Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book การดูแลสุขภาพ

E-Book การดูแลสุขภาพ

Published by papichaya.lua, 2021-12-26 19:10:11

Description: E-Book การดูแลสุขภาพ

Search

Read the Text Version

การดูแลสุขภาพ เบื่องต้น จัด ทำ โ ด ย น . ส . ป พิ ช ญ า เ ห ลื อ ง อ รุ ณ เ ลิ ศ ม . 6 / 6 เ ล ข ที่ 1 5

สารบัญ หน้า วิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้น 1-13 การออกกำลังกายตามวัย 4-7 การรับประทานอาหารให้ 8-11 เหมาะสมตามวัย 14-20 วิธีการดูแลสุขภาพจิต

วิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้นใน ชีวิตประจำวัน 1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นการดูแลสุขภาพที่เหมือนจะทำได้ง่าย แต่ ความเป็นจริงสำหรับบางคนทำได้ยากเชียวล่ะด้วย เงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงยังไงควรจะนอน หลับให้ได้ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน หากพักผ่อน น้อยติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเป็นต้นเหตุก่อให้ เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ อีกทั้งยังส่งผลให้สมรรถภาพในการใช้ชีวิต ประจำวันลดลงด้วย

2. ดื่มน้ำเยอะ ๆ ให้ได้วันละ 8 แก้ว ควรเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม น้ำหวาน ต่างๆ อีกทั้งน้ำเปล่าถือว่าเป็นน้ำที่ดีต่อสุขภาพ มากที่สุด เพราะช่วยในการทำหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ขับสารพิษออกจากร่างกาย และยังเป็นวิธีดูแล สุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ควรค่อย ๆ จิบระหว่างวันดี กว่าดื่มเยอะ ๆ รวดเดียว เพราะอาจจะทำให้ ร่างกายรับน้ำมากเกินความจำเป็น สูตรคำนวณว่า ควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอต่อร่างกาย ดังนี้ (น้ำหนักตัว x 2.2 x 30 ) หาร 2 เช่น น้ำหนักตัว 50 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1.7 หมายถึง คุณต้องดื่ม น้ำ 1.7 ลิตรต่อวันหรือประมาณ 8-9 แก้วนั่นเอง

3. ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปที่สาธารณะ การใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปยังที่สาธารณะถือว่า เป็นการรักษาสุขภาพโดยเริ่มที่ตัวเอง นอกจากกันฝุ่น ละอองต่าง ๆ ได้แล้ว ยังกันเชื้อโรคได้อีกด้วย อีกทั้ง ยังมีปัญหาฝุ่น PM 2.5 หากใครมีหน้ากาก N95 ก็ ต้องเอาออกมาใช้กันด้วยล่ะ ถือเป็นการดูแลสุขภาพ เบื้องต้นทีทุกคนจะทำได้ 4. ล้างมือบ่อย ๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งเป็นสิ่ง จำเป็น ทางที่ดีควรพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรือทิช ชู่เปียก เป็นการป้องกันเชื้อไวรัสที่เรามองไม่เห็น แต่ การล้างมือด้วยสบู่ล้างมือนั้นเป็นหนทางการป้องกัน ไวรัสที่ดีที่สุด ควรล้างมือให้ครบ 7 ขั้นตอน รับรอง ว่าสะอาดปลอดภัยแน่นอน หรือว่าหากมีแอลกอฮอล์ ศิริบัญชาก็แบ่งใส่ขวดเล็กพกเอาไว้ติดกระเป๋าก็ได้นะ

5. ออกกำลังกายเป็นประจำ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้น ก็ต้องทำ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 15-30 นาทีก็ เพียงพอแล้วสำหรับคนที่มีเวลาน้อย ไม่ว่าจะเป็นการ วิ่งจ๊อกกิ้งเบา ๆ เต้นแอโรบิก หรือทำงานบ้านก็ ถือว่าเป็นการออกกำลังกายเหมือนกัน การออกกำลังกายตามวัย วัยเด็ก อายุ 7-12 ปี เด็กๆ ไม่ควรออกกำลังกายแบบหนักๆ นานๆ หลายๆ ชั่วโมงติดต่อกัน เพราะร่างกายยังเจริญเติบโต ได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งไม่เหมาะกับการออกกำลังกายแบบ ปะทะ ร่างกายต้องการพักผ่อนมาก ชอบการอยู่รวม เป็นกลุ่ม เล่นกับเพื่อนหลายๆคน กีฬาที่เหมาะ ควรให้ทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ เน้น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ฝึกใช้ความสัมพันธ์ของมือ สายตา เท้า และได้เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง กายบริหาร เกมเบ็ดเตล็ด ปีนป่าย ว่ายน้ำ ยืดหยุ่น เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ปะทะกันรุนแรง เพราะอาจ ทำให้กระดูกแตกหักได้ และไม่ควรให้เด็กเล่นหรือออก กำลังกายมากเกินไป

วัยรุ่น อายุ 13-25 ปี ร่างกายเด็กกำลังเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดย เด็กผู้หญิงจะมีพัฒนาการทางกายมากกว่าเด็กผู้ชาย ในระยะเริ่มต้น แต่ในช่วงปลายเด็กผู้ชายจะเจริญ เติบโต มากกว่าด้านจิตใจ เด็กวัยนี้จะเริ่มจับกลุ่มโดย แยกหญิง-ชาย วัยนี้สามารถเล่นกีฬาได้ทุกรูปแบบ แต่เลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกายที่ไม่มีผลต่อโรค ประจำตัว หรือสามารถเลือกเข้าฟิตเนสก็ได้ เพื่อ เป็นการเสริมสร้าง กล้ามเนื้อและความแข็งแรงให้ทุก ส่วนของร่างกาย โดยในฟิตเนสนั้นก็มีอุปกรณ์ให้ เลือกเล่นตามความเหมาะสมของร่างการหลากหลาย กีฬาที่เหมาะ เน้นความคล่องแคล่ว ว่องไว หรือฝึกให้ ใช้ทักษะเฉพาะอย่าง เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน ข้อควรระวัง ผู้ปกครองควรสอนให้เด็กเข้าใจ ว่า ร่างกายยังมีความอดทนจำกัด ถ้าเหนื่อยควรหยุดพัก ก่อน และหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะกันรุนแรง เช่น กีฬาชกมวย

วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-50 ปี วัยนี้ร่างกายจะเริ่มอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด แนะนำให้เล่นกีฬาที่เน้นความเพลิดเพลิน เล่นได้ สม่ำเสมอ โดยข้อควรระวังคือ ก่อนออกกำลังกายทุก ครั้งต้องมีการวอร์ม กล้ามเนื้อก่อนไม่ว่าจะออกกำลังกายแบบหนักหรือแบบ เบา เพิ่มให้ร่างกายเกิดการยืดหยุ่น เพื่อให้ออกกำลัง เกิดประโยชน์และเข้าที่มากที่สุด กีฬาที่เหมาะ ควรเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวที่ช้า เน้น ความเพลิดเพลิน ความสบายใจ และปฏิบัติได้อย่าง สม่ำเสมอ เช่น จ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ปั่ นจักรยาน กายบริหาร ต่าง ๆ ข้อควรระวัง โรคข้อต่าง ๆ และการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เพราะความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลง ดังนั้นก่อนเริ่ม ออกกำลังกายทุกครั้ง แม้ว่าจะออกกำลังเพียงเบา ๆ ก็ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อหรือวอร์มอัพร่างกายเสมอ

วัยสูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เหมาะกับกิจกรรมที่ใช้ร่างกายในเคลื่อนไหวได้ ง่าย ดูราบรื่น และผ่อนคลายแบบสบายๆ ไม่มีการ เปลี่ยนจังหวะกะทันหัน เช่น ไทเก๊ก โยคะ ชี่กง ลีลาศ และ ไม่ควรออกกำลังกายนานเกินไปควร กำหนดระยะเวลาออกกำลังการให้เหมาะสมกับร่าง การที่เรารับไหว กีฬาที่เหมาะ ควรเป็นกิจกรรมเบา ๆ ไม่มีการปะทะ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างราบรื่น ไม่มีเปลี่ยนจังหวะ หรือทิศทางกะทันหัน เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่ นจักรยาน ไทเก็ก โยคะ พีลาทิส เต้นแอโรบิกแบบแรง กระแทกต่ำ( low impact) เป็นต้น ข้อควรระวัง โรคประจำตัวต่าง ๆ รวมถึงความ หนักและระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ไม่ควรหนักหรือ นานเกินไป

6. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรุงสุก แน่นอนว่าการรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เหมือนคำขวัญที่ ว่า กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ควรทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ ๆ และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานผักผลไม้เป็น ประจำ เพราะจะช่วยเข้าไปบำรุงรักษาร่างกายถึง ภายใน ต้องท่องเอาไว้ว่า You are what you eat กินอะไรก็ได้แบบนั้น การรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัย วัยทารก แรกเกิด – 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับ วัยนี้ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ทารกต้องการ อย่างครบถ้วน แต่ถ้าอายุครบ 6 เดือน เข้าสู้ช่วง หย่านม อาจเริ่มให้อาหารบดทีละชนิดเพื่อให้รู้จักการ บดเคี้ยว ติดตามดูอาการแพ้ของอาหารชนิดต่างๆ ไม่ ควรเติมเกลือ น้ำตาลและสารปรุงรสเพื่อไม่ให้เด็กติด หวานและเค็ม สามารถให้นมแม่หรือนมผงสำหรับเด็ก ทารกไปพร้อมกับการให้อาหารอื่นๆได้

วัยเด็ก เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 1-5 ปี ยังไม่สามารถรับ ประทานอาหารได้เยอะมากนัก ควรป้อนอาหารเป็นมื้อ เล็กๆ และของว่างที่มีประโยชน์ ฝึกให้เด็กกินผักโดย อาจจะหั่นเป็นชิ้นเล็กสอดแทรกลงไปในอาหารให้มีสีสัน สวยงาม น่ารับประทาน ฝึกให้เด็กหยิบจับอาหารด้วย ตัวเอง เด็กวัยเรียน อายุ 6 – 12 ปี ควรให้ความสำคัญกับ อาหารเช้า รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วัยนี้มักจะ เลือกอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายที่มีขายอยู่ทั้งในและนอก โรงเรียน หรือใกล้ที่พักอาศัย ควรมีการให้ความรู้ทาง โภชนาการและปลูกฝังพฤติกรรมทการบริโภคอาหารที่ เหมาะสม ควรให้เด็กได้บริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อให้ได้ รับโปรตีนและแคลเซียม นำไปใช้ในการเจริญเติบโต ของร่างกาย เสริมสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งนมที่เหมาะ สมสำหรับเด็ก คือ นมครบส่วน หรือนมไขมันเต็ม เพราะให้พลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของ ร่างกาย แต่ควรเป็นนมรสจืดที่ไม่ปรุงรส

วัยรุ่น วัยนี้สามารถรับประทานอาหารได้มาก เพราะมี การเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็ว ต้องการ อาหารที่มีพลังงานสูงแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบ ถ้วน วัยรุ่นมักจะให้ความสำคัญกับรูปร่างและสัดส่วน ของร่างกายซึ่งไม่ควรใช้วิธีการอดอาหารเพื่อลดน้ำ หนัก แต่ควรใช้วิธีการรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วัยผู้ใหญ่ อาหารสำคัญของคนวัยนี้ควรเลือกอาหารที่มี เส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ข้าว/แป้งที่ไม่ผ่าน กระบวนการขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลต์วีต และธัญพืชต่างๆ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนพอ ประมาณ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วต่างๆ สิ่งสำคัญ ที่สุด คือ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่่เหมาะสม กับส่วนสูงของตนเอง

ผู้สูงอายุ วัยนี้จะมีการเสื่อมถอยของร่างกาย ดังนั้นควร รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและให้คุณค่าทาง โภชนาการสูง เลือกโปรตีนคุณภาพดีจากไข่ ปลาและ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เสริมสร้างกระดูกด้วยนมและ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ เต้าหู้แข็ง และผักใบสีเขียวเข้ม

7. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด การไปสถานที่แออัดจะง่ายต่อการติดต่อหรือแพร่ เชื้อโรคได้ง่ายมาก ๆ เพราะเราไม่รู้เลยว่าแต่ละคนป่วย หรือมีโรคประจำตัวอะไรอยู่บ้าง บางคนไอจามแบบไม่ ปิดปาก เชื้อไวรัส เชื้อโรคที่เรามองไม่เห็นอาจจะมาเข้า ตัวเราได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไปตามที่แออัด หรือถ้า หลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 8. ทานอาหารเสริม ข้อนี้แล้วแต่ละคนเลย อาจเป็นทางเลือกอีกทาง หนึ่งในการดูแลสุขภาพ อาจจะทานอาหารเสริมพวกวิ ตามินบี วิตามินซี จะช่วยเข้าไปซ่อมแซมและบำรุง ภายในร่างกายของเรา แต่จะหวังให้ร่างกายแข็งแรง เพราะทานอาหารเสริมเหล่านี้คงไม่ได้ หากไม่นอนหลับ ให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำให้เพียง พอในแต่ละวัน

9. งดดื่มสุรา ของมึนเมา บุหรี่ ของมึนเมาต่าง ๆ อย่างสุรา เหล้าเบียร์ ไม่ควร ดื่ม การสูบบุหรี่ก็เช่นกันควรเลิกอย่างเด็ดขาด หาก คิดที่จะมีสุขภาพที่ดี สิ่งของมึนเมาเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้ เกิดผลดีต่อร่างกายเลย แถมยังมีโรคร้ายต่างๆ มา เป็นตัวแถมอีกด้วย 10. ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ เป็นการยืนยันว่าการดูแลสุขภาพของเรานั้นได้ ผลจริง โดยการไปตรวจสุขภาพประจำปี จะได้รู้ผลอ ย่างแน่ชัดกันไปเลย ว่าวิธีดูแลสุขภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวไปช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงจริง ๆ หากเกิดโรคใด ๆ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที หรือใครที่ อยากจะซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วหรือ เทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่บ้านเพื่อเชคร่างกายเบื้องต้นก็ทำได้ และนี่คือการรักษาสุขภาพ วิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้น ที่ ทุกคนสามารถทำได้ และการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้เราจะต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น สุขภาพร่างกายแข็งแรงเริ่มได้ง่ายๆ ที่ตัวคุณ

วิธีการดูแลสุขภาพจิตให้ แข็งแรง การดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญ มากๆ เนื่องจาก สุขภาพจิตมีผลต่อ ความรู้สึก ความคิดและการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นกับเรา หากเรามีสุขภาพจิตที่ดีเราก็จะสามาร จัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ เป็นอย่างดี เราสามารถที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้ อย่างมีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบ ตัวของเรา 1. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง มีผลการศึกษามากมาย ชี้ให้เห็นว่า ความเหงา เป็นตัวแปรหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของปัญหาสุขภาพ จิต มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราต้องการการยอมรับ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว ดังนั้น การ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัวจึงเป็นสิ่งที่ จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันที่เราประสบปัญหา ชีวิต การมีคนที่เราไว้ใจ เช่น เพื่อนสนิท หรือคนใน ครอบครัว คอยอยู่ข้างๆ และให้กำลังใจ

จะช่วยทำให้เราผ่านปัญหา และช่วงเวลาที่ยากลำบาก นั้นไปได้ง่ายขึ้น การบอกถึงความรู้สึกของเรา การ ขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่การแสดงความอ่อนแอใดๆ แต่เป็นการแสดงความเข้มแข็ง ในการยอมรับและ ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเอง เมื่อเรายอมรับและอยู่ กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น จะช่วยให้เราผ่านช่วงเวลาของ การเศร้าเสียใจได้เร็วขึ้น 2. ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย มีส่วนช่วยรักษาและพัฒนา สุขภาพจิต เป็นอย่างมาก นอกจากการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรงแล้ว ยังช่วยทำให้ เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น ในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่ง ความสุข ช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้น ดังนั้นการแบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อ สุขภาพกายและใจของเราเอง

3. พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง การมีเป้าหมายในชีวิต หรือ การใช้ชีวิตแบบ มีจุดมุ่งหมาย เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เรามีความสุข อย่างแท้จริง มนุษย์ทุกคนต้องการการเติบโต การมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราต้องการอะไร อยาก ทำอะไรและลงมือทำ เมื่อเราได้เห็นพัฒนาการของ ตัวเอง สัมผัสถึงความสำเร็จเมื่อเราบรรลุเป้าหมาย นั้นๆ จะช่วยทำให้เรามีชีวิตที่มีความหมายมากขึ้น และที่สำคัญ เป็นความสุขอย่างแท้จริง ที่ยั่งยืนใน การมีชีวิต

4. รู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ ในชีวิต บ่อยครั้งที่เราไม่มีความสุขกับชีวิต เครียด เศร้าใจ เพราะเราโฟกัสในสิ่งที่ขาด สิ่งที่เรายังไม่มี ปัญหาของเรา โดยลืมคิดไปว่า ในชีวิตนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ และสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย ที่มันดีงาม และ เราสามารถ สร้างประโยชน์ได้ การรู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัวในแต่ละวัน แม้จะ เป็นเรื่องเล็กๆ จะทำให้เราฝึกมองโลกในแง่ดี มองเห็น สิ่งที่มี และพร้อมที่จะลงมือทำ และสร้างชีวิตของตัว เองให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถรู้สึกขอบคุณ ในวันที่ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วมีร่างกายที่แข็งแรง อย่าลืมว่า ในโลกใบนี้ มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถตื่นขึ้นมา ทำในสิ่งที่เรากำลังจะทำได้ เพราะเขากำลังป่วย การมี สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก็เป็นเรื่องที่น่าขอบคุณ อย่างยิ่งแล้วในชีวิต

5. ตรวจสอบตัวเอง การตรวจสอบตัวเองว่าเรายังรู้สึกโอเคอยู่ไหม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้ จะช่วยให้เรารู้เท่าทันว่าเรา กำลังสุขภาพจิตที่ดีอยู่หรือไม่ ฉันยังสนใจในเรื่องที่ฉันเคยสนใจอยู่หรือไม่? ฉันรู้สึกไม่สบายใจ โกรธ หรือเศร้ามากกว่าปกติ หรือไม่? ฉันดื่มแอลกอฮอร์มากกว่าที่เคยดื่มหรือเปล่า? ฉันมีปัญหาในการนอนหรือไม่ ฉันนอนหลับ สนิทหรือไม่ในแต่ละคืน? ฉันมีปัญหาเรื่องการกินหรือไม่ ไม่ค่อยอยาก ทานอาหาร หรือทานอาหารมากเกินไปหรือไม่? ฉันรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงกว่าปกติหรือไม่? คนรอบตัวบอกว่าฉันมีภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน หรือไม่? หากคุณมีปัญหาข้อหนึ่งข้อใดในคำถามข้างต้น แสดงว่าคุณกำลังมีภาวะปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่ ควรหันมาสนใจที่จะแก้ไข

6. ฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิ จะช่วยทำให้เราจดจ่อกับปัจจุบัน ขณะ เพราะภาวะความเครียดและวิตกกังวล เกิดจาก ความคิดของเรา ที่เราส่งใจไปคิดถึงอดีต หรือ อนาคต และปรุงแต่งเหตุการณ์ต่างๆ ด้วย จินตนาการของเรา การฝึกสมาธิ จะช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน และ ทำปัจจุบันให้ดี ช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากการมากระทบของปัจจัยภายนอก เมื่อเรารู้เท่า ทันอารมณ์ เราก็เลือกที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่เกิดปัญหาตามมาใน อนาคต 7. นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เป็น เรื่องที่สำคัญ​ที่จะช่วยให้เราได้พักผ่อน และมีแรง เพื่อทำงาน และจัดการกับชีวิตในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับไม่เพียงพอต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะมีผลต่อสุขภาพกายของเรา และอาจทำให้เกิด ภาวะซึมเศร้าได้ด้วยเช่นกัน

8. ดูแลตัวเอง การรักตัวเองและหมั่นดูแลตัวเอง เป็นเรื่อง สำคัญที่เราไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาบังคับหรือทำให้ เราควรแบ่งเวลาในการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลรูปร่างของเราโดย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียง พอ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ เช่น หางานอดิเรก ที่เราชอบทำ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น 9. อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่า เรากำลังมีปัญหาด้าน สุขภาพจิต นอกจากจะขอความช่วยเหลือจากคนที่เรา รักและไว้ใจ การขอความช่วยเหลือหรือพูดคุยกับผู้ เชี่ยวชาญ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการดูแลรักษาจิตใจตัว เอง ซึ่งก็เหมือนกับเวลาที่เราเจ็บป่วยและไปหาหมอ เช่นกัน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook