Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 1-สื่อสร้างสรรค์​ธุรกิจ​ดิจิทัล​-11-atc2021

1-สื่อสร้างสรรค์​ธุรกิจ​ดิจิทัล​-11-atc2021

Description: E-book digital business

Search

Read the Text Version

DIGITAL BUSINESS 30204-2102 สื่อสร้างสรรค์ธุรกิจดิจิทัล เนตรชนก เหรียญทอง 169.-

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้ 1. เข้าใจหลักการ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 2. สามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้ หลักการ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 2. ออกแบบสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการคิดสื่อ สร้างสรรค์ทางธุรกิจ องค์ประกอบ และรูปแบบของสื่อดิจิทัล เทคนิคการ สร้างสรรค์สื่อข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอตามแนวคิดกลยุทธ์ เนื้อหาและการออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ผลิตสื่อ สร้างสรรค์ทางธุรกิจโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจที่ กำหนด

สื่อดิจิทัล คือ..... สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัย เทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์ สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อ หลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้ วิวัฒนาการ การพัฒนาการเขียนในยุคต่างๆ ในอดีตทำให้เกิดการเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสู่การ ใช้การสื่อสารทางอินเทอร์ เน็ตเป็นสถิติที่สูง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนด มาตรฐานสื่อดิจิทัลขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สูงสุด สื่อดิจิตอลเป็นรูปแบบของ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีข้อมูลถูกเก็บไว้ใน ระบบดิจิตอล (ตรงข้าม กับ อะนาล็อก ) แบบฟอร์ม มันสามารถอ้างถึงด้านเทคนิคของ การจัดเก็บ และ การส่งผ่าน (เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ) ของข้อมูลหรือไปยัง\"สินค้าที่สิ้นสุด\"เช่น วิดีโอดิจิตอล , เติมความเป็นจริง หรือ ดิจิตอลศิลปะ . ฟลอริด้าของสื่อดิจิตอลสมาคมอุตสาหกรรม, Digital Media พันธมิตรฟลอริดา, กำหนดสื่อ ดิจิตอลเป็น\"ลู่ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปะดิจิตอล, วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและธุรกิจ สำหรับการแสดงออกของมนุษย์ในการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการศึกษา\"

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบชิ้นงานนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัล หลักการออกแบบการนำเสนอด้วยสื่อธุรกิจดิจิทัล หลักการออกแบบการนำเสนอข้อมูลข้อมูลโดยทั่วไปจะมีหลักการคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น สไลด์ เว็บเพจ สื่อการสอน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีวิธีการดังนี้ 1.) ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อ ไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณ เนื้อหา 2.) มีความคงตัว : เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่ เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบอักษร แต่หาก ต้องการเน้นจุดสำคัญหรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรใน สไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้างหรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาเล็กน้อย 3.) ใช้ความสมดุล : การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้ มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้ เหมือนกันเพื่อความคงตัว 4.) มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น : ข้อความและภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็น เนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่น ใหม่

5.) สร้างความกลมกลืน : ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของ เนื้อหาใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ ถูกต้องตรงตามเนื้อหารวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย 6.) แบบอักษร : ไม่ใช่อักษรมากกว่า 2 แบบ ในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา หรือตัวเอน แทน เพื่อการแบ่งแยกให้เป็นความแตกต่าง 7.) เนื้อหา และจุดนำข้อความ : ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญ เท่านั้นโดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำ ข้อความอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความ มากว่า 4 จุดในสไลด์หนึ่งแผ่น 8.) เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง : การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามรถเพิ่มการเรียนรุ้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผดไปได้ 9.) ความคมชัดของภาพ : เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรุปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB จึงควรทำการบีบอัด หรือ compress และลดขนาดก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ใน การเก็บบันทึก 10.) เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม : เนื่องจากการนำเสนอ ต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานโปรแกรมนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัล หลักการนำเสนอข้อมูลและสร้างสื่อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้ บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การ ถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ฟังและผู้ชมจะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้ นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้ เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ 1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูล 2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ ค้น พบจากการวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ตา และหูพร้อม กันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่าส่งผลในด้านความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้ โดยผ่านตา หรือ หูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนูปกรณ์รูป แบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยเฉพาะสื่อประสม

หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้นสำคัญดังนี้ 1) การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของ ตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม 2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า \"A picture is worth a thousand words\" หรือ \"ภาพภาพ หนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ\" แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มี ความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพ ใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่เลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่ 3) ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้า หมายเป็นเด็ก การใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้ รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป

หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการนำเสนองาน พรพิมล อรัญเวศ ได้เสนอหลักการเลือกซอฟต์แวร์ และหลักการนำ เสนอผลงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ไว้ ดังนี้ 1) ทำความเข้าใจกับงานที่เราต้องการนำเสนอ ก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น เราต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่ เราต้องการนำเสนอก่อนว่า เป็นงานในลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณ หรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบ สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ 2) เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ เมื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว เราจะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสม กับการนำเสนองานนั้น งานบางอย่างเราอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลาย อย่าง เราอาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบ นั้น โดยเฉพาะในส่วนของซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใด บ้าง เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด แล้วจึงเลือก โปรแกรมที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด 3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรม ก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการ สำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตาม ข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับ

ไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจ เลือกได้ตามความต้องการว่าเป็นเครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่ กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และ ฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่ง พื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น 4 ) การใช้งานโปรแกรม ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งาน อย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความ เข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมัก จะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ ใช้ต้องทดลองเอง จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ ทำคู่มือการใช้งานใน ลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น และในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งานในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือ การใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้กัน มี 2 รูปแบบ คือ 1. การนำเสนอแบบ Web page เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อม โยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่าง รูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ 2. การนำเสนอแบบ Slide Presentation เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำ เสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และ ตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ใน ปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วย โปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้น ความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมี แนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่ 1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้ อย่างรวดเร็ว การออกแบบ สื่อนำเสนอในประเด็นนี้ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่ และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อประกอบการ ออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้า หมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่นการนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือฝึกอบรม สื่อนำ เสนอควรให้ ความสำคัญกับเนื้อหารวมทั้งยังสามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของ โปรแกรมสร้างสื่อ มาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ

เช่นผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและตัว ผู้นำเสนอ เป็นสำคัญเนื้อหาควรมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ไม่เน้น Effect มากนัก กลุ่ม เป้าหมายขนาดใหญ่ การนำเสนอมักใช้ความสำคัญกับผู้บรรยายมากกว่าเนื้อหาที่นำ เสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ควรเน้นที่ Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษร สี ตัวอักษร และลักษณะของสีพื้นสไลด์ 2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็น ระเบียบ และดูง่าย คือ 2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า หาก ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก( Main Idea) ในแต่ละ ย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วยสีแดงเป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้ เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea) 2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญ กับ ขนาดตัวอักษร ดังนี้ - หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย - เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม - เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น - ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา - ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า - พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว - ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด - ใช้สีที่แตกต่างกัน หรือตัวอักษรสีสลับกัน

3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือ จากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึง การเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสมประกอบ การนำเสนอ 3.1) การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดัง นั้น การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่า สนใจ ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกัน และกัน คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสม กับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ การเว้นช่อง ว่างรอบภาพ การเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะ อาจจะทำให้ผู้ชมสนใจ พื้นสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่ สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เนื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามอง หรืออ่านยาก 3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุ และสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ สีตัวอักษรก็ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดง เลือดหมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้ชัด ในระยะ ไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลือกสด สี เขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสี พื้นด้วย การเลือกใช้สีใด ๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด ไม่ควรใช้หนึ่งสี หนึ่งไลด์ 3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ ชม ผู้ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะเป็น การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่างรุนแรง เลือก ใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดงข้อความที่เลื่อนจาก ขอบ ซ้ายมาขอบขวา ของจอ เนื่องจากธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านข้อความจาก กรอบบนลงมา และอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา

อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานนำเสนอเพื่อ ให้งานนำเสนอมีคุณภาพ เข้าถึงผู้ชมและผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี ดังนี้ 1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณ ภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิด ภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกล ขึ้น เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วม ประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน

2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์ เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพ ที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ใน การนำเสนองานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออก มานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับ การทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต

3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง เมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความ จำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือ จะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วย ความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม

4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อ หรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอก ข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึก หรือโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์

6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถ ถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยี บีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาด ข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม หากเรานำ ข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะ ได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย

7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อ การติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสาย เคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ

นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว ยังมีส่วน ประกอบที่สำคัญในการนำเสนองานคือ คำบรรยาย หรือบท พากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง โดยมีวิธีการ และหลักในการพิจารณาดังนี้ 1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชม สามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้อง อธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด

2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วน ร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้าง บรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสม กับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น

หน่วยการเรียนรู้ ที่ 3 การใส่เทคนิคให้กับภาพด้วยสี่อดิจิทัล เมื่อคุณต้องนำเสนองานที่สำคัญ PowerPoint เป็นหนึ่งในเพื่อนที่ คู่ใจกับหลายๆคนมากที่สุดในการแสดงออก สามารถดึงดูดและเรียก ความสนใจต่อสายตาของผู้ฟังเป็นอย่างดี ในการใส่การเคลื่อนไหว (Animations) ในสไลด์เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ ซึ่ง ในการบทเรียนนี้คุณจะได้เรียนการใส่ลูกเล่นการเคลื่อนไหวลงใน Microsoft PowerPoint

Animations คืออะไร? Animations คือสร้างลูกเล่นให้กับไอเทมต่างๆในการนำเสนอผ่าน โปรแกรม PowerPoint โดยใช้ไอเทมอย่างเช่น Text (ข้อความ), Images (รูปภาพ), Charts (ตาราง) เข้ามาหรือออกจากสไลด์ Microsoft เรียกมันว่า entrances (เข้า) และ exits (ออก) ในการ entrance คือการนำไอเทมเข้ามาอยู่ในสไลด์ ในขณะที่ exits คือ การนำไอเทมออกไปจากสไลด์ Animation เป็นตัวนำไอเทมเข้าหรือ ออกจากสไลด์ (นอกจากนี้ยังสามารถให้ไอเทมขยับขณะอยู่บนสไลด์ได้ อีกด้วย)

ขั้นตอนการใส่ animation ลงในการนำเสนอ PowerPoint 1.คลิกบนไอเทมที่ต้องการเพิ่ม animation บนสไลด์ สามารถเพิ่มได้ทั้ง image(รูป), แผนผัง(chart), หรือกล่องข้อความ(block of text) 2.หา Animations บนแถบเครื่องมื อ 3.ในเมนู Animation จะมีไอคอนรูปดาวแตกต่างกันไป รูปดาว แต่ละอันจะแสดงให้เห็นถึงเอฟเฟคของ animation อันนั้นๆ 4.คลิกเลือกเอฟเฟคให้กับไอเทมที่เราเลือกไว้จากขั้นตอนที่ 1 ในตัวอย่าง เราจะเลือกใช้ Fade เพื่อให้ข้อความนั้นค่อยๆปรากฎขึ้นมา

สามารถตรวจสอบได้ว่าไอเทมนั้นมี Animation หรือไม่ โดยการ สังเกตจากกล่องเล็กๆสีส้มบนสไลด์ ที่มีตัวเลขอยู่ด้านใน นอกจากนี้ยัง สามารถดูตัวอย่าง animations ได้โดยการกดปุ่ม Preview ที่ด้านซ้าย บนของแถบ Animation เวลาที่คุณเปลี่ยนเป็นโหมด Slide Show เมื่อคุณคลิกเม้าส์หรือกด แป้นพิมพ์ เอฟเฟคก็จะเล่นไปตามลำดับ คุณสามารถคลิกเพื่อเปลี่ยน เป็นสไลด์ต่อไปหรือให้เอฟเฟคเล่นไปจนกระทั่งถึงสไลด์ถัดไปก็ได้

สื่ อ แ ห่ ง อ น า ค ต รหัสสินค้า : 105121