Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Published by junenapasorn164, 2022-01-15 10:14:19

Description: รูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Search

Read the Text Version

รูปแบบของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโดย นส. นภสร บัวดอกตูม ปวส.1/4 เลขที่ 21 นำเสนอ อาจารย์ อริษา พันธ์เทศ

คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา สื่อสร้างสรรค์ธุรกิจดิจิทัล ชั้น ปวส.1/4 เพื่อ ให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง รูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็น ประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ นส. นภสร บัวดอกตูม

ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS BOOKS) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสือหรือเอกสารที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมา ได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา หรือทาง อินเทอร์เน็ต ได้ ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากหนังสือฉบับตีพิมพ์ คือ ความสะดวกและรวดเร็วในการ ค้นหา และการที่ผู้อ่านสามารถอ่าน พร้อมๆ กันได้ 1.2 วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS JOURNALS)วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง วารสารรูป แบบใหม่ที่มีการจัดเก็บ บันทึก และเผยแพร่ในรูปของแฟ้มคอมพิวเตอร์ (สื่อดิจิทัล) และสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นได้โดยการสั่งซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิกจากฐานข้อมูล ออนไลน์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือจากฐานข้อมูลซีดีรอม 1.3 กฤตภาคออนไลน์ (ONLINE CLIPPING)กฤตภาค คือ ข่าวสาร บทความ สำคัญ ๆ และน่าสนใจ โดยตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ นำมาผนึกลงบน กระดาษแล้วสแกนลงฐานข้อมูล บอกแหล่งที่มา เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง

2. สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ 2.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง เป็นสื่อที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และมีผลการตอบสนองได้รวดเร็วกว่าสื่อประเภท อื่น ยกเว้นสื่อบุคคล ลักษณะเป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก มีการ โต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแต่ละบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ 2.2 การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learningเป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้ เรียนตามความ สามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ 2.3 E-Teacher (Electronics-Teacher) E-Teacher หมายถึง การใช้ Web-based Course ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อดำเนินการจัด กระบวนการเรียนการสอน พร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ได้ทันที โดยเริ่มจากการศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ การถามตอบทางระบบกระดานถาม- ตอบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งทำแบบทดสอบพร้อมแสดงผลประเมินผลของเนื้อหาทันทีเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จตามเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัย รามคำแหงได้จัดโครงการการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชุดภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยครูผู้สอนเป็นโปรแกรมบทเรียนทาง อินเทอร์เน็ต รวมทั้งการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆที่ใช้บันทึกเนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน เช่น เทปคาสเช็ค เทปวีดิโอ และแผ่นซีดีรอม เช่น โปรแกรม การเรียนการสอนในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากเทปวีดิโอ หรือแผ่นซีดีรอมโปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ Follow me เป็นต้น 2.4 WBI (Web-based Instruction) คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instructionจึงเป็น บทเรียนประเภท CAI แบบ On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือ กับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน 2.5 E-Training E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นกระบวนการจัดการฝึกทักษะ เพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรม นั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้ เข้าอบรมมีอิสระในการเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่ ผู้ฝึกอบรมต้องการโดยเนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบมาให้ศึกษาเรียนรู้ได้ โดยง่าย ในรูปแบบ มัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมี ภาพเคลื่อนไหว 2.6 Learning Object หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระ ใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ เป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบ หน่วยย่อยก็ตาม Learning Object จะมีความสมบรูณ์ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง คำอธิบาย คำสำคัญ วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการ เรียนรู้ และการประเมินผล ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเอง

ข้อดี ข้อดี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุก แห่ง 2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกใน สถานศึกษาต่าง ๆ 3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และ ความสามารถของตนอง 4.การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว ฯลฯ ทำให้การ เรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้น 5.กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้ เกิดการเรียนแบบร่วมมือ 6.การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือก เรียนเนื้อหาได้ตามสะดวก 7.ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้ โดยง่าย 8.ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ 9.การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ ประสบการณ

ข้อจำกัด ข้อจำกัด 1.การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และ ขอบเขต จำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ 2.การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้นนับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัย เวลา สติปัญญาและความสามารถเป็นอย่างยิ่งทำให้ เป็นการเพิ่มภาระของ ผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น 3.ไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้ เรียนได้ 4.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็น อุปสรรคในการเรียนรู้ได้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ตามเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เมื่อเทคโนโลยีการศึกษาเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์หมายความ ว่า ยุคอิเล็กทรอนิกส์เป็นยุคแห่งความทันสมัยก้าวหน้าและ ล้ำยุค แต่ยังไม่มีหลักการหรือแนวคิดที่ชัดเจนกำหนดลง ไปได้มากนักในสื่อแต่ละประเภท การศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อนำไปสู่ทฤษฎีสำหรับนำสื่อยุคอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ทางการศึกษายังเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไป โดยไม่รู้ว่าต่อ ไปจะมียุคใดเข้ามาอีกและทฤษฎีหลักการเฉพาะสำหรับยุค อิเล็กทรอนิกส์จะยังใช้ได้อยู่หรือไม่

บทสรุป แม้ว่าการเรียนรายบุคคลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่มีมานานหลายสิบปีแล้วแต่คำว่า e-Learning กลับเป็ นเรื่ องที่นักการศึกษาในบ้านเราเพิ่งหันมาให้ความสนใจกันในขณะนี้ทั้งนี้ส่วนหนึ่ งอาจเป็ นเพราะในวงการ ศึกษา ระบบสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนจาก e-Learning นี้เพิ่งจะมีความพร้อมและ ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายในเวลาไม่นาน กอปรกับราคาของเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่งจะมีราคาลดลง e-Learningเป็ นรูปแบบการเรียนที่สามารถนำไปใช้ได้หลายระดับครูผู้สอนควรพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับความพร้อม ความถนัด ความ สนใจและความต้องการของตนแต่อย่างไรก็ดีผู้สอนที่สนใจจะนำ e-Learning ไปใช้กับการสอนในลักษณะสื่อเติมหรือสื่อหลักจะต้องให้ความร่วมมือในช่วงของการออกแบบและ การพัฒนาอย่างเต็มที่ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถถ่ายทอดการสอนได้ใกล้เคียงกับการสอน จริงมากที่สุดเสียก่อนนอกจากนี้ ผู้สอนควรที่จะต้องมีการศึกษาหา รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน จาก e-Learning ของตนเพื่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการ ศึกษาของผู้เรียนอย่างแท้จริง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook