Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

Published by eakchai puangsombut, 2021-06-29 02:40:38

Description: Emergency First Aid and Basic CPR64

Search

Read the Text Version

หนังสือการปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการก้ชู พี ข้นั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR พมิ พค์ ร้ังที่ 1 กรกฎาคม 2563 จำ� นวน 1,000 เลม่ จัดท�ำโดย ส�ำนักงานบรรเทาทกุ ข์และประชานามยั พทิ ักษ์ สภากาชาดไทย พิมพ์ท ่ี บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำ� กดั TRC-RH-TMR 09-20-004 ISBN 978-616-8212-39-4 สงวนลิขสิทธ ิ์ อนญุ าตใหเ้ ผยแพร่ ห้ามจ�ำหน่าย

คำ� นยิ ม “ในเหตุการณ์ภัยพิบัติมักพบผู้ป่วยท่ีเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเสมอ ประชาชนควรมี ความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บให้รอดปลอดภัยก่อนส่งผู้ป่วย ถึงมือแพทย์ จะช่วยป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดข้ึนได้อย่างมาก ส�ำนักงานบรรเทาทุกข์ และประชานามัยพิทักษ์ หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสร้างศักยภาพ ประชาชน เพ่ือลดความเสี่ยงจากภัยพิบตั ิดา้ นสุขภาพอยา่ งย่ังยนื ” พลโท (นายแพทยอ์ ำ� นาจ บาลี) ผ้อู ำ� นวยการสำ� นักงานบรรเทาทกุ ข์และประชานามยั พิทักษ์ สภากาชาดไทย การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชพี ขั้นพ้ืนฐาน ก Emergency First Aid and Basic CPR

ค�ำนยิ ม ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพในระยะเวลาส้ันๆ หรือนาทีชีวิตสามารถตัดสินได้ว่า ผู้บาดเจ็บนั้นจะรอดชีวิตหรือพิการถาวรหรือไม่ ท่านอาจเป็นคนหน่ึงซึ่งผ่านการอบรม และศึกษาความรู้จากหนังสือเล่มนี้ สามารถกู้ชีพและปฐมพยาบาลฉุกเฉินคนที่คุณรัก หรอื เพ่อื นมนษุ ย์ในนาทชี วี ติ ให้ปลอดภยั ได้ เรอื อากาศเอก (อัจฉริยะ แพงมา) เลขาธกิ ารสถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแหง่ ชาติ ข การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกชู้ พี ข้นั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

สารบญั หน้า บทนำ� 1..................................................................................................................................................................................................................................................... l การกู้ชีพข้ันพื้นฐาน 1. การประเมนิ สถานการณ์ ณ จุดเกดิ เหตุ 2........................................................................................................................ 2. การประเมินผู้ป่วย 2.................................................................................................................................................................................. 3. หว่ งโซ่ของการรอดชีวิต 4.................................................................................................................................................................... 4. การชว่ ยฟืน้ คนื ชพี (CPR) 5................................................................................................................................................................ 5. การใช้เคร่อื งเออดี ี (AED) 11........................................................................................................................................................... l การปฐมพยาบาลฉกุ เฉิน 1. ภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกัน้ (Choking) 14.............................................................................................................. 2. กลา้ มเน้อื หัวใจขาดเลอื ดเฉยี บพลนั (Heart attack) 18................................................................................ 3. เสน้ เลอื ดในสมองแตก ตีบ ตัน (Stroke) 19................................................................................................................. 4. หอบหืด (Asthma) 21............................................................................................................................................................................ 5. ภาวะแพอ้ ยา่ งรุนแรงเฉยี บพลนั (Anaphylaxis) 23............................................................................................ 6. ภาวะเลอื ดออกภายนอกอยา่ งรนุ แรง (Bleeding) 25....................................................................................... 7. ภาวะชอ็ ก (Shock) 26........................................................................................................................................................................... 8. การบาดเจ็บท่ีศีรษะ (Head injury) 27............................................................................................................................. 9. การบาดเจ็บที่กระดูกสนั หลงั (Spinal injury) 29................................................................................................. 10. กระดูกหกั (Fractures) 30................................................................................................................................................................ 11. แผลไหม้ (Burn) 32.................................................................................................................................................................................... 12. ภาวะชกั (Convulsion) 34.............................................................................................................................................................. 13. ภาวะสะเทอื นขวญั (Psychological trauma) 36............................................................................................... 14. การเคล่อื นยา้ ยผปู้ ่วย ผ้บู าดเจ็บในภาวะฉกุ เฉนิ 37............................................................................................. 15. งูพิษกัด 41............................................................................................................................................................................................................. 16. แมง หรอื แมลงมพี ิษกดั ตอ่ ย 45................................................................................................................................................. ภาคผนวก l หมายเลขโทรศพั ท์ระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ควรทราบ.........................................................46 การแจง้ เหตุฉกุ เฉินเพื่อขอความชว่ ยเหลือ 46l .......................................................................................................................... l แผนภาพขั้นตอนการชว่ ยชีวิตขน้ั พน้ื ฐานและการใช้เคร่อื งเออีดสี �ำหรบั ผูใ้ หญ.่......................47 ในภาวะปกติ l แผนภาพขนั้ ตอนการช่วยชีวติ ขั้นพนื้ ฐานและการใชเ้ ครื่องเออดี .ี.............................................................48 ในผู้สงสัยตดิ เช้อื โควิด-19 ภาคประชาชน เอกสารอา้ งอิง 49l ....................................................................................................................................................................................................... การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกชู้ ีพขั้นพ้ืนฐาน ค Emergency First Aid and Basic CPR

>> การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกู้ชพี ขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

บทน�ำ เหตกุ ารณ์ฉกุ เฉนิ ทางสุขภาพจากภัยพิบัติ อุบัติเหตุ หรอื การปว่ ยรนุ แรง ส่งผลใหเ้ กิดภาวะเสย่ี ง ต่อการเสียชีวิต ส่ิงส�ำคัญเร่งด่วนคือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะน้ันสามารถท�ำการกู้ชีพและปฐมพยาบาล อยา่ งถูกตอ้ ง รวดเร็ว มีประสทิ ธภิ าพ เพ่ือชว่ ยใหผ้ ู้ป่วย หรอื ผ้บู าดเจบ็ ที่หมดสติ หยุดหายใจ หัวใจ หยุดเต้น จากสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน จมน�้ำ การท�ำงานในท่ีอับอากาศ ไฟฟ้าช็อต อุบัติเหตุทางท้องถนน หรือผู้ป่วยจาก อาการของโรคท่ีมีอาการรุนแรง ซ่ึงในช่วงเวลาส้ันๆ เมื่อเกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาที่มี ความส�ำคัญมาก ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือสมองตายหากสมองขาดออกซิเจนนานเกิน 4 - 6 นาที การช่วยชีวติ ณ จดุ เกิดเหตุอย่างถูกตอ้ งและรวดเรว็ จะชว่ ยใหผ้ ู้ป่วยรอดชวี ติ หรือยืดระยะเวลาให้ ผปู้ ว่ ยไดร้ บั การส่งต่อไปยังทีมแพทยฉ์ ุกเฉนิ ได้อย่างปลอดภัย หลักการของการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio Pulmonary Resuscitation:CPR) คือการช่วย ใหเ้ กดิ การไหลเวียนของเลอื ดในร่างกายเพอื่ ปอ้ งกนั ภาวะสมอง หวั ใจ และเนื้อเย่ือของอวัยวะส�ำคญั ขาดออกซิเจน ด้วยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจในช่วงที่ผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอกจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ร้อยละ 3 – 5 กรณีที่ใช้เคร่ืองฟื้น คนื คลนื่ หัวใจดว้ ยไฟฟา้ แบบอตั โนมตั ิ หรือเครือ่ ง เออีดี (Automated External Defibrillator: AED) รว่ มด้วยจะช่วยเพ่ิมอัตราการรอดชีวติ ใหส้ ูงขน้ึ ถงึ ร้อยละ 45-50 ปัจจบุ ันมกั พบเครอ่ื งเออีดี ติดต้ังอยู่ตามสถานท่ีส�ำคัญต่างๆ เพ่ือให้สามารถน�ำไปใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที การช่วยฟื้นคืนชีพ การใช้เครื่องเออีดี และการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน จึงเป็นความรู้ขั้นพ้ืนฐาน ท่ปี ระชาชนคนไทยทุกคนตอ้ งได้รบั การอบรม หรือเรียนรเู้ พือ่ เพมิ่ โอกาสรอดของผปู้ ว่ ยผู้บาดเจบ็ หนังสือ “การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการก้ชู พี ขัน้ พน้ื ฐาน” เล่มนี้ ประกอบดว้ ยความรู้ ในการประเมินสถานการณ์ การประเมินผู้ป่วย การช่วยฟื้นคืนชีพข้ันพื้นฐาน รวมถึงการใช้ เคร่ืองเออีดี และการปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะท่ีส�ำคัญต่างๆ ต่อการคุกคามชีวิต โดยมีเน้ือหาที่ สรุปสั้นๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อ้างอิงตามหลักการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพข้ันพื้นฐานขององค์กร ระดับสากล สำ� หรบั ใชป้ ระกอบการฝกึ อบรมแกนน�ำชุมชน อาสาสมคั รสภากาชาดไทย อาสาสมคั ร ฉุกเฉินชุมชน นักเรียน และประชาชนทุกคนท่ีมีความสนใจศึกษาความรู้ในการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพข้ันพ้ืนฐาน เพื่อสร้างศักยภาพตนเองให้สามารถช่วยชีวิตผู้ท่ีตกอยู่ในสถานการณ์ ฉกุ เฉนิ ด้านสุขภาพใหร้ อดปลอดภัย การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกู้ชพี ขัน้ พ้ืนฐาน 1 Emergency First Aid and Basic CPR

การกูช้ พี ขัน้ พ้ืนฐาน 1. การประเมินสถานการณ์ ณ จดุ เกดิ เหตุ ก่อนการเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง และบุคคลที่อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยการประเมินสถานการณ์ ณ จุดเกิดเหตุว่ามีความปลอดภัย ส�ำหรบั ตนเอง และทีมทีจ่ ะเขา้ ไปใหค้ วามช่วยเหลือหรอื ไม่ หากสำ� รวจความปลอดภยั ของสถานท่ี หรือจุดเกดิ เหตแุ ล้ว พบวา่ สถานการณ์ไมป่ ลอดภยั เช่น มไี ฟไหม้ ไฟฟ้ากำ� ลังช็อต ตกึ ก�ำลงั จะถลม่ แผ่นดินไหว เป็นตน้ ห้ามเขา้ ไปชว่ ยเหลือ ให้รีบรอ้ งขอความช่วยเหลือทันที ตามหลักการที่ถูกต้องในการช่วยชีวิต ผู้ช่วยเหลือควรปฏิบัติการช่วยชีวิตอย่างเร็วท่ีสุด ไมค่ วรเคล่อื นย้ายผู้ปว่ ยจนกว่าจะแน่ใจวา่ สามารถเคลื่อนยา้ ยได้อย่างปลอดภยั ยกเวน้ ในกรณีท่ี ผปู้ ว่ ยหรอื ผ้บู าดเจ็บอยู่ในสถานทีห่ รอื สถานการณ์ทีไ่ มเ่ หมาะสมตอ่ การปฐมพยาบาล และมีความ เส่ียงต่อการเกิดอันตรายต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ หากพบสถานการณ์เช่นนี้ ให้แจ้งขอความ ช่วยเหลือจากหน่วยงานท่ีมีขีดความสามารถสูงกว่าเข้ามาให้ความช่วยเหลือทันที หรือถ้ามี ผู้ช่วยเหลือเพียงพอในการเคล่ือนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจาก จุดเกดิ เหตุ (เช่นผปู้ ่วยประสบอบุ ัตเิ หตุนอนหมดสตอิ ยกู่ ลางถนนเวลากลางคืน เปน็ ตน้ ) ไปทำ� การ ชว่ ยฟนื้ คืนชพี ยังสถานทีป่ ลอดภยั 2. การประเมนิ ผู้ปว่ ย คือการตรวจประเมินอาการของผู้ป่วย เพ่ือวางแผนให้การปฐมพยาบาลเบ้ืองต้น ต้อง ด�ำเนินการอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรใช้เวลานานเกิน 1 นาที) มุ่งการประเมินภาวะคุกคามต่อชีวิต ได้แก่ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด กรณีที่ผู้ช่วยเหลือต้องท�ำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ผู้ป่วยต้องมีภาวะดังนีค้ อื หมดสติ หยดุ หายใจหรอื หายใจเฮอื ก หวั ใจหยุดเต้น กรณีที่ผู้ช่วยเหลือประเมินสภาพท่ัวไปของผู้ป่วย พบภาวะท่ีต้องให้การปฐมพยาบาล แตไ่ มต่ อ้ งชว่ ยฟ้ืนคืนชพี ไดแ้ ก่ l ผปู้ ว่ ยกระพรบิ ตา พดู หรือไอ หน้าอกหนา้ ทอ้ งกระเพอื่ มขึน้ ลง ขยบั ตวั แสดงว่า ผู้ป่วยรสู้ ึกตวั และหายใจ (ใหก้ ารปฐมพยาบาลตามอาการท่พี บ) 2 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการก้ชู พี ข้นั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

แผนภาพการประเมินและปฐมพยาบาลผปู้ ่วย ผู้บาดเจบ็ ทม่ี า: คู่มอื ปฐมพยาบาลเบ้อื งตน้ (น. 11), โดย ศนู ยฝ์ ึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามยั สภากาชาดไทย, 2559. การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชพี ขัน้ พื้นฐาน 3 Emergency First Aid and Basic CPR

3. ห่วงโซ่ของการรอดชวี ิต การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อภาวะฉุกเฉินของหัวใจ มีความจ�ำเป็นที่จะต้องเข้าใจ ความหมายของแต่ละห่วงโซข่ องการรอดชวี ิต ดงั นี้ หว่ งท่ี 1. การจดจำ� อาการและการโทรแจง้ ระบบการแพทยฉ์ ุกเฉนิ 1669 ทันที l ท่านต้องจดจ�ำอาการของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นให้ได้ว่ามีอาการ ไม่ตอบสนอง ไม่หายใจ หายใจผิดปกติ หรอื หายใจเฮือก และไม่มีชีพจร (ส�ำหรับบคุ ลากรทางการแพทย์) l ทนั ทที ที่ า่ นจดจำ� อาการไดว้ า่ ผปู้ ว่ ยหวั ใจหยดุ เตน้ ใหโ้ ทรแจง้ ระบบการแพทยฉ์ กุ เฉนิ 1669 หรือให้คนอ่ืนไปโทรแจ้ง ไม่นานหนว่ ยปฏิบตั ิการฉกุ เฉินการแพทยก์ ็จะมาถงึ และรบั ผิดชอบ ตอ่ จากท่าน หว่ งท่ี 2. เร่ิมท�ำการชว่ ยฟ้นื คนื ชีพ (CPR) ทนั ที โดยเนน้ ท่กี ารกดหน้าอก l ถา้ ผปู้ ่วยหัวใจหยดุ เตน้ ให้เรม่ิ ท�ำการกดหนา้ อก (CPR) ทนั ที โดยไม่รอช้า l การเริ่มท�ำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ท่ีมีคุณภาพสูงภายหลังจากหัวใจหยุดเต้น สามารถ เพิ่มโอกาสรอดของผปู้ ่วยในหว่ งโซ่ของการรอดชีวติ ได้เป็นอย่างมาก l ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่ได้รับการฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) มาก่อนก็สามารถช่วย ท่านได้ อย่างน้อยทสี่ ุดก็ชว่ ยกดหน้าอกได้ การกดหน้าอกสามารถท�ำได้ ถงึ แมจ้ ะยงั ไม่ได้รับ การอบรมมา เพราะสามารถท�ำตามคำ� แนะน�ำจากศูนย์สง่ั การ (1669) ทางโทรศัพท์ได้ l การกดหน้าอกช่วยให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงท่ีสมอง หัวใจ และอวัยวะท่ีส�ำคัญอื่นๆ ซ่ึง จะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด จนกว่าจะมีการน�ำเครื่องเออีดีมาใช้ หรือได้รับการดูแลจาก หนว่ ยแพทย์ขนั้ สูง ห่วงท่ี 3. ไดร้ ับการชอ็ กไฟฟา้ หวั ใจอย่างรวดเร็วด้วยเครอื่ งเออีดี l การช็อกไฟฟ้าหัวใจอย่างรวดเร็วร่วมกับการกดหน้าอกคุณภาพสูง สามารถเพ่ิมโอกาสรอด ของผู้ปว่ ยได้สองถงึ สามเท่า ใหห้ าเครือ่ งเออดี ี มาใหเ้ รว็ ท่สี ุดเท่าทีจ่ ะทำ� ได้ 4 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชพี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

l เครื่องเออีดี เป็นอุปกรณ์ที่มีน�้ำหนักเบา เป็นเคร่ืองมือท่ีเคลื่อนย้ายได้ ซ่ึงสามารถระบุ ลักษณะของจังหวะการเต้นของหัวใจท่ีอาจเสียชีวิต และส่งกระแสไฟฟ้าไปช็อกเพื่อหยุด การเต้นของหัวใจทผี่ ิดปกติ และท�ำให้หวั ใจกลับมาเตน้ เป็นปกติอกี ครงั้ l เครื่องเออีดี เป็นเคร่ืองท่ีใช้ง่ายและปลอดภัย ปัจจุบันอนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนท่ัวไปก็สามารถใช้ได้ ห่วงท่ี 4. การชว่ ยชีวิตขน้ั สูงอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ (รวมถึงการน�ำผูป้ ว่ ยข้ึนเปลและนำ� ส่งโรงพยาบาล) l การช่วยชีวิตข้ันสูง (ALS) เป็นสะพานมาเช่ือมต่อจากการช่วยชีวิตข้ันพ้ืนฐาน (BLS) เพ่ือให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเพิ่มมากข้ึน การช่วยชีวิตข้ันสูงสามารถท�ำได้หลายที่ (ท้ังในและนอกโรงพยาบาล) ประสิทธิภาพของทีมช่วยชีวิตข้ันสูงอาจจ�ำเป็นต้องจัดหา อปุ กรณ์ทีด่ แู ลผู้ป่วยเพมิ่ มากข้นึ เช่น o 12 lead electrocardiogram หรอื advance cardiac monitoring o Electrical therapy intervention เชน่ cardioversion o การเปิดเส้นเลอื ดใหส้ ารน้�ำ o การใหย้ าอยา่ งเหมาะสม o การใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจ หว่ งที่ 5. การดูแลจากสหสาขาวิชาชีพภายหลังจากการชว่ ยฟืน้ คืนชพี l ทันทีที่ท�ำให้ผู้ป่วยกลับมามีการไหลเวียนเลือดได้เองอีกคร้ัง ห่วงโซ่ต่อไปก็คือการได้รับ การดูแลภายหลงั จากหัวใจกลับมาเตน้ อีกครงั้ l การดูแลข้ันสูงเป็นการดูแลผู้ป่วยจากทีมสหสาขาวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ มุ่งเน้นไปที่การป้องกันการกลับมาของภาวะหัวใจหยุดเต้น และให้การรักษาเฉพาะทาง เพ่อื ชว่ ยให้มีโอกาสรอดมากขึน้ l การดแู ลภายหลงั จากภาวะหัวใจหยุดเตน้ อาจจำ� เป็นตอ้ งสวนหัวใจหรือรักษาในห้อง ICU l การได้รับการดูแลดีอย่างต่อเน่ือง การเฝ้าติดตามอาการ การให้ยา หรือการผ่าตัด เพื่อ รักษาโรคประจำ� ตวั และช่วยใหม้ ชี ีวติ อยตู่ อ่ ไป 4. การช่วยฟ้ นื คนื ชพี (Cardiopulmonary Resuscitation:CPR) ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary Resuscitation:CPR) คือ การช่วยเหลือ ผทู้ ่ีหยุดหายใจและหวั ใจหยดุ เตน้ ท�ำให้ผูป้ ว่ ยกลบั มาหายใจ หรอื มีการนำ� ออกซเิ จนเข้าส่รู ่างกาย และเกิดการไหลเวียนเลือดไปเล้ียงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะสมองกับหัวใจ จนกระท่ัง ระบบต่างๆ กลับมาท�ำหน้าท่ีได้ตามปกติ เป็นการป้องกันการเสียชีวิต หรือเนื้อเยื่อได้รับ ความเสยี หายอยา่ งถาวรจากการขาดออกซเิ จน การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 5 Emergency First Aid and Basic CPR

4.1 ขัน้ ตอนการชว่ ยฟน้ื คนื ชพี (CPR) 1. ประเมินความปลอดภยั ณ จดุ เกิดเหตุ เมื่อพิจารณาว่าปลอดภัยแลว้ จึงเข้าไปหาผปู้ ่วย 2. การประเมินผูป้ ว่ ย โดยการปลกุ เรยี กผู้ป่วย ถ้ารู้จักชอ่ื ใหเ้ รยี กชื่อ แตถ่ า้ ไม่ร้จู ักชอ่ื ให้ เรยี ก “คณุ ๆ” ด้วยเสียงดงั พร้อมกบั ใช้มือตบทบ่ี า่ ท้งั 2 ขา้ ง 3 คร้ัง 2 รอบ ขณะท่ี ตาจ้องมองไปท่ีใบหน้าของผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยมีการกระพริบตาหรือไม่ หากผู้ป่วย ไมม่ อี าการตอบสนอง ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือ ตามข้อ 3 3. ขอความชว่ ยเหลือ เรยี กขอความชว่ ยเหลือ โทรศัพทแ์ จง้ 1669 และขอเคร่อื งเออีดี ชว่ ยด้วยๆ มคี นหมดสติ! ชว่ ยโทร 1669 นำ� เคร่ือง เออีดี มาด้วย 6 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชพี ขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

4. ประเมินการหายใจ โดยการตรวจสอบการหายใจ ให้มองไปท่ีหน้าอก หน้าท้อง ว่ามกี ารขยับข้ึนลงหรือไม่ ใชเ้ วลาไมน่ อ้ ยกว่า 5 วินาที แต่ไมเ่ กิน 10 วินาที 5. การกดหน้าอก วิธีการกดหน้าอก ให้ใช้ส้นมือข้างหน่ึงวางลงบนก่ึงกลางหน้าอก (ก่ึงกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งวางทับด้านบน ใช้น้ิวมือ ทง้ั สองขา้ งลอ็ กกนั ไว้ แขนทงั้ สองขา้ งเหยยี ดตรง ไหลข่ องผชู้ ว่ ยเหลอื ตง้ั ฉากกบั หนา้ อก ของผปู้ ว่ ย ให้ใช้น้ำ� หนักจากไหล่กดลงมา แขนเหยียดตรง กดลงในแนวแรงตง้ั ฉากกบั พนื้ ใช้ข้อสะโพกเป็นจุดหมุน เวลาในการกดและปล่อยมือขึ้นต้องเท่ากัน แรงและเร็ว เปน็ จังหวะให้ไดค้ ณุ ภาพสงู ดงั น้ี - กดลึกลงไป 5 - 6 เซนตเิ มตร หรอื 2 - 2.4 นิ้ว - อัตราเร็วในการกดหนา้ อก 100 - 120 คร้งั ต่อนาที - ขัดจงั หวะ หรอื หยดุ กดหนา้ อกให้นอ้ ยกวา่ 10 วินาที - ถอนมอื ขนึ้ มาเพ่อื ใหห้ น้าอกขยายคนื สตู่ ำ� แหน่งเดมิ ทุกครั้ง - ไม่เป่าลมช่วยหายใจโดยเป่าลมเข้ามากเกนิ ไป - กดหน้าอก 30 ครัง้ สลบั กับการเป่าปาก 2 คร้งั นบั เป็นหน่งึ รอบ ประเมินซ�้ำทุก 5 รอบ หมายเหตุ : ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ หรือผู้ช่วยเหลือไม่ท�ำการเป่าปาก ให้กดหน้าอก อยา่ งเดียวตอ่ เนื่อง 200 คร้งั หรอื ประมาณ 2 นาที แล้วประเมินซำ้� การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชีพขัน้ พ้ืนฐาน 7 Emergency First Aid and Basic CPR

6. การช่วยหายใจ (การเป่าปาก) ผู้ช่วยเหลือมีความเส่ียงต่อการติดโรคจากการช่วย หายใจ หรอื การเป่าปาก เชน่ โรคโควิด-19 ไวรสั ตบั อักเสบเอ ผูช้ ่วยเหลอื จึงสามารถ เลือกการช่วยฟื้นคืนโดยการกดหน้าอกอย่างเดียว ในกรณีท่ีท่านม่ันใจว่าสามารถ ช่วยการหายใจไดค้ รบถ้วนตามหลกั การชว่ ยฟน้ื คืนชพี การชว่ ยหายใจมวี ธิ กี าร ดงั น้ี - หลงั จากกดหนา้ อกครบ 30 ครั้ง แลว้ ใหเ้ ปดิ ทางเดนิ หายใจ โดยใชว้ ิธกี ารกดหน้าผาก เชยคาง โดยใช้น้ิวโป้งกับน้ิวช้ีของมือข้างท่ีกดหน้าผาก บีบจมูกผู้ป่วยให้สนิท ส่วนมือข้างท่ีเชยคาง ขึ้นมาชว่ ยเปิดปาก แลว้ กม้ ลงไปประกบปากผู้ป่วย (ปากต่อปาก) เป่าลมเข้าใช้เวลาครง้ั ละประมาณ 1 วินาที ขณะเป่าลมเข้าให้ช�ำเลืองมองไปท่ีหน้าอกของผู้ป่วย ต้องมองเห็นหน้าอกขยับข้ึนชัดเจน แล้วเงยหน้าขึน้ เพ่ือปล่อยใหผ้ ้ปู ่วยหายใจออกทางปาก แลว้ เปา่ ปากซ้ำ� เปน็ ครง้ั ท่ี 2 - ถ้าเป่าลมไม่เข้าให้รีบเปิดทางเดินหายใจใหม่ทันที โดยการกดหน้าผากเชยคางให้ มากขึ้น แลว้ เป่าปากคร้งั ที่ 2 (อย่าช่วยหายใจมากกว่า 2 คร้งั ) หลังจากน้ันใหร้ บี กดหน้าอกต่อทนั ที - ไมเ่ ปา่ ลมชว่ ยหายใจโดยเปา่ ลมเข้ามากเกินไป 8 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ ีพขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

7. ช่วยฟื้นคืนชีพต่อเน่ือง หลังจากช่วยหายใจแล้ว ให้รีบกลับมากดหน้าอกต่อทันที อย่างตอ่ เน่ือง หยุดกดหน้าอกใหน้ ้อยที่สดุ ไมเ่ กิน 10 วินาที โดยใหก้ ดหน้าอก 30 คร้งั สลับกับการเปา่ ปาก 2 ครง้ั หรอื 30 : 2 ไปจนครบ 5 รอบแล้วประเมินซ�ำ้ ให้ท�ำการ ชว่ ยฟืน้ คืนชีพไปจนกวา่ - ผู้ปว่ ยจะกลบั มามสี ญั ญาณชีพอีกครงั้ (ตากระพริบ ไอ หนา้ อกหน้าทอ้ งกระเพือ่ ม ตามจงั หวะการหายใจ หรือมีการเคล่อื นไหวของแขน ขา) - ทีมแพทย์ฉุกเฉนิ เข้ามาใหก้ ารชว่ ยเหลอื - เหนือ่ ยมากจนท�ำต่อไปไม่ไหว - แพทยว์ นิ ิจฉัยวา่ ผู้ป่วยเสยี ชวี ติ แล้ว ใหย้ ตุ กิ ารชว่ ยฟืน้ คนื ชพี (CPR) การช่วยฟื้นคืนชีพ หากเป็นไปได้ควรมีผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 2 คน เพ่ือสลับกัน กดหน้าอกและเป่าปาก จะช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพการช่วยชีวิตให้ได้ผลดีกว่าการมีผู้ช่วยเหลือคนเดียว 4.2 การช่วยฟื้นคืนชีพเด็ก ผู้ช่วยเหลือด�ำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ปรับวิธีการกดหน้าอกโดยให้ ผู้ช่วยเหลือวางมือลงตรงกึ่งกลางหน้าอก (กึ่งกลางระหว่างหัวนม) กดลึกลงไปประมาณ ⅓ ของความหนาของหน้าอก (หรือประมาณ 5 เซนติเมตร หรือ 2 น้ิว) ในการกดหน้าอก จะใช้มือเพียงมือเดียวหรือสองมือก็ได้ ส�ำหรับเด็กวัยรุ่นให้ใช้ความลึกในการกดเท่ากับผู้ใหญ่ (5 - 7 เซนติเมตร) การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการก้ชู พี ขัน้ พ้ืนฐาน 9 Emergency First Aid and Basic CPR

4.3 การช่วยฟ้ืนคืนชีพทารก ให้กดหน้าอกลึกลงไปประมาณ ⅓ ของความหนาของหน้าอก (หรือ 4 เซนติเมตร หรือ 1.5 นว้ิ ) โดยการใช้ 2 นิว้ มือ หรือ 2 น้ิวโปง้ อัตราเร็วของการกดหน้าอกคือ 100 - 120 ครง้ั ต่อนาที สลับกับการเป่าปาก 2 คร้ัง หรือ 30 : 2 จนครบ 5 รอบแล้วประเมินซ้�ำ (ใช้เวลา ในการประเมินไม่เกิน 10 วินาที) ในกรณีท่ีมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ปรับเปลี่ยนอัตราการกดหน้าอก จาก 30 คร้ัง เป่าปาก 2 ครั้ง มาเปน็ กดหน้าอก 15 ครง้ั เป่าปาก 2 คร้ัง แล้วประเมินซ�ำ้ เมอื่ ครบทุกๆ 10 รอบ การกดหน้าอกโดยใช้ 2 น้ิวมือ การกดหน้าอกโดยใช้ 2 น้ิวโปง้ การเปา่ ปาก 10 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกู้ชพี ขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

5. การใชเ้ คร่อื งเออดี ี (AED) เครื่องเออีดี (Automatic External Defibrillator:AED) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบพกพาทส่ี ามารถ วินิจฉัย ภาวะหัวใจเตน้ ผดิ ปกตทิ ่อี นั ตรายแก่ชีวิต (ชนดิ Ventricular Fibrillation หรือหัวใจห้องล่างเต้นแผ่นระรัวที่ไม่มีสัญญาณชีพ และ Ventricular Tachycardia) ได้โดย อัตโนมัติ และสามารถ ให้การรักษา โดยปล่อยไฟฟ้าไปช็อก หรือกระตุกหัวใจเพื่อหยุดภาวะหัวใจ เตน้ ผิดปกติน้ันให้หวั ใจกลับมาเต้นใหมใ่ นจงั หวะท่ีถกู ต้อง เคร่ืองเออีดี มักพบติดต้ังในพ้ืนท่ีสาธารณะท่ีมีประชาชน หรือผู้ใช้บริการจ�ำนวนมาก เช่น สถานีรถสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามบิน สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพื่อใช้ในการช่วยชีวิตผู้ที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหันให้รอดชีวิตได้ทันท่วงที ในอนาคต มีแนวโน้มการติดต้ังเครื่องเออีดีเพ่ิมมากขึ้น ท่านจะทราบได้ว่าเครื่องเออีดีน้ันติดตั้งอยู่จุดใดได้ โดยสังเกตเหน็ สญั ลกั ษณ์เชน่ น้ี วธิ ีการใช้เคร่ืองเออีดี เครอื่ งเออดี ี มหี ลายแบบหลายยห่ี อ้ แตก่ ารใชง้ านไมย่ งุ่ ยากและไมม่ คี วามแตกตา่ งกนั มาก หลกั การใชง้ านของเครอ่ื งเออดี ี มดี ังนี้ 1. เปิดเครอื่ ง กดปุ่มเปดิ เครอื่ ง ในขณะท่ีเคร่ืองเออีดบี างรนุ่ จะท�ำงานทนั ทเี ม่อื เปดิ ฝาครอบออก เมือ่ เปิดเคร่ืองแล้วจะมีเสยี งบอกใหร้ วู้ า่ ตอ้ งท�ำอยา่ งไรตอ่ ไป ให้ปฏบิ ตั ิตามทเ่ี ครือ่ งสง่ั ทนั ที 2. ติดแผ่นน�ำไฟฟ้าที่หน้าอกของผู้ป่วย ตรวจสอบหน้าอกของผู้ป่วยว่าแห้งสนิท หากพบว่า เปียกน�้ำหรือไม่แห้งสนิทให้ใช้ผ้าเช็ดบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้งก่อน แล้วลอกแผ่นพลาสติก การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 11 Emergency First Aid and Basic CPR

ด้านหลังแผ่นน�ำไฟฟ้าออก แปะแผ่นน�ำไฟฟ้าแผ่นที่หน่ึงท่ีใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และแปะ แผน่ ทส่ี องท่ีบรเิ วณใตแ้ นวราวนมซ้ายด้านขา้ งลำ� ตวั ตรวจดูใหแ้ นใ่ จวา่ สายไฟฟ้าจากแผ่นน�ำไฟฟา้ ต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย หากผู้ป่วยเป็นเด็กตัวเล็ก หรือทารกอาจจ�ำเป็นต้องแปะแผ่นน�ำไฟฟ้า ทบ่ี ริเวณดา้ นหน้าและด้านหลังของลำ� ตวั (ตามรูป) 3. เครอื่ งเออดี ีท�ำการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหวั ใจ เครอ่ื งเออดี ี สว่ นมากจะเริม่ วเิ คราะห์คล่ืนไฟฟา้ หัวใจทันทีเมื่อแปะแผ่นน�ำไฟฟ้าเสร็จ เคร่ืองบางรุ่นต้องกดปุ่ม “วิเคราะห์” ก่อน ระหว่างน้ัน ห้ามสัมผสั ถูกตัวผู้ปว่ ย ให้ร้องเตอื นดงั ๆ วา่ “ทุกคนถอย!!!” เครอื่ งเออดี ี จะใช้เวลาส้นั ๆ ประมาณ 5 - 10 วินาที ในการวิเคราะห์ ระหว่างนนั้ อาจจะได้ยินเสียงการส่งสญั ญาณวิเคราะห์ 4. เมอื่ เคร่ืองเออีดี ตรวจพบคลืน่ ไฟฟ้าหวั ใจที่จ�ำเปน็ ต้องท�ำการช็อก เครอ่ื งจะบอกวา่ “แนะน�ำให้ ทำ� การชอ็ ก ถอยออกจากผู้ป่วย กดปุ่ม “ชอ็ ก” แต่ก่อนท่ผี ชู้ ่วยเหลือจะกดปมุ่ ชอ็ กต้องตรวจสอบ ให้แนใ่ จวา่ ไม่มใี ครสัมผสั ถูกตวั ของผู้ป่วย ดว้ ยการตะโกนบอกดงั ๆ ว่า “ทุกคนถอย!!!” พร้อมกบั 12 การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกูช้ พี ข้ันพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

กางแขนออกเพื่อกันผู้ท่ีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามา มองซ้�ำอีกครั้งเพื่อเป็นการตรวจสอบคร้ังสุดท้ายว่า ไม่มผี ใู้ ดสมั ผสั ผปู้ ่วยอยู่ แล้วจงึ กดปุม่ “ช็อก” ทกุ คนถอย!!! Shock เม่ือกดปุ่มช็อกแล้วให้เร่ิมกดหน้าอกต่อทันที 30 คร้ัง สลับกับช่วยหายใจ (การเป่าปาก) 2 ครั้ง หรือกดหน้าอกอย่างเดียวในกรณีที่ท่านไม่ต้องการที่จะเป่าปาก ไปจนกว่าเครื่องเออีดี จะวิเคราะห์คล่ืนไฟฟ้าหัวใจซ้�ำอีกครั้งเม่ือครบทุกๆ 2 นาที ให้ท�ำการกดหน้าอกและช่วยหายใจ หรือกดหน้าอกอย่างเดียวร่วมกับการใช้เครื่องเออีดี ไปจนกว่าผู้ป่วยจะฟื้น หรือหน่วยกู้ชีพจะมาถึง และรบั ผปู้ ว่ ยส่งไปรกั ษาตอ่ ทโี่ รงพยาบาล 13การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกชู้ ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน 1. ภาวะทางเดินหายใจถกู อดุ กน้ั (Choking) 1.1 การแก้ไขทางเดนิ หายใจถูกอดุ ก้นั ในผใู้ หญ่และเด็กโต 1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการของทางเดินหายใจถูกอุดกั้น คือ เอามอื กุมทคี่ อ ตาเหลอื ก หนา้ เขยี ว กระวนกระวาย เปน็ ตน้ ให้รบี เขา้ ไปถามว่า “อาหารติดคอ ใช่หรือไม่” 2. ถา้ ผู้ปว่ ยพยกั หนา้ หรือตอบวา่ “ใช”่ ให้รีบขออนญุ าต ผปู้ ว่ ย “ใหผ้ ม/ฉนั ชว่ ยคณุ นะครบั /คะ” แลว้ รบี เขา้ ไป ทางด้านหลัง แล้วใช้มือข้างหน่ึงหาสะดือ แล้วใช้ มืออีกข้างหน่ึงก�ำหมัดแล้ววางเหนือสะดือ ใต้ลิ้นปี่ โดยหันด้านน้ิวโป้งเข้าหาล�ำตัวผู้ป่วย บอกให้ผู้ป่วย แยกขาออกแล้วผู้ช่วยเหลือวางขาตรงกลางหว่างขา ผู้ปว่ ย 3. รัดกระตกุ ต่อเน่อื ง 5 ครงั้ อัตราเรว็ 1 ครง้ั ตอ่ วินาที ให้ท�ำไปจนกว่าเศษอาหารจะออก หรือผปู้ ว่ ยหมดสติ 14 การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกูช้ ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

สำ� หรบั คนอ้วน หรอื คนท้อง ให้ใชว้ ธิ กี ารรัดกระตุกทีห่ นา้ อก ชุดละ 5 ครง้ั ตอ่ เน่ือง ท�ำไปจนกวา่ เศษอาหารจะออก หรือหมดสติ (ใหท้ ำ� CPR ทันที) เมอ่ื แกไ้ ขได้แลว้ ควรน�ำ ผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทกุ ราย ถ้าผปู้ ว่ ยหมดสติ ไม่หายใจ (แขนจะตกลงมา) ใหจ้ บั ผ้ปู ่วยนอนราบ รีบโทรแจง้ 1669 แลว้ เรม่ิ ท�ำการช่วยฟื้นคืนชีพทนั ที ใหท้ ำ� ไปจนกวา่ รถพยาบาลจะมาถึง หรอื ผู้ปว่ ยจะฟื้น 15การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกชู้ ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

1.2 การแก้ไขทางเดินหายใจถูกอุดก้ันเม่ือผู้ป่วยนั่งบนรถเข็น ให้ใช้วิธีรัดกระตุกที่หน้าท้อง เหมือนกับท�ำในท่ายืน ถ้าไม่สามารถท�ำได้เนื่องจากลักษณะของรถเข็นสามารถใช้วิธีรัดกระตุก ท่ีหน้าอกแทน หรือน�ำรถเข็นไปชิดผนังห้อง ล็อกล้อท้ังสองข้าง ใช้สองมือประสานกันแล้ว วางสน้ มือระหวา่ งสะดือกับลน้ิ ปี่ ดนั หนา้ ท้องในแนวแรงเฉยี งขนึ้ ด้านบน 5 ครั้งต่อเนอ่ื ง ถา้ ผู้ป่วย หมดสติ ให้นำ� ลงมาจากรถเข็นแลว้ ทำ� การชว่ ยฟ้นื คืนชีพ (CPR) ทนั ที 1.3 การแก้ไขทางเดินหายใจถูกอุดกั้นเมื่อเกิดกับตนเองและอยู่คนเดียว ให้ใช้มือรัดกระตุก ท่ีหน้าท้องตนเองเหมือนการช่วยเหลือผู้อ่ืน หรือหาเก้าอี้ท่ีมีพนักแข็งแรงที่อยู่ใกล้เคียงมา แล้ววางหน้าท้องบริเวณเหนือสะดือ ใต้ล้ินปี่ ลงบนพนักเก้าอี้กระแทกตัวลงไปต่อเนื่อง 5 คร้ัง หรอื จนกว่าสงิ่ อดุ ก้นั จะออก 16 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ ีพขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

1.4 การแก้ไขทางเดนิ หายใจอดุ กนั้ ในทารก 1. ให้นั่งคุกเข่ากับพื้น หรือน่ังบนเก้าอ้ี หรือท่ายืน ใช้มือประคองศีรษะทารกบริเวณขากรรไกร จัดให้อยู่ในท่าคว่�ำโดยให้ทารกนอนทาบบน หน้าแขน วางแขนบนหน้าขา แล้วใช้มือตบลง ที่ตรงก่ึงกลางกระดูกสะบักทั้งสองข้าง จ�ำนวน 5 คร้ัง ต่อเนื่อง อัตราเรว็ 1 ครั้งตอ่ วินาที 2. ใช้มืออีกข้างหน่ึงประคองที่ท้ายทอยแล้วใช้แขน แนบลงตรงก่ึงกลางหลังของทารก แล้วพลิก ทารกหงายหน้าขึ้นน�ำมาวางไว้บนต้นขา แล้วใช้ 2 นิ้วมือวางลงตรงก่ึงกลางหน้าอกใต้แนว ราวนม กดลึกลงไป ⅓ ของความหนาของ หน้าอก จ�ำนวน 5 คร้ัง ต่อเนื่อง อัตราเร็ว 1 ครั้งต่อวินาที ให้ท�ำไปจนกว่าส่ิงแปลกปลอม จะออก ถ้าทารกหมดสติ หยุดหายใจ ให้เข้าสู่ ขน้ั ตอนของการกฟู้ นื้ คืนชพี ทารกทันที การจัดท่าพักฟนื้ ทารก 17การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการก้ชู พี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

2. กลา้ มเนอ้ื หวั ใจขาดเลอื ดเฉยี บพลัน (Heart attack) ส่ิงท่คี วรสังเกตและจดจำ� l เจ็บหนา้ อกร้าวไปทแี่ ขนซา้ ย อาจจะรา้ วไปข้างเดยี ว หรอื ท้ังสองขา้ ง หรือรา้ วไปทีข่ ากรรไกร และ จะไม่หายไปแม้ไดพ้ ัก l หายใจไมอ่ อก หายใจลำ� บาก l ร้สู ึกอดึ อัดไมส่ บายบริเวณใต้ลิ้นป่ี l ล้มลงโดยไมม่ อี าการเตือน แหลง่ ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/ Myocardial_infarction การปฐมพยาบาลผปู้ ว่ ยกล้ามเนือ้ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart attack) 1. โทรแจง้ 1669 ทนั ที และใหผ้ ปู้ ว่ ยพัก งดทำ� กจิ กรรมทง้ั หมดทนั ที 2. จดั ใหผ้ ้ปู ่วยอยูใ่ นท่าที่สบาย จัดให้ผู้ปว่ ยอย่ใู น ท่าน่ังพิงบนเก้าอี้ คลายเสื้อผ้าให้หลวม หาผ้า มารองใต้เข่า และคอยชว่ ยปลอบใจ ใหก้ �ำลังใจ เตรยี มพรอ้ มทจ่ี ะทำ� การชว่ ยฟน้ื คนื ชพี รว่ มกบั การใช้เคร่อื งเออดี ี 3. ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยา ตามท่ีแพทย์ส่ัง เช่น ยาอมใต้ลิ้น หรือแอสไพริน และให้ผู้ป่วยหายใจ ด้วยออกซเิ จน ถา้ ทา่ นผ่านการฝึกอบรมมาแลว้ 18 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชีพข้นั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

4. คอยเฝา้ สงั เกตอาการ ใหผ้ ูป้ ่วยไดพ้ กั กนั ไม่ให้ คนมามุง คอยตรวจสัญญาณชีพ ได้แก่ การ หายใจ ชีพจร ระดับความรู้สึกตัว และบันทึก การเปล่ียนแปลง ในขณะทร่ี อรถพยาบาลมารบั 3. เส้นเลอื ดในสมองแตก ตบี ตัน (Stroke) สงิ่ ที่ควรสังเกตและจดจ�ำ hแtหtลpง่s:ท//่ีมeาn.wikipedia.org/wiki/Stroke ➣ กลา้ มเน้ือใบหน้าออ่ นแรง ยมิ้ ไมไ่ ด้ ➣ แขน ขาอ่อนแรง เคล่ือนไหวไดข้ า้ งเดียว ➣ อ่อนเปล้ยี ทนั ทีทนั ใด ดา้ นใดด้านหนง่ึ หรือ ท้งั สองดา้ นของล�ำตวั ➣ พดู ไม่ชัด พดู ไมร่ ้เู รอื่ ง ทันทที ันใด ➣ บนั ทกึ เวลาท่ีเร่ิมเกดิ อาการ ➣ สายตาพร่ามวั ทนั ที ➣ สบั สนทันทีทนั ใด ➣ ปวดศีรษะแบบไมท่ ราบสาเหตุทันทีทนั ใด ➣ มึนศรี ษะ ยนื ไมม่ ่ันคง หรือล้มลงทนั ทีทนั ใด 19การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกชู้ พี ขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

l การปฐมพยาบาลผปู้ ่วยเสน้ เลอื ดในสมองแตก ตบี ตัน (Stroke) 1. ตรวจสอบใบหน้าของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยอยู่ใน ท่าท่ีสบาย บอกใหผ้ ู้ป่วยย้ิม ถ้าผปู้ ว่ ยเส้นเลือด สมองแตก ตีบ ตัน จะยิ้มได้ข้างเดียว อีกข้าง หนึ่งจะตกลงมา 2. ตรวจสอบแขนของผู้ป่วย บอกให้ผู้ป่วย ยกแขนข้ึน ถา้ ผู้ป่วยเปน็ stroke จะยกแขนได้ ข้างเดียว 3. ตรวจสอบค�ำพูดของผู้ป่วย ให้ถามค�ำถาม ผู้ป่วย แล้วสังเกตดูว่าผู้ป่วยเข้าใจค�ำถามและ ตอบชัดเจนหรอื ไม่ ปกติจะพบวา่ พดู ไมช่ ดั 4. โทรแจ้งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อขอความ ช่วยเหลือ ให้โทร 1669 แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ท่านสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของเส้นเลือด ในสมองแตก ตีบ ตัน (Stroke) แล้วจดเวลา ที่เกิดอาการ อยู่เป็นก�ำลังใจ และประเมิน สัญญาณชีพ ได้แก่ การหายใจ ชีพจร ระดับ ความรู้สกึ ตวั ในระหวา่ งทีร่ อรถกชู้ ีพมาถึง 20 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการก้ชู พี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

4. หอบหืด (Asthma) สง่ิ ท่ีควรสงั เกตและจดจำ� l หายใจลำ� บาก l หายใจมเี สยี งวีด้ l ไอ l เครยี ดและวติ กกงั วล l พูดลำ� บาก l ผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บมสี คี ล�้ำ ในรายที่เปน็ อยา่ งรุนแรงทนั ทีทนั ใด l อาจมีภาวะหมดแรงและอาจจะหมดสติได้ การปฐมพยาบาลหอบหดื 1. ช่วยผู้ป่วยใช้เครื่องพ่นยา (Inhaler) ตั้งสติ ไม่ตื่นเต้นและให้ความอบอุ่นใจกับผู้ป่วย ช่วยผู้ปว่ ยหาเครอ่ื งพน่ ยา (ปกตจิ ะเป็นสีฟา้ ) และให้หายใจจากเครื่องพน่ ยา 2. บอกให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง ช่วยให้ผู้ป่วย อยู่ในท่าท่ีผ่อนคลาย บอกให้ผู้ป่วยหายใจ ลึกๆ และช้าๆ ถ้าอาการเล็กน้อยจะหายไป ภายใน 2-3 นาที ถ้ายังไม่หายให้ผู้ป่วย หายใจจากเคร่ืองพ่นยา 1-2 ครัง้ ทกุ ๆ 2 นาที จนครบ 10 ครงั้ 21การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการก้ชู พี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

3. โทรแจ้ง 1669 ถ้าใช้ยาแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วย หายใจไม่ออก จะท�ำให้พูดล�ำบาก และเร่ิม มอี าการออ่ นเปล้ยี 4. เฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วย และตรวจสอบ สัญญาณชีพ ได้แก่การหายใจ ชีพจร และ ระดับความรู้สึกตัว จนกว่าผู้ป่วยจะดีขึ้น หรือ รถพยาบาลจะมาถงึ คอยชว่ ยให้ผปู้ ว่ ยไดใ้ ช้ยาพน่ 22 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการก้ชู ีพข้ันพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

5. ภาวะแพ้อย่างรนุ แรงเฉยี บพลนั (Anaphylaxis) สง่ิ ท่คี วรสังเกตและจดจ�ำ แหล่งทม่ี า Wikimedia Common l เกดิ ผ่นื แดงตามผวิ หนัง ลมพษิ มีอาการคนั ผวิ หนังแดง หรอื ซีด l วงิ เวียนศีรษะ หนา้ มืดคล้ายจะเปน็ ลม l คลืน่ ไส้ อาเจยี น ปวดท้อง หรอื ท้องเสีย l ความดันโลหติ ลดต�่ำลง l ลน้ิ ปาก หรือคอบวม หายใจติดขัดและอาจมีเสยี ง ดังวี๊ดๆ l รูส้ ึกเหมือนมีสง่ิ อดุ ตนั ในล�ำคอ กลนื ลำ� บาก l แนน่ หน้าอก ใจส่ัน l ชพี จรเบา เรว็ l ไอ จาม น้�ำมกู ไหล l รู้สึกปวดคลา้ ยเข็มท่ิมตามมอื เทา้ ปาก หรอื หนังศรี ษะ l พดู ไม่ชัด ตะกกุ ตะกกั l บางรายท่มี อี าการรนุ แรงมาก อาจเส่ยี งตอ่ ภาวะช็อก ซง่ึ สังเกตไดจ้ ากอาการหายใจลำ� บาก ไม่มีแรง ชีพจร เตน้ เบาเร็ว มอี าการสบั สน มึนงง หรอื หมดสติ การปฐมพยาบาลภาวะภูมแิ พ้อยา่ งรุนแรงเฉียบพลนั (Anaphylaxis) 1. รบี โทรแจง้ 1669 ทนั ที แจง้ วา่ ท่านสงสัยว่า ผู้ป่วยมีอาการของภาวะภูมิแพ้อย่างรุนแรง เฉยี บพลัน 23การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

2. ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยา ส�ำหรับผู้ป่วยที่ทราบ ว่าตนเองมีอาการแพ้และมียาอิพิเนฟรินพก ตดิ ตวั ให้ฉีดยาเขา้ กล้ามเนือ้ ตน้ ขาของผปู้ ว่ ย แหลง่ ทม่ี า : https://www.prnewswire.com hแtหtลpง่s:ท//มี่ wาw: w.facebook.com/talktodr.mai/photos /a.642732969140125/1169975203082563/?type=3&theater 3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าท่ีสบาย ผู้ป่วยท่ีหายใจล�ำบากแต่ยังรู้สึกตัวดี ควรพยุงให้น่ัง บนเก้าอี้ หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม ควรให้นอนราบกับพ้ืน และยกขาสูง 4. เฝ้าติดตามอาการ ตรวจดูชีพจรและ การหายใจ หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่มี การตอบสนอง หรือหยุดหายใจ ให้ท�ำ การกดหนา้ อก (CPR) ทันที 24 การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกู้ชพี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

6. ภาวะเลือดออกภายนอกอยา่ งรนุ แรง (Bleeding) การปฐมพยาบาลภาวะเลอื ดออกภายนอกอย่างรุนแรง 1. ใช้วิธีการกดลงโดยตรงที่บาดแผล ถ้าจ�ำเป็น ให้ถอด หรือตัดเสื้อผ้าท่ีคลุมอยู่ออก แล้วใช้ ผ้าสะอาดท่ีไม่เป็นขุยปิดทับลงบนบาดแผล ใช้มอื กดลงตรงๆ น่ิงๆ 2. ยกประคองส่วนท่ีเป็นบาดแผลให้สูงกว่า ระดบั หัวใจ กดทีบ่ าดแผลและยกพยงุ แผลไว้ 3. ช่วยให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้น ยกส่วนที่ได้รับ บาดเจ็บให้สงู ไว้ 4. โทรแจ้ง 1669 โดยบอกขนาดและต�ำแหน่งของ บาดแผลและจ�ำนวนเลอื ดท่เี สยี ไป (โดยประมาณ) 25การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกชู้ พี ขัน้ พื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

5. ใช้ผ้าพันแผล พันให้ผ้าปิดแผลอยู่กับท่ี ต ร ว จ ส อ บ ร ะ บ บ ก า ร ไ ห ล เ วี ย น โ ล หิ ต ข อ ง อวัยวะส่วนปลายทุกๆ 10 นาที ให้คลาย ผ้าพันแผลถ้าจ�ำเป็น เฝ้าติดตามสัญญาณชีพ ได้แก่ การหายใจ ชพี จร และระดับความรู้สกึ ตัว ในระหว่างทร่ี อรถพยาบาลมาถึง 7. ภาวะช็อก (Shock) สิ่งที่ควรสงั เกตและจดจำ� เมอ่ื เปน็ มากข้ึน ชพี จรเต้นเบา เรว็ หรือบางรายอาจไมเ่ ต้น ➣ ชีพจรเตน้ เบาเร็วผิดปกติ ตวั ซดี และเย็น ➣ หายใจตนื้ และเรว็ เหง่ือแตก ➣ วงิ เวียนศีรษะ หน้ามดื ➣ อ่อนเปลี้ย ➣ คล่นื ไส้ อาเจยี น ➣ กระหายน�้ำ เมือ่ ออกซเิ จนมาเลย้ี งสมองน้อยลง ➣ กระวนกระวาย ➣ หายใจเฮอื ก ➣ หมดสติ การปฐมพยาบาลผปู้ ่วยช็อก 1. จับให้ผู้ป่วยนอนราบ ดูแลสาเหตุของการช็อก เช่น เสียเลือด ไฟไหม้ เป็นต้น ช่วยประคอง ให้ผู้ป่วยนอนลง ถ้าเป็นไปได้ควรให้นอนบน ผา้ ห่มหรือผ้านุม่ ยกขาใหส้ ูงกว่าระดับหวั ใจ 26 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกชู้ พี ข้ันพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

2. โทรแจ้ง 1669 ว่าท่านสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการ ชอ็ ก 3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อไม่ให้ขัดขวาง การไหลเวยี นของโลหติ ท่คี อ หนา้ อก เอว 4. ให้ความอบอุ่นร่างกายผู้ป่วย ห่มด้วยผ้าห่ม เพ่ือให้ความอบอุ่น แนะน�ำให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ เฝ้าสังเกตอาการของสัญญาณชีพ ได้แก่ การหายใจ ชีพจรและระดับความรู้สึกตัว ในขณะที่รอรถพยาบาลมาถงึ 8. การบาดเจ็บท่ศี รี ษะ (Head injury) สง่ิ ท่ีควรสังเกตและจดจ�ำ ส�ำหรับผู้ทีบ่ าดเจบ็ รนุ แรง l หมดสติในช่วงเวลาส้นั ๆ l มปี ระวตั ิว่ามวี ตั ถพุ งุ่ มากระแทกที่ศรี ษะ/ l อาจมีรอยฟกช้�ำที่ศรี ษะ ล้มหัวฟาดพ้นื l มนึ งง/คล่ืนไส้ อาเจียน l การตอบสนองลดลง l สูญเสียความจำ� ขณะเกิดเหตุ หรอื l มนี �ำ้ เลือด หรอื คราบเลอื ดออกทางจมกู กอ่ นเกิดเหตกุ ารณ์ และหู l ปวดศรี ษะเล็กนอ้ ย l รูม่านตาสองขา้ งไมเ่ ท่ากนั l สับสน 27การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ พี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

การปฐมพยาบาลการบาดเจบ็ ที่ศรี ษะ 1. ใช้วิธีการกดโดยตรงที่บาดแผล ใช้ผ้าปิดแผล ที่สะอาดปิดลงบนบาดแผล โดยใช้มือกดลงไป ตรงๆ เพ่ือเป็นการห้ามเลือด 2. ใช้ผ้าพันแผล ปิดแผลให้นิ่งอยู่กับท่ี โดยการ ใช้ผ้าก๊อซเป็นม้วน หรือผ้าม้วนยืดเพื่อรักษา แรงดนั ที่กดลงบนผา้ ปดิ แผล 3. จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ถ้าเป็นไปได้ควรหาผ้า มารองให้ศีรษะและไหล่ให้สูงข้ึนเลก็ นอ้ ย จดั ให้ ผปู้ ว่ ยอย่ใู นท่าทส่ี ุขสบายมากทส่ี ุด 4. เฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คอยตรวจวัด สญั ญาณชพี ไดแ้ ก่ การหายใจ ชีพจร และระดบั ความรู้สึกตัว ให้รีบโทรแจ้ง 1669 ถ้าผู้ป่วย มอี าการบาดเจบ็ อย่างรนุ แรง 28 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการก้ชู ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

9. การบาดเจ็บท่กี ระดกู สันหลัง (Spinal injury) สิ่งทค่ี วรสังเกตและจดจ�ำ l การตกจากทสี่ งู โดยเอาหลัง ศีรษะ หรือขา ลง l อาจจะมอี าการดงั น้ี l เจบ็ ท่ีคอและหลงั l กระดกู ผดิ รูป บดิ เบี้ยวตรงบรเิ วณ ท่ีมีสว่ นโค้ง l กดเจ็บบรเิ วณทไ่ี ดร้ บั บาดเจ็บ l แขนขาข้างทีบ่ าดเจบ็ อ่อนแรง l ไมม่ คี วามรสู้ กึ หรือรสู้ กึ ผิดปกติ l ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ หรอื ล�ำไสไ้ ม่ได้ l หายใจลำ� บาก แhtหtลp่งs:ท//่ีมeาlearning.rcog.org.uk//neurological-disorders/ spinal-cord-injury การปฐมพยาบาลผูท้ ไี่ ด้รับบาดเจบ็ ทีก่ ระดกู สนั หลงั 1. บอกผู้ป่วยห้ามขยับศีรษะ โทรแจ้ง 1669 ถ้าเป็นไปได้บอกให้ผู้อื่นไปโทรแจ้ง ในขณะที่ท่าน ประคองศีรษะและคอผู้ป่วยไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว และบอกให้แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุด้วยว่าสงสัย ผปู้ ว่ ยอาจไดร้ ับบาดเจบ็ ทก่ี ระดูกสนั หลงั 2. ประคองศีรษะให้อยู่น่ิงๆ โดยน่ังคุกเข่าอยู่ ด้านเหนือศีรษะของผู้ป่วย วางแขนลงบนพ้ืน จบั ประคองศีรษะผ้ปู ่วยไว้ให้มัน่ คง 29การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชพี ขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

3. วางอุปกรณ์เสริมข้างศีรษะ ให้ผชู้ ว่ ยเหลืออีกคน หาผา้ มามว้ นเปน็ กอ้ นกลม แลว้ วางไว้ขา้ งศรี ษะ ทงั้ สองข้างเปน็ อปุ กรณเ์ สริม 4. เฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คอยตรวจวัด สญั ญาณชพี ได้แก่ การหายใจ ชีพจร และระดับ การตอบสนอง ในขณะทร่ี อรถพยาบาลมาถงึ 10. กระดกู หกั (Fractures) ส่งิ ท่ีควรสังเกตและจดจ�ำ l แขน ขาผิดรปู บวม มรี อยฟกช�ำ้ บรเิ วณทไี่ ดร้ ับบาดเจ็บ l ปวดและเคลื่อนไหวล�ำบากบรเิ วณที่บาดเจ็บ l งอ บิด หรือส้ันกวา่ ปกติ l มกี ระดูกโผล่ออกมาจากเนื้อ การปฐมพยาบาลกระดูกหกั 1. ประคองบริเวณที่หัก ช่วยผู้ป่วยประคอง ข้อด้านบนและด้านล่างบริเวณท่ีหัก ให้อยู่ใน ทา่ ท่สี บายท่สี ุด 30 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกชู้ พี ข้ันพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

2. ใช้ผ้าห่อป้องกันบริเวณที่หัก ใช้ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าปูโต๊ะ ห่อบริเวณที่หักและพยุงให้อยู่ ในท่าทส่ี บาย ขอ้ ควรระวัง 1. อยา่ พยายามขยับส่วนที่หักโดยไมจ่ �ำเปน็ อาจท�ำให้ไดร้ ับบาดเจ็บเพิม่ ข้ึนได้ 2. ถ้าเป็นแผลเปิดให้ปดิ แผลด้วยผ้าสะอาดไม่มีขยุ และพนั ใหเ้ รียบร้อย 3. พยุงส่วนท่ีบาดเจ็บไว้ ในกรณีท่ีการช่วยเหลือมาถึงล้าช้า ถ้าแขนหักให้หาอุปกรณ์มา คลอ้ งแขนไว้ ถ้าขาหกั ให้หาไม้มาแล้วใช้ผ้าพันไม้กอ่ นน�ำมาดามขา 4. ถ้าผู้ป่วยแขนหักและไม่มีอาการช็อก สามารถ นำ� ผปู้ ว่ ยสง่ โรงพยาบาลดว้ ยรถยนต์ แตถ่ า้ ขาหกั ควรนำ� สง่ ดว้ ยรถพยาบาลโดยการ โทรแจง้ 1669 แล้วคอยดูแลอาการช็อก เฝ้าติดตามอาการ และบันทึกการหายใจ ชีพจร และระดับการ ตอบสนองของผูป้ ่วย ข้อควรระวงั 3. ห้ามใหผ้ ปู้ ว่ ยรบั ประทานอาหาร หรอื ดมื่ เคร่อื งดืม่ เพราะอาจตอ้ งผ่าตดั ฉุกเฉนิ 4. ห้ามยกขาสงู เม่อื ตอ้ งรักษาอาการช็อก 31การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกู้ชพี ขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

11. แผลไหม้ (Burn) สิ่งท่ีควรสงั เกตและจดจำ� วัตถปุ ระสงคใ์ นการปฐมพยาบาล l อาจไหม้เพยี งผวิ หนงั ตนื้ ๆ l ยับย้งั การไหม้ทนั ทแี ละบรรเทาอาการปวด หรือไหมล้ ึกลงไปจนถงึ กลา้ มเนื้อ l เปดิ ทางเดินหายใจตลอดเวลา l ปวด l รกั ษาการบาดเจบ็ ที่เก่ยี วข้อง l หายใจลำ� บาก l ลดความเส่ยี งจากการติดเช้ือให้น้อยที่สดุ l ช็อก l ลดความเสี่ยงจากการชอ็ กให้มากที่สุด l เตรยี มการเคลอ่ื นยา้ ยเร่งด่วนไปยัง โรงพยาบาล l รวบรวมขอ้ มลู สง่ ต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉนิ การปฐมพยาบาลแผลไหม้ 1. ใช้น้�ำราดบริเวณแผลไหม้ทันที ด้วยน�้ำเย็น หรือเย็นจัดเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาทีหรือ จนกว่าอาการปวดจะหายไป จัดให้ผู้ป่วย อยู่ในท่าท่ีสบายโดยจัดให้ผู้ป่วยน่ัง หรือนอน และป้องกันบริเวณที่บาดเจ็บสัมผัสกับพ้ืนดิน 2. โทรแจ้ง 1669 แจ้งการบาดเจ็บและอธิบาย ถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และขนาดของ บาดแผลโดยประมาณ ข้อควรระวัง 1. หา้ มใช้ขผ้ี ง้ึ โลช่นั น�ำ้ มัน ทาแผลไหม้ ให้ใช้ยาสำ� หรับแผลไหม้เทา่ นนั้ 2. หา้ มใช้พลาสเตอรเ์ หนียวตดิ แผล 3. หา้ มสมั ผสั บรเิ วณแผลไหม้ 4. ถ้ามีอาการรุนแรง ใหร้ กั ษาอาการชอ็ ก 32 การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการก้ชู ีพขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

3. ถอดส่ิงต่างๆ ท่ีรัดตรึงออก ในขณะที่ให้ ความเย็นบริเวณแผลไหม้ ให้ถอดเส้ือผ้า หรือ เครื่องประดับออกจากบริเวณนั้นก่อนที่มัน จะบวม แต่หา้ มดงึ สงิ่ ที่ตดิ แน่นอยกู่ ับแผลออก 4. ปิดแผล เมื่อใช้ความเย็นเสร็จแล้วให้ปิดแผล ด้วยพลาสติกห่อของให้รอบบริเวณบาดแผลไหม้ อีกวิธีหนึ่งคือใช้ผ้าสะอาดท่ีไม่เป็นขุยปิดแผล ติดตามอาการและสัญญาณชีพของผู้ป่วย ในขณะทร่ี อรถพยาบาล ขอ้ ควรระวงั 5. ถา้ แผลไหม้ท่ีใบหนา้ ไม่ต้องใชผ้ ้าปดิ แผล ใหใ้ ชน้ �้ำเย็นราดไวจ้ นกวา่ รถพยาบาลจะมาถึง 6. ถ้าแผลไหมเ้ กดิ จากสารเคมี ให้ใส่ถุงมอื ป้องกนั ตนเองแลว้ ราดด้วยน�ำ้ นานอยา่ งนอ้ ย 20 นาที 7. ให้มองหาอาการแสดงของการส�ำลักควันไฟ เช่น หายใจลำ� บาก 33การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกู้ชพี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

12. ภาวะชัก (Convulsion) l ปัสสาวะราด l กล้ามเน้อื เริ่มคลายตวั และกลบั มา สิง่ ที่ควรสังเกตและจดจำ� หายใจเปน็ ปกติอีกครั้ง l หมดสติทันทที นั ใด l หลังชกั อาจมีอาการมนึ งงและจดจำ� l หลังโค้งเกรง็ อะไรไมไ่ ด้ l อาจจะหายใจมีเสียงดังแล้วเริ่มหายใจ l ผ้ปู ่วยบางคนอาจจะหลบั ลกึ ล�ำบาก ริมฝปี ากเขียวคลำ�้ l เร่ิมชกั กระตุก l อาจมีน้�ำลาย หรอื น�้ำลายปนเลอื ด (กัดริมฝปี าก หรือล้ินตนเอง) การปฐมพยาบาลผูป้ ว่ ยชัก 1. ปกป้องผู้ป่วย จับให้ผู้ป่วยนอนลง บอกให้ อยู่นิ่งๆ และให้ก�ำลังใจ เปิดทางเดินหายใจ และป้องกันการบาดเจ็บจากการกระแทก กับวัตถุ จัดพื้นที่ให้โลง่ จดเวลาที่ชัก 34 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกูช้ พี ขัน้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

2. ป้องกันศีรษะ และคลายเสื้อผ้าให้หลวม ถ้าเป็นไปได้ให้หาเบาะ หรือของนุ่มๆ มารอง ศีรษะ หาของนุ่มๆ มากนั ไว้รอบๆ เพ่อื ป้องกัน การบาดเจบ็ 3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักฟื้น ทันทีที่ผู้ป่วย หยุดชักผู้ป่วยอาจจะหลับลึก ให้เปิดทาง เดินหายใจและตรวจการหายใจ ถ้าผู้ป่วย หายใจได้ดใี ห้จัดอยู่ในท่าพกั ฟนื้ 4. โทรแจ้ง 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ ให้ก�ำลังใจกับครอบครัวของผู้ป่วยหรือผู้ดูแล ติ ด ต า ม อ า ก า ร แ ล ะ บั น ทึ ก สั ญ ญ า ณ ชี พ การหายใจ ชีพจร ระดับการตอบสนอง และ วัดอณุ หภมู ิ ในขณะท่ีรอรถพยาบาล ขอ้ ควรระวัง 1. หา้ มผกู มดั ผูป้ ่วย 2. ห้ามยดั ส่ิงของใดๆ เขา้ ไปในปากขณะผ้ปู ว่ ยชกั 3. โทรแจ้ง 1669 ถ้าผู้ปว่ ยมอี าการดงั ตอ่ ไปน้ี มีการชักซ้�ำ, อาการชกั นานเกิน 5 นาท,ี เปน็ การชักครัง้ แรกในชวี ิตของผ้ปู ่วย, หมดสตนิ านกวา่ 10 นาท,ี หลังจากหยดุ ชักแลว้ มกี ารไดร้ บั บาดเจ็บหลงเหลอื อยู่ 35การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกชู้ ีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

13. ภาวะสะเทอื นขวญั (Psychological trauma) คือภาวะจิตใจได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น พบเห็นบุคคลอันเป็นที่รัก เสยี ชีวติ อยา่ งฉับพลนั อยู่ในเหตกุ ารณค์ วามรุนแรง มีความรสู้ กึ ชีวติ ตกอยใู่ นอันตราย จนส่งผลให้ เกิดภาวะสะเทือนขวัญจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมได้ อาจพบอาการ แสดงออกทางร่างกาย เช่น ช็อก นิ่งเงียบ ตัวสั่น การแสดงอารมณ์เศร้าโศกหรืออาการโกรธเกรี้ยว รุนแรง หากผู้ท่ีอยู่ในภาวะสะเทือนขวัญถูกละเลย ไม่ได้รับการปฐมพยาบาลทางใจอย่างถูกต้อง และทันทว่ งทจี ะสง่ ผลต่อสขุ ภาพจติ ในระยะยาว การปฐมพยาบาลทางใจ เป็นการชว่ ยเหลือดา้ นจิตใจโดยยดึ หลัก 3 L ได้แก่ มองเห็น (Look)   รับฟัง (Listen)   ส่งต่อ (Link) มองเห็น (Look) เห็นว่าใครคือผู้ท่ีอยู่ในภาวะ สะเทือนขวัญ ให้รีบแยกบุคคลออกมาจาก เหตุการณ์นน้ั เพื่อช่วยเหลือตอ่ อย่างรวดเร็ว รับฟัง (Listen) รบั ฟังอยา่ งต้งั ใจไม่ด่วนตัดสิน ไม่แทรกแซง อยู่ใกล้ให้รู้สึกถึงความเป็นเพื่อน เข้าใจถึงอาการแสดงของอารมณ์รุนแรงใน ขณะน้ัน ช่วยประคับประคองให้อารมณ์ ผ่อนคลายและร่างกายได้รับความสบาย รับฟัง ให้รู้ถึงสิ่งที่คุกคามทางจิตใจและสัญญาณการ ขอความชว่ ยเหลอื ส่งต่อ (Link) ส่งต่อเพ่ือรับความช่วยเหลือท่ี ต้องการ เช่น ติดต่อญาติเพ่ือมารับการดูแลต่อ การใหข้ ้อมูล การสง่ ผปู้ ่วยออกจากพ้นื ทค่ี ุกคาม ยังพ้ืนท่ีปลอดภัย การได้รับยาลดความเครียด จากแพทย์ เป็นตน้ 36 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกูช้ พี ขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

14. การเคลือ่ นยา้ ยผู้ป่วย ผบู้ าดเจ็บในภาวะฉกุ เฉนิ ในกรณีท่ีเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถท�ำการปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุได้ไม่ควรเคล่ือนย้าย ผู้ป่วยโดยไม่มีความจ�ำเป็น เนื่องจากการเคล่ือนย้ายอาจท�ำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด หรือ มอี าการบาดเจบ็ มากกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้ปว่ ยท่ีมีอาการบาดเจบ็ บริเวณศรี ษะ คอ กระดูกสนั หลัง ควรรอให้เจ้าหน้าท่ีทางการแพทย์ที่มีความเช่ียวชาญพร้อมอุปกรณ์ที่ปลอดภัยท�ำการเคลื่อนย้าย ผปู้ ่วยเพื่อส่งรกั ษาตอ่ การเคลอื่ นย้ายผู้ป่วยจะพิจารณากระทำ� ในกรณที ีจ่ �ำเปน็ เรง่ ด่วน ดังต่อไปนี้ l สถานการณ์ไม่ปลอดภัย หรือก�ำลังจะไม่ปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ไฟไหม้ เส่ียงต่อ การระเบิด อนั ตรายจากสารเคมีรั่วไหล หรอื ตึกถลม่ เป็นต้น l จำ� เปน็ ตอ้ งเคลอ่ื นยา้ ยเพอ่ื เขา้ ไปใหค้ วามชว่ ยเหลอื ผบู้ าดเจบ็ คนอน่ื ทม่ี อี าการหนกั กวา่ l เพื่อสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ผู้ที่หมดสติล้มลงบนบันได และจ�ำเปน็ ต้องทำ� CPR ซ่งึ จ�ำเป็นตอ้ งปฏบิ ตั บิ นพนื้ ผิวราบ l ความปลอดภัยของเจ้าหนา้ ท่ชี ว่ ยชวี ติ เป็นส่งิ ทีม่ คี วามส�ำคัญอยา่ งมาก อยา่ งไรก็ตาม ถา้ เคลอื่ นยา้ ยออกไปจากบรเิ วณทเี่ กดิ เหตแุ ลว้ จะทำ� ใหเ้ กดิ ความปลอดภยั กบั เจา้ หนา้ ที่ ชว่ ยชวี ติ ควรพยายามเคลื่อนย้ายไปยงั บรเิ วณทีป่ ลอดภยั จะดีกว่า ก่อนการเคลอ่ื นย้าย ผู้ช่วยเหลอื ควรประเมิน ดงั ต่อไปน้ี l สภาพผปู้ ว่ ย ให้แนใ่ จว่าผู้เจ็บปว่ ยไมม่ ีการบาดเจบ็ ของอวัยวะสำ� คัญ ศีรษะ ด้านหลงั กระดกู สันหลัง l ความสูงและน้�ำหนักของผปู้ ว่ ย l ความแขง็ แรงของผชู้ ่วยเหลอื l อุปสรรค เชน่ บนั ได ชอ่ งทางผ่านแคบ l ระยะทางในการเคลอื่ นยา้ ย l คนอ่ืนๆ ที่สามารถใหค้ วามชว่ ยเหลือได้ l การชว่ ยเหลอื และการสง่ ตอ่ ผ้ปู ว่ ย การเคลอ่ื นยา้ ยผปู้ ว่ ยทป่ี ลอดภยั โดยทไี่ มส่ ง่ ผลใหผ้ ชู้ ว่ ยเหลอื ไดร้ บั บาดเจบ็ ผชู้ ว่ ยเหลอื ควรปฏบิ ัติ ดังนี้ l เวลาก้มตวั ลง ให้ใช้ขา ไมใ่ ช้หลงั l ให้ยอ่ เขา่ และสะโพก และหลกี เลย่ี งการบดิ ล�ำตวั l ใหเ้ ดนิ ไปขา้ งหนา้ เม่ือสามารถทำ� ได้ ก้าวส้ันๆ และมองบรเิ วณทกี่ �ำลงั จะเดินไป 37การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชีพขัน้ พื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

l หลีกเลี่ยงการบิด หรอื งอตัวของผ้ทู ไ่ี ดร้ ับบาดเจ็บทศี่ ีรษะ คอ และหลงั l ห้ามเคลื่อนย้ายผูบ้ าดเจ็บทตี่ ัวใหญ่ทีเ่ ราไมส่ ามารถลากได้อย่างสบาย การเคลอื่ นยา้ ยผปู้ ว่ ยในภาวะฉกุ เฉนิ มหี ลายวธิ ี ในหนงั สอื เลม่ นจ้ี ะเสนอวธิ กี ารเคลอื่ นยา้ ย ผู้ป่วยท่ีไม่บาดเจ็บบริเวณศีรษะ คอ หลัง ออกจากบริเวณท่ีไม่ปลอดภัยท่ีปฏิบัติบ่อย ง่าย และ ก่อใหเ้ กดิ อนั ตรายแก่ผู้ปว่ ยและผชู้ ่วยเหลือนอ้ ยท่ีสุด ได้แก่ - การลากเสอ้ื (Clothes Drag) เปน็ การลากเสื้อของผปู้ ่วยทไี่ ดร้ บั บาดเจ็บท่ีไมส่ ามารถขยับตัวได้ในพ้นื ราบ ปฏบิ ัตดิ ังนี้ 1. ผู้ช่วยเหลือยืนอย่เู หนือศรี ษะของผู้ป่วย จบั ทเ่ี ส้อื ของผู้ปว่ ยที่บริเวณดา้ นหลัง 2. ดึงโดยใช้เสื้อของผู้ป่วยและแขนของผู้ช่วยเหลือออกมาท�ำเป็นเปลรองศีรษะของผู้ป่วย (ตามรูป) - การลากผา้ หม่ (Blanket Drag) ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเม่ือมีข้อจ�ำกัดเก่ียวกับอุปกรณ์ ปฏบิ ตั ิดังน้ี 1. จัดใหผ้ ูป้ ว่ ยอยรู่ ะหวา่ งผชู้ ว่ ยเหลือและผ้าหม่ 2. พบั ผา้ หม่ เขา้ มาครึ่งแล้วน�ำมาไว้ชดิ กบั ดา้ นขา้ งตวั ของผปู้ ่วย 3. พลกิ ผปู้ ่วยเขา้ มาหาตวั ของผู้ชว่ ยเหลอื 4. คลี่ผ้าห่มทพ่ี ับไวอ้ อก ดงั นนั้ ผา้ หม่ จะอยู่ที่ใต้ล�ำตัวของผปู้ ่วย 5. พลิกผปู้ ว่ ยกลบั ไป ใหน้ อนบนผ้าห่ม 6. รวบผา้ หม่ ท่ีอยเู่ หนอื ศรี ษะแล้วลากผ้ปู ่วย (ตามรปู ) 38 การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการก้ชู พี ข้นั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

- การยกและเคลอื่ นยา้ ยโดยผูช้ ว่ ยเหลอื 3 คน ใช้ในการเคลอ่ื นย้ายผ้ปู ่วยทไี่ มส่ ามารถขยับตวั ได้หรือหมดสติ ปฏิบตั ิดงั นี้ 1. ผ้ชู ว่ ยเหลอื ทง้ั 3 คนน่งั ทา่ ชนั เข่าเดียวกัน เรยี งแถวกนั ที่ดา้ นใดดา้ นหนึ่งของผปู้ ว่ ย 2. ให้ผู้ช่วยเหลือคนใดคนหนึง่ ท�ำหนา้ ที่หัวหนา้ ทีม สง่ั การและให้จงั หวะแกส่ มาชกิ ในทีม เพื่อความพรอ้ มเพรยี งในการยก 3. ผู้ชว่ ยเหลอื ท้งั 3 คนวางมอื บนล�ำตัวผปู้ ว่ ยโดยตำ� แหนง่ ดงั น้ี - ผชู้ ว่ ยคนท่ี 1 วางมอื ตำ� แหน่งหนา้ อกหรือลำ� ตวั ชว่ งบน - ผู้ช่วยคนท่ี 2 วางมอื ต�ำแหน่งสะโพกและตน้ ขาดา้ นบน - ผู้ช่วยคนที่ 3 วางมอื ต�ำแหน่งตน้ ขาดา้ นลา่ งและสว่ นปลายขา 4. ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คนสอดมือเข้าใต้ลำ� ตัวของผเู้ จ็บปว่ ยตรงตามตำ� แหน่งทว่ี างมอื ไว้ 5. หวั หนา้ ทีมส่ังการให้จงั หวะใหแ้ กส่ มาชิกในทมี ยกผูเ้ จ็บปว่ ยข้ึนพรอ้ มกันวางบนเขา่ 39การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกูช้ ีพขัน้ พื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

6. หัวหนา้ ทีมสง่ั การใหส้ มาชกิ ในทมี ยกผเู้ จ็บป่วยขึ้นพรอ้ มๆกัน และลกุ ข้ึนยืน พร้อมทง้ั พบั ตวั ผปู้ ว่ ยเกบ็ เขา้ หาตัวผูช้ ่วยเหลือท้ัง 3 คน 7. หัวหน้าทีมสั่งการให้ออกเดินไปด้านซ้ายหรือด้านขวา ซึ่งจังหวะในการเดินเป็นไปใน ลกั ษณะกา้ วชดิ กา้ วพรอ้ มๆ กันทง้ั 3 คน จนถึงทหี่ มาย 8. เม่ือถึงที่หมายวางผู้ป่วยลงโดยให้ผู้ช่วยเหลือท้ัง 3 คนนั่งในท่าคุกเข่าข้างหนึ่งพร้อมกัน และผปู้ ่วยอยใู่ นทา่ เดียวกบั ช่วงจังหวะตอนทยี่ กข้นึ 9. หัวหนา้ ทมี ส่งั การใหว้ างผปู้ ว่ ยลงพรอ้ มๆ กัน 40 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ ีพขน้ั พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

15. งพู ิษกัด งูพิษอันตราย หมายถงึ งทู ่มี ีเข้ยี วพษิ ต่อนำ้� พิษท่มี ีนำ้� พษิ รนุ แรง แผลท่ีถูกงพู ษิ กดั จะเหน็ เป็นเขี้ยวพิษใหญ่ๆ 2 จุด หากเป็นรอยเขี้ยวเล็กๆ จ�ำนวนมากแสดงว่าเป็นงูไม่มีพิษ งูพิษ ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามอ�ำนาจท�ำลายของนำ้� พษิ ต่อระบบของร่างกาย คอื งูพิษต่อระบบประสาท เมื่อถูกงูพิษประเภทน้ีกัด พิษจะท�ำลายระบบประสาท ท�ำให้มีอาการหนังตาตก ลืมตา ไม่ขึ้น ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน�้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย อัมพาตและเสียชีวิตจากการหายใจขัดข้อง งูประเภทน้ี ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหล่ียม และ งูทับสมิงคลา เป็นต้น งูเหา่ งจู งอาง งูทับสมงิ คลา งูสามเหลี่ยม 41การปฐมพยาบาลฉกุ เฉนิ และการกู้ชพี ขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

งพู ิษตอ่ ระบบเลือด เม่ือถูกกัด จะมีอาการปวดบวมบริเวณที่ถูกกัดอย่างชัดเจน มีเลือดซึมตามรอยเขี้ยว เลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้�ำๆ เลือดออกตามไรฟัน เลือดก�ำเกาไหล อาเจียน และถ่ายอุจจาระ เป็นเลอื ด งปู ระเภทนี้ ได้แก่ งูกะปะ งูแมวเซา งูเขยี วหางไหม้ เป็นตน้ งูแมวเซา งเู ขียวหางไหม้ งกู ะปะ งูพิษตอ่ ระบบกลา้ มเนอื้ เม่ือถูกกัด จะมีอาการคล้ายงูพิษต่อระบบประสาทกัด เจ็บปวดกล้ามเน้ือ โดยเฉพาะ ทสี่ ะโพกและไหล่ ไตวายเฉียบพลัน ซงึ่ เป็นสาเหตุของการเสียชีวติ งูประเภทน้ี ไดแ้ ก่ งูทะเล งูทะเล 42 การปฐมพยาบาลฉุกเฉนิ และการกู้ชีพขั้นพ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

ลักษณะบาดแผลจากงมู ีพิษกัด ลักษณะบาดแผลจากงูไม่มพี ษิ กดั การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเม่อื ถกู งกู ัด 1. หยุดการเคลอ่ื นไหวของรา่ งกาย สังเกตบาดแผลวา่ มีรอยเขย้ี วงูพิษหรอื ไม่ 2. ล้างแผลด้วยน้�ำสะอาด หรือน้�ำเกลือทันที ใช้ผ้าม้วนยืดพันตั้งแต่บริเวณใต้รอยเข้ียว ทีถ่ กู กดั ขน้ึ มาจนถงึ ขอ้ ต่อของอวยั วะส่วนน้ันหรอื สงู เหนอื บาดแผลใหม้ ากทส่ี ุด 43การปฐมพยาบาลฉกุ เฉินและการกชู้ ีพขัน้ พื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR

3. หาไม้กระดาน หรือวัสดุที่มีความแข็งมาดามแล้วพันด้วยผ้าม้วนยืดทับอีกครั้ง เพ่ือให้ อวัยวะสว่ นท่ถี ูกกดั เคลอื่ นไหวนอ้ ยท่สี ดุ และจดั อวัยวะส่วนทถ่ี ูกกัดใหอ้ ยตู่ ำ�่ กวา่ ระดับหวั ใจ 4. นำ� ผู้บาดเจ็บสง่ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลท่อี ยู่ใกล้ โดยเรว็ ที่สุด เพื่อรบั การรักษา ด้วยเซรมุ่ แก้พิษงู 5. ถา้ งพู ่นพิษเขา้ ตา ให้ล้างตาดว้ ยน�ำ้ สะอาดมากๆ หา้ มขยี้ตา และรบี น�ำสง่ โรงพยาบาล 6. อย่าตื่นเตน้ หรอื ตกใจเพราะจะท�ำให้หัวใจสบู ฉีดเลอื ดมากขึ้น พษิ งูจะกระจายเรว็ ขนึ้ 7. หา้ มรับประทานยาและเคร่ืองดืม่ ทกี่ ระต้นุ หัวใจ ส่ิงที่ไม่ควรกระทำ� เมือ่ ถูกงูกดั 1. ไมค่ วรใช้ไฟจ้ี หรอื มดี กรีดบาดแผล เพราะจะทำ� ใหแ้ พทยว์ ินจิ ฉัยผิดพลาด 2. ไมค่ วรใชข้ ันชะเนาะ เพราะอาจท�ำให้อวยั วะขาดเลือดได้ 3. ไมค่ วรใชป้ ากดดู บาดแผล 4. ไม่ควรใหผ้ ปู้ ว่ ยด่ืมสุรา 5. ไม่ควรใชย้ ากระตนุ้ หวั ใจ มอร์ฟีน ยาระเหย หรอื ยาแกแ้ พ้ตา่ งๆ เพราะจะทำ� ใหส้ ับสน ถงึ อาการของพิษงทู างระบบประสาท หมายเหต:ุ แหล่งทีม่ าภาพบทงูพิษกัด https://www.saovabha.com/Flipbook/pdf/JAN08.pdf 44 การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกชู้ ีพขนั้ พ้ืนฐาน Emergency First Aid and Basic CPR


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook