Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา

พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา

Published by Bunchana Lomsiriudom, 2022-12-22 02:50:32

Description: พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา

Keywords: พจนานรุกรม,ปฐพี

Search

Read the Text Version

พจนานกุ รมศัพท์ปฐพศี าสตร์ ฉบับราชบัณฑติ ยสภา จดั พิมพ์เปน็ ทรี่ ะลกึ เน่อื งในพระราชพธิ ีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพติ ร

ส�ำ นกั งานราชบัณฑติ ยสภา จัดพิมพ์เป็นที่ระลกึ เน่ืองในพระราชพิธถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช บรมนาถบพติ ร พมิ พ์ครงั้ ที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ จ�ำ นวน ๕,๐๐๐ เล่ม ส�ำ นักงานราชบณั ฑติ ยสภา สนามเสอื ป่า เขตดสุ ิต กรงุ เทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศพั ท์ ๐​๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๘๒ http://www.royin.go.th E-mail : [email protected] ขอ้ มูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สำ�นักงานราชบัณฑติ ยสภา. พจนานุกรมศพั ท์ปฐพีศาสตร์ ฉบบั ราชบัณฑิตยสภา. -- กรุงเทพฯ : ส�ำ นักงานราชบณั ฑิตยสภา, ๒๕๖๒. ๔๕๒ หนา้ . ๑. ปฐพีศาสตร์ -- พจนานุกรม. I. ชื่อเรือ่ ง. 631.403 ISBN 978-616-389-089-4 ภาพปก : กรมพัฒนาทดี่ นิ พิมพท์ ่ี : บริษัทอมรินทรพ์ รนิ้ ตงิ้ แอนดพ์ บั ลชิ ช่งิ จ�ำ กัด (มหาชน) 376 ถนนชยั พฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิง่ ชัน กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0 2422 9000, 0 2882 1010 โทรสาร 0 2433 2742, 0 2434 1385 http://www.amarin.com E-mail : [email protected]

ค�ำ น�ำ สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภาพิจารณาเห็นว่าวิทยาการสาขาวิชา ปฐพศี าสตรเ์ ปน็ สาขาวชิ าพน้ื ฐานดา้ นการเกษตรทส่ี �ำ คญั ประกอบกบั วทิ ยาการ สาขาวชิ านเ้ี ขา้ มามบี ทบาทในการวจิ ยั และพฒั นาองคค์ วามรเู้ พอ่ื ความอยดู่ กี นิ ดี ของประชาชนชาวไทยซงึ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลกั องคก์ ารต่าง ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั วชิ าปฐพศี าสตรต์ า่ งบญั ญตั ศิ พั ทท์ างวชิ าการขน้ึ ใช้ท�ำ ใหม้ ศี พั ทบ์ ญั ญตั ิ ในสาขาวิชานี้หลากหลาย และใช้กันสับสน สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา จึงพิจารณาเห็นสมควรจัดทำ�พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์เพ่ือให้ใช้เป็น มาตรฐานเดยี วกนั โดยแตง่ ตง้ั คณะกรรมการจดั ท�ำ พจนานกุ รมศพั ทป์ ฐพศี าสตร์ ข้นึ เมอื่ วันที่ ๙ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เพอื่ ดำ�เนนิ การรวบรวมศัพท์ปฐพีศาสตร์ และศัพท์ท่ีเกี่ยวข้องจากภาษาต่างประเทศ แล้วบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทย พรอ้ มจดั ท�ำ ค�ำ อธบิ ายในรปู แบบพจนานกุ รม เผยแพรแ่ กน่ กั เรยี น นสิ ติ นกั ศกึ ษา ครู อาจารย์ นกั วชิ าการ และผทู้ สี่ นใจ ในสาขาวชิ าปฐพศี าสตรแ์ ละสาขาวชิ าอน่ื ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งคณะกรรมการจัดทำ�พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์พิจารณา ด�ำ เนนิ งานแล้วเสรจ็ เมอ่ื วนั ที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภาเห็นสมควรให้จัดพิมพ์หนังสือพจนานุกรม ศัพท์ปฐพีศาสตร์ เป็นที่ระลึกเน่ืองในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร พรอ้ มหนงั สอื อิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊ก (e-book) เพื่อเฉลิมพระเกียรติท่ีพระองค์ทรงงาน เกยี่ วกบั ดนิ เพอ่ื แกป้ ญั หาใหแ้ กป่ ระชาชนทเี่ ปน็ เกษตรกร ท�ำ ใหม้ ผี ลผลติ เพมิ่ ขน้ึ และมีความเป็นอยูด่ ขี ้นึ สำ�นกั งานราชบณั ฑติ ยสภาขอขอบคณุ คณะกรรมการจดั ท�ำ พจนานกุ รม ศพั ทป์ ฐพศี าสตรท์ ไี่ ดเ้ สยี สละเวลา ก�ำ ลงั กาย และก�ำ ลงั ความคดิ รว่ มกนั พจิ ารณา จัดทำ�ศัพท์สาขาวิชาปฐพีศาสตร์จนสำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ขอขอบคุณภาควิชา ปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ใช้ (1)

หนงั สอื พจนานกุ รมศพั ทป์ ฐพวี ทิ ยา ฉบบั ส�ำ นกั พมิ พม์ หาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ในการอา้ งองิ เพอ่ื พจิ ารณาศพั ทบ์ ญั ญตั แิ ละค�ำ อธบิ าย ขอขอบคณุ กรมพฒั นาทด่ี นิ ที่อนุญาตให้จัดพิมพ์ภาพหน้าตัดดินของชุดดินสำ�คัญในประเทศไทยไว้ใน ภาคผนวกและใช้เป็นภาพปก และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนท่ีให้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูลอ้างอิง เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณา บัญญัติศัพท์และจัดทำ�คำ�อธิบายศัพท์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ย่ิงขึ้น สำ�นักงาน ราชบัณฑิตยสภาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือน้ีจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ และอา้ งองิ ส�ำ หรบั นกั เรยี น นสิ ติ นกั ศกึ ษา ครู อาจารย์ นกั วชิ าการ และผทู้ สี่ นใจ สาขาวชิ าปฐพีศาสตร์และสาขาวิชาอ่นื ๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ ง. (ดร.โสภา ชพู กิ ลุ ชัย ชปลี มนั น)์ นายกราชบณั ฑิตยสภา ส�ำ นักงานราชบณั ฑิตยสภา มนี าคม ๒๕๖๒ (2)

ค�ำ ชีแ้ จง ๑. ความเปน็ มา ราชบณั ฑติ ยสถานแตง่ ตง้ั คณะกรรมการจดั ท�ำ พจนานกุ รมศพั ทป์ ฐพศี าสตร์ ขน้ึ เมอื่ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบดว้ ย ๑. ศ. ดร.สนั ทดั โรจนสนุ ทร ประธานกรรมการ ๒. นางนงคราญ มณวี รรณ กรรมการ ๓. ดร.นันทรตั น์ ศุภก�ำ เนิด กรรมการ ๔. นายธีระ จนั ทร์เพชร กรรมการ ๕. ผศ.พิบลู ย์ กงั แฮ กรรมการ ๖. นางสกุ ัญญา กองเงิน กรรมการ ๗. นายสุนันท์ คณุ าภรณ ์ กรรมการ ๘. รศ. ดร.อภศิ ักดิ์ โพธป์ิ ั้น กรรมการ ๙. นางสาวอรุณี เจริญศักดศ์ิ ิร ิ กรรมการ ๑๐. ผแู้ ทนภาควิชาปฐพีวิทยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตบางเขน (ดร.ศวพร ศุภผล) ๑๑. ผ้แู ทนภาควิชาปฐพีวิทยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำ�แพงแสน (รศ. ดร.ธงชัย มาลา) ๑๒. ผูเ้ ชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวชิ า กรรมการ (เฉพาะคราวประชมุ จำ�นวนไม่เกิน ๕ คน) (ศ. ดร.อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์) (3)

๑๓. ผ้อู ำ�นวยการกองวิทยาศาสตร์ หรอื ผแู้ ทน กรรมการ (นางนยั นา วราอศั วปต)ิ ๑๔. เจ้าหนา้ ทร่ี าชบณั ฑติ ยสถาน กรรมการและเลขานุการ (นายสำ�รวย นกั การเรียน) ต่อมามีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ อีกหลายครั้ง เพือ่ ใหเ้ หมาะสมย่ิงขึ้น ดงั น้ี เมือ่ วนั ท่ี ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะกรรมการจดั ท�ำ พจนานกุ รมศัพท์ปฐพศี าสตร์ ประกอบด้วย ๑. ศ. ดร.สนั ทดั โรจนสนุ ทร ประธานกรรมการ ๒. นายธีระ จันทร์เพชร กรรมการ ๓. นางนงคราญ มณวี รรณ กรรมการ ๔. ดร.นนั ทรตั น์ ศุภก�ำ เนิด กรรมการ ๕. นางสาวบญุ มา ดีแสง กรรมการ ๖. ผศ.พิบลู ย์ กงั แฮ กรรมการ ๗. นางสกุ ญั ญา กองเงิน กรรมการ ๘. นายสุนันท์ คณุ าภรณ ์ กรรมการ ๙. รศ. ดร.อภศิ กั ดิ์ โพธ์ิปน้ั กรรมการ ๑๐. ผู้แทนภาควิชาปฐพีวทิ ยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (ดร.ศวพร ศภุ ผล) ๑๑. ผแู้ ทนภาควิชาปฐพีวทิ ยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตก�ำ แพงแสน (รศ. ดร.ธงชัย มาลา) ๑๒. ผูเ้ ช่ยี วชาญเฉพาะสาขาวชิ า กรรมการ (เฉพาะคราวประชุม จำ�นวนไมเ่ กนิ ๕ คน) (4)

๑๓. ผู้อำ�นวยการกองวิทยาศาสตร์ หรือผ้แู ทน กรรมการ (นางนยั นา วราอศั วปต)ิ ๑๔. เจา้ หนา้ ท่รี าชบณั ฑติ ยสถาน กรรมการและเลขานกุ าร (นายสำ�รวย นักการเรียน ถงึ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ นางสาวอารี พลดี ตงั้ แต่วนั ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒) เมื่อวนั ที่ ๓๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการจัดทำ�พจนานกุ รมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ประกอบดว้ ย ๑. ศ. ดร.สนั ทัด โรจนสุนทร ประธานกรรมการ ๒. นางนงคราญ มณวี รรณ กรรมการ ๓. ดร.นนั ทรตั น์ ศภุ กำ�เนิด กรรมการ ๔. นายธรี ะ จันทร์เพชร กรรมการ ๕. ผศ.พิบลู ย์ กงั แฮ* กรรมการ ๖. นางสุกัญญา กองเงิน กรรมการ ๗. นายสุนนั ท์ คุณาภรณ ์ กรรมการ ๘. รศ. ดร.อภศิ ักด์ิ โพธิ์ปน้ั กรรมการ ๙. นางสาวบญุ มา ดีแสง กรรมการ ๑๐. ผแู้ ทนภาควชิ าปฐพวี ิทยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (ดร.ศวพร ศุภผล) ๑๑. ผแู้ ทนภาควชิ าปฐพวี ิทยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตก�ำ แพงแสน (รศ. ดร.ธงชยั มาลา) ๑๒. ผู้เชีย่ วชาญเฉพาะสาขาวิชา กรรมการ (เฉพาะคราวประชุม จ�ำ นวนไม่เกนิ ๕ คน) * ถึงแก่กรรมเมือ่ วนั ท่ี ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (5)

๑๓. ผู้อ�ำ นวยการกองวิทยาศาสตร์ หรอื ผ้แู ทน กรรมการ (นางสาวสุปัญญา ชมจนิ ดา) ๑๔. เจ้าหน้าท่ีราชบัณฑติ ยสถาน กรรมการและเลขานุการ (นางสาวอารี พลด)ี ๑๕. เจ้าหน้าท่ีราชบัณฑิตยสถาน กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร (นางณัฐมาตย์ มสู กิ ะเจริญ) เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะกรรมการจัดทำ�พจนานุกรมศพั ทป์ ฐพศี าสตร์ ประกอบด้วย ๑. นายสนั ทัด โรจนสุนทร ประธานกรรมการ ๒. นายธีระ จนั ทร์เพชร กรรมการ ๓. นางนงคราญ มณวี รรณ กรรมการ ๔. นางสาวนันทรัตน์ ศุภกำ�เนิด กรรมการ ๕. นางสาวบุญมา ดแี สง กรรมการ ๖. นายสุนนั ท์ คุณาภรณ์ กรรมการ ๗. นายอภศิ กั ดิ์ โพธปิ์ ้นั กรรมการ (ถงึ วันท่ี ๘ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๕๖) ๘. ผู้แทนภาควชิ าปฐพีวทิ ยา กรรมการ คณะเกษตร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำ แพงแสน (รศ. ดร.ธงชยั มาลา ตง้ั แตว่ นั ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕) ๙. ผเู้ ชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวชิ า กรรมการ (เฉพาะคราวประชมุ จำ�นวนไมเ่ กนิ ๕ คน) (นายไชยสิทธ์ิ เอนกสัมพันธ์ ต้ังแต่วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นางสกุ ญั ญา กองเงนิ ตง้ั แตว่ นั ท่ี ๒๐ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๕) ๑๐. ผูอ้ ำ�นวยการกองวทิ ยาศาสตร์ หรอื ผูแ้ ทน กรรมการ (นางสาวสุปัญญา ชมจนิ ดา) (6)

๑๑. เจ้าหนา้ ทร่ี าชบณั ฑิตยสถาน กรรมการและเลขานุการ (นางณัฐมาตย์ มสู ิกะเจรญิ ตัง้ แต่วนั ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕) เม่อื วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึง่ เปน็ คณะกรรมการปัจจบุ นั ประกอบดว้ ย คณะกรรมการจดั ท�ำ พจนานกุ รมศพั ทป์ ฐพศี าสตร์ ๑. นายสันทดั โรจนสุนทร ประธานกรรมการ ๒. นายธรี ะ จันทรเ์ พชร กรรมการ ๓. นางนงคราญ มณวี รรณ กรรมการ ๔. นางสาวนนั ทรตั น์ ศภุ ก�ำ เนดิ กรรมการ ๕. นางสาวบุญมา ดีแสง กรรมการ ๖. นายธงชัย มาลา กรรมการ ๗. นายพงษส์ นั ต์ิ สจี นั ทร์ กรรมการ ๘. ผูเ้ ช่ียวชาญเฉพาะสาขาวิชา กรรมการ (เฉพาะคราวประชมุ จำ�นวนไมเ่ กิน ๕ คน) (นายไชยสทิ ธ์ิ เอนกสมั พนั ธ์ นางสุกญั ญา กองเงิน นายสุนันท์ คณุ าภรณ์ ต้งั แต่วนั ที่ ๑๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ นายอภศิ กั ด์ิ โพธิ์ปัน้ ตง้ั แตว่ ันท่ี ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘) ๙. ผู้อำ�นวยการกองวิทยาศาสตร์ หรอื ผู้แทน กรรมการ (นางสาวสปุ ญั ญา ชมจนิ ดา ถงึ วนั ที่ ๓๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ นางสาวบญุ ธรรม กรานทอง ตงั้ แตว่ นั ท่ี ๑ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถงึ วนั ที่ ๑๙ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นางสาวชลธชิ า สดุ มุข ต้ังแต่วนั ท่ี ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นางสาวอารี พลดี ผ้แู ทน) (7)

๑๐. เจ้าหน้าทีร่ าชบัณฑิตยสถาน กรรมการและเลขานุการ (นางณัฐมาตย์ มสู กิ ะเจริญ) คณะกรรมการฯ ดำ�เนินการแลว้ เสรจ็ และยตุ ภิ ารกิจเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. หลักเกณฑก์ ารบัญญตั ิศัพทแ์ ละการเขียนคำ�อธิบาย ใชว้ ธิ ีบัญญัติศพั ทข์ องสำ�นักงานราชบณั ฑิตยสภา ดังนี้ ๒.๑ วิธีคิดคำ�ขึ้นใหม่ คือ ถ้าศัพท์ใดสามารถผูกคำ�ข้ึนใหม่ได้ ก็จะ พยายามใชค้ �ำ ไทยกอ่ น ตอ่ เมอื่ หาค�ำ ไทยทเ่ี หมาะสมและตรงกบั ความหมายของ ศัพท์ไม่ได้แล้ว จึงหาคำ�จากภาษาบาลีและสันสกฤตท่ีมีใช้อยู่แล้วในภาษาไทย มาผกู เป็นศัพท์ การบญั ญตั ศิ พั ทโ์ ดยคิดค�ำ ขน้ึ ใหม่ ใชห้ ลักเกณฑค์ อื คำ�ที่ผกู ขึ้น จากค�ำ ไทย ใหม้ จี �ำ นวนค�ำ นอ้ ยทสี่ ดุ เทา่ ทจ่ี ะท�ำ ได้ เพอ่ื มใิ หศ้ พั ทบ์ ญั ญตั มิ ลี กั ษณะ เปน็ การนิยามศพั ท์ การใชบ้ ุรพบทถา้ ไมจ่ �ำ เป็นจะไมใ่ ช้ เชน่ alkaline soil ดนิ ดา่ ง saline soil ดินเคม็ แต่ศัพท์บัญญัติบางคำ�อาจต้องใช้บุรพบทเช่ือมเพื่อให้ศัพท์บัญญัตินั้นชัดเจน ยิง่ ขนึ้ เชน่ acid deposition การตกสะสมของกรด stubble mulching การคลมุ ดินด้วยเศษพืช ๒.๒ วิธีทับศัพท์ คือ การเขียนทับศัพท์ในภาษาหนึ่งมาเป็นภาษาไทย ดว้ ยตวั อกั ษรและตามอกั ขรวธิ ขี องภาษาไทย เช่น biotite ไบโอไทต์ talc ทลั ก์ ในการทับศัพท์ใช้หลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษของสำ�นักงาน ราชบณั ฑติ ยสภา ตามประกาศส�ำ นกั นายกรฐั มนตรี ลงวนั ท่ี ๕ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (8)

ส่วนการถ่ายเสียงคำ�ได้ยึดสำ�เนียงการออกเสียงตาม The Chambers Dictionary และพจนานุกรมภาษาต่างประเทศเล่มอื่น ๆ เพ่ือให้ออกเสียง ได้ถกู ตอ้ ง ท้ังน้ี ได้คำ�นึงถึงความนยิ มซง่ึ ใชก้ ันในวงการปฐพศี าสตรด์ ้วย คำ�ทับศัพท์บางคำ�ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นคำ�ไทยและปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แลว้ ให้ใชไ้ ปตามนนั้ เช่น enzyme เอนไซม ์ phosphate ฟอสเฟต ๓. การจดั ลำ�ดบั ศัพท์ การจัดรปู แบบศพั ท์ และการใชเ้ คร่อื งหมาย ๓.๑ เรยี งล�ำ ดบั ศัพท์ตามล�ำ ดับอกั ษรภาษาองั กฤษ A-Z โดยไม่ค�ำ นงึ ว่า ศพั ท์น้นั จะเขยี นติดกัน แยกกนั เปน็ คำ�ย่อ หรือมีเคร่ืองหมายใด ๆ ประกอบอยู่ ในศัพทน์ นั้ เชน่ acidic cation แคตไอออนชนดิ กรด acid precipitation หยาดน้ำ� ฟา้ กรด . . . มวลปูนพอก lime concretion ช้นั ดานปนู lime-pan ความต้องการปูน lime requirement ๓.๒ ศัพท์ภาษาอังกฤษท่ีมีความหมายเหมือนกัน และใช้ศัพท์บัญญัติ เดียวกันจะเก็บคู่กันโดยใช้เคร่ืองหมายอัฒภาค (;) คั่น และจะเก็บตามลำ�ดับ อกั ษรนั้น ๆ ทกุ ค�ำ เชน่ burned lime; quick lime ปูนเผา . . . quick lime; burned lime ปนู เผา ๓.๓ ศพั ทภ์ าษาองั กฤษทม่ี คี �ำ ยอ่ และนยิ มใชค้ �ำ ยอ่ ดว้ ย จะวงเลบ็ ค�ำ ยอ่ ไว้ ท้ายศัพทภ์ าษาอังกฤษและศพั ทบ์ ัญญตั ิ การตัง้ ศพั ท์จะมีเก็บทงั้ ทีล่ ำ�ดบั คำ�เต็ม และท่ลี ำ�ดับคำ�ยอ่ เชน่ (9)

TDR (time-domain ทีดอี าร์ (เคร่อื งวัดการ reflectometer) สะท้อนกลบั เชงิ เวลา) time-domain เครอื่ งวัดการสะทอ้ นกลบั reflectometer (TDR) เชิงเวลา (ทีดอี าร์) ๓.๔ ศพั ทบ์ ญั ญตั ทิ ใ่ี ชเ้ ครอ่ื งหมายจลุ ภาค (,) คน่ั แตล่ ะศพั ทห์ มายความวา่ ศพั ทบ์ ญั ญตั นิ น้ั มคี วามหมายเหมอื นกนั หรอื คลา้ ยคลงึ กนั ผใู้ ชส้ ามารถเลอื กใชไ้ ด้ ตามความเหมาะสม เช่น acid soil ดินกรด, ดนิ เปรี้ยว biotic factor ชวี ปจั จัย, ปัจจยั ชวี ภาพ ๔. การนยิ ามศพั ทแ์ ละการอา้ งอิงศพั ท์ การเขียนคำ�อธิบายหรือบทนิยามศัพท์ จะอธิบายเพียงส้ัน ๆ พอเข้าใจ แตบ่ างศพั ทอ์ าจตอ้ งอธบิ ายละเอยี ดจงึ จะไดค้ วามชดั เจน และบางศพั ทท์ ม่ี หี ลาย ความหมายจะอธบิ ายแยกไวเ้ ป็นขอ้ ๆ หลกั การอา้ งอิงศัพท์มดี งั น้ี ๔.๑ ศัพท์ภาษาอังกฤษท่ีมีความหมายเหมือนกันและใช้ศัพท์บัญญัติ เดยี วกนั จะเกบ็ คกู่ นั โดยใชเ้ ครอ่ื งหมายอฒั ภาค (;) คน่ั และจะเกบ็ ค�ำ อธบิ ายศพั ท์ ไว้ทีล่ �ำ ดบั ศพั ท์ซ่งึ ใช้กนั แพรห่ ลายมากกว่า เชน่ natric diagnostic horizon; natric horizon ชั้นดนิ วินิจฉัย นาทริก ช้ันดนิ ลา่ งวินิจฉยั ในระบบอนกุ รมวธิ านดิน เปน็ ช้นั ดนิ แร่ทม่ี กี ารสะสม ดินเหนียวเช่นเดียวกับชั้นดินวินิจฉัยอาร์จิลิกและช้ันดินวินิจฉัยแคนดิก แต่มี โครงสร้างดินแบบแท่งหัวเหลี่ยม แท่งหัวมน หรือก้อนเหลี่ยม มีโซเดียมท่ี แลกเปลยี่ นไดอ้ ยา่ งนอ้ ยรอ้ ยละ ๑๕ หรอื อตั ราสว่ นการดดู ซบั โซเดยี มอยา่ งนอ้ ย รอ้ ยละ ๑๓ natric horizon; natric diagnostic horizon ชน้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั นาทรกิ ดู natric diagnostic horizon; natric horizon ศัพท์ภาษาอังกฤษท่ีมีความหมายเหมือนกันแต่ใช้ศัพท์บัญญัติ ต่างกัน จะเก็บคำ�อธิบายศัพท์ไว้ท่ีลำ�ดับศัพท์ซ่ึงใช้กันแพร่หลายกว่า และจะ (10)

อา้ งองิ ถงึ กันโดยใช้ข้อความวา่ “[มีความหมายเหมือนกบั ...]” ไวท้ า้ ยคำ�อธิบาย ของศัพทน์ ้ัน สว่ นศพั ทท์ ่ีนิยมใชน้ ้อยกว่า จะเกบ็ ไว้ทล่ี �ำ ดบั อักษรน้ัน ๆ โดยให้ ดคู ำ�อธิบายท่ศี ัพท์ซง่ึ ใชก้ ันแพรห่ ลาย เชน่ liquid limit ขีดจำ�กัดลิควิด ระดับความช้ืนในมวลดินขณะที่ มวลดินเร่ิมเปล่ียนสภาพจากของเหลวไปเป็นสารหนืดตัวในสภาพพลาสติก [มคี วามหมายเหมอื นกับ upper plastic limit] upper plastic limit ขดี จ�ำ กดั พลาสตกิ บน ดู liquid limit ๔.๒ ขอ้ ความ “ดคู �ำ อธบิ ายใน...” ใชก้ บั ศพั ทท์ เ่ี กย่ี วเนอ่ื งกนั คอื เมอ่ื อธบิ าย ศัพทค์ �ำ น้ัน ๆ แล้วไดข้ ยายความไปถงึ ศพั ท์คำ�อืน่ ดว้ ย เช่น contour strip cropping การปลกู พชื สลบั แถบตามแนวระดบั ดคู �ำ อธบิ ายใน strip cropping strip cropping การปลกู พชื สลบั แถบ การปลูกพชื ตงั้ แต่ ๒ ชนิด ขน้ึ ไปสลบั เปน็ แถบ ถา้ เปน็ ตามแนวระดบั ขวางความลาดเทเรยี กวา่ การปลกู พชื สลบั แถบตามแนวระดบั (contour strip cropping) และถา้ ปลกู พชื เปน็ แถบ ในพื้นท่ีราบขวางทิศทางลมและการไหลของน้ำ� เรียกว่า การปลูกพืชสลบั แถบ ตามสภาพพน้ื ที่ (field strip cropping) เพื่อลดการกร่อนของดนิ แถบพืช ประกอบด้วยพืชอนรุ ักษด์ นิ เช่น หญา้ พืชคลมุ ดนิ กับแถบพืชไร่ เช่น ขา้ วโพด ข้าวฟา่ ง ฝา้ ย มนั ส�ำปะหลงั ๔.๓ ขอ้ ความ “[ดู ... ประกอบ]” ใชก้ บั ศพั ทท์ ม่ี คี วามเกย่ี วเนอ่ื งสมั พนั ธก์ นั ซ่ึงจะชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจศพั ท์เหล่าน้ันดยี ิง่ ขึน้ เชน่ accelerated erosion การกรอ่ นแบบเรง่ การกรอ่ นที่เกิดข้นึ ในอัตราท่ีมากกว่าการกร่อนตามธรรมชาติ โดยท่ัวไปเป็นผลมาจากกิจกรรม ของมนษุ ย์ [ดู erosion ประกอบ] erosion การกร่อน การสึกของผิวหน้าดินโดยตัวการต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เชน่ นำ�้ ลม นำ�้ แขง็ หรอื การกระท�ำของมนษุ ย์ ท�ำใหม้ กี ารครดู ถู การแตกกระจาย และการเคล่ือนย้ายของดินหรือหิน จากจุดหนึ่งบนผิวโลก ไปทบั ถมในทอี่ ื่น รวมถึงการคบื ของดนิ (11)

๕. หนงั สือที่ใช้ประกอบในการเก็บศพั ทแ์ ละเขียนคำ�อธิบายศพั ท์ Lozet, Jean and Mathieu, Clement. Dictionary of Soil Science. 2nded. Oxford & IBH Publishing Co. Pvt. Ltd., 1991. Soil Science Society of America. Glossary of Soil Science Terms 2008. UnitedStatesofAmerica:SoilScienceSocieryofAmerica,Inc., 2008. คณะกรรมการจัดทำ�พจนานุกรมปฐพีวิทยา. พจนานุกรมปฐพีวิทยา. กรงุ เทพมหานคร : ส�ำ นักพมิ พ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร;์ ๒๕๕๑. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคช่ันส์ จำ�กัด, ๒๕๕๖. _______. พจนานุกรมศพั ทธ์ รณีวิทยา ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. พิมพ์คร้งั ท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร : สำ�นกั พมิ พค์ ณะรัฐมนตรแี ละราชกจิ จานุเบกษา, ๒๕๕๘. _______. พจนานกุ รมศพั ทภ์ มู ศิ าสตร์ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. พิมพ์คร้ังท่ี ๔. กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์ชวนพมิ พ์, ๒๕๔๙. _______. ศพั ทพ์ ฤกษศาสตร์ องั กฤษ-ไทย ไทย-องั กฤษ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร : อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๖. _______. ศพั ทว์ ทิ ยาศาสตร์ องั กฤษ-ไทย ไทย-องั กฤษ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. พมิ พค์ รั้งที่ ๕. กรงุ เทพมหานคร : อรณุ การพิมพ,์ ๒๕๔๖. ๖. แหล่งทมี่ าของภาพประกอบ กรมพฒั นาทีด่ ิน (12)

พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑติ ยสภา



acetylene-reduction assay A A abandoned mine land ท่ีดินเหมืองร้าง พื้นท่ีซ่ึงเกิดขึ้นหลังจากการ ท�ำเหมือง มีกองทราย กองกรวด หลุม และบอ่ ปะปนกนั ท่ดี นิ เหมอื งร้างจัดเปน็ หนว่ ยแผนท่ดี นิ ประเภทพ้ืนทเ่ี บ็ดเตลด็ abiotic factor อชวี ปจั จยั , ปจั จยั ไร้ชพี ปัจจยั สภาพแวดล้อมท่ไี ม่มชี วี ติ เชน่ ปจั จัยทางฟสิ กิ ส์ ปจั จัยทางเคมี abrasion ๑. การครดู ถู การเสียดสีครดู ถบู นผวิ หนิ ท้องน้ำ� หรอื ชายฝง่ั เกดิ ขน้ึ จากการกระท�ำของเศษหนิ กรวด ทราย ทกี่ ระแสนำ�้ คลน่ื ลม หรอื ธารน้�ำแขง็ พัดพาเคลื่อนที่ไป [มคี วามหมายเหมือนกบั corrasion] ๒. รอยครดู ถู รอยสกึ บนผวิ หนิ ทเี่ กดิ จากการครดู หรอื เสยี ดสขี อง เศษหนิ กรวด ทราย ทก่ี ระแสนำ้� คลน่ื ลม หรอื ธารนำ�้ แขง็ พดั พาไป accelerated erosion การกร่อนแบบเร่ง การกร่อนท่ีเกิดขึ้นในอัตรา ที่มากกว่าการกร่อนตามธรรมชาติ โดยทั่วไปเป็นผลมาจาก กจิ กรรมของมนุษย์ [ดู erosion ประกอบ] acetylene-block assay การสอบวเิ คราะหด์ ้วยอะเซทลิ ีนบลอ็ ก เทคนิค การประเมินอัตราดีไนทริฟิเคชัน ด้วยการวัดปริมาณไนทรัส ออกไซด์ (N2O) ท่ีออกมาจากดิน การใสอ่ ะเซทลิ นี (C2H2) ลงไป ในดินจะยับย้ังมิให้แบคทีเรียบางชนิดรีดิวซ์ไนทรัสออกไซด์ ไปเป็นแกส๊ ไนโตรเจน acetylene-reduction assay การสอบวิเคราะห์ด้วยอะเซทิลีนรีดักชัน เทคนิคการประเมินกิจกรรมของเอนไซมไ์ นโทรจีเนส โดยการวดั อัตรารดี ักชนั ของอะเซทิลีนเป็นเอทลิ ีน (C2H4) 1

acid deposition A acid deposition การตกสะสมของกรด การสะสมของกรดบนพนื้ ผวิ โลก เกดิ จากปฏกิ ริ ยิ าระหวา่ งออกไซด์ของแฮโลเจน ไนโตรเจน และ ก�ำมะถนั กับน้ำ� ในบรรยากาศ acid-forming fertilizer ป๋ยุ ตกคา้ งสภาพกรด ปยุ๋ ที่ใส่ลงในดนิ แลว้ ท�ำให้ คา่ พีเอชของดนิ ลดลง เชน่ ป๋ยุ แอมโมเนีย ปยุ๋ ยเู รีย [ดู residual acidity ประกอบ] acidic cation แคตไอออนชนดิ กรด แคตไอออนทท่ี �ำปฏิกิรยิ ากับน้ำ� ในดนิ แลว้ ไดส้ ารละลายท่เี ป็นกรด เชน่ H+, Al3+, Fe3+ acid precipitation หยาดน้�ำฟา้ กรด หยาดน้ำ� ฟา้ ทม่ี ีค่าพเี อชต�่ำกว่า ๗.๐ ประกอบดว้ ยสารทไ่ี ดจ้ ากปฏกิ ริ ยิ าระหวา่ งออกไซดข์ องแฮโลเจน ไนโตรเจน และก�ำมะถัน กบั นำ�้ ในบรรยากาศ acid rain ฝนกรด น้�ำฝนที่มีสภาพเป็นกรด เกิดจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซดท์ �ำปฏกิ ิรยิ ากับนำ�้ ในบรรยากาศ เกิดเปน็ กรดซัลฟิวรกิ และกรดไนทริก acid rock หินกรด หนิ ทม่ี ซี ิลิกาตัง้ แตร่ ้อยละ ๖๕ ข้ึนไป เช่น หนิ แกรนิต หนิ ไรโอไรต์ หนิ ควอรต์ ไซต์ acid soil ดินกรด, ดินเปร้ียว ดินท่ีมีค่าพีเอชต่�ำกว่า ๗.๐ แต่เน่ืองจาก ปฏกิ ริ ยิ าเปน็ กลางมคี า่ พเี อช ๖.๖-๗.๓ ดงั นน้ั คา่ พเี อชของดนิ กรด จึงมีค่าต�ำ่ กว่า ๖.๖ [ดู soil reaction และ soil pH ประกอบ] acid sulfate soil ดนิ กรดก�ำมะถนั , ดนิ เปร้ียวจัด ดนิ ทม่ี ีไพไรตซ์ ่งึ เมอ่ื ผ่าน กระบวนการออกซิเดชันจะท�ำให้เกดิ กรดก�ำมะถัน และฤทธ์ขิ อง ความเป็นกรดรุนแรงพอที่จะเกิดอันตรายต่อพืชท่ีปลูกได้ ดินชนิดนี้พบจาโรไซต์ลักษณะสีเหลืองฟางข้าวในชั้นใดช้ันหน่ึง ของหน้าตัดดิน acidulation การท�ำปฏิกิรยิ าดว้ ยกรด กระบวนการที่ใช้กรดท�ำปฏิกิริยากับ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตปุ๋ย โดยท่ัวไปใช้กรดซัลฟิวริก กรดไนทริก กรดฟอสฟอรกิ หรือกรดผสม ท�ำปฏกิ ริ ยิ ากับหินฟอสเฟต 2

adsorption isotherm A active absorption การดูดซึมแบบใช้พลังงาน การเคล่ือนที่ของไอออน และนำ้� เขา้ สรู่ ากพชื โดยใชพ้ ลงั งานจากกระบวนการเมแทบอลซิ มึ เป็นการเคล่ือนที่จากบริเวณท่ีมีความเข้มข้นต�่ำไปสู่บริเวณท่ีมี ความเขม้ ขน้ สูงกว่า active acidity สภาพกรดจรงิ , สภาพกรดแสดง ความเข้มข้นของไฮโดรเจน ไอออนในสารละลายดิน แสดงดว้ ยคา่ พีเอช active ion แอกทฟิ ไอออน ไอออนที่สามารถท�ำปฏกิ ริ ิยาทางเคมไี ด้ active layer ชนั้ แอกทฟิ ช้นั บนของพ้นื ดินซ่งึ ละลายหรอื เปน็ นำ้� แข็งไดต้ าม ฤดูกาลในพื้นที่ทม่ี ชี น้ั เยือกแขง็ ถาวรรองรบั อยขู่ ้างล่าง active transport การล�ำเลียงแบบใช้พลงั งาน การล�ำเลียงสารจาก ภายนอกท่ีมีความเข้มข้นต�่ำเข้าสู่ภายในเซลล์ซึ่งมีความเข้มข้น ของสารสูงกวา่ โดยใช้พลังงาน adhesion การยึดติด การดูดยึดระหว่างโมเลกุลของสารต่างชนิด เช่น น้ำ� กับของแข็ง adsorbed water น�้ำดูดซับ น�้ำที่ปรากฏเป็นชั้นบาง ๆ โดยการดูดซับ ของผิวอนุภาคดิน พบท่ีระดับความช้ืนใกล้เคียงดินผึ่งแห้ง [ดู film water ประกอบ] adsorption การดูดซับ กระบวนการท่อี ะตอม โมเลกลุ หรือไอออนตา่ ง ๆ ถูกดูดยดึ ไว้ท่ีผวิ ของวสั ดดุ ้วยแรงทางเคมหี รอื แรงทางฟิสกิ ส์ เชน่ การดูดซับของแคตไอออนบนผิวแร่ดินเหนียวซ่งึ มปี ระจเุ ป็นลบ adsorption complex กลุ่มสารดูดซับ กลุ่มสารอินทรีย์และอนินทรีย์ ต่าง ๆ ในดินที่มีความสามารถในการดูดซับไอออนและโมเลกุล ตา่ ง ๆ ไดด้ ี [ดู adsorption ประกอบ] adsorption isotherm ไอโซเทริ ม์ การดดู ซบั เสน้ กราฟความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง ปริมาณไอออนท่ีถูกดูดซับบนผิวอนุภาคดินที่อุณหภูมิคงท่ี โดยความเข้มข้นของไอออนในสารละลายสมดุลกับไอออนบน ผิวอนภุ าคดิน 3

AEC (anion exchange capacity) A AEC (anion exchange capacity) เออซี ี (ความจแุ ลกเปลยี่ นแอนไอออน) ดู anion exchange capacity (AEC) aeolian deposit; eolian deposit สิง่ ทบั ถมลมพา ตะกอนทราย ทราย แปง้ และดนิ เหนยี ว ทล่ี มพดั พามาทบั ถมซง่ึ พบเหน็ ทวั่ ไปตามหาด ทรายหรือทะเลทราย ท�ำให้เกิดภูมิลักษณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น เนินทราย เนนิ ทรายรปู จนั ทรเ์ สีย้ ว (barchan หรอื crescentric dune) [ดู loess ประกอบ] aeolian erosion; eolian erosion การกร่อนโดยลม การกัดเซาะผิว หน้าดินหรือหินโดยลม แล้วพัดพาตะกอนหรืออนุภาคเหล่านั้น ออกไปยังที่อ่ืน ท�ำให้ในบริเวณเดิมเกิดภูมิลักษณ์ชนิดต่าง ๆ เชน่ ดาดกรวดทะเลทราย เขารปู หงอนไก่ (yardang) aerated sewage lagoon บ่อบ�ำบัดน้�ำเสียแบบเติมอากาศ บ่อบ�ำบัด น�้ำเสียที่มีการเติมออกซิเจนในน้�ำให้มีปริมาณเพียงพอส�ำหรับ จลุ นิ ทรยี ์ในการย่อยสลายสารอนิ ทรยี ์ในน�้ำเสยี ได้เร็วขึ้น aeration porosity; air-filled porosity; air porosity ความพรุน ช่องอากาศ สัดส่วนระหว่างปริมาตรของอากาศในดินกับ ปริมาตรรวมของดนิ ในขณะใดขณะหนึ่ง aerial photo interpretation การตีความภาพถ่ายทางอากาศ การ วิเคราะห์สิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศ ซ่ึงปรกติท�ำโดย การน�ำภาพถ่ายทางอากาศคู่ที่ต่อเนื่องกันมาอ่านด้วยกล้อง สามมติ ิ เพอ่ื ใหเ้ หน็ ความแตกตา่ งของวตั ถแุ ละสิ่งแวดลอ้ มตา่ ง ๆ ที่ปรากฏให้เห็นในภาพสามมิติ เช่น สภาพสูงต่�ำของพื้นที่ การใชท้ ่ีดนิ แบบรูปการระบายนำ้� ผวิ ดนิ aerial photo mosaic รปู ต่อแบบโมเสกของภาพถ่ายทางอากาศ รปู ท่ไี ด้ จากการน�ำภาพถ่ายทางอากาศมาต่อกันโดยตรึงจุดอ้างอิงให้ ตรงกนั 4

agricultural land reform A aerobic digestion การย่อยแบบใช้อากาศ การย่อยสลายบางส่วนของ สารอนิ ทรียท์ แ่ี ขวนลอยในนำ้� เสยี หรือสิง่ ปฏกิ ูล โดยกิจกรรมของ จลุ ินทรยี ใ์ นสภาพทม่ี ีอากาศ aerobic respiration การหายใจใชอ้ อกซิเจน กระบวนการหายใจของสิ่ง มีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอน [ดู anaerobic respiration ประกอบ] aerotolerant anaerobe สิง่ มีชีวิตทนออกซเิ จน จลุ นิ ทรียไ์ ม่ใช้ออกซิเจน ทเี่ จรญิ เติบโตไดท้ ง้ั ในสภาพทมี่ อี อกซเิ จนและไม่มีออกซเิ จน aggradation การเพม่ิ ระดบั แผน่ ดนิ การทผ่ี นื แผน่ ดนิ มรี ะดบั สงู ขน้ึ เนอ่ื งจาก การทบั ถมหรือสะสมตัวของตะกอน ซึง่ เกดิ จากกระบวนการทาง ธรณสี ณั ฐานโดยนำ�้ ลม หรอื ธารนำ้� แขง็ เปน็ พาหะ หรอื เปน็ ตวั การ ที่ส�ำคญั aggregate stability เสถียรภาพของกอ้ นอนุภาคดนิ สัดสว่ นของกอ้ นดิน ทีแ่ ตกสลายยากในดนิ agric diagnostic horizon; agric horizon ชั้นดินวินิจฉัยแอกริก ช้ันดินล่างวินิจฉัยในระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นชั้นดินแร่ใต้ช้ัน ไถพรวนทม่ี กี ารสะสมของอนภุ าคดนิ เหนยี ว ทรายแปง้ และฮวิ มสั ท่ีได้จากชน้ั ดินบนท่ีมีการเขตกรรมและการใสป่ ยุ๋ agrichemicals สารเคมีเกษตร วัสดุเคมที ีใ่ ช้ประโยชน์ในการเกษตร agric horizon; agric diagnostic horizon ชั้นดินวินิจฉัยแอกริก ดู agric diagnostic horizon; agric horizon agricultural land reform การปฏริ ปู ทดี่ นิ เพอ่ื เกษตรกรรม ตามพระราช- บัญญัติปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ หมายถึง การปรับปรุงเก่ียวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพ่ือ เกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพ่ือ เกษตรกรรมน้ัน โดยรัฐน�ำท่ีดินของรัฐหรือท่ีดินท่ีรัฐจัดซ้ือหรือ เวนคนื จากเจา้ ของทด่ี นิ ซง่ึ มไิ ดท้ �ำประโยชนใ์ นทดี่ นิ นน้ั ดว้ ยตนเอง 5

agricultural lime A หรอื มที ดี่ นิ เกนิ สทิ ธติ ามพระราชบญั ญตั นิ ้ี เพอื่ จดั ใหแ้ กเ่ กษตรกร ผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอ แก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซ้ือ เช่า หรือเข้า ท�ำประโยชน์ โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพ เกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิต และการจ�ำหนา่ ยใหเ้ กดิ ผลดียง่ิ ขึ้น agricultural lime ปนู ทางเกษตร วสั ดปุ รับปรุงดนิ หรือสะเทินความเปน็ กรดของดิน ได้แก่ สารประกอบจ�ำพวกคาร์บอเนต ออกไซด์ และไฮดรอกไซดข์ องแคลเซียมและแมกนเี ซยี ม agroforestry วนเกษตร ระบบการใชป้ ระโยชน์ที่ดนิ ซึง่ มปี ่าไมย้ ืนตน้ และ พืชเกษตร และ/หรือปศุสัตว์ร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตท่ียั่งยืน พรอ้ มกนั นน้ั กร็ กั ษาป่าและสภาพแวดลอ้ มไว้ดว้ ย agrohydrology อทุ กวทิ ยาเกษตร วิทยาศาสตร์แขนงหน่งึ ที่ศึกษาเกีย่ วกับ การกระจาย การเคลื่อนที่ของฝนและ/หรือน้�ำชลประทาน สารละลายดินเข้าและออกจากเขตรากพืชในพื้นท่ีเกษตร การกระจายและการเคลื่อนท่ีของน�้ำชลประทาน และน้�ำผิวดิน ในระบบการส่งน้ำ� ของพ้นื ที่เกษตร [ดู hydrology ประกอบ] agronomy วิชาการเกษตร ทฤษฎีและการปฏิบัติทางด้านการเพาะปลูก และการจดั การดนิ A horizon ชัน้ เอ ช้นั ดินหลักซ่ึงเปน็ ช้ันดินแร่ที่เกดิ อยทู่ ่ีผิวดินหรือใต้ชัน้ โอ ประกอบดว้ ยอนิ ทรยี วตั ถทุ สี่ ลายตวั แลว้ ผสมคลกุ เคลา้ กบั แรธ่ าตุ ในดิน โดยปรกติมสี ีคลำ�้ หรอื เป็นชน้ั ดินซงึ่ มลี กั ษณะและสมบัติ ที่เป็นผลมาจากการไถพรวน หรือการท�ำทุ่งหญ้าเล้ียงสัตว์ [ดู soil horizon ประกอบ] air capacity ความจุอากาศ ปรมิ าตรรวมของช่องอากาศทอี่ ยใู่ นดินซึง่ เปน็ ปฏภิ าคผกผนั กับระดับความชน้ื 6

Albolls A air-dried soil ดินผึ่งแห้ง ดนิ ทมี่ คี วามชนื้ สมดลุ กบั ความชนื้ ในบรรยากาศ โดยรอบ air-filled porosity; aeration porosity; air porosity ความพรนุ ชอ่ งอากาศ ดู aeration porosity; air-filled porosity; air porosity alabaster อะลาบาสเตอร์ แรย่ ปิ ซมั ชนดิ หนึ่ง ปรกตมิ ีสีขาว แตอ่ าจเจือสี แดง สเี หลอื ง สนี ำ�้ ตาล สสี ม้ หรอื สเี ทาออ่ นบา้ ง เนอ้ื ละเอยี ดแนน่ โปรง่ แสง ประโยชน์ใช้ท�ำเครื่องประดบั และเครอ่ื งแกะสลกั ตา่ ง ๆ alban คราบวัตถุสีจาง คราบวัตถุในดินท่ีมีสีจาง เกิดข้ึนจากการรีดิวซ์ และการเคลื่อนย้ายออกไปของเหล็ก ดูได้จากแผ่นตัดบาง (thin section) โดยใชก้ ลอ้ งจลุ ทรรศนช์ นดิ ดหู นิ และแร่ [ดู cutan ประกอบ] albic diagnostic horizon; albic horizon ช้นั ดนิ วนิ จิ ฉัยอัลบิก ชั้นดิน ล่างวินิจฉัยในระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นช้ันดินแร่ที่อนุภาค ดนิ เหนียวและเหล็กออกไซด์อิสระถกู เคลื่อนยา้ ยออกไป เปน็ ผล ให้มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายและทรายแป้งตกค้างอยู่มาก จึงท�ำให้ชั้นดินมีสีขาวหรือสีจางกว่า และมีเนื้อดินหยาบกว่า ชน้ั ท่อี ยู่ขา้ งบนและขา้ งล่าง albite แอลไบต์ แรแ่ พลจโิ อเคลสเฟลด์สปาร์ชนดิ หนง่ึ มสี ตู รเคมี NaAlSi3O8 สขี าวข่นุ หรอื ไมม่ สี ี มีโซเดียมเปน็ องค์ประกอบตัง้ แตร่ ้อยละ ๙๐ ขนึ้ ไป และมแี คลเซียมนอ้ ยกว่าร้อยละ ๑๐ พบในหินอัคนี เช่น หนิ แกรนติ หินแปรบางชนดิ Albolls แอลบอลส์ อันดับย่อยอันดับหน่ึงของอันดับดินมอลลิซอลส์ใน การจ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ดนิ ซง่ึ มชี น้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั อลั บกิ อยใู่ ตช้ น้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั มอลลกิ อาจพบจดุ ประหรอื มวลสารพอก ของเหล็กหรือแมงกานีสในชั้นดินวินิจฉัยอาร์จิลลิกหรือช้ันดิน วินิจฉัยนาทริก ไม่พบอันดับย่อยนี้ในประเทศไทย [ดู albic diagnostic horizon; albic horizon, argillic diagnostic 7

Alfisols A horizon; argillic horizon, Mollisols และ natric diagnostic horizon; natric horizon ประกอบ] Alfisols แอลฟิซอลส์ อันดับดินอันดับหน่ึงในการจ�ำแนกตามระบบ อนุกรมวิธานดิน เป็นดินแร่ที่มีช้ันดินวินิจฉัยอาร์จิลลิก ช้ันดิน วินิจฉัยแคนดิก หรือช้ันดินวินิจฉัยนาทริกช้ันใดชั้นหน่ึง ในตอนล่างของช้ันดินวินิจฉัยดังกล่าวมีค่าความอิ่มตัวเบสต้ังแต่ รอ้ ยละ ๓๕ ขน้ึ ไป โดยไดจ้ ากผลรวมของแคตไอออน ดนิ อมุ้ นำ้� ไว้ ด้วยแรงดึงน้อยกว่า ๑.๕ เมกะพาสคัล (MPa) เป็นระยะเวลา อยา่ งนอ้ ย ๙๐ วนั ในรอบปี ส่วนชน้ั ดนิ บนอาจพบชั้นดินวินิจฉัย อมั บริกหรอื ชั้นดินวินิจฉัยออครกิ ตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔) อนั ดบั ดนิ แอลฟิซอลส์จําแนกเป็นอันดับย่อย ดังน้ี แอควัลฟส์ (Aqualfs) ยดู ัลฟส์ (Udalfs) อัสทัลฟส์ (Ustalfs) ไครอลั ฟส์ (Cryalfs) และ เซอราลฟส์ (Xeralfs) โดยอันดบั ย่อยท่ีพบในประเทศไทย ไดแ้ ก่ แอควัลฟส์ ยูดัลฟส์ และอัสทัลฟส์ [ดู argillic diagnostic horizon; argillic horizon, kandic diagnostic horizon; kandic horizon, natric diagnostic horizon; natric horizon, ochric epipedon และ umbric epipedon ประกอบ] alkaline soilตด่ำ� กนิ วด่าา่ ไงออดอนิ นทขมี่ อปี งรไมิฮดาณรอไอกอซอี (นOขHอ-ง)ไดฮินโดจรึงเมจนคี ่า(พHีเ+อ) ใชนสสงู ากรวล่าะล๗า.๐ย แต่เนื่องจากการก�ำหนดปฏิกิริยาดินเป็นกลางหมายถึงดินที่มีค่า พเี อช ๖.๖-๗.๓ ดังนัน้ ค่าพีเอชของดนิ ด่างจึงควรสูงกวา่ ๗.๓ alkali soil ดินแอลคาไล ๑. ดินทมี่ คี า่ พีเอช ๘.๕ หรือสงู กวา่ หรอื มรี อ้ ยละ ของสดั สว่ นโซเดียมแลกเปลี่ยนไดม้ ากกว่า ๑๕ ๒. ดินท่ีมีโซเดียมมากจนเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ของพชื สว่ นใหญ่ [ดู saline-sodic soil และ sodic soil ประกอบ] 8

alluvial soil A alkalophile จลุ นิ ทรยี ช์ อบดา่ ง จลุ นิ ทรยี ท์ เ่ี จรญิ เตบิ โตดที ส่ี ดุ เมอื่ ดนิ เปน็ ดา่ ง (ดินมคี า่ พเี อชสูงได้ถงึ ๑๐.๕) allelopathy แอลเลโลแพที ปรากฏการณ์ทางชีววิทยาทีส่ ิง่ มีชวี ิตชนดิ หนงึ่ สร้างสารท่ีมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโต การรอดชีวิต และ การสบื พนั ธ์ุของสง่ิ มชี วี ิตชนิดอื่น [ดู antagonism ประกอบ] allophane แอลโลเฟน แรช่ นิดหนึ่งทเ่ี ปน็ อสณั ฐาน สว่ นใหญเ่ กิดจากเถ้า ภูเขาไฟ alluvial fan เนนิ ตะกอนน�ำ้ พารูปพัด เนินท่เี กิดจากการทบั ถมหรือสะสม ตัวของตะกอนในบริเวณท่ีมีการเปล่ียนระดับของทางน�้ำจาก หบุ เขาชนั และแคบลงสทู่ รี่ าบ ท�ำใหค้ วามเรว็ ของกระแสนำ�้ ลดลง ตะกอนจงึ ตกสะสมในลกั ษณะกระจายออกไปรอบขา้ งเปน็ รปู พดั หรือรปู กรวย alluvial land ท่ดี นิ ตะกอนนำ�้ พา พืน้ ทซี่ งึ่ มตี ะกอนนำ�้ พาทับถมอยู่เสมอ บรเิ วณนีจ้ ะถกู นำ�้ ทว่ มในชว่ งน�ำ้ หลาก alluvial plain ทร่ี าบตะกอนน�ำ้ พา ท่รี าบหรอื ค่อนข้างราบขนาดใหญส่ อง ฝั่งแม่น�้ำ ในฤดูน้�ำหลากน�้ำจะไหลล้นสองฝั่งแม่น�้ำท่วมบริเวณ ดงั กล่าวและน�ำตะกอนมาสะสม ถ้าเป็นทรี่ าบขนาดเล็ก เรียกวา่ ทลี่ ุ่มราบตะกอนน้ำ� พา (alluvial flat) alluvial soil ดินตะกอนน�ำ้ พา กลมุ่ ดนิ หลกั กลมุ่ หนงึ่ ในระบบการจ�ำแนกดนิ ประจ�ำชาติของประเทศไทย เป็นดินท่ีเกิดจากตะกอนน�้ำพามา ตกทับถมตามบริเวณที่ราบน้�ำท่วมถึง เนินตะกอนรูปพัด ที่ราบ ตะกอนน�้ำกร่อย หรือที่ราบน�้ำทะเลท่วมถึง เป็นดินมีอายุน้อย และมพี ัฒนาการของหนา้ ตดั ดนิ น้อย การแบ่งช้ันดินยังไมช่ ัดเจน มหี น้าตัดดนิ แบบ A-C หรอื แบบ Ag-Cg ชุดดนิ ท่สี �ำคัญของกลมุ่ ดนิ หลักนี้ คือ ๑. ชดุ ดนิ ทเ่ี กดิ จากตะกอนนำ�้ จดื เชน่ ชดุ ดนิ ทา่ มว่ ง ชดุ ดนิ สรรพยา ชดุ ดินสิงหบ์ ุรี ชดุ ดนิ ราชบรุ ี ชุดดินอยุธยา 9

Alluvial soil A ๒. ชุดดินท่ีเกิดจากตะกอนน้�ำกร่อย เช่น ชุดดินองครักษ์ ชดุ ดนิ รงั สติ ชดุ ดินเสนา ๓. ชุดดินที่เกิดจากตะกอนน้�ำทะเล เช่น ชุดดินท่าจีน ชุดดิน บางกอก ชุดดินบางปะกง ชุดดินบางแพ Alluvial soils ดินแอลลูเวียล กลุ่มดินหลักในระบบการจ�ำแนกดินของ กระทรวงเกษตรสหรฐั อเมรกิ า พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘) เป็น ดินท่ีมีอายุน้อย เกิดจากตะกอนน้�ำพามาตกทับถมตามบริเวณ ที่ราบน้ำ� ทว่ มถงึ เนนิ ตะกอนรูปพดั ท่รี าบตะกอนน้ำ� กรอ่ ย หรือ นำ�้ ทะเลทว่ มถงึ การพฒั นาหนา้ ตดั ดนิ มนี อ้ ย การแบง่ ชน้ั ดนิ ยงั ไม่ ชัดเจน หน้าตัดดนิ เปน็ แบบ A-C หรือแบบ Ag-Cg เทยี บได้กับ ดินในอันดับเอนทิซอลส์ตามระบบอนุกรมวิธานดิน alluvial terrace ตะพักตะกอนน้ำ� พา ตะพักธารน�้ำทปี่ ระกอบดว้ ยตะกอน นำ�้ พาซง่ึ ยงั ไมแ่ ขง็ ตวั เกดิ จากการกดั เซาะลงดา้ นลา่ งบนทร่ี าบนำ้� ท่วม หรือพื้นหุบเขาท่ีถูกกัดเซาะลงด้านล่างโดยธารน้�ำเกิดใหม่ หรอื เกิดจากการทบั ถมภายหลงั ของตะกอนน�ำ้ พาบนตะพกั เดมิ alluviation การเกิดตะกอนน�้ำพา กระบวนการตกทับถมของอนุภาค ดินเหนียว ทรายแป้ง ทราย หรือกรวด ในแม่น�้ำ ปากแม่น้�ำ ท่ีมีอิทธิพลของน้�ำขึ้นน�้ำลง หรือท่ีริมฝั่งทะเลสาบหรือทะเล เม่อื ความเรว็ ของกระแสน�้ำลดลง alluvium ตะกอนนำ�้ พา ตะกอนทน่ี ำ้� พดั พามาทบั ถม อาจเกดิ บนตะพกั ล�ำนำ�้ ที่ราบน้�ำทว่ ม หรือบรเิ วณปากแมน่ �ำ้ หรอื เกิดเป็นเนินตะกอนน้�ำ พารูปพัดบรเิ วณเชงิ เขา alternate side irrigation การชลประทานสลับร่อง การใหน้ ำ�้ แบบร่อง เว้นรอ่ งแล้วสลบั ร่องให้น้ำ� ในครง้ั ต่อไป AM (arbuscular mycorrhiza) เอเอ็ม (อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา) ดู arbuscular mycorrhiza (AM) 10

anaerobe A amensalism ภาวะอาศัยเสยี ประโยชน์ ความสัมพันธ์ระหวา่ งส่งิ มีชีวติ ๒ ชนิด โดยท่ีส่ิงมีชีวิตชนิดหน่ึงยับยั้งกิจกรรมของอีกชนิดหน่ึง เช่น การผลิตสารพิษ โดยส่ิงมีชีวิตที่ปล่อยสารพิษจะไม่ได้รับ ผลกระทบใด ๆ แต่จะมีผลกระทบต่อกิจกรรมของส่ิงมีชีวิตอีก ชนดิ หน่งึ ท่ีอยรู่ ว่ มกัน [ดู commensalism ประกอบ] ammonia volatilization การระเหยแอมโมเนยี การเคลอ่ื นยา้ ยไนโตรเจน ในรูปของแก๊สแอมโมเนียจากดิน พืช หรือสารละลายต่าง ๆ สู่บรรยากาศ ammoniation แอมโมนเิ อชัน กระบวนการเตมิ สารประกอบแอมโมเนยี ม ชนิดต่าง ๆ ลงในปุ๋ยอ่ืนเพ่ือผลิตปุ๋ยท่ีมีแอมโมเนียมเป็นองค์ ประกอบ เชน่ ป๋ยุ โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต ป๋ยุ ไดแอมโมเนยี ม ฟอสเฟต ammonification แอมโมนิฟิเคชัน กระบวนการทางชีวะท่ีก่อให้เกิด แอมโมเนียจากสารประกอบอินทรีย์ท่ีมีไนโตรเจนเป็นองค์ ประกอบ ammonium fixation การตรึงแอมโมเนียม กระบวนการดูดยึดไอออน ของแอมโมเนยี มไวใ้ นชอ่ งระหวา่ งชนั้ ของดนิ ท�ำใหพ้ ชื ไมส่ ามารถ น�ำไปใชป้ ระโยชน์ได้ amorphous material วสั ดุอสณั ฐาน วัสดตุ า่ ง ๆ เช่น หิน แร่ สาร ที่ไมม่ ี โครงสร้างผลึก หรือมีการเรียงตัวของอะตอมภายในไม่เป็น ระเบยี บ amphibole แอมฟโิ บล แรป่ ระกอบหินกลมุ่ หนง่ึ ซึง่ เป็นสารประกอบซิลิเกต ของเหลก็ กบั แมกนีเซียม แรท่ สี่ �ำคัญของกลุ่ม เชน่ ฮอรน์ เบลนด์ [ดู pyroxene ประกอบ] anaerobe สง่ิ มชี วี ติ ไมใ่ ชอ้ อกซเิ จน จลุ นิ ทรยี ท์ อี่ ยไู่ ดใ้ นสภาวะทไี่ รอ้ อกซเิ จน 11

anaerobic respiration A anaerobic respiration การหายใจไม่ใชอ้ อกซิเจน กระบวนการหายใจ ของส่งิ มีชีวิตท่ไี มใ่ ช้ออกซิเจนเป็นตวั รับอิเลก็ ตรอน [ดู aerobic respiration ประกอบ] andic soil property สมบัติดินแอนดิก สมบตั ขิ องวัสดดุ นิ ทีเ่ กิดจากวสั ดุ ภเู ขาไฟ มคี าร์บอนอินทรยี ์นอ้ ยกวา่ ร้อยละ ๒๕ ความหนาแน่น รวมมีค่าไม่เกิน ๐.๙ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร การดูดยึด ฟอสเฟตมีต้ังแต่ร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป ปริมาณอะลูมิเนียมรวมกับ คร่งึ หนง่ึ ของเหล็กมีค่าต้งั แตร่ อ้ ยละ ๐.๔ ขึน้ ไป Andisols แอนดิซอลส์ อันดับดินอันดับหน่ึงในการจําแนกตาม ระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ดนิ แรท่ มี่ สี มบตั ดิ นิ แอนดกิ ตง้ั แตร่ อ้ ยละ ๖๐ ของความหนาของหนา้ ตดั ดนิ อาจมชี น้ั ดนิ บนวนิ จิ ฉยั หรอื ชนั้ ดินล่างวินิจฉัยชั้นใดชั้นหน่ึงก็ได้ ลักษณะท่ัวไปของดินอันดับ แอนดิซอลส์ คือ มีความสามารถในการดูดซับฟอสฟอรัสสูง ความสามารถในการอุ้มน�้ำสูง ความจุแลกเปล่ียนแคตไอออนสูง ความอดุ มสมบรู ณส์ งู และมสี มบตั ทิ างฟสิ กิ สข์ องดนิ เหมาะสมใน การปลกู พืช ตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔) อนั ดบั ดินแอนดิซอลส์จําแนกเป็นอันดับย่อย ดังน้ี แอแควนดส์ (Aquands) เจแลนดส์ (Gelands) ยูแดนดส์ (Udands) อัสแทนดส์ (Ustands) ไครแอนดส์ (Cryands) ทอร์แรนดส์ (Torrands) เซอแรนดส์ (Xerands) และไวแทรนดส์ (Vitrands) ซึ่งในประเทศไทยยงั ไมพ่ บดินในอันดบั แอนดซิ อลส์ angular blocky soil structure โครงสร้างดินแบบก้อนเหล่ียมมุมคม โครงสร้างดินแบบก้อนเหล่ียม ซึ่งมองเห็นเหล่ียมมุมของ โครงสรา้ งชดั เจน [ดู blocky soil structure และ soil structure ประกอบ] 12

anthropic epipedon A anion แอนไอออน อะตอมหรอื กลุ่มอะตอมที่มีประจลุ บเน่อื งจากการได้รับ อิเลก็ ตรอน anion exchange capacity (AEC) ความจแุ ลกเปลย่ี นแอนไอออน (เออซี )ี ผลรวมของแอนไอออนทแ่ี ลกเปลยี่ นไดซ้ ง่ึ ดนิ ดดู ซบั ไวไ้ ด้ มหี นว่ ย เป็นเซนติโมลหรือมิลลิโมลของประจุต่อกิโลกรัมของดิน เดมิ มีหนว่ ยเป็นมิลลิสมมูลต่อร้อยกรมั ของดิน anorthite อะนอร์ไทต์ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ชนิดหน่ึง มีสูตรเคมี CaAl2Si2O8 มแี คลเซยี มเปน็ องคป์ ระกอบตง้ั แตร่ อ้ ยละ ๙๐ ขน้ึ ไป และมโี ซเดียมนอ้ ยกว่ารอ้ ยละ ๑๐ [ดู albite ประกอบ] antagonism สภาวะปฏปิ กั ษ,์ สภาวะตา้ น ภาวะขดั แยง้ กนั ระหวา่ งสง่ิ ๒ สงิ่ ทเี่ ปน็ ประเภทเดยี วกนั เชน่ การมธี าตอุ าหารพชื บางธาตมุ ากกวา่ ระดับสมดุลกับธาตุอาหารพืชอื่น ๆ ท�ำให้พืชดูดธาตุอาหารพืช อ่ืน ๆ ได้น้อยลงจนเกิดอาการขาดธาตุอาหาร, การที่จุลินทรีย์ ชนิดใดชนิดหน่ึงมีบทบาทในการยับย้ังหรือชะลอการเจริญ ของจุลินทรยี ช์ นิดอน่ื ๆ anthraquic condition สภาพแอนทราควิก สภาพการอิ่มตัวด้วยน้�ำ ของดินอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราวที่เกิดข้ึนในดินท่ีมีการท�ำ เกษตรกรรมและการชลประทาน [ดู aquic condition ประกอบ] anthric saturation ความอ่ิมตวั แอนทรกิ ความแปรปรวนของการอมิ่ ตวั ด้วยน้�ำในดินบนเนื่องจากการขังน้�ำ ท�ำให้เกิดสภาพรีดักชัน ในชั้นดินบนและเกิดการเคลื่อนย้ายของเหล็กและแมงกานีส ลงสู่ชั้นดินล่างที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้�ำและเกิดสภาพออกซิเดชันของ เหลก็ และแมงกานีส anthropic epipedon ชนั้ ดนิ วนิ จิ ฉยั แอนโทรปกิ ชนั้ ดนิ บนวนิ จิ ฉยั ในระบบ อนุกรมวิธานดิน เป็นชั้นดินแร่ มีลักษณะของสีดิน ความหนา ปริมาณคารบ์ อนอินทรีย์ การยึดตัว และความอม่ิ ตวั เบสเหมือน ชั้นดินวินิจฉัยมอลลิก แต่มีปริมาณฟอสเฟตท่ีละลายได้ในกรด 13

antibiosis A ซทิ รกิ เขม้ ขน้ ๐.๐๕ โมลารอ์ ยา่ งนอ้ ย ๑,๕๐๐ มลิ ลกิ รมั ตอ่ กโิ ลกรมั หรอื ถา้ ดนิ ไมม่ กี ารชลประทาน ทกุ สว่ นของชน้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั นจ้ี ะแหง้ อย่างน้อย ๙ เดือน ช้ันดินวินิจฉัยน้ีจะเกิดภายใต้สภาพที่มีการ ไถพรวนและใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน [ดู mollic epipedon ประกอบ] antibiosis ภาวะยบั ยง้ั การทส่ี งิ่ มชี วี ติ หลายชนดิ อยรู่ ว่ มกนั โดยสงิ่ มชี วี ติ หนง่ึ สรา้ งสารประกอบซึง่ เป็นอนั ตรายตอ่ สง่ิ มชี ีวิตอืน่ antibiotic สารปฏชิ วี นะ สารอนิ ทรยี ท์ ผี่ ลิตจากส่งิ มชี วี ิตชนิดหน่ึง ซ่งึ ใน ระดบั ความเขม้ ขน้ ตำ�่ สามารถฆา่ หรอื ยบั ยง้ั การเจรญิ ของสงิ่ มชี วี ติ อน่ื ๆ apatite อะพาไทต์ แร่ประกอบหินกลุ่มหน่ึงซึ่งประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสเฟตกับฟลูออรีน คลอรีน ไฮดรอกซิล หรือคาร์บอเนต มีสตู รเคมี Ca5(F, Cl,OH) (PO4, CO3)3 ใชเ้ ป็นวตั ถดุ ิบในการผลติ ป๋ยุ ฟอสเฟต Aqualfs แอควลั ฟส์ อนั ดับย่อยอันดับหนึ่งของอนั ดบั ดนิ แอลฟซิ อลส์ในการ จ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวิธานดิน เป็นดนิ ซ่งึ อยใู่ นสภาพแอควิก ภายในระยะ ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดินเป็นระยะเวลานานจน เปน็ ขอ้ จ�ำกดั ในการปลกู พชื ไร่ เวน้ แตจ่ ะมกี ารระบายนำ้� ดนิ มจี ดุ ประ ของมวลสารพอกเหล็กและแมงกานีส หรือดินมีสีเทาใต้ช้ันเอ (A horizon) หรอื ชน้ั เอทมี่ กี ารไถพรวน (Ap) ตวั อยา่ งชดุ ดนิ ใน ประเทศไทยของอนั ดบั ยอ่ ยน้ี คอื ชดุ ดนิ ล�ำปาง ชดุ ดนิ กลุ ารอ้ งไห้ และชดุ ดนิ มโนรมย์ [ดู Alfisols และ aquic condition ประกอบ] Aquents แอเควนตส์ อนั ดบั ยอ่ ยอนั ดบั หนง่ึ ของอนั ดบั ดนิ เอนทซิ อลสใ์ นการ จ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ดนิ ซงึ่ มสี ภาพแอควกิ และวสั ดุ ซลั ไฟดภ์ ายในความลกึ ๕๐ เซนตเิ มตรจากผวิ ดนิ ตวั อยา่ งชดุ ดนิ ในประเทศไทยของอนั ดบั ยอ่ ยน้ี คอื ชดุ ดนิ ทา่ จนี ชดุ ดนิ ตะกว่ั ทงุ่ และชดุ ดนิ เชยี รใหญ่ [ดู aquic condition และ Entisols ประกอบ] 14

aquic soil moisture regime A Aquepts แอเควปตส์ อันดับย่อยอนั ดับหนง่ึ ของอนั ดับดนิ อนิ เซปทิซอลส์ ในการจ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ดนิ ซงึ่ มสี ภาพแอควกิ และชนั้ ดนิ วนิ จิ ฉยั ซัลฟิวริก หรือมีร้อยละโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ ตงั้ แต่ ๑๕ ขน้ึ ไป หรอื อตั ราดดู ซบั โซเดยี มตง้ั แต่ ๑๓ ขน้ึ ไป ภายใน ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดินแร่ ตัวอย่างชุดดินในประเทศไทยของ อนั ดับยอ่ ยนี้ คอื ชุดดนิ บางกอก ชุดดนิ รงั สติ ชดุ ดินเสนา ชดุ ดิน องครักษ์ ชุดดินราชบุรี ชดุ ดินสระบรุ ี และชุดดินอุดร [ดู aquic condition, exchangeable sodium percentage (ESP), Inceptisols และ sodium adsorption ratio (SAR) ประกอบ] Aquerts แอเควิตส์ อันดับย่อยอันดับหน่ึงของอันดับดินเวอร์ทิซอลส์ใน การจ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวิธานดิน เปน็ ดนิ ซงึ่ มสี ภาพแอควกิ ภายใน ๕๐ เซนตเิ มตรจากผวิ ดนิ แร่ ตวั อยา่ งชดุ ดนิ ในประเทศไทย ของอันดับย่อยน้ี คือ ชุดดินบ้านหมี่ ชุดดินบุรีรัมย์ และชุดดิน ท่งุ สมั ฤทธ์ิ [ดู aquic conditions และ Vertisols ประกอบ] aquiclude ช้ันหินซับน�้ำ ชั้นหินหรือชั้นตะกอนท่ีมีสมบัติให้น�้ำซึมผ่าน ได้น้อย แต่สามารถดูดซึมน้�ำเข้าไว้ในตัวอย่างช้า ๆ เน่ืองจากมี ชอ่ งวา่ งระหวา่ งอนภุ าคเลก็ มาก ชน้ั หนิ นจ้ี งึ ท�ำหนา้ ทเ่ี ปน็ ขอบเขต บนหรือล่างของช้ันหินอุ้มน�้ำ [ดู aquifuge และ aquitard ประกอบ] aquic condition สภาพแอควิก สภาพการอม่ิ ตวั ดว้ ยน้ำ� และสภาพรีดกั ชัน ของดนิ อยา่ งตอ่ เนอื่ งหรอื เปน็ ครงั้ คราว สภาพแอควกิ บง่ ชไ้ี ดด้ ว้ ย ลักษณะรีดอกซ์ และสามารถยืนยันได้ด้วยการวัดค่าการอ่ิมตัว ดว้ ยน้ำ� และการรีดกั ชนั aquic soil moisture regime ระบอบความช้ืนดินแบบแอควกิ สภาพ ความช้ืนของดินในช่วงควบคุม ดินอิ่มตัวด้วยน�้ำเป็นระยะเวลา นาน มีออกซิเจนท่ีละลายน�้ำเหลืออยู่น้อยมากจนเกิดสภาพ รีดักชันขึ้นในดิน อาจเกิดจากการอิ่มตัวด้วยน�้ำใต้ดินหรือน้�ำใน 15

aquifer A เขตอ่มิ ตัวเหนอื ระดับน�ำ้ ใตด้ นิ [ดู capillary fringe และ aquic condition ประกอบ] aquifer ช้ันหินอุ้มนำ�้ , ชัน้ น้ำ� ชน้ั หินหรือชั้นตะกอนทมี่ ีสมบตั ยิ อมใหน้ ้�ำซึม เข้าได้โดยง่ายเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างอนุภาคตะกอน หรือ โพรงหรือรอยแตกทตี่ อ่ เนอ่ื งกัน จึงท�ำใหเ้ กบ็ น้�ำไว้ไดเ้ ป็นปรมิ าณ มากจนกลายเป็นแหลง่ น้ำ� ใต้ดนิ ช้นั หนิ น้ีอย่ใู นเขตอมิ่ น�้ำ (zone of saturation) aquifuge ช้ันหินกั้นน้�ำ ช้ันหินหรือชั้นตะกอนที่มีสมบัติน�้ำซึมผ่านไม่ได้ เน่อื งจากไม่มีชอ่ งว่างทตี่ อ่ เนอ่ื ง aquitard ช้ันหินต้านน้�ำ ช้ันหินหรือชั้นตะกอนทับถมที่มีสมบัติชะลอ การไหลของน�้ำใต้ดินจากช้ันหินอุ้มน้�ำท่ีอยู่ติดกัน ท�ำให้มีน้�ำ ไม่พอส�ำหรับบ่อบาดาลหรือน�้ำพุ แต่เป็นน�้ำส�ำรองใต้ดินได้ [ดู aquiclude ประกอบ] Aquods แอควอดส์ อันดับย่อยอันดับหน่ึงของอันดับดินสปอโดซอลส์ใน การจ�ำแนกตามระบบอนุกรมวธิ านดิน เป็นดนิ ซึง่ มีสภาพแอควกิ อาจมชี น้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั ฮสิ ตกิ หรอื ภายใน ๕๐ เซนตเิ มตรจากผวิ ดนิ แร่ มีลักษณะรีดอกซ์ในช้ันดินวินิจฉัยแอลบิกหรือชั้นดินวินิจฉัย สปอดิก ไมพ่ บอนั ดับยอ่ ยนี้ในประเทศไทย [ดู albic diagnostic horizon; albic horizon, aquic conditions, histic epipedon, redoxmorphic feature และ Spodosols ประกอบ] Aquolls แอควอลส์ อนั ดบั ยอ่ ยอนั ดบั หนงึ่ ของอนั ดบั ดนิ มอลลซิ อลสใ์ นการ จ�ำแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นดินที่อยู่ในสภาพแอควิก ภายในระยะ ๕๐ เซนตเิ มตรจากผวิ ดนิ มรี อ้ ยละโซเดยี มแลกเปลยี่ น ไดต้ ง้ั แต่ ๑๕ ขน้ึ ไป หรอื อตั ราสว่ นการดดู ซบั โซเดยี มตงั้ แต่ ๑๓ ข้ึนไป และลดลงตามความลึก หรือดินมีสีเทาหรือมีจุดประภาย ในชน้ั หรอื ใตช้ น้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั มอลลกิ ตวั อยา่ งชดุ ดนิ ในประเทศไทย ของอนั ดบั ยอ่ ยนี้ คอื ชุดดินบางแพ และชดุ ดนิ บางเลน [ดู aquic 16

Argids A condition, histic epipedon, mollic epipedon และ Mollisols ประกอบ] Aquox แอควอกซ์ อันดับย่อยอันดับหนึ่งของอันดับดินออกซิซอลส์ใน การจ�ำแนกตามระบบอนุกรมวิธานดนิ เป็นดนิ ซงึ่ มีสภาพแอควกิ ตั้งแต่ ๑ ช้ันดินข้ึนไปภายใน ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดินแร่ ไม่พบอันดับย่อยน้ีในประเทศไทย [ดู aquic condition และ Oxisols ประกอบ] Aquults แอควลั ตส์ อนั ดบั ยอ่ ยอนั ดบั หนงึ่ ของอนั ดบั ดนิ อลั ทซิ อลสใ์ นการ จ�ำแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นดินซึ่งมีสภาพแอควิก ตัวอย่างชดุ ดนิ ในประเทศไทยของอันดับยอ่ ยน้ี คือ ชดุ ดินแกลง ชดุ ดนิ เชยี งราย ชดุ ดนิ เพญ็ และชดุ ดนิ รอ้ ยเอด็ [ดู aquic condition และ Ultisols ประกอบ] arable land ที่ดินเพาะปลูกได้ พ้ืนที่ดินซึ่งมีความเหมาะสมต่อการ เพาะปลกู การผลิตพืชท�ำไดง้ า่ ยและประหยัด arbuscular mycorrhiza (AM) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (เอเอ็ม) เช้ือไมคอร์ไรซาที่มีรูปทรงการสร้างเส้นใยแบบอาร์บัสคูลเข้าไป ในเซลลช์ ัน้ คอรเ์ ทกซข์ องรากพืชอาศยั หรอื พืชใกลเ้ คยี ง arbuscule อารบ์ สั คลู ลกั ษณะของเสน้ ใยทแ่ี ตกออกไปคลา้ ยกงิ่ ไม้ โดยเจรญิ เข้าไปในเซลล์ชั้นคอร์เทกซ์ของรากพืช จนเกิดโครงสร้างคล้าย พุ่มไม้หรือดอกกะหล�่ำในเซลล์ซ่ึงช่วยในการแลกเปลี่ยนอาหาร ระหวา่ งเชอ้ื รากับรากพชื อาศัย Argids อารจ์ ดิ ส์ อนั ดบั ยอ่ ยอนั ดบั หนง่ึ ของอนั ดบั ดนิ แอรดิ ซิ อลสใ์ นการจ�ำแนก ตามระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นดินซึ่งมีช้ันดินวินิจฉัยอาร์จิลลิก หรือนาทริก และต้องไม่มีชั้นดินวินิจฉัยเพโทรแคลซิกภายใน ๑๐๐ เซนติเมตรจากผิวดิน ไม่พบอันดับย่อยนี้ในประเทศไทย [ดู argillic diagnostic horizon; argillic horizon, Aridisols, 17

argillan; clay coating; clay film; clay flow; clay skin; illuviation cutan A natric diagnostic horizon; natric horizon และ petrocalcic diagnostic horizon; petrocalcic horizon ประกอบ] argillan; clay coating; clay film; clay flow; clay skin; illuviation cutan คราบดินเหนียว คราบวัตถุในดินชั้นล่าง เกิดจาก การเคลอ่ื นยา้ ยของอนภุ าคดนิ เหนยี วไปเคลอื บตามผนงั ชอ่ งรอบ เมด็ ดนิ และ/หรือเม็ดแร่ [ดู cutan ประกอบ] argillic diagnostic horizon; argillic horizon ชั้นดินวนิ จิ ฉัยอาร์จลิ ลกิ ช้ันดินลา่ งวินจิ ฉยั ในระบบอนกุ รมวิธานดนิ เป็นช้นั ดนิ แร่ที่มกี าร สะสมของอนุภาคดินเหนียวท่ีเคลื่อนย้ายจากดินช้ันบนไปสะสม อย่ใู นดนิ ชัน้ ล่าง พบคราบดนิ เหนยี วตามผนังชอ่ ง ผวิ ของเม็ดดนิ หรือเชื่อมระหว่างเม็ดทรายอยา่ งชดั เจน aridic soil moisture regime ระบอบความช้นื ดนิ แบบแอริดิก สภาพ ความชื้นของดินในชว่ งควบคุม ไม่มนี ้ำ� ทีพ่ ชื สามารถใชป้ ระโยชน์ ได้ โดยนับวันสะสมมีระยะเวลานานมากกว่าคร่ึงปีเม่ืออุณหภูมิ ดินท่ีระดับความลึก ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดินสูงกว่า ๕ องศา เซลเซียส และดินต้องช้นื ในบางส่วนหรือทง้ั หมดของชว่ งควบคมุ โดยนับวันต่อเนื่องระยะเวลานานน้อยกว่า ๙๐ วันเม่ืออุณหภูมิ ดินที่ระดับความลึก ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดินสูงกว่า ๘ องศา เซลเซียส ระบอบความช้ืนดินแบบแอริดิกใช้ในข้ันอนุกรมวิธาน ดินระดบั อันดับดิน และระดับกลมุ่ ดนิ ยอ่ ย Aridisols แอรดิ ซิ อลส์ อันดบั ดินอันดบั หน่งึ ในการจ�ำแนกตามระบบอนุกรม วิธานดนิ เปน็ ดนิ แรท่ มี่ ีระบอบความชื้นดนิ แบบแอรดิ กิ มชี นั้ ดนิ วนิ จิ ฉยั ออครกิ และชน้ั ก�ำเนดิ ดนิ อน่ื ๆ แตไ่ มม่ ชี นั้ ดนิ วนิ จิ ฉยั ออกซกิ สามารถพบชั้นดินล่างวินิจฉัยอ่ืน เช่น ชั้นดินวินิจฉัยแคลซิก ช้ันดินวินจิ ฉัยยิปซกิ ชั้นดนิ วินจิ ฉัยเพโทรแคลซกิ ชนั้ ดินวินจิ ฉยั เพโทรยิปซกิ ชั้นดินวินจิ ฉัยซาลกิ ชั้นดนิ วินิจฉัยแคมบกิ ชั้นดนิ วินิจฉัยอาร์จิลลิก ชั้นดินวินิจฉัยนาทริกภายในความลึก ๑๐๐ เซนตเิ มตรจากผิวดิน 18

Atterberg limit A ตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔) อนั ดบั ดินแอริดิซอลส์จําแนกเป็นอันดับย่อย ดังนี้ ไครอิดส์ (Cryids) เซลิดส์ (Salids) ดูริดส์ (Durids) อาร์จิดส์ (Argids) ยิปซิดส์ (Gypsids) แคลซิดส์ (Calcids) และแคมบิดส์ (Cambids) ซ่ึงในประเทศไทยยังไม่พบดินในอันดับแอริดิซอลส์ [ดู ochric epipedon และ aridic soil moisture regime ประกอบ] artefact; artifact ส่ิงแปลกปน ดู artifact; artifact artesian well บอ่ นำ้� บาดาลมแี รงดนั บ่อน�้ำบาดาลท่เี จาะลงไปถงึ ชน้ั หนิ อุ้มน�้ำและเป็นช่องทางให้น้�ำทะลักสูงข้ึนมาในบ่อโดยมีระดับ สงู กวา่ ชน้ั หนิ อมุ้ นำ้� แตไ่ มจ่ �ำเปน็ ตอ้ งสงู จนนำ้� บาดาลไหลออกจาก ปากบ่อที่ผิวดินก็ได้ ถ้ามีแรงดันสูงจนท�ำให้น้�ำไหลออกจาก ปากบอ่ เรียกวา่ บอ่ น้�ำพุ (flowing well) artifact; artefact ส่งิ แปลกปน เศษวัสดุท่เี กดิ จากมนษุ ย์ท�ำขน้ึ เช่น หม้อ ไห อฐิ พบปะปนอยูใ่ นดนิ ใชใ้ นการบรรยายลักษณะท่พี บภายใน หนา้ ตดั ดิน aspect ทศิ ลาดเขา ทศิ ทางของลาดเขาในเชงิ ทสี่ มั พนั ธก์ บั การรบั แสงอาทติ ย์ associative dinitrogen fixation การตรึงไนโตรเจนจากการอยูร่ ว่ มกัน การตรึงไนโตรเจนที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ตรึง ไนโตรเจนไดอ้ ยา่ งอสิ ระในดนิ กบั พชื ชน้ั สงู เปน็ ผลใหป้ ระสทิ ธภิ าพ การตรงึ ไนโตรเจนเพิม่ สงู ขึน้ associative symbiosis ภาวะพ่ึงพาร่วม ความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิด ระหว่างส่ิงมชี ีวติ ๒ ชนิดทอี่ าศยั อยู่รว่ มกันและต่างไดป้ ระโยชน์ ซึ่งกันและกัน โดยไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยกลไกหรือกระบวนการ เฉพาะ เช่น แบคทีเรีย Azospirillum sp. ในรากข้าวโพด [ดู symbiosis ประกอบ] Atterberg limit ขีดจ�ำกัดแอตเทอร์เบิร์ก ขีดจ�ำกัดค่าความช้ืนดินซึ่ง มีผลต่อการยึดตัวของดินเน้ือละเอียด เสนอข้ึนโดยอัลเบิร์ต 19

augite A แอตเทอร์เบิร์ก (Albert Atterberg) ปัจจุบันทางด้านปฐพี กลศาสตรน์ �ำมาใช้ ๓ ขดี จ�ำกดั ไดแ้ ก่ ขดี จ�ำกดั ของเหลว ขดี จ�ำกดั พลาสติก และขดี จ�ำกดั การหดตวั augite ออไจต์ แรป่ ระกอบหนิ ชนดิ หนงึ่ ในกลมุ่ ไพรอกซนี มสี ตู รเคมี (Ca, Na) (Mg, Fe, Al)(Si2Al)2O6 สีคล้�ำ มีเหล็กและแมกนีเซียมเป็น องค์ประกอบในปริมาณสูง จัดเป็นแร่ประกอบหินอัคนีชนิดเบส เช่น หนิ บะซอลต์ หนิ แกบโบร autotroph ส่ิงมีชีวิตสร้างอาหารเอง ส่ิงมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้โดย ใชค้ ารบ์ อนไดออกไซดห์ รอื คารบ์ อเนตเปน็ แหลง่ คารบ์ อน และได้ รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือปฏิกิริยาออกซิเดชันของ สารประกอบอนนิ ทรีย์ available nutrient สารอาหารใช้ประโยชน์ได้ ธาตุอาหารในดินหรือ ในป๋ยุ ท่อี ยูใ่ นรปู ซึง่ พืชดูดไปใช้ประโยชนไ์ ด้ available water นำ�้ ใชป้ ระโยชนไ์ ด้ นำ้� ในดนิ ซง่ึ พชื สามารถน�ำไปใชป้ ระโยชน์ ได้ เปน็ ปรมิ าณนำ้� ทอ่ี ยรู่ ะหวา่ งความจคุ วามชนื้ สนามกบั จดุ เหยี่ ว ถาวร [ดู field capacity; field moisture capacity และ permanent wilting point ประกอบ] avalanche การถล่ม การที่มวลจ�ำนวนมากของหิมะ น้�ำแข็ง ดิน หิน หรือส่วนผสมของวัสดุเหล่านี้เล่ือนไถลลงมาจากภูเขาที่สูงชัน อย่างรวดเร็วโดยแรงโน้มถ่วงของโลก ความเร็วอาจสูงมากกว่า ๕๐๐ กโิ ลเมตรต่อชั่วโมง Azonal soils ดินเอโซนัล อันดับดินอันดับหน่ึงในระบบการจ�ำแนกดิน ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘) เป็นดินซ่งึ เกดิ ขึ้นได้ในทุกเขตภูมิอากาศ ดินมีพฒั นาการหน้าตดั ดินน้อย การแบ่งชั้นดินยังไม่ชัดเจน ลักษณะเฉพาะและสมบัติ ของดนิ ข้นึ อยกู่ ับชนดิ ของวตั ถตุ น้ ก�ำเนดิ ดิน 20

bacteroid B B backslope ๑. ลาดเขา ส่วนของลาดเขาที่มีความชันสูงสุด โดยท่ัวไปมี ลกั ษณะเปน็ เสน้ ตรงอยตู่ รงกลางของสว่ นลาดชนั สว่ นบนตดิ ไหล่ เขามลี กั ษณะโคง้ นนู ส่วนล่างติดเชงิ เขามีลักษณะโค้งเวา้ ๒. ลาดหลงั ผา ลาดเขาทอี่ ยตู่ รงขา้ มกบั หนา้ ผา มลี กั ษณะคลา้ ย ลาดตามแนวเท แตผ่ วิ หนา้ ไมข่ นานกบั แนวเทของชน้ั หนิ ทร่ี องรบั อยขู่ ้างใต้ [ดู dip slope ประกอบ] backswamp ท่ีลุ่มน�้ำขังหลังคันดิน ที่ราบน้�ำท่วมถึง อยู่ระหว่างคันดิน ริมน้�ำกับตะพักล�ำน้�ำหรือด้านข้างหุบเขา ประกอบด้วยพ้ืนท่ีลุ่ม ชน้ื แฉะนำ้� ขงั และแอง่ ทกี่ วา้ งใหญ่ bacteroid แบคทีรอยด์ เซลล์แบคทีเรียที่มรี ูปรา่ งเปลยี่ นแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การบวมและการผดิ รปู ของเซลลแ์ วควิ โอลของ 21

badland ไรโซเบยี ม (rhizobium) และแบรดไี รโซเบยี ม (bradyrhizobium) B ทอี่ าศยั อยใู่ นปมรากพชื ตระกูลถวั่ badland แบดแลนด์ พื้นที่ซึ่งถกู ตัดซอยแบ่งโดยทางนำ�้ ส้นั ๆ จ�ำนวนมาก มีความชันสูง เนื่องจากการกร่อนของวัตถุธรณีท่ีอ่อน ส่วนใหญ่ เกิดในเขตแหง้ แลง้ หรอื ก่ึงแหง้ แล้ง โดยทว่ั ไปไมค่ ่อยมพี ชื พรรณ ขึน้ แบดแลนดจ์ ัดเป็นหน่วยแผนท่ดี ินประเภทพืน้ ท่เี บ็ดเตล็ด band application การใส่แบบแถบ วิธีการใส่วัสดุ เช่น ปุ๋ย สารเคมี เป็นแถบบนผิวดินหรือใตผ้ วิ ดนิ ตามแถวปลกู พืช bar ๑. สนั ดอน เนินที่เกดิ จากกระแสน้�ำหรือคลื่นพัดพาตะกอน เช่น กรวด หนิ ดนิ ทราย และวัสดอุ ื่น ๆ มาตกทบั ถมจนเกดิ เป็นสนั บริเวณล�ำธาร แม่น�้ำ ริมตลิ่ง ปากแม่น�้ำ นอกชายฝั่งทะเลหรือ ทะเลสาบ ๒. บาร์ หน่วยความดนั มีค่าเทา่ กับ ๐.๙๘๗ บรรยากาศ หรอื เท่ากับ ๐.๑ เมกะพาสคัล (MPa) basal till ตะกอนฐานธารนำ้� แขง็ ตะกอนธารนำ�้ แขง็ ทถ่ี กู น�ำพามาหรอื สะสม ตัวเป็นฐานอยู่ใต้พ้ืนผิวธารน�้ำแข็ง มีความหนาแน่นรวมสูง ประกอบด้วยตะกอนหลายขนาด basalt หินบะซอลต์ หนิ อัคนพี ชุ นิดหนงึ่ มีเน้ือละเอยี ด สเี ขม้ ประกอบดว้ ย แร่แคลซิกแพลจิโอเคลสชนิดแลบราโดไลต์ ไบโทว์ไนต์ และ ไพรอกซีนเป็นส่วนใหญ่ มักพบอะพาไทต์และแมกนีไทต์เป็นแร่ รองเสมอ [ดู igneous rock ประกอบ] base level ระดับอยู่ตัว ระดับท่ีต�่ำสุดของพ้ืนท้องทะเล แม่น้�ำ ล�ำธาร ท่ีกระแสน�ำ้ ไม่อาจกัดเซาะต่อไปได้อีก base saturation ความอิม่ ตวั เบส อัตราส่วนปริมาณเบสที่แลกเปลีย่ นได้ ต่อความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน หรือผลรวมของเบสท่ีแลก 22

beach B เปล่ียนได้กับกรดท่ีสกัดได้ แสดงหน่วยเป็นร้อยละ [ดู cation exchange capacity (CEC) ประกอบ] basic cation แคตไอออนชนิดเบส แคตไอออนที่ได้จากการแตกตัว ของเกลือชนดิ เบส เชน่ Na+, K+, Ca2+, Mg2+ basic fertilizer ปยุ๋ ชนดิ เบส ปยุ๋ ทเี่ มอื่ ใสล่ งในดนิ และท�ำปฏกิ ริ ยิ ากบั ดนิ แลว้ มผี ลท�ำใหค้ วามเปน็ กรดของดนิ ลดลง และพเี อชของดนิ สงู ขนึ้ เชน่ ปยุ๋ แคลเซยี มไนเทรต ปยุ๋ โซเดียมไนเทรต basic rock หินชนิดเบส หินอัคนีที่มีซิลิการ้อยละ ๔๕-๕๒ มีสัดส่วน ของเหล็กและแมกนเี ซยี มสงู เชน่ หินแกบโบร หนิ บะซอลต์ basic slag กากถลงุ ชนดิ เบส, เบซกิ สแลก ผลพลอยได้จากอตุ สาหกรรม ถลุงเหลก็ มีปูนและฟอสฟอรสั เปน็ สว่ นใหญ่ ใช้เป็นวสั ดุปรบั ปรงุ ดนิ ทางการเกษตรหรือใชเ้ ป็นปุ๋ย basin แอง่ ๑. พ้นื ท่ีต่ำ� ขนาดต่าง ๆ บนพน้ื ราบซึง่ มีการระบายน้ำ� ทางใต้ดิน หรอื โดยการระเหย หรอื หลุม (hollow) ทีล่ ้อมรอบด้วยพ้นื ดินที่ สงู กวา่ และไมม่ ที างออกตามธรรมชาตขิ องธารนำ้� ผวิ ดนิ เชน่ แอง่ ทะเลสาบ (lake basin) แอ่งน�้ำบาดาล (ground-water basin) ๒. บริเวณพื้นที่ท่ีธารน�้ำระบายออกได้ เช่น บริเวณลุ่มน้�ำ (drainage area) bauxite บอ็ กไซต์ สนิ แรอ่ ะลมู เิ นยี ม มสี เี ทา สเี หลอื ง สนี ำ�้ ตาล หรอื สนี ำ้� ตาลแดง ประกอบด้วยออกไซด์และไฮดรอกไซด์ของอะลูมิเนียม แร่ประกอบท่สี �ำคัญไดแ้ ก่ แร่ไดแอสพอร์ (diaspore) เบอห์ไมต์ (boehmite) และกบิ บไ์ ซต์ และมักเกดิ รว่ มกบั แร่เหล็กออกไซด์ เชน่ แร่เกอไทต์ beach หาด พนื้ ทซ่ี ง่ึ มคี วามลาดเลก็ นอ้ ย อยตู่ ดิ กบั ทะเล ทะเลสาบ หรอื แมน่ ำ้� ซึ่งอยู่ระหว่างแนวน้�ำขึ้นกับน้�ำลง เกิดจากการกระท�ำของคลื่น หรือกระแสน้�ำ ประกอบด้วยตะกอนร่วน เช่น ทราย กรวด เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีพชื พรรณขนึ้ 23

bed bed ๑. ชนั้ หิน หนว่ ยเล็กท่สี ุดในการจดั ล�ำดับชนั้ หนิ ตามลกั ษณะหนิ B ซึ่งมีล�ำดับการเรียงกันจากหน่วยที่ใหญ่ที่สุดหรือหนาท่ีสุดไป ยังหน่วยที่เล็กที่สุดหรือบางท่ีสุดที่สามารถแบ่งได้ดังน้ี คือ กลุ่มหิน (group) หมวดหิน (formation) หมู่หิน (member) และช้นั หิน (bed) ๒. ร่องปลูก สันดินระหว่างท้องร่องส�ำหรับเพาะปลูกพืช เกิดจากการเตรยี มดนิ เช่น รอ่ งปลกู ผกั รอ่ งปลูกมัน bed load ตะกอนท้องน้�ำ ตะกอนที่เคล่ือนท่ีไปกับน�้ำโดยการไถล กลิ้ง หรือกระดอนไปตามท้องล�ำธาร เกิดจากแรงลาก แรงโน้มถ่วง หรอื ท้ัง ๒ อยา่ ง ด้วยความเร็วที่นอ้ ยกว่าการไหลของน�ำ้ bed rock หินพ้นื หนิ แขง็ ทอ่ี ยู่ใตช้ ้ันดนิ และวสั ดุรว่ นอน่ื ๆ หรอื โผล่ข้ึนมา บนผิวดิน beidellite ไบเดลไลต์ แร่ดนิ เหนียวในกล่มุ สเมกไทต์ มปี รมิ าณอะลมู ิเนียม สูง เป็นส่วนประกอบท่ัวไปของดิน และในแหล่งสะสมของช้ัน ตะกอนดินเหนยี ว benchmark soil ดินตัวแทนหลัก ดินในวงศ์เดียวกันท่ีใช้เป็นตัวแทน เพ่ือน�ำไปเปรียบเทยี บกับดนิ ในพื้นท่อี นื่ bench terrace คันดินข้ันบันได คันดินที่สร้างข้ึนขวางความลาดเทท่ีมี ความชนั มากกว่าร้อยละ ๑๕ bentonite เบนทอไนต์ แร่ดินเหนยี วในกลมุ่ สเมกไทต์ซง่ึ เกิดจากการผพุ ัง ทางเคมีของเถ้าภูเขาไฟท่ีมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบสูง พองตัวได้ มากในน้ำ� และมีพ้นื ท่ีผิวจ�ำเพาะสูง B horizon ช้ันบี ช้ันดินหลักซง่ึ เป็นช้ันดนิ แร่ทเ่ี กดิ ใต้ชน้ั เอ ชนั้ อี หรือชน้ั โอ เป็นชั้นดินท่ีมีการสะสมสารและอนุภาคซ่ึงถูกชะละลายมาจาก ชนั้ บน เชน่ ดนิ เหนยี ว เหลก็ อะลมู นิ มั ออกไซด์ ฮวิ มสั คารบ์ อเนต ยิปซัม ซิลิกา หรือมีร่องรอยซึ่งแสดงถึงการเคลื่อนย้ายสาร 24

biological interchange B คารบ์ อเนตหรอื การสะสมจ�ำพวกเซสควอิ อกไซด์ [ดู soil horizon ประกอบ] bioassay การสอบวิเคราะห์โดยชีววิธี วิธีการวัดเชิงปริมาณโดยดูจาก การเจรญิ เตบิ โตของจลุ นิ ทรีย์ พชื หรือสตั ว์ ภายใตภ้ าวะควบคุม biochemical oxygen demand (BOD) ความต้องการออกซิเจน ทางชวี เคมี (บโี อด)ี ปรมิ าณออกซเิ จนทล่ี ะลายในนำ�้ ซง่ึ แบคทเี รยี ชนิดที่ใช้ออกซิเจนต้องการใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้�ำ [มีความหมายเหมือนกับ biological oxygen demand] biochemical weathering การผพุ งั ทางชวี เคมี ดู chemical weathering biodegradation การเสอื่ มสลายทางชวี ภาพ การแปรสภาพของสารอนิ ทรยี ์ โดยจุลินทรีย์ดิน จนเกิดสารท่ีมีโครงสร้างโมเลกุลเปลี่ยนไป จากเดิม โดยในระยะสุดท้ายของการเส่ือมสลายทางชีวภาพ จะเกิดแกส๊ คารบ์ อนไดออกไซด์ แอมโมเนียม และไนเทรต biofertilizer ปยุ๋ ชวี ภาพ ตามพระราชบญั ญตั ปิ ุย๋ พ.ศ. ๒๕๕๐ หมายถงึ ป๋ยุ ท่ีไดจ้ ากการน�ำจุลนิ ทรยี ท์ ี่มีชีวิตท่ีสามารถสรา้ งธาตอุ าหาร หรือ ชว่ ยใหธ้ าตอุ าหารเปน็ ประโยชนก์ บั พชื มาใชใ้ นการปรบั ปรงุ บ�ำรงุ ดินทางชวี ภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความ รวมถงึ หวั เชอื้ จุลินทรีย์ biological interchange การสับเปล่ยี นทางชวี ภาพ การเปลย่ี นรปู ของ ธาตอุ าหารระหวา่ งสารอนิ ทรยี ก์ บั สารอนนิ ทรยี ์ โดยกจิ กรรมของ สิ่งมีชีวิตในดินหรือในวัสดุอ่ืน โดยการยอ่ ยสลายของสารประกอบ อนิ ทรยี ท์ �ำใหเ้ กดิ การปลดปลอ่ ยสารอนนิ ทรยี ์ เรยี กวา่ มเิ นอรลั ไล- เซชัน และสามารถเปลี่ยนสารอนินทรีย์เป็นสารอินทรีย์ได้โดย จุลินทรีย์ เรียกว่า อิมโมบิไลเซชัน [ดู immobilization และ mineralization ประกอบ] 25

biological oxygen demand biological oxygen demand ความต้องการออกซิเจนทางชีวภาพ ดู B biochemical oxygen demand (BOD) biomass มวลชีวภาพ ๑. มวลรวมของส่ิงมีชีวิตต่อหน่วยปริมาตร หรอื มวลของดนิ ๒. นำ้� หนกั รวมของส่งิ มีชวี ิตทั้งหมดที่มใี นสิ่งแวดล้อม bioremediation ชีวบ�ำบัด การใช้สิ่งมีชีวิตในการฟื้นฟูปรับสภาพดิน หรือน�ำ้ ท่มี สี ารอนั ตรายต่อส่ิงแวดลอ้ มหรอื ต่อสุขภาพของมนุษย์ biosequence ล�ำดบั ชวี ภาพ ดคู �ำอธบิ ายใน soil sequence biostimulation การกระตนุ้ ทางชวี ภาพ การเตมิ สารอาหารลงในดนิ หรือ น�้ำท่ีปนเปื้อน เพื่อเร่งให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตและเพ่ิมปริมาณ ท�ำให้กระบวนการชวี บ�ำบัดมีประสิทธภิ าพมากขึ้น biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ การพฒั นาเทคนิคเพอ่ื น�ำกระบวนการ ทางชีววิทยาไปประยกุ ตใ์ นการผลิตสารต่าง ๆ biotic enzyme เอนไซม์ชีวภาพ เอนไซม์ที่ผลิตโดยเซลล์ที่มีชีวิต อาจพบภายในเซลลห์ รือภายนอกเซลล์ biotic factor ชีวปัจจัย, ปัจจัยชีวภาพ ปัจจัยท่ีเก่ียวกับสิ่งที่มีชีวิต เชน่ มนษุ ย์ พชื จุลินทรีย์ biotite ไบโอไทต์ แรป่ ระกอบหนิ ที่ส�ำคญั ชนิดหนึง่ ในกลุม่ ไมกา มีสตู รเคมี K(Mg, Fe2+)3AlSi3O10(F, OH)2 มสี ีด�ำ สีน้ำ� ตาลแก่ หรอื สเี ขียวแก่ เป็นส่วนประกอบท้ังในหินอคั นี หนิ ตะกอน และหินแปร bisequal profile ดนิ สองหน้าตัด ดนิ ทมี่ ีหน้าตดั ดิน ๒ หนา้ ตัดซอ้ นทับกัน และเปน็ ดนิ ทเี่ กดิ จากวตั ถตุ น้ ก�ำเนดิ เดยี วกนั โดยหนา้ ตดั ดนิ ตอน ล่างมีชั้นดินหลักบางช้ันเหมือนกับหน้าตัดดินตอนบน เช่น ชั้น ซมึ ชะ ชน้ั สะสม หรอื ชน้ั อน่ื ทสี่ งั เกตเหน็ ไดอ้ ยา่ งชดั เจน การใหช้ อ่ื ชน้ั ดนิ ในหนา้ ตดั ดนิ ตอนลา่ งใหใ้ ชเ้ ครอ่ื งหมายไพรม์ (´́ ) แสดงบน สญั ลักษณ์ช้นั ดิน เชน่ E´, B´ 26

bog soil B biuret ไบยเู รต สารประกอบทเี่ ปน็ พษิ ต่อพชื เกดิ ข้ึนทีอ่ ณุ หภูมสิ งู ระหว่าง กระบวนการผลิตยูเรีย เรียกอีกอย่างหน่ึงว่า คาร์บามอยล์ยูเรีย (carbamoylurea) มสี ูตรเคมี H2NCONHCONH2 blocky soil structure โครงสรา้ งดนิ แบบก้อนเหล่ยี ม โครงสรา้ งของดิน ท่ีเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายลูกบาศก์ มีความกว้าง ยาว และหนาใกลเ้ คยี งกนั จ�ำแนกยอ่ ยเปน็ ๒ แบบ คอื โครงสรา้ ง ดินแบบก้อนเหลี่ยมมุมคม และโครงสร้างดินแบบก้อนเหล่ียม มมุ มน [ดู soil structure ประกอบ] blown-out land ที่ดินลมหอบ พื้นที่ซึ่งดนิ สว่ นใหญถ่ กู เคล่อื นยา้ ยออกไป โดยการกร่อนของลม มแี ต่กรวดกลางและกรวดใหญ่ที่หลงเหลอื อยู่พื้นท่ีเป็นแอ่งต้ืน ๆ ที่ดินลมหอบจัดเป็นหน่วยแผนที่ดิน ประเภทพนื้ ทเ่ี บ็ดเตล็ด BOD (biochemical oxygen demand) บโี อดี (ความต้องการออกซิเจน ทางชวี เคมี) ดู biochemical oxygen demand (BOD) bog พรุกรด, ที่ลุ่มสนุ่นกรด บริเวณที่ลุ่มน�้ำขังตลอดปีหรือเกือบตลอดปี มีซากพืชที่ตายแล้วผุพังกลายเป็นพีตที่เป็นกรดจับตัวกันใน ลักษณะหลวม ๆ ทับถมกันหนาบางตามสภาพแวดล้อมท่ีเกิด บางส่วนลอยอยู่บนผิวน้�ำบางส่วนจมอยู่ใต้น�้ำ เม่ือเหยียบย่�ำจะ หยุ่นคล้ายฟองน้�ำ พืชพรรณท่ีขึ้นในพรุกรดมีหลากหลาย เช่น ลเิ ภา กระจดู หญา้ กก เฟิรน์ ปาล์ม หมาก หวาย เตย รวมทง้ั ไม้ ยืนตน้ บางชนิด ในพ้นื ที่น้ีพบดนิ อินทรียม์ ปี ฏกิ ิรยิ าเปน็ กรด bog soil ดนิ ทล่ี มุ่ สนนุ่ , ดนิ พรุ กลมุ่ ดนิ หลกั กลมุ่ หนงึ่ ในอนั ดบั ดนิ อนิ ทราโซนลั ของระบบการจ�ำแนกดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘) เป็นดินอินทรีย์ เกิดในสภาพพื้นที่ ลุ่มมีน้�ำขังตลอดปีหรือเกือบตลอดปี ดินมีการระบายน้�ำเลว เกิดจากการทับถมและสะสมของวัสดุดินอินทรีย์เป็นช้ันหนา [ดู Intrazonal soils, muck soil และ peat soil ประกอบ] 27

bottomland bottomland ที่ลุ่มต�่ำ บริเวณพ้ืนที่ซึ่งมีระดับต�่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ B ในช่วงฤดูฝนน้�ำท่วมขังเร็วกว่าพ้ืนท่ีส่วนอ่ืน บางพื้นที่น้�ำอาจขัง ตลอดปหี รือเกือบตลอดปี [ดู flood plain ประกอบ] boulder หินมนใหญ่ หินทรงมนท่ีมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูล ตั้งแต่ ๖๐๐ มิลลิเมตรขึ้นไป ตามระบบของกระทรวงเกษตร สหรฐั อเมริกา bouyance แรงพยงุ แรงทยี่ กอนภุ าคให้แขวนลอยอยใู่ นนำ�้ ได้ bradyrhizobium แบรดไี รโซเบียม ไรโซเบียมกลุ่มทเี่ จริญช้า เกดิ ปมกบั ถว่ั เหลือง ถัว่ พรา้ และถัว่ อน่ื ๆ ในเขตรอ้ น เป็นประชากรกลุ่ม ใหญข่ องไรโซเบียมในประเทศไทย braided stream ธารนำ�้ ประสานสาย ธารนำ�้ สายหน่ึงในช่วงท่ีแตกออก เปน็ รอ่ งนำ้� เลก็ ๆ หลายรอ่ ง ไหลประสานกนั ไปมาทงั้ แยกจากกนั และเช่ือมโยงกัน มักพบในบริเวณตะกอนรูปพัดเชิงเขาหรือตาม ท่รี าบน�ำ้ ทว่ มถึง breccia หนิ กรวดเหลย่ี ม หนิ ตะกอนเนอ้ื ประสมทมี่ ขี นาดเมด็ หยาบ ประกอบ ด้วยเศษหินท่ีแตกหักเป็นเหล่ียมและมุมไม่มีการกร่อน เช่ือมประสานกนั ด้วยแรห่ รืออยใู่ นเน้อื พ้นื ละเอียด broadcast application การใส่แบบหว่าน วิธีการใส่วัสดุให้กระจาย บนผิวดิน Brown Forest soils ดินบราวนฟ์ อเรสต์ กลมุ่ ดนิ หลกั กล่มุ หน่ึงในระบบ การจ�ำแนกดินประจ�ำชาติของประเทศไทย เป็นดินที่เกิดจาก วัตถุต้นก�ำเนิดดินตกค้างที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ในเขตป่าไม้ผลัดใบ (deciduous forest) มีความอิ่มตัวเบสสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง มีหน้าตัดดินแบบ A-B-C หรอื A-B-R ชดุ ดินท่สี �ำคัญของกลุม่ ดนิ หลักน้ี คอื ชดุ ดนิ ชัยบาดาล ชดุ ดินล�ำนารายณ์ ชดุ ดินสมอทอด ชุดดนิ โป่งน�ำ้ รอ้ น และชดุ ดนิ สบปราบ 28

butte B brucite บรูไซต์ แร่ที่มีแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบหลัก มีสูตรเคมี MgO.H2O มักพบเกิดเป็นแถบร้ิวลายขนานบาง ๆ เหลอื บมุก และเปน็ เสน้ ใยอยใู่ นหิน buffering capacity ความจบุ ัฟเฟอร์ ความสามารถในการตา้ นทานการ เปล่ียนแปลงพเี อชของดิน หรือสมดุลของธาตุอาหารในดนิ bulk blending fertilizer ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า ปุ๋ยท่ีได้จากการน�ำ แมป่ ยุ๋ ชนดิ เมด็ ในสภาพแหง้ ตงั้ แต่ ๒ ชนดิ ขน้ึ ไปมาผสมคลกุ เคลา้ กันโดยไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อให้ได้ปุ๋ยผสมสูตรที่ต้องการ [ดู mixed fertilizer ประกอบ] bulk volume ปริมาตรรวม ปริมาตรของดินท้ังส่วนที่เป็นของแข็งและ ช่องดิน ปรมิ าตรรวมตอ้ งวดั ก่อนการอบดิน buried soil ดินถูกฝัง ดินท่ีถูกทับถมด้วยตะกอนใหม่ที่มีความหนา ต้ังแต่ ๕๐ เซนติเมตรขึ้นไป โดยกระบวนการของน�้ำ ลม หรอื พาหะอย่างอนื่ burned lime; quick lime ปูนเผา ปูนทไี่ ด้จากการเผาหินปนู หรือเปลือก หอยจนไดแ้ คลเซยี มออกไซด์ (CaO) เป็นองคป์ ระกอบหลกั butte เนนิ ยอดปา้ น เขาขนาดเลก็ ทม่ี ดี า้ นขา้ งชนั และมยี อดคอ่ นขา้ งราบ เกดิ จากการกร่อนของช้ันหินที่มีความแข็งแกร่งทนทานต่างกัน เนนิ ยอดปา้ นนม้ี ลี กั ษณะคลา้ ยภเู ขายอดราบ 29

calcan CC calcan คราบคาร์บอเนต คราบวัตถทุ ี่ประกอบดว้ ยคาร์บอเนต ซ่งึ เคล่อื น ยา้ ยลงมาสะสมในดินชั้นล่าง calcareous soil ดินเนอื้ ปูน ดินท่มี แี คลเซียมคารบ์ อเนต (CaCO3) อสิ ระ และเกลอื คาร์บอเนตอนื่ ๆ ในปริมาณมาก โดยมีสมมูลแคลเซียม คาร์บอเนตอยู่ระหว่าง ๑๐-๑,๐๐๐ กรัมต่อกิโลกรัมของดิน สามารถทดสอบได้โดยท�ำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ๐.๑ โมลาร์ จะเกิดฟองฟู่ของแกส๊ คาร์บอนไดออกไซด์ calcic diagnostic horizon; calcic horizon ช้ันดินวินิจฉัยแคลซิก ชั้นดินล่างวินิจฉัยในระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นช้ันดินแร่ท่ีมี คาร์บอเนตทุติยภูมิในปริมาณมาก ชั้นน้ีมีความหนาตั้งแต่ ๑๕ เซนติเมตร มีสมมูลแคลเซียมคารบ์ อเนตมากกว่า ๑๕๐ กรัม ต่อกิโลกรัมดิน และต้องมีสมมูลแคลเซียมคาร์บอเนตมากกว่า ช้ันล่าง (ชนั้ ซ)ี ทีอ่ ยู่ถัดไป อย่างน้อย ๕๐ กรัมตอ่ กิโลกรัมดนิ Calcids แคลซิดส์ อันดับย่อยอันดับหน่ึงของอันดับดินแอริดิซอลส์ใน การจ�ำแนกตามระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ดนิ ซง่ึ มชี น้ั ดนิ วนิ จิ ฉยั แคลซิกหรือเพโทรแคลซิกภายใน ๑๐๐ เซนติเมตรจากผิวดิน ไม่พบอันดับย่อยนี้ในประเทศไทย [ดู Aridisols, calcic diagnostic horizon; calcic horizon และ petrocalcic diagnostic horizon; petrocalcic horizon ประกอบ] calcification แคลซิฟิเคชัน ๑. กระบวนการเกิดดินที่เกิดในดินบนซึ่งมี ปรมิ าณแคลเซยี มมากพอทจี่ ะท�ำใหส้ ว่ นดดู ซบั แคตไอออนของดนิ อิ่มตัวด้วยแคลเซียม 30

cambic diagnostic horizon; cambic horizon C ๒. กระบวนการสะสมแคลเซียมในบางชั้นดินของหน้าตัดดิน เช่น ชนั้ ดนิ วินจิ ฉัยแคลซกิ calciphyte พืชดินปูน พืชท่ีต้องการดินท่ีมีปริมาณแคลเซียมสูงหรือพืชท่ี ทนตอ่ ดินท่มี ปี ริมาณแคลเซยี มสงู calcitan คราบแคลไซต์ คราบวัตถทุ ่ปี ระกอบดว้ ยแคลไซต์ calcium carbonate equivalent สมมลู แคลเซียมคาร์บอเนต ปรมิ าณ คารบ์ อเนตในวสั ดปุ นู หรอื ดนิ เนอ้ื ปนู ทค่ี �ำนวณปรมิ าณคารบ์ อเนต ท้ังหมดในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนต [ดู agricultural lime ประกอบ] caliche คาลิเช ๑. ช้ันใกล้ผิวดินท่ีมีการเช่ือมประสานของแคลเซียม คาร์บอเนตทุติยภูมิหรือแมกนีเซียมคาร์บอเนตทุติยภูมิที่ ตกตะกอนจากสารละลายดนิ ๒. ชนั้ ตะกอนนำ้� พาทเ่ี ชอ่ื มตดิ ดว้ ยโซเดยี มไนเทรต โซเดยี มคลอไรด์ และ/หรอื สารละลายเกลอื อนื่ ๆ ในชนั้ ทบั ถมไนเทรตของประเทศ เปรูและชิลี cambic diagnostic horizon; cambic horizon ชนั้ ดินวินจิ ฉยั แคมบิก ชนั้ ดนิ ลา่ งวนิ จิ ฉยั ในระบบอนกุ รมวธิ านดนิ เปน็ ชน้ั ดนิ แรท่ มี่ คี วาม หนาตง้ั แต่ ๑๕ เซนตเิ มตรขนึ้ ไป เนอ้ื ดนิ ทรายละเอยี ดมากปนดนิ ร่วนหรอื ละเอียดกวา่ มโี ครงสรา้ งดนิ มากกวา่ โครงสร้างหิน มแี ร่ ทผี่ พุ งั งา่ ยปนอยบู่ า้ ง เปน็ ชน้ั ทมี่ ลี กั ษณะการเปลยี่ นแปลงหรอื การ เคลื่อนย้ายของแร่ธาตุ ซ่ึงสังเกตได้จากการมีจุดประหรือมีสีเทา มีคา่ รงค์และคา่ สีสูงกว่าหรอื มสี ีสนั แดงกว่าช้นั ท่ีอยขู่ า้ งล่าง หรอื มีการเคลื่อนย้ายของคาร์บอเนตออกไป ไม่พบว่ามีการเชื่อม ประสานหรือจับตัวกันจนแข็ง มีกระบวนการสะสมเกิดขึ้นน้อย มากจนไม่สามารถทจ่ี ะจ�ำแนกเป็นชน้ั ดินล่างวินิจฉัยอน่ื 31

Cambids Cambids แคมบดิ ส์ อนั ดบั ยอ่ ยอนั ดบั หนึง่ ของอนั ดับดนิ แอรดิ ซิ อลส์ในการ จ�ำแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน เป็นดินซ่ึงมีชั้นดินวินิจฉัย C แคมบิกภายใน ๑๐๐ เซนติเมตรจากผิวดิน ไม่พบอันดับย่อยนี้ ในประเทศไทย [ดู Aridisols และ cambic diagnostic horizon; cambic horizon ประกอบ] capillary fringe เขตอ่ิมตัวเหนือระดับน�้ำใต้ดิน, เขตอ่ิมตัวแคพิลลารี ชั้นดินที่อยู่เหนือระดับน�้ำใต้ดิน ซึ่งอยู่ในสภาพอ่ิมตัวหรือเกือบ อมิ่ ตัวด้วยแรงดงึ น้ำ� ในชอ่ งขนาดเล็ก capillary porosity ความพรนุ แคพลิ ลารี ปริมาตรทั้งหมดของชอ่ งขนาด เลก็ ในดนิ มีขนาด ๐.๐๐๕-๐.๐๓ มลิ ลเิ มตร ซ่งึ สามารถเกบ็ นำ�้ ไว้ ในดนิ ด้วยแรงดงึ มากกวา่ ๖๐ เซนตเิ มตรของน�้ำ capillary rise การเคลอื่ นขนึ้ แคพลิ ลารี การเคลอ่ื นทขี่ องนำ้� จากชน้ั นำ�้ ใตด้ นิ ผ่านช่องขนาดเล็กมากในดินข้ึนสู่ผิวหน้าดิน น้�ำที่เคลื่อนที่นี้ บางส่วนอาจถกู ดดู ใชโ้ ดยรากพชื หรอื ระเหยจากผวิ ดนิ capillary water น�้ำแคพิลลารี ปริมาณน�้ำท้ังหมดที่ดินดูดยึดไว้ในช่อง ขนาดเล็กมากไม่เกิน ๕๐ ไมครอนด้วยแรงดึงสูงกว่า ๖๐ เซนติเมตรของนำ�้ และพืชสามารถน�ำไปใช้ประโยชนไ์ ด้ carbon cycle วัฏจักรคาร์บอน ล�ำดับการเปล่ียนรูปของคาร์บอนจาก คาร์บอนไดออกไซด์ไปอยู่ในรูปสารอินทรีย์โดยกระบวนการ สงั เคราะห์แสง หรือกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี สารอินทรยี ์ ท่ีสังเคราะหข์ ้นึ หมนุ เวียนในระบบสิง่ มชี ีวิต และเปล่ยี นกลับเป็น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่บรรยากาศ โดยการหายใจ หรือการเผาไหม้ carbon-nitrogen ratio (C/N ratio) อัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน (ซ/ี เอน็ เรโช) อตั ราส่วนระหวา่ งปริมาณคาร์บอนกบั ไนโตรเจน ในดิน ซ่ึงเป็นดัชนีส�ำคัญที่บ่งช้ีถึงอัตราการย่อยสลายของ อินทรียวัตถใุ นดิน 32


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook