Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่1

บทที่1

Published by pwongkomsing, 2018-07-05 01:03:47

Description: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

Search

Read the Text Version

บทท่ี 1 ความรูเบื้องตน เก่ยี วกับเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมการศึกษา ปจ จบุ ันเทคโนโลยีดา นคอมพิวเตอรและเครือขายการส่ือสารของโลก ไดมีการพัฒนาไปอยางรวดเร็วและตอเน่ือง มีการนํามาประยุกตใชในวงการตางๆเชน พาณิชยกรรม การส่ือสารการแพทยและการศกึ ษา เปน ตน ประเทศไทยกเ็ ชน กัน ไดมคี วามพยายามนําเทคโนโลยีเหลาน้ีมาใชจัดการเรยี นการสอน เพอ่ื เพิม่ ประสทิ ธิภาพในการเรียนรูของผเู รยี นใหมปี ระสทิ ธผิ ลมากขึ้น สงผลใหเกดิ การเปล่ยี นแปลงบทบาทของผเู รยี นและผูส อน ดา นผเู รียนน้นั ตอ งเปนผสู รางองคค วามรู มีความใฝรูและแสวงหาความรไู ดดว ยตนเอง ดานผสู อนตองพัฒนาตนเองใหม คี วามรูแ ละทกั ษะในการจัดการเรยี นการสอนบนเวบ็ และการออกแบบกจิ กรรมการเรยี นการสอนผา นส่อื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส ใหสอดคลอ งกบั แผนการเรียนรใู นรายวชิ าทต่ี นเองรับผิดชอบเทคโนโลยกี ารศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยมี กี ารใชมานบั ตงั้ แตส มัยดึกดาํ บรรพ คนในยคุ สมัยกอ นฝนหนิ ใหคมเพื่อใชเปนเคร่ืองมือในการลาสัตว ใชกอนหินตีกระทบกันจุดไฟเพื่อทําอาหารใหสุก ใชลอเล่ือนในการขนหินขนาดใหญของชาวอียิปตเพ่ือสรางพีระมิด ตอมาไดมีนักวิทยาศาสตร นักประดิษฐคิดคนเคร่ืองมือตา งๆ เชน พลังงานไอนา้ํ เครื่องยนต การกระจายเสียงโดยใชคล่ืนความถี่ การแพรภาพโทรทัศนเพ่ือรบั ชมขาวสารและความบันเทงิ ระบบการส่ือสารดวยดาวเทียม และเครือขายอินเทอรเน็ต เปนตนเทคโนโลยเี หลาน้ที ําใหมนุษยมคี วามสามารถในการดํารงชวี ิตและการทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพมากยงิ่ ขนึ้ 1. ความหมายของเทคโนโลยี กิดานันท มลิทอง (2548) กลาววา รากศัพทของคําวา เทคโนโลยี (technology)มาจากคําภาษากรีกวา tekhnologia หมายถึงการกระทําอยางเปนระบบของศิลปะ (systematictreatment of an art) ไดใหความหมายของเทคโนโลยีวา เทคโนโลยีเปนการนําแนวคิด หลักการเทคนิค ความรู ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตรท้ังในดานส่ิงประดิษฐวิธีการปฏิบัติมาประยุกตใชเพื่อขยายขีดความสามารถของมนุษย ชวยใหการทํางานดีข้ึน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธผิ ลของงานนัน้ ใหม มี ากยงิ่ ขึ้น

2 สมุ าลี ชัยเจริญ (2551) กลาววา เทคโนโลยี หมายถงึ การนาํ แนวคิด หลกั การ เทคนิควิธกี าร กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวทิ ยาศาสตรมาประยุกตใชใ นระบบงานตางๆ เพอ่ื ปรับปรุงระบบงานน้นั ๆ ใหดีข้ึน และมปี ระสทิ ธิภาพยิง่ ข้ึน นอกจากนี้ กิดานนั ท มลทิ องและสุมาลี ชยั เจริญ ไดเสนอความหมายของเทคโนโลยีของนักวชิ าการและองคก รตางๆ ดงั น้ีตารางที่ 1.1 ความหมายของเทคโนโลยีนักวชิ าการ/องคก ร/พจนานกุ รม ความหมายของเทคโนโลยี1. พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน (2542) วิ ท ย า ก า ร ที่ เ ก่ี ย ว กั บ ศิ ล ป ะ ใ น ก า ร นํ า เ อ า วิทยาศาสตรป ระยกุ ตม าใชใหเกิดประโยชนในทาง ปฏิบัติและอุตสาหกรรม2. พจนานุกรม Merriam-Webster การกระทาํ อยา งเปน ระบบของศิลปะ มคี วามหมาย(www.merriam-webster.com/dictionary) 3 ประเด็นคือ 1) การประยุกตใชความรูใน สาขาวิชาเฉพาะ 2) การทํางานดวยการใช กระบวนการ วิธีการ หรือความรูดานเทคนิค 3) ลักษณะพิเศษของขอบขายสาขาวิชาเฉพาะ3. สมาคมการศกึ ษาเทคโนโลยีระหวางประเทศ 1.นวตั กรรมของมนุษยในการกระทําซึ่งรวมถึงการ(2537) กอ เกิดความรแู ละกระบวนการในการพัฒนาระบบ เพ่ือการแกปญหาและขยายขีดความสามารถของ มนษุ ย 2.นวัตกรรม ความเปลีย่ นแปลง หรือการดัดแปลง ของสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติเพื่อสนองความ จําเปน และความตอ งการของมนษุ ย4. คารเ ตอร วี กูด (carter V.Good, 1973) การนําวิทยาศาสตรมาประยกุ ตใ ชใ นงานดานตางๆ เพ่ือปรับปรงุ ระบบนนั้ ๆ5. เจมส ดี ฟน ส (james D.Finn, 1972) กระบวนการ แนวความคิด แนวทางหรือวิธีการใน การคิด ในการทําสงิ่ ใดสงิ่ หนงึ่6. เอดการ เดล (Edgar Dale, 1969) แผนงาน วิธีการทํางานอยางมีระบบ ท่ีทําใหงาน น้ันบรรลตุ ามแผนงานทวี่ างไว

3 สรุปวา เทคโนโลยี เปนการนําแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู ระเบียบวิธีกระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตรทัง้ ในดานสงิ่ ประดษิ ฐและวธิ ีการปฏบิ ัติมาประยุกตใชเพ่ือปรับปรุงระบบงานใหม ีประสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ลมากยิ่งขน้ึ ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจําแนกออกไดเปน 3 ลักษณะ คือ (Heinich andother 1989 อางใน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาต,ิ 2543) 1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) เปนการใชวิธีการทางวิทยาศาสตรห รอื ความรตู างๆ ทร่ี วบรวมไว เพ่ือนาํ ไปสูการแกป ญหาในทางปฏบิ ตั ิอยางเปนระบบ 2) เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลติ (product) หมายถงึ วัสดแุ ละอปุ กรณทเ่ี ปนผลมาจากการใชก ระบวนการทางเทคโนโลยี 3) เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process andproduct) เชน ระบบคอมพิวเตอรซ ง่ึ มกี ารทํางานเปนปฏิสัมพันธกันระหวางตัวเคร่ืองกับโปรแกรมเปน ตน 2. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยกี ารศึกษา ไดมีพัฒนาการและเปล่ียนแปลงไปตามยุคสมัยตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ในปจจุบันไดใชความหมายตามท่ี สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) แหงสหรฐั อเมริกาไดใ หค วามหมายไวเมือ่ ป 2537 วา เทคโนโลยีการศึกษาเปนทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนา การใช การจัดการ และการประเมินของกระบวนการและทรพั ยากรสําหรับการเรียนรู อยางไรกต็ ามปจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอยางตอเน่ือง ดังน้ันอาจมีการเปล่ียนแปลงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ไปในทศิ ทางท่สี อดคลอ งกับเทคโนโลยที ี่ถูกพัฒนาขึน้ นอกจากน้ีนักวิชาการไดใหค วามหมายของเทคโนโลยีการศกึ ษาไวด ังนี้ (สมุ าลี ชยั เจริญ, 2551)ตารางท่ี 1.2 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษานกั วชิ าการ/องคก ร/พจนานุกรม ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา1. คารเตอร วี กดู (carter V.Good, 1973) การนาํ หลักการทางวทิ ยาศาสตรมาประยกุ ตใชเพื่อ การออกแบบ และสงเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเนนวัตถุประสงคท างการศกึ ษา ทีส่ ามารถวัดได อยางถกู ตองแนนอน ยึดผูเรียนเปนศูนยกลางการ เรยี นมากกวา เนือ้ หาวิชา ใชเครอ่ื งมอื โสตทัศนะ

4ตารางที่ 1.2 (ตอ ) ความหมายของเทคโนโลยกี ารศึกษา นกั วชิ าการ/องคก ร/พจนานุกรม อุปกรณ รวมถึงเทคนิคการสอนท่ีใชอุปกรณตางๆ เชน เครื่องคอมพิวเตอร ส่ือประสมและการศึกษา2. วจิ ติ ร ศรีสอาน (2517) ดวยตนเอง การประยุกตเอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด3. กอ สวัสดพิ านิช (2517) อปุ กรณและเครื่องมือใหมๆ มาชวยแกปญหาทาง4. ชยั ยงค พรหมวงศ (2526) การศึกษา ในลักษณะขยายและปรับปรุงคุณภาพ การเรยี นการสอน5. กดิ านนั ท มลิทอง (2543) การนําวิธีการหรือเคร่ืองมือใหมๆ มาใชทางการ ศึกษาเพ่ือชวยใหระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ สูงข้นึ ระบบการประยกุ ตผลิตกรรมทางวิทยาศาสตรและ วิศวกรรมศาสตร โดยยึดวิธีการทางพฤติกรรม ศาสตร มาชวยในการเพ่ิมประสิทธิภาพทาง การศกึ ษาใหสูงข้นึ การประยุกตเอาเทคนคิ วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อปุ กรณและสิ่งตางๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยี มาใชในวงการศกึ ษา สรุปวา เทคโนโลยีการศึกษา เปน กระบวนการที่ซับซอนซ่ึงเก่ียวของกับบุคคล วิธีการความคิด เคร่ืองมือและองคกร กระบวนการนี้มีข้ึนเพ่ือการวิเคราะหปญหาและการวางแผนการนํามาใช การประเมินและจดั การหาทางแกปญหาทุกๆ อยางท่ีเกิดขึ้นอันเก่ียวพันกับการเรียนรูของมนุษย 3. ขอบขา ยของเทคโนโลยีการศกึ ษา จากความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มุงนําเอาเทคโนโลยี มาประยุกตใชใหเกิดประโยชนสูงสุด อันไดแกการเพ่ิมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของผูสอน และประสิทธิผลการเรียนรูท่ีเกิดขึ้นกับผูเรียน จากความหมายดังกลาวไดแบงเทคโนโลยีการศึกษาออกเปน 5 ขอบเขต (domains) ไดแ ก การออกแบบ (design) การพัฒนา (development) การใช

5(utilization) การจดั การ (management) และการประเมิน (evaluation) โดยแตล ะขอบเขตจะโยงเขาสศู ูนยกลางของทฤษฎีและการปฏิบตั ิ ดังภาพท่ี 1.1 การออกแบบ การออกแบบระบบการสอน การออกแบบสาร กลยทุ ธการสอน ลกั ษณะเฉพาะของผ้เู รียน การประเมิน ทฤษฎี การพฒั นา การปฏิบตั ิการวิเคราะห์ปัญหา เทคโนโลยีการพมิ พ์การวดั ผลแบบอ้างอิง เทคโนโลยีโสตทศั น์การประเมินความก้าวหน้า เทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์การประเมินขนั สรุป เทคโนโลยีบรู ณาการ การจดั การ การใช้การจัดการโครงการ การใช้สอืการจดั การทรัพยากร การแพร่กระจายนวตั กรรมการจดั การระบบสง่ ผา่ น การใช้งานและความเป็ นองค์กรการจดั การสารสนเทศ นโยบายและกฎระเบียบ ภาพท่ี 1.1 ขอบขายของเทคโนโลยกี ารศกึ ษา ที่มา: Seels and Richey, 1994: 26 และ กดิ านนั ท มลทิ อง, 2548: 10 4. พฒั นาการของเทคโนโลยกี ารศกึ ษา การใชเทคโนโลยกี ารศกึ ษามีมานานแลว โดยอาจนับยอนไปยุคสมัยที่นักบวชของชนเผาไดจ ดั ระเบยี บองคความรดู ว ยการประดิษฐภาพหรอื สัญลกั ษณเ พอื่ บนั ทึกและถา ยทอดความรูสูชนรุนหลัง ทําใหเปนที่ประจักษชัดวาเทคโนโลยีการศึกษานับเปนผลผลิตท่ีสําคัญของสายธารแหง

6ประวัติศาสตรอันย่ิงใหญที่ประกอบดวยการลองผิดลองถูก การปฏิบัติ และการแสดงออกอยางสรา งสรรคแ ละความเชือ่ มน่ั อยางไมธรรมดาของบุคคล ไดมนี ักการศกึ ษาทนี่ าํ เทคโนโลยีมาใชต้ังแตสมัยกอนคริสตกาลซ่ึงนับเปนนักเทคโนโลยีการศึกษาพวกแรกคือ กลุมโซฟสต (The Elder Sophists) ไดใชการสอนแบบบรรยายเพ่ือสอนมวลชน ตอจากน้ันไดม นี กั การศึกษาดานน้ีอีกหลายทานท่ีเริ่มมีบทบาทในเทคโนโลยีการศึกษา เชนคอมนิ ิอุส (Comenius) ท่ีไดรับการยกยอ งวา เปนบิดาของโสตทศั นศกึ ษา ผูเห็นความสําคญั ของภาพและเปนผูเริ่มใชภาพประกอบบทเรียนในหนังสือ The Orbis pictus หรือ โลกแหงรูปภาพ ในปค.ศ.1658 เปนหนงั สือสําหรับนกั เรียนท่เี รยี นภาษาลาตินและวทิ ยาศาสตร โดยภาพๆ หนึ่ง จะใชกับบทเรียนบทหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาในหนังสือเปนเรื่องเก่ียวกับพระเจา โลก อากาศ ตนไม มนุษยฯลฯ มีภาพประกอบรวมท้ังหมด 150 ภาพ ซ่ึงสะทอนภาษิตจีนบทที่กลาววา ภาพหน่ึงภาพมีคาเทา กับคําพูดหน่งึ พันคํา ภาพที่ 1.2 The Orbis pictus ที่มา: http://img.radio.cz ตอมาไดมีนักการศึกษาท่ีริเริ่มนําหลักการและทฤษฎีของจิตวิทยามาใชในเทคโนโลยีการศกึ ษาไดเ ปน อยา งดี เชน เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล (Friendrich Wilhelm Frobel) บิดาการศึกษาปฐมวัยเขาไดพ ฒั นาโรงเรียนอนุบาลขนึ้ แหงแรก ในประเทศเยอรมนใี นป ค.ศ. 1837 เปนผูริเร่ิมแนวคิดการจดั การศึกษาปฐมวัยใหเปนไปอยางมีรูปแบบ กําหนดใหมีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสําหรับการศกึ ษาปฐมวัย มีการฝกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยดว ยการผลติ อปุ กรณการสอนท่เี รยี กวา ชุดอุปกรณ และการจัดกิจกรรมสาํ หรบั เด็กปฐมวยั ท่เี รียกวา การงานอาชีพ เฟรอเบลเช่ือวา

7เด็กมีความสามารถในส่งิ ดงี ามมาต้งั แตเ กิด เดก็ ปฐมวัยควรจะเรยี นรูดวยการเลน การแสดงออกอยางอสิ ระ เด็กควรไดรบั ประสบการณจากการเรียนรทู ง้ั นอกชั้นและในช้นั เรียนโดยเฉพาะประสบการณท่ีไดม าจากการเลน (กลุ ยา ตันตผิ ลาชวี ะ, 2551) ภาพที่ 1.3 Friendrich Wilhelm Frobel ที่มา: http://www.dnpb.gov.ua จอหน ดิวอ้ี (John Dewey) ผูคิดทฤษฎีประสบการณเพ่ือใชในการเรียนรู ไดเสนอแนวคิดท่ีวาเหตุการณตางๆ ยอมเกิดและดําเนินอยูแนนอน แตสิ่งที่เราจะตองคํานึงถึงก็คือความหมายท่ีแฝงอยูในสิ่งนั้นนั่นเอง เปนการเรียนรูโดยการปฏิบัติจริง หรือประสบการณตรง(Learning by doing) (กิดานนั ท มลิทอง, 2548) ภาพท่ี 1.4 John Dewey ทมี่ า: http://media.web.britannica.com

8 สกินเนอร (B.F. Skinner) นักจิตวิทยา เปนผูคิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขเชิงปฏิบัติ(operant conditioning หรือ instrumental conditioning) เปนผูท่ีไดรับความสนใจจากวงการศกึ ษามากท่สี ุด เขาเปน นกั จิตวิทยาพฤติกรรมนิยมทส่ี นใจการเรียนการสอน และวจิ ารณการเรยี นการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะเร่ืองที่ครูไมมีเวลาท่ีจะใหแรงเสริมแกนักเรียน ทําใหนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ในป ค.ศ.1954 เขาไดเสนอแนะวิธีสอนโดยใชเคร่ืองชวยสอน (teachingmachine หรือการสอนแบบโปรแกรม (programmed instruction) เรียกวา linear program(บทเรยี นแบบโปรแกรมเชงิ เสน ) (สรุ างค โควต ระกลู , 2554) วิธีสอนดังกลาวปจจุบันไดเปนรากฐานใหกับการออกแบบการเรียนการสอนสําหรับคอมพิวเตอรชวยสอน (Computer AssistedInstruction: CAI) ในปจจุบนั ภาพที่ 1.5 B.F. SKINNER ท่มี า: http://www.rugusavay.com นักเทคโนโลยกี ารศกึ ษา นักจติ วทิ ยา และนักวทิ ยาศาสตร เหลานี้ เปนผูนําหลักการทางวิทยาศาสตรมาประยุกตใชในเทคโนโลยีการศึกษา และลวนมีสวนชวยในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทัง้ สนิ้ การนําสื่อประเภทภาพและเสียง รวมถึงเทคนิควิธีการมาใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนการสอน เรียกวา สื่อโสตทัศน (audio-visual aids) ซึ่งถือวาเปนจดุ เร่ิมตนของการใชเ ทคโนโลยกี ารศกึ ษาในปจ จบุ ัน ประเทศสหรฐั อเมริกา เปนประเทศแรกที่นํามาสงเสรมิ การเรยี นการสอน ตั้งแตป  พ.ศ. 2448 ตอ มาภายหลังสงครามโลกครั้งท่ีสองส้ินสุดลง วงการทหารเริม่ นําวัสดอุ ปุ กรณแ ละเทคนคิ วิธีการตางๆที่ไดร ับการพัฒนาในชวงสงคราม เพือ่ นาํ มาใชใ นการฝกอบรมทหาร เชน การสอนแผนที่ การพัฒนาการสอนแบบโปรแกรม รวมถึงการเร่ิมมีหอ งปฏิบตั ิการทางภาษา โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอน และในป พ.ศ.2511

9กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ไดขอใหผูเช่ียวชาญ ท้ังในวงการศึกษาและวงการอุตสาหกรรมจัดการฝกอบรมโดยใชว ิธรี ะบบ (system approach) เพื่อการพฒั นาและการจดั การในองคกร หลังจากนน้ั มา จงึ มีการยอมรับแนวคิดการใชโสตทัศนูปกรณและการพัฒนาเทคโนโลยีตางๆ มาใชในวงการศกึ ษากนั อยางแพรห ลาย เชน การใชบทเรยี นแบบโปรแกรมดว ยเครื่องชวยสอนเปนสือ่ บรรจุบทเรยี นตามแนวคดิ พ้ืนฐานทางดานหลักจติ วทิ ยาของสกนิ เนอร ซึง่ ระยะตอมามีการนําหลักการเรียนรูดานจิตวิทยามาใชผสมผสานในเทคโนโลยีการศึกษาเพ่ือเพ่ิมสัมฤทธ์ิผลการเรียนรูใหแกผ ูเรยี น เชน การใชหลกั จติ วิทยาของบรนู เนอร (Bruner) นาํ มาประยุกตใ ชก ับการเรียนการสอนดังที่ สรุ างค โควต ระกูล (2554) กลาววา วัตถุประสงคทั่วไปของการศึกษาในมุมมองของบรูนเนอรคือ การฝกนักเรียนใหใชความคิดหรือใหมีความสามารถสรางความรู-คิดเปน (the use of mind)เพื่อการกระทาํ หรือผลลพั ธ (outcome) อยางใดอยางหนึ่ง ส่ิงที่นักเรียนเรียนรูควรจะเปนการเพิ่มความมัน่ ใจในตนเองวา ตนคิดได คิดเปน แกปญ หาได โดยสรปุ ส่งิ ทนี่ กั เรยี นรูจากโรงเรยี นควรจะเปนสมรรถภาพในการคิด ไมใ ชการกระทํา หรือผลลัพธ ภาพที่ 1.6 Bruner, Jerome Seymour ท่มี า: http://01.edu-cdn.com การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) ถือเปนหัวใจหลักของการพฒั นาสอื่ การเรยี นการสอนทกุ ประเภท โดยเฉพาะบทเรียนคอมพวิ เตอรชวยสอน ที่ไดรับอิทธิพลมาจากแนวคิดกระบวนการเรียนการสอน 9 ขัน้ ของกาเย (Gagné, 1992) ประกอบไปดวยขั้นตอนดังน้ี(1) ขนั้ กระตนุ ความสนใจ (2) ข้นั แจง วัตถุประสงค (3) ข้ันทบทวนความรูเดิม (4) ข้ันนําเสนอเน้ือหาใหม (5) ข้ันแนะแนวทางการเรียนรู (6) ข้ันกระตุนใหผูเรียนแสดงความสามารถ (7) ข้ันใหขอมูลปอ นกลบั (8) ข้ันประเมินผล และ (9) ข้ันจําและนําไปใช หลักในการนําท้ัง 9 ข้ันไปประยุกตใชกับบทเรยี นคอมพวิ เตอรชว ยสอน ควรพจิ ารณาถงึ การทาํ ใหผ เู รียนเกิดความรูส กึ ใกลเ คียงกบั การเรียนรู

10โดยผูสอนในชั้นเรียน โดยปรับเปล่ียนกระบวนการเรียนรูใหสอดคลองกับสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร อยางไรก็ตามผูสอนอาจไมเลือกทั้งหมด 9 ขั้น แตปรับยืดหยุนใหเขากับลักษณะของเน้อื หาของบทเรียน ภาพที่ 1.7 Robert Gagné ทีม่ า: http://itls.usu.edu ปจจบุ ันเราอยูในยคุ ของเทคโนโลยีและการสือ่ สาร เคร่อื งคอมพวิ เตอรและเทคโนโลยีการส่ือสาร ไดถูกพัฒนาใหมีขนาดท่ีเล็ก ไรสาย ราคาถูกลง และสมรรถนะสูงข้ึน ในวงการศึกษาไดนําคอมพวิ เตอรมาใชช วยสอน เรียกวา คอมพิวเตอรช วยสอน หรือ ซีเอไอ (CAI) ลักษณะของบทเรียนซีเอไอ ไดอาศัยแนวคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหวางส่ิงเรากับการตอบสนอง ซึ่งพัฒนามาจากบทเรยี นโปรแกรมในอดตี ผเู รยี นสามารถเรียนรูจ ากคอมพวิ เตอรชว ยสอนในหลายรูปแบบ เชน การสอน การฝก หดั การจําลอง เกมเพ่ือการสอน การคนพบ การแกปญหา และการทดสอบ ในแตละบทเรยี นจะมตี ัวอักษร ภาพกราฟก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบ ในลักษณะของสื่อประสม (multimedia) และสือ่ หลายมติ ิ (hypermedia) ทําใหผเู รียนสนุกไมเบื่อหนา ยในการเรยี น ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร (Information and CommunicationsTechnology: ICT) คือ การใชเทคโนโลยีคอมพิวเตอรใ นการจัดการฐานขอ มลู ประมวลขอ มูลใหเปนสารสนเทศ รวบรวมและจัดเก็บอยางเปนระบบ เพื่อคนคืน นําไปใชประโยชนไดตอไป และใชเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง เพ่ือสงผานสารสนเทศไดอยางรวดเร็ว ทําใหพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแตป พ.ศ.2536 เปนตนมาจนถึงปจจุบัน มีการใชอินเทอรเน็ตและเวิลดไวดเ วบ็ กนั อยางแพรหลาย ท้ังการศกึ ษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยเฉพาะอยางยิ่งในระบบการศกึ ษาทางไกล ทกี่ ารเรยี นการสอนสามารถทําไดทุกทีท่ ุกเวลาตลอด 24 ช่วั โมง

11นโยบายที่เกี่ยวขอ งกบั เทคโนโลยีสารสนเทศเพอื่ การศึกษาของประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ (2543) ไดนําเสนอแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีเพ่อื การศึกษา ตามแนวทางไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9เทคโนโลยีเพอ่ื การศึกษา สาระสาํ คญั คอื มาตรา 64 รัฐตอ งสงเสรมิ และสนับสนนุ ใหมกี ารผลิตและพฒั นาแบบเรียน ตาํ รา หนังสือทางวิชาการ สื่อส่ิงพิมพอ่ืน วัสดุอุปกรณและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอ่ืน โดยเรงรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลติ จัดใหมีเงินสนับสนนุ การผลิตและมีแรงจูงใจแกผ ผู ลติ และพัฒนาเทคโนโลยีเพอ่ื การศกึ ษา ท้งั นี้ โดยเปดใหมีการแขงขั้นโดยเสรอี ยางเปนธรรม มาตรา 65 ใหม ีการพฒั นาบคุ ลกรทง้ั ดา นผผู ลิตและผูใ ชเทคโนโลยเี พื่อการศึกษา เพอื่ ใหม ีความรู ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งใชเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสทิ ธิภาพ มาตรา 67 รฐั ตอ งสงเสริมใหมกี ารวิจัยและพฒั นาการผลิตและการพฒั นาเทคโนโลยีเพื่อการศกึ ษา รวมท้งั การตดิ ตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพ่ือใหเกิดการใชที่คมุ คา และเหมาะสมกบกระบวนการเรียนรขู องคนไทย ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ (2546) ไดศึกษานโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแหงชาติโครงการเครือขายคอมพวิ เตอรเ พอ่ื โรงเรยี นไทย พระราชบญั ญตั ิการศกึ ษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายดา นเทคโนโลยสี ารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (2543) สรุปไดว า เทคโนโลยสี ารสนเทศไดเพิ่มบทบาทขึ้นในการพัฒนาประเทศไทยในหลายดานโดยเฉพาะดานการศึกษา เชน โครงการSchool Net Thailand แมวาเทคโนโลยีไดเขามามีบทบาทในวงการการศึกษาเปนระยะเวลาเกือบยี่สบิ ปแลวแตก ารดําเนนิ การใชเ ทคโนโลยสี นเทศในโรงเรียน หรือการเผยแพรเทคโนโลยีในโรงเรียนน้ันยังขาดการดําเนินการสนบั สนนุ และตดิ ตามประเมนิ ผลอยางตอ เนื่อง นอกจากนี้การใชเทคโนโลยีในโรงเรยี นยงั ขาดการวางแผนตั้งแตร ะดับกระทรวง เขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษา และโรงเรียนท่ีชัดเจน แมวาจะมนี โยบายเทคโนโลยสี ารสนเทศแหง ชาติ IT 2000 ต้ังแตป  พ.ศ. 2539 แลวกต็ าม ในป พ.ศ.2550 ไดมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรมนาํ ความรู ซ่ึงสอดคลอ งกับนโยบายของรัฐบาลและเปน ไปตามนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย หรอื IT 2010 และพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งไดบรรจุเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาไวในหมวด 9 จึงไดสนับสนุนใหมกี ารใชค อมพิวเตอรและอินเทอรเน็ตในการเรียนการสอนและการบริหารจัดการอยาง

12กวา งขวาง เพ่ือใหเกดิ ประโยชนสงู สุดในการนาํ เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารมาใชในการเรยี นการสอนและการบริหารจัดการ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงกําหนดนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสารเพ่ือการศึกษาข้ึน เพื่อสนับสนุนการนําใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาและหนวยงานทางการศึกษา และเพ่ือเปนการปองกันภัยทางอินเทอรเน็ต โดยใหผูเรียน ผูสอน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชน ไดใชประโยชนและเขาถึงบริการไดจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารตามความเหมาะสม สาระสําคัญของประกาศฯ ท่เี กยี่ วขอ งกบั การจดั การเรียนการสอนในสถานศกึ ษา มรี ายละเอยี ดดังตอไปน้ี 1. นโยบายสงเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพ่ือการศึกษาโดยจัดใหมีระบบสารสนเทศขอมูลขาวสาร และระบบปองกันภัยทางอินเทอรเน็ตเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ พัฒนาผูสอนใหสามารถใช เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร เพ่ือชว ยสอนและชว ยเพม่ิ ประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการเรียนรูอยางสรางสรรค และปลอดภยั พรอ มกับการปลกู ฝง คานิยมท่ีดีงามในเร่อื งของคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมสงเสริมและจัดใหม กี ารวิจยั และพฒั นาส่ือและนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร เพื่อการเรียนรูเพือ่ พฒั นาสถานศึกษาเปน สงั คมแหงการเรยี นรู 2. มาตรฐานเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร เพ่อื การศกึ ษาสาํ หรบั สถานศกึ ษาข้นัพ้นื ฐานของกระทรวงศกึ ษาธิการ ประกอบดว ย 2.1 ดา นการบริหารจดั การภายในสถานศึกษา โดยจัดใหมแี ผนพฒั นาดา นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะกลาง (3-5 ป) และพฒั นาเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร ทีอ่ ยูในแผนปฏิบัติการประจําป มีบุคลากรรับผิดชอบระบบงานขอมูลสารสนเทศท่ีเปนปจจุบันตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ 2.2 ดา นโครงสรางพื้นฐาน จัดใหมีระบบเครือขายอินทราเน็ต และระบบเครือขายภายในพื้นท่ใี นสถานศึกษา เพ่อื การบรหิ ารจดั การและการจัดการเรียนการสอน มีซอฟตแวรท่ีจําเปนสําหรับใชในสถานศึกษาท่ีไมละเมิดลิขสิทธิ์ มีการจัดหองเรียนที่หลากหลาย เชน หองปฏิบัติการคอมพิวเตอร และ/หรือ หองเรียนคอมพิวเตอร มีระบบการบํารุงรักษาและความม่ันคงของระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่ือสาร 2.3 ดา นการเรียนการสอน จดั ใหมหี ลกั สตู รและแผนจดั การเรยี นการสอนแตละสาระการเรยี นรู โดยใชเ ทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สารเปน เครือ่ งมือ และการจดั การเรียนรตู ามแผนฯทก่ี าํ หนด มีรูปแบบการเรียนรูท่หี ลากหลาย ผูสอนสามารถใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเปนเครื่องมือในการออก แบบและจัดกิจกรรมการเรียนรูใหกับผูเรียนอยางมีประสิทธิภาพ โดยคาํ นงึ ถงึ กฎหมาย คุณธรรม และจรยิ ธรรม

13 2.4 ดานกระบวนการเรียนรู ผูเรียนไดเรียนรูจากการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อื สาร เปน เคร่ืองมือในรูปแบบท่ีหลากหลาย ในแตละกลุมสาระการเรียนรูและไดทํากิจกรรมตางๆ โดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามความสนใจของผูเรียน เกิดทักษะในการสรา งสรรคและนาํ เสนอผลงานอยา งมีคุณธรรม จริยธรรมและมคี ณุ ลกั ษณะท่พี ึงประสงคต ามหลกั สตู รการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐานกําหนด 2.5 ดานทรัพยากรการเรียนรู จัดใหมีมีระบบจัดการแหลงการเรียนรู คลังแหลงเรียนรู ศูนยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในแตละกลุมสาระการเรียนรูใหกับผูเรียนในลักษณะของเวบ็ ไซต รวบรวมสือ่ นวัตกรรมการเรียนการสอนอยางเปนระบบ ในปง บประมาณ 2554 สาํ นักเทคโนโลยีเพ่ือการเรยี นการสอน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ไดจัดใหมีโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก จุดที่ 4 ภาคเหนือ ณโรงแรมริมกก รีสอรท จังหวัดเชียงราย เมื่อวันท่ี 4- 9 กันยายน 2554 ผูเขียนไดมีโอกาสรวมเปนวิทยากร บรรยายในหัวขอเร่ือง การบูรณาการ ICT สูแผนการจัดการเรียนรู และ การนิเทศ กํากับติดตามและประเมินผลการใช ICT สะทอ นใหเ หน็ ถึงนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน ท่ไี ดค าํ นึงถึงแนวโนมบรบิ ทของสังคมโลกและสังคมไทยทีม่ ผี ลตอการศกึ ษา ตามแผนการศึกษาแหงชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) ท่ีวา สภาวการณโลก กําลังเคล่ือนจากยุคขอมูลขาวสาร ผานยุคสารสนเทศ เขา สูยุคของโลกาภิวฒั นไ รพรมแดน มีผลกระทบตอการจัดกระบวนการเรียนรขู องครู โดยครูตอ งสามารถจัดการเรยี นการสอนอยา งมีประสิทธิภาพ โดยเนน ผูเรยี นเปน สําคัญมีการประเมนิ การจัดเตรยี มและใชสือ่ อยา งเหมาะสมกับกิจกรรม นาํ ภูมิปญ ญาทอ งถ่นิ และเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมมาประยกุ ตใ นการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคน ดวยความสําคัญและความจําเปนของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพ่ือการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสํานักเทคโนโลยีเพ่ือการเรียนการสอน ไดสงเสริมใหมีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารไปใชในการเรยี นการสอนในการจดั การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานใหท ว่ั ถึงและเสมอภาค โดยจัดสรรงบประมาณในการพฒั นาส่อื ICT เพอ่ื การเรยี นการสอน รวมทั้งผลติ วจิ ยั และพัฒนาสอื่ เทคโนโลยแี ละการส่ือสารเพ่ือการเรียนการสอนเปน จาํ นวนมาก และไดม อบหมายใหศึกษานิเทศกเปนพลังในการขับเคล่ือน สงเสริมการใช ICT เพื่อการเรียนการสอนสถานศึกษาตอไป (สํานักเทคโนโลยีเพอ่ื การเรียนการสอน, 2554)

14เทคโนโลยกี ารศึกษาและระบบการสอน จากความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปไดวา เปนกระบวนการที่ซับซอน มีข้ึนเพ่ือการวิเคราะหป ญหาและการวางแผนการนํามาใช การประเมนิ และจัดการหาทางแกปญหาทุกๆอยางที่เกิดขนึ้ อันเก่ยี วพนั กบั การเรียนรูของมนุษย ดงั น้ันเม่อื นาํ เทคโนโลยกี ารศึกษามาใชในการเรียนการสอน จงึ ตองนาํ วธิ กี ารทางวิทยาศาสตรม าใชในการจัดระบบการสอน หรอื วิธรี ะบบ วธิ รี ะบบเปนการทํางานอยา งเปน ขนั้ ตอนมีการวางแผนโดยรวบรวมเอาสง่ิ ตา งๆ มาทาํ งานรว มกันอยางเปนระเบยี บ เพือ่ ใหไ ดผ ลผลติ ออกมาตามความตองการ หากมีปญหาเกิดข้ึนก็สามารถแกไขไดอยางรวดเร็ว ดังนั้นการนําเอาวิธีระบบมาใชในการเรียนการสอนเพ่ือชวยในการวิเคราะหปญหาและปรับปรงุ ระบบการสอนใหดขี ้ึน ออกแบบการสอนเพื่อใหการสอนดําเนินไปอยางมีระบบกอใหเกิดประสทิ ธิภาพในการจัดการเรียนการสอน 1. ความหมายของวิธรี ะบบ ระบบ (System) หมายถึง การรวบรวมส่ิงตางๆ ทั้งหลายที่มนุษยไดออกแบบและสรางสรรคข ึ้นมา เพือ่ สามารถนาํ สงิ่ เหลานั้นมาจัดดําเนินงานใหบรรลุผลตามเปาหมายท่ีวางไวหรือระบบ คือผลรวมขององคประกอบยอยๆ ท่ีมีเอกลักษณเปนของตนเองและมาประกอบรวมกันเปนระบบ เพ่ือทําหนาท่ีบางอยาง เชนรางกายมนุษย รถยนต เปนตน ตางก็เปนระบบท้ังส้ิน นอกจากน้ีระบบ ยังหมายถงึ ผลรวมของหนวยยอย ซ่ึงทํางานเปนอิสระจากกันแตมีปฏิสัมพันธกันเพื่อใหบรรลุตามวัตถปุ ระสงคท ่ีวางไว 2. องคประกอบของวิธรี ะบบ ประกอบดว ย 2.1 ขอ มูล : เปน การตั้งปญ หาและวเิ คราะหป ญหาการตั้งวัตถุประสงคหรือเปนการปอนวตั ถดุ ิบตลอดจนขอ มลู ตางๆ เพอ่ื การแกไ ขปญ หานนั้ 2.2 กระบวนการ : เปนการรวบรวม วิเคราะหและประมวลผลขอ มลู ทปี่ อนเขามาเพ่ือดาํ เนนิ การตามวัตถปุ ระสงคท ่ีตงั้ ไว 2.3 ผลผลิต : เปนสง่ิ ทไี่ ดออกมาภายหลงั จากการดาํ เนินงานในชัน้ ของกระบวนการเมอ่ื ส้ินสุดลง ทงั้ นีร้ วมถึงการประเมินผลอกี ดวย

15 การควบคมุขอมูล กระบวนการ ผลผลิต(input) (process) (output) ขอมูลปอนกลับ (Feedback) ภาพท่ี 1.8 องคป ระกอบของวธิ ีระบบ ตวั อยาง : ระบบการผลิตบัณฑติ ของมหาวทิ ยาลยั ทัว่ ไป ขอมูล : ผผู า นการสอบคดั เลอื กเขา ศึกษาตอ ในระดบั อดุ มศกึ ษา โดยตั้งวัตถุประสงคของการศกึ ษาเพ่อื เรยี นจบออกมาเปนบัณฑิตรับใชส งั คม ตามสาขาวชิ าเอกหรือศาสตรท ี่ตนเรียนมา กระบวนการ : การลงทะเบียนเรียนใหค รบในวชิ าและหนว ยกิตตามหลักสตู รไดกาํ หนดไวและสอบผา นไดค ะแนนเฉล่ยี ถงึ เกณฑมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกําหนด การแสดงผลผลิตการเรียนรูเชน วทิ ยานิพนธ สารนพิ นธ หรือ โครงงานเอกเทศ ฯลฯ การควบคุม : การจัดการเรียนการสอนตามหลกั เกณฑและเงอ่ื นไขทหี่ ลกั สตู รกาํ หนด ผลผลติ : บัณฑติ สาํ เร็จการศึกษาตามหลักสตู ร ขอมูลปอนกลับ : ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต รายได ความพึงพอใจของนายจางความเชอ่ื ถอื ในคณุ ภาพบัณฑติ ของสงั คม และผลลัพธก ารเรยี นรขู องบณั ฑิต (learning outcome)

16 การควบคุมขอ มูล กระบวนการ ผลผลตินักศึกษา การลงทะเบียน,การเรียนการสอน บัณฑติ ขอ มูลปอ นกลับ ภาวะการมีงานทาํ ,ความพึงพอใจของผใู ชท่ีมีตอ คณุ ภาพของบัณฑิต ภาพที่ 1.9 ตวั อยางระบบการผลติ บณั ฑิตของมหาวิทยาลยั ท่วั ไปนวัตกรรมการศกึ ษา (educational innovation) เมื่อเปรียบเทยี บนวัตกรรมการศกึ ษากับนวัตกรรมสาขาวิชาเฉพาะอ่ืนๆ เชน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร การสื่อสาร วิศวกรรม การทหาร การแพทย ฯลฯ แลว นวัตกรไดคนพบส่ิงประดิษฐใหมๆ ที่ทําใหมนุษยมีความสะดวกสบาย มีสุขภาพและความปลอดภัยท่ีดีข้ึน ซ่ึงเปนเรื่องของวัตถุสวนดานจิตใจหรือปญญาแลว กลับมีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพจํานวนนอยมาก ท่ีจะชวยทําใหผเู รียนเกิดการเรียนรูอยางประสิทธิผล มนุษยไดสรางนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมเพ่ือใหไดมาซ่ึงยุคแหงเทคโนโลยที ่ีเจรญิ ถงึ ขดี สดุ แตไ มสามารถสรา งนวัตกรรมการศกึ ษาเพอ่ื ทาํ ใหมนษุ ยชาติเกดิ การเรยี นรูถึงคุณและโทษจากการใชเทคโนโลยีทางวัตถุเหลาน้ัน ครูยังคงยืนสอนอยูหนาหองเรียน โดยใชชอลก กับกระดานและหนังสือ จึงเกิดคาํ ถามวา วธิ ที ่จี ะทําใหผูเรียนเกิดการเรียนรูไดดีท่ีสุด ควรจะมีวธิ กี ารใหมๆ อะไรบา ง ท่ีท้งั ผเู รยี นและผูสอนตา งก็ยอมรบั วา ทาํ ใหเ กดิ ประสทิ ธิภาพในการเรียนรูไดดีทีส่ ุด จากการเปล่ียนแปลงการจัดการศึกษาของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหง ชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 และหลักสตู รการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พ.ศ. 2544 ไดกําหนดแนวทางในการท่จี ะจดั การศึกษาไววา การจัดการศึกษาตองยึดหลักวาผูเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองได และถือวาผูเรยี นมคี วามสาํ คัญท่ีสดุ ดังนั้นครูจึงควรเปล่ียนบทบาทของตนเอง จากการเปน ผชู ้ีนาํ ผูถายทอดความรู ไปเปน ผชู ว ยเหลือ สงเสริม สนับสนุนผูเรียนในการแสวงหาความรูจากสอื่ และแหลงการเรียนรูต า งๆอีกทัง้ ยงั ตอ งใหข อ มลู ทถ่ี ูกตองแกผูเรียน เพื่อนําขอมลู เหลาน้ันไปใช

17สรา งสรรคความรูของตน โดยการเรียนรดู วยตนเอง สามารถเรียนรไู ดทกุ เวลา ทกุ สถานที่ และจากส่อืท่ีหลากหลาย ท่ีใหคุณคา ความนาสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เขาใจไดงายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งกระตุน ใหผ ูเรียนรจู ักวิธีแสวงหาความรู เกิดการเรียนรูอยางกวางขวางและมีความหมาย ลึกซึ้งและตอเนื่องตลอดเวลา ผูท่ีมีหนาท่ีจัดการศึกษาตองศึกษา คนควา วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรูใหสอดคลองกบั กระบวนการเรียนรขู องผเู รยี น (หลกั สูตรการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน, 2544) ดงั นนั้ เมื่อภารกิจและบทบาทของการจดั การศึกษาเปลี่ยนแปลงไปสถานศึกษาจึงจาํ เปนตองมีนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะชวยผูบริหารสถานศึกษาและครูผูสอน เพ่ือใหผูเรียนสามารถเรียนรูอยางมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงคของการปฏิรูปการศึกษา ในหัวขอน้ีมีประเด็นที่ควรศึกษา ไดแก ความหมายของนวัตกรรมการศกึ ษา ความสาํ คัญของนวัตกรรมการศึกษา หลักการพ้ืนฐานของนวัตกรรมการศึกษาลักษณะของนวตั กรรมการศกึ ษา ระดับการยอมรับของนวัตกรรมการศึกษา นวตั กรรมการศึกษาไทยและการเผยแพรนวัตกรรมการศึกษา 1. ความหมายและความสาํ คญั ของนวตั กรรมการศกึ ษา นวตั กรรม หรอื นวกรรม ตามพจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 แปลวาการกอสราง ซึ่ง กิดานันท มลิทอง (2548) กลาววาการนํานวัตกรรมมาใชในวงการศึกษาเรียกวานวตั กรรมการศึกษา (educational innovation) หมายถึง นวตั กรรมทีช่ วยใหการศึกษาและการเรียนการสอนมปี ระสทิ ธภิ าพดยี ่ิงขึ้น ผูเรียนสามารถเกิดการเรียนรูไดอยางรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกวา เดิม เกดิ แรงจูงใจในการเรยี น ท้ังยังประหยดั เวลาในการเรียนไดอีกดวย นวตั กรรมเหลานี้อาจอยูในรปู แบบของวสั ดุ อปุ กรณ และวิธีการเพื่อนํามาใชในการเรียนการสอน ซ่ึงก็คือการนําเทคโนโลยีสมยั ใหมม าใชในวงการศกึ ษานัน่ เอง เมื่อนาํ นวตั กรรมการศึกษาเหลานี้มาใชและเปนที่ยอมรับอยางกวางขวางแลว จะเรยี กวา เปน เทคโนโลยกี ารศกึ ษา จันทรเพ็ญ เชื้อพานิช (2549) กลาววา นวัตกรรมการศึกษา คือ ความใหมในดานการศกึ ษา อาจเปนแนวคดิ ใหมทางการศึกษา เปนทฤษฎีใหม เปนวิธีสอนใหม เทคนิคการสอนใหมรวมทัง้ การนําเสนอสาระดวยสอ่ื ใหมๆ นวตั กรรม หรือ นวกรรม ตามพจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (อางในทศิ นา แขมมณ,ี 2548) แปลวา การกอสรา ง หรอื สิ่งท่ที ําขึ้นใหม ซึ่งไดแ ก แนวคิด แนวทาง ระบบรูปแบบ วธิ ีการ กระบวนการ สอ่ื และเทคนิคตางๆ ท่ีเก่ียวของกับการศึกษา ซ่ึงไดรับการคิดคนและจัดทาํ ขึ้นใหม เพ่อื ชวยแกป ญหาตางๆ ทางการศึกษา ทิศนา แขมมณี (2548) ไดใหขอสังเกตเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรมในดานความใหม วา มใิ ชค ุณสมบัติประการเดยี วของนวตั กรรม ถา เปน เชน นนั้ ของทุกอยางท่ีเขามาใหมๆ ก็จะ

18เปน นวตั กรรมท้งั ส้นิ นวัตกรรมไมว าจะเปนดานใด จาํ เปนตองมคี ณุ สมบัตทิ ่ีสาํ คัญ (รายละเอียดอยูใ นหัวขอ หลักการพ้ืนฐานของนวัตกรรมการศึกษา) ซึ่งผูเขียนไดวิเคราะหและนําเสนอเปนตารางดังตอไปน้ีตารางท่ี 1.3 วเิ คราะหความหมายของนวัตกรรมการศกึ ษา นวัตกรรมการศึกษา (ความใหม) ใหมท ง้ั หมดหรอื เปนสงิ่ ทไ่ี มเคย เปน สง่ิ ใหม ไมถือวา เปน ใหมเพียงบางสวน นาํ มาใชม ากอน ในชว งเวลาหนงึ่ นวัตกรรมอยูใ นกระบวนการพสิ ูจน/ ทดลองยอมรับใชง านแตย งั ไมแ พรห ลาย    ยอมรบั แตย ังไมใ ชใ นระบบงานปกติ   ยอมรับเปนการใชในระบบงานปกติ  น้ําทิพย วิภาวินและนงเยาว เปรมกมลเนตร (2551) กลาววา นวัตกรรม หมายถึงการรวบรวม ผสมผสาน หรือการสรางสรรคความรูที่ไมเคยมีมากอน ที่มีความเก่ียวของและเพ่ิมคุณคา ใหก บั ผลติ ภัณฑ หรือกระบวนการ หรือบริการ สรปุ ไดว า นวัตกรรมการศกึ ษา หมายถึง สิง่ ใหมท างดานการศึกษาท่ีชวยใหการเรียนการสอนมีประสทิ ธิภาพดีขน้ึ ผเู รยี นสามารถเกิดการเรียนรูไ ดอยางรวดเร็ว เกดิ แรงจูงใจในการเรยี นรูอยางมคี วามหมาย สามารถนาํ สงิ่ ทไี่ ดเ รียนรูไ ปประยกุ ตใชในชวี ิตประจําวนั อยางมปี ระสทิ ธิผล ความสาํ คัญของนวตั กรรมการศึกษา คอื การเปนสง่ิ ใหมท ที่ ําขึ้น ซึ่งอาจจะอยูในรูปของความคิด การกระทําหรือส่ิงประดิษฐ รวมถึง แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการกระบวนการ สอ่ื และเทคนิคตา งๆ ที่เกยี่ วของกบั การศึกษา ซ่ึงไดร ับการคดิ คน และจัดทําขึ้นใหม เพ่ือชว ยแกไขปญ หาตางๆทางการศกึ ษา โดยมงุ เนนไปท่ปี ระสทิ ธภิ าพของนวัตกรรมและประสิทธิผลของการเรียนรูที่เกิดขึ้นกับผูเรียน โดยนําวิธีระบบมาใชในการพัฒนานวัตกรรม เปนการวิเคราะหถึงสาเหตขุ องปญหาและคนหากระบวนการแกไ ขปญหาน้นั ซ่งึ สอดคลอ งกับการเปลีย่ นแปลงแนวคิดในการจดั การศึกษาของชาตทิ ่เี นน ผูเรยี นเปนสําคัญ วิธีการใหมในการจัดการเรียนการสอนที่ถูกคิดคนและพฒั นาขน้ึ ยอ มมคี วามสาํ คัญตอการศกึ ษาของประเทศ และมผี ลตอ พฒั นาประเทศใหท ดั เทียมกับนานาอารยประเทศ อยา งไรก็ตามการนํานวัตกรรมทางการศึกษามาใชในสถานศึกษาตองคํานึงถึงความเหมาะสมและความคุม คา ดวย นวัต กร รม กา รศึก ษา ท่ีนํ าม าใ ชใน กา รแ กไ ขป ญหา กา รเ รีย นก ารส อน หรื อพั ฒน าคณุ ภาพของผเู รียนนัน้ จะชวยเพ่ิมสมรรถนะการสอนใหกับครูผูสอน สงผลใหเกิดคุณภาพการสอนและทําใหเ กิดวิธกี ารเรยี นการสอนรปู แบบใหม ทําใหผ เู รยี นเกดิ ความกระฉับกระเฉงและมีความตั้งใจ

19ในการเรียน เพ่ิมสมรรถนะในการเรียนรู ผูเรียนสามารถเชื่อมโยงความรเู ดมิ ใหเขากบั ความรใู หม และสรา งเปน องคค วามรูข นึ้ มา นวตั กรรมทางการศึกษาเปน เครื่องมอื ในการเรียนรู การบริหารจัดการและการเรยี นการสอนทีส่ ะดวกสบายชวยสรา งสังคมใหเกิดการเรียนรรู วมกันอยา งไมจาํ กัดเวลาและสถานที่ 2. หลักการพืน้ ฐานของนวัตกรรมการศกึ ษา ทิศนา แขมมณี (2548) กลาววา ความใหม มิใชเปนคุณสมบัติประการเดียวของนวตั กรรม ถาเปนเชน นนั้ ของทกุ อยางทีเ่ ขา มาใหมๆ จะเปน นวัตกรรมทั้งส้ิน นวัตกรรมไมวาจะเปนดานใด จาํ เปนตอ งมีคณุ สมบตั ิทีส่ ําคัญ ดงั น้ี 2.1 เปนสง่ิ ใหม ซง่ึ มีความหมายในหลายลกั ษณะดว ยกัน ไดแ ก 2.1.1 เปนส่งิ ใหมทัง้ หมดหรอื ใหมเพยี งบางสวน 2.1.2 เปนสงิ่ ใหมท ่ียังไมเ คยมีการนํามาใชในท่ีน้ัน คือ เปนสิง่ ใหมในบรบิ ทหน่งึแตอาจเปนของเกา ในอีกบรบิ ทหน่งึ ไดแ ก การนาํ สิ่งที่ใชหรือปฏิบัติกันในสังคมหน่ึงมาปรับใชในอีกสงั คมหนึ่ง นับเปน นวตั กรรมในสังคมนน้ั 2.1.3 เปน สง่ิ ใหมในชวงเวลาหน่งึ แตอ าจเปนของเกา ในอีกชวงเวลาหน่ึง เชนอาจเปนส่ิงท่ีเคยปฏิบัติมาแลว แตไมไดผลเน่ืองจากขาดปจจัยสนับสนุน ตอมาเม่ือปจจัยและสถานการณอาํ นวยจึงนาํ มาเผยแพรแ ละทดลองใชใหม ถือวาเปนนวตั กรรมได 2.2 เปนส่ิงใหมที่กําลังอยูในกระบวนการพิสูจนทดสอบวาจะใชไดผลมากนอยเพียงใดในบริบทนั้น 2.3 เปนส่งิ ใหมที่ไดรบั การยอมรับนําไปใชแ ตย ังไมเ ปน สวนหนึ่งของระบบงานปกติหากการยอมรบั การนําไปใชนัน้ ไดกลายเปนการใชอ ยา งปกติในระบบงานของท่ีนั่นแลว ก็ไมถือเปนนวัตกรรมอกี ตอไป 2.4 เปน สงิ่ ใหมท ี่ไดรับการยอมรบั นาํ ไปใชบางแลว แตย ังไมแ พรห ลาย คือยังไมเปนทร่ี จู กั กันอยางกวางขวาง 3. ลกั ษณะของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมที่มักไดรับความสนใจและยอมรับนําไปใชอยางกวางขวาง โดยท่ัวไปมีลักษณะดงั นี้ 3.1 เปนนวัตกรรมที่ไมซับซอนและยากจนเกินไป ความยากงายของนวัตกรรมมีอิทธิพลอยา งมากตอ การยอมรบั การนาํ ไปใช หากนวัตกรรมน้ันมลี กั ษณะทีผ่ ูใชเขาใจไดงาย ใชไดงายใชไดสะดวก การยอมรับนาํ ไปใชก ็มกั เกิดขน้ึ ไดง าย ไมตองใชเวลาในการเผยแพรม ากนัก

20 3.2 เปนนวัตกรรมท่ีไมเสียคาใชจายแพงจนเกินไป นวัตกรรมที่จําเปนตองใชวัสดุอปุ กรณแ ละการบาํ รุงรกั ษาทมี่ คี า ใชจ า ยสงู ยอ มไดรับการยอมรับและนําไปใชนอยกวานวัตกรรมท่ีมีคาใชจายถูกกวา เนื่องจากผูใชจํานวนมากมีขอจํากัดดานงบประมาณ แมจะมีความตองการใช แตขาดงบประมาณ กไ็ มสามารถใชไ ด 3.3 เปน นวตั กรรมที่สาํ เร็จรูป นวัตกรรมทีอ่ าํ นวยความสะดวกในการใชมักไดรับการยอมรับและนําไปใชมากกวานวัตกรรมที่ผูใชจะตองนําไปจัดทําเพิ่มเติม ซ่ึงผูใชจะตองใชเวลาจัดเตรียมเพ่มิ ขึ้น 3.4 เปนนวัตกรรมที่ไมกระทบกระเทือนตอบริบทเดิมมากนัก นวัตกรรมท่ีมีผลกระทบตอบริบทเดมิ มาก จําเปนตอ งปรับหรือเปล่ียนแปลงบริบทเดิมมาก การนําไปใชยอมยากกวานวตั กรรมที่ไมม ีลกระทบตอบรบิ ทเดิมมากนกั 3.5 เปนนวัตกรรมท่ีใหผลชัดเจน นวัตกรรมที่สงผลเปนรูปธรรมเห็นไดชัดเจน มักไดรับการยอมรับสูงกวา นวัตกรรมทีใ่ หผลไมชัดเจน 4. ระดบั การยอมรับนวตั กรรม เนื่องจากนวัตกรรมมคี ุณสมบตั แิ ละลกั ษณะหลากหลายแตกตางกันไปจงึ ทาํ ใหเ กดิ การยอมรบั นวตั กรรมน้ันมากนอ ยในระดบั ทแี่ ตกตางกันไปดวย โดยทัว่ ไป การยอมรับนวตั กรรมน้ันมีอยู5 ระดบั คือ 4.1 ระดับการรบั รู เปนการยอมรับในระดบั ตน คือ ยอมรบั รอู ยางครา วๆหรืออยางผวิเผินในนวตั กรรมนนั้ 4.2 ระดับการสนใจ เปนการยอมรบั ในระดับทม่ี ากขึน้ กวา ระดับแรก คอื รบั รูและเริ่มใหความสนใจในนวัตกรรมน้ัน ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากนวัตกรรมน้ันสอดคลองกับปญหาและความตอ งการของตน หรือไดเ ห็นคุณคา ของนวัตกรรมนนั้ ผทู ี่มกี ารยอมรับในระดับนี้ จะแสดงความสนใจซกั ถามถงึ รายละเอยี ดตา งๆของนวตั กรรมนน้ั 4.3 ระดบั การชัง่ ใจ เปนการยอมรับในระดับที่สูงขึ้นกวาการใหความสนในใจ ผูท่ีมีการยอมรบั ในระดบั น้ีจะมีการคิดไตรต รองถงึ ผลดี ผลเสยี และความเปน ไปไดใ นการนํานวัตกรรมน้ันไปใช 4.4 ระดบั การทดลองใช เปนการตัดสนิ ใจทจี่ ะนํานวัตกรรมนั้นไปใชโดยการทดลองใชใ นขอบเขตจาํ กดั เพ่ือท่จี ะดูวาสามารถใชไดจ ริงและไดผ ลจริงมากนอยเพียงใด 4.5 ระดับการใชนวัตกรรม เปนการยอมรับในระดับสูงสุด กลาวคือหลังจากการทดลองใชแลวพบวา นวัตกรรมน้ันเกดิ ประโยชนเ ปนทน่ี าพอใจ และเห็นวานวัตกรรมน้ันมีคุณคามากพอท่จี ะนําไปใชตอไปอยา งตอเน่อื ง

21 5. ประเภทของนวตั กรรมการศกึ ษา การพัฒนาผูเรียนใหม ีคุณภาพ และนําไปสูก ารเปน ผทู ่ีดี เกง สขุ คือ การพฒั นาในดานตางๆ4 ดาน ไดแ ก ปญญา อารมณ สังคม และรางกาย ปจจุบนั มนี วัตกรรมการศึกษา ใหเลือกใชเพื่อแกไขหรือพัฒนาผูเรียนอยางมากมาย (ปรับจาก พิมพันธ เดชะคุปต, 2554 และ ทิศนา แขมมณี,2548) แบงออกเปนหลายประเภท ดงั นี้ตารางที่ 1.4 ประเภทของนวตั กรรมการศึกษาประเภทนวัตกรรมการศึกษา ตัวอยา งนวัตกรรมการศึกษาแตล ะประเภท1. หลักสูตร - หลกั สูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน - หนว ยการเรียนรมู าตรฐาน - หลักสตู รทอ งถิ่น - รายวิชาเพมิ่ เติม - โปรแกรมทางการศกึ ษา ฯลฯ2. วสั ดุหลกั สูตร - คูม อื - ประมวลการสอน - แผนรายหนว ย - แผนการจดั การเรยี นรู - หนงั สือ - ตาํ รา - แบบเรยี น - เอกสารประกอบการสอน - เอกสารคําสอน - หนงั สืออา นสง เสริมการอานนอกเวลา ฯลฯ

22ตารางที่ 1.4 (ตอ ) ตวั อยางนวตั กรรมการศึกษาแตละประเภท ประเภทนวตั กรรมการศกึ ษา 3.1 รปู แบบการเรยี นการสอน3. รูปแบบ วธิ กี ารสอนและเทคนคิ การสอน รวมทั้งแนวการสอน - การสอนท่เี นนพทุ ธพิ ิสัย (มโนทัศน,กานเย) - การสอนที่เนนจิตพสิ ยั (บลมู ,บทบาทสมมุติ) - การสอนที่เนนทกั ษะพสิ ยั (ซมิ พซ นั , เดวีส, แฮโรว) - การสอนที่เนน พฒั นาทกั ษะกระบวนการ (แกปญ หา,คิดสรางสรรค) - การสอนทเ่ี นนการบูรณาการ (4 MAT, การเรียนรูแบบรวมมอื ) 3.2 วิธกี ารสอน - แบบสบื สอบ - แบบไปทศั นศึกษา - แบบอปุ นัย - แบบนิรนยั - แบบโครงงาน - แบบอภปิ รายกลุม ยอย - แบบกรณีตัวอยา ง - บทบาทสมมุติ - Inquiry webquest - แบบเกม - แบบสถานการณจ ําลอง - แบบศนู ยการเรยี น ฯลฯ 3.3 เทคนิคการสอน - การใชคําถาม - การสรา งแรงจูงใจ - การจัดบรรยากาศในชนั้ เรียนทางกายภาพและจิตใจ - การใชผงั กราฟก - การใช Information cooperative learning - การเสริมแรง - เทคนิคการพัฒนาพหปุ ญ ญา - เทคนคิ การนําเขา สูบทเรียน - เทคนิคการควบคุมชั้นเรยี น - เทคนคิ การแลกเปล่ยี นประสบการณการเรียนรู - การบรหิ ารกายสูการบรหิ ารสมอง - หมวกเพ่อื การคิด 6 ใบ

23ตารางที่ 1.4 (ตอ ) ตวั อยางนวัตกรรมการศกึ ษาแตละประเภท ประเภทนวัตกรรมการศึกษา 3.4 แนวการสอน4. ชดุ กิจกรรม5. โปรแกรมคอมพิวเตอรช วยสอน - การสอนตามแนวคอนสตรั๊คติวสิ ม6. - แบบสอบ - การสอนแบบสตอรี่ไลน - แบบวดั - แบบประเมนิ - การสอนแบบโครงการ - การสอนโดยใชแนวคิดเปนฐาน เชน ใชโครงงาน การสบื สอบ การเรยี นแบบกระฉบั กระเฉง การทดลอง แหลงเรียนรู เว็บ และ ไอซีที ฯลฯ - ชุดกิจกรรมการสอน - ชดุ กจิ กรรมการเรียน - ชุดกิจกรรมการเรียนรู - แบบเรียน - แบบโปรแกรม - ชุดแบบฝก ฯลฯ - การสอน/การทบทวน - การฝกหดั - การจาํ ลองสถานการณ - เกมเพื่อการสอน - การคนพบ - การแกป ญหา - การทดสอบ - แบบสอบผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน - แบบสอบความถนัด - แบบวัดมโนทัศน - แบบวัดทกั ษะการคดิ - แบบวดั การปฏิบัติ - แบบวัดเจตคติตอ วิทยาศาสตร - แบบวัดการตดั สินใจ - แบบวดั ความคิดสรา งสรรค - แบบวัดการอานเชงิ วเิ คราะห - แบบวดั การอา นเชิงวพิ ากษ - แบบวัดการคิดอยางวิจารณญาณ - แบบวดั การวิเคราะห / สังเคราะห

ประเภทนวัตกรรมการศกึ ษา 247. การเขยี นเชิงสรา งสรรค ตัวอยา งนวัตกรรมการศกึ ษาแตล ะประเภท8. สอื่ การเรยี นรู - แบบวัดพฤติกรรมการเรียน - แบบวัดบุคลิกภาพ - แบบวัดสมรรถภาพการสอน - แบบวดั การแกปญ หา - แบบประเมนิ - แบบสํารวจ 1. ประเภทความเรยี ง - บทความ - เรียงความ - เรอ่ื งเลา 2. ประเภทบันเทงิ คดี - เร่ืองส้นั - นทิ าน - นทิ านประกอบภาพ - นทิ านคณุ ธรรม - นวนยิ าย 3. ประเภทสารคดี - สารคดีประวตั ศิ าสตร - สารคดเี ก่ยี วกบั ภมู ิปญ ญาบคุ คล/ภมู ปิ ญ ญาทอ งถ่นิ และภูมิปญ ญาชาติ - สารคดที องเที่ยว - สารคดีพชื และสตั ว 8.1 ประเภทซอฟตแ วร - วดี ิทศั น - ภาพยนตร - สไลด - เทปเพลง - เทปบรรยาย 8.2 ประเภทฮารดแวร - กลอ งจลุ ทรรศน - อปุ กรณเ ครอ่ื งมอื ทางวทิ ยาศาสตร

25 6. นวตั กรรมการศึกษาไทย จันทรเพ็ญ เชื้อพานิช (2549) ไดกลาวถึงนวัตกรรมการศึกษาไทยวานวัตกรรมการศกึ ษาสว นมากเกดิ ข้นึ ในประเทศทีม่ ีความเจรญิ มากๆ เชน สหรฐั อเมริกาและหลายๆ ประเทศในยุโรป สาํ หรบั การศึกษาไทยมีการนํานวัตกรรมของตางประเทศมาใชอยูเสมอ โดยเฉพาะนวัตกรรมทางทฤษฎีการเรียนรูและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งนวัตกรรมดานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในขณะเดยี วกันกบั นักการศึกษาไทยกไ็ ดพัฒนานวตั กรรมการเรียนการสอนของไทยขึ้นเอง ซ่งึ มีทงั้ นวัตกรรมเชิงทฤษฎี หรอื แนวคดิ สาํ คญั ทางการศกึ ษา รวมท้ังนวัตกรรมดานการเรียนการสอนที่มีทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู หรือแนวคิดทางการศึกษาของตางประเทศเปนพ้ืนฐานนวัตกรรมการศกึ ษาที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทยตง้ั แต พ.ศ.2513 ถงึ ปจ จุบนั โดยคนไทย กลาวไดอยางภมู ิใจวาเปน นวัตกรรมการศึกษาไทยน้ัน มีหลายลักษณะและมีมาเปนระยะ นวัตกรรมการศึกษาท่ีเกิดขึน้ เวลาใดกเ็ ปน นวตั กรรมในชวงเวลานน้ั เมือ่ ระยะเวลาผานไปความใหมของสิ่งน้ันก็หมดไป แตยังคงไวซึ่งประโยชนและความภูมิใจ มีผูนําไปใชหรือประยุกตใชอยางกวางขวางในขณะน้ันหรือใชสบื เน่อื งกันมา ตวั อยางเชน 6.1 คิดเปน (KHIT-PEN) คดิ เปน เปนนวตั กรรมเชิงทฤษฎี ซึง่ โกวิท วรพิพัฒน ไดคิดและนําเสนอในการประชุมท่ี นิวเดลี ประเทศอนิ เดีย เมือ่ พ.ศ.2513 แนวคดิ การคิดเปน เนนทก่ี ระบวนการคดิ ทบ่ี คุ คลจะทําใหตนเอง สงั คมและส่ิงแวดลอมประสมกลมกลืนกันอยางราบรื่น เพื่อใหเกิดความสุขที่เปนยอดปรารถนาของมนุษย การคิดเปน เปนการคิดเพื่อแกปญหาจากขอมูล 3 ดาน คือ ขอมูลเก่ียวกับตนเอง ขอ มลู ดา นชมุ ชนสังคม สงิ่ แวดลอม และขอมูลทางวิชาการ เปนการพิจารณาขอมูลและคิดไตรต รองอยางรอมคอบกอ นตดั สนิ ใจแกปญ หา แนวคดิ เรอื่ งการคดิ เปน นี้ องคการศกึ ษาวิทยาศาสตรและวฒั นธรรมแหงสหประชาชาติ (UNESCO) ไดใ หค วามสําคญั และบญั ญัตศิ ัพทนี้ไวใ นสารบบ โดยใชคําวา KHIT-PEN 6.2 เพลนิ (PLEARN) เพลนิ เปน นวัตกรรมในเชิงหลกั การและแนวคิดดา นหลักสูตรการเรียนการสอนท่ี ชัยอนันต สมุทวณิช ไดนําเสนอไว PLEARN มาจากคําวา Play + Learn คือ เรียน+เลน หรือเรียนเลน PLEARN เปนแนวคดิ ทง้ั ทางดา นหลกั สตู รและกระบวนการเรยี นการสอนทเ่ี นนใหผ เู รยี นไดมีโอกาสเลนในสง่ิ ทีก่ ําลังเรียน ไดเพลิดเพลินในการเรียน ซ่ึงเจาของแนวคิดใชคําวา เรียนเลนๆแตเลนจริงๆ ท้งั นีผ้ ูสอนตอ งยึดหลักสานกลาง ระหวา งการเรยี นกบั การเลน การเรียนอยา งเดียว ผูเรียนอาจเกิดความทุกข ความเบ่ือ เลน อยา งเดียว ไมเรียนรูอะไรเลย ก็เปนเร่ืองไรสาระจนเกินไป เพลินเปนกระบวนการ (learning Process) สายกลาง ที่ผูสอนตองเขาใจและตองคิดอยางสรางสรรค

26ผูส อนและผูเรยี นตอ งชว ยกนั คดิ โดยผสู อนอาจแนะแนวทางการเลนเรียนที่มีเปา หมายรวมกันทง้ั สองฝาย และตองมีประเด็นท่ีจะไดเรียนรูชัดเจน รูวากําลังเพลินอยูกับอะไร เพลินเปนนวัตกรรมทางความคิดทีส่ ง เสรมิ ใหม ีการเลน เพื่อการเรยี นรู 7. การเผยแพรน วตั กรรมการศึกษา สําลี ทองธวิ (2545) กลาววา ปจ จบุ นั การศกึ ษาเกยี่ วกับนวตั กรรมทางการศึกษาและการเผยแพรนวัตกรรมทางการศกึ ษาไดรบั ความสนใจอยา งกวา งขวาง โดยเฉพาะเร่ืองการพฒั นาและสรา งนวตั กรรมทางการศกึ ษา ไมวา จะเปน นวัตกรรมทางการสอน อาทิเชน การสอนทเี่ นนผเู รียนเปนสําคญั การสอนแบบบรู ณาการ การสอนแบบเนน ชุมชนเปน หอ งเรียน และการสอนแบบเพลนิ เปนตน นวตั กรรมหลกั สูตร เชน หลกั สูตรทองถ่ิน หลกั สตู รสถานศกึ ษา หลกั สตู รแบบโมดูล และหลกั สตู รแบบ e-Leaning เปนตน นอกจากนี้ ยังมีนวตั กรรมดา นการบริหาร ดา นการวดั และประเมินผล ดา นส่อื การเรียนการสอน ตลอดจนนวตั กรรมดา นแนวคดิ และปรชั ญาทางการศึกษาอกี เปนจาํ นวนมากการเปลี่ยนแปลงทางการศกึ ษาทก่ี ระทบตอสถานศึกษานนั้ มี 5 ประการคือ 7.1 การเปลี่ยนแปลงจุดมุงหมายทางสังคมท่ีโรงเรียนมีหนาที่จะตองสนองตอบท้ังน้ีการสนองตอบของโรงเรยี นนน้ั ทาํ โดยการเปล่ยี นแปลงหลักสูตร ท้ังในแงจ ดุ มงุ หมายของการผลตินักเรยี นและในแงข องเนอื้ หาที่บรรจุลงในหลักสูตร 7.2 การเปลย่ี นแปลงกระบวนการสอน การเปล่ียนแปลงนี้ เปนผลอันเนื่องมาจากการคน พบทฤษฎใี หมๆเก่ยี วกบั การเรยี นรูของมนษุ ย 7.3 การเปล่ียนแปลงในสถาบันฝกหัดครู ผลผลิตจากสถาบันฝกหัดครูจะมีคุณภาพแคไหน และมคี ุณภาพอะไรบางน้นั สวนหนึ่งเปนผลมาจาการจัดหลักสูตรและเน้ือหาวิชาในสถาบันฝกหดั ครซู ึ่งจะเปน กําลังสําคัญในการเตรียมครู ใหส นองตอบความตอ งการและการเปลี่ยนแปลงทางสงั คม 7.4 การเปล่ียนแปลงสิ่งแวดลอมทางกายภาพ บริบททางสังคมในโรงเรียนและปรชั ญาทางการศกึ ษา 7.5 การใชเ ทคโนโลยีเขามาชวยในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีทําใหโฉมหนา ของการศกึ ษาเปล่ยี นไปจากเดิม ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงบทบาทหนาทขี่ องครูและนักเรียนตลอดจนบุคลากรอนื่ ๆทง้ั ในและนอกสถานศึกษาดวย นับเปนการเปล่ียนแปลงที่สําคัญอีกประการหนึง่ ในวงการศกึ ษา การเปลย่ี นแปลงทัง้ 5 ประการ มผี ลตอ กระบวนการเผยแพร ซึง่ อาจตองแตกตางกันไปบางตามสภาพเง่ือนไขนั้นๆหากมองในแงข องการสรา งนวัตกรรมแลว สวนใหญม ีขั้นตอนการสรา งท่ี

27คลา ยกนั คือ เกิดความตองการท่ีจะแกปญหา หรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอยางในสังคม แลวสรางนวตั กรรมเพือ่ แกปญ หานั้นๆแตนวัตกรรมทีส่ รา งข้นึ มา ไมใ ชท กุ ชนิ้ ที่จะเปนที่ยอมรับของสังคม และเมอ่ื ยอมรับกนั แลว ก็จะเผยแพรไ ปยังระบบโรงเรียนอยางชาๆ โดยเฉลี่ยแลวใชเวลาประมาณ 50 ปคือ ในขั้นแรกจะตองใชเวลาถงึ 15 ป ทาํ ใหโ รงเรียนประมาณ 3 เปอรเซ็นตยอมรับนวัตกรรมหน่ึงๆและตอ งใชเวลาอกี 35 ป จึงจะทาํ ใหโรงเรยี น 97 เปอรเ ซ็นตทเี่ หลือยอมรับนวัตกรรมน้ัน ปจจัยที่ทําใหก ารเผยแพรต อ งใชเ วลาแตกตา งกนั สรุปไดด ังตอไปน้ี 1. ความแตกตางระหวา งฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาของสมาชิกในสังคมถาความแตกตา งมมี าก การเผยแพรน วัตกรรมจะทําไดชา นอกจากน้ีแลวขนาดของสังคมก็มีสวนสําคัญเชน เดยี วกนั ถาเปน สังคมที่ขนาดไมใ หญนักและสมาชิกมคี วามสัมพนั ธก ันอยางใกลช ดิ การเผยแพรก็จะทําไดส ะดวกและเรว็ ขน้ึ 2. ระดับการศกึ ษาของครูผูสอน กลาวคือ ครูที่มีระดับการศึกษาสูงจบจากสถาบันฝกหดั ครทู ไ่ี ดม าตรฐาน มกั จะมีแนวโนมที่จะยอมรับนวตั กรรมทางการศึกษาไดดีและเร็วกวาครูท่ัวๆไป ดังนนั้ ถาตอ งการเผยแพรน วตั กรรมทางการศกึ ษาในระบบโรงเรียนท่มี ีครูเปนผูมีระดับการศึกษาสูง ก็พอจะคะเนไดวาระยะเวลาของการเผยแพรคงจะเรว็ กวา ปกติ 3. ฐานะทางเศรษฐกิจของโรงเรียน ปจจัยนี้นอกจากสามารถระบุระยะเวลาของการเผยแพรนวัตกรรมแลว ยงั สามารถชใ้ี หเ หน็ ถึงระดบั ของการเปลยี่ นแปลงไดดวย กลา วคอื ถาโรงเรียนมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีกําลังทุนทรัพยท่ีจะสนับสนุนการศึกษาอยางเต็มที่แลว มักจะยอมรับนวัตกรรมเขามาใชใ นการเรียนการสอนไดเร็วกวาโรงเรียนอ่ืนๆ และจํานวนนวัตกรรมท่ีรับเขามาก็มักจะมมี ากกวาโรงเรียนอ่ืนๆดว ย 4. คณุ สมบัติและลักษณะของตัวนวตั กรรมเอง มีสว นในการทําใหนวัตกรรมน้ันเปนที่ยอมรบั ไดเ ร็วขึน้ หรือชา ลงดวย ถานวตั กรรมนน้ั สามารถแกปญหาท่ีเกดิ ขน้ึ ไดจริง 4.1 การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาของแตละบุคคลนั้นมีกระบวนการดงั ตอไปน้ี (Shoemaker, 1971 อางถงึ ใน สาํ ลี ทองธิว, 2545) 4.1.1 ขนั้ การรบั รู คือ การท่ีบุคคลหน่ึงไดรับการแนะนําใหรูจักนวัตกรรมและเขาใจพอสมควรวานวตั กรรมน้ันใชสาํ หรบั ทาํ อะไร 4.1.2 ข้ันการชกั จูง บุคคลนนั้ เร่ิมสรา งทศั นคตทิ ่ีดีหรือไมดตี อ นวตั กรรมนน้ั 4.1.3 ข้นั การตดั สินใจ บุคคลนนั้ เขา มามสี ว นรว มในการใชน วัตกรรม ซ่ึงจะนาํ มาสกู ารตดั สินใจยอมรับหรือไมยอมรบั นวตั กรรมนัน้ 4.1.4 ขนั้ การตัดสนิ ใจยอมรับนวัตกรรม เปนขั้นตอนที่บุคคลนั้นเร่ิมศึกษาผลทจ่ี ะไดร บั จากการใชนวตั กรรมเพอื่ เปนการยืนยันความถูกตองของการตกลงใจยอมรับนวัตกรรม

28นนั้ ซ่ึงเขาอาจเปล่ยี นแปลงการตกลงใจน้ันได ถาเขาเกดิ ไดรบั ขอ มูลใหมๆ ทแ่ี ตกตางไปจากทีเ่ คยรูม ากอ น 4.2 คณุ ลกั ษณะของผูยอมรับการเผยแพร สามารถแบง ออกไดเปน 5 กลุม ดงั น้ี 4.2.1 กลมุ นวตั กร (innovators) ประชากรในกลมุ นี้มลี กั ษณะท่ีเดนชดั คือเปนผทู ชี่ อบเสีย่ ง ชอบทดลองของใหม และดเู ปนคนแปลกในสงั คมนั้น 4.2.2 กลุมผูยอมรับนวัตกรรมกอนผูอื่น (early adopters) กลุมนี้จะมีลักษณะและคุณสมบตั ทิ คี่ ลา ยกันกบั คนอ่นื ๆในสังคม มากกวากลมุ นวัตกร สวนใหญจ ะเปน ผูท ่ีมฐี านะทางสังคมคอ นขา งสูง เปน ผูน าํ ทางความคดิ สังคมน้ัน 4.2.3 กลุมชนสวนใหญที่ยอมรับนวัตกรรมในระยะตน(early majority)กลุมน้ีมีลักษณะท่ีจะยอมรับนวัตกรรมชากวากลุมที่สอง แตจะเร็วกลุมอ่ืน เพราะขั้นการตกลงใจยอมรบั นวัตกรรมของคนกลุมนีใ้ ชเ วลามากและนานกวากลมุ แรกๆเขามีความพอใจและคอนขางเต็มใจทจ่ี ะใชน วตั กรรม แตไ มตอ งการเปน ผนู าํ ในการใชนวัตกรรม 4.2.4 พวกลาหลัง (laggards) เปนกลุมสุดทายท่ีจะยอมรับนวัตกรรมลกั ษณะพิเศษของคนกลุมนี้คือ จะเปนพวกยึดม่ันในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมดั้งเดิมและคอนขางจะอยู ตัดขาดจากโลกภายนอก คนในกลมุ นจ้ี ะสนใจถงึ แตเรื่องในอดีต พยายามดําเนินรอยตามสิง่ ทีเ่ คยปฏิบัติกันมาแตกอ น ถา พวกลา หลังนจี้ ะใชนวัตกรรม กห็ มายความวา นวตั กรรมนน้ั ใชกนัมานานพอสมควร จนกลายเปนวถิ ีชีวติ อยางหน่ึงของคนในสงั คมแลวเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมการศกึ ษากบั การเรยี นรู การเปลยี่ นแปลงการจดั การศึกษาของประเทศไทยตามพระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแหง ชาติพ.ศ. 2542 มาตรา 22 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ไดกําหนดแนวทางในการจัดการศกึ ษาไววา การจดั การศึกษาตอ งยึดหลักวาผูเรียนทกุ คนมคี วามสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองได และถอื วา ผเู รยี นมีความสําคญั ท่สี ุด ครูควรเปล่ยี นบทบาทของตนเองจากการเปนผูช ี้นํา ผถู า ยทอดความรู ไปเปน ผูชว ยเหลอื สงเสริม สนับสนนุ ผูเรยี นในการแสวงหาความรูจากสอ่ื และแหลง การเรียนรูตางๆอกี ท้งั ยังตอ งใหข อ มูลทถ่ี ูกตองแกผูเรียน เพื่อนําขอมูลเหลาน้ันไปใชสรางสรรคความรูของตนโดยการเรียนรูดวยตนเอง สามารถเรยี นรูไ ดทุกเวลา ทกุ สถานที่ และจากส่อื ท่หี ลากหลาย ท่ใี หค ุณคาความนาสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เขาใจไดงายและรวดเร็วข้ึน รวมทั้งกระตุนใหผูเรียนรูจักวิธีแสวงหาความรู เกิดการเรยี นรอู ยา งกวางขวางและมีความหมาย ลึกซ้ึงและตอเน่ืองตลอดเวลา ผูท่ีมีหนาท่ีจัดการศึกษาตองศึกษา คนควา วิจัย เพ่ือพัฒนาสื่อการเรียนรูใหสอดคลองกับกระบวนการเรยี นรขู องผูเรียน (กรมวิชาการ, 2545)

29 การจัดระบบการเรยี นการสอนทีเ่ อ้ือตอการใหผ ูเรียนเกิดการเรียนรูและพัฒนาตนเองไดอยางตอ เน่ืองนั้น ตอ งเนนใหผเู รียนสามารถพัฒนาและสรา งขอ มูลที่เปน องคความรูไดดวยตนเอง ซึ่งผูเรียนสามารถเปลีย่ นแปลงโครงสรา งทางปญญาและพัฒนาโครงสรางนัน้ ตอไป กระบวนการพัฒนาโครงสรางทางปญญาภายในของบุคคล มีการปฏิสัมพันธกับส่ิงตางๆ รอบตัว ซึ่งสอดคลองกับพระราชบัญญตั กิ ารศกึ ษาแหง ชาติ พ.ศ.2542 ที่เนนบทบาทของผูเรียนในการสรางองคความรูดวยตนเอง ผสมผสานกบั การจดั การประสบการณการเรยี นรตู า งๆใหมกี ารเชอื่ มโยงระหวางประสบการณเดิมกับประสบการณใหม ทําใหผูเรียนเกิดการเรียนรู คิด สรางและสรุปความรูดวยตนเอง และสามารถนาํ ไปประยกุ ตใ ชใ นชวี ติ ปจ จบุ ันนวัตกรรมดานการจัดการเรยี นการสอน มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารใหมใ นรปู แบบตางๆ ที่หลากหลายและมีอิทธพิ ลตอการเรียนการสอน โดยเฉพาะรูปแบบการเรยี นการสอนบนเว็บ เน่ืองจากการใชอินเทอรเน็ตและเวอรไวดเว็บไดรับความนิยมและแพรหลายรวดเรว็ มาก นับตั้งแตมีการใช เบราวเซอรล กั ษณะกราฟกในป พ.ศ. 2536 เปนตนมา การเรียนการสอนมกี ารใชเ ว็บในลักษณะและรปู แบบตางๆมากมาย เชน การสอนบนเว็บ ไปรษณียอิเล็กทรอนิกสเวบ็ บอรด การสนทนาสด อเี ลิรนนงิ และการประชุมทางไกลดวยวีดิทศั น โดยรปู แบบเหลา นจี้ ะอยูในลักษณะ การ สื่อ สา รแบ บป ระ สาน เวลาแ ละ ไม ประ สา นเ วลา ตา มแต ละ ปร ะเภทของ เทคโน โล ยีสมรรถนะของเว็บในการใหผูเ รยี นสื่อสารระหวางกันไดโดยไมขนึ้ อยกู ับเวลาและระยะทางทาํ ใหก ารใชเว็บในการเรียนการสอนชวยเสริมรูปแบบการเรียนรูดวยตนเองเปนอิสระจากการที่ผูสอนเปนจุดศูนยกลางการเรียน และอยูในรูปแบบของการส่ือสารเชิงโตตอบเพื่อใหผูเรียนสามารถปรับและประยุกตก ารเรียนไดตามความตอ งการของตนเอง นอกจากนใี้ นสงั คมแหงความรทู ซ่ี ึ่งสารสนเทศและความรูเพ่ิมขึ้นอยางรวดเร็ว ผูเรียนจําเปนตองมีความสามารถในการต้ังคําถาม อภิปราย และวเิ คราะหก ารเรยี นรขู องตนเองในบริบทของสงั คมได จึงจะเกิดการเรียนรูอยางมีความหมายข้ึน (กิดานันท มลทิ อง, 2548) เพ่ือนําสิ่งที่เรียนรูมาประยุกตใชอยางเหมาะสมกับตนเองและพรอมที่จะถายทอดใหก ับบุคคลอ่ืนอยา งสมบูรณ ซง่ึ ตอ งใชไ หวพรบิ ความสามารถในการคดิ วิเคราะห พิจารณาอยา งชาญฉลาด และประมวลผลความรูนนั้ อยา งรอบคอบกอนท่ีจะตัดสินใจมาผนวกและตอยอดกับฐานความรเู ดมิ ของตนเอง ไมตัดสินใจเชอ่ื โดยงาย หรือขาดการสังเกต ตองเปนผูที่สามารถรวบรวมขอมูลที่หลากหลาย ในหัวขอของความรูน้ันๆ ไดอยางรวดเร็ว ตรงประเด็นกับท่ีตองการสืบเสาะคน หา นาํ ขอ มูลหรอื ขอ มลู ทไี่ ดมาใชใ นการประกอบการตัดสินใจ ใหเปนผูรูเทาทันโลก มีขั้นตอนการกลัน่ กรองขาวสารอยางเปนระบบกอนนําไปประยุกตใชตามวัตถปุ ระสงคท่ีตองการอยา งเหมาะสมกับสภาพแวดลอมหรือสภาวการณของตนเอง ถึงแมวาการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจะเพิ่มความสาํ คัญมากขึ้น แตเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บมีความแตกตางจากการเรียนการสอนในชนั้ เรยี นแบบดัง้ เดมิ (Traditional Classroom / Face to Face) และในการจัดการ

30เรยี นการสอนบนเว็บมักจะประสบปญ หาท่ี หากผูสอนไมไ ดม ีสวนรวมในการสนับสนุนการเรียนของผูเ รยี นอยางเตม็ ท่ีและผเู รียนมที ัศนคตทิ ่ีไมด ีตอการเรยี นแลว ผเู รียนมักจะเรียนไดไมตลอดหลักสูตรทําใหเกิดปญ หาการขาดเรียนเชนเดียวกันกับการเรียนปกติ เน่ืองจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรแบบออนไลนจะเนนใหผูเรียน เรียนเองเปนสวนใหญ ทําใหไมสามารถสรางแรงกระตุนในการเรียนใหแกผูเรียนได อีกประการหนึ่งน้ัน ในช้ันเรียนปกติ ผูเรียนจะเกิดการเรียนรูรว มกนั โดยการแลกเปลยี่ นเรยี นรูก ับเพ่ือนและผสู อน อาจโดยการอภปิ ราย ถกเถยี ง และการสนทนาซงึ่ กิจกรรมเหลา น้ีจะทาํ ใหผเู รยี นเขา ใจในเนอ้ื หาทเี่ รยี นมากขึ้น บทสรุป เทคโนโลยีการศึกษา เปนกระบวนการท่ีซับซอน และใชวิธีระบบในการวเิ คราะหปญหาและการวางแผนการนาํ มาใช การประเมินและจัดการหาทางแกป ญ หาการเรยี นรขู องมนษุ ย โดยมีขอบเขต 5 ดา นไดแก การออกแบบ การพัฒนา การใช การจัดการและการประเมิน โดยประเทศไทยมีนโยบายที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการศึกษา ท่ีสําคัญคือ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแหงชาติ หรือ IT 2010 ซ่ึงสอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพ.ศ. 2542 หมวด 9 นวัตกรรมการศึกษา คอื การประยุกตใ ชเ ทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารในรูปแบบตา งๆ เขามาใชใ นการเรยี นเรยี นการสอนโดยบรู ณาการกบั การวางแผนการจดั การเรียนรูคําถามทบทวน 1. จงวิเคราะหความแตกตา งของ เทคโนโลยี และ เทคโนโลยกี ารศกึ ษา 2. จงอธิบายวงจรของการกลายจากนวัตกรรมการศกึ ษาไปสูเทคโนโลยีการศกึ ษา 3. จงสรุปหลักการพ้นื ฐานของนวตั กรรมการศึกษา 4. จงยกตัวอยางระดับการยอมรับนวัตกรรม บริการธนาคารทางอินเทอรเน็ต หรือ Online Banking ใหเ ห็นเปน รปู ธรรมหวั ขอ คนควา ใหนักศึกษาคนควานวัตกรรมการศกึ ษาของไทยในปจจุบนั มา 1 นวัตกรรม โดยเขียนสรุปวเิ คราะหห ลกั การและขัน้ ตอนของการนํานวัตกรรมการศึกษามาใชในการจัดการเรียนการสอนและแสดงความคดิ เหน็ ของตนเองท่เี ก่ยี วกบั นวัตกรรมการศกึ ษานั้น

31 ใบงานที่ 1 การวิเคราะหป ญ หาการเรยี นการสอนในชนั้ เรียนใบงานท่ี ภาระงาน กจิ กรรม1 การวิเคราะหป ญ หาการเรียนการสอนในชน้ั เรยี น ใหวิเคราะหปญหาการเรียนการ สอนในช้ันเรียนจากสถานศึกษา จริง และเปนรายวิชาที่ตรงกับ สาขาวิชาเอกของนักศึกษาโดยมี แนวทางในการนําเสนอ ดังภาพคําอธิบายใบงานท่ี 1 : ภาระงานท่ีมอบหมายในใบงานนี้ คือ ใหศึกษาลักษณะของปญหาดานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียนจากสถานศึกษาจริง โดยสามารถวิเคราะหปญหาการเรียนการสอนได 3 แนวทาง ไดแก 1) การสํารวจช้ันเรียน 2) การวิเคราะหพฤตกิ รรมในชั้นเรยี น หรอื 3) การศึกษาเฉพาะกรณี

32 ใบงานท่ี 2 การจัดลําดับความสําคญั ของปญหาการเรียนการสอนในชน้ั เรยี นใบงานท่ี ภาระงาน กจิ กรรม2 การจัดลําดบั ความสําคัญของปญ หาการเรียน ใหจัดลําดับความสําคัญของปญหาการเรียน การสอนที่ที่พบจากขอมูลในขั้นตอนท่ี 1 เมื่อ การสอนในชัน้ เรยี น นํามาเรียงลําดับความสําคัญวา ปญหาการ เรียนการสอนใดควรนํามาแกไขกอนและหลัง ตามลําดับ และใหเลือกเพียงปญหาท่ีสําคัญ ท่ีสุด 1 ปญหา โดยมีแนวทางในการนําเสนอ ดงั ภาพคําอธิบายใบงานที่ 2 : ภาระงานท่ีมอบหมายในใบงานนี้ คือ ใหจัดลําดับความสําคัญของปญหาการเรียนการสอนทพ่ี บจากขอ มูลในใบงานท่ี 1 แลว นํามาเรยี งลาํ ดบั ความสาํ คัญวา ปญ หาการเรียนการสอนหัวขอใดควรนํามาแกไขกอนและหลังตามลําดับ และใหเลือกเพียงปญหาที่สําคัญท่ีสุดเพียงปญหาเดียว วิธีการนําเสนอคอื การสรา งตาราง 2 คอลมั น แลวนําชือ่ ปญหาที่เปนขอความเขียนลงในคอลัมนดานซายมือ และดานขวามือใสต วั เลขลาํ ดับความสําคญั โดยไมต องเรียงลําดบั กนั ก็ได


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook