Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความสมพันธ์

ความสมพันธ์

Published by Guset User, 2021-12-11 02:14:39

Description: ความสมพันธ์

Search

Read the Text Version

\"ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณค ดีกับ สถาปัตยกรรมไทย\"

วรรณคดี กับ สถาปัตยกรรมไทย (ความหมาย) วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อ ประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้ง วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็น แบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับ รู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่ไาตสิร่งรใงดค ์คBวoรlหdรือไม่ ควร เเละทรงคุณค่า สถาปัตยกรรมไทย คือ การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สำหรับการอยู่อาศัยของคนทั่วไป เช่น บ้าน อาคาร และคอนโด เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ เช่น เจดีย์ สถูปและอนุสาวรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการ กำหนดผังของบริเวณต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม และ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้สอยได้ตามต้องการ งาน สถาปัตยกรรมนั้นนับเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะทางการภาย แทบทุกชนิด โดยมักจะมีรูปแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของ สังคมและช่วงเวลานั้นๆ ได้อย่างชัดเจนโดดเด่น

ความรู้อื่นๆ ในหัวข้อที่ได้รับ วรรณคดี แบ่งออ กเป็น 2 ประเภท 1.วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีแบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น 2.วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์ เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัย มณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย สถาปัตยกรรมไทย แบ่งออกเป็น3แขนง 1 สถาปัตยกรรมการออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น ออกแบบ การสร้างตึก อาคารและบ้านเรือน เป็นต้น 2 ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบเพื่อวางผังสำหรับจัด บริเวณ วางผังเพื่อการปลูกต้นไม้และการจัดสวน เป็นต้น 3 สถาปัตยกรรมผังเมือง ซึ่งได้แ ก่ การออกแบบบริเวณ ของผังเมืองเพื่อก่อให้เกิดความเป็นระเบียบงดงาม สะอาด รวดเร็วในการติดต่อ และยังถูกหลักสุขาภิบาล ซึ่งสามารถเรียกผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมนี้ได้ว่า สถาปนิก

ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีไทยกับสถาปัตยกรรมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับสถาปัตยกรรมมองเห็นได้น้อยที่สุด เพราะ สถาปัตยกรรมเป็นศิลปะที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยค่อนข้างสูง จึงไม่อาจนำ วรรณคดีไปประยุกต์ใช้ได้ ยกเว้นการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยจุดประสงค์เฉพาะ เช่น การสร้างอาคารบ้านช่องหรือปราสาทในเทพนิยายต่างๆ ในส่วนสนุกเพื่อสร้าง ความบันเทิงตื่นตาตื่นใจแก่เด็กๆ ส่วนการที่วรรณคดีนำเสนอเรื่องสถ าปัตยกรรมนั้น จะพบได้มากในบท ชมเมือง บนชมปราสาทราชวัง และบทพรรณาบ้านเรือนต่างๆ ผู้เสพ วรรณคดีจะเห็นภาพทั้งสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม รวมทั้ง มัณฑนศิลป์อย่างครบถ้วน ดังเช่นบทพรรณาเมืองกุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดสาหรีในบทละครเรื่อง อิเหนา

วิธีการอนุรักษ์ สืบสาน และ เผยแพร่ การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของท้อง ถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ใน ปัจจุบัน การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกใ ห้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่น สาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัด กิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็น คนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และ ความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย การถ่ายทอด ถ่ายทอด ให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิด ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และ ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทาง วัฒนธรรมต่างๆ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook