Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

การวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

Published by kitthanachon01, 2021-11-11 09:32:05

Description: การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Search

Read the Text Version

หน้า 1 การวจิ ยั ในชัน้ เรยี น เรอื่ ง สภาพการจัดการเรียนรูแ้ บบออนไลนใ์ นสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูผูส้ อนหลกั สตู รอนุปริญญา สาขาการบญั ชี วิทยาลยั ชมุ ชนสระแก้ว จงั หวัดสระแกว้ : นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย ตําแหนง่ ครูผู้ช่วย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- บทคดั ย่อ การวจิ ยั คร้ังนีม้ วี ตั ถปุ ระสงค์เพอ่ื 1) ศึกษาแอพลิเคชนั ทีใ่ ช้ในการจดั การเรยี นรแู้ บบออนไลนข์ องครูและ 2) ศึกษาปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนหลักสูตร อนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จํานวน 17 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวธิ กี ารวิจัยน้ีเปน็ การวจิ ัยเชิงสํารวจวเิ คราะหข์ ้อมูลโดยใชส้ ถิติเชงิ พรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) แอพลิเคชันที่ครูนิยมใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มากท่ีสุด คือ แอพลิเคชั่น ไลน์ (Line) คิดเป็นร้อยละ 88.23 และ Google Meet น้อยท่ีสุด คิดเป็นร้อยละ 23.53 และ 2) ปัญหาท่ี ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์คือ ปัญหาด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต และ โปรแกรมท่ีใช้สําหรับการเรียนแบบออนไลน์ถูกพบมากท่ีสุด ปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาด้านพฤติกรรมของ นักเรียน เช่น การบริหารจัดการเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียน นอกจากน้ันปัญหาด้าน ครอบครัว ยงั ทําให้นกั เรยี นบางสว่ นตอ้ งทาํ งานเพอื่ แบ่งเบาภาระครอบครัวขณะอยบู่ ้าน คําสําคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์, การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บทนาํ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อ ประชากร โลกเป็นวงกว้าง โดยมีจํานวนผู้ป่วยติดเช้ือและผู้เสียชีวิตเพิ่มข้ึนเป็นจํานวนมากในระยะเวลา อันรวดเร็ว องค์การ อนามัยโลกจึงได้ประกาศให้โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ในวันที่ 11 มีนาคม พุทธศักราช 2563 (WHO, 2020, ย่อหน้า 17) อีกท้ังการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนายังทําให้พฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมการบริโภคและการบริการเกิดการเปล่ียนแปลงท่ี สําคัญในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้ในหลายภาคส่วนเกิดผล กระทบ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และการศึกษา นอกจากนยี้ งั ส่งผลให้สถานศกึ ษาไม่ สามารถจัดการเรยี นการสอนได้ตามปกติ สถานศกึ ษาเป็นสถานทีท่ ่ีมนี กั เรยี นอยู่รวมกนั จํานวนมาก จึงมคี วามเสีย่ งสงู ทอ่ี าจจะมีการแพรร่ ะบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ในกลุ่มเด็กไปยังบุคคลในบ้าน หากมีการระบาดในกลุ่มเด็กขึ้นจะ มีผลกระทบในสังคมหรือผู้ใกล้ชิด เช่น ครู พ่อแม่ ผู้สูงอายุที่ติดเช้ือจากเด็ก องค์การอนามัยโลก WHO, UNICEF, & CIFRC (2020, pp.4-6) ได้เสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในโรงเรียน โดยให้ตระหนักถึงการป้องกันทางด้านสภาวะแวดล้อมในโรงเรียน สุขอนามัยของนักเรียนและการผ่อนปรน รายงานการวิจยั ในชัน้ เรียน ภาคเรยี นที่ 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบญั ชี วทิ ยาลยั ชุมชนสระแก้ว

หน้า 2 การลาป่วยให้กับครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาเมื่อมีอาการป่วยนอกจากน้ันการเว้นระยะห่างทาง สังคมเป็นอีกเร่ืองหนึ่งท่ีสําคัญที่ควรคํานึงถึง โดยให้มีการจัดห้องเรียนแบบสลับกันมาเรียน ยกเลิกกิจกรรมท่ีมี การรวมตัวกัน กีฬา เกม และการชุมนุมกันเป็นกลุ่มใหญ่และจัดโต๊ะเรียนให้ห่างกัน อีกท้ังยังส่งเสริมให้ โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ออนไลน์อีกด้วย นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทําแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2564 เพ่ือให้โรงเรียนใช้เป็น แนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ (ศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษา ทางไกลในสถานการณ์โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน, 2563, หน้า 2) ส่วนกาญจนา บุญภักด์ิ (2563, หน้า 2) ได้เสนอแนวคิดที่สอดคล้องกันว่า สถานศึกษาต่าง ๆ จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างเร่งด่วนในการ พัฒนาการเรียนการสอนของครูมาเป็นแบบ ออนไลน์เพ่ือลดการเผชิญหน้ากัน โดยให้มีการจัดการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ 100% โดยงดเดินทางมาเรียน งดการรวมกล่มุ กนั เปน็ จาํ นวนมาก งดกจิ กรรมหลาย ๆ กิจกรรมที่จดั เพื่อพฒั นาผเู้ รียนมาเปน็ แบบออนไลน์ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การป้องกันการแพร่ระบาด อย่าง หนึ่งคอื มาตรการการเว้นระยะหา่ งทางสงั คม (Social Distancing) จึงทาํ ให้เปน็ แรงผลกั ดันให้มีการนาํ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบการสอนผ่าน ออนไลน์ อย่างท่ัวถึงในทุกสถาบันและสาขาวิชาชีพ เพ่ือเอ้ือให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเรียนรู้ได้จากบ้านพัก ของตัวเอง (บุญทิพย์ สิริธรังศรี, 2563, หน้า2) อีกทั้งธานี สุขโชโตและวรกฤต เถ่ือนช้าง (2563, หน้า 147-148) ได้ศึกษากระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้ในทุก ๆ ที่และการเรียนรู้ยังคงต้อง ดําเนินต่อไปแม้ว่านักเรียนไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนตลอดจนการจัดการ เรียนการสอนโดยมีการสนับสนุนส่งเสริม พัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมี คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานการณ์ท่ีมีโรคติดเช้ือไว รสั โคโรนา 2019 ระบาด การใช้ส่ือและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการเช่ือมต่อช่องว่างระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนใน การจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซ่ึงมีการเว้นระยะห่างทางสังคม การนําเอาส่ือและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้น้ันทําให้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากที่บ้านและครูผู้สอนสามารถมอบหมายงาน ตรวจงานและสร้างแบบวัดผลและ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา New normal หรือความปกติใหม่น้ีส่งผลให้สถานศึกษาเกิด การปรับตัวและมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ท่ีเกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว ครูผู้สอน นักเรียนและ สถานศึกษาต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนผู้พัฒนาระบบทางด้านสารสนเทศได้เร่งพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการจัด การศึกษาและการประชุมทางไกล จึงเกิดเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนและการประชุมทางไกล ขึ้นมากมาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ เช่น Zoom, Google Hangouts, Skype, Line, Facetime, Facebook, Messenger, MicrosoftTeams, True Visual World, Google Meet, Vroom, WebX เปน็ ต้น (กาญจนา บญุ ภกั ด์ิ , 2563, หน้า 2) รายงานการวจิ ัยในชน้ั เรียน ภาคเรียนท่ี 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบญั ชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว

หน้า 3 จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ใน ประเทศไทย ในช่วงปลายปีพุทธศักราช 2563 ซ่ึงช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาวและอากาศที่ เย็นน้ันส่งผลให้ไวรัสมีอายุยาวนานข้ึน จากการคาดคะเนพบว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ในไทยคร้ังน้ีอาจจะรุนแรงกว่าเดิม ดังน้ันมาตรการการป้องกัน คือ ให้ ประชาชนอยู่บ้านลดการเดินทาง ลดการรวมกลุ่มกัน (สุรชัย โชคครรชิตไชย, 2563, หน้า ง-จ) อีกทั้ง วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ได้รับคําสั่งให้ปิดสถานศึกษาชั่วคราวและให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการ สอนตามตารางปกติ โดย ประยุกต์ไปตามความถนัดและความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และนักเรียน เช่นใช้ การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านแอพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Line, Facebook, Zoom, Google Classroom ช่องทาง DLTV หรือช่องทางใดก็ได้ แต่การจัดการเรียนการสอนต้องดําเนินต่อไป ส่วน กจิ กรรมต่าง ๆ นั้น เล่ือนออกไปอย่างไมม่ ีกําหนด ผู้วจิ ยั ในฐานะครูผสู้ อนหลกั สูตรอนปุ ริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลยั ชุมชนสระแก้ว จงั หวัดสระแกว้ และจากสถานการณ์ข้างต้นนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาแอพลิเคชันท่ีครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์และสํารวจปัญหาท่ีพบในการ จัดการเรียนรู้ แบบออนไลน์ของนักเรียนวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เพื่อนํามาเผยแพร่ให้เกิด ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และนําองคค์ วามรทู้ ไี่ ดไ้ ปเป็นแนวทางในการพฒั นาและประยกุ ต์ใชใ้ นการจดั การเรียนรู้ท่ีมปี ระสทิ ธภิ าพต่อไป วัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาแอพลเิ คชนั ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูวทิ ยาลยั ชุมชนสระแก้ว จังหวดั สระแก้ว 2. ศึกษาปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรยี นวทิ ยาลยั ชุมชนสระแก้ว จงั หวดั สระแก้ว วิธดี าํ เนนิ การวจิ ัย 1. ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในคร้ังน้ีได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย อาจารย์ประจํา และอาจารย์พิเศษ จํานวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูผู้สอน หลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จํานวน 17 คน โดยใช้วิธีการ สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง 2. เครื่องมือทใ่ี ช้ในการวจิ ยั เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (questionnaire) ประเภทปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยได้ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและขอคําแนะนําจากผู้เช่ียวชาญในการออกแบบเคร่ืองมือจํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาและเนื้อหา โดยนํามาแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและนํามาประกอบการสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซ่งึ แบง่ ออกเปน็ 2 ตอน ประกอบด้วย รายงานการวิจัยในชั้นเรยี น ภาคเรียนท่ี 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบญั ชี วิทยาลยั ชมุ ชนสระแก้ว

หน้า 4 ตอนท่ี 1 แอพลิเคชันที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขา การบญั ชี วทิ ยาลยั ชมุ ชนสระแก้ว ตอนท่ี 2 ปัญหาท่ีครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียนวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 3. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู 3.1 ศกึ ษาปัญหาท่เี กดิ ขนึ้ หลงั จากประกาศปิดสถานศกึ ษาเปน็ การชว่ั คราว 3.2 ครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการบัญชี จัดเตรียมส่ือการจัดการเรียนรู้ อุปกรณ์ แผนการ จัดการเรียนรทู้ ีเ่ หมาะกบั บริบทและสถานการณ์ทไ่ี มป่ กติ โดยเนน้ สอื่ ออนไลนเ์ ปน็ หลัก 3.3 ครูดาํ เนนิ การจดั การเรยี นรแู้ บบออนไลน์ 3.4 ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงาน วิจัยที่เกี่ยวข้องในการสร้างแบบสอบถาม (questionnaire) 3.5 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม (questionnaire) และนําไปหาคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถกู ต้องของการใชภ้ าษาและเนื้อหา 3.6 ผู้ วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบสํารวจโดยการแจกแบบสอบถาม (questionnaire) ให้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จํานวน 17 คนหลังจาก ดําเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แล้วเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตามประกาศของวิทยาลัยชุมชน สระแกว้ 4. การวิเคราะห์ขอ้ มลู ผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนําข้อมูลที่ได้จากการสํารวจครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จํานวน 17 คน มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่ารอ้ ยละและวิเคราะหเ์ ชงิ เน้ือหา (Content analysis) ผลการวิจยั ผ้วู จิ ัยไดท้ าํ การสาํ รวจด้วยแบบสอบถาม(questionnaire) และได้นําขอ้ มลู จากการตอบแบบสอบถาม ของครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จํานวน 17 คน ท่ีทําการ จัดการ เรียนร้แู บบออนไลน์ในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาวิเคราะห์ สรปุ ผลดงั น้ี 1. ผลการศกึ ษาแอพลิเคชันทีใ่ ชใ้ นการจัดการเรยี นรู้แบบออนไลนข์ องครูผสู้ อนหลกั สตู รอนปุ ริญญา สาขาการบัญชี วทิ ยาลยั ชุมชนสระแกว้ รายงานการวจิ ยั ในชั้นเรยี น ภาคเรยี นท่ี 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบัญชี วิทยาลัยชมุ ชนสระแกว้

หนา้ 5 ตาราง 1 แสดงจาํ นวนร้อยละของแอพลเิ คชนั ท่คี รูใช้ในการจดั การเรยี นรูแ้ บบออนไลน์ จากตารางพบว่า 1. ครูผู้สอนใช้แอพลิเคชันต่าง ๆ ในการจัดการชั้นเรียน ดําเนินการจัดการเรียนรู้มอบหมายภาระงาน นัดหมายและวัดผลประเมินผล โดยครูท่ีใช้แอพลิเคชันไลน์ (LINE) คิดเป็นร้อยละ 88.23 Google Classroom คิดเป็นร้อยละ 76.47 Facebook Messenger ร้อยละ 47.05 และ Google Meet คิดเป็น ร้อยละ 23.53 ตามลําดับ จากการสอบถามเพ่ิมเติมพบว่าครูผู้สอนถนัดในการใช้แอพลิเคชันที่เป็นส่ือสังคม ออนไลน์มากกว่าแพลตฟอร์มการเรียนการสอนอ่ืน ๆ อย่างเช่น ไลน์ (LINE) เป็นต้น ส่วน Google Classroom น้ันใช้สําหรับการจัดการชั้นเรียนและมอบหมายภาระงานนอกจากนี้ครูยังมีความรู้และเข้าถึง เทคโนโลยีและส่อื แอพลิเคชนั ได้เพยี งพอในการจัดการเรยี นรูแ้ บบออนไลน์ 2. ผลการศึกษาปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียนวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ 100% ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรคติดเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงเป็นเร่ืองที่เร่งด่วนและใหม่สําหรับทั้งครูและนักเรียนทําให้เกิดปัญหา และ อุปสรรคในระหว่างท่ีมีกิจกรรมการเรียนการสอน โดยปัญหาท่ีพบมากท่ีสุดและเป็นปัญหาท่ีใหญ่ที่สุดน้ัน คือด้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมที่ใช้สําหรับการเรียนแบบออนไลน์ สัญญาณ อินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรทําให้การสื่อสารระหว่างการเรียนการสอนไม่ต่อเน่ืองและไม่ราบรื่นและมี นักเรียนจํานวน หน่ึงไม่มีอินเทอร์เน็ตในการใช้งานทําให้เรียนและทําการบ้านไม่ทันเพ่ือน นอกจากน้ันสําหรับ ครูและนักเรียนท่ีใช้ แอพลิเคชันไลน์ (LINE) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนบางคนไม่ได้อัพเดท แอพลิเคชันหรือเม่ือ ต้องการจะอัพเดท หน่วยความจําของโทรศัพท์มือถือกลับไม่เพียงพอสําหรับการอัพเดท เวอร์ช่ันล่าสุดที่ให้ไม่สามารถเข้าร่วมการเรียนแบบเรียลไทม์หรือ Live ได้พร้อมกับเพ่ือนร่วมช้ัน อีกทั้งยังมี นักเรียนจํานวนสว่ นน้อยไม่ มคี อมพิวเตอรท์ ี่ใชใ้ นการเรยี นแบบออนไลนห์ รือแม้แตโ่ ทรศัพทม์ อื ถอื ปัญหารองลงมา คือด้านครอบครัวเนื่องจากวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว เป็นเป็นสถานศึกษาท่ีทําการสอน ในระดับอนุปริญญา และสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาท่ีนักเรียนท่ีมาเรียนส่วนใหญ่ต้องช่วยครอบครัว ทํางานหาเล้ียงชีพทําให้นักเรียนจํานวนหนึ่งต้องสละเวลาเรียน เพ่ือไปช่วยงานแบ่งเบาภาระครอบครัว รายงานการวจิ ัยในช้ันเรียน ภาคเรียนที่ 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบัญชี วทิ ยาลัยชมุ ชนสระแก้ว

หน้า 6 อย่างเช่น ขายของและทําสวน อีกจํานวนหน่ึงจําเป็นต้องพาผู้ปกครองท่ีเป็นผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลและต้อง ดแู ลผสู้ ูงอายใุ นเวลาเดียวกนั ทําให้ไมส่ ามารถจดั การเวลาระหวา่ งการเรียนและภาระงานในครอบครวั ได้ และลําดับที่ 3 คือ ด้านพฤติกรรมผู้เรียน การขาดความรับผิดชอบและระเบียบวินัยของนักเรียน โดย พบพฤติกรรมดังกล่าวเช่น ไม่ส่งงานท่ีได้รับมอบหมายตามเวลาที่กําหนด ไม่เข้าชั้นเรียนแบบออนไลน์โดยไม่ ทราบ สาเหตุ ลอกงานจากเพื่อนแม้ว่าตนจะได้รับมอบหมายหัวข้อและประเด็นที่แตกต่างจากเพ่ือน โดย ปัญหาที่พบจาก นักเรียนกลุ่มน้ีพบเป็นส่วนน้อย ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการตักเตือนและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความ ตระหนักในการเรยี นเพมิ่ ขึ้น นอกจากน้ันปัญหาอ่ืน ๆ ก็ยังมีปัญหาทางด้านการเงินของนักเรียนและการบริหารจัดการเวลากับ การบ้านหลายวิชาของนักเรียนอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ แต่ ครูและนักเรียนก็ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น ครูให้ใบความรู้และใบงานแก่นักเรียนไปแล้ว ล่วงหน้า และนักเรียนที่มีปัญหาในเร่ืองความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนแบบออนไลน์นั้นเป็นจํานวนน้อย ครูผสู้ อนจึงได้ทาํ การทบทวนและสอนเสรมิ ใหก้ ับนักเรียนกลุ่มดังกลา่ วซ้าอกี ครง้ั หลงั จากเปิดเรยี นเป็นปกติ 5. อภปิ รายผล การวิจัยเร่ือง สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ผ้วู ิจัยได้ทาํ การอภิปรายผล ดงั นี้ 1. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ท่ี 1 พบว่า จากการศึกษาแอพลิเคชันที่ครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์พบว่าครูผู้สอนมี ความสามารถ และนิยมใช้แอพพลิเคชันท่ีเป็นส่ือสังคมออนไลน์และแชทแอพลิเคชันมากกว่าแพลตฟอร์มการเรียนการสอน ออนไลน์แบบอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Marek, Chew, & Wu (2021, p.97) ที่ได้ศึกษาเรื่อง ประสบการณ์ของครูในการจัดการเรียนรู้ทางไกลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าครูและนักเรียนใช้แชทแอพลิเคชัน เช่น Messenger Line และ Whatsapp เพราะชว่ ยใหค้ รูและนกั เรยี นมีปฏิสมั พนั ธ์กันมากขนึ้ และชว่ ยลดช่องวา่ งระหวา่ งครูกบั นักเรยี นอีกด้วย 2. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนท่ีเร่งด่วนและเกิดข้ึน อย่าง รวดเร็ว ปัญหาและอุปสรรคท่ีครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียนวิทยาลัยชุมชน สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว คือ ด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมท่ีใช้สําหรับการ เรยี นแบบ ออนไลนม์ มี ากที่สุด ปญั หาทางดา้ นการเงนิ ปัญหาทางดา้ นพฤตกิ รรมผู้เรยี น เชน่ การบรหิ ารจดั การ เวลาของนักเรียนและความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียน นอกจากนั้นปัญหาครอบครัวทําให้นักเรียน บางส่วนต้อง ทํางานเพ่ือแบ่งเบาภาระครอบครัวขณะอยู่ท่ีบ้านซ่ึงสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Lassoued, Alhendawi, & Bashitialshaaer (2020, p.7) ที่ได้สํารวจอุปสรรคท่ีมีต่อจัดการเรียนรู้ทางไกลให้บรรลุผล ในช่วงสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เช่น ปัญหาด้านกระบวนการ จัดการเรียนรู้ ปัญหาทางด้านเทคนิค ปัญหาด้านการเงินและปัญหาด้านการ จัดการ อีกทั้งปัญหาที่พบมากที่สุดใน การจัดการเรียนรู้ทางไกลคือ สัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และแอพลิเคชันต่าง ๆ ไม่มี ประสิทธิภาพและไม่เพียงพอและ Marek, Chew, & Wu (2021, p.97) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ของ ครูในการจัดการเรียนรู้ทางไกลในช่วงสถานการณ์การแพร่ รายงานการวิจัยในชนั้ เรียน ภาคเรียนที่ 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบญั ชี วิทยาลัยชมุ ชนสระแกว้

หน้า 7 ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศอินโดนีเซียพบปัญหาการเรียนแบบ ออนไลน์คือสัญญาณอินเทอร์เน็ตท่ีไม่เสถียร นอกจากน้ีในประเทศไทยเอง วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสาน ตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ (2564, หน้า 209-210) ได้ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนรู้ ในช่วงการระบาดของเช้ือไวรัสโควิด 19 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1 พบว่า ครูได้ประสบกับปัญหาด้านอุปกรณ์การสอน เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต และค่มู อื การสอนสําหรบั การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ดังน้ันส่ิงที่ควรพัฒนาและปรับปรุงเป็นลําดับต้น ๆ เมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ในครั้งต่อไปนั่น คือ การจัดเตรียมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับการเรียนการสอนออนไลน์และการพัฒนาระบบเครือข่าย สญั ญาณอนิ เทอร์เน็ตทีร่ วดเรว็ และท่วั ถงึ เพอ่ื นาํ ไปพัฒนาปรับปรงุ รูปแบบการจัดการเรยี นร้อู อนไลน์ ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้การ จัดการเรยี นรู้แบบออนไลน์กับการจัดการเรียนรแู้ บบปกติ 2. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ การ แพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3. ในกรณีที่เป็นภาคปฏิบัติ นักเรียนไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ครูอาจจะ สอดแทรกหรือปรับเปล่ียนเน้ือหาเป็นทักษะอื่น เพื่อให้เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบันซ่ึงข้อจํากัด สําหรับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัตินั้น ห้องเรียนแบบปกติยังจําเป็นอย่างยิ่ง Nadeak (2020, p.1769) ได้ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนรู้ทางไกลไว้และเสนอความ คิดเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ภาคทฤษฎีสามารถดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่การจัดการเรียนรู้ ภาคปฏิบัติและการ ต้องออกนอกพ้ืนที่นั้นไม่สามารถดําเนินการได้และไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เท่าทค่ี วร เอกสารอ้างองิ กาญจนา บุญภักดิ์. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). การจดั การเรียนรู้ ยคุ New Normal. วารสารครุศาสตร์ อตุ สาหกรรม, 19(2), 1-6. ธานี สขุ โชโต และวรกฤต เถอ่ื นช้าง. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). การดแู ลช่วยเหลอื นกั เรยี นและการ จัดการ เรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143- 154. บุญทิพย์ สิริธรังศร.ี (2563, กรกฎาคม). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอน และ สนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1-17. วธิ ดิ า พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพทุ ธรนิ ทร์. (2564, พฤษภาคม-มิถุนายน). สภาพปัจจบุ ัน ปญั หาและแนวทางแกป้ ญั หาการจดั การเรยี นร้ใู นช่วงการแพรร่ ะบาดของเช้ือไวรสั โควิด-19 ของ โรงเรียนในสงั กัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานครพนม เขต 1. วารสารรชั ตภ์ าคย์, 15(40), 200- 213 รายงานการวจิ ยั ในชั้นเรียน ภาคเรยี นที่ 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบัญชี วทิ ยาลัยชุมชนสระแก้ว

หน้า 8 ศูนย์เฉพาะกิจการจดั การศกึ ษาทางไกลในสถานการณ์โรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) สํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน. (2563). แนวทางการจดั การเรียนการสอน ของ โรงเรยี นสังกดั สํานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชอ้ื ไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ปกี ารศกึ ษา 2563. สืบค้น มกราคม 22, 2564 จาก https://covid19.obec.go.th/. สุรชยั โชคครรชติ ไชย. (2563, กันยายน-ธนั วาคม). โควดิ -19: การระบาดระลอกใหม่ ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสารสมาคมเวชศาสตรป์ ้องกนั แห่งประเทศไทย, 10(3), ง-จ. รายงานการวจิ ยั ในชัน้ เรยี น ภาคเรยี นท่ี 1/2564 โดย: นายกฤษฐนชนม์ หาระไชย สาขาการบัญชี วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook