Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนในเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 8

คู่มือการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนในเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 8

Published by pom_kku, 2019-01-29 22:19:07

Description: คู่มือการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนในเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 8

Search

Read the Text Version

คมู่ อื การดาเนนิ งานปอ้ งกนั การบาดเจบ็ จาก การจราจรในเขตเมอื ง (CityRTI) เขตสขุ ภาพที่ 8 จัดทาโดย คณะกรรมการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตและเขตเมือง สานกั งานปอ้ งกันควบคมุ โรคที่ 8 จงั หวัดอดุ รธานี ปงี บประมาณ 2562

คมู่ ือการดาเนนิ งานปอ้ งกนั การบาดเจ็บจากการจราจรในเขตเมอื ง (CityRTI) เขตสขุ ภาพที่ 8 ทป่ี รึกษา พญ.รพีพรรณ เดชพิชยั ผอู้ านวยการสานกั งานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จ.อดุ รธานี บรรณาธกิ าร พิมพค์ รง้ั ท่ี 1 จักรี ศรแี สง ปกและรปู เล่ม จัดทาโดย กมุ ภาพันธ์ 2562 ธวชั ชัย รกั ษานนท์ ISBN คณะกรรมการพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตและเขตเมือง สานกั งานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวดั อุดรธานี เลขท่ี 36 ม.1 ต.หนองไผ่ อ.เมอื ง จ.อดุ รธานี 41330 โทรศพั ท์ 042-295-717 โทรสาร 042-295-716 http://odpc8.ddc.moph.go.th/ …………………………………………………………

คานา ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury: RTI) นับว่าเป็นปัญหาสาคัญที่ทุกภาคส่วน ควรให้ ความสาคัญในการแก้ไข เนื่องจากประเทศไทยการเสียชีวิตจากปัญหา ดังกล่าว ประมาณ 20,000 คน/ปี หรือคิดเป็น 60 คน/วัน ซึ่งนับว่าเป็น สาเหตุสาคัญที่ทาให้การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนวัยรุ่น ซึ่งเป็น วัยท่สี าคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยพื้นที่ปัญหาสาคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเมือง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ อย่างหนาแน่นทาให้มีจานวนการใช้ยานพาหนะในการเดินทางจานวนมาก ซึ่ง เพิม่ โอกาสของการเกิดอบุ ตั ิเหตสุ งู ขึน้ ไปดว้ ย สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จ.อุดรธานี ได้ตระหนักความสาคัญ ของปัญหาดังกล่าว จึงดาเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและ เสียชวี ิตจากการจราจรทางถนนในพนื้ ทเ่ี ขตเมือง และมกี ารพฒั นาคู่มือฉบับน้ี เพื่อเป็นแนวทางการดาเนินงานและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท่ี เก่ยี วข้อง เพอ่ื นาไปสเู่ ป้าหมายในการดาเนนิ งานตอ่ ไป กลุ่มเป้าหมายในการใช้งานคู่มือ คือ เจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถิน่ ตารวจ สาธารณสขุ และเครอื ขา่ ยป้องกนั อุบตั เิ หตใุ นพน้ื ทเี่ ขตเมือง ผจู้ ดั ทา จกั รี ศรแี สง 10 มกราคม 2562

สารบญั - City RTI คืออะไร? - สถานการณ์และจดั การขอ้ มลู - แนวทางการดาเนินงาน City RTI - การจดั ตง้ั คณะทางาน ศปถ.อปท. - การวิเคราะห์การเกดิ เหตดุ ้วย Collusion Diagram - การแกไ้ ขจดุ เสย่ี ง/จดุ อันตราย - การจัดตงั้ Situation and Control Room - การสรา้ ง Traffic Safety Zones - การตดิ ตามและประเมินผล - ภาคผนวก

City RTI คืออะไร? City RTI หรือ การป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนในเขต เมือง เป็นการดาเนินงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการบาดเจ็บและ เสยี ชวี ติ จากการจราจรทางถนนที่เหมาะสมกับบรบิ ทของพืน้ ทเ่ี ขตชมุ ชนเมือง เช่น เทศบาลเมือง เทศบาลนคร โดยมุ่งให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและเป็นผู้นา ด้านการจดั การปญั หาการบาดเจบ็ จากการจราจรในพืน้ ที่ ซึ่งจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกระดับเพื่อให้เกิด การบูรณาการจากทีมสหสาขาและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานท้องถิ่นและ ชมุ ชนรว่ มกนั สร้างมาตรการแกไ้ ขปัญหาอยา่ งจริงจัง และการใช้เทคโนโลยีมา ชว่ ยในการจัดการปญั หาอยา่ งมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. การจดั การข้อมูลอย่างมีประสทิ ธภิ าพ 2. การสอบสวนการบาดเจบ็ เพื่อแกไ้ ขความเส่ยี ง 3. การสร้างมาตรการแกไ้ ขปัญหาทตี่ รงจุดและมีสว่ น ระหวา่ งภาครฐั และชุมชน 4. การกาหนดเปา้ หมายและพื้นท่ีความคุมพิเศษ (Traffic Safety Zones) 5. ประเมนิ ผลอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ – พนื้ ที่เขตเมืองในคู่มือฉบับนี้ หมายถึง พื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร โดยเขตสุขภาพที่ 8 มีทั้งสิ้น 11 พื้นที่ ได้แก่ 1) เทศบาลนครอุดรธานี 2)เทศบาลนครสกลนคร 3)เทศบาลเมือง เลย 4)เทศบาลเมืองวังสะพุง 5)เทศบาลเมืองหนองสาโรง 6)เทศบาลเมืองบ้านดุง 7)เทศบาลเมืองโนนสูง- น้าคา 8)เทศบาลเมืองนครพนม 9)เทศบาลเมืองท่าบ่อ 10)เทศบาลเมืองหนองคาย และ11)เทศบาลเมือง หนองคาย

สถานการณ์และการจดั การข้อมูล การเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนทั่วโลกในแต่ละปีประมาณ 1.35 ลา้ นคน สว่ นใหญ่ร้อยละ 93 เกดิ ในประเทศท่ีมรี ายได้น้อยและรายได้ปาน กลาง โดยเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตของผู้มีอายุระหว่าง 5-29 ปี และทาให้สูญเสียผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศร้อยละ 3 จึงนับว่าปัญหา ดงั กล่าวเปน็ ปญั หาทม่ี คี วามสาคญั ที่ต้องดาเนนิ การแกไ้ ขอย่างจรงิ จงั รปู ท่ี 1 การเปรียบเทยี บจานวนและอัตราการเสยี ชวี ติ จากการจราจรทางถนนทวั่ โลก ระหวา่ ง ค.ศ.2000-2016 (ทีม่ า : World Health Organization(WHO), 2019) รปู ท่ี 2 การเปรยี บเทียบอตั ราการเสยี ชวี ิตระดับภมู ิภาคทัว่ โลก ระหวา่ ง ค.ศ.2013 และ ค.ศ.2016(ทมี่ า : World Health Organization(WHO), 2019)

ประเทศไทย ได้ถูกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจาก การจราจรทางถนน อันดับ 9 ของโลก โดยลดลงเดิมที่อยู่อันดับ 2 โดยมี ผูเ้ สียชวี ิตปีละ 22,000-24,000 คน หรือชั่วโมงละ 3 คนคิดเป็นความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจกว่า 2 แสนล้านบาท/ปีและความสูญเสียจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พฤติกรรมเสี่ยงสาคัญ คือ ไม่สวมหมวก นริ ภยั เมาแลว้ ขับ ขับรถเร็ว เป็นตน้ รปู ที่ 3 จานวนผเู้ สียชีวติ จากอบุ ตั ิเหตทุ างถนนเฉลย่ี จาแนกตามชว่ งอายุ ระหว่างปี 2554-2559 โดยจากการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดในแต่ละ จังหวัด พบว่าส่วนใหญ่พืน้ ท่เี ขตอาเภอเมืองจะเป็นพื้นที่เส่ยี งสงู สุด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ที่มีลักษณะเป็นย่าน เศรษฐกจิ สาคญั สถานศึกษาหรือชุมชนหนาแนน่ สภาพการเดินทางฯลฯ

การจัดการขอ้ มูลอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ การจัดการข้อมูลถือว่าเป็นหัวใจสาคัญในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุใน เขตเมือง เนื่องจากข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ จะนาไปสู่การ วางแผนแก้ไขปัญหาทต่ี รงจุดและมีประสิทธิภาพ โดยแหล่งข้อมูลเพื่อใช้ในการ ด าเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน ในเขตเมือง มดี ังต่อไปน้ี 1. ข้อมลู ปฐมภมู ิ ได้จากการสารวจหรือเก็บข้อมูลของหน่วยงานโดยตรง เช่น การ สอบสวนอุบัติเหตุ การวิเคราะห์ Collision Diagram ฯลฯ แล้วนามาวิเคราะห์ สภาพแนวโน้มปญั หา ลกั ษณะการเกิดเหตุ แผนที่จดุ เกิดเหตุ เป็นต้น รูปท่ี 4-5 การลงพื้นทส่ี อบสวนอุบตั เิ หตุ ศปถ.พรรณานิคม จ.สกลนคร รูปท่ี 6 การวเิ คราะหจ์ ุดเกดิ เหตใุ นพืน้ ท่ีเทศบาลหนองจ๊อม อ.สันกาแพง จ.เชยี งใหม่

2. ขอ้ มูลทตุ ิยภูมิ ได้จากการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวง สาธารณสุข บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละ ฐานข้อมลู จะมีจุดเด่นและขอ้ จากดั ในการวเิ คราะห์ขอ้ มลู ดงั นี้ 1. โปรแกรม PHER Accident มีการบันทึกข้อมูลการเข้ารับการรักษา ในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศทั้งในช่วงปกติและช่วง เทศกาลปีใหม่สงกรานต์ 2. โปรแกรม IS Online เป็นการบนั ทกึ ขอ้ มูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตท่ี เข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถนามาวิเคราะห์ความรุนแรงของ อุบัตเิ หตุทีเ่ กดิ ขึน้ ได้ เช่น การบาดเจ็บศรี ษะ(Head Injury) 3. ขอ้ มลู 3 ฐาน เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์จานวนสรุปการเสียชีวิต ในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข(การเสียชีวิตในโรงพยาบาล) บริษัทกลางฯ(การเครมประกนั )และตารวจ(การดาเนนิ คดี) 4. ข้อมูลอื่นๆ เช่น ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ (www.thaircs.com) ระบบ รายงานอุบัตเิ หตทุ างถนนโดยหนว่ ยก้ชู ีพก้ภู ยั เปน็ ต้น รูปท่ี 7-8 แหลง่ ขอ้ มูลในการวิเคราะหก์ ารเกิดอุบัตเิ หตใุ นเขตเมอื ง

แนวทางการดาเนนิ งาน City RTI การป้องกนั การบาดเจบ็ จากการจราจรทางถนนในเขตเมือง(City RTI) จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกระดับเพื่อให้เกิดการบูรณา การจากทีมสหสาขาและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน ร่วมกันสร้างมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และการใช้เทคโนโลยีมาช่วย ในการจัดการปัญหาอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ โดยมแี นวทางการดาเนนิ งาน ดงั น้ี 1) การจดั ตง้ั คณะทางาน ศปถ.อปท. 2) การวิเคราะหก์ ารเกดิ เหตดุ ้วย Collusion Diagram 3) การแกไ้ ขจดุ เสย่ี ง/จดุ อนั ตราย 4) การจัดตง้ั Situation and Control Room 5) การสรา้ ง Traffic Safety Zones 6) การตดิ ตามและประเมินผล

การจดั ต้งั คณะทางาน ศปถ.อปท. แนวคิดในการจัดการปัญหาการบาดเจ็บจากการจราจรในเมืองใหญ่ท่ี มุ่งเน้นในระดับท้องถิ่นที่มีศักยภาพเข้ามามีบทบาทและเป็นผู้นาด้านการ จัดการปัญหาการบาดเจ็บจากการจราจรในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีอานาจ หน้าที่ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนน พ.ศ.2554 ในหมวด 4 ศนู ยป์ ฏิบตั ิการความปลอดภัยทางถนน ข้อ 22 ในท้องที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีปัญหาเกี่ยวกับ อุบัติเหตุทางถนนอันสมควรให้มีศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานกับองค์กร ปกครองส่วนทอ้ งถ่ินน้ัน เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจัดให้มีศูนย์ ปฏบิ ตั ิการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ เรียกโดยย่อ ว่า “ศปถ .อปท.” โ ดยมีผู้ บริหารองค์กรปกครองส่ว นท้องถิ ่น เป็ น ผอู้ านวยการศูนยป์ ฏบิ ตั ิการความปลอดภยั ทางถนน รูปท่ี 9 ตวั อย่างคาสัง่ จดั ตง้ั ศปถ.เทศบาลนครอดุ รธานี

รปู ที่ 10-11 การประชมุ ขับเคลอ่ื น City RTI ระหว่างกรมควบคมุ โรคและ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถ่ิน รปู ที่ 12-13 การประชมุ คณะกรรมการ ศปถ.เทศบาลนครอดุ รธานี รปู ท่ี 14-15 การประชมุ คณะกรรมการ ศปถ.เทศบาลนครนครราชสมี า

การวิเคราะห์การเกิดเหตดุ ว้ ย Collusion Diagram Collision diagram เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบันทึกและแสดงอุบัติเหตุใน พื้นท่ีใดพ้ืนที่หนึ่ง ทาให้เราทราบถึงจานวนและรูปแบบของอุบัติเหตุที่เราสนใจ โดยข้อมูลได้มาจากการลงพื้นที่เกิดเหตุ การพิจารณาภาพ CCTV การ สอบสวนผู้เหน็ เหตกุ ารณ์ Collision diagram จะมวี ตั ถุประสงคใ์ นการนาขอ้ มลู ไปใช้ไมไ่ ด้มีผลทาง กฎหมายหรือรูปคดี แต่เป็นการวิเคราะห์และหาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุใน อนาคต เช่น การปรบั ปรุงสภาพถนน การเพ่ิมแสงสว่าง เปน็ ต้น วิธีการทา คือ สเก็ตภาพตาแหน่งอุบัติเหตุที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น เกิด บรเิ วณวงแยก วงเวียน จุดกลับรถฯลฯ โดยภาพไม่จาเป็นจะต้องถูกต้องตาม มาตราส่วนแล้วบันทึกแบบฟอร์ม Collision diagram โดยมีรายละเอียด เพ่มิ เตมิ เช่น ทิศทาง ช่ือถนน ช่วงเวลาเกิดเหตุ สภาพถนน แสงสวา่ ง เป็นตน้ รปู ที่ 16 ตัวอยา่ งการบันทกึ ขอ้ มูลลงใน Collision diagram

การแกไ้ ขจดุ เสีย่ ง/จดุ อนั ตราย จดุ เส่ยี งหรือจุดอันตรายบนถนน หมายถึง จุดหรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เกิดขน้ึ อย่างนอ้ ย 3 คร้ังในรอบปี อาจเป็นทางแยก ทางตรง ทางโค้งหรือจุด กลับรถ โดยมขี ัน้ ตอนในการดาเนินการ ดงั นี้ 1. การรวบรวมข้อมูลเพื่อกาหนดจดุ เส่ยี ง โดยอาศัยการเก็บรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากเหตุต่างๆ เช่น บนั ทกึ รับแจ้งเหตุ แบบฟอร์มสอบสวน รายงานอบุ ัตเิ หตจุ ากกภู้ ยั ฯลฯ รูปท่ี 16 การรายงานพกิ ัดจดุ เกดิ อุบัตเิ หตจุ ากระบบรายงานอุบตั เิ หตทุ างถนน 2. การวเิ คราะหจ์ ุดเสย่ี ง โดยใช้ขอ้ มลู ที่ไดจ้ ากการวเิ คราะหท์ างกายภาพ เช่น ลักษณะของถนน สภาพปรมิ าณจราจร ลกั ษณะการใชง้ านฯลฯ และข้อมลู วิเคราะหก์ ารเกิดเหตุ เชน่ ลกั ษณะหรอื ทศิ ทางการชนโดยเครือ่ งมอื Collision Diagram รวมทงั้ การลงพนื้ ทส่ี ารวจสภาพแวดลอ้ มและสอบถามผ้เู หน็ เหตกุ ารณเ์ พือ่ นาขอ้ มลู มาใชใ้ นการวเิ คราะห์

รูปที่ 16 การวเิ คราะหจ์ ดุ เส่ยี งด้วย Collision Diagram 3. วางแผนการแก้ไขและปรับปรุงจดุ เสย่ี ง • พจิ ารณาวิธีการแกไ้ ขปัญหาที่รอบดา้ น • เลือกวธิ กี ารแกไ้ ขปญั หาท่ีมีความคุ้มคา่ มากท่สี ดุ • จัดลาดบั ความสาคญั ของวิธีการท่ีใช้ในการแกป้ ัญหา ตวั อย่างการแก้ไขจดุ เสย่ี ง รปู ที่ 17-18 การปิดจดุ กลบั รถทมี่ คี วามเสยี่ งเทศบาลหนองจอ๊ ม อ.สันกาแพง จ.เชยี งใหม่

รปู ที่ 19-20 การตดิ ปา้ ยจราจรและตดิ ต้ังเสาจราจร เทศบาลนครอุดรธานี รูปที่ 21-22 การตีเสน้ จราจรและบริเวณห้ามจอง เทศบาลนครนครราชสีมา รปู ที่ 23-24 การตดิ ป้ายเตือนโค้งอนั ตราย เทศบาลเมอื งเขารปู ช้าง รูปที่ 25-26 การสรา้ งถนนปลอดภัยและติดตงั้ กลอ้ งจบั ความเรว็ เทศบาลนครขอนแกน่

การจดั ตัง้ Situation and Control Room Situation Room หมายถึง กลไกการจัดการข้อมูล/วิเคราะห์ เพื่อเฝ้า ระวังติดตามสถานการณ์ โดยใช้เทคโนโลยีจากกล้อง CCTV เพื่อเฝ้าระวัง เหตุการณ์อุบัติเหตุทางถนน สาหรับนามาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อนาไปสู่ ข้อเสนอการแกไ้ ขปญั หา โดยมแี นวทาง ดังนี้ -บันทึก Clip เหตกุ ารณ์อบุ ัตเิ หตทุ างถนนทเี่ กดิ ขนึ้ จากกล้อง CCTV -นา Clip เหตกุ ารณม์ าวเิ คราะห์ สอบสวนหาสาเหตุเบือ้ งต้น -บนั ทกึ จดุ การเกิดเหตุในแผนที่ GIS -จัดทารายงานจากสอบสวนจาก Clipและข้อเสนอการแก้ปัญหา เฉพาะ กรณี -เฝา้ ระวังพฤติกรรมเส่ียงตอ่ การบาดเจ็บ ได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัย การขับรถเร็ว การใช้พื้นผิวจราจรทเ่ี สยี่ งตอ่ การเกิดอุบัตเิ หตุ เชน่ การจอดรถ การขายของ -สรุปรายงานประจาเดือน/ไตรสมาส/ปี เพื่อดูแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุ ในภาพรวมทั้งการแจกแจงความถี่ จานวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต ชนิด ยานพาหนะ สาเหตุ จุดที่เกิดเหตุ เป็นต้น เพื่อพิจารณากาหนดเป็นพื้นท่ี ควบคมุ พเิ ศษ Traffic Safety Zones รปู ท่ี 25-26 ห้อง Situation and Control Room และการวเิ คราะหอ์ บุ ัติ เหตขุ องเทศบาลนครศรธี รรมราช

การสรา้ ง Traffic Safety Zones เขตจราจรปลอดภยั (Traffic Safety Zones) คอื เขตท่ีมกี ารควบคุมและ จัดการจราจรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ ถนนทุกประเภท เช่น เขตชุมชน โรงเรียน/สถานศึกษา โรงพยาบาล เป็นต้น โดยวธิ ีการจดั เขตจราจรปลอดภยั ดังนี้ 1) การยบั ยง้ั การจราจร (Traffic Calming) เปน็ การออกแบบและปรับปรงุ สภาพถนนเพอ่ื ชะลอหรือยบั ยง้ั การจราจรทชี่ ่วยเพ่มิ ความปลอดปลอดภยั แกค่ นเดินเท้าและผู้ใชร้ ถจักรยาน รูปท่ี 25-26 ตัวอย่างการยบั ยัง้ การจราจร (Traffic Calming) 2) เนินชะลอความเรว็ (Speed Hump) เหมาะสาหรบั การตดิ ตงั้ บริเวณทต่ี ้องการลดความเรว็ ของ พาหนะ (ไม่เกนิ 60 กม/ชม) นิยมใชใ้ นเขตชมุ ชนหรอื ที่พักอาศยั รูปที่ 25-26 ตัวอยา่ งเนนิ ชะลอความเรว็ (Speed Hump)

3) จดุ ชะลอความเร็ว (Slow point) ส่วนใหญ่ตดิ ตงั้ บนถนนที อยูใ่ นเขตท่ีพกั อาศัย มักมกี ารจดั ใหม้ ี ทางข้ามบรเิ วณจดุ ชะลอความเร็ว ซึ่งเปน็ ตาแหนง่ ที่มีความปลอดภัย อาจ ตดิ ต้ังรว่ มกับเนินชะลอความเร็ว (Road Hump) รปู ท่ี 25-26 ตวั อย่างจุดชะลอความเร็ว (Slow point) 4) แถบชะลอความเร็ว (Rumble strip) ทาใหผ้ ูข้ ับข่ีรสู้ กึ ได้ถงึ แรงสั่นสะเทือนเมอื่ ขับผา่ นจดุ ดงั กลา่ ว เหมาะสาหรับการติดตั้งบนถนนในพน้ื ที่นอกเขตเมืองท่ีมีปริมาณจราจรเบา บางเพื่อใหผ้ ู้ขับขีใ่ ชค้ วามระมัดระวังและชะลอความเรว็ รูปท่ี 25-26 ตวั อยา่ งจดุ ชะลอความเร็ว (Slow point)

การติดตามและประเมินผล 1. เกบ็ ขอ้ มลู การฝา่ ฝืนมาตรการเปน็ ระยะ ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการกระทาผิดในพื้นที่ที่เรามีการ ควบคุมเป็นพิเศษ เช่น การขับรถเร็วในพื้นที่เขตหน้าโรงเรียนที่ถูกกาหนดให้ เป็นพื้นที่ควบคุมความเร็ว การขับรถย้อนศรในจุดเสี่ยง ฯลฯ เพื่อเป็นการ ประเมนิ ผลมาตรการและนาขอ้ มลู ไปพัฒนาการแก้ไขปญั หาในอนาคต 2. เก็บข้อมลู การเกิดเหตุ และสอบสวนหาสาเหตุ กรณีมีการเกดิ อบุ ัติเหตุ ควรมีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ขอ้ มูลการเกดิ อบุ ตั ิเหตุ การ บาดเจ็บ หรอื เสียชีวติ ในพื้นท่ี โดยสามารถใชเ้ ครอ่ื งมอื ตา่ งๆ เพอ่ื ใชใ้ นการ วิเคราะห์ เช่น Collision Diagram หรอื Haddon matrix เป็นตน้ ซ่ึงควรมี การเก็บข้อมลู ตง้ั แตก่ ่อน ระหวา่ งและหลงั การดาเนนิ มาตรการปอ้ งกัน อุบัติเหตุ 3. สรุปรายงานประจาเดอื น/ไตรสมาส/ปี เพ่ือตดิ ตามประเมินผล ควรมสี รปุ ผลการดาเนนิ งานประจาเดือน/ไตรมาส/ปี เพอ่ื ตดิ ตาม และประเมนิ ผลมาตรการหรอื กจิ กรรมทีไ่ ดม้ ีการแกไ้ ขปรบั ปรงุ ในพน้ื ที่ โดยควร รายงานแกห่ นว่ ยงานท่เี กี่ยวขอ้ งใหร้ บั ทราบ เช่น ศปถ.อปท.

ภาคผนวก

กฎหมายที่เก่ยี วขอ้ ง



ตวั อยา่ งแบบฟอรม์ Collision Diagram

หนว่ ยงานทเ่ี ก่ยี วข้องกับความปลอดภัยทางถนน 1) สานกั โรคไมต่ ดิ ตอ่ กรมควบคมุ โรค ที่อยู่ เลขท่ี 88/21 อาคาร 10 ชั้น 5 ตกึ กรมควบคุมโรค ถนนตวิ านนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร : 0 2590 3867 โทรสาร : 0 2590 3893 Website : http://www.thaincd.com/ 2) ศูนย์วชิ าการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มลู นิธินโยบายถนนปลอดภัย ทอี่ ยู่ เลขที่ 1 หอ้ ง 407-408 ช้ัน 4 อาคารพร้อมพนั ธ์ุ 2 ซอย ลาดพรา้ ว 3 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรงุ เทพมหานคร 10900 โทร: 0 2938 8490 โทรสาร: 0 2938 8827 Website : http://www.roadsafetythai.org อเี มล : [email protected] 3) สานักอานวยความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท ทอ่ี ยู่ ชั้น 7 อาคาร 4 เลขที่ 9 ถนน พหลโยธิน แขวงอนสุ าวรยี ์ เขตบางเขน กรงุ เทพมหานคร 10220 โทร : 0 2551 5300 โทรสาร: 0 2551 5301 Website : http://trafficsafety.drr.go.th/

เอกสารอา้ งอิง การป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรในเมอื งใหญ่ City RTI. กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ . 2560. จ.นนทบุร.ี การแก้ไขปรบั ปรงุ จดุ เสี่ยง จดุ อนั ตราย Tratment of Hazadous Location. ณฐั พงศ์ บญุ ตอบ. มูลนธิ ิไทยรอดส.์ 2560. การใชข้ ้อมลู ต่างๆ เพอ่ื การปอ้ งกันแก้ไขการบาดเจ็บจากอุบตั ิเหต.ุ ไผท สงิ หค์ า, สานกั โรคมาตดิ ตอ่ กรมควบคมุ โรค, 2560. แนวทางการจดั การเขตจราจรปลอดภยั (Traffic Safety Zone). สันติภาพ ศิริยงค์. สานักอานวยความปลอดภยั กรมทางหลวงชนบท. 2560. นโยบายด้าน City RTI เพอ่ื การขบั เคลื่อนงานป้องกันการบาดเจ็บจาก การจราจรในเมอื งใหญ่, ดิเรก ขาแป้น. สานกั โรคไมต่ ดิ ตอ่ กรมควบคุมโรค. 2560.