียนคลิปวิดีโอผ่านทางเวบ็ ไซต์ การทํางานของเว็บไซต์แสดงผลวิดีโอผ่านทางโปรแกรม adobe flash ซ่ึงเนื้อหามีหลากหลายรวมถึง รายการโทรทัศน์ มวิ สิกวิดโี อ วดิ ีโอจากทางบา้ น งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนจากภาพยนตร์และผ้ใู ช้สามารถนําวดิ ีโอไปใสไ่ วใ้ นบล็อกหรอื เวบ็ ไซตส์ ว่ นตัวได้ ผา่ นทางคําสั่งท่ีกําหนดให้ของยูทูบ ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ Macromedia Flash7 และใช้การถอดรหัสแบบ SorensonSpark H.263 โดยแฟลชเป็นโปรแกรมเสรมิ ทตี่ ้องติดต้งั เพิ่มสําหรับเว็บเบราเซอรท์ ั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดท่ี 300กิโลบติ ต่อวนิ าที ซ่ึงการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรอื ขนาดทแี่ สดงผลเต็มจอ ซ่ึงวิดีโอในยูทูบสามารถดูไดผ้ า่ นเวบ็ ไซต์ยทู บู โดยตรงผ่านซอฟตแ์ วร์แฟลชที่กล่าวมา และดูได้ผ่านแอปเปิลทีวี ไอโฟนท่ีมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากน้ียูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ท่ัวไป ท่ีมีการนํารหัสไปใส่เช่อื มโยงกลบั มาท่เี วบ็ ยทู บู เอง เหน็ ได้ตามเว็บบอรด์ และ Blog หรือ เว็บไซต์ต่างๆ สรุป ยูทูบ (YouTube) หมายถึง เว็บไซต์ท่ีนําเสนอเก่ียวกับไฟล์วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวเข้าสู่เวบ็ ไซตท์ ี่ URL : http://www.youtube.com/ 2.1 วธิ กี ารอัพไฟล์วดิ โี อลงยูทบู การอัปไฟล์วิดีโอที่อยากจะแบ่งปันให้คนอื่นได้ดู มีวิธีการอัปไฟล์วิดีโอลงยูทูบ (Youtube)ดังนี้ 1. เข้าไปท่ี http://www.youtube.com แลว้ ทําการสมคั รเป็นสมาชิก 2. การสมัครสมาชิกเมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์แล้วให้หาคําว่า Sign Up หรือถ้าหาไมพ่ บก็ให้ไปที่คําว่าUpload Videos กไ็ ด้ แล้วคลกิ เขา้ ไป 3. จะพบหน้าให้กรอกข้อมูลให้กรอกให้ถูกต้องครบถ้วนโดยเฉพาะในส่วนของ Join YouTubeเมื่อกรอกเสร็จแล้วด้านล่างจะมคี าํ ว่า Sign Up กค็ ลกิ เข้าไปไดเ้ ลย
14 4. หน้าต่อมาคือหน้าที่จะแสดงว่าเราได้ทําการสมัครสมาชิกไปแล้วซึ่งจะมี username บอกให้ทราบโดยแสดงอยู่ทางด้านบนของหนา้ เราจะต้องจดจํา username และ password ท่ีได้สมัครไว้เพือ่ ใช้ในการ Login เข้ามาใชง้ านในคร้ังต่อ ๆ ไป 5. เม่ือสมัครสมาชิกเสร็จแล้วจะต้องมีการยืนยันการสมัคร โดยการเข้าไปเช็คเมล์ใน e-mailท่ีใช้ในการสมัคร ซึ่งจะมีจดหมายจากเว็บไซต์เข้ามา ให้คลิกคําว่า Confirm your email addressเพ่อื เปน็ การยืนยัน ซงึ่ เมื่อทําเสร็จแล้วจะลงิ ค์ไปทห่ี น้า Your email has been confirmed ก็เป็นอันเสร็จสน้ิ การสมคั รสมาชกิ 6. ขั้นตอนในการอัปโหลดไฟล์วิดีโอให้หาคําว่า Upload Videos แล้วคลิกเข้าไป ซ่ึงการอัปโหลดน้ันจะมสี องขั้นตอน คือ ข้ันตอนแรก จะต้องกรอกรายละเอียดวิดีโอก่อน โดย กรอกชื่อ กรอกคําหลักของไฟล์วิดีโอเม่ือเสร็จแล้วกค็ ลิกคําวา่ Continue Uploading ไดเ้ ลย ข้ันทสี่ อง เลอื กไฟล์วิดโี อทีต่ ้องการจะอัปโหลดลงไป โดยคลิกที่ปุ่ม Browse แล้วทําการเลือกขนึ้ มา จากนนั้ คลิกท่ี Upload Video รอใหโ้ หลดจนเสร็จ ก็เรียบร้อย 7. เมื่อ upload เสร็จแล้วหน้าถัดมาก็จะเป็นการใส่รายละเอียดเพิ่มเติม ของไฟล์วิดีโอที่ได้โพสต์ไป ซ่ึงจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ต่อจากนั้นก็ให้คลิกที่ Update Video info รอสักครู่จะมีรูปแสดงขึน้ มา โดยสามารถคลกิ ท่รี ปู ใดรปู หนึ่งก็ได้ เพื่อเขา้ ไปดูผลงานทีไ่ ดอ้ ัปโหลดไป เมอ่ื จะทําการอัปโหลดวิดีโอครั้งต่อไปก็ไม่จําเป็นต้องสมัครสมาชิกใหม่แล้ว เพียงแค่กรอก usernameและ password ทีเ่ ราได้สมัครไว้แล้วก็สามารถโพสต์วิดีโอได้ทันที อย่างไรก็ตามในการโพสตแ์ ต่ละครั้งควรคํานงึ ถึงความเหมาะสมดว้ ย ภาพท่ี 1 เว็บไซต์ยทู ูบ (YouTube)
15 2.2 ประโยชนข์ องส่ือการเรียนรู้ออนไลนผ์ า่ นเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ ภทั รพงศ์ อนิ ทรกาํ เนิด และคณะ. (2551). ได้ทําการศึกษาเทคโนโลยีรายสาขาที่มีอิทธิพลส่งผลกระทบตอ่ วิถชี ีวิตมนุษย์และการศกึ ษาอนาคต สรุปได้ดังน้ี เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความสําคัญในการขับเคลื่อนความรู้ข้อมูลข่าวสารในโลกยุคโลกาภิวัตน์ แนวโน้มของการพัฒนาและรูปแบบการใช้เทคโนโลยี สามารถแบ่งได้6 ด้านหลกั ดงั นี้ 1.) การให้บริการแบบหลอมรวมส่ือ เป็นการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการส่ือสาร และเทคโนโลยีแพร่ภาพกระจายเสียง โดยอินเทอร์เน็ตจะเป็นตัวกลางสําคัญของการหลอมรวมส่อื โทรคมนาคม สารสนเทศและวิทยุโทรทัศน์เขา้ ด้วยกนั เพ่อื สรา้ งบรกิ ารทีห่ ลากหลาย 2.) การแพร่ภาพกระจายเสียงในระบบดิจิทัล ท่ีเป็นระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงที่มีความคมชัดสูงสามารถแพร่ภาพได้หลายช่อง มีบริการ โต้ตอบและการเสริมท่ีหลากหลาย ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อการศกึ ษาทางไกล โดยเฉพาะในด้านประสทิ ธภิ าพและคณุ ภาพท่ีดขี ้นึ 3.) การเชื่อมต่อเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารในทุกท่ีทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยไี ร้สาย จะทาํ ให้การเข้าถงึ และเชอ่ื มต่อเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ น็ตเป็นไปได้อย่างงา่ ยดายยงิ่ ขึ้น 4.) การพัฒนามาตรฐานเปิด จะทําให้เทคโนโลยีจากผู้ค้ารายต่าง ๆ สามารถทํางานร่วมกันได้การแขง่ ขันของผู้ให้บรกิ ารมากขน้ึ และทาํ ใหผ้ ู้บริโภคมีทางเลือกทางเทคโนโลยีมากขึ้น 5.) การแพร่กระจายของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ จะทําให้คนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารได้มากข้ึน โดยเฉพาะการเรียนในลักษณะห้องเรียนเสมือน (virtual classes) จะถูกนํามาใช้สร้างการเรียนการสอนของการศึกษาในระบบและนอกระบบเพิ่มมากข้ึน 6.) การจ้างงานในยุคดิจิทัล หรือยุคข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะมีนัยสําคัญต่อการจ้างงานในอนาคต ท้ังในเชิงปริมาณ (ทั้งการเพิ่มหรือลดการจ้างงาน) และคุณภาพ(ในรูปแบบการจ้างงานท่ีเปล่ียนแปลง) รวมทั้งช่วยให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ มีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ลักษณะแนวโน้มทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดังกล่าวนี้ จะมีผลอย่างสําคัญต่อระบบการศกึ ษาทัง้ การศกึ ษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ท่ีจะมีความเข้มข้นของการนําไปใช้และเป็นกลไกการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนท่ามกลางภาวการณ์ขาดแคลนบคุ ลากรทางการศกึ ษา รวมการสรา้ งสังคมแหง่ การเรียนร้ขู องโลกอนาคต
16 2.3 ข้อดีของการสอนบนเว็บ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) ไดก้ ลา่ วถงึ ขอ้ ดีของการสอนบนเว็บไว้ว่า การเรียนรู้บนเว็บ ถือเป็นความสําเร็จทางวิชาการโดยกระบวนการเรียนการสอนท่ีใช้สื่อที่ทันสมัยเปิดโอกาสให้เรยี นรู้ สิง่ ตา่ ง ๆ อย่างมากมาย ซง่ึ มีขอ้ ดี ดังนี้ 1. การสอนบนเว็บเปน็ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนท่ีอยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้เรียนในเวลา และในสถานท่ีท่ีต้องการได้ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทํางาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การท่ีผู้เรียนไม่จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาท่ีกําหนดไว้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านข้อจํากัดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ศึกษาของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 2. การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยใู่ นสถาบันการศึกษาในภูมภิ าค หรือในประเทศหน่ึงประเทศใดสามารถท่ีจะศึกษา ถกเถียง อภิปรายกับครูซงึ่ สอนอยู่ทสี่ ถาบนั การศกึ ษาในเมืองหลวง หรือในตา่ งประเทศกต็ าม 3. การสอนบนเว็บน้ี ยังชว่ ยส่งเสริมแนวคดิ ในเร่ืองของการเรียนรู้ตลอดชวี ติ เนอ่ื งจากเว็บเป็นแหล่งความรทู้ ีเ่ ปิดกวา้ งให้ผู้ท่ตี ้องการศึกษาในเรื่องใดเร่ืองหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเน่ืองและตลอดเวลา การสอนบนเวบ็ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมท้ังมีทักษะในการตรวจสอบการเรยี นร้ดู ้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ 4. การสอนบนเว็บ ชว่ ยทลายกําแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากหอ้ งเรยี นสเี่ หลี่ยม ไปสโู่ ลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสนับสนุนสง่ิ แวดล้อมทางการเรียนทีเ่ ช่อื มโยงสิ่งท่ีเรียนกับปัญหาท่ีพบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรยี นรู้ตามบรบิ ทในโลกแหง่ ความเป็นจริง (Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism 5. การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากเว็บได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลก โดยไม่จํากัดภาษา การสอนบนเว็บยังช่วยแก้ปัญหาข้อจํากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิม จากห้องสมุด อันได้แก่ ปัญหาทรัพยากรการศึกษาท่ีมีอยู่จํากัด และเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เน่ืองจากเว็บมีข้อมูลท่ีหลากหลายมีจํานวนมาก รวมทั้งการท่ีเว็บใช้การเชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ซ่ึงทําให้การค้นหาทําได้สะดวกและงา่ ยดายกวา่ การคน้ หาขอ้ มูลแบบเดิม 6. การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ท่ีกระตือรือร้น ท้ังน้ีเน่ืองจากคุณลักษณะของเว็บท่ีเอ้ืออํานวยให้เกิดการศึกษาในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่จําเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทํากิจกรรมต่าง ๆ
17บนเครอื ขา่ ย การใหผ้ เู้ รียนได้มโี อกาสแสดงความคดิ เห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ด หรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกบั ผเู้ รียนคนอนื่ ๆ คร/ู ผู้สอน หรือผู้เชยี่ วชาญในเวลาเดยี วกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น 7. การสอนบนเวบ็ เอื้อให้เกดิ ปฏิสมั พนั ธ์ ซ่ึงการเกิดปฏิสมั พันธ์นอ้ี าจทําได้ 2 รปู แบบ คือ 7.1 ปฏสิ ัมพันธ์กบั ผเู้ รียนดว้ ยกนั และ/หรือผสู้ อน 7.2 ปฏิสัมพันธ์กับบทเรยี นในเนือ้ หาหรือสื่อการสอนบนเว็บ ซ่งึ ลักษณะแรกนี้ จะอย่ใู นรปู แบบของการเข้าไปพดู คุย พบปะ แลกเปล่ียน ความคิดเหน็ กัน(ดงั ท่ีไดก้ ลา่ วมาแล้ว) ส่วนในลักษณะหลงั นัน้ จะอยู่ในรปู แบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบท่ีผสู้ อนได้จดั หาไวใ้ ห้แกผ่ ูเ้ รียน 8. การสอนบนเวบ็ ยงั เปน็ การเปิดโอกาสสําหรับผู้เรียนในการเข้าถงึ ผู้เชี่ยวชาญ สาขาต่าง ๆทั้งในและนอกสถาบัน จากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อ สอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง ๆ ท่ีต้องการศึกษาจากผู้เช่ียวชาญจริงโดยตรง ซึ่งไม่สามารถทําได้ในการเรียนการสอนแบบดง้ั เดิม นอกจากนยี้ ังประหยดั ทง้ั เวลาและค่าใชจ้ า่ ย เมื่อเปรียบเทียบกับการตดิ ต่อสือ่ สารในลกั ษณะเดิม ๆ 9. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดายทงั้ น้ไี มไ่ ดจ้ าํ กดั เฉพาะเพื่อน ๆ ในช้ันเรียนหากแต่เป็นบุคคลท่ัวไปจากทั่วโลกได้ ดังนั้น จึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสําหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผลงานท่ีดี เพ่ือไม่ให้เสียชอ่ื เสยี งตนเอง นอกจากนี้ ผ้เู รียนยังมีโอกาสไดเ้ ห็นผลงานของผู้อ่นื เพ่ือนํามาพัฒนางานของตนเองให้ดียิง่ ขึน้ 10. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) ดังน้ันผู้สอนสามารถอัพเดทเนื้อหาหลักสตู รท่ที ันสมยั แก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากน้ีการให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นท่ีเก่ียวข้องกบั เน้อื หาทาํ ให้เน้ือหาการเรียนมีความยืดหยนุ่ มากกวา่ การเรยี นการสอนแบบเดิม และเปล่ียนแปลงไปตามความตอ้ งการของผเู้ รียนเป็นสาํ คญั 11. การสอนบนเว็บสามารถนําเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพน่ิง เสียงภาพเคลื่อนไหว วดี ที ศั น์ ภาพ 3 มิติ โดยผ้สู อนและผเู้ รยี นสามารถเลือกรปู แบบของการนาํ เสนอ เพื่อให้เกิดประสทิ ธภิ าพสูงสุดทางการเรยี น จากขอ้ ดขี องการเรยี นการสอนบนเวบ็ ดงั กล่าว พอจะสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนบนเว็บเปน็ ประโยชน์ต่อการศกึ ษาในหลายลักษณะ ดังนี้ 1. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยใช้สอ่ื อุปกรณ์และคลังความรู้ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตเพ่ือสนับสนนุ การเรยี นการสอนทั้งของครูและนกั เรยี น 2. เกิดเครือข่ายความรู้ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมซ่ึงกันและกันบนอินเทอร์เน็ตข้อมลู จะมกี ารปรับปรุงให้ทนั สมยั อย่เู สมอ สะดวกและรวดเร็ว
18 3. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถสืบค้นวิชาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีการให้คําปรึกษาและช้แี นะโดย คร/ู ผสู้ อน 4. ลดช่องว่างระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท สร้างความเท่าเทียมกันและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กชนบทได้รู้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อความสอดคล้องและสนับสนุน การปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.25423. เทคนิคการผลติ สอ่ื การเรียนรอู้ อนไลนใ์ นรปู แบบวิดีโอคลปิ (VDO CLIP) 3.1 ข้อควรคํานงึ ในการผลิตสอ่ื การเรยี นรอู้ อนไลน์ในรปู แบบ วดิ ีโอคลิป (VDO CLIP) 1. คุณภาพ (Quality) ทุกข้ันตอนการผลิตหรือก่อนกําหนดประเด็นจะต้องมีการรวบรวมขอ้ มลู ทเี่ ปน็ ท้ังงานวิจยั รวมถึงงานวจิ ยั ทเี่ ก่ียวขอ้ ง และนําเสนอแง่มมุ ของเรื่องราวท่ีรอบด้าน โดยเน้นเร่ืองใกลต้ วั เปน็ หลัก 2. คณุ คา่ (Value)นําเสนอกรณที เี่ ป็นประโยชนต์ อ่ สงั คม โดยชีใ้ ห้เหน็ ถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมท่สี ่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน 3. ผลงาน (Performance) การนําเสนอผลงานที่มีความน่าสนใจ กระชับชัดเจน นําเสนอข้อมูลในหลายด้าน รวมถึงผลกระทบในด้านวิถีการใช้สอย เน้นความถูกต้องที่ตรงกับข้อเท็จจริง เพื่อให้สงั คมเห็นถึงความเป็นจริงทอ่ี ยู่ในมมุ หน่ึงของสงั คม 4. จรรยาบรรณ (Code of Ethics) มีจรรยาบรรณในการนําเสนอข้อมูล โดยอาศัยความถูกต้องที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบในการนําเสนอเรื่องราวและข้อมูลท่ีเป็นข้อเท็จจริงและรอบด้านรวมถึงความสมดุล ไม่ชนี้ าํ และดว้ ยความซอื่ สัตย์ คณุ ค่าทม่ี ีตอ่ สงั คม 1. เผยแพร่เรื่องราวเกย่ี วกับสิ่งแวดลอ้ มอันเปน็ ประโยชน์ต่อสงั คม 2. สงั คมตระหนกั ถึงคณุ ค่าของสิ่งแวดล้อม 3. กระตนุ้ ให้เกดิ การเรยี นร้แู ละการหนั มาใส่ใจกบั คณุ ค่าของส่ิงแวดล้อมมากขึ้น 3.2 องค์ประกอบการจดั ทาํ VDO CLIP ไดแ้ ก่ 3.2.1 การกาํ กับภาพ การกําหนดภาพของแต่ละช็อตในการถ่ายทําภาพยนตร์สั้น มีลักษณะสําคัญเพราะเป็นการใช้กล้องโน้มน้าวชักจูงใจ ความสนใจของคนดูและเพื่อให้เกิดความหมายท่ีต้องการส่ือสารกับผู้ดูซึ่งต้องพิจารณาใช้องค์ประกอบหลายอย่างในการกําหนดภาพ เช่น ความยาวของช็อต แอ็คชั่นของผู้แสดง
19ระยะความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับผู้แสดง หรือ Subject มุมมอง การเคล่ือนไหวของกล้องและผู้แสดงตลอดจนบอกหน้าท่ีของชอ็ ตวา่ ทําหนา้ ทอี่ ะไร เชน่ แทนสายตาใคร เป็นต้น 3.2.2 การตดั ต่อ การตัดต่อ คือ การเชอ่ื มระหว่างชอ็ ต 2 ช็อต โดยใช้ 1 ใน 3 รูปแบบ ดงั น้ี 1. การตัดชนภาพ (The Cut) คอื การตัดภาพชนกันจากช็อตหนึ่งต่อตรงเข้ากับอีกช็อตหนึ่ง วิธีนี้ คนดจู ะไม่ทันสังเกตเหน็ 2. การผสมภาพ (The Mix หรือ The Dissolve) เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนภาพจากช็อตหน่ึงไป ยังอีกช็อตหนง่ึ โดยภาพจะเหล่อื มกนั และคนดสู ามารถมองเหน็ ได้ 3. การเลือนภาพ (The Fade) เป็นการเช่ือมภาพทคี่ นดสู ามารถเห็นได้ มี 2 แบบ คือ 3.1 การเลือนภาพเข้า (fade in) คอื การเรมิ่ ภาพจากดําแล้วคอ่ ย ๆ ปรากฏภาพซ้อนสว่างข้ึน มกั ใชส้ ําหรับการเปิดเรือ่ ง 3.2 การเลอื นภาพออก (fade out) คอื การที่ภาพในท้ายชอ็ ตค่อย ๆ มืดดาํ สนทิ มักใช้สาํ หรับการปดิ เร่อื งตอนจบ การตัดตอ่ ควรคํานงึ ถงึ ความร้เู บ้ืองตน้ 6 ประการดังนี้ 1. แรงจูงใจ (Motivation) ในการตัดต่อ ไม่ว่าจะการ cut, mix หรือ fade ควรมีเหตุผลที่ดีหรือมีแรงจูงใจเสมอ ซึ่งแรงจูงใจน้ีอาจเป็นภาพ เสียง หรือทั้งสองอย่างผสมกันก็ได้ ในส่วนของภาพอาจเป็นการกระทําอย่างใดอย่างหน่ึง แม้นักแสดงจะแสดงเพียงเล็กน้อย เช่น การขยับร่างกายหรือขยับส่วนของหน้าตา สําหรับเสียงอาจเป็นเสียงใดเสียงหนึ่ง เช่น เสียงเคาะประตู หรือเสียงโทรศัพท์ดัง หรอื อาจเป็นเสียงทไี่ ม่ปรากฏภาพในฉาก (off scene) 2. ข้อมูล (Information) ข้อมูลในที่นี้คือข้อมูลท่ีเป็นภาพ ช็อตใหม่ หมายถึงข้อมูลใหม่ คือถ้าไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ในช็อตน้ัน ๆ ก็ไม่จําเป็นต้องนํามาตัดต่อ ไม่ว่าภาพจะมีความงดงามเพียงไรก็ควรที่จะเป็นข้อมูลภาพที่แตกต่างจากช็อตท่ีแล้ว ย่ิงมีข้อมูลภาพท่ีคนดูเห็นและเข้าใจมากขึ้น ผู้ชมก็ย่ิงได้รับข้อมูลและมีอารมณ์ร่วมมากข้ึน เป็นหน้าที่ของคนตัดต่อท่ีจะนําข้อมูลภาพมาร้อยเรียงใหม้ ากท่สี ดุ โดยไมเ่ ปน็ การยัดเยยี ดใหค้ นดู 3. องค์ประกอบภาพในช็อต (Shot Composition) ผู้ตัดไม่สามารถกําหนดองค์ประกอบภาพในช็อตได้แต่งานของผู้ตัดต่อ คือควรให้มีองค์ประกอบภาพ ในช็อตที่สมเหตุสมผลและเป็นท่ียอมรับปรากฏอยู่องคป์ ระกอบภาพในช็อตท่ไี ม่ดีมาจากการถา่ ยทาํ ทแ่ี ย่ ซ่ึงทําให้การตดั ต่อทําได้ลาํ บากมากขึ้น 4. เสยี ง (Sound) เสียงคอื ส่วนสาํ คัญในการตัดต่ออีกประการหนงึ่ เสียงรวดเรว็ และลึกลํ้ากว่าภาพเสียงสามารถใส่มาก่อนภาพหรือมาทีหลังภาพเพ่ือสร้างบรรยากาศ สร้างความกดดันอันรุนแรง และอกี หลากหลายอารมณ์ เสยี งเปน็ การเตรยี มใหผ้ ้ชู มเตรียมพร้อมสาํ หรบั การเปลย่ี นฉาก สถานที่
20 ความคลาดเคลื่อนของเสียงที่เหมาะสมเป็นการลดคุณค่าของการตัดต่อ เช่น LS (Long Short) ของสํานกั งานไดย้ นิ เสียงจากเคร่อื งพิมพด์ ีด ตดั ไปทชี่ อ็ ตภาพใกล้พนักงานพมิ พ์ดีด เสียงไม่เหมือนกับท่ีเพิ่งได้ยินในชอ็ ตปพู ้นื คอื เครอื่ งอ่ืน ๆ หยดุ พมิ พ์ทนั ทีเม่ือตัดมาเป็นชอ็ ตใกล้ ความสนใจของผู้ชมสามารถทําให้เกดิ ขน้ึ ได้ดว้ ยเสียงท่มี าลว่ งหน้า (Lapping) ตัวอย่างเช่น การตัดเสียง 4 เฟรมล่วงหน้าก่อนภาพเม่ือตัดจากภาพในอาคารมายังภาพฉากนอกอาคาร เป็นต้น 5. มุมกล้อง (Camera Angle) เมื่อผู้กํากับฯ ถ่ายทําฉากจะทําโดยเริ่มจากตําแหน่งต่าง ๆ (มุมกล้อง)และจากตําแหน่งต่าง ๆ เหล่าน้ี ผู้กํากับฯ จะให้ถ่ายช็อตหลายๆ ช็อต คําว่า “มุม” ถูกใช้เพื่ออธิบายตําแหนง่ ของกลอ้ งเหลา่ น้ซี ่งึ สัมพันธก์ บั วตั ถุหรือบุคคล ภาพท่ี 2 ภาพล้อคร่งึ ซีก จากภาพ ล้อครึ่งซีก บุคคลอยู่ที่ดุมล้อ แต่ละซ่ีล้อ แทนแกนกลางของกล้องและตําแหน่งของกล้องก็อยู่ตรงปลายของซ่ีล้อ ตําแหน่งจะแตกต่างกันไป จากแกนถึงแกน โดยระยะห่างท่ีแน่นอนเรียกว่า“มมุ กล้อง” ซ่ึงเป็นหน่ึงส่วนสําคัญของการตัดต่อ หัวใจสําคัญคือแต่ละครั้งที่ cut หรือ mix จากช็อตหนึ่งไปอีกช็อตหน่ึง กล้องควรมีมุมที่แตกต่างไปจากช็อตก่อนหน้านี้ สําหรับคนตัด ความแตกต่างระหว่างแกน ไม่ควรมากกว่า 180 องศา และมักจะน้อยกว่า 45 องศา เม่ือถ่ายบุคคลเดียวกัน ด้วยประสบการณ์รูปแบบนี้อาจดัดแปลงไดอ้ ีกมาก 6. ความต่อเนื่อง (Continuity) ทุกครั้งที่ถ่ายทําในมุมกล้องใหม่ในซีเควนส์เดียวกัน (Sequence)นักแสดงหรือคนนําเสนอจะต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรือทําท่าเหมือนเดิมทุกประการกับช็อตที่แล้ววธิ ีการนี้ ยังปรับใชก้ บั การถา่ ยภาพ (take) ท่แี ปลกออกไปดว้ ย ความต่อเน่อื งของเนื้อหา (Continuity of content) ควรมคี วามต่อเน่ืองของเนื้อหา เช่น นักแสดงยกหูโทรศัพท์ด้วยมือขวาในช็อตแรก ดังน้ันก็คาดเดาได้ว่าหูโทรศัพท์ยังคงอยู่ในมือขวาในช็อตต่อมางานของคนตดั ต่อ คือ ทาํ ใหแ้ นใ่ จว่าความตอ่ เนือ่ งยงั คงมอี ยู่ทกุ ครัง้ ท่ีทําการตดั ตอ่ ในซเี ควนส์ของช็อต ความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว (Continuity of movement) ความต่อเนื่องยังเก่ียวข้องกับทิศทางการเคล่ือนไหว หากนักแสดงหรือบุคคลเคล่ือนที่จากขวาไปซ้ายในช็อตแรก ช็อตต่อมาก็คาด
21เดาว่านักแสดงหรือบุคคลจะเคล่ือนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เว้นแต่ในช็อตจะให้เห็นการเปล่ียนทิศทางจรงิ ๆ ความต่อเนื่องของตําแหน่ง (Continuity of position) ความต่อเน่ืองยังคงความสําคัญในเรื่องของตําแหน่งนักแสดงหรือบุคคลในฉาก หากนักแสดงอยู่ทางขวามือของฉากในช็อตแรก ดังนั้น นักแสดงจะตอ้ งอยขู่ วามอื ในช็อตตอ่ มาด้วย เว้นแต่มีการเคล่อื นไหวไปมาให้เห็นในฉากถงึ จะมกี ารเปล่ียนไป ความตอ่ เนื่องของเสียง (Continuity of sound) ความต่อเนื่องของเสียงและสัดส่วนของเสียงเป็นส่วนทีส่ าํ คญั มาก ถา้ การกระทํากําลงั เกดิ ขึน้ ในทีเ่ ดียวกันและเวลาเดียวกัน เสียงจะต้องต่อเนื่องจากช็อตหน่ึงไปยังช็อตต่อไป เช่น ในช็อตแรกถ้ามเี คร่อื งบนิ ในทอ้ งฟ้าแล้วไดย้ นิ เสียง ดังน้นั ในชอ็ ตตอ่ มากต็ อ้ งได้ยินจนกว่าเคร่ืองบินน้ันจะเคลื่อนห่างออกไป แม้ว่าบางครั้งอาจไม่มีภาพเครื่องบินให้เห็นในช็อตที่สอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่จําเป็นต้องมีเสียงต่อเน่ืองในช็อตต่อไป นอกจากน้ี ช็อตท่ีอยู่ในฉากเดียวกันและเวลาเดียวกันจะมีเสียงปูพื้น (Background sound) ที่เหมือนกัน เรียกว่า background ambience, atmosphereหรือเรยี กยอ่ ๆ วา่ atmos ซงึ่ ต้องมคี วามต่อเนื่อง 3.2.3 การตัดภาพ (The Cut) การตัดเป็นวิธีการเชื่อมต่อภาพท่ีธรรมดาท่ีสุดที่ใช้กัน เป็นการเปลี่ยนในพริบตาเดียวจากช็อตหน่ึงไปอีกช็อตหน่ึง ถ้าหากทําอย่างถูกต้องมันจะไม่เป็นท่ีสังเกตเห็น ในบรรดาวิธีการเช่ือมภาพ 3 แบบการตัดเป็นส่งิ ทีผ่ ชู้ มยอมรับวา่ เปน็ รูปแบบของภาพที่เปน็ จริง การตัดใชใ้ นกรณที ่ี - เปน็ การกระทําที่ต่อเน่ือง - ตอ้ งการเปลย่ี นจุดสนใจ - มกี ารเปล่ียนแปลงของข้อมูลหรือสถานที่เกิดเหตุ การตัดภาพทด่ี มี าจากความรู้เบื้องตน้ 6 ประการ 1. แรงจูงใจ (Motivaation) ควรมีเหตุผลในการตัด ยิ่งคนตัดมีทักษะมาก ก็ย่ิงง่ายท่ีจะหาหรือสร้างแรงจูงใจสําหรับการตัด เน่ืองจากมีพัฒนาการที่มากข้ึน ในการรับรู้ว่าจุดไหนการตัดต่อควรจะเกิดขึ้น จึงกลายเป็นการเข้าใจได้ง่ายกว่า การตัดก่อนเกิดแรงจูงใจหรือการตัดล่วงหน้า (early cut) นั้นไดผ้ ลอย่างไร การตัดหลังแรงจูงใจ เรียกว่า การตัดช้า (late cut) ความคาดหวังของผู้ชม สามารถมาหลังหรือมาก่อนได้ ข้นึ อยกู่ บั วา่ ผู้ตัดจะใช้วิธกี ารตดั ล่วงหนา้ หรอื การตัดชา้ 2. ข้อมลู (Information) ภาพใหม่ควรมีขอ้ มลู ใหมเ่ สมอ 3. องคป์ ระกอบภาพ (Composition) แต่ละช็อตควรจะมีองคป์ ระกอบภาพหรือกรอบภาพท่มี ีเหตุผล 4. เสียง (Sound) ควรจะมรี ปู แบบของเสียงที่ต่อเนื่องหรือพัฒนาการของเสยี ง 5. มมุ กลอ้ ง (Camera angle) ช็อตใหมแ่ ต่ละช็อต ควรมมี ุมกล้องท่แี ตกต่างจากช็อตเดิม 6. ความต่อเน่ือง (Continuity) การเคล่ือนไหวหรือการกระทํา ควรชัดเจนและเหมือนกันในช็อต2 ชอ็ ต ทจี่ ะตัดเข้าด้วยกัน
22 ขอ้ พิจารณาท่วั ไป เม่ือการตัดกลายเป็นสิ่งท่ีสังเกตได้หรือสะดุด มันเรียกว่า การตัดกระโดด (Jump Cut) การตัดแบบกระโดดมีบทบาทเป็นเหมือนการพักในการเชื่อมจากช็อตหน่ึงไปยังช็อตต่อไป หากเป็นมือใหม่ควรพยายามทําแบบตัดแบบต่อเนื่อง (clear cut) เสมอ และถือว่าตัดกระโดดเป็นการตัดที่ไม่น่าพึงพอใจจนกวา่ จะรวู้ ่าจะใช้มันอยา่ งไรท่ีดที สี่ ดุ แล้ว การตัดแต่ละครั้งควรจะประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นท้ัง 6 ส่วนแต่ไม่ต้องทุกครั้งที่ตัด ข้อแนะนํา คือ พยายามให้มีมากท่ีสุดเท่าท่ีจะทําได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการตัดต่อผู้ตัดควรรู้จักความรู้เบื้องต้นนี้อย่างลึกซ้ึง ดังน้ันเวลาดูฟุตเทจ (footage) ก็ควรจะตรวจสอบด้วยความรูเ้ บอื้ งต้น 6 ประการน้ีเท่าทจี่ ะทําไดท้ กุ ครงั้ 3.2.4 การผสมภาพ (The Mix) การผสมภาพรู้จักกันในชื่อของการเลือนภาพ (The Dissolve) การเลือนทับ (The Lap Dissolve)หรือการเกยทับ (The Lap) นี่เป็นวิธีการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปมากเป็นลําดับที่ 2 ทําได้โดยการนําช็อตมาเลือนทับกัน ดังนั้นตอนใกล้จบของช็อตหนึ่งจะเร่ิมจากค่อย ๆ เห็นภาพเดน่ ข้ึนมา เมื่อช็อตเก่าจางหายไป ช็อตใหม่ก็จะเข้มขึน้ การเชื่อมแบบนเ้ี ห็นไดช้ ัดมาก จุดกึ่งกลางของการผสม คือ เม่ือภาพแต่ละภาพเข้มเท่า ๆ กัน เป็นการสร้างภาพใหม่ การผสมตอ้ งใชด้ ว้ ยความระมดั ระวงั เป็นอย่างมากในประเดน็ ตอ่ ไปน้ี - เมอ่ื มกี ารเปลย่ี นแปลงทนั เวลา - เมอ่ื ต้องการให้เวลายดื ออกไป - เมือ่ มกี ารเปล่ียนแปลงสถานท่ี - เม่อื มคี วามสัมพันธข์ องภาพท่ชี ดั เจน ระหว่างภาพท่ีกําลังจะออกและภาพท่กี ําลังจะเขา้ ความรู้เบอ้ื งตน้ 6 ประการในการผสมภาพ 1. แรงจงู ใจ (Motivation) ตอ้ งมเี หตุผลในการผสมภาพเสมอ 2. ขอ้ มูล (Information) ภาพใหม่ควรมขี ้อมลู ใหมเ่ สมอ 3. องค์ประกอบภาพ (Composition) ช็อต 2 ช็อตที่ผสมเข้าด้วยกัน ควรมีองค์ประกอบภาพทเ่ี กยทบั กันไดง้ ่ายและหลกี เลีย่ งภาพท่จี ะขัดกนั 4. เสยี ง (Sound) เสยี งของท้ัง 2 ช็อต ควรจะผสานเข้าดว้ ยกัน 5. มุมกล้อง (Camera angle) ชอ็ ตท่ผี สมกนั ควรมมี ุมกลอ้ งทต่ี ่างกัน 6. เวลา (Time) การผสมภาพ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาทีและมากท่ีสุด 3 วินาทีควรจัดทําด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทําให้การผสมภาพแบบเร็วมากและแบบช้ามาก หรือการผสมภาพ 4 เฟรมจะสามารถทําไดโ้ ดยง่ายหรอื สามารถผสมภาพไดน้ านเทา่ ความยาวของช็อตเลยทีเดียว หาก mix หรือ
23dissolve นานไปหรือส้ันไป (20 เฟรมหรือน้อยกว่า) ก็ไม่ดี เพื่อให้การผสมภาพได้ผลควรใช้เวลาอย่างน้อย1 วนิ าที หากการผสมภาพยดื ออกไป จะยง่ิ ทําใหค้ นดสู บั สนมากข้นึ 3.2.5 การเลือนภาพ (The Fade) การเลอื นภาพ เปน็ การเชื่อมต่อภาพท่ีค่อยเป็นค่อยไปจากภาพใดภาพหนึง่ ไปยังฉากดาํ สนทิหรือขาวทงั้ หมด หรือจากจอดําหรือขาวไปยังภาพใดภาพหน่งึ การเลอื นภาพ มี 2 ลกั ษณะ 1. การเลือนภาพออก (fade out) เป็นการเชือ่ มของภาพจากภาพขาวไปจอดํา 2. การเลือนภาพเข้า (fade in) หรือเลือนขึน้ (fade up)เป็นการเช่ือมภาพจากจอดําไปยังภาพ การเลอื นภาพออกและเลอื นภาพเขา้ มักจะตัดไปดว้ ยกันที่สดี าํ 100% หายากท่จี ะเปน็ สีขาว100% จะใช้ตอนจบฉากหน่ึงและเริ่มฉากใหม่ และยงั ใช้เพื่อแยกเวลาและสถานท่ีด้วย ความรู้เบอ้ื งต้น 3 ประการของการเลือนภาพ การเลือนภาพต้องการองค์ความรู้ 3 ประการ จากความรูเ้ บื้องตน้ 6 ประการ ได้แก่ 1. แรงจูงใจ (Motivation) ควรมเี หตผุ ลท่ีดีในการเลอื นภาพเสมอ 2. องค์ประกอบภาพ (Composition) ท่ีควรเป็นคือการวางองค์ประกอบของช็อตให้เป็นไปตามลักษณะการเช่ือมภาพไป ฉากดํา คือ ค่อย ๆ ดําทั้งภาพ น่ันหมายความว่าไม่ต่างกันมากระหว่างส่วนต่างทีส่ ดุ ของภาพและสว่ นมดื ทส่ี ุด 3. ความรูเ้ ร่อื งเสยี งของภาพ (Sound) ควรใกล้เคยี งกับบางรปู แบบของจดุ สําคัญ (Climax) หรอื ตอนจบสําหรบั การเลือนภาพออกและตรงขา้ มสําหรับเลือนภาพเข้า 3.2.6 ประเภทของการตัดต่อ การตดั ต่อมี 5 ประเภท ดังนี้ 1. ตดั ต่อการกระทาํ (Action edit) 2. ตัดตอ่ ตําแหน่งจอ (Screen position edit) 3. ตัดต่อรูปแบบ (Form edit) 4. ตดั ตอ่ ท่มี เี ร่ืองราว (Concept edit) 5. ตัดตอ่ แบบผนวก (Combined edit) สงิ่ สาํ คัญสําหรับผ้ตู ดั คอื จะตอ้ งจาํ ชนดิ ทั้งหมดของการตัดต่อและรู้ว่าจะต้องทําอย่างไร คนตัดต่อตอ้ งสามารถแยกแยะแตล่ ะองคค์ วามรู้ที่ตอ้ งการใชใ้ นการตัดตอ่
24 1. การตัดตอ่ การกระทํา (The action edit) บางครั้งเรียกการตัดต่อความเคล่ือนไหวหรือการตัดต่อความตอ่ เน่ือง เกอื บจะใกลเ้ คียงกับการตัด การชนภาพ เป็นการให้สัญญาณหรือเคลื่อนไหวท่งี า่ ยทส่ี ดุ เชน่ การยกหูโทรศัพท์ เปน็ ตน้ การตัดต่อการกระทํา ต้องมีความรู้เบื้องต้น 6 ประการ หรือเกือบครบ 6 ประการ คือ แรงจูงใจข้อมูล องค์ประกอบของช็อต เสียง มุมกล้องใหม่ และความต่อเน่ือง เช่น ผู้ชายคนหน่ึงกําลังนั่งอยู่ที่โต๊ะเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เขายกหูโทรศัพท์ข้ึนแล้วพูดตอบโต้ พิจารณาจาก 2 ช็อต และช้ีแจงตามความรู้6 ประการ 1. แรงจูงใจ (Motivation) เม่ือโทรศัพท์ดังขึ้น เรารู้ว่าผู้ชายคนน้ันจะหยิบหูโทรศัพท์และพูดตอบโตน้ ่าจะเป็นแรงจงู ใจท่ีดที จี่ ะทําการตัดตอ่ 2. ข้อมูล (Information) ใน LS (Long Short) เราสามารถเห็นว่าในสํานักงาน ผู้ชายคนนั้นน่ังอย่างไรและทําอย่างไร MCU เกี่ยวกับชายคนน้ัน ซึ่งตอนนี้เราจะสามารถเห็นในรายละเอียดมากขึ้นว่าผู้ชายคนน้ันหน้าตาท่าทางเป็นอย่างไรท่ีสําคัญย่ิงไปกว่าน้ัน ปฏิกิริยาของผู้ชายคนน้ันต่อเสียงโทรศัพท์ที่ดงั ขน้ึ ใน MCU เราสามารถเหน็ ภาษาท่าทางบางอย่าง ดังนน้ั MCU บอกขอ้ มลู แกเ่ รา 3. องค์ประกอบของช็อต Shot composition ใน LS (Long Short) เป็นการสร้างเรื่องท่ีมีเหตุมีผล แม้แต่ให้มีต้นไม้เป็นฉากหน้า ซ่ึงมันบอกลักษณะความคิดท่ัวไปของสํานักงานและผู้ชายถูกเสนออยา่ งชดั เจนว่ากําลังทํางานอยู่ท่ีโต๊ะของเขา MCU จะให้ความสมดุลเรื่องช่องว่างบนศีรษะ ว่าถูกต้องดี แม้ว่าคนตัดที่มีประสบการณ์อาจแย้งว่าน่าจะขยับจอไปทางขวาอีก เพื่อยอมให้มีพ้ืนท่ีแก่โทรศัพท์เคล่อื นไหวบา้ ง แต่ในเร่ืององค์ประกอบของชอ็ ตก็เปน็ ทีย่ อมรบั ได้ 4. เสียง (Sound) ควรมีเสียงหรือบรรยากาศของฉากหลังเหมือนกันในทั้ง 2 ช็อต ซ่ึงบรรยากาศเปน็ เสียงการจราจรอันวุ่นวายข้างนอกเบา ๆ หรือเสียงภายในสํานักงาน ควรจะให้เสียงมีความต่อเน่ืองกันทงั้ 2 ช็อต 5. มุมกล้อง (Camera angle) ใน Long Short มุมกล้อง ควรอยู่ 45 องศา เกือบจะอยู่ด้านข้างใน MCU มมุ กลอ้ ง อยตู่ รงหน้าบคุ คลโดยตรง มุมกลอ้ งท้งั 2 มีความแตกตา่ งกนั 6. ความต่อเน่ือง (Continuity) จาก Long Short การเคล่ือนไหวของแขนคนกําลังยกหูโทรศัพท์ควรต่อเน่อื งมายงั MCU คอื ใชแ้ ขนข้างเดยี วกนั ยกหโู ทรศพั ท์ หากการตัดต่อมีองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ประการนี้จะมีความเนียน ไม่สะดุด และภาพเรื่องราวกจ็ ะไหลลืน่ ไปโดยไม่หยุด 2. การตัดต่อตําแหน่งภาพ (The screen position edit) การตัดต่อชนิดน้ี บางครั้งเรียกว่าการตัดต่อทิศทาง (A directional edit) หรือการตัดต่อสถานที่ (A placement edit) อาจเป็น การตัดชนภาพ(Cut) หรือการผสม (Mix) แต่มักจะเป็นการตัดชน หากว่าไม่มีการเปลี่ยนเวลา การตัดแบบน้ี มักจะมี
25การวางแผนไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนถ่ายทํา หรือช่วงระหว่างการถ่ายทํา ข้ึนอยู่กับการกระทําของช็อตแรกที่บังคบั หรอื กาํ กบั ให้สายตาของคนดูไปยงั ตาํ แหน่งใหม่บนจอ ตัวอยา่ ง นักเดินทาง 2 คน หยุดเดินเมื่อพวกเขาเห็นและช้ีรอยเท้าของคนที่พวกเขากําลังตามหาทั้ง 2 ช็อตนี้จะตัดชนภาพเขา้ ด้วยกัน มมุ กล้องต่างกันและมคี วามตอ่ เน่ืองของเท้าหรือขาท่ีเคลื่อนไหว มีข้อมูลใหม่และมีความต่อเน่ืองของเสียง มีแรงจูงใจ คือ พวกเขากําลังชี้ลงไปอย่างจริงจัง และองค์ประกอบของช็อตก็ใช้ได้ผล การตัดต่อ ประกอบด้วยความรู้เบื้องต้น 6 ประการ เป็นการตัดที่ได้ผล และภาพของการดําเนินเรื่องไม่ถูกขัดจังหวะ 3. การตัดต่อรูปแบบ (The Form Edit) เป็นการอธิบายทดี่ ีที่สุดของการเชื่อมจากช็อตหนึ่งซึ่งมีการแสดงรูป, สี, มิติหรือเสียงไปยังอีกช็อตหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงรูปทรง สี มิติ หรือเสียงที่สัมพันธ์กันหากมีเสียงเปน็ แรงจงู ใจ การตัดต่อรปู แบบ สามารถเปน็ การตัดชนได้ แตส่ ่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผสมหลกั การน้เี ปน็ จรงิ เมอ่ื มกี ารเปลย่ี นแปลงสถานที่ และ/หรือบางคร้ังเมอ่ื เวลาเปลี่ยน ตวั อยา่ ง ในหอ้ งทรี่ อ้ นอบอ้าวบรรดาฑูต นักหนังสือพิมพ์กําลังรอคอยการปล่อยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อท่ีจะพาพวกเขาให้เป็นอสิ ระ บนฝา้ เพดานมีพัดลมเพดานหมุน เฮลคิ อปเตอรก์ าํ ลังมาถึง การตัดต่อสามารถทําได้ท้ังตัดชนหรือผสม การผสมภาพจะชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในเวลาท่ียิ่งใหญ่ รูปแบบ อาจเป็นการหมุนของพัดลม ซ่ึงสัมพันธ์กับรูปแบบการหมุนของใบพัดเฮลิคอปเตอร์เสยี งอาจเกยทบั กนั เพ่ือสรา้ งความเขา้ ใจล่วงหนา้ หรือทีหลงั 4. การตดั ตอ่ ท่มี เี รื่องราว (The Concept Edit) บางครงั้ เรียกการตัดต่อที่เคล่ือนไหว หรือการตัดต่อความคิด เป็นการเสนอความคิดที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ เพราะว่า 2 ช็อตท่ีถูกเลือกและจุดที่ทําการตดั ต่อ การตัดต่อเร่อื งราวนี้เป็นการปูเร่ืองในความคดิ เรา การตัดตอ่ ทีม่ ีเรื่องราว สามารถครอบคลุมถึงการเปลี่ยนสถานท่ี เวลา ผู้คน และบางครั้งก็เป็นตัวเร่ืองมนั สามารถทาํ ไดโ้ ดยไม่มกี ารสะดุดของภาพ ถา้ เปน็ การตัดต่อที่มีเรื่องราวที่ดี มันสามารถบอกอารมณ์เปน็ อารมณด์ ราม่าและสรา้ งความลึกซ้ึง แต่ทํายาก ถ้าไม่ได้วางแผนเป็นอย่างดีแล้ว ความไหลล่ืนของข้อมลู ภาพ อาจชะงักงัน 5. การตัดต่อแบบผนวก (The combined edit) เป็นการตัดต่อที่ยากที่สุดแต่มีพลังมากที่สุดการตดั แบบผนวกนี้เป็นการรวมการตัดตอ่ 2 แบบหรอื มากกว่าน้ันจากการตัดต่อท้ัง 4 แบบที่กล่าวมาเพ่ือให้การตัดแบบผนวกได้ผลดี ผู้ตัดจําเป็นต้องจําท้ังเสียงและภาพที่ใช้ในแต่ละช็อต ดังน้ันการตัดแบบนี้ควรได้รับการวางแผนเป็นอย่างดีทั้งก่อนการถ่ายทําและขณะถ่ายทํา หลักการของการตัดต่อโดยทวั่ ไป คือ
26 1. เสยี งและภาพนัน้ คือสว่ นที่เสริมซึง่ กันและกนั 2. ภาพใหม่ควรให้ข้อมูลใหม่ 3. ควรมีเหตุผลสําหรับทุกภาพที่ตัด 4. ใหร้ ะวงั เร่ือง “การข้ามเส้น” 5. เลือกแบบการตดั ทีเ่ หมาะสมกบั เร่ือง 6. ย่ิงตัดต่อดี ย่ิงดลู ื่นไหล 7. การตดั คือการสรา้ งสรรค์ข้นึ มาใหม่4. พระราชบัญญตั วิ า่ ด้วยการกระทาํ ความผิดเกยี่ วกบั คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา้ ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทําความผิดเก่ียวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติข้ึนไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดงั ต่อไปน้ี มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเก่ียวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเม่ือพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่าอปุ กรณห์ รือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ท่ีเชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนดคําส่ัง ชุดคําส่ังหรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทําหน้าท่ีประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คําส่ัง ชุดคําสั่ง หรือส่ิงอื่นใดบรรดาท่ีอยู่ในระบบคอมพิวเตอรใ์ นสภาพทร่ี ะบบคอมพวิ เตอร์อาจประมวลผลได้ และใหห้ มายความรวมถึงขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อส่ือสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลาวันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อส่ือสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผูใ้ ห้บริการ” หมายความวา่ (1) ผใู้ ห้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพ่ือประโยชน์ของบุคคลอื่น “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งต้ังให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติน้ี “รัฐมนตรี”หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติน้ี มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สารรักษาการตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ และใหม้ อี ํานาจออกกฎกระทรวง เพ่ือปฏิบัติการ
27ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ กฎกระทรวงน้นั เมื่อไดป้ ระกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 5ผู้ใดเข้าถงึ โดยมชิ อบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกนั การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหน่ึงหม่ืนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อ่ืนจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านาํ มาตรการดงั กล่าวไปเปดิ เผยโดยมิชอบ ในประการทน่ี ่าจะเกดิ ความเสยี หายแก่ผอู้ น่ื ต้องระวางโทษจําคุกไมเ่ กนิ หนึ่งปี หรอื ปรบั ไมเ่ กนิ สองหมื่นบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซ่ึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ท่ีมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินส่ีหมื่นบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ มาตรา 8 ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซ่ึงข้อมูล คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นท่ีอยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลท่ัวไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําท้ังปรับ มาตรา 9ผใู้ ดทาํ ใหเ้ สียหาย ทําลาย แก้ไข เปล่ียนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าท้ังหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือท้ังจําทั้งปรับมาตรา 10 ผใู้ ดกระทําด้วยประการใดโดยมชิ อบ เพ่ือให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือท้ังจําท้ังปรับ มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอ่ืนโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอ่ืน โดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา 12 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (2) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่ียวกับการรักษาความม่ันคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภยั สาธารณะ ความม่ันคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอรห์ รือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพ่ือประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคกุ ต้ังแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตาม(2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกต้ังแต่สิบปีถึงยี่สิบปี มาตรา 13 ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําส่ังที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดตามมาตรา 5มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจํา ท้ังปรับ (1) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอรซ์ ง่ึ ขอ้ มูลคอมพวิ เตอรป์ ลอมไม่ว่าทง้ั หมดหรอื บางสว่ น หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
28 โดยประการทนี่ ่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อ่ืนหรือประชาชน (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซ่ึงข้อมูล คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความม่ันคงของประเทศหรือ ก่อให้เกิดความต่ืนตระหนกแก่ประชาชน (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซ่ึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเก่ียวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญา (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซ่ึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ ข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนท่ัวไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้ อยแู่ ล้ววา่ เป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทําความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ ท่ีอยู่ในความควบคุมของ ตน ต้องระวางโทษเช่นเดียว กับผู้กระทําความผิดตามมาตรา 14 มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอรท์ ี่ประชาชนทัว่ ไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมลู คอมพิวเตอรท์ ่ีปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพน้ัน เป็นภาพทีเ่ กดิ จากการสรา้ งขน้ึ ตดั ตอ่ เติม หรือดัดแปลงดว้ ยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทงั้ นี้ โดยประการท่ีน่าจะทําให้ผู้อ่ืนนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้อง ระวางโทษจาํ คุกไม่เกนิ สามปี หรือปรับไม่เกินหกหม่ืนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าการกระทําตามวรรค หนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูล คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหน่ึงเป็น ความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหน่ึงตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย มาตรา 17 ผู้ใดกระทําความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (1) ผู้กระทําความผิดน้ันเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่ง ประเทศท่ีความผิดได้เกิดข้ึนหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคน ต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษ ภายในราชอาณาจกั ร5. งานวิจัยทเี่ กี่ยวข้อง 5.1 งานวจิ ัยเก่ียวกับการประเมินโครงการ พุทธ มงคล (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทําการสํารวจความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนาครูเก่ียวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพ่ือการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่า มีความคิดเห็นด้านผลการดําเนินงาน ความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมปัจจัยการดําเนินงานโครงการ ความมีคุณภาพของผลผลิต ความมีประสิทธิภาพของกระบวนการดําเนินงานอยู่ในระดับดีมาก และการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้เข้ารับการอบรมนกั เรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศกึ ษา ท่ีมตี อ่ ผลการดําเนินงานตามโครงการพัฒนาครูเก่ียวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพ่ือการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า
29การดําเนินงานโครงการน้ีมีความเหมาะสมที่สุด รองลงมาคือผู้ปกครอง ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพ่ิมเติมว่า ควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดห้องศูนย์ส่ือและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดเก็บ การให้บริการอย่างเป็นระบบมีการพัฒนาครูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพ่ือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นพบแนวทางในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ พัฒนาเป็นนวตั กรรมเพอ่ื การเรียนรู้ จัดให้มีการศึกษาดูงานในการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาในระดับภาคหรือระดับประเทศ ให้มีการจัดสรรงบประมาณเพ่ือสนับสนุนด้านปัจจัยการดําเนินงานโครงการอย่างตอ่ เนื่อง มกี ารนิเทศ กํากับ ติดตาม จากระดับกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา และระดับเขตพื้นท่ีการศึกษาอย่างทั่วถึง และควรมีการประกวดศูนย์สื่อนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียน ในระดับกลมุ่ พัฒนาคณุ ภาพการศึกษา และระดับเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษา ทกุ ปีการศึกษา นิคม สรวญรัมย์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ทําการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรตามมาตรฐาน วิชาชีพทางการศึกษา (การผลิตส่ือการเรียนรู้ต้นแบบตามหลักสูตรแกนกลาง 2551) หลังการดําเนินงาน พบว่า ด้านผลผลิต (product) มีผลการประเมินสูงกว่าด้านอื่น ด้านปัจจัย (Input) มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการดําเนินงาน (Process) มีผลการประเมินในระดับมาก และด้าน สภาวะแวดล้อม (context) มีผลการประเมนิ ในระดับมาก ผู้เข้ารับการอบรมได้ใหข้ อ้ เสนอแนะว่าการประเมิน โครงการควรมีการวางแผนที่ดี มีประสิทธิภาพ มีแผนงานท่ีดีต้ังแต่ต้น การปฏิบัติงานตามแผนย่อมมี ประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นการจัดทําปฏิทินปฏิบัติงานตามขั้นตอนโดยละเอียด การดําเนินงานตาม ปฏิทินปฏิบัติงานท่ีกําหนดทุกขั้นตอน และทุกกิจกรรม ทําให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ การนิเทศ ติดตามกํากับ และให้ขวัญกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสมํ่าเสมอ เป็นส่วนสําคัญท่ีช่วยให้การดําเนินงาน เปน็ ไปอย่างมปี ระสทิ ธิภาพ การผลิตสื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งท่ีมีความสําคัญซ่ึงจะส่งให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ดังน้ันผู้บริหารควรมีการส่งเสริมให้ครู/บุคลากรทางการศึกษาผลิต สื่อการเรียนการสอน และนําไปใช้จริงกับผู้เรียน การผลิตส่ือการเรียนการสอนควรมีความหลากหลาย ไม่ควรใช้ส่อื ชนิดเดียวกนั กับนักเรียนทุกกลุม่ ไม่ว่าท้ังกลุ่มเก่ง กลุ่มกลาง และกลมุ่ อ่อน วีรวุฒิ เกตุจํานง (2554 : บทคัดย่อ) ได้ทําการสํารวจความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมโครงการฝึกอบรมครู/บุคลากรเพื่อใช้และจัดทําส่ือเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา “การจัดทําเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8” พบวา่ ข้าราชการครู และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกดิ ทกั ษะเกีย่ วกบั การใช้และจัดทําสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดทําเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมMacromediaDreamweaver8 เพิ่มมากข้ึน ด้านหลักสูตรเน้ือหาการฝึกอบรม มีเน้ือหาค่อนข้างมาก ทําให้ระยะเวลาในการดําเนินโครงการไม่เพียงพอ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการในดา้ นต่าง ๆ พบว่า มคี วามพึงพอใจดา้ นสิง่ อาํ นวยความสะดวกและด้านภาพรวมของโครงการ อยู่ในระดบั มากที่สุดและผเู้ ขา้ ร่วมโครงการเสนอแนะวา่ ควรจัดอบรมเพมิ่ อีกครง้ั
30 5.2 งานวิจัยทเ่ี ก่ียวข้องกับการนําอนิ เทอร์เน็ตมาใชใ้ นการเรียนการสอน เบญจวรรณ สมพงษ์ (2548 : 1) การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ระหว่างวิธีสอนแบบบรรยาย กับวิธีสอนโดยใช้สื่อการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง เอกภพ กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ปีการศึกษา 2548 โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 เป็นกลุ่มควบคุมและนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 เป็นกลุ่มทดลองผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนหลังเรียนสงู กวา่ ก่อนเรยี นแสดงให้เห็นว่าเม่ือใช้สื่อการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ประกอบการเรียนการสอนมผี ลทาํ ให้นกั เรียนเรียนรู้ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถพฒั นาผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนสูงขึน้ อยา่ งเห็นไดช้ ัด พลู ศรี เวศย์อุฬาร (2543 : บทคดั ยอ่ ) ได้ศึกษาผลการเรียนผา่ นเครือขา่ ยอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 4 ปรากฏผลว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 โดยท่ีค่าประสิทธิภาพของส่ือคิดเป็นรอ้ ยละจากการทําแบบฝึกหัดระหว่างเรียนเป็น 86.96 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์คิดเป็นร้อยละจากการทําแบบทดสอบท้ายบทเรียนเป็น 87.11 ตามลําดับ จึงได้ค่าประสิทธิภาพเป็น86.96/87.11 ดงั นัน้ เว็บไซตด์ ังกล่าวจึงมีมาตรฐานเหมาะสมกับการเรียนเนอ้ื หานี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกแผนการเรียน ที่เรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าการเรียนปกติอยา่ งมนี ัยสาํ คัญทางสถติ ิทีร่ ะดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนผ่านเครือขา่ ยอนิ เทอรเ์ น็ตไม่แตกตา่ งกนั อย่างมนี ยั สําคัญทางสถติ ิ แวววลี สิริวรจรรยาดี (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เร่ืองการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Microsoft FrontPage 2003 พบว่า บทเรียนออนไลน์ที่สร้างข้ึน มีประสิทธิภาพ88.64% นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เร่ืองการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม MicrosoftFrontPage 2003 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดบั .01 นักเรียนมีความคิดเห็นท่ีดีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับเหน็ ด้วยมากถึงระดับเหน็ ดว้ ยอย่างย่ิงและมีความคิดเหน็ โดยเฉลย่ี อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก พาร์ริลล์ (Parrill, 1996 : 204 อ้างถึงใน สิริสุมาลย์ ชนะมา, 2548) ได้ทําการวิจัยในหัวข้อเรื่อง“Supplementing Traditional Chemical Education on The World Wide Web” โดยได้มีการสร้างส่ือเสริมสําหรับการเรียนวิชาเคมีผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบทเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของโมเลกุลที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สอนบรรยายและใช้เผยแพร่ทางเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) และยังเป็นการช่วยให้เกดิ ปฏสิ มั พนั ธแ์ ละการสอนเสริมกับผู้เรียน การสอนเสริมวิธีนี้ช่วยส่งเสริมความเข้าใจของ
31นักศกึ ษาด้วยการเรียนดว้ ยตนเอง และการลองผิดลองถกู นอกจากน้ี เวลิ ด์ไวด์เว็บยังเป็นประโยชน์ในด้านการเป็นห้องปฏิบัตกิ ารสําหรบั การทดลองทางเคมที ม่ี คี า่ ใช้จา่ ยต่าํ ชรีย์พร ภูมา (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาลักษณะความคาดหวังและความพึงพอใจ ในการใช้ประโยชน์เพ่ือพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพ่ือโรงเรียนไทย (School Net)ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความคาดหวังท้งั ในปจั จุบันและอนาคตด้านการศึกษาที่มีต่อโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพ่ือโรงเรียนไทยคือ ตอ้ งการให้มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทุกวิชา เพื่อให้ได้ข้อมูลท่ีกว้างขวางไดร้ ับรสู้ ่งิ ใหม่ ๆ ท่ยี ังไมร่ ใู้ นการเรียนรายวิชาต่าง ๆ มากท่ีสุด ทิภากร สาริกา (2546 : 1) การศกึ ษาเจตคตติ อ่ กิจกรรมการเรยี นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์เบ้ืองต้น พบว่า นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงกว่าเจตคติเฉลี่ยก่อนเรียน เมื่อพิจารณาเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละด้าน ทั้งด้านความคิดเห็นท่ัวไปต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการแสดงออกและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนร้แู ละด้านการเห็นความสําคัญและเห็นประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนรู้ คะแนนเฉลย่ี หลังเรียนสงู ข้นึ ในทุกด้าน รจุ โรจน์ แก้วอไุ ร (2543 : 43) ศึกษาเจตคตขิ องผเู้ รยี นท่ีมีต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอนิ เทอร์เน็ตของนิสิต นักศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าอินเทอร์เน็ตช่วยให้เรียนได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการเรียนตามปกติ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน สามารถเรียนโดยไม่ถูกจํากัดด้วยเวลาในการเรียนและสถานที่ รูปแบบการเรียนยดื หยนุ่ ตอบสนองต่อความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล ทาํ ใหผ้ ู้เรียนสามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเองที่แตกต่างกัน และทําให้รู้สึกไม่เครียด สามารถเตรียมเน้ือหาได้ล่วงหน้า ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้สะดวกขึ้นและผู้เรียนมีบุคลิกลักษณะรับผิดชอบ ต่อตนเองและการเรียนสงู ข้ึน และชอบการเรยี นวธิ ีนี้ กูลซัน ( Gulson, 2000 : 59) ได้ศึกษาหลักการต่างๆ ของเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากเวบ็ ไซด์เพอ่ื การศกึ ษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจํานวน 23 คน ที่เรียนวิชา นโยบายสิทธิมนุษยชนทมี่ หาวิทยาลยั รัฐมดิ เวสเทิอร์น (A Large Midwestern State University) แล้วเลือกนักเรียนขึ้นมาจํานวน6 คน เพื่อสมั ภาษณ์ ผ้วู จิ ัยได้ใชร้ ปู แบบการปรับปรุงการเรียนจากเว็บไซด์เพื่อการศึกษา เพ่ือทดสอบและเป็นกลยุทธ์ รวมทั้งเป็นกิจกรรมของการเรียนดังกล่าวซ่ึงรูปแบบดังกล่าว จะแบ่งนักเรียนตามคุณสมบัติออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีประสบการณ์การเรียนจากเว็บไซด์ เพ่ือการศกึ ษา และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 2) กลุ่มที่เคยมีกิจกรรมพบปะผ่านเครือข่าย 3) กลุ่มท่ีให้ความร่วมมือ ซึ่งมีความสะดวกต่อการใชเ้ ครือข่าย แบบสอบถามประกอบด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกต เพื่อประเมินเจตคติต่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนจากเว็บไซด์เพ่ือการศึกษา มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน นอกจากนผ้ี ู้เรยี นเหลา่ น้ี ยังชอบการถูกกําหนดมากกว่า เป็นฝ่ายกําหนดและชอบการเรียน
32รายบุคคลมากกว่าการเรียนเป็นชั้นเรียนและต้องการได้รับคําแนะนําก่อนการเรียน เช่น การจัดอบรมการเรียนจากเวบ็ ไซดเ์ ป็นสว่ นหนง่ึ ของหลกั สตู รการศกึ ษาระดบั อุดมศึกษา เปน็ ต้น โรนัลด์ (Ronald, 2001 : 356-360) ได้ทําการศึกษาการเรียนฟิสิกส์ด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเนอื้ หาเรอ่ื ง การเคลอื่ นทแ่ี บง่ เป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้ การเคลื่อนท่ี 1 มิติ การเคล่ือนท่ี 2 มิติ แรงท่ีกระทําต่ออนุภาคทหี่ ยดุ น่ิง และเวกเตอร์โดยการเร่ิมสงั่ การบา้ น เป็นพวกคําถาม แบบสอบถาม ให้นักเรียนในชั้นเรียน และให้นักเรียนทําการบ้าน และส่งทางอินเทอร์เน็ต พบว่านักเรียน 40-45 % ของนักเรียนท้ังชั้นให้ความร่วมมือ และเม่ือ ปลายปี 1999 ได้ทดลองสอนกับนักเรียนกลุ่มเล็กประมาณ 20 คนโดยใช้เวลาในห้องเรียนน้อยมาก เพ่ือเน้นเน้ือหาในส่วนท่ีสําคัญ และในปีต่อมา ได้ทดลองสอนนักเรียนประมาณ 100 คนโดยไม่ได้สอนในชั้นเรียนเลย และได้ประเมินการสอนโดยใช้เคร่ืองมือที่ใช้ในการประเมินเรื่องการเคลื่อนท่ีระดับชาติได้แก่ การทดสอบความเข้าใจ เกี่ยวกับการเคลื่อนท่ีและกราฟแรงและพ้นื ฐานทางกลศาสตร์ ผลการทดสอบพบวา่ นักเรียนท่ีเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคะแนนเฉล่ียสูงกว่าคะแนนเฉล่ียของนักเรียนท่ัวไป ซึ่งสรุปได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการเรียนของนักเรียนได้มากและนักเรยี นยงั สามารถที่จะเรยี นดว้ ยตนเอง นอกเวลาไดอ้ ีกดว้ ย วิลสันและอลัน (อ้างถึงใน สุกรี รอดโพธิ์ทอง, 2544.) ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการให้นักเรียนรายงานด้วยคอมพวิ เตอร์ในรายงานการประชุมท่ีสมาคมผู้ส่อื ข่าวการศกึ ษา รัฐเพนซิลวาเนียว่า มีความจําเป็นท่ีหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาจะต้องนําเสนอเรื่องราวเก่ียวกับคอมพิวเตอร์ให้นักศึกษารับรู้ว่า การที่พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนได้ จะเป็นการสอนให้พวกเขารู้จักพ้ืนฐานของการทําหนังสือพิมพ์คอมพิวเตอร์เป็นเคร่ืองมือสาํ คัญ และฝึกทกั ษะตา่ ง ๆ ได้ เช่น การแต่งเร่ือง รวมทง้ั เป็นข้อมูลพื้นฐานและอินเทอร์เน็ตสามารถชว่ ยไดใ้ นเรื่องการเสาะหาข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ของแตล่ ะคน สุชญา สังขจ์ รญู (2550 : บทคดั ย่อ) ผลของการเรยี นบทเรียนบนเวบ็ โดยใชบ้ ล็อกทม่ี ีตอ่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า1. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้บล็อกในการบันทึกการเรียนรู้ มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงขึ้น ดังนั้นจึงสามารถนําเว็บวิชาภาษาอังกฤษด้วยบล็อกนี้ไปเป็นแนวทางในการออกแบบ และประยุกต์ให้เข้ากับรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บในรายวิชาต่าง ๆ ได้ และควรคํานึงถึงการเลอื กใช้ประเภทของการบันทึกการเรียนรู้ใหเ้ หมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน 2. ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่านักเรียนที่เรียนบทเรียนบนเว็บโดยใช้บล็อกในการจดบันทึกการเรียนรู้ ประเภทบันทึกการเรียนรู้ จะมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงกว่าการบันทึกการเรียนรู้ประเภทส่วนบุคคล อย่างมีนัยสําคัญที่ระดบั .05 จากผลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดระบบการเรียนการสอนของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่าระบบการจดั การเรียนการสอนผา่ นอนิ เทอร์เนต็ ทาํ ให้ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นของนกั เรยี นสงู ขนึ้
33 บทที่ 3 วิธดี ําเนนิ การวิจัย การวจิ ยั ผลการอบรมจัดทาํ สือ่ การเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน คณะผวู้ ิจัยมวี ธิ ีการดําเนินการวิจัยดงั น้ี 1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง 2. เครื่องมือในการวจิ ัย 3. การสร้างและพฒั นาเคร่ืองมือในการวจิ ยั 4. การเก็บรวบรวมข้อมลู 5. การวเิ คราะหข์ ้อมลู และสถิตทิ ่ีใช้1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง 1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1.1 ประชากร คือ ครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานท่ีผ่านการอบรมจดั ทําสือ่ การเรยี นรู้ออนไลนผ์ า่ นเครอื ข่ายอนิ เทอร์เน็ต จาํ นวน 250 คน 1.1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่ผ่านการอบรมจัดทําส่อื การเรียนรอู้ อนไลน์ผา่ นเครือข่ายอนิ เทอรเ์ นต็ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple RandomSampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกําหนดขนาดของ เครจซ่ีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan,1970, p. 608) ได้จํานวน 152 คน2. เครือ่ งมอื ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคร้ังนี้ เป็นแบบสอบถามท่ีคณะผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น ลักษณะของแบบสอบถาม แบง่ ออกเปน็ 3 ตอน ประกอบดว้ ยเรื่อง “การศึกษาผลการดําเนนิ การอบรมจดั ทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน” คือ แบบสอบถามการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน มีลกั ษณะท่ใี ช้มาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ต (Likert’s Rating Scale) มี 5 ระดับจาํ นวน 28 ขอ้
34 เครอื่ งมือที่ใช้ในการวจิ ยั ครั้งน้ีเปน็ แบบสอบถามท่ีคณะผวู้ ิจยั สรา้ งและพฒั นาขึ้น ลกั ษณะของแบบสอบถาม แบ่งออกเปน็ 3 ตอน ประกอบดว้ ย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเก่ียวกับ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (check list) ตอนท่ี 2 เป็นแบบสอบถามเก่ียวกับความคิดเห็นท่ีมีต่อการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เนต็ มีลกั ษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ต (Likert’s Rating Scale)มี 5 ระดับ ประกอบด้วย 4 ด้าน ไดแ้ ก่ 1. ด้านการจัดกจิ กรรมการดาํ เนินงาน 2. ด้านเนื้อหาสาระในการอบรม 3. ด้านวสั ดุ อปุ กรณ์ และสถานท่ี 4. ดา้ นการนาํ ความรู้ไปใช้ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเก่ียวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการอบรมจดั ทําส่อื การเรียนรู้ออนไลนผ์ า่ นเครือขา่ ยอนิ เทอร์เนต็ มีลกั ษณะเปน็ แบบสอบถามปลายเปดิ3. การสร้างและพฒั นาเครื่องมอื ในการวิจัย การสรา้ งและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจยั เรื่องรายงานผลการดาํ เนนิ การอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครือขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ ของครสู ังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน มดี ังน้ี ศกึ ษาทฤษฎีการสร้างจากเอกสาร ตํารา กําหนดประเด็นทีต่ ้องการถาม ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชีย่ วชาญ หาคา่ ความเชอื่ มนั่ (Reliability) สร้างเป็นแบบสอบถามทีส่ มบูรณ์ ภาพท่ี 3 ข้นั ตอนการสร้างแบบสอบถามความคิดเหน็
35 รายละเอยี ดแตล่ ะข้ันตอนเป็น ดงั น้ี ข้ันท่ี 1 ศึกษาทฤษฎกี ารสรา้ งแบบสอบถามจากเอกสาร ตาํ ราทางวิชาการ ขั้นท่ี 2 กําหนดประเด็นที่ตอ้ งการถาม ร่างแบบสอบถาม ขัน้ ที่ 3 ตรวจสอบความตรงโดยผู้เช่ียวชาญ หาคุณภาพของแบบสอบถาม หาความตรง (Validity)โดยขอคาํ แนะนาํ และแก้ไขจากผู้เช่ียวชาญ 5 ท่านเพื่อหาค่าดรรชนีความสอดคล้องของข้อคําถามกับข้อความตามกรอบวัตถุประสงค์ (IOC : Index of Item–Objective Congruence) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพจิ ารณาขอ้ คาํ ถามในแบบสอบถามแตล่ ะขอ้ และผศู้ กึ ษาเลอื กขอ้ คําถามท่มี ีคา่ IOC ท่ีมากกวา่ 0.60 ขึ้นไป ข้ันท่ี 4 หาความเชื่อมั่น (Reliability) ดําเนินการหาคุณภาพของเคร่ืองมือในกรณีน้ีได้นําไปทดลองใช้กับครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ท่ีผ่านการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 30 คน การหาคุณภาพแต่ละด้านดําเนินการหาความเช่ือม่ัน โดยใช้วิธีการของ Cronbach หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α – coefficient)ไดค้ า่ ความเชอื่ มน่ั เทา่ กบั 0.95 ขน้ั ที่ 5 สร้างเปน็ แบบสอบถามฉบบั สมบรู ณ์ จาํ นวน 28 ข้อเพื่อนําแบบสอบถามไปใช้กับครูสงั กดั สาํ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ขา่ ยอนิ เทอร์เนต็4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการนําแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีข้นั ตอน ดงั นี้ ขนั้ ที่ 1 นําแบบสอบถามมาสรา้ งเป็นแบบฟอรม์ ดว้ ย Google Doc ข้ันท่ี 2 ส่งแบบฟอร์มไปยังกลุ่มตัวอย่างทาง www.krutubechannel.com โดยกําหนดให้ตอบแบบสอบถามให้เสร็จสน้ิ ภายในวนั ที่ 17 มิถนุ ายน พ.ศ. 2554 ขั้นท่ี 3 รวบรวมขอ้ มูลท่ีกลุ่มตวั อย่างตอบแบบสอบถามจัดใหอ้ ยู่ในรูปแบบของตาราง ขั้นที่ 4 นําข้อมูลมาดาํ เนนิ การแปลผลด้วยโปรแกรม Excel5. การวิเคราะห์ข้อมลู เกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยให้นํ้าหนักคะแนนดังน้ี
36 5 หมายถึง เหน็ ด้วยมากทีส่ ุด 4 หมายถงึ เห็นด้วยมาก 3 หมายถงึ เห็นด้วยปานกลาง 2 หมายถงึ เห็นด้วยน้อย 1 หมายถงึ เหน็ ด้วยนอ้ ยทสี่ ุด จากนั้นนาํ ข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) รายข้อและรายด้านแลว้ นาํ มาแปลความหมายตามเกณฑเ์ พื่อทาํ การประเมิน ดงั น้ี (บญุ ชม ศรสี ะอาด, 2545 : 100) ดงั นี้ ค่าเฉลีย่ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดบั ความคดิ เห็นมากท่ีสดุ คา่ เฉลย่ี 3.50 – 4.49 หมายถึง มรี ะดับความคิดเหน็ มาก คา่ เฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถงึ มีระดับความคิดเห็นปานกลาง ค่าเฉล่ีย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความคิดเหน็ น้อย คา่ เฉลยี่ 1.00 – 1.49 หมายถึง มรี ะดับความคดิ เหน็ น้อยที่สดุ การวิจัยครั้งน้ี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Excel สถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น2 สว่ น คือ 1. สถิติวเิ คราะหเ์ ชิงพรรณนา (Descriptive Method) โดยแบง่ ออกเปน็ 1.1 ข้อมูลท่ัวไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุราชการ วุฒิการศึกษาวิทยฐานะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอน ขนาดโรงเรียน และระบบอินเทอร์เน็ตที่โรงเรียนและข้อมูลความคิดเห็นเก่ียวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จํานวน ค่าร้อยละ และนําเสนอข้อมูลดว้ ยตารางแจกแจงความถ่ี 1.2 ขอ้ มลู ความคิดเห็นที่มีต่อการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสถิติท่ีใชใ้ นการวิเคราะหข์ อ้ มูล คือ การวเิ คราะหใ์ ชค้ า่ เฉลยี่ และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนําเสนอข้อมลู ดว้ ยตารางแจกแจงความถ่ี6. สถติ ทิ ่ีใช้ในการวิเคราะหข์ ้อมูล 1. สถติ พิ ้นื ฐาน 1.1 รอ้ ยละ 1.2 ค่าเฉลยี่ ( X )
37การหาคา่ เฉล่ยี ∑ fxสตู ร X = Nเม่อื X คอื คา่ เฉล่ยี ผลรวมท้ังหมดของคะแนน ∑ fx คือ จํานวนผูต้ อบแตล่ ะขอ้ คาํ ถาม จาํ นวนท้งั หมดของผูต้ อบแบบสอบถาม f คือ N คอื1.3 คา่ ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D.)การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูตร SD. = N ∑ fX 2 − (∑ fX ) 2 N (N − 1)เม่อื SD. คอื สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน∑ fX 2 คือ ผลรวมยกกาํ ลังสองของคะแนนทุกจาํ นวน(∑ fX )2 คือ ผลรวมของคะแนนทุกจํานวนยกกําลังสองN คือ จาํ นวนทั้งหมดของผ้ทู ีต่ อบแบบสอบถาม 2. สถติ ทิ ่ใี ช้ในการหาคณุ ภาพของเครื่องมือ 2.1 หาคา่ ความตรงเชงิ เน้ือหาด้วยวธิ ีการหาค่าความสอดคล้องของผเู้ ชีย่ วชาญ (IOC) 2.2 หาค่าความเชือ่ ม่นั ของแบบสอบถาม โดยใช้วธิ หี าสมั ประสทิ ธิ์แอลฟาของครอนบาค(Cronbach's alpha Coefficient)
38
39 บทท่ี 4ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล การศกึ ษาคร้งั นมี้ วี ตั ถุประสงค์ เพ่ือศึกษาผลการดําเนนิ การอบรมจดั ทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ ของครสู ังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน ด้านเนื้อหาสาระในการอบรม ด้านสถานท่ีและวัสดุอุปกรณ์ และด้านการนําความรู้ไปใช้รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ คณะผู้วิจัยได้ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลกับครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ที่ผ่านการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 152 คน ทําการเก็บข้อมูลในวันสุดท้ายของการอบรมคณะผวู้ ิจัยไดท้ ําการวเิ คราะห์ขอ้ มลู นําเสนอผลการวจิ ัยและแปลความหมายตามลําดับ ดังนี้ ตอนท่ี 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเก่ียวกับสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะหโ์ ดยหาคา่ ร้อยละ ตอนท่ี 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครือข่ายอนิ เทอร์เน็ต ของครสู งั กดั สาํ นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน ตอนท่ี 3 ปญั หา อปุ สรรค และข้อเสนอแนะตอนที่ 1 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู ทัว่ ไปเก่ียวกับสถานภาพสว่ นบคุ คลของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่ารอ้ ยละ ได้ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล ดงั ตารางที่ 1ตารางท่ี 1 แสดงจํานวนรอ้ ยละข้อมูลเก่ียวกบั สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม n = 152 สถานภาพ จาํ นวน รอ้ ยละเพศ 91 60 ชาย 61 40 หญงิอายุราชการ 48 32 ไม่เกิน 10 ปี 20 13 11 - 20 ปี 32 21 21 - 30 ปี 52 34 31 ปี ขึ้นไป
40 จํานวน n = 152 รอ้ ยละ สถานภาพวฒุ กิ ารศกึ ษา 75 49 75 49 ปรญิ ญาตรี 21 ปริญญาโท ปรญิ ญาเอก 68 45วิทยฐานะ 37 24 ไมม่ ี 46 30 ชาํ นาญการ 11 ชํานาญการพเิ ศษ -- เชย่ี วชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ 11 7กลุ่มสาระการเรียนรขู้ องครผู เู้ ข้ารับการอบรม 11 7 ภาษาไทย 11 7 สุขศึกษาและพลศึกษา 64 ภาษาต่างประเทศ 18 12 คณติ ศาสตร์ 43 วิทยาศาสตร์ 71 47 ศลิ ปะ 53 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 13 9 กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น 21 สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อื่นๆ 55 36ขนาดโรงเรยี น 33 22 เลก็ (นร.ตํ่ากว่า 360 คน) 20 13 กลาง ( 361 คน–ขึน้ ไป) 44 29 ใหญ่ (780 คน ข้นึ ไป) ใหญ่พิเศษ (มากกวา่ 1,080 คน)
41 สถานภาพ จํานวน n = 152ระบบอินเทอร์เนต็ ทีโ่ รงเรียน ร้อยละ ADSL 72 47 Lease Line 28 18 CAT 36 24 IP Star 85 Modem 11 อนื่ ๆ (ระบ)ุ ...................... 75 จากตารางท่ี 1 แสดงขอ้ มลู เกี่ยวกับสถานภาพส่วนบคุ คลของผูต้ อบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นพศชาย ร้อยละ 60 มีอายุราชการ 31 ปีขึ้นไป ร้อยละ 34 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทมีจํานวนเท่ากัน ร้อยละ 49 ไม่มีวิทยฐานะ ร้อยละ 45 สังกัดกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีร้อยละ 47 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (จาํ นวนนกั เรยี นต่าํ กว่า 360 คน) ร้อยละ 36 และโรงเรยี นใชอ้ ินเทอรเ์ น็ตระบบ ADSL ร้อยละ 47
42ตอนท่ี 2 ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู เกี่ยวกับความคิดเหน็ ของผู้เข้ารบั การอบรมท่ีมีตอ่ การอบรมจัดทําสือ่ การเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครอื ข่ายอินเทอร์เนต็ตารางที่ 2 ค่าเฉลย่ี และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับความคดิ เห็นของผูเ้ ข้ารบั การอบรม จัดทําส่อื การเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอนิ เทอร์เน็ตในภาพรวม ภาพรวม X S.D. ระดับ ความคดิ เหน็ขอ้ ท่ี รายการ 3.76 0.59 มาก1 ด้านการจดั กิจกรรมการดาํ เนินงาน2 ดา้ นเนอ้ื หาสาระในการอบรม 3.56 0.62 มาก3 ด้านวสั ดุ อปุ กรณ์และสถานที่4 ด้านการนําความรู้ไปใช้ 3.23 0.69 ปานกลาง รวม 3.84 0.55 มาก 3.59 0.48 มาก จากตารางท่ี 2 เม่ือพิจารณา ในภาพรวมของระดับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก X = 3.59 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบวา่ ทุกดา้ นมีระดับความคดิ เห็นอยใู่ นระดบั มาก ไดแ้ ก่ ด้านการนําความรู้ไปใช้ X = 3.84รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน X = 3.76 อันดับสาม ด้านเนื้อหาสาระในการอบรม X = 3.56ตามลําดับ ยกเวน้ ด้านวสั ดุ อุปกรณ์และสถานท่ี X = 3.23 มรี ะดบั ความคดิ เห็นปานกลาง
43ตารางท่ี 3 ค่าเฉลีย่ และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานของข้อมูลเก่ียวกับความคิดเห็นของผเู้ ข้ารับการอบรม ทม่ี ตี ่อการอบรมจัดทาํ ส่ือการเรยี นรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ข่ายอนิ เทอร์เนต็ด้านการจดั กิจกรรมการดาํ เนนิ งานข้อท่ี รายการ X S.D. ระดับ ความคิดเห็น 1. กจิ กรรมการประกาศรับสมัครครเู ขา้ รับการอบรม 3.94 2. กิจกรรมการอบรม 3.72 0.78 มาก 3. กจิ กรรมระหวา่ งอบรม 3.86 4. กิจกรรมรวบรวมสื่อการเรยี นรู้ออนไลน์ 3.63 0.78 มาก ผ่านเครือขา่ ยอินเทอรเ์ น็ต 3.62 0.72 มาก 5. กจิ กรรมการจัดประกวดส่อื การเรียนรูอ้ อนไลน์ 3.78 0.84 มาก ผ่านเครือขา่ ยอนิ เทอรเ์ นต็ 6. กจิ กรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 3.76 0.79 มาก สื่อการเรยี นรูอ้ อนไลน์ผา่ นเครือขา่ ยอินเทอร์เนต็ 0.71 มาก รวม 0.59 มาก จากตารางท่ี 3 คา่ เฉลย่ี และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก X = 3.76 เม่ือพิจารณารายข้อ พบว่าทุกหัวข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ข้อ 1. กิจกรรมการประกาศรับสมัครครูเข้ารับการอบรม มีระดับความคิดเห็นมากท่ีสุด X = 3.94 รองลงมา คือ ข้อ 3 กิจกรรมระหว่างการอบรมX =3.86 อับดับที่สาม คือ ข้อ 6 กิจกรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือขา่ ยอนิ เทอร์เน็ต X = 3.78 ตามลาํ ดบั
44ตารางท่ี 4 ค่าเฉลย่ี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมลู เกยี่ วกับความคิดเห็นของผ้เู ข้ารบั การอบรม ท่มี ีตอ่ การอบรมจดั ทาํ ส่ือการเรยี นร้อู อนไลนผ์ ่านเครอื ขา่ ยอินเทอร์เน็ตด้านเน้อื หาสาระในการอบรมขอ้ ท่ี รายการ X S.D. ระดับ ความคิดเห็น7 ความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง พระราชบญั ญตั วิ า่ ดว้ ย 4.01 0.69 มาก การกระทาํ ความผิดเก่ียวกบั คอมพิวเตอร์ พ.ศ.25508 ความรคู้ วามเข้าใจในประเภท และองค์ประกอบ 3.70 0.69 มาก ต่าง ๆ ของสื่อการเรยี นรู้ออนไลน์ 0.78 มาก9 ความรู้ความเขา้ ใจ เร่ือง รปู แบบการทําสือ่ การเรียนรู้ 3.68 0.77 มาก ออนไลน์ใหน้ า่ สนใจ 0.86 มาก10 ความรู้ความเข้าใจ เรอ่ื ง ความคิดสร้างสรรค์ในการ 3.64 1.01 ปานกลาง 0.91 ปานกลาง นําเสนอส่ือการเรยี นรอู้ อนไลน์ 0.86 ปานกลาง11 ความรู้ความเข้าใจ เร่อื ง เทคนคิ การทําส่ือการเรียนรู้ 3.65 0.84 ปานกลาง ออนไลน์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน 0.88 ปานกลาง12 ความรู้ความเข้าใจ เรอ่ื ง องค์ประกอบศลิ ป์ 3.05 0.62 มาก13 ความรู้ความเข้าใจเรอ่ื ง การจัดการกบั ภาพน่ิง 3.4114 ความรคู้ วามเข้าใจเรือ่ ง การตัดตอ่ VDO และการ 3.46 บันทกึ เสยี ง15 ความรคู้ วามเข้าใจ เรื่อง การผลติ ส่ือการเรยี นรู้ 3.49 ออนไลน์ ความยาวไมเ่ กิน 5 นาที16 ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การแปลงไฟล์งานและ 3.47 อัปโหลด ขึน้ เวบ็ ไซต์ youtube.com รวม 3.56
45 จากตารางท่ี 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเก่ียวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมท่ีมีต่อการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้านเนื้อหาสาระในการอบรม ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก X = 3.56 เม่ือพิจารณารายข้อ 7 ความรู้ความเขา้ ใจใน เร่ือง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเก่ียวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 X = 4.01ข้อ 8 ความร้คู วามเขา้ ใจในประเภท และองค์ประกอบต่าง ๆ ของส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ X = 3.70และขอ้ 9 ความร้คู วามเขา้ ใจ เร่อื ง รูปแบบการทําสอื่ การเรยี นรอู้ อนไลน์ใหน้ า่ สนใจ X = 3.68 ตามลําดับและมรี ะดบั ความคิดเหน็ อยู่ในระดบั ปานกลาง ไดแ้ ก่ ข้อ 15. ความรู้ความเข้าใจ เร่ือง การผลิตส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที X = 3.49 รองลงมา คือ ข้อ 16 ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การแปลงไฟล์งานและอัปโหลด ข้ึนเว็บไซต์ youtube.com X =3.47 อับดับท่ีสาม คือ ข้อ 14 ความรู้ความเข้าใจเรือ่ ง การตดั ตอ่ VDO และการบันทกึ เสียง X = 3.46 ตามลาํ ดบัตารางที่ 5 ค่าเฉลยี่ และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานของข้อมูลเก่ยี วกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม ท่ีมีตอ่ การอบรมจัดทําส่อื การเรียนรอู้ อนไลนผ์ า่ นเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ดา้ นวัสดุ อปุ กรณ์ และสถานท่ีขอ้ ท่ี รายการ X S.D. ระดบั ความคิดเหน็17 ประสิทธภิ าพของเครอ่ื งคอมพวิ เตอรท์ ่ีใชใ้ นการอบรม 3.74 0.73 มาก18 ประสทิ ธภิ าพ ของอุปกรณ์ กลอ้ งถา่ ยรูป/กล้อง 3.62 0.77 มากวดี ิโอทใ่ี ชใ้ นการอบรม19 ความเรว็ ของการดาวนโ์ หลดจากระบบอนิ เทอรเ์ นต็ 2.83 1.11 ปานกลางในการสืบคน้ และรวบรวมข้อมูล VDO CLIP20 ความเร็วของระบบอินเทอร์เน็ตในการอัปโหลด 2.73 1.09 ปานกลางVDO CLIP21 ความเหมาะสมของสถานทท่ี ี่พกั และใช้ในการ 3.14 1.09 ปานกลางจัดการอบรม22 อาหารและเครื่องด่ืม ระหว่างการอบรม 3.33 0.98 ปานกลาง 0.69 ปานกลางรวม 3.23
46 จากตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานของข้อมูลเก่ียวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมทีม่ ตี ่อการอบรมจัดทําสอ่ื การเรยี นร้อู อนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานท่ีในการอบรม ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง X = 3.23 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกหัวข้อมรี ะดบั ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ข้อ 22. อาหารและเครื่องด่ืม ระหว่างการอบรมX = 3.33 รองลงมา คือ ข้อ 21 ความเหมาะสมของสถานท่ีที่พักและใช้ในการจัดการอบรม X =3.14อับดับที่สาม คือ ข้อ 19 ความเร็วของการดาวน์โหลดจากระบบอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล VDO CLIP X = 2.83 ตามลําดับ ยกเว้น ข้อ 17 ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการอบรม X = 3.74 และข้อ 18 ประสิทธิภาพ ของอุปกรณ์ กล้องถ่ายรูป/กล้องวีดิโอท่ีใช้ในการอบรมX = 3.62 ทมี่ ีระดับความคิดเหน็ อยู่ในระดับมากตารางท่ี 6 คา่ เฉลีย่ และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐานของข้อมลู เก่ยี วกบั ความคิดเหน็ ของผู้เข้ารบั การอบรม จดั ทาํ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผา่ นเครือขา่ ยอินเทอร์เน็ตดา้ นการนําความรไู้ ปใช้ขอ้ ท่ี รายการ X S.D. ระดับ ความคดิ เห็น23 สามารถผลติ สื่อการเรยี นร้อู อนไลน์ผา่ นเครือข่าย 3.75 0.76 มาก อินเทอร์เนต็ ในรูปแบบ VDO CLIP ไดอ้ ยา่ งมี ประสทิ ธภิ าพ24 สามารถเชอ่ื มโยง/รวบรวม/ความรู้เกยี่ วกบั 3.86 0.67 มาก สอ่ื การเรยี นรู้ออนไลนผ์ า่ นเครอื ขา่ ยอนิ เทอร์เน็ตไปใช้ ในการการจดั การเรียนการสอนได้25 สามารถจดั การเรียนการสอนด้วยสือ่ การเรียนรู้ 3.80 0.72 มาก ออนไลน์ผา่ นเครือขา่ ยอินเทอร์เนต็ ในรูปแบบ VDO CLIP ได้26 สามารถนําเทคนิค วิธีการสอนรูปแบบ VDO CLIP 3.70 0.77 มาก ผา่ นเครอื ข่ายอนิ เทอรเ์ นต็ ไปขยายผลให้กบั ครูและ บุคลากรทางการศึกษาได้27 สามารถนําความรู้ทีไ่ ดจ้ ากการอบรมไปใชพ้ ัฒนา 4.04 0.64 มาก สื่อการเรียนรู้ออนไลนผ์ า่ นเครือขา่ ยอินเทอรเ์ น็ต ในรูปแบบ VDO CLIP และนาํ ไปใช้ประกอบ เพ่ือการเล่อื นวิทยฐานะได้28 สามารถเปน็ วิทยากรจดั การอบรมการผลิต 3.91 0.78 มาก 0.55 มาก ส่ือการเรยี นรอู้ อนไลน์ผ่านเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ ในรปู แบบ VDO CLIP ได้ รวม 3.84
47 จากตารางที่ 6 ค่าเฉลยี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเก่ียวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมท่ีมีต่อการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้านการนําความรู้ไปใช้ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก X = 3.84 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความคิดเหน็ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ข้อ 27. สามารถนําความรู้ท่ีได้จากการอบรมไปใช้พัฒนาส่ือการเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครือข่ายอนิ เทอรเ์ น็ต ในรูปแบบ VDO CLIP และนําไปใช้ประกอบ เพื่อการเลื่อนวิทยฐานะได้X = 4.04 รองลงมา คือ ข้อ 28 สามารถเป็นวิทยากรจัดการอบรมการผลิตส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครอื ขา่ ยอนิ เทอรเ์ นต็ ในรปู แบบ VDO CLIP ได้ X =3.91 อบั ดบั ที่สาม คอื ขอ้ 24 สามารถเชื่อมโยง/รวบรวม/ความรู้เกย่ี วกบั ส่ือการเรียนรอู้ อนไลนผ์ า่ นเครอื ข่ายอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้X = 3.86 ตามลําดบัตอนท่ี 3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะตารางท่ี 7 คา่ รอ้ ยละของข้อมูลเกย่ี วกับความคิดเห็นของผ้เู ขา้ รับการอบรมจัดทําสอ่ื การเรียนรู้ ออนไลนผ์ า่ นเครือขา่ ยอนิ เทอรเ์ น็ตปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ n = 152 รายการ จํานวน ร้อยละ1. มคี วามสามารถด้านการรับรู้ / โปรแกรม / พนื้ ฐานดา้ น 98 64.47 คอมพวิ เตอร์ และการตัดต่อ แตกต่างกัน 83 54.612. ระยะเวลาในการอบรมไม่เพียงพอกับเน้ือหา 56 36.843. เวลาสําหรับฝึกปฏบิ ัตนิ ้อย ควรเพ่มิ ระยะเวลาในแตล่ ะหัวขอ้ 48 31.58 ให้มากกว่าน้ี 63 41.454. วิทยากรประจาํ กลุ่มไม่เพียงพอ5. ควรมกี ารพฒั นาต่อยอดดา้ นการจดั ทําสือ่ การเรยี นรู้ออนไลน์ อยา่ งต่อเน่ือง จากตารางท่ี 7 เมอื่ พิจารณาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีปัญหาด้านความสามารถด้านการรับรู้/โปรแกรม/พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ และการตัดต่อ แตกต่างกัน มากที่สุดรอ้ ยละ 64.47 รองลงมา ระยะเวลาในการอบรมไม่เพียงพอกับเน้ือหา ร้อยละ 54.61 ควรมีการพัฒนาต่อยอดด้านการจัดทาํ สอื่ การเรยี นรอู้ อนไลนอ์ ย่างตอ่ เน่อื ง ร้อยละ 41.45 ตามลําดับ
48
49 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ ในการวิจัยผลการอบรมจัดทําส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน คณะผวู้ ิจยั ไดส้ รปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ ดงั นี้1. สรุปผลการวิจยั ในการสรปุ ผลการศึกษา คณะผวู้ ิจัยไดก้ ลา่ วถงึ วตั ถุประสงค์การวิจัย วิธดี าํ เนนิ การวิจัย และผลของการวิจัย ดงั นี้ 1.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพอ่ื ศึกษาผลการดําเนินการอบรมจดั ทําสอ่ื การเรยี นรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน ด้านเน้ือหาสาระด้านการนําความรู้ไปใช้ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ และด้านการนําความรู้ไปใช้ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 1.2 วิธีดําเนินการวจิ ยั 1.2.1 ประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง 1.2.1.1 ประชากร คือ ครูในสังกัดสํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานที่ผ่านการอบรมจัดทาํ ส่ือการเรียนรอู้ อนไลนผ์ ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จํานวน 250 คน 1.2.1.2 กล่มุ ตัวอย่าง คอื ครูสังกัดสํานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐานท่ผี ่านการอบรมจดั ทาํ สื่อการเรียนรู้ออนไลนผ์ า่ นเครอื ข่ายอินเทอรเ์ นต็ ไดม้ าโดยการสุ่มอยา่ งง่าย(Simple Random Sampling) ขนาดกลมุ่ ตัวอย่างตามตารางกาํ หนดขนาดของเครจซ่ีและมอร์แกน(Krejcie and Morgan, 1970, p. 608) จาํ นวน 152 คน 1.2.2 เนือ้ หาสาระทีใ่ ชใ้ นการวจิ ยั ประกอบดว้ ย 4 ดา้ น คอื 1.2.2.1 ด้านการจดั กจิ กรรมการดาํ เนนิ งาน 1.2.2.2 ด้านเนือ้ หาสาระในการอบรม 1.2.2.3 ดา้ นวสั ดุ อุปกรณ์และสถานที่ 1.2.2.4 ด้านการนําความรู้ไปใช้ 1.2.3 เครอื่ งมือที่ใช้ในการวิจยั แบบสอบถามการอบรมตามโครงการพัฒนาส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจํานวน 152 คน ของครสู ังกดั สํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน จํานวน 28 ขอ้
50 1.2.4 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล โดยการนําแบบสอบถามการอบรมจัดทําสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง โดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทางเว็บไซต์ www.krutubechannel.com 1.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล นาํ แบบสอบถามมาแจกแจงคะแนน แล้วนาํ คะแนนมาหาคา่ เฉลี่ย (Mean) และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.2.6 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล การศึกษาผลการอบรมจดั ทําส่อื การเรียนรู้ออนไลนผ์ ่านเครือขา่ ยอนิ เทอร์เนต็ของครสู ังกดั สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน สรุปผลไดด้ ังน้ี 1) ด้านการจัดกิจกรรมการดําเนินงาน โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกหัวข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ (1) กิจกรรมการประกาศรบั สมคั รครเู ขา้ รบั การอบรม (3) กิจกรรมระหว่างอบรม (6) กจิ กรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (2) กิจกรรมการอบรม (4) กิจกรรมรวบรวมส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (5) กิจกรรมการจัดประกวดส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต็ ตามลาํ ดบั 2) ดา้ นเน้อื หาสาระในการอบรมโดยรวมมรี ะดบั ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเปน็ รายขอ้ พบวา่ ข้อทีม่ ีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 5 ข้อ คือ (1) ความรู้ความเข้าใจ เร่ือง พระราชบัญญัติวา่ ด้วยการกระทาํ ความผดิ เกีย่ วกบั คอมพิวเตอรพ์ .ศ.2550 (2) ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประเภทและองค์ประกอบต่าง ๆ ของส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ (3) ความรู้ความเข้าใจ เร่ือง รูปแบบการทําส่ือการเรียนรู้ออนไลนใ์ หน้ า่ สนใจ (4) ความรูค้ วามเขา้ ใจ เร่ือง เทคนิคการทาํ สือ่ การเรียนรู้ออนไลน์ เพ่ือใช้ประกอบการเรียนการสอน และ (5) ความรู้ความเข้าใจ เร่ือง ความคิดสร้างสรรค์ในการนําเสนอส่ือการเรียนรอู้ อนไลน์ตามลําดับ รายข้อที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มี 5 ข้อ คือ (1) ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การผลิตสือ่ การเรียนรอู้ อนไลน์ ความยาวไมเ่ กนิ 5 นาที (2) ความรู้ความเข้าใจ เรือ่ ง การแปลงไฟล์งานและอัปโหลดข้ึนเว็บไซต์ youtube.com (3) ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การตัดต่อ VDO และการบันทึกเสียง (4)ความรคู้ วามเข้าใจ เร่ือง การจัดการกับภาพนิ่งและ (5) ความรู้ความเขา้ ใจ เร่อื ง องค์ประกอบศิลป์ ตามลําดบั 3) ด้านวสั ดอุ ปุ กรณ์และ สถานท่ี โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางเม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มี 2 ข้อ คือ (1) ประสิทธิภาพของเคร่ืองคอมพิวเตอรท์ ่ใี ชใ้ นการอบรม และ (2) ประสิทธภิ าพของอุปกรณ์ กล้องถ่ายรูป/กล้องวีดิโอท่ีใช้ในการอบรม มีระดบั ความคดิ เห็นอยใู่ นระดบั ปานกลาง มี 4 ข้อ คอื (1) อาหาร เครื่องดืม่ ระหวา่ งการอบรม
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106