Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Teen Eco-Creator คิดสร้างสรรค์ พิชิตปัญหาสิ่งแวดล้อม

Teen Eco-Creator คิดสร้างสรรค์ พิชิตปัญหาสิ่งแวดล้อม

Published by p, 2021-12-08 13:42:08

Description: DisTRASHguish ถังขยะรักษ์โลก

Search

Read the Text Version

Teen Eco - Creator คิดสร้างสรรค์ พิชิตปัญหาสิ่งแวดล้อม (การออกแบบการเรียนรู้ บูรณาการวิชาการ รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้) DisTRASHguish ถังขยะรักษ์โลก

กลุ่ม DisTRASHguish (ถังขยะรักษ์โลก) จัดทำโดย 1. นางสาววิภาศิรี อมรรัตนกิจ ม. 5/2 เลขที่ 8 2. นางสาวปวีณ์นุช สร้อยแสงจันทร์ ม. 5/2 เลขที่ 21 3. นางสาวปุณยนุช ตรีเทพวิจิตร ม. 5/2 เลขที่ 27 4. นางสาวพิมพ์นารา มหาเทพ ม. 5/2 เลขที่ 31 5. นางสาวปริชญา ยันตรปกรณ์ ม. 5/2 เลขที่ 39 6. นางสาวเจณิส ฉัตร์รัตติชัย ม. 5/2 เลขที่ 43

สารบัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1 สาเหตุของปัญหา 2 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการย่อยสลายขยะมูลฝอย (วิชาเคมี) 2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 4 สารบัญกราฟความสัมพันธ์ปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศไทย 5 (วิชาคณิตศาสตร์และวิชาสังคมศึกษา) อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม 6 (วิชาประวัติศาสตร์) 7 นวัตกรรม DisTRASHguish (วิชาศิลปะและวิชาการงานอาชีพ) 12 หลักการทำงานและวิธีการใช้นวัตกรรม (วิชาฟิสิกส์) 17 การนำนวัตกรรมมาใช้ในการแก้ไขปัญหา 17 ผลกระทบต่อมนุษย์ (วิชาชีววิทยา) 18 แนวทางการป้องกันและแก้ไขโรค (วิชาสุขศึกษา) 19 DisTRASHguish vs COVID-19 (วิชาภาษาอังกฤษ) 20 รอบรู้เรื่องโควิด 21 บทสรุปและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม

1 ที่มาและความสำคัญของปั ญหา ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขึ้นทุกปี โดยอ้างอิงจากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยโดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นรวม 25.37 ล้านตัน โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้อง 7.88 ล้านตัน และปริมาณ ขยะมูลฝอยตกค้างถึง 4.25 ล้านตัน ซึ่งปัญหาการทิ้งขยะไม่ถูกที่ยังคง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความ ตระหนักรู้และความเข้าใจในเรื่องของการคัดแยกประเภทขยะก่อนทิ้ง รวมถึงการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางด้าน กายภาพ เช่น เมื่อในถังขยะมีปริมาณขยะสะสมเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็น ปัญหาขยะล้นถัง จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากในการกำจัด ส่งผลให้เกิดกลิ่น เหม็นรบกวน ทัศนียภาพดูไม่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นแหลง รวมสัตวที่เป็นพา หะนําโรค เชน หนู นก แมลงสาบ ซึ่งสามารถนําโรคไปสูคนได และด้าน ปัญหาทางมลพิษ เช่น การเกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะโลก ร้อน การเกิดก๊าซไดออกซิน(Dioxins) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น และอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ คือ การทิ้งขยะไม่ลงถัง ทำให้ขยะเหล่านั้นไปอุดตันท่อระบายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วม ขังได้ง่าย และยังส่งผลให้เกิดมลภาวะทางน้ำ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ รวมไปถึงขยะจำนวนมากที่เล็ดลอดไปตามท่อระบายน้ำ แล้วไหลลงสู่คลองหรือทะเล อาทิ หลอด ถุงพลาสติก อาจกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เนื่องจากคิดว่าพลาสติกเป็นอาหารและกินเข้าไป ทำให้ไม่สามารถย่อยได้จนเกิด การอุดตันของทางเดินอาหาร ซึ่งเสี่ยงต่อชีวิตของสัตว์ทั้งบนบกและในน้ำ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ อีกด้วย ขณะเดียวกันขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลในท้องทะเลที่ย่อยสลายจนผุพังกลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซึมสารพิษที่มีอยู่ในทะเล ดังนั้นยิ่งอยู่ในน้ำทะเลนาน ไมโครพลาสติกจะมีความเป็นพิษเพิ่มสูง ขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ต้นห่วงโซ่อาหารอย่างแพลงตอนในทะเลซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับไมโคร- พลาสติกเข้าไป ส่วนสิ่งมีชีวิตท้ายห่วงโซ่อาหารอย่างมนุษย์อาจได้รับสารพิษตกค้างจากการ รับประทานอาหาร ทะเลเหล่านั้นเข้าไปเช่นกัน และนอกจากปัญหาเกี่ยวกับขยะที่เกิดขึ้นแล้ว ปัญหาการขาดแคลนพลังงานยังเป็น อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ควรเร่งหาแนวทางแก้ไขและร่วมกันรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม แทนการใช้พลังงานสิ้นเปลือง เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

สาเหตุของปั ญหา 2 สาเหตุของปัญหาต่างๆนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ ได้แก่ ปัญหาขยะมูลฝอยและขยะล้นเมือง มีสาเหตุมาจาก 1. ความมักง่ายและขาดจิตสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการ ทิ้งขยะลงตามพื้น หรือแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้และโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่ง ลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งตามที่ว่างเปล่า 2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้ม 3.หลายชั้น และการซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้มีขยะปริมาณมาก 4. การเก็บและทำลายหรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีขยะตกค้างกองหมักหมม และส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ปัญหาการคัดแยกขยะ มีสาเหตุมาจาก 1. การที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี 2. ความมักง่ายและการไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ ปัญหามลพิษจากขยะ มีสาเหตุมาจาก 1. เกิดจากการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบและวิธีการเผาซึ่งก่อให้เกิด ก๊าซที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน 2. เกิดจากการกองขยะบนพื้น เมื่อฝนตกลงมาบนกองขยะ จะเกิดน้ำเสีย ซึ่งมีความสกปรกมากไหลลงสู่แม่น้ำ 3. เกิดจากการกองขยะบนพื้น ทําให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู แมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพาหะนําโรคติดต่อ ทําให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของประชาชน ปั จจัยที่มีผลต่ออัตราการ ย่อยสลายขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษจากขยะ มีสาเหตุหนึ่งมาจากการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบขยะมูลฝอย โดยการฝัง กลบขยะมูลฝอยจะทำให้ขยะอินทรีย์ ได้แก่ ไม้ กระดาษ อาหาร สิ่งทอ กิ่งไม้/ใบไม้ เกิดการย่อยสลายแบบ ไร้อากาศ (anaerobic decomposition) ทำให้องค์ประกอบประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันใน ขยะอินทรีย์ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายกลายเป็นกรดอะมิโน น้ำตาลและกรดไขมัน และถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซ ไฮโดรเจน แอมโมเนีย และกรดระเหยง่าย จนกลายเป็นก๊าซชีวภาพ(biogas) ในท้ายที่สุด โดยก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วยก๊าซมีเทนประมาณร้อยละ 60 ที่เหลือเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอาจเกิดก๊าซไนตรัส ออกไซด์ร่วมด้วยแต่เกิดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก๊าซเหล่านี้ล้วนเป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลต่อการเกิด ภาวะโลกร้อน และจากการศึกษาเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ทราบว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้น เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการ ย่อยสลาย คือ ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ โดยถ้าหากมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในขยะมาก จะส่ง ผลทำให้อัตราการย่อยสลายเกิดได้เร็วมากขึ้นนั่นเอง

3 รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอย ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยใน ชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 แสดงให้เห็นถึง อัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 1.03 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี พ.ศ. 2551 เป็น 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำจัดขยะ มูลฝอยแบบถูกต้องได้เพียง 9.57 ล้านตันจาก ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน โดยวิธี การจัดการหลักที่ใช้ ได้แก่ การฝังกลบ การหมักทำ ปุ๋ย การเผาในเตาเผา และวิธีอื่น ๆ เท่ากับ 7.82 0.50 0.70 และ 0.55 ล้านตัน ตามลำดับ สําหรับปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกเก็บขนนําไปกําจัด จํานวน 15.76 ล้านตัน จะถูกกําจัด ณ สถานที่กําจัด ขยะมูลฝอยทั้งแบบถูกต้องและไม่ถูกต้อง จํานวน 2,810 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย สถานที่กําจัดขยะ มูลฝอยแบบถูกต้อง ได้แก่ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การกําจัดขยะมูลฝอย แบบการฝังกลบเชิงวิศวกรรม (Engineer Landfill) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดไม่เกิน 50 ตัน/วัน เตาเผาที่มีระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ การแปรรูปเพื่อผลิตพลังงาน (WTE) การ หมักทําปุ๋ย (Compost) การบําบัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) และการกําจัดแบบผสมผสาน จํานวน 330 แห่ง และสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง ได้แก่ การกําจัดขยะมูลฝอยแบบเทกอง (Open Dump) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดมากกว่า 50 ตัน/วัน การเผากําจัดกลาง แจ้ง (Open Burning) หรือการกําจัดโดยใช้เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ จํานวน 2,480 แห่ง และจากข้อมูลการสํารวจสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีจํานวนสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดํา เนินการทั้งหมด 2,810 แห่ง และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยจํา นวน 14 แห่ง โดยพบว่าสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนิน การอย่างถูกต้องมีจํานวนลดลง เนื่องจากสถานที่ฝังกลบ ขยะมูลฝอยแบบเทกองควบคุมขนาดน้อยกว่า 50 ตันต่อวัน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานจากการเทกองแบบมี การควบคุม (Control Dump) กลับเป็นการกําจัดแบบเท กองแทน เนื่องจากท้องถิ่นประสบปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหางบประมาณการจัดหาดินฝังกลบ และขาดแคลนเจ้า พนักงานผู้ดูแล เป็นต้น รวมทั้งมีสถานที่กําจัดขยะมูลฝอย บางแห่งปิดดําเนินการไป จึงส่งผลให้จํานวนสถานที่กําจัด ขยะมูลฝอยที่ดําเนินการอย่างถูกต้องมีจํานวนลดลง

กราฟความสัมพันธ์ 4 ปั ญหาขยะมูลฝอยในประเทศไทย จากข้อมูลและกราฟพบว่า เมื่อเทียบกับจำนวนขยะมูลฝอยตลอดระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปีล่าสุด จะเห็นว่าขยะในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุที่ทำให้ขยะมีปริมาณมากขึ้น ► จำนวนประชากรมากขึ้น ทำให้มีจำนวนขยะเพิ่มขึ้นด้วย ► กำจัดขยะผิดวิธี เช่น ทิ้งขยะไม่ลงถัง นำขยะไปเผากลางแจ้ง ทิ้งขยะลงสู่ทะเล-แม่น้ำ- ลำคลอง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา แนวทางการแก้ไขปั ญหา ► การลดและการใช้ซ้ำ เช่น การนำถุงผ้ากลับมาใช้แทนการใช้ถุงพลาสติก นำแก้วน้ำส่วนตัวไป ซื้อเครื่องดื่มแทนแก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง หรือการนำของเก่าไปบริจาคให้กับผู้ที่ต้องการ เป็นต้น ► การนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ เช่น การประดิษฐ์ของใช้ภายในบ้านจากเศษวัสดุ ต่างๆ รวมไปถึงการนำเศษอาหาร ผัก เปลือกผลไม้ ไปทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับบำรุงดินอีกด้วย ► การฝังกลบ แม้จะกำจัดขยะได้ทุกประเภท แต่ก็มีข้อจำกัดหลายๆด้าน ไม่สามารถทำได้ในหลาย พื้นที่ และถ้าหากฝังกลบไม่ถูกต้องก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน มีน้ำ ขยะปนเปื้อนกับดินและแหล่งน้ำ

5 1.อนุสัญญาบาเซล เป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องของการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดซึ่งของเสียอันตรายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งถือกำเนิดขึ้นและมีผลบังคับใช้กับประเทศต่างๆ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยในปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมลงนามแล้ว 53 ประเทศและมี ประเทศภาคีสมาชิก รวมทั้งสิ้น 189 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็น ภาคีสมาชิกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดย การควบคุมตามอนุสัญญาบาเซล จะเริ่มตั้งแต่ก่อนการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านของเสียอันตรายไปยังประเทศ อื่น จะต้องแจ้งรายละเอียดและขออนุญาตตามขั้นตอนจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศนั้นๆ การขนส่งต้อง บรรจุหีบห่อและต้องติดป้ายด้วยวิธีการตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งทำประกันภัยและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีเกิดการรั่วไหลปนเปื้อน โดยต้องนำกลับประเทศผู้ส่งออกภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ขอบเขตของอนุสัญญาบา- เซลครอบคลุมของเสียประเภทต่างๆ ตามที่ได้รับการนิยามว่าเป็น \"ของเสียอันตราย\" โดยพิจารณาจากแหล่ง กำเนิดและ/หรือองค์ประกอบและคุณลักษณะรวมทั้งของเสียที่ได้รับการนิยามว่าเป็น “ของเสียอื่น” (ของเสียจาก บ้านเรือนและเถ้าจากเตาเผาของของเสียนั้น) โดยอนุสัญญาบาเซลมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการเกิดของเสียอันตราย และส่งเสริมการจัดการของเสียอันตรายอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณสารพิษที่เกิดจากของเสียหรือ ขยะ รวมถึงการปกป้องสุขภาพของมนุษย์จากผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากของเสียอันตราย เพื่อให้เกิดความ ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอีกด้วย 2.อนุสัญญาสตอกโฮล์ม เป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานหรือที่เรียกว่าสาร POPs ถือกำเนิดขึ้นและมีผล บังคับใช้กับประเทศต่างๆ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) โดยมีประเทศที่ให้สัตยาบันรวมทั้งสิ้น 185 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 การควบคุมตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม คือ การลดและเลิกผลิต รวมถึงการใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้าง ยาวนาน ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายได้ยาก ตกค้างยาวนาน มีคุณสมบัติเป็นพิษและสะสมในสิ่งมี ชีวิต สามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งควบคุมการดูแลจัดการของเสียและพื้นที่ปนเปื้อนที่เกิดจากสาร POPs อย่างเหมาะสม โดยในปัจจุบันได้มีการกําหนดสาร POPs ไว้รวมทั้งสิ้น 28 ชนิด เช่น สารเคมีป้องกันกําจัด ศัตรูพืชและสัตว์ สารเคมีอุตสาหกรรม และสารที่เกิดขึ้นโดยไม่จงใจจากกระบวนการผลิต โดยอนุสัญญาสตอกโฮล์มมี วัตถุประสงค์หลัก คือ ปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในประเทศจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน มีการควบคุมการนําเข้าและการส่งออกสารมลพิษอย่างเป็นระบบและเข้มงวด ก่อให้เกิดผลดีต่อการบริหารจัดการ สารเคมีอันตรายในประเทศ ทำใหัไม่เกิดการลักลอบนําสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานมาทิ้งในประเทศ

6 นวัตกรรม DISTRASHGUISH ถังขยะรักษ์โลก ฝาเปิ ด-ปิ ดอัตโนมัติ เซลล์แสงอาทิตย์ ภายนอก ถังขยะรีไซเคิล 6 ประเภท เครื่องแยกขยะอัตโนมัติ รางเลื่อน ระบบวิเคราะห์และ ควบคุมการทำงาน ภายใน

7 หลักการทำงาน และวิธีการใช้ นวัตกรรมถังขยะ DisTRASHguish นี้ได้ถูกคิดค้นขึ้นบนพื้นฐานของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ควบคุมการทำงานโดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดย มีกลไกในการเปิด-ปิดฝาถังขยะอัตโนมัติ มีระบบการแยกประเภทขยะรีไซเคิล และระบบแจ้งเตือน ผ่านเว็บไซต์แก่เจ้าหน้าที่เก็บขยะ ซึ่งมีรายละเอียดหลักการทำงานของกลไกต่างๆ ดังนี้ 1.กลไกการเปิ ด-ปิ ด ถังขยะอัตโนมัติ 1.1. ระบบการเปิด-ปิด ถังขยะอัตโนมัติ เป็นระบบภายในถังขยะ โดยมี Photoelectric Sensor เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุโดยใช้ลำแสงในการ ตรวจจับวัตถุทั้งแบบที่มองเห็นและแบบโปร่งใสโดยที่ไม่ต้องมีการสัมผัส มีจุดเด่นในด้านความเร็วในการตรวจจับ มีระยะการตรวจจับไกล และที่ สำคัญไม่ว่าวัตถุใดๆ ก็จะสามารถตรวจจับได้ เป็นตัวจับความเคลื่อนไหว ของคนที่เดินมาทิ้งขยะ 1.2. เซ็นเซอร์อินฟาเรดจะสั่งการไปที่ลิมิตสวิตช์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เปิด/ปิด วงจรไฟฟ้าที่ใช้สำหรับจำกัดระยะทางและตัด/ต่อวงจรการทำงานของ ระบบอัตโนมัติต่างๆ จากนั้นลิมิตสวิตช์จะเป็นตัวควบคุมมอเตอร์ให้ ทำการเปิด-ปิดฝาถังขยะ 2.กลไกการแยกประเภทขยะรีไซเคิล 2.1. เมื่อมีขยะเข้ามาภายในถัง จะมี Proximity Sensors ตรวจจับเพื่อรับรู้ว่ามีขยะเข้ามา ซึ่งเป็น เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ โดยปราศจากการสัมผัส ทำให้ทราบถึงตำแหน่งของวัตถุหรือสามารถระบุได้ ว่ามีวัตถุใดผ่านเข้ามาในตำแหน่งที่กำหนดไว้หรือไม่ ใช้กับงานตรวจจับตำแหน่ง ระดับ ขนาด และ รูปร่าง สามารถแยกการตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ (Inductive) กับอโลหะ (Capactive) ได้ จากนั้น จึงส่งข้อมูลไปประมวลผลที่อุปกรณ์ประมวลผลซึ่งเป็นโปรแกรมที่ออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการแยก ประเภทขยะรีไซเคิล

8 2.2. โปรแกรมซึ่งออกแบบโดยใช้หลักการของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ Data Science จะทำการเก็บ จัดการ คัดแยก และวิเคราะห์ข้อมูลของขยะที่ทิ้งลงมา ประกอบ กับการมี Software รับข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในรูปแบบของรูปภาพ จากนั้นจึงจดจำรูป ลักษณะของขยะต่างๆ เรียนรู้ประเภทของขยะ และจัดเก็บข้อมูลลง Cloud ทำให้เกิดระบบ Machine learning คือการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูลที่เรา ส่งเข้าไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้ ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข หรือ code ที่ส่งต่อไปแสดง ผล ซึ่งเป็นระบบหลักที่ทำหน้าที่ในการเรียนรู้และจดจำประเภทของขยะ จากนั้นจึงใช้ข้อมูล เหล่านั้นวิเคราะห์ประเภทขยะเมื่อมีการทิ้งขยะลงมา ทำให้สามารถแยกประเภทของขยะได้ อย่างถูกต้อง 2.3. ทุกครั้งที่มีผู้มาทิ้งขยะ จะมีระบบ Data base ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่ชัดเจน ใช้ใน การเก็บข้อมูลประเภทของขยะเพื่อเพิ่มฐานข้อมูลของประเภทขยะต่างๆให้มากขึ้น จนมาก พอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำของระบบ Machine learning ในการแยกประเภท ขยะรีไซเคิลนั่นเอง 2.4. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประมวลผลประเภทของขยะรีไซเคิล เครื่องแยกขยะจะมีกลไก เคลื่อนไปตามสายพานเพื่อนำขยะไปปล่อยทิ้งสู่ถังขยะที่แยกประเภทต่างๆด้านล่างต่อไป โดยแบ่งถังขยะรีไซเคิลเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ขยะพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ และกระดาษ 3. ระบบวัดปริมาณขยะและ แจ้งเตือนแก่เจ้าหน้าที่ 3.1. ระบบวัดปริมาณขยะเป็นระบบภายในถังขยะ โดยมี เซ็นเซอร์อินฟราเรดเป็นตัววัดปริมาณวัตถุหรือขยะที่เข้า มาในถังขยะ ถ้ามีปริมาณขยะมากหรือเต็มจะแจ้งเตือน ผ่านเว็บไซต์และแสดงไฟ LED เป็นสีต่างๆ เช่น ถ้าถังขยะ ใบนั้นมีวัตถุหรือขยะเต็ม ไฟ LED ก็จะแสดงผลเป็นสีแดง พร้อมกับการแจ้งเตือนด้วยเสียงของบัซเซอร์ 3.2. ระบบแสดงตำแหน่งของถังขยะเป็นระบบภายในถังขยะ โดยจะมีโมดูล GPS เป็นตัว บอกตำแหน่งของถังขยะผ่านGoogle Map และจะแจ้งเตือนไปยังเว็บไซต์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ รู้ตำแหน่งของถังขยะใบนั้นๆต่อไป

9 การใช้พลังงานทดแทนและพลังงานไฟฟ้ า นวัตกรรมถังขยะ DisTRASHguish นี้ เป็น นวัตกรรมที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า โดยใช้พลังงาน ทดแทนจากดวงอาทิตย์ผ่านเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) ที่ติดอยู่บริเวณด้านบนของถัง ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ที่ดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีของ เสียซึ่งก่อให้เกิดมลพิษขณะใช้งาน โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบประกอบไปด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ชุดแปรง หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ กระแสไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) แบตเตอรี่ที่ใช้สำหรับแผงโซลาร์ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำ เซลล์ (Deep Cycle Battery) ไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและโฮล ซึ่งโครงสร้างรอยต่อพี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจ่าย เอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิด กระแสไฟฟ้าได้สูง อิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้ สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวกส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่ง โดยโครงสร้างของเซลล์ ตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ แสงอาทิตย์ที่นิยมมากที่สุด ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่ง ตัวนำ ซึ่งสารกึ่งตัวนำที่ราคาถูก ที่สุดและมีมากที่สุดบนโลก คือ ซิลิคอน จึงถูกนำมาสร้างเซลล์ แสงอาทิตย์ โดยการนำซิลิคอน มาถลุง และผ่านขั้นตอนการ ทำให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งทำให้ เป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่าน กระบวนการแพร่ซึมสารเจือปน เพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น โดยเมื่อ เติมสารเจือฟอสฟอรัส จะเป็น สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (เพราะนำ ไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุ ลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอน จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วยโฮลซึ่งมี ประจุบวก)

10 หลักการใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์กับระบบ 1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดจะผลิตกระแสไฟฟ้าตรง เก็บเข้าสู่แบตเตอรี่ 2. เมื่อนำแบตเตอรี่ไปใช้งาน กระแสที่ปล่อยออกมาจะเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง จึงต้องอาศัยอินเวอร์ เตอร์ในการแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ แล้วจ่ายเข้าระบบไฟฟ้าภายในเครื่องต่อไป 3. ในช่วงที่ความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ หรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว ระบบก็จะนำกำลังไฟฟ้าส่วนขาดจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบปกติของ การไฟฟ้าฯ มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ การแปลงไฟฟ้ ากระแสตรงเป็ นกระแสสลับ อินเวอร์เตอร์ Inverter ปัจจุบัน อินเวอร์เตอร์แปลงไฟ ได้มีการพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว เเละถูกใช้งานอย่างเเพร่หลาย โดยที่พบเห็น ได้ในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟสำรอง เพื่อแก้ปัญหาไฟเกิน ไฟตกหรือไฟดับ ช่วยป้องกันการเกิด ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่สำรองไว้จะถูก เก็บในแบตเตอรี่ ดังนั้นอินเวอร์เตอร์แปลงไฟจึงถือว่าเป็น สิ่งประดิษฐ์ที่มีความสำคัญอย่างมาก อินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรงที่จะนำมาทำการเปลี่ยนนั้น อาจมาจากแบตเตอรี่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง หรือแผงโซลาร์เซลล์ก็ได้ ไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้มานั้นจะเหมือนกับไฟฟ้าที่ได้จากปลั๊กไฟตามบ้าน โดย อินเวอร์เตอร์ จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสสลับ อินเวอร์เตอร์ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้าจาก แผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ Solar cell ให้เป็น ไฟฟ้ากระแสสลับ ส่งเข้าสายส่งไฟฟ้าแล้วใช้งานได้ ทันที โดยอินเวอร์เตอร์แบบนี้จะต้องใช้แรงดัน อ้างอิงจากไฟฟ้ากระแสสลับของการไฟฟ้า จึงต้อง มีระบบการไฟฟ้าอยู่ก่อนแล้ว อินเวอร์เตอร์ชนิดนี้จะ ผลิตไฟฟ้าที่มีลักษณะเหมือนกับไฟฟ้าของการ ไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์สามารถ รวมเข้าไปกับไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์นั้นเป็นการผลิตและใช้ทันที ไม่ต้องสำรองใน แบตเตอรี่แล้วแปลงออกมาใช้งาน เป็นอินเวอร์เตอร์ที่สามารถใช้งานเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และขายให้กับการไฟฟ้าได้

11 โครงสร้างภายในของอินเวอร์เตอร์ 1.คอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลับจากแหล่งจ่ายไฟ AC ให้ เป็นไฟตรง (DC Voltage) 2.อินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟตรง (DC Voltage) ให้เป็น ไฟสลับ (AC Voltage) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแรงดันและความถี่ได้ 3.วงจรควบคุม (Control Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของชุดคอนเวอร์เตอร์ และชุดอินเวอร์เตอร์ หากกระแสไฟฟ้าดับ ระบบสำรองไฟจะสวิทช์มาใช้ไฟจากแบตเตอรี่โดยทันที หลัง จากนั้นไฟฟ้าซึ่งเป็นกระแสตรง จะเข้าสู่อินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงนั้นให้เป็น ไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่คงที่และถูกต้อง ไฟฟ้ากระแสสลับที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ก็จะ ป้อนสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป โดยไฟกระแสสลับที่ได้ออกมาจะถูกนำไปป้อนกลับเพื่อทำการ เปรียบเทียบกับความถี่อ้างอิงค่าหนึ่ง แล้วนำผลจากการเปรียบเทียบไปควบคุมการกำเนิด ความถี่ของอินเวอร์เตอร์เพื่อให้ได้ไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่คงที่และถูกต้อง ตามที่เครื่อง ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับต้องการ สแควส์อินเวอร์เตอร์ในลักษณะวงจรบริคส์ กระแสผ่าน C1 และ C’1 จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ถังขยะ DisTRASHguish ต้องการ สามารถหาได้จากการทดลองหากระแสไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุด โดยทดสอบแรงดันไฟฟ้า เป็น 2 ส่วน คือ 1.แรงดันไฟฟ้า 5V ซึ่งใช้บอร์ด LM2596Module เป็นตัวแปลงแรงดันไฟไปเลี้ยงวงจรต่างๆ สามารถวัดค่ากระแสไฟได้สูงสุดประมาณ 0.52A และกระแสไฟต่ำสุดประมาณ 0.42A 2.แรงดันไฟฟ้า 12V ซึ่งใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) เป็นตัวแปลงแรงดันไฟฟ้าเพื่อนำ ไปใช้ในส่วนของการทำงานของมอเตอร์ สามารถวัดค่ากระแสไฟได้สูงสุดประมาณ 0.47A และ กระแสไฟต่ำสุดประมาณ 0.39A และจากการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ พบว่า แบตเตอรี่ที่ใช้งานขนาด 12 โวลต์ 5 แอมป์ /ฮาวเออร์ สามารถใช้งานกับถังขยะได้ประมาณ 4 ชั่วโมง

12 ขยะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัญหาที่เกิดจาก ขยะมีมากขึ้นในยุคปัจจุบัน นวัตกรรม DisTRASHguish จึงถูกพัฒนา ขึ้นเพื่อเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาขยะในด้านต่างๆ ดังนี้ การแยกขยะเพื่อช่วยในการจัดการขยะ และนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำเป็นจะต้องนำขยะกลับ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป ผ่านกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งเป็นการ นำของเสียหรือวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปหรือปรับปรุง คุณภาพ เพื่อให้ของเสียกลับมามีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับของ เดิม หรือให้ได้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ แม้ว่าของเสียที่สามารถรีไซเคิล ได้อาจมีไม่ถึง 5% ของของเสียทั้งหมด แต่เมื่อสามารถนำกลับมาใช้ ประโยชน์ โดยไม่ถูกนำไปเผาทำลายหรือฝั่งกลบโดยสูญเปล่าก็สามารถ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ใน ด้านอื่นๆ อีกมากมาย อาทิเช่น ช่วยลดปัญหาในการจัดหาพื้นที่ฝังกลบ และลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้กากของเสีย ช่วยให้การใช้ ทรัพยากรโลกเป็นไปอย่างคุ้มค่า การรีไซเคิลวัสดุต่าง ๆ ทุกชนิด ให้กลายเป็นวัตถุดิบใหม่ จะก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า การนำทรัพยากรธรรมชาติใหม่มาใช้ เพราะมีการขนส่งที่สั้นกว่า ขั้นตอนการแปรรูปที่น้อยกว่า รวมถึงไม่ ก่อให้เกิดขยะ ซึ่งบางส่วนจะก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคต ดังนั้นการรีไซเคิลจึงเทียบเท่ากับเราได้ ลดก๊าซเรือนกระจกไปในตัว การแยกขยะรีไซเคิล จึงถือว่าช่วยทดแทนการปลูกต้นไม้ได้ การแยกขยะยังมีข้อดีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การช่วยลดปริมาณขยะ การแยกขยะจะช่วยเพิ่มการนำกลับมารีไซเคิล ทำให้เราจะเหลือขยะที่ต้องกำจัด น้อยลง ขยะบนโลกก็จะลดลงด้วย ประหยัดงบประมาณในการกำจัดขยะ และนำงบส่วนนี้ไปพัฒนาในด้านอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร โดยของที่สามารถกลับมารีไซเคิลได้จะช่วยเพิ่มรายได้และลด ทรัพยากรโลกในการผลิตใหม่อีกครั้ง รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษในโลก การแยกขยะจะทำให้เรากำจัดขยะได้ถูกวิธีมากขึ้น เป็นการลดมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อม การนำนวัตกรรมมาใช้ ในการแก้ไขปั ญหา

13 การคัดแยกขยะจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งในการจัดการขยะ ซึ่งปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ และไม่มีการคัดแยกประเภทขยะก่อนทิ้ง ส่งผลให้มี ขยะอันตรายปะปนกับขยะเปียกและขยะทั่วไป ทำให้ ยากต่อการคัดแยก และอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะบริเวณที่ทิ้งขยะ อีกทั้งในสังคมไทย ปัจจุบันเกิดปัญหาขยะล้นเมืองซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ ยังแก้ไขได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาด ความเข้าใจเรื่องของการคัดแยกขยะรวมถึงการ กำจัดขยะที่ถูกวิธี โดยหลังจากที่ทิ้งขยะลงไปในถัง แล้ว ประชาชนกลับไม่รู้เลยว่าขยะเหล่านั้นอาจส่ง ผลกระทบต่อผู้อื่นรวมถึงระบบนิเวศได้ ดังนั้นนวัตกรรม DisTRASHguish จึงได้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการในการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ ปลอดภัย ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการทิ้งขยะผิดประเภท และทำให้จัดการกับขยะที่สามารถนำกลับมา รีไซเคิลได้อย่างถูกวิธี ลดเวลาในการคัดแยกขยะของเจ้าหน้าที่ ทำให้การจัดการกับขยะ ประเภทต่างๆ มีความสะดวก รวมถึงทำให้การแยกประเภทขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามนวัตกรรมของเราได้มีการกำหนดเป้าหมายในการคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยเฉพาะ เพื่อสร้างความแม่นยำในการคัดแยก โดยแบ่งขยะรีไซเคิลออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ขยะพลาสติก ,ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ และกระดาษ

14 การเปิ ด-ปิ ดฝาถังขยะได้อัตโนมัติ เพื่อ ช่วยลดการสัมผัสเชื้อโรคบริเวณฝาถังขยะ ช่วยในการแก้ไขปั ญหาการทิ้งขยะไม่ลงถัง ปัญหาการทิ้งขยะไม่ลงถัง ทำให้ขยะเหล่านั้นไปอุดตันท่อ ระบายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ของน้ำ และเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ อีกทั้งยังมีขยะจำนวนมาก ที่สามารถเล็ดลอดตามท่อระบายน้ำ และไหลลงสู่คลองและทะเล อาทิ หลอด ถุงพลาสติก เป็นต้น จนกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลซึ่งส่ง ผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยขยะพลาสติกเมื่อหลุดลอดไปตาม แหล่งน้ำแทนที่จะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี แต่กลับไปย่อยสลายใน ธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากพลาสติกสามารถเสื่อมสภาพ ฉีกขาด และผุพังกลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ขนาดเล็ก เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อน ในแหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร เกิดผลกระทบในด้านของ การบริโภค คือ มีการถ่ายทอดสารพิษตกค้างผ่านทางห่วงโซ่อาหาร นวัตกรรม DisTRASHguish มีกลไกการเปิด-ปิด ฝาถังขยะได้โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดการสัมผัสเชื้อโรค บริเวณฝาถังขยะ ช่วยในการแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะไม่ลง ถัง หรือวางขยะไว้บนฝาถังเนื่องจากไม่กล้าที่จะสัมผัส บริเวณฝาถังเพื่อเปิดถังใส่ขยะ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของ ความสกปรก หรือด้วยสถานการณ์โรคระบาด COVID- 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลให้ขยะ ไม่ได้ถูกทิ้งลงถังขยะอย่างเหมาะสม

15 การใช้พลังงานทดแทนเพื่อป้ องกันปั ญหาสิ่ง แวดล้อมต่างๆ ทีอาจจะเกิดขึ้น และเป็ นการ ลดปั ญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต ในปัจจุบัน ความต้องการในการใช้พลังงานของมนุษย์มี มากขึ้นทุกวัน เนื่องจากต้องการความสะดวกสบาย โดยอาจไม่รู้ เลยว่าพลังงานสิ้นเปลืองที่ใช้เหล่านั้นจะหมดไป ด้วยเหตุนี้เองจึง จำเป็นที่จะต้องมีการคิดค้นพลังงานทดแทนขึ้นเพื่อให้สามารถนำ มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิง ทำให้พลังงานดังกล่าวยังคงไม่หมด ไปจากโลกใบนี้ พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่สามารถนำมาใช้แทนพลังงานจากเชื้อเพลิงได้ และในปัจจุบันนี้ก็ถือ ได้ว่าเป็นพลังงานหลักๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ โดยยิ่งมีความทันสมัยเข้ามามากขึ้นเท่าไหร่ ความต้องการใน การใช้พลังงานก็มากขึ้นเท่านั้น แต่เพราะปริมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดทำให้พลังงานมีราคาที่ค่อนข้างสูง และที่สำคัญจากปริมาณพลังงานที่เหลืออยู่ ก็มีการคาดการณ์กันว่าอาจเหลือใช้ได้อีกประมาณ 40 ปี เท่านั้น จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการหาพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ อีกทั้งยังจะมีการนำเอา พลังงานทดแทนต่างๆ ที่เป็นพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ น้ำและลม มาช่วยป้องกัน ภาวะเรือนกระจกอีกด้วย ซึ่งพลังงานทดแทนที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำ, พลังงานลม เป็นต้น โดยในปัจจุบันก็มีความพยายามที่จะทำการศึกษาเพื่อนำเอาพลังงาน ทดแทนต่างๆ เหล่านี้ มาใช้ให้มากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยบรรเทามลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในปัจจุบัน นวัตกรรม DisTRASHguish ได้เกิดขึ้นมาบนพื้นฐานของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ควบคุมการทำงานโดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแผงเซลล์สุริยะหรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) เพื่อป้องกันปัญหา สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยบรรเทามลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานใน ปัจจุบัน ช่วยป้องกันภาวะเรือนกระจก และเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

16 ระบบแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เก็บขยะ เพื่อแก้ไข ปั ญหาขยะมูลฝอยและปั ญหาขยะล้นถัง ขยะมูลฝอย ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อมี ขยะมูลฝอยจำนวนมาก แต่ชุมชนไม่สามารถเก็บขนและ กำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างหมดจดหรือจัดการขยะมูลฝอย อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นขยะมูลฝอยจึงเป็นสาเหตุให้ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดอากาศ เสีย น้ำเสีย ภาวะมลพิษของแหล่งน้ำ แหล่งพาหะนำโรค เหตุรำคาญและความไม่น่าดู กลิ่นเหม็นรบกวนประชาชน และเกิดภาพไม่สวยงาม ไม่เป็นสุนทรียภาพ ระบบแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ผ่านเว็บไซต์ของนวัตกรรม DisTRASHguish อาศัยความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ทำการเก็บขยะทราบสถานะของปริมาณ ขยะภายในถัง ว่าถังไหนสามารถที่จะนำรถบรรทุกขยะเก็บเอาไปทิ้งได้โดยไม่ต้องรอให้ปริมาณขยะล้น ออกมาด้านนอกถัง อันจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ส่วนถังที่ยังมีปริมาณขยะไม่มากก็ยังไม่ต้อง จัดเก็บ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องขับรถวนไปมาเพื่อเก็บขยะตามชุมชน ซึ่งทำให้ไม่เกิดปัญหารถติดตาม ตรอกซอกซอย บริเวณชุมชน อีกทั้งยังทำให้การทำงานในแต่ละครั้งสะดวกรวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการ ทำงาน และไม่สูญเสียเชื้อเพลิงในการขับรถ ทำให้การจัดเก็บขยะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

17 ผลกระทบต่อคน ปัญหาการทิ้งขยะไม่ลงถัง นอกจากจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อ สุขภาพของคนในชุมชนอีกด้วย โดยอาจทำให้เกิดอาการเล็กน้อยจนสะสมไปในระยะยาว จนเกิดเป็นโรคที่อันตรายได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยโดยรอบชุมชนนั่นเอง ตัวอย่างของโรคจากปัญหาขยะที่อาจเกิดกับอวัยวะรับสัมผัส เช่น ตา จมูก ผิวหนัง มีดังนี้ 1. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ การสูดดมกลิ่นขยะ หรือฝุ่นละอองที่ปลิวมาจาก เศษขยะ ตลอดจนไอของสารพิษจากขยะบางชนิดที่ระเหยออกมาเป็นฝุ่นผสมอยู่ในอากาศ โดยมีอาการ ตั้งแต่น้ำมูกไหล จาม คัดจมูก หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น ไอ แน่นหน้าอก โรคหอบหืด เป็นต้น ซึ่งหาก มีอาการสะสมไปในระยะยาว อาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกจนสูญเสียการรับกลิ่นได้ รวมถึงโรค COVID-19 ที่เราอาจได้รับเชื้อไวรัสมาจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ทิ้งไม่ลงถังได้ 2. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากการสัมผัสกับขยะมีพิษบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความ สะอาดต่างๆที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ โดยมีอาการของโรค เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) หรือผื่นแพ้จากการสัมผัส 3. โรคเยื่อบุตาอักเสบ เกิดจากการสัมผัสกับขยะที่มีสารเคมีหรือแบคทีเรียเจือปน แล้วมาสัมผัส บริเวณตาหรือขยี้ตา ทำให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่เยื่อบุตา ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการเช่น ตาแดง คันตา มีการผลิตน้ำตามากกว่าปกติ ตาไวต่อแสง หรือขี้ตามีสีเหลืองหรือเขียว แนวทางการป้ องกัน และแก้ไขโรค 1. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อาจเป็นสาเหตุของสารก่อภูมิแพ้ หรือสถานที่ที่มีการปนเปื้อน ของสารก่อภูมิแพ้ไม่ว่าจะเป็นไรฝุ่น สิ่งปฏิกูล สารพิษ และอื่นๆ 2. หมั่นทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ สถานที่พักอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่อาจมีการ ปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด และถ้าหากมีการสัมผัสให้รีบทำความสะอาดทันที โดยไม่นำมือไป สัมผัสหน้า ร่างกาย และสิ่งของต่างๆ โดยไม่จำเป็น 3. เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติ หรือมีอาการของโรค ให้รีบทำการรักษาโดยเบื้องต้น จากนั้นจึงไป พบแพทย์ และทำการรักษาโดยทันที

18 DISTRASHGUISH vs COVID-19 Since the world faced the COVID-19 situation in 2020, we need to live in the term “new normal” which means new ways of living, working, and interacting with people. This new normal way causes more people to stay at home and use online shopping. Food delivery, internet banking, parcel services, and more online services have seen tremendous growth. The Director-General of the Pollution Control Department announced that Thai people use even more plastic and provide more waste in the COVID-19 situation. This information has shown a 45% increase in the amount of waste this year and still tend to continue in the future. Our group is aware of the effects that waste, especially plastic, produce on the environment and also our community. As we are concerned about this problem that we are facing, we came up with an idea of an automatic sensor trash can that helps prevent the smell and the spread of COVID-19. This trash can will be able to solve littering problems and also alter the authorities if the bin is full to prevent overflowing garbage bins and air pollution. The specificity of our invention is that it categorizes recyclable waste into 6 groups: plastic bottles, plastic bags, paper, aluminium cans, glass, and paper boxes. With the system of data science and machine learning involve in gathering and organising information of the trash can, it can distinguish the groups of the waste by remembering the photos through a database management system. Renewable energy, solar cell, is the main source of energy that will provide batteries to our DisTRASHguish.

รอบรู้เรื่องโควิด 19 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาขยะ หลายประเภทเพิ่มขึ้น โดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มขยะจากการส่งอาหารออนไลน์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุมโรคทำให้ประชาชนต้องอยู่บ้าน เลี่ยงการเดินทาง และไปจับจ่ายสินค้า ตามตลาดนัด ซึ่งประชาชนเลือกวิธีสั่งอาหารให้พนักงานมาส่งที่บ้าน แทนการนั่งกินที่ร้าน ทำให้ ปริมาณขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น 15-20% ประกอบด้วยถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และพลาสติก ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม ไม้จิ้ม นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณขยะเศษอาหารหรือขยะเปียก ถูกทิ้งปะปนมากับขยะทั่วไปมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่เศษอาหารเดลิเวอรี่ ยังรวมไปถึงการปรุง อาหารที่บ้านด้วย และที่เป็นปัญหามาก คือ ขยะกลุ่มหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ถุงมือทางการแพทย์ ซึ่งถือ เป็นขยะติดเชื้อ โดยปัจจุบันการจัดการขยะติดเชื้อจากสถานบริการการสาธารณสุขส่วนใหญ่ใช้วิธีการ เผา รวมทั้งการกำจัดด้วยระบบการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ก่อนนำไปทิ้งเป็นขยะมูลฝอยชุมชนต่อไป ซึ่งวิธีการ จัดการเหล่านี้มีข้อจำกัด และหากขาดประสิทธิภาพและมาตรฐาน อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขอนามัยชุมชน และสิ่งแวดล้อมทั่วไปได้ อีกทั้งขยะติดเชื้อยังสร้างปัญหากับพนักงานเก็บขยะ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เสี่ยงต่อ การติดเชื้อโรค และอาจกลายเป็นคนแพร่กระจายเชื้อโรคในวงกว้าง หากไม่ดูแลจะสร้างผลกระทบตาม มา ในการทิ้งขยะติดเชื้อจึงควรปฏิบัติดังนี้ ควรทิ้งใส่ถุงขยะ และใส่น้ำยาฟอกขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ 2 ฝาก่อนใส่ถุงอีกชั้น จากนั้นปิดปากถุงให้สนิท ควรใส่ขยะติดเชื้อในถุงสีแดง หรือถ้าไม่มีถุงสีแดง ควรเขียนหน้าถุงว่าขยะติดเชื้อก่อนทิ้งที่ถังขยะ ก่อนทำการทิ้งขยะติดเชื้อ ควรตรวจสอบก่อนว่าถุงรั่วและขาดหรือไม่ นอกจากนี้ตัวเราเองควรจะมีแนวทางในการป้องกัน และปฏิบัติตนเพื่อให้ห่างไกลจากโควิด ดังนี้ 1.ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องออกนอกเคหะสถาน หรือแหล่งที่มีผู้คนเป็นจำนวนมาก 2.หมั่นทำความสะอาด ล้างและเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ 3.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และควรเว้นระยะห่างทางสังคม 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก 5. งดการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด 6. ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

20 บทสรุป จากการที่กลุ่มของพวกเราได้คิดค้นนวัตกรรมถังขยะ DisTRASHguish ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมา ข้างต้นพบว่านวัตกรรมของเราสามารถแก้ไขปัญหาและช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้จริง ทำให้ผู้ที่มาทิ้ง ขยะสามารถทิ้งขยะได้ลงถัง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสัมผัสฝาถังขยะซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อโรค และยังสามารถแยก ประเภทของขยะได้อย่างถูกต้อง โดยการแยกขยะยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ เนื่องจากสามารถนำขยะกลับมา รีไซเคิลได้ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการเก็บขยะให้สามารถทำงานได้อย่าง รวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการคัดแยกขยะ ทำให้การจัดเก็บขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการช่วยประหยัด เชื้อเพลิงในการขับรถ เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะสามารถทราบพิกัดของถังขยะที่เต็มได้ทันทีโดยไม่ต้องขับรถวนไปตาม เส้นทางดังเช่นเมื่อก่อน โดยนวัตกรรมของเรายังช่วยแก้ปัญหาทางด้านมลพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม เช่น ลดการเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนที่เกิดจากปัญหาขยะล้นถังหรือการทิ้งขยะไม่ถูกที่ ลดความเสี่ยงใน การเกิดโรคต่างๆ ลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน ช่วยรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ รวมถึงระบบนิเวศและห่วง โซ่อาหารให้อุดมสมบูรณ์สืบต่อไป อีกทั้งนวัตกรรมของเรายังเลือกใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อลดการ สิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานสิ้น เปลืองในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีส่วนช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากประชากร ในประเทศหันมาใช้พลังงานจากธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ แทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่าง ประเทศ และเพื่อให้ลูกหลานของเรายังคงมีพลังงานไว้ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป ข้อเสนอแนะ 1.การจัดทําโครงงานควรมีการวางแผนก่อนเสมอ เพื่อที่จะทําให้โครงงานออกมาประสบความสําเร็จ และมีข้อผิด พลาดน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ข้อผิดพลาดย่อมส่งผลให้ผลงานออกมาดีกว่าเดิม ดังนั้นจึงควรนําข้อผิดพลาดเหล่านั้น มาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ออก มามีประสิทธิภาพสูงสุด 2.ทางคณะผู้จัดทำหวังว่า จะมีการพัฒนาต่อยอดเครื่องคัดแยกขยะอัตโนมัติให้ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถ นำมาใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา สามารถต่อยอดพัฒนาไป ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเป็นแบบอย่างในการทำโครงงานอื่น ๆ ในอนาคต

21 บรรณานุกรม 1. รู้ค่าพลังงาน WATCHDOG. (16 กรกฎาคม 2562). AlphaTrash ถังขยะอัจฉริยะ [Video file]. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://youtu.be/DLDec6I31u8 2. Kulyarat L. (2563). ตัวช่วยแยกขยะง่าย ๆ ด้วย Machine Learning. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://medium.com/@kulyaratl/botnoi-data-science-essential-กลุ่ม-3- ก้าวที่สองกับการทำ-machine-learning-169eb917e13 3. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (no date). การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง อาทิตย์. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.2.dede.go.th/bhrd/old/web_display/home/home_photovoltaic.html 4. CP for Sustainability. (no date). แยกขยะให้ถูกวิธี ดีต่อเรา ดีต่อโลก!. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.sustainablelife.co/news/detail/74 5. RECYCLE ENGINEERING. (2562). การรีไซเคิล. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.recycleengineering.com/knowledge_base-recycling/ 6. admin. (2560). พลังงานทดแทน. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.biofuelreview .com/พลังงานทดแทนมีข้อดีอย่/ 7. จิรวรรณ. (2563). ทิ้งขยะไม่ลงถัง. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.m2fnews.com/lifestyle/work-and-life/47909 8. สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตาบลชาแระ. (no date). ขยะมูลฝอย. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.chamrae.go.th/site/attachments/article/469/การคัด แยกขยะมูลฝอย.pdf 9. School Team. (2561). ปัญหาขยะในประเทศไทย. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/16656/ 10. WordPress. (2560). อินเวอร์เตอร์แปลงไฟ. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.krungthepsolar.net/อินเวอร์เตอร์แปลงไฟ/ 11. thaipost. (2563). ขยะจากโควิด-19. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.erdi.cmu.ac.th/?p=818 12. TECH ACE. (2564). วิธีป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลโควิด 19. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.techace.co.th/blog-1/2021/1/4-fmezn-hsa8l-r5e7n-txx3g-sjdp4 13. ศิครินทร์. (no date). ทิ้งขยะติดเชื้ออย่างไร ไม่ให้แพร่เชื้อ. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.sikarin.com/health/ทิ้งขยะติดเชื้อโควิด19

22 14. Thanyaphak. (no date). สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางขยะ. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20 Environmen%20gr.4/Mola4.html 15. ปวีณา พาณิชยพิเชฐ. (2560). การลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2564, จาก http://conference.tgo.or.th/download/tho_or_th/Article/2017/ Waste_GHGs.pdf 16. สํานักจัดการกากของเสยี และสารอันตราย. (2560). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER056/GENERAL/DATA0000/0 0000689.PDF 17. Khyanalukk. (no date). โรคทีเกิดจากขยะ. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2564, จาก https://sites.google.com/site/khyanalukk/home/rokh-thi-keid-cak-khya 18. Thaihealthlife. (no date). โรคระบบอวัยวะรับสัมผัส. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2564, จาก https://thaihealthlife.com/โรคระบบอวัยวะรับสัมผัส/ 19. พรสุข หุ่นนิรันดร์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, และอนันต์ มาลารัตน์. (2564). สุขศึกษา (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์. 20. กรมควบคุมมลพิษ. (no date). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563 21. นุชจริม เย็นทรวง. (no date). ขยะพลาสติก. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.nsm.or.th/other-service/1757-online-science/knowledge-inventory/sci- article/science-article-nsm/2801-the-invisibility-of-micro-plastic.html 22. UNEP. (no date). Basel Convention. สืบค้น 4 ธันวาคม 2564, จาก http://www.basel.int/?tabid=4499 23. กรมควบคุมมลพิษ. (2563). อนุสัญญาบาเซล. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.pcd.go.th/publication/5254/ 24. UNEP. (2562). Stockholm Convention. สืบค้น 4 ธันวาคม 2564, จาก http://chm.pops.int/TheConvention/ThePOPs/AllPOPs/tabid/2509/Default.aspx 25. กรมควบคุมมลพิษ. (no date). อนุสัญญาสตอกโฮล์ม. สืบค้น 4 ธันวาคม 2564, จาก http://www.thailandntr.com/uploaded/law/LAW_2120_TH.pdf 26. Enviliance ASIA. (no date). Thailand, Domestic Waste in COVID Situation. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564, จาก https://enviliance.com/regions/southeast-asia/th/th- waste/th-waste-covid


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook