Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 12 บทที่ 5 คุณภาพเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล

12 บทที่ 5 คุณภาพเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล

Published by chawanon, 2021-07-21 08:35:20

Description: 12 บทที่ 5 คุณภาพเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล

Search

Read the Text Version

บทท่ี 5 การเก็บรวบรวมขอ้ มลู การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นข้ันตอนหนึ่งของกระบวนการ ทางสถิติ ที่มี ความสาคัญ เพ่ือให้ได้มาซ่ึงข้อมูลท่ีตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซ่ึงหมายรวมท้ัง การเก็บข้อมูล ( Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมขอ้ มูล ( Data Compilation) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่จะได้ข้อมูลท่ีตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวม ข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและ ปฐมภูมิ โดยใช้เครื่องมือการ สมั ภาษณ์ การสารวจ การสงั เกต การกรอกแบบสอบถาม รายงานและเอกสารต่าง ๆ ประเภทของข้อมลู ข้อมลู หมายถงึ ข้อเทจ็ จริงเกยี่ วกับตวั แปรทส่ี ารวจโดยใชว้ ิธีการวัดแบบใดแบบหนง่ึ โดยท่วั ไปจาแนกตามลักษณะของขอ้ มูลไดเ้ ป็น 2 ประเภท คอื 1) ขอ้ มูลเชงิ ปรมิ าณ (Quantitative Data) คือ ขอ้ มลู ที่เป็นตวั เลขหรือนามาให้รหสั เป็นตวั เลข ซึ่งสามารถนาไปใชว้ ิเคราะห์ทางสถติ ิได้ 2) ข้อมลู เชงิ คุณภาพ (Qualitative Data) คอื ข้อมลู ที่ไม่ใช่ตวั เลข ไม่ไดม้ ีการให้รหัส ตัวเลขทจี่ ะนาไปวิเคราะห์ทางสถติ ิ แตเ่ ปน็ ข้อความหรือข้อสนเทศ แหล่งท่ีมาของข้อมูล แหลง่ ขอ้ มูลทส่ี าคญั ไดแ้ ก่ บุคคล เช่น ผู้ใหส้ มั ภาษณ์ ผู้กรอกแบบสอบถาม บคุ คลทีถ่ ูกสังเกต เอกสารทุกประเภท และข้อมูลสถติ ิจากหนว่ ยงาน รวมไปถึง ภาพถา่ ย แผนที่ แผนภูมิ หรือแม้แตว่ ัตถุ สิง่ ของ ก็ถือเป็นแหลง่ ข้อมลู ไดท้ ั้งสิน้ โดยทว่ั ไปสามารถจดั ประเภทข้อมลู ตามแหล่งทีม่ าได้ 2 ประเภท คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพ่ือ ตอบสนอง วัตถุประสงค์การวิจัยในเร่ืองนั้นๆ โดยเฉพาะ การเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือก เกบ็ ข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ แต่มี ข้อเสียตรงที่ส้ินเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจมีคุณภาพไม่ดีพอ หากเกิดความผิดพลาดในการเก็บ ขอ้ มูลภาคสนาม 2) ขอ้ มูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่างๆ ท่ีมีผู้เก็บหรือรวบรวมไวก้ ่อน แล้ว เพียงแต่นักวิจยั นาข้อมลู เหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมลู สามะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน และเอกสารทุกประเภท ช่วยให้ผู้วิจัยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลากับการเก็บข้อมูลใหม่ และ สามารถศึกษาย้อนหลังได้ ทาให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปล่ียนแปลงของ ปรากฏการณ์ท่ีศึกษา แต่จะมีข้อจากัดในเร่ืองความครบถ้วนสมบูรณ์ เน่ืองจากบางครั้งข้อมูลท่ีมีอยู่ แล้วไม่ตรงตามวัตถปุ ระสงคข์ องเรือ่ งที่ผู้วจิ ัยศึกษา และปญั หาเร่ืองความ น่าเชอื่ ถอื ของขอ้ มูล ก่อนจะ นาไปใชจ้ งึ ตอ้ งมีการปรับปรุงแกไ้ ขข้อมูล และเก็บขอ้ มูลเพ่มิ เตมิ จากแหลง่ อื่นในบางส่วนท่ีไมส่ มบูรณ์

93 ลักษณะสาคญั ของการการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ลักษณะสาคัญของการเก็บรวบรวมขอ้ มูลท่ีดีตอ่ การวจิ ยั มีดงั น้ี 1. จะต้องสนองตอบต่อวตั ถุประสงคข์ องการวิจยั อย่างครบถ้วน โดยหลงั จากผูว้ ิจัยวาง แผนการเกบ็ รวบรวมข้อมลู เสรจ็ แล้ว ควรพิจารณาวา่ ข้อมลู ท่ีไดม้ ีความครอบคลุมวัตถุประสงคข์ อง การวจิ ัย หรอื ไม่ 2. จะต้องสนองตอบต่อการวิจยั ตามกรอบแนวคิดการวจิ ยั และใชใ้ นการทดสอบสมมตุ ฐิ าน ได้อย่างครบถ้วน 3. จะตอ้ งมีการดาเนินการด้วยความระมดั ระวงั รอบคอบในการเลอื กใชเ้ คร่ืองมือในการ วิจยั เพือ่ ให้ไดข้ ้อมลู ตามสภาพความเปน็ จริง การเตรียมการสาหรบั การเก็บรวบรวมข้อมลู ในการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ควรได้มีการ เตรยี มการสาหรบั การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ดงั นี้ 1. วิธกี ารท่ีใชใ้ นการเกบ็ รวบรวมข้อมูลจะต้องดาเนินการตามแผนท่ีกาหนดไว้ โดย อาจใชเ้ คร่ืองมือประเภทใดประเภทหนง่ึ หรือสองประเภท เพื่อให้ได้ข้อมลู ที่ถกู ตอ้ ง ชัดเจน และ สมบูรณ์มากทีส่ ดุ 2. ผูเ้ ก็บรวบรวมขอ้ มูล ในการวจิ ยั ใด ๆ เพื่อให้ได้ขอ้ มูลท่ีดผี ูว้ ิจยั จะตอ้ งเกบ็ รวมรวม ขอ้ มูลดว้ ยตนเอง เนื่องจากเป็นผู้ทว่ี างแผน และร้เู ร่อื ง/ข้อมูลทีจ่ ะเก็บรวบรวมไดด้ ีทีส่ ดุ แต่ถา้ ในการ วิจัยมผี ู้ช่วยเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล จะตอ้ งให้คาแนะนา หรือคาช้ีแจงให้แกผ่ เู้ ก็บรวบรวมข้อมูลได้เขา้ ใจ วิธีการและข้อมลู ท่ีต้องการเก็บรวบรวม เพ่อื ใหก้ ารเกบ็ รวบรวมข้อมลู มีความถูกต้อง ครบถว้ นและ ปราศจากความลาเอยี ง 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู จะต้องทราบวา่ เปน็ ใคร จาน วน เท่าไร อยูท่ ่ีไหน ทีจ่ ะปรากฏในแผนการดาเนนิ การวจิ ยั ที่จะต้องกาหนดให้ชัดเจนว่าจะเกบ็ รวบรวมข้อมลู ด้วยตนเอง หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ หรอื ใช้ผู้ชว่ ยผู้วจิ ัย 4. ลกั ษณะเฉพาะของผ้ใู ห้ข้อมูล เปน็ ลกั ษณะของผใู้ ห้ข้อมูลที่ผวู้ จิ ยั จะต้องรับทราบ ว่าเป็นอยา่ งไร โดยเฉพาะเวลาทีจ่ ะใหแ้ ก่ผ้วู จิ ยั ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล 5. กาหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะตอ้ งทราบว่าจะเกบ็ ข้อมลู ในช่วง ใดท่ีสอดคลอ้ งกับประชากรและกลมุ่ ตวั อย่างท่ีควรจะต้องมีการวางแผนดาเนินการเกบ็ รวบรวมข้อมูล วา่ จะใชเ้ วลาในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลเท่าไร ใช้งบประมาณและแรงงานในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู มาก นอ้ ยเพียงใด 6. จานวนข้อมลู ทีไ่ ด้รับคนื จากการเกบ็ รวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะจากการจดั ส่ง แบบสอบถามทางไปรษณีย์จะต้องไดร้ ับกลับคืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแบบสอบถามทีจ่ ดั สง่ ทั้งหมด และถ้ารวมกบั จานวนข้อมลู ท่ีเก็บรวบรวมดว้ ยตนเองจะมกี ารสญู หายของข้อมูลไดไ้ ม่เกินร้อย ละ 5 จึงจะเปน็ ข้อมลู ทีเ่ พยี งพอและน่าเชื่อถอื ทจ่ี ะนามาวิเคราะหส์ รุปผลการวจิ ัย 7. การตรวจสอบความเรียบร้อยของขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ากการเกบ็ รวบรวมข้อมูล เม่ือได้รบั ข้อมลู กลบั คนื แลว้ จะต้องตรวจสอบความสมบรู ณข์ องข้อมูลว่ามคี วามครบถ้วนตามทต่ี ้องการหรอื ไม่ ถ้าตรวจสอบแลว้ พบวา่ มีการไมต่ อบในบางประเด็นอาจจะต้องมีการตดิ ตามเป็นการเฉพาะรายบคุ คล

94 อย่างเรง่ ด่วน แต่ถา้ ไม่สามารถดาเนนิ การไดห้ รอื พิจารณาแลว้ ว่ามคี วามไมส่ มบรู ณ์ของข้อมลู ใหน้ า ขอ้ มลู ชุดนัน้ ออกจากการวิเคราะหข์ ้อมลู การเลือกวธิ ีการรวบรวมข้อมลู พิจารณาได้หลายประการ คือ 1. จากปญั หาของการวิจัย 2. แบบของการวิจัย เป็นการทดลอง หรอื ไม่ทดลอง ศึกษาประวัติย้อนหลังหรอื ศกึ ษาตอ่ เนื่องในระยะยาว 3. ตวั แปรทศ่ี ึกษา ให้คาจากัดความไวอ้ ย่างไร จะวดั อย่างไร 4. ตัวอย่าง ชนิดของตวั อย่าง จานวนและสถานที่อย่ขู องตวั อย่าง 5. ระยะเวลาท่ีมีในการศกึ ษา 6. ทรพั ยากรทีม่ ีอยใู่ นการศึกษา วธิ กี ารเก็บรวบรวมข้อมูล วิธกี ารเกบ็ รวบรวมข้อมูล อาจแบง่ เปน็ วิธกี ารใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คอื 1) การสังเกตการณ์ (Observation) ท้งั การสงั เกตการณแ์ บบมีสว่ นร่วม ( Participant Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ( Non-participant Observation) หรืออาจจะแบ่งเปน็ การสังเกตการณ์แบบมีโครงสรา้ ง ( Structured Observation) และการสงั เกตการณ์แบบไม่มีโครงสรา้ ง ( Unstructured Observation) 2) การสมั ภาษณ์ ( Interview) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการ สัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ( Questionnaire) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) หรืออาจจะจาแนกเป็นการสมั ภาษณ์เปน็ รายบุคคล และการสมั ภาษณเ์ ปน็ กลมุ่ เชน่ เทคนคิ การ สนทนากลุม่ ( Focus Group Discussion) ซง่ึ นยิ มใชก้ ันมาก 3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เชน่ หนังสอื รายงานวจิ ัย วทิ ยานพิ นธ์ บทความ ส่ิงพมิ พต์ ่างๆ เป็นตน้ ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมลู ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู จาแนกเป็นข้ันตอนดงั นี้ 1. กาหนดข้อมลู และตัวช้ีวัด เปน็ การกาหนดว่าข้อมูลท่ีต้องการมีอะไรบ้าง โดย การศกึ ษาและวิเคราะห์จากวัตถปุ ระสงคห์ รือปญั หาของการวิจัยว่ามตี ัวแปรอะไรบ้างท่เี ปน็ ตวั แปร อสิ ระ ตัวแปรตาม และตัวแปรท่เี กีย่ วข้อง และจะใชอ้ ะไรเปน็ ตัวช้วี ัดจงึ จะได้ข้อมลู ท่สี อดคลอ้ งกับ สภาพความเป็นจริง 2. กาหนดแหลง่ ข้อมูล เป็นการกาหนดวา่ แหลง่ ข้อมลู หรือผใู้ ห้ข้อมลู เป็นใครอยู่ท่ี ไหน มขี อบเขตเท่าไร ทีจ่ ะต้องกาหนดใหช้ ดั เจน และเป็นแหล่งข้อมลู ปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ แลว้ จะตอ้ ง พิจารณาวา่ แหล่งข้อมูลน้นั ๆ สามารถทีจ่ ะให้ข้อมลู ไดอ้ ย่างครบถ้วนหรอื ไม่

95 3. กาหนดกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกใชว้ ธิ ีการสุ่มตัวอยา่ งอย่างเหมาะสม และ ขนาดของกลุ่มตัวอยา่ งท่เี หมาะสม 4. เลือกวธิ กี ารเก็บรวบรวมข้อมูล จะตอ้ งเลือกใช้วธิ กี ารเก็บรวบรวมข้อมูลที่ เหมาะสม (แหลง่ ข้อมูล/ขนาดกลุ่มตวั อย่าง/การวิเคราะห์ขอ้ มูล) ประหยดั ได้ขอ้ มูลอย่างครบถ้วนมี มากเพยี งพอและเปน็ ข้อมูลท่ีเชือ่ ถือได้ 5. นาเคร่ืองมือเก็บรวบรวมข้อมลู ไปทดลองใช้ เป็นการทดลองใช้เครื่องมือทีส่ ร้าง ขึน้ หรือนาของคนอืน่ มาใช้กับกล่มุ ตัวอยา่ งขนาดเลก็ เพื่อนาขอ้ มูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพท่ี จะต้องปรับปรงุ และแก้ไขให้อยู่ในสภาพทสี่ ามารถเกบ็ รวบรวมข้อมลู ได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพและ ปรับเปลย่ี นวธิ ีการตามสถานการณ์ทีเ่ ปล่ียนแปลง เพือ่ ให้ได้รับขอ้ มลู กลบั คืนมา มากที่สดุ ปัจจยั ท่เี ก่ียวข้องกบั การพิจารณาเลือกเครื่องมือและวิธีการในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล ในการพิจารณาเลือกเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีปจั จัยที่เก่ียวขอ้ ง ดังนี้ (ปาริชาติ สถาปติ านนท์,2546 : 163-165) 1. ลกั ษณะของปัญหาการวิจัยทจ่ี ะต้องชัดเจน ทจ่ี ะชว่ ยใหท้ ราบประเดน็ สาคญั กล่มุ เปา้ หมายทจี่ ะเปน็ กฎเกณฑเ์ บื้องตน้ ในการเลอื กใชเ้ ครือ่ งมือและวธิ ีการในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู เพื่อตอบปัญหาการวิจัย 2. กรอบแนวคิดทฤษฏที ่ีเกยี่ วข้อง จะชว่ ยใหเ้ หน็ แนวทางของการวิจยั ในประเด็นใด ๆ ในอดีตว่าใช้ระเบยี บการวิจัยอยา่ งไรในการดาเนินการวดั ตวั แปรนั้น ๆ 3. ระเบียบวธิ วี จิ ัยทแี่ ต่ละรปู แบบจะมหี ลกั การ ประเด็นคาถามและแนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูลอยแู่ ล้ว 4. หนว่ ยการวิเคราะห์ ได้แก่ บุคคล กลมุ่ บุคคล วัตถุ ท่ีใชเ้ ป็น “เป้าหมาย” ในการ ดาเนนิ การเกบ็ รวบรวมข้อมูลตามตัวแปรท่ีกาหนดตามเคร่ืองมือและวธิ ีการทีส่ อดคล้องกับหน่วยการ วิเคราะห์ 5. ขนาดของกลมุ่ ตวั อย่าง เพื่อพิจารณาการใช้เวลาและงบประมาณในการวจิ ัย 6. คุณสมบัติเฉพาะของกล่มุ ตัวอย่าง อาทิ กลมุ่ ตวั อยา่ งทเี่ ป็นเดก็ เล็กจะต้องใช้ วิธีการสมั ภาษณ์ หรอื การสังเกตแทนการใชแ้ บบสอบถาม เป็นตน้ สรปุ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจากัด วิธีใช้บ่อยที่สุดคือ การ ส่งแบบสอบถาม การเลือกใช้วิธีการและเคร่ืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายประการ ซึ่งได้แก่ปัญหาของการวิจัย แบบวิจัย จานวนตัวอย่าง ประเภทของตัวแปรที่ ศึกษา ระยะเวลาและเศรษฐกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูลน้ันอาจใช้วิธีเดียวหรือหลาย ๆ วิธี รวมกนั กไ็ ด้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook