Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เลขที่15 ใบงานที่3.1

เลขที่15 ใบงานที่3.1

Published by phonphan29092546, 2022-08-22 06:16:20

Description: เลขที่15 ใบงานที่3.1

Search

Read the Text Version

ภาษีมูลค่าเพิ่ม สาระสำคัญ ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถขจัด ปัญหาภาษีซ้ำซ้อน มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนและการส่งออก และมีกลไกป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่ถูกจัดเก็บจากสัดส่วนของมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ประเภทของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 5. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดประสงค์กา รเรียนรู้ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชีซื้อขายสินค้า กรณีจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. บันทึกบัญชีซื้อขายสินค้า กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. แสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ละเอียดรอบคอบ ไม่ลอก ผลงานของผู้อื่น ปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แบบทดสอบก่อนเรียน คำชี้แจง : จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ก. การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอน การผลิต ข. ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการ ผลิตสินค้าหรือบริการ และการ จำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่ เก็บจากลูกค้าแล้วนำภาษี มูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล ค. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ ง. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็น ปกติธุระ จ. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก ภาษีขาย-ภาษีซื้อ 2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ผู้ที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือ ให้บริการเกินกว่ากี่ล้านบาท ต่อปี ก. 1.5 ล้านบาทต่อปี ข. 1.6 ล้านบาทต่อปี ค. 1.7 ล้านบาทต่อปี ง. 1.8 ล้านบาทต่อปี จ. 1.9 ล้านบาทต่อปี 3) ข้อใดกล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถูกต้อง ก. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้า ข. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ขายสินค้า ค. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขาย ง. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ จ. เป็นภาษีที่ต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า

4) กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะต้องบันทึกตามข้อใด ก. ลูกหนี้การค้า ข. เจ้าหนี้การค้า ค. ลูกหนี้-สรรพากร ง. เจ้าหนี้-สรรพากร จ. เจ้าหนี้เงินกู้ 5) Input Tax หมายถึง ก. ลูกหนี้การค้า ข. เจ้าหนี้การค้า ค. ภาษีซื้อ ง. ภาษีขาย จ. ตั๋วเงิน 6) ข้อใดไม่ใช่ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ก. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม กฎหมายและมีรายรับ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ข. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน ค. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วย การนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ง. ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจทางการค้าที่มีรายรับจากการขายสินค้า/บริการนั้น ๆ โดยมียอดขาย สินค้า/บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จ. ผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ 7) ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ข. บุคคลธรรมดา ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. บริษัทจำกัด จ. บริษัทมหาชนจำกัด

8) ผู้ประกอบการยกเว้นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่สามารถจดทะเบียนภาษีได้ ยกเว้นกิจการใด ก. การให้บริการขนส่ง ข. ผู้ที่ตั้งแพงลอยริมถนน ค. ขายพืชผักทางการเกษตร ง. ผู้ประกอบการที่ขายของอยู่ในห้างสรรพสินค้า จ. ผู้ประกอบการขายสินค้าเกิน1.8ล้านบาท/ปี 9) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบันมีอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ ก. 3 % ข. 4 % ค. 5 % ง. 6 % จ. 7 % 10) กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากอะไร ก. เป็นการลดภาระให้กับประชาชน ข. เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน ค. เป็นการให้ความเท่าเทียมประชาชน สแกนเพื่อทำ ง. เพราะว่าเสียเวลา แบบทดสอบ จ. เพราะไม่อยากเสีย นะคะ

ผังความคิด ( Mined Mapping) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5.การจดทะเบียน 1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.การยกเว้น 2.ประเภทของกิจการที่ต้อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม

https://www.makewebeasy.com/th/blog/what-is-vat/ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย ผู้ ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อ และภาษีขายมาหักลบกันผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูก ภหานีษ้-ีสมูรลรคพ่าาเพกิ่รมปหรรืะอกภอาบษีดข้วายยมากกว่าภาษีซื้อ จะเป็น เจ้าหนี้-สรรพากร 1.ภาษีซื้อ (Input Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาการซื้อวัตถุดิบ/ สินค้า/สินทรัพย์และบริการต่างๆ จากกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษี มูลค่าเพิ่ม 2.ภาษีขาย (Output Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขาย วัตถุดิบ/สินค้าและบริการต่างๆ ของกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษี มูลค่าเพิ่ม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ให้ คำนวณภาษีซื้อและภาษีขายประจำเดือน โดยดูจากบัญชีภาษีซื้อและภาษี ขายหรือจากรายงานภาษีซื้อและภาษีขายและหาผลต่าง 2. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้ คำนวณภาษีขายในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งจะมีผลทำให้ภาษีขายเท่ากับ 0 และ คำนวณภาษีซื้อในอัตราร้อยละ 7 ดังนั้นภาษีซื้อจะมียอดมากกว่าภาษีขาย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบการได้รับคืนภาษี รายงานที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำ รายงานที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ 1. รายงานภาษีซื้อ 2. รายงานภาษีขาย 3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ประเภทของกิจการที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพจ : ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชี ประเภทของกิจการที่ต้องเสียมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ 2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการซึ่งจะครอบคลุม ถึงการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร (เช่นการให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์จาก บริษัท ต่าง ประเทศที่ใช้ในไทย) และบริการที่ได้ทำในราชอาณาจักร แต่ใช้บริการจริง เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น รับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้ บริษัท ต่างชาติไปใช้ ต่างประเทศ 3. การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้นำเข้า

ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคล ธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติ บุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปีมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีหัก หนด้้าวที่ยขภอางษผูี้ซปื้อระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบ กำกับภาษีเพื่อเป็น หลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ 2.1 รายงานภาษีซื้อ 2.2 รายงานภาษีขาย 2.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 3.ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30 https://www.greenprokspfranchising.com

4 การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม https://www.greenprokspforsme.com ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ได้แก่ 1. ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือ ไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ 2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน 4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตาม กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

การจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้นไม่ต้องจด เพราะเป็นการ เพิ่มภาระให้กับประชาชนเนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าพืช ผลทางการเกษตร 1. ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่หรือลูกค้าต้องการใบ กำกับภาษีจากเราดังนั้น เราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ก็คือ ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น) ถึงแม้ว่าเรารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้าน / ปี ก็ตาม 2. มีรายได้ถึง 1,800,000 บาทต่อปีหรือไม่ถ้าถึงก็ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง https://www.businessplus.co.th

https://www.businessplus.co.th สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาประกอบการ ตั้งอยู่ 2.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ 3.กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความกำกับดูแลของสำนักบริหาร ภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่น ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ ประกอบการตั้งอยู่ก็ได้

แบบทดสอบหลังเรียน คำชี้แจง : จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1) ข้อใดกล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถูกต้อง ก. เป็นภาษีที่ต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า ข. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขาย ค. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ ง. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้า จ. เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ขายสินค้า 2) กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อจะต้องบันทึกตามข้อใด ก. ลูกหนี้-สรรพากร ข. เจ้าหนี้-สรรพากร ค. ลูกหนี้การค้า ง. เจ้าหนี้การค้า จ. เจ้าหนี้เงินกู้ 3) Output Tax หมายถึงข้อใด ก. ลูกหนี้การค้า ข. เจ้าหนี้การค้า ค. ภาษีซื้อ ง. ภาษีขาย จ. ตั๋วเงิน

แบบทดสอบหลังเรียน 4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ก. การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต ข. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ค. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ ง. ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้า หรือบริการ และการ จำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจาก ลูกค้าแล้วนำภาษี มูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล จ. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ 5) ข้อใดไม่ใช่ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ก. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฎหมายและมีรายรับ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ข. ผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ค. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่า ด้วยการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ง. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน จ. ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจทางการค้าที่มีรายรับจากการขายสินค้า/บริการ นั้น ๆ โดยมียอดขาย สินค้า/บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี 6) ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ข. บริษัทจำกัด ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. บุคคลธรรมดา จ. บริษัทมหาชนจำกัด

7) ผู้ประกอบการยกเว้นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่สามารถจดทะเบียนภาษีได้ ยกเว้นกิจการใด ก. ผู้ประกอบการขายสินค้าเกิน1.8ล้านบาท/ปี ข. ผู้ประกอบการที่ขายของอยู่ในห้างสรรพสินค้า ค. ขายพืชผักทางการเกษตร ง. การให้บริการขนส่ง จ. ผู้ที่ตั้งแผงลอยริมถนน 8) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบันมีอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ ก. 10 % ข. 8 % ค. 7 % ง. 2 % จ. 0 9) กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก อะไร ก. เป็นการลดภาระให้กับประชาชน ข. เป็นการให้ความเท่าเทียมประชาชน ค. เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน ง. เพราะว่าเสียเวลา จ.เพราะไม่อยากเสีย 10) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ผู้ที่มีรายรับจากการขาย สแกนเพื่อทำ สินค้าหรือให้บริการเกินกว่า แบบทดสอบ กี่ล้านบาทต่อปี นะคะ ก. 1.6 ล้านบาทต่อปี ข. 1.8 ล้านบาทต่อปี ค. 1.10 ล้านบาทต่อปี ง. 1.12 ล้านบาทต่อปี จ. 1.13 ล้านบาทต่อปี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook