Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 41322พา2-1

41322พา2-1

Published by มณฑา ถิระวุฒิ, 2022-08-02 15:20:36

Description: 41322พา2-1

Search

Read the Text Version

มสธ ความรูเ้ บ้ืองต้นเกย่ี วกับสญั ญายมื และสัญญายืมใช้คงรปู 1-1 มสธ หน่วยที่ 1มส ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับสัญญายืม และสัญญายืมใช้คงรูป รองศาสตราจารย์ปรียา วิศาลเวทย์ ช่ือ รองศาสตราจารยป์ รียา วศิ าลเวทย์ วุฒิ น.บ. (เกยี รตินยิ มดี), น.บ.ท. LL.M (Tulane University, U.S.A. ทนุ รฐั บาล) ต�าแหน่ง กรรมการกลมุ่ ปรบั ปรุงเอกสารการสอน หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยท่ี 1 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกันภยั แผนการสอนประจ�าหน่วย ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย ์ 2 : ยมื ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกนั ภยั หน่วยที่ 1 ความรู้เบ้ืองต้นเกยี่ วกบั สัญญายมื และสญั ญายืมใช้คงรปู ตอนที่ 1.1 ความรเู้ บอ้ื งตน้ เกี่ยวกบั สัญญายมื 1.2 สญั ญายืมใชค้ งรูป 1.3 ความระงับและอายุความแห่งสญั ญายืมใช้คงรูป แนวคิด 1. กฎหมายจดั เรื่องยมื เขา้ ไว้เปน็ เอกเทศสัญญา เนอื่ งจากมีบทบญั ญตั ิทใี่ ชบ้ ังคับเปน็ การเฉพาะ นอกเหนือไปจากหลกั เกณฑ์ของสัญญาธรรมดาโดยทวั่ ไป 2. ยมื ใชค้ งรปู เปน็ สญั ญายมื ประเภทหนง่ึ ซงึ่ มลี กั ษณะเฉพาะอนั เปน็ สาระสา� คญั คอื ผยู้ มื มสี ทิ ธิ ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่าโดยกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินที่ยืมไม่โอนไปยังผู้ยืม ตลอดจนเร่ือง สทิ ธแิ ละหนา้ ทใ่ี นระหวา่ งผยู้ มื และผใู้ หย้ มื แตกตา่ งจากสญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งซงึ่ เปน็ สญั ญายมื อีกประเภทหน่ึงโดยสิน้ เชงิ 3. ก ฎหมายบัญญตั เิ รอ่ื งความระงับแห่งสญั ญายมื ใชค้ งรูป ตลอดจนอายคุ วามทเ่ี ก่ียวข้องไว้โดย อาศยั หลักเกณฑ์อันเป็นลกั ษณะเฉพาะของสัญญายมื ใช้คงรูป วัตถุประสงค์ เมือ่ ศึกษาหนว่ ยท่ี 1 จบแลว้ นกั ศกึ ษาสามารถ 1. อธิบายลกั ษณะส�าคญั และประเภทของสัญญายืมได้ 2. บอกความแตกตา่ งในสาระส�าคญั ของสัญญายืมแต่ละประเภทได้ 3. อธิบายสาระส�าคัญของสัญญายืมใช้คงรูปได้ 4. แจกแจงสทิ ธแิ ละหน้าท่ีในระหว่างผูย้ มื และผูใ้ ห้ยืมในสญั ญายืมใช้คงรูปได้ 5. อธบิ ายเกีย่ วกับความระงบั และอายุความแหง่ สญั ญายืมใชค้ งรปู ได้ 6. วนิ ิจฉัยปญั หาเกย่ี วกบั สัญญายืมใชค้ งรปู ได้ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-3 ความร้เู บอ้ื งตน้ เกีย่ วกับสัญญายืมและสัญญายมื ใช้คงรูป กิจกรรมระหว่างเรียน 1. ท�าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรยี นหนว่ ยที่ 1 2. ศกึ ษาเอกสารการสอนตอนท ่ี 1.1-1.3 3. ปฏิบตั กิ ิจกรรมตามท่ีไดร้ บั มอบหมายในเอกสารการสอน 4. ฟังซดี เี สยี งประจา� ชุดวชิ า 5. ชมรายการวิทยุโทรทศั น์ (ถา้ ม)ี 6. เขา้ รับบรกิ ารสอนเสรมิ (ถ้ามี) 7. ท�าแบบประเมินผลตนเองหลงั เรยี นหน่วยที่ 1 มสธ มส สื่อการสอน 1. เอกสารการสอน 2. แบบฝึกปฏิบัติ 3. ซดี ีเสียงประจา� ชุดวชิ า 4. รายการวิทยุโทรทศั น์ (ถา้ ม)ี 5. การสอนเสรมิ (ถ้าม)ี ธมมสธสธมสธสธการประเมินผล 1. ประเมนิ ผลจากแบบประเมนิ ผลตนเองก่อนเรยี นและหลังเรยี น 2. ประเมนิ ผลจากกิจกรรมและแนวตอบทา้ ยเรอ่ื ง 3. ประเมนิ ผลจากการสอบประจา� ภาคการศกึ ษา เม่ืออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�าแบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 1 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

มสธ 1-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยมื ฝากทรพั ย์ ตวั แทน ประกันภยั บทน�า การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่าในสังคมหนึ่งๆ ของมนุษย์เราน้ัน ย่อมจะต้องมีการพ่ึงพาอาศัย ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกันอยู่เป็นปกติวิสัย การยืมทรัพย์สินกันใช้สอยน้ันจึงกลายเป็นส่วนหน่ึงของ ชีวิตประจ�าวันของ คนท่ัวไป ดังน้ัน กฎหมายจึงจ�าเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการก�าหนดหลักเกณฑ์ท่ี สา� คญั ตา่ งๆ ในเรอ่ื งดงั กลา่ วไว ้ เพอื่ เปน็ การฟอ้ งกนั ขอ้ โตเ้ ถยี งซงึ่ อาจจะเกดิ ขนึ้ ไดใ้ นระหวา่ งผยู้ มื และผใู้ ห้ ยืมทรพั ย์สินนั้นๆ ทั้งนเี้ พือ่ ความเปน็ ระเบียบและปกตสิ ุขของบคุ คลผูอ้ ย่รู ่วมกันในสงั คมให้มากท่สี ดุ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ยข์ องเรานนั้ ไดบ้ ญั ญตั หิ ลกั เกณฑเ์ กยี่ วกบั สญั ญายมื ไวเ้ ปน็ พเิ ศษ ซง่ึ เรียกวา่ เอกเทศสญั ญา ในบรรพ 3 ลักษณะ 9 ต้ังแต่มาตรา 640 ถงึ มาตรา 656 รวมทั้งส้นิ 17 มาตรา ดว้ ยกนั ในเอกสาร การสอนหนว่ ยท ี่ 1 และหนว่ ยท ี่ 2 ซง่ึ นกั ศกึ ษาจะไดศ้ กึ ษาเปน็ ลา� ดบั ตอ่ ไปนจี้ ะไดก้ ลา่ ว ถึงลักษณะโดยทั่วไปของ สัญญายืมท้ังหมด ซึ่งประกอบด้วยลักษณะในทางกฎหมายของสัญญายืม ประเภทของสัญญายืม สาระส�าคัญ รวมท้ังสิทธิและหน้าท่ีของผู้ยืมและผู้ให้ยืม ตลอดถึงความระงับแห่ง สัญญายืมและอายุความ ซึ่งจะมีบทมาตรา ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ท่ีเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ตง้ั แต่มาตรา 640 ถงึ มาตรา 652 สว่ นตง้ั แตม่ าตรา 653 ถึงมาตรา 656 ซง่ึ เปน็ เนอ้ื หาเฉพาะในเรื่องการ กูย้ ืมเงินนัน้ จะไดน้ �าไปกลา่ วแยกไว้เปน็ พิเศษในหนว่ ยที่ 3 เนื่องจากมเี นือ้ หาสาระซ่ึงแตกตา่ งออกไปจาก ลกั ษณะทว่ั ไปของสญั ญายมื มาก ดงั นน้ั ในการศกึ ษาเพอื่ ใหท้ ราบ เนอ้ื หาในรายละเอยี ดของสญั ญายมื โดย ครบถ้วนสมบูรณ์ นักศึกษาจึงจ�าเป็นต้องศึกษาเอกสารการสอนในหน่วยที่ 1 ถึงหน่วยท่ี 3 เก่ียวโยงต่อ เน่ืองกันไปเพื่อผลในการท�าความเข้าในเน้ือหาสาระของสัญญายืม ซึ่งบัญญัติไว้ใน บรรพ 3 ลักษณะ 9 แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ยไ์ ด้โดยตลอดและถกู ต้องครบถ้วน มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-5 ความรู้เบ้ืองตน้ เกี่ยวกับสญั ญายมื และสญั ญายมื ใชค้ งรูป ตอนที่ 1.1 ความรู้เบ้ืองต้นเก่ียวกับสัญญายืม โปรดอา่ นหัวเรอ่ื ง แนวคดิ และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.1 แล้วจงึ ศึกษารายละเอียดตอ่ ไป หัวเร่ือง 1.1.1 ลกั ษณะของสญั ญายืม 1.1.2 ประเภทของสัญญายืม มสธ มส แนวคิด 1. ส ญั ญายมื เปน็ เอกเทศสญั ญาลกั ษณะหนงึ่ โดยเปน็ สญั ญาไมต่ า่ งตอบแทน และบรบิ รู ณ์ เมื่อมกี ารสง่ มอบทรพั ยส์ ินท่ียืม ตลอดจนมีวัตถแุ ห่งสญั ญาเปน็ ทรัพยส์ นิ 2. ส ญั ญายมื แบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก ่ สญั ญายมื ใชค้ งรปู และสญั ญายมื ใชส้ น้ิ เปลอื ง ซ่ึงตา่ งกม็ ีลกั ษณะเฉพาะในตวั เองอย่างเดน่ ชดั วัตถุประสงค์ธมมสธสธมสธสธ เมอ่ื ศึกษาตอนท่ ี 1.1 จบแล้ว นกั ศกึ ษาสามารถ 1. อธบิ ายลกั ษณะที่ส�าคัญของสัญญายืม 2. แ จกแจงประเภทของสัญญายืมได้

มสธ 1-6 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตวั แทน ประกนั ภยั มสธ ความน�ามส จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเราได้บัญญัติหลักเกณฑ์เก่ียวกับ เรื่องยืมไว้พิเศษเป็นลักษณะหน่ึงในบรรพ 3 ซึ่งเรียกว่า เอกเทศสัญญา ที่จัดว่าเป็นเอกเทศสัญญานั้น เพราะเป็นลกั ษณะของสญั ญาทแ่ี ตกตา่ งไปจากสัญญาธรรมดาโดยทัว่ ไป เนอื่ งจากมบี ทบญั ญตั ิพเิ ศษเพ่มิ เติมข้ึนเพ่ือใช้บังคับนอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ของสัญญาธรรมดาตามความส�าคัญของสัญญานั้นๆ อย่างไรก็ตาม เอกเทศสัญญาจะต้องเกิดข้ึนและมีความสมบูรณ์ตามหลักมูลฐานของสัญญาธรรมดาทั่วไป ดงั ทบี่ ญั ญตั ไิ วใ้ นบรรพ 1–2 นน้ั เสยี กอ่ น ดงั นนั้ ในการศกึ ษาเอกเทศสญั ญานน้ั มใิ ชจ่ ะมงุ่ พจิ ารณาบทบญั ญตั ิ ของลกั ษณะทว่ี า่ ดว้ ยสญั ญานน้ั ๆ โดยเฉพาะเทา่ นน้ั ตอ้ งประกอบดว้ ยบทบญั ญตั อิ นั เปน็ มลู ฐานของสญั ญา นนั้ ดว้ ย สญั ญายมื ทจ่ี ะศกึ ษาตอ่ ไปนก้ี เ็ ชน่ เดยี วกนั จะตอ้ งเกดิ เปน็ สญั ญาสมบรู ณต์ ามหลกั มลู ฐานมาแลว้ จึงจะพิจารณาต่อไปว่าเข้าลักษณะเป็นสัญญายืมหรือไม่ หากเข้าลักษณะเป็นสัญญายืมแล้วจึงจะใช้ บทบญั ญตั ิลักษณะยมื มาใชบ้ ังคับเปน็ การเฉพาะต่อไป ท่ีกล่าวว่าจะเป็นสัญญายืมได้จะต้องสมบูรณ์ตามหลักมูลฐานของสัญญามาก่อนน้ัน หมายความ ว่าการเกิดของสัญญาจะต้องเป็นไปตามหลักของนิติกรรม มีการแสดงเจตนาบริสุทธิ์ท่ีจะผูกพันกันตาม สัญญาน้ัน มคี �าเสนอ ค�าสนองตรงกนั มวี ัตถปุ ระสงคท์ ่ีชอบด้วยกฎหมาย และคกู่ รณีมีความสามารถท่จี ะ ท�านติ ิกรรมได ้ ซ่งึ จะนา� มากลา่ วโดยสรปุ ได้ดงั น้คี ือ 1. สัญญาเป็นนิติกรรมหลายฝ่ายซ่ึงเกิดข้ึนโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายข้ึนไป เมื่อต้องการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ก่อสิทธิและหน้าท่ีผูกพันกันเป็นเจ้าหน้ีและลูกหนี้ ดังนั้นจะ เปน็ สญั ญาไดจ้ ะ ตอ้ งมบี คุ คลเปน็ คสู่ ญั ญาตง้ั แตส่ องฝา่ ยขน้ึ ไป จะมลี กู หนโี้ ดยไมม่ เี จา้ หน ี้ หรอื มเี จา้ หนโ้ี ดย ไมม่ ลี กู หนไ้ี มไ่ ด ้ แมจ้ ะ เปน็ สญั ญาไมต่ า่ งตอบแทนซง่ึ กอ่ หนฝ้ี า่ ยเดยี วอยา่ งเชน่ กรณสี ญั ญายมื น ี้ (ซง่ึ จะได้ กลา่ วในรายละเอยี ดตอ่ ไป) กย็ งั เปน็ สญั ญาซงึ่ จะตอ้ งมคี สู่ ญั ญาตง้ั แตส่ องฝา่ ยขนึ้ ไปอยนู่ น่ั เอง ซง่ึ มงุ่ โดยตรง ต่อการผูกนิติสัมพันธ์ข้ึนระหว่าง บุคคลตามหลักใน ปพพ. มาตรา 149 ที่ว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันท�าลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ข้ึนระหว่าง บุคคล เพ่ือจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซ่ึงสิทธิ” ดงั นนั้ ถา้ การใดมไิ ดม้ งุ่ ทจ่ี ะผกู นติ สิ มั พนั ธ์ ระหว่างบคุ คลแลว้ ก็หาเปน็ นติ ิกรรมไม1่ 2. สญั ญาจะเกดิ ขน้ึ เมอ่ื คกู่ รณแี สดงเจตนาเปน็ คา� เสนอคา� สนองถกู ตอ้ งตรงกนั การแสดงเจตนานน้ั โดยปกตติ อ้ งแสดงใหป้ รากฏอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ จะเปน็ โดยกริ ยิ าอาการ โดยวาจา หรอื โดยลายลกั ษณอ์ กั ษร กต็ าม การนง่ิ หรอื งดเวน้ ไมก่ ระทา� การตามหลกั ทว่ั ไปไมถ่ อื เปน็ การแสดงเจตนา เวน้ แตจ่ ะมกี ฎหมายบญั ญตั ไิ ว้ 1 ด ู ฎ. 1107/2499, ฎ. 33/2502, ฎ. 1146/2538 และ ฎ. 6414/2551 ซง่ึ วนิ จิ ฉยั ไวเ้ ปน็ ทา� นองเดยี วกนั วา่ การยมื ตามกฎหมายนน้ั จะตอ้ งเกดิ ขน้ึ โดยสญั ญา การทจ่ี า� เลยซง่ึ เปน็ ขา้ ราชการไดย้ มื เงนิ ของราชการเพอื่ มาใชซ้ อื้ ของในราชการ เมอื่ ไดใ้ บสา� คญั การจา่ ยเงนิ แลว้ จงึ สง่ ไปหกั ลา้ งในภายหลงั เปน็ การปฏบิ ตั หิ นา้ ทร่ี าชการตามปกต ิ จา� เลยมไิ ดอ้ ยใู่ นฐานะเปน็ ผยู้ มื เพราะการเซน็ ยมื นน้ั เปน็ การทา� แทนนติ บิ คุ คลเพอ่ื งานของนติ บิ คุ คลนนั้ จงึ มใิ ชก่ ารผกู นติ สิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งนติ บิ คุ คลกบั ตวั ผเู้ ซน็ ยมื ไมเ่ ปน็ สญั ญา ไมผ่ า่ นหลกั นติ กิ รรม ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บอ้ื งตน้ เก่ียวกับสัญญายมื และสญั ญายืมใชค้ งรปู 1-7 หรอื ตามปกตปิ ระเพณใี หถ้ อื เอาการนง่ิ นนั้ เปน็ การแสดงเจตนาทา� นติ กิ รรมดว้ ย2 นอกจากนย้ี งั ตอ้ งพจิ ารณามสธ ตามหลกั ท่ัวไปใน ปพพ. บรรพ 1 และบรรพ 2 ทีเ่ ก่ียวข้องกบั ความสมบรู ณข์ องนิติกรรมและหนป้ี ระกอบมส ด้วย อุทาหรณ์ ฎ. 943/2495 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจ�าเลยตามหนังสือสัญญากู้ จ�าเลยต่อสู้ว่าเป็นนิติกรรม อ�าพราง เมื่อคดีได้ความว่าความจริงเป็นเรื่องโจทก์จ�าเลยเข้าหุ้นส่วนกันในการแสดงละครเพ่ือหาก�าไร จ�านวน เงินท่ีโจทก์จะมอบให้จ�าเลยไปซ้ือหาและใช้จ่ายในการแสดงละครนั้น โจทก์ให้จ�าเลยท�าหนังสือ สัญญากโู้ จทกไ์ ว ้ เพื่อใหจ้ า� เลยเอาเงินไปใช้เพอ่ื ประโยชน์ในการจดั การแสดงจรงิ ๆ และเพอ่ื ปอ้ งกนั เจ้าหนี้ อน่ื ถา้ หากวา่ จา� เลยจะ ไปก่อให้เกิดข้นึ มิใหม้ าฟอ้ งรอ้ งโจทกใ์ นฐานเปน็ หุ้นสว่ น ดังนีส้ ญั ญาก้ดู งั กล่าวจงึ เปน็ นิติกรรมอ�าพรางตกเปน็ โมฆะตาม ปพพ. มาตรา 118 (ปัจจบุ นั คือมาตรา 155) ฎ. 2059/2525 จ�าเลยท�าสัญญากู้ให้โจทก์เพื่อเอาใจโจทก์ เพราะขณะน้ันจ�าเลยถูกฟ้องคดีอาญา และตอ้ งการจะเอาบตุ รซงึ่ เกดิ จากสามขี องโจทกค์ นกอ่ นมาเปน็ พยานใหจ้ า� เลยในคดที ถ่ี กู ฟอ้ ง และเกรง วา่ โจทกจ์ ะรอ้ งเรยี นผูบ้ งั คับบัญชาทางวินยั เพราะจา� เลยมภี รรยาโดยชอบดว้ ยกฎหมายอยู่กอ่ นท่ีจะไดโ้ จทก์ เป็น ภรรยา ส่วนโจทก์ประสงค์จะใช้สัญญากู้เป็นข้อต่อรองให้จ�าเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยมิได้มี การรับเงินกัน ตามสัญญากู้เงิน ดังนี้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีท่ีคู่สัญญาท�าขึ้นโดยเจตนาลวง ไม่ ประสงคจ์ ะผูกพันกัน จงึ บังคับไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 118 (ปัจจุบันคอื มาตรา 155) ฎ. 1076/2539 เมื่อค�าให้การจ�าเลยแปลความได้ว่า จ�าเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และ หลงั จากทา� สญั ญากแู้ ลว้ จา� เลยไดร้ บั เงนิ จากโจทกจ์ นครบและเกนิ จา� นวนทกี่ า� หนดไวใ้ นสญั ญาก ู้ จงึ ถอื ได้ ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จ�าเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอ�าพราง การยืม เงนิ ทดรองเพอ่ื เปน็ ค่าใชจ้ ่ายในการท�าไร่ออ้ ยทจ่ี �าเลยจะน�าสืบพยานบคุ คลหักล้างได ้ ฎ. 3528/2539 จา� เลยทา� สญั ญากเู้ งนิ ใหโ้ จทกแ์ ทนการชา� ระราคาทด่ี นิ บางสว่ นทโ่ี จทกก์ บั พวกขาย ใหแ้ ก่จ�าเลย หนีเ้ งนิ กู้ตามสัญญากเู้ งนิ จึงเปน็ หนีท้ แ่ี ปลงมาจากค่าที่ดินทจ่ี า� เลยต้องชา� ระแกโ่ จทก ์ สญั ญา กู้เงินจงึ มีผลบังคบั ได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนติ ิกรรมอา� พรางสญั ญาขายที่ดิน โจทกเ์ อาหนเ้ี งนิ กทู้ จ่ี า� เลยคา้ งชา� ระตามสญั ญากเู้ งนิ ฉบบั เดมิ มาเปน็ ตน้ เงนิ กตู้ ามสญั ญากเู้ งนิ ฉบบั ใหม ่ เปน็ การแปลงหนจ้ี ากสญั ญากเู้ งนิ ฉบบั เดมิ มาเปน็ สญั ญากเู้ งนิ ฉบบั ใหม ่ สญั ญากเู้ งนิ ฉบบั ใหมใ่ ชบ้ งั คบั กนั ได้ตามกฎหมาย 3. สัญญาต้องมวี ัตถปุ ระสงค์ ซ่ึงกค็ ือจดุ ประสงค์หรอื ความมงุ่ หมายในการทา� สัญญานั้นเอง และ วตั ถปุ ระสงคด์ งั กลา่ วตอ้ งเปน็ วตั ถปุ ระสงคท์ ชี่ อบดว้ ยกฎหมายดงั ท ี่ ปพพ. มาตรา 150 บญั ญตั วิ า่ “การใด มีวัตถุ ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ” อนง่ึ วตั ถปุ ระสงคท์ ฝ่ี า่ ฝนื ตามมาตรา 150 นน้ั คกู่ รณจี ะตอ้ งรถู้ งึ วตั ถปุ ระสงคน์ นั้ จงึ จะทา� ใหน้ ติ กิ รรมเปน็ โมฆะ เชน่ กเู้ งนิ โดยบอกแกผ่ ใู้ หก้ วู้ า่ จะนา� ไป 2 ศกั ดิ์ สนองชาติ คำ� อธิบำยประมวลกฎหมำยแพง่ และพำณิชยว์ ำ่ ด้วยนติ กิ รรมและสัญญำ แก้ไขเพ่มิ เติม พมิ พค์ ร้งั ท ่ี 2 นติ ิบรรณการ พ.ศ. 2524 น. 10 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-8 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกนั ภยั คา้ ฝนิ่ เถอ่ื น (ฎ. 703/2487) หรือก้เู งินโดยบอกแก่ผู้ให้กวู้ า่ จะนา� ไปชา� ระหน้ีในการทผี่ ู้กู้จ้างเขาฆ่าคน (ฎ. มสธ 358/2511) เป็นต้น3มส 4. สัญญาท่ีจะสมบูรณ์ตามหลักแห่งนิติกรรมน้ัน คู่สัญญาจะต้องมีความสามารถตามกฎหมาย มฉิ ะนนั้ กจ็ ะตกเปน็ โมฆยี กรรม ดงั ท ี่ ปพพ. มาตรา 153 บญั ญตั วิ า่ “การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของ กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ” นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นหมายความว่า นิตกิ รรม นัน้ สมบรู ณม์ ผี ลบงั คับได้จนกว่าจะถกู บอกลา้ ง ซ่งึ ปพพ. มาตรา 175 ได้กา� หนดตวั ผู้มีอา� นาจ บอกลา้ งโมฆยี ะกรรมไวแ้ ลว้ และเมอื่ มผี บู้ อกลา้ งโมฆยี ะกรรมแลว้ ปพพ. มาตรา 176 ใหม้ ผี ลถอื วา่ นติ กิ รรม นนั้ เปน็ โมฆะแตเ่ รม่ิ แรก คกู่ รณตี อ้ งกลบั คนื สฐู่ านะเดมิ เวน้ แตถ่ า้ เปน็ การพน้ วสิ ยั จะกลบั คนื ฐานะเดมิ เชน่ นน้ั ก็ให้ไดร้ บั ค่าเสียหายชดใช้แทน จากหลักมูลฐานแห่งนิติกรรมดังกล่าว หากได้พิจารณาว่าเอกเทศสัญญาใดไม่ขัดกับหลักมูลฐาน ดงั กลา่ วแลว้ กจ็ ะตอ้ งพจิ ารณาตอ่ ไปวา่ เปน็ เอกเทศสญั ญาลกั ษณะใด เพอื่ ทจี่ ะไดน้ า� บทบญั ญตั ใิ นเอกเทศ สญั ญา ลกั ษณะน้นั ๆ มาใชบ้ งั คบั ต่อไป เร่ืองท่ี 1.1.1 ลักษณะของสัญญายืม ค�าวา่ “ยืม” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า “ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ช่ัวระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, น�าของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน”4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยข์ องเรามิได้มีบทวเิ คราะห์ศัพท์คา� วา่ “ยมื ” ไวใ้ นที่ใดเลย แต่ เมือ่ พิเคราะห์จากตัวบทกฎหมายซึ่งไดบ้ ัญญัติไว้ตั้งแต ่ มาตรา 640 ถึง มาตรา 656 แลว้ พอจะใหค้ วาม หมายของคา� วา่ “ยมื ” ได้วา่ “ยมื ” เปน็ สัญญาซงึ่ คสู่ ัญญาฝ่ายหน่งึ เรยี กวา่ “ผใู้ หย้ มื ” ส่งมอบทรัพย์สิน ใหแ้ กค่ สู่ ญั ญาอกี ฝา่ ยหนงึ่ เรยี กวา่ “ผยู้ มื ” เพอ่ื ใหใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ นนั้ ไดเ้ ปน็ ประโยชนแ์ กผ่ ยู้ มื ภายในชว่ ง ระยะเวลาหน่ึงแล้วผยู้ มื สง่ คืนทรัพยส์ นิ ให้เม่อื ไดใ้ ชส้ อยเสร็จแล้ว สญั ญายืมมีลกั ษณะในทางกฎหมายที่สา� คญั ดงั ตอ่ ไปน ้ี คือ 1. สัญญายืมเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหน่ึง ซงึ่ ได้อธบิ ายมาแล้วในเบ้ืองตน้ ข้อสา� คญั คอื จะ ตอ้ งพิจารณาวา่ เอกเทศสัญญาหน่ึงๆ นัน้ จดั เขา้ ลกั ษณะของสญั ญายืมไดห้ รือไม ่ เพราะหากไมใ่ ช่เรอื่ งยืม แล้วก็จะน�าบทบัญญัติของกฎหมายในเร่ืองยืมมาใช้บังคับมิได้ และเม่ือเข้าลักษณะเป็นเร่ืองยืมแล้วก็ต้อง 3 ด ู ฎ. 1181/2491, ฎ. 690/2492, ฎ. 1160/2494, ฎ. 1288/2501, ฎ. 1124/2512 ประกอบ 4 พจนานุกรมอเิ ล็กทรอนิกส์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรูเ้ บื้องต้นเกี่ยวกับสญั ญายืมและสัญญายืมใชค้ งรปู 1-9 มสธ พจิ ารณาต่อไปว่าเปน็ สัญญายืมประเภทใดดว้ ย เพอื่ จะได้นา� บทบัญญตั ิในเร่ือง นน้ั ๆ มาใช้บงั คับไดอ้ ยา่ งมส ถกู ตอ้ ง อุทาหรณ์ ฎ. 874/2477 คดีได้ความวา่ โจทก์จ�าเลยตา่ งรบั สนิ ค้าซง่ึ กนั และกนั ไปจา� หนา่ ย บางคราวเวลารบั สนิ คา้ ไปกย็ งั มไิ ดช้ า� ระราคากนั บางคราวจา� เลยเคยใชว้ ธิ อี อกตวั๋ ใหโ้ จทกแ์ ลว้ โจทกจ์ า่ ยเงนิ ใหจ้ า� เลยไปกอ่ น โดยสง่ ตวั๋ นน้ั ไปเกบ็ เงนิ จากผทู้ จี่ า� เลยสง่ สนิ คา้ ไปใหอ้ กี ตอ่ หนงึ่ การทโี่ จทกจ์ า่ ยเงนิ ใหจ้ า� เลย ดงั นหี้ าเรยี กวา่ เปน็ การกู้ยมื เงินไม่ แมจ้ ะไม่มีเอกสารลงลายมือชือ่ จ�าเลยผตู้ ้องรบั ผดิ โจทกก์ ็ฟอ้ งเรียกเงินได้ ฎ. 874/2486 การเขา้ หนุ้ เลน่ แชร์เปยี หวยไมเ่ ป็นการกู้ยมื เงิน ฎ. 315/2491 จ�าเลยให้โจทก์เป็นนายหน้าขายสายพานให้ โดยจ�าเลยขอให้โจทก์จ่ายเงินค่า สายพานน้ใี ห้ก่อน 20,000 บาท ถา้ ผู้มาซ้ือสายพานไปตามนัด จา� เลยกไ็ มต่ อ้ งชา� ระเงินคนื ให้โจทก์ แตถ่ า้ ผซู้ อ้ื ไมม่ าซอ้ื จา� เลยจะตอ้ งคนื เงนิ ดงั น ้ี ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา่ โจทกม์ ใิ ชผ่ ซู้ อ้ื สายพาน ขอ้ ตกลงระหวา่ งโจทก์ จา� เลยเป็นสญั ญายืมใชส้ น้ิ เปลอื งตามมาตรา 650 เม่อื ไม่มีหลักฐานเปน็ หนังสือตามมาตรา 653 โจทกจ์ ะ ฟ้องบังคบั จ�าเลยใหช้ �าระเงินคนื หาไดไ้ ม่ ฎ. 49/2491 จา� เลยขอใหโ้ จทกจ์ า่ ยเงนิ แกห่ ญงิ คนหนงึ่ ไปแลว้ จา� เลยจะใชใ้ ห ้ โจทกจ์ า่ ยเงนิ ไปแลว้ จา� เลยไมย่ อมใชค้ นื โจทกจ์ งึ ฟอ้ งเรยี กเงนิ ทจ่ี า่ ยไป ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา่ การจา่ ยเงนิ นนั้ โดยจา� เลยสงั่ เปน็ การ ทา� แทนจา� เลยตวั แทนยอ่ มเรยี กเงนิ ทจ่ี า่ ยทดรองจากตวั การไดโ้ ดยไมต่ อ้ งมหี ลกั ฐานเปน็ หนงั สอื เพราะไมใ่ ช่ เรอ่ื งกู้ยืม (ม ี ฎ. 319/2510 วินิจฉัยในท�านองเดียวกนั ) ฎ. 122/2501 รับมอบเงินไปซ้ือกระบอื และโคมาให ้ ซอ้ื กระบือบา้ งแล้วกลบั ขายเสียและคนื เงินให้ บางส่วน ดงั นี้ไมใ่ ชก่ ยู้ มื เงนิ แม้ไมม่ หี นงั สือเปน็ หลกั ฐานก็ฟอ้ งเรียกเงนิ ได้ ฎ.3326/2522 ผขู้ อรบั ชา� ระหนไ้ี ดจ้ า่ ยเงนิ ทดรองคา่ ใชจ้ า่ ยของบรษิ ทั ไมใ่ ชก่ ยู้ มื เงนิ ไมต่ อ้ งมหี ลกั ฐาน เป็นหนังสือ เมื่อเปน็ หน้กี นั จรงิ ก็ขอรบั ชา� ระหนใ้ี นคดลี ้มละลายได้ 2. สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ซง่ึ สญั ญาไมต่ า่ งตอบแทนนน้ั เปน็ สญั ญาทก่ี อ่ หนใี้ หแ้ ก่ คสู่ ญั ญาฝา่ ยใดฝา่ ยหนง่ึ แตเ่ พยี งฝา่ ยเดยี ว ตา่ งกบั สญั ญาตา่ งตอบแทนซงึ่ กอ่ หนเี้ กดิ แกค่ สู่ ญั ญาทงั้ สองฝา่ ย (ปพพ. มาตรา 369) เชน่ ในสญั ญาซอ้ื ขายทงั้ ผซู้ อ้ื และผขู้ ายมหี นท้ี จ่ี ะตอ้ งปฏบิ ตั ซิ ง่ึ กนั และกนั แกค่ สู่ ญั ญา อีกฝา่ ยหนง่ึ กล่าวคอื ผ้ขู ายมหี น้าท่จี ะต้องส่งมอบทรพั ย์สินทขี่ ายให้แกผ่ ู้ซื้อและผซู้ อ้ื มหี นา้ ทีจ่ ะตอ้ งช�าระ ราคาให ้ ถา้ ฝา่ ยหนง่ึ ฝา่ ยใดไมป่ ฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องตน อกี ฝา่ ยหนง่ึ กย็ งั มสี ทิ ธทิ จี่ ะไมป่ ฏบิ ตั หิ นา้ ทข่ี องตน หรอื มีสิทธิยับย้ังหรือยึดหน่วงบางประการตามกฎหมายได้ เช่น ในเรื่องสัญญาซื้อขายน้ี ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบ ทรพั ยใ์ ห้ ผซู้ ื้อกม็ สี ิทธทิ ี่จะยังไมย่ อมชา� ระราคาทรพั ย์สนิ ที่ซ้อื นนั้ ไดจ้ นกวา่ ผูข้ ายจะยอมสง่ มอบทรพั ยใ์ ห้ สญั ญายมื เปน็ สญั ญาไมต่ า่ งตอบแทน เพราะกอ่ หนหี้ รอื หนา้ ทบ่ี งั คบั แกผ่ ยู้ มื เพยี งฝา่ ยเดยี ว นบั แต่ หนา้ ทใี่ นการเสยี คา่ ฤชาธรรมเนยี มในการทา� สญั ญายมื คา่ สง่ มอบและคา่ สง่ คนื ทรพั ยท์ ยี่ มื หนา้ ทใี่ นการใช้ ทรัพย์สินตามสัญญา หน้าท่ีในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม จนกระท่ังถึงหน้าท่ีท่ีจะต้องส่งทรัพย์สินคืน เมอื่ ใชเ้ สรจ็ แลว้ ส�าหรับผู้ให้ยืมน้ันไม่มีหน้ีอย่างใดจะต้องช�าระให้แก่ผู้ยืม การที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สิน ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมน้ันมิใช่เป็นการช�าระหนี้ แต่เป็นส่วนประกอบที่เป็นสาระส�าคัญของสัญญายืม เพราะ ตราบใดท่ีผู้ให้ยืมยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินท่ียืมให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมย่อมไม่บริบูรณ์ (ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-10 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตวั แทน ประกันภยั มสธ ในส่วนนี้) อย่างไรก็ตาม หากมีกรณีท่ีผู้ให้ยืมจะเกิดมีหน้าท่ีข้ึนได้ ก็ย่อมเกิดจากเหตุอ่ืนที่มิใช่เกิดจากมส สัญญายมื โดยตรง ซ่งึ จะได้กลา่ วถึงรายละเอียดต่อไปในสว่ นท่ีเก่ยี วกับสทิ ธิและหนา้ ท่ีของผู้ใหย้ ืม อนง่ึ แม้สัญญายืมจะเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนก็ตาม แต่อาจเป็นสัญญาท่ีมีค่าตอบแทนได้ ซง่ึ ได้แก่ สัญญายืมใช้ส้ินเปลืองอันมีค่าตอบแทน เช่น สัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบ้ียตอบแทนแก่ผู้ให้ยืมใน การทีผ่ ยู้ ืมไดใ้ ช้เงินนัน้ เปน็ ต้น แตก่ ็ไมท่ า� ใหส้ ัญญากยู้ มื เงนิ นี้กลายเปน็ สัญญาต่างตอบแทนไปได้ จากการท่ีสัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนน้ีย่อมมีผลทางกฎหมาย กล่าวคือ หลักเกณฑ์ ต่างๆ ท่ีใช้บังคับกับสัญญาต่างตอบแทน จะน�ามาใช้บังคับกับสัญญายืมไม่ได้ เช่นสิทธิที่จะบังคับเอากับ คู่สัญญาตาม ปพพ. มาตรา 369 ไม่สามารถจะน�ามาใช้กับสัญญายืมได้ ผลทางกฎหมายก็คือ ถ้าเกิดมี กรณีท่ผี ู้ให้ยมื ไม่ยอมสง่ มอบทรัพยส์ นิ ที่ยืม ผู้ยมื กไ็ ม่มสี ิทธทิ ่ีจะบังคบั ใหผ้ ู้ยมื สง่ มอบให ้ เป็นตน้ 3. สญั ญายมื เปน็ สญั ญาทบ่ี รบิ รู ณต์ อ่ เมอ่ื สง่ มอบทรพั ยส์ นิ ทใี่ หย้ มื (มาตรา 641 และมาตรา 650 วรรคสอง) หมายความวา่ ตราบใดทผี่ ใู้ หย้ มื ยงั ไมส่ ง่ มอบทรพั ยส์ นิ ทใ่ี หย้ มื แกผ่ ยู้ มื สญั ญายมื กย็ งั ไม ่ บรบิ รู ณ์ แมว้ า่ คู่สญั ญาจะไดท้ า� สัญญากนั ไว้เปน็ ลายลกั ษณ์อกั ษรแล้วก็ตาม5 สว่ นปญั หาทวี่ า่ การทไี่ มม่ กี ารสง่ มอบทรพั ยอ์ นั เปน็ เหตใุ หส้ ญั ญายมื ไมบ่ รบิ รู ณน์ น้ั จะหมายความถงึ วา่ สัญญายืมนนั้ ตกเป็นโมฆะไปเลยหรือไม่ มีความเหน็ ของนกั กฎหมายแยกออกเปน็ 2 ฝา่ ย คือ ฝ่ายแรก6 มคี วามเห็นวา่ การส่งมอบทรัพย์สินเปน็ แบบอย่างหนึง่ ของนิติกรรมนอกเหนือไปจาก แบบท่ีกฎหมายบังคับอย่างอ่ืน กล่าวคือ ฝ่ายนี้มีความเห็นว่าแบบแห่งความสมบูรณ์หรือบริบูรณ์ของ นิตกิ รรมทกี่ ฎหมายบงั คับไวแ้ บ่งแยกไดเ้ ป็น 3 ประเภท คอื ก. ต้องท�าเปน็ หนังสือ เช่น สัญญาเชา่ ซ้ือ ตาม ปพพ. มาตรา 572 ข. ตอ้ งท�าเปน็ หนงั สอื และจดทะเบียน เช่น สัญญาซื้อขายอสงั หาริมทรัพย ์ ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคหน่งึ ค. ต้องมีการส่งมอบทรพั ย์สิน เชน่ สัญญายมื จา� น�า และฝากทรพั ย์ เปน็ ต้น ดังนน้ั ตามความเหน็ ของฝ่ายแรกน้ี หากนติ กิ รรมใดไมก่ ระทา� ตามแบบท่ีกฎหมายกา� หนดบงั คบั ไว ้ นิติกรรมนนั้ ย่อมตกเปน็ โมฆะเสียเปล่าไป ตาม ปพพ. มาตรา 152 และเน่อื งจากสญั ญายมื เป็นสญั ญา ทบี่ รบิ รู ณ์ ต่อเม่ือมีการสง่ มอบทรัพยส์ ินท่ีให้ยมื ตามมาตรา 641 และ 650 วรรคสอง ดังน้ัน สัญญายืมท่ี ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมจึงไม่บริบูรณ์และตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 152 ฝ่ายที่สอง7 มีความเห็นว่า การส่งมอบทรัพย์มิใช่แบบของนิติกรรม คือมิใช่พิธีการเพื่อความ สมบูรณข์ องนิติกรรม แต่เป็นเพียงส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการท�านิติกรรมบางประเภทซ่งึ ตอ้ งมกี ารส่งมอบทรพั ยด์ ้วย เช่น ให้โดยเสนห่ า (ปพพ. มาตรา 523) ยมื (มาตรา 641, 650) ฝากทรัพย ์ 5 จด๊ิ เศรษฐบตุ ร ค�ำอธิบำยกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์วำ่ ด้วยยืม ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลงั สนิ ค้ำ ประนปี ระนอม กำร พนันและขนั ตอ่ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตรแ์ ละการเมือง พ.ศ. 2492 น. 6. 6 เร่ืองเดยี วกัน น. 5–6 สุปนั พลู พฒั น ์ ค�ำอธบิ ำยประมวลกฎหมำยแพง่ และพำณชิ ย์ว่ำดว้ ยยมื ฝำกทรัพย์ เกบ็ ของใน คลังสนิ คำ้ ประนปี ระนอมยอมควำม กำรพนนั และขันต่อ พมิ พค์ รัง้ ท่ี 3 พ.ศ. 2515 น. 3. 7 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและหน้ี เล่ม 1 (ภาค 1-2) แก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2505 พิมพ์คร้ังที่ 2 พ.ศ. 2478 น. 160 ศกั ดิ์ สนองชาต ิ เรอื่ งเดยี วกนั น. 67. ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บื้องต้นเกี่ยวกบั สัญญายมื และสัญญายมื ใชค้ งรปู 1-11 มสธ (ปพพ. มาตรา 657) เปน็ ตน้ ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์หรือบริบูรณ์มส นิติกรรมจึงยังไม่เกิด แต่ไม่ตกเป็นโมฆะ ถ้ามีการส่งมอบทรัพย์เมื่อไร นิติกรรมก็สมบูรณ์ ถ้าถือว่าการ ส่งมอบทรัพย์เป็น แบบของนิติกรรม เมื่อไม่ส่งมอบทรัพย์ นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการ ส่งมอบในภายหลังก็ไม่ท�าให้นิติกรรมน้ันกลับสมบูรณ์ข้ึนมาได้ ในเรื่องดังกล่าวนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ตามบทบัญญัติในมาตรา 641 และมาตรา 650 ไดค้ วามแตเ่ พยี งวา่ สญั ญายมื นน้ั ยอ่ มบรบิ รู ณต์ อ่ เมอ่ื สง่ มอบทรพั ยส์ นิ ซง่ึ ใหย้ มื ซง่ึ ตคี วามหมายไดว้ า่ ตราบใดท่ียังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ท่ีให้ยืม สัญญายืมน้ันก็ยังไม่มีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย ต่อเมื่อมีการ สง่ มอบทรพั ยแ์ ลว้ สญั ญานน้ั ยอ่ มมผี ลบรบิ รู ณ ์ คอื กอ่ ใหเ้ กดิ สทิ ธแิ ละหนา้ ทขี่ องคสู่ ญั ญาตามกฎหมาย ไมม่ ี ขอ้ ความใดในบทบญั ญตั ทิ ใี่ หต้ กเปน็ โมฆะซงึ่ หมายความถงึ ความเสยี เปลา่ อนั ไมส่ ามารถจะทา� ใหก้ ลบั คนื ดี ไดใ้ นภายหลงั หากกฎหมายมเี จตนารมณจ์ ะใหก้ ารสง่ มอบทรพั ยเ์ ปน็ แบบของนติ กิ รรมกค็ วรจะไดบ้ ญั ญตั ิ ผลไวช้ ดั แจง้ วา่ ใหต้ กเปน็ โมฆะ เชน่ ในสญั ญาซอื้ ขายอสงั หารมิ ทรพั ย ์ (ปพพ. มาตรา 456) หรอื ในสญั ญา เช่าซอ้ื (ปพพ. มาตรา 572) เป็นตน้ นอกจากนีย้ งั มีบทบญั ญตั ิใน ปพพ. อีกหลายประการ ซงึ่ เห็นไดโ้ ดย ชัดแจ้งว่าไม่ใช่แบบของนิติกรรมซึ่งจะมีผลท�าให้นิติกรรมกลายเป็นโมฆะหากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมาย กา� หนด เชน่ ในเรื่องหลกั ฐานเปน็ หนังสอื ในสญั ญาจะซอื้ จะขายทรพั ย์สิน (ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง) สัญญาเช่าอสงั หารมิ ทรัพย ์ (ปพพ. มาตรา 537) การกยู้ มื เงนิ เกินกว่าสองพนั บาท (มาตรา 653) เปน็ ตน้ ซ่ึงกฎหมายบัญญัติแต่เพียงว่าถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะฟ้องร้องบังคับคดีกันมิได้ แต่ไม่ถึงกับท�าให้ นติ กิ รรมทไ่ี มม่ หี ลกั ฐานเปน็ หนงั สอื เหลา่ นนั้ ตกเปน็ โมฆะแตอ่ ยา่ งใด อาศยั เหตผุ ลในทา� นองเดยี วกนั กบั ใน เร่ืองการส่งมอบทรัพย์ ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับความเห็นของฝ่ายที่สองดังกล่าวข้างต้นว่าการส่งมอบไม่ใช่ แบบ แต่เป็นองค์ประกอบแห่งความสมบรู ณข์ องสญั ญายมื หากยังไมส่ ง่ มอบสญั ญาก็ยังไมม่ ีผลบงั คบั แม้ จะมคี �าเสนอ ค�าสนองถูกตอ้ งตรงกนั แล้วกต็ าม การสง่ มอบทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื กนั นนั้ กฎหมายในเรอื่ งยมื มไิ ดว้ างบทบญั ญตั ไิ วว้ า่ จะตอ้ งมพี ธิ กี ารอยา่ งไร แตใ่ นเรอื่ งซอื้ ขาย ปพพ. มาตรา 462 บญั ญตั เิ รอ่ื งการสง่ มอบไวว้ า่ “การสง่ มอบนน้ั จะทา� อยา่ งหนง่ึ อยา่ งใด กไ็ ด้สุดแตว่ า่ เปน็ ผลให้ทรพั ยส์ ินนน้ั ไปอยใู่ นเงอื้ มมอื ของผูซ้ ้อื ” การสง่ มอบในเรอื่ งยมื จงึ ใชว้ ธิ กี ารเดยี วกนั กบั ปพพ. มาตรา 462 โดยอาจแยกออกเป็น 2 กรณี คือ การส่งมอบโดยตรง ไดแ้ ก่การหยิบยน่ื ทรัพย์ ทีย่ มื ให้แก่ผ้ยู ืมหรือตวั แทนของผยู้ ืมโดยตรง เชน่ ส่งมอบโต๊ะ เกา้ อี ้ หนังสือ ฯลฯ เมอ่ื ผูย้ ืมรับเอาไวแ้ ลว้ ก็เป็นการส่งมอบที่ท�าให้สัญญายืมมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนการส่งมอบโดยปริยาย ได้แก่การ ส่งมอบทม่ี ใิ ชก่ ารหยบิ ยนื่ ทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื โดยตรง แตเ่ ปน็ การกระทา� ใดๆ อนั มผี ลใหท้ รพั ยอ์ ยใู่ นความครอบ ครองหรอื ดแู ลรกั ษาของผยู้ มื หรอื ตวั แทนของผยู้ มื เชน่ ขอยมื ของในลนิ้ ชกั ผใู้ หย้ มื สง่ มอบกญุ แจใหผ้ ยู้ มื ไป เปดิ ไขเอาเอง หรอื ยมื รถยนตไ์ ปขบั ข ่ี ผใู้ หย้ มื สง่ มอบกญุ แจรถให ้ หรอื ทรพั ยส์ นิ บางอยา่ งทม่ี ขี นาดใหญเ่ กนิ กว่าจะหยบิ ยืน่ ให้ได ้ เชน่ เครอื่ งเรือน ผูใ้ ห้ยมื อาจบอกกลา่ วอนุญาตใหผ้ ยู้ ืมขนเอาไปเอง หรอื โอนเงนิ เข้า บัญชีเงินฝากของผู้ยืม เป็นต้น ควรสังเกตไว้ว่า ส�าหรับการส่งมอบทรัพย์ที่ยืมโดยปริยายนี้ ถ้าผู้ยืมยัง ไม่ได้ครอบครองทรัพย์สินน้ัน (ซ่ึงอาจเป็นการครอบครองแทนผู้ยืมก็ได้) สัญญายืมก็ยังไม่บริบูรณ์ เช่น ตามอทุ าหรณข์ า้ งตน้ ถา้ ผยู้ มื ยงั ไมไ่ ดเ้ อากญุ แจไปเปดิ ไขลนิ้ ชกั หรอื เปดิ ประตรู ถ หรอื มาขนเครอ่ื งเรอื นไป หรอื มอบหมายใหใ้ ครมาดา� เนนิ การแทน กย็ งั ถอื ไมไ่ ดว้ า่ ผยู้ มื ไดค้ รอบครองทรพั ยท์ ย่ี มื แลว้ นอกจากน ี้ การ ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-12 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภยั ส่งมอบให้ครอบครองอาจเกิดก่อนสัญญายืมก็ได้ เช่นผู้ยืมครอบครองทรัพย์ที่ยืมอยู่ก่อนแล้วโดยอาศัยมสธ สญั ญาอ่ืน เชน่ รบั ฝากทรพั ย์ท่ียมื ไว้ก่อนแล้ว เปน็ ต้นมส สัญญาจะให้ยืม ปัญหาท่ีน่าพิจารณาเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์อีกประการหนึ่งก็คือในเรื่องสัญญายืมจะมีผล บรบิ รู ณต์ อ่ เมอ่ื มกี ารสง่ มอบทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื ตราบใดยงั ไมม่ กี ารสง่ มอบทรพั ยท์ ย่ี มื ใหแ้ กผ่ ยู้ มื สญั ญายมื ยงั ไมม่ ผี ลบงั คบั ผยู้ มื ยอ่ มไมอ่ าจบงั คบั ใหผ้ ยู้ มื สง่ มอบทรพั ยส์ นิ ใหแ้ กต่ นได ้ ดงั นน้ั หากคสู่ ญั ญาทา� สญั ญาจะ ใหย้ มื ไวท้ า� นองเดยี วกบั สญั ญาจะให ้ หรอื สญั ญาจะซอื้ จะขายทรพั ยส์ นิ เพอื่ ใหม้ ผี ลบงั คบั กนั ไดห้ ากผใู้ หย้ มื เปลย่ี นใจภายหลงั จะทา� ได้หรือไม ่ ในเร่อื งดังกล่าวมคี วามเหน็ ของนักกฎหมายแตกตา่ งกนั คอื ฝ่ายหน่ึง เหน็ วา่ สญั ญาจะใหย้ มื หรอื คา� มนั่ จะใหย้ มื ใชบ้ งั คบั ตามกฎหมายไมไ่ ด้8 เพราะยงั ไมม่ กี ารสง่ มอบทรพั ย ์ แม้ จะไดม้ กี ารตกลงเปน็ หนงั สอื ไวว้ า่ ฝา่ ยหนง่ึ จะใหย้ มื ทรพั ยส์ นิ แตถ่ า้ ยงั ไมม่ กี ารสง่ มอบทรพั ยน์ นั้ อกี ฝา่ ยหนง่ึ จะน�าสัญญามาฟ้องให้ศาลบงั คบั ผู้จะใหย้ ืมสง่ มอบทรพั ยส์ ินนนั้ ไม่ได ้ แตค่ วามเห็นของอีกฝ่ายหน่ึงเหน็ วา่ สญั ญาจะใหย้ มื หรอื คา� มนั่ จะใหย้ มื นน้ั นา่ จะเปน็ สญั ญาทสี่ มบรู ณบ์ งั คบั ฟอ้ งรอ้ งกนั ไดเ้ พราะเปน็ สญั ญาตาม หลกั ทวั่ ไปซง่ึ ไมใ่ ชส่ ญั ญายมื จงึ ไมจ่ า� เปน็ ตอ้ งสมบรู ณโ์ ดยการสง่ มอบทรพั ย ์ แตส่ มบรู ณโ์ ดยมเี จตนาตกลง กนั เท่านน้ั 9 อยา่ งไรกต็ าม ในเร่อื งนศ้ี าสตราจารย ์ ดร.จดี๊ เศรษฐบุตร10 ได้ให้ความเห็นโดยแยกพจิ ารณาเปน็ 2 กรณ ี คอื สญั ญาจะใหย้ มื โดยไมม่ คี า่ ตอบแทน และสญั ญาจะใหย้ มื โดยมคี า่ ตอบแทน ซงึ่ จะขอยกความเหน็ ดังกล่าวของทา่ นมาลงไว้ในที่น้ีดว้ ย คอื “สา� หรบั ขา้ พเจา้ นน้ั เหน็ วา่ เราจะตอบปญั หาเรอ่ื งนไี้ ดจ้ า� เปน็ จะตอ้ งแบง่ ลกั ษณะสญั ญาจะใหย้ มื หรือค�ามั่นจะให้ยืมลงไปอีก คอื 1. สัญญาจะให้ยืมโดยไม่เอาค่าตอบแทนแต่อย่างใด ได้แก่ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายที่ให้ค�าม่ันน้ัน ไมห่ วงั คา่ ตอบแทนในการใหย้ มื แตป่ ระการใดเลย เชน่ เรามรี ถยนตอ์ ยคู่ นั หนงึ่ ไดม้ เี พอ่ื นมาขอยมื ใชใ้ นวนั อาทติ ยห์ นา้ โดยมใิ หค้ า่ ตอบแทนแกเ่ ราอยา่ งไร (ถา้ เพอื่ นใหค้ า่ ตอบแทนแกเ่ รากจ็ ะเปน็ สญั ญาเชา่ รถยนต์ ซง่ึ ยอ่ มใชบ้ งั คบั ไดโ้ ดยไมต่ อ้ งมกี ารสง่ มอบ) เรากต็ อบวา่ ได ้ ใหม้ าเอารถยนตใ์ นวนั อาทติ ยห์ นา้ ดงั น ้ี เขา้ ใจ วา่ สญั ญาจะใหย้ มื โดยไมเ่ อาคา่ ตอบแทนดงั กลา่ ว หาใชบ้ งั คบั ไดไ้ ม ่ กลา่ วคอื ตราบใดทเี่ รายงั ไมไ่ ดส้ ง่ มอบ รถยนต์ใหไ้ ปนน้ั เราจะกลับใจไมย่ อมใหเ้ พอ่ื นยืมรถยนต์ไปใชไ้ ด้ ท้ังนี้ ก็โดยเห็นว่าสัญญาจะให้ยืมโดยไม่เอาค่าตอบแทนน้ันมีลักษณะใกล้กับสัญญาให้มากท่ีสุด แตส่ ัญญาให้นัน้ จะสมบรู ณ์ก็โดยการสง่ มอบทรพั ย ์ (ดมู าตรา 523) สญั ญาจะให้ยมื จงึ นา่ จะเขา้ ในขา่ ยแหง่ สัญญา ใหน้ ัน้ ดว้ ย 8 ประวัต ิ ปัตตพงศ์ ค�ำสอนชั้นปริญญำตรี กฎหมำยแพง่ และพำณิชยว์ ่ำดว้ ยยมื ฯลฯ พระนคร พ.ศ. 2487 น. 4 พจน์ ปษุ ปาคม ค�ำอธบิ ำย ประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยืม กู้ยมื ฝำกทรัพย์ พ.ศ. 2521 นิติบรรณาการ พ.ศ. 2521 น. 26. 9 จ๊ดี เศรษฐบตุ ร คา� อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์วา่ ดว้ ยยมื ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสนิ ค้า ประนปี ระนอม การ พนนั และขันต่อ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตรแ์ ละการเมอื ง พ.ศ. 2492 น. 7. 10 เร่ืองเดยี วกัน น. 7–8. ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบื้องตน้ เกีย่ วกบั สัญญายืมและสัญญายมื ใชค้ งรูป 1-13 มสธ 2. สญั ญาจะใหย้ มื โดยเอาคา่ ตอบแทน ไดแ้ ก ่ สญั ญาทคี่ สู่ ญั ญาฝา่ ยทใี่ หค้ า� มนั่ นนั้ หวงั คา่ ตอบแทนมส ในการให้ยมื นนั้ เชน่ ธนาคารมีเงนิ ให้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย ได้มลี ูกคา้ มาขอทา� สัญญาใหธ้ นาคารเปดิ เครดิต เพ่อื ตน ยมื เงนิ ไปไดใ้ นอตั ราดอกเบยี้ ที่กา� หนด ธนาคารก็ตกลง (กรณเี ชน่ นไี้ ม่ใชส่ ัญญาเชา่ ทรพั ย ์ เพราะ เงินเปน็ ทรพั ย์สิน ท่ใี ช้ไปสิ้นไป เปน็ วตั ถุแห่งสัญญาเช่าทรัพยไ์ มไ่ ด้) ดังน ้ี เขา้ ใจวา่ สญั ญาจะใหย้ ืมโดยมี ค่าตอบแทนดังกล่าวใช้ บังคับตามกฎหมายได้ กล่าวคือ หากธนาคารเกิดไม่ยอมให้ยืมตามที่สัญญาไว ้ ลกู คา้ ยอ่ มมสี ทิ ธิที่จะบังคับใหใ้ ห้ ยมื ได้” สา� หรบั ผูเ้ ขยี นนน้ั มีความเหน็ เกยี่ วกับเรือ่ งน้ีวา่ กฎหมายลกั ษณะยืมไมไ่ ดบ้ ญั ญัตใิ นเร่ืองสัญญา จะให ้ ยืมไว้ว่ามีได้หรือไมอ่ ยา่ งไร ซึ่งเมื่อพเิ คราะหด์ ตู ามลกั ษณะของสัญญาแลว้ สญั ญายืมเป็นสัญญาไม่ ต่างตอบ แทนซึ่งจะน�าหลักเกณฑ์ของสัญญาต่างตอบแทนโดยเฉพาะอย่างย่ิงในเรื่องสิทธิท่ีจะบังคับแก่ คูส่ ญั ญา ตาม ปพพ. มาตรา 369 มาใช้บงั คบั ไมไ่ ด้ กลา่ วคอื สญั ญายมื ในตวั ของมันเอง เมอื่ เกิดกรณีที่ ผู้ให้ยืมไม่ยอมส่งมอบทรัพย์ สินที่ยืม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิท่ีจะบังคับให้ผู้ยืมส่งมอบได้อยู่แล้ว ดังนั้น สัญญา จะให้ยืมไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ก็ไม่น่าจะใช้บังคับได้ นอกจากน้ีแม้แต่ในสัญญาต่างตอบแทน บางประเภท เช่น สัญญาจะซ้ือจะขายท่ีให้สิทธิคู่ สัญญาในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาได้ ก็เพราะ เป็นเร่ืองที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ (ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง) หรือแม้ในสัญญาไม่ต่างตอบแทน บางลกั ษณะ เชน่ สญั ญาให ้ ในกรณมี คี า� มนั่ จะใหซ้ ง่ึ ใหส้ ทิ ธผิ รู้ บั เรยี กใหผ้ ใู้ หส้ ง่ มอบทรพั ยส์ นิ หรอื ราคาแทน ทรัพย์สินได้นั้น ก็เป็นเรื่องท่ีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้กระท�าได้เช่นกัน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจจะ ฟอ้ งร้องบังคับกันได้ อย่างไรกต็ าม ผู้เขยี นมคี วามเห็นต่อไปอีกวา่ ท่วี า่ สญั ญาจะใหย้ ืมใช ้ บังคบั ไมไ่ ด้น้นั หมายความเพียงว่าผู้จะยืมจะฟ้องบังคับให้ผู้จะให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินที่จะให้ยืมไม่ได้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ กรณีที่ผู้จะยืมอาจเกิดความเสียหายจากการท่ีผู้จะให้ยืมผิดสัญญา ซ่ึงอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายกันได้เป็น ส่วนหน่ึงตา่ งหากตามหลักของสญั ญาท่ัวไป อุทาหรณ์เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ฎ. 2525/2499 โจทกใ์ หจ้ า� เลยวง่ิ เตน้ ขายทดี่ นิ ถา้ ไดเ้ งนิ มาจะใหจ้ า� เลยยมื เงนิ หนง่ึ แสนบาท จา� เลย ท�าสญั ญากู้ให้โจทก์ไว้ล่วงหนา้ แตก่ ารขายไม่ส�าเร็จ จา� เลยไม่ไดเ้ งิน สญั ญายืมไม่บริบรู ณเ์ พราะไม่มีการ ส่งมอบ ฎ. 28/2505 ยืมเงินกัน โจทก์ให้เงินไปก่อนโดยยังไม่ได้ท�าสัญญากู้ ถือว่ามีการส่งมอบโดยตรง และม ี หนก้ี ยู้ มื เกดิ ขนึ้ แลว้ โดยสมบรู ณเ์ พยี งแตข่ าดหลกั ฐานเปน็ หนงั สอื ตามทกี่ ฎหมายตอ้ งการ ตาม ปพพ. มาตรา 653 ซ่งึ ทา� ใหย้ งั ฟ้องรอ้ งไมไ่ ด้เท่าน้ัน ฎ. 580/2509 จ�าเลยท�าสัญญาเป็นผู้กู้โดยมีผู้อ่ืนรับเงินไป ถือเป็นการส่งมอบและรับเงินไปตาม สัญญากู้แล้ว แม้ในใจจริงจ�าเลยจะถือว่าท�าแทนผู้อ่ืนและไม่มีเจตนาให้ถูกผูกพันก็ต้องถูกผูกพันตามที่ได้ แสดงเจตนาออกมา เวน้ แตค่ กู่ รณีอกี ฝา่ ยหนง่ึ คอื ผใู้ ห้กจู้ ะไดร้ ถู้ งึ เจตนาอันซอ่ นอยู่ในใจนน้ั ฎ. 3011/2527 การกู้ยมื เงินเขา้ ลักษณะยืมใช้สนิ้ เปลือง ย่อมบริบรู ณ์ต่อเม่อื ส่งมอบทรพั ยส์ นิ ท่ียมื จา� เลยยอ่ มนา� สบื ไดว้ า่ จา� เลยมไิ ดก้ ยู้ มื เงนิ โจทก ์ อนั เปน็ การนา� สบื วา่ จา� เลยมไิ ดร้ บั มอบเงนิ กจู้ ากโจทก ์ ซง่ึ เป็นเหตุให้สัญญากู้ไม่บริบูรณ์ ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จ�าเลย ไม่เป็นการต้องห้าม ตาม ปวพ. มาตรา 94 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-14 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกนั ภัย ฎ. 519/2533 คา� พยานโจทกข์ ัดต่อเหตผุ ล และตามคา� พยานจ�าเลยฟงั ไดว้ ่า จ�าเลยท�าสญั ญากไู้ ว้มสธ มส แทน การเช่า โดยจ�าเลยมิไดร้ ับเงินตามสัญญา เมอ่ื ข้อเทจ็ จรงิ รบั ฟงั ไม่ไดว้ ่าจา� เลยไดก้ ู้เงนิ โจทก์ไปจรงิ ก็ ย่อมบงั คบั ตามสญั ญากไู้ ม่ได้ ฎ. 1500/2535 จ�าเลยอ้างว่าการกู้เงินยังไม่บริบูรณ์เพราะจ�าเลยยังมิได้รับเงินกู้ ภาระการพิสูจน์ จึงตกแกจ่ า� เลย ฎ. 4686/2540 เมื่อ ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง ระบุว่า สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์ ตอ่ เมื่อส่งมอบทรพั ยส์ ินท่ยี ืม การกูย้ ืมเงนิ เขา้ ลกั ษณะยมื ใชส้ ิ้นเปลือง ดงั นัน้ ทจี่ �าเลยนา� สบื วา่ ไม่ได้รบั เงนิ ตามสญั ญากยู้ มื เงนิ ยอ่ มเปน็ เหตใุ หส้ ญั ญากยู้ มื เงนิ ไมบ่ รบิ รู ณ ์ ทง้ั ไมม่ มี ลู หนเี้ งนิ กรู้ ะหวา่ งโจทกจ์ า� เลย การ ทจี่ า� เลยนา� พยานบคุ คลมาสืบวา่ สญั ญากยู้ มื เงนิ ดงั กลา่ วไมม่ มี ลู หนเ้ี พราะจา� เลยไมไ่ ดร้ บั เงนิ จ�าเลยไมต่ อ้ ง รบั ผดิ ตามสญั ญากยู้ มื เงนิ ตอ่ โจทก ์ จา� เลยยอ่ มนา� สบื ได ้ ตาม ปวพ. มาตรา 94 วรรคสอง หาตอ้ งหา้ มตาม กฎหมายไม่ ฎ. 621/2543 หลังจากท่ีจ�าเลยท่ี 1 ท�าสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินจ�านวน 45,000,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจ�าเลยที่ 1 แล้วน�าไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้ รายอ่ืนทจ่ี �าเลยท ี่ 1 คา้ งช�าระแก่โจทก ์ ดงั น้ ี แมจ้ �าเลยท่ี 1 จะมิได้ถอนเงินจา� นวน 45,000,000 บาท จาก บญั ชเี งนิ ฝากจา� เลยท ่ี 1 แตก่ ารทโี่ จทกจ์ ดั ใหน้ า� เงนิ จา� นวนดงั กลา่ วไปชา� ระหนคี้ า่ ดอกเบยี้ ทจ่ี า� เลยท ี่ 1 เปน็ หน้โี จทก์อยู่ตามสัญญากู้ยมื เงินฉบบั อ่นื ย่อมถอื ได้วา่ โจทกไ์ ด้ส่งมอบเงินกจู้ า� นวน 45,000,000 บาท ให้ แกจ่ า� เลยท ี่ 1 แลว้ สญั ญากยู้ มื เงนิ ระหวา่ งโจทกก์ บั จา� เลยที่ 1 ยอ่ มบรบิ รู ณ ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรค สอง ฎ. 6792/2543 จ�าเลยท ี่ 1 ลงลายมือช่อื และประทบั ตราบรษิ ัท ฟ. จ�ากัด เพ่ือชา� ระหนี้ตามสัญญา กยู้ ืมเงนิ ทบ่ี รษิ ทั ฟ. จา� กัด กไู้ ปจากโจทกร์ ่วม เมือ่ ขอ้ เท็จจริงปรากฏว่าบรษิ ัท ฟ. จา� กดั ยงั ไมไ่ ด้รับเงนิ ตามสัญญากยู้ มื เงนิ ดงั นน้ั สัญญากู้ยมื เงนิ ยอ่ มไม่สมบรู ณ ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง จงึ ถอื ไมไ่ ด้ วา่ บริษัท ฟ. จา� กัด เป็นหนี้โจทก์รว่ มตามสัญญากู้ยืมเงิน (หมายเหตุ-คา� ว่าไมส่ มบูรณ ์ น่าจะหมายถงึ ไม่ บรบิ รู ณ์-ผเู้ ขียน) ฎ. 4266/2548 จา� เลย ไดด้ า� เนนิ การเสนอคา� ขอสนิ เชอ่ื ไปยงั สา� นกั งานของโจทก ์ เมอื่ โจทกพ์ จิ ารณา อนมุ ตั เิ งนิ กใู้ หจ้ า� เลยทสี่ า� นกั งานโจทกแ์ ลว้ โจทกไ์ ดโ้ อนเงนิ กเู้ ขา้ บญั ชเี งนิ ฝากธนาคาร ก. จา� กดั (มหาชน) ซงึ่ จา� เลยเป็นเจา้ ของบญั ช ี กรณจี งึ ถอื ไดว้ า่ โจทก์ได้ส่งมอบเงินก้ใู ห้แก่จา� เลยอนั จะมผี ลท�าใหส้ ญั ญากู้ยืม เงนิ ระหวา่ งโจทก์กบั จา� เลยบรบิ รู ณ ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง ฎ. 13825/2553 โจทกฟ์ อ้ งวา่ จา� เลยกยู้ มื เงนิ จากโจทกเ์ มอื่ วนั ท ่ี 18 มนี าคม พ.ศ. 2542 และจา� เลย ได้รบั เงินกยู้ มื ไปครบถว้ นแล้ว จ�าเลยใหก้ ารวา่ จา� เลยไมเ่ คยกู้ยมื เงินจากโจทก์และไม่เคยไดร้ บั เงินไปจาก โจทก์ จ�าเลยท�าสัญญาจ�านองที่ดินเพ่ือประกันการท�าสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปท�างานท่ีไต้หวัน เทา่ กบั จา� เลยใหก้ ารวา่ สญั ญากยู้ มื เงนิ ตามคา� ฟอ้ งซงึ่ เปน็ การยมื ใชส้ นิ้ เปลอื งไมส่ มบรู ณ ์ (หมายเหต-ุ คา� วา่ ไม่สมบูรณ์น่าจะหมายถึงไม่บริบูรณ์–ผู้เขียน) เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตาม ปพพ. มาตรา 650 จา� เลยจงึ ไมต่ อ้ งหา้ มมใิ หน้ า� สบื พยานบคุ คลวา่ สญั ญากยู้ มื เงนิ ตามคา� ฟอ้ งไมส่ มบรู ณ ์ ตาม ปวพ. มาตรา 94 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบื้องต้นเกีย่ วกบั สญั ญายมื และสญั ญายมื ใชค้ งรปู 1-15 4. สัญญายืมเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน ทงั้ สญั ญายมื ใชค้ งรปู (มาตรา 640) มสธ และสญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื ง (มาตรา 650) ใชค้ า� วา่ “ยมื ทรพั ยส์ นิ ” ซงึ่ ตาม ปพพ. มาตรา 138 หมายความมส รวมทงั้ วตั ถมุ รี ปู รา่ งและไมม่ รี ปู รา่ งทมี่ รี าคาและถอื เอาได ้ แตใ่ นทางปฏบิ ตั นิ นั้ มผี ใู้ หค้ วามเหน็ วา่ สญั ญายมื นั้นจะมีวัตถุแห่งสัญญาได้เฉพาะสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเท่านั้น เพราะสัญญายืมจะบริบูรณ์ต่อเม่ือมีการ ส่งมอบ ดังนัน้ ทรัพย์สนิ ซ่งึ โดยสภาพไม่อาจส่งมอบกนั ได ้ (แมจ้ ะเปน็ การส่งมอบโดยปรยิ ายกต็ าม) เช่น อสงั หารมิ ทรพั ย ์ สทิ ธติ า่ งๆ ยอ่ มไมใ่ ชว่ ตั ถทุ จ่ี ะใหย้ มื กนั ได ้ การใหย้ มื อสงั หารมิ ทรพั ย ์ เชน่ ทด่ี นิ บา้ นเรอื น นน้ั แมจ้ ะกลา่ ววา่ เปน็ การใหย้ มื กต็ าม กย็ อ่ มมผี ลบงั คบั กนั ในลกั ษณะสญั ญาอยา่ งอน่ื เชน่ ใหย้ มื ทดี่ นิ หรอื บ้านโดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ย่อมบังคับกันในลักษณะของสิทธิอาศัย แต่ถ้ามีค่าตอบแทนก็ย่อมกลายเป็น เรอ่ื งเชา่ ไป สว่ นถา้ เปน็ สทิ ธติ า่ งๆ เชน่ ลขิ สทิ ธหิ์ รอื สทิ ธกิ ารเชา่ กไ็ มอ่ าจใหย้ มื ไดเ้ ชน่ เดยี วกนั แตอ่ าจโอน ขาย (ในกรณที เ่ี ปน็ ลิขสิทธ)ิ์ หรือใหเ้ ช่าชว่ งไปได้ (ในกรณีทเี่ ปน็ สทิ ธิการเชา่ )11 อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ว่าอสังหาริมทรัพย์จะเป็นวัตถุแห่งการยืมไม่ได้ เพราะโดยลักษณะและ สภาพ อสงั หารมิ ทรพั ยเ์ ปน็ สง่ิ ทเี่ คลอื่ นทไี่ มไ่ ดย้ อ่ มไมอ่ าจสง่ มอบกนั ไดน้ น้ั มคี วามเหน็ แตกตา่ งออกไป ซงึ่ ผู้เขยี นเห็นด้วยว่ามีเหตุผลอยูม่ ากโดยเฉพาะในสญั ญายมื ใช้คงรปู กล่าวคือ เหน็ ว่าการส่งมอบทรัพยต์ าม ที่กฎหมายต้องการน้ันมิได้หมายความว่า ต้องเอามือจับทรัพย์น้ันแล้วยกมาส่งให้ผู้ยืมจริงๆ เพราะหาก กฎหมายตอ้ งการเช่นน้ันแล้ว แม้แต่สังหาริมทรพั ยบ์ างชนดิ เชน่ รถยนต์ เรอื ก�าปั่น ฯลฯ กไ็ มม่ ีทางที่จะ ส่งมอบกันได ้ การส่งมอบโดยปริยายคอื อากัปกริ ยิ าท่ีแสดงให้เหน็ ว่าทรพั ยส์ ินนัน้ ได้อย่ใู นครอบครองของ ผยู้ มื กเ็ ปน็ การเพยี งพอแลว้ ทจ่ี ะถอื วา่ เปน็ การสง่ มอบ ดงั นนั้ การสง่ มอบอสงั หารมิ ทรพั ยก์ น็ า่ จะทา� ได ้ เชน่ ยมื บา้ นพกั ตากอากาศ เจา้ ของบ้านผใู้ หย้ ืมมอบกุญแจใหผ้ ู้ยืมไขประตเู ข้าไปในบ้าน เมือ่ ผ้ยู มื ได้เข้าไปใน บา้ นและสามารถครอบครองใชป้ ระโยชนไ์ ดแ้ ลว้ กน็ า่ จะแสดงวา่ ไดม้ กี ารสง่ มอบแลว้ หรอื ยมื ทดี่ นิ เพอ่ื ปลกู พืชหรือเพิงพักช่ัวคราว ยืมสนามฟุตบอล ฯลฯ เป็นต้น ส่วนเร่ืองที่เก่ียวกับสิทธิอาศัยในโรงเรือน ตาม ปพพ. บรรพ 4 ลกั ษณะ 5 นน้ั เหน็ วา่ เปน็ คนละเรอ่ื งกนั เพราะหลกั เกณฑใ์ นการกอ่ สทิ ธอิ าศยั ในโรงเรอื น นนั้ เปน็ คนละอย่างกบั สัญญายมื นอกจากน ี้ สทิ ธิอาศัยเปน็ ทรัพยสทิ ธ ิ สว่ นสทิ ธิตามสัญญายืมเปน็ บุคคล สทิ ธ ิ ยอ่ มจะใช้แทนกนั ไม่ได้ ดังน้ัน อสงั หาริมทรัพย์จงึ น่าจะเป็นวัตถุแห่งสญั ญายืมใชค้ งรปู ได1้ 2 5. ผู้ยืมตกลงส่งคืนทรัพย์สินท่ียืม สัญญายืมไม่ว่าจะเป็นการยืมใช้คงรูปหรือยืมใช้สิ้นเปลือง ผยู้ มื มหี นา้ ทตี่ อ้ งคนื ทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื แกผ่ ใู้ หย้ มื ไมว่ า่ จะคนื ทรพั ยอ์ นั เดยี วกบั ทย่ี มื ไปโดยตรงตามสญั ญายมื ใช้ คงรูป หรือคืนทรัพย์ท่ีเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ก็ต้องคืนอยู่ น่ันเอง ถ้าไม่มีข้อตกลงว่าจะคืนทรัพย์ท่ียืมไปย่อมไม่ใช่สัญญายืม นอกจากน้ี ในกรณีสัญญายืมใช้คงรูป หากในทสี่ ดุ การคนื ทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื ตอ้ งตกเปน็ พน้ วสิ ยั เพราะความผดิ ของผยู้ มื หรอื ไมก่ ต็ าม ยงั ตอ้ งคา� นงึ ถงึ 11 หลวงประเสริฐมนูกิจ ค�ำสอนชั้นปริญญำตรีกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยืม ฯลฯ 2477 น. 2 สุปัน พูนพัฒน์ ค�ำอธิบำยประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยืม ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้ำ ประนีประนอมยอมควำม กำรพนันและ ขันตอ่ พิมพค์ ร้งั ท ี่ 3 พ.ศ. 2515 น. 5-6. 12 จ๊ีด เศรษฐยุตร ค�ำอธบิ ำยกฎหมำยแพง่ และพำณิชยว์ ำ่ ดว้ ยยมื ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลงั สนิ ค้ำ ประนีประนอม กำร พนนั และขันต่อ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตรแ์ ละการเมือง พ.ศ. 2492 น. 18-19. ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-16 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภยั บทบัญญัตทิ ั่วไปในเรือ่ งการชา� ระหนต้ี าม ปพพ. มาตรา 215-219 ดว้ ย นอกเหนือจากบทบญั ญัติเฉพาะมสธ เกี่ยวกับการทา� ผิดหน้าทีข่ องผู้ยืมในสัญญายมื ใช้คงรูปซ่งึ จะไดก้ ล่าวในรายละเอยี ดตอ่ ไปมส กิจกรรม 1.1.1 สญั ญายมื มลี กั ษณะในทางกฎหมายทสี่ า� คญั อยา่ งไรบา้ ง จงอธบิ าย และทว่ี า่ สญั ญายมื เปน็ เอกเทศ สญั ญานัน้ หมายความวา่ อยา่ งไร แนวตอบกิจกรรม 1.1.1 สญั ญายมื มีลักษณะในทางกฎหมายทสี่ า� คญั คือ 1. เปน็ เอกเทศสญั ญา คอื เปน็ สญั ญาทม่ี บี ทบญั ญตั เิ ปน็ พเิ ศษแตกตา่ งออกไปจากสญั ญาธรรมดา โดยทั่วไป แต่จะเป็นเอกเทศสัญญาได้จะต้องมีความสมบูรณ์ของสัญญาตามหลักมูลฐานแห่งนิติกรรม เสยี ก่อน 2. สญั ญายมื เปน็ สัญญาไมต่ า่ งตอบแทน คือ กอ่ หนีแ้ กผ่ ยู้ มื แตเ่ พียงฝา่ ยเดียว 3. สัญญายมื เป็นสญั ญาทีบ่ ริบรู ณเ์ ม่อื มกี ารส่งมอบทรพั ยส์ นิ ท่ียมื 4. สัญญายมื เปน็ สัญญาท่มี ีวัตถุแหง่ สัญญาเป็นทรพั ยส์ ิน เร่ืองท่ี 1.1.2 ประเภทของสัญญายืม เมอื่ พจิ ารณา ปพพ. มาตรา 640 และมาตรา 650 เปรยี บเทยี บกนั ทา� ใหแ้ ยกประเภทของสญั ญายมื ไดเ้ ป็น 2 ประเภทคอื ยมื ใช้คงรูป และยมื ใช้สน้ิ เปลือง สัญญายืมใช้คงรูปน้ัน มาตรา 640 บัญญัติไว้ว่า “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซ่ึงบุคคลคน หนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหน่ึง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินส่ิงใดส่ิงหน่ึงได้เปล่า และผู้ยืม ตกลงว่าจะคืน ทรัพย์สินน้ัน เม่ือได้ใช้สอยเสร็จแล้ว” ส่วนสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 บัญญัติไว้ว่า “อันว่ายืมใช้ส้ินเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่ง ผู้ให้ยืม โอนกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินชนิดใช้ไปส้ินไปน้ัน เป็นปริมาณมีก�าหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืม ตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซ่ึงให้ยืมน้ัน” ลกั ษณะแตกตา่ งทสี่ า� คญั ระหวา่ งสญั ญายมื ใชค้ งรปู และสญั ญายมื ใชส้ น้ิ เปลอื งนน้ั อยทู่ ปี่ ระเภทและ ชนิดของทรัพย ์ รวมท้งั ลักษณะการใช้ทรพั ย์นั้น ตลอดถึงปัญหาเกย่ี วกบั เรอื่ งกรรมสิทธิ์ในทรัพยท์ ่ียมื ด้วย ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้อื งตน้ เก่ียวกบั สญั ญายืมและสญั ญายืมใช้คงรปู 1-17 สญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งนนั้ ทรพั ยท์ ใี่ หย้ มื เปน็ ชนดิ ซงึ่ เมอ่ื ใชไ้ ปแลว้ ยอ่ มเสยี ภาวะเสอ่ื มสลายไปหรอืมสธ สน้ิ เปลอื งหมดไป ยอ่ มคนื ทรพั ยอ์ นั เกา่ ทใ่ี หย้ มื นน้ั ไมไ่ ด ้ กฎหมายจงึ บญั ญตั ใิ หค้ นื ทรพั ยป์ ระเภท ชนดิ และมส ปริมาณเดียวกนั กับทไ่ี ดใ้ หย้ มื 13 โดยตอ้ งโอนกรรมสทิ ธใ์ิ ห้ผ้ยู มื ไป เชน่ ข้าวสาร นา�้ มัน ฟนื ถ่าน นา้� ตาล ฯลฯ อยา่ งไรกต็ าม ทรพั ยเ์ หลา่ นมี้ ใิ ชว่ า่ จะตอ้ งเปน็ วตั ถแุ หง่ สญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งเสมอไป ในบางกรณอี าจ เป็นยืมใช้คงรูปได้ ทั้งนี้เพราะสาระส�าคัญอาจมิได้อยู่ท่ีลักษณะของทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้อง คา� นงึ เจตนาของคสู่ ญั ญาเปน็ สา� คญั ดว้ ย เชน่ ยมื ขา้ วสารตวั อยา่ งไปตงั้ แสดงในงานนทิ รรศการผลติ ผลทาง เกษตร แล้วตกลงจะคืนของเดิมเมอ่ื เสร็จงาน เชน่ นี้จะเห็นว่าเป็นการยมื ใชค้ งรปู เพราะการใชท้ รพั ยต์ าม เจตนาของคู่สญั ญาน้นั ไมท่ �าให้เสยี ภาวะเสอ่ื มสลายหรือส้ินเปลืองหมดไป สญั ญายมื ใชค้ งรปู นน้ั ลกั ษณะการใชท้ รพั ยไ์ มท่ า� ใหเ้ สยี ภาวะเสอ่ื มสลายไป และไมท่ า� ใหส้ นิ้ เปลอื ง หมดไป จงึ ตอ้ งคนื ของเดมิ ทย่ี มื ไปนนั้ และไมม่ กี ารโอนกรรมสทิ ธใิ์ นทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื โดยปกตทิ รพั ยส์ นิ ทเี่ ปน็ วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปนั้น จัดอยู่ในจา� พวกสังหาริมทรัพย์อันมิอาจจะใช้ของอ่ืนแทนเช่นนั้นได1้ 4 เชน่ รถยนต์ ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น และในท�านองเดียวกัน แม้ทรัพย์นั้นจะเข้าลักษณะเป็นทรัพย์ตาม สัญญายืมใช้คงรูป แต่ตามเจตนาของคู่สัญญาอาจเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองได้ เช่น ยืมโคมาฆ่าเอาเนื้อไป ขาย เปน็ ตน้ กรณเี ช่นนี้จึงเป็นการยมื ใช้สนิ้ เปลอื ง สรุปได้ว่าเราอาจจ�าแนกข้อแตกต่างที่ส�าคัญระหว่างสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้ส้ินเปลือง ได ้ 3 ประการ คือ 1. สัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินท่ียืมให้แก่ผู้ยืม ส่วนสัญญายืมใช้ สิ้นเปลอื งนัน้ ผใู้ ห้ยืมโอนกรรมสทิ ธ์ิในทรัพยส์ นิ ทีย่ มื ให้แก่ผูย้ มื 2. สญั ญายมื ใชค้ งรปู เปน็ สญั ญาไมม่ คี า่ ตอบแทน ผยู้ มื ใชท้ รพั ยส์ นิ ทยี่ มื ไดเ้ ปลา่ ไมต่ อ้ งเสยี คา่ ตอบแทน ใดๆ เพราะหากมีการตกลงให้ค่าตอบแทนกันก็จะกลายเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ไป ไม่ใช่สัญญายืมใช้คงรูป ส่วนสัญญายมื ใช้ส้นิ เปลืองน้นั จะเปน็ สัญญามีค่าตอบแทนหรอื ไม่กไ็ ด ้ สดุ แล้วแต่คู่สญั ญาจะตกลงกัน เช่น ใหย้ มื ข้าวสาร 100 ถัง เวลาใช้คนื อาจตกลงใช้คนื 100 ถัง หรือ 110 ถัง ก็ได ้ ให้กู้ยมื เงินอาจมีขอ้ ตกลงคดิ ดอกเบีย้ หรือไม่ก็ได้ 3. สัญญายืมใช้คงรูป ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไป จะคืนทรัพย์อย่างอ่ืนไม่ได้ เพราะ วตั ถแุ หง่ สญั ญาเปน็ ทรพั ยท์ ไ่ี มเ่ ปลย่ี นสภาพ ไมใ่ ชท่ รพั ยส์ นิ ทใ่ี ชไ้ ปสน้ิ ไป แตส่ ญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งนนั้ วตั ถุ แหง่ สญั ญาเป็นทรัพยท์ ีใ่ ชไ้ ปสิ้นไป เชน่ ขา้ วสาร น�า้ ตาล เงินตรา ฯลฯ ผู้ยมื ไมต่ ้องคนื ทรัพยเ์ ดมิ แตต่ อ้ ง คืนทรพั ยท์ เ่ี ป็นประเภท ชนดิ และปริมาณเดยี วกันใหแ้ ทน อย่างไรก็ตาม แมอ้ าจจะตกลงเป็นสัญญายมื ใช้ สนิ้ เปลอื งกนั ไวใ้ นเบอ้ื งตน้ แตถ่ า้ มเี หตทุ ผ่ี ยู้ มื ไมไ่ ดใ้ ชท้ รพั ยท์ ย่ี มื ไปนน้ั ผยู้ มื กอ็ าจคนื ทรพั ยอ์ นั เดมิ ทยี่ มื ไป ไดห้ ากทรพั ยท์ ยี่ มื มานน้ั ไมใ่ ชท่ รพั ยท์ เี่ นา่ เสยี ไดเ้ มอ่ื เวลาผา่ นไป เชน่ ยมื ขา้ วสารมา 1 ถงั เพอื่ ไวห้ งุ รบั ประทาน 13 ทรพั ยป์ ระเภทนี้เดิมเรียกวา่ “สังกมะทรพั ย์” และ “โภคยทรัพย์” ตามบทบญั ญตั ใิ นมาตรา 102 และ 103 แห่ง ปพพ. บรรพ 1 ท่ไี ด้ตรวจชา� ระใหม ่ พ.ศ. 2468 ซึง่ ในปจั จบุ นั ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย พรบ. ใหใ้ ช้บทบญั ญัติบรรพ 1 แห่ง ปพพ. ทีไ่ ดต้ รวจ ช�าระใหม ่ พ.ศ. 2535 14 ทรพั ยป์ ระเภทนี้เดิมเรียกว่า “อสงั กมะทรพั ย์” ตามมาตรา 102 แพ่ง ปพพ. บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชา� ระใหม่ พ.ศ. 2468 ซึง่ ในปัจจุบันได้ถกู ยกเลิกไปแลว้ โดย พรบ. ใหใ้ ช้บทบัญญัตบิ รรพ 1 แหง่ ปพพ. ทไ่ี ดต้ รวจช�าระใหม่ พ.ศ. 2535 เช่นกนั ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกนั ภัย แต่ต่อมาผู้ยืมได้รับบริจาคข้าวสารมาจากผู้ใจบุญหลายถัง ผู้ยืมไม่มีความจ�าเป็นต้องใช้ข้าวสารท่ียืมมาก็ อาจส่งคืนข้าวสารถังเดิมนั้นได้โดยไม่ท�าให้กลายเป็นสัญญายืมใช้คงรูปไปเพราะคู่กรณีมีเจตนาท�าสัญญา ยืมใช้สน้ิ เปลืองกนั ต้งั แตต่ ้น ท่ีกล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นแต่เพียงการแสดงลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างสัญญายืมใช้คงรูปและ สัญญา ยืมใช้ส้ินเปลืองโดยสังเขปเท่านั้น นักศึกษาจะได้ทราบถึงสาระส�าคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะของ สญั ญาท้งั 2 ประเภทดงั กลา่ ว ในรายละเอียดต่อไปตามลา� ดบั กิจกรรม 1.1.2 สญั ญายมื แบง่ ออกไดเ้ ปน็ กปี่ ระเภท จงอธบิ ายลกั ษณะทแี่ ตกตา่ งกนั ในสาระสา� คญั ของสญั ญาแตล่ ะ ประเภทมาพอสังเขป แนวตอบกิจกรรม 1.1.2 สญั ญายมื แบ่งไดเ้ ป็น 2 ประเภท คอื สัญญายืมใชค้ งรูปและสัญญายืมใชส้ ิ้นเปลอื ง ขอ้ แตกต่างในสาระส�าคัญ คือ สัญญายืมใช้ส้นิ เปลอื งเป็นสญั ญาท่ผี ใู้ ห้ยืมโอนกรรมสทิ ธใ์ิ นทรัพย์ ประเภท ใชไ้ ปหมดเปลอื งไปใหแ้ กผ่ ยู้ มื ไป และผยู้ มื ตอ้ งคนื ทรพั ยอ์ นั เปน็ ประเภท ชนดิ และปรมิ าณเดยี วกนั ใหแ้ กผ่ ใู้ หย้ มื แตส่ ญั ญายมื ใชค้ งรปู นน้ั ผใู้ หย้ มื ไมโ่ อนกรรมสทิ ธใิ์ นทรพั ยส์ นิ ใหแ้ กผ่ ยู้ มื วตั ถขุ องสญั ญาและ ลกั ษณะของการใชท้ รพั ยม์ ไิ ดส้ น้ิ เปลอื งหมดไป หรอื เสยี ภาวะเสอ่ื มสลายไป และผยู้ มื ตอ้ งคนื ทรพั ยอ์ นั เดยี ว กบั ที่ยืมไปน้นั ใหแ้ ก่ผู้ให้ยมื เมอื่ ไดใ้ ช้สอยทรัพยน์ ้ันเสรจ็ สน้ิ แลว้ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบอื้ งตน้ เกยี่ วกบั สญั ญายมื และสญั ญายมื ใชค้ งรูป 1-19 ตอนท่ี 1.2 สัญญายืมใช้คงรูป โปรดอ่านหัวเร่อื ง แนวคดิ และวัตถุประสงคข์ องตอนท่ี 1.2 แล้วจงึ ศกึ ษารายละเอียดตอ่ ไป หัวเรื่อง 1.2.1 สาระส�าคัญของสัญญายืมใช้คงรูป 1.2.2 สทิ ธิและหน้าทีข่ องผ้ยู ืมใชค้ งรปู 1.2.3 สิทธิและหนา้ ทข่ี องผใู้ หย้ ืมใช้คงรปู มสธ มส แนวคิด 1. ส ัญญายืมใช้คงรูปมีลักษณะเฉพาะอันเป็นสาระส�าคัญนอกเหนือไปจากลักษณะท่ัวไป ของสญั ญายมื เปน็ สญั ญาไมม่ คี า่ ตอบแทน และไมโ่ อนกรรมสทิ ธใิ์ นทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื วตั ถุ แห่งสญั ญายืมใชค้ งรูปเป็น ทรพั ยอ์ นั เดยี วกบั ทยี่ ืมไป ซง่ึ ไมอ่ าจใช้ของอน่ื แทนได้ 2. ผยู้ มื ใชค้ งรปู มสี ทิ ธใิ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื ตามสญั ญาและมสี ทิ ธติ อ่ บคุ คลภายนอกในฐานะ เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน แต่ก็มีหน้าท่ีจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ต้องใช้ทรัพย์สินโดยชอบ ต้องสงวนรักษาทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องส่งคืน ทรัพย์สินอนั เดยี วกบั ที่ยมื ไปนนั้ แก่ผู้ให้ยมื เมือ่ ถึงกา� หนดเวลาตอ้ งสง่ คืน 3. ผ ใู้ หย้ มื ใชค้ งรปู มสี ทิ ธบิ อกเลกิ สญั ญาและเรยี กทรพั ยส์ นิ คนื จากผยู้ มื เมอ่ื ครบกา� หนดเวลา ยมื หรอื เมอ่ื ผยู้ มื ปฏบิ ตั ผิ ดิ หนา้ ทใ่ี นการใชห้ รอื สงวนรกั ษาทรพั ยส์ นิ และมสี ทิ ธเิ รยี กคา่ ทดแทนในความเสยี หายท ่ี เกดิ แกท่ รพั ยส์ นิ เนอื่ งจากความผดิ ของผยู้ มื แตก่ ม็ หี นา้ ทไ่ี ม่ ขดั ขวางการใชท้ รพั ยส์ นิ ของผยู้ มื ตาม สญั ญา และรบั ผลแหง่ ภยั พบิ ตั ใิ นทรพั ยส์ นิ นนั้ เอง หากเกิดความเสยี หายข้ึนโดยมใิ ช่ความผิดของผยู้ ืม ธมมสธสธมสธสธ วัตถุประสงค์ เม่อื ศกึ ษาตอนที่ 1.2 จบแล้ว นกั ศึกษาสามารถ 1. อธิบายสาระส�าคัญของสัญญายืมใช้คงรปู ได้ 2. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้คงรปู ได้ 3. แจกแจงสทิ ธแิ ละหนา้ ทีข่ องผู้ให้ยืมในสญั ญายืมใช้คงรูปได้ 4. วินิจฉัยปัญหาเกยี่ วกับสัญญายืมใชค้ งรปู ได้

มสธ 1-20 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกนั ภยั มสธ เร่ืองที่ 1.2.1มส สาระส�าคัญของสัญญายืมใช้คงรูป ปพพ. มาตรา 640 บญั ญตั วิ ่า “อันว่ายืมใช้คงรูปน้ันคือสัญญาซ่ึงบุคคลหน่ึงเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินส่ิงใดส่ิงหน่ึงได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สิน นั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว” จากมาตรา 640 จะเห็นได้ว่า สัญญายืมใช้คงรูปมีสาระส�าคัญส่วนหนึ่งท่ีเป็นลักษณะโดยท่ัวไป เชน่ เดยี วกบั สญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งตามทไี่ ดก้ ลา่ วมาแลว้ ในตอนท ี่ 1.1 จะไมน่ า� มากลา่ วในรายละเอยี ดซา้� อกี เพยี งแตจ่ ะสรปุ หวั ขอ้ ดังกลา่ วไวด้ ังนีค้ อื 1. สญั ญายมื ใช้คงรปู เป็นเอกเทศสัญญา 2. สัญญายมื ใชค้ งรปู เป็นสญั ญาไมต่ า่ งตอบแทน 3. สญั ญายืมใชค้ งรปู บรบิ ูรณ์เมอ่ื มีการส่งมอบทรัพย์สนิ ที่ให้ยืม 4. สญั ญายืมใชค้ งรปู มีวตั ถุแห่งสัญญาเป็นทรพั ยส์ นิ นอกจากน้ีสัญญายืมใชค้ งรปู มีสาระส�าคญั ซงึ่ เปน็ ลักษณะเฉพาะในตัวของมันเอง กลา่ วคือ 1. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน กล่าวคือ นอกจากจะเป็นสัญญาไม่ต่าง ตอบแทน คอื กอ่ หนห้ี รอื หนา้ ทใ่ี หเ้ กดิ แกผ่ ยู้ มื แตเ่ พยี งฝา่ ยเดยี วแลว้ สญั ญายมื ใชค้ งรปู ยงั เปน็ สญั ญาทผี่ ใู้ หย้ มื ให้ผู้ยมื ได้ใชส้ อยทรัพย์สนิ ทีย่ ืมนั้นอย่างได้เปลา่ คอื ไม่มีคา่ ตอบแทนใดๆ ท้งั ส้นิ หมายความวา่ ผยู้ มื ไม่มี หนา้ ที่จะตอ้ ง จ่ายคา่ ตอบแทนใหแ้ ก่ผ้ใู ห้ยืมในการใช้สอยทรัพยส์ นิ นน้ั ในขณะเดียวกนั ผู้ให้ยืมก็ไม่มสี ิทธิ ที่จะเรียกร้องค่าตอบแทนเอาจากผู้ยืม การที่กฎหมายบัญญัติให้สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่มีลักษณะ พเิ ศษเชน่ น ี้ กเ็ พอื่ ใหแ้ ตกตา่ งออกไปจากสญั ญาเชา่ ทรพั ยซ์ ง่ึ เปน็ สญั ญาตา่ งตอบแทน เนอื่ งจากสญั ญาเชา่ ทรัพย์น้ันเป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าได้ใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่า เปน็ การตอบแทนการไดใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ นนั้ ดงั นน้ั ถา้ ผใู้ ดไดใ้ ชท้ รพั ยส์ นิ โดยตอ้ งเสยี คา่ ตอบแทนแลว้ กจ็ ะ กลายเปน็ เรอ่ื งเช่าทรพั ย์ไป หาใช่สญั ญายมื ใช้คงรปู ไม่ อน่ึง โดยเหตุท่ีสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน จึงท�าให้เกิดผลทางกฎหมายบาง ประการ กล่าวคือ 1.1 สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ท�าข้ึนโดยความเช่ือถือในตัวบุคคลผู้ยืมเป็นส�าคัญ เนอื่ งจากการยมื ใชค้ งรปู เปน็ การใหใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ อยา่ งไดเ้ ปลา่ ไมม่ คี า่ ตอบแทน กอ่ นทจี่ ะใหย้ มื ผใู้ หย้ มื ย่อมจะต้องพิจารณาถึงตัวบุคคลผู้ยืมแล้วว่าสมควรจะให้ยืมทรัพย์สินไปหรือไม่ โดยอาจจะพิจารณาถึง บุคลิกลักษณะนิสัยของผู้ยืมว่าเป็นบุคคลท่ีใช้และระวังรักษาทรัพย์สินดีมากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุน้ีหาก เปน็ กรณที ผ่ี ใู้ หย้ มื ใหย้ มื ทรพั ยส์ นิ โดยสา� คญั ผดิ ในตวั บคุ คลผยู้ มื เชน่ นายฟา้ ตงั้ ใจจะใหน้ ายดา� ยมื ทรพั ยส์ นิ ของตน แต่กลับให้นายแดงซึ่งเป็นน้องฝาแฝดของนายด�ายืมไป ดังนี้ สัญญายืมใช้คงรูปดังกล่าวย่อมตก เป็นโมฆะไป ตาม ปพพ. มาตรา 156 และโดยเหตุที่สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาท่ีอาศัยสิทธิเฉพาะตัว ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้อื งต้นเก่ียวกบั สัญญายืมและสัญญายมื ใชค้ งรูป 1-21 ของผู้ยืมเป็นส�าคัญ ปพพ. มาตรา 648 จึงบัญญัติไว้ว่า “อันการยืมใช้คงรูปนั้น ย่อมระงับส้ินไปด้วยมสธ มรณะของผู้ยืม” หมายความว่าสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปไม่ตกทอดเป็นมรดกไปถึงทายาท เพราะเป็นมส เรือ่ งเฉพาะตวั ผตู้ ายโดยแท ้ ซึ่งในเร่อื งน้จี ะไดน้ า� ไปกลา่ วไว้ในเรอ่ื งความระงบั แหง่ สญั ญายืมเปน็ สว่ นหนงึ่ ตา่ งหาก 1.2 ในเร่ืองการยืมใช้คงรูป กฎหมายก�าหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้หลายประการด้วยกันเมื่อ เปรยี บเทยี บกบั เรอื่ งเชา่ ทง้ั นเ้ี พราะสญั ญาเชา่ นน้ั เปน็ สญั ญาทผ่ี เู้ ชา่ ไดใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ โดยเสยี คา่ เชา่ ใหแ้ ก่ ผู้ให้เช่าเป็นค่าตอบแทน หน้าที่ซึ่งกฎหมายก�าหนดให้ผู้เช่าต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าจึงมีน้อยกว่าในเร่ืองยืม ใช้คงรูป ซึ่งผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แก่ผู้ให้ยืม ในทางกลับกัน เรื่องเช่า ทรพั ยน์ นั้ กฎหมายกา� หนดหนา้ ทข่ี องผใู้ หเ้ ชา่ ไวห้ ลายประการ เชน่ ตอ้ งสง่ มอบทรพั ยส์ นิ ในสภาพทซี่ อ่ มแซม ดีแลว้ ตอ้ งรบั ผิดต่อกรณชี า� รุดบกพรอ่ งและการรอนสทิ ธิ (ปพพ. มาตรา 546-550) เป็นต้น แต่ในสัญญา ยืมใช้คงรูป กฎหมายไม่ได้ก�าหนดหน้าท่ีของผู้ให้ยืมไว้แต่ประการใดเลย เช่น ยืมรถไปใช้ ผู้ให้ยืมไม่มี หน้าท่ีต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว แต่ถ้าเป็นกรณีท่ีเกิดความช�ารุดบกพร่อง เพราะความผิดของผใู้ หย้ มื เช่น เบรครถไม่ดอี ยแู่ ล้ว ผู้ใหย้ ืมก็ทราบอยู่แตไ่ ม่บอกความจริงใหผ้ ยู้ มื ทราบ ยงั ขนื ใหย้ มื ไป หากผยู้ มื ไปขบั ขแ่ี ลว้ เกดิ ความเสยี หายขน้ึ ผยู้ มื ไมต่ อ้ งรบั ผดิ ออกคา่ ซอ่ มแซมความเสยี หาย นนั้ และหากผยู้ มื ไดร้ บั ความเสยี หายจากการนกี้ ส็ ามารถเรยี กคา่ สนิ ไหมทดแทนเอาจากผใู้ หย้ มื ไดด้ ว้ ย แต่ ถ้าผใู้ ห้ยืมไม่ร้ถู งึ ความช�ารดุ บกพร่องน้นั กไ็ ม่ตอ้ งรับผิด ซึง่ ในเรอื่ งนต้ี ่างกับกรณเี ช่าทรพั ย ์ ซ่งึ แมผ้ ้ใู ห้เชา่ จะไม่มีสว่ นผดิ คอื ไม่รู้ถึงความช�ารุดบกพรอ่ งทม่ี อี ย ู่ ผใู้ หเ้ ช่าก็ยังตอ้ งรบั ผดิ อยนู่ นั่ เอง15 2. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่โอนกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินท่ีให้ยืม คงมีแต่การส่งมอบให้ ผ้ยู มื ได้ครอบครองใชส้ อยในทรพั ย์สนิ นนั้ แล้วตอ้ งส่งคนื ทรัพย์สินอนั เดียวกันนนั้ เมอื่ ไดใ้ ช้สอยเสรจ็ แลว้ แก่ ผู้ให้ยืม เน่ืองจากประเภทของทรัพย์สินที่ยืมนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่เสียภาวะเส่ือมสลายไปเพราะการใช ้ กรรมสทิ ธใิ์ นทรพั ยส์ นิ ดงั กลา่ วจงึ ไมโ่ อนไปยงั ผยู้ มื ลกั ษณะทส่ี า� คญั ในประการนท้ี า� ใหเ้ กดิ ผลทางกฎหมาย บางประการคือ 2.1 ผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปอาจไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินท่ีให้ยืมนั้นก็ได้ แต่ก็ต้องมีสิทธิท่ีจะให้ยืมด้วย เช่น ผู้เช่ารถจักรยานยนต์ของคนอื่นมา อาจให้ เพือ่ นยมื รถคันนั้นไปขับขต่ี อ่ ไปได้ 2.2 ในกรณีท่ีทรัพย์สินที่ให้ยืมน้ันสูญหายหรือบุบสลายไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของทรัพย์สินน้ันก็ต้องยอมรับผลพิบัติท่ีเกิดข้ึนแก่ ทรพั ยส์ นิ นนั้ เองตามหลกั กฎหมายทว่ั ไปวา่ ความวนิ าศแหง่ ทรพั ยส์ นิ ตกเปน็ พบั แกเ่ จา้ ของ แตถ่ า้ ผใู้ หย้ มื ไมใ่ ชเ่ จา้ ของทรพั ยส์ นิ ผใู้ หย้ มื จะตอ้ งรบั ผดิ ตอ่ เจา้ ของทรพั ยส์ นิ นนั้ อยา่ งไร กต็ อ้ งพจิ ารณาดวู า่ ในระหวา่ ง ผู้ให้ยืมกับเจา้ ของทรัพยส์ นิ น้นั มสี ญั ญาต่อกันไว้อยา่ งไรเปน็ อกี ส่วนหนึ่งตา่ งหาก 15 ด ู ปพพ. มาตรา 472 ประกอบมาตรา 549 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-22 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย อุทาหรณ์ท่ีแสดงว่าสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธ์ิ ฎ. 1554-1555/2512 จ�าเลยยืมเครื่องประดับต่างๆ ซ่ึงเป็นทรัพย์ประเภทท่ีจัดอยู่ในเรื่องยืมใช้ คงรูปไป แล้วไม่ยอมคืนทรัพย์น้ัน กลับทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย จ�าเลยย่อมมี ความผดิ ทางอาญา ฐานยักยอกทรพั ย์ด้วย มิใช่เปน็ เพียงเรือ่ งยืมในทางแพง่ เท่านนั้ ฎ. 5946/2537 ตามค�าฟ้องระบวุ ่าจ�าเลยยมื ถงั แก๊สจากโจทก ์ จา� เลยก็ให้การว่าไดย้ มื ถงั แก๊สจาก โจทกจ์ รงิ เพยี งแต่อา้ งว่าจ�าเลยไมไ่ ด้ผดิ สญั ญา จงึ ไม่ตอ้ งรบั ผิดตอ่ โจทก์ ดังนั้น การทศี่ าลลา่ งทง้ั สองน�า ปพพ. มาตรา 640 ซ่งึ เป็นบทบญั ญัติเกย่ี วกบั การยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินจิ ฉยั คดนี ี้ จงึ ไมเ่ ป็นการ คลาดเคลื่อนหรือนอกคา� ฟอ้ ง ฎ. 1407/2538 โจทกเ์ ปน็ เจา้ ของกรรมสทิ ธท์ิ รพั ยพ์ พิ าทรายการท ่ี 1 ถงึ ท ่ี 4 จงึ มสี ทิ ธติ ดิ ตามเอาคนื จากจ�าเลยได ้ ทรพั ยพ์ พิ าทรายการท ่ี 5 ไม่ใช่ทรพั ย์ของโจทก์แตเ่ ป็นทรัพย์ของผ้อู ่ืนทโ่ี จทก์ขอยืมมาแลว้ ให้ ท. ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการน ้ี เมื่อทรัพย์ พิพาทรายการน้ีไปตกอยู่กับจ�าเลยโดยจ�าเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ โจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในทรัพย์รายการนีย้ ่อมมสี ทิ ธติ ดิ ตามเอาคนื จากจา� เลยผู้ไมม่ ีสิทธยิ ึดถือไว้ได้ ฎ. 1184/2543 จา� เลยไดย้ มื เครอ่ื งมอื กอ่ สรา้ งตามฟอ้ งไปจากโจทกต์ ามบนั ทกึ การยมื ระบขุ อ้ ความ วา่ จะนา� มาสง่ คนื เมอื่ แลว้ เสรจ็ หรอื ทวงถาม หลงั จากจา� เลยยมื เครอื่ งมอื กอ่ สรา้ งไปแลว้ โจทกก์ ไ็ มพ่ บจา� เลย อีก มาพบจา� เลยอีกครั้งในวนั ท่ ี 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โจทกท์ วงถามถงึ เครอื่ งมือกอ่ สร้างท่จี า� เลยยืมไป แต่จ�าเลยปฏิเสธ ถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าจ�าเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเครื่องมือก่อสร้างของโจทก์ไปในวันท่ี 15 ธนั วาคม พ.ศ. 2537 วนั ดงั กลา่ วจงึ เปน็ วนั ทโี่ จทกร์ เู้ รอ่ื งความผดิ และรตู้ วั ผกู้ ระทา� ผดิ คดนี แี้ ละอายคุ วาม เรม่ิ นับตัง้ แตว่ นั นัน้ กิจกรรม 1.2.1 สญั ญายืมใช้คงรปู มสี าระส�าคญั อย่างไรบ้าง จงอธบิ าย แนวตอบกิจกรรม 1.2.1 สัญญายืมใช้คงรูปนอกจากจะมีสาระส�าคัญตามลักษณะโดยทั่วไปของสัญญายืม กล่าวคือ เป็น สญั ญา ไมต่ า่ งตอบแทนซง่ึ มวี ตั ถแุ หง่ สญั ญาเปน็ ทรพั ยส์ นิ และมผี ลบรบิ รู ณเ์ มอ่ื มกี ารสง่ มอบทรพั ยท์ ใ่ี หย้ มื แลว้ ยงั ม ี ลักษณะเฉพาะทส่ี �าคญั ซึง่ แตกตา่ งไปจากสัญญายมื ใชส้ ิน้ เปลอื งโดยส้ินเชงิ กล่าวคอื สัญญายืม ใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน และเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินท่ีให้ยืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม ผยู้ ืมจึงต้องคืน ทรัพยอ์ นั เดิมกบั ที่ไดย้ มื ไปนัน้ ใหแ้ ก่ผใู้ ห้ยมื มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บือ้ งตน้ เกยี่ วกับสญั ญายมื และสญั ญายมื ใช้คงรปู 1-23 มสธ เร่ืองท่ี 1.2.2มส สิทธิและหน้าท่ีของผู้ยืมใช้คงรูป เมอ่ื สญั ญายมื ใชค้ งรปู เกดิ ขนึ้ และมผี ลบรบิ รู ณต์ ามกฎหมาย กลา่ วคอื ไดม้ กี ารสง่ มอบทรพั ยส์ นิ ที่ ให้ยมื กนั เรียบร้อยแล้ว ผลของสัญญายมื ใช้คงรปู นกี้ อ่ ให้เกิดสทิ ธิและหนา้ ท่ีในระหวา่ งผูย้ มื และผู้ใหย้ ืม ใน เรอื่ งท ี่ 1.2.2 น้จี ะไดก้ ลา่ วถึงสทิ ธิและหน้าท่ใี นสว่ นของผูย้ มื ดังต่อไปนี้ สิทธิของผู้ยืมใช้คงรูป แยกอธิบายได้ คอื 1. มีสิทธิใช้สอยทรัพย์ สัญญายืมใช้คงรูปมีลักษณะส�าคัญอยู่ท่ีการได้ใช้สอยทรัพย์ได้เปล่าโดย ไมต่ อ้ งเสยี คา่ ตอบแทน และตอ้ งสง่ ทรพั ยค์ นื ดงั นนั้ ผยู้ มื จงึ มสี ทิ ธใิ ชท้ รพั ยต์ ามสญั ญา การใชส้ อยทรพั ยส์ นิ ซึ่งเป็นการได้เปล่าน้ีผิดกับการเช่าซึ่งมีค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์เป็นค่าเช่า16 แต่สัญญายืมใช้คงรูป เป็นการใช้ทรพั ยท์ ีย่ ืมได้เปลา่ ไมม่ กี ฎหมายบญั ญัตใิ ห้ผู้ให้ยืมต้องสง่ มอบทรพั ย์ในสภาพทซี่ อ่ มแซมดีแลว้ เหมอื นการเช่า ดังนนั้ ผู้ยมื จงึ ไดแ้ ต่ใช้สอยทรัพย์ตามสภาพทไี่ ด้รบั มอบมา ถา้ ทรพั ย์ทยี่ มื ซง่ึ ไดร้ ับมอบมา อยู่ในสภาพท่ีไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มท่ี ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้ยืมซ่อมแซม หรือถ้าผู้ยืมเอา ทรพั ยน์ น้ั ไปซอ่ มแซมเองเกินกว่าการบ�ารงุ รกั ษาตามปกตโิ ดยไม่จา� เป็นเพ่อื จะใหใ้ ช้ทรัพย์น้นั ได ้ เชน่ ยืม รถยนต์ไปใช้ รถยนต์ที่รับมอบมานั้นเกิดยางแตก ถ้าผู้ยืมไปซ้ือยางเส้นใหม่มาเปลี่ยน ถือว่าเป็นการ ซ่อมแซมเกินกว่าบ�ารุงรักษาตามปกติโดยไม่จ�าเป็น (ซ่ึงตามปกติควรจะน�ายางไปปะเท่าน้ัน) ผู้ยืมจะมา เรียกร้องเอาคา่ ยางเสน้ ใหมจ่ ากผูใ้ ห้ยืมเหมอื นอย่างการเชา่ ไม่ได้ เวน้ เสียแต่ว่าผูย้ มื ได้ตกลงกบั ผู้ให้ยืมไว้ ในเร่ืองดังกล่าว แต่ในเรื่องนี้มีผู้ให้ความเห็นว่า หากยางท่ีแตกน้ันเสียหายจนไม่อาจปะได้ จนท�าให้ผู้ยืม ตอ้ งซอื้ ยางเสน้ ใหมม่ าเปลย่ี น ผยู้ มื กน็ า่ จะเรยี กรอ้ งคา่ ใชจ้ า่ ยในสว่ นนไ้ี ดเ้ พราะถอื วา่ เปน็ คา่ ใชจ้ า่ ยทจ่ี า� เปน็ อันมใิ ช่การบ�ารงุ รกั ษาตามปกต1ิ 7 16 กฎหมายในเรื่องเช่าบัญญัติหน้าที่ของผู้ให้เช่าไว้ว่าต้องส่งมอบทรัพย์สินท่ีให้เช่านั้นในสภาพท่ีซ่อมแซมดีแล้ว (ปพพ. มาตรา 546) ทง้ั นี้เพ่อื ใหผ้ ูเ้ ชา่ ไดใ้ ชป้ ระโยชน์ในทรัพยส์ ินทีเ่ ช่าได้ ถ้ามีการชา� รุดบกพร่องในทรพั ย์สินน้นั ในระหว่างการเชา่ ผใู้ ห้เชา่ ต้องซ่อมแซม เว้นแต่จะเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อย หรือมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าเป็นหน้าท่ีของผู้เช่าต้องซ่อมแซม (ปพพ. มาตรา 550) หรอื ถา้ ผูเ้ ช่าต้องเสยี คา่ ใช้จา่ ยไปโดยความจ�าเป็นและสมควร เพ่ือรกั ษาทรัพย์สนิ ซึง่ เชา่ นอกจากปกติทผ่ี ูเ้ ช่าจะต้องท�า แลว้ ผใู้ หเ้ ชา่ กต็ อ้ งชดใชค้ า่ ใชจ้ า่ ยนน้ั ใหแ้ กผ่ เู้ ชา่ (ปพพ. มาตรา 547) ซงึ่ จะเหน็ วา่ สญั ญาเชา่ ทผ่ี เู้ ชา่ ได ้ ใชท้ รพั ยส์ นิ โดยเสยี คา่ ตอบแทน ทรพั ยท์ เี่ ชา่ จงึ ตอ้ งอยใู่ นสภาพทใ่ี ชป้ ระโยชนต์ ามจดุ ประสงคท์ เี่ ชา่ ได ้ เชน่ เชา่ รถยนตไ์ ปขบั รถยนตน์ นั้ กต็ อ้ งอยใู่ นสภาพทผี่ เู้ ชา่ จะนา� ไปใชข้ ับได ้ ถ้าใชไ้ ม่ได้ ผู้เชา่ ก็มีสิทธบิ อกเลกิ สญั ญาได ้ (ปพพ. มาตรา 548) 17 ประพนั ธ ์ ทรัพย์แสง ให้ความเหน็ ในคณะกรรมการกลมุ่ ปรับปรงุ เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายพาณชิ ย์ 2 เมือ่ วันที ่ 17 ก.ย. 2556 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-24 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรัพย์ ตวั แทน ประกันภัย มสธ 2. มีสิทธิต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน แม้สัญญายืมใช้คงรูปน้ันมส กรรมสทิ ธใิ์ นทรพั ยส์ นิ จะไมโ่ อนไปยงั ผยู้ มื แตก่ ารทผี่ ใู้ หย้ มื สง่ มอบทรพั ยส์ นิ ใหก้ เ็ ปน็ การมอบการครอบครอง ทรพั ยส์ นิ นน้ั ใหแ้ กผ่ ยู้ มื ผยู้ มื ในฐานะผคู้ รอบครองจงึ มสี ทิ ธติ อ่ บคุ คลภายนอกในการทจี่ ะขดั ขวางมใิ หบ้ คุ คล อ่ืนสอดเข้ามา เก่ียวข้องกับทรัพย์สินน้ันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินน้ันเสมือนหน่ึง ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้ยืมเอง เช่น ขัดขวางผู้ท่ีมาบุกรุกหรือแย่งการ ครอบครองทรัพยส์ ินน้นั โดยมิชอบ ซงึ่ ถา้ หากถงึ ขนาดไมอ่ าจขดั ขวางหรือปอ้ งกนั ไดโ้ ดยอา� นาจของตน ก็ ต้องรีบบอกกล่าวถึงภัยดงั กล่าวทเ่ี กดิ ขึน้ ให้ แก่ผูใ้ หย้ ืมซึง่ เป็นเจา้ ของกรรมสิทธิท์ ราบทนั ที หน้าท่ีของผู้ยืมใช้คงรูป จากการทสี่ ัญญายืมใช้คงรปู เปน็ สญั ญาท่ีผยู้ มื ได้ใชส้ อยทรัพย์สนิ ไดเ้ ปล่า ไมต่ อ้ งเสยี คา่ ตอบแทน กฎหมายจึงตอ้ งกา� หนดหนา้ ทข่ี องผูย้ ืมไว้หลายประการ กลา่ วคือ 1. หน้าท่ีในการเสียค่าใช้จ่าย ในเรื่องนี้ม ี มาตรา 642 บัญญตั ิว่า “ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�า สัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกอยู่กับผู้ยืมเป็นผู้เสีย” และ มาตรา 647 บญั ญตั วิ า่ “ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบ�ารุงรักษาทรัพย์สินซ่ึงยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย” เหตุผลก็คือ สัญญายืมใช้คงรูปน้ันผู้ยืมได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว คือได้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า กฎหมายจงึ ตอ้ งบญั ญตั ิวา่ คา่ ใชจ้ า่ ยตา่ งๆ เป็นหน้าทีข่ องผู้ยมื จะตอ้ งรับผิดชอบ อยา่ งไรกต็ ามถา้ ผยู้ ืมและ ผู้ให้ยืมจะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายก็รับบังคับให้เน่ืองจากไม่ใช่ข้อกฎหมายเก่ียวกับความสงบ เรยี บร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ค่าฤชาธรรมเนียม หมายถงึ คา่ ธรรมเนยี มตา่ งๆ ทผ่ี เู้ กย่ี วขอ้ งจะตอ้ งชา� ระใหแ้ กร่ ฐั เชน่ คา่ อากร แสตมป ์ เปน็ ตน้ แตเ่ นอื่ งจากสญั ญายมื ใชค้ งรปู นเ้ี พยี งแตค่ สู่ ญั ญาแสดงเจตนาตกลงกนั แลว้ สง่ มอบทรพั ยส์ นิ ต่อกัน สัญญายมื ใช้คงรูปกบ็ ริบรู ณบ์ งั คับกันไดแ้ ลว้ โดยไมจ่ า� เปน็ ต้องทา� สัญญาเปน็ หนังสอื แต่อยา่ งใด ใน กรณีเช่นน้ี ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�าสัญญาก็ไม่มี แต่เม่ือท�าสัญญาเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ซึง่ กฎหมายมไิ ดบ้ งั คบั ใหท้ า� ) กต็ ้องมคี า่ ฤชาธรรมเนยี ม ค่าส่งมอบทรัพย์สิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้ยืมต้องใช้จ่ายไปในการส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ยืม เชน่ คา่ ไปรษณียากร (ในกรณสี ่งมอบทางไปรษณีย)์ หรอื คา่ ขนสง่ ทรพั ย์สินทยี่ ืมไปมอบใหผ้ ้ยู ืม เป็นตน้ ค่าส่งคืนทรัพย์สิน หมายถงึ คา่ ใชจ้ ่ายที่ผูย้ มื ตอ้ งใชจ้ า่ ยไปในการสง่ มอบทรัพย์สินคนื แก่ผ้ใู ห้ยืม เนอื่ งจากมาตรา 642 บญั ญตั แิ ตเ่ พยี งวา่ คา่ สง่ คนื ทรพั ยส์ นิ ยอ่ มตกแกผ่ ยู้ มื เปน็ ผเู้ สยี เทา่ นน้ั มไิ ดบ้ ญั ญตั ถิ งึ สถานทที่ จ่ี ะตอ้ งสง่ คนื ทรพั ยส์ นิ นนั้ ไวแ้ ตอ่ ยา่ งใด ดงั นน้ั ถา้ มไิ ดต้ กลงกนั ไวเ้ ปน็ อยา่ งอนื่ กต็ อ้ งนา� บทบญั ญตั ิ ทั่วไปในเร่ืองการช�าระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 324 มาใช้บังคับ ทั้งน้ีเพราะการส่งคืนทรัพย์สินเป็นการ ชา� ระหนอ้ี ย่างหน่ึง และการส่งคนื ทรัพย์ในสญั ญายมื ใช้คงรปู น้นั เป็นการส่งมอบทรพั ย์อันเดยี วกบั ท่ยี มื ไป ซ่งึ ถอื เปน็ ทรพั ยเ์ ฉพาะสง่ิ บทบญั ญตั ิในมาตรา 324 ดังกล่าวจงึ ต้องนา� มาใช้บงั คับ ซง่ึ สรุปสาระส�าคัญได ้ คือ ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนาไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงว่าจะช�าระหนี้โดยส่งมอบทรัพย์สินกันท่ีใด ก็ต้อง สง่ มอบ ณ สถานทท่ี ท่ี รพั ยน์ น้ั ไดอ้ ยใู่ นเวลากอ่ หน ้ี สา� หรบั รายละเอยี ดในเรอื่ งการสง่ มอบทรพั ยค์ นื ตลอดจน ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบ้อื งตน้ เก่ยี วกับสญั ญายมื และสญั ญายืมใช้คงรูป 1-25 มสธ ค่าใช้จ่ายในการนี้ จะได้น�าไปกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากในเร่ืองความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในมส ตอนที่ 1.3 ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป ต่อไป คา่ ใชจ้ า่ ยอนั เปน็ ปกตแิ กก่ ารบา� รงุ รกั ษาทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื เชน่ ยมื รถยนตก์ ต็ อ้ งเสยี คา่ นา�้ มนั หลอ่ ลนื่ คา่ นา้� กลน่ั หมอ้ แบตเตอร ี คา่ ปะยาง ฯลฯ หรอื ยมื ชา้ ง มา้ โค กระบอื ไปใชง้ าน กต็ อ้ งเสยี คา่ อาหารเลย้ี งดใู น ระหว่างการยมื เปน็ ตน้ การท่ีกฎหมายก�าหนดให้ผู้ยืมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเหล่าน้ีเพียงฝ่ายเดียวเน่ืองจากสัญญายืมใช้ คงรูปนั้นผู้ยืมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากสัญญายืมแต่เพียงฝ่ายเดียว เม่ือผู้ให้ยืมไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน จากสญั ญายมื เลยกเ็ ป็นธรรมดีแล้วท่ีผู้ให้ยืมไมค่ วรจะตอ้ งเสยี คา่ ใช้จ่ายซึ่งเกดิ ขึ้นจากการยมื นนั้ 2. หน้าท่เี กยี่ วกับการใช้ทรัพยส์ นิ ทย่ี มื จากการทผี่ ยู้ มื ในสญั ญายมื ใชค้ งรปู มสี ทิ ธจิ ะใชส้ อยทรพั ย์ ทย่ี มื นน้ั ไดเ้ ปลา่ โดยไมต่ อ้ งเสยี คา่ ตอบแทน กฎหมายจงึ ตอ้ งบญั ญตั ใิ หผ้ ยู้ มื มหี นา้ ทเี่ กย่ี วกบั การใชท้ รพั ยส์ นิ นน้ั ดว้ ย กลา่ วคอื มาตรา 643 บญั ญตั วิ า่ “ทรัพย์สินซึ่งยืมน้ัน ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการ อนั เป็นปกติแก่ทรัพยส์ ินนั้นหรอื นอกจากการอันปรากฏในสญั ญากด็ ี เอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุท่ีทรัพย์สินน้ันสูญหายหรือบุบสลาย ไปอย่างหน่ึงอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินน้ันก็ คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง” ตามมาตราน ี้ แบ่งแยกหนา้ ทใ่ี นการใช้ทรัพยส์ ินของผู้ยมื ได ้ 3 ประการ คอื 2.1 ผยู้ ืมมหี นา้ ที่ต้องใชท้ รัพย์สินท่ยี มื อยา่ งปกตทิ ีว่ ิญญชู นเขาใช้ทรพั ย์กนั หรอื ตามทมี่ ีขอ้ ตกลงกนั ไวใ้ นสญั ญา เช่น ยมื มดี โกนหนวด ตามปกตกิ ต็ ้องน�าไปใช้โกนหนวดเครา ถา้ เอาไปหั่นเนื้อหรือ เหลาดินสอจนมีดเสีย คมไป ผู้ยืมต้องรับผิด หรือถ้ามีข้อตกลงตามสัญญาไว้ว่า จะยืมรถยนต์เพื่อใช้แห่ งานบวชนาค แต่กลับเอารถน้ัน ขับไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือเอาไปบรรทุกสิ่งของท่ีหนักเกินควรท�าให้ รถยนต์เสยี หาย ถอื วา่ ทา� ผิดหนา้ ที่ในการใช้ทรพั ย์ 2.2 ผยู้ มื มหี นา้ ทจ่ี ะตอ้ งใชท้ รพั ยส์ นิ ทย่ี มื มานนั้ ดว้ ยตนเอง จะเอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใชไ้ ม่ ได้ ท้งั น้ีจากการทส่ี ญั ญายืมใช้คงรูปเป็นเรอ่ื งสิทธเิ ฉพาะตัวผู้ยมื การทผ่ี ู้ให้ยมื จะให้ใครยมื ทรพั ยส์ นิ ไปใช้ ก็ย่อมจะต้องพิจารณาจากตัวบุคคลผู้ยืมเป็นส�าคัญ เน่ืองจากเป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่าไม่มีค่า ตอบแทน ดังน้ัน ถ้าผู้ยืมเอาทรัพย์สินท่ียืมนั้นไปให้ผู้อ่ืนใช้ก็เท่ากับเป็นการผิดเจตนารมณ์ของผู้ให้ยืม เปน็ การทา� ผดิ หนา้ ทใี่ นการใชท้ รพั ย ์ อยา่ งไรเปน็ การเอาทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื ไปใหผ้ อู้ น่ื ใช ้ ตอ้ งพจิ ารณาลกั ษณะ การใช้ทรัพย์ประกอบด้วย เช่น ยืมรถยนต์มาใช้โดยให้คนรถเป็นคนขับหรือมีผู้อื่นนั่งไปในรถด้วย ก็ยัง ถือวา่ ผูย้ มื เป็นผใู้ ชร้ ถนั้นอยู่ หรอื ยืมถ้วยชามมาใชใ้ นงานเลยี้ ง ย่อมเหน็ ได้ชดั วา่ ตอ้ งมีผูอ้ ื่นท่มี าในงานน้ัน เปน็ ผ้ใู ชถ้ ้วยชามนัน้ ๆ ดว้ ย แตก่ ็ยงั อยูใ่ นความดูแลของผูย้ มื ซงึ่ ยังถือวา่ เปน็ การใชข้ องผู้ยืมอย ู่ แตถ่ า้ ใน สญั ญาไดร้ ะบไุ วช้ ดั แจง้ วา่ ผู้อนื่ นอกจากผยู้ ืมจะใชท้ รัพยส์ นิ น้นั ไมไ่ ดก้ ็ตอ้ งเป็นไปตามนัน้ 18 18 มีกรณีตัวอย่างจาก ฎ. 1892/2535 ซ่ึงข้อเท็จจริงเป็นเร่ืองท่ีจ�าเลยท่ี 1 ยืมรถยนต์ของโจทก์ไปใช้ โดยจะส่งคืนในวัน รงุ่ ข้นึ และรับวา่ จะไม่ใหค้ นอนื่ ยมื ต่อ แตก่ ลับผดิ สัญญาต่อโจทก ์ โดยน�ารถของโจทก์ไปใหจ้ า� เลยท ่ี 2 ยมื ไปขบั แลว้ จา� เลยท ี่ 2 ขบั ข่ี รถของโจทกไ์ ปดว้ ยความประมาท เปน็ เหตใุ หร้ ถพลกิ ควา่� และตาย โจทกจ์ งึ มสี ทิ ธฟิ อ้ งจา� เลยท ่ี 1 ใหร้ บั ผดิ ตามสญั ญายมื ตาม ปพพ. มาตรา 640 ประกอบมาตรา 643 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-26 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย 2.3 ผู้ยมื จะตอ้ งไมเ่ อาทรัพย์สินที่ยมื ไว้นานกวา่ ที่ควร ปญั หาท่ีจะตอ้ งพจิ ารณาคอื แคไ่ หนมสธ มส จะถือว่าเอาทรัพย์สินที่ยืมไว้นานเกินควร ถ้าการยืมนั้นไม่ได้ก�าหนดเวลาไว้เร่ืองน้ีต้องดูพฤติการณ์เป็น กรณีๆ ไป โดยพิจารณาตาม มาตรา 646 ซึ่งเป็นเร่ืองเก่ียวกับก�าหนดเวลายืมประกอบด้วย เช่น ยืม รถยนต์ไปตากอากาศที่พัทยา เมื่อกลับมาแล้วก็ควรจะต้องส่งคืนในเวลาสมควร โดยอาจจะคืนหลังจาก ทา� ความสะอาดรถใหเ้ ขาเรยี บรอ้ ยแลว้ แตถ่ า้ ยงั ไมค่ นื โดยจะเกบ็ เอาไวเ้ พอื่ ไปตากอากาศทเ่ี ชยี งใหมต่ อ่ อกี ก็ถือได้วา่ เอาทรัพยข์ องเขาไวน้ านเกนิ ควร หรอื ถา้ ยมื ไปแล้วทอดทงิ้ ไม่ใชเ้ สียตั้งแต่ตน้ ซึ่งถ้าได้ใช้เสียใน ระหวา่ งเวลาทล่ี ว่ งเลยไปกค็ งจะใชเ้ สรจ็ แลว้ เชน่ ยมื หนงั สอื ไปอา่ น แตก่ ไ็ มไ่ ดอ้ า่ นสกั ทจี นเวลาผา่ นไป ซงึ่ ถา้ อา่ นเสยี กค็ งจะจบแลว้ ในระยะเวลาทลี่ ว่ งเลยไปนนั้ เชน่ น ี้ ตอ้ งถอื วา่ เวลาผา่ นไปพอสมควรทจี่ ะไดใ้ ชส้ อย ทรัพย์แลว้ ซึ่งผู้ให้ยืมเรียกทรัพยค์ นื ได ้ สา� หรับมาตรา 646 นีจ้ ะไดก้ ลา่ วรายละเอียดในตอนที่ 1.3 ความ ระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป ตอ่ ไป ตามทไ่ี ดก้ ลา่ วมาแลว้ ขา้ งตน้ ถา้ ผยู้ มื มไิ ดป้ ฏบิ ตั หิ นา้ ทใี่ นการใชท้ รพั ยส์ นิ ดงั กลา่ ว ไมว่ า่ จะเปน็ การ ใช ้ ทรพั ยผ์ ดิ ไปจากปกตทิ คี่ วรใช ้ หรอื ผดิ ไปจากขอ้ ตกลงหรอื สญั ญา หรอื เอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใช ้ หรอื เก็บทรพั ย ์ ไว้นานกว่าท่ีควรกด็ ี นอกเหนอื จากผู้ให้ยมื จะมสี ทิ ธบิ อกเลิกสญั ญาได้ตามมาตรา 645 ซ่ึงจะ กล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากในเรื่องสิทธิของผู้ให้ยืมแล้ว ผู้ยืมยังจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินน้ันต้อง สูญหายหรือบบุ สลายไป แมว้ า่ จะเป็นเพราะเหตุสุดวสิ ยั เว้นแตผ่ ู้ยมื จะพิสจู นไ์ ด้วา่ ถึงอย่างไรๆ ทรัพยส์ นิ นั้นกค็ งจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอย ู่ นัน่ เอง ค�าวา่ “เหตสุ ุดวิสยั ” น ี้ ปพพ. มาตรา 8 บัญญตั ไิ ว้วา่ “เหตุใด ๆ อันจะเกิดข้ึนก็ดี จะให้ผลพิบัติ ก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ท้ังบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการ ระมดั ระวงั ตามสมควรอนั พงึ คาดหมายไดจ้ ากบคุ คลนนั้ ในฐานะและภาวะเชน่ นน้ั ” เชน่ ฟา้ ผา่ แผน่ ดนิ ไหว อทุ กภัย วาตภัย ภัยจากสงคราม เป็นตน้ จะเหน็ วา่ ในการทา� ผดิ หนา้ ทใี่ นการใชท้ รพั ยต์ ามทก่ี ลา่ วขา้ งตน้ กฎหมายบญั ญตั ใิ หผ้ ยู้ มื ตอ้ งรบั ผดิ ในการสญู หายหรอื บบุ สลายของทรพั ยส์ นิ ทใ่ี หย้ มื โดยสนิ้ เชงิ ถงึ แมค้ วามเสยี หายบบุ สลายหรอื สญู หายของ ทรพั ยน์ น้ั จะ เกดิ จากเหตสุ ดุ วสิ ยั กต็ าม ทง้ั นเี้ ปน็ บทยกเวน้ หลกั ทวั่ ไปในการชา� ระหน ้ี ซง่ึ โดยปกตกิ ารทล่ี กู หน้ีไม่สามารถจะช�าระหนี้ได้เพราะเหตุสุดวิสัย ลูกหน้ีไม่ต้องรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีท่ีลูกหนี้ผิดนัด เท่าน้ัน19 แต่ในเรื่องการใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยมิชอบ ผู้ยืมต้องรับผิดแม้ความสูญหายหรือบุบสลายของ ทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื จะเกดิ จากเหตสุ ดุ วสิ ยั เชน่ นายดา� ยมื กระบอื จากนายแดงมาใชไ้ ถนาแลว้ กลบั เอาไปใหน้ าย ขาวยืมใช้ต่อ ถ้าในระหว่างน้ันเกิดน�้าท่วมใหญ่พัดเอากระบือของนายแดงจมน�้าตายไปซึ่งนับว่าเป็น เหตสุ ดุ วสิ ยั แตน่ ายดา� กต็ อ้ งรบั ผดิ ชดใชร้ าคากระบอื ใหแ้ กน่ ายแดง เหตผุ ลในเรอื่ งนนี้ อกจากจะถอื เปน็ เรอ่ื ง ใชท้ รัพย์โดยมิชอบแลว้ ยงั ถอื วา่ การยมื ใชค้ งรปู น้นั ผู้ยมื ใชส้ อยทรพั ยไ์ ดเ้ ปล่าโดยไมต่ อ้ งเสียค่าตอบแทน กฎหมายจึงต้องบัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับภาระในการใช้ทรัพย์สินให้มากกว่าในกรณีอ่ืนเช่นเร่ืองเช่าทรัพย์ เป็นตน้ 19 ด ู ปพพ. มาตรา 217 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บอ้ื งตน้ เกยี่ วกับสญั ญายืมและสัญญายืมใชค้ งรูป 1-27 มสธ อยา่ งไรกต็ าม มาตรา 643 นนั้ เองไดบ้ ญั ญตั ขิ อ้ ยกเวน้ ไวว้ า่ ถา้ ผยู้ มื สามารถพสิ จู นไ์ ดว้ า่ ถงึ อยา่ งไร มส ทรัพย์สินน้ันก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง ผู้ยืมก็อาจหลุดพ้นจากความรับผิดได้ เช่น ตาม อุทาหรณ์ข้างต้น ถ้าบ้านของนายแดง นายขาว และนายด�าอยู่ในละแวกเดียวกัน กระบือของนายแดงก็ ต้องถูกน้�าท่วมตายอยู่น่ันเอง เพราะภัยจากน้�าท่วมน้ันแผ่ขยายกว้างขวางครอบคลุมทั่วไปหมด ซ่ึงหาก นายด�าพิสูจน์ ได้เช่นนี้ นายด�าก็ไม่ต้องรับผิดแม้ตนจะใช้ทรัพย์นั้นโดยมิชอบ ความเสียหายก็ตกเป็น ภยั พบิ ัติของผู้ใหย้ มื ไป อน่ึง ในเร่ืองความรับผิดของผู้ยืมในการใช้ทรัพย์สินท่ียืมน้ัน ถ้าปรากฏว่าผู้ยืมได้ใช้ความ ระมัดระวังและ ใช้ทรัพย์สินอย่างปกติ ถ้าทรัพย์ท่ียืมเกิดความเสียหายขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เช่น ยืมรถของผู้อื่นใช้อย่างปกติและถูกรถของผู้อ่ืนชนเสียหายโดยไม่ใช่ เพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายท่ีเกิดขึ้นต่อผู้ให้ยืม เว้นแต่ผู้ยืมจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อทา� ให้ทรัพยเ์ สยี หาย ผู้ใหย้ ืมฟอ้ งให้ผูย้ ืมรับผิดในเรอ่ื งละเมดิ ได้ อุทาหรณ์ ฎ. 534/2506 ยืมรถของผู้อ่ืนไปใช้อย่างปกติแล้วถูกรถของบุคคลภายนอกชนเสียหาย โดยไม่ใช่ เพราะความผดิ ของฝา่ ยผยู้ มื ผ้ยู ืมกไ็ มต่ ้องรับผิดในความเสยี หายทเี่ กดิ ขึ้น ฎ. 526/2529 โจทก์ติดต่อซ้ือรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์ จากผขู้ ายมาใชก้ อ่ น ในวนั เกดิ เหตจุ า� เลยยมื รถยนตค์ นั ดงั กลา่ วจากโจทกไ์ ปใชแ้ ละเกดิ อบุ ตั เิ หตไุ ดร้ บั ความ เสียหาย โจทก์จึงฟ้องให้จา� เลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูป เม่ือรถยนต์คันที่จ�าเลยยืมไปใช้เกิดอุบัติเหตุ ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่น รถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายข้ึนในระหว่างที่โจทก์ดูแล และทดลองใช้อยู่ โจทก์ช�าระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้ว จ�าเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก ์ ตามค�าฟ้องดงั กล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตาม ปพพ. มาตรา 643 ทีจ่ ะท�าให้จา� เลยต้องรบั ผิดต่อโจทก์ในความ เสยี หายทเี่ กดิ ขน้ึ เลย จา� เลยจงึ ไมต่ อ้ งรบั ผดิ ชดใชค้ า่ เสยี หายใหโ้ จทก ์ (หมายเหต-ุ ฟอ้ งใหร้ บั ผดิ ตามสญั ญา ยมื ใชค้ งรปู ศาลฎีกาเห็นว่าไมม่ เี หตตุ ามมาตรา 643 ทจ่ี ะให้ผยู้ ืมรบั ผดิ -ผ้เู ขยี น) ฎ. 1892/2535 โจทก์ฟ้องวา่ จา� เลยท่ ี 1 ได้ขอยืมรถจากโจทก์โดยสญั ญาว่าจะไมน่ า� รถของโจทก์ ไปใหบ้ ุคคลภายนอกใช้สอย แต่กลับผิดสัญญาโดยน�ารถของโจทกไ์ ปใหจ้ า� เลยที่ 2 ยืมไปขบั จ�าเลยท่ี 2 ไดข้ บั รถของโจทกด์ ว้ ยความประมาทในขณะมนึ เมาสรุ าและขบั ดว้ ยความเรว็ สงู เปน็ เหตใุ หร้ ถแฉลบเสยี หลกั พลกิ ควา�่ รถของโจทกไ์ ดร้ บั ความเสยี หายซงึ่ ทา� ใหโ้ จทกเ์ สยี หาย ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา่ คดนี โี้ จทกฟ์ อ้ งจา� เลย ท ี่ 2 ท ี่ 3 ท ี่ 4 ในฐานละเมดิ เพราะจา� เลยท ่ี 2 ไดข้ บั รถของโจทกโ์ ดยประมาท เปน็ เหตใุ หร้ ถของโจทกพ์ ลกิ คว�่าเสียหาย จ�าเลยท่ี 3 ที ่ 4 ในฐานะบดิ ามารดามิไดใ้ ชค้ วามระมดั ระวงั ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจา� เลย ท่ี 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจ�าเลยท่ี 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตาม สัญญายมื กต็ ามก็หาตัดสิทธโิ จทกท์ จ่ี ะฟอ้ งจ�าเลยท่ี 2 ที่ 3 ท ี่ 4 ฐานละเมิดด้วยไม่ ฎ. 2766/2551 เหตลุ ะเมดิ ทเี่ กดิ ขน้ึ แกร่ ถยนตท์ โี่ จทกย์ มื มาจากมารดาโจทกซ์ งึ่ เปน็ เจา้ ของเนอ่ื งจาก ความผดิ ของหา้ งหนุ้ สว่ นจา� กดั จา� เลยท ี่ 2 ซงึ่ เปน็ บคุ คลภายนอกทรี่ บั จา้ งกรมทางหลวงจา� เลยท ี่ 1 กอ่ สรา้ ง ถนนโจทก์ในฐานะผู้ยมื จึงไม่ต้องรบั ผดิ ต่อเจา้ ของทรพั ย ์ ตาม ปพพ. มาตรา 643 แมโ้ จทก์จะซอ่ มรถยนต์ เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะท่ีจะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ท่ีจะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-28 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกนั ภยั จ�าเลยท ี่ 2 และจ�าเลยท ่ี 3 ซงึ่ เป็นหุน้ สว่ นผู้จดั การรับผดิ ได้ เพราะการรบั ชว่ งสิทธิจะมีได้ตอ่ เมอื่ ผู้รับช่วงมสธ สทิ ธิมีหนีอ้ ันจะต้องรบั ผิดตอ่ เจา้ หนีค้ อื เจา้ ของ เมือ่ โจทก์ไมใ่ ชผ่ ูร้ บั ชว่ งสทิ ธิ โจทก์จึงไม่มีอา� นาจฟอ้ งมส 3. หน้าท่ีในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม เนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาท่ีกรรมสิทธ์ิ ในทรัพย์สินท่ียืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม หากทรัพย์สินที่ยืมน้ันบุบสลายหรือสูญหายไปโดยมิใช่ความผิดของ ผ้ยู มื แล้ว ผู้ยืมกไ็ มจ่ า� เป็นตอ้ งรับผดิ ชอบ ภยั พิบัตจิ ึงตกหนักแกผ่ เู้ ปน็ เจา้ ของทรพั ย์สนิ ทยี่ มื และเม่ือการ ยืมใช้คงรูปเป็นการที่ผู้ยืมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ย่อมเป็นการสมควรท่ีกฎหมายจะก�าหนดหน้าท่ี ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมในระหว่างที่ผู้ยืมได้ครอบครองใช้สอยทรัพย์สินนั้น ดังที่ มาตรา 644 บญั ญัตวิ ่า “ผู้ยืมจ�าต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน” ค�าว่า “วิญญูชน” น้ันคือ บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ20 หรือบุคคลท่ีมีความระมัดระวังอย่าง ธรรมดา (a person of ordinary prudence)21 ในหมู่บคุ คลธรรมดายอ่ มจะตอ้ งมคี วามระมัดระวังอยา่ ง คนธรรมดาโดยทว่ั ไป แตใ่ นหมบู่ คุ คลทมี่ อี าชพี ทตี่ อ้ งใชศ้ ลิ ปะหรอื ฝมี อื ความสามารถเปน็ พเิ ศษ เชน่ แพทย์ วศิ วกร ทนายความ ฯลฯ ความระมัดระวังของบุคคลประเภทเหลา่ นีก้ ็ต้องอาศยั ความชา� นาญ ฝมี ือ และ ความระมัดระวังย่ิงกว่าบุคคล ธรรมดา22 ดังนั้น การสงวนทรัพย์สินอย่างเช่นวิญญูชนจะสงวนทรัพย์สิน ของตนเอง จึงพอจะอธบิ ายโดยเทยี บ เคยี งไดว้ า่ บุคคลผู้อยใู่ นสภาพและฐานะเช่นเดียวกบั ผูย้ ืมน้นั ควรจะ ปฏิบัติในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่น เดียวกับที่ผู้ยืมได้ปฏิบัติหรือไม่23 เป็นการพิจารณาในระดับ ของคนทม่ี คี วามรคู้ วามสามารถธรรมดาจะพงึ ปฏบิ ตั ใิ นการสงวนทรพั ยส์ นิ ตามสภาพของทรพั ยน์ นั้ ๆ ไมใ่ ช่ ระดบั ของคนทยี่ อ่ หยอ่ นความระมดั ระวงั หรอื ในระดบั ทเี่ คย ประพฤตขิ องตนเองซงึ่ ตา�่ กวา่ ระดบั ของธรรมดา ทเี่ ขาพงึ ประพฤติกัน24 ขนาดไหนจงึ จะถอื วา่ เปน็ การระมัดระวงั อยา่ งวิญญูชนจงึ ต้องแลว้ แต่พฤติการณ์เป็นกรณีไป เช่น ยืมรถยนต์เขามาแล้วจอดทิ้งไว้กลางแดดกลางฝน จนสีรถร่อนแตกออกและตัวถังผุเพราะแช่น�้าฝน จะถือว่าผู้ยืมได้ สงวนรักษารถยนต์น้ันเช่นวิญญูชนแล้วหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าคนท่ีมีความระมัดระวัง ตามธรรมดาทัว่ ไปจะสงวนรกั ษารถยนต์ของตนเองอยา่ งไร คอื จะจอดท้ิงไวก้ ลางแดดกลางฝนหรือไม ่ ถา้ ไม่เป็นเช่นน้ัน ก็ต้องถือว่าผู้ยืมท�าผิดหน้าท่ีในการสงวนรักษาทรัพย์สินท่ียืม กล่าวคือ จะถือระดับความ ระมดั ระวงั เชน่ ทเี่ คยประพฤตใิ นกจิ การตนเองของผยู้ มื เปน็ สา� คญั ไมไ่ ด ้ เพราะแมโ้ ดยปกตผิ ยู้ มื จะเคยสงวน รกั ษาทรพั ยส์ ินของตนเองอยา่ งปลอ่ ยปละละเลย เช่น รถของตนก็จอดตากแดดตากฝนไวเ้ ปน็ ประจ�า กจ็ ะ กระทา� ต่อรถท่ยี ืมเขามาเหมือนอย่างท่ีตนเองประพฤตไิ ม่ได้ เช่นนีเ้ ปน็ ตน้ 20 พจนานุกรมอเิ ล็กทรอนิกสฉ์ บับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 21 จีด๊ เศรษฐบตุ ร ค�ำอธบิ ำยกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยมื ฝำกทรพั ย์ เก็บของในคลงั สินคำ้ ประนปี ระนอม กำร พนนั และขนั ต่อ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์และการเมอื ง พ.ศ. 2492 น. 25. 22 บัญญตั ิ สชุ ีวะ “ประมาท” บทบัณฑิตย์ เล่ม 21 ตอน 2 เมษายน พ.ศ. 2506 น. 278. 23 จีด๊ เศรษฐบุตร คำ� อธิบำยกฎหมำยแพง่ และพำณิชย์ว่ำด้วยยืม ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลังสนิ คำ้ ประนีประนอม กำร พนนั และขนั ตอ่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 25. 24 พจน ์ ปษุ ปาคม ค�ำอธิบำยประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณชิ ยว์ ่ำด้วยยมื ก้ยู ืม ฝำกทรัพย์ พ.ศ. 2521 นติ บิ รรณาการ พ.ศ. 2521 น. 37. ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบ้ืองต้นเก่ยี วกับสญั ญายมื และสัญญายืมใช้คงรูป 1-29 มสธ จากการทผ่ี ยู้ มื มีหนา้ ทตี่ อ้ งสงวนทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื เชน่ วญิ ญชู นจะพงึ สงวนทรพั ยส์ นิ ของตนเอง ผยู้ มืมส จงึ ตอ้ งม ี หนา้ ทใ่ี นการบา� รงุ รกั ษาทรพั ยส์ นิ ตามปกตดิ ว้ ย มาตรา 647 จงึ บญั ญตั วิ า่ “ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติ แก่การบ�ารุงรักษาทรัพย์สินซ่ึงยืมน้ัน ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย” เชน่ ยืมรถไปใช ้ หน้าท่ีในการสงวนรกั ษาคอื ต้องเก็บไวใ้ นท่สี มควร ถ้ามโี รงเกบ็ รถก็ต้องเก็บไวใ้ นโรงรถน้นั หรอื ถา้ ไมม่ กี ็ตอ้ งจอดไวใ้ ต้ชายคาหรอื มีผ้า คลุมกันแดดกันฝน นอกจากน้ีก็ควรต้องคอยดูเปล่ียนน�้ามันเครื่อง เติมน้�ากล่ันในหม้อแบตเตอรี รวมท้ัง ท�าความสะอาดพอสมควร ซึ่งค่าใช้จ่ายท่ีเกิดจากการบ�ารุงรักษาตามปกติเช่นน้ีเป็นหน้าที่ของผู้ยืมต้อง รับผิดชอบ หากผู้ยืมกระท�าได้เช่นนี้ ย่อมพอจะนับได้ว่าเป็นการสงวนรักษาทรัพย์สินท่ียืมเช่นวิญญูชน จะกระทา� ตอ่ ทรัพยส์ นิ ของตนเองแล้ว ผลของการละเลยหน้าที่ไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนจะสงวนรักษาทรัพย์สินของ ตนเองดัง กลา่ วน้ี นอกจากจะทา� ให้ผ้ใู หย้ ืมมีสทิ ธิบอกเลิกสญั ญาตามมาตรา 645 ซงึ่ จะได้กล่าวถงึ เป็นอกี ส่วนหนึ่งต่าง หากต่อไปแล้ว ผู้ยืมยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใดๆ ท่ี เกดิ แก่ทรพั ย์สินทย่ี ืมด้วย เช่น ตามอทุ าหรณ์ขา้ งต้น ยมื รถเขามาแล้วจอดตากแดดตากฝนไว ้ ท�าใหส้ รี ถ หลุดร่อนและตัวถังผุเพราะแช่น�้าฝน ผู้ยืมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวแก่ ผ้ใู ห้ยืม ทั้งนีแ้ ม้บทบัญญตั ิในเรอ่ื งยืมจะไม่ได้กล่าวไว้โดยเฉพาะดังเชน่ มาตรา 643 แต่กเ็ ปน็ ไปตามหลกั ท่วั ไปว่าดว้ ยการไมช่ �าระหน ้ี ตาม ปพพ. มาตรา 213 ในกรณที บ่ี คุ คลภายนอกกระทา� ละเมดิ ทา� ใหท้ รพั ยส์ นิ ทย่ี มื เสยี หายนน้ั หากผยู้ มื ไมไ่ ดท้ า� ผดิ หนา้ ท่ี ตามมาตรา 643 หรอื 644 ผยู้ มื ยอ่ มไมม่ อี า� นาจฟอ้ งเรยี กคา่ ซอ่ มแซมทรพั ยส์ นิ จากผทู้ า� ละเมดิ เพราะกรณี เชน่ นผ้ี ยู้ มื ไมต่ อ้ งรับผดิ ตอ่ ผ้ใู หย้ มื จึงไมอ่ าจรับช่วงสทิ ธิของผใู้ ห้ยมื มาฟอ้ งได้ อุทาหรณ์ ฎ. 1180/2519 โจทกฟ์ อ้ งวา่ จา� เลยขบั รถยนตช์ นรถจกั รยานยนตข์ องโจทกโ์ ดยละเมดิ แตไ่ ดค้ วามวา่ รถจักรยานยนต์เป็นของน้องชายโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถ และการท่ีเกิดเหตุชนกันก็เป็นการใช้รถ จักรยานยนต์ของโจทก์โดยปกติธรรมดา โจทก์จึงไม่มีอ�านาจฟ้องให้จ�าเลยใช้ค่าซ่อมรถและค่าเสื่อมราคา ซ่ึงเปน็ ค่าเสียหายท่ีเกีย่ วกับรถโดยตรง ฎ. 3451/2524 ในการยืมใช้คงรปู นั้น ปพพ. มาตรา 643 ไดบ้ ัญญตั ิใหผ้ ู้ยมื ตอ้ งรับผิดตอ่ ผู้ใหย้ มื เฉพาะแตก่ รณผี ยู้ มื เอาทรพั ยท์ ย่ี มื ไปใชก้ ารอยา่ งอน่ื นอกจากการอนั เปน็ ปกตแิ กท่ รพั ยส์ นิ นน้ั หรอื นอกจาก การอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใช้สอย หรอื เอาไปไวน้ านกว่าท่คี วรจะเอาไว ้ โจทก์ เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชน ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม และการทรี่ ถทโ่ี จทกข์ บั ไดร้ บั ความเสยี หายกม็ ใิ ชเ่ ปน็ ความผดิ ของโจทก ์ ฉะนนั้ โจทกใ์ นฐานะผยู้ มื จงึ ไมต่ อ้ ง รับผิดต่อเจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะท่ีจะรับช่วงสิทธิ ของเจา้ ของรถทจี่ ะเรยี กรอ้ งใหจ้ า� เลยรบั ผดิ ได ้ เพราะการรบั ชว่ งสทิ ธจิ ะมไี ดต้ อ่ เมอ่ื ผรู้ บั ชว่ งสทิ ธมิ หี นอ้ี นั จะ ตอ้ งรบั ผิดตอ่ เจ้าหน้ีคือเจา้ ของรถ เมอ่ื โจทกไ์ ม่ใชผ่ ู้รบั ช่วงสทิ ธิโจทกจ์ งึ ไม่มีอ�านาจฟ้อง ฎ. 2766/2551 เหตลุ ะเมดิ ทเี่ กดิ ขนึ้ แกร่ ถยนตท์ โ่ี จทกย์ มื มาจากมารดาโจทกซ์ งึ่ เปน็ เจา้ ของเนอ่ื งจาก ความผดิ ของหา้ งหนุ้ สว่ นจา� กดั จา� เลยท ่ี 2 ซงึ่ เปน็ บคุ คลภายนอกทรี่ บั จา้ งกรมทางหลวงจา� เลยท ี่ 1 กอ่ สรา้ ง ถนนโจทก์ในฐานะผ้ยู มื จึงไมต่ อ้ งรบั ผดิ ต่อเจ้าของทรพั ย ์ ตาม ปพพ. มาตรา 643 แม้โจทกจ์ ะซอ่ มรถยนต์ ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-30 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตวั แทน ประกันภยั เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะท่ีจะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด จ�าเลยท ี่ 2 และจ�าเลยที ่ 3 ซึง่ เป็นหนุ้ สว่ นผจู้ ัดการรบั ผดิ ได ้ เพราะการรบั ชว่ งสทิ ธิจะมีไดต้ อ่ เมอื่ ผรู้ ับช่วง สิทธมิ หี นอ้ี ันจะตอ้ งรับผดิ ตอ่ เจา้ หนีค้ ือเจา้ ของ เมือ่ โจทก์ไมใ่ ช่ผู้รับชว่ งสิทธิ โจทกจ์ ึงไมม่ ีอา� นาจฟ้อง 4. ผู้ยืมมีหน้าท่ีต้องคืนทรัพย์สินท่ียืมเม่ือได้ใช้สอยเสร็จแล้ว หลกั ในเรอ่ื งนปี้ รากฏอยใู่ นมาตรา 640 ดงั ทีบ่ ญั ญตั ิว่า “…ผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว” ทงั้ นเี้ น่อื งจากสญั ญา ยมื ใชค้ งรปู นนั้ กรรมสทิ ธแิ์ หง่ ทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื มไิ ดต้ กอยแู่ กผ่ ยู้ มื ฉะนนั้ เมอ่ื ไดม้ กี ารใชส้ อยเสรจ็ แลว้ หรอื เมอ่ื มกี ารบอกเลิก สญั ญากนั แล้ว ผ้ยู ืมก็มีหน้าที่ตอ้ งส่งคืนทรัพย์สนิ นน้ั ซ่ึงทรพั ย์สินท่ีต้องสง่ คืนนั้นต้องเป็น ทรพั ยส์ นิ อนั เดยี วกบั ทผี่ ใู้ หย้ มื ไดส้ ง่ มอบใหแ้ กผ่ ยู้ มื ไปเมอื่ แรกเรม่ิ ทา� สญั ญากนั ความขอ้ นแ้ี ตกตา่ งกบั สญั ญา ยมื ใชส้ นิ้ เปลอื งซงึ่ จะได ้ กลา่ วตอ่ ไปเพราะในสญั ญายมื ใชส้ นิ้ เปลอื งนนั้ ผยู้ มื คงคนื แตท่ รพั ยส์ นิ ทเี่ ปน็ ประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกบั ทรพั ยส์ ินท่ีได้รบั มอบมาเทา่ น้ัน จากทไี่ ดก้ ลา่ วมาแลว้ ว่า ในกรณีท่ีผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสทิ ธใิ์ นทรัพย์สนิ ถ้าทรัพยส์ นิ ซึ่งเป็น วัตถุแห่ง สัญญายืมใช้คงรูปได้บุบสลายหรือสูญหายไปโดยจะโทษผู้ยืมไม่ได้แล้ว ผู้ให้ยืมก็จะต้องรับเอา ความวนิ าศนนั้ เอง ดงั นัน้ ในทางกลับกนั ถ้าทรัพยส์ ินนัน้ ได้เกิดดอกผลธรรมดาขน้ึ เช่น ยมื กระบือตัวเมยี ไปไถนาแล้วกระบอื น้นั เกดิ ตกลูกออกมา ผู้ยืมก็ต้องคืนลูกกระบอื น้นั ใหแ้ กผ่ ู้ใหย้ ืมด้วย เพราะดอกผลของ กระบอื คอื ลูกกระบอื นั้นยอ่ มตกเปน็ ของผ้ใู ห้ยืม ตามนัยแหง่ ปพพ. มาตรา 1336 ในการส่งคืนทรพั ย์สนิ ที่ยมื เมือ่ ใชส้ อยเสรจ็ แลว้ น้ัน แยกพจิ ารณาได้คือ 4.1 ในกรณีท่ีการยืมใช้คงรูปนั้นมีก�าหนดเวลาส่งคืนไว้เป็นการแน่นอน เม่ือครบก�าหนด ผ้ยู มื ก็ต้องสง่ คืนทรพั ย์สินทย่ี ืมนน้ั ตามสภาพแหง่ การใชแ้ ละการส่งคนื โดยปกติ 4.2 ถ้าไม่มีก�าหนดเวลา ก็ต้องส่งคืนเมื่อใช้สอยเสร็จแล้วตามท่ีปรากฏในสัญญา เช่น ยืม รถยนตไ์ ปตากอากาศทพ่ี ทั ยา เมอ่ื กลบั จากพทั ยาแลว้ กต็ อ้ งสง่ คนื เพราะไดใ้ ชส้ อยเสรจ็ แลว้ ตามสญั ญา หรอื ถา้ ในสัญญาไม ่ ปรากฏว่ายืมไปใช้เพ่ือกิจการใด ผยู้ มื กต็ อ้ งส่งคนื เมอ่ื เวลาได้ลว่ งพ้นไปพอสมควรทจี่ ะได้ ใช้สอยทรพั ย์สินนั้นเสรจ็ แล้ว ขอใหร้ ะลกึ อยเู่ สมอวา่ มาตรา 643 มผี ลเกยี่ วโยงในการใชบ้ งั คบั แกผ่ ยู้ มื ดว้ ย หากผยู้ มื สง่ คนื ทรพั ย์ ทย่ี มื ลา่ ชา้ คอื เอาไวน้ านเกนิ กวา่ ทค่ี วร เชน่ ถงึ กา� หนดทจ่ี ะตอ้ งสง่ คนื กย็ งั ไมส่ ง่ คนื หรอื สญั ญาไมม่ กี า� หนด เวลาแต ่ อนุมานไดว้ า่ ยมื ใชเ้ พื่อการใด เมอื่ ใชเ้ พ่ือการนน้ั เสร็จแลว้ หรอื เวลาได้ผ่านไปพอสมควรแก่การใช้ นั้นแล้วก็ยังไม่ได้ส่งคืน หรือแม้แต่เวลาก็ไม่ได้ก�าหนด และไม่ทราบว่ายืมใช้เพ่ือการใดแต่ผู้ยืมก็เก็บเอา ทรพั ยส์ นิ นน้ั ไวน้ านเกนิ ควรทอดทงิ้ เสยี ไมใ่ ชจ้ นเวลาลว่ งเลยไป หากเกดิ ความเสยี หาย ผยู้ มื กต็ อ้ งรบั ผดิ ชอบ จากทไี่ ดก้ ล่าวมาแลว้ ในมาตรา 643 อนึ่ง ในเรอื่ งกา� หนดเวลาส่งคนื ทรพั ย์สนิ ทยื่ ืมนจ้ี ะไดน้ า� ไปกล่าวรายละเอยี ดในตอนที ่ 1.3 ในส่วน ทีว่ า่ ดว้ ยความระงับแหง่ สญั ญายมื ใชค้ งรูปตอ่ ไป มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้ืองต้นเกี่ยวกับสัญญายมื และสญั ญายืมใชค้ งรูป 1-31 กิจกรรม 1.2.2 1. จงกล่าวถงึ สิทธิและหน้าที่ของผยู้ มื ในสัญญายืมใชค้ งรูปมาโดยสังเขป 2. ดา� ให้แดงยืมรถยนตไ์ ปท�าธรุ ะทีภ่ ูเก็ตเป็นเวลา 10 วัน เม่อื ครบกา� หนด 10 วนั แล้ว แดงเกดิ มี ธรุ ะจะตอ้ งไปทา� ตอ่ ทน่ี ครศรธี รรมราชอกี 7 วนั จงึ ขบั รถตอ่ ไปทา� ธรุ ะทนี่ ครศรธี รรมราช หลงั จากนน้ั จงึ ขบั รถกลบั กรุงเทพมหานคร ระหว่างนนั้ มฝี นตกพายพุ ัดอย่างหนัก แดงไม่สามารถจะขับรถหนีไปได ้ จงึ ตอ้ ง จอดรถอยู่ข้างทางจนกระท่ังพายุสงบเป็นเหตุให้รถยนต์ของด�าต้องแช่น�้าอยู่หลายชั่วโมงท�าให้เครื่องยนต์ เสียหายตอ้ งซอ่ มแซมเปน็ เงนิ 3,000 บาท ดังนี้ ด�าจะเรียกคา่ ซอ่ มแซมจากแดงไดห้ รอื ไม่ แนวตอบกิจกรรม 1.2.2 1. สิทธิและหน้าท่ีของผู้ยืม แบ่งเปน็ 1.1 สทิ ธิของผยู้ ืม คือ 1) มสี ทิ ธใิ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื ไดเ้ ปลา่ โดยไมต่ อ้ งเสยี คา่ ตอบแทนตามสภาพปกตขิ อง ทรัพยแ์ ละตามข้อตกลงในสัญญา 2) มีสทิ ธิตอ่ บุคคลภายนอกในฐานะเป็นผ้คู รอบครองทรัพย์สนิ ทย่ี ืม มสี ทิ ธขิ ดั ขวางมิ ให้ผู้อ่ืนสอดเขา้ มาเกี่ยวข้องในทรัพยน์ ัน้ โดยมิชอบดว้ ยกฎหมาย 1.2 หน้าทีข่ องผ้ยู ืม คอื 1) หนา้ ท่ีเสยี ค่าใช้จ่ายในการยมื 2) หน้าท่ีในการใช้ทรพั ยท์ ี่ยมื โดยชอบ 3) หนา้ ทีใ่ นการสงวนรกั ษาทรัพย์สินท่ยี มื เชน่ วญิ ญชู น 4) หนา้ ทใ่ี นการส่งคืนทรัพยส์ นิ ท่ียมื เม่อื ใชส้ อยเสร็จแลว้ 2. ตามอุทาหรณ ์ เปน็ การยมื ใชค้ งรปู แดงต้องคนื ทรพั ย ์ คือรถยนตน์ ัน้ เมื่อครบกา� หนด 10 วัน การท่ี แดงเอารถไปใช้ท่ีนครศรีธรรมราชต่ออีก 7 วัน เป็นการเอาทรัพย์ที่ยืมไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว ้ เปน็ การฝ่าฝนื มาตรา 643 เมอื่ รถเกดิ เสยี หายในระหว่างทีแ่ ดงใช้รถโดยมชิ อบ แม้จะเป็นดว้ ยเหตสุ ดุ วิสยั แดงกต็ ้องรบั ผดิ ชดใชค้ า่ ซอ่ มแซมรถดังกล่าวใหแ้ กด่ �า มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยมื ฝากทรพั ย์ ตวั แทน ประกันภยั มสธ เรื่องที่ 1.2.3มส สิทธิและหน้าท่ีของผู้ให้ยืมใช้คงรูป ในเรอื่ งท ี่ 1.2.2 นกั ศกึ ษาไดท้ ราบถงึ สทิ ธแิ ละหนา้ ทข่ี องผยู้ มื ในสญั ญายมื ใชค้ งรปู แลว้ ตอ่ ไปจะได้ กลา่ วถึงสทิ ธิและหน้าท่ีของผูใ้ หย้ ืม สิทธิของผู้ให้ยืมใช้คงรูป แยกอธบิ ายได้ ดังนี้ 1. สทิ ธบิ อกเลกิ สญั ญาเมอื่ ผยู้ มื บกพรอ่ งในหนา้ ทข่ี องผยู้ มื เชน่ กรณไี มใ่ ชท้ รพั ยส์ นิ ทย่ี มื ตามปกติ หรือตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ เอาไปไว้นานกว่าท่ีควร (มาตรา 643) หรือไมส่ งวนรกั ษาทรพั ย์สนิ ทยี่ มื เช่นวญิ ญชู นพึงสงวนทรพั ย์สินของตน (มาตรา 644) ดังที่ มาตรา 645 บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีท้ังหลายดังกล่าวไว้ในมาตรา 643 น้ีก็ดี หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความใน มาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้” 2. สิทธิเรยี กเอาทรัพย์คืนหรือให้ใชร้ าคา ซงึ่ เปน็ สิทธิตามสญั ญายมื ใช้คงรูป ผู้ใหย้ ืมมสี ทิ ธิเรยี ก ทรพั ย์สนิ ท่ีให้ยมื คนื ไดห้ รือเรียกใหช้ ดใช้ราคาเมือ่ ไมม่ ตี วั ทรพั ยน์ นั้ แลว้ ในกรณีดงั ตอ่ ไปน้คี ือ 2.1 เม่อื บอกเลกิ สญั ญาตาม มาตรา 645 แลว้ 2.2 เม่ือครบก�าหนดเวลาส่งคืน ส�าหรับก�าหนดเวลาในการส่งคืนทรัพย์สินท่ียืมนี้มีบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 646 ซึ่งจะได้น�าไปกล่าวโดยละเอียดในตอนท่ี 1.3 ซ่ึงว่าด้วยความระงับแห่งสัญญายืมใช้ คงรูป ในที่น้ี สรปุ ได้วา่ ถา้ สัญญายมื ใชค้ งรูปมกี �าหนดเวลาสง่ คืนไว้ ผใู้ หย้ ืมกเ็ รยี กทรพั ยส์ นิ ทีใ่ ห้ยืมคนื ได้ เมอื่ ถงึ เวลาทก่ี า� หนด หรอื หากมไิ ดก้ า� หนดเวลากนั ไวก้ เ็ รยี กคนื ไดเ้ มอื่ ผยู้ มื ไดใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื เสรจ็ แลว้ หรอื เมื่อเวลาลว่ งพน้ ไปพอทจ่ี ะใชเ้ สรจ็ แลว้ ในบางกรณที ม่ี ไิ ดก้ �าหนดเวลาสง่ คนื กนั ไว ้ และไมป่ รากฏวา่ จะ น�าไปใช้ในการใด ผู้ให้ยมื ก็จะเรยี กคืนเมอ่ื ใดกไ็ ด้ 2.3 ในกรณที ผ่ี ยู้ มื ตาย ซง่ึ มาตรา 648 บญั ญตั ใิ หส้ ญั ญายมื ใชค้ งรปู ระงบั ลง ผใู้ หย้ มื กม็ สี ทิ ธิ เรยี กทรพั ยส์ นิ คนื ไดแ้ มจ้ ะยงั ไมค่ รบกา� หนดระยะเวลากต็ าม แตส่ า� หรบั ผู้ให้ยืมน้ัน การตายของผู้ให้ยืมไม่ เป็นเหตุให้สัญญายืมใช้คงรูประงับ (สา� หรบั กรณที ย่ี งั ไมถ่ งึ กา� หนดเวลาสง่ คนื ทรพั ยห์ รอื เปน็ การยมื ตลอด อายุผู้ยืม) ดังน้ัน ทายาทของผู้ให้ยืมจึงจะเรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมน้ันคืนยังไม่ได้ (ฎ. 338/2479) เว้นแต่ กรณที ผ่ี ยู้ มื ปฏบิ ตั ผิ ดิ หนา้ ทตี่ ามมาตรา 643 หรอื มาตรา 644 ทายาทของผใู้ หย้ มื จงึ จะบอกเลกิ สญั ญาและ เรยี กทรพั ยค์ ืนได้ตามมาตรา 645 3. ในกรณที ผี่ ใู้ หย้ มื เปน็ เจา้ ของทรพั ยส์ นิ หรอื มสี ทิ ธคิ รอบครองทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื ผใู้ หย้ มื กม็ สี ทิ ธติ าม กฎหมายติดตามเอาทรัพย์สินท่ียืมน้ันคืนหากทรัพย์สินน้ันไปตกอยู่กับบุคคลภายนอก ท้ังน้ี ด้วยอ�านาจ แหง่ กรรมสทิ ธิแ์ ละสิทธคิ รอบครอง ตาม ปพพ. มาตรา 1336 และมาตรา 1367 ประกอบมาตรา 1372 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้ืองตน้ เกย่ี วกบั สัญญายืมและสัญญายมื ใชค้ งรปู 1-33 อุทาหรณ์มสธ ฎ. 643/2480 ยมื ของเขาไปแลว้ ไมส่ ง่ คนื เมอื่ ของนน้ั ไปตกอยทู่ บี่ คุ คลอน่ื ผใู้ หย้ มื ยอ่ มมสี ทิ ธติ ดิ ตามมส เอาของคนื จากบุคคลนนั้ ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ฎ. 1407/2538 โจทกเ์ ปน็ เจา้ ของกรรมสทิ ธทิ์ รพั ยพ์ พิ าทรายการท ่ี 1 ถงึ ท ี่ 4 จงึ มสี ทิ ธติ ดิ ตามเอาคนื จากจา� เลยได ้ ทรัพย์พพิ าทรายการท ่ี 5 ไม่ใชท่ รพั ย์ของโจทกแ์ ตเ่ ปน็ ทรัพย์ของผ้อู ืน่ ท่ีโจทกข์ อยมื มาแลว้ ให ้ ท. ยมื ไปอกี ตอ่ หนงึ่ ดงั น ี้ ถอื ไดว้ า่ โจทกเ์ ปน็ ผทู้ รงสทิ ธคิ รอบครองในทรพั ยพ์ พิ าทรายการน ้ี เมอื่ ทรพั ย์ พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจ�าเลยโดยจ�าเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ โจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในทรพั ยร์ ายการน้ยี อ่ มมสี ิทธิตดิ ตามเอาคืนจากจา� เลยผไู้ มม่ สี ทิ ธิยดึ ถือไวไ้ ด้ 4. ในกรณีท่ีผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิที่จะได้ดอกผลธรรมดาอันเกิดจาก ทรพั ยส์ นิ ทใี่ หย้ มื ในระหวา่ งการยมื ใชท้ รพั ยส์ นิ นน้ั ทงั้ นด้ี ว้ ยอา� นาจแหง่ กรรมสทิ ธ ์ิ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 เช่นเดียวกัน ตัวอย่างท่ีเคยได้กล่าวถึงมาแล้ว เช่น ให้ยืมแม่กระบือไปใช้ไถนา ในระหว่างน้ันแม่กระบือ ตกลูกออกมา ลูกกระบือย่อมเป็น กรรมสิทธิ์ของผู้ให้ยืมซึ่งเป็นเจ้าของแม่กระบือ ซึ่งผู้ยืมต้องส่งมอบให้ แกผ่ ใู้ หย้ มื 5. สิทธทิ ่จี ะเรยี กค่าทดแทนหรอื ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งแบง่ ได ้ ดงั น้ี 5.1 สิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเมื่อผู้ยืมปฏิบัติผิดหน้าท่ีจนท�าให้เกิด ความเสียหายตามมาตรา 643 ซ่ึงได้กล่าวมาแล้วในเรื่องหน้าท่ีของผู้ยืม กล่าวคือ ไม่ใช้ทรัพย์ตามปกติ หรอื ตามขอ้ ตกลงในสญั ญา เอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใช ้ หรอื เอาไวน้ านกวา่ ทคี่ วร จนกระทงั่ ทา� ใหเ้ กดิ ความ บุบสลายหรือสูญหายในทรัพย์สินที่ยืม ดังนี้ ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิจะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่ เกดิ ขน้ึ ได2้ 5 แมค้ วามเสยี หายนน้ั จะเกดิ จากเหตสุ ดุ วสิ ยั กต็ าม เวน้ แตผ่ ยู้ มื จะพสิ จู นไ์ ดว้ า่ ถงึ อยา่ งไรทรพั ยส์ นิ นั้นก็จะตอ้ งบบุ สลาย หรือสญู หายอยู่น่นั เอง ขอใหน้ กั ศึกษาย้อนกลบั ไปดรู ายละเอยี ดในเร่อื งท่ี 1.2.2 ทว่ี า่ ดว้ ยหนา้ ท่ขี องผู้ยมื ดงั ได้กลา่ วแล้ว 5.2 สิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายท่ีผู้ให้ยืมได้รับเนื่องจากการท่ีผู้ยืมไม่ สงวนทรัพย์สินทยี่ มื เช่นวญิ ญชู นจะพึงสงวนทรัพยส์ นิ ของตน ตาม ปพพ. มาตรา 644 ซง่ึ ไดก้ ลา่ วมาแลว้ เชน่ เดยี วกัน 5.3 สิทธิเรยี กคา่ สินไหมทดแทนความเสยี หายจากการท่ีผยู้ ืมไม่ส่งทรัพย์สนิ คนื ตามมาตรา 646 เช่น ครบกา� หนดส่งคนื ทรัพย์แลว้ ผ้ยู ืมกย็ งั ไมส่ ง่ คืนใหจ้ นกระทั่งทรัพยน์ ัน้ ถกู ขโมยลกั ไป ผใู้ ห้ยืมก็มี สทิ ธเิ รยี กคา่ สนิ ไหมทดแทนความเสยี หายดงั กลา่ วไดโ้ ดยอาศยั มาตรา 643 ประกอบ มาตรา 646 เพราะ เปน็ กรณที ผ่ี ยู้ มื ผดิ สญั ญาไมส่ ง่ คนื ทรพั ยต์ ามกา� หนด แมค้ วามเสยี หายแกท่ รพั ยจ์ ะเกดิ ขนึ้ โดยตนมไิ ดเ้ ปน็ ผทู้ า� ละเมดิ เองกต็ าม แตเ่ หตทุ เ่ี กดิ ขนึ้ คอื การทท่ี รพั ยถ์ กู ขโมยลกั ไปนนั้ อยใู่ นระหวา่ งเวลาทผี่ ยู้ มื ผดิ สญั ญา ไม่สง่ คืนทรพั ย์ กฎหมายจึงให้ผู้ยืมรับผดิ ในความเสยี หายน้ี 5.4 สทิ ธเิ รยี กคา่ ทดแทนในคา่ ใชจ้ า่ ยตา่ งๆ ทผ่ี ใู้ หย้ มื จา่ ยไปแทนผยู้ มื เชน่ คา่ ฤชาธรรมเนยี ม ในการท�าสัญญา ค่าส่งมอบ ค่าส่งคืนทรัพย์สินตามมาตรา 642 ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบ�ารุงรักษา 25 ฎ. 1892/2535 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตวั แทน ประกนั ภัย มสธ ทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื ตามปกตติ ามมาตรา 647 เนอื่ งจากกฎหมายบญั ญตั ใิ หค้ า่ ใชจ้ า่ ยตา่ งๆ ดงั กลา่ วเหลา่ น ้ี ผยู้ มืมส ตอ้ งเป็นผ้เู สยี ดงั นั้น เมอ่ื ผ้ใู หย้ ืมตอ้ งจ่ายแทนไปใหก้ อ่ น จงึ มสี ิทธิเรียกคืนเอาจากผู้ยืมได้ อนึ่ง สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามที่ได้กล่าวมาน้ีเป็นสิทธิเรียกร้องท่ีเกิดจากสัญญายืมใช้คงรูป เทา่ นน้ั ไมเ่ กยี่ วกบั การทา� ใหท้ รพั ยส์ นิ ทย่ี มื เสยี หายโดยละเมดิ ซง่ึ ถา้ ผยู้ มื เปน็ ผทู้ า� ละเมดิ ผยู้ มื กต็ อ้ งรบั ผดิ ในเหตุละเมดิ ต้องชดใชค้ า่ สินไหมทดแทนในเหตนุ ั้นเป็นอีกเรือ่ งหน่ึงตา่ งหาก หน้าท่ีของผู้ให้ยืมใช้คงรูป ปพพ. ไม่ไดบ้ ญั ญตั ถิ งึ หนา้ ท่ขี องผู้ใหย้ ืมในสญั ญายืมใช้คงรูปไว้แตป่ ระการใดเลย นอกเหนอื จาก การปฏิบตั หิ นา้ ทอ่ี ันเป็นสาระส�าคัญของสัญญาคือการสง่ มอบทรัพยส์ นิ ให้ผยู้ ืม เพือ่ ให้สญั ญายืมใช้คงรปู มี ผลบริบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับกันได้แล้วก็ไม่มีบัญญัติถึงหน้าท่ีของผู้ให้ยืมไว้ประการใดอีก แต่แม้จะ ไมม่ บี ทบญั ญตั ไิ วช้ ดั แจง้ เชน่ นนั้ โดยหลกั ทวั่ ไปตามลกั ษณะของสญั ญายมื ใชค้ งรปู ผใู้ หย้ มื ยอ่ มมหี นา้ ทอ่ี ยู่ บางประการและอาจจะต้องรับผิดต่อผู้ยืมในการละเลยต่อหน้าท่ี ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ยืมเช่น เดยี วกนั ซง่ึ แยกอธบิ ายได้ดังตอ่ ไปนี้ 1. หนา้ ทท่ี จี่ ะตอ้ งบอกกลา่ วใหผ้ ยู้ มื ไดท้ ราบถงึ การชา� รดุ บกพรอ่ งหรอื บบุ สลายแหง่ ทรพั ยท์ ใ่ี หย้ มื ในกรณที ่ีมิได้มกี ารตกลงกันไว้เป็นอยา่ งอน่ื หากทรัพยส์ นิ ที่ใหย้ มื นน้ั มกี ารชา� รุดบกพรอ่ งหรือบบุ สลายซึ่ง ผใู้ หย้ มื ไดร้ อู้ ยแู่ ลว้ กอ่ นการสง่ มอบวา่ ทรพั ยส์ นิ นน้ั ชา� รดุ บกพรอ่ งหรอื บบุ สลาย ซง่ึ อาจเกดิ อนั ตรายเสยี หาย แก่ผู้ยืมได้แล้ว ผู้ยืมมีหน้าท่ีจะต้องบอกกล่าวให้ผู้ยืมได้ทราบถึงการช�ารุดบกพร่องหรือบุบสลายแห่ง ทรพั ย์สินทใี่ หย้ มื น ้ี เชน่ ให้ยมื รถท่เี บรคไมด่ ีอยแู่ ลว้ ถา้ ผู้ให้ยมื ไดท้ ราบถึงการช�ารุดบกพรอ่ งดังกล่าวแลว้ ปิดบังไม่แจ้งให้ผู้ยืมทราบ เม่ือผู้ยืมน�ารถไปใช้แล้วเกิดเบรคแตก ท�าให้รถพลิกคว่�า ผู้ยืมได้รับบาดเจ็บ ผู้ใหย้ ืมจะตอ้ งรับผิดชดใชค้ ่าเสียหายทเี่ กิดข้นึ ใหแ้ กผ่ ู้ยืม 2. หน้าท่ีท่ีจะต้องไม่ขัดขวางในการที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินตามสัญญา เว้นแต่กรณีสัญญา ยืมระงับลงแลว้ ไมว่ ่าด้วยเหตใุ ด 3. หน้าท่ีท่ีจะต้องรับผลแห่งภัยพิบัติแห่งทรัพย์สินที่ให้ยืมเอง ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของ ทรัพยส์ ิน หากทรพั ยส์ นิ ท่ใี ห้ยมื น้ันเกดิ บุบสลายหรอื สูญหายไปเนอ่ื งมาจากการใช้ทรัพยส์ นิ ทีย่ ืมโดยปกติ ไม่ฝ่าฝืนมาตรา 643, 644 คือ ไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม ท้ังน้ีเพราะสัญญายืมใช้คงรูปนั้นกรรมสิทธ์ิยังอยู่ กบั ผใู้ หย้ มื ซง่ึ เปน็ เจา้ ของทรพั ยส์ นิ อยโู่ ดยบรบิ รู ณ ์ เจา้ ของกรรมสทิ ธจิ์ งึ ตอ้ งรบั ความวนิ าศแหง่ ทรพั ยส์ นิ นน้ั ไปเองตามหลัก Res perit domino ความวนิ าศตกเปน็ พบั แกเ่ จ้าของ อุทาหรณ์ ฎ. 534/2506 จ�าเลยยืมรถของโจทก์ไปใช้และได้ขับไปตามปกติทื่ยืมมาตามท่ีตกลงกัน ระหว่าง ทางถกู รถของบุคคลภายนอกชนท�าใหร้ ถเสยี หายโดยมใิ ชเ่ พราะความผิดของจ�าเลย ดังน้ีจา� เลยผูย้ มื จงึ ไม่ ตอ้ งรบั ผดิ ใน ความเสยี หายนน้ั ตอ่ โจทกผ์ ใู้ หย้ มื โจทกช์ อบทจ่ี ะฟอ้ งรอ้ งจากบคุ คลภายนอกผกู้ ระทา� ละเมดิ ฎ. 526/2529 โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพ่ือใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์ จากผขู้ ายมาใชก้ อ่ น ในวนั เกดิ เหตจุ า� เลยยมื รถยนตค์ นั ดงั กลา่ วจากโจทกไ์ ปใชแ้ ละเกดิ อบุ ตั เิ หตไุ ดร้ บั ความ เสียหาย โจทก์จึงฟ้องให้จา� เลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูป เมื่อรถยนต์คันท่ีจ�าเลยยืมไปใช้เกิดอุบัติเหตุ ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้อื งต้นเกยี่ วกบั สัญญายมื และสญั ญายมื ใชค้ งรูป 1-35 ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่น รถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายข้ึนในระหว่างที่โจทก์ดูแล และทดลองใช้อยู่ โจทก์ช�าระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้ว จ�าเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก ์ ตามค�าฟอ้ งดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตาม ปพพ. มาตรา 643 ท่ีจะท�าให้จา� เลยต้องรบั ผดิ ต่อโจทกใ์ นความ เสยี หายทเี่ กดิ ขน้ึ เลย จา� เลยจงึ ไมต่ อ้ งรบั ผดิ ชดใชค้ า่ เสยี หายใหโ้ จทก ์ (หมายเหต-ุ ฟอ้ งใหร้ บั ผดิ ตามสญั ญา ยืมใชค้ งรปู ศาลฎกี าเหน็ ว่าไม่มีเหตตุ ามมาตรา 643 ท่ีจะให้ผู้ยืมรบั ผิด-ผู้เขียน) ฎ. 1892/2535 โจทกฟ์ อ้ งวา่ จา� เลยท ่ี 1 ไดข้ อยมื รถจากโจทกโ์ ดยสญั ญาวา่ จะไมน่ า� รถของโจทกไ์ ป ให้บุคคลภายนอกใช้สอย แตก่ ลบั ผิดสญั ญาโดยนา� รถของโจทกไ์ ปใหจ้ �าเลยท่ี 2 ยมื ไปขบั จา� เลยท่ ี 2 ได้ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทในขณะมึนเมาสุราและขับด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้รถแฉลบเสียหลัก พลกิ ควา่� รถของโจทกไ์ ดร้ บั ความเสยี หายซงึ่ ทา� ใหโ้ จทกเ์ สยี หาย ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา่ คดนี โี้ จทกฟ์ อ้ งจา� เลย ท ่ี 2 ท ี่ 3 ท ่ี 4 ในฐานละเมดิ เพราะจา� เลยท ี่ 2 ไดข้ บั รถของโจทกโ์ ดยประมาท เปน็ เหตใุ หร้ ถของโจทกพ์ ลกิ คว่�าเสียหาย จ�าเลยท่ี 3 ท่ี 4 ในฐานะบิดามารดามิได้ใชค้ วามระมดั ระวังตามสมควรแกห่ นา้ ท่ดี ูแลจา� เลย ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจ�าเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตาม สญั ญายมื กต็ ามก็หาตัดสทิ ธิโจทกท์ ีจ่ ะฟ้องจ�าเลยท ี่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ฐานละเมิดด้วยไม่ ฎ. 2766/2551 เหตลุ ะเมดิ ทเ่ี กดิ ขนึ้ แกร่ ถยนตท์ โี่ จทกย์ มื มาจากมารดาโจทกซ์ งึ่ เปน็ เจา้ ของเนอ่ื งจาก ความผดิ ของหา้ งหนุ้ สว่ นจา� กดั จา� เลยท ี่ 2 ซง่ึ เปน็ บคุ คลภายนอกทรี่ บั จา้ งกรมทางหลวงจา� เลยท ี่ 1 กอ่ สรา้ ง ถนนโจทก์ในฐานะผยู้ มื จงึ ไมต่ ้องรบั ผิดตอ่ เจา้ ของทรพั ย ์ ตาม ปพพ. มาตรา 643 4. ถ้าผู้ยืมต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยกรณีจ�าเป็น ซ่ึงมิใช่เป็นการบ�ารุงรักษาตามปกติ ท้ังน้ีเพื่อ เป็นการรักษาหรือป้องกันอันตรายซ่ึงอาจเกิดจากการช�ารุดบกพร่องหรือบุบสลายของทรัพย์น้ัน ผู้ให้ยืม ต้องชดใช้คา่ ใชจ้ า่ ยดังกลา่ วทผี่ ยู้ ืมไดเ้ สยี ไปให้แกผ่ ้ยู มื เช่น ให้ยมื รถไปใช้ผูย้ ืมกใ็ ชร้ ถตามปกต ิ แต่เพราะ ความเก่าของรถ ลูกสูบรถเกิดเสียหายโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องซ่อมโดยพลันเพื่อที่จะเอารถ กลับมาได้ ผู้ใหย้ ืมตอ้ งชดใชค้ า่ เปลีย่ นลกู สูบรถแก่ผูย้ ืมเพราะเกิดจากการช�ารดุ บกพร่องซ่งึ ไม่ใช่เรือ่ งปกติ ของตวั ทรพั ยน์ ัน้ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-36 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกนั ภยั กิจกรรม 1.2.3 สิทธิและหนา้ ท่ขี องผใู้ หย้ ืมในสญั ญายมื ใชค้ งรูปมอี ยา่ งไรบา้ ง จงอธิบายโดยสังเขป แนวตอบกิจกรรม 1.2.3 สิทธิของผู้ให้ยมื คอื 1. บอกเลกิ สญั ญาและเรยี กค่าสนิ ไหมทดแทนความเสยี หายในกรณผี ยู้ มื ทา� ผดิ หนา้ ทต่ี ามมาตรา 643, 644, 646 2. เรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ยืมเม่ือบอกเลิกสัญญาหรือเมื่อครบก�าหนดสัญญายืม หรือถ้าไม่มี กา� หนด เวลา เมอ่ื ผยู้ มื ไดใ้ ชส้ อยทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื นนั้ เสรจ็ สนิ้ แลว้ หรอื เมอื่ เวลาไดล้ ว่ งพน้ ไปพอสมควรทผี่ ยู้ มื จะไดใ้ ชส้ อย ทรัพยเ์ สร็จแลว้ หรอื ถา้ ไม่ได้ก�าหนดเวลาส่งคนื ไว้ และไมป่ รากฏว่ายมื ไปใชเ้ พอื่ การใด ผ้ใู ห้ ยืมเรียกทรัพยส์ ินคืนได้ทนั ที หนา้ ทข่ี องผใู้ ห้ยมื คอื 1. หน้าที่รับผลแห่งภัยพิบัติในทรัพย์ท่ียืม เม่ือทรัพย์น้ันเกิดสูญหายหรือบุบสลายไปโดยไม่ใช่ ความผิดของผ้ยู ืม 2. หนา้ ทตี่ อ้ งบอกกลา่ วแกผ่ ยู้ มื ในเวลาสง่ มอบทรพั ย ์ หากผใู้ หย้ มื ไดร้ วู้ า่ มคี วามชา� รดุ บกพรอ่ งใน ทรพั ยท์ จ่ี ะใหย้ มื อยา่ งไร หากปดิ บงั ไวไ้ มบ่ อกกลา่ วแลว้ เกดิ ความเสยี หายขน้ึ แกผ่ ยู้ มื เมอ่ื นา� ทรพั ยน์ น้ั ไปใช้ ผใู้ หย้ ืมต้องรับผดิ ชอบ 3. หน้าท่ไี ม่ขดั ขวางการใช้สอยทรพั ย์สินของผู้ยมื ตามสัญญา 4. หน้าท่ีชดใช้ค่าใช้จ่ายท่ีผู้ยืมได้จ่ายทดรองไปก่อนในกรณีจ�าเป็นเพื่อรักษาทรัพย์ท่ียืมซ่ึงมิใช่ เปน็ การบา� รุงรกั ษาตามปกติ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบอื้ งตน้ เก่ยี วกับสัญญายืมและสญั ญายืมใช้คงรปู 1-37 ตอนที่ 1.3 ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป โปรดอ่านหวั เรือ่ ง แนวคิด และวตั ถุประสงค์ของตอนที่ 1.3 แล้วจึงศกึ ษารายละเอียดต่อไป หัวเร่ือง 1.3.1 ความระงบั แห่งสัญญายืมใชค้ งรปู ในกรณีปกติ 1.3.2 ความระงบั แห่งสญั ญายมื ใชค้ งรปู ในกรณพี เิ ศษ 1.3.3 อายุความแหง่ สัญญายมื ใช้คงรูป แนวคิด 1. สัญญายืมใช้คงรูประงับไปในกรณีปกติ เม่ือครบก�าหนดเวลายืม หรือเม่ือผู้ยืมใช้สอย ทรัพยส์ ินทย่ี มื เสรจ็ แล้ว และเมอื่ ผยู้ ืมสง่ คนื ทรพั ย์สนิ ทยี่ ืมแมจ้ ะยังไมค่ รบกา� หนดเวลา 2. สัญญายืมใช้คงรูปอาจจะระงับไปในกรณีพิเศษ เม่ือผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญา เน่ืองจากผยู้ มื ผิดสญั ญา หรอื เมือ่ ทรพั ยส์ นิ ทยี่ ืมน้นั สญู หายไปท้ังหมด 3. อายคุ วามแหง่ สัญญายมื ใชค้ งรูปมที ัง้ อายุความในการเรยี กทรัพยส์ นิ คนื หรือให้ใชร้ าคา และอายคุ วามในการเรยี กคา่ ทดแทนตามสญั ญา วัตถุประสงค์ เมือ่ ศึกษาตอนที ่ 1.3 จบแลว้ นกั ศึกษาสามารถ 1. อธิบายความระงับแหง่ สญั ญายืมใชค้ งรปู ในกรณีปกตแิ ละในกรณพี เิ ศษได้ 2. อธิบายอายคุ วามแหง่ สญั ญายืมใชค้ งรูปได้ 3. วินจิ ฉยั ปญั หาเกยี่ วกับเร่ืองความระงบั และอายุความแห่งสัญญายืมใชค้ งรูปได้ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-38 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตวั แทน ประกนั ภัย มสธ เรื่องที่ 1.3.1มส ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีปกติ สญั ญายมื ใชค้ งรปู ระงบั ไปอยา่ งปกตธิ รรมดาคอื ไมม่ เี หตกุ ารณพ์ เิ ศษเกดิ ขน้ึ ตามทมี่ บี ทบญั ญตั ไิ ว้ ในเร่อื งการยืมใช้คงรปู ดังน้ี 1. ถ้าคู่สัญญาได้ก�าหนดระยะเวลายืมกันไว้ในสัญญา สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเม่ือพ้นก�าหนดระยะเวลาท่ีได้ตกลงกันไว้น้ันเหมือนกับสัญญา ธรรมดา ท่ัวไป เช่น สัญญายืมพัดลมมีก�าหนด 5 วัน เมื่อครบก�าหนด 5 วัน สัญญาย่อมระงับลงทันท ี ผยู้ มื กต็ อ้ งสง่ คนื พดั ลมใหแ้ กผ่ ใู้ หย้ มื ทนั ท ี ในเรอ่ื งระยะเวลายมื นอ้ี าจกา� หนดกนั ตลอดชวี ติ กไ็ ด ้ แมก้ ฎหมาย ในเรอื่ งนจ้ี ะมไิ ด ้ บญั ญตั ไิ ว ้ แตส่ ญั ญายมื เปน็ เรอื่ งของบคุ คลสทิ ธ ิ และโดยเฉพาะการยมื ใชค้ งรปู นนั้ ถอื ความ ส�าคัญเฉพาะตัวผู้ยืม เป็นหลัก คู่สัญญาจึงอาจจะตกลงให้ยืมกันนานเท่าใดก็เป็นเรื่องความพอใจของคู่ สัญญา หากไม่เป็นการขัดต่อ สิทธิของผู้อ่ืนในทรัพย์น้ัน เช่น หากผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ให้ยืม ได้แก ่ เปน็ ผเู้ ช่าหรือผ้คู รอบครองทรัพย์กย็ ่อมใหย้ ืมได้เพยี งเท่าที่ไมเ่ กินกา� หนดระยะเวลาทตี่ นมสี ทิ ธิตาม สญั ญาเชา่ ทรพั ย ์ หรอื กา� หนดเวลาครอบครองทรพั ยแ์ ลว้ แตก่ รณ ี แตถ่ า้ ผใู้ หย้ มื เปน็ เจา้ ของทรพั ยส์ นิ กไ็ มม่ ี ปญั หาในเรอ่ื งน ้ี ขอ้ สา� คญั คอื ถา้ ไดก้ า� หนดระยะเวลายมื กนั ไว ้ ผใู้ หย้ มื จะเรยี กทรพั ยส์ นิ คนื กอ่ นกา� หนดไมไ่ ด้ อุทาหรณ์ ฎ. 338/2479 คสู่ ญั ญาตกลงกนั ใหย้ มื ทรพั ยส์ นิ ตลอดชวี ติ ผยู้ มื ได ้ แมผ้ ใู้ หย้ มื ตายกอ่ นผยู้ มื ทายาท ของผใู้ ห้ยืมจะเรยี กทรัพยส์ นิ คืนก่อนกา� หนดไมไ่ ด้ 2. ถ้าคู่สัญญามิได้ก�าหนดระยะเวลายืมกันไว้ มาตรา 646 บัญญัติว่า “ถ้ามิได้ก�าหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอย ทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนน้ันก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วง ไปพอแก่การท่ีผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้ก�าหนดกันไว้ ท้ังในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะ เรียกของคืนเมื่อไรก็ได้” ตามมาตรา 646 นี้ แยกอธบิ ายได ้ คือ 2.1 กา� หนดเวลายมื ไมไ่ ดต้ กลงกนั ไวแ้ นน่ อน แตเ่ มอื่ พจิ ารณาจากสญั ญาแลว้ ไดค้ วามวา่ คสู่ ญั ญา ไดต้ กลงยมื ทรพั ยส์ นิ ไปใชเ้ พอื่ การใด ซง่ึ หากปรากฏความขอ้ นแี้ ลว้ สญั ญายมื ใชค้ งรปู ยอ่ มครบกา� หนดเมอื่ ผู้ยืมได้ใชส้ อยทรัพยส์ ินเพ่ือการนน้ั แล้ว เชน่ ยมื รถไปตากอากาศท่ีพัทยา เม่ือผยู้ ืมได้ใชร้ ถไปในการตาก อากาศที่พัทยาและกลบั มาแลว้ ผู้ใหย้ มื เรยี กรถคนื ได ้ ซึ่งมผี ลทา� ใหส้ ญั ญายมื ใช้คงรปู ระงับลง ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบ้อื งตน้ เกย่ี วกับสัญญายืมและสญั ญายืมใชค้ งรปู 1-39 มสธ 2.2 กา� หนดเวลายมื ไมไ่ ดต้ กลงกนั ไว ้ แตไ่ ดค้ วามวา่ คสู่ ญั ญาไดต้ กลงยมื ทรพั ยส์ นิ ไปใชเ้ พอื่ การใดมส เช่นกรณตี ามขอ้ ก. แตแ่ ม้ผูย้ ืมยังไมไ่ ดใ้ ช้สอยทรพั ยส์ นิ เพอื่ การที่ไดต้ กลงไว้ในสัญญากต็ าม หากเวลาได้ ลว่ งไปพอแกก่ ารท่ผี ู้ยืมจะได้ใชส้ อยเสรจ็ แลว้ ผู้ใหย้ ืมเรยี กทรพั ยส์ ินทใ่ี หย้ มื นัน้ คืนได ้ ซ่งึ มผี ลทา� ให้สญั ญา ยมื ใชค้ งรปู ระงบั ในทสี่ ดุ เชน่ กรณตี ามอทุ าหรณข์ า้ งตน้ คอื ยมื รถไปพทั ยา ผยู้ มื ไมไ่ ดใ้ ชร้ ถทย่ี มื นนั้ แตก่ ไ็ ด้ ไปพทั ยาและเดนิ ทางกลบั มาแลว้ เชน่ นผี้ ูใ้ ห้ยมื เรยี กรถที่ให้ยมื ไปน้ันคืนได้ 2.3 กา� หนดเวลายมื ไมไ่ ดต้ กลงกนั ไว ้ และในสญั ญายมื ใชค้ งรปู นนั้ กไ็ มป่ รากฏวา่ ยมื ไปใชเ้ พอ่ื การ ใด ดังนี้ผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์สินท่ียืมคืนเม่ือใดก็ได้ซ่ึงมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญา ท�าให้สัญญายืมใช้คงรูป ระงับลง ท้ังน้ีเป็นไปตามหลักทั่วไปในเร่ืองเวลาอันพึงช�าระหน้ีมิได้ก�าหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจาก พฤติการณท์ ้ังปวงก็ไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 203 3. เมื่อผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินท่ียืม เรือ่ งน้ีเป็นไปตามหลกั ธรรมดาของสญั ญายมื ใช้คงรูป ซง่ึ ผูย้ ืมมีสทิ ธิใช้สอยทรพั ย์สนิ ที่ยมื ได้เปล่า โดยไม่มีค่าตอบแทน ผู้ยืมจึงส่งคืนทรัพย์สินท่ียืมคืนได้แม้ในสัญญาจะก�าหนดระยะเวลายืมกันไว้ ผู้ยืมก็ คืนทรัพย์นั้น กอ่ นกา� หนดได้ เท่ากับเปน็ การบอกเลกิ สัญญาทา� ใหส้ ญั ญาระงบั ในเร่อื งนผี้ ดิ กบั สัญญาเชา่ ทรัพย์ไม่มีก�าหนดเวลา ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้คู่สัญญาที่ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวแก่อีก ฝา่ ยหนงึ่ ใหร้ ตู้ วั กอ่ นลว่ ง หนา้ ชว่ั กา� หนดระยะเวลาชา� ระคา่ เชา่ ระยะหนง่ึ แตไ่ มเ่ กนิ 2 เดอื น (ปพพ. มาตรา 566) เพราะในสัญญาเช่าผู้ให้เช่าได้ประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าเช่า การบอกเลิกสัญญาจึงต้องมีการบอก กลา่ วใหร้ ู้ตวั ล่วงหน้า เพราะเปน็ เร่ืองเกย่ี วกบั ประโยชนข์ องทัง้ สองฝ่าย ในกรณที สี่ ญั ญายมื ใชค้ งรปู ไมม่ กี า� หนดเวลาไว ้ แตค่ สู่ ญั ญาไดต้ กลงกนั วา่ จะยมื ทรพั ยสนิ ไปใชเ้ พอื่ การใด ผูย้ ืมกส็ ่งคืนทรพั ย์ทีย่ มื ได้แม้จะยังไม่ได้ใช ้ หรือไมไ่ ด้ใช้ทรพั ย์สนิ น้นั เลยกต็ าม ในการส่งคืนทรัพย์สินท่ียืมตามสัญญายืมใช้คงรูปนี้มีกรณีที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องอยู่คือ เรื่อง คา่ ใช้จ่าย ในการส่งคืนทรพั ย์สินทย่ี มื และสถานท่สี ง่ คืนทรัพยส์ ินท่ยี ืม ซึ่งจะได้แยกอธิบายสาระสา� คญั ใน แตล่ ะกรณ ี ดังน้ี 3.1 ค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินท่ียืม สญั ญายมื ใชค้ งรปู มบี ทบญั ญตั เิ กย่ี วกบั คา่ ใชจ้ า่ ยในการ ส่งคนื ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ไว้เปน็ พเิ ศษ นอกเหนอื จากบทบัญญัติอนั เป็นหลกั ทั่วไปในเรื่องคา่ ใช้จา่ ยในการชา� ระ หนต้ี าม ปพพ. มาตรา 325 จงึ เปน็ กรณที ต่ี อ้ งบงั คบั กบั ตามบทบญั ญตั ใิ นเรอื่ งสญั ญายมื ใชค้ งรปู โดยเฉพาะ อนั ไดแ้ ก่ มาตรา 642 ความวา่ “…ค่าส่งคืนทรัพย์สินซ่ึงยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย” ทเี่ ปน็ เชน่ นเ้ี พราะสญั ญายมื ใชค้ งรปู นนั้ เปน็ เรอื่ งทผี่ ยู้ มื ไดร้ บั ประโยชนจ์ ากสญั ญาแตเ่ พยี งฝา่ ยเดยี ว คือได้ใช้สอยทรัพย์สินท่ีได้เปล่าโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ให้ยืม กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็น หน้าทีข่ องผู้ยมื ทจี่ ะต้องรับผดิ ชอบในค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการสง่ คนื ทรพั ย์สนิ ท่ียมื เชน่ คา่ พาหนะใน การเดินทางไปส่งคืนทรัพย์สินท่ียืม หรือหากไม่ไปส่งคืนด้วยตนเอง เช่น ส่งคืนทางไปรษณีย์ หรือโดย การขนส่ง ค่าใชจ้ ่ายทเ่ี กดิ ข้นึ ได้แก่ ค่าอากรแสตมป ์ หรอื ค่าระวางขนสง่ แลว้ แตก่ รณ ี ย่อมเปน็ ค่าใช้จ่าย ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย อย่างไรก็ตาม เน่ืองจากบทบัญญัติในมาตรา 642 นี ้ ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-40 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยมื ฝากทรพั ย์ ตวั แทน ประกนั ภัย มสธ ไมใ่ ชข่ อ้ กฎหมายอนั เกยี่ วดว้ ยความสงบเรยี บรอ้ ยหรอื ศลี ธรรมอนั ดขี องประชาชน คสู่ ญั ญาจงึ อาจจะตกลงมส กันเปน็ อย่างอ่นื ได้ ไมต่ ้องห้าม (ปพพ. มาตรา 151) ดงั นน้ั คู่กรณีในสัญญายมื ใชค้ งรปู จงึ อาจจะตกลงกนั ให้ผใู้ หย้ ืมเป็นผู้เสยี คา่ ใชจ้ า่ ยในการสง่ คืนทรพั ย์สินทย่ี ืม หรือตกลงกันให้รับผดิ ชอบคา่ ใช้จ่ายดงั กล่าวฝ่าย ละเทา่ ๆ กนั กย็ อ่ มกระท�าได้ 3.2 สถานทส่ี ง่ คนื ทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื ปพพ. ลกั ษณะยมื ไมไ่ ดบ้ ญั ญตั ไิ วเ้ ปน็ การเฉพาะในเรอ่ื งสถานท่ี ส่งคืนทรัพย์สินทีย่ ืมเหมอื นเช่นเรอ่ื งคา่ ใช้จ่ายในการส่งคนื ทรพั ย์สนิ ทยี่ มื ดงั นัน้ เมอ่ื การสง่ คนื ทรัพย์สินท่ี ยมื เปน็ การชา� ระหนต้ี ามสญั ญายมื จงึ ตอ้ งนา� บทบญั ญตั อิ นั เปน็ หลกั ทว่ั ไปในเรอื่ งการชา� ระหน ้ี ตาม ปพพ. มาตรา 324 มาใช้บงั คับในสว่ นท่เี กีย่ วกบั สญั ญายมื ใชค้ งรูป กล่าวคอื มาตรา 324 บัญญัตวิ า่ “เม่ือมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงช�าระหนี้ ณ สถานที่ ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานท่ีซ่ึงทรัพย์น้ันได้อยู่ในเวลา เมื่อก่อให้เกิดหน้ี ...” ตามมาตราน้ีอธิบายได้ว่า หากได้มีการแสดงเจตนาไว้ในระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมว่าจะส่งคืน ทรัพย์สนิ ที่ยืมกันที่ใด ก็ตอ้ งเป็นไปตามทไ่ี ดต้ กลงกันไว้ เชน่ ให้สง่ คืนทีบ่ า้ นของผใู้ ห้ยืม ผ้ยู ืมกต็ อ้ งส่งคนื ทรัพยส์ ินทีย่ ืมทบี่ า้ นของผ้ใู หย้ มื ตามทไ่ี ดต้ กลงกนั แต่ถา้ เปน็ กรณีที่มไิ ดต้ กลงกันไว้ กต็ อ้ งสง่ คืนทรัพย์สิน ที่ยืมกันน้ัน ณ สถานที่ซ่ึงทรัพย์ท่ียืมน้ันได้อยู่ในเวลาท่ีก่อให้เกิดหนี้ เนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปน้ัน ทรพั ยส์ นิ ทยี่ มื มลี กั ษณะเปน็ ทรพั ยเ์ ฉพาะสง่ิ คอื เปน็ ทรพั ยท์ กี่ า� หนดตวั ไดแ้ นน่ อน และผยู้ มื ตอ้ งคนื ทรพั ยส์ นิ อันเดียวกับท่ีได้รับมอบมาน้ันเองให้แก่ผู้ให้ยืม ไม่อาจเอาของอ่ืนมาแทนได้ ดังนั้น เม่ือเวลาท่ีสัญญายืม เกดิ ขึน้ ซ่ึงหมายความว่าสง่ มอบทรัพย์ท่ียมื กันท่ีใด ก็ตอ้ งสง่ คนื ทรพั ย์ทยี่ มื ณ สถานทีเ่ ดยี วกนั หากมไิ ด้ มีการแสดงเจตนากนั ไวเ้ ป็นอยา่ งอ่นื กิจกรรม 1.3.1 สัญญายืมใช้คงรูประงบั ในกรณีปกต ิ อย่างไรบ้าง จงอธบิ าย แนวตอบกิจกรรม 1.3.1 สัญญายมื ใชค้ งรูประงับไปในกรณปี กติ ดังน้ี 1. เมอื่ สญั ญามีก�าหนดระยะเวลา สญั ญายอ่ มระงบั ลงเมื่อพ้นกา� หนดระยะเวลาน้นั ผใู้ หย้ มื เรียก ทรพั ย์สนิ ที่ยืมคนื ได้ และผู้ยืมตอ้ งส่งคืนทรพั ยส์ นิ ท่ยี มื นนั้ ให้ 2. เมอ่ื สญั ญาไม่มกี า� หนดเวลา แบง่ เปน็ 2.1 เมอ่ื ปรากฏในสญั ญาวา่ ยมื ไปใชเ้ พอื่ การใด ผใู้ หย้ มื เรยี กทรพั ยส์ นิ ทย่ี มื คนื ไดเ้ มอื่ ผยู้ มื ได้ ใชส้ อยทรพั ย์สินนั้นเสรจ็ แลว้ อนั มผี ลทา� ใหส้ ัญญาระงับลง 2.2 เม่อื เวลาใดล่วงพ้นไปพอสมควรทผี่ ูย้ ืมจะไดใ้ ช้สอยทรัพยส์ นิ นั้นเสร็จแล้ว แม้ความจรงิ จะยังไม่ไดใ้ ช้กต็ าม ผู้ใหย้ มื เรยี กคนื ได้ และท�าใหส้ ัญญาระงับ ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บ้อื งตน้ เกยี่ วกับสญั ญายมื และสัญญายมื ใช้คงรปู 1-41 2.3 เมอื่ ไมป่ รากฏวา่ ยมื ไปใชเ้ พอ่ื การใด ผใู้ หย้ มื เรยี กคนื เมอ่ื ใดกไ็ ด ้ เทา่ กบั เปน็ การบอกเลกิมสธ สัญญาท�าให้สญั ญาระงบัมส 3. เมอ่ื ผูย้ ืมสง่ คนื ทรพั ย์สนิ ที่ยืมแม้ยงั ไมค่ รบก�าหนดเวลายมื เร่ืองท่ี 1.3.2 ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีพิเศษ ในบางกรณีสัญญายืมใช้คงรูปอาจระงับส้ินผลไปได้เมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษซึ่งมิใช่กรณีปกติท่ีจะ เกดิ ข้ึน โดยสญั ญา ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. ผยู้ มื ตาย เนอื่ งจากสญั ญายมื ใชค้ งรปู เปน็ สญั ญาทถ่ี อื ความสา� คญั เฉพาะตวั ผยู้ มื เปน็ หลกั ดงั นน้ั ไม่ว่าจะเปน็ กรณีที่สัญญายืมใชค้ งรปู นนั้ มีก�าหนดเวลาหรือไม่กต็ าม หากผยู้ ืมตายลง สญั ญายืมใช้คงรปู ก็ เปน็ อนั ระงับส้ินไปทนั ที ดงั ทมี่ าตรา 648 บัญญตั ิไวว้ า่ “อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะ แห่งผู้ยืม” อน่ึง ในการที่ผู้ให้ยืมจะฟ้องเรียกทรัพย์ท่ีให้ยืมคืนในกรณีนี้ ต้องค�านึงถึงอายุความมรดก ตาม ปพพ. มาตรา 1754 ซ่ึงห้ามฟ้องทายาทของลกู หนี้ซง่ึ เปน็ เจา้ มรดกเม่อื พ้น 1 ปีนับแตเ่ ม่อื เจ้าหนไี้ ดร้ ้ ู หรือ ควรไดร้ ถู้ งึ ความตายของเจ้ามรดกดว้ ย อุทาหรณ์ ฎ. 236/2493 สามจี า� เลยยมื กระบอื ของโจทกไ์ ป สามจี า� เลยตาย โจทกไ์ ปในงานศพสามจี า� เลย และ รกู้ ารตายของสามจี า� เลยเกนิ 1 ปี ศาลฎีกาวินิจฉัยวา่ ทรัพยท์ ่เี จา้ มฤดกยมื มา เจ้าหน้จี ะฟ้องเรียกคืนจาก ทายาทเกิน 1 ปีนบั แตร่ วู้ า่ เจ้ามฤดกตายนนั้ ไมไ่ ด้ โดยถือว่าขาดอายคุ วาม ตาม ปพพ. มาตรา 1754 ควรสังเกตว่า บทบัญญัติในมาตราน้บี ญั ญตั ใิ หส้ ัญญายมื ใชค้ งรูประงบั สนิ้ ไปเฉพาะกรณผี ู้ยืมตาย เท่าน้ัน ดังนั้น หากเป็นกรณีผู้ให้ยืมตายลงก่อนส้ินระยะเวลายืม สัญญายืมย่อมไม่ระงับ ผู้ยืมยังมีสิทธิ ใช้สอยทรัพย์ท่ียืมน้ันต่อไปได้ โดยที่ทายาทของผู้ให้ยืมจะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนก่อนก�าหนดไม่ได้ ท้ังนี้มี ฎ. 388/2479 ซง่ึ ได้กล่าวมาแล้ววนิ ิจฉยั หลักการดงั กลา่ วไวอ้ ยา่ งชดั แจ้ง 2. ผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ยืมผิดสัญญา กล่าวคือ ผู้ยืมไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตาม สญั ญายมื ดงั ทก่ี ลา่ วไวใ้ นมาตรา 643 เชน่ ไมใ่ ชท้ รพั ยส์ นิ ทยี่ มื ตามปกตทิ จี่ ะตอ้ งใช ้ หรอื ไมใ่ ชท้ รพั ยส์ นิ ตาม ทต่ี กลงกนั ในสญั ญา หรอื เอาไปใหบ้ คุ คลภายนอกใช ้ หรอื เอาเกบ็ ไวน้ านเกนิ กวา่ ทสี่ มควร และตามมาตรา 644 คอื ไมส่ งวนทรพั ย์สินทย่ี มื เช่นวิญญชู นจะพงึ สงวนรกั ษาทรัพย์สนิ ของตนเอง ซ่ึงได้กล่าวรายละเอียด ไว้แล้วในสว่ นทเ่ี กีย่ วกับหน้าท่ขี องผยู้ ืมใช้คงรูปในเรือ่ งที่ 1.2.2 เม่ือผู้ยืมไม่ปฏิบตั ิหนา้ ที่ตาม มาตรา 643 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกันภยั หรอื มาตรา 644 ดังกล่าว ผใู้ หย้ มื จึงมสี ิทธบิ อกเลิกสัญญาตามมาตรา 645 ซึ่งได้กลา่ วมาแล้วเชน่ กนั และ เรียกทรัพยส์ ินท่ีใหย้ ืมคืนได้ อันมีผลทา� ใหส้ ัญญายืมใชค้ งรูประงบั ลง 3. ทรัพย์สินที่ยืมสูญหายไปท้ังหมด ในข้อนี้ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่อธิบายได้โดย พิจารณาจากลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ซ่ึงกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินท่ียืมไม่โอนไปยังผู้ยืมและผู้ยืมต้อง คืนทรัพย์สินอัน เดยี วกับทีย่ มื ไปนนั้ ใหแ้ ก่ผู้ให้ยืม ดังน้นั เม่อื ทรพั ยส์ นิ ทยี่ ืมน้ันสญู หายไปทั้งหมดแล้ว ก็ ไมม่ ที รพั ยท์ จี่ ะคนื ใหอ้ กี สญั ญายมื ใชค้ งรปู จงึ ตอ้ งระงบั ลงตามหลกั กฎหมายทวั่ ไปทว่ี า่ สญั ญาทง้ั ปวงยอ่ ม ระงบั สนิ้ ไปเมือ่ ทรัพยอ์ ันเป็นวตั ถุแหง่ หนข้ี องสญั ญาน้ันไดส้ ูญหายไป อยา่ งไรกต็ าม การทที่ รพั ยส์ นิ ทยี่ มื นนั้ สญู หายไปอาจเกดิ ขนึ้ ไดท้ งั้ ในกรณที เ่ี ปน็ ความผดิ ของผยู้ มื และในกรณีที่มิใช่ความผิดของผู้ยืม ซ่ึงท�าให้เกิดผลในเรื่องสิทธิและความรับผิดระหว่างผู้ให้ยืมและผู้ยืม แตกต่างกันคือ หากเปน็ กรณีทรัพย์สินทยี่ มื สูญหายไปเพราะความผิดของผยู้ ืม เชน่ เอาไปให้บคุ คลอ่นื ใช้ แลว้ ทรพั ยส์ นิ นน้ั เกดิ สญู หายไป สญั ญายมื ใชค้ งรปู ยอ่ มระงบั ลง แตผ่ ใู้ หย้ มื มสี ทิ ธเิ รยี กรอ้ งคา่ สนิ ไหมทดแทน ความเสียหายดังกล่าวจากผู้ยืมซ่ึงมีหน้าท่ีจะต้องชดใช้ให้ได้ตามมาตรา 643 เป็นต้น แต่หากทรัพย์สินท่ี ยืมนั้นสูญหายไปโดยจะเอาผิดจากผู้ยืมไม่ได้ เช่น ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินน้ันตามปกติไม่ผิดหน้าที่ แต่ ทรัพย์สินท่ียืมนั้นสูญหายไปเนื่องจากถูกขโมยลักไป แม้ผู้ยืมจะได้สงวนทรัพย์สินน้ันเช่นวิญญูชนจะพึง สงวนทรัพย์สินของตนแล้วก็ตาม เช่นน ้ี สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับลงโดยผู้ให้ยืมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้อง อะไรจากผยู้ มื ไดเ้ ลย ตอ้ งรบั บาปเคราะหใ์ นผลพบิ ัติทเ่ี กดิ ขนึ้ นนั้ เอง กิจกรรม 1.3.2 สัญญายืมใช้คงรูปอาจระงับลงเมื่อเกิดเหตุการณ์อันมิใช่กรณีตามปกติท่ีจะเกิดขึ้นจากสัญญาได้ อยา่ งไรบา้ ง แนวตอบกิจกรรม 1.3.2 สญั ญายมื ใช้คงรปู อาจระงับลงในกรณที ีม่ ิใชเ่ หตกุ ารณป์ กตทิ จี่ ะเกดิ ขน้ึ โดยสัญญาได ้ คือ 1. เม่ือผู้ยมื ตาย 2. เมอื่ ผู้ให้ยืมบอกเลิกสญั ญาเนอ่ื งจากผู้ยืมผดิ สัญญา 3. เม่อื ทรัพย์สินทีย่ ืมสูญหายไปทง้ั หมด มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรู้เบอื้ งต้นเกย่ี วกับสัญญายืมและสัญญายมื ใชค้ งรูป 1-43 มสธ เรื่องที่ 1.3.3มส อายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป อายคุ วามเกี่ยวกบั การยืมใช้คงรปู นนั้ แยกพจิ ารณาได้ดงั น้ ี 1. การบังคับเอาทรัพย์สินคืน 1.1 ในกรณที ท่ี รัพยส์ ินท่ียมื นนั้ มตี วั อย ู่ ไม่ไดส้ ญู หายหรอื ถกู ท�าลายไป การที่ผใู้ หย้ ืมใชค้ งรปู จะมี สทิ ธิเรียกรอ้ งเอาทรัพยท์ ย่ี ืมในก�าหนดอายคุ วามเทา่ ใดน้ัน แยกอธิบายได้ดงั นี้ 1) ถา้ ผใู้ หย้ มื เปน็ เจา้ ของกรรมสทิ ธใ์ิ นทรพั ยท์ ย่ี มื นนั้ ผใู้ หย้ มื กม็ สี ทิ ธติ ดิ ตามเอาทรพั ยค์ นื ได้ โดยอาศัยหลักอ�านาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 โดยไม่มีอายุความจนกว่าจะสิ้น กรรมสิทธ์ิในทรัพย์น้ัน ทั้งนี้ โจทก์ผู้ให้ยืมต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่ง ทรพั ยข์ องโจทกจ์ ากจา� เลยผยู้ มื ซง่ึ ไมม่ สี ทิ ธยิ ดึ ถอื ไวต้ ามอา� นาจแหง่ เจา้ ของกรรมสทิ ธทิ์ ่ี ปพพ. มาตรา 1336 บญั ญัติไว้ 2) ถ้าผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือแม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ได้อาศัยสิทธิตาม สญั ญายมื ใชค้ งรปู ฟอ้ งรอ้ งเรยี กทรพั ยค์ นื โดยไมบ่ รรยายฟอ้ งใหค้ ลมุ ถงึ การใชอ้ า� นาจแหง่ กรรมสทิ ธด์ิ งั กลา่ ว ขา้ งตน้ การใชส้ ทิ ธเิ รยี กรอ้ งใหค้ นื ทรพั ยท์ ยี่ มื ตามสญั ญายมื ใชค้ งรปู นใี้ นกฎหมายลกั ษณะยมื ไมม่ บี ทบญั ญตั ิ ไว้เปน็ พเิ ศษ เร่ืองนศ้ี าสตราจารย์ จติ ติ ตงิ ศภัทยิ ์ ได้ใหค้ วามเห็นไวซ้ ึ่งผ้เู ขยี นเห็นด้วยวา่ ตอ้ งบงั คบั กัน ตาม ปพพ. มาตรา 1376 ซงึ่ ใหน้ �า ปพพ. มาตรา 412–418 ในเร่ืองลาภมิควรไดม้ าใช้บังคบั โดยอนุโลม เก่ียวกบั ว่าจะต้องคนื กันในลกั ษณะใด แต่ ปพพ. มาตรา 1376 ไม่ได้บญั ญตั คิ ลมุ ไปถงึ ปพพ. มาตรา 419 ด้วย จงึ ไมอ่ าจน�า ปพพ. มาตรา 419 เรือ่ งอายุความลาภมคิ วรได้มาใชด้ ้วย ดงั น้ัน จึงคงตอ้ งใชห้ ลักอายุ ความทว่ั ไป ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ ซงึ่ มาตรา 193/30 บญั ญัติไว้วา่ “อายุความน้ัน ถ้า ประมวลกฎหมายน้ีหรือกฎหมายอ่ืนมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีก�าหนดสิบปี” สว่ นการกา� หนดนบั อายคุ วามนนั้ ปพพ. มาตรา 193/12 บญั ญตั วิ า่ “อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะ ท่ีอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป…” ดังน้ัน อาศัยสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเรียกทรัพย์คืนภายใน ก�าหนดอายุความ 10 ป ี นับแต่เวลาท่จี ะตอ้ งคนื ทรพั ย2์ 6 อนั เป็นเวลาที่สัญญาระงับลงนั่นเอง 26 จติ ติ ติงศภทั ิย ์ สัมภาษณโ์ ดยผเู้ ขียน เมือ่ 1 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2526 ณ คณะนติ ศิ าสตร ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ และดบู นั ทกึ ทา้ ยคา� พพิ ากษาศาลฎกี าท ่ี 187/2522 จดั พมิ พโ์ ดยเนตบิ ณั ฑติ ยสภา และด ู ฎ. 643/2480, ฎ. 1407/2538 ทก่ี ลา่ วมาแลว้ ในเร่ืองท ี่ 1.2.3 ในส่วนท่วี ่าดว้ ยสทิ ธิของผู้ใหย้ ืมใช้คงรปู และด ู ประพนั ธ์ ทรพั ย์แสง จากบทความเรอื่ ง อำยุควำมกำรใช้สทิ ธติ ิดตำม เอำทรพั ย์สินคนื วารสารกฎหมายสุโขทยั ธรรมาธิราช ปีท ่ี 25 ฉบบั ท ี่ 2 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-44 กฎหมายพาณชิ ย์ 2 : ยืม ฝากทรพั ย์ ตัวแทน ประกนั ภยั มสธ 1.2 ในกรณีทที่ รพั ย์ทย่ี มื นั้นสูญหายหรอื ถูกท�าลายไปหมดแล้ว ไมม่ ตี วั ทรพั ย์มาคืน ผู้ใหย้ ืม (ไม่มส ว่าจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ิหรือไม่) จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ยืมใช้ราคาทรัพย์สินซึ่งต้องน�า ปพพ. มาตรา 1376 มาใชบ้ ังคับเช่นกนั ผลก็คือต้องใช้อายุความ 10 ปี นบั แตข่ ณะทจี่ ะต้องใชร้ าคาทรัพย์ที่ยืมนนั้ 27 อุทาหรณ์ ฎ. 785/2476 อายุความฟ้องร้องเรียกให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินท่ียืมมีก�าหนด 10 ปี ตามหลัก ทว่ั ไปใน ปพพ. มาตรา 164 (ปจั จบุ นั มาตรา 193/30) ฎ. 187/2522 ยมื โคไปใชง้ าน แลว้ กลบั เอาโคไปขายเอาเงนิ ไปใชป้ ระโยชนส์ ว่ นตวั เสยี เปน็ การยมื แลว้ ไมค่ นื ให ้ และเม่อื คืนไมไ่ ด้ก็ตอ้ งใช้ราคา เม่อื ไมม่ ีกฎหมายบัญญตั ไิ ว้เปน็ พิเศษจึงมกี �าหนด 10 ปี ตาม หลกั อายคุ วามทวั่ ไป ฎ. 2589/2526 อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 649 เป็นกรณีฟอ้ งให้รบั ผดิ เพื่อเสียคา่ ทดแทนอัน เก่ียวกับการยืมใช้คงรูป เช่น ค่าเสียหายเก่ียวกับความช�ารุดหรือเสื่อมราคาเน่ืองจากการใช้สอยทรัพย์ท่ี ยมื ในกรณฟี อ้ งเรยี กคนื หรอื ใชร้ าคาทรพั ยท์ ยี่ มื ไมม่ บี ทกฎหมายบญั ญตั ไิ ว ้ จงึ ตอ้ งปรบั ดว้ ย ปพพ. มาตรา 164 (ปัจจบุ นั มาตรา 193/30) คอื มีอายุความ 10 ปี ฎ. 566/2536 โจทกบ์ รรยายฟอ้ งวา่ จา� เลยท ่ี 1 ซอ้ื ผลติ ภณั ฑข์ วดแกว้ และยมื ลงั ไมใ้ สข่ วดแกว้ จาก โจทก์หลายคราวติดต่อกันตัง้ แต ่ พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2522 ศาลฎกี าวินิจฉัยวา่ ปพพ. มาตรา 649 เป็น เรื่องความรับผดิ เพอ่ื เสยี ค่าทดแทนเกี่ยวกบั การยืมใช้คงรูป เชน่ เรยี กค่าเสียหายเกี่ยวกับความชา� รดุ หรือ เสอื่ มราคาจากการใชท้ รพั ยท์ ใี่ หย้ มื แตต่ ามคา� ฟอ้ งโจทกเ์ ปน็ การฟอ้ งเรยี กคนื ลงั ไมห้ รอื ราคาลงั ไมซ้ ง่ึ จา� เลย ท ี่ 1 ยืมไปพรอ้ มผลิตภัณฑ์ขวดแก้วซงึ่ โจทกข์ ายให้จา� เลยท่ี 1 ตามสัญญาซ้อื ขาย และจ�าเลยที่ 1 ปฏิบตั ิ กับโจทกต์ ลอดมาต้ังแตม่ ีการซ้ือขายกัน จงึ นา� มาตรา 649 มาบงั คับหาได้ไม ่ ตอ้ งใช้อายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 164 (ปัจจุบันมาตรา 193/30) 2. การเรียกร้องค่าทดแทนตามสัญญา ในเร่ืองนี้ มาตรา 649 บัญญัตเิ รอ่ื งอายคุ วามในการเรียกคา่ ทดแทนความเสยี หาย ตามสัญญายืม ใช้คงรปู ไว้วา่ “ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเก่ียวกับการยืมใช้คงรูปน้ัน ท่านห้ามมิให้ฟ้องเม่ือพ้น เวลาหก เดือนนับแต่วันส้ินสัญญา” ตามมาตรา 649 น้ ี มีความหมายวา่ สิทธเิ รียกร้องคา่ ทดแทนใดๆ อนั เกี่ยวกบั สญั ญายมื ใช้คงรูป น้นั ให้มอี ายุความ 6 เดอื น นับแต่วนั สิ้นสัญญาซ่ึงก็คือวันที่สัญญายมื ใชค้ งรปู ระงบั ลงนั่นเอง ข้อสังเกต คา่ ทดแทนตามมาตรา 649 น ี้ มีความหมายเดียวกับ “ค่าสนิ ไหมทดแทน” ในมาตรา 671 คือเปน็ ค่าสนิ ไหมทดแทนซ่ึงเกิดจากสญั ญาโดยชดใชก้ ันดว้ ยเงนิ เทา่ น้นั ต่างกบั คา่ สินไหมทดแทนใน เร่ืองละเมดิ ซ่งึ มคี วามหมายกว้างกวา่ มาก เพราะ ตาม ปพพ. มาตรา 438 วรรคสอง คา่ สินไหมทดแทน ในเรอ่ื งละเมดิ นนั้ ไดแ้ กก่ ารคนื ทรพั ยส์ นิ อนั ผเู้ สยี หายตอ้ งเสยี หายไปเพราะละเมดิ หรอื ใชร้ าคาทรพั ยส์ นิ นน้ั และรวมท้ังคา่ เสียหายทมี่ ีขนึ้ จากการละเมิดดว้ ย 27 เร่ืองเดยี วกนั ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความรเู้ บอื้ งต้นเก่ียวกับสญั ญายมื และสญั ญายืมใช้คงรูป 1-45 มาตรา 649 มิได้บัญญัติว่า อายุความ 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาน้ันใช้เฉพาะในกรณีผู้ให้ยืม เรียกค่าทดแทนเท่าน้ัน ดังน้ัน หากมีเหตุที่ผู้ยืมจะมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามสัญญาได้ อายุความ 6 เดอื นนั้นก็ต้องน�ามาใช้กบั ผ้ยู มื ในการเรียกรอ้ งค่าทดแทนได้เช่นกนั ปญั หาว่าค่าทดแทนในสัญญายืมใชค้ งรูปนี้ ไดแ้ กอ่ ะไรบ้าง อาจพิจารณาได้ คอื ส�าหรับกรณีผู้ให้ยืม ได้แก่ 1. ค่าทดแทนความเสียหายเมื่อผู้ยืมปฏิบัติผิดสัญญาตามมาตรา 643, 644 ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ในเร่ืองที่ 1.2.3 สิทธิและหน้าท่ีของผู้ให้ยืมใช้คงรูป 2. คา่ ทดแทนความเสยี หายเมอ่ื ผยู้ มื ผดิ สญั ญาไมส่ ง่ ทรพั ยส์ นิ คนื เมอื่ ถงึ กา� หนด แลว้ ความเสยี หาย เกิดแกท่ รัพยส์ นิ น้นั แมจ้ ะดว้ ยเหตสุ ดุ วิสยั ตามมาตรา 643 ประกอบมาตรา 646 เช่น ยมื รถเขามาใชแ้ ล้ว ไมส่ ง่ คนื เมื่อครบก�าหนด แลว้ เกดิ ไฟไหม้ลามมาจากที่อืน่ ท�าใหร้ ถยนต์ถูกไฟไหมเ้ สียหาย เปน็ ตน้ 3. คา่ ฤชาธรรมเนยี มในการทา� สญั ญา คา่ สง่ มอบ และคา่ สง่ คนื ทรพั ยส์ นิ ตามมาตรา 642 ซง่ึ ผใู้ ห้ ยืมได้จา่ ยแทนผ้ยู มื ไปก่อน 4. ค่าใชจ้ ่ายในการบ�ารุงรกั ษาทรพั ยส์ นิ ท่ยี ืมตามปกติซงึ่ ผูย้ มื จะต้องออกตามมาตรา 647 และผู้ ใหย้ ืมได้ออกแทนไปกอ่ น ส�าหรับกรณีผู้ยืม ได้แก่ 1. คา่ ทดแทนความเสียหาย เมือ่ ผใู้ ห้ยมื สง่ มอบทรัพยส์ นิ ซึ่งชา� รุดบกพรอ่ งใหแ้ ก่ผู้ยืมโดยไมแ่ จง้ ใหผ้ ยู้ มื ทราบ ทง้ั ทผ่ี ใู้ หย้ มื ไดร้ อู้ ยแู่ ลว้ กอ่ นการสง่ มอบวา่ ทรพั ยส์ นิ นนั้ ชา� รดุ อาจเปน็ อนั ตรายหรอื เกดิ ความ เสียหายแกผ่ ู้ยมื ได ้ ซงึ่ เมื่อผยู้ ืมนา� ทรัพย์สนิ ไปใช้แล้วเกดิ ความเสยี หายขนึ้ ดังกลา่ ว 2. ค่าใช้จ่ายในการบ�ารุงรักษาทรัพย์สินท่ียืมในกรณีจ�าเป็นอันมิใช่การบ�ารุงรักษาทรัพย์สินตาม ปกต ิ ซ่งึ ผู้ให้ยมื จะตอ้ งเสยี แต่ผู้ยืมได้ออกทดรองไปกอ่ น มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ 1-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยมื ฝากทรพั ย์ ตวั แทน ประกันภัย กิจกรรม 1.3.3 1. อายคุ วามเกย่ี วกบั สัญญายมื ใช้คงรูปมอี ะไรบา้ ง จงอธิบาย 2. นายดา� ยมื รถยนตท์ น่ี ายแดงเชา่ มาเพอ่ื ใชใ้ นการทอดกฐนิ มกี า� หนดเวลา 7 วนั เมอ่ื ครบกา� หนด แล้ว นายด�าไม่ยอมส่งคืนรถยนต์ให้นายแดง ดังนี้ นายแดงจะต้องฟ้องเรียกรถยนต์คืนตามสัญญาจาก นายดา� ภายในก�าหนดอายุความเทา่ ใด แนวตอบกิจกรรม 1.3.3 1. อายคุ วามเกยี่ วกบั สญั ญายมื ใชค้ งรปู ไดแ้ ก ่ อายคุ วามในการฟอ้ งเรยี กทรพั ยค์ นื และใหใ้ ชร้ าคา ทรัพย์ตามสญั ญา ซึ่งแยกพิจารณาไดค้ ือ 1.1 ในกรณีท่ีมีตัวทรัพย์อยู่ ถ้าผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ิย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ คืนได้โดยไม่มีก�าหนดอายุความ โดยอาศัยอ�านาจ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 แต่ถ้าผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของ กรรมสิทธ์ิหรือแม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ิ แต่ใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนโดยอาศัยสัญญายืมใช้คงรูปต้องใช้ อายคุ วาม10 ป ี นบั แต่วันทส่ี ัญญาระงับตามหลักทัว่ ไปใน ปพพ. มาตรา 193/30 1.2 กรณที ท่ี รพั ยส์ ญู หายหรอื ถกู ทา� ลายไปแลว้ ผยู้ มื ตอ้ งใชร้ าคาทรพั ยท์ ย่ี มื นน้ั โดยผใู้ หย้ มื (ไมว่ า่ จะเป็นเจ้าของกรรมสทิ ธ์ิหรอื ไม)่ ต้องใชส้ ทิ ธิเรยี กรอ้ งภายในอายุความ 10 ปี 2. เปน็ กรณฟี อ้ งเรยี กทรพั ยค์ นื ตามสญั ญา นายแดงตอ้ งใชส้ ทิ ธฟิ อ้ งรอ้ งภายในกา� หนด 10 ป ี นบั แต่วนั ครบก�าหนดตามสญั ญายมื ดังกล่าวอนั เป็นวนั ท่สี ัญญายืมระงับ มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

มสธ ความร้เู บือ้ งต้นเกี่ยวกบั สญั ญายมื และสญั ญายืมใช้คงรปู 1-47 บรรณานุกรม กมล สนธิเกษตริน. (2521). ประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยืมและฝำกทรัพย์. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์. จ๊ีด เศรษฐบุตร. (2492). ค�ำอธิบำยกฎหมำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยยืม ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้ำ ประนปี ระนอมยอมควำม กำรพนันและขนั ต่อ. มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์และการเมอื ง. บญั ญตั ิ สุชีวะ. (2506). “ประมาท” บทบณั ฑติ ย.์ เล่ม 21 ตอน 2 เมษายน พ.ศ. 2506 ประวตั ิ ปัตตพงศ.์ (2487). ค�ำสอนช้ันปรญิ ญำตรีกฎหมำยแพง่ และพำณชิ ยว์ ่ำดว้ ยยืม ฯลฯ. พระนคร. ประเสรฐิ มนูกจิ , หลวง. (2477). ค�ำสอนชน้ั ปริญญำตรีกฎหมำยแพ่งและพำณิชยว์ ำ่ ดว้ ยยืม ฯลฯ. พระนคร. พจน ์ ปษุ ปาคม. (2521). คำ� อธบิ ำยประมวลกฎหมำยแพง่ และพำณชิ ยว์ ำ่ ดว้ ยยมื กยู้ มื ฝำกทรพั ย.์ นติ บิ รรณาการ. ศกั ด์ิ สนองชาติ. (2524). คำ� อธบิ ำยประมวลกฎหมำยแพง่ และพำณิชยว์ ำ่ ดว้ ยนิตกิ รรมและสัญญำ. (พิมพ์คร้งั ท ี่ 2). นติ ิบรรณาการ. สุปัน พลู พฒั น์. (2515). คำ� อธบิ ำยประมวลกฎหมำยแพ่งและพำณชิ ยว์ ำ่ ดว้ ยยมื ฝำกทรัพย์ เก็บของในคลังสนิ ค้ำ ประนีประนอมยอมควำม กำรพนันและขันตอ่ . (พิมพ์ครัง้ ท ่ี 3). พระนคร. เสนยี ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2505). ประมวลกฎหมำยแพง่ และพำณชิ ยว์ ำ่ ดว้ ยนติ ิกรรมและหนี้. เลม่ 1 (ภาค 1-2) พ.ศ. 2478 แกไ้ ขเพิม่ เติม (พมิ พ์คร้ังที่ 2). นิติบรรณาการ. มสธ มส ธมมสธสธมสธสธ

ธมมสสธธมสสธธมมสสธ มสธ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook