Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Published by waryu06, 2021-02-10 15:28:23

Description: สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Search

Read the Text Version

๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยัง่ ยนื

สว่ นท่ี ๔ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัว ทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ และพระราชกรณยี กิจนานัประการของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ สะท้อนถึง “การพัฒนาอยา่ งยัง่ ยนื ” มาโดยตลอด ดังทีไ่ ด้พระราชทานพระราชดำรัสเกีย่ วกับ “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาตัง้ แต่ ปี ๒๕๑๗ โดยทรงเน้นไปทกี่ ารพัฒนาคน การพัฒนาทเี่ หมาะสมกับสภาพภูมิสงั คม และไม่ทำลาย ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม เพือ่ เปน็ แนวทางแก้ไขปัญหาทเ่ี กดิ จากการพฒั นาทไ่ี มส่ มดลุ อยา่ งไรกต็ าม การพฒั นาในภาพรวมของประเทศ ท่ีใชแ้ นวทางการพฒั นาตามเศรษฐกจิ กระแสหลัก ทำให้ผลการพัฒนาประเทศอยใู่ นภาวะ “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพฒั นาไม่มีคุณภาพ และไม่ยัง่ ยืน” และนำไปสูว่ ิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ สถานการณ์การพัฒนาทีไ่ มย่ ัง่ ยนื นีไ้ ม่ได้ เกิดขึ้นในสงั คมไทยเท่านัน้ แต่ได้เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ ทวั่ โลก เป็นเหตุให้ประเทศสมาชิกองค์การ สหประชาชาติได้ให้ความสนใจต่อผลการพัฒนาเศรษฐกิจทีก่ ่อให้เกิดความเสยี หายต่อสิง่ แวดลอ้ ม รวมทงั้ สภาวะเลวร้ายทโี่ ลกกำลังเผชิญอยู่ ทัง้ ความยากจน ความอดอยากหิวโหย ความเจ็บปว่ ย การไมร่ ู้หนงั สอื และความเสือ่ มโทรมของระบบนิเวศ และเห็นพ้องร่วมกันว่า หนทางเดียวทจี่ ะนำไปสู่ อนาคตทปี่ ลอดภัยและมัน่ คง ก็คือ การบริหารจัดการด้านสิง่ แวดล้อมและการพัฒนาทีส่ มดุล โดยใช้ ทรพั ยากรของโลกอยา่ งเหมาะสมและมเี หตผุ ล เพอ่ื ตอบสนองความจำเป็นขน้ั พ้นื ฐานของมนษุ ย์ พรอ้ มท้งั จัดการและคุม้ ครองระบบนิเวศให้ใช้ประโยชนไ์ ด้อย่างยงั่ ยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ของพระองค์ตัง้ แต่เริ่มแรก และแนวพระราชดำริ “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” อันเปน็ แนวทาง การพฒั นาสู่ความม่นั คง สมดลุ และย่งั ยนื ท่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั พระราชทานใหแ้ กป่ วงชนชาวไทย มาเกอื บ ๔๐ ปีแล้ว เนอ้ื หาภายในส่วนน้ี จงึ นำเสนอแนวคิดการพัฒนาอย่างยง่ั ยนื ในพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว นัน่ ก็คือ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” การทรงงานพัฒนาประเทศทเี่ นน้ ความสมดุล ครอบคลุม ในทุกมิตอิ ย่างเป็นองคร์ วม ท้ังในมติ ขิ องเศรษฐกจิ สงั คม และส่งิ แวดล้อม พฒั นาอยา่ งบรู ณาการ ท่ยี ึดหลัก “พ้นื ที่ ภารกิจ และการมีสว่ นรว่ ม” เพ่ือผลักดนั การพฒั นาอยา่ งย่งั ยนื ใหเ้ กิดข้ึนอยา่ งเป็นรูปธรรม

ทา่ นผอู้ า่ นจะได้ทราบถึง นยิ ามความหมาย แนวทางการพัฒนาอยา่ งยัง่ ยนื ในกระแสโลก และ แนวคิดการพัฒนาอยา่ งย่งั ยนื ในบรบิ ทไทย ท่ใี หค้ วามสำคญั กบั การพฒั นาท่ีมีดลุ ยภาพ ท้ังในมิตเิ ศรษฐกจิ สงั คม และสิง่ แวดลอ้ ม โดยยดึ ทางสายกลาง เพือ่ ให้คนไทยมภี ูมิคุ้มกันทดี่ ีและพึ่งตนเองได้โดย ต้องปรับทศั นคติ ค่านยิ ม และสงั คม ทสี่ ่งผลกระทบต่อสงิ่ แวดล้อมให้นอ้ ยลง ให้การพัฒนาทงั้ ๓ มติ ิ เก้อื กูลซงึ่ กนั และกนั นอกจากนี้ ได้นำเสนอตัวอยา่ งการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนตามรอยพระยคุ ลบาท พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทั้ง ๓ มิติ ได้แก่ การพัฒนาดา้ นเศรษฐกิจ ทรงเน้นการพฒั นาเกษตรกรรม การส่งเสริมอาชพี การพฒั นาระบบคมนาคมขนสง่ การพฒั นาคนและ สังคมอย่างยั่งยืน ทรงเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตัง้ โดยมงุ่ พัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสขุ และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มอย่างยงั่ ยืน ด้วยการพัฒนาทรัพยากรนำ้ และดิน การพัฒนาและอนรุ ักษ์ทรัพยากรป่าไม้และชายฝงั่ ทะเล และการพฒั นาพลังงานทดแทน เพื่อให้ คนไทยพงึ่ ตวั เองไดอ้ ย่างมัน่ คงและย่ังยืน โครงการพัฒนาอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริหลากหลายด้าน ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงปฏบิ ตั ิมาเปน็ เวลายาวนาน เปน็ ตวั อย่างทชี่ ใี้ ห้เห็นวา่ ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยยดึ พื้นที่ ภารกิจ และการมสี ่วนร่วมของ ประชาชนเปน็ ทตี่ ั้ง รวมถึงมุง่ สร้างความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและ สงิ่ แวดลอ้ ม เพ่ือพฒั นาประเทศสคู่ วามยัง่ ยนื อันนำพาความสุขมาสปู่ ระชาชนชาวไทยได้อยา่ งแทจ้ รงิ

๑. ทรงวางรากฐานการพฒั นาอย่างย่งั ยนื “เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรม เพ่ือประโยชน์สขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ ในวนั ท่ีพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ทรงขน้ึ เถลิงถวลั ยราชสมบตั ิ เป็นส่งิ ท่ชี ้ใี หเ้ หน็ วา่ พระองคจ์ ะทรงใช้ “ธรรม” หรือ “ธรรมาภิบาล” เปน็ หลักในการครองแผน่ ดิน ในการดูแลทกุ ข์สุขและช่วยเหลอื ราษฎร ของพระองค์ โดยมเี ปา้ หมายก็คือ ประโยชน์สขุ ของประชาชนชาวไทยทุกคน ไมว่ ่าจะเชือ้ ชาติและ ศาสนาใด หรืออยหู่ ่างไกลในถิน่ ทรุ กันดารเพียงใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงพบประชาชนทเี่ ดือดร้อน เพื่อ พระราชทานความชว่ ยเหลอื แม้จะตอ้ งทรงตรากตรำพระวรกายสักเพียงใด กม็ ทิ รงย่อทอ้ ตลอดระยะเวลาทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จฯ ไปทรงเยีย่ มราษฎรในภูมภิ าคต่างๆ ทำให้ทรงทราบว่าราษฎรในชนบทจำนวนมากยากจน มรี ายได้ไม่เพียงพอต่อการเลีย้ งชีพ การศึกษาน้อย ไม่มีหนทางทจี่ ะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ดว้ ยตวั เอง ยามเจบ็ ไข้ไม่มีแพทยแ์ ละยารกั ษาโรค พระองคจ์ งึ มพี ระราชปณธิ านแนว่ แนท่ ่จี ะพัฒนาชวี ิต ความเป็นอยูข่ องราษฎรทอี่ ยใู่ นความทกุ ข์ยากให้มีชีวิตความเป็นอยูท่ ีด่ ีขึ้นอย่างยัง่ ยืน ดังพระราชดำรัส 250

ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ : ทพี่ ระราชทานในพิธีเปิดการประชุมและ นิทรรศการเรือ่ ง “มรดกสงิ่ ทอของเอเชีย หตั ถกรรมและอุตสาหกรรม” ณ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ เมอื่ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๕ ความตอนหนึ่งว่า “...การท่ขี ้าพเจ้าเร่มิ งานศิลปาชีพข้นึ น้นั ข้าพเจ้าต้ังใจจะสรรหาอาชีพใหช้ าวนา ท่ยี ากจนเลย้ี งตัวเองได้เปน็ เบอ้ื งตน้ ท้งั น้ีเน่อื งจากขา้ พเจา้ ได้มโี อกาสตามเสดจ็ ฯ พระบาท สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ไปเย่ยี มราษฎรตามชนบทมาหลายป ี ไดพ้ บวา่ ราษฎรสว่ นใหญเ่ ปน็ ชาวนาชาวไรท่ ีต่ ้องทำงานหนกั และต้องเผชญิ อุปสรรคจากภัยธรรมชาตมิ ากมาย... ทำให้ชาวนาชาวไรม่ ักยากจน การนำสิ่งของไปแจกราษฎรผู้ประสบภัยธรรมชาต ิ เปน็ เพียงบรรเทาความเดอื ดรอ้ นเฉพาะหนา้ ซ่ึงพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั มพี ระราช ปรารภว่าเปน็ การชว่ ยเหลือที่ไม่ยั่งยนื ควรหาวธิ อี ่ืนทช่ี ่วยใหร้ าษฎรพึ่งตนเองได้... ขา้ พเจา้ สังเกตว่าชาวบ้านเหล่านลี้ ้วนแตเ่ ป็นศิลปินสืบทอดกันมาโดยสายเลือด เชน่ เขาสามารถทอผ้าไหมมัดหมี่เป็นลวดลายโบราณงามแปลกตา หรอื ทอลายใหม่ๆ ที่เขาคดิ ขึน้ เองดว้ ยสีสันทีม่ ีเสนห่ ์สวยงาม ข้าพเจา้ เพยี งแต่ให้กำลังใจ ส่งเสรมิ และ หาแนวทางเผยแพรค่ วามงามจากฝีมือของชาวนาชาวไรอ่ อกไปใหโ้ ลกรจู้ ัก ส่ิงน้ีเป็น ทีม่ าแห่งการอนุรักษ์และ พฒั นาศิลปหัตถกรรมของ ขา้ พเจ้า...” สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารไี ดพ้ ระราชทาน สมั ภาษณใ์ นหนงั สอื “พระมหากษตั รยิ ์ นักพัฒนา เพ่ือประโยชน์สุขสู่ ปวงประชา” ถึงหลักการทรงงาน พัฒนาประเทศในพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ วั ความตอนหน่ึงว่า 251

“...พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัวทรงสอนอยูเ่ สมอวา่ งานพฒั นานนั้ ตอ้ งเป็น ทต่ี ้องการของบคุ คลเปา้ หมาย และผรู้ ว่ มงานตอ้ งพึงพอใจ งานพฒั นาเปน็ งานยากและ กนิ เวลานาน ผ้ทู ่ที ำงานพัฒนาหรอื ทเ่ี รียกว่า “นกั พฒั นา” จงึ ตอ้ งเปน็ ผ้ทู ่อี ดทน เชอ่ื มนั่ ในคุณความดมี ีใจเมตตากรณุ า อยากให้ผูอ้ ืน่ พ้นทุกข์และอยากให้ผู้อืน่ มีความสุข ต้องมีความรูก้ วา้ งขวาง... ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้าใจ และยอมรบั นับถือผูอ้ นื่ เพราะเป็นงานทีไ่ ม่มีทางทำสำเร็จไดโ้ ดยลำพงั ... นักพัฒนาตอ้ งซอื่ สัตย์สุจรติ ถ้าคอร์รปั ชัน่ หรอื โกงเสียเองแล้วก็จะเป็นที่เกลียดชัง ผู้อ่ืนไม่ไว้ใจหรือไม่เป็น ตวั อย่างทด่ี ี เมอื่ พัฒนาสำเรจ็ มีความเจรญิ ร่งุ เรือง ก็จะเกดิ ความสุขถ้วนท่ัว ท้งั บคุ คล เป้าหมาย และนกั พฒั นาเอง...” โครงการพฒั นาตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว สะทอ้ นถึง “การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน” มาตง้ั แตต่ น้ โดยทรงเน้นไปท่กี ารพฒั นาคน การพัฒนาทีเ่ หมาะสมกับสภาพภูมสิ ังคม และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและ สงิ่ แวดล้อม ซึง่ ล้วนแต่เป็นการช่วย สนับสนุนและสง่ เสริมโครงการพัฒนา ต่างๆ ของรฐั บาล ขณะเดยี วกัน ทรงสาธติ แนวทางการพัฒนาทแี่ ตกต่างพร้อมทัง้ แสดงผลของการดำเนินงานตามแนวทางดังกลา่ ว เพื่อให้เปน็ อกี ทางเลือกหนึ่ง ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ กรรมการและเลขาธกิ ารมลู นธิ ชิ ยั พฒั นาไดก้ ลา่ วไวใ้ นหนังสือ “การทรงงาน พัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว” เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวผูท้ รงเป็น พลังแห่งแผ่นดิน” เกี่ยวกับการจัดตัง้ มลู นิธิชัยพัฒนาเพือ่ ช่วยสนับสนุนงานของรัฐบาลและช่วยเหลอื ประชาชนว่า “เมอื่ ปี ๒๕๓๑ พระองค์ทรงจัดตัง้ “มลู นธิ ิชัยพัฒนา” ขึ้น โดยทรงดำรงตำแหน่ง องคน์ ายกกติ ตมิ ศกั ด์ิ และสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงเป็นองคป์ ระธานกรรมการ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนบั สนนุ ช่วยเหลอื ประชาชนในงานพัฒนาด้านต่างๆ โดยเนน้ กิจกรรมเพื่อการพัฒนาทีไ่ ม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานโครงการของรัฐทีม่ อี ยูแ่ ล้ว แต่จะช่วยสนับสนนุ ส่งเสริม โครงการพัฒนาของรัฐทถี่ ูกจำกัดด้วยเงื่อนไข กฎระเบียบ หรืองบประมาณ จนทำให้การดำเนนิ งาน ล่าช้า ไม่ทันกับสถานการณ์ในการช่วยเหลือประชาชน มูลนิธิชัยพัฒนาจะเข้าไปช่วยเหลอื ตาม ความเหมาะสม เพือ่ ให้เกิดความรวดเร็วขึน้ ” 252

จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี และบทความของ ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ แสดงใหเ้ หน็ วา่ การทรงงานของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว จะช่วยสนับสนนุ โครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลให้สามารถเอือ้ ประโยชนแ์ ก่ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสทิ ธิภาพ ซึ่ง ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวยำ้ ถึงเรื่องนไี้ ว้ในหนงั สอื “พระมหากษตั รยิ ์นักพฒั นา เพือ่ ประโยชนส์ ขุ สปู่ วงประชา” ว่า “การดำเนนิ โครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริ เร่มิ ตงั้ แตก่ ารรบั พระราชกระแสรบั สง่ั หรอื พระราชดำริ โดยจะมกี ารบนั ทกึ ไวเ้ ปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษร ซง่ึ จะชว่ ยใหก้ ารดำเนนิ งาน เปน็ ไปอย่างเป็นระบบ มปี ระสทิ ธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้ จากนัน้ สำนักงานเลขานุการ กปร. (สน.กปร.) ซึ่งสังกัดอยใู่ นสภาพฒั นก์ จ็ ะทำหน้าทต่ี รวจสอบในเบ้อื งตน้ ว่า มีหน่วยงานใดดำเนนิ โครงการ พ้องตามพระราชกระแสรับสงั่ หรือพระราชดำรินนั้ อยูแ่ ลว้ หรือไม่ เพือ่ ปอ้ งกันการทำงานซ้ำซ้อน โดย หากมีหนว่ ยงานดำเนินโครงการ อยู่แล้ว สน.กปร. กจ็ ะสนบั สนนุ โครงการน้ันให้มีความสำคัญ มากขน้ึ และชว่ ยเรง่ การดำเนนิ งาน ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากยงิ่ ขึน้ ” แมพ้ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงงาน พัฒนาสนบั สนนุ การทำงานของ ภาครฐั ตลอดมา แตจ่ ากสภาพปญั หาท่เี กดิ ข้นึ ในขณะน้นั คนไทยยงั ยากจน มรี ะดบั การศกึ ษาโดยเฉล่ยี ตำ่ ประชาชนสว่ นใหญ่อยู่ในชนบทหา่ งไกล มีการวา่ งงานมาก สว่ นใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรมซ่งึ ยังพง่ึ พงิ ธรรมชาติในการทำการประกอบอาชีพ การสาธารณสุขยงั เข้าไมถ่ ึงประชาชนทีห่ ่างไกล และระบบ โครงสร้างพ้ืนฐานยังไม่ได้พัฒนาดงั เช่นที่เป็นอยูใ่ นปัจจบุ ัน ทำให้ภาครัฐในสมัยน้ันมีแนวทางการพัฒนา ประเทศทใี่ ห้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยม หรือเศรษฐกิจทุนนยิ ม ทมี่ งุ่ พัฒนาเพือ่ สร้าง ความม่ังคง่ั และรายไดม้ าสู่ประเทศเปน็ หลัก จากการลงทนุ การผลติ และการบรโิ ภค ท้งั ในดา้ นเกษตรกรรม อตุ สาหกรรม และบรกิ ารท่ีใชท้ รพั ยากรธรรมชาติ อันไดแ้ ก่ ดนิ น้ำ ป่า ทะเล และชายฝ่ัง รวมท้ังแรธ่ าตตุ า่ งๆ ทเี่ คยมอี ยูเ่ ป็นจำนวนมากเปน็ ปจั จัยหลัก และใช้การเติบโตของรายได้ต่อหัวเป็นเครื่องชี้วัด ผลความสำเร็จของการพัฒนา โดยคาดหวังว่าการเพิ่มปริมาณสนิ ค้าและบริการ การจ้างงาน รวมทัง้ ประโยชน์ท่ีเกิดข้นึ จากการเตบิ โตทางเศรษฐกิจนั้น ในที่สุดย่อมสามารถกระจายไปสปู่ ระชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศ ทำใหป้ ญั หาความยากจนหมดไปในท่สี ดุ จงึ ยงั มไิ ดใ้ หค้ วามสำคญั กบั การพฒั นาทางดา้ นสงั คม และทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมเทา่ ทีค่ วร 253

ผลจากการพฒั นาดงั กลา่ ว ทำให้สงั คมไทยประสบความ สำเร็จเป็นอย่างดีในการพัฒนา เศรษฐกจิ ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากอัตรา การขยายตัวอยใู่ นระดับสูง รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้น สดั สว่ นคนยากจนของประเทศ ลดลง การเงนิ การคลงั ของประเทศ มคี วามมน่ั คงและไดร้ บั การยอมรบั โดยท่ัวไปจากนานาประเทศ สว่ นการลงทนุ ของภาครฐั ในดา้ น โครงสรา้ งพน้ื ฐานและบรกิ ารพ้นื ฐานทางสังคมโดยตอ่ เน่ืองน้ัน ไดท้ ำใหค้ นไทยมีรายได้ ฐานะความเปน็ อยู่ และคณุ ภาพชีวิตทด่ี ีข้ึนมาโดยตลอด แต่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทีไ่ มค่ ำนงึ ถึงระดับความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ภูมิสังคม อตั ภาพขององค์กร ความพร้อมของคน ตามแนวทางการพัฒนาตามพระราชดำริมีการพึง่ พิง ฐานทรัพยากรความรู้ เทคโนโลยี เงินลงทนุ หรือตลาดจากภายนอกประเทศมากเกินไป โดยไม่เตรียม สรา้ งพน้ื ฐานภายในประเทศใหม้ ่นั คงเขม้ แขง็ หรอื สรา้ งภมู ิค้มุ กนั ท่ีดี สง่ ผลใหป้ ระเทศไม่สามารถพรอ้ มรบั ความเสยี่ งจากความผันผวนของปจั จัยภายในและภายนอกประเทศ ทเี่ ปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเร็ว ในยคุ โลกาภวิ ตั น์ ขณะเดยี วกนั ปญั หาซง่ึ ทบั ถมอยา่ งตอ่ เนอ่ื งจนกลายเปน็ ปญั หาเชงิ โครงสรา้ งทางเศรษฐกจิ และสงั คม ได้ก่อใหเ้ กิดความเหลอื่ มล้ำในการกระจายทุน กระจายความเจรญิ และผลประโยชนจ์ ากการพัฒนา และ กระจายรายไดร้ ะหวา่ งกล่มุ คนและระหวา่ งพ้นื ท่ี รวมท้งั เกดิ ปญั หาทางสังคม ความยอ่ หย่อนทางศลี ธรรม ความเสอื่ มถอยของวัฒนธรรมทดี่ ีงามของสงั คมไทย ตลอดจนความเสอื่ มโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และส่งิ แวดลอ้ ม ส่งผลตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพชีวิตของคนทัง้ ในปจั จุบนั และรุ่นต่อไปในอนาคต ซงึ่ นำไปสู่ ขอ้ สรุปผลการพัฒนาทวี่ า่ “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพฒั นาไมม่ คี ุณภาพและไม่ยั่งยืน” กอ่ นทน่ี กั วชิ าการและรฐั บาลจะตระหนกั ถงึ เรอ่ื งน้ี พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระวสิ ยั ทศั น์ กว้างไกล ทรงตระหนกั รถู้ ึงปัญหารา้ ยแรงและอันตรายที่จะเกิดขึน้ ตามมาจากการพัฒนาประเทศ สคู่ วามม่งั คั่ง ดว้ ยการใชท้ รัพยากรธรรมชาตอิ ย่างฟุ่มเฟอื ย ขาดการอนุรักษฟ์ ้นื ฟูอย่างเป็นระบบ และ การกระจายรายไดอ้ ยา่ งไมเ่ ป็นธรรมและท่ัวถงึ ทำใหค้ วามเหล่อื มลำ้ ของการพฒั นายังคงมีอย่ใู นสังคมไทย โดยทรงมีพระราชดำรสั ถึงความพอเพียง เม่อื วนั ท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๑๗ ความตอนหนง่ึ ว่า 254

“...คนอ่ืนจะวา่ อยา่ งไร ก็ชา่ งเขา จะวา่ เมืองไทย ล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไม่มีสิ่งทีส่ มัยใหม่ แ ต เ่ ร า พ อ อ ยู ่พ อ กิ น และขอให้ทุกคนมีความ ปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยูพ่ อกิน มีความสงบ และทำงานตงั้ จติ อธิษฐาน ปณิธานจุดมุง่ หมายในแง่น ี้ ในทางนที้ ี่จะให้เมืองไทย อยู่แบบพออยูพ่ อกิน ไม่ใช่ รงุ่ เรอื งอย่างยอด แต่ว่าการพออยู่พอกินมีความสงบนัน้ ถ้าจะเปรียบเทียบ กบั ประเทศอนื่ ๆ ถ้ารกั ษาความพออยู่พอกินนน้ั ได ้ เราจะยอดยงิ่ ยวด...” ผลการพัฒนาทขี่ าดความสมดุล นำสูจ่ ุดเริม่ ต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี ๒๕๔๐ โดยสำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ (สศช.) ได้เริม่ เห็นปญั หา ดังกล่าวแลว้ ตั้งแตแ่ ผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ซงึ่ เน้น แนวทางพฒั นาท่ีนำส่กู ารพฒั นาอยา่ งย่งั ยนื และตอ่ มาในการจดั ทำแผนพฒั นาฯ ฉบบั ท่ี ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ซึ่งนับเป็นจุดเปลยี่ นกระบวนทศั นก์ ารพัฒนาจากทีเ่ น้นการเติบโตในเชิงปริมาณ กลับมา สแู่ นวคิดการพัฒนาทีม่ งุ่ เนน้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพฒั นา” ตามแนวทางการพัฒนาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ซึง่ หมายถึงการพัฒนา “คน” และ “สิง่ แวดล้อมรอบตวั คน” เพื่อ เป้าหมายทีม่ ุง่ สู่ “ความอยูด่ ีมีสขุ ของคน” ทีเ่ ชื่อมโยงการพัฒนาทกุ มิติของการดำเนินชีวิตอย่างเป็น องค์รวม ครอบคลุมทัง้ ในเรือ่ งสขุ ภาพอนามยั ความรู้ ชีวิตการทำงาน รายได้ และการกระจายรายได้ ชีวิตครอบครัว สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต และการบริหารจัดการทีด่ ี ซึง่ การพัฒนาแบบองค์รวม ดงั กล่าวจะเกดิ ข้นึ ไดจ้ ำเปน็ ตอ้ งอาศยั หลกั การพฒั นาพน้ื ฐานของการพฒั นาอย่างบูรณาการ จงึ จะสามารถ ผลักดนั การพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนใหเ้ กิดข้ึนได้ ต่อมาในการจดั ทำแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) สศช. ไดอ้ ัญเชญิ “ปรชั ญา ของเศรษฐกจิ พอเพียง” ท่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั พระราชทานแกป่ วงชนชาวไทย มาเป็นปรชั ญา นำทางในการกำหนดยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาประเทศท่มี ุ่งสู่ความสมดลุ ของเศรษฐกจิ สงั คม และส่งิ แวดล้อม ตอ่ เนือ่ งมาจนถงึ แผนพฒั นาฯ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) เพอื่ นำสกู่ ารพัฒนาอยา่ งยั่งยนื และ ความอยู่ดมี ีสุขของคนไทยในระยะตอ่ ไป 255

๒. สแู่ นวคิดการพฒั นาอยา่ งยัง่ ยนื ๒.๑ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พืน้ ฐานของการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ตลอดระยะเวลาทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัวทรงครองราชย์ ทรงสอดแทรก แนวทางการพัฒนาและหลักคุณธรรมทจี่ ำเปน็ ตอ่ การพฒั นาทน่ี ำไปสคู่ วามยง่ั ยนื ของประเทศไทย ไว้ในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่ พระราชทานต่อคณะบคุ คลต่างๆ ทเี่ ข้าเฝ้าฯ ใน โอกาสตา่ งๆ อย่างตอ่ เน่ือง ซง่ึ ประมวลออกมาเป็น “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” แนวทาง ปฏิบัติตนของประชาชนในทกุ ระดับตัง้ แต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทีใ่ ช้ในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพือ่ ให้ก้าวทนั ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ด้วยการใช้เหตุผล และร้จู กั ประมาณตน เพ่อื ใหม้ ีระบบภมู คิ ้มุ กนั ในตวั ท่ีดี โดยอาศยั ความรู้ รอบคอบ ระมัดระวงั รวมถึงสำนึกในคุณธรรม มคี วามซือ่ สตั ย์ และดำเนนิ ชีวิตด้วยความอดทน พากเพียร เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความสมดลุ พรอ้ มรบั ความเปลย่ี นแปลง ทงั้ ด้านเศรษฐกิจ สงั คม สงิ่ แวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เปน็ อยา่ งดี ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากการทรงงานพฒั นาประเทศของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทท่ี รงเน้นความสมดลุ ครอบคลุมในทุกมติ ิอยา่ งเปน็ องค์รวม ทงั้ ในมติ ิของเศรษฐกิจ สังคม และสงิ่ แวดล้อม พัฒนาอย่าง บรู ณาการ น่ันคอื การพฒั นาท่ียึด ๓ เรอ่ื งหลักคอื พ้นื ท่ี ภารกจิ และการมีส่วนรว่ ม เพอ่ื ผลกั ดนั การพฒั นา อยา่ งยงั่ ยนื ให้เกดิ ข้ึนอยา่ งเปน็ รูปธรรม (๑) พน้ื ท่ี (Area) หรอื ท่ีทรงเรยี กวา่ “ภมู สิ งั คม” ในการพฒั นาใดๆ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ทรงคำนงึ ถงึ สภาพพน้ื ท่ี สภาพภมู ิศาสตรข์ องบรเิ วณน้นั ๆ วา่ เป็นอย่างไร อาทิ มีพน้ื ท่ปี ่าหรอื แหลง่ น้ำหรอื ไม่ โดยทรงศึกษาจากแผนท่ี ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศกึ ษาขอ้ มูลในพ้ืนทีน่ ้นั ดว้ ยพระองคเ์ อง เพอ่ื ใหโ้ ครงการท่ีทรงจดั ต้งั ข้นึ เพอ่ื ชว่ ยเหลอื ราษฎรมีความเหมาะสม สามารถทำไดจ้ รงิ รวมทัง้ ทรงคำนึงถึงสภาพทางสังคมศาสตร์ คือ นิสัยใจคอรวมถึงวัฒนธรรมประเพณขี องประชาชน 256

ในทอ้ งถ่นิ น้ันๆ ดว้ ย เพ่อื สรา้ งความเขา้ ใจและทำใหท้ ราบวา่ ประชาชนในบรเิ วณน้ันตอ้ งการความชว่ ยเหลอื เรอื่ งใดจริงๆ เพื่อให้การพฒั นาเกดิ ประโยชน์สูงสุด (๒) ภารกจิ (Function) เมอ่ื มแี ผนงาน/โครงการ ทม่ี กี ารบรู ณาการในเชงิ พน้ื ทแ่ี ลว้ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวทรงให้ผูเ้ กีย่ วข้องด้านต่างๆ ทงั้ จากภาครัฐ เอกชน และประชาชน ร่วมดำเนินงาน ในโครงการตามภารกิจทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้การแก้ไขปัญหามคี วามเชือ่ มโยงกับการพัฒนาทัง้ ๓ มิติ ทง้ั ในด้านเศรษฐกิจ สงั คม และส่งิ แวดลอ้ มอย่างสมดลุ (๓) การมีส่วนรว่ ม (Participation) ในการ ดำเนนิ การเพื่อไปสู่ “การพัฒนาอยา่ งยัง่ ยนื ” ของ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นัน้ ทงั้ สองพระองค์ทรงไม่ปลอ่ ยให้ เปน็ หนา้ ทขี่ องภาครัฐเพียงฝา่ ยเดียว เพราะคงไม่สามารถ ดแู ลโครงการตา่ งๆ หรอื ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม ทวั่ ประเทศไดอ้ ย่างท่ัวถึง จึงทรงใหท้ ุกภาคสว่ นของสงั คม มบี ทบาทรว่ มกนั โดยเฉพาะราษฎรในพน้ื ท่ี เพอ่ื ใหก้ ารพฒั นา เปน็ ไปอย่างมีประสิทธภิ าพ และเกิดประโยชน์สงู สดุ ๒.๒ การพัฒนาอยา่ งยง่ั ยนื ในกระแสโลก (๑) จุดเรม่ิ ต้นสูแ่ นวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระแสโลก สถานการณ์การพฒั นาท่ีไม่ย่งั ยนื ของสงั คมไทย มีลักษณะเชน่ เดยี วกบั ความไม่ย่ังยืนของประเทศตา่ งๆ ทัว่ โลก ประเทศทีไ่ ด้ชื่อว่าเป็นประเทศทพี่ ัฒนาแลว้ ก็เคยผา่ นประสบการณ์เชน่ นี้มากอ่ นเช่นกัน เป็นเหตุ ให้ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้ความ สนใจต่อผลการพัฒนาเศรษฐกิจทีก่ ่อให้เกิดความ เสียหายต่อสงิ่ แวดล้อม รวมทงั้ สภาวะเลวร้ายทโี่ ลก กำลงั เผชิญอยู่ ทงั้ ความยากจน ความอดอยากหิวโหย ความเจบ็ ป่วย การไม่รูห้ นังสือ และความ เสอ่ื มโทรมของระบบนเิ วศซ่ึงมนุษยจ์ ำเปน็ ตอ้ งพ่งึ พา จงึ ไดเ้ หน็ พอ้ งรว่ มกนั ว่า ความเจรญิ ทางเศรษฐกจิ ไมอ่ าจดำรงอย่อู ยา่ งยง่ั ยนื ได้ หากมนุษยไ์ มค่ ำนงึ ถงึ ปญั หาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มท่ไี ดร้ ับ ผลกระทบอยา่ งรนุ แรง ตลอดระยะเวลายาวนานท่ผี ่านมา และหนทางเดยี วท่จี ะนำไปสู่อนาคตท่ีปลอดภยั 257

และม่นั คง กค็ อื การบรหิ ารจดั การดา้ นส่งิ แวดลอ้ มและการพฒั นาท่ีสมดลุ โดยใชท้ รพั ยากรของโลกอยา่ ง เหมาะสมและมเี หตุผลเพื่อตอบสนองความจำเปน็ ขั้นพืน้ ฐานของมนษุ ย์ พร้อมทัง้ จัดการและคุ้มครอง ระบบนิเวศให้ใชป้ ระโยชนไ์ ดอ้ ย่างย่ังยนื ประเทศตา่ งๆ ไดเ้ รม่ิ ใหค้ วามสำคญั กบั การพฒั นา อยา่ งย่งั ยนื นับต้งั แตป่ ี ๒๕๑๕ โดยองคก์ ารสหประชาชาติ ได้จัดให้มกี ารประชุมสดุ ยอดว่าด้วยสิง่ แวดลอ้ ม ของมนษุ ย์ (Human Environment) ณ กรุงสต็อกโฮลม์ ประเทศสวเี ดน ซง่ึ เรยี กรอ้ งใหท้ ว่ั โลกคำนงึ การใชท้ รพั ยากร อยา่ งฟมุ่ เฟอื ยจนเกินขีดจำกัดของทรพั ยากรโลก (๒) นิยามของการพฒั นาอย่างยัง่ ยนื ผลจากการประชุมดงั กล่าวทำให้ทว่ั โลกหนั มาตนื่ ตวั เรื่องนก้ี ันอย่างกวา้ งขวาง และมากยิ่งขน้ึ เม่ือ สมชั ชาโลกว่าด้วยสงิ่ แวดลอ้ มและการพัฒนา ทีอ่ งค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึน้ ได้พิมพ์เอกสารชื่อ “Our Common Future” ออกเผยแพร่เมือ่ ปี ๒๕๓๐ โดยมสี าระเรียกร้องให้ชาวโลกเปลีย่ นแปลง วิถีการดำเนนิ ชีวิตทีฟ่ ุ่มเฟือยและวิถีทางการพัฒนาเสยี ใหม่ ให้ปลอดภัยต่อสิง่ แวดล้อมและข้อจำกัด ของธรรมชาตใิ หม้ ากข้ึน พรอ้ มกบั ได้ให้นิยามการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยนื ไว้ว่า “การพฒั นาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาทีส่ นองตอบตอ่ ความตอ้ งการของคน ในรนุ่ ปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรนุ่ ต่อไปในอนาคตตอ้ งประนปี ระนอมยอมลดทอน ความสามารถในการท่จี ะตอบสนองความต้องการของตนเอง” แนวคิดการพัฒนาอย่างยงั่ ยนื ได้รับความสำคัญมากยิง่ ขึ้น เมือ่ สหประชาชาติได้จัดให้มีการ ประชุมสดุ ยอดระดับโลกว่าด้วยสิง่ แวดล้อมและการพัฒนา หรือการประชุม Earth Summit ทีก่ รุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมือ่ ปี ๒๕๓๕ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ ๒๑ (Agenda 21) แ ล ะ ป ฏิ ญ ญ า ริ โ อ ว่ า ด้ ว ย สิง่ แวดลอ้ มและการพัฒนา (The Rio Declaration on Environment and Develop- ment) ซึง่ เปน็ เสมอื นพันธกรณี แ ล ะ ฉ ัน ท า ม ติ ท า ง ก า ร เ ม ือ ง ระหว่างนานาชาติ ทปี่ ระเทศ สมาชิกต้องตระหนักถึงปญั หา 258

สงิ่ แวดล้อม และเห็นความสำคัญทจี่ ะต้องร่วมกันพิทักษ์สงิ่ แวดล้อม เพือ่ สร้างการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืน ใหเ้ กิดขน้ึ ในโลก นอกจากกระแสการพัฒนาอย่าง ยัง่ ยืนของทวั่ โลกแล้ว พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้อธิบายถึงการพัฒนาอย่าง ย่งั ยืน ไว้ด้วยวา่ “การพัฒนาอย่างยง่ั ยืนมลี ักษณะ ทีเ่ ป็นบูรณาการคือทำให้เกิดเป็นองคร์ วม หมายความว่า องค์ประกอบทั้งหลาย ที ่เ กี ย่ ว ข ้อ ง จ ะ ต ้อ ง ม า ป ร ะ ส า น กั น ครบองค ์ และมีลักษณะอีกอย่างหนงึ่ คือ มีดลุ ยภาพ หรือพูดอกี นัยหนงึ่ คือ การทำให้กิจกรรมมนษุ ย์สอดคล้องกับ เกณฑ์ของธรรมชาต”ิ นัน่ คือ การกำหนดแนวทางการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงปจั จัยด้านมนษุ ย์ โดยให้คุณค่าทาง วัฒนธรรมอยู่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทงั้ การแก้ปัญหาสิง่ แวดลอ้ ม ดังนนั้ แนวคิดการ พฒั นาอยา่ งย่ังยืนของพระธรรมปิฎก จงึ สรุปไดว้ ่า “การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยืน เป็นการพฒั นาทค่ี รอบคลุม การพฒั นาในทกุ ด้านและทุกมติ ิ กลา่ วคอื ทง้ั เศรษฐกิจ สงั คม ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม จติ ใจ วัฒนธรรม ฯลฯ โดยมีคนเป็นศนู ย์กลางหรอื เป้าหมายของการพัฒนา เพอื่ ให้คนอยู่ดีกินดี และมคี วามสขุ ทงั้ คนในรนุ่ นี้และร่นุ ต่อๆ ไป” ถ้าจะแปลความเพื่อให้เข้าใจถึงการพัฒนาอย่างยงั่ ยนื ของไทยก็คือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน จะต้องเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสมดลุ หรอื มีปฏิสัมพนั ธ์ทีเ่ กือ้ กูลกันในระหวา่ งมิติ อนั เป็น องค์ประกอบท่ีจะทำใหช้ วี ิตมนษุ ย์อยดู่ ี มีสุข คอื ท้งั ทางด้านเศรษฐกิจ สงั คม การเมอื ง วฒั นธรรม จิตใจ รวมทัง้ ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ทงั้ ตอ่ คนในรุ่นปัจจบุ ันและคนรุ่นอนาคต” โดยสรุปแล้ว ความหมายของการพัฒนาอย่างยงั่ ยนื จึงมีแนวคิดมาจาก ๓ แนวทางใหญๆ่ คือ ๑) แนวทางด้านนเิ วศวิทยา ทีใ่ ห้ความสำคัญระดับสงู กับคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ๒) แนวคดิ ดา้ นสังคม ที่การพัฒนาสามารถตอบสนองความต้องการพืน้ ฐานของมนุษย์ได้อยา่ งต่อเนือ่ ง และ ๓) แนวทางดา้ นเศรษฐกิจ ทีก่ ารพัฒนาอยา่ งยงั่ ยนื คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยงั่ ยนื ยาวนาน บนพื้นฐานการรกั ษาทนุ ธรรมชาตไิ วใ้ ชป้ ระโยชน์สำหรับคนร่นุ ปัจจุบนั และอนาคต 259

๒.๓ การพัฒนาอยา่ งย่ังยืนในบรบิ ทไทย (๑) นยิ ามการพฒั นาอย่างยง่ั ยนื ของประเทศไทย ประเทศไทยไดใ้ ห้ความสำคญั เรอื่ งการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชน่ กัน โดยในการจัดทำข้อเสนอ ของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ณ นครโจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟรกิ าใต้ เม่อื เดอื นกนั ยายน ๒๕๔๕ คณะอนุกรรมการกำกบั การอนวุ ตั ตามแผนปฏบิ ัตกิ าร ๒๑ และการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยนื ซึง่ มีหน้าทเี่ ป็นคณะกรรมการเตรียมการประชุมสุดยอดฯ ของประเทศ ได้ร่วมกับสถาบันสิง่ แวดล้อมไทย จัดระดมความคิดเห็นจากภาคีต่างๆ ทำให้ได้ข้อยุติด้านคำนยิ ามของ การพัฒนาอย่างย่ังยนื วา่ “การพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนในบริบทไทย เป็นการพัฒนาทีต่ ้องคำนงึ ถึงความเป็นองค์รวม ของทกุ ๆ ดา้ นอยา่ งสมดลุ บนพน้ื ฐานของทรพั ยากร ธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวฒั นธรรมไทย ดว้ ยการ มสี ว่ นรว่ มของประชาชนทกุ กลมุ่ ดว้ ยความเออ้ื อาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการ พึ่งตนเอง และคณุ ภาพชีวติ ทดี่ ีอย่างเท่าเทยี ม” จะเหน็ ได้ว่าแนวคิด “การพัฒนาอยา่ งยั่งยืน” จากหลายองค์กรต่างประเทศและภายในประเทศ แมจ้ ะต่างกันไปหลายรูปแบบ แต่ก็มหี ลกั การทเี่ หมือนกันคือ การพัฒนาทีด่ ำเนินไปโดยคำนงึ ถึง ขดี จำกดั ของทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม และสนองความตอ้ งการในปจั จบุ นั โดยไม่ส่งผลเสียตอ่ ความตอ้ งการในอนาคต รวมท้ังตระหนกั ถงึ ความเปน็ องคร์ วม โดยมองว่าการกระทำสง่ิ ใดตอ้ งคำนงึ ถงึ ผลกระทบทจ่ี ะเกิดข้นึ กบั ส่ิงอื่นๆ จงึ ต้องยึดหลักความรอบคอบ คอ่ ยเป็นค่อยไป และเปดิ โอกาสใหภ้ าคี การพัฒนาตา่ งๆ เข้ามามสี ่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา (๒) กรอบแนวคิดการพัฒนาอยา่ งยง่ั ยืนในบริบทไทย กรอบแนวคิดการพัฒนาอยา่ งยัง่ ยืนในบริบทไทยได้นำพืน้ ฐานแนวคิดมาจาก“หลักปรชั ญา ของเศรษฐกิจพอเพยี ง” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทใี่ ห้ความสำคัญกับการพัฒนาทมี่ ดี ุลยภาพ ทงั้ ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดลอ้ ม พรอ้ มทัง้ ยึดทางสายกลาง เพือ่ ให้คนไทยมีภูมิคมุ้ กันทีด่ ี และพึง่ ตนเองได้ โดยต้องปรับทัศนคติ ค่านิยม และสงั คมทีส่ ่งผลกระทบต่อสงิ่ แวดล้อมให้น้อยลง โดยการพัฒนาท้ัง ๓ มติ ิ จะต้องเกอ้ื กลู ซ่ึงกันและกนั ท้งั น้ี การพฒั นาในมติ ิท่ี ๑ “มติ ิเศรษฐกจิ ” จะมงุ่ พัฒนาส่กู ารเตบิ โตอยา่ งมเี สถยี รภาพ มคี ุณภาพ และสามารถกระจายความมั่งคัง่ ไปสูป่ ระชาชนอย่างทั่วถึง ด้วยการผลติ สนิ ค้าอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ 260

สอดคล้องกบั ศกั ยภาพทางการผลติ ของประเทศ และความตอ้ งการของตลาด มีการนำปัจจยั การผลิตท่ีมี ประสิทธิภาพ รวมถึงมีแบบแผนการผลติ และการบริโภคทไี่ มท่ ำลายสงิ่ แวดลอ้ ม อยบู่ นพื้นฐานของ การอนรุ ักษ์ ฟื้นฟู และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม มีการปลกู ฝังค่านิยมของคนไทยให้มี ความพอเพียงและพงึ่ ตนเองได้ มีภูมิคุม้ กันทางเศรษฐกิจทีพ่ ร้อมรับกับการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ได้ อย่างยัง่ ยืน สร้างบรรยากาศทีเ่ หมาะสมให้เกิดการพัฒนาไปสเู่ ศรษฐกิจสีเขยี ว โดยสร้างความเข้มแข็ง ของเศรษฐกิจมหภาค พัฒนาความสามารถในการแข่งขัน มีการบริหารจัดการอย่างมปี ระสิทธิภาพ และสร้างความเข้าใจและจิตสำนกึ ให้เกิดการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยกุ ต์ใช้ ให้ขยายตัวอย่างมคี ุณภาพและแขง่ ขนั ได้ นอกจากน้ี จะตอ้ งคำนึงถงึ ขดี จำกดั ของทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมท่ีสามารถสงวนรกั ษา ไว้ใช้ประโยชนไ์ ด้อยา่ งยาวนาน ใชท้ รัพยากรทุกชนดิ อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ สง่ ผลเสียต่อความต้องการของคนทงั้ ในปัจจุบันและในอนาคต เพือ่ คงความสมบูรณข์ องทรัพยากร ธรรมชาติ ความหลากหลายทางชวี ภาพ และคณุ ภาพส่งิ แวดล้อม ใหเ้ ป็นฐานการผลติ ของระบบเศรษฐกจิ และการดำรงชวี ติ ของมนษุ ยไ์ ดอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดไป และตอ้ งดำเนนิ การควบคไู่ ปกบั การพฒั นาศกั ยภาพคน และยกระดับคุณภาพชวี ติ ของประชาชนให้ดขี ึน้ โดยบริหารจัดการทรัพยากรและผลประโยชน์จาก การพฒั นา และการค้มุ ครองอย่างท่ัวถงึ และเปน็ ธรรม ขณะเดยี วกนั ตอ้ งมีการสง่ เสรมิ การนำภมู ปิ ญั ญา และวัฒนธรรมไทยมาใชใ้ นการดำเนนิ ชวี ิต มติ ิที่ ๒ คือ มติ ิทาง “สังคม” คอื การพฒั นาทม่ี งุ่ ให้คนและสงั คมไทยมคี ุณภาพสามารถปรับตัว รูเ้ ท่าทันการเปลยี่ นแปลง มีจติ สำนกึ พฤตกิ รรม และวิถีชวี ิตทีไ่ ม่ทำลายทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละ สิง่ แวดล้อม มคี วามมัน่ คงในการดำรงชีวิต มกี ารนำทุนทางสงั คมและทนุ ทางทรัพยากรธรรมชาติ มาประยกุ ตใ์ ชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์ได้อยา่ งเหมาะสม มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสนิ ใจ โดยอยภู่ ายใตร้ ะบบ การบริหารจดั การทดี่ ี ท่มี งุ่ ใหค้ นและสงั คมไทยเขม้ แข็ง อย่ดู มี ีสุข 261

องคป์ ระกอบของการพฒั นาในมติ สิ งั คมประกอบดว้ ย การพฒั นาศกั ยภาพและการปรบั ตวั บนสงั คม ฐานความรู้ โดยการพฒั นาคนในสงั คมทง้ั ในระดบั บคุ คลและองคก์ รใหม้ ศี กั ยภาพ มโี อกาสในการพฒั นา ความรู้ ความคิด ทักษะ อาชพี การบรหิ ารจดั การได้ดว้ ยตัวเอง การพัฒนาคุณภาพชวี ิตและความมั่นคง ในการดำรงชีวิต โดยพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตทดี่ ีขึน้ มสี ภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตทดี่ ี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสขุ ภาพอนามัยแข็งแรงสามารถเข้าถึงระบบการคุม้ ครอง ทางสงั คมไดอ้ ย่างเท่าเทียมกนั การสรา้ งค่านยิ ม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย ให้เป็นภูมิคุ้มกันของสังคม โดยสร้างค่านิยมและแบบแผนการ ดำเนินชีวิตทีป่ ระหยดั ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไมส่ ง่ ผลลดทอน การพฒั นาเศรษฐกจิ และฐานทรพั ยากรธรรมชาตใิ นระยะยาว อาศยั ภมู ปิ ัญญาทอ้ งถน่ิ มาประยกุ ตใ์ ชอ้ ย่างกลมกลนื มกี ารดำรงวฒั นธรรม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนยี มประเพณี และศิลปวัฒนธรรมอันเปน็ เอกลักษณ์ของชาติไวอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง นอกจากน้ี ควรมกี ารสรา้ งความเสมอภาคและการมสี ว่ นร่วม คนไทยตอ้ งไดร้ บั ความเทา่ เทียมกนั ทางเพศ การศกึ ษา อาชพี การงาน สวสั ดกิ าร สภาพแวดลอ้ ม และสทิ ธเิ สรภี าพ ภายใตข้ อบเขตของกฎหมาย หลกั มนุษยธรรม และมโี อกาสร่วมในกิจกรรมของสังคมโดยรวม มสี ่วนร่วมในกระบวนการตัดสนิ ใจ ต่อนโยบายสาธารณะใดๆ ท่อี าจสง่ ผลกระทบตอ่ สังคม โดยยึดหลักการบรหิ ารจดั การทด่ี ี ในสว่ นของการพฒั นาอย่างยง่ั ยืนในมิติท่ี ๓ “มติ สิ ิ่งแวดลอ้ ม” คอื การบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มอยา่ งมีประสิทธิภาพ เพือ่ ให้เกิดความสมดลุ ระหวา่ งการใชป้ ระโยชน์ทาง เศรษฐกจิ และความอุดมสมบรู ณต์ ามธรรมชาติ และคงไวซ้ ง่ึ คณุ ภาพทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม ทดี่ ี เพื่อสนองความต้องการของคนรุ่นปจั จุบนั และสงวนไว้ให้คนรุน่ อนาคต รวมทงั้ กระจายโอกาสและ การมสี ่วนรว่ มในเรอื่ งการบรหิ ารจดั การทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มอยา่ งทว่ั ถงึ และเป็นธรรม อันประกอบด้วย การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ทัง้ ในเรือ่ งการใช้ การปอ้ งกัน และการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติทัง้ ด้านกายภาพและชีวภาพ ต้องเป็นไปอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ มกี ารนำ กระบวนการอนรุ ักษ์และพัฒนามาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติทมี่ อี ยจู่ ำกัด ให้เกดิ ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากทีส่ ุด โดยคำนงึ ถึงความต้องการของคนในปจั จบุ นั และอนาคต รวมถึง ขีดความสามารถสูงสุดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและ สิง่ แวดล้อม เพอ่ื ให้ระบบนิเวศสามารถรองรับและฟ้ืนฟกู ลับสสู่ ภาพเดมิ 262

การมีคุณภาพสิง่ แวดล้อมที่ดีด้วยการแก้ไขปัญหามลพิษต่างๆ ตลอดจนป้องกันการเกิดมลพิษ ผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน และการมีส่วนรว่ มและการกระจายการใชท้ รพั ยากร โดยให้ประชาชนทุกภาคสว่ นของประเทศได้รับการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและผลประโยชน์จาก การพฒั นาอยา่ งทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถงึ มีส่วนรว่ มในการตดั สนิ ใจเพอื่ กำหนดนโยบาย แผนงาน และ การดำเนินโครงการดา้ นการจดั การสิง่ แวดล้อม ทงั้ นี้ มิติการพัฒนาทัง้ ๓ มติ ิ ต่างมคี วามสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดย “มิติเศรษฐกิจและสังคม” เชื่อมโยงกันในเรือ่ งของการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพือ่ ตอบสนองความต้องการของคนทีอ่ ยู่ ในสงั คม ในกระบวนการผลติ จำเปน็ ต้องมกี ารจ้างงาน จึงเป็นการสร้างรายได้ให้กับแรงงานซึ่งเป็นคน ในสงั คมน่นั เอง ส่งผลให้คนมงี านทำ ลดปญั หาการขาดแคลนรายได้ และความยากจนซง่ึ เปน็ สาเหตขุ อง การกอ่ อาชญากรรม ส่วน “มิติเศรษฐกิจและสิง่ แวดล้อม” คือ การทสี่ ภาพแวดลอ้ มมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลติ การบริโภค และเพือ่ การพัฒนาภาคอตุ สาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และการพาณชิ ยกรรม ซึง่ ล้วนแลว้ แต่เปน็ การใช้ทรัพยากรทีม่ ีอยูอ่ ยา่ งจำกัด เพือ่ ให้เกิดการพัฒนา ทางเศรษฐกจิ สำหรับความเชือ่ มโยงของ “มิตทิ างสังคมและสิง่ แวดล้อม” ได้แก่ วิถีการดำเนินชีวิตของผคู้ น ในแต่ละวันอันได้แก่ การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ การเดินทาง การศึกษา การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึง่ กิจกรรมเหล่านีล้ ้วนแล้วแต่เปน็ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและก่อให้เกิด 263

ของเสียทจี่ ะส่งผลกระทบให้เกิดการ เสือ่ มโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสงิ่ แวดลอ้ ม หากไม่มกี ารใช้อย่าง ระมัดระวงั และมีสตริ อบคอบ (๓) เป้าประสงค์ของการ พฒั นาอยา่ งยั่งยนื การปรับเปลีย่ นกระบวนทศั น์ การพัฒนา เพื่อมงุ่ ไปสูค่ วามยงั่ ยืนของ ประเทศไทยนัน้ มเี ปา้ ประสงค์ในเรือ่ ง คุณภาพ เสถียรภาพ และการปรบั ตวั มีการกระจายการพฒั นาอย่างเป็นธรรมและมีระบบบริหาร จัดการท่ดี ี เพ่อื ใหส้ งั คมไทยเป็นสงั คมท่มี ีคณุ ภาพ มคี ณุ ภาพชวี ติ ท่ีดขี ้นึ เป็นสังคมฐานความรู้ มีการพฒั นา ศักยภาพและการศึกษาได้ด้วยตัวเอง มีการผลติ สนิ ค้าและบริการทมี่ ีคุณภาพตามศักยภาพ การผลติ ในประเทศไทย โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ เพิ่มผลผลติ ทีเ่ ปน็ มติ ร กับสงิ่ แวดล้อม และลดมลพิษ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ มภี ูมิคุม้ กันทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาและบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมสี นิ ค้าภูมิปญั ญาท้องถิ่นทหี่ ลากหลาย มีการธำรงไว้ซึง่ ศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณอ์ ันเปน็ มรดก ทด่ี ีงามของชาติ สร้างความเทา่ เทยี มท้งั ด้านเพศ อาชพี รายได้ การศึกษา ความตอ้ งการพน้ื ฐานในการ ดำรงชีวิต บริการพืน้ ฐานทางสงั คม มโี อกาสเข้าถึงตลาดและการจัดสรรฐานทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเปน็ ธรรม และทุกภาคสว่ นของสงั คมมีโอกาส และสิทธใิ นการรบั ร้ขู อ้ มูลขา่ วสาร กระบวนการตดั สนิ ใจ และนโยบายสาธารณแก่ประชาชน โดยผา่ นการบริหารจัดการและความร่วมมือแบบบูรณาการของ สถาบนั การเมอื ง สงั คม เศรษฐกิจ และสิง่ แวดลอ้ มอยา่ งจริงจัง ๓. สู่การพัฒนาอย่างยง่ั ยืนตามรอยพระยคุ ลบาท ในระยะเวลากวา่ ๖๗ ปี ท่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั เสดจ็ ข้นึ ครองราชย์ พระองคไ์ ดพ้ ระราชทาน หลกั การและแนวทางการพฒั นาประเทศผ่านพระบรมราโชวาท และพระราชดำรสั ใหแ้ กป่ ระชาชนชาวไทย มาโดยตลอด โครงการพัฒนาประเทศในพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทกุ โครงการลว้ นแลว้ แต่ม่งุ สกู่ ารยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความยากจน เสริมสรา้ ง ชุมชนให้เขม้ แข็งและม่งุ สู่การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยืนท้งั สิน้ ซึง่ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยง่ั ยนื ทีม่ ุง่ สูค่ วามสมดุลใน ๓ มติ ิ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยัง่ ยืน การพัฒนาคนและสงั คมอย่างยัง่ ยนื และการพัฒนาทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอยา่ งยงั่ ยืน โดยมีรายละเอียด ดังน้ี 264

๓.๑ การพัฒนาเศรษฐกจิ อยา่ งยง่ั ยนื พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยทีจ่ ะสง่ เสริมให้ราษฎรของพระองค์ ท้งั ในเมืองและชนบทมีคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ มีอาชีพ มีรายได้ ท่สี ามารถเล้ียงดูครอบครวั และพึง่ ตนเองได้ รวมถึงมภี ูมิคุม้ กันในตัวทีด่ ี พระองค์จึงได้พระราชทานหลกั “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แก่ปวงชนชาวไทยให้นอ้ มนำไปประยกุ ต์ใช้ ในการดำเนินชวี ติ ไม่ใชแ่ คป่ ระชาชนในชนบท หรอื ในภาคเกษตรเทา่ น้นั แตส่ ามารถประยกุ ตใ์ ชไ้ ดก้ บั สงั คมทกุ ระดบั ตง้ั แตร่ ะดบั บุคคล ชมุ ชน ประเทศ นกั ธุรกิจ นักการเมือง หรือเจ้าหน้าทขี่ องรัฐ เป็นตน้ แต่เพราะประชาชนส่วนใหญข่ องประเทศ เป็นชาวชนบททมี่ ีอาชีพเกษตรกรรม อยูใ่ นพืน้ ที่ ห่างไกล พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู ัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ จึงมีพระราชดำริ ให้จัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยัง่ ยนื เพือ่ ช่วยเหลือราษฎร อาทิ ด้านการสง่ เสริมอาชีพ โครงการเกย่ี วกบั การพัฒนาแหลง่ น้ำ การพฒั นาดินและการจดั สรรทีด่ ินทำกนิ เป็นตน้ (๑) การพัฒนาเกษตรกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว มแี นวพระราชดำริทีถ่ ือเป็นหลักเกณฑ์ หรือเทคนิควิธีการ ท่ีจะบรรลุถงึ เป้าหมายเพ่อื การพฒั นาเกษตรกรรมหลายประการ อาทิ การใหเ้ กษตรกรอยไู่ ด้ดว้ ยตนเอง โดยการบรรเทาทกุ ข์ต่างๆ เช่น มีพระราชดำริให้จัดตัง้ ธนาคารข้าวขึน้ เพื่อให้ราษฎรมาขอยืมข้าวได้ เมือ่ ทำนาและมขี ้าวเหลือจึงนำมาใช้คืน โดยให้ชาวบา้ นดูแลจัดการกันเอง หรือมพี ระราชดำริให้ กรมปศุสัตว์จัดตัง้ ธนาคารโค-กระบอื เพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกรผูย้ ากจน ได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานเปน็ ของตนเอง โดยการเช่าซือ้ หรือวธิ กี ารอน่ื ใด ในราคาท่ถี ูกจากสว่ นราชการ หรือเอกชน เป็นตน้ พระองคท์ รงมใิ หเ้ กษตรกรพง่ึ พาอยกู่ บั พชื เกษตรแตเ่ พยี ง อยา่ งเดยี ว จึงทรงม่งุ ค้นควา้ ทดลอง และวิจัยหาพนั ธพ์ุ ืชใหมๆ่ ทงั้ พืชเศรษฐกิจ พืชเพือ่ การปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมนุ ไพร ตลอดจนทรงศกึ ษาเกี่ยวกับแมลงศตั รูพชื รวมทัง้ พนั ธส์ุ ัตว์ต่างๆ ท่ีเหมาะสม เชน่ โค กระบอื แพะ แกะ พนั ธป์ุ ลา ฯลฯ เพ่อื แนะนำ ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ด้วยราคาถูก โดยใช้เทคโนโลยที งี่ ่าย และไมส่ ลบั ซบั ซอ้ น ซง่ึ เกษตรกรจะสามารถรบั ไปดำเนนิ การเองได้ 265

นอกจากนี้ ทรงใชส้ วนจติ รลดาบางส่วนเป็นสถานีค้นควา้ ทดลองด้านเกษตรกรรมในทุกๆ เรื่อง ตามโครงการส่วนพระองค์ มาตัง้ แต่ปี ๒๕๐๔ โดยทรงเน้นให้มีการค้นคว้าทดลองทงั้ ก่อนและ หลงั การผลิต ซง่ึ พจิ ารณาตั้งแตเ่ รอื่ งความเหมาะสมของพืชและดิน สว่ นการค้นคว้าวจิ ยั หลังการผลติ คอื การดูเรือ่ งความสอดคล้องของตลาด คุณภาพของผลผลติ ตลอดจนให้เกษตรกรได้มีความรู้เบือ้ งต้น ในด้านการบัญชีและธุรกิจการเกษตรในลักษณะทีพ่ อจะทำธุรกิจแบบพึง่ ตนเองได้ เช่น “ศนู ย์สาธิต สหกรณ์โครงการหุบกะพง” จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีผลการดำเนินงานเป็นอยา่ งดีและยกระดับขึ้นเป็น หมู่บ้านสหกรณ์ตัวอยา่ ง การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์หรอื การอยูร่ ่วมกันระหว่างธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ มนษุ ย์ เชน่ การพัฒนาแหลง่ นำ้ เพอ่ื การเกษตร ทรงใหม้ ีการปลกู ป่าควบคู่กันไปดว้ ย และปา่ ทป่ี ลูกนนั้ จะมีทงั้ ปา่ ไม้ยนื ต้น ป่าไม้ผล และป่าไม้ใช้สอย เพือ่ ให้ราษฎรมีผลไม้บริโภคและมไี มใ้ ช้สอย ตามความจำเปน็ และยังเปน็ การปลกู ป่าเพื่อช่วยยดึ หน้าดินไม่ให้น้ำเซาะพังทลาย และเพื่อให้เกิด ความชุ่มชน้ื ของดินและอากาศในบริเวณนน้ั ๆ เป็นต้น การใช้ประโยชน์จากธรรมชาตใิ ห้มากที่สุด ทรงเนน้ ความจำเปน็ ทีจ่ ะลดค่าใช้จ่ายในการทำมา หากินของเกษตรกรลงให้เหลอื นอ้ ยทสี่ ุด โดยอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติเปน็ ปัจจัยสำคัญ ซึง่ มลี กั ษณะ สอดคลอ้ งกบั วธิ กี ารทสี่ ำคัญของพระองคอ์ ีกประการหน่ึงคือ การประหยดั การส่งเสรมิ อาชีพดา้ นเกษตรและปศสุ ัตว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวได้พระราชทาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เกษตรกรสามารถพึง่ ตนเองได้ เช่น โครงการหมูบ่ ้านเศรษฐกิจพอเพียงและ ฟาร์มตัวอยา่ ง ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตัง้ องค์การสง่ เสริมกิจการโคนม 266

แหง่ ประเทศไทย สหกรณโ์ คนมหนองโพราชบุรี จำกดั ในพระบรมราชูปถมั ภ์ นอกจากนี้ ทรงพระกรณุ า โปรดเกลา้ ฯ ให้กอ่ ตงั้ “โครงการหลวง” โดยมีมลู นธิ ิโครงการหลวง เป็นผดู้ ูแลและดำเนนิ งานช่วยเหลือ ชาวเขา ดำเนนิ งานทดลองค้นคว้าและสนับสนนุ การวิจัยพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ พร้อมทงั้ พัฒนาและ เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยให้แก่เกษตรกรในโครงการหลวงนำไปเพาะปลูก เพือ่ สนองความต้องการ ของตลาดทดแทนการปลูกฝนิ่ โดยดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรให้มรี ายได้จากการปลกู พืชชนดิ ต่างๆ จากผลงานวิจัย รวมทัง้ การเลีย้ งสัตว์และการประมง การพัฒนาปัจจัยพืน้ ฐานและคุณภาพชีวิต ชาวเขา ตลอดจนอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มร่วมกับหนว่ ยงานทเี่ กี่ยวข้อง ขณะทีส่ มเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ได้มีพระราชดำริเร่ือง ธนาคารอาหารชมุ ชน เป็นแหล่ง สะสมอาหารตามธรรมชาติท่มี ีความหลากหลายทั้งพชื ผกั สวนครวั พืชสมุนไพร และสัตวป์ ่า อีกทงั้ ยังมีการแนะนำและส่งเสรมิ การเกษตรที่สูงโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่เหมาะกับสภาพ ภูมิประเทศของภาคเหนอื เพือ่ ให้ชาวไทยภูเขามีรายได้สงู โดยไม่จำเปน็ ต้องเคลือ่ นยา้ ย ถางปา่ ทำไร่เลือ่ นลอย หรือปลกู ฝนิ่ โดยทรงพยายามเข้าถึงชนกลุม่ น้อยเหลา่ นี้ แมใ้ นพื้นทจี่ ะทุรกันดารและ แสนยากลำบากพระองค์ก็เสด็จฯ ไปทรงเยยี่ มเยยี น ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถ พระราชทานเนือ่ งในโอกาสวันเฉลมิ พระชนมพรรษา เมอื่ วันที่ ๑๑ สงิ หาคม ๒๕๕๔ ณ ศาลาดสุ ดิ าลยั สวนจติ รลดา พระราชวังดุสิต ความตอนหนึง่ วา่ “...กอ่ นทีจ่ ะเป็นโครงการหลวงนนั้ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เสด็จฯ ไปตาม ดอยตา่ งๆ ไม่ทราบวา่ ก่รี อ้ ยครั้ง ลงจากรถพระท่นี ง่ั หรอื เฮลิคอปเตอร์ แลว้ ก็ต้องทรง พระดำเนนิ ตอ่ ไปอกี หลายกโิ ลเมตร พระราชประสงคท์ ท่ี รงจดั ตง้ั โครงการหลวงกเ็ พอ่ื ทจ่ี ะ ช่วยชาวไทยภเู ขาใหเ้ ขาสามารถชว่ ยตนเองได้ ในการเล้ยี งชีพ ปลกู พืชทม่ี ปี ระโยชน์ เช่น พชื ผกั ผลไม ้ และไมด้ อกเมืองหนาวมากกวา่ ๒๐๐ ชนดิ ทดแทนการปลกู พชื เสพติด ชว่ ยสรา้ งรายได้ให้ชาวไทยภูเขา สามารถเลี้ยงครอบครัวของเขาไดด้ ีกวา่ แตก่ ่อนและ มคี ณุ ภาพชีวติ ทด่ี ขี ึ้น... 267

นอกจากนน้ั โครงการหลวงยงั ชว่ ยลดการทำลายทรพั ยากรธรรมชาต ิ โดยเฉพาะปา่ ไม้ ซงึ่ เป็นแหล่งตน้ น้ำลำธารของไทย พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวรบั สั่งว่า ถ้าเราช่วย ชาวไทยภูเขาให้อยู่ดกี ินดโี ดยไม่ตอ้ งปลูกพืชเสพตดิ เท่ากับชว่ ยบ้านเมืองของเราให้ ปลอดภยั ไดท้ ว่ั ประเทศ และไดร้ กั ษาปา่ ไม ้ รกั ษาดนิ ใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ อ่ ไปซง่ึ ประโยชนอ์ นั น้ี จะย่งั ยนื มาก ขณะน้ีโครงการหลวงกลายเปน็ สถานท่ที อ่ งเทย่ี วสำคัญ ท่มี ที ้งั ชาวไทยและ ชาวต่างชาตนิ ยิ มไปท่องเที่ยวและพกั ผ่อนจำนวนมากทกุ ป ี ผลงานของโครงการหลวง เป็นทีป่ ระจกั ษไ์ ปทั่วโลก หลายประเทศมาขอรบั คำแนะนำ จนกลายเป็นต้นแบบของ การพฒั นาพน้ื ทส่ี งู ใหแ้ กห่ ลายประเทศไปแลว้ ... การทพ่ี ระองคเ์ สดจ็ ฯ ไปในพน้ื ทท่ี รุ กนั ดาร ด้วยพระองค์เอง ทำใหท้ รงเข้าถึงปญั หาของแตล่ ะพน้ื ที่ และหาวธิ แี กไ้ ขได้ตรงจุด...” นอกจากนี้ ได้มพี ระราชดำรใิ ห้ จัดสรรทีด่ ินแก่ราษฎร พร้อมทั้งจัดหา น้ำให้สามารถเพาะปลูกไดต้ ลอดทั้งปี หรือปรับปรุงพืน้ ทใี่ ห้เป็นทุง่ หญา้ สำหรับ ใช้เลยี้ งสัตว์ในจังหวัดต่างๆ เช่น โครงการ ศนู ยพ์ ฒั นาปศสุ ัตวต์ ามพระราชดำริ อำเภอ ดา่ นซ้าย จงั หวัดเลย และโครงการหมู่บ้าน ปศุสตั ว์-เกษตรมูโนะ ในเขตอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก จงั หวดั นราธวิ าส เปน็ ตน้ ตลอดจนทรงให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้ง โครงการเมืองสหกรณ์ พระราชทานพระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองคส์ รา้ งโรงสีข้าวพระราชทาน เพ่อื สนบั สนนุ สหกรณ์ตามโครงการเมืองสหกรณ์อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ และโครงการส่งเสรมิ และฟ้นื ฟูอาชพี ของสมาชกิ สหกรณท์ ป่ี ระสบภัยธรรมชาตจิ ากพายไุ ตฝ้ ่นุ เกย์ จงั หวัดชุมพร เปน็ ต้น (๒) การส่งเสริมอาชีพ เม่ือพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ ไดพ้ ระราชทาน โครงการเพื่อพัฒนาหรือช่วยเหลือราษฎรในพืน้ ทใี่ ดแล้ว พระองค์จะพระราชทานพระราชดำริให้มี การสง่ เสริมอาชีพแกป่ ระชาชนดว้ ยเสมอ โดยเฉพาะศนู ยศ์ ึกษา การพฒั นาอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ ท้ัง ๖ แหง่ ซ่งึ มีจดุ ม่งุ หมายท่สี ำคญั คอื เพ่อื แสวงหาแนวทางและวธิ กี ารพฒั นาด้านต่างๆ ท่เี หมาะสมกบั สภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎรทีอ่ าศัยอยูใ่ นภูมิภาคนัน้ ๆ และให้ราษฎรสามารถ นำไปปฏิบัตไิ ด้ รวมถึงโครงการประเภทการสง่ เสริมอาชีพโดยตรง เพือ่ ให้ประชาชนนำความรู้จาก การฝึกอบรมและถา่ ยทอดเทคโนโลยีท้ังหลายไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นการประกอบอาชพี สามารถเล้ยี งตวั เองและ พง่ึ ตนเองไดใ้ นทส่ี ดุ นอกเหนอื จากการสง่ เสรมิ อาชพี ทางการเกษตรแลว้ ยงั มกี ารสง่ เสรมิ อาชพี อน่ื ๆ ดงั น้ี 268

๒.๑) การส่งเสรมิ อาชีพ ด้านงานฝีมือ พระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริ ให้ฟนื้ ฟูและพัฒนางานฝีมือ พืน้ บ้านในแต่ละภูมิภาคขนึ้ โดย ส่งเสรมิ ให้ราษฎรมีอาชีพเสรมิ ตามทกั ษะความสามารถ ซ่งึ สมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงสานต่องานตามพระราชดำริ โดยทรงจัดตั้ง “มูลนธิ ิส่งเสริมศิลปาชพี ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ซึง่ นอกจากราษฎรจะมรี ายได้เลีย้ งชีพแลว้ ยังเปน็ การอนรุ ักษ์งานศิลปะทอ้ งถิ่นอันทรงคุณค่า ของชาติด้วย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงมพี ระราชปรารภให้กองทพั บกจัดตัง้ “ศูนยฝ์ ึกอาชีพพระราชทาน” ขึ้น สำหรบั ผ้ทู ข่ี าดทุนทรัพย์ หรอื ผู้ทุพพลภาพท่ียงั พอทำงานเลี้ยงตัวได้ ตลอดจนทรงกอ่ ต้งั “โรงเรียนพระดาบส” เพ่อื เปน็ สถานศกึ ษาสำหรบั ฝกึ สอนวชิ าชพี แกเ่ ดก็ และเยาวชน ผดู้ ้อยโอกาสและยากจน ๒.๒) การส่งเสรมิ อาชพี ด้านการแปรรูปและการตลาด พระองค์ทรงตระหนักถึงกลไก ทางด้านการผลติ และการตลาดทีท่ ันสมยั จึงไดพ้ ระราชทานพระบรมราชานญุ าตใหจ้ ดั ตง้ั โครงการหลวง อาหารสำเร็จรูปแห่งแรก เพือ่ ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ” รวมทงั้ จัดตั้ง บรษิ ทั มงคลชยั พฒั นา จำกดั ข้ึนเพ่อื ศึกษา ทดลอง และดำเนนิ งานดา้ นการตลาด ตลอดจนแปรรูป สนิ คา้ เกษตรไปสู่สนิ คา้ รปู แบบใหม่ รวมท้ังวจิ ยั และพฒั นาผลิตภณั ฑต์ า่ งๆ เพ่อื สรา้ งมูลคา่ เพ่มิ ใหแ้ กส่ ินคา้ เกษตรที่ผลิตไดจ้ ากโครงการส่วนพระองค์ สวนจติ รลดา นอกจากน้ี ทรงใหจ้ ดั ตงั้ บรษิ ทั สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถมั ภข์ ึน้ เพอ่ื จำหน่ายสนิ ค้า ในโครงการท่พี ระองคไ์ ดส้ ง่ เสรมิ ไวจ้ ำนวนมาก ซ่งึ สามารถผลติ สินคา้ ไดห้ ลากหลายและมคี ณุ ภาพมาตรฐาน โดยพระราชทานนามร้านว่า “โกลเดน้ เพลซ” (Golden Place) เพือ่ พัฒนาช่องทางการค้าปลกี ทีเ่ หมาะสมแก่ผผู้ ลิตและผบู้ ริโภค โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินการ คือ เป็นต้นแบบของรา้ นค้าปลีก ของไทยท่มี ีรปู แบบและการจัดการท่เี หมาะสมกับประชาชนไทย โดยให้เปน็ ประโยชน์ทั้งดา้ นผ้บู รโิ ภค ท่ีไดซ้ อ้ื สนิ คา้ ดี มีคณุ ภาพมาตรฐาน ราคายตุ ธิ รรม และดา้ นผ้ผู ลติ ท่สี ามารถจำหนา่ ยสินคา้ ไดโ้ ดยไม่ขาดทนุ เปน็ แหลง่ รวบรวมผลติ ภัณฑต์ ่างๆ จากโครงการตามพระราชดำริ สินค้าเกษตรปลอดภยั จากสารพิษ ตามมาตรฐานสากล สินค้าเกษตรแปรรูป สนิ ค้าในทอ้ งถิน่ ทมี่ คี ุณภาพ เป็นช่องทางการจำหนา่ ย 269

สินค้าดังกล่าวข้างต้นและสนิ ค้า ในโครงการอนื่ ๆ ทสี่ นับสนุน เกษตรกรกลุม่ แม่บ้านต่างๆ รวมทั้ง สนิ ค้าอุปโภคบริโภคทวั่ ไป โดยมี เจา้ หนา้ ท่ใี หค้ ำแนะและตรวจสอบ คุณภาพถึงแหล่งผลิต ตลอดจน ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีให้กับ เกษตรกรเพอื่ ผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสากล ซึ่งมสี ่วนในการ สร้างงานให้กับเกษตรกรเพิ่มขึน้ จูงใจให้เกษตรกรมกี ารพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติ ทีท่ นั สมยั และเป็นการใช้ทรัพยากรทีม่ ีอยูอ่ ย่างมี ประสิทธิภาพ (๓) การพัฒนาระบบคมนาคมขนสง่ เพอ่ื พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ใหร้ าษฎรมคี วามเปน็ อยทู่ ด่ี ขี น้ึ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั จงึ มพี ระราชดำริ ให้สร้างถนนเพื่อเปน็ เสน้ ทางการพัฒนาสชู่ นบททหี่ ่างไกล อันเปน็ ปัจจัยพืน้ ฐานทสี่ ำคัญของการนำ ความเจริญไปสชู่ นบท และเป็นเส้นทางลำเลยี งผลผลิตของชุมชนออกมาสตู่ ลาดได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะสนิ ค้าเกษตรทใี่ ห้ความสำคัญกับความสดใหม่ โดยมโี ครงการก่อสร้างถนนอนั เนอื่ งมาจาก พระราชดำรมิ ากมายหลายสายท่ีพระราชทานแกพ่ สกนกิ รท่วั ประเทศ ตลอดจนมีแนวพระราชดำรเิ กย่ี วกบั การแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และจังหวัดรอบนอกมากมาย เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรทตี่ ิดขัด ไดผ้ ลดีเปน็ อยา่ งยิ่ง พระราชดำรกิ ารพฒั นาระบบคมนาคมขนสง่ ของประเทศ นบั เป็นการชว่ ยเสรมิ พน้ื ฐานการพฒั นา เศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะระบบการขนส่งสินค้าจากแหลง่ ผลติ ไปสมู่ ือผบู้ ริโภคมีความรวดเร็วขึน้ ลดการสนิ้ เปลอื งพลังงานและเวลาไปกับการจราจรทตี่ ิดขัด เป็นการสร้างความมนั่ คงแข็งแรงของ เศรษฐกิจไทยใหส้ ามารถแขง่ ขนั กบั ต่างประเทศไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ๓.๒ การพัฒนาคนและสังคมอยา่ งยัง่ ยนื การทรงงานของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ เปน็ การ ดำเนินงานท่ีสอดคลอ้ งกบั วถิ ชี วี ติ ของสงั คมไทย และสามารถปฏบิ ตั ไิ ดจ้ รงิ โดยทรงเน้น “การพฒั นาคน” เปน็ ตัวตัง้ และยึดหลักผลประโยชนข์ องปวงชน และการมีส่วนร่วมตัดสนิ ใจของประชาชนในการทำ โครงการพฒั นาตา่ งๆ ดงั พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั ร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมอื่ วนั ท่ี ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ความตอนหน่ึงว่า 270

“...การพัฒนาประเทศจะบรรลุผลตามเป้าหมายได้มากนอ้ ยเพียงใดนัน้ ย่อม ขนึ้ อยูก่ ับปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง. อย่างแรกตอ้ งมีคนดี คือมีปัญญา มีความรับผิดชอบ มีความวิรยิ ะอตุ สาหะ เป็นผูป้ ฏิบัติ. อย่างที่สองตอ้ งมีวิทยาการ ที่ดีเป็นเครอื่ งใช้ประกอบการ. อย่างที่สาม ต้องมีการวางแผนทีด่ ใี ห้พอเหมาะ พอควรกับฐานะเศรษฐกิจและทรพั ยากรที่มีอยู ่ โดยคำนงึ ถึงประโยชน์อันพงึ ประสงค์ ของประเทศและประชาชนเป็นหลักปฏิบตั .ิ ..” และพระราชดำรสั ของสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ เม่อื วนั ที่ ๑๑ สงิ หาคม ๒๕๔๒ ความตอนหน่ึงวา่ “...การพัฒนาคนเปน็ ส่งิ สำคญั เทา่ กบั ชาติ ถา้ ไมพ่ ยายามพัฒนาคนใหอ้ ย่ใู นสภาพ ทอี่ ยดู่ กี นิ ดี มกี ารศึกษาและอาชีพ คนกไ็ มส่ ามารถพัฒนาชาติใหเ้ จรญิ ได้ การพัฒนาคน จึงเท่ากับการพัฒนาประเทศ...” สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณใ์ นหนังสอื “พระมหากษตั รยิ น์ ักพฒั นา เพ่อื ประโยชนส์ ุขส่ปู วงประชา” ถงึ การทรงงานพฒั นาคนในพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ความตอนหนึ่งวา่ “...พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวทรงมีพระราชดำริเรือ่ งตอ้ งพฒั นาทั้งคนและ พนื้ ท ี่ โดยจะทรงพยายาม ใหท้ ้งั คนและพ้ืนทไ่ี ดร้ ับการพัฒนา พระองค์ตรัสวา่ ถา้ พน้ื ทด่ี ี คนทไ่ี ดร้ บั ประโยชน์กค็ ือคนเหลา่ น้นั ทเ่ี คยลำบาก ขณะเดียวกนั จะตอ้ งพฒั นาคนในพ้นื ท่ี ให้ดขี นึ้ ดว้ ย หากเป็นเชน่ น ี้ รนุ่ ลูกรุน่ หลานก็จะมีการศึกษาดแี ละมีอาชพี ทีม่ ัน่ คง พระองคท์ รงไม่เห็นดว้ ยกับการพัฒนาโดยให้คนยากจนออกไปจากพนื้ ที ่ และนำคน ทีพ่ ัฒนาแล้วเข้าไปอยูใ่ นพืน้ ที่แทน เพราะทรงเห็นว่า หากใช้วธิ ีนีค้ นจนทีล่ ำบาก จะไมไ่ ดร้ บั การพัฒนา... 271

หลกั ของพระองคค์ อื อยากให้ คนมีความร ู้ แม้แตส่ ารานกุ รม ก็ เ ป็ น ห น งึ ่ ใ น ง า น พ ัฒ น า การพระราชทานทุนการศกึ ษา การสรา้ งโรงเรยี นก็ทรงสรา้ งไว้ หลายโรงเรียน งานพฒั นา เพอื่ ความมัน่ คงพระองค์ทรง เปน็ ผรู้ เิ ร่ิมกอ่ น เร่ืองความม่นั คง ของมนษุ ย์ที่สมัยนเี้ รียกวา่ Human Security ก็เป็นสิง่ ทีเ่ รารูจ้ ักและเคยชนิ กัน ไม่ใชว่ ่าพัฒนาให้ประเทศไทย มีความมัน่ คงอย่างเดยี ว แต่เป็นการทรงงานเพอื่ ให้ชวี ติ ของคนไทยมั่นคง มีสุขภาพด ี มีความรู ้ มีการศึกษาที่สามารถจะทำอะไรได้ และจะไดฝ้ ึกหัดนักพัฒนารนุ่ ต่อๆ ไป ให้มีจิตใจอยากจะทำสิ่งดๆี ให้แก่ประเทศชาต ิ และให้มีความรูท้ ีจ่ ะทำได ้ มีสปิริต มีจติ อาสาท่ีจะพัฒนาใหด้ ีข้นึ ไปเรื่อยๆ...” (๑) การพฒั นาด้านการศกึ ษา การพัฒนาคนเปน็ สิง่ สำคัญของการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยนื พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ จึงทรงให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ของชาติ ทรงสนบั สนุนให้ประชาชนได้รับการศึกษาอยา่ งทัว่ ถึงในทุกระดับ โดยมแี นวพระราชดำริ ให้วางรากฐานความรูแ้ ละการศึกษาอย่างทัว่ ถึงและเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างคนให้มาพัฒนา ประเทศต่อไป โดยทรงจัดตัง้ โรงเรยี นหลายแห่ง และพระราชทานทุนการศกึ ษาในทุกระดบั ดังทีส่ มเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดท้ รงเลา่ ถึงการพระราชทานทนุ การศกึ ษาของ สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ไวใ้ นพระราชนพิ นธ์ “สมเดจ็ แมก่ บั การศกึ ษา” ความตอนหนง่ึ วา่ “...เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทไ่ี หน กจ็ ะพระราชทานทนุ การศึกษาแกค่ นท่ฐี านะ ไม่ดีไม่สามารถส่งลูกให้เรียนชัน้ สูงได้ ทุนพระราชทานนนั้ มีทุกระดบั ชนั้ และทุกภาค จำนวนเงนิ ทีพ่ ระราชทานเพยี งพอเป็นค่าใชจ้ า่ ยในการศึกษา บางครัง้ พอทีจ่ ะจนุ เจือ ครอบครวั ในด้านอนื่ ๆ ดว้ ย เพราะมีพระราชประสงคใ์ ห้นกั เรยี นผู้นนั้ อยู่ในฐานะที่จะ เลา่ เรียนตอ่ ได้จริงๆ นักเรียนทไ่ี ดร้ ับทุนพระราชทานจะมีทะเบยี นประวัตขิ อ้ มลู ส่วนตัว ข้อมูลครอบครัว ขอ้ มูลในการศกึ ษาอย่างเป็นระเบยี บ เม่ือรับพระราชทานเงินทุกคร้งั จะตอ้ งมีจดหมายตดิ ตอ่ รายงานผลการศกึ ษา เล่าความทุกขส์ ุขของตนและครอบครัว มาทแ่ี ผนกนกั เรยี น กองราชเลขานกุ ารในพระองคส์ มเดจ็ พระบรมราชนิ นี าถทกุ ๆ คร้ัง...” 272

นอกจากนพี้ ระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยู่หวั ไดพ้ ระราชทานโครงการ สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน โดยทรง มวี ัตถุประสงค์ให้เป็นหนงั สอื ความรูท้ ี่ เหมาะแกเ่ ดก็ ในวยั ตา่ งๆ รวมท้ังผ้ใู หญ่ กส็ ามารถใชป้ ระโยชนไ์ ด้ นอกจากการส่งเสริมด้านการ ศึกษาแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มพี ระราชดำริ ส่งเสริมการนำหลกั ธรรมคำสอนใน พระพทุ ธศาสนามาใหร้ าษฎรถอื ปฏบิ ตั ใิ นชวี ติ ประจำวนั เพอ่ื ชว่ ยใหร้ าษฎรสามารถเลอื กระบบเศรษฐกจิ สังคมสมยั ใหม่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตและค่านิยมอนั ดีงามของสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ เป็นผูท้ ีม่ คี วามอดทน ขยันขันแข็งรู้จักพึ่งตนเองรู้จักความพอดี และอยรู่ ่วมกันในสงั คมได้อย่างสันติสขุ ดังพระราชดำรสั เน่อื งในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมือ่ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ ความตอนหนึ่งว่า “..เมือ่ คนเรามีวชิ าความร ู้ พรอ้ มทัง้ ศีลธรรมจรรยาอนั ดีงาม ย่อมสามารถ ทำงานหาเลีย้ งชพี และดำรงชีวิตอยู่ไดโ้ ดยสวสั ดแี ละมั่นคง ยังสามารถเผื่อแผ่ความดี ความเจริญของตัวใหเ้ ป็นประโยชน์ถึงสว่ นรวมได้ดว้ ย...” สำหรับราษฎรในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงสร้างศูนยศ์ ึกษาการพัฒนาจำนวน ๖ ศูนย์ ให้ราษฎรเรียนรู้ “ตัวอย่างของความสำเร็จ” กระจายอยูใ่ นภาคต่างๆ ตามสภาพภูมศิ าสตร์ ทแ่ี ตกต่างกนั เพอื่ ใหเ้ ป็นแหล่งศกึ ษาสรรพวชิ า ค้นคว้า ทดลอง สาธิตและดูงานทั้งของสว่ นราชการและ ประชาชน แลว้ นำไปเป็นแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงให้ความสำคัญ กับการศกึ ษา เพราะมคี วามสำคัญตอ่ การพัฒนาชีวติ ความเปน็ อยูข่ องประชาชนและการพฒั นาประเทศ โดยทรงถือว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชวี ิตมนุษย์” ดังกระแสพระราชดำรัส และ พระบรมราโชวาทที่ไดพ้ ระราชทานไว้ ณ โอกาสตา่ งๆ ท่ีอัญเชญิ มาบางตอน ความวา่ “...การพฒั นาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดีกินดี มีความมัน่ คงด้วยการ ให้การศกึ ษา การศกึ ษาเป็นเครอื่ งมือสำคญั ในการพฒั นาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็น ทรัพยากรทางปัญญาทีม่ คี า่ ของชาติ...” 273

“...งานดา้ นการศึกษา เป็นงานสำคญั ท่สี ุดอยา่ งหนง่ึ ของชาต ิ เพราะความเจริญ และความเสอื่ มของชาตนิ ัน้ ข้ึนอย่กู ับการศึกษาของพลเมอื ง เปน็ ข้อใหญ่...” ซึ่งตรงกับทสี่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณ์ เกี่ยวกับหลกั ทรงงานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ในหนงั สอื “พระมหากษัตริย์นกั พัฒนา เพื่อประโยชน์สุขส่ปู วงประชา” ความตอนหน่งึ ว่า “...ในการพัฒนาน้นั การศึกษาเปน็ ปจั จัยทส่ี ำคญั ทส่ี ดุ ท่จี ะค้ำจนุ ใหป้ ระเทศพัฒนา อยา่ งย่งั ยนื ได้ ต้องมกี ารศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยที กุ ระดับ ต้ังแต่ช้ันอนบุ าล จนถงึ ระดบั อดุ มศกึ ษา จะตอ้ งฝกึ นกั เรยี นใหม้ ที กั ษะ ทง้ั ในการปฏบิ ตั ิ และมพี ลงั ความคดิ ให้มีระบบแบบวิทยาศาสตร ์ และตอ้ งมีจนิ ตนาการ ซึง่ จะนำให้เกิดความสรา้ งสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อใหก้ ารศกึ ษาประสบความสำเรจ็ ตามเปา้ หมาย...” (๒) การสง่ เสรมิ ดา้ นสาธารณสขุ จากการเสด็จพระราชดำเนนิ ไปทรง เย่ียมราษฎรท่วั ประเทศ ทำใหพ้ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพบว่าราษฎรได้รับ บริการด้านการแพทยแ์ ละสาธารณสุข ไมท่ ัว่ ถึง ทรงเห็นความสำคัญของการมี สขุ ภาพอนามัยทีด่ ี โดยเมือ่ ประชาชนมรี ่างกายทสี่ มบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสสู่ ุขภาพจิตทีด่ ี และส่งผลให้ การพัฒนาประเทศชาติโดยรวมเป็นได้ด้วยความราบรื่น ดังนัน้ จึงมีแนวพระราชดำริให้การช่วยเหลือ ประชาชนทีเ่ น้นความรวดเร็วและการเข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ โดยใช้หลัก “เรง่ ด่วนเคลือ่ นเขา้ หา” และ “สรา้ งความเข้มแขง็ ” ดังพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทีพ่ ระราชทานเมือ่ วนั ที่ ๒๒ ตลุ าคม ๒๕๒๒ ความตอนหนงึ่ วา่ “...การรกั ษาความสมบูรณ์ของรา่ งกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ด ี และสังคม ทมี่ ่นั คงเพราะร่างกายท่แี ขง็ แรงน้ัน โดยปกตจิ ะอำนวยผลใหส้ ขุ ภาพจิตใจสมบูรณแ์ ละ เมอ่ื มสี ขุ ภาพสมบรู ณด์ ี พรอ้ มทง้ั รา่ งกายและจติ ใจแลว้ ยอ่ มมกี ำลงั ทำประโยชนส์ รา้ งสรรค์ เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองไดเ้ ต็มท ี่ สุขภาพที่สมบูรณ์ในรา่ งกายและจติ ใจนนั้ เป็นรากฐานของการสรา้ งสรรค์จรรโลงประเทศ อนั จะเป็นทางขจัดปัญหาของสังคม ส่วนสำคญั ลงได้ และจะทำให้การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศบรรลุถึง ความสำเรจ็ ม่ันคง และเจรญิ ก้าวหน้า...” 274

และพระราชดำรสั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ เม่อื วนั ท่ี ๑๘ มกราคม ๒๕๓๔ ณ พระท่นี ่งั จกั รมี หาปราสาท ความตอนหนึง่ ว่า “...ขา้ พเจ้าเห็นว่าเรอื่ งสุขภาพอนามัยนีเ้ ป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นพืน้ ฐานของ สิ่งมีชวี ติ ทั้งมวล ดังคำกล่าวทีว่ า่ “จติ ใจที่แจ่มใสย่อมอยูใ่ นรา่ งกายทีแ่ ขง็ แรง” หากประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเขาก็จะมีสตปิ ัญญาเล่าเรยี น ประกอบสัมมาอาชีพ สรา้ งสรรค์ความเจริญตา่ งๆ ให้แก่ชาติบ้านเมืองดังนัน้ ถ้าเรา จะกล่าวว่า “พลเมอื งทแ่ี ขง็ แรงย่อมสามารถสรา้ งชาตทิ ่มี น่ั คง” กค็ งจะไม่ผดิ ...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทาน พระราชดำริโครงการด้านการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ เป็นจำนวนมาก เพื่อสง่ เสริมสุขภาพ รักษา และป้องกันโรคภัยต่างๆ แก่ประชาชน ให้มสี ขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง เช่น ทรงสง่ เสริมการเลีย้ งปลาเพื่อเป็น แหล่งอาหารโปรตีน ทรงสง่ เสริมให้มีการเลยี้ งโคนมอย่างกว้างขวาง พระราชทานเกลือเสริมไอโอดีน พระราชทานทนุ ปราบอหวิ าตกโรค ทรงใหจ้ ดั ต้งั หน่วยแพทยเ์ คล่อื นท่พี ระราชทานพระราชทานโครงการ หมอหมบู่ ้าน คลินิกศูนยแ์ พทยพ์ ัฒนา ตลอดจนทรงจัดตั้งกองทนุ และมลู นธิ ิต่างๆ เช่น มูลนิธิโปลิโอ สงเคราะห์ มูลนธิ ิวิจัยประสาท ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนธิ ิพัฒนาอนามัย มลู นิธิสายใจไทยใน พระบรมราชปู ถมั ภ์ ทรงรบั คนดที ป่ี ระสบเคราะหก์ รรมไวเ้ ปน็ “คนไขใ้ นพระบรมราชานเุ คราะห”์ เปน็ ตน้ ๓.๓ การพฒั นาทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มอยา่ งยง่ั ยนื พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทรงสนพระราชหฤทัย ในเรือ่ งการอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เปน็ อย่างย่ิง ท้งั น้เี น่อื งจากการพฒั นาประเทศในระยะเวลาท่ีผา่ นมาน้ัน มีการใชป้ ระโยชน์จากทรพั ยากร 275

ธรรมชาตกิ นั อย่างฟมุ่ เฟอื ย และ มไิ ด้มกี ารฟืน้ ฟูทรัพยากรทถี่ ูก ทำลายให้กลับคืนสูส่ ภาพเดิม จนในทสี่ ุดได้ก่อให้เกิดความ เสอื่ มโทรมของทรัพยากรและ สิง่ แวดล้อม พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ จึ ง ไ ด้ พ ร ะ ร า ช ท า น แ น ว ท า ง แก้ไขในการพัฒนาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีผล โดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร ดังนัน้ จึงทรงมุง่ ทีจ่ ะให้มกี ารพัฒนาและอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยนื ควบคกู่ บั การฟน้ื ฟูทรพั ยากรธรรมชาตทิ ่ีเสอื่ มโทรม เพ่ือเป็นรากฐานของการพฒั นาประเทศ ในระยะยาว ไมว่ ่าจะเปน็ ปา่ ไม้ ทดี่ ิน แหล่งนำ้ ทรัพยากรชายฝงั่ ให้อยใู่ นสภาพทมี่ ีผลต่อการเพิม่ ประสทิ ธภิ าพการผลติ อยา่ งมากท่ีสดุ ดงั พระราชดำรสั พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั พระราชทานเม่อื วนั ท่ี ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความตอนหนงึ่ ว่า “...เรอื่ งนำ้ นี ้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนษุ ย์เท่านัน้ แม้สิ่งมีชวี ติ ทั้งหลาย ทั้งสัตวท์ ั้งพชื ถ้าไม่มีก็อยูไ่ ม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสือ่ หรือเป็นปัจจยั สำคญั ของส่งิ มชี ีวติ แมส้ ่งิ ไมม่ ชี ีวิตกต็ ้องการนำ้ เหมอื นกนั มฉิ ะน้นั กจ็ ะกลายเปน็ อะไรไมท่ ราบ เชน่ ในวตั ถตุ ่างๆ ในรปู ผลกึ กต็ ้องมีน้ำในนน้ั ดว้ ย ถ้าไมม่ ีนำ้ กจ็ ะไมเ่ ปน็ ผลกึ กลายเปน็ ส่ิงที่ไม่มีรูป ฉะนนั้ นำ้ นีก้ ็เป็นสิง่ สำคญั ทีก่ ล่าวถึงข้อนกี้ ็จะให้ได้ทราบถึงวา่ ทำไม การพฒั นาขน้ั แรกหรอื สง่ิ แรกทน่ี กึ ถงึ กค็ อื โครงการชลประทาน แลว้ กโ็ ครงการสง่ิ แวดลอ้ ม ทำใหน้ ้ำดสี องอย่างน้ีอืน่ ๆ ก็จะเป็นไปได ้ ถ้าหากว่าปญั หาของน้ำน้เี ราได้สามารถทีจ่ ะ แก้ไขหรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ฉะนัน้ การพัฒนานัน้ ส่ิงสำคญั กย็ ู่ตรงน้ ี นอกจากน้นั ก็เปน็ ส่งิ ท่ีต่อเน่ือง เช่น วิชาการในดา้ นการเพาะปลกู เป็นตน้ ตลอดจนถึงการพัฒนาทีเ่ กี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการคา้ หรือการคลัง อะไรพวกนีก้ ็ต่อเน่ืองต่อไป...” และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มพี ระราชดำรัสเกีย่ วกับความสำคัญของ การอนรุ กั ษป์ า่ ไม้จากหนงั สือ “สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ กบั การอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ความตอนหนงึ่ ว่า 276

“...ป่าเป็นจักรกลสำคัญในการผลิต น้ำฝนตน้ ไมจ้ ะรกั ษานำ้ ไว้ในราก ลำตน้ และใบ การทำลายป่ามากขนึ้ จะทำให้ฤดฝู นสัน้ ลง และฝนไมต่ กตามฤดู และการท่ปี ลอ่ ยใหม้ กี าร ทำลายปา่ ตอ่ ไปเร่อื ยๆ ความช้นื ในอากาศกจ็ ะ หมดไป แผ่นดนิ จะแห้งแล้วไม่มีตน้ ไม้ที่จะ เกบ็ นำ้ ไวน้ ำ้ ใต้ดนิ กจ็ ะไมเ่ หลอื ฉะน้นั จงึ จำเปน็ ตอ้ งรักษาป่าไว้เป็นแหล่งนำ้ ที่จะหล่อเลีย้ ง คนทัง้ ประเทศ ทั้งในปัจจบุ ันและต่อไปยัง ลกู หลานของเราในอนาคต...” (๑) การพฒั นาทรพั ยากรน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวรับสัง่ อยูเ่ สมอว่า “น้ำคือชวี ติ ” และทรงตระหนกั วา่ ประชาชนสว่ นใหญ่ ยงั คงประกอบอาชีพเกษตรกรรม จงึ มคี วามสำคัญเป็น อย่างยงิ่ ทีจ่ ะต้องมีการจัดหาและพัฒนาแหล่งนำ้ ให้มี ปรมิ าณมากเพยี งพอท่ีจะใชไ้ ดต้ ลอดปี จงึ ทรงสนพระราชหฤทัยและท่มุ เทพระวรกายในการศกึ ษา คน้ ควา้ และวเิ คราะหข์ อ้ มลู ตา่ งๆ เกย่ี วกบั เร่อื งน้ำ จากน้ันทรงรา่ งโครงการตา่ งๆ ข้นึ บนแผนท่ี และทรงวเิ คราะห์ อยา่ งถว้ นถอ่ี ีกคร้งั ถงึ ความค้มุ คา่ ของโครงการ โดยเปรยี บเทยี บคา่ ลงทนุ กบั ประโยชน์ทร่ี าษฎรในทอ้ งถ่นิ จะได้รับ แล้วจึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานทรี่ ับผิดชอบรับไปพิจารณาดำเนินการตาม ความเหมาะสม ซ่งึ โครงการตา่ งๆ ไดช้ ว่ ยแกป้ ญั หาการขาดแคลนน้ำของราษฎร และชว่ ยใหม้ ีน้ำเพอ่ื อปุ โภค บรโิ ภค และทำการเกษตรตามความตอ้ งการอย่างเพยี งพอในทกุ ฤดกู าล ดงั พระราชดำรสั ณ ศาลาดสุ ดิ าลยั สวนจติ รลดา พระราชวงั ดุสติ เม่ือวนั ท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๓๖ ความตอนหนึ่งวา่ “...วันนีก้ ็ขอพูดขออนญุ าตทีจ่ ะพูด เพราะวา่ อัน้ มาหลายปีแล้ว เคยพูดมา หลายปีแล้ว ในวิธีที่จะปฏิบัตเิ พือ่ ที่จะให้มีทรพั ยากรน้ำเพียงพอและเหมาะสม คำว่า “พอเพยี ง” กห็ มายความว่า ใหม้ พี อในการบรโิ ภคในการใช้ ท้งั ในด้านการบริโภคในบา้ น ทัง้ ในการใชเ้ พอื่ การเกษตรกรรม อตุ สาหกรรมตอ้ งมีพอ ถ้าไม่มีทุกสิง่ ทุกอย่าง ก็ชะงกั ลง แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เราภาคภูมิใจวา่ ประเทศเราก้าวหน้าเจริญก็ชะงัก ไม่มที างท่จี ะมีความเจรญิ ถ้าไมม่ ีน้ำ...” 277

พระองค์ทรงมหี ลกั และวิธีการจัดการ ทรัพยากรนำ้ ทสี่ ำคัญ คือ ต้องเหมาะสม กับสภาพภูมปิ ระเทศแต่ละท้องที่ และต้อง พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของทอ้ งถิ่น โดยมุง่ ขจัดปญั หาความ แห้งแล้งอันเนอื่ งมาจากสภาพของป่าไมต้ ้นน้ำ เสือ่ มโทรม และลักษณะดินทีเ่ ปน็ ปญั หา ทงั้ นี้ ทรงสอบถามข้อมูลจากประชาชนในท้องที่ และทรงเชิญนักวิชาการต่างๆ มาร่วมปรึกษา หารือและชว่ ยดำเนนิ โครงการตา่ งๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงคิดค้นวิธีการแก้ไขปญั หาทงั้ จาก ภัยนำ้ แลง้ นำ้ ทว่ ม และน้ำเน่าเสีย เพือ่ บ ร ร เ ท า ค ว า ม เ ดื อ ด ร้ อ น ข อ ง ร า ษ ฎ ร ให้มนี ำ้ กินน้ำใช้ทพี่ อเพียง และมีคุณภาพ โดยมหี ลักการบริหารจัดการนำ้ เพื่อให้เกิด ประโยชนอ์ ยา่ งสงู สุดตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย การบรหิ ารจัดการน้ำแล้ง พระองค์ทรงพฒั นาแหล่งน้ำผิวดิน เช่น การก่อสร้างอ่างเก็บนำ้ สร้างฝายทดน้ำ ประตูระบายน้ำ การขุดลอกสระนำ้ เพื่อการเกษตร การขุดลอกหนองบงึ ทีต่ ืน้ เขิน ตลอดจนการสร้าง อโุ มงค์ผนั น้ำและการจัดการทรัพยากรนำ้ ในบรรยากาศ คือ การปฏิบตั ิการฝนหลวง และการนำ เคร่ืองดกั หมอกมาใช้ ทรงบริหารจดั การนำ้ ท่วม โดยการสร้างเขอื่ นเก็บกักนำ้ อาทิ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวดั นครนายก เขอื่ นป่าสักชลสิทธ์ิ จงั หวดั ลพบรุ ี การก่อสรา้ งทางผนั นำ้ เช่น การผนั นำ้ จากแม่น้ำ เจา้ พระยาโดยทางตะวันตกผนั เข้าแมน่ ้ำท่าจนี แล้วผนั ลงสทู่ ุง่ บริเวณจงั หวัดสพุ รรณบุรี ก่อนระบายออก สทู่ ะเลสว่ นด้านตะวนั ออก เปน็ ตน้ การสร้างคันกัน้ น้ำ การปรบั ปรุงสภาพลำน้ำ โดยการขุดลอกลำนำ้ ในบริเวณทีต่ ื้นเขิน กรณีลำนำ้ มแี นวโค้งมากเปน็ ระยะไกล อาจพิจารณาขุดคลองลัดเชื่อมบริเวณ ดา้ นเหนือโคง้ กบั ดา้ นทา้ ยโคง้ ทำใหน้ ้ำไหลผ่านไดเ้ รว็ ข้นึ เชน่ โครงการปรบั ปรงุ คลองลัดโพธอ์ิ ันเน่อื งมาจาก พระราชดําริ การระบายน้ำออกจากพนื้ ที่ลุ่ม โดยการจัดหาพื้นทรี่ องรับและกักเก็บนำ้ ในช่วงฝนตก เปรียบเสมอื นกบั แกม้ ลิง อาทิ โครงการแกม้ ลิงฝง่ั ตะวนั ออกของแม่นำ้ เจ้าพระยา และโครงการแกม้ ลงิ ในพนื้ ท่ีฝงั่ ตะวันตกของแมน่ ้ำเจ้าพระยา 278

ในสว่ นของการจัดการน้ำเน่าเสีย จะทรงศึกษาทดลองและดำเนนิ การแก้ไขอยา่ งเปน็ รูปธรรม ทงั้ โดยกระบวนการทางธรรมชาติ ฟิสกิ ส์ เคมี การใช้เครือ่ งมือและเทคโนโลยที ปี่ ระดิษฐ์คิดค้นขึน้ หรือผสมผสานวิธีต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ การใชน้ ำ้ ดีไล่น้ำเสีย การนำผักตบชวามาทำหน้าที่ดูดซบั ความสกปรกจากน้ำเนา่ เสีย ในโครงการปรับปรุงบึงมกั กะสนั การบำบัดนำ้ เสียด้วยระบบบ่อบำบัด และพืชนำ้ เป็นการบำบดั น้ำเสียชุมชนด้วยวิธีการธรรมชาติของโครงการศึกษาวิจัยพัฒนาสิง่ แวดล้อม แหลมผักเบยี้ อันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ การบำบัดน้ำเสยี ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้เครื่องจักรกล เติมอากาศ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศทผี่ วิ หนา้ หมนุ ช้าแบบทนุ่ ลอย มาช่วยเพิ่มออกซเิ จนละลายนำ้ นอกเหนอื จากไดอ้ อกซเิ จนจากพืชน้ำตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ในการจัดการนำ้ เค็มและน้ำกร่อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวได้พระราชทาน พระราชดำริ ให้พิจารณาสร้างประตูบังคับน้ำปดิ กั้นปากแม่น้ำ เพือ่ กันน้ำเค็มไม่ให้ไหลเข้าไปในพื้นที่ เพาะปลกู และเก็บกักน้ำจืดไวใ้ นแมน่ ้ำหรอื ลำธาร เพอื่ ใชป้ ระโยชน์ในการเกษตรและการอปุ โภคบริโภค เชน่ โครงการพฒั นาล่มุ นำ้ บางนรา อนั เน่ือง มาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส โครงการพัฒนาลมุ่ น้ำปากพนัง อันเนือ่ ง มาจากพระราชดำริ จงั หวดั นครศรธี รรมราช เปน็ ต้น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัวดังกล่าว นับเป็นการจัดการ นำ้ อย่างครบวงจรเพื่อแก้ไขปญั หาการ ขาดแคลนนำ้ ในฤดูแล้ง การเกิดน้ำทว่ ม ในฤดูฝน และปัญหานำ้ เน่าเสีย สะท้อน แนวคิดทีเ่ ป็นระบบอย่างครบถ้วน ทรงมองปญั หาในองค์รวมทรงหาวิธีการต่างๆ ให้สามารถนำน้ำมา ใช้เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อน และการพัฒนาอาชีพให้ประชาชนอยูใ่ นฐานะพอมพี อกิน และสร้าง ความมน่ั คงในการดำเนินชวี ิตใหแ้ ก่พสกนกิ รชาวไทยทั่วประเทศอย่างมั่นคงและย่ังยืน (๒) การพัฒนาทรพั ยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว มแี นวพระราชดำริเพือ่ แก้ไขปญั หาเรื่องทรัพยากรทดี่ ิน ทงั้ ในแง่ ของปญั หาดนิ ท่เี ส่อื มโทรมขาดคณุ ภาพ และการขาดแคลนท่ีดนิ ทำกนิ สำหรบั เกษตรกร ซง่ึ แนวพระราชดำริ เกี่ยวกับทรัพยากรดินทสี่ ำคัญได้แก่ การจัดการและพฒั นาทีด่ นิ ทรงนำวิธีการปฏิรูปทีด่ ินมาใช้ ในการจดั และพฒั นาทด่ี นิ ทเ่ี ปน็ ปา่ เสอ่ื มโทรม ทง้ิ รา้ ง วา่ งเปลา่ นำมาจดั สรรใหแ้ กเ่ กษตรกรทไ่ี รท้ ท่ี ำกนิ ได้ 279

ประกอบอาชีพในรูปของหมูบ่ ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาทีด่ ินในรูปแบบอืน่ ๆ และจัดสรร พื้นทีท่ ำกินตามแนวพืน้ ทีร่ ับนำ้ จากโครงการชลประทาน นัน่ คือจะต้องดำเนินโครงการเกี่ยวกับ การพฒั นาท่ีดนิ เพื่อการเกษตรควบค่ไู ปกับการพฒั นาแหล่งน้ำ การพัฒนาและอนุรกั ษด์ นิ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นหรือ รักษาไว้ไมใ่ ห้ตกต่ำ เช่น การวิจัยและการวางแผนการใช้ทดี่ ิน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทดี่ ินอยา่ งมี ประสทิ ธิภาพและเหมาะสมกับลักษณะสภาพดิน การศึกษาเพื่ออนรุ ักษ์ บำรุงรักษา และฟืน้ ฟูดิน โดยวิธีสว่ นใหญ่เปน็ วิธีการตามธรรมชาติทพี่ ยายามสร้างความสมดุลของระบบนเิ วศและสภาพแวดล้อม รวมถึงอนุรักษ์และฟืน้ ฟูดินทีม่ ีสภาพธรรมชาติและปญั หาทแี่ ตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น ทรงใช้ “ทฤษฎแี กล้งดิน” เพอ่ื แก้ปญั หาดนิ เปรี้ยว อนรุ ักษ์ดินดว้ ยหญ้าแฝก ซง่ึ เป็นวิธีงา่ ยๆ ประหยัดคา่ ใช้จา่ ย และเกษตรกรก็สามารถทำไดด้ ว้ ยตนเอง การห่มดิน เพอื่ ใหด้ นิ มคี วามช่มุ ช้นื จุลินทรยี ์ทำงานไดด้ ี ทำให้ เกษตรกรสามารถเพาะปลกู พืชได้ผลผลิตที่ดีขน้ึ และมีรายได้เพียงพอเล้ยี งตนเองได้ การดำเนนิ การเกี่ยวกับกรรมสิทธิท์ ี่ดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว พระราชทานแนวทาง การจดั การทรพั ยากรท่ีดนิ และปา่ ไม้ สำหรบั ท่ดี นิ ปา่ สงวนท่เี ส่อื มโทรมและราษฎรไดเ้ ขา้ ไปทำกนิ อย่แู ล้ว โดยให้ภาครัฐดำเนินการให้กรรมสทิ ธิแ์ ก่ราษฎรในการทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตาม ความเหมาะสมของสภาพพืน้ ทนี่ ัน้ ๆ แต่ไมส่ ามารถซื้อขายได้ เช่น ให้หนงั สอื รับรองสิทธิทำกิน (สทก.) แบบสามารถเปน็ มรดกตกทอดแกท่ ายาทใหท้ ำกนิ ไดต้ ลอดไป ดว้ ยวธิ กี ารนจ้ี ะชว่ ยใหร้ าษฎรมกี รรมสทิ ธท์ิ ด่ี นิ เปน็ ของตนเองและครอบครัวโดยไมอ่ าจนำท่ดี นิ นัน้ ไปขาย และจะไม่ไปบุกรกุ พน้ื ทีป่ า่ สงวนอืน่ ๆ อีก 280

(๓) การพัฒนาและอนรุ ักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรชายฝั่ง ทะเล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯพระบรมราชนิ นี าถ ทรงเห็นความสำคัญของปญั หาปา่ ไม้ และทรัพยากรชายฝัง่ ทะเลเสือ่ มโทรม ซึง่ สง่ ผลกระทบต่อปัญหาด้านอืน่ ๆ ไมเ่ ฉพาะแต่ปญั หาเรื่องดิน และน้ำ เทา่ นัน้ หากโยงใยถึงปัญหาทางสงั คม เศรษฐกิจ การเมอื ง คุณธรรม และระบบนิเวศ ด้วยเหตุ ดงั กล่าวทำใหแ้ นวพระราชดำรใิ นการแกไ้ ขปญั หาปา่ เส่อื มโทรมไดท้ รงรวมงานพฒั นาท่เี กย่ี วเน่อื งท้งั หมด เข้าไปทำงานในพ้นื ทีอ่ ยา่ งประสานสมั พันธ์กัน ดังพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว เม่ือวนั ท่ี ๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ ความตอนหนงึ่ วา่ “...ธรรมชาติแวดลอ้ มของเรา ไมว่ ่าจะเปน็ แผน่ ดนิ ปา่ ไม ้ แมน่ ำ้ ทะเล และอากาศ มไิ ด้เปน็ เพยี งส่งิ สวยๆ งามๆ เทา่ น้นั หากแตเ่ ปน็ ส่งิ จำเปน็ สำหรับการดำรงชีวติ ของเรา และการคุม้ ครองสิ่งแวดล้อมของเราไวใ้ ห้ดนี ี ้ ก็เท่ากับเป็นการปกปักรกั ษาอนาคต ไว้ใหล้ กู หลานของเราด้วย...” ท้งั น้ี พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ มแี นวพระราชดำริ ด้านการป่าไม้ จำแนกได้ ดงั น้ี การอนุรกั ษป์ า่ และส่งิ แวดลอ้ ม ไดแ้ ก่ การรักษาปา่ ตน้ น้ำ โดยใช้ “ทฤษฎปี า่ เปยี ก” การจัดการ เรอื่ งน้ำและการสรา้ งความชุม่ ชนื้ ในบรเิ วณพืน้ ทีอ่ นรุ กั ษ์ โดยการสร้างฝายชะลอความชุม่ ชืน้ หรือ Check Dam การจา่ ยปันนำ้ โดยการทำท่อสง่ และลำเหมือง ซึง่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงเนน้ การใช้วัสดุในพืน้ ทที่ หี่ าง่ายและประหยดั เปน็ หลัก การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยจัดให้มี การเพาะเล้ยี งขยายพนั ธ์ใุ หแ้ พรห่ ลาย รวมท้ังสง่ เสรมิ ใหร้ าษฎรเล้ียงสตั วป์ ่าเป็นอาชพี การรักษาปา่ ชายเลน โดยปลูกปา่ ไม้ชายเลนด้วยการอาศยั ระบบนำ้ ข้นึ น้ำลงในการเติบโต การฟืน้ ฟสู ภาพป่าและการปลูกป่า แนวพระราชดำริในการฟืน้ ฟูสภาพป่าและการปลกู ปา่ ได้แก่ การปลูกป่าในใจคน โดยส่งเสรมิ ให้ราษฎรมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมการปลูกป่า เชน่ โครงการพัฒนา พื้นทีล่ ุม่ นำ้ ห้วยบางทรายตอนบนอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ จังหวัดมุกดาหาร และโครงการพัฒนา 281

พืน้ ทลี่ มุ่ น้ำแม่อาวอันเนอื่ งมา จากพระราชดำริ จังหวัดลำพูน การปลกู ปา่ ๓ อย่าง ใหป้ ระโยชน์ ๔ อย่าง การปลกู ป่าทดแทน และ การปลูกป่าโดยไม่ตอ้ งปลูก เช่น โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูทดี่ ิน เสือ่ มโทรมเขาชะงุ้มอันเนือ่ ง มาจากพระราชดำริ ตำบลเขาชะงุม้ อำเภอโพธาราม จังหวดั ราชบุรี การพฒั นาเพือ่ ให้ชมุ ชน อยู่ร่วมกับป่าอย่างยัง่ ยืน ทรง ส่งเสรมิ ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า และจดั การทรพั ยากรด้วยตนเอง ตลอดจน เสรมิ สร้างคุณธรรมและจิตสำนกึ แก่ราษฎรให้ร่วมกันดำเนนิ การ ซึ่งชาวบา้ นเห็นและสมั ผัสได้ เน่ืองจากไดร้ บั ประโยชนจ์ ากความอุดมสมบรู ณข์ องป่า ดนิ และนำ้ ทรงสง่ เสรมิ ใหร้ าษฎรชว่ ยกนั อนุรกั ษป์ ่า และอย่รู ว่ มกบั ปา่ ไดอ้ ย่างเก้อื กลู เชน่ โครงการ “ปา่ ไมห้ มบู่ า้ น” เพอ่ื ใหร้ าษฎรเพาะตน้ กล้าใหแ้ กร่ าชการ และโครงการทส่ี มเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อฟ้ืนฟูสภาพปา่ ให้อุดมสมบรู ณ์ ใหค้ นอยรู่ ว่ มกบั ปา่ ไดอ้ ยา่ งสนั ติ ไดแ้ ก่ โครงการปา่ รกั นำ้ โครงการบา้ นเลก็ ในปา่ ใหญ่ โครงการอาสาสมคั ร พิทักษ์ป่า โครงการพระราชดำริหาดทรายใหญ่ โครงการอนรุ ักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสตั ว์ปา่ ในพื้นที่ ปา่ รอยต่อ ๕ จังหวัด โครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสไู่ พรพฤกษ์อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ โครงการ คืนช้างสู่ธรรมชาติ ทรงจัดต้งั สถานีเพาะเล้ยี งและขยายพันธส์ุ ัตวป์ ่า กระจายอยทู่ กุ ภูมภิ าค ท่วั ประเทศ อนั เปน็ การสานตอ่ พระราชปณธิ านในการพัฒนาและอนุรักษท์ รัพยากรปา่ ไม้และสัตวป์ า่ ให้คงอยูต่ อ่ ไป นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ยังมพี ระราชดำริให้เพาะพันธุป์ ลาไทยเพื่อ ปล่อยในแหลง่ นำ้ ธรรมชาติ เพือ่ ให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของราษฎรในทอ้ งถิ่น และมพี ระราชดำริ ให้ร่วมกันปกปอ้ งและฟืน้ ฟูป่าชายเลนของไทยให้มสี ภาพอดุ มสมบรู ณ์ และรักษาความสมดุลของระบบ นิเวศชายฝ่งั ทะเลใหก้ ลบั คนื มา โดยทรงจัดตง้ั โครงการต่างๆ เชน่ โครงการฟนื้ ฟูและอนุรักษ์ปา่ ทุง่ ทะเล อนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของหงิ่ ห้อยในประเทศไทย ในพระราชดำริ ทรงจดั ต้ังสถานีอนุรกั ษพ์ ันธ์เุ ต่าทะเล ศนู ย์วิจยั และพฒั นาประมงชายฝงั่ จงั หวดั ประจวบ ครี ขี นั ธ์ และโครงการเพาะพันธุ์หอยมกุ จาน เปน็ ต้น 282

(๔) การพัฒนาพลังงาน ทดแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงห่วงใยเรือ่ งการนำทรัพยากร ธ ร ร ม ช า ติ ท ีม่ อี ย ูใ่ น โ ล ก ม า ใช้ โดยเฉพาะนำ้ มนั เชื้อเพลิงซึง่ นบั วัน จะค่อยๆ หมดไป จึงทรงให้ความ สนพระราชหฤทัยเกีย่ วกับพลังงาน ทดแทน ทีจ่ ะนำมาใชภ้ ายในประเทศ และช่วยเหลือให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต รวมทงั้ สามารถผลิตพลงั งานขึ้นมาใช้ได้เอง ก่อนทจี่ ะ เกดิ ภาวะนำ้ มนั ขาดแคลน พระองคจ์ ึงทรงรเิ รม่ิ การศกึ ษาวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ ผา่ นโครงการสว่ นพระองค์ สวนจิตรลดา อยา่ งเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนือ่ งกว่า ๓๐ ปี โดยมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตร มาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพอ่ื ใหค้ นไทยพงึ่ ตวั เองได้ในดา้ นพลังงาน รวมท้ังรองรบั ปญั หาราคาพืชผล เกษตรตกต่ำ ตลอดจนเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำประโยชนใ์ ห้คุ้มค่าทีส่ ุด และสร้างระบบนเิ วศ ให้เกิดความสมดุล ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่เอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ไทยทวั่ โลก ทเ่ี ข้าเฝ้าฯ เนื่องในโอกาสประชุมประจำปี เมอื่ วันที่ ๑๖ สงิ หาคม ๒๕๔๘ ความตอนหนึ่งว่า “...การทน่ี ำ้ มนั แพงข้นึ คนซ้อื กต็ กใจ เพราะวา่ นำ้ มนั น้ันเปน็ ส่งิ ท่จี ะช่วยใหท้ ำมา หากินได้ และถ้าน้ำมันแพงแล้วค่าตอบแทนในอาชีพมันคงที่ หรือคา่ ใช้จา่ ยมากขึน้ แตร่ ายได้นอ้ ยลงอย่างนีบ้ างคนเกือบจะอยู่ไม่ได้ ฉะนัน้ จะต้องค้นคว้านำ้ มันเชือ้ เพลิง ทดแทนทีร่ าคาถูก... เรือ่ งพลังงานทดแทนนนั้ เป็นการนำพืชมาทำพลังงานทดแทน และมีหลายชนดิ ศกึ ษามาหลายสิบปี ไม่ใช่เพงิ่ จะมาทำตอนน้ำมันแพงขนึ้ ครงั้ ละ ๔๐ สตางค…์ สำหรบั เชอื้ เพลิงทีจ่ ะได้จากดินโดยการปลูกนัน้ ก็ตอ้ งให้สามารถปลูก ในราคาทปี่ ระหยัด...” ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงเลง็ เห็นถึงความสำคัญของแหลง่ พลงั งานทดแทน จงึ ไดจ้ ดั ทำโครงการตา่ งๆ เชน่ ผลิตแกส๊ ชวี ภาพจากมลู โค การวจิ ยั และพฒั นาโรงงานแปรรปู ปาล์มน้ำมัน หรือไบโอดีเซล การผลิตแก๊สโซฮอล์ พลังงานทดแทนน้ำมนั เบนซิน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับโครงการสว่ นพระองค์ฯ ผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึง่ เปดิ จำหน่ายแก่ประชาชน ทัว่ ไป และภายในเวลาไม่กีป่ ี น้ำมนั แก๊สโซฮอลไ์ ด้รับความนยิ มในหมูป่ ระชาชนอย่างกว้างขวาง เปน็ พลังงานสำคัญในปจั จุบัน ซึ่งนอกจากช่วยลดการนำเข้านำ้ มันได้สว่ นหนงึ่ แลว้ ยงั ช่วยลดมลพิษ ในอากาศไดอ้ ีกด้วย 283

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงสง่ เสริมการใช้ พลงั งานทดแทนอืน่ ๆ ด้วย เช่นการใช้พลังงานน้ำให้เปน็ ประโยชน์ โดยมีพระราชดำริเกีย่ วกับการสร้างเขือ่ นและ โรงไฟฟ้าพลังนำ้ ขนาดเลก็ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ และสร้างกระแสไฟฟ้าให้ชุมชนในละแวกใกล้เคียง และ ในพื้นทชี่ นบทห่างไกล รวมทงั้ มพี ระราชดำริเกี่ยวกับ การพฒั นาพลังงานลมซ่งึ ส่วนใหญน่ ำมาใชใ้ นการสบู น้ำ เชน่ มีพระราชดำริให้ปลูกปา่ ด้วยการนำพลงั งานลมมาใช้สบู น้ำ ขนึ้ ไปบนภูเขา เพอ่ื ให้ดนิ มคี วามช่มุ ชื้น สรา้ งสภาพแวดลอ้ ม ทเ่ี หมาะแกก่ ารเจรญิ เตบิ โตของตน้ ไม้ โดยทรงนำไปใชป้ ระโยชน์ ในโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริเปน็ จำนวนมาก นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ได้สนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทที่ รงสน พระราชหฤทยั ในการนำพลงั งานจากแสงอาทติ ยม์ าใช้ประโยชน์ ด้วยการติดตัง้ ระบบเซลลแ์ สงอาทิตย์ ผลติ กระแสไฟฟ้าในโครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริต่างๆ เช่น โครงการฟาร์มตวั อย่างบ้านพุระกำ จังหวัดราชบรุ ี โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา สถานพี ัฒนาเกษตรทีส่ ูง ตามพระราชดำริ ดอยมอ่ นลา้ น จังหวดั เชียงใหม่ และโรงเรยี นจิตรลดา เปน็ ต้น 284

๔. ม่งุ สคู่ วามพอเพียงเพอื่ ก้าวสูก่ ารพฒั นาอย่างย่ังยืน แนวพระราชดำริ “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวได้ พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยนำไปปฏิบัติ สะท้อนถึงสายพระเนตรอันยาวไกลในการพัฒนา ประเทศเพื่อก้าวสกู่ ารพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืน โดยทรงส่งสญั ญาณเตือนคนไทยตลอดมาถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ความเสือ่ มของสงั คม และความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม อันเป็นผลมาจาก การพฒั นาท่ีม่งุ เนน้ แตต่ วั เลขการเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ซง่ึ เป็นการเตบิ โตในเชงิ ปรมิ าณเป็นหลกั จนนำพา ใหป้ ระเทศตอ้ งเผชิญกบั ภาวะวกิ ฤตทางเศรษฐกิจหลายคร้ัง ผลสำเร็จของโครงการพัฒนาประเทศตามแนวทางของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ท่พี ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทรงปฏบิ ตั ิอยา่ งสมำ่ เสมอ ต่อเนือ่ งยาวนานให้ประชาชนชาวไทยรับรู้มาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าทกุ โครงการพัฒนาของพระองค์ ลว้ นให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมสี ว่ นร่วมของ ประชาชนเป็นทีต่ ั้ง และมงุ่ สร้างความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดลอ้ ม นำสูค่ วามสขุ ของประชาชนในพืน้ ที่ จึงเปน็ ตัวอย่างของการพัฒนาประเทศสูค่ วามยัง่ ยืน ทีป่ ระชาชนชาวไทยทกุ ภาคสว่ นควรดำเนนิ ตามเบือ้ งพระยุคลบาท โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” มาเปน็ วิถีการดำรงตน ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมัน่ คง และ ร่วมกนั พัฒนาประเทศอย่างย่งั ยืน อนั เปน็ ผลดที ั้งตอ่ ตนเองและประเทศชาตสิ บื ต่อไป 285

“...วิชาการกับความคิดเป็นปัจจัยสำคัญคู่กัน สำหรับใช้ในการทำงานใหญ่ๆ ของส่วนรวม ความคิดที่จะช่วยให้นำเอาวิชาการมาใช้เป็นประโยชน์ได้แท้จริงนั้น จะต้องเป็นความคิดที่กระจ่างแจ่มใส และมั่นคงอยู่ในความถูกต้อง เที่ยงตรงตามเหตุผลและความยุติธรรมอันจัดเป็นปัญญา นอกจากนั้นยังได้กล่าวด้วยว่า การฝึกปัญญาจำเป็นต้องพากเพียรปฏิบัติจริงๆ ให้เกิดเป็นนิสัย ปัญญาจึงจะถาวรมั่นคง เมื่อทำให้ปัญญาเกิดขึ้นได้เป็นปรกติแล้ว ก็จะสามารถจำแนกความจริงความเท็จ ความดีความชั่ว ได้โดยถูกต้อง และจะเกิดความนิยมยึดมั่นในความดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความออมอด งดเว้นในการกระทำอันเป็นทุจริตได้โดยอัตโนมัติ ความดีความเจริญก็จะเพิ่มพูนขึ้นมาเอง...” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๑

๕ สัจธรรมแหง่ แนวพระราชดำริ อเพยือ่ ่าปงยระงั่ ยโยืนชนส์ ุขของปวงชนชาวไทย

ส่วนที่ ๕ สจั ธรรมแหบง่ ทแสนรวุปพระราชดำริ เพือ่ ประโยชนส์ ุขของปวงชนชาวไทยอยา่ งยงั่ ยืน ทรงเรมิ่ วางรากฐานนำสู่ “การพัฒนาอยา่ งยั่งยนื ” ยอ้ นไปเมอื่ ๖๗ ปกี ่อน ในขณะทีท่ รัพยากรธรรมชาติของประเทศต่างๆ ทัว่ โลกยังอดุ มสมบรู ณ ์ ธรรมชาติยังคงดำเนนิ ไปอย่างเป็นวัฏจักร จนมนษุ ยส์ ามารถพยากรณป์ รากฏการณ์ทจี่ ะเกิดขึน้ ได้อย่าง แม่นยำ รวมทัง้ สิง่ แวดลอ้ มรอบตัวเรายังนา่ รืน่ รมย ์ คนสว่ นใหญ่จึงไมค่ ำนึงถึงการอยรู่ ่วมกับธรรมชาติ อย่างอาศยั เกอื้ กลู กนั แต่พระมหากษตั รยิ แ์ ละพระราชินขี องประเทศไทยทรงมองการณ์ไกลถงึ ผลรา้ ย ของการใชท้ รัพยากรธรรมชาติอย่างฟุม่ เฟือย และความจำเป็นที่จะตอ้ งอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติอย่าง อาศัยเกื้อกูลกัน จึงทรงเรมิ่ วางรากฐานเพอื่ นำสู่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งเปน็ คำทีบ่ ัญญัติขึ้นมา ในภายหลงั โดยทรงใหค้ วามสำคญั กบั การพฒั นาในทุกดา้ นและทกุ มิต ิ ท้ังเศรษฐกจิ สงั คม และทรพั ยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม โดยมีประชาชนเป็นเปา้ หมายของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความอยดู่ ีกินดี และมีความสุขอยา่ งย่งั ยืน 288

ตลอดระยะเวลากวา่ ๖๗ ป ี ภายหลงั จากทรงครองสริ ิราชสมบัต ิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ จงึ ทรงมงุ่ ม่นั ปฏบิ ัติพระราชกรณียกิจนานปั การเคียงคูก่ นั มาตลอด พร้อมด้วยพระบรมวงศานวุ งศ์ทกุ พระองค์ ทรงดำเนนิ การทุกวิถีทางด้วยนำ้ พระราชหฤทยั ทีท่ รงรักและห่วงใยราษฎรของพระองค์เหมือน “พอ่ และแม่ที่รกั และห่วงใยลูกอยูต่ ลอดเวลา” โดย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานในทุกหนแห่ง ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ปน็ พน้ื ท่ที รุ กนั ดาร ไม่วา่ จะเป็นปา่ ลึก ขุนเขา หรอื ตอ้ งทรงพระดำเนนิ ฝ่าหนองน้ำและลำธารอนั ยากลำบาก เพ่อื ชว่ ยขจดั ปดั เป่าความทกุ ขย์ ากเดอื ดรอ้ น ในทกุ ๆ เรื่องของราษฎร โดยเฉพาะผยู้ ากไร้และด้อยโอกาส ด้วยพระวิริยะอตุ สาหะและตรากตรำ พระวรกายอยา่ งไมท่ รงเหน็ แกค่ วามเหนด็ เหน่อื ย และมไิ ดท้ รงยอ่ ท้อตอ่ ความยากลำบาก จนอาจกลา่ วไดว้ า่ “ทรงรว่ มทกุ ข์ร่วมสขุ กบั ประชาชน” อยา่ งแทจ้ รงิ เพ่อื นำพาประเทศไทยใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ และประชาชน มคี วามผาสุก รม่ เย็น สมดงั พระราชปณธิ านท่ีพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ เม่อื วนั ท่ ี ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ความวา่ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพ่อื ประโยชน์สขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการน้ีมีความหมายลกึ ซ้งึ แสดงถงึ พระราชปณธิ านตง้ั ม่นั ท่จี ะทรงอุทิศบำเพญ็ พระราชกรณยี กิจ เพื่อให้เกิดความร่มเยน็ เปน็ สขุ ทัว่ แผน่ ดิน ทรงศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และคิดค้น โครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำรเิ ปน็ จำนวนมาก เพ่อื ชว่ ยเหลือเหล่าพสกนกิ รใหพ้ น้ จากความยากจน ไปสูค่ วามพออยู่พอกินและมีความสุข ขณะเดยี วกันทรงอนรุ ักษ ์ พิทักษ์รักษา และแกไ้ ขปญั หาทรพั ยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มของแผน่ ดินตัง้ แต่ท้องฟ้า ผืนดิน จรดใต้ท้องทะเล เพื่อความสมดุลของ สรรพชีวิตให้มีความยัง่ ยืน 289

สัจธรรมแห่งการทรงงาน เพื่อความอยู่ดีมีสุขของ ประชาชน การทพี่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัว และสมเด็จ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ เสด็จพระราชดำเนนิ ไปทรง เยีย่ มเยียนราษฎรทัว่ ประเทศ พระองค์มพี ระราชประสงค์ ทจี่ ะทรง “เข้าใจ และเข้าถึง” ความเดือนร้อนและความต้องการของราษฎร เพื่อทีจ่ ะทรงใช้ทรัพยากรทงั้ หลายทงั้ ปวงทีพ่ ระองค์ มอี ยมู่ าช่วยเหลือ หรือ “พฒั นา” เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยูใ่ ห้พ้นจากความยากจน โดยทรงยึดหลกั การสำคัญคือ ความสอดคลอ้ งกับภูมิสังคม ทแี่ ตกต่างกัน และจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนทีจ่ ะเข้าไปพัฒนามีสภาพพร้อมทจี่ ะรับ การพัฒนา รวมทง้ั ทรงยึดหลกั การมสี ่วนร่วมของทุกภาคสว่ น และให้ถือประโยชน์สว่ นรวมเปน็ สำคัญ หลกั การสำคัญของพระองค์ทรงคำนึงถึงความสอดคลอ้ งเกือ้ กูลกันระหว่างการพัฒนาและการ อนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ มอย่างเครง่ ครดั มาตลอด ทรงเขา้ พระราชหฤทยั อย่างถ่องแท้ ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสมั พันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ จึงทรงนำ ความรจู้ รงิ ในความเป็นไปแหง่ ธรรมชาตแิ ละกฎเกณฑข์ องธรรมชาตมิ าใชใ้ นการแกไ้ ขปญั หา และปรบั ปรงุ เปลยี่ นแปลงสภาวะทีไ่ ม่ปกติให้เข้าสูร่ ะบบปกติ ทรงใช้หลกั “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” อนั เป็นการ แก้ไขปัญหาอยา่ งยัง่ ยนื โดยทรงใช้หลกั อธรรมปราบอธรรม คือการใช้สงิ่ ทไี่ มพ่ ึงปรารถนามาหักลา้ งกัน ให้มีผลออกมาเป็น “ธรรม” ได้ ตลอดจนทรงอนุรักษ์ทรัพยากรปา่ ไมใ้ ห้คนอยรู่ ่วมกับปา่ ได้อยา่ งยงั่ ยนื โดยการใชว้ ธิ ีปลูกปา่ ในใจคน และใชห้ ญา้ แฝกแก้ไขปัญหาดนิ พังทลาย พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ทรงใช ้ “การบริหารแบบบรู ณาการ” โดยทรงมวี ธิ คี ดิ อย่างเปน็ ระบบ ครบวงจร ทำตามลำดบั ขน้ั และจดั บรกิ ารรวมท่ีจดุ เดยี ว เพอ่ื อำนวยความสะดวกและประโยชน์แกป่ ระชาชน และไมว่ า่ จะทรงงานใดกต็ าม พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ทรงม่งุ ม่ันท่ีจะชว่ ยเหลือประชาชนใหม้ ีคณุ ภาพ ชวี ิตท่ดี ขี ึน้ จึงทรงทำทกุ วิถีทางเพอ่ื “มงุ่ ผลสมั ฤทธ์ิ” เป้าหมายทีย่ ่งิ ใหญข่ องพระองค์คอื ความอยู่ดมี ีสขุ ของประชาชน ไมท่ รงคำนงึ ถงึ ผลกำไรท่เี ป็นตวั เงนิ ไม่ทรงยดึ ตดิ ตำรา เปน็ การพฒั นาท่ีอนุโลมและรอมชอม กับสภาพแห่งธรรมชาติ และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน และหัวใจสำคัญของการทรงงานคือ พระองคโ์ ปรดที่จะทำส่ิงทย่ี ากให้กลายเป็นง่าย ซ่ึงเปน็ หลักสำคญั ในการพัฒนาของทุกโครงการ 290

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว มีพระราชดำริว่า การพัฒนาก็คือการทำสงครามกับ ความยากจน หากสามารถช่วยให้ประชาชนมคี วามกินดีอยดู่ ีได้ จึงจะถือได้ว่าประสบความสำเร็จ เปน็ “ชยั ชนะของการพฒั นา” อยา่ งแทจ้ ริง พระองค์จงึ ทรงงานอย่างหนกั ในการต่อสูก้ บั ความยากจน เพื่อยกระดับชีวิตความเปน็ อยูข่ องราษฎร ให้สามารถพึง่ ตนเองได้ อนั จะนำไปสกู่ ารเปน็ ประชาธิปไตย อย่างแท้จรงิ พระราชทาน “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” เส้นทางสูค่ วามย่ังยนื จดุ หมายของการพฒั นาท่ีมีพระราชประสงคใ์ หป้ ระชาชนมคี วาม “กนิ ดีอยดู่ ”ี หรอื “พออยพู่ อกนิ ” น้ัน เป็นพระราชดำรัสทีท่ รงชี้แนะให้ประชาชนนำมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตมาเกือบ ๔๐ ปีแลว้ และต่อมาพระราชทานใหใ้ ช้คำว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” โดยในปจั จบุ ันไดม้ ีภาคสว่ นตา่ งๆ นอ้ มนำไปปฏิบัติเปน็ จำนวนมาก การพัฒนาประเทศตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนัน้ คือการพัฒนาทีต่ ัง้ อยูบ่ นพื้นฐานของ ทางสายกลางและความไมป่ ระมาท โดยคำนึงถงึ ความพอประมาณความมเี หตุผลการมภี มู คิ ุ้มกนั ในตวั ทด่ี ี ตลอดจนใช้หลกั วชิ าความรู้ มคี ุณธรรม ดำเนนิ ชีวติ ดว้ ยความเพยี ร อย่างรอบคอบ ประกอบการวางแผน การตดั สนิ ใจและในการกระทำ ทำงานอยา่ งมคี วามสขุ ร ู้ รกั สามคั ค ี กจ็ ะนำไปสคู่ วามกา้ วหนา้ อยา่ งสมดลุ มน่ั คง และยง่ั ยนื พรอ้ มรบั ตอ่ การเปลย่ี นแปลงอยา่ งรวดเรว็ และกวา้ งขวางทง้ั ดา้ นวตั ถ ุ สงั คม สง่ิ แวดลอ้ ม และวฒั นธรรมจากโลกภายนอกได้เปน็ อยา่ งดี 291

ประโยชนส์ ุขอย่างยัง่ ยืนจากโครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ การทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ เสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปทรงเยีย่ มเยือนราษฎรทวั่ ประเทศ เป็นการทรงงานเพื่อรับทราบทกุ ข์สุข และปัญหาความ เดือดร้อนทแี่ ทจ้ ริงของประชาชน ด้วยการศึกษาข้อมูลจากสภาพความเป็นอยแู่ ละวิถีชีวิตทแี่ ท้จริง ตามสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิสงั คมของแต่ละภูมิภาค เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อยา่ งตรงจุด จนมีคำกลา่ ววา่ “ไม่มที ่ไี หนในประเทศไทยทท่ี ั้งสองพระองค์เสดจ็ ฯ ไปไม่ถงึ ” นับเปน็ การทรงงานอย่างหนักเพื่อต่อสูก้ ับความยากจน ความด้อยโอกาสทางการศึกษา และสาธารณสุข ซึง่ ทำให้ราษฎรจมอยกู่ ับความทกุ ข์ยาก พระองค์ทรงยนื่ พระหัตถ์ไปโอบอุ้ม และดึงเขาเหล่าน้ันข้ึนมาให้ได้พบกับความสุขในชีวิตอย่างยัง่ ยืน ต่อมาได้ขยายไปสโู่ ครงการ พัฒนาด้านต่างๆ ครอบคลุมวิถีชีวิตทกุ ด้านของประชาชน ซึง่ ขอยกตัวอย่างโครงการ อันเนอื่ ง มาจากพระราชดำริทนี่ บั เปน็ โครงการแรกทีส่ ำคัญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมทงั้ ผลสำเร็จทนี่ ำสกู่ ารพัฒนาอย่างยงั่ ยนื พอสังเขป ดงั น้ี โครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริแห่งแรกคือ โครงการถนนห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ ์ พระราชทานเม่อื ปี ๒๔๙๕ เพอ่ื ใหร้ าษฎรใชส้ ัญจรและนำผลผลติ ออกมาจำหน่าย ยังชมุ ชนภายนอกไดส้ ะดวก ปีถดั มาไดพ้ ระราชทานโครงการพัฒนาแหลง่ นำ้ แหง่ แรก โดยมีพระราชดำริ 292

ให้สร้างอ่างเก็บนำ้ เขาเต่า อำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ ในปี ๒๔๙๘ มพี ระราชดำริให้ศึกษา ทดลองการทำฝนเทยี ม หรอื ฝนหลวง เพือ่ แก้ไขปญั หาความแห้งแลง้ ให้แก่ พสกนกิ ร ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะ ถึง ๑๔ ปจี ึงประสบความสำเร็จในปี ๒๕๑๒ หลังจากนนั้ ได้พระราชทาน ฝนหลวงเพอ่ื แกไ้ ขปญั หาความแหง้ แลง้ ให้แกร่ าษฎรจวบจนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๐๖ ได้พระราชทาน โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอปุ ถัมภ์ ๑ ทบี่ ้านแม้วดอยปุย ตำบลหางดง จงั หวดั เชยี งใหม ่ เพอ่ื ใหก้ ารศกึ ษาแกเ่ ดก็ ชาวเขา ซ่งึ นบั เปน็ โรงเรยี นพระราชทานแหง่ แรก และป ี ๒๕๐๘ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮโิ ต ทูลเกลา้ ฯ ถวายปลานลิ จึงทรงทดลองเลยี้ งในสวนจิตรลดา จนได้ผลดี จึงพระราชทานปลานิลแก่ประชาชน เพือ่ เป็นแหล่งอาหารโปรตนี ที่สำคญั จนถึงวันนปี้ ลานลิ ได้กลายเปน็ ปลายอดนิยมของคนไทยทีเดยี ว ปี ๒๕๑๒ มพี ระราชดำริพัฒนาให้ชาวเขาปลูกกาแฟแทนฝิ่น จากนัน้ ได้เสด็จฯ ไปทรงแนะนำ และทรงให้ความช่วยเหลอื อย่างต่อเนอื่ ง โดยในป ี ๒๕๑๕ ได้พระราชทานความช่วยเหลือชาวเขาและ ชาวไร่ด้านเกษตรกรรม และจัดให้มตี ลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในราคายุติธรรม อีกทั้ง ทรงจดั ตง้ั โรงงานหลวงอาหารสำเรจ็ รปู ท ่ี ๑ ณ อำเภอฝาง ซ่งึ นบั เป็นโรงงานหลวงพระราชทานแหง่ แรก จากน้นั สินคา้ ภายใต้ช่อื “ดอยคำ” กแ็ พร่หลายในประเทศไทยมาอย่างตอ่ เน่ือง ปี ๒๕๑๖ ทรงเปดิ โรงเรยี นร่มเกล้าแห่งแรกทบี่ ้านหนองแคน ตำบลดงหลวง จังหวัดนครพนม อนั เปน็ การพฒั นาเพอ่ื เสรมิ ความม่ันคงของประเทศ โดยขณะน้นั เปน็ ทางผ่านของผู้กอ่ การรา้ ยคอมมวิ นสิ ต ์ และไดพ้ ระราชทานพระราชดำรัสอนั เป็นที่มาของยทุ ธศาสตร ์ “เขา้ ใจ เข้าถงึ พฒั นา” และในปี ๒๕๑๘ พระราชทานพระราชทรพั ยใ์ ห้จัดสร้างสหกรณก์ ารเกษตรหบุ กะพง อันเปน็ สหกรณก์ ารเกษตรอนั เนอ่ื ง มาจากพระราชดำริแหง่ แรกกอ่ นทีจ่ ะมสี หกรณก์ ารเกษตรเกิดขน้ึ อกี มากมายในเวลาต่อมา ปี ๒๕๑๙ ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ให้ตง้ั มูลนิธสิ ง่ เสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินปู ถมั ภ์ ซง่ึ ภายหลงั เปลย่ี นช่ือเป็น “มูลนธิ ิสง่ เสริมศิลปาชีพในสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ิติ์ พระบรมราชินีนาถ” 293

เพอ่ื ส่งเสรมิ งานศลิ ปาชพี ใหเ้ ป็นอาชพี เสรมิ แกร่ าษฎร รวมท้งั ทรงกอ่ ต้งั โรงฝกึ ศลิ ปาชพี สวนจติ รลดาและ ศนู ย์ศลิ ปาชพี ท่วั ประเทศ โดยมกี ารดำเนนิ งานนับตง้ั แตน่ ้นั เปน็ ตน้ มาจนถงึ ปัจจบุ ัน ชว่ ยใหร้ าษฎรมีรายไดด้ ี จนบางครอบครวั ยึดเปน็ อาชีพหลัก ปี ๒๕๒๒ มีพระราชดำริให้จัดตัง้ ศูนย์ศกึ ษาการพฒั นาอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริแห่งแรก ท่ีเขาหนิ ซอ้ น อำเภอพนมสารคาม จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา เพ่อื เป็นตวั อย่างความสำเรจ็ ในดา้ นการเกษตรกรรม และการพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรและผูท้ ีส่ นใจนำไปประยุกต์ใช้ ซึง่ ต่อมาได้พระราชทานศูนย์ศึกษา การพฒั นาฯ ในภาคตา่ งๆ รวมเป็น ๖ แห่ง จนถึงปี ๒๕๕๖ มผี ลการศกึ ษาวจิ ยั ถงึ ๑,๒๔๐ เร่ือง ปี ๒๕๒๕ มพี ระราชดำริให้จัดตั้งโครงการป่ารักน้ำ เริม่ ทดลองเปน็ ครัง้ แรกทบี่ า้ นนำ้ ติว้ อำเภอสอ่ งดาว จังหวัดสกลนคร เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าทีเ่ สอื่ มโทรมให้เป็นบริเวณต้นน้ำลำธาร กักเก็บน้ำ ไว้ใช้ประโยชน์ และอนรุ ักษ์ทรัพยากรป่าไม้เดิมไว้ ขณะเดียวกันก็ปลูกปา่ เสริมด้วย โดยราษฎรเปน็ ผ้ลู งแรงปลกู และดแู ลบำรงุ เล้ียง บนพ้นื ดนิ ท่ีทรงซอ้ื และทรงเชา่ พระราชทาน รวมท้งั พระราชทานเงนิ เดอื น แกร่ าษฎรผู้ยากจนท่ีเขา้ รว่ มโครงการ ชว่ ยใหม้ อี าชพี และรายไดเ้ ล้ยี งครอบครวั เกดิ ความรกั และหวงแหน ทรัพยากรป่าไม ้ โครงการนไี้ ด้ขยายไปอีกหลายพืน้ ท ี่ มีราษฎรเข้าร่วมโครงการและถวายทดี่ ิน เป็นจำนวนมาก ป ี ๒๕๓๑ มพี ระราชดำรใิ หพ้ ฒั นาบรเิ วณวดั มงคลชยั พฒั นา จงั หวดั สระบรุ ี เพอ่ื ศกึ ษาและจดั ทำ เปน็ ศูนยส์ าธิตการทำเกษตรทฤษฎีใหม่อยา่ งเปน็ รูปธรรม เพือ่ ให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ 294

ของตนเอง ซง่ึ นบั เป็นจดุ กำเนดิ ของเกษตรทฤษฎีใหม่แห่งแรก ประชาชนไดใ้ ชเ้ ปน็ ทศ่ี กึ ษาดงู าน จนเกิดความเข้าใจและนำไป ประยุกต์ใช้ในพ้ืนท่ีของตนเอง เปน็ จำนวนมาก ปี ๒๕๓๔ มพี ระราชดำริ ให้ศกึ ษาและใช้ประโยชน์จาก หญ้าแฝกเพื่ออนรุ ักษ์ดินและ น้ำ จนถึงปจั จุบันมีการสง่ เสริม และรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ไปแล้ว ๔,๕๐๐ ลา้ นกลา้ อนรุ กั ษ์ดนิ และนำ้ ในพนื้ ท่ีกวา่ ๑๐ ล้านไร่ทว่ั ประเทศ และมกี ารวิจัยเกยี่ วกับ การใช้ประโยชน์จากหญา้ แฝกกวา่ ๒๐๐ เรอื่ ง ปี ๒๕๓๕ เสดจ็ ฯ ไปสำรวจพืน้ ท่กี อ่ สร้างอ่างเก็บนำ้ ลำพะยงั จังหวัดกาฬสนิ ธุ์ สง่ เสรมิ ใหร้ าษฎร พฒั นาอาชีพการเกษตรทฤษฎีใหม ่ และระหว่างปี ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ ไดพ้ ฒั นาใหม้ ีความจุมากข้ึน และ ผนั นำ้ จากอา่ งเก็บน้ำห้วยไผม่ าเพิ่มเติมให้พืน้ ทีล่ ุม่ นำ้ ลำพะยัง และได้พระราชทานภาพร่างฝพี ระหัตถ์ ตัวยกึ ยือ เป็นแนวทางพัฒนาลุม่ นำ้ ก่ำ จังหวัดสกลนคร-นครพนม โดยการสร้างประตูระบายนำ้ เปน็ ตอนๆ กกั เกบ็ น้ำไดร้ วม ๖๘.๓ ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพืน้ ท่กี ารเกษตรได ้ ๑๖๕,๐๐๐ ไร่ นอกจากน้ ี มีพระราชดำรใิ หจ้ ดั ต้งั โครงการบา้ นเลก็ ในปา่ ใหญแ่ หง่ แรก ท่บี า้ นทันสมยั ตำบลมหาชยั อำเภอปลาปาก จงั หวัดนครพนม เพ่ือให้คน ปา่ และสตั วป์ า่ สามารถอยู่ร่วมกนั ไดอ้ ยา่ งอาศยั เกือ้ กลู กัน พรอ้ มท้งั ส่งเสรมิ อาชพี เสรมิ ใหก้ บั ประชาชน เพอ่ื มรี ายไดเ้ พยี งพอตอ่ การเล้ยี งครอบครวั และมีความเปน็ อยู่ ที่ดีขึ้น ซึง่ ช่วยให้ประชาชนหยุดการบกุ รุกทำลายป่าไม ้ และช่วยดูแลรักษาให้มีสภาพสมบรู ณด์ ังเดิม จนปจั จบุ นั ไดข้ ยายการดำเนนิ งานไปในหลายพน้ื ทช่ี ว่ ยรกั ษาทรพั ยากรธรรมชาตใิ หค้ งอยบู่ นแผน่ ดนิ ไทย ปี ๒๕๓๖ มพี ระราชดำริให้พฒั นาลุม่ น้ำปากพนงั จังหวัดนครศรีธรรมราช แก้ปัญหาน้ำเค็ม รกุ เขา้ ไปในลำนำ้ ฟน้ื ฟพู น้ื ท่กี ารเกษตรและนารา้ ง ๑.๙ ล้านไร ่ แบ่งเขตทำกนิ ระหวา่ งการเล้ียงก้งุ ท่ใี ชน้ ้ำเคม็ และการเกษตรทใ่ี ช้น้ำจดื อนั เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในพื้นท่ ี นอกจากน ้ี มพี ระราชดำริ ใหส้ ร้างเขอ่ื นขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก ความจุ ๒๒๔ ล้านลูกบาศก์เมตร แก้ปัญหาน้ำทว่ ม ชะล้างดินเปร้ยี ว และชว่ ยเหลอื พน้ื ทกี่ ารเกษตร ๑๘๕,๐๐๐ ไร่ 295

ปี ๒๕๓๗ มีพระราชดำริใหพ้ ัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทราย จังหวัดมุกดาหาร โดยสร้างอา่ งเก็บนำ้ ๗ แห่ง ความจุรวม ๒๔.๕ ลา้ นลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำได้ ๘,๙๐๐ ไร่ พัฒนาอาชีพแบบบรู ณาการและ ฟ้ืนฟูป่าไม้ และจัดตัง้ ศนู ย์พฒั นาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ช่วยเหลือการประกอบอาชีพ ของราษฎรในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนอื ตอนลา่ ง อกี ทงั้ พระราชทานโครงการศนู ย์พฒั นาและ บริการดา้ นการเกษตร (หลัก ๒๒) นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อให้บริการด้านความรู ้ ปจั จัยการผลติ พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตประชาชนลาว ๙ หมบู่ ้าน เป็นการขยายผลการพัฒนาสสู่ ากล และสร้างความสมั พันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น ย่งิ ขน้ึ ตอ่ มา สปป.ลาว ไดข้ ยายผลโครงการไปยังแขวงอนื่ ๆ ทั่วประเทศ ปี ๒๕๔๒ มพี ระราชดำรใิ หส้ ร้างเข่อื นปา่ สกั ชลสทิ ธ์ิ จงั หวดั ลพบุร ี ความจ ุ ๙๖๐ ลา้ นลูกบาศกเ์ มตร ช่วยเหลอื พื้นทีก่ ารเกษตร ๑๗๔,๕๐๐ ไร่ รวมทงั้ ช่วยบรรเทาปัญหานำ้ ท่วมในพืน้ ทภี่ าคกลาง ตอนล่าง และกรงุ เทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้กองทพั ภาคที่ ๓ จดั ตั้งหม่บู ้านยามชายแดนแหง่ แรกข้นึ ในพ้นื ทบี่ า้ นมะโอโคะ อำเภออมุ้ ผาง จังหวัดตาก และบา้ นปางคอง อำเภอปางมะผา้ จงั หวดั แม่ฮ่องสอน เป็นหมูบ่ ้านจัดตั้งใหม่บนเขา เพื่อให้ชาวเขาทอี่ ยตู่ ามแนวชายแดนร่วมปกปอ้ งรักษาประเทศ ด้วยการ ใหค้ วามชว่ ยเหลือในด้านตา่ งๆ ทั้งทอ่ี ยอู่ าศยั และการพัฒนาอาชีพ และตอ่ มาจัดตัง้ เพ่ิมเติมอกี ๓ แหง่ ในจงั หวดั แมฮ่ ่องสอน ไดช้ ว่ ยสรา้ งความผาสุกใหแ้ กร่ าษฎรชาวเขา อกี ท้ังสรา้ งสำนกึ รกั ปา่ และท่ีสำคญั ย่ิง คอื ชว่ ยปกป้องรักษาแผ่นดินไทยตามแนวชายแดนเป็นอยา่ งดี 296


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook