Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Published by waryu06, 2021-02-10 15:28:23

Description: สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Search

Read the Text Version

สจั ธรรมแหง่ แนวพระราชดำริ สกู่ ารพัฒนาอยา่ งย่งั ยืน







สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอยา่ งยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ

“...เวลานี้เราทุกคนมีภาระสำคัญรออยู่ที่จะต้องร่วมมือกันเสริมสร้าง ความเป็นปรกติเรียบร้อยให้แก่บ้านเมือง เพื่อให้ประชาราษฎร์ชาติภูมิมีความผาสุกสงบ. ภาระทั้งนี้มิใช้หน้าที่ของบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกฝ่ายทุกคนที่จะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำให้พรักพร้อม และสอดคล้องเกื้อกูลกัน โดยมีจุดมุ่งหมายและอุดมคติร่วมกัน. ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำความคิดจิตใจให้หนักแน่นแน่วแน่ และเที่ยงตรงเสมอเหมือนกัน ที่จะร่วมมือร่วมคิดกัน ให้เต็มกำลังความสามารถและสติปัญญา ด้วยความสุจริตบริสุทธิ์ใจ และด้วยความสามัคคี ปรองดอง โดยยึดเอาประโยชน์ยั่งยืนยิ่งใหญ่ คือความมั่นคงผาสุกของบ้านเมืองเป็นเป้าหมายสูงสุด...” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ๕ ธันวาคม ๒๕๔๗



คำนำ เนอื่ งในโอกาสพระราชพิธีเฉลมิ พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ๘๖ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์ พระบรมราชนิ นี าถ ๘๑ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาต ิ (สศช.) สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของทัง้ สองพระองค์อย่างหาทสี่ ุดมไิ ด้ ทีท่ รงปฏิบตั ิพระราชกรณยี กิจนานปั การ เพื่อบำบดั ทกุ ข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรชาวไทยมีชีวิตและความเปน็ อยูท่ ดี่ ีขึ้น สำนักงานฯ จึงได้จัดทำหนังสอื “สจั ธรรมแหง่ แนวพระราชดำริ สกู่ ารพฒั นาอยา่ งย่งั ยนื ” ขน้ึ เพอ่ื รว่ มเฉลิมพระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ และเผยแพรใ่ หป้ ระชาชนและหนว่ ยงานตา่ งๆ ได้นำไปเปน็ แนวทางในการปฏบิ ัตงิ านและดำเนนิ ชีวติ สคู่ วามสุขอยา่ งยัง่ ยืนต่อไป หนงั สือเลม่ นี ้ ได้ประมวลและสังเคราะห์หลักการทรงงานและแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว เพือ่ ให้เห็นถึงพระอจั ฉริยภาพทีท่ รงมพี ระวิสยั ทัศน์ทีย่ าวไกล ย้อนไป เมื่อ ๖๗ ปีที่ผา่ นมา นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสริ ิราชสมบัติ ก่อนทีจ่ ะมผี ใู้ ดคิดถึงและบญั ญตั ิคำว่า “การพัฒนาอยา่ งย่งั ยืน” หรอื Sustainable Development แต่พระองคไ์ ด้ทรงเริม่ ต้นวางรากฐาน การพัฒนาอยา่ งยงั่ ยนื ให้แก่ประเทศไทยแล้ว โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานวุ งศ์ทุกพระองค์ทรงร่วมสบื สานพระราชปณิธานอยา่ งมงุ่ มนั่ โดยแบ่งการนำเสนอ ออกเปน็ ๕ ส่วน ได้แก ่ บทนำ บทความพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรอื่ ง “เรยี นรกู้ ารทรงงานสูก่ ารพฒั นาประเทศอย่างยัง่ ยืน ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ” ซึง่ สำนักงานฯ ขอน้อมอญั เชิญมาพิมพ์ในส่วนแรก ของหนงั สือน ี้ โดยพระราชนิพนธ์ดังกลา่ วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลา่ ถึงการทรงงานเพื่อช่วยเหลอื ประชาชนในด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และของพระองคเ์ อง อนั นำมาสกู่ ารพัฒนาอย่างยง่ั ยืนท่ที วั่ โลกตา่ งให้ความสำคัญในปัจจบุ ัน

ส่วนท่ี ๑ จากพระปฐมบรมราชโองการ สแู่ นวพระราชดำรกิ ารทรงงาน นำเสนอบทวิเคราะห์ พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพือ่ ประโยชนส์ ุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยชีใ้ ห้เห็นถึงความหมายโดยนยั ทสี่ ำคัญของคำว่า “ครอง” “แผ่นดิน” “โดยธรรม” และ “เพอื่ ประโยชนส์ ุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งหากไมไ่ ตร่ตรองอยา่ งลกึ ซึ้ง อาจไมเ่ ข้าใจถึงแก่น แห่งความหมายท่ีพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวทรงตงั้ พระราชหฤทยั ทจี่ ะทรงดูแลราษฎรและแผ่นดินนี้ ประดุจพ่อดูแลลกู มิได้อยูใ่ นลกั ษณะของการใช้อำนาจปกครอง โดยเปา้ หมายสำคัญคือความสขุ ของประชาชนท้ังประเทศ สว่ นที่ ๒ สจั ธรรมแห่งแนวพระราชดำริ... สกู่ ารพัฒนาอยา่ งย่ังยนื เป็นท่ปี ระจกั ษ์ชัดว่าตลอด ระยะเวลาอนั ยาวนานกว่า ๖๗ ป ี พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ และพระบรมวงศานวุ งศ์ทกุ พระองค์ทรงงานอย่างตรากตรำพระวรกาย เพื่อพัฒนาและยกระดับ คณุ ภาพชวี ติ ของปวงชนชาวไทยใหอ้ ยู่ดมี ีสุข พรอ้ มท้ังอนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มใหค้ งอยู่ อย่างยงั่ ยืน ซึ่งโครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริมากมาย ลว้ นสะท้อนให้เห็นถึงสจั ธรรมแห่ง แนวพระราชดำรใิ นการทรงงานพฒั นาประเทศของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ โดยหนังสอื เล่มนี้ได้นำมาประมวลเปน็ ภาพใหญแ่ ละจดั กล่มุ เป็น ๕ สจั ธรรม ได้แก่ (๑) เข้าใจ เขา้ ถงึ พัฒนา เพ่อื ตอบสนองความต้องการของประชาชน (๒) เรียนรู้จากหลักธรรมชาติ (๓) บรหิ ารแบบบูรณาการ (๔) มุง่ ผลสัมฤทธิ์ และ (๕) ชยั ชนะแหง่ การพัฒนา ในภาพใหญแ่ ต่ละเรือ่ ง มีการขยายเป็นหัวเรื่องยอ่ ย โดยได้นำเสนอแนวพระราชดำริในแต่ละเรื่องยอ่ ย พร้อมทัง้ ตัวอยา่ ง พระราชกรณียกิจและโครงการพัฒนาโดยสงั เขป

ส่วนที่ ๓ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขอย่างยัง่ ยืน จากสจั ธรรมแห่ง แนวพระราชดำรนิ ้ัน นำส่ ู “ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง” ซง่ึ เปน็ ปรชั ญาท่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับมาโดยตลอด เพ่อื ให้สามารถดำรงอย่ไู ด้ อย่างม่ันคงและยัง่ ยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตนแ์ ละความเปลยี่ นแปลงต่างๆ ทีเ่ กิดขึ้นตลอดเวลา ซง่ึ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มแี นวพระราชดำริเกยี่ วกบั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (๑) พอประมาณ มีเหตผุ ล มีภูมิคมุ้ กันในตวั ทีด่ ี และ (๒) ใชห้ ลักวิชาความรู้ มีคุณธรรม ดำเนินชีวติ ด้วยความเพียร สว่ นท่ี ๔ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั ทรงวางรากฐานการพฒั นาอยา่ งย่งั ยนื นำเสนอใหเ้ หน็ วา่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงวางรากฐานการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนมาเปน็ เวลายาวนาน โดยได้ พระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง” เป็นแนวทางปฏบิ ตั ติ นของประชาชนในทกุ ระดบั ใหด้ ำเนิน ไปในทางสายกลาง จากนน้ั ชใ้ี หเ้ หน็ ถงึ การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื ในกระแสโลกและในบรบิ ทไทยทใ่ี หค้ วามสำคญั กบั การพฒั นาท่มี ดี ลุ ยภาพ ท้งั ในมิตเิ ศรษฐกจิ สงั คม และส่ิงแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอการพฒั นาท่ีม่ันคง ย่ังยืน ตามรอยพระยุคลบาท ทัง้ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคนและสงั คม และการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม สว่ นท่ี ๕ บทสรปุ สจั ธรรมแหง่ แนวพระราชดำร.ิ .. เพอ่ื ประโยชนส์ ขุ ของปวงชนชาวไทยอยา่ งยง่ั ยนื จากการท่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ได้ทรงงานอยา่ งหนักและตรากตรำพระวรกายมายาวนาน เพื่อต่อสูก้ ับความยากจน สร้างความอยูด่ ีมีสุขให้แก่พสกนิกร โดยได้พระราชทานพระราชดำริและโครงการพัฒนา มากมายถึง ๔,๓๕๐ โครงการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยดู่ ี กินดี มีสขุ ภาพอนามัยแข็งแรง มกี ารศึกษา มอี าชีพทมี่ นั่ คง และดำรงชีวิตอยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทดี่ ี นบั เป็น การวางรากฐานการพัฒนาทมี่ นั่ คงและยงั่ ยนื ให้แก่ประเทศไทยและปวงชนชาวไทยอยา่ งครบถ้วน ในทุกๆ ดา้ น ทรงมพี ระมหากรณุ าธิคุณอย่างหาทส่ี ุดมไิ ด้

ในการจัดทำหนังสอื เลม่ นี้ สำนักงานฯ ได้รับความกรุณาจาก ดร.สุเมธ ตนั ตเิ วชกุล กรรมการ และเลขาธิการมลู นิธิชัยพัฒนา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ ในการ เป็นท่ปี รกึ ษาและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อยา่ งยิง่ นอกจากนม้ี ูลนิธชิ ยั พฒั นาได้ใหค้ วามอนุเคราะห์ ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนบทความ สำนักงานฯ จึงขอกราบขอบพระคุณเปน็ อยา่ งสงู มา ณ โอกาสนี้ สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนั วาคม ๒๕๕๖

คำนำ สารบัญ หนา้ บทนำ : บทความพระราชทานจากสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ ๑๑ สยามบรมราชกมุ ารี “เรียนรู้การทรงงานสูก่ ารพฒั นาประเทศอย่างยั่งยนื ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” สว่ นท่ี ๑ : จากพระปฐมบรมราชโองการ สู่แนวพระราชดำริการทรงงาน ๓๗ ส่วนท่ี ๒ : สัจธรรมแหง่ แนวพระราชดำริ... สู่การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ๔๙ ๑. เข้าใจ เขา้ ถึง พฒั นา เพื่อตอบสนองความตอ้ งการของประชาชน ๕๖ ๑.๑ ภูมิสังคม : ดิน นำ้ ลม ไฟ ๕๙ ๑.๒ ระเบิดจากขา้ งใน ๖๒ ๑.๓ การมสี ว่ นร่วม ๖๔ ๑.๔ ประโยชน์สว่ นรวม ๖๗ ๒. เรียนรจู้ ากหลักธรรมชาติ ๗๖ ๒.๑ ใชธ้ รรมชาติช่วยธรรมชาต ิ ๗๗ ๒.๒ ใช้อธรรมปราบอธรรม ๘๘๒๑ ๒.๓ ปลกู ป่าในใจคน ๓. บรหิ ารแบบบูรณาการ ๑๐๒ ๓.๑ องคร์ วม และบรกิ ารรวมท่ีจุดเดียว ๑๐๕ ๓.๒ ทำตามลำดบั ข้ัน ๑๑๐ ๑๓๖ ๔. มงุ่ ผลสมั ฤทธิ์ ๑๓๗ ๔.๑ ขาดทุนคือกำไร ๑๔๐ ๔.๒ ไม่ติดตำรา ๑๔๕ ๔.๓ ทำใหง้ า่ ย ๕. ชยั ชนะแหง่ การพัฒนา ๑๖๘ ๕.๑ การต่อสู้กบั ความยากจน ๑๗๑ ๕.๒ ประชาธิปไตย ๑๗๗

ส่วนที่ ๓ : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง... นำสู่ความสุขอยา่ งยั่งยนื หนา้ ๑. พอประมาณ มีเหตผุ ล มภี ูมิคมุ้ กนั ในตวั ท่ดี ี ๑๙๕ ๑.๑ พอเพียงพออยพู่ อกนิ ๒๐๐ ๑.๒ พึ่งตนเอง ๒๐๑ ๑.๓ ประหยดั เรียบง่าย ได้ประโยชน์สงู สดุ ๒๐๖ ๑.๔ ศกึ ษาข้อมลู อย่างเปน็ ระบบ และแกป้ ัญหาจากจุดเล็ก ๒๐๙ ๒๑๔ ๒. ใช้หลกั วชิ าความรู้ มคี ุณธรรม ดำเนนิ ชวี ติ ด้วยความเพยี ร ๒๒๔ ๒.๑ หลกั วชิ าอันถกู ตอ้ ง ๒๒๕ ๒.๒ มคี วามเพียร ซือ่ สัตย ์ สจุ ริต จรงิ ใจตอ่ กนั รู้ รกั สามคั ค ี ๒๒๘ ทำงานอยา่ งมคี วามสุข ๒๔๗ ส่วนที่ ๔ : พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ๒๕๐ ๒๕๖ ๑. ทรงวางรากฐานการพฒั นาอย่างย่ังยืน ๒๕๖ ๒. สแู่ นวคิดการพัฒนาอยา่ งย่ังยืน ๒๕๗ ๒.๑ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พน้ื ฐานของการพฒั นาอยา่ งยั่งยืน ๒๖๐ ๒.๒ การพฒั นาอย่างย่งั ยืนในกระแสโลก ๒๖๔ ๒.๓ การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยืนในบรบิ ทไทย ๒๖๕ ๓. สู่การพฒั นาอย่างยงั่ ยืนตามรอยพระยุคลบาท ๒๗๐ ๓.๑ การพฒั นาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ๒๗๕ ๓.๒ การพฒั นาคนและสังคมอยา่ งยั่งยืน ๒๘๕ ๓.๓ การพฒั นาทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมอยา่ งยง่ั ยนื ๒๘๗ ๔. มุ่งสูค่ วามพอเพียงเพอ่ื ก้าวสู่การพัฒนาอย่างยงั่ ยืน ๓๐๑ สว่ นที่ ๕ : บทสรุป สจั ธรรมแห่งแนวพระราชดำร.ิ .. บรรณานกุ รม เพือ่ ประโยชนส์ ขุ ของปวงชนชาวไทยอยา่ งยง่ั ยืน รสาูก่ ยานรพามัฒทนปี่ ารอกึ ยษา่ างแยลงั่ ยะคืนณะทำงานจดั ทำหนงั สือสัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ

“...การพัฒนาบ้านเมืองหรือพัฒนางานทุกอย่างให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ไม่ควรมีลักษณะเป็นการก้าวหน้าจนลืมหลัง. หากจำเป็นต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อน แล้วค่อยๆ สร้างเสริมให้ก้าวหน้ามั่นคงขึ้นเป็นลำดับ สำหรับเป็นรากฐานที่สามารถจะรองรับความเจริญ และความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดตามมาจากผลของการพัฒนา. มิใช่มุ่งแต่จะพัฒนาให้รุดหน้า ด้วยการทุ่มเทกำลังทรัพย์ กำลังคน ตลอดจนอุปกรณ์ทุกอย่าง เพื่อให้ได้ผลเร็วที่สุดและมากที่สุด ซึ่งจะทำให้รากฐานทานไม่อยู่. การพัฒนาซึ่งอุตส่าห์ลงทุนลงแรงไปมากมายก็จะล้มเหลวลงอย่างน่าเสียดาย ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ต่อตามมา ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน. ดังนั้น การพัฒนางานพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้า จึงต้องคำนึงถึงรากฐานเดิมอยู่ตลอดเวลา. ถ้าเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าเกินกว่าฐานรองรับ ก็ต้องกลับมาเสริมฐานให้กว้างขวางมั่นคง จนมีกำลังเพียงพอก่อนจึงค่อยพัฒนาต่อ. ...” พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๐

บทนำ เรียนรู้การทรงงานส่กู ารพัฒนาประเทศอยา่ งย่งั ยนื ของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถ

บทความพระราชทานจาก สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเปน็ ลน้ พ้น โปรดเกลา้ ฯ พระราชทานบทความเรื่อง “เรยี นรูก้ ารทรงงานสูก่ ารพฒั นาประเทศอย่างยั่งยืนของ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ” แกส่ ำนกั งานคณะกรรมการ พฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเผยแพรเ่ ป็นบทนำของหนงั สือเลม่ นี้ ซง่ึ สำนกั งานฯ รู้สกึ สำนึกในพระมหากรุณาธคิ ุณอยา่ งหาท่ีสุดมไิ ด้ สำนักงานฯ ขอน้อมอัญเชิญบทความพระราชทานของสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เผยแพร่ให้ปวงชนชาวไทยได้เรียนรูแ้ ละซาบซึง้ ในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ และสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และดำเนินตามรอยพระยคุ ลบาท โดยนำไปประยกุ ต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ประเทศต่อไป ดังน้ี 12

เดินตามรอยเท้าพ่อ ฉนั เดนิ ตามรอยเทา้ อันรวดเรว็ ของพอ่ โดยไม่หยดุ ผา่ นเข้าไปในปา่ ให- ่ น่ากลัว ทึบ แผไ่ ปโดยไมม่ ีท่สี ้นิ สดุ มดื และกว้าง มีต้นไมใ้ หญ่เหมือนหอคอยทเี่ ขม้ แข็ง พ่อจา๋ ... ลกู หิวจะตายและเหนือ่ ยด้วย ดูซจิ ๊ะ เลอื ดไหลออกมาจากเทา้ ทั้งสองท่ีบาดเจ็บของลกู ลูกกลวั งู เสอื และหมาป่า พ่อจา๋ ... เราจะถงึ จุดหมายปลายทางไหม ? ลูกเอ๋ย... ในโลกนไี้ มม่ ีท่ไี หนดอกทม่ี คี วามร่นื รมย์ และความสบายสำหรับเจา้ ทางของเรามิไดป้ ูดว้ ยดอกไม้สวยๆ จงไปเถิด แมม้ ันจะเป็นสง่ิ บบี คัน้ หวั ใจเจา้ พอ่ เห็นแลว้ ว่า หนามตำเน้ือออ่ นๆ ของเจ้า เลือดของเจา้ เปรียบด่งั ทบั ทิมบนใบห- า้ ใกลน้ ้ำ นำ้ ตาของเจ้าที่ไหลต้องพุ่มไมส้ เี ขียว เปรียบดังเพชรบนมรกตทแี่ สดงความงดงามเตม็ ที่ เพ่ือมนุษยชาติ... จงอยา่ ละความกล้า เมื่อเผชญิ กับความทุกข์ ใหอ้ ดทนและสุขุม และจงมคี วามสุขท่ไี ดย้ ดึ อุดมการณ์ที่มคี า่ ไปเถดิ ... ถ้าเจา้ ต้องการเดนิ ตามรอยเทา้ พ่อ พระราชนพิ นธใ์ นสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี จากหนังสอื “มณีพลอยร้อยแสง” จัดพิมพ์โดยโรงเรียนจิตรลดา เม่ือป ี ๒๕๑๙ 13

14

15

บทความพระราชทาน เรื่อง “เรียนรูก้ ารทรงงานสู่การพัฒนาประเทศอยา่ งยั่งยืน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ” สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ๑พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงม่งุ ม่นั อยา่ งวริ ยิ ะ และอุตสาหะท่จี ะยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ ของประชาชนใหม้ คี วามสขุ อย่ดู กี นิ ดี ดว้ ยการเสดจ็ พระราชดำเนิน ไปทรงเยยี่ มเยยี นราษฎรเพื่อทรงศึกษาและหาทางแก้ไขปญั หาต่างๆ ให้แก่ราษฎรในทุกพืน้ ที่ ของประเทศไทย โดยไดพ้ ระราชทานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำรมิ ากมาย เพ่อื พฒั นาประชาชน และประเทศใหก้ า้ วหนา้ หรอื เปล่ยี นแปลงไปในทางท่ดี ขี ้นึ โดยทรงยดึ หลกั ในการดำเนนิ โครงการวา่ ตอ้ งเปน็ การพัฒนาทใ่ี ช้ทรพั ยากรธรรมชาตใิ หเ้ กดิ ประโยชน์สงู สดุ และไมท่ ำลายสง่ิ แวดลอ้ ม โดยม่งุ ประโยชน์ ๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์เกีย่ วกับหลักการทรงงานพัฒนาประเทศของ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัว. พระมหากษัตรยิ น์ กั พัฒนา เพื่อประโยชน์สขุ สู่ปวงประชา. (๒๕๕๔) 16

ให้เกิดแก่ส่วนรวมและประเทศชาติอยา่ งแทจ้ รงิ จงึ จะเปน็ “การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื ” ดงั พระราชดำรสั ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพธิ เี ฉลมิ พระชนมพรรษา เมอ่ื วนั ท ่ี ๕ ธนั วาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนง่ึ วา่ “...ทุกวันนีป้ ระเทศไทยยังมีทรพั ยากรพรอ้ มมูล ทัง้ ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละ ทรัพยากรบุคคล ซงึ่ เราสามารถนำมาใชเ้ สริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพ อนั ถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ขอ้ สำคัญเราจะต้องรูจ้ กั ใช้ทรัพยากรนัน้ อย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใชใ้ ห้สิ้นเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ ไม่คมุ้ ค่า หากแตร่ ะมัดระวังใช้ดว้ ยความประหยัดรอบคอบ ประกอบดว้ ยความคดิ พิจารณาตามหลกั วชิ า เหตุผล และความถูกตอ้ งเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชนแ์ ท้จริง ท่จี ะเกิดแก่ประเทศชาติ ท้งั ในปัจจบุ ันและอนาคตอันยืนยาว...” ในการปรบั ปรงุ และยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ ความเปน็ อยขู่ องประชาชนดงั กลา่ ว สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทรงงานเคยี งขา้ งพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั โดยพระองคท์ รงทำตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวทีม่ ีพระราชประสงคจ์ ะชว่ ยให้ราษฎรสามารถพึง่ ตนเองได้ จึงจะเปน็ การช่วยเหลอื อยา่ งย่งั ยนื ดงั พระราชดำรสั ท่ีพระราชทานในพธิ เี ปิดการประชมุ และนิทรรศการ เรอื่ ง “มรดกสงิ่ ทอของเอเชีย : หตั ถกรรมและอตุ สาหกรรม” ณ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม ่ เมอ่ื วันท ี่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๕ ความตอนหน่ึงวา่ 17

“...ขา้ พเจา้ ตงั้ ใจจะสรรหาอาชีพให้ชาวนาที่ยากจนเลีย้ งตวั เองได้เป็นเบือ้ งตน้ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากข้าพเจ้าได้มีโอกาสตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวไปเยีย่ ม ราษฎรตามชนบทมาหลายสิบปี ได้พบว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวนาชาวไร่ที่ตอ้ ง ทำงานหนกั และต้องเผชญิ อุปสรรคจากภัยธรรมชาติมากมาย... ทำให้ชาวนา ชาวไร่มักยากจน การนำสิ่งของไปแจกราษฎรผู้ประสบภัยธรรมชาติ เป็นเพียง บรรเทาความเดือดรอ้ นเฉพาะหนา้ ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั มพี ระราชปรารภวา่ เปน็ การชว่ ยเหลอื ที่ไม่ยั่งยืน ควรจะหาวธิ อี ่นื ทีช่ ว่ ยให้ราษฎรพงึ่ ตนเองได้...” ทรงมงุ่ พฒั นาชนบทห่างไกล ให้อย่ไู ดด้ ้วยตนเองอยา่ งมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยทุกข์สุข ของราษฎรทัว่ ประเทศ โดยเฉพาะในพืน้ ทีช่ นบทห่างไกลและทรุ กันดาร จึงเสด็จพระราชดำเนิน ในทอ้ งถิ่นต่างๆ เพื่อพัฒนาบา้ นเมืองให้เจริญเทา่ ทจี่ ะทำได้ และข้อสำคัญคือ๒ เมือ่ เวลาเสด็จ ๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณใ์ นรายการ พูดจาประสาช่าง ออกอากาศ ทางสถานวี ิทยจุ ุฬาฯ คลืน่ เอฟเอม็ ความถี่ ๑๐๑.๕ เมกะเฮิรตซ์ โดย รศ.ดร.มนู วีรบุรุษ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ รศ.ดร.วิชา จิวาลัย หัวหนา้ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผูข้ อ พระราชทานสมั ภาษณ์ 18

ออกพัฒนา พระองค์จะต้องไปทอดพระเนตรให้เห็นพื้นทจี่ ริงๆ จะต้องทรงรู้เสยี ก่อนว่าพื้นทนี่ ัน้ ในด้านภูมศิ าสตร์และภูมสิ งั คมเปน็ อย่างไร โดยตรัสว่าการเสด็จด้วยพระองค์เองนนั้ เป็นสงิ่ ทีส่ ำคัญมาก จะได้มคี วามรูส้ กึ ต่อพืน้ ทีน่ นั้ และพระราชทานความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการ ของประชาชน รวมท้งั ชว่ ยใหพ้ ระองคท์ รงทราบสภาพพื้นทขี่ องประเทศไทยเปน็ อยา่ งด ี นอกจากนี ้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจะทรงสอนผตู้ ามเสด็จฯ ให้รู้จักดูแผนทแี่ ละสงั เกต ภูมิประเทศ ดภู ูเขา ทางนำ้ ตน้ ไม ้ ซักถามผูท้ ่ีอยู่ในพื้นที่ใหท้ ราบขอ้ มูลมากที่สุด การพฒั นานน้ั ไม่ใช่วา่ พระองคจ์ ะเข้าไปในหมูบ่ ้านแล้วโปรดเกลา้ ฯ วา่ ควรทำอะไร ซ่งึ สมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ กท็ รงงานในลกั ษณะเดยี วกนั คอื จะซกั ถามขอ้ มลู จากประชาชนในพ้นื ท่ี โดยจะเน้นในการพฒั นาตวั บุคคล อาท ิ การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย และการส่งเสรมิ อาชพี ชา่ งฝีมอื งานหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวคือ พัฒนาปัจจยั ในการผลิตเพือ่ การกินอยู่ของ คนในท้องถิน่ ปัจจัยที่สำคัญทีส่ ุด คอื การหานำ้ ให้เพยี งพอแก่การเพาะปลูก โดยทรงเล็งเห็นว่านำ้ เป็นส่วนสำคัญทีส่ ุดของชีวิต และเป็นปจั จัยในการผลติ พืชผลต่างๆ รวมทงั้ ทรงทำพร้อมกันในทกุ ด้าน เพอ่ื ให้ประชาชนสามารถยนื อยไู่ ด้ดว้ ยตนเอง โดยพ่ึงพาปจั จยั ภายนอกให้นอ้ ยทส่ี ดุ เทา่ ท่จี ะทำได้ 19

พระองค์มพี ระราชดำรัสอยเู่ สมอว่าจะต้องให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี จึงทรงชว่ ยรักษา พยาบาลอปุ การะผูเ้ จ็บป่วย นอกจากนนั้ ทรงเห็นความสำคัญว่าตอ้ งช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาส เข้ารับการศกึ ษา มีความรู้อย่างน้อยให้อา่ นออกเขียนได้ สามารถอ่านเอกสารของทางราชการ และ เพอ่ื ใหร้ ับความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังน้ัน ๓ ตั้งแต่เกิดมาจำความได้ จึงเห็นทัง้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนน ี ทรงคิดหาวธิ ีการต่างๆ ทีจ่ ะยกฐานะ ความเป็นอยู่ของคนไทยใหด้ ขี ึน้ และได้ตามเสด็จฯ เห็นความทุกข์ยากลำบากของพีน่ ้องเพอื่ นร่วมชาต ิ ก็คิดว่าช่วยอะไรได้ควรช่วย ไมค่ วรนิง่ ดูดาย เห็นจะเป็นเพราะความเคยชิน เมอื่ โตขึน้ พอมแี รง ทำอะไรได้กท็ ำอย่างอัตโนมตั ิ และเป็นเหตทุ ี่ทำใหช้ อบการพัฒนาช่วยเหลือประชาชน รวมท้งั เป็นหนา้ ที่ ของสถาบันพระมหากษัตริยต์ ้องทำประจำอยูแ่ ล้ว และอกี ประการหนึง่ รูส้ ึกเสมอว่าการเป็นเจ้าฟ้านัน้ ได้เปรยี บผอู้ น่ื หลายอยา่ ง จงึ ควรนำข้อได้เปรยี บน้ันมาทำประโยชนแ์ กผ่ ู้อนื่ ๓ สมเดจ็ พระเทพฯ : บางแงม่ ุมแหง่ ความคดิ คำนงึ . สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ าร ี พระราชทานสมั ภาษณพ์ เิ ศษ วารสารเศรษฐกจิ และสงั คม ฉบบั พิเศษ ธันวาคม ๒๕๒๘ หนา้ ๕ 20

ประสบการณ์ตามเสดจ็ ฯ ไปทรงงานในถิน่ ทุรกนั ดาร ประสบการณใ์ นการ ตามเสด็จพระราชดำเนนิ มมี ากมายเล่าเทา่ ไหร่ไมจ่ บ ออกไปทกุ ครั้งก็ได้ความรู้ ความคดิ และมีประสบการณ์ ใหมๆ่ โดยเมือ่ ครั้งข้าพเจ้า ยังเปน็ เด็ก จำไดว้ า่ จะทรงจดั ๔“ทีมพฒั นา” ออกไปเยยี่ ม ราษฎร กจิ กรรมท่ีไปทำกนั น้ัน ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่ามีอะไรบา้ ง แต่ทแี่ นๆ่ คือมหี น่วยแพทย์ เคล่อื นท่ี มกี ารไปสำรวจความเป็นอยู่ของคน เม่ือออกไป พัฒนาแล้วต้องเขียนรายงานถวายด้วย บางทีก็รู้สึก สงสัยว่ามีคนโน้นคนน้ีมาหาท่านด้วยปัญหาท่ีเจ้าตัว แก้ไม่ตก หรือมีปญั หามาก เคยทูลถามพระองค์ ทรงคิดได้อย่างไรว่า ควรจะทำอยา่ งไรดีกับคนไหน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ รับสัง่ ว่า ถา้ เรามีความรักและความหว่ งใยก็ยอ่ มทำได้ ความจริงพระองค์มีเครือ่ งช่วยจำเหมอื นกันคือการจดบันทกึ พระองค์ทรงเรียกว่า ๕“สมุด ทอดพระเนตร” โดยจะทรงบันทึกเรื่องโนน้ เรือ่ งนที้ ีท่ รงนกึ ขึ้นได้ว่าควรทำตามข้อสังเกตในสถานที่ เสดจ็ พระราชดำเนนิ เช่น คนจน คนปว่ ย คนมลี ูกมากที่ตอ้ งจดั ใหม้ ีอาชพี ให้ลูกมีโอกาสศึกษาเลา่ เรียน คนมเี รื่องกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธคิ ณุ เรยี กไดว้ า่ ไม่ลืมเรอ่ื งของใครเลย ภายหลัง มขี ้าราชบริพาร รับผิดชอบจดไปแต่ละแผนก พระองค์ก็ยังทรงจดของพระองค์เองอย ู่ สดุ ทา้ ยทรงให้ บันทึกข้อมูลไว้ในคอมพวิ เตอรด์ ้วย ๔ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร.ี (๒๕๕๕). สมเดจ็ แมก่ ับการศึกษา. หน้า ๗๕ ๕ เล่มเดียวกนั . หนา้ ๗๗ 21

วิธกี ารทรงงาน และการทำงานของขบวนตามเสดจ็ ฯ ๖คติทีพ่ ระราชทานให้เปน็ หลกั ของการทำงานมีอยูม่ าก เช่นว่าเราไปไหนก็มพี าหนะมีคน มาอำนวยความสะดวกมากมาย ฉะน้ันต้องพยายามทำให้การไปของเรามีประโยชน์คุ้มค่าท่ีสุด เราอย่าคิดหวังยึดใครเป็นท่พี ่งึ แต่ต้องทำตัวให้เป็นท่พี ่งึ ของคนได้ คนท่มี าขอความช่วยเหลือเราน้นั เปน็ คนยากจนทม่ี คี วามเปน็ อยทู่ ล่ี ำบาก หาเชา้ กนิ คำ่ จะตอ้ งรบี ชว่ ยเหลอื เขาทนั ท ี จะไปรอเอาไวก้ อ่ นไม่ได้ และประการสำคญั คอื “การใหโ้ ดยไมเ่ ลือกท่รี ักมักท่ีชัง” ๗ เวลาออกไปทรงเยย่ี มราษฎรมคี นมาเฝา้ มากมาย ฉะนน้ั จงึ ตอ้ งมขี า้ ราชบรพิ ารทต่ี ามเสดจ็ ฯ ไปมาก ขา้ ราชบริพารแต่ละคน เวลาตามเสดจ็ ฯ จะต้องมีอุปกรณต์ ิดตัวไปใหค้ รบรวมทัง้ ของสว่ นตัว เช่น ไฟฉาย สมุดจด และแผ่นกระดาษสำหรับเขียนข้อความติดสงิ่ ของและรายชื่อบคุ คลทีเ่ ข้าเฝ้าฯ เครือ่ งเขียน สำหรบั จด มที ง้ั ปากกาเลก็ สำหรบั จดธรรมดา ปากกาโตสำหรบั เขยี นขอ้ ความในแผน่ กระดาษ ถงุ พลาสตกิ ๖ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี. (๒๕๕๕). สมเด็จแม่กับการศึกษา. หน้า ๘๐ ๗ เลม่ เดยี วกนั . หน้า ๘๐ 22

สำหรบั ใสส่ มุดทจ่ี ะเขยี นกลางสายฝน สมุดทใี่ ชจ้ ดสง่ ตวั คนไข้เขา้ โรงพยาบาล เส้อื ฝนสำหรับแจกราษฎร ก็ต้องถอื ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยงิ่ เวลาเสด็จพระราชดำเนินด้วยเฮลคิ อปเตอร์ไปกันได้น้อยคน คนทีไ่ ปก็ต้อง เปน็ ประโยชนท์ ่สี ุด ตอ้ งถอื ของแจกราษฎร เชน่ เส้อื ยืดเดก็ ผ้าขนหน ู ขนมผิงเกษตร (ขนมทำดว้ ยถว่ั เหลอื ง) เกลอื ไอโอดีน ฯลฯ ในรถทนี่ งั่ กันไปยงั ให้มคี ้อน เผือ่ เกิดมีปญั หาขัดข้องประตูรถเปดิ ไม่ได้ยังพอใช้ค้อน ทุบออกมาได ้ เวลานงั่ รถคันหนง่ึ ๆ กใ็ ห้นั่งไปมากๆ เพอื่ ประหยัดท่ ี เป็นตน้ ซ่งึ แต่กอ่ นขา้ พเจ้ากม็ ีโอกาส ไดร้ บั การฝกึ ฝนเชน่ นี้ ตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามกฎเกณฑท์ ีว่ างเป็นระเบียบเหมอื นกนั ๘ ขณะทรงเยี่ยมราษฎร เมือ่ มีผขู้ อพระราชทานพระมหากรุณาฯ หรอื โปรดเกลา้ ฯ พระราชทาน พระมหากรุณาฯ ไม่ว่าจะเป็นเรือ่ งอะไร ต้องไปสมั ภาษณเ์ พือ่ จดข้อมลู ไว้ โดยมวี ิธีการซักถามประวัติ ของผทู้ ี่จะสงเคราะห ์ ถามถึงครอบครัว ลกู เต้า วิธีการทำมาหากนิ รายไดแ้ ละความสามารถของแตล่ ะคน ๘ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๕๕๕). สมเดจ็ แมก่ บั การศกึ ษา. หนา้ ๗๕ 23

ใชเ้ วลาใหน้ อ้ ยทส่ี ดุ พดู ใหด้ ี สภุ าพ ไมใ่ หค้ นถกู ถามตกใจจนพดู ไมอ่ อก พระองคไ์ ดพ้ ระราชทานคำแนะนำไวว้ า่ ถา้ มีเวลานอ้ ยท่ีสดุ จะตอ้ งรทู้ ่ีอยู่เขาเสยี กอ่ น จะไดใ้ หเ้ จา้ หนา้ ท่ที หาร ตำรวจ หรอื เจา้ หน้าท่ีบา้ นเมอื งอ่ืนๆ ช่วยติดต่อไปภายหลงั ได้ เพือ่ คิดพระราชทานความช่วยเหลือ และการช่วยเหลือก็ตอ้ งทำระยะยาว ให้ความรูใ้ นการประกอบอาชพี จนเขาตงั้ ตวั ได้ ไม่ใช่ว่าให้เขามคี วามหวังแลว้ ทิง้ ต้องดูแลให้เขาได้รับ ความช่วยเหลอื จริงๆ และสามารถพ่ึงตนเองไดใ้ นท่สี ุด ขอ้ คดิ และเปา้ หมายในการพฒั นาประเทศ จากการตามเสดจ็ ฯ ทรงงานพฒั นาของท้ัง ๒ พระองค ์ ชว่ ยใหข้ า้ พเจา้ ไดเ้ รยี นร้กู ระบวนการพฒั นา ทีน่ ำไปสูค่ วามก้าวหน้าหรือความเปลยี่ นแปลงให้ดีขึ้น และนำมาซึง่ ข้อคิดบางประการคือ การพฒั นา ทีไ่ ม่สมดุลและไม่ยั่งยืน อาจจะก่อปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา เช่น การเพาะปลูกใช้ปยุ๋ และ ยาฆ่าแมลงทีเ่ ป็นพิษจำนวนมากเกินพอดี เป็นอนั ตรายต่อสขุ ภาพของทัง้ คนและสตั ว์ในพื้นทีบ่ ริเวณนัน้ อาจจะทำให้ดินเสยี เพาะปลูกไม่ได้มากเท่าเดิม การพัฒนาจึงต้องรักษาสมดุลกับการอนุรักษ์ เช่น ในการสรา้ งเขอ่ื นกักเก็บน้ำ ตอ้ งดูว่าจะเสียทรพั ยากรอน่ื ๆ ท่คี วรรกั ษาไว้หรอื ไม ่ อยา่ งไร เปน็ ตน้ 24

นอกจากน้ ี การพัฒนาเป็นเร่อื งกว้างและมีหลายด้าน ต้องทำกันอย่างต่อเน่อื ง และมักต้อง ใชเ้ วลานาน เชน่ ๙ การพฒั นาเศรษฐกจิ (Economic Development) จะตอ้ งวางแผนพัฒนาเศรษฐกจิ ท่เี หมาะสมสอดคล้องกบั สภาพการณ์ การลดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ การพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น การพัฒนาการเกษตร (Agricultural Development) อาทิ การเพิ่มเนอื้ ทีก่ ารผลติ การเพิม่ ผลติ ภาพการผลติ หรือ Productivity เช่น ในพ้นื ทเ่ี ท่าเดิม สามารถเพม่ิ ผลผลิตไดม้ ากขน้ึ การเพม่ิ ผลผลติ สอ่ื ความว่ามีผลผลิตเพิ่มข้ึน อาจเพราะ การขยายพ้นื ท่เี พาะปลูกหรอื การเพ่มิ ทรพั ยากรตา่ งๆ ในการผลติ และการพฒั นาเทคโนโลยกี ารเพาะปลกู เล้ียงสัตว์ เปน็ ตน้ การพัฒนาสังคม (Social Development) มีหลายอยา่ ง เช่น สร้างความเทา่ เทยี มระหว่าง ชนเผ่าต่างๆ กลุม่ คนในสงั คม ความเทา่ เทยี มระหว่างชายและหญงิ การให้สทิ ธิเสรีภาพแก่บุคคลทีม่ ี ๙ บทความพระราชทาน พลเอกหญิง ศาสตราจารย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี เรื่องถนนสายรุ่งเรือง นำสู่สขุ วารสารทางวชิ าการ พ.ศ. ๒๕๔๘ สภาอาจารย์สว่ นการศกึ ษา โรงเรยี นนายร้อยพระจุลจอมเกลา้ 25

ความจำเปน็ ในชีวติ ต่างๆ กัน เช่น ผู้พิการ พัฒนาจติ ใจคนใหม้ ีคณุ ธรรม เป็นต้น การพฒั นาการศึกษา (Educational Development) อาท ิ การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา การพฒั นาหลักสตู ร การอบรมครู บคุ ลากรทางการศกึ ษา การพฒั นาการเมอื ง (Politic Development) ให้เปน็ ไปทางประชาธิปไตย หรือให้เกิดความสงบ ความมนั่ คง ต้องสร้างการมสี ว่ นร่วมทางการเมอื ง ของคนในชาติ การพฒั นาองคก์ รประชาชน พฒั นาการบรหิ าร การแกป้ ัญหาคอรร์ ปั ชัน่ และวิธีการอน่ื ๆ เปน็ ต้น การทข่ี า้ พเจา้ ไดม้ โี อกาสตามเสดจ็ พระราชดำเนนิ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ช่วยให้ข้าพเจ้าเห็นความสำคัญ ของการพัฒนาว่า ๑๐การพัฒนาบ้านเมืองหรือการพัฒนางานทุกอย่างให้เจรญิ ยิง่ ขึน้ ไปนัน้ ไม่ควร มีลักษณะเป็นการก้าวหน้าจนลืมหลัง หากจำเปน็ ต้องเริม่ ต้นจากพื้นฐานเดิมทีม่ อี ยูก่ ่อน แล้วค่อยๆ ๑๐ พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิต พฒั นบริหารศาสตร์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาตสิ ริ กิ ิต ์ิ วนั ที ่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๐ 26

สร้างเสริมให้ก้าวหนา้ มัน่ คงขึ้นเปน็ ลำดับ สำหรับเปน็ รากฐานทีส่ ามารถจะรองรับความเจริญและ ความเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสงั คมทีจ่ ะเกิดตามมาจากผลของการพัฒนา มใิ ช่มงุ่ แต่จะพัฒนา ใหร้ ดุ หนา้ ดว้ ยการทมุ่ เทกำลงั ทรพั ย ์ กำลงั คน ตลอดจนอปุ กรณท์ กุ อยา่ ง เพอ่ื ใหไ้ ดผ้ ลเรว็ ทส่ี ดุ และมากทส่ี ดุ ซง่ึ จะทำใหร้ ากฐานทานไมอ่ ย่ ู การพฒั นาท่อี ุตสา่ หล์ งทุนลงแรงไปมากมายกจ็ ะลม้ เหลวลงอยา่ งนา่ เสียดาย กอ่ ให้เกดิ ปญั หาทงั้ ทางด้านเศรษฐกจิ สงั คม และอ่ืนๆ ตามมา ดงั ทีป่ รากฏให้เหน็ อยใู่ นปัจจุบัน ดังนัน้ การพฒั นาบ้านเมอื งใหก้ ้าวหนา้ อยา่ งยงั่ ยนื จงึ ต้องคำนงึ ถงึ รากฐานเดิมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเห็นวา่ ความเจรญิ ก้าวหน้าเกินกวา่ ฐานรองรบั ก็ต้องกลับมาเสรมิ ฐานให้กว้างขวางมั่นคง จนมี กำลงั เพยี งพอกอ่ นจงึ คอ่ ยพฒั นาต่อไป ทรงยดึ แนวพระราชดำริเปน็ แนวทางในการดำเนนิ งานพฒั นา จากแนวพระราชดำรขิ องพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทที่ รงให้ความสำคัญและตรัสเสมอว่า “คน” เป็นปัจจยั สำคญั ที่สุดในการพัฒนา ข้าพเจ้า จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริในการทรงงานพัฒนาประเทศของพระองค์มาประยกุ ต์ใช้ในวิธี 27

ดำเนินงานโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ทีข่ ้าพเจ้าริเริม่ ขึ้น ด้วยพอจะมคี วามรูแ้ ละความสนใจในเรือ่ ง สุขภาพอนามยั และการศกึ ษา ขา้ พเจา้ จงึ มุ่งเนน้ งานพฒั นาเดก็ และเยาวชน โดยเฉพาะในท้องถ่นิ ทุรกนั ดาร เพอื่ จะไดเ้ ติบใหญเ่ ปน็ กำลงั สำคญั ของประเทศชาติตอ่ ไป ข้าพเจ้าได้ยึดหลักการดำเนนิ งาน ๑๑ซงึ่ ไดเ้ รยี นรจู้ ากประสบการณ์ตามเสด็จฯ พระบาท สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ดังนี้ ๑. การพึง่ พาตนเอง โดยเนน้ ให้ทกุ คนได้ช่วยเหลอื ตนเองก่อนเป็นอนั ดับแรก เช่น การให้เมลด็ พันธุพ์ ืชผกั พันธุ์สัตว์ เพื่อผลติ อาหารไว้บริโภคเอง แทนทจี่ ะให้อาหารโดยตรง สามารถช่วยเหลือตวั เองได้ตอ่ ไป เปน็ ต้น ๒. การมีส่วนรว่ ม เนน้ ให้ผูท้ จี่ ะได้รับผลประโยชน์จากการทำโครงการได้มีสว่ นในการช่วยคิด ช่วยทำ อาทิ การทีผ่ ปู้ กครองและเด็กต้องร่วมกันวางแผนและทำการผลิตทางการเกษตร จัดเวร ในการประกอบอาหารกลางวัน ซึง่ มีผลทำให้ผูท้ ีเ่ กีย่ วข้องมีความรูส้ กึ เปน็ เจ้าของได้เรียนรู้และเข้าใจ ในกจิ กรรมท่ที ำอยู่ ๓. การพัฒนาแบบองค์รวมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเนน้ การพัฒนาในทกุ ๆ ด้าน ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนกี้ ลุม่ เป้าหมายจะต้องได้รับความรูจ้ ากกิจกรรมทที่ ำ และสามารถนำความรู้ ทไี่ ด้ไปประยกุ ต์ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ อาทิ โครงการเกษตรเพือ่ อาหารกลางวัน มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปญั หาการขาดแคลนอาหาร มีการดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ด้านเกษตรกรรมและกลมุ่ เปา้ หมาย ไดป้ ฏิบัติจรงิ ทัง้ การปลกู และประกอบอาหาร ๑๑ เวบ็ ไซต ์ โครงการพฒั นาตามพระราชดำรใิ นสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ าร ี http://kanchanapisek.or.th 28

๔. การพฒั นาระบบประสานงานความรว่ มมือจากทุกส่วน ในการช่วยเหลือจากภาครัฐบาล และภาคเอกชน ทัง้ ในและต่างประเทศ มีการจัดทำแผนงานหลักของโครงการทกุ ๆ ระยะ ๕ ปี เพ่ือให้ ทกุ สว่ นท่ีเกี่ยวข้องไดใ้ ชเ้ ป็นแนวทางทำใหง้ านต่างๆ มคี วามก้าวหน้าอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ๕. การพัฒนาผูป้ ฏิบัตงิ านให้มีความรแู้ ละประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีการอบรม การประชุม สมั มนา การศึกษาดูงาน เพื่อให้ความรูแ้ ละเปน็ การแลกเปลยี่ นความคิดเห็นระหว่าง ผูป้ ฏิบตั ิงานโครงการเปน็ ประจำ รวมทงั้ มีการประเมินและรายงานผลการดำเนนิ งานเปน็ ระยะ เพือ่ ให้ ผู้ปฏบิ ตั งิ านทราบถงึ ความกา้ วหนา้ ของโครงการ และสามารถนำไปปรบั ปรุงการดำเนนิ งานได้ ๖. การยึดหลักการอนรุ ักษส์ ่ิงแวดล้อมและสอดคลอ้ งกบั วัฒนธรรมประเพณที ้องถิ่น กิจกรรม การพัฒนาต่างๆ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม และนำภูมิปญั ญา และวัฒนธรรมท้องถ่นิ มาประยุกต์ใช้ ข้าพเจา้ เริม่ ดำเนินงานในสถานศกึ ษากอ่ น หากท้องถ่นิ ใดยังไมม่ สี ถานศกึ ษากจ็ ะเขา้ ไปรวมกล่มุ เด็กในพืน้ ทีจ่ ัดตั้งเปน็ ศูนยก์ ารเรียนชุมชนหรือโรงเรียน แล้วทำกิจกรรมเพอื่ พฒั นาคุณภาพชวี ติ ผ่าน กระบวนการทางการศึกษา เชน่ โครงการพฒั นาเดก็ และเยาวชนในถน่ิ ทรุ กนั ดาร การส่งเสรมิ อนามยั แม่ และเดก็ การสง่ เสรมิ โภชนาการเดก็ เล็ก การปอ้ งกนั โรค การพฒั นาคร ู การพฒั นาหอ้ งสมุดและส่อื การเรยี น การสอน การจดั ต้งั และพฒั นาสถานศกึ ษา การพฒั นาการเรยี นการสอน รวมถงึ การพฒั นาอาชพี และสหกรณ์ โรงเรยี น การอนุรักษ์วัฒนธรรม หลังจากนนั้ จงึ ขยายการพัฒนาไปสูช่ ุมชน 29

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและ เยาวชน ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างการดำเนนิ โครงการ ในระยะเร่ิมตน้ ซ่ึงเน้นการพฒั นาคุณภาพชวี ิตของ เดก็ และเยาวชน ซ่งึ จากการท่ีขา้ พเจา้ ไดเ้ รยี นร้จู าก พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั ว่า คนเราถา้ สุขภาพ อนามัยไม่ดีเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะไมส่ ามารถทีจ่ ะทำ กจิ การตา่ งๆ ตอ่ ไป จงึ เหน็ วา่ นอกจากการชว่ ยเหลอื ดา้ นการรกั ษาพยาบาลแลว้ เรอ่ื งการบรโิ ภคอาหาร ทีถ่ กู ตอ้ งนั้นเป็นเรือ่ งสำคัญอยา่ งย่ิง ๑๒ ในระยะแรก ขา้ พเจา้ จงึ ใชโ้ รงเรยี นในสังกดั ตำรวจตระเวนชายแดนเปน็ แหลง่ ศึกษา เพราะ ๑๒ เรยี บเรยี งจากพระราชดำรสั สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จฯ ไปในการประชุม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ณ กองบังคับการ กองร้อยที ่ ๕ ตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส วันท่ี ๒๖ กันยายน ๒๕๒๔ 30

เหน็ วา่ เป็นโรงเรยี นในเขตท้องถ่นิ ท่ีหา่ งไกลการคมนาคม และมีภาวะท่ยี ากลำบากตา่ งๆ โดยในตอนเร่มิ ตน้ มุง่ ดำเนนิ งานในแงท่ ี่ว่า ทำอย่างไรเยาวชนที่อยู่ในวัยศกึ ษาเล่าเรียนจะมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ จงึ คิดถงึ เรื่องอาหารกลางวนั ส่ิงสำคัญท่สี ดุ ก็คอื วสั ดทุ ใี่ ชใ้ นการประกอบอาหาร โดยส่วนใหญ่ ก็คือพืชผลทางการเกษตร และประชาชนส่วนใหญใ่ นเขตทปี่ ระสบปัญหานนั้ มีอาชีพเกษตรเป็นหลัก จึงพยายามเสริมในสว่ นน ี้ โดยการให้พันธุ์พืชผัก หรืออุปกณ์สำหรับให้นกั เรียนทำการเกษตร เพื่อนำผลผลติ ที่ไดม้ ารับประทาน เท่าทีท่ ำมาได้ผลดี คือช่วยให้นกั เรียนมอี าหารดีขึ้น และได้รับความรู้ทางด้านการเกษตร ในกรรมวิธีใหม่ๆ ได้เห็นความเสยี สละของครูทชี่ ่วยดูแลนกั เรียนให้มที งั้ สุขภาพและวิชาการดีขึ้น จึงได้ ขยายงานไปในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทัว่ ประเทศ โดยขณะนีท้ ำเฉพาะโรงเรียนในสงั กัด กองกำกบั การตำรวจตระเวนชายแดน ส่วนทอี่ ่ืนๆ ไดพ้ ยายามแนะนำในเร่ืองอาหารเท่าท่ีจะทำได้ นอกจากน ี้ สบื เนือ่ งจากข้าพเจ้าสนใจเรือ่ งการศึกษามานานแลว้ เมอื่ งานฉลองพระนคร ครบ ๒๐๐ ปี ข้าพเจ้าได้เปน็ ประธานกรรมการบูรณะปฏิสังขรณว์ ัดพระศรีรัตนศาสดารามและ พระบรมมหาราชวัง ได้บรู ณะอาคารหลงั หนึง่ ซึ่งแต่ก่อนเคยเปน็ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ขณะน้นั คิดอย่วู ่าการบูรณะอาคารสถานน้นั เป็นการรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติในทางวัตถุ ควรทำควบคูไ่ ปกับการพัฒนาด้านบุคคล ถ้าทำให้อาคารนเี้ ปน็ โรงเรียนขึน้ มาใหมก่ ็คงจะดีไมน่ อ้ ย ด้วยความช่วยเหลือของหลายฝ่าย ความคิดฝนั ของข้าพเจา้ ก็เปน็ จริง คือเกิดเป็น “โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบ” ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาต ิ (สปช.) เทา่ ทเี่ ปดิ มาได้ผล นา่ พอใจ มชี ั้นเรียนตั้งแต่ศูนยป์ ฐมวัย อนบุ าล ประถมศึกษา และมธั ยมศึกษา มโี ครงการทดลอง เปดิ ศนู ย์ปฐมวยั สำหรบั เดก็ หหู นวกดว้ ย 31

สำหรบั ระดบั อุดมศกึ ษาน้นั เคยสอนมหาวทิ ยาลยั ขณะน้สี อนอยู่โรงเรยี นนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกลา้ ดงั น้ัน ขา้ พเจา้ จงึ ไดม้ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งกบั การศกึ ษาทุกระดบั เม่ือมีโอกาสโดยเฉพาะอย่างย่ิงเม่ือตามเสดจ็ ฯ ไปต่างจังหวัด ข้าพเจ้ามักหาเวลาไปดูโรงเรียนต่างๆ เพื่อหาความรู้และถ้าช่วยอะไรได้ก็จะช่วย ประเทศเรามโี รงเรียนค่อนข้างจะทวั่ ถึง ฉะนนั้ โรงเรียนจึงเป็นแหล่งทีจ่ ะช่วยเผยแพรค่ วามรแู้ ละ บรกิ ารของทางราชการให้เข้าถงึ ชมุ ชนได้เป็นอยา่ งดี ทงั้ ในด้านการเกษตร การประกอบอาชพี แขนง ต่างๆ และดา้ นสาธารณสขุ บทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการ พฒั นาประเทศ ในรอบ ๒ ทศวรรษท่ี ผา่ นมา ขา้ พเจา้ เหน็ วา่ วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยไี ดเ้ ขา้ มามบี ทบาท ต่องานพัฒนาในหลายๆ ด้าน เนอื่ งจากเปน็ การนำความรู้ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยกุ ต์และสร้างสรรค์ เพอ่ื ชว่ ยในการทำงาน เพม่ิ ผลผลติ หรือแก้ปญั หาตา่ งๆ อนั กอ่ ให้เกิดวสั ดุ อปุ กรณ ์ เคร่อื งมอื เครือ่ งจกั ร เพอ่ื ใหก้ ารดำรงชวี ิตของมนษุ ย์ง่าย และสะดวกย่งิ ขึน้ ๑๓ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงึ ได้เข้ามีบทบาทสำคญั เพิม่ ขึน้ ในการสร้างนวัตกรรม (Innovation) คอื การเรยี นร ู้ การผลติ และการใชป้ ระโยชน์จากความคิดใหมใ่ ห้เกดิ ผลท้งั ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมอื ง สิ่งแวดลอ้ ม และวฒั นธรรม ซงึ่ มที ง้ั ข้อดีและขอ้ เสยี อนั จะเป็นโอกาสหรือความทา้ ทาย ในการนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ งานพัฒนาของเราจึงจำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องทำอย่างเปน็ องค์รวม ตง้ั แตก่ ระบวนการคดิ วางแผน และการนำไปวจิ ยั และพฒั นาตอ่ ยอด จนกระท่งั ไดผ้ ลผลิตเปน็ เทคโนโลย ี ทีเ่ หมาะสม ดังเช่นองคค์ วามรูเ้ ทคโนโลยีอันเนอื่ งมาจากพระราชดำรอิ ันหลากหลายที่ทรงพฒั นา ๑๓ บทความพระราชทาน พลเอกหญงิ ศาสตราจารย์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี เรือ่ ง วทิ ยาศาสตรแ์ ละ เทคโนโลยกี บั การพัฒา วารสารทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๔๘ สภาอาจารย ์ สว่ นการศึกษา โรงเรียนนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกลา้ 32

และนำมาใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ไดอ้ ยา่ งสงู สดุ เพอ่ื นำมาช่วยเหลอื และพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ของประชาชน และสงั คมไทย ซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ไดพ้ ระราชทานพระบรมราโชวาทเกย่ี วกบั การใชป้ ระโยชน์ จากเทคโนโลยี ในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบัตรแกผ่ ู้สำเรจ็ การศกึ ษาของสถาบนั เทคโนโลยพี ระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่ สวนอมั พร เมอ่ื วนั ท ่ี ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๒ ความตอนหน่งึ วา่ “...เทคโนโลยีน้ัน โดยหลักการคือ การทำสิ่งท่ีมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบูรณ์แบบจึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายน้อยที่สุด แม้แต่สิ่งที่เป็นของเสีย เป็นของ ที่เหลือทิ้งแล้ว ก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีแปรสภาพให้เป็นของใช้ได้ ในทางตรงข้าม เทคโนโลยีท่ีใช้การได้ไม่คุ้มค่าก่อให้เกิดความสูญเปล่าและความเสียหายได้มาก ท่านทงั้ หลายจะเปน็ ผ้ใู ชเ้ ทคโนโลยที ่ีบกพรอ่ ง ไมส่ มควรนำมาใช้ไม่วา่ ในกรณใี ด...” 33

ทรงเปน็ แบบอยา่ ง นกั พฒั นา เพื่อความยั่งยืนและความ อยู่ดกี นิ ดขี องราษฎร โดยสรุปแลว้ คือ มนษุ ย์ อาจจะพบความรูท้ างวิทยาศาสตร์ ต่อไปได้อกี ไม่มีทสี่ ิน้ สดุ และสร้าง เทคโนโลยีทีม่ ีประสทิ ธิภาพสงู เพื่อทจี่ ะสนองความต้องการ ในด้านต่างๆ วทิ ยาศาสตร์ และ เทคโนโลยจี ึงเป็นเคร่อื งมือในการ พฒั นาทส่ี ำคญั อยา่ งไรก็ตาม การมเี ทคโนโลยีอยา่ งเดียวไมอ่ าจเพียงพอทีจ่ ะสร้างความเข้มแข็งได้ หากผูค้ น หรือสังคมไมร่ ู้จักวิธีการใช้ ขาดสารสนเทศทีส่ ามารถนำไปใช้ประโยชน ์ หรือขาดความพร้อม อนั เนอื่ งมาจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม ดังนัน้ ความสำคัญจึงอยทู่ ี ่ “ความสมดุล” เพือ่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการพิจารณาอยา่ งรอบคอบถี่ถ้วนในทกุ มติ ิ เพ่อื สรา้ งความพร้อมและลดขอ้ จำกดั อันจะทำใหผ้ ้คู นหรือสงั คมเหลา่ นนั้ ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี อยา่ งเต็มศักยภาพ ดังทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในโอกาส เสดจ็ พระราชดำเนนิ ทรงเปดิ งานพระจอมเกลา้ ลาดกระบังนิทรรศน์ ๒๖ ณ สถาบนั เทคโนโลยพี ระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบงั เมอื่ วนั ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ ความตอนหนง่ึ ว่า “...การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก แล้วเลือกสรรส่วนท่ีสำคัญเป็นประโยชน์ นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะ กับสภาพและฐานะของประเทศเรา เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยี อนั ทนั สมัยมาใช้พฒั นางานตา่ งๆ ได้อย่างมีประสิทธภิ าพและไม่สิน้ เปลือง...” ๑๔ ทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ แม้จะ ประทบั ณ โรงพยาบาลศิริราช กย็ งั คงทรงงานอย ู่ โดยทรงใชป้ ระโยชนจ์ ากเทคโนโลยสี ารสนเทศต่างๆ ๑๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณเ์ กี่ยวกับหลักการทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู ัว. พระมหากษัตริย์นักพฒั นา เพอ่ื ประโยชน์สขุ สู่ปวงประชา. (๒๕๕๔) 34

ในการทรงงาน อาท ิ ทรงรบั ฟงั ขอ้ มลู ขา่ วสาร รวมถงึ สถานการณ์ตา่ งๆ ของประเทศ จากวทิ ยุส่ือสาร และ ส่ือตา่ งๆ และการรายงานผลการดำเนนิ งานโครงการตา่ งๆ ผ่านทางคอมพวิ เตอร ์ ตลอดจนทรงสบื คน้ ขอ้ มูล ผา่ นระบบอนิ เทอร์เนต็ โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงสนพระราชหฤทยั เรื่อง การบรหิ ารจดั การน้ำเปน็ อย่างย่งิ ซ่งึ มหี น่วยงานตา่ งๆ ทำรายงานถวาย และบางคร้งั จะทรงใหค้ ำแนะนำดว้ ย หากทรงพบว่าโครงการนนั้ ๆ มีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนนิ งาน ในขณะทีส่ มเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ราชเลขานกุ ารในพระองค์ฯ ติดตามผลการดำเนนิ งานโครงการต่างๆ และ นำมาถวายรายงานเป็นระยะอย่างต่อเนือ่ ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงเปน็ แบบอยา่ ง ของนักพฒั นาทที่ รงมพี ระวิริยะอุตสาหะ โดยทรงทมุ่ เทพระวรกายและพระสติปัญญา ดำเนนิ การ ทกุ วถิ ที างท่จี ะชว่ ยใหป้ ระชาชนท่พี ระองคท์ รงรกั ไดม้ คี วามกนิ ดอี ย่ดู อี ยา่ งยง่ั ยนื ซ่งึ ขา้ พเจา้ เองไดต้ ง้ั ปณธิ าน ทีจ่ ะเรียนรูต้ ามรอยพระยุคลบาท ในการช่วยเหลือประชาชนและประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหนา้ อยา่ งย่ังยนื ... เดนิ ตามรอยเบื้องพระยคุ ลบาทตอ่ ไป 35

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓

๑ จากพระปฐมบรมราชโองการ สู่แนวพระราชดำริการทรงงาน

สว่ นที่ ๑ จากพระปฐมบรมราชโองการ ส่แู นวพระราชดำรกิ ารทรงงาน นับจากเมือ่ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ในวันทีม่ ีเสยี งหนึง่ ดังก้องทา่ มกลางฝงู ชนทีม่ าสง่ เสด็จ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เพอ่ื เสดจ็ กลบั ไปทรงศกึ ษาตอ่ ณ ตา่ งประเทศวา่ “ในหลวง อยา่ ทง้ิ ประชาชน” พระองค์มพี ระราชประสงค์รอ้ งตอบกลับไปวา่ “ถา้ ประชาชนไมท่ ิง้ ข้าพเจา้ แลว้ ข้าพเจ้าจะละทิ้งอยา่ งไรได”้ เมอื่ พระองค์เสด็จฯ กลบั ประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้ตัง้ การพระราชพิธี บรมราชาภเิ ษกเปน็ พระมหากษตั รยิ ์ตามโบราณราชประเพณี เม่อื วนั ท่ี ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ไดพ้ ระราชทาน พระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม” จวบจนปจั จุบันเป็นทปี่ ระจักษ์ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรง “ครองแผ่นดนิ ” ดังทีพ่ ระองค์รับสัง่ โดยทรงพัฒนา อนุรักษ์ และฟืน้ ฟู ผืนแผน่ ดินและทรัพยากรธรรมชาติของ ประเทศไว้ เพือ่ ใหล้ กู หลานไทยได้ใชป้ ระโยชน์อย่างยัง่ ยืน และทรงยดึ “ทศพธิ ราชธรรม” ในการปฏิบัติ พระองค์อย่างเคร่งครัด ตามหลกั “ธรรมาภิบาล” ทถี่ ือเป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมอื ง ที่ดเี สมอมา นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ได้ทรง ร่วมกันวางรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินในทกุ พื้นทีท่ ัว่ ประเทศไทย เพือ่ ทรงให้ ความช่วยเหลอื และแก้ไขปัญหาแก่ประชาชน รวมทัง้ ขจดั ความยากจน เพือ่ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี อันเป็นการเสริมสรา้ งความมั่นคงและเข้มแขง็ ให้กับประชาชน ซึง่ เป็นรากฐานสำคญั ของการเกิด ประชาธิปไตย อันจะนำมาซ่งึ “การพัฒนาอยา่ งย่งั ยืน” และ “ประชาธิปไตยท่เี ข้มแข็ง” การทรงงานพฒั นาประเทศของพระองค์ ทรงใชห้ ลัก “เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา” โดยทรงเนน้ วา่ จะตอ้ ง มคี วามเขา้ ใจในภมู ิประเทศและประชาชน ทรงมองทกุ มติ ขิ องการพัฒนาว่าจะต้องพัฒนาใหส้ มดลุ และ สอดคลอ้ งกับ “ภมู ปิ ระเทศและสงั คม” ท่ีแตกต่างกัน รวมถึงต้องทำใหผ้ ทู้ ่ีเราจะไปพัฒนาเขา้ ใจเราดว้ ย ท้งั น้ี เพ่ือการบริหารจดั การ “ทรพั ยากรธรรมชาติ” และ “คน” ที่เปน็ เปา้ หมายหลักของการพฒั นา อนั นำมาซึ่งประโยชนส์ ขุ แห่งมหาชนชาวสยามอยา่ งแท้จริง

เมือ่ วันที่ ๙ มถิ ุนายน ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึน้ ครองราชสมบัตสิ ืบราชสนั ตตวิ งศ์ แตเ่ น่อื งจากยงั ทรงมภี ารกจิ ดา้ นการศกึ ษา จงึ เสดจ็ พระราชดำเนินกลบั ไปทรงศกึ ษาตอ่ ณ ประเทศสวติ เซอรแ์ ลนด์ เม่อื ถงึ กำหนดเวลาท่ีจะเสดจ็ ฯ กลับ ตลอดทางขณะรถพระท่นี ่ัง แล่นผ่านฝงู ชนทมี่ าส่งเสด็จอยา่ งลน้ หลาม ท่ามกลางเสยี งถวายพระพร มเี สียงหนงึ่ ตะโกนแทรกมา เข้าพระกรรณว่า “ในหลวง อย่าท้ิงประชาชน” ถา้ ประชาชนไม่ “ทง้ิ ” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจา้ จะ “ละทิ้ง” อยา่ งไรได้ ภาพและเสียงนยี้ ังคงติดอยใู่ น 39 พระราชหฤทยั ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัว จนขณะเสด็จฯ ถึง สวิตเซอร์แลนด์ระหว่างน้ันพระบาท สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวทรงพระราชนพิ นธ์ บันทกึ ประจำวนั “เมอ่ื ข้าพเจ้า จากสยาม มาสู่สวติ เซอร์แลนด”์ พระราชทาน แกห่ นงั สือวงวรรณคดไี ทย เพอื่ ถ่ายทอด ความรู้สึกซาบซึง้ ถึงน้ำใจของประชาชน ท่พี รอ้ มใจกนั มาส่งเสดจ็ อย่างมดื ฟา้ มวั ดนิ โดยทรงเริม่ บทพระราชนิพนธ์ว่า

“...‘วงวรรณคด’ี ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องเลก็ น้อยทีถ่ นดั มาลงในหนังสอื นีน้ านมาแล้ว อนั ทีจ่ ริงข้าพเจ้าก็ไม่ใช่นกั ประพันธ์ เมอื่ อยูโ่ รงเรียน เรียงความและแต่งเรือ่ งก็ทำไมไ่ ด้ดีนกั … ฉะนนั้ จึงตกลงใจสง่ บันทึกประจำวนั ท่เี ขียนไวก้ ่อนและระหว่างวันเดินทางจากสยามสู่สวติ เซอร์แลนด์มาให้... วนั ท่ี ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ วนั นถี้ ึงวนั ท่ีเราจะต้องจากไปแลว้ พอถึงเวลาก็ลงจากพระทน่ี ั่ง พรอ้ มกบั แม่ ลาเจา้ นายฝ่ายใน ณ พระท่นี ่งั ช้นั ล่างน้ัน แลว้ กไ็ ปยังวดั พระแกว้ เพอ่ื นมสั การลาพระแกว้ มรกต และพระภกิ ษสุ งฆ์ ลาเจา้ นายฝา่ ยหนา้ ลาข้าราชการทัง้ ไทยและฝรง่ั แล้วกไ็ ปข้นึ รถยนต์ พอรถแลน่ ออกไปไดไ้ มถ่ งึ ๒๐๐ เมตร มีหญิงคนหน่ึงเขา้ มาหยุดรถ แล้วสง่ กระปอ๋ งใหเ้ ราคนละใบ ราชองครักษ์ไมแ่ น่ใจว่าจะมอี ะไรอยูใ่ นนัน้ บางทจี ะเกิดเปน็ ลูกระเบิด เมอื่ มาเปดิ ดูภายหลงั ปรากฏว่า เปน็ ทอฟฟีท่ ี่อรอ่ ยมาก ตามถนนผคู้ นชา่ งมากมายเสียจรงิ ๆ ทถี่ นนราชดำเนนิ กลาง ราษฎรเข้ามาใกล้ จนชิดรถทีเ่ รานงั่ กลัวเหลอื เกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทบั ขาใครเข้าบ้าง รถแล่นฝา่ ฝูงคนไปได้ อย่างช้าทีส่ ุด ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแลน่ เร็วขึ้นได้บา้ ง ตามทางทผี่ า่ นมา ได้ยนิ เสียงใครคนหนึง่ ร้อง ขน้ึ มาดงั ๆ ว่า “ในหลวง อย่าทง้ิ ประชาชน” อยากจะรอ้ งบอกเขาลงไปวา่ “ถา้ ประชาชนไม่ทิง้ ขา้ พเจ้าแลว้ ขา้ พเจ้าจะละทงิ้ อยา่ งไรได”้ แตร่ ถวิ่งเรว็ และเลยไปไกลเสยี แลว้ ...” 40

“เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรม เพ่ือประโยชน์สุขแหง่ มหาชนชาวสยาม” ด้วยทรงตระหนกั ในหน้าทขี่ องพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจึงทรงมุง่ มัน่ ศึกษา เพือ่ เตรียมพระองค์ให้พร้อมรับพระราชภารกิจ โดยทรงเปลยี่ นแนวทางการศึกษาใหม่ จากวิชา วิทยาศาสตร์เปน็ รัฐศาสตร์และนติ ิศาสตร์ กระทงั่ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนวิ ัตประเทศไทย ทรงเข้าสูพ่ ระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี เมือ่ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง และเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรนี ฤบดินทร์ สยามมนิ ทราธริ าชบรมนาถบพิตร” พร้อมทงั้ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดนิ โดยธรรม เพอื่ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” 41

“ครอง” ความหมายโดยแทข้ องการใช้ความรกั และเมตตาในการปกครองแผ่นดนิ จากพระปฐมบรมราชโองการน้ี อาจกลา่ วไดว้ า่ น้อยคนนกั ท่ีจะนำไปเพง่ พจิ ารณาแปลความหมาย ไว้อยา่ งชัดเจนหรือเป็นทางการว่า พระปฐมบรมราชโองการทพี่ ระองค์รับสงั่ นนั้ มคี วามหมายอย่างไร และเราในฐานะประชาชนคนไทยควรเขา้ ใจความหมายแหง่ นัยน้นั อยา่ งไร และอะไรบา้ ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนธิ ิชัยพัฒนา ได้กล่าวถึงนยั แห่งความหมายอนั ลกึ ซึ้งของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวไว้ในหลายวาระและโอกาสว่า ในฐานะนกั รัฐศาสตร์ รู้สกึ ฉงนใจและ ประทบั ใจกับประโยคแรก ที่ทรงรับสงั่ ว่า “เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรม” ด้วยสามัญสำนกึ ของนักรัฐศาสตร์ พระเจ้าแผ่นดินต้องปกครองแผน่ ดิน แต่พระองค์ทรงใช้คำว่า “ครอง” แทนคำว่า “ปกครอง” ซึ่งไมไ่ ด้มมี ิติของอำนาจเข้าไปเกย่ี วข้องเลยแม้แต่นิดเดียว ท้ังทที่ รงอยู่ ในฐานะพระประมขุ ของประเทศ คำว่าปกครองเป็นเรือ่ งของอำนาจด้วยตัวบทกฎหมาย แต่พระองค์ ทรงใช้คำว่า “ครอง” ดังเช่นทีเ่ ราใช้คำว่า “ครองเรอื น” เวลาทหี่ ญิงสาวแต่งงานออกเรือน หรือ เวลาชายหญิงแต่งงานกันก็ใช้คำว่า “ครองชีวติ สมรส” เวลาบวชก็ใช้คำว่า “ครองสมณเพศ” คำว่า ครองนีไ้ มม่ แี นวความคิดเรื่องของอำนาจแมแ้ ต่นอ้ ย หากแต่มีมติ ิของจิตใจ ความเคารพ ความนบั ถือ และเหนอื สงิ่ อนื่ ใดคือ ความรัก ซึง่ เหนือกว่าการปกครอง เพราะการปกครองไมต่ ้องใช้ความรักก็ได้ แค่ใช้อำนาจเพียงอย่างเดียว กลา่ วได้ว่าพระองค์ทรงดูแลแผ่นดินด้วยความรัก ความเมตตา และ ความรับผิดชอบ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวทรงดูแลแผ่นดินโดยไม่ไดท้ รงใชอ้ ำนาจเลย แต่ทรงใชค้ วามรัก ความเมตตา ความรบั ผดิ ชอบในฐานะพระมหากษัตริย์ โดยทรงเคยรบั ส่ังวา่ “การเปน็ พระมหากษตั ริย์ ตอ้ งเป็นตลอด ๒๔ ชวั่ โมง เขาเดอื ดร้อนกลางดึกก็ตอ้ งลุกขนึ้ มากลางดกึ ” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าววา่ ดงั สมัยพอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราช ใครเดอื ดรอ้ นกไ็ ปส่ันกระดง่ิ หนา้ พระราชวงั พระองคก์ จ็ ะเสดจ็ ฯ ออกมาแก้ปัญหาให้ 42

“แผน่ ดนิ ” ปจั จยั สำคญั ของการมชี วี ติ อยู่ และการคงความเป็นประเทศ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม...” คำว่า “แผน่ ดิน” ปัจจยั ส่วนประกอบของแผน่ ดนิ กค็ อื ดนิ นำ้ ลม ไฟ และชีวิตของเราน่นั เอง ทีพ่ ระองค์ทรง ปฏบิ ตั มิ าตลอดอยา่ งเหนด็ เหนอ่ื ยพระวรกายบอบชำ้ จนทกุ วันนีเ้ นือ่ งจากพระองค์ทรงรักษาแผ่นดินไว้ ใหเ้ ราอยู่ ทรงรกั ษาดนิ นำ้ ลม ไฟ ซ่งึ หมายถึงปจั จยั แหง่ ชวี ติ ไว้ให้เราและลกู หลานได้อยู่อย่างมีความสขุ ตามพระราชปณธิ านทพี่ ระองคท์ รงรบั ส่งั ไว้วา่ “เพอื่ ประโยชน์สขุ แห่งมหาชนชาวสยาม” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงให้ความสำคัญ โดยทรงพระวิริยะอุตสาหะทุม่ เทพระปรีชา สามารถและความเหน่ือยยากท้งั หลายท้ังปวง เพื่อรักษาดิน น้ำ ลม ไฟ หรือพดู งา่ ยๆ คอื “ธรรมชาติ” ทจี่ ำเป็นต่อชีวิต ทำอย่างไรให้ทรัพยากรทเี่ สอื่ มโทรมแลว้ ฟืน้ กลบั คืนมา ทัง้ ทรงแก้ไข ฟื้นฟู และบำรุง รกั ษาใหค้ งอยเู่ พือ่ ยังชีวิตเราไว้ และรักษาสืบทอดไปยงั ลูกหลานของเราดว้ ย พระองค์ทรงมีความรอบรูเ้ ชีย่ วชาญทางการเกษตร เพราะราษฎรชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจึงทรงสนพระราชหฤทยั โดยเฉพาะในเรือ่ งดินและน้ำอนั เป็นปัจจัยสำคัญ ของเกษตรกรรม ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจนทรงมคี วามรูแ้ ตกฉาน และทรงนำมาสอนแก่ประชาชน ทกุ อย่าง ใหร้ จู้ ัก ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้จักธรรมชาติ และรู้จักคน ดร.สเุ มธ จงึ ไมแ่ ปลกใจเลยเมอื่ ได้มโี อกาส เข้าเฝา้ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวในปี ๒๕๒๔ ซึ่งพระองค์ทรงกำชับว่า “ในการทำงานกับฉัน จะวางโครงการที่ไหน จะทำกจิ กรรมทีใ่ ด ให้เคารพคำวา่ ภูมสิ ังคม” “ภมู ”ิ กค็ ือ ภมู ปิ ระเทศสภาพแวดล้อมตา่ งๆ หรอื เรยี กแบบบ้านๆ คอื ดนิ น้ำ ลม ไฟ ทำไมตอ้ งเคารพ เพราะในแตล่ ะภาคนน้ั มีภูมปิ ระเทศท่ไี ม่เหมอื นกนั ในสว่ นคำวา่ “สงั คม” ก็คือ คนซึ่งเป็นคนในมติ ทิ ่ีมี 43

ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชือ่ และ คา่ นิยม ความคิดการตดั สินใจของคนแต่ละ พื้นที่ ดังนนั้ ๒ สงิ่ นมี้ คี วามสำคัญมาก คือ ภูมปิ ระเทศและคน อย่างนแี้ ล้วไมว่ ่าจะอยู่ ในระบบสงั คม หรือระบบเศรษฐกิจใดก็ตาม และแมก้ ระท่งั เร่อื งการเมอื งน้นั ตอ้ งออกแบบ ให้สอดคลอ้ งกับภูมิสงั คม เศรษฐกิจพอเพียง ในเบือ้ งต้นนัน้ คือ การประเมินตนให้รู้จักคน รู้จักภูมิประเทศ ทรงสอนให้มองมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลาทำงานพฒั นาจึงต้องมองทุกมิติ ทุกอย่างตอ้ งวางให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ และสังคมทแี่ ตกต่างกนั ไป การทีบ่ างโครงการลม้ เหลว เพราะเมือ่ คิดแผนใดขึ้นมาแล้วใช้เหมอื นกันทัว่ ประเทศ โครงการ ดังกลา่ วเมอื่ นำมาใช้อาจสอดคลอ้ งแค่เพียงบางภูมปิ ระเทศ บางกลมุ่ คน แต่ถ้านำไปใช้ทวั่ ทงั้ ประเทศ ก็จะไมป่ ระสบผลสำเร็จ ฉะนัน้ แมร้ ูปแบบจะต่างกันอยา่ งไรก็ตาม แต่จะมขี ั้นพืน้ ฐานทเี่ หมอื นกัน ไมว่ ่าจะอยูท่ ี่สวิสเซอร์แลนด์ อเมริกาใต้ ฝรั่งเศส หรืออยูท่ ีไ่ หนก็แลว้ แต่ ต้องปฏิบัติตามหลัก ของประชาธปิ ไตย คอื ความตอ้ งการของประชาชน อยภู่ ายใตค้ วามเหน็ ชอบของประชาชนประชาชนมสี ว่ นรว่ ม ในการบริหาร และต้องถือว่าเสียงคนสว่ นมากนำมาเป็นอำนาจสูงสดุ ประชาชนจะต้องมสี ทิ ธิเสรีภาพ และเสมอภาค ต้องวางแผนรูปแบบให้เหมาะสมกับภูมปิ ระเทศนนั้ ๆ ลกั ษณะธรรมชาติไมเ่ หมือนกัน อาทิ บางแหง่ ไมใ่ ห้สทิ ธสิ ตรีเลย เราจงึ ตอ้ งเคารพสิทธิของคนในแตล่ ะพืน้ ท่ี ทรงใช้ “ธรรม” ในการครองแผ่นดนิ หากเราศกึ ษาความหมายอนั ลกึ ซง้ึ ทแ่ี ฝงอยใู่ นพระปฐมบรมราชโองการ เราจะไดค้ วามรมู้ ากมายจาก พระองค์ “เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรม” ณ วนั น้ันพระองคท์ รงไดป้ ระกาศคำวา่ Good Governance แลว้ แต่เรากลับต้องมารอให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเสยี ก่อน แล้วจึงมาตระหนักถึงความสำคัญของคำว่า Good Governance หรอื ธรรมาภิบาลตามชาวตา่ งชาติ พระองคต์ รสั วา่ ธรรมะ คอื ความดี ความถกู ตอ้ ง หรอื ความยตุ ธิ รรม ตลอดเวลาทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวทรงครองสิริราชสมบัติมากว่า ๖๕ ปี ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยูใ่ นธรรมะ ๑๐ ประการ หรือ “ทศพธิ ราชธรรม” โดยเคร่งครัด พระองค์ทรงสอนประชาชนทกุ อยา่ ง ทัง้ จริยธรรม คุณธรรม ให้มีความรบั ผิดชอบ รักษาแผ่นดิน อิงหลกั ปรชั ญา ธรรมะ เศรษฐกจิ พอเพียง พระองค์ทรงทำทุกอยา่ ง ดว้ ยความเหนอ่ื ยยากเพ่อื ความสุขของประชาชน 44

ทรงวางรากฐานประชาธปิ ไตยและการพฒั นาอย่างยัง่ ยนื ดร.สเุ มธ ได้เลา่ ถึงภาพทีป่ ระทับใจซึ่งยังคงตรึงอยูใ่ นความทรงจำว่า วันหนึง่ หลังจากถวายงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ซึง่ พระองค์จะประทบั นัง่ กับพืน้ พระองค์ตรัสว่าสะดวกดี แผนทใี่ หญ่ กว็ างได้ อะไรกว็ างได้ พระองคท์ รงชไ้ี ปท่เี กา้ อ้แี ละตรสั ถามวา่ ทำไมพระเจา้ อย่หู วั ยังตอ้ งเหน่อื ย ตอ้ งลำบาก พระองคร์ บั สง่ั ว่า “...ทำไมพระเจา้ อยหู่ ัวต้องเหนด็ เหนือ่ ยอยอู่ ยา่ งน้ี ทตี่ อ้ งเหน็ดเหนื่อยก็เพราะ ประชาชนยังยากจนอยู่ และเมื่อเขายากจน เขาจึงไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพและ เม่ือเขาไม่มีอิสรภาพ เสรภี าพ เขาจงึ เป็นประชาธิปไตยไม่ได.้ ..” หากเราไปดูการทรงงานของพระองค์จะพบว่า ทรงเข้าไปช่วยแก้ไขปญั หาและพัฒนาประชาชน เพื่อแก้ไขปญั หาความยากจน แต่ทจี่ ริงแล้วเปา้ หมายของพระองค์ไปไกลกว่าทีเ่ รามองเห็น ไม่ใช่ เพยี งแคข่ จดั ความยากจน แต่เพือ่ เสรมิ สร้างความมัน่ คงและแข็งแรงให้กับประชาธิปไตย หากประชาชนยังยากจน ประชาธิปไตยทีบ่ ริสทุ ธิ์ก็ไม่เกิดขึ้น เกิดการชักจูงได้ง่ายอย่างต่อเนือ่ งแล้ว จะเปน็ ประชาธปิ ไตยได้อยา่ งไร ผลลัพธ์สุดท้ายทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงอยากเห็นก็คือ “การพฒั นาอย่างยั่งยืน” และ “ประชาธิปไตยที่เข้มแขง็ ” ซึง่ การปพู ื้นฐานของประชาธิปไตย มิใช่เรื่องของกฎหมาย ระเบียบ กตกิ า เพยี งอยา่ งเดยี ว หากพน้ื ฐานจรงิ ๆ คอื ต้องพัฒนาประชาชนให้หลดุ พ้นจากความยากจนกอ่ น จึงจะเป็นประชาธิปไตยได้ นับเปน็ การสร้างรากฐานสำคัญให้เกิดความเข้มแข็งในระบบการเมอื งไทย อย่างมนั่ คง โดยการทรงงานพัฒนาของพระองค์นัน้ ทรงใช้หลกั “เขา้ ใจ เขา้ ถึง พฒั นา” เสมอ นัน่ คือ ก่อนจะทำอะไรต้องมคี วามเข้าใจในภูมิประเทศ เข้าใจประชาชนในหลากหลายปญั หา ทงั้ ด้านกายภาพ จารีตประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงต้องทำให้ผทู้ ีเ่ ราจะไปพัฒนาเข้าใจเราด้วย 45

เพอ่ื การบรหิ ารจดั การ “ทรพั ยากรธรรมชาต”ิ และ “คน” ท่เี ปน็ เปา้ หมายหลักของการพฒั นาเปน็ ไปอย่าง มีประสทิ ธิภาพ โดยระบุปัญหาทีช่ ดั เจน และแก้ไขปัญหาได้อย่างบูรณาการ รอบคอบ ครบทุกมิติ เพือ่ ให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมัน่ คงและยั่งยืน อนั จะนำมาซึ่งความสุขแก่พสกนกิ รชาวไทย โดยมี แนวพระราชดำรอิ นั เป็นสจั ธรรมในการพฒั นาที่สำคญั ๆ ดังจะไดก้ ลา่ วถึงในบทตอ่ ไป จากพระปฐมบรมราชโองการ... สู่การทรงงานเพ่ือ “ประโยชนส์ ขุ ” สู่ปวงประชา นับตง้ั แตพ่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการและ ทรงหลงั่ ทกั ษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในการครองแผน่ ดนิ ดงั พระปฐมบรมราชโองการ พระองค์ทรงเริม่ ศึกษาถึงแนวทางการพัฒนา ประเทศตามทที่ รงตัง้ พระราชหฤทยั ไว้ โดยอำเภอหัวหินเป็นสถานทแี่ ห่งแรกทที่ รง เรม่ิ สำรวจพน้ื ท่ี ดนิ น้ำ อาชพี และความเป็นอยู่ ของประชาชน ทรงเริ่มต้นทดลองพัฒนา จากตำบลท่ีใกลก้ อ่ น โดยเสดจ็ พระราชดำเนิน บุกป่าฝ่าดงเข้าไปในหมบู่ า้ นทรุ กันดารในบริเวณนัน้ ทงั้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ออกเยีย่ มเยียนประชาชนเกือบทกุ วันในพื้นทีแ่ ทบทุกตำบล จากหวั หิน ประจวบคีรขี นั ธ์ เพชรบุรี ถึงราชบรุ ี ต่อมาทัง้ สองพระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเยยี่ มราษฎรทวั่ ทกุ ภาค ทงั้ ภาคกลาง อีสาน เหนอื และใต้ แต่ละภาคจะเสด็จฯ นานเปน็ แรมเดือน เพือ่ ทรงหาทางแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ ให้มชี ีวิตความเป็นอยูท่ ีด่ ีขึน้ ตลอดจนส่งเสริมอาชีพว่าถิน่ ไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร โดยทรง ทราบถึงความทกุ ข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากประชาชนสพู่ ระกรรณ และจากสายพระเนตร ทีท่ รงพบเห็นดว้ ยพระองคเ์ อง จวบจนถงึ ปัจจุบนั มพี ระราชดำรใิ หจ้ ัดตงั้ มลู นธิ ิต่างๆ ท้งั เพื่อการแพทย์ สาธารณสุข การศกึ ษา และการส่งเสรมิ อาชพี ฯลฯ และโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ ๔,๓๕๐ โครงการ โดยทกุ โครงการ มงุ่ เน้นช่วยเหลือและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยขู่ องประชาชน โดยไม่ทำลายสงิ่ แวดลอ้ มและ คำนงึ ถึงสภาพ “ภูมิสังคม” เปน็ สำคัญ ซึง่ มีหลายโครงการทมี่ ีชือ่ เสียงและได้รับการยอมรับทวั่ โลก อาทิ “โครงการฝนหลวง” กำเนิดจากพระมหากรณุ าธคิ ุณทที่ รงหว่ งใยในความทกุ ข์ยากของประชาชน 46


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook