Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภูมิปัญญาความเชื่อเรื่องพิธีกรรมช้อนขวัญรับขวัญคนป่วย - นพรัตน์ รัตนวิชัย

ภูมิปัญญาความเชื่อเรื่องพิธีกรรมช้อนขวัญรับขวัญคนป่วย - นพรัตน์ รัตนวิชัย

Published by nopparat.tot, 2021-08-02 08:44:22

Description: ภูมิปัญญาความเชื่อเรื่องพิธีกรรมช้อนขวัญรับขวัญคนป่วย - นพรัตน์ รัตนวิชัย

Search

Read the Text Version

ภมู ิปญั ญาความเชอ่ื เรื่องพิธีกรรมชอ้ นขวญั รับขวัญคนป่วย นพรัตน์ รตั นวิชัย1 บทนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นส่ิงท่ีมีลักษณะของการสะสม การเรียนรู้ การสืบสาน การสืบทอดและ ต่อเน่ืองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากบรรพบุรุษสู่ชนรุ่นหลังมาอย่างยาวนานและมีความสัมพันธ์กัน ตลอดจนสอดคล้องกับวิถีชีวิตด้ังเดิมของชาวบ้าน ซ่ึงทุกภาคของประเทศไทยสามารถพบเห็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการส่ังสมของบรรพบุรุษได้ทั่วทุกภาค มีทั้งความเหมือน ความคล้ายคลึง และความแตกต่าง ข้ึนอยู่กับการถ่ายทอดของบรรพชนในภูมิภาคนนั้ ๆ ภูมิปัญญาความเชือ่ ที่สะท้อน ให้เห็นถึงความคล้ายคลงึ กนั ของทุกภาคในประเทศไทยอกี ประการหน่ึง คือ ความเชื่อเรอ่ื งขวญั ความเชือ่ เกย่ี วกบั ม่ิงและขวัญโดยท่วั ไปเชื่อวา่ การเจบ็ ป่วยของคนเกิดจากขวัญในตัวส่วนหนึ่ง ไดอ้ อกจากร่างไปอาจจะเกิดจากการตกใจกลัวกะทนั หนั เกิดจากการทาผิดกติกาที่มีต่อความเชื่อทาให้ เกดิ ปัญหาข้ึน การรกั ษาการเจบ็ ป่วยตามความเชื่อจงึ มีมักจะมีพธิ ีกรรมเรียกขวญั เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือให้ขวัญท่ีออกจากร่างไปกลับมาสู่ร่างกายเดิมอีกคร้ัง เม่ือขวัญกลับมาอยู่ในร่างกายจนครบ อาการเจ็บป่วยจึงจะหาย ความเช่ือจึงมีผลต่อครอบครัวและคนในชุมชนอย่างมาก การท่ีคนใน ครอบครัวและเครือญาติมีความเช่ือในสิ่งเดียวกันจะมีผลต่อการถ่ายทอดแนวคิดแห่งความเชื่อไปยัง เด็กรุ่นใหม่ และจะแพร่กระจายกดดันให้ครอบครัวอื่น ๆ มีความคิดความเห็นคล้อยตามไประยะหนงึ่ จนเกดิ ความศรัทธา (ลัญจกร นลิ กาญจน์, ๒๕๖๑ : ๑๓) ภาคอีสานมีความเชื่อเร่ืองขวัญ เช่นเดียวกับภาคอ่ืน ๆ ในประเทศไทย ซ่ึงประเพณีท่ี เกยี่ วข้องกับขวัญและโดดเดน่ ในภาคอีสานคือ ประเพณบี ายศรสี ู่ขวัญหรือสูดขวญั เพ่อื ใหข้ วญั กลับมา อยู่กับเนื้อกับตัว ให้มีกาลังใจ ส่งเสริมจิตใจให้ดี ชาวอีสานมีพิธีสู่ขวัญหลายประเภท เช่น การสู่ขวัญ เด็ก การสู่ขวัญแม่อยู่กรรม การสู่ขวัญแม่มาน การสู่ขวัญแม่ออกกรรม การสู่ขวัญนาค การสู่ขวัญบา่ ว สาว การสู่ขวัญพระเณร การสู่ขวัญข้าว การสู่ขวัญเล้า การสู่ขวัญเฮือน การสู่ขวัญผู้มาเยือน การสู่ ขวัญผู้กลับจากทางไกล รวมไปถึงการสู่ขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย (รุจินาถ อรรถสิษฐ, ๒๕๔๘ : ๑๑) ใน การสขู่ วัญจะใช้ด้ายหรือฝ้ายขาวเปน็ ส่ือกลางในการผูกข้อมือเป็นความหมายโดยนัยว่าขวัญไดเ้ ข้ามาสู่ เนือ้ ตัวแล้วให้มัดขวัญไว้ไม่ใหพ้ ลัดพรากจากกันอีก การรับขวัญคนท่ีเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวอีสาน ท่ีเกิดประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ต่าง ๆ จะมีการรับขวัญผู้ป่วยให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว โดยจะประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า การช้อนขวัญ ในบริเวณท่ีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ และรับเอาขวัญมาส่งให้กับผู้ป่วยป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ท่ีบ้านหรือ โรงพยาบาล ตลอดจนผูกข้อมือให้กับคนป่วย ซึ่งในท้องถ่ินบ้านโนนขี้เหล็ก ตาบลดอนอะราง 1 ครกู ล่มุ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกดั สานักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

2 อาเภอหนองก่ี จังหวัดบุรีรัมย์ ยังคงได้รับอิทธิพลความเชื่อเร่ืองการช้อนขวัญให้กับคนป่วยท่ีประสบ อุบัติเหตุ และมีผู้ที่ทาหน้าที่เรียกขวัญให้คนป่วย ที่ได้รับความเชื่อถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ นางแต้ม รัตนวิชัย จะทาหน้าท่ีในการไปช้อนขวัญให้กับคนป่วยพร้อมกับญาติพี่น้องของคนป่วย อนึ่ง พลังความเชื่อท่ีมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์สามารถส่งผลต่อจิตวิญญาณของผู้คนได้ ถึงแม้ วิวัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์จะมีความก้าวล้านาสมั ยทาให้เกิดการ เปล่ียนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ถ้าหากภูมิปัญญาเหล่าน้ีไม่ได้รับการถ่ายทอดหรือสืบต่อมาสู่อนุชนรุ่น หลงั ภมู ปิ ัญญาท่ีถอื เป็นขุมทรพั ยอ์ นั วิเศษก็อาจจะลมื เลือนหายไปได้ ลกั ษณะของขอ้ มลู พิธีกรรมการช้อนขวัญหรือรับขวัญคนป่วย เป็นรูปแบบข้อมูลทางคติชนวิทยาและภูมิปัญญา ในรูปแบบแบบผสม กล่าวคือ ปรากฏการให้ข้อมูลที่เป็นอมุขปาฐะจากคากล่าวเชิญขวัญในช่วงพิธี ช้อนขวัญและคากล่าวรับขวัญในช่วงพิธีผูกข้อมือคนป่วย ตลอดจนให้ข้อมูลในรูปแบบมุขปาฐะ แสดงออกในรูปแบบของพิธีกรรม จึงนับได้ว่า พิธีกรรมช้อนขวัญ เป็นลักษณะการใช้ข้อมูลทางคติชน วทิ ยาและภมู ปิ ัญญาในรปู แบบผสม วัตถุประสงค์ของพิธีกรรมการชอ้ นขวัญ พิธีกรรมช้อนขวัญ ทาขึ้นเพื่อเป็นการให้กาลังใจกับผู้ป่วยท่ีประสบอุบัติเหตุหรือผู้ป่วยท่ีเจ็บ ไขไ้ ดป้ ่วย เป็นการเรยี กขวญั ใหก้ ลบั เข้ามาสู่ร่างกายใหอ้ ยู่เย็นเปน็ สุข วธิ ีการรวบรวมขอ้ มลู วิธีการรวบรวมข้อมูลทางคติชนวิทยาโดยทั่วไปมีอยู่ 4 แบบ คือ ๑) โครงการแบบสารวจ ๒) โครงการแบบลึก ๓) โครงการแบบอย่กู ับท่ี และ ๔) โครงการแบบเก็บเล็กผสมน้อย (มัลลกิ า คณา นุรักษ์ , 2550 : 245-246) ในที่นี้ผู้เขียนได้เลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบโครงการแบบอยู่กับที่ คือ การเก็บข้อมูลท่ีผ้รู วบรวมข้อมลู ไม่ต้องเดินทางไปในแหล่งไกลทผี่ ดิ แปลกไปจากทต่ี นตั้งผลักแหล่ง อยู่แล้ว ซึ่งอาจรวบรวมได้จากครอบครัวตนเอง จากเพ่ือนบ้าน หรือจากกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง แบบนี้ สะดวก ประหยัดและทาไดง้ ่าย โดยได้เลอื กนางแต้ม รตั นวิชยั อายุ ๘๔ ปี มสี ถานะเปน็ ย่าของผู้เขียน เปน็ ผู้ใหข้ อ้ มลู

3 ขอ้ มูลสว่ นตัวของผใู้ ห้ขอ้ มูล ภาพที่ ๑ ผ้ใู ห้สัมภาษณ์ นางแต้ม รัตนวิชัย เกิด พ.ศ. ๒๔๗๘ ปีกุน แรม ๙ ค่า เดือน ๘ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๒) อายุ ๘๔ ปี เกิดท่ีบ้านทองหลางน้อย ตาบลดอนตะหนิน อาเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เม่ือ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านโนนขี้เหล็ก ตาบลดอนอะราง อาเภอหนองก่ี จังหวัด บุรรี มั ยจ์ นถึงปัจจุบัน เปน็ ผู้ที่ประกอบพธิ กี รรมชอ้ นขวญั ให้กบั คนป่วยในหมู่บ้านเม่ืออายปุ ระมาณ ๔๐ ปี สบื ต่อมาจนกระท่งั ปจั จบุ ัน เครอ่ื งมอื ทีใ่ ชใ้ นการเกบ็ ขอ้ มลู 1. ผเู้ ขยี นทาหนา้ ท่เี ตรยี มหัวข้อที่ใชต้ ้ังคาถาม จดบันทกึ ภาคสนาม สังเกตการณ์ แลกเปล่ียน เช่อื มโยงเร่ืองราว รวบรวมขอ้ มลู 2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) และการตั้งคากว้าง ๆ เป็น คาถามเปิด (opened question) เพ่ือนาไปสู่คาถามเฉพาะต่อมา หรือเพื่อมาสู่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ ค่านิยม ทัศนคติ วิถชี ีวติ ของชาวบ้าน โดยใช้รปู แบบการสมั ภาษณ์ คอื - การสัมภาษณ์แบบเจาะจงตัวบุคคล เปน็ การเก็บขอ้ มลู อย่างเข้มขน้ ทต่ี ้องพยายามเก็บข้อมูล ให้ลึกซึ้งถงึ เรือ่ งหน่งึ เรอ่ื งใดโดยเฉพาะ 3. การจดบันทึกข้อมูล จากการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ ทาให้ผู้เขียนได้รับการยอมรับ และสนิทสนมกับกลุ่มประชากรที่จะศึกษา โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกตหรือเฝ้าดู จึงมี พฤติกรรมทเ่ี ปน็ ไปตามธรรมชาติ ทาใหไ้ ด้ข้อมลู ทีเ่ ป็นจรงิ 4. การบันทึกเสียง บันทึกภาพน่ิงตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดความเท่ียงตรงของ เนื้อหาทต่ี ้องการ

4 การเก็บรวบรวมข้อมลู การลงพ้ืนท่ีสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลทุกรูปแบบ โดยเน้นการสัมภาษณ์บุคคลเป้าหมายท่ี ประกอบพิธีกรรมช้อนขวัญ ในหมู่บ้านโนนขี้เหล็ก ตาบลดอนอะราง อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ จานวน ๑ คน คือ นางแต้ม รตั นวิชัย อายุ ๘๔ ปี ซึ่งเกณฑใ์ นการเลือกแหลง่ ข้อมลู โดยเลือกกลุ่มที่มี วฒั นธรรมในชุมชนท่ยี ังคงยดึ มน่ั และมคี วามเช่อื ในการประกอบพิธีกรรมช้อนขวญั ใหก้ ับคนป่วย กระบวนการถา่ ยทอดขอ้ มลู พิธีกรรมการช้อนขวัญ เป็นพิธีกรรมความเช่ือของคนในภาคอีสานที่เช่ือว่าคนเรามีขวัญ เป็น สิ่งท่ีครองใจ ขวัญสิงสู่อยู่ในตัวตนและเป็นสิ่งที่ทาให้เจ้าของขวัญทุกข์หรือสุขได้ หากมีเหตุท่ีทาให้ ขวัญไมอ่ ย่กู ับตวั หรือออกไปเท่ียวเลน่ จะมีเหตุรา้ ยเจ็บปว่ ยหรือมีเคราะห์กรรม และถ้าตอ้ งการให้ขวัญ กลับเข้าสู่ร่างกายต้องมีพิธีกรรมช้อนขวัญจึงเป็นพิธีกรรมเพ่ือเรียกขวัญคนป่วยให้กลับมาสู่เจ้า ของขวัญ ต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นเด่นชัดเหมือนแต่ก่อนมากนัก แต่ก็ยังปรากฎให้ เห็นบ้างตามชนบทที่มีความเช่ือในเร่ืองน้ี พิธีช้อนขวัญจะทาขึ้นในยามท่ีมีคนได้รับความเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ เช่น รถชน ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ชาวอีสานมีความเช่ือว่าเมื่อบุคคลใดประสบ อบุ ัติเหตหุ รอื เจบ็ ไข้ไดป้ ่วยจะทาให้ตกใจ ผวา ทาให้ขวญั หนี หรอื เมอ่ื หายป่วยแล้วจะมอี าการซึมเซา ไม่สดช่ืนแจ่มใส เหมือนคนปกติ ชาวอีสานก็จะมีการทาพิธีช้อนขวัญ โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะทาพิธีน้ีเพื่อ ช้อนขวัญคนป่วยให้กลับคืนสู่ร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้มีอาการดีข้ึน ชาวอีสานบางคนกล่าวว่า หากไม่ทาพิธีช้อนขวัญคนป่วยกลับคืนมา อาการของผู้ป่วยจะหนักมากกว่าเดิม แม้อาการทาง ร่างกายจะดีขึ้นแต่อาการทางจติ ใจของผูป้ ่วยจะทรุดหนักลงกว่าเดมิ เม่ือเราประสบเร่อื งราวรา้ ยแรงไม่วา่ จะเป็น รถชนหรือเจ็บไขไ้ ดป้ ว่ ย การรักษาทเ่ี ราจะได้รับ คอื การรักษาทางกาย โดยจะทาการรกั ษาโดยแพทย์ หรือผูท้ ่มี ีความเชี่ยวชาญ ซ่ึงเป็นการรกั ษาหลัก ๆ ที่เราจะได้รับเม่ือเราประสบเร่ืองร้ายแรงดังกล่าว และนอกจากการรักษาทางกายที่มีความสาคัญ แล้วยังมีการรักษาทางจิตใจท่ีมีความสาคัญไม่แพ้การรักษาทางกาย ในแต่ละท่ีแต่ละแห่งจะมีการ รักษาทางใจแตกตา่ งกนั ไป แล้วแต่ประเพณีวัฒนธรรมความเชอื่ ของตน ว่าจะมกี ารรกั ษาทางจิตใจกัน แบบใด จากคาให้สัมภาษณ์ของนางแต้ม รัตนวิชัย (สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๒) เป็นผู้ เคยประกอบพิธีช้อนขวัญในหมู่บ้านโนนข้ีเหล็ก ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยเป็นเด็กได้เคยเห็นพ่อกับแม่ไป ตามหมอภูมิปัญญาชาวบ้านมารักษาให้กับพ่ี ๆ เน่ืองจากพ่ีสาวของนางแต้มเป็นคนเจ็บป่วยง่าย ให้ มารักษาเยียวยาด้วยวิธีรับขวัญหรือช้อนขวัญให้กับคนป่วยและได้มีโอกาสเห็นหมอประกอบพิธีกรรม โดยนางแต้มได้อ้างถึงยายคา ผูเ้ ป็นหมอทีร่ ับส่งแม่ซื้อ ผีนา้ ให้กับเด็กที่ร้องไห้ไม่หยดุ ในหมู่บ้านน้ันอยู่ เสมอ ๆ จนทาให้เกิดความซึมซับในกระบวนการขั้นตอนของพิธีกรรมน้ัน ๆ และจดจาได้ โดยไม่ได้

5 ศึกษาเรียนวิชาหรือถ่ายทอดอย่างเป็นทางการ เม่ือย้ายถ่ินฐานมาอยู่ท่ีบ้านโนนขี้เหล็ก ตาบลดอนอะราง อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ นางแต้มได้มีโอกาสรับเชิญให้ไปรับขวัญคนป่วยท่ี ประสบอุบตั ิเหตหุ รือปว่ ยดว้ ยโรคภยั ไขเ้ จ็บอยเู่ นอื ง ๆ ซง่ึ เรียกพิธกี รรมนวี้ า่ “การชอ้ นขวัญ” ขัน้ ตอน/กระบวนการในการประกอบพธิ ีกรรมช้อนขวญั วสั ดุ/อปุ กรณ์ ภาพที่ ๒ ไขไ่ กส่ ุก ภาพท่ี ๓ เสอ้ื ผา้ คนป่วย ๑. ไข่ไกส่ ุก ๑ ฟอง ๒. เส้อื ผ้าผ้ปู ่วย ๑ ชุด ภาพที่ ๔ สวงิ ภาพที่ ๕ กล้วยสุก ๓. สวงิ ๑ ปาก ๔. กล้วยสุก ๑ ลกู ภาพที่ ๖ ด้ายผกู ข้อมอื ภาพที่ ๗ ข้าวคลุกนา้ ตาล ๕. ด้ายผูกข้อมือ ๑ มัด ๖. ขา้ วคลกุ นา้ ตาล ๔ กอง

6 ภาพท่ี ๘ ข้ามตม้ มัด ภาพท่ี ๙ ธปู ๗. ข้าวต้มมดั ๓ กลบี ๘. ธูป ๓ ดอก ภาพท่ี ๑๐ เทียนหนักบาท ๙. เทยี นหนกั บาท ๒ เล่ม คาเรยี กขวัญทีไ่ ด้รับการถ่ายทอดจากนางแต้ม รัตนวิชัย คากลา่ วตอนช้อนขวัญ “สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สพั พะภัย สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตวั ใน สัพพะเคราะหต์ ัวใด ๆ ขอให้กลายเปน็ ดี สัพพะเคราะห์ข้างข้ึน สพั พะเคราะห์ขา้ งแรม สัพพะเคราะห์ กลางวนั สพั พะเคราะห์กลางคนื เคราะหว์ ัน เคราะหเ์ ดือน เคราะหป์ ี เคราะห์ดเี ขา้ มา เคราะหร์ า้ ย ออกไป ขออย่าได้มีมา ชัยยะ ชยั ยะ อิติปิโส ภะคะวา มาเด้อขวญั เอ้ย มาเดอ้ กู๊ ขวัญ......................(ช่อื คนป่วย)..............................จิพาไป บ้านไปชอ่ ง เจ้าป่าเจ้าเขากะให้ปล่อยใหว้ าง สง่ ขวญั คนื ยน่ื ขวญั มา มาขอม่ิงขอขวญั มาขอถ่ายขอมวน เงิน ๑๒ ทอง ๑๕ มารับมารอง พ่นี อ้ งก็มารับมารอง ขอใหส้ ง่ ขวญั คนื ยนื่ ขวัญมา มาเข้าโครงอย่าหลาบ มาเข้าคาบอยา่ ถอย สิบปีอย่าไปอ่นื หม่ืนปอี ยา่ ไปไกล

7 อยา่ เอาแสงเดือนต่างไต้ อย่าเอาร่มไมต้ า่ งเรือนนอน มาอยู่เรือนเคยนอน มาอยหู่ มอนเคยหนุน อย่าไปอยใู่ นนา้ เป็นเพ่ือนปลา อย่าไปอยู่ในนาเปน็ เพื่อนข้าว อย่าไปเป็นข้เี ข็บไต่ขอน อย่าไปเปน็ แมลงซอนอย่ใู ต้ร่มไม้ อย่าไปกินเขา้ เดนผรี าก อยา่ ไปกินหมากเดนผีคลาย เขามาเรียกกะอยา่ ขาน เขามาวานกะอยา่ ไป อยทู่ ิศตีนออกอยา่ ไปซอกเอามา อยู่ทิศตีนตกอยา่ ไปยกเอามา อยู่ทิศประตนี อยา่ ไปปร้ินเอามา อยูท่ ศิ หวั นอนอย่าไปปร้อนเอามา ผกู มดั รัดรึงไว้ มิให้ลงตามผี มใิ หห้ นตี ามเขา มาเด้อมากู๊ ขวัญสิบเอ็ดมาเข้า ขวัญสบิ เก้ามาสู่ ส่งขวญั คืน ย่ืนขวญั มา มาอยู่กับเน้อื กบั ตัว คากลา่ วตอนควดั ด้วยไข่ไก่ให้กับคนปว่ ย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจังไร ออกไปเสียให้หมด ความเจ็บอย่าให้ได้ ความไข้อย่าให้มี ทุกข์โศกโรคร้ายก็ออกไป กูมามึงหนี เห็นผีมามึงไป กูจิควัด กูจิเส กูจิส่ง กูจิเสีย ผีไข่ตาแดง ผีเขาแทงลอยน้า ผีแดดร้อนตะวันเท่ียง ผีหวัด ผีไอ ผีไข้ ผีหนาว ผีตายโหงไม่รู้จักหน้า ผีตายห่าไม่รู้จักชื่อ ชะมกเขาลือ กระสือเขาเล้ียง ไป ออกไป ไปกินทางนอก ทางนา ควดั ไปใหไ้ กล ไปเสยี ให้พ้น ข้นั ตอนการประกอบพธิ ี เมื่อไดร้ บั แจง้ จากญาติคนปว่ ยทปี่ ระสบอุบัติเหตหุ รือล้มป่วย ญาติพ่ีนอ้ งจะไปเชญิ นางแต้มให้ มาทาพิธีเรียกขวัญ ซึ่งถ้าผู้ป่วยท่ีประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน ตกต้นไม้ จมน้า ฯลฯ การทาพิธี ช้อนขวัญจะไปทา ณ สถานท่ีเกิดเหตุน้ัน ด้วยความเชื่อว่าขวัญของคนป่วยยังตกใจ และหล่นหายอยู่ บริเวณน้ัน โดยเวลาท่ีจะต้องทาพิธีช้อนขวัญ นางแต้มได้กล่าวว่า เป็นเวลา “ควายวัวเข้าคอก” ซ่ึง หมายถึงเวลาบ่ายตะวันคล้อยพระอาทิตย์กาลังจะตกดิน คือ ประมาณเวลา ๑๖ - ๑๘ นาฬิกา นางแตม้ ไดใ้ ห้สัมภาษณ์ขั้นตอนของการประกอบพิธกี รรมชอ้ นขวญั ไวด้ ังน้ี ๑. เม่อื มาถงึ สถานทีเ่ กิดเหตุ พรอ้ มญาติพ่นี อ้ ง ให้จดั เตรียมขา้ วคลุกนา้ ตาล ๔ กอง จุดธปู ๓ ดอก เทียนหนักบาท ๒ เล่ม บอกกล่าวเจ้าท่ีเจ้าทางและพระแม่ธรณี ว่าวันนี้จะมาช้อนขวัญของคน ปว่ ยช่ือ (บอกชือ่ คนป่วย) เสร็จแลว้ วางข้าวคลกุ นา้ ตาล ๔ กอง เป็นเสรจ็ สิ้นในขั้นตอนแรก

8 ภาพที่ ๑ สวิงใสเ่ คร่ืองไหวส้ าหรับช้อนขวญั ทีม่ า : http://ourmaekong.blogspot.com (2016) ๒. ทาพธิ ชี อ้ นขวญั โดยนาเสอื้ ผ้าคนป่วย ๑ ชุด ไขไ่ กส่ ุก ๑ ฟอง ดา้ ยผกู ข้อมือ ขา้ วต้ม ๓ กลบี กลว้ ยสุก ๑ ลูก ใสใ่ นสวิงเพ่ือรอช้อนขวญั ผทู้ าพธิ ีกลา่ วคาช้อนขวญั ดงั นี้ “สพั พะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สพั พะภยั สพั พะเคราะหต์ วั นอก สัพพะเคราะหต์ วั ใน สพั พะเคราะหต์ ัวใด ๆ ขอใหก้ ลายเป็นดี สัพพะเคราะห์ขา้ งขน้ึ สัพพะเคราะหข์ ้างแรม สัพพะเคราะห์กลางวัน สัพพะเคราะหก์ ลางคืน เคราะหว์ นั เคราะห์เดือน เคราะห์ปี เคราะหด์ เี ข้ามา เคราะห์รา้ ยออกไป ขออย่าได้มมี า ชัยยะ ชัยยะ อติ ิปโิ ส ภะคะวา มาเด้อขวญั เอย้ มาเด้อกู๊ ขวัญ......................(ช่ือคนป่วย)..............................จิพาไป บ้านไปชอ่ ง เจา้ ป่าเจ้าเขากะให้ปล่อยใหว้ าง สง่ ขวัญคืนย่ืนขวัญมา มาขอมิ่งขอขวัญ มาขอ ถ่ายขอมวน เงิน ๑๒ ทอง ๑๕ มารบั มารอง พีน่ ้องกม็ ารบั มารอง ขอใหส้ ง่ ขวัญคนื ย่ืนขวัญมา มาเข้าโครงอยา่ หลาบ มาเขา้ คาบอยา่ ถอย สิบปีอยา่ ไปอื่น หมนื่ ปีอย่าไปไกล อยา่ เอาแสงเดือนตา่ งไต้ อยา่ เอาร่มไมต้ า่ งเรือนนอน มาอยเู่ รือนเคยนอน มาอยู่หมอนเคยหนุน อยา่ ไปอยใู่ นนา้ เปน็ เพ่ือนปลา อยา่ ไปอยใู่ นนาเปน็ เพื่อนข้าว อยา่ ไปเป็นขีเ้ ขบ็ ไต่ขอน อย่าไปเปน็ แมลงซอนอยู่ใตร้ ม่ ไม้ อยา่ ไปกินเขา้ เดนผรี าก อยา่ ไปกินหมากเดนผีคลาย เขามาเรียกกะอย่าขาน เขามาวานกะอยา่ ไป อยู่ทิศตนี ออกอย่าไปซอกเอามา อยทู่ ิศตีนตกอยา่ ไปยกเอามา อยู่ทิศประตีนอยา่ ไปปรน้ิ เอามา อยทู่ ิศหัวนอนอย่าไปปร้อนเอามา

9 ผกู มัดรดั รงึ ไว้ มิให้ลงตามผี มิใหห้ นตี ามเขา มาเด้อมากู๊ ขวญั สบิ เอ็ดมาเข้า ขวัญสบิ เกา้ มาสู่ ส่งขวัญคนื ยืน่ ขวัญมา มาอยู่กับเนื้อกบั ตัว ภาพท่ี ๒ การชอ้ นขวัญ ท่ีมา : http://ourmaekong.blogspot.com (2016) ๓. ในขณะที่กล่าวคาเชญิ ขวญั ผู้ทาพธิ กี จ็ ะใช้สวิงทาทา่ ทางเหมือนกาลงั ช้อนปลา ชอ้ นไปให้ ทั่วบรเิ วณที่ผูป้ ว่ ยเกิดอบุ ตั เิ หตุ และกล่าวเรียกขวัญของคนปว่ ยให้เขา้ มาอยู่ในสวงิ ท่ีกาลงั ช้อนนั้น ๔. เม่ือผู้ทาพิธชี อ้ นขวญั ไปทั่วบริเวณแลว้ หากเกดิ ความรสู้ กึ หนกั ในสวิงนัน่ หมายความวา่ ขวัญของผู้ป่วยไปเข้ามาสู่สวงิ แล้ว ญาติของคนป่วยทม่ี าด้วยจะเป็นผ้อู ุ้มรับเอาขวญั ไว้ ๕. เมือ่ ช้อนขวัญเสร็จแลว้ ลาเจ้าทีเ่ จา้ ทาง พระแมธ่ รณี และเรยี กขวัญคนป่วยกลับบา้ น ในขณะท่เี ดินทางกลบั น้นั ผ้ทู อี่ มุ้ สวงิ ซ่งึ เช่ือวา่ ขวัญของคนป่วยไดเ้ ขา้ มาสู่สวิงเป็นท่เี รยี บร้อยแล้ว มีข้อ ห้ามว่า ข้ามพูดคุยกับใครเป็นอันขาด จนกว่าขวัญนั้นจะได้ส่งมอบให้กับคนป่วย มีความเช่ือว่าหากมี ใครมาทักหรือชวนพดู ดว้ ยขวัญจะตกใจและหลน่ หายไปได้ ๖. เมื่อเดนิ ทางมาถึงบ้านแลว้ ญาติ ๆ รวมท้งั ผูป้ ระกอบพิธสี ง่ ขวญั ให้กบั คนป่วยภายในมีสวิง เส้ือผ้า ด้วยผู้ข้อมือ ไข่ไก่สุก ข้าวต้ม ๓ กลีบ โดยผู้ประกอบพิธีจะใช้ไข่ไก่ดิบ “ควัด” คือ กิริยาการ ปัดภูติผี ส่งิ อปั มงคลออกไปจากรา่ งกายของคนปว่ ย พร้อมกับกลา่ วา่ “สัพพะทกุ ข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สพั พะภัย สัพพะเคราะหเ์ สนยี ดจังไร ออกไปเสยี ให้หมด ความเจ็บอย่าให้ได้ ความไข้อย่าให้มี ทุกข์โศกโรคร้ายก็ออกไป กูมามึงหนี เห็นผีมามึงไป กูจิควัด กูจิเส กูจิส่ง กูจิเสีย ผีไข่ตาแดง ผีเขาแทงลอยน้า ผีแดดร้อนตะวันเที่ยง ผีหวัด ผีไอ ผีไข้ ผีหนาว ผีตายโหงไม่รู้จักหน้า ผีตายห่าไม่รู้จักชื่อ ชะมกเขาลือ กระสือเขาเล้ียง ไป ออกไป ไปกินทางนอก ทางนา ควดั ไปให้ไกล ไปเสยี ให้พ้น”

10 ภาพที่ ๓ นาขวญั มาส่งให้ผ้ปู ่วย ที่มา : http://ourmaekong.blogspot.com (2016) ๗. เม่ือทาพิธคี วดั ดว้ ยไขไ่ ก่เสร็จแล้ว ใหน้ าไข่ไกไ่ ปลอยน้าหรือทิง้ น้า ปอกกลว้ ยให้คนป่วย กนิ ผู้ประกอบพธิ ใี ช้ดว้ ยผกู ขอ้ มือใหก้ ับผู้ปว่ ยทงั้ สองข้างรวมทั้งญาติพ่ีน้อง เชญิ ขวัญกลบั เขา้ สู่รา่ งกาย เปน็ เสร็จพธิ ี ประโยชน์ทไ่ี ดร้ ับจากการศกึ ษาขอ้ มูล ๑. ทาใหร้ แู้ นวทางการถ่ายถอดภมู ิปัญญาทอ้ งถ่ินจากพธิ กี รรมการชอ้ นขวญั ของชาวบ้าน โนนขเี้ หล็ก ตาบลดอนอะราง อาเภอหนองกี่ จงั หวัดบุรรี มั ย์ ๒. ทาใหไ้ ด้สบื ทอดข้อมลู ในสว่ นของคากล่าวในพิธชี อ้ นขวญั จากอมุขปาฐะบนั ทกึ ให้เป็นลาย ลักษณ์อักษรบนั ทกึ เรอื่ งราวอันทรงคุณค่านี้ไว้ เพือ่ ไม่ให้สญู หายไป ๓. ทาใหเ้ หน็ กระบวนการทีเ่ ช่อื วา่ สามารถรกั ษาโรคทางจติ ใจ ใหก้ าลัง ใหค้ วามหวงั กับคน ปว่ ยมีสุขภาพจิตใจทด่ี ขี ึน้ และหายจากโรคภยั ไข้เจบ็ ไดร้ วดเร็ว

11 บทสรปุ ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่นที่สะท้อนออกมาในรูปแบบคตชิ นความเช่ือในการประกอบพธิ ีกรรมรับขวัญ หรือช้อนขวัญให้กับคนป่วย เป็นพิธีกรรมที่ชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันแพร่หลายในทุกจังหวัด การ รักษาคนป่วยนอกจากจะรักษาด้วยแพทย์แพทย์ปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยแล้ว การรักษาด้วยวิธี เรียกขวัญให้คนป่วย ก็เป็นอีกหน่ึงวิธีที่สามารถรักษาสุขภาพจิตใจให้กับคนป่วยได้ดีข้ึน ดังคาว่า สุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็ย่อมดีตามไปด้วย ดังนั้น พิธีกรรมการช้อนขวัญน้ีนับได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ สามารถยกระดับจิตใจคนป่วยให้ทุเลาเบาบางจากอาการป่วยให้ดียิ่งขึ้น การประกอบพิธีช้อนขวัญที่ แฝงด้วยการรักษาสุขภาพจิตให้คนป่วยจึงควรที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดไว้ให้ กับอนุชนรุ่นหลัง ไดเ้ รียนรู้ สบื ทอด และคงอยตู่ ลอดไป รายการอา้ งอิง แตม้ รัตนวชิ ัย. เป็นผู้ใหส้ ัมภาษณ์ นพรัตน์ รตั นวิชยั เป็นผู้สมั ภาษณ์ ณ บ้านโนนขเ้ี หล็ก ตาบล ดอนอะราง อาเภอหนองกี่ จังหวัดบุรรี มั ย์ เมือ่ วนั ที่ ๒๐ ตลุ าคม 25๖๒. มลั ลกิ า คณานรุ ักษ์ . (2550). คติชนวิทยา.กรุงเทพฯ : โอเดยี นสโตร.์ รุจนิ าถ อรรถสิษฐ และคณะ. (๒๕๔๘). ขวัญ : ขวญั ชีวติ ของคนไทย. นนทบรุ ี : กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทยท์ างเลือก. ลัญจกร นิลกาญจน์. (๒๕๖๑). วฒั นธรรมความเชอ่ื กับการจดั การศรัทธาของชมุ ชน. วารสารนาค บุตรปรทิ รรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, ปที ่ี 10 ฉบบั ที่ 2 เดอื นกรกฎาคม ถงึ ธันวาคม 256๑, หน้า ๑๓ – ๒๐. URL https://race.nstru.ac.th/home_ex/e- portfolio/index.php/academic/publication/2603/3102.