Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ๘๔ พรรไม้ถวายในหลวง ผู้แต่ง : บริษัท โทรคมนาคม จำกัด จัดทำ E-BOOK : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชลบุรี

๘๔ พรรไม้ถวายในหลวง ผู้แต่ง : บริษัท โทรคมนาคม จำกัด จัดทำ E-BOOK : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชลบุรี

Published by 300bookchonlibrary, 2021-01-19 08:40:12

Description: bookking07

Search

Read the Text Version

สารบัญ จากใจของเรา 6 ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 8 ก่อนจะมาเป็น ๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง 22 พรรณไม้ภาคเหนือ 30 พรรณไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80 พรรณไม้ภาคตะวันออก 110 พรรณไม้ภาคตะวันตกและภาคกลาง 126 พรรณไม้ภาคใต้ 166 หัวใจท่ีรับผิดชอบต่อสังคมไทยของเรา 208 บรรณานุกรม 212 ดัชนี 214 คณะผู้จัดทำ 215



จากใจของเรา จากพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นเสมอมาตลอดระยะเวลา ท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์พระประมุขของ ชาวไทย ได้จุดประกายให้ประชาชนท่ัวไป องค์กรภาครัฐบาลและ ภาครัฐวิสาหกิจ ได้เล็งเห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้เพ่ือชุบชีวิต ผืนป่าและสมดุลของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติท่ีหายไปให้กลับคืน มาใหม่อีกครั้ง เพราะไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยฟื้นฟูจำนวนพ้ืนที ่ ป่าโดยรวมที่ลดลง และจำนวนท่ีร่อยหรอลงไปทุกทีของพรรณไม้ ประจำถิ่นและไม้ท่ีหายาก แต่ยังเป็นการมุ่งให้ความรู้เร่ือง ลักษณะของชนิดและภูมิประเทศท่ีถูกต้องและสอดคล้องกับ พรรณไมท้ ค่ี ดิ จะนำมาปลกู แกผ่ ทู้ สี่ นใจอกี ดว้ ย หนงั สอื ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จึงขอร่วมเป็นส่วนหน่ึงของการส่งเสริมและสืบสาน แนวทางการดำเนินงานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เร่ืองการปลูกป่าในใจคน ซ่ึงเป็นพระราชดำริท่ีได้ พระราชทานแก่เจ้าหน้าท่ีป่าไม้ที่รับผิดชอบด้านการดูแลป่าว่า “...ถ้าจะปลูกป่าควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคน เหล่าน้ันก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วย ตนเอง” หนังสือเล่มนี้จึงมีเน้ือหาว่าด้วยการให้ความรู้ในเรื่องพรรณไม้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหน่ึงในการฟ้ืนฟูป่า โดยเน้นไป ที่พรรณไม้สำคัญประเภทไม้ถิ่นเดียวและหายาก ซึ่งเกี่ยวพันกับ วิถีชีวิตและสังคมไทยรวม 84 ชนิด อันเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ อันใกล้นี้ หนังสือเล่มนี้จึงนับเป็นหนังสือท่ีมีคุณค่า ท่ีนอกจากจะ รวบรวมพรรณไม้ต้นสำคัญท่ีหายากได้ถึง 84 ชนิดแล้ว ยังเน้น การปลูกฝังจิตสำนึก ความรักและหวงแหนธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปลูกป่าเพ่ือฟ้ืนฟูระบบนิเวศน์ ต้นน้ำลำธารและอนุรักษ์ดิน อันเป็นสมบัติของชาติที่ “ในหลวง” ทรงเนน้ ยำ้ ใหค้ นไทยทกุ คนพงึ รักษาไว้เสมอมา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) Dhammaintrend รว่ มเผยแพรแ่ ละแบ่งปัน



ก่อน... เย็นลม ร่มร่ืน ร่มผืนป่า ผีเส้ือหยอก ดอกหญ้า หยอกฟ้าใส กระแตป่าย กระต่ายเปล่ียน เวียนต้นไป ทุ่งดอกไม้ โน้มก้าน ต้านลมเย็น แล้ว... มนุษย์ ก็ลอบลัก เข้าหักห่ัน ผืนป่าพลัน ลดร้าง เร่ิมว่างเว้น เท่ียวแต่ท้ิง ตอตาย ย้ายต้นเป็น ไม่ปลูกเน้น เพิ่มต้นดี พื้นท่ีไพร ดั่งดำรัส พ่อหลวง ทรงห่วงป่า ฟ้ืนธรรมชาติ ฟื้นผืนหญ้า ฟื้นฟ้าใส เริ่มคืนป่า สู่ป่า สู่ฟ้าไทย ด้วยการปลูก ป่าใหญ่ ในใจคน ทรงแผ้วทาง ถางพง ให้ตรงท่ ี ทรงช่วยช้ี วิถีทำ สัมฤทธิผล ทุกก้าวพ่อ ก่อป่าใหม่ ให้ปวงชน เอกถกล องค์ราชา เลิศราชัน

“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้ว คนเหล่าน้ันก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษา ตน้ ไมด้ ว้ ยตนเอง...” พ.ศ. ๒๕๑๙ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 11 ปญั หาเรอื่ งการเสอื่ มโทรมของทรพั ยากรปา่ ไม ้ คือสิง่ ทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว ทรงใสพ่ ระทัยตลอดมา ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่มีสายพระเนตรอันยาวไกล นับแต่ทรงข้ึนครองสิริราชสมบัติจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 ทศวรรษ พระองค์ทรงทุ่มเท พระวรกายอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยการเสด็จ พระราชดำเนินเย่ียมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ทั้งนี้เพ่ือทอดพระเนตร สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรในพ้ืนที่ถ่ินทุรกันดารเพื่อท่ีจะได้ทรงทราบถึงปัญหา ความเดือดร้อนทุกข์ยากท่ีแท้จริงของราษฎร โดยเฉพาะอย่างย่ิงปัญหาเรื่องการเสื่อมโทรม ของทรัพยากรป่าไม้ซ่ึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซ่ึงส่งผลกระทบ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่าน้ัน หากแต่ยังโยงใยถึงปัญหา ทางสังคม เศรษฐกจิ การเมอื ง คุณธรรม และระบบนเิ วศน ์ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูป่าเพ่ือรักษา สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิน และป่าไม้ เพ่ือให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ด ี ในสภาพแวดล้อมทอี่ ดุ มสมบรู ณ์ และสามารถพ่งึ พาตนเองได ้ จากพระราชดำริดังกล่าวจวบจนถึงวันนี้ นำมาซ่ึงโครงการพระราชดำริท่ีเกี่ยวข้องกับการ อนุรักษป์ า่ ไม้มากมาย ไดแ้ ก่ โครงการปา่ ไมส้ าธิต โครงการป่าไม้สาธิตอาจถือได้ว่าเป็นพระราชดำริเร่ิมแรกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม ้ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่ีจัดตั้งข้ึนเม่ือประมาณปี 2503-2504 เม่ือครั้งที่พระองค ์

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวทรงใหค้ วามสำคัญ กับการสำรวจและทดลองปลูกพนั ธพุ์ ชื ตา่ งๆ เพือ่ ยังประโยชน์แก่ประชาชน เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่เสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี พระองค์ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางขนาดใหญ่จำนวนมากปลูกเรียงรายสองข้างทาง จึงมีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนี้ไว้ เป็นสวนสาธารณะ แต่ก็ไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากมีราษฎรมาทำไร่ทำนาในบริเวณน้ัน เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง ในบริเวณพระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนาในแปลงทดลองพระราชวังสวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้ต่างๆ ท่ัวประเทศมาปลูกในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากน้ียังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตน้ันเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยา ป่าไมด้ ว้ ยพระองคเ์ องอย่างใกลช้ ิดเมอ่ื ปี 2508 โครงการป่าพระราชทานมูลนธิ ิชัยพัฒนา-มลู นิธแิ มฟ่ ้าหลวง จังหวดั สงขลาและปตั ตาน ี โครงการดังกล่าวดำเนินการประสานงานโดยองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ มูลนิธิ โททาล (Total) และสถาบันทรพั ยากรชายฝั่ง มหาวทิ ยาลัยสงขลานครนิ ทร์ ประกอบด้วยโครงการ ย่อย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหร่ิง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการฟ้ืนฟปู า่ ชายเลน อำเภอหนองจิก จงั หวดั ปัตตานี

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 13 โครงการหลวง โครงการน้ีเกิดจากการท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเย่ียมเยียน ราษฎรในภาคเหนือ พระองค์ทรงพบเห็นการตัดไม้ทำลายป่าและความลำบากยากแค้นของชาวเขา บนดอยต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำริและทรงจัดต้ังโครงการเกษตรในท่ีสูงขึ้น เร่ิมจาก โครงการ พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ซื้อท่ีดินบนดอยปุยเพื่อเป็นสถานีทดลองปลูกพืชเมืองหนาว พร้อมกับพระราชทานชื่อว่า สวนสองแสน ปีต่อมาได้ขยายโครงการไปสู่ดอยอ่างขาง ซึ่งประสบความสำเร็จ นำความกินดีอยู่ดี มาสู่ราษฎร จากนั้นโครงการจึงขยายต่อไปสู่ดอยต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่อีก 4 ดอย ได้แก ่ ดอยอินทนนท์ สถานีฯ ขุนวาง ปางดะ และแม่หลอด และในปี 2523 ก็ได้มีการเปล่ียนช่ือโครงการ ใหเ้ ปน็ การถาวรวา่ โครงการหลวง มีผลิตภณั ฑจ์ ำหน่ายในนาม ดอยคำ ศูนยศ์ ึกษาการพฒั นาอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ท่ีจะให้ประชาชนในชนบทมีชีวิต ความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น และพ่ึงตนเองได้ในที่สุด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงทำหน้าท่ีเสมือนศูนย์กลาง การเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร จะพัฒนาอย่างไรจึงจะได้ผล ศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่ เสมือนพิพิธภัณฑ์ท่ีมีชีวิตที่ถ่ายทอดวิทยาการแผนใหม่ และยังทำหน้าท่ีเป็นศูนย์การวิจัยค้นคว้า ในพ้ืนที่ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้เก่ียวกับระบบพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริโดยตรง อันไดแ้ ก่ ปา่ ประเพณี ป่าก่ึงชมุ ชน ป่าชมุ ชน และปา่ ในบ้าน การศกึ ษาคน้ คว้า การทดลองและการ สาธิต ปัจจุบันศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ มีอยู่ 6 ศูนย์ท่ัวประเทศ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซอ้ นอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ ศนู ยศ์ ึกษาการพฒั นาหว้ ยทรายอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการงานด้านการอนุรักษ์ป่า เป็นอย่างมาก ท้ังนี้ก็เพ่ือพลิกฟ้ืนความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้กลับคืนมาอีกคร้ัง เพ่ือความ กินดีอย่ดู ีของพสกนิกรของพระองค์ในทกุ ภูมภิ าค พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั ไม่ทรงเพียงปลูกป่า ลงบนผืนแผ่นดินเท่านั้น หากยังทรงมุ่งหวังท่ีจะปลูกป่าลงในจิตใจของประชาชนด้วย ดงั พระราชดำริทพ่ี ระราชทานแกเ่ จ้าหน้าทป่ี า่ ไม้ ณ หนว่ ยงานพัฒนาตน้ น้ำท่งุ จอ๊ เมอื่ ปีพทุ ธศักราช 2519 ความวา่ “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่าน้ันก็จะพากันปลูก ตน้ ไมล้ งบนแผน่ ดิน และรกั ษาต้นไม้ด้วยตนเอง...”

การฟ้ืนฟูป่าตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ทรงให้เริ่มต้นจากการปลูกป่าในใจคนก่อน โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจให้แก่ราษฎรเพื่อให้ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของป่าและการอยู่ร่วมกับ ป่าอย่างพึ่งพาอาศัยกัน และส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าจนกระท่ังสามารถ จัดต้ังเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่า ช่วยกันดูแลรักษาป่า สร้างฝายชะลอความชุ่มช้ืน ป้องกันการตัดไม้ทำลาย ปา่ และการเกิดไฟป่า ตลอดจนรู้จักนำพชื ปา่ มาบริโภคใช้สอยอยา่ งเหมาะสม ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในศาสตร์ต่างๆ ท้ังท่ีเก่ียวกับดิน นำ้ ปา่ และวิศวกรรม จงึ ก่อเกิดเป็นแนวพระราชดำรเิ พ่อื การอนรุ กั ษท์ รัพยากรปา่ ไม้มากมาย อาท ิ การปลูกปา่ 3 อย่าง ไดป้ ระโยชน์ 4 อย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเร่ิมวิธีการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนสูงสุด โดยทรงแนะนำวิธีการปลูกป่าเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตร วนศาสตร์ และเศรษฐกิจสังคม ไว้เป็นมรรควิธีปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จ อันได้แก่ การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานในพิธีปิดการสัมมนาการเกษตร ภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีท่ี 26 กุมภาพันธ์ 2524 ความตอนหนง่ึ ว่า

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 15 ทรงรเิ ริ่มการกระจายความรแู้ ผนใหม่ เพ่ือเผยแพร่การพัฒนาปา่ ให้กว้างไกลออกไป “...เด๋ียวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง นั้น คืออะไร. แต่ให้เข้าใจว่า ป่า ๓ อย่าง นี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ใช่ ๓ อย่าง. ป่า ๓ อย่าง ท่ีบอกวา่ เป็นไมฟ้ นื เปน็ ไม้ผล และไม้สร้างบ้านน้ัน ความจรงิ ไม้ฟืนกับไม้ใชส้ อยก็อนั เดียวกนั ไม้สรา้ งบา้ นกบั ไม้ใชส้ อย กอ็ ันเดียวกัน. แตเ่ ราแบง่ ออกไปเป็นไม้ทำฟืน ไม้สร้างบา้ นเรอื น รวมทั้งไมท้ ำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไมผ้ ล...” พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟ้ืนฟูป่าไม้ดังกล่าวได้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรม ป่าไม้และศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำรทิ ุกแหง่ โดยมีการปลูกไม้ใชส้ อย ไม้กิน ได้ และไม้เศรษฐกิจ ซ่ึงนอกจากจะให้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างที่ 4 คือ อนุรักษ์ ดินและอนุรักษต์ น้ นำ้ ลำธาร สามารถชว่ ยเหลือประชาชนทเ่ี ดอื ดรอ้ นได้อยา่ งมหาศาล การปลูกปา่ ทดแทน จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ของธรรมชาติเกิดความ เสียหายอย่างรุนแรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มเน้ือท่ีป่าไม้ให้มากข้ึน ซ่ึงวิธีการหนึ่ง ก็คือ การปลูกป่าทดแทนป่าที่สูญเสียไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการปลูกป่าทดแทน จึงได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในคราวเสด็จพระราชดำเนิน โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ ท่ีปางหินฝน ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2520 ความตอนหนึง่ วา่

พระราชดำริเพือ่ อนรุ ักษแ์ ละฟ้นื ฟูป่าไม้ ไดร้ ับความรว่ มใจจากศนู ยศ์ ึกษาการพฒั นา อนั เน่อื งมาจากพระราชดำริ และหน่วยราชการทุกแหง่ “...การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผน โดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนา ชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าท่ีป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมกันสำรวจต้นน้ำใน บริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพ่ือวางแผนปรับปรุงต้นน้ำและพัฒนาอาชีพราษฎรได้อย่างถูกต้อง สำหรับต้นไม้ท่ีปลูกทดแทนป่าไม้ทถี่ กู ทำลายนนั้ ควรใชต้ น้ ไม้โตเรว็ ทมี่ ปี ระโยชนห์ ลายๆ ทาง คละกนั ไป และควรปลกู พชื คลมุ แนวรอ่ งนำ้ ต่างๆ เพ่ือยึดผิวดินและให้เก็บรักษาความชุ่มช้ืนไว้ นอกจากนั้น จะต้องสร้างฝายเล็กเพ่ือหนุนน้ำส่งไปตามเหมือง ไปใช้ในพ้ืนที่เพาะปลูก ๒ ด้าน ซ่ึงจะทำให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มช้ืนให้บริเวณน้ันด้วย ในการน้ีจะต้อง อธิบายให้ราษฎรรู้ว่า การที่ปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงน้ัน ก็เพราะมีการทำลายป่า ต้นนำ้ โดยรู้เท่าไมถ่ ึงการณ์...” การปลูกป่าต้นนำ้ เนื่องจากบริเวณต้นน้ำของไทยในภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศ มักประสบกับการถูก บ ุกรุกเพ่ือทำไร่ ทำให้เกิดการพังทลายของดินอยู่บ่อยครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ต ระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ดังจะเห็นจากเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินยังวัดคีรีบรรพต ตำบล ล ำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เม่ือวันท่ี 14 เมษายน 2520 ได้ทรงกำชับกับ ผ ู้ใหญ่บา้ นของตำบลลำนารายณ์ ว่า “...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปช่ัวกาลนานน้ัน สำคัญอยู่ท่ีการรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณ ต้นน้ำ ซ่ึงบนยอดเขาและเนินสูงน้ัน ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้น และปลูกไม้ฟืน ซ่ึงไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้นจะ ช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหน่ึงของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วย

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 17 ไม่วา่ จะเสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปท่ีใด พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั มทิ รงเคยละเวน้ โอกาสในการใช้พระราชวนิ จิ ฉยั เพ่อื พจิ ารณา แก้ไขปญั หาในพื้นท่ีใหเ้ กิดความผาสุกแก่เหล่าพสกนกิ ร ยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเม่ือเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ให้ดีแล้ว ท้องถิ่น กจ็ ะมนี ้ำไว้ใช้ชว่ั กาลนาน...” ป่าเปียก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่อย่างอเนกอนันต์ของน้ำ ทรง เล็งเห็นว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์สามารถท่ีจะเก้ือกูลซ่ึงกันและกันได้ หากรู้จักนำ ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ ป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่า นับ เปน็ มรรควธิ ีทีท่ รงคดิ ค้นข้นึ จากหลกั การที่งา่ ยแสนง่ายแต่ไดผ้ ลดีย่ิง แนวพระราชดำริป่าเปียก เป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟ้ืนฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มช้ืนเป็นหลัก สำคัญในการช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากและเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาป่าไม้ โดยใช้ทรัพยากรน้ำเข้ามาช่วยสร้างแนวป้องกันไฟเพ่ือป้องกันไฟไหม้ป่าในระยะยาว ดังพระราช- ดำรสั ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัว ความตอนหนง่ึ วา่ “...ใช้ระบบท่อส่งน้ำมาหล่อเล้ียงบริเวณป่าไม้เส่ือมโทรมในช่วงท่ีมีสภาพแห้งแล้งให้เกิด ความชุ่มช้ืนตลอดเวลา จะทำหน้าที่อนุรักษ์ป่าไม้ทางอ้อม กล่าวคือ ใช้เป็นแนวป้องกันสกัด ไฟปา่ อย่างมปี ระสิทธิภาพ เน่อื งจากมลี กั ษณะเป็น ปา่ เปยี ก...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริต่างๆ ทำการศึกษาทดลองจนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ดังตัวอย่างที่มี การดำเนินการในศูนย์ศกึ ษาการพฒั นาหว้ ยฮ่องไครอ้ ันเนื่องมาจากพระราชดำร ิ

“...เดี๋ยวน้ีทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง น้ัน คืออะไร. แต่ให้เข้าใจว่า ป่า ๓ อย่าง นี้มี ประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ใช่ ๓ อย่าง. “ป่า ๓ อย่าง“ ที่บอกว่าเป็นไม้ฟืน เป็นไม้ผล และไม้สร้างบ้าน น้ัน ความจริงไม้ฟืนกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน ไม้สร้าง บ้านกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน. แต่เราแบ่งออกไปเป็นไม้ทำ ฟืน ไม้สร้างบ้านเรือน รวมท้ังไม้ทำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไมผ้ ล...” วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ พิธีปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม ่

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 19 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพยายามคดิ ค้น วิธีทจ่ี ะเพ่มิ ปรมิ าณของป่าไม้ในประเทศไทย ให้เพิ่มขน้ึ อยา่ งม่นั คงและถาวร โดยการใชว้ ธิ กี าร ที่เรยี บงา่ ยและประหยัด การปลูกป่าโดยไมต่ อ้ งปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทรงพยายามคิดค้นวิธีท่ีจะเพ่ิมปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยการใช้วิธีการท่ีเรียบง่ายและประหยัด ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะ อนั เปน็ ธรรมชาตดิ ั้งเดมิ ซงึ่ หนง่ึ ในวิธกี ารนนั้ ก็คือการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลกู การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นการอนุรักษ์ป่าโดยอาศัยระบบวงจรป่าไม้และการทดแทน ตามธรรมชาติด้วยการปรับสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ และควบคุมไม่ให้ มีคนเข้าไปตัดไม้ หรือเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เพ่ือที่ว่าเม่ือท้ิงช่วงระยะหน่ึง พืช ลูกไม้ พรรณไม้ต่างๆ จะค่อยๆ เจริญเติบโต และขยายพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นได้ กลยุทธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวน้ ี นับเป็นวิธีที่แยบยล ง่าย และประหยัดท่ีสุด แต่กลับให้ผลท่ีมีคุณค่าอย่างมหาศาล ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึง่ ว่า “...ถ้าเลือกได้ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่าน้ันไว้ตรงน้ัน ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะ เจรญิ เติบโตขึ้นมา เปน็ ปา่ สมบรู ณโ์ ดยไม่ต้องไปปลกู เลยสกั ตน้ เดยี ว...” จากปัญหาการบุกรุกทำลายพ้ืนที่ป่าชายเลนอย่างต่อเน่ืองและรุนแรง ประกอบกับ การท่ีมนุษย์พยายามเปล่ียนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้ ป่าชายเลนอยู่ในสภาพเสือ่ มโทรม และลดลงอยา่ งทม่ี อิ าจประมาณการได ้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ แก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายโฆษิต ป้ันเป่ียมรัษฏ์) ในพระราชพิธ ี

ทรงสง่ เสริมให้ราษฎรเขา้ มามีสว่ นร่วม ในการปลกู ปา่ จนกระทัง่ สามารถจัดตง้ั เปน็ กลุ่มอนุรักษป์ า่ ชว่ ยกันดูแลรักษาปา่ แรกนาขวัญหว่านข้าว บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เม่ือวันท่ี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรปุ แนวพระราชดำริวา่ “...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นท่ีชายฝ่ังทะเลและอ่าวไทย แต่ ป ัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหา ผ ลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธ์ุเพ่ิมขึ้น โดยเฉพาะ ต ้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนท่ีแปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้น น ้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการท่ีเกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง ก รมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพ้ืนท่ีท่ีเหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์ โ กงกางและปลกู สรา้ งป่าชายเลนกนั ตอ่ ไป...” การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของพ้ืนที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทยท่ีถูกบุกรุกทำลาย ด้วย การปลูก ป่าชายเลน ในลักษณะอาศัยระบบน้ำข้ึนน้ำลงในการเติบโต จะสามารถเป็นแนวป้องกัน ลมและป ้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญ อีกทั้งได้ใช้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยสร้างความ สมดุลให ธ้ รรมชาตกิ ลับคืนสคู่ วามอดุ มสมบรู ณ์ดงั เดิม การอนุรัก ษแ์ ละพัฒนาปา่ พร ุ ป่าพรุ ถือเป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบประเภทหน่ึง ซ่ึงเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของ ประเทศไทย เปน็ ปา่ ดงดบิ ท่มี ีน้ำทว่ มขงั ท่ัวบรเิ วณ ครั้งหน่ึง ประมาณปี 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปร พระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงรับทราบความเดือดร้อนของ

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า 21 พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงเลง็ เหน็ วา่ ทุกสรรพสง่ิ สามารถท่จี ะเก้อื กูลกนั และกนั ได้ หากรจู้ ักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน ์ ราษฎรท่ีน่ันว่ามีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุ เข้าไร่นาเสียหาย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ร่วมมือ กันระบายน้ำออกจากพรุธรรมชาติท้ังหลาย เพ่ือให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด และในการ ระบายน้ำออกจากพรุคร้ังนั้นเอง ทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปร้ียวเกิดข้ึน จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานที่เก่ียวข้องทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง นำไปสู่การจัดต้ังศูนย์วิจัย และศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรข้ึน เพ่ือให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและ สภาพแวดลอ้ มของปา่ พรอุ ยา่ งครบถว้ นสมบรู ณ ์ ในคราวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำบางนรา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2535 พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำร ิ เก่ียวกับการพัฒนาป่าพรุ ความตอนหน่ึงวา่ “...ควรก่อสร้างและปรับปรุงระบบรับน้ำเปรี้ยวที่ไหลออกจากพรุให้ไปลงระบบระบายน้ำ ของโครงการมูโนะ เพ่ือระบายน้ำเปรี้ยวทั้งหมดไปลงคลองปูยูทางด้านท้ายประตูระบายน้ำปูยู รวมท้ังวางโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเปร้ียวจากพรุกาบแดงไปลงทะเล และส่งเสริมการ ปลูกป่าในบรเิ วณพรุเพอ่ื รักษาพ้ืนท่ีขอบไม่ใหถ้ ูกทำลาย...” จากแนวพระราชดำริต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่ีสะท้อนถึงความห่วงใย ในเหล่าพสกนิกรและผืนป่าของเมืองไทย ได้ก่อกำเนิดโครงการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูป่าไม้ขึ้นมากมาย เสมือนกระจกเงาท่ีส่องให้เห็นถึงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยท่ีสนองตอบพระเมตตา อย่างไม่เสื่อมคลาย แต่ผืนป่าย่อมไม่อาจอยู่รอดได้ด้วยดี หากไร้ซึ่งความผูกพันและการทำนุบำรุง อย่างต่อเนื่องของผู้ท่ีให้กำเนิดทรัพย์ในดินนั้น ต่อเม่ือความรู้สึกนี้เข้าถึงใจของผู้ปลูกป่าเม่ือใด แมน้ ปลกู ต้นไม้เพียงหนง่ึ ต้น ก็ย่อมนับว่าไดด้ ำเนนิ รอยตามแนวพระราชดำริอย่างสมบูรณย์ งิ่ แล้ว

22 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง กอ่ นจะมาเปน็

23 การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าคือหนึ่งในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่ีมีต่อแผ่นดินไทยนับตั้งแต ่ ต้นรัชกาล สืบเนื่องจากการท่ีได้เสด็จพระราชดำเนินออก เยี่ยมเยียนราษฎรท่ัวทุกภูมิภาคภายหลังเสด็จข้ึนครองราชย์ ได้ไม่นาน และได้ทอดพระเนตรเห็นถึงสภาพป่าไม้ท ่ี ทรุดโทรมและถูกทำลายในท่ีต่างๆ มากมาย จากการใช้ ทรัพยากรป่าไม้โดยไม่มีแผนการจัดการที่ดี ซึ่งไม่เพียงส่ง ผลกระทบตอ่ การสูญเสียเฉพาะป่าไม้ แตย่ งั กระทบถึงระบบ นิเวศน์ท้ังในเร่ืองความหลากหลายทางชีวภาพและจำนวน สัตว์ป่าท่ีลดลง ไปจนถึงประชาชนท่ีอาศัยป่าเป็นที่ทำกิน นอกจากน้ียังก่อให้เกิดความแปรปรวนทางด้านภูมิอากาศ ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดภัยแล้งและอุทกภัยสร้าง ความเสียหายให้แก่พสกนิกรและเศรษฐกิจของประเทศได้ อยา่ งมหาศาล ซึ่งหากจะวัดจำนวนความสูญเสียของพ้ืนที่ป่าท่ีเกิด ขึ้นในรอบ 100 ปีท่ีผ่านมาเป็นตัวเลขแบบง่ายๆ แล้ว เท่ากบั วา่ จากเดิมทป่ี ระเทศไทยเคยมีพ้ืนท่ปี า่ ถงึ 230 ลา้ นไร่ หรือประมาณร้อยละ 72 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ได้ถูกนำมา ใช้ไปเป็นจำนวนมาก อันเป็นผลพวงจากแผนพัฒนา เศรษฐกิจแห่งชาติและจากจำนวนประชากรท่ีเพ่ิมมากข้ึน จนปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่ถึงร้อยละ 20 ซ่ึงความสำคัญ ของการสูญเสียท่ีเกิดขึ้นน้ีได้เป็นท่ีตระหนักดีในพระราช- หฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงริเร่ิม หลากหลายโครงการในพระราชดำริเพ่ือฟ้ืนฟูและอนุรักษ ์ ผืนป่าเพ่ือรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ท้ังน้ำ ดิน และป่าไม้ เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ได้มีชีวิต ความเป็นอยู่ท่ีดีในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และ สามารถพ่งึ พาตนเองไดส้ ืบไป

24 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง พรรณไม้ถ่ินเดียวและพรรณไม้หายาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทย พรรณไม้ท่ีรวบรวมมาไว้ในหนังสือเล่มน้ีส่วนใหญ่ เป็นพืชหายาก (rare) และพืชถ่ินเดียว (endemic plant) ซ่ึงบางคร้ังก็เรียกว่าพืชเฉพาะถ่ินอันมีความหมายถึง พืช ชนิดท่ีพบข้ึนแพร่พันธ์ุตามธรรมชาติในบริเวณภูมิศาสตร์ เขตใดเขตหนึ่งของโลกที่มีแนวเขตค่อนข้างจำกัด และ เป็นพื้นท่ีท่ีมีลักษณะจำกัดทางระบบนิเวศน์ เช่น เป็น เกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลหรือมหาสมุทร ยอดเขาและ หน้าผาภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ถ่ินท่ีอยู่ดังกล่าวมีสภาพ จำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะแหล่ง (microclimate) ซึ่งพืชถ่ินเดียวของไทยหลายชนิดพบขึ้น เฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน และ จากการประเมินจำนวนพืชถ่ินเดียวของไทยในเบื้องต้น พบว่ามีน้อยมากเม่ือเปรียบเทียบกันกับพืชถิ่นเดียวของ ประเทศใกล้เคียง ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีความหลากหลาย ของชนิดพันธ์ุพืชอยู่ในลำดับสูงก็ตาม เพราะท่ีตั้งของ ประเทศไทยอยู่ตรงบริเวณรอยต่อของเขตพฤกษภูมิศาสตร์ ถึง 3 ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ภูมิภาคอินเดีย-พม่า (Indo- Burmese) ภูมิภาคอินโดจีน (Indo-Chinese) และภูมิภาค มาเลเซีย (Malaysian) แต่จำนวนชนิดพืชถ่ินเดียวของเรา กลับค่อนข้างต่ำ เน่ืองจากพันธุ์พืชส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ มาจากประเทศใกลเ้ คยี งของท้ังสามภูมิภาคนน่ั เอง ส่วนพืชหายาก (rare) น้ัน ได้แก่พืชท่ีมีจำนวนน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธ์ุ แต่มีความ เส่ียงต่อการเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต หากว่าปัจจัย ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุท่ีทำให้จำนวนประชากรพืชลดลงยังคง ดำเนินอยู่ พืชถ่ินเดียวส่วนใหญ่ของไทยจัดว่าเป็นพืช หายาก ยกเว้นเพียงไม่ก่ีชนิดที่มีขึ้นกระจายพันธุ์ตาม ธรรมชาติอยู่มากมาย ดังน้ันจึงยิ่งทวีค่าควรแก่การรักษา และฟ้ืนฟูขยายจำนวนออกไปให้มีมากย่ิงขึ้น เพื่อเป็นสมบัติ แกแ่ ผ่นดนิ และลูกหลานไทยสืบต่อไป

ก่อนจะมาเป็น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง 25

26 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ลกั ษณะปา่ ไม้ในเมอื งไทย ในแต่ละภาคของประเทศไทย ล้วนแล้วแต่มีสภาพภูมิอากาศ แหล่งพันธุกรรมของสัตว์ป่าใหญ่หลายชนิด และระบบนิเวศน์แตกต่างกันไป ซ่ึงเป็นตัวกำหนดลักษณะของธรณี พรรณไม้ที่เจริญเติบโตในแหล่งน้ันๆ พรรณไม ้ หายากและไม้ถิ่นเดียวที่ท้ัง 84 ชนิดได้รับการคัดสรรมานำเสนอในหนังสือเล่มน้ี มีเขตการกระจายพันธุ์ตามลักษณะป่า จำแนกได้ตามภาคดงั ตอ่ ไปน้ ี ภาคเหนือ ความพิเศษของป่าในภาคเหนืออยู่ตรงท่ีมีความ สำคัญในฐานะเป็นต้นน้ำลำธารซึ่งอยู่บนภูเขาสูง มีอากาศหนาวเย็น หากเป็นภูเขาที่มีความสูงต่ำกว่า ระดับ 1,000 ม. จะถูกจัดว่าเป็นป่าดิบชื้น ซ่ึงพรรณไม ้ ที่ขึ้นในป่าประเภทน้ีได้แก่ กระเจาะ คำมอกหลวง จำปี- รัชนี เป็นต้น และหากอยู่บนภูเขาท่ีมีความสูงมากกว่า นั้นจะเรียกว่าเป็นป่าดิบเขา ซึ่งพรรณไม้ท่ีจะพบได้ตาม ป่าลักษณะนี้รวมถึง จำปีช้าง ชมพูภูคา กุหลาบขาว- เชยี งดาว เป็นตน้ ภาคใต้ สิ่งท่ีทำให้ป่าไม้ทางภาคใต้มีความโดดเด่นไม่ เหมือนท่ีไหน คือเป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกไปในทะเล และมีป่าบนภูเขาและพื้นที่ราบลุ่มสลับกันไป ดังน้ัน พืชท่ีสามารถพบได้ในป่าลักษณะนี้จะเป็นพืชที่ชอบ ความช้ืนสูงและหากข้ึนอยู่บนภูเขาเตี้ยๆ ใกล้ทะเลก็จะ เพ่มิ คุณลักษณะทนลมทะเลไดด้ ขี นึ้ มาอีกหน่งึ อย่าง เช่น ต้นพุดภูเกต็ รักนา โมกเขา เปน็ ตน้ ซ่ึงหลายๆ พรรณไม้ เช่น จำลา พรหมขาว เล็งเก็ง ก็จัดว่าเป็นพรรณไม ้ ภาคใตท้ ี่เสี่ยงตอ่ การสูญพันธุ์อกี ดว้ ย

ก่อนจะมาเป็น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง 27 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะผืนป่าของภาคอีสานนี้บางแห่งเป็นภูเขา หินทรายท่ีสูงมากกว่า 1,000 ม. เช่น ภูกระดึง ภูหลวง บนยอดเขามีอากาศหนาวเย็นและมีความช้ืนสูง จึงมี สภาพเป็นป่าดิบเขา ซ่ึงพบพรรณไม้หายาก อาทิ ก่วมแดง จำปีศรีเมืองไทย จำปีหนู ส่วนภูเขาหินทราย ท่ีมีความสูงต่ำลงมา จะมีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นต่ำ จึงมีสภาพเป็นป่าเต็งรัง จะพบพรรณไม้จำพวก กระมอบ หมักม่อ หากมีความช้ืนมากข้ึนก็จะมีสภาพ เป็นป่าดิบแล้ง ซึง่ มพี รรณไมจ้ ำพวก พะยูง ฝาง มะปว่ น ภาคตะวันออก ป่าในภาคน้ีมีคุณลักษณะเฉพาะตัวตรงที่เป็น ป่าดิบช้ืนบนเขาที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 ม. และมีป่า ชายเลนตามแนวชายฝั่งเป็นหย่อมๆ ซ่ึงพรรณไม้ท่ีจะ พบได้ในแถบน้คี ือ กะหนาย พุงทะลาย พันจำ เป็นต้น ภาคตะวันตกและภาคกลาง ภาคกลางน้ันมีผืนป่าบนท่ีราบลุ่ม และหากมี พ ร ร ณ ไ ม้ ใ ด ท่ี ขึ้ น บ น ภู เ ข า ก็ จ ะ มี ค ว า ม สู ง ไ ม่ เ กิ น 100-200 ม. ป่าบางแห่งเป็นพ้ืนที่น้ำท่วมขัง ซ่ึงพรรณไม้ ท่ีชอบสภาพป่าเช่นน้ีได้แก่ จำปีสิรินธร ส่วนชายแดน ด้านตะวันตกท่ีติดฝ่ังประเทศพม่าจะเป็นภูเขาหินปูน ท่ีสามารถพบพรรณไม้จำพวก จ่ันน้ำ โกงกางน้ำจืด กลาย และมหาพรหม เปน็ ไมป้ ระจำถิน่

28 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง สถานการณ์การอนุรักษ์ป่าไม้ไทยโดยรวม ณ ปัจจุบัน ความจริงท่ีเราต้องยอมรับคือ ป่าไม้ในเมืองไทยของเราคือหนึ่ง ในป่าเขตร้อนบนโลกใบน้ีท่ีระบบนิเวศน์ถูกคุกคามมากท่ีสุด พ้ืนที่ป่าของ เราลดลงอย่างรวดเร็วจาก 53.3% เหลือเพียง 24% ในช่วงเวลา 44 ปี และถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ยกเลิกการให้สัมปทานการทำไม้ทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2532 หลังเกิดเหตุการณ์อุทกภัยและภูเขาถล่มอันน่าสลดใจที่ จงั หวัดนครศรธี รรมราชกต็ าม แต่ก็เป็นเพยี งการชว่ ยชะลอการลดลงของ ปา่ ไม้ในระยะส้ันๆ เทา่ นน้ั วิธกี อบกผู้ นื ปา่ ของเราซึ่งเหน็ ได้อยา่ งเปน็ รปู ธรรมในปัจจบุ ันคือ นอกจากจะต้องพยายามปลกู ตน้ ไมเ้ พอื่ เพ่มิ พื้นท่ีป่าให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องเร่งจัดหาข้อมูลเบ้ืองต้นของพรรณพืชพื้นเมืองให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย เพราะจะ ทำให้เราได้รับรู้ถึงลักษณะของพืชและเขตการกระจายพันธุ์ในสภาพป่าต่างๆ รวมไปถึงจำนวนประชากรและสถานะ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชหายากหรือพืชถ่ินเดียว อันจะแปรมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรพืชของ ประเทศไทยด้วยความเข้าใจและถูกต้องมากย่ิงขึ้น ซ่ึงผลดีจากความเข้าใจท่ีได้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ เราไม่เน้น ไปท่ีการปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวซ่ึงไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้พ้ืนเมือง เช่น ไม้สัก ไม้สน หรือพรรณไม้ต่างประเทศ เช่น ยูคาลิปตัส ท่ีแม้จะช่วยเพิ่มพ้ืนที่สีเขียวได้จริง แต่หาได้มอบประโยชน์ในเชิงการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพได้มากเท่าที่จำเป็นไม่ เนื่องจากป่าไม้ลักษณะนี้มีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ต่ำ ทำให้สัตว์ท่ีจะ เข้ามาใช้ประโยชน์ในพ้ืนท่ีมีได้เพียงไม่กี่ชนิด หนังสือเล่มน้ีจึงมุ่งให้ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการเพิ่มพ้ืนที่ป่า อย่างมีคุณภาพ ท่ีไม่ได้มุ่งหวังเพ่ือเพิ่มพ้ืนท่ีท่ีมีต้นไม้ปกคลุม แต่จะต้องฟื้นฟูระบบนิเวศน์ท้ังระบบไปพร้อมๆ กัน และที่สำคัญคือ ให้ข้อสังเกตในการคัดเลือกพรรณไม้ท่ีปลูก ให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกันกับ ดนิ ฟา้ อากาศในท้องถ่นิ นัน้ ดว้ ย

29 แนวความคิดของการปลูกป่าด้วยความเข้าใจใน ลักษณะของพรรณไม้ท้องถ่ินน้ี ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ ผลดีจากตัวอย่างในโครงการฟื้นฟูพ้ืนที่ป่าบ้านแม่สาใหม ่ ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ท่ีได ้ ร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพลิกฟื้นป่าต้นน้ำเหนือป่าในหมู่บ้านจากพื้นที่ไร่เก่าท่ีเคย ทำการเกษตรให้กลับมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียง 5-6 ปี ด้วยการปลูก “พรรณไม้โครงสร้าง” ซ่ึงก็คือพรรณไม ้ ท้องถิ่นของภาคเหนอื เพียง 20-30 ชนดิ ที่ไดร้ บั การคัดเลอื ก แล้วว่าเป็นพรรณไม้ประจำท้องถ่ิน ซ่ึงจะก่อให้เกิด คุณลักษณะพิเศษที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวของป่าได้เร็วขึ้น เพราะจะสามารถเพาะและขยายพันธ์ุได้งา่ ย เติบโตได้ดีและ เร็ว จากวันท่ีเร่ิมปลูกจนถึงปัจจุบัน แปลงฟื้นฟูป่าดังกล่าวมี พรรณไม้ขยายขึ้นมากกว่า 90 ชนิด พร้อมๆ กับการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ เช่น นก ที่พบในพื้นที่มีมากถึง 87 ชนิด และมีสัตว์ป่าจำพวกอีเห็น หมปู า่ ชะมดเขา้ มาในพน้ื ท่ีอกี ด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรพืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ของแต่ละท้องถ่ินอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของป่าใน พื้นที่นั้นๆ จึงมีความจำเป็นอย่างย่ิง เพ่ือเก็บรักษาพรรณไม้ และพืชท่ีหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่อาจมีศักยภาพใน เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และเก็บรักษาประชากรพืชท่ีมี คุ ณ ลั ก ษ ณ ะ พิ เ ศ ษ ส ำ ห รั บ ก า ร ป รั บ ป รุ ง พั ฒ นา ต่ อไ ป ใ น อนาคต แต่ไม่ว่าจะเพ่ือเหตุผลใดก็ตาม คุณอนันต์ของผืนป่า ย่อมไม่เคยเส่ือมสลาย มีแต่จะทวีประโยชน์และการปกป้อง ผู้คนให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตามวันและเวลาที่เพ่ิมข้ึน ดุจเดียวกับน้ำพระทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ ไ ด้ ริ น ร ด ใ ห้ ค ว า ม ผ า สุ ก แ ก่ ท้ั ง ผื น ป่ า แ ล ะ ร า ษ ฎ ร ข อ ง พระองค์มาอย่างยาวนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณท่ี คนไทยผู้รับสนองพระราชดำริในการผดุงรักษาป่าไม้ทุกคน ต้องจดจำและดำเนินรอยตามพระปณิธานอันดีงามนี้สืบต่อไป ชวั่ กาลนาน



อากาศหนาวเย็นและไม้ดอกสีสันงดงามแปลกตาในป่า บนภูสูงท่ีชุ่มชื้น คือเอกลักษณ์ของป่าภาคเหนือ ของประเทศไทย และเป็นถิ่นกำเนิดของพรรณไม้หายาก หลากชนิดที่ผลิบานเม่ือใดก็ละลานตาเม่ือนั้น

32 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง กระเจาะ Millettia kangensis Craib ชื่ออื่น ขะเจาะ ขะเจาะน้ำ ท่ามกลางความหลากหลายของป่าเบญจพรรณ กระเจาะเป็นพรรณไม้ที่อยู่ในวงศ์ถ่ัว มีการสำรวจ ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศ ยังมีพรรณไม ้ พบคร้ังแรกโดยหมอคาร์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ชนิดหนึ่งท่ีชอบขึ้นอยู่บริเวณริมลำธาร ออกดอกสีชมพู ซ่ึงเข้ามาทำงานสำรวจพรรณไม้ในเมืองไทยสมัย อมม่วงสดใสในช่วงปลายฤดูหนาว และสะพร่ังบานอวดช่อ รัชกาลท่ี 6 ที่ลำน้ำแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัด ดอกอันงดงามละลานตาไปจนถึงเดือนเมษายน นามว่า เชียงใหม่ ท่ีระดับความสูง 300 ม. คำระบุชนิดของ กระเจาะ ไม้ป่าหายากติดอันดับต้นๆ ชนิดหน่ึงของ พรรณไม้ชนิดน้ี จึงตั้งขึ้นตามสถานที่ท่ีค้นพบว่า เมืองไทย ซึ่งในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เปลี่ยนฐานะ kangensis อันหมายถึง “พบท่ีกาง” ซึ่งออกเสียงเพี้ยน เป็นไม้ประดับปลูกตามรีสอร์ตและสวนสาธารณะ มาจากคำว่า “กลาง” หรอื ลำน้ำแม่กลางนนั่ เอง เนื่องจากเป็นพรรณไม้ท่ีมีลำต้นและทรงพุ่มท่ีสวยงาม ไม่แพ้ไม้ประดบั ชนิดอน่ื

พรรณไม้ภาคเหนือ 33 ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 15-18 ม. แต่อาจ อสอีชกมดพอกอู เมปม็น่วชงอ่ สูงได้ถึง 20 ม. เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรง กระบอก เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กระพีส้ ีขาวอมนำ้ ตาล แกน่ สนี ้ำตาลดำ ใบ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่มคล้ายไหม ใบ ประกอบแบบขนนกปลายค่ี เรียงสลับ ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 7-9 ใบ ใบแกม่ ีขนทั้งสองดา้ น ชอ่ ดอกแยกแขนง ดอก ออกดอกเป็นช่อ สีชมพูอมม่วง ยาว 2-2.5 ซม. กลีบดอกด้านนอกมีขนยาวเป็นมัน ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. เมล็ด แบน กลมมน สีน้ำตาลเข้ม กว้างและยาว 1-1.2 ซม. ด้วยวิสัยที่กำเนิดอยู่ริมแม่น้ำลำธาร ชาวบ้านจึง การขยายพนั ธ์ุ เรียกพรรณไม้ชนิดน้ีอีกชื่อหน่ึงว่า “ขะเจาะน้ำ” ขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ด ควรส่งเสริมให้มี กระเจาะเป็นพรรณไม้ท่ีเจริญเติบโตได้ค่อนข้างรวดเร็ว การนำไปปลูกริมลำธารแต่ละพ้ืนที่ในภาคเหนือ เพ่ือ เพราะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ช้ืนแฉะ และความช้ืนสูง เป็นการอนรุ ักษ์และใชป้ ระโยชน์ เวลาท่ีกระเจาะผลิดอกและติดฝัก ฝักแก่จะแตกออก แล้วทิ้งเมล็ดร่วงลงสู่ลำธาร ปล่อยให้สายน้ำพัดพา เมล็ดไปข้ึนอยู่ตามริมลำธารท่ีอยู่ต่ำลงมา กลายเป็นพืช ทีส่ ร้างสสี ันอนั สวยงามไดต้ ลอดลำน้ำ ดา้ นประโยชนข์ องกระเจาะ ชาวบ้านท่ีองิ อาศยั อย ู่ กับป่า รู้จักนำเปลือกของกระเจาะมาใช้ย้อมผ้ากันเป็น เวลานานแล้ว เปลือกของกระเจาะยังมีสรรพคุณเป็น สมุนไพร นำมาเข้ายาแก้ซางตามตำรับยาพ้ืนบ้าน อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกกระเจาะเป็น ไม้ประดับในหลายพ้ืนที่ และเชื่อกันว่า ในอีกไม่ช้า ไม้ป่า เมืองเหนือที่เคยซ่อนตัวอยู่ตามขุนเขาอย่างกระเจาะน้ี จะอวดโฉมใหค้ นไทยไดเ้ ห็นกนั อย่างแพร่หลาย

34 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง กาสะลองคำ ลักษณะเด่นอย่างหน่ึงของกาสะลองคำ คือเป็น พรรณไม้เบิกนำเพ่ือเพิ่มความชุ่มช้ืนให้แก่พื้นท่ี จึง Radermachera ignea (Kurz) Steenis สามารถปลูกได้ในพ้ืนที่ท่ีค่อนข้างแห้งแล้งหรือพื้นท่ี ซึ่งปลูกพรรณไม้อื่นๆ ไม่ค่อยเจริญเติบโต เม่ือต้น ชื่ออ่ืน กากี สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง กาสะลองคำเจริญเติบโตได้ประมาณ 1-2 ปี ก็ไม่มีความ จำเป็นที่จะต้องรดน้ำเพิ่มเติม อาศัยเพียงน้ำตาม กาสะลองคำ หรือปบี ทอง เป็นพรรณไมพ้ ระราชทาน ธรรมชาติก็เพียงพอในการเจริญเติบโต ปัจจุบันจึงมีคน เพ่ือปลูกเป็นไม้มงคลของจังหวัดเชียงราย และเป็น ให้ความสนใจนำมาปลูกขยายพันธุ์มากขึ้น โดยสามารถ พรรณไมป้ ระจำมหาวิทยาลัยสองแหง่ คือ มหาวทิ ยาลยั ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ ราชภัฏเชียงราย เรียกว่า กาสะลองคำ และ ราชการ ริมถนน ริมสระน้ำ และเป็นไม้สมุนไพรไว้ใช้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซ่ึงเรียกอีกชื่อหน่ึง คือ ในชีวติ ประจำวนั ของผคู้ นในชนบท ปีบทอง กาสะลองคำ เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Bignoniaceae ข้ึนตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนท่ีค่อนข้างช้ืนทาง ภาคเหนือ ส่วนในต่างประเทศ พบต้ังแต่พม่าตอนใต้ เร่ือยไปถึงเกาะไหหลำในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

พรรณไม้ภาคเหนือ 35 ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6-20 ม. เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง ตามลำต้นและก่ิงก้านจะมีช่องหายใจกระจายอยู่ เปลือกต้นเรยี บสเี ทา เรอื นยอดทึบแผ่กวา้ งเปน็ พมุ่ กลม ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย 2-5 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่แกม การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากต้นกาสะลองคำ รูปใบหอก หรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-5 สามารถนำไปเป็นสมุนไพรได้ต้ังแต่ส่วนลำต้น โดย ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบ นำไปผสมกับสมุนไพรอื่นๆ ฝนน้ำกินแก้ซาง เปลือกต้น แหลม ขอบใบเรยี บ ยังสามารถต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย ใบตำคั้นน้ำทาหรือ ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกดอกเป็นช่อ พอกใชร้ กั ษาแผลสด แผลถลอก และห้ามเลือดไดด้ ี ตามกิ่งและลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก ทยอยบาน โคน ใครที่อยากชื่นชมความงามของดอกกาสะลองคำ กลีบดอกเช่ือมกันเป็นหลอด ยาว 4-7 ซม. ปลายเป็น สามารถหาชมได้ตามป่าเขาหินปูนในภาคเหนือช่วงเดือน แฉกส้ันๆ 5 แฉก มกราคมถึงเมษายน จะทยอยเห็นความงามในแต่ละ ผล เป็นฝัก ยาว 26-40 ซม. ไม่มีขนปกคลุม ช่วงต้ังแต่ผลัดใบ แล้วผลิดอกตามมา ส่วนผู้ต้องการ เม่ือแก่จะแตกเป็น 2 ซีก และบิดงอ ภายในฝักมีเมล็ด เห็นกาสะลองคำปลูกเป็นแถวเป็นแนว เป็นระเบียบ ขนาด 2-13 มม. สวยงาม ออกดอกสีเหลืองส้มพรูเต็มต้น กระจายเต็ม เมลด็ แบน มปี กี เป็นเยอื่ บางๆ สขี าว ท่ัวพื้นที่ก็จะต้องเข้าไปเยือนมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย ในจังหวัดเชียงราย หรือมหาวิทยาลัย การขยายพนั ธ ุ์ เทคโนโลยีสุรนารี ในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงที ่ ขยายพันธโ์ุ ดยการเพาะเมลด็ ตอนกิง่ และปักชำก่งิ กาสะลองคำบาน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกไว้ช่ืนชมเป็นการ ส่วนตัว ก็สามารถปลูกให้เจริญเติบโตสวยงามได้ไม่ ออดกอดกอสกเี เหปล็นือชง่ออตมาสมม้ กิง่หแรลอื ะสลสี ำม้ ตน้ ยากนัก ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเป็นเคล็ดลับก็คือ จะต้องปลูก กลางแจ้งให้มีระยะห่างจากต้นไม้อ่ืนอย่างน้อย 5 ม. จะต้องปักหลักผูกยึดให้ลำต้นต้ังตรง และคอยตัดแต่ง ก่ิงให้แตกออกรอบลำต้นในลักษณะมีสมดุล มิฉะนั้นต้น กาสะลองคำจะมีกิ่งยาวมากแล้วฉีกหัก หรือมีลำต้น เอยี งแล้วลม้ ไม่สวยงาม

36 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง กุหลาบขาวเชียงดาว เกสรสเี หลือง Rhododendron ludwigianum Hoss. ช่ืออื่น คำขาว ธรรมชาติน้ันช่างเสกสรรปั้นแต่ง และก่อกำเนิด กลคบี ่อดนอขก้าง5กลกมล ีบ ความงามอันน่าอัศจรรย์อยู่เสมอ ใครเลยจะคิดว่าบน ยอดเขาหินปูนท่ีแห้งแล้งและแทบจะหาชั้นดินไม่ได้เลย อย่างยอดดอยเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ กลับเป็น แหล่งกำเนิดของกุหลาบป่าท่ีงดงามท่ีสุดชนิดหน่ึง ท ี่ ชาวดอยเรียกขานกันว่า คำขาว หรือ กุหลาบขาว เชียงดาว ซง่ึ เป็นกหุ ลาบป่าชนดิ ท่ีหายากทส่ี ุดและมีดอก ขนาดใหญท่ ีส่ ุดของไทย กุ ห ล า บ ข า ว เ ชี ย ง ด า ว นั บ เ ป็ น กุ ห ล า บ ป่ า ท่ี มี คุณสมบัติทรหดอดทน ด้วยถือกำเนิดบนยอดเขาหินปูน ท่ีแห้งแล้งบนท่ีโล่งตามหน้าผาหรือตามซอกหินท่ีมีชั้น อินทรียวัตถุทับถม อีกท้ังยังต้องทนต่อความร้อนแรง ของแสงอาทิตย์และกระแสลมที่ผันผวนอยู่ทุกเม่ือ เช่ือวัน กระนั้นก็ตาม ธรรมชาติก็ได้สรรค์สร้างให้ กุหลาบขาวเชียงดาวเป็นดอกไม้ท่ีสวยงามราวกับ ดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ซ่ึงถือกำเนิดอยู่บนยอดเขา ที่สูง “เพียงดาว” แต่งแต้มความสดช่ืนมีชีวิตชีวา ให้แก่ขุนเขา รอการมาเยือนของผูเ้ ดนิ ทาง กุหลาบขาวเชียงดาวเป็นพรรณไม้ ในวงศ์ Ericaceae ในสกุลกุหลาบป่า (Rhododendron) เช่น เดียวกับกุหลาบพันปี มีลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ ลำต้นแตกกิ่งมาก กุหลาบขาวเชียงดาวจัดเป็นพืช ถ่ินเดียวของไทย พบเฉพาะท่ีเขาหินปูนดอยเชียงดาว ที่ระดับความสูง 1,800-2,190 ม. ปัจจุบันอยู่ในสภาพ ใกล้สูญพันธ์ุจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในถิ่นกำเนิดเดิม

พรรณไม้ภาคเหนือ 37 ด้ ว ย ก า ร ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ใ ห้ เ ป็ น พ ร ร ณ ไ ม้ ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร ท่องเที่ยวรวมท้ังต้องช่วยกันปกปักรักษา ด้วยการป้องกัน ไฟไหม้ ป้องกันการบุกรุกทำลาย และป้องกันการ ชะล้างจากน้ำฝน รวมทั้งช่วยกันขยายพันธ์ุให้มีจำนวน ต้นเพ่ิมมากข้ึนบนพ้ืนที่ระดับสูงอื่นๆ ของดอยเชียงดาว ดว้ ยการเกบ็ ผลแก่ แล้วนำเมล็ดไปโรยในพ้นื ท่เี หมาะสม เพ่ือให้เมล็ดงอกตามธรรมชาติ กลายเป็นกุหลาบแสนสวย แหง่ ดอยเชียงดาว ลกั ษณะพรรณไม ้ ต้น เป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มอิงอาศัย สูง 1.5-3 ม. ตามลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุม่ กลมแนน่ และเต้ีย ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตามปลายก่ิง รูปรีแกมรูปไข่กลับ ยาว 3-8 ซม. ปลายใบแหลมหรือ มนเป็นติ่งส้ัน ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่าง มีเกลด็ สีน้ำตาล ดอก ออกเป็นช่อตามปลายก่ิงช่อละ 2-3 ดอก ดอกตูมสขี าวอมชมพู เมือ่ บานมีกลีบดอก 5 กลีบ ค่อน ข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. ออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคมถงึ พฤษภาคม ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกยาว 2-3 ซม. ผิวแห้งแข็ง เป็นตุ่มขรุขระ มีเกล็ดปกคลุม แก่จัด แตกเป็น 5-6 เส่ียง เมล็ด ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปร่างแบน มีปีก บางใสล้อมรอบ การขยายพนั ธ ์ุ ขยายพันธุต์ ามธรรมชาติโดยการงอกจากเมลด็

38 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง กุหลาบพันปี Rhododendron arboreum Sm. subsp. delavayi (Franch.) Chamb. ช่ืออื่น คำแดง ในช่วงฤดูหนาว บรรดากุหลาบป่าท่ีแฝงพุ่มอยู่ตาม ยอดดอยสูงทางภาคเหนือ จะพากันแย้มกลีบบานเพ่ือ เผยให้เห็นความงดงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้อย่าง น่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะกุหลาบป่าสีแดงสดที่ชาวดอย กุหลาบพันปี เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Ericaceae เรยี กขานวา่ “กหุ ลาบพนั ป”ี จะพร้อมใจกันออกดอกสีแดง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกุหลาบท่ีเรารู้จักกันซึ่งอยู่ในวงศ์ เจิดจ้าสวยงามเพิ่มสีสันให้แก่พงไพร ดึงดูดนักท่องเท่ียว Rosaceae กุหลาบพันปีเป็นพรรณไม้ในสกุลกุหลาบป่า ผู้หลงใหลธรรมชาติให้ดั้นด้นเดินทางมาเย่ียมชม Rhododendron ซึ่งหากมองดูเผินๆ คล้ายพุ่มกุหลาบ แม้จะตอ้ งบุกปา่ ฝ่าดงขน้ึ มาจนถงึ ยอดดอย คนจึงนิยมเรียกกันว่ากหุ ลาบปา่ คำวา่ Rhododendron มาจากภาษากรีก คือ rhodo ซึ่งแปลว่ากุหลาบ และ dendron ซง่ึ แปลว่า ตน้ ไม้ สว่ นทีเ่ รียกกหุ ลาบป่าชนดิ นี้ ว่ากุหลาบพันปีนั้นเป็นเพราะลำต้นมีมอสปกคลุมจนดู คล้ายมอี ายเุ ปน็ พนั ปี

พรรณไม้ภาคเหนือ 39 ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. เปลือกต้น สนี ้ำตาลอมแดงเข้ม หลุดออกเป็นแผ่นได้ ใบ เป็นใบเด่ียวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือ รูปใบหอก ยาว 7-15.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเรียว สอบหรือมน แผน่ ใบดา้ นลา่ งมเี กลด็ ขยุ และขนสขี าวเทา เปดน็ อกกมรอี ะ1อจ0กุก-เ2ตป0า็นมดชป่ออลแกาน ยน่ ก ่งิ อมสนี ำ้ ตาลเหลอื ง หนาแน่น ดอก สีแดงออกเป็นช่อแน่นเป็นกระจุกตาม ปลายกิ่ง มี 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกติดเป็นหลอดคล้าย รูประฆงั ปลายแยกเป็นแฉกเกือบกลม ผล แบบแคปซลู รปู ทรงกระบอก ยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด ขนาดเลก็ จำนวนมาก มปี กี บางใสล้อมรอบ กหุ ลาบพนั ปเี ปน็ ไมต้ น้ ขนาดเลก็ ทมี่ ลี ำตน้ และกิ่งก้าน การขยายพันธ์ุ คดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เนื่องจากพรรณไม้ชนิดน้ี ขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ด ควรส่งเสริมให้ ขึ้นอยู่บนพื้นท่ีชุ่มช้ืน สันเขา หรือหน้าผา ที่ระดบั ความ ปลูกในพ้ืนท่ีอนุรักษ์ในระดับสูง ตามอุทยานแห่งชาติ สูง 1,600-2,500 ม. ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เขตรักษาพนั ธ์ุสตั วป์ ่า หนว่ ยพัฒนาตน้ น้ำ เนอื่ งจากเปน็ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และ พรรณไม้ท่ตี อ้ งการอากาศหนาวเยน็ อทุ ยานแหง่ ชาตขิ ุนแจ จังหวัดเชียงราย ในต่างประเทศ พบได้ท่ีเนปาล ภูฏาน พม่า และจีนในมณฑลยูนนาน และก้ยุ โจว้ กุหลาบพันปีถือเป็นราชินีแห่งเทือกเขาหิมาลัย ชาวเนปาลยกย่องให้ดอกไม้ชนิดน้ีเป็นดอกไม้ประจำ ชาติ ซง่ึ ผกู พนั อยกู่ บั วถิ ชี วี ติ ของชาวหมิ าลยั มาอยา่ งชา้ นาน ชาวเนปาลนิยมนำไม้ชนิดนี้มาทำเช้ือฟืนสำหรับหุงต้ม อาหารและสรา้ งความอบอนุ่ ภายในทพี่ กั อาศยั สำหรบั บา้ นเรา กหุ ลาบพนั ปถี อื เปน็ พรรณไมห้ ายาก ที่มีการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย จึงควรส่งเสริมให้มี การปลูกอย่างกว้างขวางในพื้นที่อนุรักษ์ระดับสูงตาม อุทยานแห่งชาติต่างๆ เพ่ือให้เป็นแหล่งท่องเท่ียวท่ี สำคัญประจำภมู ิภาค

40 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ขม้ินต้น ใบย่อยรหูปรขอื อรบปู ขในบาหนอแกก มรปู ไข่ Mahonia duclouxiana Gagnep. ชื่อพ้อง Mahonia siamensis Takeda ex Craib ช่ืออ่ืน – ก่อนหน้าน้ี ขม้ินต้น เป็นพรรณไม้ท่ีได้รับการ กล่าวขวัญในฐานะท่เี ป็นพรรณไมถ้ น่ิ เดยี วของไทย ดังที่ ได้เคยมีการตั้งชื่อระบุชนิดของพรรณไม้น้ีว่า siamensis อันเป็นการบ่งบอกถึงแหล่งท่ีมาของขมิ้นต้นว่าเป็น พรรณไม้ท่ีมีการค้นพบเป็นคร้ังแรกในประเทศไทย กระนั้นก็ดี ขมิ้นต้นก็ยังนับเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าของ ในแง่พรรณไม้สมุนไพรท่ีมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมา ไทย ไม่ว่าในแง่ของการเป็นพรรณไม้ดอกหอมท่ีได ้ ตั้งแต่ครั้งอดีต อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพ้ืนท่ีระดับสูง หรือ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวที่ชือ่ “เทพธิดาขมิ้นตน้ ” ซึ่งเป็นภาพที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม- บรมราชกุมารี ทรงแย้มพระสรวลอยู่ท่ามกลางดอก ขมิ้นต้นทช่ี ูช่อเหลืองอร่ามอยา่ งพระเกษมสำราญ ขม้ินต้นเป็นพรรณไม้ที่แตกแต่ก่ิงยาวหรือที ่ เรียกว่าก่ิงกระโดง จึงมองเห็นเป็นพุ่มโปร่ง ตามลำต้น มีเปลือกแตกเป็นร่องลึก อันบ่งบอกได้ว่าเป็นพืช พ้ืนเมืองท่ีทนแล้งทนลมหนาวได้อย่างทรหด ส่วนใบ มีลักษณะหนาและแข็ง ปลายใบมหี นามแหลม ซ่ึงแสดง ถึงการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในภูมิประเทศและสภาพ อากาศท่ีทารุณ และเพ่ือปกป้องตนเองจากสัตว์ป่าพวก กระต่าย รวมท้ังสัตว์เล้ียงจำพวกแพะและวัวของชาวไทย ภเู ขาไม่ใหม้ ากัดกนิ หรอื ทำลายตน้ ให้เสยี หาย ขมิ้นต้นเป็นพรรณไม้ท่ีออกดอกสีเหลืองสดใส ดอกอันบอบบางทยอยบานท้ังช่อ แต่เพียงแค่วันเดียวก็ รว่ งโรย สง่ กล่นิ หอมอ่อนๆ ในเวลากลางวนั และหอมแรง ในช่วงพลบค่ำ ในฤดูหนาวที่อากาศเย็นสดชื่น ขมิ้นต้น จะชูช่อไสวหยอกล้อลมหนาวที่พัดผ่านมาในช่วงเดือน มกราคมไปจนถึงเดือนมนี าคม

พรรณไม้ภาคเหนือ 41 ขม้ินต้นเป็นพรรณไม้อยู่ในวงศ์ Berberidaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ต้ังแต่อินเดีย จีนตอนใต้ และ พม่า ในไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยสุเทพ และดอย เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นในป่าดิบเขา หรือตามท่ี โล่งบนเขาหินปูน ระดับความสูง 1,000-2,200 ม. ในต่างประเทศพบในระดับความสูงจนถึง 2,800 ม. พรรณไม้ชนิดน้ีมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เปลือกรากใช้ แก้ไข้อีดำอีแดง แก้ท้องเสีย ตาเจ็บ และช่วยให้เจริญ อาหาร ลกั ษณะพรรณไม ้ ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งเป็นลำยาว เปลือกแตกเป็นร่องลกึ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-70 ซม. ดอก สีเหลือง กลีบเลี้ยงยาว 3-8 มม. กลีบดอก ใบย่อยมี 4-9 คู่ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือ บางสเี หลอื งรูปรหี รือรปู ขอบขนาน ยาว 6-7 มม. ทโี่ คน รปู ใบหอก ยาว 4-15 ซม. ปลายใบแหลมหรอื เรยี วยาว กลบี มีต่อมชดั เจน ปลายมนหยักเว้า โคนใบกลม เบย้ี ว ขอบใบจักซ่ีฟันห่างๆ ไมม่ ีกา้ นใบยอ่ ย ผล เป็นผลกลม มีเนื้อหลายเมล็ด สุกสีม่วงเข้ม ชอ่ ดอกมี 4-15 ชอ่ ยาว 8-30 ซม. เสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลาง 5-8 มม. มนี วลฉาบอยู่ เมลด็ สขี าวหมน่ กลมขนาด 3 มม. มี 1 เมลด็ การขยายพันธุ์ ควรทำการอนุรักษ์ขม้ินต้นด้วยการร่วมมือกันปกปัก รักษาต้นที่มีอยู่ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติให้เจริญเติบโต เป็นตน้ แมพ่ นั ธุ์ ออกดอกและตดิ ผล สามารถขยายพันธ์ุ ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และควรทำการขยายพันธ์ุ โดยการเพาะเมล็ด เก็บผลแก่นำเมล็ดมาเพาะแล้ว ส่งเสริมให้ปลูกในแหล่งท่องเท่ียว แหล่งพักผ่อน สำนักงานและเขตอนุรักษ์ในพ้ืนท่ีระดับสูงที่มีอากาศ หนาวเย็น นอกพื้นท่ีถิ่นกำเนิดเดิม จึงนับเป็นการ อนุรักษข์ มิ้นต้นได้โดยสมบูรณ์ ทงั้ ในพ้นื ท่ีถ่นิ กำเนิดเดิม และในแหล่งใหม่ทมี่ สี ภาพอากาศคล้ายคลึงกัน

42 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ค ำมอกหลวง Gardenia sootepensis Hutch. ช่ืออื่น ไข่เน่า คำมอกช้าง ยางมอกใหญ่ พรรณไม้ในสกุลพุด หรือ Gardenia เป็นพืช สมุนไพรท่ีมีความสำคัญในแพทย์แผนจีนมานานกว่า พันปีแล้ว สำหรับประเทศไทยมีพรรณไม้ในสกุลนี้อย ู่ ไมถ่ งึ 10 ชนิด แตล่ ะชนดิ ลว้ นมีสรรพคณุ ในทางยาและ ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาช้านานเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ คุณสมบัติท่ีโดดเด่นอีกประการหนึ่งของคำมอก- คำมอกหลวง ไม้ต้นขนาดเล็กท่ีพบมากทางภาคเหนือ หลวงคือ มีการนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้อย่างสวยงาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามป่า ตน้ ทปี่ ลูกอยูก่ ลางแจง้ ห่างจากตน้ ไมอ้ ื่นๆ จะมที รงพุม่ ที่ เต็งรัง หรือป่าผลัดใบท่ีระดับความสูง 200-800 ม. กลมแน่น และออกดอกเหลืองอร่ามได้เต็มทรงพุ่ม จึง ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำเมล็ดเค่ียวกับน้ำผสมเป็น ได้รับความนิยมนำมาปลูกตามสนามกอล์ฟ หรือตาม ยาสระผมฆ่าเหา ปัจจุบันนักวิจัยกำลังศึกษาเร่ืองความ สวนท่ีมีพื้นท่ีกว้างขวาง ในปัจจุบัน มีการคัดเลือกพันธ์ุ เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูก ซ่ึงคาดว่าจะมี ท่ีมีต้นเต้ีย ดอกใหญ่ สีเข้มสดใส ออกดอกตลอดปีและ ประโยชนต์ ่อการบำบดั มะเรง็ ชนิดนี้ในอนาคต มีกลิ่นหอมแรง แล้วขยายพนั ธุโ์ ดยการตอน ทาบก่งิ หรอื

พรรณไม้ภาคเหนือ 43 เสียบก่ิง ทำให้ต้นขนาดเล็กออกดอกได้ จึงได้รับความ ผลสีเขยี วสด รปู ไขม่ ีต่ิงที่ปลาย นิยมปลูกเป็นไม้ดอกกระถางและไม้ประดับตามบ้าน กันมากข้ึน นอกจากน้ี นักวิจัยยังได้นำดอกคำมอกหลวง มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพ่ือใช้ประโยชน์ในทาง สุคนธบำบัดอกี ด้วย คำมอกหลวงเป็นพรรณไม้ที่ได้รับการสำรวจพบ คร้ังแรกโดยหมอคาร์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช บนดอยสุเทพที่ระดับความสูง 750 ม. คำระบุชนิด ลักษณะพรรณไม ้ sootepensis ของพรรณไม้ชนิดนี้จึงต้ังตามสถานที ่ ต้น เป็นไม้ผลัดใบ สูง 7-15 ม. เรือนยอดกลม ที่ค้นพบครั้งแรก และมีรายงานการต้ังช่ือในปี 2454 โปร่ง หรือแผ่กว้าง ลำต้นบิดงอ เปลือกต้นสีครีมอ่อน คำมอกหลวงเป็นภาษาคำเมือง แปลว่าดอกไม้สีเหลือง หรือเทา ค่อนข้างเรียบหลุดออกเปน็ แผ่นบางๆ ดอกใหญ่ (คำ แปลว่า สีเหลือง มอก แปลว่า ดอกไม้ ใบ เป็นใบเด่ียว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบ หลวง แปลวา่ ใหญ)่ แตม่ คี ำเรยี กขานตามภาษาพน้ื เมือง ขนาน กว้าง 4-15 ซม. ยาว 9-28 ซม. ใบอ่อนสีชมพู ในแต่ละท้องถ่ินแตกต่างกันไป เช่น นครพนมเรียกว่า อ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านข้าง ไขเ่ นา่ นครราชสีมาเรียกวา่ ยางมอกใหญ่ เป็นต้น มีขนละเอียด ผวิ ใบสากคาย ดอก เป็นดอกขนาดใหญ่สีขาว แล้วเปล่ียนเป็น สีเหลืองทอง ออกท่ีซอกใบ โคนกลีบดอกเช่ือมเป็น หลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกล่ินหอม เส้นผ่า- ศูนย์กลางของดอก 5.5-7 ซม. ออกดอกราวเดือน กุมภาพนั ธถ์ ึงเมษายน ผล สีเขียวสด รูปไข่มีติ่งที่ปลาย มีขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม. เมลด็ มีขนาดเล็กจำนวนมาก การขยายพนั ธุ์ มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดให้งอกเป็นต้นกล้า สามารถนำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ได้ท่ัวประเทศ ต้นกล้า แข็งแรง มีระบบรากแก้วจึงทนทานต่อความแห้งแล้ง ได้ดี ไดร้ บั ความนยิ มปลูกกันอย่างกว้างขวาง เนือ่ งจากมี ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม เท่ากับเป็นการช่วยกัน อนุรกั ษ์คำมอกหลวงไดเ้ ปน็ อย่างด ี

44 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง ง ิ้วป่า Bombax ceiba L. ช่ืออื่น ง้ิวบ้าน งิ้วแดง ง้ิวปงแดง ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม เป็นช่วงเวลา งิ้ ว ป่ า เ ป็ นไ ม้ ต้ น ข นา ดใ ห ญ่ อ ยู่ ใ น ว ง ศ์ ที่ดอกง้ิวเร่ิมผลิกลีบสีส้มแดงค่อยๆ บานออกมาเต็มช่อ Bombacaceae มกั พบในป่าเต็งรัง และปา่ เบญจพรรณ- กระจุกอยู่ตามปลายก่ิง เมื่อตัดกับสีฟ้าใสของท้องฟ้า แล้ง เป็นพรรณไม้ท่ีชอบแสงแดดจัด และขึ้นได้ดีในดิน ในหน้าหนาว จึงกลายเป็นภาพความประทับใจท่ีบรรดา รว่ นปนทราย เนอ้ื ไมอ้ ่อนจงึ เจริญเติบโตไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ไปชื่นชมพรรณไม้อดท่ีจะถ่ายภาพ ลำต้นตรง โคนลำตน้ ใหญ่ และมีพพู อน มกั แตกกิ่งรอบ เก็บไว้เป็นท่ีระลึกไม่ได้ หรือแม้กระท่ังช่วงท่ีดอกง้ิว ลำต้นเป็นช่วงๆ คล้ายฉัตร เป็นลักษณะเด่นท่ีเห็นได้ ร่วงหล่นเรียงรายบนพ้ืนดิน ก็เป็นภาพความสวยงาม ชัดเจนเมื่อขึ้นอยู่รวมกับพรรณไม้อ่ืนในป่าเบญจพรรณ ที่น่าจดจำ หลังจากนั้นงิ้วป่าจะติดผล เป็นผลกลมรี แล้ง ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงผลัดใบที่มีแต่ก่ิงก้านก็ตาม คล้ายฝักนุ่น ภายในมีเมล็ดสีดำหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ออกดอกแล้ว จะสะดุดตา พอผลแก่แล้วฝักจะแตก ปลดปล่อยให้เมล็ดปลิวลอยไป โดดเด่นกว่าพรรณไม้อ่ืน จึงเริ่มมีการปลูกเป็นไม้ ตามลม ไปงอกในทห่ี า่ งจากต้นแม่ ประดับริมทางหลวงบางสาย เช่น ในภาคเหนือตอนลา่ ง

พรรณไม้ภาคเหนือ 45 ดตอากมกลปอบี อลรกาอยเปงกกก็นิง่ลลชีบ3บี่อด-ดเ5อดอกยี่ดกว5อรูปกหกถรลไ้วอืมีบยเม่ ปสกี น็ เีา้ กขนรียดะวอจ กุก ลกั ษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20-30 ม. ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ลำต้นตรง และแตกกิ่งก้าน ในแนวตงั้ ฉากกับลำตน้ เรือนยอดแผ่กวา้ ง ใบ เปน็ ใบประกอบแบบนิว้ มอื มีใบย่อย 5-7 ใบ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบแหลม ขอบ ใบเรียบ โคนใบสอบ ก้านใบยาว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก ่ สีเขยี วเข้มเปล่ียนเป็นสีเหลืองก่อนหลดุ รว่ ง ดอก ออกเป็นช่อเดยี่ ว หรอื เป็นกระจกุ ตามปลาย กิ่ง 3-5 ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วย สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนใหญ่สีแดง สีส้ม แต่ ง้ิวป่าเป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ท่ีมีคุณประโยชน์ สเี หลืองจะมีนอ้ ยมาก กลีบรูปขอบขนาน แตล่ ะกลบี ยาว มหาศาล ชาวบ้านมักเก็บดอกงิ้วแล้วเอาเกสรตัวผู้ที่มี 5-8 ซม. เม่ือบานเต็มท่ีปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วน ลักษณะเป็นเส้นใสเหนียวๆ นำมาร้อยเป็นพวงหรือวาง กลับ มเี กสรเพศผูจ้ ำนวนมาก ใส่กระด้งไม้ไผ่เพื่อความสะดวกในการตากเก็บไว้กิน ผล รูปรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแกส่ ีนำ้ ตาลเทา เม่ือ ตลอดปี โดยลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ มีทั้งนำไปทำ แก่จัดแตกออกเป็นแฉก อาหาร ด้วยการนำดอกง้ิวไปใส่ในแกงแคและน้ำเงี้ยว เมลด็ สดี ำ ห้มุ ดว้ ยปุยฝา้ ยสีขาวจำนวนมาก รับประทานร่วมกับขนมจีน หรือถ้าเป็นดอกสด ก็ สามารถนำมาตม้ จิม้ น้ำพรกิ กินได้ การขยายพนั ธุ ์ ในตำรับยาจีน มีการใช้ดอกในสภาพดอกแห้ง ขยายพนั ธ์ุโดยการเพาะเมลด็ และปกั ชำกิง่ โดยตากแดดหรืออบ จะมีรสหวาน จืด เยน็ สามารถนำ ไปใช้ในทางยามีสรรพคุณลดไข้ ขับไล่ความชื้น ถอนพิษ และใช้ในกรณีเป็นบิด โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ปอดร้อน และไอ เกสรดอกงิ้วยังมี สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย ดังนั้นหากนำมาปรุง เป็นอาหารตามฤดูกาลในช่วงที่เร่ิมออกดอกหรือช่วงที่ เร่ิมเข้าสู่ฤดูร้อน ย่อมเป็นสมุนไพรช้ันดีที่เหมาะสำหรับ ปรับธาตุในร่างกาย ปัจจุบันจึงควรเร่งทำการขยายพันธุ์ งิ้วป่าให้มีการปลูกแพร่หลายมากขึ้น เพ่ือให้สามารถ นำมาวิเคราะห์ถึงคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ใน ทางสมนุ ไพรตอ่ ไป

46 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง จำปาขาว Magnolia champaca X baillonii ชื่ออ่ืน - ดอกจำปาท่ีคนส่วนใหญ่รู้จักมักมีสีเหลืองส้ม อย่าง ที่เราเรียกกันว่าสีจำปา หากแต่ก็มีจำปาชนิดหน่ึงที่ดอกมี สีขาวนวลแตกต่างจากจำปาทั่วไป เรียกว่า จำปาขาว ซึ่งเป็นพรรณไม้ท่ีเกิดจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ มีลักษณะท่ีอยู่กึ่งกลางระหว่างจำปาและจำปีป่า ไม่ว่าจะ เป็นสีของดอกที่มีสีขาวนวล หรือลักษณะของผลท่ีเป็น รูปทรงกระบอกเรียวยาว มีเปลือกผลเชื่อมติดกันเป็นตุ่มๆ จำปาขาวเป็นต้นไม้ที่มีประวัติยาวนานสืบย้อนกลับ ซ่ึงเกิดจากการผสมกันระหว่างผลย่อยรูปทรงกลม ไปได้ถึงอาณาจักรสุโขทัย กล่าวกันว่า จำปาขาวต้น ขนาดเล็กของจำปา และผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว ด้งั เดิมซ่งึ มอี ายเุ กา่ แกถ่ ึงกวา่ 700 ปี ปจั จบุ นั ยงั คงยืนต้น ของจำปปี า่ ตระหง่านอยู่ท่ีวัดกลางศรีพุทธาราม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ชาวนครไทยเช่ือกันว่า จำปาขาวต้นน้ี เป็นต้นท่ีปลูกโดยพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ซ่ึงปลูกไว้เม่ือครั้งก่อนยกไพร่พลไปตีเมืองสุโขทัยซ่ึงอยู่ ภายใต้การปกครองของขอมได้สำเร็จ แล้วสถาปนา ตนเองเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยต้ังสัตยาธิษฐานว่า ถ้าตีเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ ก็ขอให้ต้นจำปาขาวไม่ตาย และออกดอกเป็นสีขาว จากคำอธิษฐานน้ัน จำปาขาว ต้นน้ีจึงถือเป็นไม้คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนครไทย (เมือง บางยางในอดีต) ทุกวันนี้หากใครมีโอกาสได้ไปเท่ียวชมวัดกลาง- ศรีพุทธาราม จะพบจำปาขาวต้นนี้ท่ีด้านหลังอนุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แม้จะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน หลายศตวรรษ หากจำปาขาวต้นนี้ก็ยังคงยืนหยัดอยู่อย่าง มั่นคง สง่างาม ลำต้นขนาดใหญ่วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ทีโ่ คนตน้ ได้ถึง 1.5 ม. สูงประมาณ 10 ม. เมอื่ ถึงเวลา ออกดอก จำปาขาวจะส่งกล่ินหอมฟุ้งไปทั่ว สร้างความ ประทับใจให้แก่ผ้ทู ่ีพบเหน็ เป็นอย่างมาก

พรรณไม้ภาคเหนือ 47 จำปาขาวเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) ผล เป็นผลกลุ่ม รูปทรงกระบอกยาว 6-9 ซม. สกุล Magnolia สำหรับประเทศไทยพบท่ีอำเภอ ผลย่อย 15-40 ผล ไม่มีก้านผล แต่ละผลค่อนข้างกลม นครไทย จังหวัดพิษณุโลก และจากการสำรวจพบ หรือรี ขนาด 1-2 ซม. เปลือกผลหนาและแข็ง ผลอ่อน เพิ่มเติมที่จังหวัดเชียงราย ปราจีนบุรี และกาญจนบุรี สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน ผลแก่เปลือกผลเช่ือมติดกัน สำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับ ในปัจจุบันนิยมคัดเลือก เปลยี่ นเป็นสีแดง แตล่ ะผลมเี มล็ดแก่สีแดง 1-4 เมล็ด พนั ธุท์ ตี่ น้ คอ่ นข้างเลก็ มดี อกดก และออกดอกตลอดปี เมล็ด รูปทรงกลมหรือกลมรี ยาว 8-10 มม. จำปาขาวออกดอกเดือนเมษายนถึงตุลาคม แต่ บางคร้ังทยอยออกตลอดปี ผลแก่เดือนธันวาคมถึง กมุ ภาพนั ธ์ ผเปลแลกือ่เกปผลลี่ยเนช่อืเปมน็ ตสิดแี กดันง ดออกดอบอกกาดนอเตปกง้ั น็ตขดา้นึ อมสกซขีเอดากยี่วในวบว ล ลกั ษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-10 ม. แต่มีโคน ลำต้นใหญ่ได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งจำนวน มากที่ยอด ยอดทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบ ยอดอ่อน และใบออ่ นมขี น ใบ เปน็ ใบเดี่ยว ออกเวยี นสลับ รปู รีแกมรูปขอบขนาน การขยายพันธ ์ุ กวา้ ง 4-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนสอบ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนก่ิง และทาบก่ิง ขอบใบเป็นคล่ืนเล็กน้อย เน้ือใบบาง แผ่นใบด้านบน มีเกษตรกรทำการขยายพันธุ์จำหน่ายและได้รับความนิยม สีเขียวออ่ นเป็นมันวาว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลูกกันทั่วไป นับเป็นวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมของ ดอก เป็นดอกเด่ียว ออกตามซอกใบ ดอกบาน ตน้ จำปาขาวได้ดอี ีกวธิ หี นึ่ง ชว่ ยใหม้ ตี น้ จำปาขาวจำนวน ตั้งขึ้น สขี าวนวลคอื มีสเี หลอื งอ่อนเกือบขาว แตบ่ างตน้ ก็มี มากสามารถเจรญิ เติบโตมชี ีวิตไดย้ นื ยาวต่อไป สีขาวล้วนโดยไม่มีสีเหลืองปนเลย เม่ือใกล้โรยกลีบดอกจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากข้ึนใกล้เคียงกับสีของจำปาทั่วไป มีกล่นิ หอมแรง ดอกอ่อนรปู กระสวย กวา้ ง 0.8-1.2 ซม. ยาว 3-4 ซม. กลีบดอกมีจำนวน 12-15 กลีบ กลบี ชั้นนอก รปู ใบหอกคอ่ นข้างยาว กลีบชนั้ ในแคบและสน้ั กวา่

48 ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง จ ำปีช้าง Magnolia citrata Noot. & Chalermglin ช่ืออ่ืน - เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ท่ีคนไทยได้รู้จักกับจำป ี ชนิดใหม่ของโลกที่ช่ือ จำปีช้าง จำปีแสนสวยชนิดหน่ึง ซ่ึงเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย และในธรรมชาติมีสภาพเป็น พืชหายากใกล้สูญพันธ์ุ แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของ คณะวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ซึ่งนำทีมโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกล่ิน ผู้เช่ียวชาญพิเศษ ได้แกะรอยการสำรวจเข้าไปจนพบ ถ่ินกำเนิดของจำปีชนิดน้ี ช่วยให้จำปีช้างซึ่งไม่มีการ จำปีช้างเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) ขยายพันธ์ุตามธรรมชาติมานานกว่า 50 ปีแล้ว สกุล Magnolia พบได้ในบริเวณป่าดิบเขาท่ีระดับความสูง สามารถขยายพันธุ์ได้จนมีจำนวนต้นเพ่ิมมากขึ้น และ ไม่ต่ำกว่า 1,200 ม. ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน และเลย ปลูกเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง สาเหตุท่ีได้ช่ือว่าจำปีช้างน้ันก็เป็นเพราะว่า จำปีชนิดน้ี ไปทัว่ ประเทศ มีผลขนาดใหญ่ท่ีสุดเมื่อเทียบกับจำปีชนิดอ่ืนในสกุล เดียวกัน โดยมีขนาดผลยาว 7-8 ซม. นอกจากน ้ี จำปีช้างยังมีลักษณะเด่นอ่ืนๆ ต่างจากจำปีทั่วไป เช่น ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลม ใบใหญ่และหนาคล้ายใบ กระท้อน เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีแดง กล่ินคล้ายตะไคร้แต่ฉุน กว่า จึงเป็นที่มาของช่ือระบุชนิด citrata ซึ่งหมายถึง ”ตะไคร้” นนั่ เอง จำปีช้างต้นแรกถูกสำรวจพบบนยอดเขาใน เขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2533 โดย ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมติ ินันท์ ซ่ึงในสมยั น้นั เข้าใจวา่ เป็นจำปีชนิดเดียวกับจำปีในประเทศจีนที่ช่ือ Michelia tignifera และเรียกชื่อไทยว่าจำปีดง ต่อมาในปี 2541 ดร.ปิยะ เฉลิมกล่ิน ได้นำพรรณไม้นี้มาตรวจสอบอีกครั้ง ก็พบว่าจำปีช้างเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกซึ่งไม่เคยค้นพบ ท่ีใดมาก่อน และตั้งชื่อใหม่ว่า Magnolia citrata Noot. & Chalermglin มีการรายงานการต้ังช่ือในปี 2551 น้เี อง

พรรณไม้ภาคเหนือ 49 จากพรรณไม้ที่ไม่สามารถให้กำเนิดลูกหลานมา นานกว่าครึ่งศตวรรษ ปัจจุบัน จำปีช้างสามารถขยาย พันธ์ุได้ด้วยวิธีการทาบก่ิงโดยใช้จำปาเป็นต้นตอ ปลูก เป็นไม้ประดับได้ดีในพื้นท่ีอุทยานแห่งชาติและแหล่ง พักผ่อน เช่น รีสอร์ตที่อยู่บนพื้นที่ระดับสูง รวมทั้งใน พืน้ ท่ีราบท่ัวไป จำปชี า้ งส่งกลิ่นหอมตง้ั แตช่ ่วงใกลพ้ ลบคำ่ มีกลิ่นหอมแรง แต่น่าเสียดายที่ดอกอันบอบบางบานอยู่ เพียงแค่วันเดียวแล้วก็ร่วงโรยในวันถัดไป และออกดอก ลกั ษณะพรรณไม ้ ให้ผู้ปลูกเล้ียงได้ช่ืนใจเพียงแค่ช่วงเดือนเมษายนไป ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-30 ม. ลำต้น จนถงึ เดือนพฤษภาคมเทา่ นน้ั เปลาตรง แตกกิ่งเป็นพุ่มอยู่ท่ียอด เปลือกลำต้นสีเทา อมขาว มีกลิ่นฉนุ เฉพาะตัว เนอื้ ไม้และกิง่ เหนยี ว ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 12-18 ซม. ยาว เมลด็ สีแดงเข้ม รูปกลมรี 20-25 ซม. เรียงเวียนรอบก่ิง รูปรีจนถึงเกือบกลม เน้ือใบหนา เหนียว สเี ขียวเข้มเป็นมนั ใบด้านลา่ งสอี อ่ น กว่า มเี ส้นกลางใบและเสน้ แขนงใบนนู เดน่ กลบี ดอกสีขาวนวล ดอก เป็นดอกเด่ียวออกท่ีซอกใบ ดอกตูมรูป กระสวย เม่ือแรกแย้มกลีบนอกสุด 3 กลีบจะบานลู่ลง เร่ิมส่งกลิ่นหอมแรงต้ังแต่ช่วงเย็น กลีบดอกสีขาวนวล 9-12 กลบี เม่อื บานมีเส้นผ่าศูนยก์ ลางของดอก 4-5 ซม. ผใลนมสขี กนลุ าจดำใปหี ญจำ่ทปี่สาุด ใกลโ้ รยกลีบดอกเปล่ียนเป็นสีเหลอื งออ่ น ผล เป็นผลกลุ่ม ติดอยู่บนแกนช่อผล มีผลย่อย 5-8 ผล แต่ละผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา เส้นผ่า- ศนู ยก์ ลาง 4-7 ซม. ยาว 7-8 ซม. แตกออกเปน็ 2 ซีก ดอกตูมรปู กระสวย เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี กว้าง 1.6 ซม. ยาว 1.8 ซม. หนา 4 มม. การขยายพันธ ุ์ ขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดและทาบก่ิง ควร ขยายพันธ์ุและปลูกเพ่ิมจำนวนต้นให้มากข้ึนในพ้ืนท่ี อนุรักษ์ ในพื้นท่ีระดับสูงมีอากาศหนาวเย็นจะเจริญ เตบิ โตและออกดอกไดด้ ี