Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชาเกษตรผสมผสาน ม.3

วิชาเกษตรผสมผสาน ม.3

Published by สิรวิชญ์ เฉียบแหลม, 2021-05-28 06:44:07

Description: วิชาเกษตรผสมผสาน

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการเรยี นการสอน วิชา การเกษตรผสมผสาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน

สารบัญ เร่ือง หนา้ บทที่ 1 ความรู้เบื้องตน้ เก่ียวกบั การเกษตรผสมผสาน.................................................................. 1 ความหมายและความสำคัญของการเกษตรผสมผสาน................................................................. 1 การทำการเกษตรแบบผสมผสานลักษณะต่าง ๆ........................................................................... 4 รปู แบบของการทำเกษตรยัง่ ยืน.................................................................................................... 5 บทท่ี 2 หลักการและรปู แบบของการเกษตรผสมผสาน................................................................ 6 หลกั การของการเกษตรแบบผสมผสาน........................................................................................ 6 ปจั จัยสำคัญของการทำการเกษตรแบบผสมผสาน........................................................................ 6 รปู แบบของการเกษตรแบบผสมผสาน.......................................................................................... 7 บทท่ี 3 การสำรวจ วเิ คราะห์พืน้ ท่ี และความต้องการผลิตผลการเกษตร..................................... 9 การสำรวจพน้ื ท่ีการทำเกษตรแบบผสมผสาน............................................................................... 9 การสำรวจความตอ้ งการผลผลติ ทางการเกษตร............................................................................ 12 การวเิ คราะห์พืน้ ท่ี และกจิ กรรมการผลติ ในระบบเกษตรผสมผสานโดยใช้ SWOT analysis..... 12 บทที่ 4 การวางแผน และการเตรียมการทำการเกษตรแบบผสมผสาน......................................... 16 การวางแผนการทำการเกษตรแบบผสมผสาน.............................................................................. 16 การวางแผนการผลติ ในแต่ละกิจกรรมการผลิตในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน...................... 17 การเตรยี มการผลิตในแตล่ ะกจิ กรรมการผลิตในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน........................ 20 บทที่ 5 การจัดการฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน........................................................................... 22 ความรเู้ กยี่ วกบั การจดั การฟารม์ เกษตรแบบผสมผสาน................................................................ 22 การจดั การกิจกรรมการเกษตร...................................................................................................... 23 การผสมผสานกิจกรรมการผลิตในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน............................................. 29 บทท่ี 6 เรอ่ื ง การประยุกต์ใช้หลักการเกษตรทฤษฎใี หม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำการเกษตรผสมผสาน.................................................................................................... 32 เกษตรทฤษฎใี หม.่ ......................................................................................................................... 32 เศรษฐกิจพอเพียง......................................................................................................................... 33 การทำการเกษตรโดยประยุกต์ใชห้ ลกั การเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง............................................................................................................................. ............ 36 บทท่ี 7 ปญั หาอุปสรรคการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และแนวทางการแก้ไข......................... 37 ปัญหาเกยี่ วกบั ดิน และแนวทางการแก้ไข..................................................................................... 37 ปญั หาเกี่ยวกับนำ้ และแนวทางการแกไ้ ข...................................................................................... 40 ปัญหาเกีย่ วกบั ศัตรูพชื และแนวทางการแก้ไข.............................................................................. 41

เร่ือง หนา้ ปญั หาเกี่ยวกบั โรค-ศัตรูของสัตวเ์ ลยี้ ง และแนวทางการแก้ไข....................................................... 45 ปญั หาเกยี่ วกบั ปจั จยั การผลิต และแนวทางการแก้ไข................................................................... 46 ปัญหาเก่ียวกับการตลาด และแนวทางการแกไ้ ข........................................................................... 47 อา้ งอิง.......................................................................................................................................... 48

บทท่ี 1 เรอื่ ง ความรเู้ บือ้ งตน้ เก่ยี วกบั การเกษตรผสมผสาน 1. ความหมายและความสำคญั ของการเกษตรผสมผสาน 1.1 ความหมายของการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบเกษตรท่ีมีการเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยง สตั ว์ต่าง ๆ หลายชนิดอยู่ในพ้ืนท่เี ดียวกัน ภายใต้การเก้ือกูลประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่ร่วมกันระหว่างพืช สัตว์ และส่ิงแวดล้อม และต้องมีการวางรูปแบบดาเนินการให้ ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทนุ ท่ดี นิ ปจั จัยการผลติ และทรพั ยากรธรรมชาติอย่างมปี ระสิทธภิ าพและเกดิ ประโยชน์สงู สดุ เกษตรผสมผสาน จัดเป็นเกษตรทางเลือกท่ีเป็นรูปแบบทางการเกษตรท่ีมีกิจกรรมตั้งแต่สองชนิดข้ึน ไปในช่วงเวลา และพืน้ ที่เดียวกัน เช่น การปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพ้ืนที่เดียวกัน มีการเกื้อกูล กันอย่างต่อเน่ืองระหว่างกิจกรรม เช่น ระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ลักษณะการเก้ือกูลกันของระบบเกษตรผสมผสานจึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและลดการพึ่งพิงปัจจัย ภายนอกซง่ึ เป็นการเพิม่ ประสทิ ธิภาพการใช้ที่ดนิ และทรัพยากรที่มอี ยใู่ นพื้นทีอ่ ยา่ งเหมาะสมและเกิดประโยชน์ สงู สดุ การทำการเกษตรผสมผสานต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการ ผสมผสานท่ีดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมน้ัน ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรม การเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสตั ว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการ ปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการ ผสมผสานเก้ือกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมี การปลูกพืชและเล้ียงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ ความสัมพันธท์ ่ีตอ่ เนื่องกันอยู่ พืชโดยทวั่ ไปมีหนา้ ที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงาน จากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแรธ่ าตตุ ่าง ๆ ท่ีสัตว์สามารถใช้ ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์น้ัน สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุท่ีจำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภค อาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เม่ือสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรอื ตายลงกจ็ ะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแรธ่ าตุต่าง ๆ ท่ีจะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นน้ี จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันท่ีเลีย้ งสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใด อย่างหน่ึง แต่เพียงอย่างเดียวในพ้ืนท่ีกวา้ งขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบนิเวศในทส่ี ุด เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 1

1.2 ความสำคญั ของการเกษตรแบบผสมผสาน มดี งั นี้ 1) เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน เมื่อสภาวะ ราคาพืชผลผันแปร เกิดหน้ีสิน เกษตรกรสามารถนำเอาปัจจัยการผลิตท่ีมีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสียเงิน ทองซื้อมา เมื่อลดรายจ่าย เพ่ิมรายได้ เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้ ยืนอยู่บนขาของตัวเองโดยมีปัจจัยพื้นฐาน สำหรับดำรงชีพทีผ่ ลติ ไดเ้ อง ก็สามารถมีความสขุ ได้อย่าง ยัง่ ยืน 2) เพ่ือเพ่ิมผลผลิตต่อพ้ืนท่ีโดยมีการจัดการเรื่องทุน ที่ดิน และแรงงานอย่าง มีประสิทธิภาพ กอ่ ใหเ้ กดิ ผลผลิตต่อหน่วยการผลิตสงู เชน่ การเล้ียงปลาในนาขา้ ว ทำให้ได้ทัง้ พืช ผลผลติ ขา้ วและปลา ในพ้นื ที่ เดียวกัน 3) สร้างเสถียรภาพและความย่ังยืน ท้ังทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมให้ เกิดขึ้นในไร่นา และ ครอบครวั การเกษตร 4) เกษตรแบบผสมผสานลดความเส่ียงในการผลิต ในด้านการผลิตท่ีอาจ เสียหาย หรือความไม่ แน่นอนและเสียเปรยี บเรอ่ื งราคา ตลอดจนไมแ่ นน่ อนของดนิ ฟา้ อากาศ 5) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมท่ีเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์ได้ เพราะการปลูกไม้ยืน ตน้ ไม่ว่าจะเปน็ ไม้ผลหรือไม้ใช้สอยในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะชว่ ยใหเ้ กิด ความร่มเยน็ มูลสัตวจ์ ะเปน็ ปุ๋ย แกพ่ ชื เศษพชื เปน็ อาหารสัตว์และทำป๋ยุ อนิ ทรยี ์ 6) เกษตรกรมีงานทำตลอดปี จะช่วยแกป้ ัญหาการอพยพแรงงานจากชนบท เข้าสู่เมือง ตัดปัญหา การขายแรงงาน การกอ่ อาชญากรรม การค้ามนุษย์ เปน็ ตน้ 7) ลดการใชพ้ ลังงานในการเกษตรลง เพราะปัจจัยการใช้พลังงานสามารถ จดั หาได้จากผลพลอย ได้จากผลผลิตในไร่นา เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักและไม้ใช้สอยท่ี เกิดจากไม้โตเร็วต่าง ๆ แรงงาน จากสตั ว์เลีย้ ง เช่น ววั ควาย 8) รักษาสภาพทางนิเวศวิทยา การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นการเพ่ิมพูน ความอุดมสมบูรณ์ ให้กับคน รักษาความสมดุลให้กับสภาพแวดล้อมซ่ึงความสมดุลยจะเกิดข้ึนเอง ตามธรรมชาติ เช่น ก๊าซ ไนโตรเจนในธรรมชาติจะถูกเปลยี่ นเป็นอินทรียวตั ถโุ ดยจุลนิ ทรีย์ ที่อาศัยอยู่ ในรากพชื ตระกลู ถวั่ และสาหรา่ ย สีเขียวแกมน้ำเงิน จนทำให้ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปที่พืชจะสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหารอื่น ๆ พชื สามารถสะสมพลังงานแสงแดดในรูปของเนื้อไม้ อาหาร และโปรตีน เศษซากพืชท่ีรว่ งหลน่ บนพื้นดินจะเน่า กลายเป็นอาหารพชื 1.3 ประโยชนท์ ไ่ี ดร้ ับจากการเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรแบบผสมผสานเป็นรูปแบบหนง่ึ ของระบบเกษตรกรรมท่มี กี จิ กรรมต้ังแต่ 2กิจกรรมข้นึ ไปใน พ้ืนที่เดียวกัน และกิจกรรมเหลานี้จะมีการเกื้อกูลประโยชนซ่ึงกันและกันไม่ทางใดก็ทางหน่ึง ดังนั้น จึงเป็น ระบบท่ีนำไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดี และประโยชนในดานต่าง ๆ ดงั ตอไปน้ี เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 2

1) เพื่อเพิ่มรายได้ภาคเกษตรจากกิจกรรมการเกษตรหลายๆชนิด ท้ังกิจกรรมพืช สัตว์ ประมง และกิจกรรมการเกษตรอ่ืน ๆ เป็นการลดความเส่ียงจากกิจกรรมการผลิตเพียง 1-2 ชนิด อีกท้ังเป็นการเพิ่ม รายได้จากกจิ กรรมหลายชนิด 2) ลดต้นทุนการผลิต โดยการใชท้ รพั ยากรในฟาร์มและปัจจัยการผลิตร่วมกนั ในการผลติ กิจกรรม การเกษตร 3) เป็นการกระจายการใช้ท่ีดิน ทุน และแรงงานของครัวเรือนเกษตรกรได้อย่างต่อเน่ืองตลอดปี 18 4) เปน็ การชว่ ยรกั ษาและอนรุ กั ษ์สภาพแวดล้อม สภาพธรรมชาติ ให้มีสภาพสมดุล 5) ลดความเส่ยี งจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ 6) ลดความเส่ยี งจากความผันแปรของราคาผลผลติ 7) ลดความเสย่ี งจากการระบาดของศัตรพู ืช 8) ช่วยเพ่มิ รายไดแ้ ละกระจายรายไดต้ ลอดปี 9) อาหารเพยี งพอบริโภคในครวั เรอื น 10) ช่วยส่งเสรมิ คุณภาพชีวติ ท่ดี ใี นกลุม่ เกษตรกร 1.4 ข้อได้เปรียบของการทำระบบเกษตรผสมผสาน มีดงั น้ี 1) ลดความเส่ียงเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศ ราคาผลผลิตท่ีไม่แน่นอนและ การระบาดของศตั รู พชื 2) ลดต้นทุนการผลิต เพ่ิมประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์ม ได้แก่ ที่ดิน แรงงานและ เงินทุน 3) มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคภายในครัวเรอื น และมรี ายได้อยา่ งต่อเนอื งตลอดปี 4) การใช้แรงงานสม่ำเสมอตลอดปี จึงทำให้ลดปัญหาการเคล่ือนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตร ไปสูภ่ าคอ่ืน ๆ 5) เกษตรกรจะมีเศรษฐกจิ ท่ีพอเพียง จึงเปน็ ผลให้มสี ภาพความเป็นอยแู่ ละมคี ณุ ภาพชวี ติ ท่ีดีข้ึน 6) เปน็ ระบบการเกษตรทีเ่ หมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย 1.5 ขอ้ จำกดั ของการทำระบบเกษตรผสมผสาน มีดงั นี้ 1). เกษตรกรจะตอ้ งมีทดี่ ิน ทนุ แรงงาน ท่เี หมาะสม 2) เกษตรกรจะต้องมีความมานะ อดทน และขยันขนั แข็ง 3) ระบบการตลาดในท้องถิ่นและในระดบั ภูมภิ าค 4) มกี ารวางแผนจัดการทรพั ยากรที่เหมาะสม เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หนา้ 3

2. การทำการเกษตรแบบผสมผสานลกั ษณะตา่ ง ๆ 2.1 การทำการเกษตรแบบผสมผสานในท้องถิน่ การทำการเกษตรในระดบั ท้องถนิ่ ซึง่ เปน็ การหมนุ เวยี นการผลติ และการบรโิ ภคภายในท้องถิ่นเอง สามารถทำไดท้ ่สี วนหลังบ้าน หรอื แปลงเกษตรของชุมชน เกดิ ประโยชนท์ างดา้ นเศรษฐกิจตอ่ ชุมชน ชมุ ชนที่น่าอยู่อาศยั และเปน็ มิตรต่อสภาพแวดล้อม ควรส่งเสริมการทำเกษตรชมุ ชน ซึ่งมีหลักการปฏบิ ตั ิ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1) จัดให้มีพ้ืนท่ีการทำเกษตรชุมชนภายในชุมชนการทำการเกษตรชุมชน ควรปฏิบัติโดย ประชากรภายในชุมชนเอง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ท่ีดีของคนในชุมชน ทางเลือกอีกประการหนึ่ง คือ การที่ชุมชนทำการว่าจ้างเกษตรกรมาทำการเกษตรภายในพื้นที่ ผลผลิตที่ได้จะกลับคืนสู่ชุชมชนเอง หรือนำ ออกขายในตลาดภายนอกชมุ ชน เพ่อื เป็นรายไดก้ ลับคนื ส่ชู มุ ชน 2) อนุญาตให้มีการทำการเกษตรในย่านท่ีพักอาศัยในบางชุมชนมีกฎห้ามทำการเกษตรในย่านท่ี พกั อาศยั ซึง่ เปน็ การจำกดั ขอบเขตในการสง่ เสริมการทำเกษตรชมุ ชน 2.2 การทำการเกษตรแบบผสมผสานในประเทศ ในระดับประเทศผู้บริหารประเทศจำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารท่ีเพียงพอใน การเล้ียงประชากร ของประเทศ (Self-sufficiency) การทำเกษตรกรรายหน่ึง ๆ อยู่รอดได้อาจนั้นต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ ส่ิงแวดล้อม และทรัพยากร ตลอดจนการควบคุมมลภาวะ ฯลฯ ในระดับประเทศนั้นอาจคำนึงถึงการส่งเป็น สินค้าออก เพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศสำหรับซื้อสินค้าอย่างอื่นท่ีจำเป็นแก่ส่วนรวมมาใช้อีกด้วย (Self- reliance) 2.3 การทำการเกษตรแบบผสมผสานในตา่ งประเทศ ในระดับนานาชาตินั้น มองกว้างออกไปอีกถึงเร่ืองสภาวะส่ิงแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มลภาวะ สวสั ดภิ าพของมนุษยโลก ตลอดจนการพฒั นา นานาชาติ เป็นต้น ตวั อย่างการทำเกษตรผสมผสานในต่างประเทศ การเลีย้ งปลาในนาข้าวในประเทศญป่ี ุ่น ในประเทศจีนน้นั มีการพัฒนารปู แบบเกษตรผสมผสานด้วย การเลี้ยงสกุ ร ปลา และปลกู พืชผักรว่ มกัน เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หนา้ 4

3. รปู แบบของการทำเกษตรยั่งยนื มีหลายระบบดังน้ี 1. การเกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming) “เกษตรกรรมอินทรีย์” ในคำจำกัดความของ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางส่ิงแวดล้อม สังคม และ เศรษฐกิจ โดยเน้นที่หลักการปรับปรุง บำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศ การเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลด การใชป้ จั จยั การผลิตจากภายนอก และหลีกเลย่ี งการใช้สารเคมสี งั เคราะห์ 2. เกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming) เกษตรกรรมธรรมชาติเป็นคำเรียกท่ีใช้แทนระบบการ เกษตรกรรมตามแนวของ มาซาโนบุ ฟูกูโอก 1) ไม่มกี ารไถพรวนดิน เนือ่ งจากในธรรมชาตินนั้ พืน้ ดนิ มกี ารไถพรวนโดยตัวของมันเองอยแู่ ล้ว 2) งดเว้นการใส่ปุ๋ย เน่ืองจากการใส่ปุ๋ยเป็นการเร่งการเจรญิ เติบโตของพืชแบบชั่วคราวพืชท่ีใส่ปุ๋ย จึงมักอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดโรคและแมลงไดง้ ่ายขึ้น ดินท่ีใส่ปุ๋ยเคมตี ิดต่อกันนานจะมีสภาพเป็นกรดและเนื้อดิน เหนียวไม่รว่ นซุย 3) ไม่กำจัดวัชพืช เน่ืองจากการกำจัดวัชพืชเป็นงานหนักและไม่สามารถทำให้วัชพืชหมดส้ินไปได้ ดงั นน้ั เกษตรกรรมธรรมชาติจงึ ตอ้ งคดิ คน้ กฎเกณฑ์ท่วี ัชพืชจะควบคุมกันเอง 4) ไมใ่ ช้สารเคมีกำจดั ศตั รูพชื 3. เกษตรชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture) การเกษตรที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์โดย ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก และไม่พยายามแทรกแซงธรรมชาติ อาทิ การให้ความสำคัญต่อดิน โดยการปลูก พืชและเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนในช่วงจังหวะเวลาท่ีถูกต้อง ถือเป็นวิธีปฏิบัติทางการเกษตรแบบองค์รวมซ่ึง เชื่อมโยงทุกสว่ นของท้งั โลก คอื ผนื ดิน พชื สัตว์ มนุษยเ์ ขา้ ไว้ดว้ ยกนั เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 5

บทท่ี 2 เรื่อง หลกั การและรปู แบบของการเกษตรผสมผสาน 1. หลักการของการเกษตรแบบผสมผสาน 1.1 หลกั การสำคญั ของการเกษตรแบบผสมผสาน หลักการพืน้ ฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อยา่ งน้อย 2 ประการสำคญั ๆ คือ 1) ตอ้ งมีกจิ กรรมการเกษตรต้งั แต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทงั้ สองกิจกรรมน้ัน ต้องทำในพ้ืนท่ีและระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่าน้ันควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเล้ียงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหวา่ งการปลูกพืชต่างชนดิ หรอื การเลย้ี งสัตวต์ า่ งชนดิ กันได้ 2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่าง ๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรใน ระบบเกษตรแบบผสมผสานน้ัน เกิดข้ึนท้ังจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมท้ังอากาศ และพลงั งาน เช่น การ หมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตวใ์ ห้เปน็ ประโยชนก์ ับพชื และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยท่ีกระบวนการใช้ ประโยชน์จะเป็นไปท้ังโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผา่ นการหมักของจลุ ินทรยี ์เสียก่อน 2 ปจั จยั สำคญั ของการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปัจจัยสำคญั ในการทำเกษตรผสมผสานประกอบด้วย 3 ปจั จยั หลกั คอื 2.1 ปจั จัยทางกายภาพ 1) ที่ดิน ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำการเกษตร เพราะเป็นแหล่งอาหารของพืชท่ี ยึดเกาะของรากพืชเป็นท่ีเก็บน้ำเพ่ือการเจริญเติบโตของพืช ให้อาหารแก่รากพืชเป็นอาหารขั้นต้นในระบบ นิเวศน์ ผลผลิตจะสูง หรือต่ำขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลักษณะของท่ีดินของเกษตรกรน้ันมี ลกั ษณะของพืน้ ทท่ี ีต่ า่ งกัน 2) แหล่งน้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบท่ีสำคัญของทั้งพืชและสัตว์ น้ำช่วยละลายธาตุอาหารในดิน น้ำมีส่วนช่วยลำเลียงธาตุอาหารจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการเกษตรนั้น มี นำ้ ฝน นา้ ในหว้ ย หนอง อ่างเกบ็ นำ้ การชลประทาน บาดาล เป็นตน้ 3) สภาพลมฟ้าอากาศ สภาพลมฟ้าอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และแสงแดด ส่ิง เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ กลา่ วคือ พืชและสัตว์ต่างชนิดกันย่อมต้องการน้ำแสงแดด อุณหภูมิท่ตี า่ งกนั เชน่ พชื เมืองหนาวควรปลูกทางภาคเหนือ พืชท่ีตอ้ งการความช้ืนสูงกค็ วรปลูกทางใต้ 2.2 ปจั จัยทางชวี ภาพ 1) ชนิดพันธุ์พืช ชนิดพันธุพ์ ชื เป็นผลมาจากสภาพแวดลอ้ มทางกายภาพ เช่น ในภาคใตท้ ่ีมีฝน ตกชุกเกือบทั้งปี และดินค่อนข้างดีเกษตรกรจึงควรปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก ขณะท่ียางต้นยังเล็กเกษตรกร ควรปลกู พืชอายุสั้นแซมระหวา่ งตน้ ยางเปน็ การเสริมรายได้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 6

2) ชนิดพันธุ์สัตว์ มีการเปล่ียนแปลงเช่นเดียวกับพืช และพืชท่ีปลูกยังมีอิทธิพลต่อการ เปลี่ยนแปลงพันธ์สุ ัตว์ด้วย นอกจากนี้สภาพท่ีตง้ั ของพน้ื ที่ เช่น เขตชายทะเล เกษตรกรสามารถเลย้ี งกงุ้ ทะเลได้ 2.3 ปัจจยั ทางเศรษฐกจิ และสงั คม 1) แรงงาน หมายถึง การใช้กำลงั กายเพ่ือแลกกับเงินหรอื ส่วนสินคา้ อยา่ งอื่น แล้วแตจ่ ะตกลง กัน ระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้างแรงงานในระบบการเกษตรมีหลายประเภท คือ แรงงานที่ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน เชน่ แรงงานในครัวเรอื น แรงงานจ้างยังจา้ งไดท้ ้ังปี หรอื ตามฤดูกาล 2) ทนุ ท่ีใชใ้ นการผลิต ทนุ มีทงั้ ปจั จัยทีเ่ ปน็ ทงั้ เงนิ และไมใ่ ชเ่ งิน มี 2 ประเภท คือ 1) ทนุ ประเภทคงทนถาวร เชน่ อาคาร โรงเรือน เครื่องจกั รกลตา่ ง ๆ เป็นตน้ 2) ทุนประเภทหมุนเวยี น เชน่ พันธุ์พืช พันธส์ุ ัตว์ ยาฆา่ แมลง เปน็ ต้น ในการทำการเกษตรเกษตรกรควรหลีกเล่ียงการกู้ยืมเงินมาลงทุน หากเป็นไปได้ควรใช้ เคร่ืองจักรท่ีจำเปน็ เท่าน้ัน ลดตน้ ทนุ การผลติ ในส่วนของแรงงานโดยใช้แรงงานท่ีมีในครัวเรอื น ลดการใช้ปุ๋ยยา ด้วยการใชห้ ลกั การเกื้อกูลกันของระบบ 3) ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เกษตรกรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือ ศาสนาอนื่ กรณี 4 จงั หวัดชายแดนภาคใต้ จะไปสง่ เสรมิ การเล้ียงหมูบนบ่อปลาคงเป็นไปไม่ได้ 4) การหาตลาด การผลิตพืชในระบบเกษตรผสมผสาน เกษตรกรจะผลิตพืชหลายชนิด บาง ชนิดผลิตออกมาจนเหลือ จำเป็นท่ีเกษตรกรจะต้องหาตลาดในท้องถิ่นจำหน่ายอย่างเหมาะสม หากไม่ มีตลาดเกษตรกรจะไม่มรี ายได้ 5) สิ่งอานวยความสะดวกของรัฐบาล ถนน ไฟฟ้า ไร่นาที่มีถนนมีไฟฟ้าผ่าน เกษตรกรจะ ไดร้ บั ความสะดวกสบายในการขนสง่ จดั จำหนา่ ยผลิต 3. รูปแบบของการเกษตรแบบผสมผสาน ระบบการเกษตรแบบผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ ลักษณะของการดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานกัน มากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูปแบบใด อย่างไรก็ตามยงั มคี วามหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียด เชิงวิชาการในด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก เม่ือเปรียบเทียบกับการศึกษาในด้านกิจกรรมเด่ียว ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือประมงก็ตาม ฉะน้ันการกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตรผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ท้ังนี้อาจจะ ยึดการแบง่ ตามวิธีการดำเนินการ ลกั ษณะพืน้ ที่ กจิ กรรมท่ีดำเนนิ ทรัพยากร เปน็ ตน้ ซ่งึ พอท่จี ะกล่าวไดด้ ังน้ี การเกษตรแบบผสมผสานรูปแบบตา่ ง ๆ 1. การเกษตรแบบผสมผสานแบง่ ตามกจิ กรรมทด่ี ำเนินการอยู่เปน็ หลัก 1) ระบบเกษตรผสมผสานท่ียึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการน้ีจะมีพืชเป็น รายไดห้ ลัก 2) ระบบเกษตรผสมผสานท่ียึดกจิ กรรมเลี้ยงสัตวเ์ ป็นหลัก ซ่ึงการดำเนินการเลีย้ งสัตว์จะเป็น รายได้หลัก เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 7

3) ระบบเกษตรผสมผสานท่ียึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก ซ่ึงจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็น รายไดห้ ลกั 4) ระบบเกษตรผสมผสานแบบไรน่ าป่าผสมหรือวนเกษตรเปน็ ระบบทม่ี กี ารจัดการปา่ ไม้ เป็น หลักร่วมกับการเกษตร ทุกแขนง อาจประกอบด้วยการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า การปลูกพืชเกษตรร่วมกับ การเล้ียงสัตว์ในสวนป่าระบบน้ีมุ่ง หวังท่ีจะให้เป็นตัวกลางเพื่อผ่อนคลายความต้องการท่ีดินเพ่ือการ เกษตรกรรม กบั ความตอ้ งการปา่ ไม้ 2. การเกษตรแบบผสมผสานแบง่ ตามวิธกี ารดำเนนิ การ 1) ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรม ต่าง ๆ เพือ่ จุดประสงค์ ให้ไดผ้ ลผลิตและรายไดส้ ูงสดุ 2) ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์ คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรียวตั ถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูก พชื คลุมดนิ ใช้ปุ๋ยคอกปยุ๋ หมัก ใช้ เศษอินทรียวัตถจุ ากไร่นา มุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืชด้วยการบำรุงดิน ให้อุดมสมบรู ณ์ ผลผลิตท่ีได้กจ็ ะอยใู่ นรูป ปลอดสารพษิ 3) ระบบการเกษตรธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรท่ีใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและ เลี้ยงสัตว์ที่ประสาน ความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเก้ือกูลซ่ึงกันและกัน งดเว้นกิจกรรมท่ีไม่ จำเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม่มีการ พรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งน้ีจะมี การปลูกพืชตระกูลถ่ัวคลุมดิน ใช้วัสดุเศษ พืชคลุมดิน อาศัยการควบคุมโรคแมลงศัตรูด้วยกลไกการควบคุม กนั เองของส่ิงมชี ีวติ ตาม ธรรมชาติ การปลูกพืชใน ในสภาพแวดล้อมทม่ี คี วามสมดุลยทางนเิ วศวิทยา 3. การเกษตรแบบผสมผสานแบง่ ตามประเภทของพืชสำคญั เป็นหลกั 1) ระบบเกษตรผสมผสานทม่ี ีขา้ วเป็นพืชหลัก พืน้ ทีส่ ่วนใหญ่จะเปน็ ท่ีนาทำการปลูกข้าวนาปี เป็นพืชหลักการผสม ผสานกิจกรรมเข้าไปให้เก้ือกูลอาจทำได้ท้ังในรูปแบบของพืช-พืช สวนปลูกไม้ผลเล้ียง ปลาในร่องสวน เล้ียงสัตว์ปกี โค โดยใช้เศษอาหารจากพชื ตา่ ง ๆ ในฟารม์ ใหเ้ ป็นอาหารสัตวไ์ ดด้ ้วย 2) ระบบเกษตรผสมผสานทม่ี ีพืชไรเ่ ป็นพชื หลกั การผสมผสานกิจกรรม พืช-พชื เช่น ลักษณะ การปลกู พืชตระกูลถว่ั แซมในแถวพืชหลัก 3) ระบบเกษตรผสมผสานทม่ี ีไมผ้ ล ไม้ยนื ตน้ เปน็ พืชหลกั การผสมผสานกจิ กรรม พืช-พชื เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 8

บทท่ี 3 เร่อื ง การสำรวจ วเิ คราะห์พื้นท่ี และความตอ้ งการผลิตผลการเกษตร 1. การสำรวจพ้ืนท่กี ารทำเกษตรแบบผสมผสาน สภาพดิน การสำรวจสภาพดินทำให้ทราบสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ทราบคุณสมบัติทาง กายภาพของดินว่าเหนียวหรือดินร่วน หรือดินทราย เพ่ือจะได้หาหนทางปรบั ปรุงแก้ไขสภาพดินให้พร้อมที่จะ ปลกู พนั ธุ์ไมไ้ ด้อย่างถูกตอ้ ง ลักษณะพื้นท่ี การสำรวจลักษณะพ้ืนท่ีทำให้ทราบสภาพความสูงต่ำของพ้ืนที่ ทราบความลาดเอียง ของพื้นท่ี ทราบความจำเป็นในการถมดินเพ่ิม หรือขุดดินบริเวณหน่ึงบริเวณใดออกทราบความจำเป็นในการ แกไ้ ขระบบระบายน้ำ เป็นตน้ 1.1 การสำรวจสภาพภูมปิ ระเทศของพนื้ ท่ี (ความสูง-ตำ่ ความลาดเท แหลง่ น้ำเพ่ือการเกษตร) ภูมิประเทศ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรที่ดินที่มีความสำคัญ และจำเป็นในการท่ีจะ ทำการศึกษา การศึกษาสภาพภูมิประเทศหลักใหญ่ ๆ ประกอบด้วย ที่ราบ (plain) ที่ราบสูง (plateau) เนิน เขา (hill) และภูเขา (mountain) ซ่ึงลักษณะภูมิประเทศหลักเหล่านี้ต่างก็มีลกั ษณะแตกต่างกันและมีการแบ่ง ออกเป็นลักษณะต่าง ๆ มากมาย วิธีการสำรวจ และศึกษาลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ ก็สามารถกระทำได้โดย ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และการสำรวจในภาคสนาม เพื่อตรวจวัดองค์ประกอบภูมิประเทศ ต่าง ๆ การสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียมนับว่ากระทำได้รวดเร็ว ประหยัด และมี ความถูกต้องแม่นยำ แผนที่ที่แสดงลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ นับว่ามีประโยชน์อย่างมาก และใช้เป็นแผนท่ี พนื้ ฐานในการสำรวจทรัพยากรทีด่ นิ อนื่ ๆ เช่น การสำรวจดิน ธรณวี ทิ ยา อทุ กวิทยา และอ่ืน ๆ ไดเ้ ป็นอย่างดี 1. การสำรวจความสงู – ต่ำของพ้นื ที่ ภาพที่ 3.1 การสำรวจความสงู -ตำ่ ของพื้นที่โดยใช้เลเซอรใ์ นการปรบั ระดับดิน เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หนา้ 9

2. การสำรวจความลาดเท ของพ้ืนที่ ความลาดเทของพื้นที่สง่ ผลให้เกดิ การพังทลายของดิน ของดนิ มากหรือน้อย สมบตั ติ า่ ง ๆ ทม่ี ผี ลตอ่ การพังทลายของดินอันเนือ่ งมาจากสภาพภูมปิ ระเทศ ไดแ้ ก่ 3. การสำรวจแหลง่ น้ำเพ่ือการเกษตร 1) ประเภทของแหล่งน้ำเกษตรเพ่ือการเกษตร 1. ปริมาณนำ้ ฝน 2. แหล่งน้ำทางธรรมชาติ 3. แหลง่ นำ้ ทมี่ นุษยส์ ร้างข้นึ 2) ความพอเพยี งของปริมาณน้ำ การศึกษาน้ำผิวดิน น้ำผิวดินเป็นน้ำท่ีเก็บกักไว้บนพ้ืนท่ีผิวดินตามแม่น้ำ ลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และทะเลสาบต่าง ๆ การศึกษาแหล่งน้ำเหล่านี้เพื่อให้ทราบถึงการเกิด การผันแปร การเคล่ื อนที่ หมุนเวียน และการแผ่กระจายของแหล่งน้ำต่าง ๆ และทำให้ทราบถึงศักยภาพในการที่จะพัฒนานำไปใช้เป็น ประโยชนใ์ นด้านตา่ ง ๆ ในแงข่ องทรัพยากรที่ดินจะพิจารณาถงึ ลุ่มนำ้ หน่ึง ๆ ซ่ึงเป็นพ้ืนท่ีที่ล้อมรอบด้วยสันปัน น้ำ (divides) อาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับขนาดของแม่น้ำลำธารที่ต้องการศึกษาในลุ่มน้ำน้ัน ๆ และ ศึกษาแหล่งน้ำว่ามีพอสำหรับการทำการเกษตรในฤดูต่าง ๆ เพ่ือจะได้มีการวางแผ่นการใช้น้ำในการทำ การเกษตร 1.2 การสำรวจลักษณะดินในพื้นที่ (เนื้อดิน หน้าดิน ความเป็นกรด-ด่าง ความอุดมสมบูรณ์ของ ดิน) การสำรวจดิน (Soil Survey) เป็นการสำรวจเก็บตัวอย่างชนิดของดิน เพอื่ การเกษตร เพื่อใช้วางแผน ปรับปรุงบำรุงดิน ในการเก็บตัวอย่างก็จะต้องหาพิกัดมาด้วย ซึ่งอาศัยเคร่ือง GPS receiver ปัจจุบันสามารถ ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อหาชนิดของดินได้ หรือการใช้วิธีการศึกษาทางสนาม และข้อสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อจำแนกชนิดต่าง ๆ ของดิน และการสำรวจดินท่ีสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยแผนท่ีดิน และรายงานการ สำรวจดินท่ีมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ลักษณะของดิน และการแปลความหมายหน่วยพื้นท่ีต่าง ๆ ที่ปรากฏ อยู่บนแผนท่ีดนิ 1. เนื้อดิน แบ่งออกเป็น ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินตะกอน ในบริเวณท่ีเป็นดิน ตะกอนมักเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ดินร่วนนอกจากมีความอุดมสมบูรณ์สูงแล้วยังสามารถระบายน้ำได้ดีกว่าดิน เหนียวอีกด้วย ดินทรายเป็นดินเนื้อหยาบ มีธาตุอาหารต่ำ และถูกชะล้างได้ง่ายจึงไม่เหมาะสำหรับการ เพาะปลูก 2. หน้าดิน การเพาะปลูกพืชจะได้ผลดีต้องมีหน้าดินลึก 100 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย เพื่อให้รากพชื สามารถหย่งั ลงได้ลึก และหาอาหารได้ดีขนึ้ 3. ความเป็นกรด-ด่าง ดินท่ีมีค่า pH ใกล้เคียงกับความเป็นกลางหรือประมาณ 6.5 จะ สามารถปลูกต้นไม้ได้ดที ีส่ ุด แต่พชื บางชนิดกส็ ามารถเจริญเตบิ โตไดด้ ีในดินทมี่ ีคา่ pH ระหวา่ ง 4.5-5.5 ซง่ึ มีค่า ของความเป็นกรด เช่นพืชจำพวก บลูเบอร์ร่ี ชวนชม พุด เป็นต้น ดังน้ันจึงควรมีการศึกษาค่า pH ของดิน ก่อนท่ีจะลงมอื ปลูกพชื เพอื่ ใหพ้ ชื สามารถเจรญิ เติบโตไดด้ ี และมีคณุ ภาพ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 10

4. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เน่ืองจากใช้เพาะปลูกพืชมา นานจำเป็นต้อง ปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกพืช หรืออย่างน้อยควร รักษาระดับ ความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่ให้เส่ือมลง วธิ ีการปรับปรงุ บำรงุ ดินทำได้ หลายวธิ ี การใช้ปุ๋ย เปน็ วธิ ีหนึ่งท่ีจะช่วย ยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น ปุ๋ยท่ีใช้มี 2 ชนิด ชนิดแรกคือ ปุ๋ยเคมี ท่ีมีส่วนประกอบสำคัญ ของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม หรืออาจมีธาตุรองอ่ืน ๆ รวมอยู่ด้วยก็ได้ความต้องการปุ๋ยน้ันข้ึนอยู่กับ ชนิด และระยะการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยเคมเี ป็นธาตุอาหารที่พชื นำไปใชป้ ระโยชน์ได้ อยา่ งรวดเรว็ และเกษตรกร ใช้ได้สะดวก ปุ๋ยชนิดที่ 2 คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ได้จากปุ๋ย หมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชนิดดังกล่าวนอกจากจะ เพ่ิมธาตุอาหารในดินแล้ว ยังช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย ไถพรวนง่ายดูดซับน้ำ ได้ดีท้ังน้ีเกษตรกรสามารถใช้ วัสดุเหลือใช้ในไร่นามาใช้ประโยชน์ได้การปลูกพืชหมุนเวียนนิยมปลูกพืชตระกูลถ่ัว ร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากพืช ตระกูลถั่วมีแบคทีเรยี อาศัยอยู่ทปี่ มรากสามารถตรงึ ไนโตรเจนใหเ้ ป็นประโยชน์ต่อพืชได้ และการปลกู พืชคลุม ดนิ จะชว่ ยไม่ใหห้ น้าดนิ ถูก ชะลา้ งไดง้ ่ายโดยเฉพาะในพน้ื ท่ีลาดชัน 1.3 การสำรวจสภาพภูมิอากาศของพ้นื ท่ี (อณุ หภูมิ ความชืน้ ปริมาณนำ้ ฝน) สภาพภูมิอากาศนับว่าเป็นส่วนหน่ึงของทรัพยากรที่ดินที่จำเป็นต้องมีการสำรวจหรือศึกษา เพื่อ นำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ที่ดินเพ่ือการเกษตร วิศวกรรม การชลประทาน และอ่ืน ๆ การศึกษาสภาพภูมิอากาศกระทำได้โดยอาศัยสถานีตรวจวัดอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หรือจากสถานี ทดลองที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงบริเวณน้ัน เพื่อนำข้อมูลภูมิอากาศมาวิเคราะห์สำหรับใช้ประโยชน์และเป็น ตัวแทนของพื้นท่ีท่ีทำการสำรวจ ผลของการศึกษาหรือสำรวจสภาพภูมิอากาศอาจจะออกมาในรูปของข้อมูล และแผนที่ภูมิอากาศ (climatological map) หรืออ่ืน ๆ ก็ได้ ข้อมูลภูมิอากาศควรจะอยู่ในรูปที่นำไปใช้เป็น ประโยชน์ในการวางแผนการใช้ท่ีดนิ ดา้ นตา่ ง ๆ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ทิศทางลม การสำรวจทิศทางลม จะทำให้ทราบถึงทิศทางและความรุนแรงของลมท่ีพัดผ่านพ้ืนที่ เพ่ือที่จะได้ป้องกัน และหาทางแก้ไขมิให้เกิดความกระทบกระเทือนแก่พืชได้ เช่น การปลูกไม้ใหญ่บังลม เป็น ตน้ ปริมาณแสงสว่าง พันธ์ุไม้แต่ละชนิดต้องการแสงสว่างไม่เท่าเทียมกัน บางชนิดต้องปลูกอยู่กลางแจ้ง บางชนิดต้องข้นึ ในทีร่ ่มเงา การสำรวจจะทำใหท้ ราบบริเวณร่มเงา บริเวณกลางแจ้ง ตำแหน่งที่ถกู แสงแดดชว่ ง เชา้ ช่วงบา่ ย ซึ่งส่ิงเหล่านี้จะเป็นตวั กำหนดในการเลอื กใชต้ น้ ไมใ้ ห้เหมาะสม ปริมาณฝน ปริมาณฝนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกใช้พันธ์ุเช่นกัน ถ้าสภาพพื้นท่ีนั้น ค่อนข้างแห้งแล้ง ก็ต้องเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้ง หรือถ้าสภาพพ้ืนท่ีน้ันมีฝนตกชุกก็ต้องคำนึงถึง เรอื่ งพันธุไ์ ม้การใชไ้ ม้คลมุ ดิน ควบคไู่ ปกบั การระบายนำ้ ออกจากพืน้ ที่ อุณหภูมิ เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งในการเลือกใช้พันธ์ุไม้ พ้ืนที่ที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นก็ต้องเลือกใช้พันธ์ุ ไม้อยา่ งหนง่ึ พ้ืนที่ทม่ี อี ณุ หภูมสิ งู หรือรอ้ นก็ตอ้ งใชพ้ ันธ์ุไม้อีกอย่างหน่ึง เปน็ ตน้ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 11

2. การสำรวจความต้องการผลผลติ ทางการเกษตร การสำรวจชนดิ และปริมาณผลผลติ ทางการเกษตรท่ีตลาด สำรวจสภาวะความต้องการของตลาดในท้องถนิ่ ปฏิบัติได้โดยการออกสำรวจหาข้อมูล ความต้องการ ของตลาดในท้องถ่ินเกี่ยวกับการผลิตพืช ว่าช่วงไหนต้องการพืชชนิดใด พืชชนิดใดมีช่วงราคาสูงในเดือนอะไร ตลาดต้องการพืชชนิดใดประมาณวันละกี่กิโลกรัม ในตลาดมีผู้ผลิตรายอ่ืนอยู่หรือไม่ มีผู้ผลิตพืชชนิดน้ีใน ท้องถนิ่ จำนวนก่ีราย สภาพปัญหาของผผู้ ลติ รายอืน่ ๆ มอี ยา่ งไร เป็นตน้ นอกจากสำรวจสภาวะการทางตลาดแล้ว ผู้เริ่มลงมือผลิตรายใหม่ควรสำรวจและสังเกตสภาพ สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นปัจจัย และผลกระทบต่อการปลูกพืชชนิดนั้น ๆ ด้วย เช่น สภาพดิน อุณหภูมิ แสงสว่าง แหล่งน้ำที่ใช้ปลูกพืช เมื่อสำรวจได้ข้อมูลมาแล้วจึงวางแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ ต่อไป 3. การวเิ คราะหพ์ นื้ ที่ และกจิ กรรมการผลติ ในระบบเกษตรผสมผสานโดยใช้ SWOT analysis 3.1 ความหมายของ SWOT analysis คำว่า \"สวอต\" หรือ \"SWOT\" น้นั มาจากตวั ย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ไดแ้ ก่ ปัจจัยภายใน S มาจาก Strengths หมายถึง จุดแข็ง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในท่ี องคก์ รทำได้ดี W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดอ่อน สถานการณ์ภายในองค์กรท่ีเป็นลบและด้อย ความสามารถ ซ่ึงองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนนิ งานภายในทอ่ี งค์กรทำไดไ้ ม่ดี ปัจจยั ภายนอก O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกท่ีเอ้ืออำนวยให้การ ทำงานขององค์กรบรรลุวตั ถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการ ขององคก์ ร T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขดั ขวางการทำงานของ องคก์ รไมใ่ ห้บรรลวุ ตั ถุประสงค์ หรอื หมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกทเ่ี ป็นปัญหาตอ่ องค์กร 3.2 วิธีการทำ SWOT analysis การวเิ คราะห์ SWOT จะครอบคลมุ ขอบเขตของปจั จยั ที่กวา้ งด้วยการระบุจดุ แข็ง จุดอ่อน โอกาสและ อุปสรรคขององคก์ ร ทำให้มขี อ้ มูล ในการกำหนดทศิ ทางหรอื เปา้ หมายท่ีจะถูกสร้างขึ้นมาบนจดุ แขง็ ขององคก์ ร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ท่ีมุ่งเอาชนะอุปสรรคทาง เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 12

สภาพแวดล้อมหรือลดจุดออ่ นขององค์กรให้มีนอ้ ยท่สี ุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะหท์ ้ัง สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก องค์กร โดยมขี นั้ ตอนดังนี้ 1) การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากร และความสามารถภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพ่ือท่ีจะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบ้ืองต้น ของข้อมูลเพ่ือการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารท่ีครอบคลุมทุกด้าน ทั้งใน ด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององคก์ รเพ่ือที่จะเข้าใจสถานการณ์ และผล กลยุทธ์ก่อนหนา้ นดี้ ้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน องค์กรนั้นเองว่า ปัจจัยใดภายในองค์กรท่ีเป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรท่ีองค์กรควรนำมาใช้ในการ พฒั นาองค์กรได้ และควรดำรงไวเ้ พือ่ การ เสรมิ สร้างความเขม็ แข็งขององคก์ ร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบของ องคก์ รท่คี วรปรบั ปรุงใหด้ ขี น้ึ หรือขจดั ให้หมดไป อันจะเปน็ ประโยชนต์ อ่ องค์กร 2) การประเมนิ สภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมนิ สภาพแวดลอ้ มภายนอกองคก์ รน้ัน สามารถค้นหาโอกาสและอปุ สรรคทางการ ดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ การดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอตั ราร้หู นังสือของประชาชน การตงั้ ถนิ่ ฐาน และการอพยพ ของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเช่ือและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทาง การเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ท่ีจะช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพในการผลิต และ ใหบ้ ริการ - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ท้ังทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหา ภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยขอ้ ดีเหล่านม้ี าเสรมิ สรา้ งให้ หน่วยงานเขม็ แข็งข้ึนได้ - อปุ สรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะหว์ ่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดท่ี สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กร จำตอ้ งหลกี เลย่ี ง หรือปรับสภาพองคก์ รให้มี ความแขง็ แกรง่ พรอ้ มทีจ่ ะเผชิญแรงกระทบดงั กลา่ วได้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 13

3.3 การวิเคราะห์ข้อมูลพ้ืนท่ี และกิจกรรมการผลิตผลการเกษตรแบบผสมผสานด้วย SWOT analysis เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 14

ตารางที่ 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลพ้ืนที่ และกิจกรรมการผลิตข้าว ในสำนักงานเกษตรอำเภอบ่อพลอย จังหวดั กาญจนบุรี 3.4 การแปลผลวเิ คราะห์พน้ื ท่ี และกจิ กรรมการผลติ ผลในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 3.4.1. ให้ความรู้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) เพ่ือลดต้นทุนการผลิต และ อนรุ กั ษส์ ิ่งแวดล้อม 3.4.2. จดั ทำศนู ยข์ ้าวชุมชน และโรงเรยี นชาวนา 3.4.3. น้อมนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมาใช้เพอ่ื พร้อมรบั กับการเปลี่ยนแปลง 3.4.4. สง่ เสรมิ การรวมกลุ่มอาชีพในทอ้ งถนิ่ และการสรา้ งเครอื ข่ายเพอ่ื แลกเปลี่ยนเรยี นรู้ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 15

บทท่ี 4 เร่ือง การวางแผน และการเตรียมการทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1. การวางแผนการทำการเกษตรแบบผสมผสาน การทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช หรือการเล้ียงสัตว์จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีการ วางแผนการปฏิบัติงาน หรือทำโครงการก่อนการลงมือปฏิบัติจริง การวางแผนเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติ งานไปลวงหนาว่าจะปฏิบัติงานอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร มีการกำหนดกิจกรรมเป็นข้ันเป็นตอน จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ไวลวงหนา เพ่ือใหการทำงานได้รับความสำเร็จ และช่วยใหการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใชใหเกิดประโย ชน สูงสุด การวางแผนก่อนการทำงานนั้น จะช่วยใหปญหาขอ้ ผิดพลาดน้อยลง หรือสามารถแกไขได้ทันทวงที ผู้ปลูกจะต้องศึกษาหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อนำข้อมูลท่ีได้มาวางแผนและ ดำเนินการผลติ พชื ได้อยา่ งถกู ตอ้ งเหมาะสมกบั สภาพท้องถิน่ ของตนเอง 1.1 ความสำคญั ของการวางแผนระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 1) เลือกชนิดพืชท่ีมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ทนทานต่อโรคแมลงรบกวน ทนทานต่อ ความแหง้ แลง้ เติบโตเร็ว ผลผลติ สูง ดูแลรกั ษางา่ ย เปน็ ตน้ 2) เลือกชนิดพืชจากความต้องการของพ่อค้า หรือผู้บริโภค โดยต้องคำนึงว่าพืชผลท่ีจะปลูกเพื่อ ขาย ควรมีตลาดรองรับ ซึง่ อยใู่ นละแวกใกลเ้ คียงกับแหล่งเพาะปลูก และสามารถปลกู ได้ในช่วงเวลาที่ผซู้ ื้อหรือ ผบู้ ริโภคต้องการ 3) เลือกพืชที่จะเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ เช่น ปริมาณน้ำฝน การกระจายน้ำ ของวันฝนตกในรอบปี อุณหภูมิหนาวเย็นแต่ละช่วงเวลา ความชื้น กระแสลม ตลอดจนความสูงต่ำของภูมิ ประเทศ และต้องคำนึงถงึ ธรรมชาติและอากาศ เช่น ไม่ควรปลูกพชื เมืองหนาวในเขตร้อน หรือปลูกไม้ผลไม้ยืน ตน้ ในพื้นทีร่ าบล่มุ เปน็ ตน้ 4) เลือกพืชท่ีปลูกตามความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง โดยเร่ิมต้นจากการปลูกน้อย ๆ แล้ว ขยายมากขนึ้ เมื่อประสบผลสำเรจ็ 1.2 หลกั การวางแผนระบบการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรกรต้องสามารถวางแผนการผลิต ภายในฟาร์มของตัวเองได้อย่างถูกต้องในทำนองทเี่ รยี กว่าตอ้ ง มีภาย ในฟาร์มของตัวเองได้อย่างถูกต้องในทำนองท่ีเรียกว่าต้องมีความรู้เขารู้เราจึงจะสามารถทำให้มีการ วางแผนได้อย่าง ถกู ตอ้ ง โดยองคป์ ระกอบความรูเ้ ขา และรู้เราทสี่ ำคญั ในการวางแผน ไดแ้ ก่ 1) ต้องมีพ้ืนที่ถือครองของตนเอง การเช่าที่ดินจากผู้อื่นมาดำเนินการ เกษตรกรจะได้กล้าที่จะ วางแผนลงทนุ อยา่ ง ถาวร เพราะเกรงวา่ เมอื่ ดำเนนิ การไประยะหน่ึงแลว้ อาจจะถูกบอกเลิกเชา่ ได้ 2) ต้องทราบข้อมูลพื้นฐานภายในฟาร์มของตัวเองเป็นอย่างดี ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ ข้อมูล ทางด้านลักษณะพื้นที่ ดิน แหลง่ น้ำ ซึ่งนับวา่ มีความสำคัญ จะสามารถชว่ ยในการวางแผนภายในฟาร์มได้อยา่ ง ถกู ต้อง เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 16

3) ต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในดา้ นเทคโนโลยีการผลิตพืชหลายชนดิ เช่น ข้าว พชื ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนตน้ พืชผัก การเพาะเหด็ เศรษฐกิจ การปศุสัตว์ และการประมง ถา้ ขาดความรู้ในกจิ กรรมใดกิจกรรมหนึ่ง จำเป็นต้องไปขวนขวาย หาความรู้ โดยการไปศึกษาดูงาน รวมท้ังเข้ารบั การฝึกอบรมจากหน่วยงานท่ีสามารถ ใหค้ วามรู้น้ันได้ 4) ต้องมีทุนเริม่ ต้น และทุนหมุนเวียนภายในฟาร์มพอสมควร ซึ่งการมีทุนสำรองไว้จะสามารถให้ การวางแผนดำเนนิ กิจกรรมทีผ่ สมผสานกนั เปน็ ไปอยา่ งเหมาะสม 5) ต้องเป็นผู้มีความมานะอดทน ขยันขันแข็ง และมีแรงงานที่พอเพียง เหมาะสมกับกิจกรรม ภายในฟาร์ม ท้ังน้ีเพราะ การทำการเกษตรจะเห็นผลสำเร็จได้ต้องใช้เวลา และประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะมอี ยตู่ ลอดเวลา และสามารถปรับเปล่ยี นแผนไดต้ ลอดเวลา เพื่อใหแ้ ก้ปัญหาไดท้ นั เหตกุ ารณ์ 2. การวางแผนการผลิตในแตล่ ะกจิ กรรมการผลติ ในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรกรผู้ทด่ี ำเนินการระบบเกษตรผสมผสานจะประสบความสำเร็จได้ ควรจะต้องมีการวางแผนการ ผลิตในแตล่ ะกิจกรรมการผลติ ในระบบการเกษตรแบบผสมผสานทีเ่ หมาะสมในดา้ นตา่ ง ๆ ดังนี้ 2.1 ปจั จัยการผลิตท่ีจำเปน็ แตล่ ะกจิ กรรมการผลิตของระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ปัจจัยการผลิต หมายถึง ปัจจัยท่ีผู้ผลิตนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าและบริการ สำหรบั ปัจจัยการผลิตในภาคเกษตรมีอยูห่ ลายชนิดไดแ้ ก่ ท่ีดนิ น้ำ เครอ่ื งจกั รกล พนั ธุพ์ ืช ปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ ซ่ึง แตล่ ะชนิดมลี ักษณะและความสำคัญดงั นี้ 1) ที่ดิน ถอื ว่าเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานท่ีสำคัญ มีลักษณะพิเศษเพราะเปน็ ทรพั ยากรท่ีมีปริมาณ จำกัด แต่ละแห่งมีคุณสมบัติหรือคุณภาพต่างกัน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต มากกวา่ ดินท่ีมีคุณภาพด้อยกว่า ประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ที่ดินเพื่อการทำนามากท่ีสดุ รองลงมาเป็นท่ีปลูกพืช ไร่ ไมผ้ ล ไม้ยืนตน้ สวนผัก ไม้ดอก และท่งุ หญา้ เลย้ี งสัตว์ตามลำดับ 2) น้ำ ความต้องการใช้น้ำเพ่ือการเกษตรมีวัตถุประสงค์หลายประการได้แก่ ความต้องการใช้น้ำ เพ่ือการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เล้ียงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมิใช่เพื่อกิจกรรม การเกษตรที่เพิ่มข้ึนเท่านั้น แต่ยังมีการใช้น้ำเพ่ือการอุตสาหกรรม การขยายการบริการสาธารณูปโภคในเขต เมืองต่าง ๆ มากข้ึนซ่ึงทำให้ปัญหาการจัดสรรน้ำเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มข้ึน และมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็น ข้อจำกัดทางด้านการเกษตร และในระยะยาวถ้าเกิดปัญหากับแหล่งต้นน้ำลำธาร แนวโน้มของปัญหาขาด แคลนน้ำจะรุนแรงข้ึน การบริการการใชน้ ้ำในอนาคตจงึ มคี วามสำคัญมาก 3) แรงงาน ในภาคเกษตรจัดเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และมีจำนวนมาก เน่ืองจากยังมีการใช้ เครื่องจักรทุ่นแรงไม่มากนัก ในด้านแรงงานของภาคเกษตรก็มีทิศทางคล้ายกับประชากรภาคการเกษตรคือ จำนวนแรงงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่สัดส่วนของแรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานท้ังหมดมี แนวโน้มลดลงเร่อื ย ๆ ปัญหาสำคัญด้านแรงงานเกษตรกรคือ อัตราค่าจ้างของแรงงานในภาคเกษตรมีแนวโน้ม เพิ่มข้ึน และจะขาดแคลนในฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว แต่จะมีการว่างงานระหว่างฤดูกาลสูงมากในช่วง นอกฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกยี่ ว ทำให้มีแรงงานส่วนหนง่ึ อพยพเขา้ ไปทำงานในเมืองเพิ่มสงู ข้นึ เรื่อย ๆ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 17

4) เคร่ืองจักรกลการเกษตร มีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรของไทยเป็นอย่างมาก เน่ืองจาก เกษตรกรนำมาใชเ้ พอื่ เพม่ิ ประสทิ ธภิ าพในการผลติ ใช้แทนแรงงานที่เรมิ่ ขาดแคลนในบางฤดกู าล และใชใ้ นการ เตรยี มดนิ เพ่ือประหยัดเวลาทนั ต่อเหตุการณ์ รักษาคุณภาพ และไม่ใหเ้ กิดการสญู เสียผลผลติ มากเกินไป ซงึ่ จะ มที ัง้ ทน่ี ำเขา้ และผลติ ขึ้นใชเ้ องในประเทศไทย 5) พันธุ์พืช และสัตว์ เป็นปัจจัยที่สำคัญประเภทหนึ่งถ้ามีการใช้พ่อพันธุ์และแม่พันธ์ุท่ีดีก็จะช่วย ใหผ้ ลผลติ จากการเพาะปลูกหรอื ปศุสัตว์เพ่มิ ข้ึนคุ้มกบั การลงทนุ 6) ปุ๋ย จำแนกไดเ้ ป็น 2 ประเภทได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี เน่ืองจากตลาดสินค้าเกษตรหลักมี การขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเร่งขยายผลผลิต ปุ๋ยเคมีจึงถูกเลือกใช้มากข้ึนเพ่ือเป็นการ เพ่มิ ประสทิ ธิภาพในการผลติ แม้ว่าตน้ ทนุ การผลิตจะสูงขน้ึ กต็ าม 7) สารเคมี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการป้องกันกำจัด ศตั รูพชื ซง่ึ เกษตรกรมแี นวโน้มการใช้สารเคมีมากในการปลูกพืชเศรษฐกิจทรี่ าคาสูงหรือให้ผลตอบแทนสูง 2.2 การเก้ือกูลกนั ระหวา่ งกจิ กรรมการผลติ 1. การเก้อื กลู กนั ระหวา่ งกิจกรรมการผลติ การปลกู พชื กับการปลกู พืช มดี งั นี้ กิจกรรมพืช-พืช เกษตรผสมผสานพืชต่อพืชอาศัยการคัดเลือกพืชตามความต้องการแสงของพืช หรือความลึกของราก ความช้ืนที่ต่างกัน ที่เรียกว่า การปลูกพืชความสูงต่างระดับ (Multistoried cropping system) หลักการ คือ พืชต่างชนิดกันหาอาหารต่างกัน มีการอยู่ร่วมกันได้ จะมีระบบที่สามารถพบเห็นได้ใน ลกั ษณะต่อไปน้ี 1) ระบบการปลูกพืชไมย้ ืนต้น และไม้ผลหลายชนดิ ในพ้ืนทป่ี ่า ซ่งึ ระบบนีน้ อกจากจะได้ผลใน ด้านเศรษฐกิจแลว้ ยงั สมารถอนุรกั ษป์ ่าไม้ และระบบนิเวศนไ์ วไ้ ด้อยา่ งดี 2) ระบบที่เลียนแบบมาจากระบบแรก คือ เป็นระบบที่ปลูกไม้ต่างระดับร่วมกันระบบน้ีจะมี การปลูกท้ังไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชล้มลุกต่าง ๆ ร่วมกันไป โดยพืชในแต่ละระดับความสูงจะมีความเหมาะสม และเก้อื กลู ประโยชนต์ อ่ กนั ในดา้ นความต้องการแสงแดด ธาตอุ าหาร ความชุ่มชน้ื เป็นตน้ 3) ระบบการปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว ซ่ึงจะพบเห็นได้ในภาคใต้ เช่น โกโก้ไปปลูกแซมใน สวนมะพร้าว 4) ระบบการปลูกพืชไร่ตระกูลถว่ั แซมในระหวา่ งพชื ไรห่ ลกั 5) พืชตระกลู ถัว่ ช่วยตรึงธาตไุ นโตรเจนให้กบั พชื ชนิดอื่น 6) พืชยนื ตน้ ใหร้ ม่ เงากบั พืชทตี่ ้องการแสงแดดน้อย เช่น กาแฟ โกโก้ ชา สมนุ ไพร ฯลฯ 7) พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติ เพ่ือช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้เกิด ระบาดกับพืชชนิดอ่ืน ๆ เชน่ การปลูกถวั่ ลสิ งระหวา่ งแถวในแปลงขา้ วโพด จะช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มา อาศัยอยู่ในถั่วลสิ งมาก และจะช่วยกำจัดแมลงศตั รูของข้าวโพด 8) พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลักจะช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชข้ึนแย่งอาหารกับพืชหลักที่ ปลกู เชน่ การปลกู พชื ตระกูลถ่วั เศรษฐกิจในแถวข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝา้ ย เปน็ ต้น เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 18

9) พืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนตน้ ในระยะเริม่ ปลูกจะช่วยบังลมบังแดด และเก็บความชืน้ ในดิน ใหก้ ับพชื ยนื ต้น เชน่ การปลูกกล้วยแซมในแถวไมผ้ ลต่าง ๆ ในแถวยางพารา เปน็ ตน้ 10) พืชช่วยไล่และทำลายแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ต้องการอารักขา เช่น ตะไคร้ หอม ถั่วลสิ ง ดาวเรอื ง แมงลัก โหระพา หมอ้ ข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ 2. การเกือ้ กูลกนั ระหว่างกจิ กรรมการผลิตการปลกู พืชกับการเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมพืช-สัตว์ การเกษตรผสมผสานแบบน้ีเกษตรกรนิยมทากันมาก เนื่องจากเกษตรกรจะได้ ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ การเกษตรผสมผสานรปู แบบนี้ เช่น การปลูกพืชควบคู่กับการเล้ียงสัตว์ เป็นระบบการเกษตรผสมผสานอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ เช่น ระบบการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนกับการเลี้ยงโค ระบบการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคในพ้ืนท่ีสวนป่าพื้นท่ีสวนมะพร้าว สวนยางพารา ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำใน พนื้ ที่ปา่ ชายเลน 1) เศษเหลือของพชื จากการบริโภคของมนุษยใ์ ชเ้ ป็นอาหารสัตว์ และปลา 2) พืชยืนต้นช่วยบงั ลม บังแดด บงั ฝน ให้กบั สตั ว์ 3) พชื สมุนไพรเป็นยารักษาโรคใหก้ บั สตั ว์ 4) ปลาชว่ ยกนิ แมลงศตั รูพชื วชั พืช ใหก้ บั พชื ทปี่ ลูกในสภาพน้ำทว่ มขงั เชน่ ข้าว 5) ปลาช่วยให้อินทรีย์วัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลา ซ่ึงสามารถ นำมาใชเ้ ป็นปุ๋ยกับพืชได้ 6) ห่าน เปด็ แพะ ววั ควาย ฯลฯ ชว่ ยกำจัดวัชพืชในสวนไม้ผล ไม้ยืนตน้ 7) มูลสัตวท์ กุ ชนดิ ใชเ้ ปน็ ปุ๋ยกบั พืช 8) ผึ้งชว่ ยผสมเกสรในการตดิ ผลของพชื 9) จลุ ินทรยี ช์ ่วยยอ่ ยสลายซากพืชและสตั วใ์ ห้กลับกลายเป็นปุย๋ 10) แมลงศัตรูธรรมชาติหลายชนิด ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธ์ุมาก จนเกิดการแพร่ระบาด ต่อพชื ที่ปลูก 3. การเก้อื กลู กนั ระหวา่ งกิจกรรมการผลิตการเลยี้ งสัตว์กบั การเล้ยี งสัตว์ เป็นหลักการผสมผสานเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมี ความสัมพันธก์ บั สัตว์อกี ชนิดหนึ่ง และเกย่ี วขอ้ งกบั สง่ิ มีชีวิตอ่นื ๆ เช่น พชื และจลุ นิ ทรีย์ ตัวอย่างของระบบการ ผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเล้ียงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ด หรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบ ผสมผสาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การผสมผสานการเล้ียงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่ สมบรู ณ์ ได้เหมอื นกับการผสมผสานการปลูกพชื และเล้ียงสัตว์ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หนา้ 19

3. การเตรยี มการผลิตในแตล่ ะกจิ กรรมการผลติ ในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ก่อนอ่ืนต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้างการ เล้ียงสัตว์ต่าง ๆ เม่ือรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเล้ียงน้ัน เอ้ือประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใชเ้ ป็นอาหารหรือใชป้ ระโยชนอ์ ะไรจากพชื และสตั ว์ มกี ารเออื้ ประโยชนต์ อ่ กนั อย่างไร 3.1 การกำหนดชนิด และปริมาณของปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้ในการระบบการเกษตรแบบ ผสมผสาน กำหนดชนิดพืช และแนวทางการใช้ประโยชน์ หลังการทำการสำรวจสภาวะความต้องการของตลาด ในท้องถ่ินและค้นคว้าหาข้อมูลพืชท่ีจะผลิตแล้ว จึงถึงข้ันตอนการตัดสินใจกำหนดชนิดพืชที่จะปลูก ซ่ึงควร คำนึงถึงฤดูกาลและสภาพพื้นที่ว่าเหมาะสมกับลักษณะนิสัยของพืชหรือไม่ มสี ภาพปัจจัยต่าง ๆ เหมาะแก่การ เจริญเติบโต มีปัญหาจากแมลงศัตรูพืชน้อยจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติบำรุงรักษา เพื่อลดต้นทุน การผลิต ส่วนการใช้ประโยชน์ของผลผลิตพืช ผู้ปลูกควรกำหนดวัตถุประสงค์การผลิตก่อน ว่าเม่ือผลิตแล้ว นำไปบริโภคในครัวเรือนหรือผลิตเพ่ือการจำหน่ายและมีช่องทางการตลาดมากน้อยเพียงใด ผู้ผลิตคว รตอบ คำถามเหล่านี้ให้ได้ เชน่ ผลิตพืชชนิดนแี้ ล้วจะขายใหใ้ คร ขายท่ีไหน ขายเมื่อไหร่ ผลิตที่ขายมีจำนวนเทา่ ใด ถ้า เรากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ผลผลิตพืชที่ปลูกชัดเจนแลว้ ทำให้ผลิตสามารถวางแผนเตรียมการผลิตไว้ ลว่ งหน้า ลดความเส่ยี งต่อภาวะขาดทนุ ได้เปน็ อย่างมาก 3.2 รูปแบบการทำแผนผังการผลิตในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ภาพท่ี 4.1 แผนผงั รูปแบบแปลงเกษตรผสมผสาน เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หนา้ 20

ภาพที่ 4.2 แผนผงั รูปแบบแปลงเกษตรผสมผสาน เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หนา้ 21

บทที่ 5 เรอ่ื ง การจัดการฟารม์ เกษตรแบบผสมผสาน 1. ความร้เู กยี่ วกบั การจดั การฟารม์ เกษตรแบบผสมผสาน 1.1 ความหมายของการจัดการฟารม์ เกษตรแบบผสมผสาน การจัดการฟาร์ม (Farm Management) หมายถึง การจัดการทรัพยากรของหน่วยธุรกิจฟาร์มที่มีอยู่ จำนวนจำกัด (ทดี่ ิน แรงงาน ทุน) ในการผลิตพืช และสตั ว์ เพ่อื ให้ได้มาซ่ึงวตั ถปุ ระสงคท์ ่ีฟารม์ ต้องการ ภายใต้ ความเสี่ยง และความไมแ่ นน่ อน โดยการจัดการอย่างมีประสทิ ธภิ าพ เพือ่ ให้มรี ายไดต้ อ่ เนอ่ื ง และกำไรสูงสดุ 1.2 ความสำคัญของการจัดการฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน 1) บริหาร และจัดการทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างจำกัด และเป็นแนวทางแก้ปัญหา กิจกรรมภายใน ฟารม์ 2) การใช้ปจั จยั การผลติ ในฟารม์ ใหเ้ กิดประสทิ ธิภาพสูงสดุ 3) การคดั เลือกกจิ กรรมการผลิตให้สอดคล้องกับทรัพยากรท่ีมอี ยู่ ตลอดจน ความรู้ความสามารถ และทักษะของเจ้าของฟารม์ 4) การจัดการด้านแรงงาน และเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากสภาพ ปัจจุบันแรงงาน ครัวเรือนและแรงงานจ้างค่อนข้างจำกัด ตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจึงจำเป็นต้องใช้เงินทุนเข้ามาช่วย สนบั สนุน ดังนนั้ การจัดการจงึ เน้นการควบคุมดูแลและการกำกบั ใช้ปจั จยั แรงงานและเงินทุน 5) พ้ืนท่ีการเกษตรเร่ิมมีขนาดเล็กลง และทรัพยากรเร่ิมจำกัดไม่ว่าพ้ืนที่หรือ แรงงาน จึง จำเป็นต้องเพ่ิมธุรกิจภายในฟาร์มท่ีมีขนาดเท่าเดิมให้มากขึ้น โดยอาศัยการจัดการฟาร์ม ท่ีถูกต้องและ เหมาะสม 6) การวางแผน และการวิเคราะห์ฟาร์ม เพื่อจะได้กำหนดทิศทางการผลิตให้ สอดคล้องกับ ทรพั ยากร และความต้องการของตลาด สิง่ สำคญั ให้เกิดความเสีย่ งน้อยท่ีสดุ 7) เน่ืองจากการตลาดนำหน้าการผลิต ดังน้ันการจัดการฟาร์มนำหน้าการผลิต การจัดการฟาร์ม จึงต้องตระหนกั ถึงระบบการตลาด การซื้อขายผลผลติ ช่วงระยะเวลา และคุณภาพของผลผลิต 1.3 หลกั การการจดั การฟารม์ เกษตรแบบผสมผสาน 1) เกษตรกรต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างรายรบั -รายจ่าย โดยรายรับขึ้นอยูก่ ับการวางแผน จะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตเมื่อไร เลือกใช้วิธีการผลิตแบบใด และการคาดคะเนผลผลิตท่ีคาดว่าจะได้รับ จากการผลิตแตล่ ะกจิ กรรม ซงึ่ มมี ากกวา่ จะต้องให้มตี ้นทุนทตี่ ่ำสดุ มีความเส่ยี งนอ้ ยทีส่ ดุ และมกี ำไรสงู สุด 2) เกษตรกรต้องเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ความเส่ียงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในด้านของ สภาพดินฟ้า อากาศ ปริมาณน้ำฝน ความแห้งแล้ง โรค และแมลง สภาวะการตลาดของผลผลิต มคี วามสำคัญ และ มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบข้ันตอนการผลิตทางการเกษตร มีการหมุนเวียนนำส่ิงเหลือใช้ภายในฟาร์ม มาใชป้ ระโยชน์ทก่ี ่อใหเ้ กิดการสนับสนนุ เกอ้ื กูลประโยชน์ซึง่ กันและกนั โดยจะส่งผลให้ตน้ ทุนการผลิตลดลง ลด เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 22

การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย จากสารพิษ ซงึ่ จะนำไปสู่ระบบการเกษตรทยี่ ง่ั ยืน 2. การจัดการกิจกรรมการเกษตร 2.1 การจัดการกจิ กรรมการปลูกพืช การปลูก และการบำรุงรักษา การผลิตพืชโดยทั่วไป ต้องให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงสุดเท่าที่ สามารถ ทำไดโ้ ดยหลักการพน้ื ฐานการเจริญเตบิ โตและการใหผ้ ลผลติ ของพชื ซ่งึ เกย่ี วข้องกับพันธุกรรมของพืช และส่ิงแวดล้อม ต่าง ๆ ที่พืชได้รับ พันธุกรรมของพืชเป็นปัจจัยภายในพืช ซ่ึงอาจเปล่ียนแปลงให้ดีข้ึนกว่าเดิม ได้โดยการปรับปรุง พันธุกรรม ส่วนสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกพืช สามารถจัดการให้เหมาะสมกับความ ต้องการในการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืชได้หลายทาง ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการ เจริญเติบโต การให้ผลผลิต และการตอบสนองของ พืชต่อปัจจัยต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ช่วยให้ผู้ผลิตพืชสามารถ เลือกวธิ ีการจดั การดูแลรักษาได้ดีย่ิงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ลักษณะความต้องการของพืช ข้อจำกัดของพืช หลกั การปลกู พชื การบำรุงรกั ษาพืช และการอารักขาพืช การเก็บเก่ียว และการปฏิบัติการหลังการเก็บเก่ียว เป็นขั้นตอนท่ีสำคัญอีกขั้นตอนหน่ึง ซึ่งต้อง พิจารณา ปจั จัยต่าง ๆ ไดแ้ ก่ ปัจจยั ภายในตัวพืชและสิง่ แวดลอ้ ม หลักการเกบ็ เก่ียวและการปฏิบัติการหลงั การ เก็บเกี่ยวผลผลิต อาทกิ ารเก็บเก่ียวผลผลิตในช่วงเวลา และวิธที ่ีเหมาะสม เพอ่ื ให้ผลผลิตมีคุณภาพคงเดิมและ บอบช้าน้อยทีส่ ุด 1. การปฏิบตั ิดแู ลรักษาพชื ท่ปี ลูก การปฏิบัติดแู ลรักษา หมายถึง การดำเนนิ งานปฏิบตั ิดแู ล บำรงุ รักษาพืชที่ปลูกงานสำคัญไดแ้ ก่ การใหน้ ำ้ การพรวนดินใสป่ ุย๋ และการป้องกนั และกำจัดศัตรูพชื 1) การให้น้ำ การให้น้ำแก่พืชต้องให้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช การให้น้ำแก่พืชมากเกินไปหรอื น้อยเกนิ ไปอาจทำให้พชื ตายได้ 2) การพรวนดิน การพรวนดนิ ใสป่ ยุ๋ ช่วยใหพ้ ืชเจริญเตบิ โตได้เร็ว เพราะทำใหด้ นิ รว่ น โปรง่ และพชื ดดู ปุ๋ยไปใช้ไดส้ ะดวก 3) วิธใี ส่ปุ๋ย - ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ การใส่ปุ๋ย อินทรีย์ควรใส่ในขณะพรวนดิน แล้วคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยอินทรีย์ให้เข้ากัน สำหรับปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้อัตราปุ๋ยน้ำ ชวี ภาพประมาณ 30 ซีซี ตอ่ น้ำ 20 ลิตร รดทกุ 5-7 วัน - ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้กับพืช แล้วทำให้พืชแตกกิ่งก้านสาขาเร็วกว่าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แต่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง และมผี ลกระทบตอ่ ดนิ ปลูกทำให้ดนิ แข็งต้องปรบั ปรุงดินอยู่เสมอ ปุ๋ยเคมที ่ีใช้ส่วนมากใช้ สูตรผสม และใหก้ ับพชื แตล่ ะชนิดตามความต้องการของพชื 4) การปอ้ งกนั และกำจัดศตั รูพืช - ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว โดยการใส่ปุ๋ย ซ่ึงช่วยต้านทานต่อโรค และแมลง ไดด้ ี เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 23

- ควรปลูกพืชหมุนเวียน โดยการสลับปลูกพืชชนิดอืน่ บ้างในฤดูกาลตอ่ ไป - ควรปลกู พืชทเ่ี จรญิ เตบิ โตได้ดี และเหมาะสมกบั ทอ้ งถิ่นนนั้ ๆ 2. การปลกู พืชผกั ไม้ผล ไม้ยนื ต้น พชื ไร่ และพืชสมนุ ไพร 1) การปลูกพืชผักสวนครัว ยังเป็นลักษณะไร่นาสวนผสม ตามแนวพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั อกี ดว้ ย รัว้ รอบบ้าน คือ กระถนิ นอกจากนี้ยงั มีชะอม มะนาว มะกรดู แคต้นเตี้ย ดอกดกตลอดปี ใกลบ้ ันไดบ้าน วางกระถางล้างเท้ารปู สี่เหลี่ยม ถัดไปเป็นมะละกอใหญ่ หลังบ้านมีบึงเล็ก เต็ม ไปด้วย กอบัวแดง พอสายหน่อยแดดจัด มันซ้อนกลีบกันกลายเป็นดอกตูม สายบัวน่ีกินได้แกงอร่อย ต้มกะทิก็ เยี่ยม เดินลงไปหน่อยก็เป็นบึง เด็ดยอดผักบุ้ง ผักกระเฉดมาต้มจ้ิมน้ำพริกสบายไม่ต้องเสียเงินไปซื้อผักปลาท่ี ไหน ขา้ งบ้านก็มีกล้วยหลากหลายพันธุข์ ้ึนกันดาษดื่น ปะปนกับกระจับ กระเจ๊ียบ โหระพา กะเพรา ตะใคร้ ที่ ปลูกใกล้ๆ กับบ่อเลี้ยงปลานิล ช่อน ย่ีสก ปลาดุก อยู่รวมกันได้ทั้งน้ัน เพียงแต่ต้องแบ่งเน้ือท่ีไว้ให้สำหรับ อนุบาลลูกปลาซักหน่อยไมต่ อ้ งใหญม่ ากนัก ผกั บ้งุ กระเฉดช่วยเป็นทห่ี ลบซอ่ นจากปลาใหญ่ไดเ้ ปน็ อย่างดี 2) การปลูกไม้ผล ลักษณะการปลูก คือ ปลูกในสวนผลไม้ หรือพ้ืนที่ที่มีบริเวณกวา้ งขวาง เพราะต้นไม้จะเป็นไม้ยืนต้น อายุการให้ผลยาวนาน วิธีการดูแลรักษาพิเศษกว่าปกติ ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ตกแต่งกง่ิ และตรวจสอบดหู นอน แมลง ศตั รูพชื ไม้ผล เชน่ มะม่วง เงาะ ทเุ รียน มังคุด ลำไย ฯลฯ 3) พืชไร่ หมายถงึ พืชท่ีปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องการดูแลรักษา มากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุต้ังแต่ 2 เดือน ถึง 1 ปี หรือมากกว่า ผลผลิตของพืชไร่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทย โดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลัก และส่งเป็นสินค้าออก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ซ่ึงสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่ว ต่าง ๆ ยาสูบ ฝา้ ย มันสำปะหลัง เปน็ ต้น 4) การปลูกไม้ยืนต้นชนิดใดชนิดหนึ่งมักมุ่งหวังในด้านใดด้านหน่ึงเฉพาะ แต่ก็มักมี ผลประโยชนพ์ ลอยได้อยา่ งอ่ืนตามมาดว้ ย เชน่ - ต้นไม้ท่ีสามารถนำไม้มาแปรรูปเป็นแผ่น และท่อนไม้ เช่น ต้นสัก ต้นพยุง ต้น ชิงชัน ต้นประดู่ ต้นตะเคียน ต้นกระถินเทพา ต้นมะค่า ต้นเต็ง ต้นสะเดา ต้นจามจุรี ต้นจำปาป่า ต้น มะฮอกกานี - ตน้ ไมท้ ่นี ิยมนำมาสกัดยาง และน้ำมันหอมระเหย เช่น ตน้ ยางพารา ตน้ กฤษณา - ต้นไม้ที่นิยมนำมาไม้มาทำเป็นกระดาษ ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถิน ไม้กระถิน เทพา ไม้สะเดา เปน็ ต้น เป็นลกั ษณะของไม้โตเรว็ ที่มีเนอ้ื เยื่อ และแก่นไมแ่ ขง็ มากนกั 5) สมุนไพร และเครื่องเทศ เป็นกลุ่มของพืชผักที่สามารถใช้ท้ังในการประกอบอาหาร เพ่ือให้อาหารมีสี รสชาติ กล่ินตามต้องการ รวมถึงการเพ่ิมสรรพคุณทางยาของอาหาร มักเป็นพืชท่ีให้ กล่ิน แรง มีรสเผ็ดร้อน โดยส่วนมากจะใช้ส่วนผล หัว และรากมาใช้ประโยชน์ และเป็นพืชในท้องถ่ิน เช่น ขิง พริก ไท ดีปลี กระชาย ขา่ ตะไคร้ ขมิ้น ฯลฯ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 24

3. การใช้ประโยชน์ และการจดั จำหน่ายพืชท่ีปลูก 1) การใชป้ ระโยชนจ์ ากพชื ท่ีปลูก ไดแ้ ก่ อาหาร ยารกั ษาโรค สรา้ งบา้ น เปน็ ปยุ๋ บำรงุ ดิน ช่วย ป้องกนั หนา้ ดนิ พงั ทลาย ฯลฯ 2) การส่งจำหน่ายผัก มักส่งจำหน่ายในพ้ืนที่ตัวเมืองของจังหวัด บางส่วนท่ีเป็นแปลงขนาด ใหญม่ ักมพี อ่ คา้ คนกลางเขา้ รับถึงพ้ืนที่ เพ่ือสง่ จำหน่ายยังตัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงกรงุ เทพฯ และภาคใต้ ซึ่งมีพน้ื ทน่ี อ้ ยในการปลูกผัก 2.2 การจัดการกจิ กรรมการเล้ยี งสัตว์ การเล้ียงสัตว์ ห มายถึง การป ฏิ บั ติเก่ียวกับ การเลี้ยงดู การให้ อาห าร การท ำ ความสะอาดท่ีอยู่อาศัย การป้องกันและรักษาโรคของสัตว์ เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลติ ตอบแทนสูงสุด 1. การปฏิบตั กิ ารเลย้ี งสตั ว์ในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 1) การใหอาหาร ตองใหอาหารแกสัตวเลยี้ งอยางถกู ตองและเหมาะสม 2) มนี ้ำสะอาดไวใหสตั วดม่ื กนิ อยางเพียงพอตลอดเวลา 3) หม่ันทำความสะอาดคอกสัตว อุปกรณตาง ๆ อยาใหสกปรก รกรุงรังหรือมีกล่ินเหม็น รบกวนสตั วและผูอยูขางเคียง 4) ทำความสะอาดตัวสัตวตามชนิดของสัตว เชน การอาบน้ำ การตัดขน ตัดเล็บ หรือตัดกีบ สัตว เป็นต้น 5) การปองกนั กำจดั ศตั รตู าง ๆ เชน 1 ไมปลอยใหสตั วอื่นมารบกวนสัตวท่เี ลีย้ งไว 2 กำจัดศตั รูภายนอก พวกเหา เหบ็ ไร ไมใหรบกวนสัตวเลีย้ ง 3 การใหวัคซนี ตามชนดิ ของสัตวเลี้ยง 4 การใหยารกั ษาโรคตาง ๆ และการรกั ษาบาดแผล 5 การปองกนั โรคจากที่อ่ืนเขามาในทเ่ี ลี้ยงสตั ว เชน มที ล่ี างเทาหนาคอกสตั วเปน็ ต้น 6 สตั วที่เจ็บปวยใหแยกเลีย้ งตางหาก รีบรักษา หรอื ปรกึ ษาสตั วแพทย 7 สัตวทีต่ ายดวยโรคอยานำมาบริโภคเพราะจะทำใหเชื้อโรคแพรระบาด และอาจเป นอันตรายตอผูบรโิ ภคได 6) การปองกนั ลมฝน เพราะเปนอนั ตรายตอสัตวเล้ียงบางชนดิ 7) อยาใหสัตวเลี้ยงอยูอยางเบยี ดเสยี ดมากจะเกดิ ความเครียด และทำรายกนั เอง 8) ปองกนั อยาใหสัตวตกใจ แตกตน่ื จะเปนอันตรายหรือใหผลติ ผลนอยลง 9) ตรวจตราโรงเรือนและอุปกรณตาง ๆ อยูเสมอ หากชำรุดตองรีบซอมแซม เพื่อไมใหเกิด อันตรายตอสตั วเล้ยี ง เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 25

2. การใชป้ ระโยชน์ และการจัดจำหน่ายการเลย้ี งสัตว์ในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 1) ช่วยให้ผู้เล้ียงมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตท่ีดี เพราะการเล้ียงสัตว์เป็นการ ฝกึ ฝนให้ผู้เลยี้ งเป็นผู้ท่ีมีความเมตตากรณุ าต่อสตั ว์ ทำใหผ้ ่อนคลายจากความตึงเครียด และมีสขุ ภาพจิตที่ดี ใน ขณะเดียวกันการเล้ียงสัตว์ยังเป็นการออกกำลังกายในการปฏิบตั ิดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงทำให้ผ้เู ล้ียงมีสุขภาพกาย ท่ดี ีอีกด้วย เช่น การพาสุนัขเดนิ เล่น การลา้ งและการจดั แตง่ ตู้ปลา การทำความสะอาดกรงนก เปน็ ตน้ 2) ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีอาหารไว้รับประทานภายในครอบครัว ในกรณีท่ีเล้ียงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เชน่ การเลย้ี งไกเ่ พอ่ื นำเนอ้ื และไขม่ าเปน็ อาหาร 3) ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีแรงงานจากสัตว์ไว้ช่วยในการทำงาน เพราะการทำการเกษตรบางอย่างยัง ตอ้ งอาศัยแรงงานจากสัตว์ เชน่ การใช้แรงงานจากควายในการไถพรวนดินเพื่อปลูกพืช การใช้แรงงานจากช้าง ในการลากท่อนซุง 4) ช่วยให้มีปุ๋ยท่ีได้จากมูลสัตว์มาใช้ในการปลูกพืช เช่น มูลวัว มูลควาย มูลเป็ด-ไก่ มูล คา้ งคาว 5) การเลี้ยงสตั วท์ กุ ประเภทผเู้ ลีย้ งสามารถยึดเปน็ อาชีพได้ เช่น การสัตว์เพอ่ื จำหนา่ ย 6) การจำหน่ายมพี ่อคา้ คนกลางมารับซื้อถงึ ฟารม์ จดั จำหนา่ ยได้ในตลาดในเมือง จัดจำหนา่ ย ในตลาดท้องถิน่ เป็นต้น 2.3 การจัดการกิจกรรมการเลยี้ งสัตว์น้ำ การเล้ียงปลาร่วมกับการเล้ียงสัตว์ และปลูกพืชในพ้ืนท่ีใดพ้ืนท่ีหนึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นดิน และน้ำที่มีอยู่ให้มากที่สุดแลให้กิจกรรมนั้น ๆ สามารถใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ อย่างเต็มที่ ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของท้องถ่ินน้ัน เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและพยายามลด ตน้ ทุนในการผลิตให้มากทีส่ ดุ เท่าท่จี ะทำได้ รวมทั้งไม่กอ่ ใหเ้ กิดผลเสยี ต่อสภาวะ แวดลอ้ ม และคงดำรงผลผลิต อย่ไู ดย้ าวนาน การปฏิบัติการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน บ่อที่เล้ียงปลาที่กินอาหารไม่ เลือก กินพืช และกินแพลงตอน ควรเติมน้ำให้ได้ระดับ 1-2.50 เมตรอยู่เสมอ หากมีปลาตัวใดท่ีกินอาหารได้ น้อยลงหรือลอยหัวควรจะถา่ ยน้ำ เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง อาจสามารถสังเกตได้จากสีของน้ำ และการลอยหวั ของปลา การระบายน้ำของบ่อควรระบายส่วนล่างของก้นบ่อซ่ึงจะเป็นส่วนที่เน่าเสียมากกว่าบนผิวน้ำ ในกรณี ที่บ่อปลาไม่สามารถระบายน้ำได้เลยจะต้องระมัดระวังในการให้อาหารในปริมาณท่ีพอเหมาะ น้ำจะได้ไม่เน่า เสียเร็ว บางคร้ังเราอาจสามารถใส่เกลือแกงลงไปเพ่ือช่วยปรับสภาพของน้ำ ในอัตราส่วนประมาณ200- 300 กก./ไร่ 1 การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานร่วมกบั การเล้ียงสตั ว์และปลกู พชื 1) การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช เน่ืองจากการเลี้ยงปลาเป็นเวลานาน ๆ บ่อจะเสื่อม โทรมจากโคลนเลน ซ่ึงสะสมอาหารท่ีเหลือจากปลา โคลนเลนในบ่อจึงเกิดการอุดมสมบูรณ์ที่จะเป็นประโยชน์ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 26

ตอ่ พืชผักต่าง ๆ และสามารถกลับไปเป็นอาหารของปลาต่อไป ปุ๋ยโคลนเหลา่ น้จี ะชว่ ยเพ่มิ ความหนาของดนิ ใน การปลกู พชื ชว่ ยปรับโครงสรา้ งส่วนประกอบของดนิ ท่ดี ูดซับ NPK และยังทำให้ดนิ อมุ้ น้ำได้ดขี น้ึ 2) การเลี้ยงปลาร่วมกับการเล้ยี งเป็ด มูลเป็ดเปน็ ปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้เพิ่มผลผลิตทางชีววิทยา และชว่ ยเพม่ิ อาหารธรรมชาติใหก้ บั ปลาหรอื เปน็ อาหารโดยตรง กล่าวคอื มูลเป็ดกอ่ ใหเ้ กิดแพลงค์ตอนพชื และ แพลงค์ตอนสัตว์ตลอดจนสัตว์หน้าดิน การว่ายน้ำและการใช้อาหารของเป็ด ช่วยเพ่ิมอกซิเจนในน้ำ และช่วย ให้ธาตุอาหารในดินกระจาย ละลายน้ำเป็นประโยชน์ในการผลิตอาหารธรรมชาติ อาหาร และเศษอาหารที่ใช้ เล้ียงเปด็ ยังเป็นอาหารปลาหรอื บางสว่ นจะกลายเปน็ ปยุ๋ พนั ธ์ุปลาท่ีเหมาะสมในการเลี้ยงรว่ มกับเป็ด ควรเป็นพันธ์ุที่กินอาหารไม่เลือก หรือกินแพลงค์ตอน เช่น ปลานิล นวลจันทร์เทศ และ ปลาซ่ง โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ลูกปลาควรมีขนาด 5-7 ซ.ม. อัตรา 3,000 ตัว/ไร่/เป็ดไข่ 240 ตัว การเลี้ยง เป็ดกับปลาสวายนั้นควรปล่อยเป็ดลงในบ่อ หลังจากเลี้ยงปลาสวาย 2 เดือน ปลาจะมีขนาดพอท่ีเป็นไม่ สามารถกนิ เปน็ อาหารได้อาหารทใ่ี ช้เล้ยี งเป็นมสี ว่ นผสมคอื ปลายข้าว 50% รำละเอยี ด 30% หัวอาหาร 20% 3) การเล้ียงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่ จุดประสงค์ของการเล้ียงคล้ายคลึงกับการเล้ียงปลา รว่ มกับเป็ด คือใช้มูลเพ่ือเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยช่วยก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ ที่จะใช้เป็นอาหารปลาอีก ทอดหน่ึง มูลไก่ท่ีขับถ่ายต่อวันจะมีประมาณ 24-106 กิโลกรัม/ไก่ 1,000 ตัว บ่อที่ใช้เล้ียงปลาร่วมกับไก่ ควร เป็นบอ่ ดนิ ที่สามารถเกบ็ กักนำ้ ไดโ้ ดยเฉล่ีย 1-1.50 เมตร ในชว่ งของการเลี้ยงร่วมกบั ไก่ เล้าไกค่ วรสร้างครอ่ ม บ่อปลา เพื่อประโยชน์ในการใช้พ้ืนที่ และการใช้มูลไกห่ รือเศษอาหารในการเล้ียงปลาโดยตรง การนำลูกไก่มา เล้ยี งควรเริ่มหลงั จากการเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสเี ขียวดีแล้ว ทั้งนเี้ พอื่ ให้มลู ไก่ตกลงส่บู ่อปลา ลูกปลาจะได้กิน อาหารอยา่ งต่อเน่ือง ควรเลือกลูกปลาท่ีมีลกั ษณะแข็งแรงขนาดไลเ่ ล่ียกัน ขนาดลูกปลากินพืช และกินไม่เลือก ควรเปน็ 2 นวิ้ และลูกปลาดกุ ควรมขี นาด 1 น้ิว ตารางท่ี 5.3 พนั ธ์ุปลา และอัตราส่วนในการเลยี้ งปลาร่วมกบั ไก่ ชนิดไก่ จำนวน(ตวั /บ่อ 1 ไร่) ชนิดของปลา ขนาด (ซ.ม.) จำนวน (ตัว/ไร่) ไก่พนั ธุเ์ น้อื 1,000 นลิ 3-5 3,000 3-5 1,500+1,500 ไกพ่ นั ธุไ์ ข่ 200 นิล,สวาย 3-5 3,000 นลิ +สวาย+ตะเพียน+ ยี่สก+นวลจนั ทร+์ จนี ดกุ บ้กิ อุย 3-5 40,000 เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หนา้ 27

หลงั จากการเริม่ การเลีย้ งแลว้ ควรมกี ารควบคุมปริมาณมูลไก่ทป่ี ลอ่ ยลงบ่อปลาเพื่อลดการเน่าเสียของ น้ำ การดูดน้ำและเลนก้นบ่อออกหลังการเล้ียงผ่านไประยะหนึ่ง แล้วเพิ่มน้ำในระดับเดิม จะช่วยให้สภาพน้ำ ในบอ่ เหมาะแกก่ ารเจรญิ เตบิ โตของปลาย่ิงข้ึน 4) การเล้ียงปลารว่ มกับการเล้ียงสกุ ร ประโยชนข์ องการใชม้ ูลสกุ รในบ่อปลา มูลของสุกร จะเป็นอาหารของปลาสวายโดยตรง ลดต้นทุนการผลิตปลาสวายอย่างมากช่วยให้เพ่ิมอาหารธรรมชาติให้แก่ ปลา ชว่ ยลดมลู สุกรทตี่ กค้างอันจะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเช้อื โรคและพยาธิ ส่คู นและสกุ รที่เลี้ยง ตารางท่ี 5.4 พันธ์ุปลาและอตั ราสว่ นในการเลีย้ งรว่ มกบั สกุ ร จำนวนสุกร ชนดิ ปลา ขนาด (ซ.ม.) จำนวน (ตัว/ไร่) หมายเหตุ 3-5 3,200 เล้ยี งชนดิ เดียว 8-16 ตวั นลิ 3-5 3,200 เลี้ยงชนิดเดียว สวาย 5) การเล้ียงปลาร่วมกับการเล้ียงวัว มูลวัวจะมีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่าง ๆ คุณค่าสารอาหารจะต่ำกว่ามูลหมูเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยของจำนวนพืชน้ำ และไรน้ำที่เป็นอาหารธรรมชาติของ ปลา ในบ่อที่มีการใส่มูลวัวจะมีค่าสูงกว่าที่บ่อไม่ได้ใส่ปุ๋ย ทำให้ปลาท่ีกินอาหารทุกอย่างและปลาที่กินแพลงค์ ตอนเจรญิ เติบโตได้อยา่ งรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าซ้ือปุย๋ และอาหารปลารวมทัง้ เป็นการประหยัดพลังงาน และรักษาส่ิงแวดล้อม พันธุ์ปลาท่ีเล้ียงในบ่อท่ีใช้มูลวัวควรแยกเป็น ปลากินพืช เช่น ปลาเฉา ปลาตะเพียน ฯลฯ 10% เล้ียงรวมกับปลากินแพลงค์ตอน เช่น ปลาถ่ิน,ปลาซ่ง และปลาที่กินได้หลายอย่าง เช่น ปลา ไน 90% โดยอตั ราการใช้มูลววั ไม่เกนิ 300-450 กิโลกรมั /ไร่/เดือน ตารางที่ 5.5 การปล่อยปลาในอตั ราการปล่อยทเ่ี หมาะสมต่อสัตวเ์ ลี้ยง ชนดิ สัตว์ ขนาด (นิว้ ) จำนวน (ตวั /ไร่) ปลานลิ 1 นวิ้ – 2 นิ้ว 3,000 ปลาตะเพียน 1 นิ้ว – 2 นิ้ว 3,000 ปลาสวาย 1 น้ิว – 2 นว้ิ 3,000 เป็ด 300-500 ไก่ไข่ 200-300 ไก่พนั ธ์ุเนือ้ 1,000 สุกร 8-16 เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 28

2 การใช้ประโยชน์ และการจัดจำหน่ายการเล้ียงสตั วน์ ้ำในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 1) สามารถใช้ประโยชน์ของดินได้เต็มท่ี ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นท่ีสร้างคอก สตั ว์ สว่ นน้ำในบ่อนอกจากใชเ้ ลย้ี งปลาแล้วยังปลูกพชื อ่ืน ๆ ไดอ้ ีก เชน่ ผกั บงุ้ ฯ 2) เศษเหลอื ของพชื และสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อกี เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผัก หญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลน เลนกน้ บอ่ กส็ ามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลอื ของเสียต่าง ๆ กลับมาใชอ้ ีกนี้เปน็ การกำจัด ของเสียและช่วยลดค่าใช้จ่ายตา่ ง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสตั ว์ คา่ ปุ๋ย 3) เป็นการเพ่ิมผลผลิตและเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สมารถ นำออกขายเกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็น ประโยชน์ 4) ลดอัตราการเส่ียงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เล้ียงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างเดียว และเป็นการลดตน้ ทนุ เพราะกิจกรรมแตล่ ะอยา่ งต้องพ่ึงพากัน 5) ก่อใหเ้ กิดรายไดห้ มุนเวยี นจากการจำหนา่ ยผลผลติจากฟาร์มตลอดปี 6) ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศน์ วิทยา และระบบการผลิต การบริโภค-การใช้ ทรัพยากรในท้องถ่ินมีความสมดุลทำให้ระบบการทำฟาร์มดำเนินต่อเน่ืองได้นานที่สุดโดยไม่เกิดปัญหา จึงอา จะเรียกอีกอยา่ งหนงึ่ ว่า ระบบเกษตรกรรมทีย่ ่ังยืน 7) การจำหน่ายได้ในตลาดในเมือง ตามภัตตาคาร ส่วนสัตว์น้ำขนาดเล็กคุณภาพต่ำจัด จำหน่ายในตลาดท้องถิน่ และมีพ่อค้ามาซ้อื ถึงทีฟ่ าร์ม เป็นตน้ 3. การผสมผสานกิจกรรมการผลิตในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 3.1 ปฏิสมั พนั ธก์ จิ กรรมการผลติ ในระบบการเกษตรแบบผสมผสาน 1. การเกษตรผสมผสานท่ีมีปฏิสมั พนั ธเ์ ชิงเก้ือกลู 1. เกอ้ื กลู กันระหว่างพืชกบั พืช 1) พืชตระกูลถัว่ ช่วยตรงึ ธาตุไนโตรเจนใหก้ บั พชื ชนิดอืน่ 2) พชื ยนื ตน้ ให้ร่มเงากับพืชท่ีตอ้ งการแสงแดดน้อย เช่น กาแฟ โกโก้ ชา สมนุ ไพร ฯลฯ 3) พืชเป็นอาหารและท่ีอยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติ เพ่ือช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้ เกิดระบาดกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพดจะช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาติ ไดม้ าอาศยั อยูใ่ นถว่ั ลิสงมาก และจะช่วยกำจดั แมลงศัตรขู องข้าวโพด 4) พืชยืนต้นเป็นท่ีอยู่อาศัยและอาหารแก่พืชประเภทเถา และกาฝาก เช่น พรกิ ไทย พลู ดปี ลี กล้วยไม้ ฯลฯ 5) พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลัก จะช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแย่งอาหารกับพืช หลักที่ปลูก เชน่ การปลกู พืช ตระกลู ถั่วเศรษฐกิจในแถวข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย เป็นต้น เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 29

6) พืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนต้นในระยะเริ่มปลูกจะช่วยบังลมบังแดด และเก็บความช้ืน ในดินให้กับพืชยนื ต้น เชน่ การปลกู กลว้ ยแซมในแถวไม้ผลตา่ ง ๆ ในแถวยางพารา เปน็ ต้น 7) พืชช่วยไล่และทำลายแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ต้องการอารักขา เช่น ตะไคร้หอม ถั่วลสิ ง ดาวเรือง แมงลัก โหระพา หมอ้ ขา้ วหมอ้ แกงลงิ ฯลฯ 2. เก้ือกลู กนั ระหวา่ งพืช สัตว์ ประมง 1) เศษเหลือของพืชจากการบรโิ ภคของมนุษยใ์ ช้เปน็ อาหารสตั ว์และปลา 2) พชื ยนื ตน้ ชว่ ยบังลม บงั แดด บงั ฝน ให้กับสัตว์ 3) พชื สมนุ ไพรเปน็ ยารกั ษาโรคให้กับสัตว์ 4) ปลาชว่ ยกินแมลงศตั รพู ชื วัชพืช ให้กบั พชื ทปี่ ลูกในสภาพนำ้ ทว่ มขัง เช่น ขา้ ว 5) ปลาช่วยให้อินทรียวัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลา ซ่ึงสามารถ นำมาใช้เป็นป๋ยุ กับพชื ได้ 6) ห่าน เปด็ แพะ วัว ควาย ฯลฯ ช่วยกำจดั วชั พชื ในสวนไม้ผล ไมย้ ืนต้น 7) มลู สตั วท์ ุกชนิดใช้เปน็ ปยุ๋ กบั พชื 8) ผง้ึ ช่วยผสมเกสรในการติดผลของพืช 9) แมลงทเี่ ปน็ ประโยชนห์ ลายชนิดไดอ้ าศยั พืชเป็นอาหารและท่ีอยู่อาศยั 10) จุลนิ ทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืชและสตั ว์ให้กลับกลายเปน็ ป๋ยุ 11) แมลงศัตรูธรรมชาติหลายชนิด ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธ์ุ มากจนเกิดการแพร่ระบาด ตอ่ พชื ทปี่ ลกู 2. การเกษตรผสมผสานที่มีปฏิสัมพนั ธเ์ ชงิ แข่งขนั ทำลาย 1. แขง่ ขนั ทำลายระหว่างพืชกบั พืช 1) พืชแย่งอาหาร น้ำและแสงแดด กับพืชอ่ืน เช่น การปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับพืชไร่และ ข้าว ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ยูคาลิปตัสแย่งน้ำธาตุอาหารจากต้นปอและข้าว เป็นต้น มีผลทำให้พืชเหล่าน้ันได้ ผลผลติ ลดลง 2) พืชเป็นอาหารและทอี่ ยู่อาศัยอย่างต่อเน่ืองของศตั รูพืชและพืชในนิเวศน์เดียวกัน เช่น ขา้ วโพดเปน็ พืชอาศัยของ หนอนเจาะสมออเมริกนั และเพลีย้ อ่อนของฝา้ ย 2 แข่งขนั ทำลายระหวา่ งพืช สตั ว์ ประมง 1) การเล้ียงสัตว์จำนวนมากเกินไป จะให้ปริมาณพืชทั้งในสภาพท่ีปลูกไว้และในสภาพ ธรรมชาติไม่เพยี งพอ เกดิ ความไม่สมดุล ซ่ึงจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมเส่อื มลงได้ 2) มูลสัตว์จากการเล้ียงสัตว์มีจำนวนมากเกินไป เช่น การเล้ียงหมูมากเกินไปมีการ จัดการไม่ดีพอ จะเกิดมลพิษต่อ ทรัพยากรธรรมชาติรอบด้านท้ังในเร่ืองของน้ำเสีย อากาศเป็นพิษหรือการ เล้ียงกุ้งกลุ าดำในหลายท้องทกี่ ็ประสบ ปญั หาเกิดภาวะนำ้ เนา่ เสีย เป็นตน้ 3) การใชส้ ารเคมกี ำจัดศัตรูพืชจะเกิดพิษตกค้างในน้ำ และผลิตผลที่เป็นพิษต่อสัตว์ และ ปลา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 30

4) การปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตอย่างใดอย่างหน่ึงสูงสุด กำไรสูงสุด โดยมีการใช้ปัจจัยการ ผลติ หลายด้านรวมทงั้ สารเคมีตา่ ง ๆ จะมีผลทำใหส้ ภาพแวดล้อมของสตั ว์ท่ีเปน็ ประโยชน์ เช่น แมลงศัตรูธรรมชาติลดจำนวนลง เปิด โอกาสให้ศัตรูพืชเพิ่มปริมาณขึ้น และจะทำความเสยี หายใหแ้ ก่พชื ปลกู เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หนา้ 31

บทท่ี 6 เรือ่ ง การประยุกตใ์ ชห้ ลกั การเกษตรทฤษฎใี หม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งในการทำการเกษตรผสมผสาน 1. เกษตรทฤษฎีใหม่ 1.1 หลกั การของเกษตรทฤษฎีใหม่ 1. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเล้ียงตัวเองได้ในระดับ ที ประหยัดก่อน ท้ังน้ี ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบด้ังเดมิ เพอ่ื ลดคา่ ใชจ้ า่ ยในการจา้ งแรงงานด้วย 2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังน้ัน จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนาประมาณ 5 ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซ้ือหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่าง มีอสิ รภาพ 3. ต้องมีน้ำเพ่ือการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนท้ิงช่วงได้อย่างพอเพียง ดังน้ัน จึงจำเป็นต้องกันท่ีดินส่วนหน่ึงไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ท้ังน้ี ได้ พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ ฉะนน้ั เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร)่ จะตอ้ งมนี ้ำ 10,000 ลูกบาศกเ์ มตรต่อปี ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ 5 ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบดว้ ย 1) นาขา้ ว 5 ไร่ 2) พชื ไร่ พชื สวน 5 ไร่ 3) สระน้ำ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร จุน้ำได้ประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่ เพียงพอท่จี ะสำรองไวใ้ ชย้ ามฤดูแลง้ 4) ท่ีอยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่ รวมทั้งหมด 15 ไร่ แต่ท้ังน้ี ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับ สภาพภูมิประเทศและสภาพแวดลอ้ ม ดังน้ี 5) ถา้ เปน็ พืน้ ท่ีทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพ่ือป้องกันไม่ให้น้ำระเหย ไดม้ ากเกินไป ซงึ่ จะทำใหม้ นี ้ำใช้ตลอดท้งั ปี 6) ถ้าเป็นพ้ืนท่ีทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพจิ ารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมนี ้ำมาเตมิ อยู่เร่อื ย ๆ การมีสระเกบ็ น้ำก็เพ่ือให้ เกษตรกรมนี ำ้ ใช้อยา่ งสม่ำเสมอท้ังปี (ทรงเรียกวา่ Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มรี ะบบนำ้ หมุนเวียนใช้ เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเน่ือง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้ หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเข่ือนอยู่ บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเข่ือน ซ่ึงจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้า เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 32

ฝน และเม่อื ถึงฤดูแลง้ หรือฝนทิง้ ช่วงใหเ้ กษตรกรใชน้ ้ำทีเ่ ก็บตนุ นั้น ให้เกดิ ประโยชน์ทางการเกษตรอยา่ งสงู สุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพอื่ จะได้มผี ลผลิตอื่น ๆ ไวบ้ รโิ ภคและสามารถนำไปขายได้ตลอด ท้ังปี 4. การจัดแบ่งแปลงท่ีดินเพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณ และคำนึงจากอัตราการถือครองท่ีดินถัว เฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ อย่างไรกต็ าม หากเกษตรกรมีพ้ืนที่ถือครอง น้อยกวา่ นี้ หรอื มากกวา่ นี้ กส็ ามารถใชอ้ ัตราสว่ น 30:30:30:10 เปน็ เกณฑป์ รบั ใช้ได้ กลา่ วคือ ร้อยละ 30 ส่วนแรก ขุดสระนำ้ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ ดว้ ย) บนสระอาจสรา้ งเล้าไกแ่ ละบนขอบสระน้ำอาจปลูกไมย้ นื ตน้ ทีไ่ ม่ใช้น้ำมากโดยรอบ ได้ ร้อยละ 30 ส่วนที่สอง ทำนา ร้อยละ 30 ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเช้ือฟืน ไม้ สรา้ งบา้ น พชื ไร่ พืชผัก สมุนไพร เปน็ ตน้ ) ร้อยละ 10 สุดท้าย เป็นท่ีอยู่อาศัยและอื่น ๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรอื น โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไมด้ อกไมป้ ระดบั พชื สวนครวั หลังบา้ น เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่าน้ัน สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพ้ืนท่ีดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ท่ีมีฝนตกชกุ หรอื พ้นื ที่ทม่ี ีแหล่งนำ้ มาเติมสระได้ต่อเน่อื ง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเกบ็ น้ำ ใหเ้ ล็กลง เพื่อเกบ็ พื้นทไ่ี วใ้ ช้ประโชน์อื่นต่อไปได้ 1.2 ประโยชน์ของการเกษตรทฤษฎีใหม่ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้นพอจะ สรุปถงึ ประโยชน์ของทฤษฎใี หมไ่ ด้ ดังนี้ 1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลย้ี งตนเองได้ ตามหลกั ปรัชญาของ “เศรษฐกจิ พอเพยี ง” 2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ท่ีใช้น้ำน้อยได้ โดย ไม่ต้องเบยี ดเบยี นชลประทาน 3. ในปีทฝ่ี นตกตามฤดูกาลโดยมนี ้ำดตี ลอดปี ทฤษฎใี หม่นกี้ ส็ ามารถสรา้ งรายได้ใหร้ ำ่ รวยขน้ึ ได้ 4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหน่ึงโดยทางราชการไม่ ตอ้ งชว่ ยเหลือมากเกนิ ไป อนั เปน็ การประหยดั งบประมาณด้วย 2. เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเองอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยสร้าง พ้ืนฐานเศรษฐกิจของตนให้ดีเสียก่อนคือ ต้ังตัวให้ความพอกินพอใช้ เพ่ือที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้า เพอื่ ทีจ่ ะสร้างความเจรญิ กา้ วหน้า และฐานะทางเศรษฐกจิ สูงขึน้ ไปตามลำดับได้ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 33

2.1 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาช้ีถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบรหิ ารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกจิ เพื่อใหก้ ้าวทนั ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นท่ีจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างย่ิงในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกันจะต้องเสรมิ สร้างพื้นฐานจติ ใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจา้ หน้าท่ีของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทกุ ระดับใหม้ ีสำนกึ ในคุณธรรม ความซ่ือสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ท่ีเหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพ่ือให้สมดลุ และพร้อมต่อการรองรับการเปลยี่ นแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทง้ั ดา้ นวัตถุ สงั คม สิ่งแวดล้อม และวฒั นธรรมจากโลกภายนอกไดเ้ ป็นอยา่ งดี 2.2 หลกั พิจารณาปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาช้ีถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถงึ ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนนิ ไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกิจ เพือ่ ใหก้ ้าวทนั ต่อโลกยคุ โลกาภิวตั น์ โดยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง มี หลกั พิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ ภาพท่ี 6.1 ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง สว่ นท่ี 1 กรอบแนวความคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพ้ืนฐานมาจาก วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพ่ือความมั่นคง และความย่ังยืน ของการ พัฒนา เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 34

ส่วนที่ 2 คุณลกั ษณะ เศรษฐกจิ พอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดบั โดยเน้นการปฏิบัติบน ทางสายกลาง และการพัฒนาอยา่ งเปน็ ข้นั ตอน ส่วนที่ 3 คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลกั ษณะ พรอ้ ม ๆ กัน ดังนี้ ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีท่ีไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อืน่ เชน่ การผลติ และการบริโภคทอ่ี ยใู่ นระดบั พอประมาณ ความมีเหตุผล: หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงน้ัน จะต้องเป็นไปอย่างมี เหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยท่ีเก่ียวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำน้ัน ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมคิ ุ้มกันท่ดี ีในตัว: หมายถึง การเตรียมตัวให้พรอ้ มรบั ผลกระทบและการเปลีย่ นแปลงด้าน ตา่ ง ๆ ท่ีจะเกิดข้ึนโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดข้ึนในอนาคตท้ังใกล้และ ไกล สว่ นท่ี 4 เงอื่ นไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และ คณุ ธรรมเปน็ พน้ื ฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เก่ียวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่าน้ันมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความ ระมดั ระวงั ในขั้นปฏิบัติ เง่ือนไขคุณธรรม: ท่ีจะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซ่ือสัตย์ สจุ รติ และมีความอดทน มีความเพยี ร ใชส้ ติปญั ญาในการดำเนนิ ชวี ิต ส่วนท่ี 5 แนวทางปฏบิ ัต/ิ ผลทค่ี าดว่าจะได้รับ ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาท่ีสมดุลและย่ังยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกดา้ น ทงั้ ดา้ นเศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดล้อม ความรแู้ ละเทคโนโลยี 2.3 ประโยชนข์ องการทำการเกษตรตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 1) ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเอง ไดต้ ามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 2) ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำท่ีเก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ท่ีใช้น้ำน้อยได้ โดย ไม่ต้องเบยี ดเบียนชลประทาน 3) ในปีท่ีฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสรา้ งรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ โดยไมเ่ ดือดร้อนในเร่ืองค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 4) ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทาง ราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนกั ซ่ึงเปน็ การประหยัดงบประมาณดว้ ยทฤษฎีใหมท่ ีส่ มบรู ณ์ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านบางสาน หน้า 35

3. การทำการเกษตรโดยประยกุ ต์ใชห้ ลกั การเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาท่ีนำไปสู่ ความสามารถในการพ่ึงตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเก่ียวกับความผันแปรของ ธรรมชาติ หรือการเปล่ียนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้าง ภูมิคุ้มกันท่ีดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความ สามคั คี 3.1 การแบ่งพ้นื ท่ฟี ารม์ เกษตรผสมผสานตามหลักการเกษตรทฤษฎใี หม่ 30:30:30:10 ภาพท่ี 6.2 การแบ่งพ้ืนท่ีฟาร์มเกษตรผสมผสานตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ 30:30:30:10 การจดั สรรพ้นื ท่อี ยู่อาศยั และทท่ี ำกินให้แบ่งพ้ืนทอี่ อกเป็น 4 สว่ น ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 : ดงั นี้ พ้ืนที่ส่วนที่หน่ึง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพ่ือใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการ ปลกู พืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตวน์ ำ้ และพชื ตา่ ง ๆ พื้นท่ีส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพ่ือใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัว ใหเ้ พยี งพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึง่ ตนเองได้ พื้นท่ีส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็น อาหารประจำวันหากเหลือบรโิ ภคก็นำไปจำหนา่ ย พื้นทสี่ ว่ นท่ีสี่ ประมาณ 10% เป็นท่ีอยอู่ าศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรอื นอื่น ๆ 3.2 การดำเนนิ การผลติ ในฟาร์มเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง 1). กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ตลอดจนเล้ียงปลาและสตั ว์นำ้ อื่น ๆ ควรมแี หล่งนำ้ ขนาดใหญ่ไว้รองรบั ในฤดแู ล้ง 2) กิจกรรมด้านอาหาร ได้แก่ การมีผลผลิตเพื่อใช้เป็นอาหารของเกษตรกรและสัตว์เลี้ยง เช่น ขา้ ว พืชไร่ พชื ผกั สวนครวั สัตวน์ ำ้ 3) กิจกรรมด้านรายได้ ได้แก่ กิจกรรมในมิติด้านเศรษฐกิจที่พิจารณารายได้ที่เกิดข้ึนจากระบบ เกษตรทฤษฎีใหม่ เชน่ รายได้รายวนั รายได้รายสัปดาห์ รายได้รายเดือน รายได้รายปี 4) กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ได้แก่ กิจกรรมในพ้ืนท่ีบ้าน มีท้ังการปลูกพืชผักสวนครัว พืช สมนุ ไพร ไมผ้ ลไมย้ นื ตน้ การเลย้ี งสัตวแ์ ละการเพาะเห็ด เป็นตน้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 36

บทที่ 7 เรือ่ ง ปญั หาอปุ สรรคการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และแนวทางการแก้ไข 1. ปญั หาเก่ยี วกับดิน และแนวทางการแกไ้ ข ปัญหาเกี่ยวกบั ดิน มสี าเหตุทัง้ ที่เกดิ จากธรรมชาติและเกดิ จากการใชท้ ่ีดินที่ไม่ถกู ตอ้ งตามหลกั วชิ าการ ตวั อย่างของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกดิ จากสภาพธรรมชาติของ ดินรว่ มกับการกระทำของมนษุ ย์ เช่น ดินเคม็ ดินเปรยี้ ว ดินอนิ ทรีย์ (พร)ุ ดินทรายจัด และดินตื้น 1 ปญั หาโครงสร้างของดินไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก โครงสร้างดนิ อยใู่ นภาวะทด่ี ีท่ีสุดเมื่อดินอยูใ่ นภาวะธรรมชาติแตเ่ มื่อพ้นื ท่ีถูกใช้ในการเกษตรโครงสร้าง ดินจะเริ่มเสื่อมลงดว้ ยสาเหตหุ ลายประการมีลักษณะสำคญั 2 ประการของดนิ ที่มโี ครงสร้างไม่ดี คอื การมี 1. ดินผิว มีลักษณะเป็นชั้นแน่นทึบหนาเพียงไม่กี่มิลลิเมตรเกิดข้ึนเม่ือดินที่ถูกไถพรวนไว้ อย่างดีถูกฝน หรือน้ำชลประทานเพียงครั้งสองคร้ังดินผิวทำให้การแทรกซึมของน้ำลดลง ทำให้เกิดความ เสียหายไดง้ ่ายพืชมีโอกาสเสียหายจากภาวะฝนแล้งได้มากขึ้น และยังเป็นอุปสรรคตอ่ การงอกของเมล็ดพืชที่มี ขนาดเลก็ 2. ดินในดินล่าง คือช้ันแน่นทึบที่อยู่ใต้ชั้นไถพรวนเกิดจากการสะสมดินเหนียว และการอัด แน่นจากการเหยยี บย่ำ ดินในดินลา่ งขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืช และการซึมของน้ำทำให้เกิดน้ำท่วม ขังหรือน้ำไหลบ่ามากข้ึน ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำเม่ือภาวะฝนแล้งการควบคุมการใช้เครื่องกล การเกษตรที่มขี นาดใหญ่ การเหยียบยำ่ ของสตั ว์ การไถตัดหนา้ ดนิ การควบคุมความชน้ื ของดนิ แนวทางการแก้ไข 1. การคลุมดิน การรักษาระดับความชื้นดินให้เหมาะสมการรักษาระดบั อินทรียวัตถุในดินให้ สูงการไถพรวนตามความจำเป็นหรือน้อยครั้งที่สุดตลอดจนการให้น้ำชลประทานอย่างถูกวิธีและการเลือกทำ รปู รา่ งของแปลงปลกู ใหเ้ หมาะสมช่วยลดปัญหาจากดนิ ผวิ ได้ 2. การปลูกพืชท่ีมีระบบรากแข็งแรงเปน็ วิธีการแก้และลดปัญหาจากดนิ ในดนิ ลา่ ง 2. ปัญหาดินขาดความอุดมสมบรู ณ์ 1. การเพาะปลูกพืชแบบซ้ำซาก การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่บำรุงดิน จะทำให้ ธาตอุ าหารตามระดับความลกึ ของรากพืชถูกนำไปใช้มากจนดินเส่ือมความสมบูรณ์ 2. การปลูกพืชท่ีทำลายดิน พืชบางชนิดเติบโตเร็วใช้ธาตุอาหารพืชจำนวนมากเพื่อสร้าง ผลผลิตทำใหด้ ินสูญเสยี ความสมบูรณไ์ ดง้ า่ ย เช่น ยคู าลปิ ตสั และมันสำปะหลงั 3. ธาตุอาหารพืชถูกทำลาย หรืออยู่ในสภาพท่ีพืชใช้ประโยชน์น้อย เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่า ฮิวมัสจะถูกความร้อนทำลายได้ง่ายเกิดการพังทลายของดินทำให้ดินเสื่อมโทรมรุนแรงท่ีสุด และเป็นปัญหาท่ี สำคัญทจี่ ะต้องแกไ้ ขเพอื่ รักษาคุณภาพของดินใหเ้ หมาะสม และให้ใชป้ ระโยชนไ์ ดเ้ ป็นเวลานาน ๆ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หน้า 37

4. การชะล้างพังทลายของดินเกิดจากการตกกระทบของฝนการกัดเซาะของน้ำไหลบ่า การ กัดเซาะของคลื่น การพัดพาของลม ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือพฤติกรรมการใช้ ทรพั ยากรของมนุษย์ เช่น การตดั ไม้ทำลายป่า การเพาะปลกู ไม่ถกู วธิ ี การปรบั ดนิ เพ่ือปรบั ระดบั ดนิ เป็นต้น แนวทางการแก้ไข ปรับปรุงบำรุงดินดินและเพ่ิมความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ เพื่อเพ่ิมความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และปริมาณ ธาตอุ าหารใหเ้ พียงพอแกค่ วามตอ้ งการของพืช และควรจะตอ้ งมรี ะบบการอนุรกั ษด์ ินและนำ้ อย่างเหมาะสม 3 ปญั หาดนิ เปน็ กรด-ดา่ ง ปญั หาดนิ กรด 1. ปัญหาดินเปน็ กรด หรือดินเปรยี้ ว ดนิ กรดเป็นดินท่ีปญั หาทางการเกษตรเน่ืองจากสมบัติที่ เปน็ กรดซง่ึ มีผลตอ่ กระบวนการเจรญิ เติบโตของพืชแลว้ สง่ ผลตอ่ ปริมาณผลติ ผลทางการเกษตร ดนิ กรด หมายถึง ดนิ ที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือเรยี ดวา่ พีเอช (pH) ของดินต่ำกว่า 7.0 แต่ดินกรดที่เป็นปัญหาทางด้านการเกษตร คือดินกรดที่มีค่าพีเอชของดินต่ำกว่า 5.5 ความเป็นกรดของดินแต่ ละชว่ งจะมีผลต่อการปลดปล่อยธาตอุ าหารในดินให้เปน็ ประโยชน์ 2. สังเกตดินกรด การสังเกตอาการผิดปกติของพืช เช่น รากส้ัน บวม หรือปลายรากถูก ทำลายจากความเป็นพิษของอะลูมินัม อาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม มีการระบาดของเช้ือราโรคพืชทางดิน เช่น โรครากเน่า โคนเน่า และพืชแสดงอาการเห่ียวจาก การขาดน้ำไดง้ ่าย แนวทางการแกไ้ ข 1. วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ป้องการเกิดกรดกำมะถันโดยการควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่ เหนือชั้นดินเลนท่ีมีสารประกอบไพไรท์อยู่ เพ่ือป้องกันไม่ให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนใน อากาศหรอื ถูกออกซิไดซ์ โดยมีขัน้ ตอนดังนี้ 1) วางระบบการระบายน้ำทวั่ ทง้ั พนื้ ท่ี 2) ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออกเพ่ือชะลา้ งกรด 3) รักษาระดบั นำ้ ในครู ะบายน้ำให้อยู่ในระดับไมต่ ่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดนิ ตลอดท้ังปี 2. วิธีการ \" แกล้งดิน \" ตามพระราชดำริ วิธีการปรับปรุงดินอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ \"แกล้งดิน\" สามารถเลอื กใชไ้ ด้ 3 วธิ ีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คอื 1) การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพ่ือล้างกรดทำให้ค่า pH เพ่ิมขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยท้ิงช่วงการระบายน้ำ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครง้ั 2) การแก้ไขดินเปร้ียวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากบั หน้าดิน ซ่ึงมีวิธีการดงั ขั้นตอน ตอ่ ไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนทหี่ าได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใชป้ ูนมาร์ล ปูนโดโลไมต์ ซ่ึงมที ั้งแคลเซียม และแมกนีเซยี มเป็น องค์ประกอบ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 38

3) การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้าง และควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการท่ี สมบูรณ์ทีส่ ุด และใชไ้ ดผ้ ลมากในพ้นื ทซี่ ึง่ เป็นดินกรดจดั รนุ แรงและถูกปล่อยทิ้งใหร้ กรา้ งว่างเปลา่ เปน็ เวลานาน 3) เลือกชนิดพืชและพันธุ์พืชที่ชอบดินกรดมาปลูก ดินกรดท่ีได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว สามารถปลูกพชื ได้เกือบทุกชนิด แต่ต้องมีการจัดการน้ำ และธาตุอาหารพืชที่เหมาะสม พืชหลายชนิดสามารถ ทนทาน และเจริญเติบโตได้ดีในดินกรด เช่น ข้าว แตงโม ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มันสำปะหลัง ถั่ว ยางพารา ปาลม์ น้ำมัน กาแฟ กล้วย มะม่วง มะม่วงหมิ พานต์ ยาสบู และสับปะรด เปน็ ตน้ ปญั หาดินเป็นด่าง ดินด่าง คือดินที่มีค่า pH สูงกว่า 7 เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินท่ีเป็นด่าง เช่น หินปูน ดินประเภท น้ีจะมีเบสิกแคตไอออนแลกเปล่ียนได้สูง นอกจากน้ียังอาจจะมีอนุภาคของแคลเซียมคาร์บอเนต หรือ แมกนเี ซยี มคารบ์ อเนตปะปนอยูใ่ นดนิ 1. สาเหตุการเกิดดนิ ดา่ ง 1) เกดิ จากสภาวะแหง้ แล้ง ในบรเิ วณนจี้ ะมีปริมาณฝนน้อย ไมพ่ อทีจ่ ะชะล้าง ละลายเอา เกลอื ต่าง ๆ รวมทง้ั แคลเซยี ม และแมกนเี ซยี มคาร์บอเนตทำใหม้ ีการสะสมของหนิ ปนู ในดนิ 2) เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูง เม่ือน้ำใต้ดินมีแคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายอยู่ก็จะถูก เคลอื่ นยา้ ยมาสะสมอยูบ่ นดิน 2. ผลกระทบตอ่ พืชทป่ี ลูก 1) ปัญหาการขาดธาตอุ าหารบางธาตุ เช่น ฟอสฟอรสั เหล็ก และแมงกานีส 2) มกี ารแตกระแหงของดิน เมื่อดนิ แหง้ 3) การระบายนำ้ ไม่ดี เพราะดินมลี ักษณะที่เหนียวมาก แนวทางการแกไ้ ข 1. เลือกปลูกพืชท่ีเหมาะสมซึ่งพืชท่ชี อบสถาพดินเน้ือปูน เช่น ขา้ วโพดและถ่ังลิสง สำหรับไม้ ผลทปี่ ลูกได้ผลดี เช่น ขนนุ นอ้ ยหนา่ และมะพร้าว ในบรเิ วณลุ่มใช้ทำนาปลูกขา้ วได้เชน่ กนั 2. การใสป่ ุ๋ยหากพืชทปี่ ลูกแสดงอาการขาดธาตุเหลก็ หรือสงั กะสี อาจให้ปยุ๋ ในรปู สารละลาย เกลือของธาตุดงั กลา่ ว หรอื ใหป้ ๋ยุ ทางใบ ซงึ่ ธาตุอาหารจะอยู่ในรูปสาร (คีเลต) จะชว่ ยแก้ปญั หาการขาดจุลธาตุ ได้ทันทว่ งที 3. ใสป่ ุ๋ยพวกท่ีมีฤทธ์ิตกคา้ งเป็นกรด เชน่ แอมโมเนยี ซลั เฟต 4. ใส่สารเคมีบางชนิด เช่น ธาตุกำมะถันในขณะท่ีดินช้ืน เพราะธาตุกำมะถันจะเปลี่ยนเป็น กรดซัลฟูริก มฤี ทธิ์เปน็ กรด จึงสามารถลดการเป็นด่างของดินลดลงได้ 5. ควรมีการไถกลบต่อชังสม่ำเสมอ หรือเพ่ิมอินทรียวัตถุลงในดินด้วย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย พืชสด เพือ่ รักษาปริมาณอินทรยี วัตถุในดิน 6. การทดน้ำเขา้ ในพ้นื ทแี่ ล้วระบายน้ำท้งิ เพอื่ ชะลา้ งเกลอื หรือถ้าในพืน้ ทท่ี ีม่ ีการระบายน้ำดี 7. ใชป้ ุย๋ ชวี ภาพ พด.9 หรอื พด.12 เพ่อื เพมิ่ การปลดปลอ่ ยฟอสฟอรสั ให้แกพ่ ืช 8. ควรมีการคลุมดนิ เพือ่ ลดความเส่ียงต่อการขาดน้ำของพชื และช่วยดินอมุ้ น้ำได้ดีข้นึ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หนา้ 39

2. ปัญหาเก่ียวกบั น้ำ และแนวทางการแกไ้ ข 2.1 ปญั หาขาดแคลนน้ำเพอื่ การเกษตร ปัญหาการเกิดภัยแล้งหรือการขาดแคลนน้ัน เกิดจากการไม่มีหรือขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพดี สำหรับ ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การอุปโภค บริโภค การเกษตร การปศุสัตว์ การเพาะเล้ียงสัตว์น้ำ การ อตุ สาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ เป็นตน้ สง่ ผลกระทบทง้ั ทางตรงและทางออ้ มต่อการดำรงชีพของประชาชน สาเหตทุ ัว่ ไปของการเกดิ ภัยแล้ง(ขาดแคลนนำ้ ) อาจสรุปสาเหตทุ ่ที ำใหเ้ กิดภยั แลง้ ไดด้ ังน้ี 2.1 การเปล่ียนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม โดยในฤดูฝน ฝนไม่ตกตาม ฤดูกาล ตกน้อย ท้ิงชว่ ง ไม่กระจายสมำ่ เสมอ 2.2 ความต้องการใช้น้ำเพ่มิ มากข้นึ จากจำนวนประชากรที่เพมิ่ มากขน้ึ 2.3 แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติ และท่ีสร้างข้ึน มีน้อยไม่เพียงพอต่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ ประโยชน์ซ่งึ อาจเกิดจาก ขอ้ จำกดั ของภูมปิ ระเทศท่ีไมม่ ีลำนำ้ ธรรมชาติ หรอื ไม่เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่ง น้ำ หรอื แหลง่ นำ้ ได้รับการพฒั นาท่ไี มเ่ หมาะสม มขี นาดเลก็ เกนิ ไป ใชป้ ระโยชน์ไดไ้ มเ่ พยี งพอ 2.4 แหลง่ เก็บกักน้ำตามธรรมชาติและทสี่ รา้ งขึน้ เสอ่ื มสภาพ ตน้ื เขิน ชำรุด 2.5 การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ทำให้ไม่มีต้นไม้ที่ทำหน้าท่ีดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดิน อุ้มน้ำ เอาไว้ และยดึ ดนิ ให้มคี วามมน่ั คง กจ็ ะขาดแคลนนำ้ ท่ีจะถกู ปลดปลอ่ ยออกมาสู่ลำธารและลำน้ำในชว่ งฤดแู ล้ง 2.6 คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมท่ีจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น น้ำเค็ม น้ำขุ่น เป็นสนิม สกปรก หรือเนา่ เสยี 2.7 การขาดจิตสำนึกในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำ เช่นใช้น้ำไม่ประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่ ถูกต้องเหมาะสม การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ท่ีพบบ่อย ๆ คือ การลงจับปลาในแหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่น หรือถ้า หากระบายน้ำออกเพ่ือจับปลา กจ็ ะไมม่ นี ำ้ เหลืออยู่อีกตอ่ ไป 2.8 การวางผังเมืองไม่เหมาะสม โดยแบ่งแยกพ้นื ที่เพื่อการทำกจิ กรรมไมเ่ หมาะสมสอดคล้อง กับแหล่งนำ้ ท่จี ะนำมาใช้ประโยชน์ ขาดการวางแผนพฒั นาแหลง่ นำ้ ทีเ่ หมาะสมไวล้ ่วงหน้า 2.9 การบริหารจัดการน้ำ ถา้ เกดิ ความผิดพลาดในการพร่องน้ำระบายน้ำ ทำให้มนี ้ำเหลือเก็บ กักไว้น้อย แนวทางการแกไ้ ข 1. ตำราฝนหลวง 2. อ่างเกบ็ นำ้ 3. ฝายทดน้ำ 4. ขุดลอกหนอง บงึ 5. ประตรู ะบายน้ำ เป็นวธิ กี ารปดิ ก้นั ลำ้ น้ำ ลำคลองที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำไหลในฤดนู ้ำหลาก เป็นจำนวนมาก โดยมวี ตั ถุประสงค์เกบ็ กกั นำ้ ในฤดนู ้ำหลากไว้ใชใ้ นฤดแู ล้ง 6. สระเกบ็ นำ้ ตามทฤษฎใี หม่ เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศึกษาปที ่ี 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 40

7. อุโมงค์ผันน้ำ เป็นการบริหารจัดการน้ำจากพ้ืนที่ที่มีปริมาณน้ำมากไปยังพื้นท่ีท่ีไม่มีน้ำ โดยการผันน้ำสว่ นท่เี หลือจากการใชป้ ระโยชน์ในพื้นที่เปา้ หมาย 2.2 ปัญหานำ้ ทว่ ม เป็นปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนตกในพื้นท่ีลุ่มมีปริมาณมากและตก ติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิดน้ำไหลบ่ามาตามผิวดินลงสู่ร่องน้ำ ลำธารและแม่น้ำนั้น หากลำน้ำตอนใดไม่ สามารถรับปริมาณน้ำได้ก็จะบ่าท่วมตล่ิงเข้าไปท่วมพ้ืนที่ต่าง ๆ หรือชุมชนที่ไม่มีการระบายน้ำท่ีสมบูรณ์ และ การกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน ๆ ในแต่ละครั้ง มักประสบปัญหาทำให้เกิดน้ำ ท่วมขงั บนพน้ื ที่ หรอื ที่เรียกวา่ “อุทกภยั ” ซ่ึงทำความเสยี หายใหแ้ กพ่ ้นื ที่เพาะปลกู และทรัพย์สนิ ต่าง ๆ แนวทางการแกไ้ ข 1. เขื่อนกกั เกบ็ น้ำ 2. ทางผันน้ำ การก่อสร้างทางผันน้ำหรือขดุ คลองสายใหม่เชอื่ มต่อกับแม่น้ำท่ีมีปัญหาน้ำทว่ ม มหี ลักการอยวู่ ่า จะผันนำ้ ในสว่ นทีไ่ หลล้นออกไปจากลำน้ำ 3. ปรับปรุงสภาพลำน้ำ โดยการขุดลอกลำน้ำในบริเวณท่ีต้ืนเขิน ตกแต่งติดตามตล่ิงที่ถูกกัด เซาะ กำจดั วชั พชื หรอื ทำลายส่งิ กีดขวาง ทางน้ำไหลออกไปจนหมด 4. คันก้ันน้ำ เป็นวิธีป้องกันน้ำมิให้ไหลลงตล่ิงเข้าไปท่วมพื้นท่ีให้ได้รบั ความเสียหายด้วยการ เสริมขอบตล่งิ ของลำน้ำให้มีระดบั สูงมากขึน้ กว่าเดิม เช่น การทำคันดนิ ป้องกนั นำ้ ทว่ มบริเวณตา่ ง ๆ 5. การระบายน้ำออกจากพืน้ ที่ลุ่ม 3. ปัญหาเกีย่ วกบั ศัตรพู ชื และแนวทางการแก้ไข 3.1 ปัญหาแมลง และสตั วเ์ ลย้ี ง แมลงศตั รพู ชื จะแบง่ ออกเปน็ 6 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลกั ษณะการเขา้ ทำลายพืช คือ .1 แมลงจำพวกปากกัดกินใบ ได้แก่ หนอนผีเสื้อ, ตั๊กแตน, ด้วงปกี แข็ง แมลงจำพวกน้ีจะกัด กนิ ใบพืช ทำให้พืชขาดสว่ นท่ีจะใช้ในการสังเคราะห์แสง หรอื ขาดส่วนท่ีสะสมอาหารเพ่อื ใช้ในการเจริญเติบโต ทำใหพ้ ชื หยดุ การเจริญเตบิ โต 2. แมลงจำพวกดูดกินน้ำเล้ียง ได้แก่ เพลี้ยชนิดต่าง ๆ โดยแมลงเหล่านี้จะใชป้ ากแทงเข้าไป ในท่อลำเล้ยี งน้ำและอาหารของพืช เพ่อื ดดู กินน้ำเล้ียงจากใบ, ยอดอ่อน, ดอก, ผล หรือส่วนต่าง ๆ ของพชื ทำ ให้พืชที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะมีรอยไหม้ ใบมีลักษณะม้วนงอ พืชไม่เจริญเติบโต มีขนาดแคระแกรน นอกจากนี้ แมลงจำพวกน้ยี ังเปน็ สาเหตสุ ำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคเชื้อไวรสั ชนดิ ตา่ ง ๆ ทำใหพ้ ชื อ่อนแอและตายได้ 3. แมลงจำพวกหนอนชอนใบ ได้แก่ หนอนผีเสือ้ กลางคนื , หนองแมลงวนั บางชนิด ตัวอ่อน ของแมลงจำพวกน้ีจะเป็นหนอนท่ีมีขนาดเล็ก กัดกินเน้ือเย่ือระหว่างผิวใบพืช ทำให้พืชขาดส่วนที่จะใช้ สังเคราะหแ์ สง หรือขาดสว่ นที่สะสมอาหารเพ่อื ใช้ในการเจรญิ เตบิ โต ทำให้พชื หยดุ การเจริญเติบโต เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 41

4. แมลงจำพวกหนอนเจาะลำต้น ได้แก่ หนอนด้วง, หนอนผีเส้อื และปลวก แมลงจำพวกน้ี มักจะไข่ไว้ตามใบหรือเปลือกไม้ เม่ือไข่ฟักเป็นตัวหนอน ก็จะชอนไชเข้าไปอยู่ในกิ่ง, ลำต้น หรือผล ของพืชทำ ให้พืชขาดนำ้ และอาหารแล้วแห้งตาย หรอื ทำใหผ้ ลเนา่ หลน่ เสียหายได้ 5. แมลงจำพวกกัดกินราก ได้แก่ ด้วงดีด, จ้ิงหรีด, แมลงกระชอน, ด้วงดิน, ด้วงงวง ฯลฯ แมลงจำพวกน้ีจะอาศัยและวางไข่ลงบนพื้นดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงจำพวกน้ีจะเข้าทำลายรากพืช ทำใหพ้ ืชยืนต้นแห้งตายเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร 6. แมลงจำพวกที่ทำให้เกิดปุ่มปม ได้แก่ ต่อ แตนบางชนิด แมลงจำพวกน้ีจะดูดน้ำเลี้ยง และปลอ่ ยสารเคมีบางชนดิ ทที่ ำใหผ้ วิ ของพืชมลี ักษณะผดิ ปกติไป เชน่ มีลักษณะเปน็ ป่มุ ปม ตามผิวของผลไม้ แนวทางการแก้ไข 1. วิธีทางเขตกรรม เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน, การทำความสะอาดแปลงปลูก, กำหนด ระยะเวลาการเพาะปลูก, การตดั แต่งต้นพชื 2. วิธีทางกายภาพ เช่น การใช้มุ้งป้องกัน, การใช้กาวดักแมลง, การทำลายแหล่งอาศัยของ แมลง, การใช้ไฟล่อและทำลาย 3. วธิ ีทางชีวภาพ เช่นการใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน, การใช้เชื้อรา, การใช้เช้ือแบคทีเรีย, การใช้เช้ือ ไวรสั 4. วิธีทางพันธุกรรม โดยการนำแมลงศัตรูพืชมาผ่านการฉายรังสีเพ่ือให้เป็นหมันแล้วปล่อย ไปในธรรมชาติทำให้แมลงน้ันไม่สามารถขยายพนั ธไ์ุ ด้ 5. วิธีทางเคมี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเคมีที่ได้มาจากการสกัดจากธรรมชาติ เช่น ยาเส้น, สะเดา, สาบเสือ, ตะไคร้หอม ฯลฯ และกลุม่ เคมีที่สังเคราะหข์ ้ึน เช่น กลมุ่ ออรก์ าโนคลอไรน์, กลุ่มออร์ กาโนฟอสเฟต, กลุ่มคาร์บาเมต, กลมุ่ สารสังเคราะหไ์ พรีทอย 3.2 ปัญหาโรคพชื โรคพืช หมายถึง สภาวะที่ต้นพืชมีการทำงานที่ผิดปกติจนมีผลเสียหายต่อพชื เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ โรคที่เกิดจากสง่ิ มชี ีวิต และโรคทเ่ี กดิ จากสิง่ ไม่มชี วี ติ 1. โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เรียกว่า โรคติดเชื้อ สามารถแพร่ระบาดติดต่อมาสู่พืชได้ เชื้อโรค พืชมีหลายชนิดคล้ายกับเช้ือโรคของคน และสัตว์เช่น เช้ือรา เช้ือแบคทีเรีย เช้ือไวรัส เช้ือไฟโตพลาสมา และ ไสเ้ ดอื นฝอยซ่งึ เปน็ ตวั พยาธิ เชอ้ื โรคพืชเหล่านท้ี ำให้พืชแสดงอาการโรคหลายแบบ ได้แก่ รากเน่า ต้นเห่ียวตาย ใบเปน็ จดุ ใบไหม้ ใบด่าง ยอดเป็นพุ่มไม้กวาด หรือผลเนา่ 2. โรคท่ีเกิดจากส่ิงไม่มีชีวิต เรียกว่า โรคไม่ติดเชื้อ ไม่แพร่ระบาดติดต่อ เกิดจาก สภาพแวดล้อมท่ีไม่เหมาะสม เชน่ ดินขาดธาตุอาหาร ดินเปน็ กรดหรือด่างมากเกินไป อากาศร้อน แสงแดดจัด แห้งแล้ง น้ำแฉะมีมลพิษในอากาศ ทำให้พืชแสดงอาการต่าง ๆ เช่น ใบเหลืองซีด ใบร่วงใบไหม้ ต้นไม่ เจรญิ เติบโต แคระแกร็น ผลผลติ ลดลง เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 42

แนวทางการแกไ้ ข 1. การเตรียมดิน จะต้องมีการขุด หรือไถพลิกดินบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อตากดิน แสงแดดจะ ชว่ ยทำลายเช้ือโรคในดินไดบ้ ้าง โดยเฉพาะเชื้อราบางชนิด ไข่ของไส้เดือนฝอย เป็นต้น การตากดินครั้งหนึ่งใช้ เวลาประมาณ 10-15 วันก็พอ จะทำให้ดินร่วนแล การระบายน้ำดขี ึ้นด้วย 2. การปรับปรุงดิน ดินบางคร้ังเป็นกรดมากเกินไป หรือที่เรียกว่าดินเปรยี้ ว ซึ่งทำให้ต้นพืชที่ ปลูกลงไปแล้วไม่โต เนื่องจากรากหาอาหารไม่ได้และ รากไม่โตเท่าที่ควร ฉะนั้นควรทำการตรวจดูความเป็น กรดเปน็ ด่างของดินเป็นครั้งคราว ถา้ ทำเองไมไ่ ด้ก็ควรสง่ ตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ทก่ี องเกษตรเคมี กรมวชิ าการ เกษตร หรือภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเราทราบว่าดินเป็นกรด วิธีท่ีจะ แก้ไขคือการใส่ปูนขาวแล้วคลุกกับดินให้ดีไม่ควรโรยที่ผิวหน้า เพราะเม่ือปูนขาวถูกจะจับกันเป็นก้อนแข็ง ซ่ึง จะไม่เปน็ ผลดีต่อการปลูกพืช การใสป่ ูนขาวจะมากหรอื ขึ้นอย่กู บั ว่าดินของเราเปน็ กรดมากแค่ไหนเปน็ สำคัญ 3. การเลือกเมล็ดพันธ์ุ หรือส่วนขยายพนั ธุ์ เป็นสง่ิ สำคญั อีกอันหนึง่ เพราะว่าถา้ เราเลือกหรือ คัดเมล็ดพันธ์ุท่ีไม่มีโรคติดมาแล้ว ก็จะช่วยป้องกันโรคในระยะแรกได้ การเลือกเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ เช่น กิ่งตอน ถา้ เราสามารถสอบถามถงึ ตน้ ตอได้ว่า ในไร่หรือสวนท่เี ราจะนำมาใช้ขยายพันธ์ุไม่เคยมีโรคระบาด ต้นพชื เตบิ โตแข็งแรงดี ใบไมด่ ่าง ต้นไมท่ รุดโทรม มกี ารบำรุงรักษาดีก็จะเป็นการดี ทั้งน้ีเน่ืองจากว่ามโี รคหลาย ชนิดทตี่ ิดไปกับเมล็ดหรือ กิ่งตอนได้ ฉะนั้นหากเราไมแ่ น่ใจวา่ ของเขาดีจรงิ ก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพนั ธ์ุ ถ้าจะให้ดี ควรคัดเลือกจากต้นของเราเองดีกว่า โดยเลือกจากต้นท่ีดีท่ีสุด แต่ถ้าในกรณีท่ีจำเป็นจริง ๆ โดยสามารถหา พันธุ์ได้และ เราไม่แน่ใจว่ามีโรคติดมาหรือไม่ก็ควรทำการใช้ยาคลุกเมล็ดก่อนนำไปปลูก เพื่อทำลายเช้ือหรือ ป้องกนั เช้ือโรคก่อนก็จะให้ผลดยี งิ่ ขนึ้ 4. การหาพืชพันธ์ุต้านทานโรคมาปลูก จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ คือไม่ต้องคอยฉีดยา ป้องกันโรคหรือแมลง ไม่ต้องเสียค่ายา ปัจจุบันในบ้านเราก็มีพืชพันธ์ุต้านทานโรคท่ีใช้ได้ผลแพร่หลายอยู่ใน ขณะน้ี เช่น ข้าวพันธ์ุ ก.ข. 1, 3, 5 ต้านทานโรคใบสีส้ม ข้าวพันธุ์ ก.ข. 7 ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ข้าวโพด พันธ์ุ “สุวรรณ 1” ต้านทานโรคราน้ําค้าง ถ่ัวเหลือง สจ 4, สจ 5 หรือเชียงใหม่ 60 ต้านทานต่อโรคราสนิม หรอื ถ่ัวเขยี วพนั ธกุ์ ำแพงแสน 1, 2 ตา้ นทานต่อโรคใบจดุ และโรคราแป้ง เปน็ ต้น 5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะต่อการเกิดโรค เช่น ไม่ให้น้ำชื้นแฉะเกินไป ไม่เพาะ กลา้ แนน่ เกนิ ไป เปน็ ต้น 6. การตัดกิ่งเป็นโรค หรือขุดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย ในกรณีที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อยบนกิ่ง หรอื ใบ ถ้าใช้ยาพ่นจะไม่คุ้มกับการลงทุน ฉะน้ันถ้าพบเพียงเล็กน้อยกค็ วรเก็บหรือตัดส่วนท่ีเป็นโรคออกนำมา เผาทำลาย ไม่ควรกองท้ิงเอาไว้ในสวน แม้พืชหลุดจากต้นแล้วเชื้อโรคยังไม่ตาย การเผาไฟหลังจากท่ีแห้งแล้ว จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ส่วนในกรณีท่ีต้องขุดต้นออกท้ิงนั้นเกิดจากที่เช้ือเข้าทำลายจนทำให้ต้นทรุดโทรม รักษาให้หายไดย้ ากก็จำเปน็ ตอ้ งตัดท้ิง ตัวอย่าง เชน่ โรครากเนา่ ของทุเรยี น โรครากเน่าของสม้ เปน็ ตน้ 7. ควรใช้เคร่ืองมือที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยพยายามทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น มีด กรรไกร ด้วยความร้อนจากเปลวไฟ หรือใช้สารเคมีบางชนิด เช่น ไตรโซเดียมฟอสเฟต ในกรณีของเช้ือไวรัส เป็นต้น เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 43

8. การเลือกท่ีปลูก ไม่ควรปลูกพืชเดิมซ้ำท่ีเก่า ท่ีเคยมีโรคเกิดข้ึนทันที ควรจะเว้นระยะปลูก ให้นานหน่อย หรือควรเลือกที่ที่ไม่เคยมีโรคเกิดขึ้นมาก่อน จะช่วยลดการเกิดโรคลงได้มาก โดยเฉพาะโรคน้ัน เปน็ เชื้อโรคทอี่ าศัยอยู่ในดินได้ 9. การเลือกเวลาปลูก โรคบางอย่างอาจหลีกเล่ียง หรือหนีโรคได้ ถ้าเราเลือกเวลาปลูกให้ดี เช่น ถ้าพืชนั้นมักเกิดโรครุนแรงในฤดูฝน ก็ควรเล่ียงมาปลูกต้นหรือปลายฤดูฝน ถ้าเกิดโรคมากในฤดูหนาว ก็ ควรเลยี่ งมาปลูกต้นหรือปลายฤดแู ทน ซึ่งจะชว่ ยลดความเสียหายที่เกิดขึน้ ได้ 10. การปลูกพืชสลับหรือหมุนเวียน ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายเนื่องจากโรคบางชนิดได้ โดยเฉพาะเชื้อโรคท่ีอาศัยอยู่ในดินได้การที่จะพิจารณาว่าจะใช้พืชอะไรมาสลับน้ัน ส่วนมากไม่ควรใช้พืชพวก เดียวกัน เช่น ปลูกพริกแล้วเป็นโรคเห่ียวก็ควรใช้ข้าวโพด ถั่ว หรือผักมาปลูกสลับสัก 1-2 ปี แล้วจึงหันปลูก พริกใหม่ แต่ทั้งนี้ไม่ได้ห้ามในกรณีที่พบโรคบนใบ หรือบนผล การปลูกพืชอื่นสลับจะได้ผลดี ถ้าโรคนั้นเกิดกับ ตน้ กล้า หรือเกดิ กบั รากทำให้รากเนา่ โคนเนา่ หรือโรคเหีย่ วทัง้ ต้น 11. การฉดี ยาฆา่ แมลงเพ่ือทำลายแมลงนำเช้ือโรค โรคพืชที่เกิดจากไวรัสหรือมายโคพลาสมา หลายชนิดที่มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจ่ัน เพลี้ยกระโดดแมลงหว่ีขาว เป็นตัวนำเช้ือโรคไปยังต้นปกติที่อยู่ข้างเคียง หรือท่ีที่แมลงบินไปถึง ฉะนัน้ การฉีดยาฆ่าแมลงเป็นครงั้ คราวก็จะช่วยลดการระบาดของโรคลงได้ ตัวอย่างเช่น โรคใบสีส้มของข้าว มีจ๊ักจั่นสีเขียวเป็นตัวนำ โรคใบหดของยาสูบ โรคใบหงิกมะเขือเทศ มีแมลงหวี่ขาวเป็น ตวั นำโรค เป็นตน้ 12. ปอ้ งกันโรคโดยการฉดี สารเคมปี ้องกนั กำจัดโรคพชื เป็นครงั้ คราว โดยเฉพาะสารเคมที ี่เคย ใช้ได้ผลดี การฉีดข้ึนอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นโรคมากและรนุ แรงควรฉีดถี่หน่อย แต่ถ้าต้นไม้เป็นโรค แล้วไม่ค่อยมีความเสียหายแก่พืชก็นาน ๆ ฉีดครั้งหน่ึงได้ แต่การใช้สารเคมีนั้นจะต้องทราบ เสียก่อนว่ามี สารเคมีอะไรบ้างที่ฉีดแล้วได้ผล ไม่ใช่ไปขอซื้อยาตามตลาดซึ่งผู้ซ้ือ และผู้ขายก็ไม่ทราบว่าจะเอาไปฉีดป้องกัน โรคอะไร ใช้แล้วไดผ้ ลหรือไม่ ซงึ่ เป็นการเส่ียงมาก ทีก่ ล่าวเช่นน้ีเพราะถา้ ใช้ผิด นอกจากใช้ไม่ได้ผลแล้วจะต้อง เสยี คา่ ใช้จ่ายโดยไมจ่ ำเปน็ อีกด้วย ฉะน้นั การจะพิจารณาใช้สารเคมี อะไร ควรสอบถามผรู้ ู้ให้รอบคอบเสียก่อน จงึ ตัดสนิ ใจ 13. การรักษาต้นพืชที่เป็นโรค พืชบางชนิด โดยเฉพาะพวกที่มีราคาแพง หรอื หายาก ถ้าเป็น โรคจะเผาท้ิงหรือก็เสียดาย จึงหันมารักษากัน เช่น กล้วยไม้ ไม้ยืนต้นบางชนิด แต่โดยหลักการปฏิบัติ ในการ ปอ้ งกันกำจัดโรคน้ัน จะต้องยึดถือหลกั ทีว่ ่า ควรทำการป้องกนั ไมใ่ ห้พืชเป็นโรคมากกว่าการรกั ษา เพราะเราจะ รักษาพืชให้หายดี เช่น พชื ปกตินน้ั ย่อมทำได้ยาก 3.3 ปัญหาวัชพชื ปัญหาหลักสำคัญของวัชพืชในฟาร์มก็คือ การแย่งน้ำและอาหารจากพืชหลัก ดังน้ันแนวทาง หลักท่ีเกษตรกรดำเนินการเป็นส่ิงแรกก็คือ การสร้างเง่ือนไขให้พืชหลักสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่าวัชพืช อันจะทำให้วัชพืชไม่สามารถแย่งน้ำและอาหารจากพืชหลักได้ และกำจัดหรือลดเง่ือนไขปัจจัยที่ทำให้วัชพืช เจริญเติบโตได้ดี โดยทั่วไปวชั พืชจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ดินที่มีปัญหาในการปลูกพืช เช่น ดินที่มีธาตุอาหารต่ำ ดินอดั แน่น หรอื ดนิ ท่ีระบายน้ำไมด่ ี เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียนบา้ นบางสาน หนา้ 44

แนวทางการแก้ไข 1. การปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหารครบถ้วนสมดุลและมีโครงสร้างทางกายภาพที่ดีด้วย อินทรียว์ ัตถุและปยุ๋ อนิ ทรยี ์ประเภทตา่ ง ๆ จงึ เปน็ กลยุทธ์ท่ีสำคญั อีกประการหนงึ่ นอกจากน้ี การคดั เลือกพันธุ์ พืชปลูกท่ีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเง่ือนไขของสภาพแวดล้อมท้องถ่ิน รวมทั้งการปลูกพืชหลักให้เร็วขึ้น ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก จะช่วยทำให้พืชหลักสามารถเจริญเติบโตและตัง้ ตัวได้เร็วกว่าวชั พืช จึงสามารถแข่งขัน กับวัชพืชได้ 2. การเตรียมดินด้วยการไถพรวน และการไถกลบก่อนการปลูกพืชที่ถูกต้องช่วยลดปริมาณ วัชพืชในฟาร์มได้ในช่วงเริ่มต้นของฤดูเพาะปลูก, การหยอดเมล็ดในระดับความลึกที่เหมาะสม ช่วยทำให้ต้น กลา้ พชื เจริญเตบิ โตไดเ้ ร็ว สามารถแข่งขันกบั วัชพืชได้ การคลมุ ดนิ ด้วยอนิ ทรียวัตถุตา่ ง ๆ หรือการปลกู พืชคลุม ดนิ ช่วยลดปรมิ าณวชั พืชในช่วงระหว่างฤดเู พาะปลูก และการจดั การกับเศษซากวัชพืชอย่างถูกต้อง เช่น นำมา รวมกันเพอื่ ใช้ทำปยุ๋ หมกั จะช่วยลดการแพร่ระบาดของวชั พืชลงได้ 4. ปญั หาเกี่ยวกบั โรค-ศตั รขู องสัตวเ์ ลยี้ ง และแนวทางการแกไ้ ข 4.1 ปญั หาโรคในสตั ว์เล้ียง เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางตรงและสาเหตุทางอ้อม ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวสัตว์เอง โรงเรือน และอุปกรณ์ อาหาร น้ำ หรือจากตัวผู้เล้ียงเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุใดก็ตามล้วนส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ทั้งส้ิน สาเหตขุ องการเกิดโรคในสัตวแ์ บง่ ไดด้ งั น้ี 1. สาเหตทุ างอ้อม เป็นสาเหตทุ ่ไี ม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่เกิดจากสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตวั สตั ว์ซ่ึง ชกั นำให้สัตวเ์ กิดโรคได้ สาเหตุทางออ้ ม ได้แก่ 1) ความเครียด เช่น สภาพโรงเรือนไม่เหมาะสม มีแมลงรบกวน อากาศร้อนจัด หนาวจัด ล้วนเปน็ สาเหตทุ ที่ ำใหเ้ กดิ ความเครียดซ่ึงกอ่ ใหเ้ กดิ โรคในสัตวไ์ ด้ 2) การขาดสารอาหาร เช่น ขาดธาตุแคลเซียมทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ขาดโปรตีนทำให้ แคระแกรน็ เปน็ ตน้ 3) เกดิ จากความผดิ ปกตขิ องระบบฮอร์โมนในรา่ งกายสัตว์ 4) เกิดจากความบกพร่องทางพนั ธุกรรม 5). สารพิษในอาหารสัตว์ เช่น กรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid) ในมัน สำปะหลงั 2. สาเหตุทางตรง ได้แก่ การเกิดโรคที่เกิดจากเช้ือจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซวั พยาธิภายนอก และพยาธิภายใน แนวทางการแกไ้ ข 1. รักษาความสะอาดภายในคอกและโรงเรือน โดยทำลายเชอื้ โรคด้วยการพ่นยาฆ่าเช้ืออย่าง สม่ำเสมอและกำจัดมูลสัตว์ซึ่งเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายของเชื้อและพยาธิ วางตำแหน่งโรงเรือนให้ เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้สะดวก เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มัธยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หน้า 45

2. ดูแลเอาใจใส่อาหารและนำ้ ให้สะอาดและมคี ุณภาพพอเพียง 3. วางโปรแกรมวัคซีนป้องกันโรค ตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์แนะนำพร้อมท้ังจดบันทึก ประวตั กิ ารฉีดวคั ซีนและฉดี ซำ้ ตามกำหนด 4. มีการดูแลสุขภาพสัตวอ์ ย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตความผิดปกติตา่ ง ๆ เช่น ซมึ กินน้อยลง เอาแต่นอน ขนหยอง ใหร้ บี แกไ้ ขก่อนท่จี ะเกิดปญั หารุนแรงข้ึน 5. เมื่อพบสัตว์ที่มีอาการผิดปกติหรอื สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อให้แยกไว้ไม่ให้สัมผัสกับสัตว์ปกติ ทำความสะอาดโรงเรอื นดว้ ยนำ้ ยาฆ่าเชื้อและแจง้ เจ้าหน้าที่ปศสุ ตั วเ์ พือ่ หาสาเหตตุ ่อไป 6. มีการทำบันทึกประวัติสัตว์เพื่อให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพสัตว์และปัญหาที่อาจแฝงอยู่ใน ฟารม์ เพือ่ ประโยชนใ์ นการควบคุมปอ้ งกันโรค 5. ปญั หาเก่ียวกบั ปจั จัยการผลติ และแนวทางการแกไ้ ข 5.1 ปัจจัยการผลิตในปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องแก้ไขโดยต้องมีการจัดการใช้ปัจจัยการ ผลิตอย่างเหมาะสม และอย่างมีประสิทธภิ าพ เพ่ือกอ่ ให้เกดิ ผลตอบแทนอย่างเต็มที่ ปจั จยั การผลิตได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน แหล่งน้ำ และการจัดการ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ควร และอาจได้ ผลตอบแทนไมค่ ุ้มกับการลงทนุ 5.2 รายได้ต่อครัวเรือนของเกษตรกรต่ำ เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตเฉพาะฤดูกาล จึงจำเป็นต้อง จดั ใหม้ ีกิจกรรมการเกษตรอยา่ งต่อเนื่องตลอดปี 5.3 การใช้แรงงานในฟาร์มไม่เต็มที่ และขาดประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์นโยบาย และปัญหาการ จดั ทำแผนพัฒนาการเกษตร จะทำให้มีการใช้แรงงงานมากขึน้ และใชอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพย่ิงข้ึน 5.4 การวางเป้าหมายการผลิตไม่สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้อง เน่ืองจากขาดข้อมูลด้าน การตลาด และภาวการณ์ตลาดไม่แน่นอนซ่ึงอาจแก้ไขได้โดยติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวของด้านการตลาด ทัง้ ในประเทศและตา่ งประเทศ ศึกษาความรู้เร่อื งการตลาดเพม่ิ เติม เป็นต้น 5.5 เกษตรกรมักขาดการวางแผนการผลิตล่วงหน้า เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ไม่มีการวางแผนว่าจะ ดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรอะไร เม่ือไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร จะมีรายได้และกาไรมากน้อยเพียงใด มักจะทำ ตามเกษตรกรข้างเคียง และมักประสบปัญหาการขาดแคลนธาตุอาหารสาหรับพืชท่ีปลูกในดินบริเวณนั้น เนอื่ งจากทำการปลูกพืชเดียวซำ้ ๆ หลายคร้งั มาตั้งแต่สมัยดง้ั เดิม ทำให้ผลผลติ เฉลีย่ ต่อไร่ตำ่ ต้นทุนในการผลิต สงู เกนิ ความจำเป็น แนวทางการแกไ้ ข เกษตรกรควรใช้หลักการจัดการฟาร์ม วางแผนการผลิตและวางแผนการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมี ประสิทธภิ าพเพือ่ ใหไ้ ดร้ ับผลตอบแทนสงู สุด เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบางสาน หน้า 46

6. ปญั หาเก่ยี วกับการตลาด และแนวทางการแก้ไข 6.1 ภาวการณต์ ลาดไมแ่ นน่ อน โดยเฉพาะในชว่ งฤดูเก็บเกีย่ วผลผลิตทม่ี ีจำนวนมากทำให้ผลผลติ ล้น ตลาดในท้องถ่ินน้ัน ก่อให้เกิดปัญหาด้านการตลาด ราคาที่ขายได้ต่ำไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ทำให้พ่อค้ากด ราคา มอี ำนาจตอ่ รองการซอ้ื ขายนอ้ ยลงจึงควรหลีกเลยี่ ง แนวทางการแก้ไข เกษตรกรควรจัดการปลูกให้ผลผลิตออกก่อนผู้ปลูกรายอ่ืน หรือวางแผนการปลูกพืชนั้นในช่วงออก กอ่ นฤดกู าลปลูกปกติ จะทำใหม้ รี าคาดี และสามารถตอ่ รองราคาการซอ้ื ขายกับพ่อค้าไดบ้ า้ ง 6.2 ราคาผลผลิตบางชนิดไมจ่ ูงใจผูป้ ลูก เนื่องจากราคาผลผลิตบางชนิดมรี าคาสูงต่ำแตกต่างกนั มาก ในช่วงฤดูกาลผลิตหรือช่วงต้นฤดูการผลิต ผู้ประกอบการควรตัดสินใจผลิตกิจกรรมที่มีการแปรปรวนราคา ผลผลติ น้อย แนวทางการแก้ไข เกษตรกรควรตัดสินใจผลิตกิจกรรมที่มีการแปรปรวนราคาผลผลิตน้อยราคาต้นฤดู และปลายฤดูไม่ แตกต่างมากนัก เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวชิ าการเกษตรผสมผสาน มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นบา้ นบางสาน หนา้ 47


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook