Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อาณาจักรสัตว์

อาณาจักรสัตว์

Published by BIOLOGY M.4, 2020-06-21 02:21:31

Description: อาณาจักรสัตว์

Search

Read the Text Version

ชดุ การสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 1 ชดุ กจิ กรรมการเรยี นรู้ รายวิชาชีววิทยาเพ่ิมเติม รหสั วิชา ว 33242 ชนั้ มธั ยมศึกษาปี ที่ 6 โดย นางสาววาสนา ดวงใจ,นางสาวเกษณี พนั ธจ์ นั ทร์ โรงเรยี นศีขรภมู ิพิสยั สานกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษามธั ยมศึกษา เขต 33

ชดุ การสอนเรือ่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) มาตรฐานการเรยี นรู้ Page | 2 มาตรฐาน ว1.2 เข้าใจกระบวนการและความสาคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวฒั นาการของสิ่งมีชีวติ ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชวี ภาพที่มี ผลกระทบต่อมนุษย์ และส่ิงแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งท่ีเรียนรู้ และนา ความรู้ไปใชป้ ระโยชน์ มาตรฐาน ว8.1 ใช้กระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหารู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดข้ึนส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและ ตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือท่ีมีอยู่ในช่วงเวลาน้ันๆเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม และส่งิ แวดลอ้ มมีความเก่ยี วขอ้ งสมั พนั ธ์กัน ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล ทดลอง อภิปราย อธิบายและสรุปเกณฑ์ท่ีใช้ในการจัดจาแนกส่ิงมีชีวิต ออกเป็นโดเมนและอาณาจักร ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของส่ิงมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา อาณาจักรโพรทิสตา อาณาจกั รพืช อาณาจกั รฟังไจ และอาณาจกั รสตั ว์ 2. สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบาย และนาเสนอคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพกับ การใชป้ ระโยชน์ของมนุษย์ทมี่ ีผลตอ่ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถ่ิน จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ 1. นักเรียนอธิบายลกั ษณะและการดารงชีวติ ของอาณาจักรสัตว์ได้ 2. นกั เรยี นสามารถสบื คน้ ข้อมูล เพ่อื อธิบายลกั ษณะของอาณาจกั รสตั ว์ได้ 3. จาแนกและสรา้ งเกณฑข์ องอาณาจักรสตั ว์ (KINGDOM ANIMALIA) 4. นาความรูเ้ ร่ืองอาณาจกั รสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) ไปใชป้ ระโยชน์ในชีวิตประจาวัน

ชดุ การสอนเรื่อง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) สาระสาคัญ Page | 3 อาณาจักรสัตว์เป็นส่ิงมีชีวิตแบบยูคาริโอติกเซลล์ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ เคล่ือนไหวได้ มีออร์กาเนลล์ชนิดเซนทริโอล และไลโซโซม มีระยะตัวอ่อน มีการดารงชีวิตแบบ สลับ มหี ลายเซลล์ สาระการเรียนรู้ 1. ด้านความรู้ 1.1 ความหมายของอาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) 1.2 จาแนกและสรา้ งเกณฑข์ องอาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) 1.3 ประโยชนข์ องอาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) 2. ดา้ นกระบวนการ 2.1 อภิปราย อธิบาย และสรุปลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักมอเนอรา อาณาจักร โพรทิสตา อาณาจกั รพชื อาณาจกั รฟงั ไจ และอาณาจกั รสตั ว์ 3. คณุ ลักษณะท่พี ึงประสงค์ 3.1 มีวนิ ยั 3.2 ใฝ่เรยี นรู้ 3.3 มงุ่ มน่ั ในการทางาน 3.4 มีจิตสาธารณะ 4. สมรรถนะทส่ี าคัญของผเู้ รียน 4.1 ความสามารถในการสื่อสาร 4.2 ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี

ชุดการสอนเรอื่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) แบบทดสอบกอ่ นเรียน Page | 4 คาชแ้ี จง 1. แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตวั เลือก มจี านวนท้งั หมด 5 ข้อ คะแนนเตม็ 5 คะแนน 2. ใหน้ ักเรียนทาเครอื่ งหมายกากบาท (X) ลงในช่องตวั เลือกทถี่ ูกตอ้ งทสี่ ุด 1. ขอ้ ใดไม่ใช่สมบตั ิของส่ิงมชี ีวิตในอาณาจักรสัตว์ ก. เปน็ สิง่ มชี ีวิตหลายเซลล์ ข. ทุกชนิดดารงชวี ิตแบบ heterotroph ค. ทุกชนดิ มกี ารสบื พนั ธแุ์ บบอาศยั เพศเท่าน้นั ง. มีเซลล์ยูคาริโอตเชน่ เดยี วกับพืช แต่ไมม่ ีคลอโรพลาสต์ 2.สิ่งมีชีวิตกลุ่มใดมีสมมาตรร่างกายแบบเดียวกนั ก. ฟองน้า พลานาเรยี ดาวทะเล ข. พลานาเรยี แมงกะพรุน หมกึ ค. ไส้เดอื นดนิ แมลงปอ พยาธติ วั ตดื ง. ดาวทะเล กัลปังหา ฟองน้า 3. สัตวใ์ นข้อใดที่ยังไม่มีเน้ือเยื่อทแ่ี ท้จริง ก. ฟองน้า ข. ปะการัง ค. กัลปงั หา ค. ไฮดรา 4. สัตว์ในขอ้ ใดท่ีมีโนโตคอร์ทหี่ างในระยะตัวอ่อน ก. เพรียงหัวหอม ข. เพรียงหิน ค. แอมฟอิ อกซัส ง. ถูกทุกข้อ 5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสตั ว์ในไฟลัมคอร์ดาตา ก. มีชอ่ งเหงอื กในระยะเอมบริโอ หรือตลอดชีวิต ข. เส้นประสาทอยู่ทางดา้ นล่างของลาตัว ค. มีโนโตคอร์ดในระยะเอมบรโิ อ ง. ระบบหมนุ เวียนเลือดแบบวงจรปดิ กระดาษคาตอบ ขอ้ ก ข ค ง คะแนนที่ได้ ลงช่ือผ้ตู รวจ 1 2 3 4 5

ชุดการสอนเรื่อง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) บตั รเน้ือหา Page | 5 อาณาจกั รสตั ว์ (Kingdom Animalia) อาณาจักรสตั ว์เปน็ หนึง่ ใน 5 อาณาจกั ร (ตามการแบ่งของ Whittaker, 1969) ของ สิ่งมีชีวิตทม่ี ที ั้งหมดในโลก คาดกันว่ามจี านวนมากกวา่ 1.5 ล้านชนิด และประมาณ 97% ของสัตว์ ทั้งหมดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate) ทเ่ี หลอื 3% เปน็ สัตว์มกี ระดูกสันหลงั (Vertebrate) โดยสตั ว์ท่มี ีจานวนชนดิ มากท่ีสดุ ในโลก คือ แมลง (พบแลว้ มากกว่า 6 แสนชนิด) สว่ นสัตวท์ ่มี ีขนาดใหญท่ สี่ ุดได้แกส่ ัตว์เล้ียงลกู ด้วยนา้ นม นักสัตววิทยาได้จาแนกกลมุ่ ของสตั วอ์ อกเป็น 32 ไฟลัม (จากการคาดคะเนแล้วจานวน 32 ไฟลัมน้ีเปน็ สัตวท์ ่ีมชี วี ติ รอดมาจากยุคโบราณเมื่อ 600 ล้านปกี ่อน ซ่งึ รวม ๆ แล้วน่าจะมีสิ่งมชี วี ิตไมต่ ่ากวา่ 100 ไฟลมั ) สตั ว์แตล่ ะไฟลมั จะมลี ักษณะเฉพาะที่ แตกตา่ งกัน การจาแนกทาโดยพจิ ารณาจากลักษณะรูปรา่ งและหน้าทก่ี ารทางานของโครงสรา้ งสัตว์ รวมกับขอ้ มูลอ่ืน ๆ เชน่ ข้อมูลดา้ นชวี เคมี และวิวฒั นาการ ความรู้เกี่ยวกับสัตวย์ ุคโบราณจะไดจ้ าก \"ซากดกึ ดาบรรพ์\" (fossil) เนอ่ื งด้วยสภาพภูมศิ าสตร์และสภาพภูมอิ ากาศมีการเปล่ียนแปลงตลอดเวลา อทิ ธิพลของสภาพแวดล้อมเหล่านม้ี ีผลตอ่ วิวัฒนาการของสงิ่ มีชีวติ ทงั้ ในด้านการแพร่กระจาย การ เจรญิ เติบโต สิ่งมีชีวิตท่ีสามารถปรบั ตวั ใหส้ อดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้จะสามารถสบื พันธุม์ ีลกู หลาน ต่อไป พวกทป่ี รับตัวไมไ่ ดอ้ าจสูญพันธไุ์ ป (การเปลย่ี นแปลงสภาพของเปลอื กโลกท่รี ุนแรงมาก ๆ มีผล ให้สง่ิ มชี ีวติ สูญพันธุ์เปน็ จานวนมากได้) สิง่ มีชวี ติ ในอาณาจักรน้ีท่ีเปน็ ที่รจู้ ักคอ่ นขา้ งมากมอี ยู่ 12 ไฟลัม คือ 1. ไฟลมั พอริเฟอรา (Phylum Porifera) [Major] 2. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) [Major] 3. ไฟลัมทีโนฟอร์ (Phylum Ctenophore) [Minor] 4. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes) [Major] 5. ไฟลัมโรติเฟอรา (Phylum Rotifera) [Minor] 6. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda) [Major] 7. ไฟลมั แอนเนลดิ า (Phylum Annelida) [Major] 8. ไฟลมั มอลลัสกา (Phylum Mollusca) [Major] 9. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) [Major] 10. ไฟลัมเอชโิ นเดอรม์ าตา (Phylum Echinodermata) [Major] 11. ไฟลมั เฮมิคอร์ดาตา (Phylum Hemichordata) [Major] 12. ไฟลมั คอร์ดาตา (Phylum Chordata) [Major] Major] หมายถึง Major phylum คอื กลุ่มที่มีสมาชิกมากกว่า 5,000 ชนิด ส่วน [Minor] คือ Minor phylum ซ่งึ มีสมาชิกนอ้ ยกว่า 5,000 ชนิด จะเห็นได้ว่า Phylum ทศี่ กึ ษากันสว่ นใหญจ่ ะ เปน็ พวก Major phylum ทั้ง 10 phyla สว่ น Minor phylum ที่เปน็ ท่ีสนใจมากจะมอี ยู่ 2 phyla จาก 22 phylum ต่อไปนี้ 1. Phylum Mesozoa : มีโซซัว 2. Phylum Placozoa : พลาโคซวั 3. Phylum Ctenophora : หวีวุ้น 4. Phylum Rhynchocoela : หนอนริบบนิ้ 5. Phylum Rotifera : โรติเฟอร์ หรือหนอนจักร

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) 6. Phylum Gastrotricha Page | 6 7. Phylum Kinorhyncha 8. Phylum Gnathostomulida 9. Phylum Priapulida 10. Phylum Nematomorpha : พยาธิขนม้า 11. Phylum Acanthocephala : หนอนหัวหนาม 12. Phylum Entoprocta 13. Phylum Loricifera 14. Phylum Echiurida : หนอนซอ้ น 15. Phylum Sipuncula : หนอนถ่ัว 16. Phylum Tardigrada : หมนี ้า 17. Phylum Pentastomida 18. Phylum Onychophora : หนอนกามะหยี่ 19. Phylum Pogonophora : หนอนเครา 20. Phylum Phoronida 21. Phylum Ectoprocta (Brypozoa) 22. Phylum Brachiopoda การศึกษาเก่ียวกับสัตว์เรียกว่า Zoology (Zoo มาจากรากศัพท์กรีกว่า zoa แปลว่า สัตว์ ดังน้ันคาที่มีองค์ประกอบของ zoo-, zoa-, zo-, -zoic, -zoid, -zoite, -zoal, -zonal, -zooid, -zoon, -zoa, -zoan จึงมีความหมายท่ีเกี่ยวข้องกับสัตว์) โดย zoology หมายถึงการศึกษา วิทยาศาสตร์ของสัตว์ ซ่ึงรวมต้ังแต่ การจาแนกชนิด การดารงชีวิต โครงสร้าง และหน้าที่ของส่วน ต่าง ๆ ในร่างกาย การสืบพันธ์ุ และความสัมพันธ์ของสัตว์กับส่ิงแวดล้อม การศึกษากลไกในการ ดาเนนิ ชวี ิตของสตั ว์ชนดิ ต่าง ๆ สะท้อนถงึ กลไกการทางานของร่างกายมนษุ ยด์ ้วยเช่นกัน สัตว์เป็นส่ิงมีชีวิตท่ีมีความสาคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของการเป็นผู้บริโภค เน่ืองจากสัตว์ ท้ังหมดเป็น Heterotrophic การกินกันเปน็ ทอด ๆ ของสัตวเ์ ป็นผลทาใหม้ ีการถ่ายทอดพลงั งานไปยัง ผู้บริโภคระดับต่าง ๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นผู้สร้างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความสาคัญต่อการ สังเคราะหอ์ าหารด้วยแสงของพชื และก่อให้เกิดความสมดลุ ในธรรมชาติ ในยุคสมัยของอริสโตเติล (Aristotle : 384-322 ก่อนคริสตกาล) ผู้คนมีความเชื่อว่า ส่ิงมีชีวิตมีต้นกาเนิดมาจากราเมือก หรือสิ่งไม่มีชีวิตบางอย่าง และมีส่ิงมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติเป็นผู้ ขีดวางความเป็นชีวิตของพืชและสัตว์ แต่อริสโตเติลป็นผู้ยืนยันว่าสัตว์ชนิดหน่ึงจะถือกาเนิดมาจากสัตว์ ชนิดเดียวกันเท่านั้น จนถึงยุคสมัยของชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ซึ่งเขียนหนังสือ The Origin of Species by Means of Natural Selection และได้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รว่ มกับ อลั เฟรด รัสเซล วอลเลส (Alfred Russel Wallace) จากความรู้ในยุคของดาร์วนิ กระตุ้นให้ นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ มีความสนใจในการศึกษาวิวัฒนาการเพ่ิมมากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ววิ ฒั นาการของสตั วจ์ งึ เพ่ิมมากข้ึนเร่ือย ๆ

ชดุ การสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ลกั ษณะของส่ิงมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ Page | 7 1. เซลลแ์ บบยูคารโิ อต (Eukaryotic cell) เปน็ เซลล์ที่มีเยื่อหมุ้ นิวเคลียส ในไซโทพลาซึมมี ออร์แกนเนลลต์ ่าง ๆ กระจายอยู่ ภาพที่ 14 เซลล์สัตว์ (ทมี่ าภาพ : http://www.harlem-school.com/10TH/sci_pdf/graphics/animal_cell.gif) 2. ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดทีไ่ มม่ ีผนังเซลล์ ทาให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่ม และแตกต่าง ไปจากเซลล์พืช เซลล์เหล่าน้ีจะมารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทาหน้าทีเ่ ฉพาะอย่าง ซ่ึงพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อ มักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน มีการประสานการทางานระหว่างกัน สัตว์ช้ันสูงมีเน้ือเยื่อหลายชนิด สามารถจาแนกตามหน้าท่ีและตาแหน่งที่อยู่ของร่างกายเป็น 5 ประเภท คือ เน้ือเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) เนื้อเยื่อเก่ียวพัน (Connective tissue) เน้ือเย่ือกล้ามเนื้อ (Muscular tissue) เน้ือเย่ือ ลาเลยี ง (Vascular tissue) และเน้อื เยือ่ ประสาท (Nervous tissue) ภาพท่ี 15 เนื้อเยือ่ ของสตั ว์ (ท่มี าภาพ : http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/A/AnimalTissues.gif) 3. สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดารงชีวิตจึงต้องกินส่ิงมีชีวิตอ่ืน เป็นอาหารซ่งึ อาจเป็นพืชหรือสัตวด์ ้วยกัน การดารงชีวิตจึงมักเปน็ แบบผลู้ า่ เหย่ือหรือปรสติ 4. โดยท่ัวไปเคลอ่ื นที่ไดด้ ว้ ยตนเองตลอดชีวติ มีบางชนิดพบวา่ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแลว้ เกาะอยู่กับที่

ชดุ การสอนเรอื่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) 5. โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อส่ิงเร้าได้อย่างรวดเร็วเน่ืองจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับPage | 8 ความรู้สกึ และตอบสนอง เชน่ การกนิ อาหาร การขับถา่ ย การสบื พันธุ์ เป็นตน้ เกณฑท์ ใี่ ชใ้ นการจาแนกหมวดหมขู่ องอาณาจกั รสตั ว์ 1. ระดบั การทางานร่วมกันของเซลล์ (Level of cell organization) โดยดูการร่วมกัน ทางานของเซลลแ์ ละการจัดเป็นเนื้อเย่ือนน้ั มลี ักษณะเป็นอย่างไร ซ่งึ ระดบั การทางานแบ่งเป็น 5 ระดับคือ (1) Protoplasmic level of organization เปน็ การทางานในระดบั โปรโตพลาซึม ซึ่งพบ ในสิง่ มีชีวติ เซลล์เดยี วเชน่ โปรโตซวั (2) Cellular level of organization มกี ารรวมกลมุ่ กันของเซลลช์ นิดเดยี วกัน และมกี าร จดั แบง่ หน้าที่การทางานทีพ่ ิเศษข้ึน เซลลบ์ างชนดิ ก็มกี ารเปลี่ยนแปลงทั้งรปู ร่างและโครงสรา้ ง เช่น กล่มุ เซลลท์ ่ีเปล่ียนแปลงเพอื่ ทาหน้าท่ีในการสบื พนั ธ์ุ กล่มุ อ่ืน ๆ ท่เี หลือจะทาหนา้ ทใ่ี นการกนิ อาหาร เป็นตน้ มกี ลมุ่ เซลล์เพยี งเล็กน้อยทมี่ ีแนวโน้มจะเปล่ียนแปลงไปเปน็ เน้ือเยอ่ื (Tissue) ในโปรโตซัว หลายชนิดทจ่ี ะพบวา่ มกี ารเปลีย่ นแปลงเซลล์ท่ีมกี ารรวมกลุ่มกนั ให้ทาหนา้ ที่เฉพาะอยา่ งมากข้ึน นกั สตั ววทิ ยาจดั ให้ “ฟองน้า” (Sponge) เป็นสัตว์ที่อยใู่ นกลุ่มทมี่ กี ารทางานระดบั เซลล์ (3) Cell-tissue level of organization กลุ่มเซลล์ที่เหมือนกันเกิดการเปล่ียนแปลง เป็นรูปแบบเฉพาะ เช่น รวมเป็นชั้นของเน้ือเย่ือ (Tissue layer) สิ่งมีชีวิตที่จัดว่ามีการทางานอยู่ใน กลุ่มนี้คือ ไนดาเรีย (Cnidaria) และทีโนฟอร์ (Ctenophore) ซ่ึงแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของ ลาตัว ในระดับเนื้อเยื่อชดั เจนเชน่ ร่างแหประสาท (Nerve net) ซง่ึ เกิดจากกลุ่มของเซลล์ประสาทมา รวมตวั กันเป็นเนื้อเยื่อท่ีทาหนา้ ท่ีเฉพาะ (4) Tissue-organ level of organization การรวมกลุ่มกันของเน้ือเย่ือเป็นอวัยวะ (Organ) ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นมาก โดยปกติอวัยวะจะถูกสร้างข้ึนมาจากการรวมตัวของ เน้ือเย่ือที่มากกว่า 1 ชนิดและมีหน้าที่การทางานท่ีพิเศษกว่าเนื้อเย่ือ การทางานในระดับนี้พบในกลุ่ม ของหนอนตัวแบน (Flatworm) ในไฟลัม Platyhelminthes ตัวอย่างของอวัยวะท่ีเห็นได้ชัดเจนคือ Eyespot ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะสบื พนั ธุ์ (5) Organ-system level of organization การพัฒนาของร่างกายในระดับสูงสุด คือการ ท่ีอวยั วะต่าง ๆ สามารถทางานร่วมกันไดจ้ นกลายเป็นการทางานท่ีเป็นระบบ (System) ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะมีความเกี่ยวกันกันกับพื้นฐานโครงสร้างและ การทางานของร่างกาย การไหลเวียนของ เลือด การหายใจ การย่อยอาหาร หรืออีกนัยหนึ่งอาจแบ่งสัตว์เป็นสองกลุ่มตามการพิจารณาจาก เนอื้ เยื่อคอื 1.1 เนื้อเย่ือท่ีไม่แท้จริง ( No true tissue) เรียกสัตว์กลุ่มน้ีว่า พาราซัว (Parazoa) เนื่องจากเซลล์ในสัตว์กลุ่มน้ีไม่มีการประสานงานกันระหว่างเซลล์ โดยเซลล์ทุกเซลล์จะมีหน้าที่ในการ ดารงชีวิตของตนเอง หนา้ ทท่ี ั่วไปคอื ดา้ นโภชนาการ และสืบพนั ธ์ุ ไดแ้ ก่ พวกฟองน้า 1.2 เนื้ อเยื่อที่แท้จริง (True tissue) เรียกสัตว์กลุ่มน้ีว่า ยูเมตาซัว (Eumetazoa) ซ่งึ เน้ือเยื่อจะถูกสรา้ งขึ้นเปน็ ชัน้ หรอื เรียกว่า ชัน้ ของเนื้อเยื่อ (Germ layer) มี 2 ประเภทคือ 1.2.1 เนื้อเย่ือ 2 ช้ัน (Diploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเย่ือช้ันนอก (Ectoderm) และ เน้ือเย่อื ชนั้ ใน (Endoderm) ไดแ้ ก่ พวกไฮดรา แมงกะพรุน โอบเี ลีย 1.2.2 เนอื้ เย่ือ 3 ชน้ั (Triploblastica) ประกอบดว้ ยเนื้อเยอ่ื ชนั้ นอก ชั้นกลาง (Mesoderm) และชนั้ ใน ได้แก่พวกหนอนตวั แบนข้ึนไป จนถงึ สตั วท์ มี่ กี ระดกู สันหลงั

ชุดการสอนเรือ่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 9 ภาพที่ 16 เน้ือเย่ือของสตั ว์ (ท่ีมาภาพ : http://biology.kenyon.edu/courses/biol112/Biol112WebPage/Syllabus/ Topics/Week%207/Resources/diptrip.GIF) 2. สมมาตร (Symmetry) คือลักษณะการแบ่งร่างกายออกเป็นซีก ๆ ตามความยาวของซีก เท่า ๆ กนั มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ 2.1 ไม่มีสมมาตร (Asymmetry) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่สามารถแบ่งซีกซ้ายและซีกขวา ได้ เท่า ๆ กัน ไดแ้ ก่ พวกฟองน้า 2.2 สมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) ร่างกายของสัตว์จะมีรูปร่างคล้าย ทรงกระบอก หรือล้อรถ ถ้าตัดผ่านจุดศูนย์กลางแล้วจะตัดอย่างไรก็ได้ 2 ส่วนที่เท่ากันเสมอ หรือ เรียกว่า มีสมมาตรที่ผ่าซีกได้เท่า ๆ กันหลาย ๆ ครั้งในแนวรัศมี ได้แก่ สัตว์พวกไฮดรา แมงกะพรุน ดาวทะเล เม่นทะเล 2.3 สมมาตรแบบคร่ึงซีก (Bilateral symmetry) หรือมีสามาตรที่ผ่าซีกได้เท่า ๆ กัน เพียง 1 ครั้ง สมมาตรแบบน้ีสามารถผ่าหรือตัดแบ่งคร่ึงร่างกายตามความยาวของลาตัวแล้วทาให้ 2 ข้างเทา่ กนั ได้เพียงครั้งเดยี วเท่านน้ั ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม แมลง สัตว์มีกระดกู สนั หลัง ภาพท่ี 17 สมมาตรของสัตว์แบบต่าง ๆ (ท่มี าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio /BioBookDiversity_7.html) 3. ลักษณะช่องว่างในลาตัวหรือช่องตัว (Body cavity หรือ Coelom) คือช่องว่างภายใน ลาตัวท่ีอยู่ระหว่างผนังลาตัวกับอวัยวะภายในตัว ภายใน Coelom มักจะมีของเหลวอยู่เต็ม ของเหลว เหล่าน้ีทาหน้าท่ีเสมือนหนึ่งระบบไหลเวียนโลหิตง่าย ๆ ในสัตว์บางพวกช่วยลาเลียงสารอาหาร

ชดุ การสอนเรอื่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) ออกซิเจน และของเสีย เป็นต้น อกี ท้ังยังช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอกทอ่ี าจเป็นอนั ตรายต่ออวัยวะPage | 10 ภายใน และยังเป็นบริเวณท่ีทาให้อวัยวะภายในเคล่ือนที่ได้อิสระจากผนังลาตัว ยอมให้อวัยวะขยายใหญ่ ได้ ซ่ึงสามารถนามาใช้เป็นเกณฑ์ในการจาแนกสตั ว์ได้ แบง่ เป็น 3 พวกคอื 3.1 ไม่มีช่องว่างในลาตัวหรือไม่มีช่องตัว (No body cavity หรือ Acoelom) เป็นพวก ท่มี ีเนื้อเยอ่ื 3 ชัน้ อยชู่ ิดกัน โดยไม่มชี อ่ งวา่ งในแตล่ ะชน้ั ไดแ้ ก่พวกหนอนตวั แบน ภาพท่ี 18 สัตว์ทีไ่ ม่มีช่องวา่ งในตัว (ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio /BioBookDiversity_7.html) 3.2 มีชอ่ งตวั เทยี ม (Pseudocoelom) เปน็ ช่องตัวที่เจริญอยูร่ ะหว่าง mesoderm ของผนัง ลาตวั และ endoderm ซ่งึ เป็นทางเดินอาหาร ช่องตวั นี้ไม่มีเย่อื บุช่องท้องกั้นเปน็ ขอบเขต ได้แก่ พวก หนอนตัวกลม โรติเฟอร์ (Rotifer) ภาพที่ 19 สัตว์ท่ีมีช่องว่างในตวั แบบช่องตัวเทียม (ท่มี าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio /BioBookDiversity_7.html) 3.3 มีช่องตัวท่ีแท้จริง (Eucoelom หรือ Coelom) เป็นช่องตัวที่เจริญแทรกอยู่ระหว่าง Mesoderm 2 ชั้น คือ Mesoderm ชั้นนอกเป็นส่วนหนึ่งของผนังลาตัว (Body wall) กับ Mesoderm ช้ันในซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผนังลาไส้ (Intestinal wall) และ Mesoderm ท้ังสองส่วนจะ บุด้วยเย่ือบุช่องท้อง (Peritoneum) ได้แก่ ไส้เดือนดิน หอย แมลง ปลา สัตว์มีกระดูกสันหลัง เปน็ ต้น

ชุดการสอนเรอ่ื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 11 ภาพท่ี 20 สตั วท์ ี่มีชอ่ งวา่ งในตวั แบบช่องตัวแทจ้ ริง (ทมี่ าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio /BioBookDiversity_7.html) 4. การเกิดชอ่ งปาก ซึง่ สามารถแบ่งสตั ว์ตามการเกิดช่องปากได้ 2 กลุม่ 4.1 โปรโตสโตเมีย (Protostomia) เป็นสัตวพ์ วกท่ชี ่องปากเกิดกอ่ นช่องทวารในขณะที่เป็น ตัวอ่อน ซึ่งช่องปากเกิดจากบลาสโตพอร์ หรือบริเวณใกล้ ๆ บลาสโตพอร์ (Blastopore) ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน หนอนตวั กลม หนอนมปี ลอ้ ง หอย สตั วข์ าขอ้ 4.2 ดิวเทอโรสโตเมีย (Deuterostomia) เป็นสัตว์พวกท่ีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร เกิดจากชอ่ งใหม่ท่ีจะเจริญพัฒนาไปเป็นทางเดินอาหารซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ บลาสโตพอร์ ได้แก่ พวกดาว ทะเล และสัตวม์ ีกระดูกสนั หลงั ภาพที่ 21 การเกิดชอ่ งปาก และทวาร (ทม่ี าภาพ : http://web.nkc.kku.ac.th/images/lean/1-4.jpg)

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) 5. ทางเดินอาหาร (Digestive tract) โดยทว่ั ไปแบง่ ได้เป็น 2 ลักษณะ คอื Page | 12 5.1 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) เป็นทางเดินอาหาร ของสัตว์ท่ีมีปากแต่ไม่มีทวารหนัก หรือมีช่องทางเดินอาหารเข้าออกทางเดียวกัน หรือทางเดินอาหาร แบบปากถุง (One-hole-sac) ได้แก่พวกไฮดรา แมงกะพรุน หนอนตัวแบน 5.2 ทางเดินอาหารแบบสมบรู ณ์ (Complete digestive tract) เปน็ ทางเดนิ อาหารของ สัตว์ที่มีทั้งปากและทวารหนัก หรือมีช่องทางเข้าออกของอาหารคนละทางกัน หรือทางเดินอาหารแบบ ท่อกลวง (Two-hole-tube) ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม จนถึงสัตวม์ ีกระดูกสนั หลัง ภาพที่ 22 ทางเดนิ อาหารของสตั ว์ (ที่มาภาพ : http://www.utm.edu/departments/cens/biology/rirwin/compincompdigtract.GIF) 6. การแบ่งเป็นปล้อง (Segmentation) การแบ่งเป็นปล้องเป็นการเกิดรอยคอดขึ้นกับลาตัว แบ่งออกเปน็ 6.1 การแบ่งเป็นปล้องเฉพาะภายนอก (Superficial segmentation) เป็นการเกิดปล้อง ขน้ึ เฉพาะที่ส่วนผิวลาตัวเท่าน้ันไม่ได้เกิดตลอดตัว เชน่ พยาธติ ัวตืด 6.2 การแบ่งเป็นปล้องท่ีแท้จริง (Metameric segmentation) เป็นการเกิดปล้องข้ึน ตลอดลาตัวท้ังภายนอกและภายใน โดยข้อปล้องเกิดข้ึนในเน้ือเยื่อชั้นกลาง ทาให้เน้ือเย่ือชั้นอ่ืน ๆ เกิดเป็นปล้องไปดว้ ย ไดแ้ ก่ ไส้เดอื น กุง้ ปู แมลง ตลอดไปจนสัตว์มกี ระดกู สันหลงั ทุกชนิด ในลาดบั ขน้ั ของการจัดหมวดหมขู่ องส่งิ มชี วี ิตในกลมุ่ ของสัตว์ท้ังหมดโดยหลกั แล้วจะแบง่ เป็น 7 ชัน้ โดยจะเรม่ิ จาก Kingdom Phylum Class Order Family Genus Species แตอ่ าจจะมกี ารจัด ลาดับชั้นทย่ี ่อยลงไปอีกกไ็ ด้ เพ่อื ใหแ้ ต่ละลาดับชนั้ แสดงคุณลกั ษณะนน้ั ๆ ได้เดน่ ชัดขึ้น (ในปจั จุบนั นักชีววิทยาจัดลาดบั ข้ันมากถึง 30 ลาดับช้นั ไปแล้ว ซง่ึ มคี วามจาเป็นตอ่ กลุ่มของสตั วท์ ี่มจี านวนชนิด มาก ๆ เชน่ ปลา และแมลง) แผนภาพท่แี สดงลาดับชนั้ ของการจดั สายสัมพันธร์ ะหว่างส่ิงมีชวี ติ เรียกวา่ Cladogram ซงึ่ อาจแบ่งเป็นกิง่ (Branch) ต่าง ๆ ดังนี้ Branch A (Mesozoa) : phylum Mesozoa Branch B (Parazoa) : phylum Porifera และ Placozoa Branch C : (Eumetazoa) : phylum ทเ่ี หลือท้ังหมด Grade I (สมมาตรรัศมี : Radiata) : phylum Cnidaria และ Ctenophora Grade II (สมมาตรคร่ึงซกี : Bialteria) : phylum ท่เี หลอื ท้งั หมดซึ่งแบ่งเปน็ 2 กลุ่ม (Division) คือ Division A (Prostomia) : ไดแ้ ก่สตั วใ์ น phylum ต่อไปนี้ *พวกที่ไม่มชี อ่ งตัว (Acoelomate): phylum Platyhelminthes และ Rhychocoela (Nemertea)

ชุดการสอนเรอื่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) *พวกท่ีมีช่องลาตัวเทียม (Pseudocoelomates): phylum Rotifera, Gastrotricha, Kinorhyncha,Page | 13 Gnathostomulida, Nematoda, Priapulida, Nematonorpha *พวกทม่ี ชี ่องลาตวั ที่แท้จริง (Eucoelomates): phylum Mollusca, Annelida, Arthropoda, Echiurida, Sipuncula, Tardigrada, Pentastomida, Onychophora, Pogonophora Division B (Deuterostomia) : ไดแ้ ก่สตั ว์ในไฟลัมต่อไปนี้ Phoroida, Ectoprocta, Brachiopoda, Echinodermata, Hemichordata, Chordata 1.ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) ฟองน้าจัดเป็นสัตว์โบราณที่มีกาเนิดมาตั้งแต่ยุคแคมเบรียน หรืออาจจะย้อนไปถึงยุคพรีแคม เบรยี นกเ็ ป็นได้ พบซากฟอสซิลรวมกันอย่จู านวนมาก ฟองน้าจะแตกตา่ งจากโปรโตซัว ตรงที่เป็นสัตว์ หลายเซลล์ท่ีเรียกว่า เมตาซัว (Metazoa) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังจัดว่าเป็นกลุ่มของเมตาซัวท่ีมีรูปร่างไม่ สลับซบั ซ้อน โครงสร้างการทางานของร่างกายอยใู่ นระดบั เซลล์ เนือ่ งจากไมม่ เี นือ้ เยือ่ ที่แท้จริง ภาพที่ 23 การรวมกลมุ่ ของเซลลฟ์ องนา้ (ทีม่ าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio/ BioBookDiversity_7.html) คาว่า Porifera มาจากภาษาละติน คือ porus หมายถึงรูพรุน และคาว่า ferre หมายถึง การถือกาเนิด ฟองน้ามีประมาณ 9,000 ชนิด มากกว่า 5,000 species พบอาศัยอยู่ในทะเลแต่อีก ประมาณ 150 species พบอาศัยอยู่ในน้าจืด พวกท่ีอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลจะมีลาตัวท่ีมีเปลือกหนา พวก ท่ีอยู่ในทะเลลึกจะมีลาตัวอ่อนนุ่มกว่า เป็นแท่งยาว ฟองน้าที่อยู่บริเวณที่มีการขึ้นลงของกระแสน้าจะมี รูปร่างขนาดใหญ่ มีสมมาตรชัดเจน ลาตัวของฟองน้ามีสสี รรมากมายคือ ม่วง น้าเงิน เหลืองแดงเข้ม และจะเปลี่ยนสีซีดลงอย่างรวดเร็วถ้านาข้ึนมาจากน้า ดารงชวี ิตแบบการพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โดย จะอยู่ร่วมกับแบคทีเรียหรือสาหร่ายเซลล์เดียวหลายชนิด ตามปกติฟองน้าตัวเต็มวัยไม่เคลื่อนท่ี แต่พบ การเคลื่อนที่ได้ในตัวอ่อน ลาตัวประกอบด้วยรูพรุนและมีทางเช่ือมติดต่อกันเหมือนคลอง การทางาน ของเซลล์ขึ้นอยู่กบั การไหลเวียนของน้า เน่ืองจากน้าจะนาออกซิเจนและอาหารผ่านเข้าไปในร่างกายและ นาของเสียออกนอกร่างกายด้วย โครงสร้างของร่างกายจะประกอบด้วย กลุ่มเซลล์อยู่รวมกับสารที่มี ลักษณะคล้ายวุ้น และมีโครงร่างแข็งท่ีเรียกว่า \"ขวาก\" (spicule) ซ่ึงเป็นสารอาหารประเภทแคลเซียม หรือซิลิคาแทรกอยู่ ในฟองน้าบางชนิดจะมีเส้นใยท่ีอ่อนนุ่มเรียก \"สปองจิน\" (spongin) แทรกอยู่ เซลล์ฟองน้ามีการจัดเรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ ในรูปของเจลาติน เรียกว่า มีโซฮิล (Mesohyll) (บางครั้งอาจเรียกว่า มีโซเกลีย (Mesoglea) หรือมีเชนไคม์ (Mesenchyme)) คาว่า Mesohyll จะ เปรียบเสมือนเน้ือเย่ือเก่ียวพันของฟองน้า นอกจากน้ียังพบเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายอมีบา (Amoeboid cell) เสน้ ใย และโครงคา้ จุนดว้ ย ชนิดของเซลลท์ ่พี บได้แก่

ชุดการสอนเรอ่ื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) พินาโคไซท์ (Pinacocytes) เป็นเซลล์ท่ีเกือบจะทาหน้าท่ีเป็นเนื้อเย่ือท่ีแท้จริงแล้ว มีการPage | 14 จัดเรียงตัวของเซลล์เป็นเยื่อยุผิวด้านนอก เซลล์แบนบาง บางชนิดมีรูปร่างเป็นตัว T และเซลล์น้ีจะ จดั เรียงตวั ลอ้ มรอบรูพรนุ ทาหนา้ ที่ควบคมุ อัตราการไหลเข้าของนา้ พอโรไซท์ (Porocytes) เป็นเซลท่ีมีรูปร่างเป็นท่อ เจาะเข้าไปในผนังของฟองน้าเป็น ชอ่ งทางให้น้าเขา้ สโู่ พรงภายใน โคแอนโนไซท์ Choanocytes) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นปลอกคอ มีแฟลเจลลาเป็น องค์ประกอบ ดา้ นหนึ่งของเซลล์จะฝังตัวอยใู่ นชั้น mesohyll อีกด้านหน่ึงจะเปิดออกเป็นที่ตั้งของแฟล เจลลา เซลล์โคแอนโนไซท์แต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันด้วยเส้นใย เกิดเป็นโครงร่างที่คงรูปได้ แซลล์นี้ จะทาหน้าท่ีกรองอาหารจากน้า โดยการโบกพัดของแฟลเจลลา อนุภาคของอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่ สามารถเข้าสเู่ ซลลไ์ ด้ จะถกู ยดึ จับและส่งมายังดา้ นล่างของเซลล์เพ่ือการกินโดยวิธี phagocytosis อาร์คีโอไซท์ (Archeocytes) เป็นเซลล์รูปร่างคล้ายอมีบาเคล่ือนท่ีไปมาในช้ัน mesohyll มีหน้ าท่ีหลายชนิ ดเช่น สเคอโรไซท์ (schlerocytes) ทาหน้ าท่ีสร้างขวาก สปองโกไซท์ (spongocytes) ทาหน้าทสี่ รา้ งเส้นใยสปองจิน คอลเลนไซท์ (collencytes) ทาหน้าท่ีสรา้ งเส้นใย ภาพที่ 24 ลกั ษณะของฟองน้า (ทม่ี าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio/ BioBookDiversity_7.html) ลักษณะเด่นของฟองน้าคือ การมีรูปร่างแบบไม่สมมาตร ลาตัวมีรูพรุนซ่ึงเป็นช่องทางให้น้า ผ่านเข้า (ostia) ลาตัวด้านในจะกลวง (spongocoel) ทาหน้าที่คล้ายช่องทางเดินอาหาร มีช่องทาง ออกของน้า เรียกว่า osculum ผนังลาตัวฟองน้าเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้น epidermis เป็น pinacocyte เซลล์ด้านใน choanocyte จะมี flagella ทาหน้าที่ในการดักจับช้ินอาหาร และช่วยพัด พาน้าให้เกิดการไหลเวยี น โดยมี mesohyl ซึ่งเป็น gelatinous matrix อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อท้ัง 2 ช้ัน และมี amoebocyte ทาหน้าท่ีในการย่อยและส่งสารอาหารและขวาก (spicule) ฝังตัวอยู่ในชั้นนี้ทาให้ ฟองน้ามีโครงร่างค่อนข้างแข็ง ไม่มีอวัยวะหรือเน้ือเยื่อท่ีแท้จริง การย่อยอาหารเกิดข้ึนภายในเซลล์ การขับถ่ายและการหายใจใช้วิธีแพร่ (Diffusion) ฟองน้าสามารถขยายพันธ์ุได้ทั้งแบบ asexual reproduction โดยการ budding หรือสร้างเจมมูล และ sexual reproduction โดยการสร้าง gamete ฟองน้าโดยทวั่ ไปมีระบบทอ่ นาภายในร่างกาย ซ่ึงสามารถแบ่งออกได้เปน็ 3 แบบ คือ 1. Asconoid : เปน็ ระบบการไหลเวียนของน้าอย่างง่ายท่ีสุด ฟองน้าที่มีรปู ร่างแบบนี้มักเป็น ฟองน้าท่ีมีขนาดเล็ก รูปท่อ น้าจะไหลเข้าทางรูที่มีขนาดเล็กมากผ่านเซลล์ท่ีเป็นผนังลาตัว เข้าไป

ชดุ การสอนเรือ่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) ภายในโพรงขนาดใหญ่ เรียก สปองโกซิล (Spongocoel) ด้านในของสปองโกซีลประกอบด้วยเซลล์Page | 15 โคแอนโนไซท์ที่มีแฟลเจลลา ฟองน้าที่มีระบบไหลเวียนน้ีมักจะมีออสคิวลัมเพียงอันเดียว ตัวอย่างของ ฟองน้าท่ีมีระบบไหลเวียนน้ี คือ ฟองน้ารูปแจกัน Leucosolenia ฟองน้าสีขาวชนิดน้ีจะมีรากยึดเกาะ กับวสั ดุ อีกชนิดหนง่ึ คอื Clathrina จะมสี ีเหลอื งสดใสสวยงาม ภาพที่ 25 การไหลเวยี นนา้ แบบแอสโคนอยด์ (ทม่ี าภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/biomedia/graphics/jpegs/asc.jpg) 2. Syconoid : มรี ูปร่างเป็นท่อและมชี ่องเปิด osculum 1อนั แตกตา่ งจากกลุ่มแรกตรงที่ เซลล์ท่ีเป็นเย่อื บผุ นังลาตัวจะมีขนาดหนากว่า เน่อื งจากมีการพับทบของเซลล์โคแอนโนไซทจ์ น กลายเป็นช่องทางน้าเข้า (Incurrent canal) ดังนั้น ภายในสปองโกซีลจะมีเซลลเ์ รียงพับทบอยู่ภายใน ฟองนา้ ในกลุ่มนี้ไดแ้ ก่ Sycon ภาพที่ 26 การไหลเวียนน้าแบบไซโคนอยด์ (ทีม่ าภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/courses/tatner/biomedia/jpegs/sync.jpg 3. Leuconoid : เป็นฟองน้าท่อี ย่รู วมกันเป็นกลมุ่ ทาใหม้ ขี นาดใหญ่ข้ึน แต่ไมส่ ามารถแยกออก จากกนั ได้เซลลโ์ คแนโนไซทจ์ ะพับทบกนั เกดิ เป็นโพรงรับนา้ (Chamber) เมื่อนา้ ถกู ปลอ่ ยออกมาจะไป รวมกนั ท่ี excurrent canal แลว้ จงึ สง่ ผ่านไปยัง osculum การทมี่ ี chamber จานวนมากนี้ ทาใหส้ ปองโกซีลหายไป ตัวอย่างของฟองน้าน้ไี ด้แก่ Euspongia

ชุดการสอนเรือ่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 16 ภาพท่ี 27 การไหลเวยี นน้าแบบลวิ โคนอยด์ (ท่ีมาภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/biomedia/graphics/jpegs/leuc.jpg ชนิดของโครงค้าจุน (Types of Skeletons) โครงค้าจุนท่ีพบในฟองน้าทาให้ระบบการ ไหลเวียนและโพรงภายในมีความแข็งแรง โปรตีนหลักที่พบในโครงสร้างของสัตว์คือ คอลลาเจน (collagen) ซ่ึงเส้นใยของคอลลาเจนน้ีจะพบอยู่ระหว่างเซลล์ของฟองน้าเหล่าน้ี ฟองน้าในคลาส Demospongiae จะสร้างคอลลาเจนที่เรียกว่า สปองจิน (spongin) และขวากซิลิคา (siliceous spicules) ส่วนฟองน้าในคลาส Calcareous จะสร้างขวากชนิดแคลเซียมที่เป็นผลึก 1-3 แฉก ฟองน้าแก้ว (glass sponges) จะพบขวากซิลิกา 6 แฉก ลักษณะของขวากเหล่านี้ช่วยในการจัด จาแนกชนิดของฟองน้าไดด้ ว้ ย ภาพท่ี 28 รปู รา่ งของขวากในฟองน้า (ทม่ี าภาพ : http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/imgaug99/baspong1.jpg) การจาแนกหมวดหมู่สามารถแบง่ ออกเป็น 4 class คือ 1. คลาส แคลคาเรีย (Class Calcarea หรือ Calcispongiae) เปน็ ฟองน้าท่มี ขี วากเป็น หินปูน มขี นาดเลก็ สูงไม่เกิน 10 เซนตเิ มตร รูปรา่ งแบบแจกนั หรอื เป็นทอ่ ระบบทอ่ น้าเป็นได้ท้ัง 3 แบบ สว่ นมากจะมีสมี ืด แต่ก็มีบางชนดิ ท่มี ีสีสันสดใส เช่น เหลอื ง แดง เขียว ไดแ้ ก่ ฟองน้ารูป แจกัน (Leucosolenia) หรอื Scypha

ชดุ การสอนเรอ่ื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 17 ภาพที่ 29 (ซ้าย) Leucosolenia variabilis (ขวา) ฟองน้ารูปแจกนั (ท่มี าภาพ : (ซ้าย) http://www.asturnatura.com/photo/_files/photogallery/b74b8ce4c4b758 b2c0b24a033add9321.jpg) (ขวา) หาดสามพระยา จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ถ่ายภาพโดยธัญญรตั น์ ดาเกาะ วันท่ี 8 ธันวาคม 2550) 2. คลาสเฮกซะแอคทิเนลลิดา (Hexactinellida) ฟองน้าแก้ว (glass sponge) ขวากเป็น สารประกอบซิลิกา เป็นรูป 6 แฉกเชื่อมต่อกันเป็นตาข่าย จัดเป็นโครงร่างท่ีแข็งแรงและเจริญดี มี รูปร่างคล้ายถ้วยหรือแจกัน ภายในลาตัวมีสปองโกซีลเจริญดี ออสคิวลัมมีแผ่นตะแกรงปิดไว้ มีระบบ ท่อน้าแบบไซโคนอยด์หรือลิวโคนนอยด์ พบอยู่ในทะเลลึก มีขนาดตั้งแต่ 10-100 เซนติเมตร ได้แก่ กระเชา้ ดอกไมข้ องวีนัส (Venus's flower basket : Eupletella aspergillum) ภาพท่ี 30 กระเชา้ ดอกไม้ของวนี ัส (Venus's flower basket : Eupletella aspergillum) (ท่มี าภาพ : http://biology.st-andrews.ac.uk/bellpet/px/venus.jpg http://www.abdn.ac.uk/~nhi708/treasure/venus/venus.gif) 3. คลาสดีโมสปองเจีย (Demospongiae) ประกอบไปด้วยฟองนา้ จานวนมากถึง 95% ของ ฟองนา้ ท้ังหมด ทกุ ชนดิ อยู่ในทะเล ยกเวน้ ใน family spongillidae ท่พี บอยูใ่ นน้าจืด ในพวกทีอ่ ยู่ใน น้าจืดจะพบแพร่กระจายในแหล่งน้าทม่ี ีออกซเิ จนสงู เกาะติดกบั พชื นา้ หรอื เศษไม้เก่า พวกทีอ่ ยใู่ นทะเล จะเปน็ ทรงสูง รปู คลา้ ยน้ิวมอื รปู พัด รปู แจกัน รปู หมอน รูปลกู บอล ขวากฟองน้าเป็นซลิ ิกา บาง ชนดิ เปน็ เส้นใยฟองนา้ หรอื ทั้งสองชนิดอยู่รวมกัน ระบบท่อนา้ เป็นแบบลิวโคนอยด์ ไม่มีสมมาตร มี

ชดุ การสอนเรอื่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) ออสคิวลัมจานวนมาก มขี นาดใหญเ่ ป็นรูป ตะกร้า แจกนั หรือหลอด มักมีสสี รรสดในเช่น ฟองน้า Page | 18 เคลอื บหิน (Haliclona) มีสีเหลือง เขยี ว มว่ ง ชมพแู ผ่คลุมกอ้ นหนิ ในเขตนา้ ขึ้นลงของชายฝงั่ ทะเล ฟองนา้ นา้ จืด (Spongilla) และฟองนา้ ถูตวั (horny sponge) กอ็ ย่ใู นคลาสนีเ้ ช่นกัน ภาพท่ี 31 (ซ้าย) Haliclona (ขวา) Spongilla (ที่มาภาพ : http://www.museums.org.za/bio/images/mb/mb0328x.jpg http://cache.eb.com/eb/image?id=11697&rendTypeId=4) 4. Class Sclerospongiae มีการจัดเรยี งท่อน้าเปน็ แบบ leuconoid มกั พบในทีท่ ไ่ี ม่คอ่ ยมี แสงสว่าง เช่น ตามรอยแยกของแนวปะการัง ในถ้าใต้น้า หรอื ในเขตน้าลกึ จึงมักถูกเรียกวา่ Coralline sponge ภาพท่ี 32 Coralline sponge (ท่ีมาภาพ : http://www.sfu.ca/~fankbone/v/killersp.jpg) 2.ไฟลมั ไนดาเรยี (PHYLUM CNIDARIA) สัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidae มีความหมายว่า ต่อยได้ (nettle)) นี้มีการประสานงานของ รา่ งกายดีกวา่ พวกฟองน้้าคือ เซลล์มีการเกาะกลุ่มเปน็ เนื้อเยอ่ื แลว้ และมีสมมาตรของร่างกายแบบรศั มี อาจพบได้ทั้งแบบ Primary radial หรือ quadriradial หรือ Biradial symmetry อย่างไรก็ตาม ยงั คงมลี กั ษณะหลาย ๆ อยา่ งที่โบราณ อยู่

ชดุ การสอนเรือ่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 19 ภาพที่ 33 สมมาตรแบบรศั มีของไนดาเรยี (ท่ีมาภาพ : http://biology.unm.edu/ccouncil/Biology_203/Summaries/ SimpleAnimals.htm) ภาพที่ 34 (ซา้ ย) ภาพขยายขนาดไฮดรา (ขวา) ภาพลดขนาดแมงกะพรุน (ท่มี าภาพ : http://www.microscope-microscope.org/gallery/hydra-187h.jpg http://biology.unm.edu/ccouncil/Biology_203/Summaries/SimpleAnimals.htm) ไนดาเรียน (Cnidarian) หลายชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้ บางชนิดเคล่ือนที่ได้อย่างอิสระ บาง ชนิดเคล่ือนที่ได้ในบางช่วงของชีวิต สัตว์ในกลุ่มนี้ถูกจัดว่าเป็นแพลงค์ตอนท่ีมีขนาดใหญ่ท่ีสุด สัตว์ใน กลุ่มนี้เป็นผู้ล่าที่มีความสามารถสูง ใช้หนวดและเข็มพิษ (Nematocyst) ช่วยในการป้องกันตัวและจับ อาหาร เข็มพิษถูกสร้างข้ึนจากเซลล์ Cnidocyte เซลล์น้ีจะสร้างถุงเป็นกระเปาะกลมรี หรือแคปซูล ภายในมีเส้นใยเล็ก ๆ เรียวยาวขดอยู่ ลักษณะคล้ายเส้นด้าย มีฝาปิดปากกระเปาะไว้ มีหนามเล็ก ๆ กระตุ้นให้ฝาปิดเปิดได้ การปิดเปิดเกิดจากการกระตุ้นของเหย่ือท้าให้แรงดันออสโมซิสในกระเปาะ ท้า ใหข้ องเหลวผ่านเขา้ สภู่ ายในเซลล์ กระตุ้นให้เส้นใยซึง่ ขดอยู่ภายใน นีมาโตซิสทจ์ ะถูกขับออกจากเซลล์

ชดุ การสอนเร่ือง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 20 ภาพท่ี 35 ตาแหน่ง และลกั ษณะของ Cnidocyte (ที่มาภาพ : http://fig.cox.miami.edu/Faculty/Dana/cnidocyte.gif) ภาพที่ 36 การจบั เหยอื่ ด้วยการยิงเขม็ พษิ (ที่มาภาพ : http://biodidac.bio.uottawa.ca/Thumbnails/showimage.cfm?File_name=CNID001P& File_type=GIFhttp://hypnea.botany.uwc.ac.za/marbot/images/nematocyst.gif) ภาพท่ี 37 กลไกการจบั เหยื่อดว้ ยการแทงเข็มและปลอ่ ยสารพิษของไนดาเรียน (ทม่ี าภาพ : http://www.reefland.com/rho/0505/images/shimek4.gif)

ชดุ การสอนเร่ือง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 21 ภาพท่ี 38 โครงสรา้ งของเซลลส์ ร้างเขม็ พิษ (Nematocyte) (ที่มาภาพ : http://www.bgfl.org/bgfl/custom/files_uploaded/img_library/digi_rsl3image1.jpg http://content.answers.com/main/content/wp/en/thumb/0/00/300px-Nematocyst_ discharge.png) ภาพท่ี 39 โครงสรา้ งของเข็มพษิ Nematocyst บางชนดิ ในไนดาเรยี น (ทีม่ าภาพ : http://reefkeeping.com/issues/2002-07/rs/index.php) แมว้ ่าไนดาเรียนจะมีเนื้อเยื่อเพยี ง 2 ช้ัน ช้นั นอกคือ อพิ ิเดอร์มิส (Epidermis) และชนั้ ในคือ แกสโตรเดอร์มิส (gastrodermis) ระหว่างเน้ือเยื่อ 2 ชั้น เป็นชั้นวุ้นและเนื้อเย่ือเก่ียวพัน แต่ นักวิทยาศาสตร์เช่ือกันว่าสัตว์ในไฟลัมไนดาเรียน่าจะเป็นบรรพบุรุษของสัตว์หลายเซลล์พวกท่ีมีเน้ือเยื่อ ล้าตัวท่ีแท้จริง (Eumetazoa) (ลักษณะของสมมาตรรัศมีแบบ Biradial ก็คือลักษณะท่ีแบ่งส่วนของ ร่างกายในแนวแกนของ Oral และ Aboral แล้วได้สองส่วนเหมือนภาพในกระจก ในพวกท่ีเป็น Eumetazoa ส่วนมากจะมีสมมาตรแบบคร่ึงซีก และพัฒนาจนล้าตัวตั้งตรงเพ่ือให้เหมาะต่อการ เคลื่อนไหวด้วย) สัตว์ในไฟลัมไนดาเรียถูกแบ่งเป็นหลายกลุ่มเช่น ดอกไม้ทะเล (Sea anemones) ปะการงั (Coral) แมงกะพรุน (Jelly fish) และไฮดรา (Hydra) สตั ว์ในไฟลมั นม้ี รี าว 9,000 ชนิด

ชดุ การสอนเรือ่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 22 ภาพท่ี 40 (ซา้ ย) รูปร่างแบบโพลปิ (ขวา) รูปรา่ งแบบเมดซู า (ทม่ี าภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/33-04-CnidarianForms-L.jpg) ไนดาเรียส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในทะเลมาตั้งแต่อดีต มีบางชนิดที่พบในน้าจืด มีทั้งท่ี ดารงชีวิตแบบอิสระและอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ตัวเต็มวัยมี ปากท่ีล้อมรอบด้วยหนวดทีปลายด้านหนึ่ง ท่อทางเดินอาหารมีช่องเปิดทางเดียว มีรูปร่างได้ 2 แบบ เรียกไดมอร์ฟิค (Dimorphic) คือแบบเมดูซา (Medusa) และแบบโพลิป (Polyp) พวกที่ไม่เคลื่อนท่ี จะมรี ปู รา่ งแบบโพลิป ปากอยูท่ างด้านบน พวกที่เคลื่อนท่ีไดจ้ ะวา่ ยน้า้ ได้อิสระ ปากอยทู่ างด้านล่าง เมดูซามีลักษณะคล้ายร่มที่ด้านบนโค้ง (Exumbella) ด้านล่างเว้า (Subumbrella) หนวดและ อวัยวะรับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ อยู่บริเวณขอบร่ม ปากอยู่ตรงปากของส่วนย่ืน ตรงกลางด้านล่าง ของร่ม (Manubrium) น้าเข้าสู่โพรงอาหารซ่ึงอยู่บริเวณตรงกลาง รูปร่างแบบเมดูซา แบ่งเป็น 2 แบบ คอื - ไฮโดรเมดูซา (Hydromedusae) เป็นเมดูซาของพวกไฮดรอยท์ มีแผ่นเย่ือบาง ๆ ยื่นจาก ขอบร่มเข้าไปทางด้านใน เรียกว่าวีลัม (Velum) ในส่วนย่ืนนี้มีเส้นใยกล้ามเน้ือเจริญดี ใช้ส้าหรับหด ตัวเป็นจังหวะช่วยในการเคลื่อนที่ ปกติไฮโดรเมดูซามีขนาดเล็ก และพบในไฮดรอยท์ที่มีวงชีวิตแบบ สลับเป็นสว่ นใหญ่ - ไซโฟเมดูซา (Scyphomedusa) เป็นเมดูซาของไซโฟซัวที่ไม่มีวีลัม ทางเดินอาหารมักแตก แขนงออกเปน็ 4 แฉก และจากกระเพาะมที อ่ ตามแนวรศั มีแลน่ ไปยัง ท่อวงแหวนที่เวยี นอยรู่ อบขอบร่ม ดอกไม้ทะเลและปะการังมีรูปร่างแบบโพลิป ส่วนแมงกะพรุนที่แท้จริงมีรูปร่างแบบเมดูซา แต่ อาจจะมีระยะตัวอ่อนเป็นโพลิปได้ (บางชนิดมีรูปร่างได้ท้ัง 2 แบบในช่วงชีวิตของการเจริญเติบโต) ทั้งโพลิปและเมดูซามีเน้ือเยอื่ ล้าตัว 2 ชนั้ ท่ีเป็นลักษณะเฉพาะ โดยมีช้นั วุ้นตรงกลาง ในเมดูซาช้ันวุ้น น้ี จะมีความหนามากกว่าพวกโพลิป พวกท่ีมีรูปร่างแบบเมดูซามีการเคลื่อนท่ีได้ดี และเป็นช่วงที่มีการ สืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศ บางคร้ังมีการเปล่ียนแปลงไปท้าหน้าที่บางอย่างโดยเฉพาะ และไม่มีหนวด ไม่มี ปาก แตท่ า้ หน้าที่เปน็ ทุ่นลอยของสมาชิกอน่ื เช่น ไฟซาเลยี (Physalia)

ชุดการสอนเรื่อง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 23 ภาพที่ 41 วงชวี ิตของแมงกะพรุนน้า้ จดื มที ั้งชว่ งที่เปน็ โพลิปและเมดซู า (ทมี่ าภาพ : http://www.southtexascollege.edu/nilsson/4_GB_Lecture_figs_f/4_GB_23_ AnimaliaInvert_Fig_f/Cnidaria_Obelia.GIF) โดยท่ัวไปแล้วสัตว์พวกน้ีจะมีโครงร่างแบบท่ีเรียกว่า Hydrostatic skeleton ซึ่งท้าให้ร่างกาย นุ่มนิ่ม เน้ือเยื่อล้าตัวด้านในเป็นโพรง เรียกช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular หรือ Gastric cavity หรือ Coelenteron หรือ Enteron) เป็นเหมือนท่อทางเดินอาหาร ระหว่างเน้ือเย่ือสองช้ันมี ระบบประสาทแบบร่างแห (Nerve net) เซลล์รับความรู้สึกจะกระจายท่ัวไป เน้ือเย่ือช้ันนอกมีเซลล์ Epitheliomuscular cell ซึ่งเทียบได้กับเซลล์กล้ามเนื้อของคน ไนดาเรียหลายชนิดเช่น ปะการัง กัลปังหา และดอกไม้ทะเล เคล่ือนท่ีไม่ได้แต่ล้าตัวและหนวดสามารถยึดหด หรือโค้งงอไปยังด้านใด ด้านหนึ่งได้ การเคล่ือนไหวน้ีอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อตามยาวและกล้ามเน้ือวงกลม แต่เส้นใย กล้ามเน้ือไม่ได้เป็นส่วนของกล้ามเน้ือจริง แต่จะเป็นเส้นใยท่ีอยู่ในเซลล์ Epitheliomuscular cell สามารถยืดหดได้และเซลล์ Mutritive cell มีเส้นใยเรียงตัวตามขวาง คล้ายกล้ามเนื้อตามขวาง สัตว์ กล่มุ นี้ยังไม่มีอวยั วะเฉพาะทีใ่ ชใ้ นการขับถ่าย หายใจ และย่อยอาหาร การย่อยจะเกิดข้ึนเม่ือดึงอาหารเข้า สู่ช่อง Gastrovascular cavity จากน้ันเซลล์สร้างน้้าย่อย (Mucous gland cell) จะปล่อยน้้าย่อย ออกมาย่อยอาหาร การย่อยท่ีเกิดข้ึนภายใน Gastrovascular cavity จึงถูกจัดเป็นการย่อยภายนอก เซลล์ (Extracellular digestion) หลังจากน้ันเซลล์ Nutritive muscle cell ซึ่งแทรกอยู่ที่เนื้อเยื่อ ช้ันใน จะน้าอาหารที่มีขนาดเล็กลงเข้าสู่เซลล์โดยวิธีฟาโกไซโทซิส เพ่ือน้าไปย่อยภายในเซลล์อีกครั้ง หนึ่ง (Intracellular digestion) ส่วนของอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูก Amoeboid cell น้าออกสู่ช่อง Gastrovascular และขับออกทางช่องปากในเวลาต่อมา การสืบพันธ์ุมีท้ังแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศจะเป็นการแตกหน่อ (Budding) ส่วนแบบอาศัยเพศจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์จาก อวัยวะสบื พนั ธุ์ (Gonad) มาปฏสิ นธิเป็นตวั อ่อนชนดิ Planura larva

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 24 ภาพท่ี 42 โครงสรา้ งของไฮดรา (ทีม่ าภาพ : http://www.ipst.ac.th/biology/Article-pic/no17/hydra-model-s.gif) โคโลนีของไนดาเรียนมักพบอยู่รวมกับเปลือกของมอลลัสก์ ก้อนหิน หรืออยู่ร่วมกับส่ิงมีชีวิต อื่น เช่น ดอกไม้ทะเลอยู่กับเปลือกหอย ไฮโดรซัวบางชนิดอยู่กับปู สาหร่ายหลายชนิดท่ีอาศัยอยู่ใน เนือ้ เยื่อของไนดาเรียน มอลลสั ก์และหนอนตัวแบนบางชนิดกินไฮดรอยด์เป็นอาหาร บางชนิดถูกน้ามา ใช้เป็นอาหารสาหรับคน บางชนิดอาจพบได้ในทะเลลึก พวกท่ีมีรูปรา่ งแบบเมดูซาจะลอยตัวและวา่ ยน้า ได้ดี บางชนิดลอยตัวโดยอาศัยแรงลม ไนดาเรียนมีบทบาทสาคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ชายฝั่ง เนื่องจากแนวปะการังเป็นถิ่นท่อี ยทู่ ่สี าคญั ของ ปลา ปู กุ้ง หนอนปล้อง และสัตว์ทะเลอื่นอีก หลายชนิด ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารท่ีสาคัญของมนุษย์ และเป็นสถานท่ีดึงดูดให้นักท่องเท่ียวเข้ามาชม ทัศนียภาพความงามของท้องทะเล หิน ปะการังหลายชนิดถูกน้ามาใช้ในการก่อสร้าง หรือท้า เคร่ืองประดบั นอกจากน้ีเมดซู าทเี่ ปน็ แพลงคต์ อนยังเป็นแหล่งอาหารท่ีสาคญั ของปลาอีกด้วย การจาแนกหมวดหมู่ จาแนกออกเปน็ 4 คลาส คอื 1. คลาสไฮโดรซัว (Hydrozoa) สมาชิกในคลาสมีช่ือเรียกรวมว่า ไฮดรอยด์ (Hydroid) ได้แก่ พรมทะเล ไฮดรา แมงกะพรุนน้้าจืด อาจอยู่ตัวเดียว หรือเป็นโคโลนี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ทะเล และอยู่รวมกันเป็นโคโลนี วงชีวิตจะประกอบด้วยทั้งพวกท่ีมีรูปร่างแบบโพลิป สืบพันธ์ุโดยไม่ใช้ เพศ และรูปร่างแบบเมดูซาท่ีสืบพันธ์ุแบบใช้เพศ ในพวกท่ีพบในน้าจืด เช่น ไฮดรา จะไม่มีระยะเมดู ซา ช้นั ของมีโซเกลียไม่มีเซลลไ์ นโดไซทห์ รือมีเลก็ น้อย เซลลส์ ืบพนั ธ์ุจะเจรญิ ในชัน้ อพิ เิ ดอร์มสิ ภาพที่ 43 ไฮดราสีเขยี ว (Chlorohydra viridissima) (ทีม่ าภาพ : http://www.fcps.edu/StratfordLandingES/Ecology/mpages/green_hydra.htm)

ชุดการสอนเรอื่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 25 ภาพที่ 44 Physalia (Portuguese man-of-war) (ทมี่ าภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=30731&rendTypeId=4 http://farm1.static.flickr.com/121/372267698_902b617ddc_o.jpg) 2. คลาสคิวโบซัว (Cubozoa) หรือ Cubomedusae : เป็นเมดูซาท่ีมีลักษณะก้้าก่ึงระหว่าง Hydrozoa กับ Scyphozoa รูปทรงค่อนข้างเป็นถ้วยส่ีเหล่ียมจึงถูกเรียกว่า Box jellyfish ท่ีมุมทั้งสี่ จะมีหนวด มานูเบรียมส้ัน เข็มพิษมีพิษร้ายแรงถึงขนาดท้าให้คนตายไดเ้ ช่นเดียวกับ Physalia ดว้ ยพิษ ร้ายแรงน้ีจึงมีอีกช่อื วา่ ตอ่ ทะเล (Sea wasp) ภาพที่ 45 ตอ่ ทะเล (Sea wasp หรอื Box jellyfish) (ทีม่ าภาพ : http://zoltantakacs.com/zt/im/scan/inverteb/20126_340.jpg http://linkscampeoes.com.br/cur_animais/im_cur_ven_insetos/p_box.JPG) 3. คลาสไซโฟซัว (Scyphozoa) : แมงกะพรุน (Jellyfish) สมาชิกมีรูปรา่ งแบบเมดูซา และ มีขนาดใหญ่กว่าพวกไฮดรอยด์เมดูซา แต่ในระยะตัวอ่อนจะมีรูปร่างแบบโพลิป ช้ันมีโซเกลียจะประกอบ ไปด้วยเซลล์แทรก และมีเซลล์ไนโดไซต์อยู่ในชั้นแกสโตรเดอร์มสิ ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์ถูกสร้างขึ้นในช้ันน้ี ด้วย สัตว์ในคลาสนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2-40 เซนติเมตร ไปจนถึง 2 เมตรเช่น Lion’s mane พบนีมาโตซิสต์มากบริเวณ หนวด และปาก ไม่มีวีลัม แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ อาหารของพวก น้ีได้แก่สัตว์ทะเลเช่น ปลาซึ่งไหลมาตามกระแสน้้าติดบริเวณหนวดและปาก บางชนิดกินแพลงค์ตอน ภายในกระเพาะอาหารแยกเปน็ 4 แฉก

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 26 ภาพท่ี 46 (ซา้ ย) Scyphomedusa ในแอนตารก์ ติก (ขวา) Lion’s mane ในอาร์คติก (ที่มาภาพ : http://img.timeinc.net/time/photoessays/2007/antarctic_ice/antarctic_ice_04.jpg http://newsimg.bbc.co.uk/media/images/40361000/jpg/_40361559_lionsmane_203tall.jpg) ภาพท่ี 47 แมงกะพรุนจานหรอื แมงกะพรุนหนงั (Moon jellyfish) Aurelia sp. (ทมี่ าภาพ : http://naviny.by/media/2007.06/medusa-aurelia.jpg http://www.juzaphoto.com/shared_files/photos2/001801-aurelia_aurita-moon_jelly- medusa_quadrifoglio.jpg) ภาพที่ 48 วงชีวิตของแมงกะพรุน Aurelia sp.

ชุดการสอนเร่ือง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) (ท่ีมาภาพ : http://www.mgur.com/medusa/Life%20cycle%20of%20a%20jellyfish.jpg) Page | 27 4. คลาส แอนโทซัว (Anthozoa) : สัตว์ในกลุ่มนี้มีมากกว่า 6,000 ชนิด ลักษณะทั่วไป มองดูเหมือนดอกไม้ จึงเรียกว่าดอกไม้ทะเล (Sea anemones) นอกจากนั้นก็มีปะการัง (Coral) และกัลปังหา (Gorgonia = Sea fan) วงชีวิตไม่มีระยะเมดูซา อยู่ในทะเลทั้งหมด และแพร่กระจาย ทั่วไปทั้งในเขตน้้าลึก และน้้าต้ืน มีรูปร่างแบบโพลิป ขนาดของล้าตัวแตกต่างกันมาก ไนดาเรียนที่ ใหญ่ทส่ี ุดอยู่ในคลาสนี้ (เน่ืองจากส่ิงมีชวี ิตในกลุ่มนี้มักสืบพันธ์ุแบบแตกหนอ่ และเมอื่ แตกหน่อแล้วไม่ เคลื่อนย้ายไปไหน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นเร่ือย ๆ จนเกิดเป็นแนวปะการัง (Coral reef)) ช้ันมีโซเกลียประกอบไปด้วยเซลล์มีเซนไคม์ ถัดจากปากกาประกอบด้วยคอหอยและแผ่นล้าไส้ ซ่ึงเจริญมาจากผนังด้านนอกของล้าตัวย่ืนเข้าไปภายในช่องทางเดินอาหาร แผ่นล้าไส้น้ีมีหน้าท่ีช่วยใน การย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร ภาพท่ี 49 แนวปะการังประกอบด้วย Anthozoa หลากหลายชนิด (ท่มี าภาพ : http://earthobservatory.nasa.gov/Study/Paleoclimatology_CloseUp/ Images/coral_reef.jpg) ภาพท่ี 50 Anthozoa แบบตา่ ง ๆ (ท่มี าภาพ : http://stores.shopforge.com/Merchant2/graphics/00000011/CORAL %20MONTAGE%20LATEST.JPG)

ชดุ การสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 28 ภาพท่ี 51 วงชวี ติ ของ Anthozoa (ท่มี าภาพ : http://www.uas.alaska.edu/biology/tamone/catalog/urticina_crassicornis/ images/urticina_crassicornis9.jpg) ภาพที่ 52 โครงสร้างภายในของ Anthozoa (ท่ีมาภาพ : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/49/Coral_polyp.jpg /275px-Coral_polyp.jpg) สัตว์ในกลุ่มน้แี บ่งออกเป็น 3 subclass คือ - Alcyonaria (Octocorallia) ประกอบด้วย ปากกาทะเล (Sea pen) กัลปังหา แสท้ ะเล - Zoantharia (Hexacorallia) ประกอบด้วย ดอกไมท้ ะเล ปะการงั กอ้ น ปะการังเขากวาง - Ceriantipatharia ประกอบด้วย ดอกไมท้ ะเลหลอด (Tube sea anemones) และปะการังหนาม (Thorn corals) ปะการงั ดา้ (Black corals)

ชุดการสอนเรอื่ ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 29 ภาพที่ 52 (ซา้ ย) กลั ปงั หา (กลาง) ปากกาทะเล (ซ้าย) ปะการัง (ท่ีมาภาพ : http://sanctuaries.noaa.gov/pgallery/pgflorida/living/seafan_300.jpg http://www.elasmodiver.com/BCMarinelife/images/Orange-sea-pen.jpg 3.ไฟลัมแพลทิเฮลมนิ ทีส (Phylum Platyhelminthes) ช่ือไฟลัมมาจาก Platy แปลว่า flat และ Helminth แปลว่า worm เป็นพวกหนอนตัวแบน (Flatworm) มีสมาชิกประมาณ 15,000-18,500 ชนิด บางนิดดารงชีวิตอย่างอิสระ บางชนิดเป็น ปรสิต มีลักษณะเด่นแตกต่างจากพวกซีเลนเตอเรตคือ มีหัว มีเนื้อเยื่อสามชั้น แต่ไม่มีช่องลาตัว อวัยวะภายในจะอัดอยู่ใน Parenchyma ซ่ึงมีกาเนิดจาก Mesoderm แม้จะวิวัฒนาการข้ึนมาแล้วแต่ ทางเดินอาหารยงั ไมส่ มบรู ณ์ ไมม่ ีทวาร ภาพท่ี 56 หนอนตัวแบน (ซา้ ย) ด้ารงชวี ิตแบบอิสระหรอื (ขวา) ปรสิต (ทม่ี าภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=33746&rendTypeId=4 http://biodidac.bio.uottawa.ca/ftp/BIODIDAC/Zoo/Platyhel/PHOTO/Trem054p.gif) จาแนกออกเปน็ 4 คลาส คือ 1. คลาส เทอร์เบลลาเรีย (Turbellaria) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 4,500 ชนิด มีขนาดลาตัว ประมาณ 5-50 เซนติเมตรได้แก่ หนอนท่ีเป็นอสิ ระ พบท้งั ในน้้าจดื และน้้าเค็ม มี 2 - 3 ชนิด ที่ พบตามดินช้นื ในป่า ท่ีรจู้ ักกันดีคือ พลานาเรีย (Planaria) มีลา้ ตัวสเี ทาหรือสีน้้าตาล สว่ นหัวเป็นรูป สามเหล่ียม มซี ีเลียอยู่ท่ีชั้นอิพิเดอร์มิส ทางด้านท้อง ถัดเข้ามาเป็นชั้นของกล้ามเนื้อวงกลม กล้ามเนื้อ ตามยาว กล้ามเน้ือต้ังฉาก หนอนตัวแบนขนาดเล็กจะว่ายน้้าโดยใช้การโบกพัดของซีเลียรวมกับการหด ตัวของกล้ามเน้ือ พวกทมี่ ขี นาดใหญ่จะมีการท้างานประสานงานกันของกลา้ มเนื้อทง้ั 3 ชนิด โดยชนิด หน่ึงหดตวั อกี ชนิดหนึ่งคลายตัว นอกจากน้ียังมีเซลลต์ ่อม (Rhabdiites) ท้าหนา้ ทีส่ ร้างเมือกลื่น ซ่ึง เปน็ สารเคมชี ่วยในการเคล่ือนท่ี และป้องกันอันตรายจาการถกู กิน

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 30 ภาพท่ี 57 หนอนตัวแบนชนิดตา่ ง ๆ (ทมี่ าภาพ : http://rivers.snre.umich.edu/www311/aqanimal.html http://digilander.libero.it/enrlana/plmo4.jpg http://planarian.net/gf/2000/intestin-A.jpg) ภาพท่ี 58 โครงสร้างของพลานาเรยี (ที่มาภาพ : http://www.southtexascollege.edu/nilsson/4_GB_LectureNotes_f/4_GB_23_ Cla_Ani_In_Spr2003.html) หนอนตัวแบนเป็นสัตว์กนิ เนอ้ื โดยกินสัตวไ์ ม่มกี ระดูกสันหลงั ขนาดเล็ก ปากจะอยู่บริเวณ ด้านท้องตรงกลางล้าตัว ทอ่ ทางเดินอาหารประกอบดว้ ยหอยและถงุ ล้าไส้ ซง่ึ ทา้ หนา้ ที่ยอ่ ยอาหารและ ดดู ซมึ ไมม่ ที วาร ของเสียจะถูกขบั ออกทางปากเช่นเดียวกับไนดาเรียน

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 31 ภาพท่ี 59 ระบบตา่ ง ๆ ของพลานาเรีย (ทีม่ าภาพ : http://dragon.seowon.ac.kr/~bioedu) พลานาเรียสามารถจบั สัตว์ขนาดใหญ่กว่า เป็นอาหารได้โดยการคลานข้นึ ไปรัดรอบเหยื่อ แล้ว ย่ืนคอหอยออกมาจากโพรงปาก ดูดอาหารเข้าไปในโพรงทางเดินอาหาร โดยการบีบรัดของกล้ามเน้ือ ของผนังทางเดินอาหาร การย่อยอาหารจะเป็นแบบภายนอกเซลล์ก่อน บริเวณผนังล้าไส้ อาหารที่ เหลือจากการใชส้ ามารถเกบ็ สะสมไว้ในเซลลช์ นั้ แกสโตรเดอร์มิส ผนังลาตัวของพลานาเรียบาง และรูปร่างแบน จึงท้าให้มีการแพร่ของออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ง่ายและพอเพียง ซ่ึงร่างกายแต่ละส่วนต้องการแลกเปลี่ยนในปริมาณท่ีต่างกัน เช่น ส่วนหัวต้องการมากกว่าส่วนอ่ืน ของเสียท่ีเกิดข้ึนจะถูกขับถ่ายโดยโปรโตเนพฟริเดีย (Protonephridia) ซึ่งอยู่ในช้ัน พาเรนไคมา ซึ่งจะเป็นพวกแอมโมเนีย นอกจากน้ียังช่วยปรับระดับ ความสมดลุ ของนา้ ในรา่ งกายด้วย

ชดุ การสอนเรอื่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 32 ภาพที่ 60 Frame cell เซลล์ในระบบขบั ถา่ ยของพลานาเรีย (ทม่ี าภาพ : http://faculty.uca.edu/~johnc/PlanarianPronephr.gif) ในส่วนของระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก มีปมประสาทสมอง 2 อัน อยู่ติดกันท้า หน้าที่เป็นศูนย์สั่งงาน มีแขนงสั้น ๆ แยกไปเล้ียงตา (Simple eyes) ท่ีอยู่ทางด้านหลังของหัว ท้า หน้าที่รับความรู้สึกเก่ียวกับแสง ทางด้านหลังมีเส้นประสาทตามยาว (Longitudinal nerve cord) 2 เส้นทอดขนานยาวตลอดล้าตัว มีเส้นประสาทตามขวาง (Transverse nerve) ยืดระหว่างเส้นประสาท ตามยาวมแี ขนงแยกไป ทางผวิ หนังดว้ ย ไม่พบสแตทโตซสี (Statocyst) หนอนตัวแบนมีความสามารถสูงมากในการงอกใหม่ (Regeneration) โดยมีเซลล์ในช้ันพาเรน ไคมา ท้าหน้าที่สรา้ งเซลล์ใหม่ อัตราการงอกใหม่จะแตกต่างกัน ชิน้ หัวจะงอกได้เร็วกว่าช้ินหาง ปกติ มีการสืบพันธ์ุแบบไม่อาศัยเพศ โดยแบ่งตัวตามขวาง คอดส่วนของร่างกายบริเวณด้านหลังคอหอย พลานาเรยี เป็นพวกรวมเพศแตจ่ ะผสมแบบข้ามตัว 2. คลาสโมโนกีเนีย (Monogenea) ในหนังสือบางเล่มจัดกลุ่มพยาธิชนิดน้ีเป็นอันดับ (order) หนึ่งของพยาธิใบไม้ แต่ว่ามีลักษณะหลายอย่างท่ีท้าให้มีความแตกต่างมากเพียงพอท่ีจะแยก ออกไปเป็นคลาสใหม่ได้ทุกชนิด พยาธิที่อยู่ในคลาสนี้ด้ารงชีวิตเป็นปรสิตที่อยู่ภายนอกของปลามีบ้างที่ พบในกระเพาะปัสสาวะของกบและเต่า พยาธิเหล่าน้ีก่อให้เกิดผลเสียต่อโฮสท์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น วง ชีวิตของโมโนโกเนียอาศัยโฮสท์เพียงชนิดเดียว ไข่ท่ีฟักออกมาจะเป็นlarvae ท่ีมีขนสั้นรอบตัวเกาะติด กบั โฮสท์ หรอื ว่ายนา้ อยใู่ กล้ ๆ กบั โฮสท

ชุดการสอนเรือ่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 33 ภาพที่ 61 สัตวใ์ นคลาส Monogenea (ท่มี าภาพ : http://www.nhc.ed.ac.uk/images/collections/invertebrates/parasitic/LgMonogenea.jpg) 3. คลาส ทรีมาโตดา (Trematoda) เป็นหนอนตัวแบนท่ีเป็นปรสิตเช่น พยาธิใบไม้ (Flukes) มีประมาณ 11,000 ชนิด ส่วนมากจะเป็นปรสิตภายใน โดยสัตวม์ ีกระดูกสันหลังเป็นโฮสท์ แรก (Primary host) และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นโฮสท์รอง (Intermidiate host) รูปร่างของ พยาธิใบไม้ จะเป็นตัวแบน รูปไข่ หรือยาวรี ล้าตัวยาวไม่เกิน 2 - 3 มิลลิมตร ไม่มีซีเลียปกคลุม ผิวหนังชั้นนอกเป็นสารไกลโคโปรตีน ปากตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของส่วนหัว ซ่ึงจะมีปุ่มดูดรอบปาก (Sucker) ท่อทางเดินอาหารประกอบด้วยคอหอยซึ่งเป็นกล้ามเนื้อ เข้าสู่หลอดอาหารสั้น ๆ และมีถุง ล้าไส้ตลอดความยาวตามแนวด้านข้างของล้าตัว อาหารของพยาธิใบไม้ได้แก่ น้้าเมือก และเลือดของ โฮสท์ มีอวัยวะขับถ่ายของเสียเรียก โปรโตเนพฟริเดีย ระบบประสาทคล้ายพวกพลานาเรีย แต่ไม่มี อวัยวะรับความรู้สึก ภาพท่ี 62 พยาธิใบไม้ (ที่มาภาพ :http://mylesson.swu.ac.th/mb322/echinostoma.jpg http://th.kapook.com/upload/media_library/malisa/sport/thai/sea/16775.jpg) วงชีวิตของพยาธิใบไม้สลับซับซ้อน โดยเร่ิมจากไข่ถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระของ primary host และฟักตัวในบริเวณท่ีชื้นแฉะ ได้ตัวอ่อนที่มีซีเลียว่ายน้าเข้าไปอยู่ในล้าไส้ของหอยและเจริญ เปล่ียนแปลงรูปร่างไปเป็นแบบมีหางยาวช่วยในการว่ายน้าออกจากโฮสท์รองชนิดแรก (first intermidiate) ไปยังโฮสท์รองชนิดที่สองเช่นฝังตัวอยู่ในเนื้อปลา และถูกกินโดยโฮสท์หลักแล้ว เคลอื่ นทีไ่ ปอยู่บริเวณท่อน้าดเี จรญิ เป็นตัวแก่

ชดุ การสอนเรื่อง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 34 ภาพท่ี 63 วงชวี ติ ของหนอนตัวแบนพวกพยาธใิ บไม้ (ทีม่ าภาพ : http://www.stanford.edu/class/humbio103/ParaSites2004/Heterophyidae/right- bottom.html) พยาธิใบไม้ท่ีก่อให้เกิดปัญหาในคนและสัตว์เล้ียงคือพยาธิใบไม้ที่อยู่ใน subclass Dignea เช่น พยาธิใบไม้ในตบั Poisthorchis sp. ซึ่งเปน็ พยาธิใบไม้ในตับทม่ี กี ารแพร่กระจายในแถบเอเซียใต้ ญีป่ ุ่น และจีน นอกจากคนแล้วยังพบในสุนัข แมว และหมูด้วย พยาธิใบไม้ในเลือดที่ส้าคัญได้แก่ พยาธิ ใบไม้ในเลือด Schistosoma ซงึ่ ถกู จัดวา่ เป็นหน่ึงในพยาธิใบไม้ทีม่ ีความสา้ คัญมาก ประมาณว่าประมาณ 200 ล้านคนท่ีถูกรุกรานด้วยพยาธิชนิดนี้ ท้าให้เกิดภาวะของโรคขาดเลือด มีอาการรุนแรงถึงสมอง ด้วย นอกจากนีย้ งั มพี ยาธิใบไมใ้ นปอด Paragoimus westermani 4. คลาส เซสโตดา (Cestoda) ทุกชนิดเป็นปรสิตภายในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (แต่มีระยะตัวอ่อนอยู่ในสัตว์ไมม่ ีกระดูกสันหลัง) มีประมาณ 3,400 ชนิด ล้าตัวไม่มีซีเลียปกคลุม ล้า ตัวจะแตกต่างจากคลาสอ่ืน ๆ คือ ปลายสุดของส่วนหัวประกอบด้วยปุ่มดูด และขอเก่ียว เรียกสโค เลกซ์ (Scolex) พยาธิตัวตืดมีคอสั้นซ่ึงเชื่อมต่อระหว่างสโคเลกซ์กับล้าตัวยาวท่ีเรียกว่า สตรอบิลา (Strobila) ล้าตัวจะแบ่งเป็นปล้อง เรียกแต่ละปล้องว่า โปรกลอททิด (Proglottid) ปล้องท่ีอยู่ติดกับ ส่วนคอจะเป็นปล้องที่เกิดขึ้นใหม่ บางชนิดมีจ้านวนปล้องเป็นพัน ความยาวของล้าตัวอาจยาวถึง 25 เมตร ไม่พบระบบย่อยอาหารเน่ืองจากเป็นปรสิต อาหารท่ีย่อยแล้วจะดูดซึมเข้าสู่เย่ือบุช่องทางเดิน อาหาร เส้นประสาทตามยาวและท่อกาจัดของเสียจะทอดไปตามความยาวของล้าตัว ในปล้องแต่ละปลอ้ ง จะมีระบบสืบพันธ์ุครบสมบูรณ์ การจับคู่ผสมกันจะเกิดข้ึนในพยาธิ 2 ตัว มาแลกเปล่ียน Gamete กันมากกว่าการผสมพนั ธุภ์ ายในตัวเดียวกนั หรือในปลอ้ งเดียวกัน

ชดุ การสอนเรื่อง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 35 ภาพท่ี 64 ลกั ษณะภายนอกของพยาธิตัวตดื (ทีม่ าภาพ : http://faculty.sulross.edu/critzi/Mammal%20tapeworm%20by%20D.%20Kunkel.jpg http://faculty.clintoncc.suny.edu/faculty/Michael.Gregory/files/Bio%20102/Bio%20102%20Labor atory/Animal%20Diversity/Lophotrochozoans/tapeworm.jpg) พยาธิตัวตืดท่ีพบบ่อยในประเทศไทยคือ พยาธิตัวตืดในวัว (Taeniarhynchus saginatus) ตัว อ่อนที่ออกจากคนจะถูกกินโดยวัว และเข้าไปตามกระแสเลือดหรือท่อน้้าเหลือง และเคล่ือนย้ายไปที่ กล้ามเนื้อลายสร้างเกราะหุ้มตัวเรียก ซิสทิเซอร์คัส (cysticercus) รอเข้าไปอาศัยอยู่ในโฮสท์หลัก อีก ชนิดคือ พยาธิตัวตืดในเน้ือหมู (Taenia soluim) มีคนเป็นโฮสท์หลัก และมีหมูเป็นโฮสท์รอง ใน บางครั้งคนอาจเป็นโฮสท์รองได้ถ้ามีโอกาสกินตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดเข้าไป ตัวอ่อนน้ีจะเขา้ ไปเจริญใน สมองส่วนกลางได้ พยาธิตัวตืดในหมูท่ีอาศัยในล้าไส้คน อาจมีความยาวได้มากกว่า 3 เมตร ปล้องที่ แก่จะมีไข่ท่ีได้รับการผสมแล้ว และถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ ไข่ก็จะถูกกินโดยหมู ไข่ในระยะนี้จะ อยู่ภายในเปลือกหุ้มเมื่อหมซู ่ึงเป็นอินเตอร์มิเดียทโฮส กินเข้าไป ส่วนเปลือกจะถูกย่อยออก ตัวอ่อนท่ีมี ขอเก่ียว 6 อัน จะออกมาสู่ล้าไส้หมู แล้วจะเข้าสู่กระแสเลือด เข้าไปอยู่ในกล้ามเน้ือลายเป็นตัวอ่อน ระยะ ซิสทิเซอร์คัส (cysticercus) มีความยาวของรูปไข่ประมาณ 10 มิลลิเมตร มีส่วนของสโคเลกซ์ หดเข้าไปภายในตัวได้ เมื่อคนกินเนือ้ หมูสุก ๆ ดิบ ๆ ตัวออ่ นนี้จะยดื สโคเลกซ์ออก แล้วฝังต้ว อยูใ่ น ผนังลา้ ไสข้ องคน เจรญิ เติบโตสรา้ งปลอ้ งออกมาเป็นตัวแก่

ชดุ การสอนเรอ่ื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 36 ภาพท่ี 65 โครงสรา้ งสาคัญของพยาธติ วั ตดื (ทม่ี าภาพ : http://www.personal.psu.edu/users/t/r/trp2/tapeworm.jpeg) ภาพที่ 66 วงชีวิตของพยาธิตัวตืดในวัว (ที่มาภาพ : http://universe-review.ca/I10-82-tapeworm.jpg)

ชุดการสอนเรื่อง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 37 ภาพท่ี 67 วงชวี ิตของพยาธติ ัวตดื ในหมู (ท่มี าภาพ : http://www.humanillnesses.com/original/images/hdc_0001_0003_0_img0261.jpg) 4.ไฟลัมมอลลัสกา (PHYLUM MOLLUSCA) ช่ือไฟลัมมาจาก Molluscum ท่ีแปลว่า Soft มอลลัสค์ (Mollusks) เป็นสัตว์ท่ีมีช่องลาตัว (Coelom) สตั ว์ในไฟลมั มอลลสั กา จดั เปน็ 1 ใน 3 ไฟลมั ของกลุ่มโปรโตสโตม (Protostomes) ซึ่ง รวมพวกแอนเนลิดา และอาร์โทรโปดา สัตว์ในไฟลัมน้ียังมีชีวิตอยู่ประมาณ 60,000 ชนิด และที่พบ เป็นซากดึกดาบรรพ์ อีกประมาณ 45,000 ชนิด จัดเป็นไฟลมั ท่ีใหญร่ องลงมาจากไฟลัมอารโ์ ทรโปดา พบได้ท้ังในน้าเค็ม น้าจืด และบนดิน ล้าตัวมีสมมาตรคร่ึงซีก (อาจมีบ้างบางชนิดท่ีไม่มีสมมาตร) ลาตัวไม่มีปล้อง และมีส่วนหัว ลักษณะเด่นของมอลลัสก์คือ ล้าตัวทางด้านท้องจะมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ทาหน้าท่ีเป็นเท้า ช่วยในการเคลื่อนท่ี ล้าตัวด้านหลังมีเยื่อเรียก แมนเทิล (mantle) จะหล่ังสาร แคลเซียมออกมาคลุมร่างกายเป็นเปลือก (shell) ในบางชนิดไมม่ ีเปลือกห้มุ ลกั ษณะเดน่ อีกประการคือ อวัยวะภายในที่ห่อหุ้มด้วยเนื้อเย่ือชั้นที่เรียกว่า Visceral mass และ Mantle รอบช่องแมนเทิล (Mantle cavity) เป็นท่ีต้ังของเหงือกในพวกสัตว์น้า และเปล่ียนเป็นปอดสาหรับสัตว์บก อวัยวะใน การหาอาหารเป็นเนื้อแข็ง ๆ คล้ายฟันเรียกว่า Radula ท้าหน้าที่ขูดอาหาร และดึงอาหารเข้าปาก ยกเว้นพวกหอยสองฝา

ชุดการสอนเรือ่ ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 38 ภาพที่ 75 โครงสร้างของ Mollusks (ท่ีมาภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/33-16-MolluskBodyPlan-L.gif) สัตว์ในกลุ่มน้ีมีความแตกต่างกันในเรื่องโครงสร้างและขนาดของลาตัวมาก เช่น ลิ่นทะเล หอยทาก หอยสองฝา หมึกต่าง ๆ ขนาดของมอลลัสกม์ ีต้ังแต่ที่ต้องมองภายใต้กล้องจุลทรรศน์จนถึง ขนาดใหญม่ ากท่ีสุด คือ หมึกยักษ์ Architeuthis harveyi ที่มขี นาดล้าตวั รวมกบั หนวดทยี่ ดื ยาวออกมา ถึง 18 เมตร มีน้าหนักประมาณ 500 กิโลกรัม เปลือกของหอยมือเสือ Tridana gigas ซ่ึงพบตาม แนวปะการังแถบ Indo-Pacific มีความยาวถึง 1.5 เมตร มีน้าหนักประมาณ 225 กิโลกรัม ประมาณกวา่ 80% ของจ้านวนทงั้ หมดจะเปน็ พวกที่มขี นาดของรา่ งกายนอ้ ยกวา่ 5 เซนติเมตร ภาพที่ 76 หมึกยักษ์ และหอยมอื เสอื (ท่ีมาภาพ : http://www.mnh.si.edu/natural_partners/squid4/DispatchImages/20Feb1999/ clyde_hosing_mantle.jpg http://www.muszle.concha.pl/gfx/honorowy/ant06.jpg) ระบบหมุน เวียน โลหิตแบบเปิด มีหัวใจอยู่ในช่องรอบหัวใจ (Pericardial cavity) ประกอบด้วย เวนตริเคิล 1 ห้อง ออริเคิล 2 ห้อง รับเลือดท่ีฟอกแล้วจากเหงือก ส่งมายังเวนตริ เคลิ เพอ่ื ส่งออกไปทัว่ ร่างกาย การแลกเปลีย่ นกา๊ ซใชเ้ หงือก ปอด และแมนเทิล หรอื ผนังล้าตัว ส่วน การขับถ่ายของเสียจะใช้เมตาเนฟริเดีย (Metanephridia) ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมอง

ชดุ การสอนเร่ือง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ประสาทไปยังเท้า 1 คู่ และปมประสาทอวัยวะภายใน อวัยวะรับสมั ผสั ประกอบดว้ ย สแตทโตซิสท์ 1-Page | 39 2 อนั หนวด 1-2 คู่ ตา 1 คู่ และออสฟราเดีย (Osphradia) ท้าหน้าที่โบกพัดตะกอนจากเหงือก และรับสัมผัสสารเคมี มอลลัสก์มีทั้งที่เป็นสัตว์แยกเพศ และเพศรวม มีอวัยวะสืบพันธ์ุ 1 คู่ ใกล้ ๆ กับชอ่ งรอบหวั ใจ ภาพท่ี 77 วงชีวติ ของมอลลสั ก์บางชนิด (ทม่ี าภาพ : http://www.oftimeandtheriver.org/resources/secondaryimpacts/images/ MusselLifeCycle.gif) การจาแนกหมวดหมู่ 1. คลาสโมโนพลาโคฟอรา (Monoplacophora) ได้แก่ หอยฝาชีโบราณ (Neopilina) เป็น มอลลัสก์ที่มีลักษณะโบราณ เริ่มแรกพบจากซากฟอสซิล จึงคิดว่าสูญพันธุ์แล้ว ในปี 1952 พบ ตัวอย่างท่ีมีชีวิตจากฝั่งตะวันตกของอเมริกากลาง และพบเพ่ิมขึ้นเร่ือย ๆ สัตว์กลุ่มน้ีจัดว่าเป็นบรรพ บรุ ุษของหอยในคลาสอ่นื ๆ ลักษณะท่ัวไป โมโนพลาโคฟอรา มีความยาวล้าตัว 2-3 เซนติเมตร ล้าตัวด้านหลังปกคลุม ดว้ ยเปลือกช้ันเดียวคอ่ นข้างบาง มียอดแหลมนิดเดียวเยื้องไปทางด้านหน้าด้านท้องกวา้ งแบน ส่วนเท้า อยู่ตอนกลาง ภาพท่ี 78 หอยฝาชี หรือหอยฝาละมีโบราณ (ทีม่ าภาพ : http://www.vobs.at/bio/evolution/Erdgeschichte/Neopilina.jpg http://www.conchasbrasil.org.br/materias/monoplacophora/mono_live.jpg)

ชดุ การสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 40 ภาพที่ 79 โครงสร้างของหอยฝาชโี บราณ (ที่มาภาพ : http://www.weichtiere.at/images/weichtiere/neopilina_ventral-en.gif http://www.planetavivo.org/drupal/files/ProgramasInvestigacion/LibroDeCiencias/HistoriaVidaT ierra/Cap2_Cuerpos/Diapo12_Neopilina.gif) 2. คลาโพลีพลาโคฟอรา หรือ แอมฟินิวรา (Polyplacophora or Amphineural) ซ่ึงมีสัตว์อยู๋ใน คลาสนี้ประมาณ 500 ชนิด มีขนาดต้ังแต่ไม่ก่ีมิลลิเมตรจนมีความยาวมากกว่า 35 เซนติเมตรเช่น ล่ินทะเล (Chiton) อาศัยยึดเกาะกับก้อนหิน หรือฐานแข็งอ่ืน ๆ พบมากในบริเวณที่มีการขึ้นลง ของน้้า ตามหินชายฝังทะเล ลักษณะทั่วไป สว่ นหวั ไม่เจรญิ ดา้ นทอ้ งมเี ท้าแบนกว้างช่วยในการยึดเกาะ แตกต่างจากมอลลัสก์พวกอื่นคือ มีเปลือกจ้านวน 8 แผ่น ท่ีสร้างมาจากแมนเทิล ปกคลุมร่างกาย ด้านหลัง เปลือกแต่ละแผ่นมีช่องเปดิ ออกสู่ภายนอก เหงือกจะต้ังอยู่บริเวณข้างใดข้างหนงึ่ ของช่องแมน เทิล มีจ้านวนไม่แน่นอน ถ้ามีอายุมากจ้านวนเหงือกจะมากกว่าภายในปากมีแรดูลาใช้ในการดึงกัด ส า ห ร่ า ย อ อ ก จ า ก ก้ อ น หิ น บ า ง ช นิ ด กิ น แ พ ล ง ค์ ต อ น ภาพท่ี 80 ลนิ่ ทะเล (Chiton) (ท่มี าภาพ : http://www.esu.edu/~milewski/intro_biol_two/lab__11_mollusca/images/chiton.jpg http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/33-17-Chiton.jpg) 3. คลาสอะพลาโคฟอรา (Aplacophora) มีขนาดเล็กรปู ร่างคลา้ ยหนอน ไมม่ เี ปลอื ก มสี ปิ คลู ท่แี มนเทลิ และที่ร่างกายส่วนหางมีแอง่

ชุดการสอนเรื่อง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 41 ภาพที่ 81 Aplacophoora (ท่มี าภาพ : http://baike.baidu.com/pic/40/11546968770717143.jpg) 4. คลาสแกสโตรโพดา (Gastropoda) มีประมาณ 35,000 ชนิด เป็นพวกหอยฝาเดียว รวมท้ังพวกท่ีมีขนาดใหญ่ท่ีสุด และเป็นกลุ่มท่ีมีความหลากลาย ของชนิดได้แก่หอยทาก (Snail) ทาก เปลือย (Sea slug) หอยสังข์ (Whelk) หอยฝาชี (Limpet) หอยนมสาว (Turban) ส่วนมากอาศัย ในทะเล มบี างชนดิ อยู่ในน้า้ จดื แตป่ รบั ตัวจนสามารถมชี วี ิตอย่บู นบกได้ พวกหอยกาบเดี่ยวจะไม่มีสมมาตรของร่างกายเน่ืองจากมีการบิดของร่างกายเป็นเกลียว (Torsion) โครงสร้างภายในจะมีช่องรอบแมนเทิลด้านซ้ายใหญ่กว่าทางขวา และจะมีเหงือกเฉพาะ ด้านซ้าย โครงสร้างท่ีมองเห็นจากด้านนอกคือ หัว และเท้า แมนเทิลส่วนหัวเจริญดี มีหนวด 2 คู่ สามารถหดตัว และแมนเทิลเข้าไปในเปลือกไว้ เท้ามีรูปร่างยืดหดได้มาก ด้านล่างแบนราบมีมัด กล้ามเนื้อ จ้านวนมากใช้ส้าหรบั คลาน การยืดหดของเท้าเก่ยี วของกับการไหลเวยี นของเลือด และการ หดหวั คลายตัวของกลา้ มเน้ือเทา้ แมนเทิลเป็นอวัยวะที่ท้าหน้าที่สร้างเปลือกและหายใจ เปลือกที่สร้างมีรูปร่างต่างกันเวียนเป็น รูปเจดีย์ด้านหนึ่งมีช่องเปิดและมี แกนกลาง (Columella) รอบหนึ่งของเกลียวเรียกวง (Whori) เปลือกด้านนอกมีลักษณะเป็นชั้น และมีปลายยอด (Apex) ช่วงระหว่างเปลือกวงแรกและวงสุดท้าย เรียกยอด (Spire) เปลือกหอยจะเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา (Dextral) แต่บางชนิดจะเวียนซ้าย (Sinistral) เมื่อหันเอาด้านช่องเปิดเข้าหาตัวเรา ในบางชนดิ มีแผน่ ปิด (Operculum) ช่องออกของล้าตวั แกสโตรปอดเคล่ือนท่ีโดยการใช้แผ่นเท้าที่มีลักษณะกว้างและแบน คืบคลานเป็นช่วงสั้น ๆ ตลอด ระยะทางของการเคลื่อนที่ จะเห็นร่องรอยซ่ึงเกิดจากเมือกท่ีผลิตออกมาจากต่อมภายในเท้า ในบาง ชนิดกจ็ ะเคล่ือนทไ่ี ปข้างหน้า บางชนิดจะเคลอื่ นท่ถี อยหลัง แกสโตรปอดชอบอาศัยในบริเวณพ้ืนท่ีอ่อน น่มุ เชน่ โคลนทราย ภาพท่ี 82 หอยเตา้ ปูน (ทมี่ าภาพ : http://update.se-ed.com/206/cone_shell_2.jpg http://www.savekohsurin.com/webboard/pixes/2007/Aug/sksc0bd7f474c5f8d11743849.jpg)

ชุดการสอนเร่ือง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) 5. คลาสไบวัลเวีย (Bivalvia) มีสมาชิกประมาณ 20,000 ชนิด พบทั้งในน้าเค็มและน้าจืดPage | 42 ได้แก่ หอยแมลงภู่ (mussel) หอยแครง (scallop) หอยนางรม (oyster) เรียกรวม ๆ ว่าหอยกาบ (clam) ขนาดเล็กท่ีสุดมีความยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาว 1.3 เมตร ร่างกายมีสมมาตรคร่ึงซีก ที่มีล้าตัวแบนทางด้านข้าง ไม่มีส่วนหัวและแผ่นลิ้น (radula) มีเปลือก 2 ช้ินปกคลุมร่างกาย เปลือกยึดติดกันทางด้านหลังด้วยบานพับ (hinge) มักฝังตัวอยู่ตามโคลนหรือ ทราย กินอาหารโดยการกรอง ภาพท่ี 83 หอยแมลงภู่ (ทีม่ าภาพ : http://gce-lter.marsci.uga.edu/lter/taxonomy/Perna_viridis.jpg) ภาพที่ 84 หอยมุก (ที่มาภาพ :http://www.gia.edu/images/image_library/U_13729.jpg http://www.liceofoscarini.it/didattic/conchiglie/immagini/PteriaHirundo.jpg) 6. คลาสสแคพโฟโพดา (Scaphoda) เป็นพวกหอยงาช้าง (Tusk shell) มีเปลือกหุ้มล้าตัว เป็นหลอดยาวช้ินเดียว ปลายเปิดท้ังสองด้าน กว้างออกทางด้านหัว มีชอ่ งแมนเทิลขนาดใหญ่ ไม่มีตา มีเรดูลา และงวงที่ย่ืนออกมาจากปาก หนวดยืดหด มีปุ่มยึดตอนปลาย ช่วยในการจับเหย่ือ เท้าเป้น รปู กรวย คืบคลานบนพน้ื ที่อ่อนนุ่ม มปี ระมาณ 350

ชดุ การสอนเรื่อง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) ภาพท่ี 85 หอยงาชา้ ง Page | 43 (ทีม่ าภาพ : http://www.naturamediterraneo.com/Public/data2/istrice/dentalium %20inaequicostatum.jpg_20051022181419_dentalium%20inaequicostatum.jpg) 7. คลาสเซฟาโลโพดา (Cephalopoda) สัตว์ในคลาสนี้ได้แก่ หอยงวงช้าง (Nautilus) ปลาหมึกกล้วย (Squid) ปลาหมึกระดอง (Cuttle fish) ปลาหมึกยักษ์ (Octopods) มีประมาณ 600 ชนิด และทีพ่ บเป็นฟอสซิลอีกประมาณมากกวา่ 7,500 ชนิด เซฟาโลปอดมีความสามารถในการ ปรับตัวให้ว่ายน้าได้ดี แกนของล้าตัวทางด้านท้องและด้านหลังยืดยาวออก ส่วนเท้ากลายเป็นหนวด หรือแขน โบกพัดอยู่รอบปาก จึงเรียกบริเวณท่ีมีปากตั้งอยู่นี้ว่าเป็น ส่วนท้อง แมนเทิลคือกล้ามเน้ือ ล้าตัวที่เจริญจนมีลักษณะเป็นแผ่นหนาห่อหุ้มอวัยวะภายในทั้งหมด การว่ายน้าของหมึกเกิดจากการหด ตัวของกล้ามเน้ือล้าตัว (แมนเทิล) ทาให้น้าถูกพ่นออกมาจากช่องภายในแมนเทิล มีเพียงหอยงวงช้าง ชนิดเดียวเท่าน้ัน ที่มีเปลือกภายนอกเจริญเติบโตดี เปลือก ด้านนอกเป็นพ้ืนสีขาวมีลายสีแดงขวางอยู่ เปลือกด้านในเป็นมุก ด้านในมีแผ่นเย่ือกน้ั แบ่งเป็นห้อง จ้านวนมากแต่ละห้องมีทางเช่ือม ส่วนของล้า ตัวจะอยู่ภายในห้องสุดท้ายช่องว่างภายในเปลือกจึงท้าหน้าที่เหมือนทุ่นลอยตัวอยู่ในน้า ในหมึกกล้วย และหมึกกระดอง เปลือกลดขนาดลง เจริญภายในแมนเทิล แต่หมึกยักษ์จะไม่มีเปลือกแข็งอยู่เลย เซฟาโลปอดจัดเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังท่ีพบว่ามีสัตว์ท่ีมีขนาดใหญ่มากที่สุดอยู่ เช่น หมึก กล้วยยักษ์ (Giant squid) Architeuthis มีขนาดล้าตัวยาว 16 เมตร อาศัยอยู่ในน้้าลึก 300 - 600 เมตร ภาพท่ี 86 Cephalopods (ทม่ี าภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/33-22-CephalopodsCollage.jpg)

ชดุ การสอนเร่ือง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 44 ภาพท่ี 87 นอตลิ ุส (หอยงวงชา้ ง) (ทมี่ าภาพ : http://cas.bellarmine.edu/tietjen/images/ng_nautilus_1.jpg http://www.uua.cn/invertebrate/UploadFiles/200706/20070605143737280.gif) 5. ไฟลัมแอนเนลดิ า (Phylum Annelida) สัตว์ในไฟลมั นี้อาศยั อยใู่ นทะเล น้าจดื และบนดนิ ในบรเิ วณทชี่ ื่นแฉะ เชน่ แม่เพรียง ไส้เดือน ดิน ปลงิ นา้ จดื ทากดดู เลือด เป็นต้น ลกั ษณะสัตวใ์ นไฟลมั นี้ ลาตวั แบง่ ออกเป็นปล้องเหน็ ไดช้ ัดเจน ภายในมีเย่ือก้ันดงั ภาพ ภาพลักษณะของสตั วใ์ นไฟลัมแอนเนลิดา ก. ภาพวาดโครงสร้างภายใน ข. ภาพถ่ายไส้เดอื นดนิ (ทมี่ า : สสวท., 2548.หน้า 214) ปลิงและทาก เป็นสัตวท์ ่ีดารงชวี ิตเป็นปรสติ ช่วั คราว โดยการดูดเลือดของสัตว์อ่นื รวมทัง้ คน เมื่อใชเ้ ข้ียวกดั ผิวหนงั โฮสต์ปลิงและทากจะปลอ่ ยสารคล้ายยาชาทาให้ไม่รสู้ ึกเจ็บและปลอ่ ยสาร ฮรดู ิน (hirudin) เพือ่ ป้องกันไมใ่ หเ้ ลือดของโฮสตแ์ ข็งตัว ไส้เดอื นดินเปน็ สตั ว์ท่ีอาศัยอยู่ในดินโดยการขุดรอู ย่ใู นดินทาใหด้ ินเป็นโพรง อากาศจงึ แทรก เขา้ ไปในดินได้ มีสว่ นช่วยให้จลุ นิ ทรยี ์ในดนิ มีกิจกรรมมากขึ้น และนอกจากนไ้ี ส้เดือนดินยงั กิน สารอินทรีย์ ซากพชื และซากสัตว์ทเ่ี นา่ เป่ือยเปน็ อาหารและกากอาหารท่ีขบั ถา่ ยออกมาจะเปน็ ปุย๋ แกพ่ ืชและ ทาใหด้ นิ ร่วนซุย 6.ไฟลัมนีมาโตดา (PHYLUM NEMATODA) ช่อื ไฟลมั มาจากคา้ ว่า Nema ทีแ่ ปลวา่ thread หนอนตวั กลม (Roundworm) เป็นสัตว์ท่ีมี ชอ่ งลา้ ตวั แบบเทยี ม (Pseudocoelom) มีท้งั ทีด่ า้ รงชวี ิตแบบอิสระและเป็นปรสิต (Parasitic nematodes) ซึง่ เปน็ ปรสิตได้ทั้งพชื และสัตว์ มีหลายชนดิ ท่ีมีความส้าคัญทางการแพทย์ (ราว 15 ชนิด เปน็ พยาธิของคน) ลกั ษณะเด่นของสตั ว์ในไฟลัมนคี้ ือ การมีคิวติเคิล (Cuticle) หนาปกคลมุ รา่ งกาย การเจริญเติบโตมีการลอกคราบคลา้ ยสตั วข์ าข้อ แต่การลอกคราบของนีมาโทดทา้ เพื่อเปลีย่ นระยะตัว ออ่ น และมรี ะบบทางเดินอาหารแบบสมบรู ณ์

ชุดการสอนเร่ือง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 45 ภาพท่ี 68 โครงสรา้ งภายในของหนอนตัวกลมเมอื่ ตัดตามยาว และตดั ตามขวาง (ท่มี าภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b- online/library/onlinebio/BioBookDiversity_7.html http://www.esu.edu/~milewski/intro_biol_two/lab__10_platy_nemat/images/ascaris_female _xs_diagram.jpg) ภาพที่ 69 ลักษณะของหนอนตัวกลม (ท่มี าภาพ : http://www.tolweb.org/tree/ToLimages/PHIL_1448_lores1.250a.jpg http://www.cals.ncsu.edu/course/zo150/mozley/fall/nematode.jpg) สามารถจาแนกออกได้เปน็ 2 คลาสคือ 1. Class Adenophorea (Aphasmida) สมาชกิ สว่ นใหญ่ดารงชีวิตอิสระ พบทีเ่ ปน็ ปรสิตบา้ ง เช่น พยาธแิ ส้มา้ หนอนโคลน 2. Class Secernentea (Phasmida) ส่วนใหญ่ดารงแบบปรสติ มีบ้างทด่ี ารงชวี ติ แบบอิสระ เช่น หนอนนา้ ส้ม พยาธโิ รคเทา้ ช้าง พยาธิไสเ้ ดอื น พยาธิหวั ใจสุนขั พยาธเิ สน้ ด้าย พยาธิท่ีก่อโรคมากในประเทศไทยเช่น พยาธิไส้เดือน ใน ลาไส้ (Large Intestinal Roundworms) Ascaris เป็นกลุ่มของพยาธิไส้เดือนที่เป็นปรสิตในคน สุนัข แมว หมู วัว ม้า ไก่ ฯลฯ จัดเป็นหนอนตัวกลมพวกใหญ่ที่สุดกว่าพวกอื่น ต้องการโฮสท์เพียงชนิดเดียว ชนิดท่ีเป็นปรสิต ในคน คือ Ascaris lumbricoides ตัวเต็มวัยเพศเมียอาจมีขนาดยาวถึง 30 เซนติเมตร เพศผู้มีความ ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ถ้ามีพยาธิในล้าไส้เล็กท้ัง 2 เพศจะมีการผสมพันธ์ุกันวางไข่ได้ประมาณ 200,000 ฟองต่อวัน ไข่จะออกมากับอุจจาระของคน พยาธิอีกตัวคือพยาธิปากขอ (Hookworms) ซ่ึง เป็นปรสิตขนาดเล็ก ปลายสุดของส่วนหัวจะงอโค้งทางด้านหลัง คล้ายขอเก่ียว บริเวณปากมีลักษณะ เป็นแผ่นตัด ขอเก่ียว และมีฟนั ซ่ึงเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะกับผนงั ล้าไส้ ตัวท่ีรู้จักกันดีคือ พยาธิปากขอ ชนิด Necator americanus นอกจากนั้นยังมีพยาธิเส้นด้าย (Pinworms) พยาธิ

ชุดการสอนเร่ือง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) เส้นด้าย Enterobius vermicularis เป็นพยาธิที่พบมากในเด็กเล็ก ตัวเต็มวัยอาศัยอยใู่ นลา้ ไส้ใหญ่ ในPage | 46 ตอนกลางคืนพยาธิจากล้าไส้จะเคลื่อนที่มาอยู่ที่บริเวณทวารหนัก และวางไข่ติดอยู่ที่บริเวณที่นอน ผ้า ห่ม เด็ก ๆ จะรับไข่เข้าไปโดยทางกิน ไข่พยาธิจะฟักตัวอย่างรวดเร็วภายใน 6 ชั่วโมง ภายในล้าไส้ เด็ก เจริญเป็นตัวเต็มวัย ส่วนพยาธิเท้าช้าง (Filarial worms) มีประมาณ 8 ชนิดท่ีก่อให้เกิดโรคใน คน และต้องอาศัยแมลงเป็นโฮสท์รอง มีล้าตัวเรียวเล็ก จึงสามารถเข้าไปอยู่ในท่อน้าเหลืองท้าให้ท่อ น้าเหลืองอุดตัน เกิดอาการเจ็บปวดและมีไข้ ถ้าเป็นมากจะเกิดการบวมของอวัยวะ พยาธิตัวเมียจะ ออกลกู เป็นตวั ภาพที่ 70 พยาธแิ สม้ า้ และพยาธปิ ากขอ (ทม่ี าภาพ : http://www.pitbullregistry.com/images/whipworm.jpg http://bernesemtndogpups.com/parasite_treatment.htm http://www.nimr.mrc.ac.uk/women_science/ogilvie/images/ogilvie_worm250.jpg) ภาพท่ี 71 โรคเท้าชา้ ง (ที่มาภาพ : http://www.liv.ac.uk/researchintelligence/issue26/images/elephantiasis.jpg) 7.ไฟลัมอารโ์ ทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดาเป็นสัตว์ท่ีพบจานวนมาก และท่ีสามารถจาแนกสปีชีส์ได้มีประมาณ เกอื บ 1 ล้านสปีชสี ์ ส่วนใหญ่เป็นแมลง พบได้ทุกหนทุกแหง่ บนโลก เปน็ สัตว์ที่สามารถดารงชีวิตอยู่ บ น บ ก ไ ด้ อ ย่ า ง ส ม บู ร ณ์ ถึ ง แ ม้ ว่ า บ า ง ก ลุ่ ม ยั ง ค ง อ า ศั ย อ ยู่ ใ น น้ า ก็ ต า ม สตั ว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา มีลาตัวเป็นปล้อง มีรยางค์เป็นข้อ ๆ ต่อกัน รยางค์เป็นลักษณะ พิเศษท่ีปรับเปลี่ยนให้ทาหน้าท่ีได้หลายอย่าง เช่น ใช้เดิน จับอาหาร รับความรู้สึก ผสมพันธ์ุและ ป้องกันอันตราย สัตว์ในไฟลัมน้ีมีโครงร่างกายนอกเป็นเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยไคทิน ในการ

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) เจริญเติบโตจะมีการลอกคราบจากระยะตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย ในระยะตัวอ่อนจึงถูกล่าได้ง่ายและเมื่อPage | 47 เจรญิ เปน็ ตัวเตม็ วัยจะดารงชวี ิตเป็นผ้ลู า่ ภาพโครงสร้างของสตั วใ์ นไฟลัมอาร์โทรโพดา สตั วใ์ นไฟลัมน้ีมีการปรบั ตัวใหเ้ ข้ากับสภาพแวดล้อมโดยมรี ะบบประสาทและอวัยวะรบั สมั ผัสท่ี เจรญิ มีศนู ยค์ วบคมุ ของระบบประสาทอยู่ท่ีส่วนหวั มรี ะบบหมุนเวียนเลือดแบบเปดิ และสบื พันธ์ุแบบ อาสัยเพศ สตั วใ์ นไฟลัมอาร์โทรโพดา ท่ีพบในปัจจบุ ันมดี งั น้ี 1. คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata) ได้แกแ่ มงดาทะเล นับวา่ เป็นสัตว์โบราณ มากกลุม่ หน่งึ เช่อื วา่ บรรพบุรุษของแมลดาทะเล เรม่ิ มใี นโลกตัง้ แต่ยคุ ออร์โดวิเชียน และสูญพันธ์ุไป ปจั จบุ ันเหลือเพียง 3 สกลุ 4 สปชี สี ์เทา่ น้ัน แมงดาทะเลพบอยตู่ ามบริเวณน้าตืน้ ในป่าชายเลน มี ลาตวั แบ่งออกเปน็ 2ส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน และส่วนท้องมีรยางคค์ ู้แรกทาหนา้ ท่ีในการ กนิ อาหาร มีขาเดิน 5 คู่ ปลายขาคู้สุดทา้ ยมีลักษณะเป็นแผ่นซอ้ นกันใช้ขุดทรายเวลาฝงั ตัว ใน ประเทศไทยมีแมงดาทะเล 2 สปชี ีส์ คือ แมงดาทะเลหางเหล่ยี ม หรือแมงดาจานและแมงดาทะเลหาว กลมหรือแมงดาถ้วย หรือแมงดาไฟ ปจั จบุ ันมีการนาไขข่ องแมงดาทะเลมาบริโภค ทาให้จานวนแมงดา ทะเลในระบบนิเวศลดลงเป็นจานวนมาก บางครั้งการไขแ่ มงดาทะเลมาเป็นอาหารอาจทาให้เกดิ ท้องร่วง หรอื มีผลต่อระบบประสาท อาจทาให้ตายได้ ซ่ึงปกติแลว้ ไข่แมงดาทะเลไมม่ ีพิษ นอกจากแมงดาทะเลไป กนิ อาหารทีม่ พี ิษ พิษจะตกคา้ งอย่ใู นกระเพาะ เม่ือนาไข่มารับประทานทาให้ได้รับสารพิษเข้าไป

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) Page | 48 ภาพโครงสร้างของแมงดาทะเล ก. ด้านท้อง ข. ด้านหลัง (ทม่ี า : สสวท., 2548. หน้า 216) 2. คลาสอะแรคนิดา (Class Arachnida) ไดแ้ ก่ แมงป่อง แมงมุม เห็บ ไร เป็นสัตว์ทีม่ ีส่วนหัว และส่วนอกรวมกนั มรี ยางค์ 6 คู่ โดยรยางค์คู่ท่ี 1 และคทู่ ่ี 2 ใช้จับอาหารและรับความรสู้ ึกและมี ขาเดินอีก 4 คู่ ในบริเวณปล้องส่วนท้ายของแมงมุมจะมอี วัยวะชักใย ขณะที่ในแมงป่อง จะปรบั เปล่ียน ไปสาหรับใช้ลา่ เหยอ่ื และปอ้ งกันตัว ภาพ ก. แมงมุม ข. แมงปอ่ ง ค. เหบ็ (ทม่ี า : สสวท., 2548. หน้า 216) แมงมมุ เป็นสตั วท์ ่ีมีความสาคญั ในฐานะเปน็ ตัวหา้ ช่วยกาจดั แมลงหลายชนิดท่ีเปน็ ศรตั รูพชื เห็ย ไร เป็นปรสติ ของสตั ว์หลายชนดิ บางชนดิ ทาลายผลผลิตทางการเกษตร อาหารของแมงปอ่ ง สว่ นใหญ่เป็นแมงมุมและแมลงชนดิ ต่าง ๆ แมงปอ่ งบางชนิดมพี ิษร้ายแรงมาก 3. คลาสไดโพลโพดา (Class Diplopoda) ได้แก่ ก้งิ กือ ลาตัวมีรยางค์ปลอ้ งละ 2 คู่ บรเิ วณหัวมีหนวด 1 คู่ อาศัยอยตู่ ามพ้ืนดิน ใต้กองใบไม้กนิ ซากใบไม้และซากสัตวท์ ่ีเน่าเป่ือยในดิน เป็นอาหาร มลู ของสตั ว์พวกนี้จะเปน็ สารอินทรยี ใ์ นดิน เชอ่ื ว่าน่าจะเป็นสตั ว์พวกแรกทเี่ ร่มิ มีววิ ฒั นาการ ดารงชีวิตบนพื้นดิน 4. คลาสซิโลโพดา (Class Chilopoda) ได้แก่ ตะขาบ ตะเข็บ ตะขาบฝอย ลาตัวแบนมี รยางค์ปล้องละ 1 คู่ บริเวณหวั มีหนวด 1 คู่ ปล้องแรกของลาตวั มีเขย้ี วพษิ 1 คู่ แนบกบั ส่วนหัว จะปล่อยพษิ ทาให้เหยือ่ เป็นอมั พาตจึงจบั กินไดง้ า่ ยหรือใช้ป้องกันตัว

ชุดการสอนเร่อื ง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) Page | 49 ภาพ ก. ก้ิงกือ ข. ตะขาบ (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 217) 5. คลาสอินเซ็คตา (Class Insecta) ได้แก่ แมลงชนิดตา่ ง ๆ เป็นสตั วท์ ี่มจี านวน สปีชสี ์ มากท่ีสุด อาศยั ทงั้ อย่บู นบก ในนา้ จดื หรือบนิ อยู่ในอากาศ จากหลักฐานซากดึกดาบรรพเ์ ริ่มพบแมลง ในบุคดโี วเนียนและมกี ารแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วในยุคคารบ์ อนิเฟอรสั และยุคเพอร์เมยี น โดย แมลงทพ่ี บในยุคนั้นจะมีลักษณะปากท่เี หมาะสมในการพชื เมล็ดเปลือย จงึ เป็นหลักฐานที่สนบั สนุนการ เกิดววิ ัฒนาการของแมลงก่อนท่ีพืชดอกจะมีการแพร่กระจายพนั ธ์ุ แมลงมลี ะตัวแบ่งออกเป็นเป็น 3 ส่วน คอื ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนทอ้ ง มีหนวด 1 คู่ มี ขา 3 คู่ อยบู่ ริเวณสว่ นอกบางชนิดอาจมปี ีก 1-2 คู่ ภาพโครงสร้างของแมลง (ที่มา : สสวท., 2548. หนา้ 217) ภาพแมลง ก. ผงึ้ ข. ด้วงงวง ค. ผีเสอ้ื ง. แมลงปอ จ. ด้วง ฉ. แตน (ทีม่ า : สสวท., 2548. หน้า 218)

ชุดการสอนเรื่อง อาณาจักรสตั ว์ (Kingdom Animalia) ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน ดังนั้นการทาเกษตรกรรมในประเทศไทยจึงมี Page | 50 ปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช โดยทั่วไปเกษตรนิยมใช้สารเคมีในการกาจัดแมลง ถ้าใช้ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะทาให้แมลงมีการปรับตัวดื้อสารฆ่าแมลงและทาให้เกิ ดปัญหา การตกค้างของสารเคมีในดินและในน้า รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ถูก ทาลายไปด้วย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยวิธีการกาจัดแมลงศัตรูพืชด้วยการ ควบคุมแบบชีววิธี เช่น การใช้ตัวห้าและตัวเบียน โดยการใช้แตน เบียนไข่ในการกาจัดแมลง ด้วยกัน 6. คลาสครัสตาเชีย (Class Crustacea) ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู ส่วนใหญ่ยังอาศัย อยู่ในทะเลหรือแหล่งน้าจืดสัตว์กลุ่มนี้มีรยางค์จานวนมากทาหน้าที่พิเศษหลายอย่าง เช่น ใช้เดิน ว่ายน้า หรือเปลี่ยนแปลงเป็นหนวดและส่วนประกอบของปาก เป็นสัตว์ในไฟลัม อาร์โทรโพดากลุ่มเดียวที่มีหนวด 2 คู่ มีขาเดินและมีรยางค์ที่ส่วนท้องสาหรับว่ายน้าหรือ ป รับ เป ลี่ย น ไป ทาห น้าที่เฉ พ าะ เช่น แ ล ก เป ลี่ย น แ ก๊ส เป็น ที่เก าะขอ ง ไข่ เป็น ต้น สัต ว์ใน ก ลุ่มนี้เป็น สัต ว์ที่มีคุณ ค่าท างเศ รษ ฐกิจ นิยมนามาใช้รับ ป ระท าน เป็น อาหาร ดังนั้นเกษตรกรนิยมเพาะเลี้ยงทดแทนตามธรรมชาติ เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้ง กุลาดา กุ้งก้ามกราม การเพาะเลี้ยงปู เพื่อเป็นสินค้าส่งออกในรูปแช่เย็น หรือแช่แข็ง ใน แต่ละปีคิดเป็นมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ ภาพสิง่ มีชีวิตในคลาสครสั ตาเชีย ก. กงุ้ ข. ก้ัง ค. ปฟู องนา้ (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 219) 8.ไฟลัมเอคไคโนเดอมาตา (Phylum Echinodermata) สตั วท์ ่จี ดั อยใู่ นไฟลัมเอคไคโนเดอมาตาพบดารงชีวิตอยใู่ นทะเลทงั้ หมด เปน็ สตั วท์ ี่มี 5 แฉก และมผี วิ หนังบาง ๆ หุ้มโครงรา่ งแขง็ ภายใน ที่ประกอบด้วยแผน่ แคลเซียมคารบ์ อเนตผิวลาตวั มีหนาม ยน่ื ออกมาซง่ึ ทาหนา้ ทแี่ ตกตา่ งกนั ในแตล่ ะชนิด มีระบบทอ่ ลาเลยี งน้าทีป่ รบั เปลี่ยนมาจากช่องตัวแยกไป ตาแฉกและแตกแขนงออกเป็นทวิ บฟ์ ีท ซึ่งใช้เป็นโครงสร้างท่ีใช้ในการเคล่ือนที่ ระยะตัวอ่อนมีสมมาตร แบบดา้ นขา้ ง ขณะที่ตัวเต็มวัยมสี มมาตรแบบรัศมที ี่แตกต่างจากสัตว์ในไฟลมั ไนดาเรีย คอื มีจุดแบง่ ที่ แน่นอนเพราะฉะนัน้ จึงจัดอยู่ในกลุ่มทีม่ ีสมมาตรแบบด้านขา้ ง ลกั ษณะสมมาตรแบบรศั มีนเ้ี ป็นผลมา จากการเกิดววิ ัฒนาการเพ่ือให้มวี ิถชี ีวิตทเี่ กาะติดอยู่กับท่ีน่นั เอง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook