Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

Published by Apple Banab, 2023-02-14 03:08:51

Description: รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

Search

Read the Text Version

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ รู้รักษ์ ๕หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผู้เรียบเรียง สุรัตนา ฮมแสน ๒๒๗ และ ภานรินทร์ สัพโส ๑๓๕

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาหลักภาษาและการใช้ ภาษาไทย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด ผู้เรียนสามารถเข้าใจการใช้ ไวยากรณ์ภาษาไทย ตั้งแต่ระดับเสียงพยางค์ คำ ประโยค ไปจนถึงการอ่านข้อความได้อย่างถูกต้อง และนำความรู้เรื่องการใช้ภาษาไทยไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่มนี้ มี ๕ บทเรียน แต่ละบทเรียนประกอบด้วยสาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ เนื้อหาครบถ้วนตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีกิจกรรมและคำถามคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน ที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และ นำไปเสริมประสบการณ์หรือปรับใช้ในชีวิตจริงได้ นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์มาพร้อมกับความหมายที่ สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนและมีการแทรกความรู้เพิ่มเติมในเนื้อหาแต่ละบทเรียนอีกด้วย คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูและผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บรรลุเป้าหมายด้านการเรียนหลักภาษาไทย และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะผู้จัดทำ

สารบัญ บทที่ ๑ คำและประโยคในภาษาไทย หน้า ๑ ๑. ความหมายของคำ ๒. ชนิดและหน้าที่ของคำ ๓ ๓. ประโยคในภาษาไทย ๖ ๔. บรรยายและพรรณนาโวหาร ๙ ๑๐ บทที่ ๒ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ๑๗ ๑. ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ๒. ภาษาถิ่นในประเทศไทย ๑๙ ๒๑ บทที่ ๓ คำราชาศัพท์ ๒๙ ๑. พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ๒. พระภิกษุสงฆ์ ๓๑ ๓. สุภาพชนทั่วไป ๓๔ ๔. คำตอบรับและคำแทนชื่อ ๓๔ ๓๕ บทที่ ๔ คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ๓๙ ๑. คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ๒. คำที่มาจากภาษาเขมร ๔๑ ๓. คำที่มาจากภาษาจีน ๔๓ ๔. คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ๔๔ ๔๕ บทที่ ๕ สำนวนไทย ๔๙ ๑. สำนวน ๒. คำพังเพย ๕๑ ๓. สุภาษิต ๕๒ ๕๔

บทที่ ๑ คำและประโยคในภาษาไทย ๑ ตัวชี้วัด ๑. อธิบายความหมายของคำ ประโยค และข้อความที่เป็นการบรรยายและพรรณนา (ท ๑.๑ ป.๕/๒) ๒. อธิบายความหมายโดยนัยจากเรื่องที่อ่านอย่างหลากหลาย (ท ๑.๑ ป.๕/๓) ๓. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค (ท ๔.๑ ป.๕/๑) ๔. จำแนกส่วนประกอบของประโยค (ท ๔.๑ ป.๕/๒) สาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาและมีความ คำและประโยคในภาษาไทย หมายคำแต่ละชนิดทำหน้าที่ต่างกันในประโยค ความหมาย ชนิด ประโยค บรรยาย ประโยค คือ ข้อความที่มีใจความครบ ของคำ และ ในภาษา และ ถ้วนประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง หน้าที่ การอ่านประโยค ข้อความที่เป็นบรรยายโวหาร ของคำ ไทย พรรณนา พรรณนาโวหาร และเรื่องราวต่าง ๆ ผู้อ่านต้อง โวหาร เข้าใจความหมายของคำทั้งโดยตรงและโดยนัย เพื่อให้ได้สาระ ความรู้และเข้าใจความหมาย

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน หิน มือหนึ่ง ใบไม้ โจมตี เก้าอี้ ไกรกรร สินบน เต่า นกขมิ้น คำใดบ้างที่มีทั้งความหมาย โดยตรงและโดยนัย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒

๑. ความหมายของคำ ๑) คำ คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาและมีความหมาย จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เช่น มะละกอ เงาะ ทองคำ ต้นไม้ เต่าตนุ เป็นต้น ๒) คำที่มีความหมายโดยตรง คำที่มีความหมายโดยตรง คือ คำที่มีความหมายแปลตามรูป หรือความหมายที่ระบุไว้ตามพจนานุกรม คำ ความหมายโดยตรง ตัวอย่างประโยค ดาว สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับบน ฉันชอบมองดาวบนท้องฟ้า ท้องฟ้าเวลากลางคืน พ่อซื้อเก้าอี้ เก้าอี้ ที่สำหรับนั่ง มีขา น้องเตะฟุตบอล พ่อพาน้องไปดูเสือที่สวนสัตว์ เตะ อาการที่ใช้เท้าเหวี่ยงไปข้างหน้า เสือ ชื่อสัตย์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปร่างคล้าย แมว เป็นสัตว์กินเนื้อ ๓) คำที่มีความหมายโดยนัย คำที่มีความหมายโดยนัย คือ คำที่มีความหมายไม่ตรงตามรูปคำ แต่มักใช้เป็นคำเปรียบเทียบ หรือเป็นสำนวน คำ ความหมายโดยนัย ตัวอย่างประโยค ดาว บุคคลที่มีความโดดเด่นในทาง ศุภนิชเป็นคนสวย เธอจึงเป็นดาว ใดทางหนึ่ง โรงเรียน เก้าอี้ ตำแหน่ง เก้าอี้สำคัญในบริษัทว่างแล้ว เตะ กลิ่นโชยมา แม่ทำแกงเลียงหอมเตะจมูก เสือ โจร อาชญากร หรือผู้ร้าย เสืออย่างนายแม้นจะไม่ยอมให้ตำรวจจับ ๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

ตัวอย่าง คำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัย คำ ความหมายโดยตรง/โดยนัย ตัวอย่างประโยค เพชร ชื่อแก้วที่แข็งที่สุด มีความแวววาว พ่อซื้อแหวนเพชร บุคคลที่มีคุณค่า เธอเป็นเพชรนำเอกของงาน เส้นใหญ่ อาหารที่ทำจากแป้ง เป็นเส้น แม่ซื้อก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ให้พ่อ ผู้มีอำนาจ บารมี พี่เจอเส้นใหญ่แบบนี้น่าจะรอดยาก เด็ด ทำให้ขาดด้วยเล็บหรือนิ้ว ห้ามเด็ดดอกไม้บริเวณนี้ รสชาติดี รสชาติอร่อย ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้น้ำซุปเด็ดมาก แข็ง ไม่อ่อน ไม่นิ่ม ขนมปังชิ้นนี้แข็งมาก ไม่มีสัมมาคารวะ เด็กคนนี้มือเเข็งเหลือเกิน เค็ม รสชาติเหมือนกับเกลือ ผู้ป่วยโรคไตต้องงดรับประทาน อาหารที่มีรสเค็ม ไม่ยอมเสียเปรียบใคร ป้าคนนี้เค็มจริง ๆ ใคร ๆ ก็ไม่ชอบ เปรี้ยว รสชาติเหมือนมะนาว แม่ปรุงส้มตำรสเปรี้ยว แปลก ล้ำสมัย ผู้หญิงคนนั้นแต่งตัวเปรี้ยวมาก รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔

คำ ความหมายโดยตรง/โดยนัย ตัวอย่างประโยค ฉีก ทำให้ขาด แยกออกจากกัน เขาฉีกกระดาษเป็นชิ้น ๆ ทำให้ได้รับความอับอาย เขาฉีกหน้าฉันกลางงานประชุม ปลาซิว ชื่อปลาน้ำจืดในประเทศไทย วันนี้แม่ทอดปลาซิวเป็นอาหาร มีใจอ่อนแอ ใจปลาซิวอย่างเธออยู่คนเดียวไม่ได้ กล้วย ชื่อไม้ล้มลุก ผลสุกเนื้อนุ่มกินได้ ตาปลูกกล้วยไว้ในสวน ง่าย การบ้านวันนี้กล้วยมากๆ ไฟเขียว สัญญาณไฟจราจร พ่อจอดรอสัญญาณไฟเขียว เห็นชอบ อนุมัติ แม่ไฟเขียวให้พวกเรานอนดึกได้ แสงตะวัน แสงของพระอาทิตย์ ฉันตื่นแต่เช้าเพื่อรอรับแสงตะวัน ความอบอุ่น ความรุ่งโรจน์ ดวงตาคู่นั้นคือแสงตะวันสำหรับฉัน ตอไม้ ซากของต้นไม้ที่ตัดโคนและราก พ่อเดินสะดุดตอไม้ในสวน อุปสรรค เขาทำงานไม่สำเร็จเพราะเจอตอไม้ ๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

๒. ชนิดและหน้าที่ของคำ ๑) คำบุพบท คำบุพบท เป็นคำซึ่งทำหน้าที่เชื่อมคำกับข้อความหรือประโยคให้ ต่อเนื่องเพื่อบอกตำแหน่ง หน้าที่ ความเป็นเจ้าของ ความประสงค์ และเวลา แบ่งได้ ดังนี้ คำบุพบทบอกตำแหน่งหรือสถานที่ อาจมีคำว่า ตรง บน ริม นอก อยู่ในประโยค เช่น พ่อจอดรถรับแม่ตรงตลาด เขาเดินบนทางเท้า แม่เก็บยอดกระถินที่ขึ้นริมรั้ว พ่อเดินออกไปนอกบ้าน คำบุพบทบอกเวลา อาจมีคำว่า จน เมื่อ ตอน ภายใน ตั้งเเต่ กระทั่ง อยู่ในประโยค เช่น น้องอ่านหนังสือและทำการบ้านจนค่ำ พี่จะกลับมาบ้านเมื่อโรงเรียนปิดภาคเรียน เขาตื่นมาตอนดึกเพราะได้ยินเสียงสุนัขเห่า นักเรียนต้องยื่นเรื่องศึกษาต่อภายในโรงเรียน น้องตื่นตั้งแต่เช้าเพราะตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวทะเล คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ อาจมีคำว่า ของ แห่ง ใน อยู่ใน ประโยค เช่น หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน สถาบันแห่งนี้ทำให้พวกเราได้มาพบกัน อิเหนาเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ - หล้านภาลัย คำบุพบทบอกความเกี่ยวข้อง อาจมีคำว่า เพื่อ โดย กับ แก่ แด่ ต่อ อยู่ในประโยค เช่น รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๖

เธอกับฉันเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดมา พนักงานเสนอผลงานต่อผู้จัดการ ฉันไปโรงเรียนโดยรถประจำทาง แม่ทำงานหนักทุกวันเพื่อเก็บเงินให้ลูกเรียน ลูกมอบของขวัญแด่พ่อ ยายทำขนมแจกให้แก่เด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ๒) คำสันธาน คำสันธาน เป็นคำเชื่อมข้อความหรือประโยคให้เป็นเนื้อความ เดียวกัน แบ่งตามลักษณะได้ ดังนี้ คำสันธานเชื่อมใจความคล้อยตามกัน จะมีคำว่า กับ ก็ และ ทั้ง เมื่อ...ก็ แล้ว...จึง พอ...ก็ อยู่ในประโยค เช่น พี่กับน้องชอบขี่จักรยาน ฉันแปรงฟันเสร็จก็อาบน้ำ พ่อและน้องไปเตะฟุตบอล พอโรงเรียนปิด พวกเราก็ไปเที่ยว เมื่อพ่อเลิกงานก็ขับรถไปรับแม่ พ่อกลับถึงบ้านแล้วแม่จึงเข้านอน คำสันธานเชื่อมใจความขัดเเย้งกัน จะมีคำว่า แต่ ส่วน แต่ว่า กว่า...ก็ ถึง...ก็ แม้...ก็ แม้ว่า...ก็ อยู่ในประโยค เช่น น้องทำการบ้านส่วนฉันอ่านหนังสือ กว่ารถประจำทางจะมาฝนก็ตกพอดี เขาไม่ชอบกินข้าวแต่ชอบกินขนม แม้ว่าเขาจะยากจนก็ไม่เคยย่อท้อต่องาน ฉันชอบเรียนภาษาไทยแต่ว่าเธอชอบเรียนภาษาจีน กว่าฝนจะหยุดตกฉันก็ไปโรงเรียนไม่ทันเข้าแถว คำสันธานเชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะมีคำว่า เพราะ...จึง เพราะ ด้วย เลย จึง ฉะนั้น ดังนั้น ด้วยเหตุนั้น ดังนั้น...จึง เช่น ๗ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

เขาไม่ชอบดื่มน้ำเลยทำให้ท้องผูก เขาถูกตำรวจจับเพราะทำผิดกฎหมาย ตาป่วยจึงไปโรงพยาบาล มะลิอ่านหนังสือทุกวันดังนั้นเธอจึงสอบได้คะแนนดี คำสันธานเชื่อมใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีคำว่า หรือ ไม่...ก็ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น หรือไม่...ก็ อยู่ในประโยค เช่น เธอจะไปทะเลหรือไปภูเขา น้องต้องอ่านหนังสือหรือไม่ก็ไปเรียนพิเศษ นักเรียนต้องเดินข้ามทางม้าลายมิฉะนั้นจะถูกรถชน แม่จะไปตลาดหรือไม่ ถ้าไม่พ่อก็ไปเอง ไม่รถไฟก็เครื่องบินที่เราจะนั่งกลับบ้าน ๓) คำอุทาน คำอุทาน เป็นคําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึก ของ ผู้พูด เมื่อเขียนต้องมีเครื่องหมาย ! (อัศเจรีย์) อยู่หลังคําอุทาน เช่น คําอุทานแสดงความดีใจ เช่น ไชโย! สีของเราได้เหรียญทองมากที่สุด คําอุทานแสดงความประหลาดใจ เช่น โอ้โฮ ! เธอสอบได้คะแนนดี คําอุทานแสดงความสงสาร เช่น โถ ! ลูกหมาตัวนั้นถูกรถทับที่ถนน คําอุทานแสดงความตกใจ เช่น อุ๊ย ! ฉันลืมกระเป๋าเงินไว้ที่บ้าน คําอุทานแสดงความเจ็บปวด เช่น โอ๊ย ! ฉันปวดท้อง เกร็ดน่ารู้ คู่หลักภาษา นอกจากคําอุทานที่ใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกแล้ว ในภาษาไทย ยังมี คําอุทานอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ! (อัศเจรีย์) กํากับ ข้างท้าย เรียกว่า คําอุทานเสริมบท ใช้เสริมคําอื่นเพื่อให้คล้องจองกัน อาจอยู่ข้างหน้า ข้างหลัง หรือกลางคําก็ได้ เช่น เธอต้องรู้จักอ่านหนังสือ หนังหาบ้าง คําว่า หนังหา เป็นคําอุทานเสริมบท ถนนเส้นนี้มีรถราวิ่งกัน ขวักไขว่ คําว่า รา เป็นค่าอุทานเสริมบท รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๘

๓. ประโยคในภาษาไทย ความหมายและส่วนประกอบของประโยค ประโยค คือ ข้อความที่มีใจความสมบูรณ์สามารถสื่อความได้ ทำให้รู้ว่าใคร ทำอะไร คิดอย่างไร เช่น ฉันไปโรงเรียน ส่วนประกอบของประโยค คือ ภาคประธานและภาคแสดง โดย ภาคประธานเป็นส่วนของผู้กระทำ เพื่อให้ทราบว่าใครหรืออะไรที่ แสดงเหตุการณ์ในประโยคส่วนภาคแสดงเป็นส่วนบอกอาการ ประโยค ประโยค ประโยค ประธาน ขยายประธาน กริยา ขยายกริยา กรรม ขยายกรรม น้องร้องไห้ น้อง ร้องไห้ น้ำไหลแรง น้ำ ไหล แรง ผึ้งดูดน้ำหวาน ผึ้ง ดูด น้ำหวาน กระรอกสีขาว สีขาว อย่าง ไต่ รวดเร็ว ต้นไม้ ใหญ่ ไต่ต้นไม้ใหญ่ กระรอก อย่างรวดเร็ว เสริมความรู้ ประโยคแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ ประโยค ๒ ส่วน และประโยค ๓ ส่วน ประโยค ๒ ส่วน คือ ประโยคที่มีภาคประธานและภาคแสดง (กริยา) จะมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ เช่น น้องหัวเราะเสียงดัง ประโยค ๓ ส่วน คือ ประโยคที่มีภาคประธานและภาคแสดง (กริยา และ กรรม) จะมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ เช่น นกกระยางจิกปลาในหนองน้ํา ๙ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

๔. บรรยายและพรรณนาโวหาร โวหาร หมายถึง การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีศิลปะ โวหารมีหลาย ประเภท ตามจุดมุ่งหมายในการเขียน เช่น บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร เทศนาโวหาร และสาธกโวหาร บรรยายโวหาร เป็นข้อความที่ให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราว อธิบายได้อย่างชัดเจนว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร และผลเป็นอย่างไร ได้แก่ การเล่าประสบการณ์ ชีวประวัติ นิทาน ตํานาน ข่าว เหตุการณ์ และบทความ เป็นต้น ตัวอย่าง ข้อความบรรยายโวหาร ในห้องสมุดมีหนังสือมากมาย มุมหนังสือใหม่อยู่ติดกับทางเข้า ปกหนังสือดู สะดุดตา มีทั้งหนังสือนิทานเล่มใหญ่ หนังสือสารานุกรมฉบับใหม่ ถัดเข้าไปด้านในมี หนังสือหลายประเภท ทั้งหนังสือเรียน ตําราอาหาร หนังสือสืบสวนสอบสวน หนังสือ วิทยาศาสตร์ หนอนหนังสืออย่างฉันคิดว่าห้องสมุดเป็นสวรรค์แห่งการอ่านที่ดีที่สุด ข้อความนี้ผู้เขียนใช้ภาษาเรียบง่ายบรรยายสถานที่คือ ห้องสมุด ให้ผู้อ่านเห็นภาพของสถานที่ไปตามลําดับ จากด้านนอกสู่ด้านใน และให้ รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือที่อยู่บนชั้น นอกจากนี้ยังบรรยายความรู้สึก เมื่อเข้าไปในห้องสมุดในฐานะผู้รักการอ่าน ผู้อ่านจะเข้าใจความหมายทั้งหมด แม้จะมีคําที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายเปรียบเทียบปรากฏในข้อความ ได้แก่ หนอนหนังสือ และ สวรรค์ แต่ผู้อ่านจะเข้าใจได้จากการอ่านคําอื่น ๆ ในข้อความ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๑๐

ตัวอย่าง ข้อความบรรยายโวหาร ( การเล่าประสบการณ์ ) เมื่ออาทิตย์ก่อนแม่หมูที่เลี้ยงไว้คลอดลูกออกมา ๓ ตัว เจ้าตัวสุดท้องออก มาอย่างกะปลกกะเปลี้ย รุ่งเช้าวันนี้เขาไปที่เล้าเพื่อจะนํากล้วยผสมรําไปให้แม่ หมูกินเหมือน เช่นทุกวัน แต่กลิ่นเน่าก็เตะจมูกก่อนเดินไปถึง เขาพบว่าหนึ่งในลูก หมู ๓ ตัว ถูกแม่หมูทับตาย ซึ่งเจ้าตัวนั้น คือ เจ้าตัวโต ส่วนอีกสองตัวรอดมาได้ เขาเป็นห่วงเจ้าตัวเล็กมากที่สุด ถ้ามันใจปลาซิว มันก็คงจะรอดยาก แม้ว่าเขาจะ คอยประคบประหงมมัน แต่แม่ของมันกลับไม่ยอมให้มันดูดนมเลย เป็นภาระของ เขาที่ต้องดูแลป้อนนมมัน งานนี้ไม่กล้วยอย่างที่คิด จากที่เคยฝันไว้ว่างานเลี้ยงหมู จะทําให้ชีวิตสุขสบายขึ้น ก็กลายเป็นว่างานเลี้ยงหมูไม่หมูเสียแล้ว ข้อความนี้ผู้เขียนใช้ภาษาเรียบง่าย เล่าประสบการณ์ที่ต้องทําหน้าที่ ดูแลลูกหมูที่แม่ของมันไม่ยอมให้ดูดนม ทำให้ผู้อ่านจะเข้าใจความหมายได้ ทั้งหมด แม้จะมีคําเปรียบเทียบปรากฏในข้อความ ได้แก่ ใจปลาซิว กล้วย และหมู ซึ่งผู้อ่านจะเข้าใจได้จากการอ่านคําอื่น ๆ ในข้อความ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร คือ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องราวที่ใช้ถ้อยคำสำนวน อันไพเราะ รำพึงรำพันถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในจินตนาการ เกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตามเหมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ส่วน ใหญ่พรรณนาเกี่ยวกับความงดงามของธรรมชาติ สถานที่ สตรี รำพันเกี่ยว กับความรู้สึก ความรัก ความชอบ ความเศร้า การสรรเสริญความดีของ บุคคล ๑๑ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

ตัวอย่าง ข้อความพรรณนาโวหาร ( สถานที่ ) เวลานั้นเย็นแล้ว แม่น้ําเจ้าพระยาอาบด้วยสีหมากสุกของยามสนธยา จะมีก็ แต่ทางตะวันออกนั้นทีจันทร์ค้างฟ้าคงลอยเด่นขาวนวล แต่ถึงกระนั้น ฟักมีความ รู้สึก ราวกับเห็นว่าดวงเดือนดวงใหม่ผุดขึ้นกระจ่างอยู่ในความสลัวของเรือนแพ พร้อมด้วยดวงตาดําขลับ....ยิ่งกว่านิลน้ํางาม โดดเด่นอยู่บนดวงหน้าละเอียดอ่อน ของหล่อนนี้ ประพันธ์โดย ว.วินิจฉัยกุล จาก รัตนโกสินทร์ ข้อความนี้ใช้พรรณนาโวหาร ทําให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการเห็นภาพ ของสองสิ่งพร้อมกัน คือ ความงดงามของแม่น้ําเจ้าพระยาในยามเย็น และ ความงดงามที่โดดเด่นของหญิงสาว คือ ดวงตา ผู้เขียนนําไปเปรียบเทียบ กับ นิล ซึ่งเป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีดํา ทําให้ผู้อ่านเห็นภาพตามได้ชัดเจน ตัวอย่าง ข้อความพรรณนาโวหาร ( เหตุการณ์ ) ทันใดนั้นก็มีเสียงแผดของหวอโหยหวนดังมาจากยอดตึกคลังออมสินเชิง สะพานพุทธยอดฟ้า เป็นเสียงแหบห้าวดังก้องฟ้าจนอากาศแทบละเอียดป่น แกรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า นี่แหละหวอเตือนภัยทางอากาศ แสดงว่าเรือ บินจะมาทิ้งระเบิดกลางวันแสก ๆ เกิดมาพึ่งเคยได้ยิน เสียงมันมีอํานาจ มีทั้งคํา สั่งและความกลัว ความหวาดเสียวรวมอยู่ทั้งหมด ทําให้สะเทือนขั้วหัวใจหวิว ๆ ทั้งหู ทั้งกรามชา ขมับเบ่งตัว แทบว่าทั้งใบหน้าจะบวมแตกตูมออกมาพร้อม ๆ กับหัวใจเต้นแรง กระหืดกระหอบ จุกขึ้นถึงคอหอย... เสียงครืนดังกว่าฟ้าผ่าฟ้าร้องดังประหลาด เพราะมันระเบิดอากาศออก ไปราวกับพระอาทิตย์อันมหึมาตกลงมาแตกกับพื้นถนน ประพันธ์โดย ว.วินิจฉัยกุล จาก รัตนโกสินทร์ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๑๒

ข้อความนี้ใช้พรรณนาโวหารถ่ายทอดภาพเหตุการณ์ของสงคราม โดย การใช้ภาษาที่ทําให้ผู้อ่านเห็นภาพและได้ยินเสียงเสมือนว่าร่วมอยู่ใน เหตุการณ์ด้วย ภาพที่ผู้อ่านได้เห็น คือ ภาพการเตรียมทิ้งระเบิดของเรือบิน หรือเครื่องบิน ภาพของคนที่หวาดกลัวจนร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองใน ลักษณะต่าง ๆ เช่น กรามชา ขมับเบ่งตัว จุกคอหอย ผู้เขียนใช้ภาษาที่ประณีต ใช้คําขยายให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และคําที่ถูกขยาย เช่น การพรรณนา เสียงสัญญาณของเครื่องบินทิ้งระเบิด ใช้คําว่า โหยหวน แหบห้าว เรียนรู้คำ จำความหมาย คำศัพท์ ความหมาย คล้อยตาม สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คำนาม คำชนิดหนึ่ง ใช้เรียก สัตว์ และสิ่งของ ต๊ะต่อนยอน เป็นภาษาไทยถิ่นเหนือที่ใช้กล่าว การกระทำที่ไม่รีบ ย้อนฮอย ย้อนรอย บอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา สรรพนาม คำที่ใช้แทนชื่อนามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ ต้องกล่าวชื่อนามนั้นซ้ำอีก เช่น เรา เขา สันธาน คำที่ใช้เชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น น้ำ ท่วมเพราะฝนตกหนัก อัศเจรีย์ เครื่องหมายวรรคตอนที่เขียนไว้หลังคำอุทาน อุทาน เสียงหรือคำเปล่งออกมาเมื่อผู้พูดเกิดความรู้สึก ๑๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

๑สรุปเนื้อหาประจำบทที่ ความหมายของคํา คํา คือ เสียงที่เปล่งออกมาและมีความ ๑ หมายเป็นที่เข้าใจตรงกันจะมีกี่พยางค์ก็ได้ ความหมายของ คํามี ๒ ลักษณะ คือ ความหมายโดยตรงและโดยนัย ซึ่งคําที่ มีความหมายโดยตรง คือ คําที่มีความหมายแปลตามรูปคํา คําที่มีความหมายโดยนัย คือ คําที่มีความหมายไม่ตรงตาม รูปคํา แต่มักใช้เป็นคําเปรียบเทียบ หรือสํานวน ๒ ชนิดและหน้าที่ของคํา คําในภาษาไทยแต่ละชนิด ทําหน้าที่ ต่างกันในประโยค การรู้จักชนิดและหน้าที่ของคําจะทําให้การ สื่อสารได้ใจความชัดเจน และผู้อ่านหรือผู้ฟังรับสารได้ตรงตาม เจตนาของผู้เขียนหรือผู้พูด ประโยคในภาษาไทย ประโยคเกิดจากการนําคําแต่ละชนิด ๓ มาเรียงเป็นข้อความที่มีใจความสมบูรณ์ ว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง จะมี ส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ บรรยายและพรรณนาโวหาร คือ การใช้ถ้อยคําอย่าง มีศิลปะ ๔ บรรยายโวหารเป็นข้อความที่ให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราว ส่วน พรรณนาโวหารเป็นข้อความที่เขียนเป็นเรื่องราวที่ใช้ถ้อย คําสํานวนอันไพเราะ รําพึงรําพันถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทําให้ผู้อ่าน เกิดภาพในจินตนาการ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๑๔

คำถามทบทวนชวนคิด ๑. คํามีลักษณะแตกต่างจากพยางค์อย่างไร ๒. คำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัยมีลักษณะต่างกันอย่างไร ๓. คํา กับ แก่ แด่ ต่อ เป็นคําชนิดใดและทําหน้าที่ใดในประโยค ๔. ส่วนประกอบของประโยคมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างพร้อมแยกแยะ ส่วนประกอบ ๕. ประโยค ๒ ส่วน และประโยค ๓ ส่วน มีลักษณะอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ คำถามทบทวนชวนคิด กิจกรรม ครอบครัวแสนสุข สนุกกับประโยค ให้นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้คํา ๓ คํา ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก เป็น ประธานในประโยค ๒ ส่วน และ ๓ ส่วน ชนิดละ ๓ ประโยค เช่น พ่อ ร้องเพลง แม่หัวเราะ ลูกวิ่งเล่น พ่อกินข้าว แม่อาบน้ําให้สุนัข ลูกดื่มนม พ่อ แม่ ลูก ๑๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

กิจกรรมเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมที่ ๑ คำสร้างสรรค์ประโยค ๑. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนตามความสมัครใจ จากนั้นให้ร่วมกัน ทำการศึกษา เกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของคําที่สนใจจากจํานวน ๓ ชนิดในหนังสือเรียนร่วมกันแต่งประโยคเพื่อวิเคราะห์ว่าชนิดของคํา ที่เลือกทําหน้าที่ใดในประโยค นําเสนอหน้าชั้นเรียน ๒. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๓ คน ร่วมกันรวบรวมคําที่มีความ หมายโดยตรงและโดยนัย จํานวน ๑๐ คํา นํามาแต่งประโยคนําเสนอ เป็นใบงานส่งครู กิจกรรมที่ ๒ ศึกษาคำ จำความหมาย ง่ายสื่อสาร ให้นักเรียนหาข้อความบรรยายและพรรณนาโวหารอย่างละ ๑ ข้อความ มีความยาว ๗ - ๑๐ บรรทัด เขียนอธิบายว่าเหตุใด ข้อความที่เลือกจึงเป็น บรรยายโวหารและพรรณนาโวหาร แล้วนํา ไปติดป้ายนิเทศ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๑๖

บทที่ ๒ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ๒ ตัวชี้วัด เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น ( ท ๔.๑ ป.๕/๓ ) สาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยมาตรฐานใช้เป็นภาษาทางการ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น และภาษาราชการ แต่ในภูมิภาคยังมีการใช้ ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษา ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาถิ่น ไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทย และภาษาถิ่น ในประเทศไทย ถิ่นกลาง เพื่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่นจะทำให้เข้าใจ ความแตกต่างทางภาษา และสามารถสื่อสาร กับบุคคลในภูมิภาคอื่นได้เข้าใจ

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน อู้ เว้า พูด แหลง ลำ แซ่บ อร่อย หรอย ผ่อ เบิ่ง ดู แล คำใแดลเปะ็นคำภใาดษเาป็ไนทภยามษาาตถิร่นฐาน รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๑๘

๑. ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ๑) ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้เพื่อการติดต่อราชการ การศึกษาและการสื่อสาร โดยถือว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ ฯ เป็นภาษาไทยมาตรฐาน แบ่งตามรูปแบบการสื่อสารได้ ดังนี้ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาพูด ใช้ติดต่อสื่อสารกับ ภาษาเขียน ใช้สำหรับสื่อสาร บุคคลทั่วไป บุคคลที่สนิทใกล้ชิด อย่างเป็นทางการ และเคร่งครัดเรื่อง ภาษาพูดไม่เคร่งครัดเรื่องหลัก หลักภาษา เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนรายงานเชิงวิชาการ การ ภาษาแต่จะต้องใช้ให้ถูกต้อง เขียนบทความ การเขียนประกาศ เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสใน การสื่อสาร ภาษาพูด ภาษาเขียน ทวดตายไปนานแล้ว คุณทวดเสียชีวิตไปนานแล้ว เมื่อไหร่พ่อจะกลับบ้าน พ่อจะกลับบ้านเมื่อใด นักเรียนกินข้าวกลางวัน นักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน ฉันกินน้ำทุกเช้าหลังตื่นนอน ฉันดื่มน้ำทุกเช้าหลังตื่นนอน ปิดเทอมหนึ่งฉันจะไปหาตา ปิดภาคการศึกษาที่๑ ฉันจะไปเยี่ยมตา น้องอ้วกเพราะเมารถ น้องอาเจียนเพราะเมารถ ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้น้ำซุปแซ่บมาก ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้น้ำซุปอร่อยมาก ๑๙ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

ภาษาพูด ภาษาเขียน โรงพยาบาลรองรับคนป่วยจำนวนมาก โรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก เขาทำผลงานได้เจ๋งมาก เขาทำผลงานได้ยอดเยี่ยม พ่อขับรถเครื่องไปตลาด พ่อขับรถจักรยานยนต์ไปตลาด ก่อนส่งจดหมายต้องติดเเสตมป์ ก่อนส่งจดหมายต้องผนึกดวงตรา ไปรษณียากร ฉันกำลังยืนรอรถเมล์ ฉันกำลังยืนรอรถประจำทาง เธอกำลังไปฝากเงินที่แบงก์ เธอกำลังไปฝากเงินที่ธนาคาร วันนี้ฉันจะไปดูหนัง วันนี้ฉันจะไปชมภาพยนตร์ แม่พาตาไปหาหมอ แม่พาตาไปพบแพทย์ ๒) ภาษาถิ่น ในประเทศไทยแต่ละภาคหรือแต่ละท้องถิ่นมีภาษาที่ใช้สื่อสารกัน เฉพาะ เรียกว่า ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทยถิ่นกลาง ลักษณะสำคัญของภาษาถิ่น คือ ใช้สื่อสารกันเฉพาะในท้องถิ่น มีสำเนียงภาษาที่แตกต่างจากภาษาไทย มาตรฐาน การเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นมีประโยชน์มาก คือ ทำให้ทราบว่าภาษาที่ ใช้สื่อสารมีความหลากหลาย เมื่อต้องการสื่อสารกับบุคคลต่างถิ่นจะ ทำให้เข้าใจความหมายถูกต้อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รู้จักการ ยอมรับความแตกต่างทางภาษาและช่วยอนุรักษ์ภาษาถิ่นไม่ให้สูญหาย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒๐

๒. ภาษาถิ่นในประเทศไทย ๑) ภาษาไทยถิ่นเหนือ ใช้พูดสื่อสารกันในจังหวัดภาคเหนือ ชาวไทยภาคเหนือเรียกว่า คน เมือง หากคนไทยพูดภาษาถิ่นเหนือ เรียกว่า อู้กำเมือง ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ ร่ม จ้อง บ้าน เฮือน มะรุม มีดยับ กระท้อน บะค้อนก้อม กรรไกร ผ้าตุ้ม ฟักทอง บะตื๋น ผ้าเช็ดตัว ก้วยอ่อง ทัพพี กล้วยน้ำหว้า ฮวก ผักกระเฉด บะฟักแก้ว ตะเกียบ ขี้จุ๊ สาลี ป้าก ลูกอ๊อด ฮาก กระทะ ผักหนอง โกหก ลำ กิ้งกือ อาเจียน อู้ ไม้ถู่ อร่อย โขด ฝ้ายยวง พูด หม้อขาง โกรธ แมงแสนตี๋น ๒) ภาษาไทยถิ่นอีสาน ใช้พูดเพื่อสื่อสารกันในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพูด ภาษาไทยถิ่นอีสานเรียกว่า เว้าลาว ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน ช้อน บ่วง ดวงอาทิตย์ ตะเวน น้อยหน่า หมากเขียบ ดวงจันทร์ อีเกิ้ง หมากสีดา กะลา กะโป๋ ฝรั่ง ๒๑ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน มะละกอ หมากหุ่ง รองเท้า เกิบ ปลาช่อน ปลาข่อ ไส้เดือน ขี้กะเดียน ปลาหมอ ปลาเข็ง แก้วน้ำ จอกน้ำ ผักขา ก่อไฟ ชะอม ผักอีตู่ ดังไฟ ใบแมงลัก ผักอีเลิด โมโห สูน ใบชะพลู เปรี้ยว ส้ม โอ อร่อย แซ่บ ขันน้ำ ๓) ภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้พูดเพื่อสื่อสารกันในจังหวัดภาคใต้ การพูดภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า เเหลงใต้ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นใต้ ตะหลิว เจี้ยนทิ กลับ หลบ ฝรั่ง ชมพู่ ย่าหมู รีบ แขบ ปิ่ นโต บ้าน เริน ชั้น กัด ขบ กระถิน ตอเทศ ขมิ้น ขี้หมิ้น แตงโม แตงจีน พูด แหลง พริกขี้หนู ลูกแผ็ด ดีปลี น้ำพริก น้ำชุบ หยิก กะละมัง โคม ไล่ หวังเหวิด รถจักรยาน รถถีบ เป็นห่วง แหล็กโคน ตะปู ๔) ภาษาไทยถิ่นกลาง ใช้พูดเพื่อสื่อสารกันในจังหวัดภาคกลาง มีการเรียกชื่อสิ่งของแตก ต่างกันไปแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดลพบุรี เรียก ทอดมัน ว่า ปลาเห็ด รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒๒

ความแตกต่างของภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น ๑) เสียง พยัญชนะ สระ และวรรรยุกต์ของภาษาถิ่นออกเสียงแตกต่าง กับภาษาไทยมาตรฐาน เช่น หน่วยเสียง ท ไม่มีในภาษาไทยถิ่นเหนือ การออกเสียงคำที่มี ท เป็นพยัญชนะต้น จึงออกเสียงเป็นพยัญชนะ ต เช่นคำว่า ทาง ออกเสียงเป็น ตาง แท้ ออกเสียงเป็น แต๊ หน่วยเสียง ช ไม่มีในภาษาไทยถิ่นเหนือ การออกเสียงคำที่มี ช เป็นพยัญชนะต้น จึงออกเสียงเป็นพยัญชนะ จ เช่นคำว่า ช้อน ออกเสียงเป็น จ๊อน เช่น ออกเสียงเป็น เจ้น หน่วยเสียง ช ไม่มีในภาษาไทยถิ่นอีสาน การออกเสียงคำที่มี ช เป็นพยัญชนะต้น จึงออกเสียงเป็นพยัญชนะ ซ เช่นคำว่า ช้าง ออกเสียงเป็น ซ่าง ช่วย ออกเสียงเป็น ซอย หน่วยเสียง ง ไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้ การออกเสียงคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น จึงออกเสียงเป็นพยัญชนะ ฮ เช่นคำว่า เงิน ออก เสียงเป็น เฮิน งาน ออกเสียงเป็น ฮาน ๒๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

๒) การใช้คำ คำที่มีความหมายเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกัน เช่น ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ มาตรฐาน กระเทียม หอมขาว กระเทียม หัวเทียม กิ้งก่า จั๊กก่า กะปอม กิ้งก่า โกรธ หวิบ เคียด โขด โกหก ขี้จุ๊ ขี้ตั๋ว ขี้ฮก ข้าวโพด เข้าโพด เข่าโพด คง เข็มขัด สายฮ้าง เข็มขัด สายรัด ค้างคาว บึ่ง อีเกีย ค้างคาว จิ้กจก จั๊กกิ้ม ขี้เกียม จิ้งจ๊อก จิ้งหรีด จิ้งหีด จิ้งโกร่ง จังหรีด ชะอม ผักหละ ผักขา ยอดอม ดู ผ่อ เบิ่ง แล เดิน เตียว ย่าง เดิน ตลาด กาด ลาด หลาด ตะไคร้ จั๋กไค หัวสีไค ไคร ตุ๊กแก ต๊กโต กั๊บแก้ ตุ๊กแก น้อยหน่า บะแน หมากเขียบ น้อยหน่า บัวบก ผักหนอก หมากบก ผักแว่น ฝรั่ง บะแกว หมากสีดา ชมพู่ พรุ่งนี้ วันพูก มื่ออื๊น ต่อโผลก พูด อู้ เว้า แหลง ฟักทอง บะฟักแก้ว หมากอึ น้ำเต้า รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒๔

ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ มาตรฐาน บะเขือส้ม หมากเขือส้ม เขือเทศ มะเขือเทศ บะก้วยเต้ด หมากหุ่ง ลอกอ มะละกอ หนหวย ล่ำคาน รำคาญ ลำคาน หมากมุด สวา หละมุด ฮวก ลูกลวก ละมุด อีฮวก แล้น แหล่น ลูกอ๊อด กินเทียน แส้แหน ล่น หมากนัด ยานัด วิ่ง หอมด่วน แซ่บ หรอย สะระแหน่ บะขะนัด โดน นาน สับปะรด ลำ อร่อย เมิน นาน คำเดียวกัน ใช้ในความหมายต่างกัน เช่น คำว่า เอ็นดู ในภาษาไทย ถิ่นใต้ หมายถึง สงสาร แต่ในภาษาไทยมาตรฐาน หมายถึง รักใคร่ ปราณี หรือคำว่า แว่น ในภาษาไทยถิ่นอีสานใช้เรียก กระจก แต่ในภาษาไทย มาตรฐานอาจหมายถึง แว่นตา ในประโยค พี่ชายของฉันคือคนที่ใส่แว่น หรือาจใช้เป็นคำลักษณนามในประโยค แม่หั่นมะเขือเทศเป็นแว่น ๆ ๒๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

เกร็ดน่ารู้ คู่หลักภาษา สรรพนามที่ใช้กันเฉพาะในท้องถิ่นแต่ละภาคจะคำนึงถึงเพศ ความสนิทสนม ของคู่สนทนา และโอกาสในการสื่อสาร เช่น สรรพนาม ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น ภาษาไทยถิ่น ภาษาไทยถิ่น บุรุษที่ ๑ มาตรฐาน เหนือ อีสาน ใต้ ฉัน เรา เฮา ข้อย ฉัน บุรุษที่ ๑ เธอ คุณ ตั๋ว โต เธอ บุรุษที่ ๑ เขา เปิ้ น เพิ่น เขา เรียนรู้คำ จำความหมาย คำศัพท์ ความหมาย ท้องถิ่น ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉาะ ภูมิภาค การแบ่งพื้นที่ของประเทศออกเป็นส่วนตามจุดมุ่ง หมาย เช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของไทย มี ๖ ภูมิภาค ระบบเสียง ในภาษาไทยมีระบบเสียง ๓ ชนิด ได้แก่ เสียง พยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ สำเนียง เสียง หรือวิธีการออกเสียงถ้อยคำของผู้พูด อนุรักษ์ รักษาให้คงอยู่ด้วยวิธีการ เช่น ศึกษา เรียนรู้ สืบทอด รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒๖

๒สรุปเนื้อหาประจำบทที่ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ภาษาไทยมาตรฐานเป็น ๑ ภาษากลางเพื่อให้คนไทยทั่วภูมิภาคใช้สื่อสารเป็นภาษา ราชการและภาษามาตรฐาน ขณะที่ภาษาถิ่น คือ ภาษาที่ใช้ สื่อสารเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น การศึกษาเรียนรู้และใช้ภาษา ถิ่นให้ถูกต้อง เป็นการอนุกรักษ์ภาษาและวัฒนธรรม ๒ ภาษาถิ่นในประเทศไทย ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษา ไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาถิ่นมีเสียงและการ ใช้ถ้อยคำที่แตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน คำที่มีความ หมายถึงสิ่งเดียวกัน แต่มีคำเรียกต่างกัน คำถามทบทวนชวนคิด ๑. ภาษาไทยมาตรฐานมีลักษณะอย่างไร ๒. ภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐานแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง ๓. ภาษาถิ่นในประเทศไทยแบ่งได้กี่ภูมิภาค ภาคใดบ้าง ๔. ถ้านักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่นจะสื่อสารกับคนในท้องถิ่นได้ เข้าใจหรือไม่ เพราะเหตุใด ๕. คำว่า เงิน ในภาษาไทยถิ่นใต้ออกเสียงว่าอย่างไร แสดงให้เห็นความ แตกต่างในเรื่องใดของภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน ๒๗ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

กิจกรรมเสริม เพิ่มการเรียนรู้ กิจกรรม ภาษาไทยมาตรฐาน เขียนได้ ใช้เหมาะ ให้นักเรียนอ่านประโยคที่เป็นภาษาพูด และเปลี่ยนเป็นภาษา เขียนโดยใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยมาตรฐาน ประโยคภาษาเขียน เขาเป็นคนอืดอาด วันนี้ที่โรงหนังมีคนเพียบ ตำรวจให้เสียค่าปรับที่โรงพัก รถคันนี้ใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่ม ฉันชอบดูการ์ตูนทีวี กิจกรรมเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมที่ ค้นหา ภาษาถิ่น ๑. แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความเหมาะสม ส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก หมวดคำศัพท์ที่ต้องสืบค้นร่วมกัน ได้แก่ หมวดคำนามที่ใช้เรียกผลไม้ หมวดคำนามที่ใช้เรียกสัตว์ หมวดคำนามที่ใช้เรียกสิ่งของ ๒. ร่วมกันค้นหาคำศัพท์ภาษาถิ่นแต่ละภูมิภาค จากหมวดที่กลุ่มจับ ฉลากได้ ภายในเวลา ๒๐ นาที กลุ่มใดรวบรวมได้ถูกต้องมากที่สุด รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๒๘

บทที่ ๓ คำราชาศัพท์ ๓ ตัวชี้วัด ใช้คำราชาศัพท์ ( ท ๔.๑ ป.๕/๔ ) สาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้กับพระ คำราชาศัพท์ มหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระ ภิกษุสงฆ์และคำสุภาพใช้กับสุภาพชน พระมหา- คำตอบรับ ทั่วไป กษัตริย์และ และคำ พระบรม- แทนชื่อ วงศานุวงศ์ พระภิกษุ สุภาพชน สงฆ์ ทั่วไป

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน พระเกศา พระเศียร พระนลาฏ พระขนง พระเนตร พระปราง พระกรรณ พระโอษฐ์ พระทนต์ พระหนุ นักเรียนคชำ่วรยากชันาศบัพอทก์คต่ำอสไปามนีั้ญของ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๐

คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชนทั่วไป คำราชาศัพท์ แตกต่างกันตามสถานะของบุคคล ดังนี้ ๑. พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระ มหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แบ่งได้เป็นหมวดคำนามและหมวด คำกริยา ดังนี้ ๑) หมวดคำนาม แบ่งได้ดังนี้ คำราชาศัพท์เกี่ยวกับร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) เช่น คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ เส้นผม เส้นพระเกศา ใบหน้า พระพักตร์ ศีรษะ พระเศียร แขน พระพาหา หน้าผาก พระนลาฎ ข้อมือ ข้่อพระกร หู พระกรรณ มือ พระหัตถ์ คิ้ว พระขนง นิ้วมือ นิ้วพระหัตถ์ ดวงตา พระจักษุ นม พระถัน แก้ม พระปราง ท้อง พระอุทร จมูก พระนาสิก สะดือ พระนาภี ปาก พระโอษฐ์ หน้าอก พระอุระ ฟัน พระทนต์ ขา พระเพลา ลิ้น พระชิวหา แข้ง พระชงฆ์ คอ พระศอ ข้อเท้า ข้อพระบาท ไหล่บ่า พระอังสา เท้า พระบาท เลือด พระโลหิต เอว บั้นพระองค์ หัวใจ พระหทัย ปอด พระปัปผาสะ ๓๑ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๑

คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ เหงื่อ พระเสโท ไต พระวักกะ กระดูก พระอัฐิ ขน พระโลมา น้ำลาย พระเขฬะ รักแร้ พระกัจฉะ คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ เช่น คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ มุ้ง พระวิสูตร หมอน พระเขนย ประตู พระทวาร หน้าต่าง พระบัญชร ช้อน ฉลองพระหัตถ์ รองเท้า รองพระบาท ส้อม ฉลองพระหัตถ์ส้อม แก้วน้ำ แก้วน้ำเสวย หวี พระสาง มีดโกน พระแสงกรรบิด ผ้าเช็ดตัว ผ้าซับพระองค์ กระจก พระฉาย แว่นตา ฉลองพระเนตร บุหรี่ พระโอสถมวน เตียงนอน พระแท่นบรรทม ยา พระโอสถ บ้าน พระบรมมหาราชวัง แหวน พระธำมรงค์ จดหมาย พระราชหัตถ์เลขา หมวก พระมาลา ที่นั่ง พระราชอาสน์ ไม้เท้า ธารพระกร ผ้านุ่ง พระภูษา สร้อยคอ สร้อยพระศอ ร่ม พระกลด ผ้าเช็ดหน้า ผ้าซับพระพักตร์ คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับเครือญาติ (พระบรมวงศานุวงศ์) เช่น คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ ปู่ / ตา พระอัยกา พี่ชาย พระเชษฐา พระปิตามหะ ย่า /ยาย พระอัยยิกา พี่สาว พระเชษฐภคินี พระมาตามหา พ่อ พระชนก พระบิดา น้องชาย พระอนุชา แม่ พระชนนี น้องสาว พระกนิษฐภคินี รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๒

คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ น้า พระมาตุลา ลูกชาย พระราชโอรส พระมาตุจฉา ลุง พระปิตุลา ลูกสาว พระราชธิดา ป้า พระปิตุแา หลาน พระราชนัดดา พระปิตุลานี พระนัดดา คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับเครือญาติ (พระบรมวงศานุวงศ์) เช่น คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำที่ไม่ใช้ “ทรง” บวช ผนวช บอก กราบบังคมทูล- นอน บรรทม พระกรุณา ยิ้ม แย้มพระโอษฐ์ ให้ พระราชทาน สอน มีพระบรมราโชวาท มอง ดู ทอดพระเนตร ลงลายมือ ลงพระปรมาภิไธย รับประทาน เสวย ไปเที่ยว เสด็จประพาส อยากได้ ต้องพระราชประสงค์ โกรธ กริ้ว แต่งตัว แต่งพระองค์ เสียชีวิต สวรรคต พูด พระราชดำรัส ไหว้ ถวายบังคม ไป เสด็จ คำที่ใช้ “ทรง” ร้องไห้ ทรงพระกรรแสง ขี่ม้า ทรงม้า หัวเราะ ทรงพระสรวล ขี่ช้าง ทรงช้าง ทักทาย ทรงเรือใบ ทรงพระราชปฏิสันถาร เล่นเรือใบ คิด ทรงพระราชดำริ ไอ ทรงพระกาสะ ฝัน ทรงพระสุบิน จาม ทรงพระปินาสะ สั่ง ทรงรับสั่ง นั่ง ทรงประทับ ทรงยืน ป่วย ทรงพระประชวร ยืน ๓๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

เสริมความรู้ คำว่า ทรง จะใช้นำหน้าคำกริยาธรรมดา เพื่อทำให้เป็นราชาศัพท์ซึ่งจะไม่ใช้นำหน้าคำกริยาที่เป็นคำ ราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น กริ้ว จะไม่ใช้ว่า ทรงกริ้ว เพราะ “กริ้ว” เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ๒. พระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ เเบ่งเป็นหมวด คำนามและคำกริยา ดังนี้ ๑) หมวดคำนาม เช่น คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ เงิน ปัจจัย อาหาร ภัตตาหาร เรือนพัก กุฏิ ยา ศิลานเภสัช คำเรียกบิดามารดา โยม จดหมาย ลิขิต เครื่องนุ่มห่ม จีวร คำสามัญ คำราชาศัพท์ โกนผม ปลงผม ที่นั่ง อาสนะ อาบน้ำ สรงน้ำ มอบให้ ถวาย ๒) หมวดคำกริยา เช่น ไปส้วม ไปถาน บวชพระ อุปสมบท คำสามัญ คำราชาศัพท์ ไหว้ นมัสการ รับประทาน ฉัน นอน จำวัด สวดมนต์ ทำวัตร ป่วย อาพาธ เชิญ นิมนต์ ตาย มรณภาพ ๓. สุภาพชนทั่วไป คำสุภาพ คือ คำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไปแบ่งได้เป็นหมวดสัตว์ หมวดพืช และหมวดอาหาร ดังนี้ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๔

๑) หมวดสัตว์ เช่น คำสามัญ คำสุภาพ คำสามัญ คำสุภาพ หมา สุนัข ปลาช่อน ปลาหาง แมว วิฬาร์ หมู สุกร ปลาสลิด ปลาใบไม้ วัว โค ปลาไหล ปลายาว คำสามัญ คำสุภาพ ฟักทอง ฟักเหลือง ไส้เดือน รากเดือน ถั่วงอก ถั่วเพาะ พริกขี้หนู พริกเม็ดเล็ก ๒) หมวดพืช เช่น แตงโม ผลอุลิด คำสามัญ คำสุภาพ คำสามัญ คำสุภาพ ผักกระเฉด ผักรู้นอน ขนมใส่ไส้ ขนมสอดไส้ ขนมขี้หนู ขนมทราย ผักตบ ผักสาวหาว กล้วยบวชชี นารีจำศีล ดอกซ่อนชู้ ผักทอดยอด ขนมจีน ขนมเส้น กล้วยไข่ กล้วยกระ ๓) หมวดอาหาร เช่น คำสามัญ คำสุภาพ ปลาร้า ปลามัจฉะ กะปิ เยื่อเคย ขนมเทียน ขนมบัวสาว ขนมตาล ขนมทองฟู ๔. คำตอบรับและคำแทนชื่อ คำตอบรับและคำแทนชื่อ แบ่งได้ดังนี้ ๑) คำตอบรับ (ค่ะ ครับ) เช่น ผู้ใช้ ใช้กับ คำตอบรับ บุคคลทั่วไป (ชาย/หญิง) พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า พระพุทธ เจ้าข้า-ขอรับ พระพุทธเจ้า ๓๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ข้าขอรับใส่เกล้าใส่ กระหม่อม

ผู้ใช้ ใช้กับ คำตอบรับ บุคคลทั่วไป หม่อมเจ้า (ชาย)กระหม่อม ขอรับ บุคคลทั่วไป พระสงฆ์ และผู้ใหญ่ (หญิง)เพคะ เจ้าค่ะ ค่ะ ๒) คำแทนชื่อ เช่น ผู้พูด พูดกับ/ใช้ คำแทนชื่อผู้พูด คำแทนชื่อ คำแทนชื่อ (สรรพนามบรุษที่ ๑) ผู้ที่พูดด้วย ผู้ที่กล่าวถึง (สรรพนามบรุษที่ ๑) (สรรพนามบรุษที่ ๑) บุคคลทั่วไป พระมหากษัตริย์ ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละอองธุลี- พระองค์ พระราชินี พระบาท บุคคลทั่วไป สมเด็จพระบรม- ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละออง- พระองค์ วงศ์เธอ พระบาท บุคคลทั่วไป สมเด็จเจ้าฟ้า ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าพระบาท พระองค์ บุคคลทั่วไป พระวรวงศ์เธอ เกล้ากระหม่อม (ช) ฝ่าพระบาท พระองค์ (ช) พระองค์เจ้า เกล้ากระหม่อมฉัน(ญ) พระองค์หญิง (ญ) บุคคลทั่วไป หม่อมเจ้า กระหม่อม (ช) ฝ่าพระบาท ท่านหญิง กระหม่อมฉัน(ญ) ท่านชาย บุคคลทั่วไป สมเด็จพระสังฆราช เกล้ากระหม่อม (ช) ฝ่าพระบาท พระองค์ เกล้ากระหม่อมฉัน(ญ) ท่าน บุคคลทั่วไป พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ผม ดิฉัน ท่าน ท่าน บุคคลทั่วไป ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าพเจ้า ท่าน ท่าน กระผม ผม ดิฉัน ฉัน พระสงฆ์ สุภาพชนทั่วไป อาตมา โยม สีกา ท่าน ผู้อาวุโส พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ อาตมภาพ มหาบพิตร พระองค์ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๖

เรียนรู้คำ จำความหมาย คำศัพท์ ความหมาย ภิกษุ ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา สถานะ ความเป็นไป ความเป็นอยู่ สามัญ ปกติ ธรรมดา ๓สรุปเนื้อหาประจำบทที่ ๑ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ คำราชาศัพท์ที่ใช้ กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แบ่งเป็นหมวด คำนาม ได้แก่ คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย เครื่องใช้ เครือญาติ และหมวดคำกริยา ๒ พระภิกษุสงฆ์ คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ แบ่งเป็น หมวดคำนาม และหมวดคำกริยา ๓ สุภาพชนทั่วไป คำราชาศัพท์ที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป แบ่งเป็น หมวดสัตว์ หมวดพืช และหมวดอาหาร คำตอบรับและคำแทนชื่อ แบ่งเป็นหมวดคำตอบรับที่บุคคลทั่วไป ๔ ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมเจ้า พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ และหมวดคำแทนชื่อ ผู้พูด(สรรพนามบุรุษที่ ๑) ใช้กับผู้ที่ พูดด้วย(สรรพนามบุรุษที่ ๒) และผู้ที่กล่าวถึง(สรรพนามบุรุษที่ ๓) ๓๗ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

คำถามทบทวนชวนคิด ๑.คำราชาศัพท์เป็นคำที่ใช้กับบุคคลกลุ่มใดบ้าง ๒.นักเรียนใช้คำสุภาพคำใดบ้างในชีวิตประจำวัน จงยกตัวย่างมา ๓ ประโยค ๓.หากต้องการใช้คำว่า \"ทรง\" เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ ต้องใช้อย่างไร ๔.\"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา\" ข้อความนี้ มีคำใดเป็นคำราชาศัพท์บ้าง ๕.หากนักเรียนสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ นักเรียนควรใช้คำแทนตนเองว่าอย่างไร และเรียกคำแทนพระภิกษุสงฆ์ว่าอย่างไร กิจกรรมเสริม เพิ่มการเรียนรู้ กิจกรรม คำสามัญสู่ราชาศัพท์ ให้นักเรียนเขียนคำสามัญตามคำบอก ๑๐ คำ แล้วเขียนคำ ราชาศัพท์ของคำนั้น ๆ ให้ถูกต้อง ลงในใบงานที่ครูแจกให้ กิจกรรมเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมที่ ป้ายนิเทศคำราชาศัพท์ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม แล้วช่วยกันจัดป้ายนิเทศ เรื่องคำราชาศัพท์ โดยจัดแสดงป้ายนิเทศกลุ่มละ ๑ สัปดาห์ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๓๘

บทที่ ๔ คำและประโยคในภาษาไทย ๔ ตัวชี้วัด บอกคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (ท ๔.๑ ป.๕/๕) สาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ เมื่อคนชาติไทยติดต่อสัมพันธ์กับชาติอื่น คำและประโยคในภาษาไทย หรือคนชาติอื่นติดต่อสัมพันธ์กับคนชาติไทย จึงเป็นสาเหตุให้คำในภาษาต่างประเทศเข้ามา คำที่มาจาก คำที่มาจาก คำที่มาจาก คำที่มาจาก ปะปนใช้ในภาษาไทย จนกลายเป็นคำไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ที่มาจากภาษาต่างประเทศ ได้แก่ คำที่มาจาก และภาษา ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำที่มาจาก สันสกฤต ภาษาเขมร คำที่มาจากภาษาจีน คำที่มาจาก ภาษาอังกฤษ และคำที่มาจากภาษาอื่น ๆ

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน เฮง เผชิญ สตรี กราฟ ฟุตบอล คำเหล่าภนาี้เษป็านใคดำบ้ทาี่มง าจาก รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔๐

๑. คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ภาษาบาลีและสันสกฤต แต่เดิมใช้อยู่ในประเทศอินเดีย เมื่อชนชาติ อินเดียเผยแผ่ศาสนาทั้งศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และพระพุทธศาสนา รวมทั้งวัฒนธรรมด้านวรรณคดีมาสู่ดินแดนไทย ทำให้คำภาษาบาลีและ ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนใช้ในภาษาไทย ๑) การสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี มีวิธีการ ดังนี้ สังเกตจากตัวสะกดตัวตามที่มีข้อกำหนดแน่นอนตามวรรค ดังนี้ แถวที่ ๑๒ ๓ ๔ ๕ วรรคกะ กข ค ฆ ง วรรคจะ จฉ ช ฌญ วรรคฏะ ฏฐ ฑ ฒณ วรรคตะ ตถ ท ธ น วรรคปะ ปผ พ ภ ม เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ -ํ (อ่านว่า อัง) - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกด ตัวตาม (คือตัวที่ตามหลังตัว สะกด) จะเป็นพยัญชนะแถวที่ ๑ หรือแถวที่ ๒ ซึ่งอยู่ในวรรคเดียวกัน เช่น จักขุ มัจฉา ปัจจัย อนิจจา มัจจุราช สัจจะ เมตตา บุปผา - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด ตัวตามจะเป็นพยัญชนะแถว ที่ ๓ และ ๔ หรือ เช่น อัคคี สามัคคี บุคคล ทัพพี นิพพาน พุทธ พยัคฆ์ - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกด ตัวตามจะเป็นพยัญชนะทุก ตัวในวรรคดีเดียวกัน เช่น กตัญญู ปัญญา สัญญาณ สงฆ์ ธุดงค์ สัมผัส สัมพันธ์ สมการ ๔๑ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

สังเกตจากสระ มี ๘ เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เช่น กรุณา อายุ โอวาท คารวะ สนุ ัข สังเกตจากพยัญชนะ ฬ เช่น จุฬา วิฬาร์ นาฬิกา กีฬา สังเกตจากคำว่า ริ เช่น ภริยา สิริ ริปู ๒) การสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต มีวิธีการ ดังนี้ ษศ สังเกตจากคำที่มีพยัญชนะที่เพิ่มจากภาษาบาลี ได้แก่ ศ ษ เช่น ศีรษะ เศรษฐี ศษิ ย์ ศาสตรา เพศ ภิกษุ มนุษย์ ศลิ ปะ กษตั ริย์ ศกึ ษา ปริศนา พิทักษ์ ฑ สังเกตจากคำที่มีพยัญชนะ ฑ เช่น กรีฑา ครุฑ จุฑา เคราะห์ สังเกตจากคำที่มีคำว่า เคราะห์ เช่น สังเคราะห์ อนุเคราะห์ วิเคราะห์ ฦ เอ สังเกตจากคำที่มีสระ ๑๔ เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฤ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น โฆษก ไตร ฤกษ์ รร สังเกตจากคำที่มี รร (ร หัน) เช่น พรรษา กรรม ครรภ์ บรรพต วรรค อัศจรรย์ ภรรยา ควบกล้ำ สังเกตจากคำที่มีตัวสะกด ๒ ตัว ที่เป็นตัวควบกล้ำ เช่น บุตร สมัคร มิตร จันทร์ ศาสตร์ โคตร เกษตร รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔๒

๒. คำที่มาจากภาษาเขมร ชาวเขมรได้เข้ามาติดต่อกับประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครองและวัฒนธรรม ทำให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนใช้ในภาษาไทย จำนวนมาก การสังเกตคำที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีการ ดังนี้ สังเกตจากคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นตัวควบกล้ำ เช่น ตรสั ขลงั โปรด สังเกตจากคำอักษรนำ เช่น ถนอม ถนน จรัส ขนาบ สงบ สังเกตจากคำที่มีตัวสะกดเป็น จ ญ ร ล ส เช่น เผด็จ บังเอิญ เจริญ ขจร ดล สัมผัส สังเกตจากคำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน และ บำ ดำ กำ จำ สำ นำหน้า เช่น บังเกิด บังอาจ บันดาล บันลือ บำเพ็ญ บำเหน็จ บำนาญ ดำเนิน ดำรัส กำหนด จำแนก สำราญ สังเกตจากคำที่ขึ้นต้นด้วย ข และ ผ แต่ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น ขจี ขจัด ขจาย ผกา เผอิญ ผสม ผสาน สังเกตจากคำที่เป็นราชาศัพท์ เช่น เขนย ตรัส ทูล บรรทม เสด็จ เสริมความรู้ คำที่มาจากภาษาเขมรปะปนใช้ในภาษาไทยในหมวดคำต่าง ๆ เช่น หมวด ศาสนา คำว่า สรง (อาบน้ำ รดน้ำ) สบง (ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร) จังหัน (ข้าว อาหารที่ถวายแก่พระสงฆ์) หมวดอาชีพ คำว่า ตรวจ (เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ ตรวจตรา รักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย) หมวด เครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ คำว่า เขนย (หมอนหนุน ราชาศัพท์ ใช้ว่า พระเขนย) กระเชอ (ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็กแต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง) ๔๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

๓. คำที่มาจากภาษาจีน เมื่อชาวจีนเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับชาวไทยโดยเข้ามาค้าขายและ อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนใช้ในภาษาไทย ๑) การสังเกตคำที่มาจากภาษาจีน มีวิธีการ ดังนี้ เป็นคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราเช่นเดียวกับคำไทยแท้ เช่น เจ๊ง เป็นคำที่มักใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวาเขียนประสมคำ เช่น กวยจั๊ บ ก๋วยเตี๋ ยว เฉากว๊ ย ตี๋ ตุน๋ ๒) ลักษณะการใช้คำที่มาจากภาษาจีน มีรูปแบบ ดังนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่ออาหาร เช่น เต้าทึง จับฉ่าย เกี๊ยว กุยช่าย โจ๊ก เกาเหลา จันอับ เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เก๊กฮวย บะหมี่ พะโล้ ใช้เป็นคำเรียกสิ่งของ เช่น ตะหลิว อั้งโล่ เต๋า เซียมซี ตังเก เก้าอี้ ใช้เป็นคำเกี่ยวกับการค้าขาย เช่น หุ้น ห้าง ยี่ห้อ กงสี ฮั้ว ตุน ซาลาเปา เต้าหู้ เก๊กฮวย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔๔

๔. คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนใช้ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมา พร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยว กับอาหารการกิน การแต่งกาย กีฬา และเทคโนโลยี การสังเกตคำที่มาจากภาษาอังกฤษ มีวิธีการ ดังนี้ สังเกตจากคำที่มีตัวสะกด ค ซ ต ฟ ล ส เช่น เทคนิค ก๊าซ นอต กราฟ ฟุตบอล โฟกัส สังเกตจากคำที่มีเครื่องหมายทันฑฆาต (-์) เมื่อพยัญชนะที่ไม่ต้อง ออกเสียงมีพยัญชนะตามมาหลายตัว เช่น กอล์ฟ ฟาร์ม เวิลด์ สังเกตจากคำที่มีไม้ไต่คู้ ( -็ ) เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากคำไทย เช่น แท็กซี่ ลอ็ ก สังเกตจากคำที่มีพยัญชนะต้น ด บ ฟ ท ควบ ร และ ล เป็นตัว ควบกล้ำ บร บล ดร ฟร ฟล ทร เช่น บลอ็ ก บรฟี ฟรี แทรกเตอร์ คำภาษาอังกฤษที่นำเข้ามาใช้ในภาษาไทยแบ่งเป็นการนำคำมา ใช้โดยตรงไม่มีการเปลี่ยนรูปคำหรือเสียง เรียกว่า การทับศัพท์ ส่วน การนำคำมาใช้โดยกำหนดความหมายให้ตรงกับคำภาษาอังกฤษ เรียกว่า บัญญัติศัพท์ เช่น ไฟฟ้า บัญญัติใช้แทนคำว่า Electricity Pollution มลพิษ บัญญัติใช้แทนคำว่า Television Stamp โทรทัศน์ บัญญัติใช้แทนคำว่า Lottery Bank ดวงตราไปรษณียากร บัญญัติใช้แทนคำว่า Password สลากกินแบ่งรัฐบาล บัญญัติใช้แทนคำว่า ธนาคาร บัญญัติใช้แทนคำว่า รหัสผ่าน บัญญัติใช้แทนคำว่า ๔๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

เกร็ดน่ารู้ คู่หลักภาษา คำที่มาจากภาษาอื่น ซึ่งปะปนใช้ในภาษาไทย เช่น ภาษามลายู เช่น กริช บาหลี บุหงัน ยาหยี อังกะลุง เซปักตะกร้อ บูดู ระกำ มังคุด ภาษาเปอร์เซีย เช่น สุหร่าย ราชาวดี กุหลาบ ภาษี ตราชู ขาวม้า(ผ้า) กากี(สี) ภาษาญี่ปุ่น เช่น ซากุระ เทมปุระ ยูโด สุกียากี้ คาราเต้ ภาษาฝรั่งเศส เช่น ครัวซองต์ โซเฟอร์ บุฟเฟต์ มังคุด ผ้าขาวม้า ซากุระ ครัวซองต์ เรียนรู้คำ จำความหมาย คำศัพท์ ความหมาย เก๊ะ เป็นคำที่มาจากภาษาจีน หมายถึง ลิ้นชัก ทับศัพท์ เขียนคำของภาษาหนึ่งด้วยตัวอักษรของอีกภาษา หนึ่ง โดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร บุฟเฟต์ อาหารที่ได้จัดวางไว้ตามโต๊ะในงานเลี้ยง เพื่อให้ผู้ร่วม งานตักรับประทานหรือบริการตนเอง บุหงัน เป็นคำที่มาจากภาษาชวา มีความหมายว่า ดอกไม้ บูดู เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้เรียกอาหารที่มีลักษณะเป็น น้ำที่ได้จากปลาหมักเปื่ อยต้มสุกแล้วปรุงรส รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔๖

๔สรุปเนื้อหาประจำบทที่ คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ได้รับอิทธิพลจากด้าน ๑ ศาสนาและวรรณกรรม หลักการสังเกต คือ คำที่มาจากภาษา บาลีจะมีตัวสะกดตัวตาม ส่วนคำที่มาจากภาษาสันสกฤตให้ สังเกตที่พยัญชนะ ษ ศ และการใช้ รร (ร หัน) ๒ คำที่มาจากภาษาเขมร ได้รับอิทธิพลจากด้านการเมืองการ ปกครอง หลักการสังเกต คือ นิยมใช้คำควบกล้ำ อักษรนำใช้ ตัวสะกด จ ญ ร ล ส และใช้ บัง บัน บำ ดำ กำ จำ สำ นำหน้าที่ คำที่มีสองพยางค์ ๓ คำที่มีมาจากภาษาจีน ได้รับอิทธิพลจากการค้าขายและการ อพยพเข้ามาของชาวจีน หลักการสังเกต คือ นิยมใช้วรรณยุกต์ ตรีและจัตวา มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ได้รับอิทธิพลจากความเจริญด้าน ๔ เทคโนโลยี ศิลปะ กีฬา วัฒนธรรม หลักการสังเกต คือ ใช้ตัว สะกด ค ซ ต ฟ ล ส ใช้เครื่องหมาย -์ (ทัณฑฆาต) เครื่องหมาย -็ (ไม้ไต่คู้) มีพยัญชนะควบกล้ำคือ ดร บร บล ฟร ฟล ทร คำถามทบทวนชวนคิด ๑. เพราะเหตุใดภาษาไทยจึงมีคำที่มาจาก ภาษาต่างประเทศเข้ามมาปะปนใช้ ๒. ภาษาไทยมีรูปแบบการใช้คำที่มาจากภาษาอังกฤษอย่างไร ๓. ชื่อและนามสกุลของนักเรียนมีคำที่มาจาก ภาษาต่างประเทศหรือไม่ ถ้ามี ให้ระบุว่าเป็นคำที่มาจากภาษาใด ๔. ชื่อโรงเรียนของนักเรียนมีคำที่มาจากภาษาต่างประเทศหรือไม่ ถ้ามีให้ระบุว่าเป็นคำที่มาจากภาษาใด ๕. คำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมีหลักการสังเกตอย่างไร ๔๗ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook