Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงการ ฝนหลวง

โครงการ ฝนหลวง

Published by nichada1709, 2022-08-21 11:30:14

Description: โครงการ ฝนหลวง

Search

Read the Text Version

โครงการพระราชดำริ ฝนหลวง



คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่ อเป็ นกิจกรรมประกอบการ เรียนวิชา ชีวิตกับสังคมไทย (รหัส 30000 - 1501) มีจุด มุ่งหมายเพื่อศึกษาและเรียนรู้ทักษะในชีวิตประจำวัน เพื่อ ให้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รายงานเล่มนี้มีเนื้ อหาเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ ฝนหลวง ได้แก่ ความเป็นมาของโครงการ ขั้นตอนการทำ ฝนหลวง เครื่องมือที่ใช้ในการทำฝนหลวง เป็นต้น ขอขอบคุณ คุณครูปัญจวรรณ อ่อนหวาน ที่ได้ให้ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีวิตกับสังคมไทย เพื่อเป็นแนวทางใน การทำรายงานเล่มนี้ ผู้จัดทำรายงานจะนำความรู้ที่ได้ไป ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สารบัญ เรื่อง หน้ า ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง ทฤษฎีต้นกำเนิด 1 ประวัติความเป็ นมา การทดลองในท้องฟ้ าเป็นครั้งแรก 2 ขั้นตอนการทำฝนหลวง เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญ 3 สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงก้าวแรกที่เริ่มต้น สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร 9 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตราสัญลักษณ์ และความหมาย 10 14 17 19 21 24

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริ ฝนหลวง \"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆ อย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็ เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับ คุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคย อ่านหนังสือทำได้...\" 1

ทฤษฎีต้นกำเนิด จากทฤษฎีเริ่มแรกที่เกิดขึ้นหลังจากพระราชดำริ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ยังทรงใช้เวลาอีก 14 ปี ในการวิเคราะห์วิจัย ทบทวนเอกสาร รายงานผลการศึกษาและ ข้อมูลต่างๆ พระราชทานให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เพื่อ ประกอบการค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด 2

ประวัติความเป็นมา จากพระราชบันทึก THE RAINMAKING STORY พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ได้ก่อให้เกิดความกระจ่างชัดถึงที่มาและ จุดเริ่มต้นโครงการฝนหลวง ซึ่งสรุปพระราชบันทึกดังกล่าวได้ว่า ระหว่างวันที่ ๒ – ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทรงเยี่ยมเยียน ๑๕ จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ (เดลา เฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากจังหวัดนครพนม ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ผ่าน จังหวัดสกลนครและเทือกเขาภูพาน เมื่อทรงหยุดอย่างเป็น ทางการที่ทางแยกอำเภอกุฉินารายณ์และสหัสขันธ์ ณ ที่นั้นทรง สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลผลิตข้าว ทรงคิดว่าต้องเสียหายเพราะ ความแห้งแล้ง แต่ต้องทรงประหลาดใจที่ราษฎรเหล่านั้นกราบ บังคมทูลว่า เดือดร้อนเสียหายจากน้ำท่วม ทรงเห็นว่าเป็นการ แปลก เพราะพื้นที่โดยรอบดูคล้ายทะเลทรายที่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย ทั่วไป แท้ที่จริงแล้วราษฎรเหล่านั้นมีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก 3

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ณ ขณะนั้นทรงคิดว่าเป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะแก้ไขไม่ได้ และขัดแย้งกันเองในตัว เมื่อมีน้ำมากไปก็ท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำหยุด ท่วมฝนก็แล้ง เมื่อฝนตกน้ำจะไหลบ่าลงมาท่วมจากภูเขาเพราะ ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งการไหลบ่า ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระสติ ปัญญาอันเป็นเลิศ ทำให้ทรงเกิดประกายความคิดอย่างฉับพลัน ณ วินาทีนั้นในขณะนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นมาตรการในการแก้ไข ปัญหาที่ยุ่งยากและขัดแย้งกันดังกล่าว วิธีแก้คือ ต้องสร้างฝายน้ำล้น (check dams) ขนาดเล็ก จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาจะช่วยชะลอการไหล ลงมาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ขนาดเล็กๆ จำนวนมากวิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ทาง หนึ่ง ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ในฝายเขื่อนและอ่างเก็บน้ำดัง กล่าวใช้จัดสรรน้ำสำหรับฤดูแล้ง 4

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ปัญหาหนึ่งที่ยังคงดำรงอยู่คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง ภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นทรงแหงนขึ้นดู ท้องฟ้าและพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นถูกพัดผ่าน พื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เมฆเหล่านั้น รวมตัวตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น และทรงบันทึกไว้ว่า ความ คิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฝนเทียม (ปัจจุบันเรียกอย่างเป็น ทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรีว่า โครงการฝนหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ) นับเป็นพระอัจฉริยภาพที่ทรงเกิดประกายความคิด ที่จะแก้ไขปัญหาอันยุ่งยาก และขัดแย้งได้อย่างฉับพลัน ณ ขณะ นั้นด้วยพระปัญญาอันชาญฉลาดและเป็นเลิศที่ทรงสามารถคิดค้น วิธีแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและฝนแล้งได้ในขณะเดียวกัน ที่เป็นวิธี การและหลักการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งจากฟ้าและ บนดินได้อย่างครบถ้วน ยังคงทันสมัยที่นำมาเป็นหลักการหรือ ต้นแบบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบนผิวพื้นโลกได้ทุกยุค สมัย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต 5

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ทันทีที่เสด็จกลับจากการเสด็จเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง ๑๕ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๒ – ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ มาถึงกรุงเทพมหานครทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกรประดิษฐ์ ควายเหล็ก ที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานแนวความคิดนั้น แก่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งได้กราบบังคมทูลสัญญาว่าจะศึกษา ปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว 6

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ระหว่างรอการเตรียมการเพื่อให้เกิดลู่ทางและความเป็นไป ได้ให้มีความพร้อมและสามารถเริ่มต้นลงมือทำการค้นคว้าทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น และปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้า มิได้ทรง ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ทรงทบทวนและ วิเคราะห์วิจัยเอกสารตำราด้านวิชาการ เช่น อุตุนิยมวิทยา วิทยาศาสตร์บรรยากาศ เอกสารรายงานการวิจัย การค้นคว้า ทดลอง และกรณีศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปรสภาพ อากาศ ซึ่งในสมัยนั้นเอกสารเหล่านั้นยังมีน้อยและหาได้ยาก ส่วน ใหญ่เป็นเอกสารที่ได้มาจากประเทศในแถบถิ่นที่มีภูมิอากาศอยู่ใน เขตหนาว รวมทั้งทรงวิเคราะห์ข้อมูลและข้อสังเกต ที่ทรงบันทึกไว้ ในระหว่างการเสด็จเยือนแต่ละท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม ฤดูกาล ซึ่งทรงเห็น ว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้งและต่อความพยายามใน การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง สภาพปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของราษฎรอันเนื่องจากภัยแล้ง จนทรงสามารถตั้งเป็น ข้อสมมติฐานที่ทรงคาดหมายหวังผลไว้อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมที่จะเริ่มต้นให้มีการค้นคว้าทดลอง และทรงมั่นพระทัยว่าจะ สัมฤทธิ์ผลในการค้นคว้าทดลองและการประดิษฐ์คิดค้นตามที่ทรง คาดหวังไว้ในข้อสมมติฐาน 7

ประวัติความเป็นมา (ต่อ) พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ องคมนตรี มล. เดช สนิทวงศ์ อัญเชิญเอกสารที่ทรงศึกษาทบทวนแล้วดัง กล่าวข้างต้น มาพระราชทานแด่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้ศึกษา ทบทวนและทำความเข้าใจกับเอกสารพระราชทานเหล่านั้นควบคู่ กันไปด้วย ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ถึงกับไปสมัครฝึกบินกับศูนย์ฝึกบินพลเรือนจนจบหลักสูตรเป็น นักบิน หลายปีต่อมา ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้กลับมากราบบังคม ทูลพร้อมกับความคิดเริ่มแรกและความเป็นไปได้ที่จะเริ่มต้นการ ค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น และการปฏิบัติการค้นคว้า ทดลองจริงในท้องฟ้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมี ดร.แสวง กุลทองคำ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ อธิบดีกรมการข้าวในขณะนั้นรับใส่ เกล้าฯ สนองพระราชประสงค์การปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้า จึงเริ่มต้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙– ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ณ สนามบินหนองตะกู วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอ ปากช่องเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นมา จึงทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้สำนักงานปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นองค์กรปฏิบัติการสนองพระราช ประสงค์ในการค้นคว้าทดลองทำฝนหลวง ควบคู่กับปฏิบัติการ หวังผลกู้ภัยแล้ง มาโดยตลอด 8

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี 2512 กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้น กราบบังคมทูล พระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราช ประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อ วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้ง ให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และ หัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองเป็นคนแรก และเลือกพื้นที่ วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรกโดยทดลองหยอด ก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่ เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอย กระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆ ฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้น ไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จาก การติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงาน ยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลอง วนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการ บังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ 9

ขั้นตอนการทำฝนหลวง ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการ ในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้อง บน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบ การเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำ จากมวลอากาศได้ (แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ค่า critical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัว ไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้า หมาย เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมี ที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่ม แกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณปฏิบัติการ สำหรับใช้เป็น ศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป 10

ขั้นตอนการทำฝนหลวง (ต่อ) ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่การลอยตัวขึ้น ของก๊าซ (updraft) ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและ ประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสาร เคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย 11

ขั้นตอนการทำฝนหลวง (ต่อ) ขั้นตอนที่สาม : โจมตี เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบิน เข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของ เครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือ ทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการ ตกของฝน จึงทำให้เกิดฝนขึ้น 12

ขั้นตอนการทำฝนหลวง (ต่อ) 13

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ ประกอบในการทำฝนหลวง 1.เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพ อากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่ อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากก รมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ 1. เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทาง และความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป 2. เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่าง 3. เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและ ความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ใน รัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติ การแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง อีกด้วย 4. เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัด อุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำ ฝน เป็นต้น 14

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ ประกอบในการทำฝนหลวง (ต่อ) 2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสาร เคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น 3. เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนัก วิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติ การ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสาร สำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์ โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วิทยุซิงเกิลไซด์ แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น 4. เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติ การ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ 15

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ ประกอบในการทำฝนหลวง (ต่อ) 5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัย ทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอป เปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการ ทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่อง มือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมา แสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูก บันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำ มาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 16

สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ก้าวแรกที่เริ่มต้น (ฝล.) Insignia of the \"For-Lor-Office\" ปี ๒๕๑๘ รัฐบาลตระหนักว่าปฏิบัติการฝนหลวงทวีความ สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ มีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานฝน หลวงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น เพื่อให้ปฏิบัติการฝนหลวง สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวางและเป็นผลดียิ่งขึ้น จึงมี การตราพระราชกฤษฎีกาตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ในเวลานั้น สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมีภารกิจหลัก คือ ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อป้องกันและบรรเทาสภาวะแห้งแล้ง โดย การช่วยให้เกิดฝนตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา ขาดแคลนน้ำสำหรับการบริโภคอุปโภคและการเกษตร เพิ่ม ปริมาณน้ำให้แก่ต้นน้ำลำธาร หนองบึงธรรมชาติ อ่างและเขื่อนกัก เก็บน้ำ เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน น้ำประปา อุตสาหกรรม และน้ำใต้ดิน รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝน หลวง 17

สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ก้าวแรกที่เริ่มต้น (ฝล.) Insignia of the \"For-Lor-Office\" (ต่อ) สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ช่วงเริ่มต้น มีหน่วยปฏิบัติการ ๒ หน่วย และไม่มีอาคารที่ทำการอาศัยเพียงห้องเล็กๆ ในกอง เกษตรวิศวกรรม ๓ ห้อง เป็นที่ทำงาน ใช้เจ้าหน้าที่จากกองเกษตร วิศวกรรม สร้างและพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ทั้งเครื่องอบเกลือ เครื่องเผาเกลือ เครื่องบดเกลือ ฯลฯ ในปี ๒๕๒๐ สำนักปฏิบัติการฝนหลวง มีหน่วยปฏิบัติการ ๔ ทีม แต่ละทีมมีเครื่องบินเล็กๆ ๓-๔ ลำ มีนักบินและช่างเครื่อง ลำละ ๓ คน แต่มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ ๖ คน ทุกครั้งที่ออกปฏิบัติ การในทุกฝูงบิน จะมีนักวิทยาศาสตร์ไปด้วยหนึ่งคน 18

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร จากการที่ปฏิบัติการทำฝนหลวง จำเป็นต้องใช้เครื่องบินใน การปฏิบัติงานด้วย อีกทั้งภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการรวมสอง หน่วยงานที่มีความเกื้อกูลกันเป็นหน่วยงานเดียวกัน และยกฐานะ เป็นสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร สังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดย “กองการบินเกษตร” ซึ่งรับผิดชอบด้านอากาศยาน เป็น “ส่วน การบิน” และ “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ซึ่งรับผิดชอบด้าน การปฏิบัติการฝนหลวง เป็น “ส่วนฝนหลวง” ภารกิจของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กว้างขวางขึ้น ครอบคลุมทั้งปฏิบัติการฝนหลวงให้แก่เกษตรกรและประชาชน เติมน้ำให้แหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการดัด แปรสภาพอากาศและสาขาที่เกี่ยวข้อง บินบริการสนับสนุนการ ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบินสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการเกษตรและการปฏิบัติ งานของส่วนราชการอื่น จึงมีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบเป็นลุ่มน้ำ และมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำลุ่มน้ำ ๘ ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๒๕ ลุ่มน้ำหลัก 19

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร (ต่อ) วิวัฒนาการในลำดับต่อมา ในการทำงานของสำนักฝนหลวง และการบินเกษตร คือ การแบ่งโซนดูแลรับผิดชอบ แต่ยังต้องกลับ ส่วนกลางอยู่เมื่อหมดภารกิจ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ในปี ๒๕๓๕ นอกจากจะมีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เข้ามาเสริม มี การทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว อัตรากำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ก็เพิ่มมากขึ้น จาก ๖๐ คน ในช่วงเริ่มต้นก่อตั้ง เป็นเกือบ ๕๐๐ คน 20

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เวลาที่ล่วงเลยมาถึง ๒๐ ปี กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมาก ยิ่งความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ภาวะความแห้ง แล้งและการขาดแคลนน้ำกลับยิ่งรุนแรงมากกว่า ปฏิบัติการฝน หลวงจึงต้องขยายขอบเขตภารกิจ บทบาท และมีส่วนร่วม ทั้งด้าน การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการของประเทศ สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม “กรมฝนหลวงและการบินเกษตร” ได้รับการก่อตั้ง เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีลำดับความเป็นมา ดังนี้ เมื่อ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๑๘ มีพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงาน ปฏิบัติการฝนหลวง (Royal Rainmaking Research and Development Institute, RRRDI) เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับ โครงการพระราชดำริฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โดยมี ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้รับสนองพระ ราชดำริ ในการคิดค้น ทดลอง กรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา 21

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ต่อ) ในวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการรวมสำนักงาน ปฏิบัติการฝนหลวงและกองบินเกษตร เป็นหน่วยงานเดียวกันก่อ ตั้งเป็น “สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร” (Bureau of the Royal Rainmaking and Agricultural Aviation, BRRAA) เพื่อ ปฏิบัติการฝนหลวงให้แก่เกษตรกรและประชาชน รวมทั้งเติมน้ำใน แหล่ง เก็บกักน้ำต่างๆ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการดัดแปร สภาพอากาศ และบินบริการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบินสนับสนุน การปฏิบัติงานด้านการเกษตรของส่วนราชการอื่น ปี ๒๕๕๔ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้ง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ พัฒนาโครงสร้างระบบราชการ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ มีพระราชบัญญัติ ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ (จัดตั้งกรมฝน หลวงและการบินเกษตร) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “กรม ฝนหลวงและการบินเกษตร” เพื่อให้การบริหารจัดการการปฏิบัติ การฝนหลวง เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีความ คล่องตัวในการบูรณาการภารกิจร่วมกับส่วนราชการอื่น 22

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ต่อ) โดยมีการแบ่งส่วนราชการ เป็นไปตามกฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัด กระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ และ กฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔๐ ก วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ 23

ตราสัญลักษณ์ และความหมาย ๑. พระปรมาภิไธย “ภปร.” อยู่ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ครอบอยู่เหนือพญานาค หมายถึง พระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทุ่มเทประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีฝน หลวงขึ้นมา เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรของพระองค์ และหมายถึง ร่มพระบารมีที่แผ่ปกป้องคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน ใน โครงการพระราชดำริฝนหลวง ๒. พญานาคพ่นน้ำ หมายถึง เทพเจ้าแห่งการให้น้ำและความ อุดมสมบูรณ์แก่สรรพชีวิตทั้งปวง พญานาคมีปีกพ่นน้ำ เปรียบ เสมือนเทพเจ้า ที่สามารถบินไปให้น้ำทางอากาศหรือพ่นน้ำจาก ฟ้าลงมาสู่ดิน ๓. เบื้องล่างมีอักษรว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 24

บรรณานุกรม ฝนหลวง - วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง https://www.royalrain.go.th ประวัติความเป็นมา - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th ประวัติความเป็นมา - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร http://rainmaking.royalrain.go.th

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook