Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวาทวิทยา4ใ

รายงานวาทวิทยา4ใ

Published by marinabilhla, 2021-09-01 02:30:11

Description: รายงานวาทวิทยา4ใ

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง การสือ่ สาร โดย นางสาวเขมวรรณ วรรณะ เลขที่ 2 นางสาวภทั รานษิ ฐ์ แสงจันทร์ เลขท่ี 8 นางสาววัสรีญา สบบู ก เลขท่ี 20 นางสาวธญั ญารัตน์ อรุณจิตร เลขท่ี 23 นางสาวอารญา ไชยบัณฑิต เลขท่ี 24 นางสาวมารนี า่ บลิ หละ๊ เลขที่ 26 เสนอ อาจารยว์ ศั รนันท์ ชทู ัพ รายงานน้เี ป็นสว่ นหนึ่งของการศึกษาวชิ า ETH 0101 วาทวิทยาสำหรับครู ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2564 หลกั สตู รสาขาวชิ าเคมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี



รายงาน เร่อื ง การสอ่ื สาร โดย นางสาวเขมวรรณ วรรณะ เลขท่ี 2 นางสาวภทั รานิษฐ์ แสงจันทร์ เลขท่ี 8 นางสาววัสรีญา สบูบก เลขท่ี 20 นางสาวธญั ญารตั น์ อรณุ จติ ร เลขที่ 23 นางสาวอารญา ไชยบัณฑิต เลขที่ 24 นางสาวมารีนา่ บลิ หล๊ะ เลขที่ 26 เสนอ อาจารย์วัศรนันท์ ชทู ัพ รายงานนี้เป็นส่วนหน่ึงของการศกึ ษาวิชา ETH 0101 วาทวทิ ยาสำหรบั ครู ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2564 หลักสูตรสาขาวชิ าเคมี คณะครุศาสต์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏสรุ าษฎรธ์ านี

คำนำ หนังสืออิเลก็ ทรอนิกส์ (E-Book) นี้ จัดทำเพื่อประกอบการเรียนในรายวชิ าวาทวิทยามีเน้ือหาเก่ียวกับ การสื่อสารจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการสื่อสารได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งใน หนงั สือเลม่ น้ี ประกอบไปด้วย 1. ความหมายของการสอ่ื สาร 2. องคป์ ระกอบของการสอื่ สาร 3. ลกั ษณะของภาษาไทย 4. ความสัมพันธ์ระหวา่ งภาษากบั การส่ือสาร คณะผู้จดั ทำหวังไว้เปน็ อย่างย่ิงว่า หนงั สอื เล่มนีจ้ ะอำนวยประโยชน์ต่อการเรยี นตามสมควร ขอขอบคุณอาจารยว์ ัศรนันท์ ชทู ัพ อาจารยป์ ระจำรายวิชาวาทวทิ ยาที่คอยให้คำแนะนำ และเพื่อน ๆ สมาชกิ ในกลมุ่ ทค่ี อยชว่ ยเหลือกันจนหนงั สอื เล่มนีส้ ำเรจ็ ลลุ ่วงไปไดด้ ว้ ยดี คณะผจู้ ัดทำ สิงหาคม 2564

สารบัญ เรอื่ ง หนา้ การสือ่ สาร..............................................................................................................................1 ความหมายของการสือ่ สาร..........................................................................................1 องค์ประกอบของการสอ่ื สาร........................................................................................1 ผ้สู ง่ สาร หรอื ผ้เู ขา้ รหสั …………………………………………………………………..………2 ผรู้ ับสาร หรือผ้ถู อดรหัส…………………………………………………………………………2 สาร……………………………………………………………………………………………………..2 ช่องทางการสื่อสาร………………………………………………………………………………..3 ลกั ษณะและความสำคญั ของภาษาไทย……………………………………………………………….3 ความหมายของภาษา…………………………………………………………………………….3 ความสำคญั ของภาษา……………………………………………………………………………4 ลักษณะของภาษาไทย……………………………………………………………………….…..4 ความสัมพันธ์ระหวา่ งภาษากบั การสื่อสาร…………………………………………………………11 บรรณานุกรม...............................................................................................................................13

สารบัญตาราง เร่อื ง หนา้ ภาษาไทยมีระบบเสียงพยญั ชนะ เสยี งสระ เสยี งวรรณยุกต์...................................................7

1 การส่อื สาร การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่จำเป็นยิ่งเพราะมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีความจำเป็นต้องติดต่อทำความเข้าใจระหว่างกันในแทบทุกเรื่อง ทุกกิจกรรม จึงสมควรได้เรียนรู้ให้เข้าใจ เรือ่ งของการสอื่ สารในประเด็นตา่ งๆดังต่อไปน้ี 1. ความหมายของการสอ่ื สาร กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2542 : หน้า55) ให้ความหมายของ การสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่อาศัยกระบวนการของการถ่ายทอดสารจาก ผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยอาศัยเครื่องมือวิธีใดวิธีหนึ่งให้ไปถึงเป้าหมายเพื่อให้มีความเข้าใจ ร่วมกัน การแสดงออกเพอื่ การตดิ ตอ่ สื่อสารนั้นมนษุ ย์จำเปน็ ต้องใช้ภาษาในดา้ นการพูด การฟงั การอา่ น และการเขยี น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2543 : หน้า9) ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การติดต่อกันระหว่างมนุษย์ เพื่อทำให้รับรู้เรื่องราวอันมีความหมายร่วมกันและเกิดการตอบสนองต่อกัน พิชิต แก้วกอ๋ ง (2549 : หนา้ 20) ใหค้ วามหมายของการสื่อสารว่า การสือ่ สารเปน็ การถา่ ยทอดความรู้ ความคิดเห็น เรื่องราวต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยอาศยั เครอื่ งนำสอ่ื สารเปน็ ตวั กลางถ่ายทอด ชนนั ว์ ชามทอง (2550 : หนา้ 10) ให้ความหมายของการส่ือสารวา่ การติดตอ่ ซึ่งกันและกนั ของบุคคล ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยอาศัยสื่อกลางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ อรอำไพ ศรีวิชัย (2555 : หน้า11) ให้ความหมายของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นการติดต่อและ ถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น ข้อมลู ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนข้นึ ไป โดยอาศยั สอ่ื ต่าง ๆ เพ่ือให้เกดิ ความเข้าใจ ที่ตรงกัน จากความหมายของการสื่อสารสามารถสรุปได้ว่า การสื่อสารเป็นพฤติกรรมการติดต่อกันระหว่าง มนุษย์โดยอาศัยกระบวนการที่มุ่งสร้างความเข้าใจร่วมกัน หรือความพยายามที่จะเเลกเปลี่ยนข่าวสารที่อาจ เป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์หรือการแสดง ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตาม ความเหมาะสม 2. องค์ประกอบของการส่อื สาร องคป์ ระกอบของการส่ือสารเป็นกระบวนการถา่ ยทอดสารของมนุษย์โดยท่วั ไปมี 4 ประการ คือ 2.1 ผู้ส่งสาร หรือผู้เข้ารหัส (sender / encoder) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มหรือเริ่มต้น ส่งสารไปให้อีกบุคคลหนึ่งจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งสารผ่านช่องทางหนึ่งไปยัง ผู้รับสาร ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงมีบทบาทในการชี้นำว่าพฤติกรรมการสื่อสารภายในสถานการณ์หนึ่ง ๆ นั้น จะเป็นไปในรูปใดและมีผลอย่างไรหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ส่งสารคือ ผู้กระตุ้น (stimulus) ที่ทำให้เกิด

2 การตอบสนองจากผู้รับสาร หรือผู้ส่งสารอาจเรียก ผู้เข้ารหัส (encoder) คือ ผู้ที่รับผิดชอบในการนำความคดิ ของผู้ริเริ่ม ความคิดหรอื แหลง่ สารส่งไปยังผู้ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย โดยการใ ช้สัญญาณและสัญลักษณ์ หรือเรียกว่า การเข้ารหัส (encoding) ซึ่งแสดงถึงเป้าหมายหรือสงิ่ ทแ่ี หล่งสารต้องการส่อื 2.2 ผ้รู บั สาร หรือผู้ถอดรหัส (receiver / decoder) คอื ผทู้ ี่รบั สารจากบคุ คลหนงึ่ หรอื กล่มุ บคุ คลหนึ่ง เมื่อได้รับสารผู้รับสารจะเกิดการตีความและการตอบสนองจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และสง่ ปฏิกิริยาตอบสนองกลบั ไปใหผ้ ู้ส่งสาร หรือผรู้ บั สารเรียกอกี อย่างหน่งึ ว่า ผ้ถู อดรหสั (decoder) คือ ผู้ท่ี ถอดความหมายของสัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่ผู้เข้ารหัสส่งมาหรืออีกนัยหนึ่ง คือ ผู้รับผิดชอบ การถอดรหสั ของสาร เพอ่ื ให้ผรู้ ับสารปลายทาง หรือผู้รบั สารทีผ่ ู้ส่งสารตอ้ งการให้ได้รบั สารของตน 2.3 สาร (message) คือ สิ่งที่เป็นผลิตผลของผูส้ ง่ สาร ซึ่งอยู่ในรูปของคำว่า “รหัส” หมายถึง สัญญาณ สัญลักษณ์ หรือกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่มีความหมายต่อคน และผู้รับสารสามารถเข้าใจ ความหมายของมันได้ก็ต่อเมื่อมีการถอดความหมายของสัญญาณหรือสัญลักษณ์ออกมา สัญญาณหรือ สัญลักษณ์ในที่นี้อาจเป็น คำพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ เครื่องหมาย หรือกิริยาท่าทางต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ แสดงหรือถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้รับสาร ซ่ึงสว่ นใหญแ่ ลว้ สารกค็ อื ภาษา (language) โดยสามารถแบง่ เนื้อหาของสารได้ 2 ประเภทคอื 2.3.1 รหัสของสารที่ใช้คำ (Verbal Message Codes) ได้แก่ ภาษาอันเป็นระบบของสัญลักษณ์หรือ ระบบของสญั ญาณที่มนุษย์ใช้เป็นเคร่ืองมอื ในการติดต่อซึ่งกนั และกนั มนษุ ยไ์ ด้สรา้ งข้นึ และพัฒนาสืบทอดโดย ลำดับภาษาจะมีโครงสร้างที่ทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ รวมเข้าไปด้วยกันอย่างมีความหมาย ส่วนประกอบของภาษา เช่น เสียง ( Sound) ตัวอักษร (Letters) คำ (Words) คำสะกดการันต์ เครื่องหมายต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเรียบเรียงเข้าเป็นถ้อยคำ เป็นวลี และประโยคที่มี ความหมาย โดยอาศัยระเบียบและกฎเกณฑ์ของภาษานั้น ๆ เป็นหลัก เช่น โครงสร้างประโยคตามหลักการ เขยี นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เปน็ ต้น 2.3.2 รหัสของสารที่ไม่ใช้คำ (Nonverbal Message Codes) ได้แก่ ระบบสัญลักษณ์ สัญญาณหรือ เคร่อื งหมายใด ๆ กต็ ามทไ่ี มเ่ ก่ียวข้องกับการใชถ้ ้อยคำ เช่น ดนตรี การเต้นระบำ อากปั กรยิ าท่าทาง (Gesture) การแสดงทางหน้าตา (Facial Expression) สี ธง สัญญาณไฟ ควัน สัญญาณ การวาดภาพ ฯลฯ ซง่ึ แตล่ ะอยา่ งมสี ว่ นประกอบย่อย และเมอ่ื รวมเขา้ ดว้ ยกนั ตามแบบทก่ี ำหนดกท็ ำใหม้ คี วามหมายขน้ึ 2.4 ช่องทางการสื่อสาร (channel) คือ ตัวกลางที่ช่วยในการนำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เปรียบเหมอื นทางหรอื พาหะระหวา่ งผรู้ ่วมสือ่ สาร แบง่ ชอ่ งทางการสอ่ื สารออกเปน็ 3 ประเภท 2.4.1 ช่องทางที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสาร ซึ่งได้แก่ คลื่นแสง คลื่นเสียง วิทยุ โทรเลข โทรทศั น์ หนังสือพมิ พ์ เป็นต้น ชอ่ งทางเหลา่ น้เี น้นหนักในเรื่องสอ่ื ทางเทคโนโลยี

3 2.4.2 ช่องทางที่เป็นพาหนะของสิ่งที่นำสาร เช่น อากาศ ซึ่งเป็นตัวนำคลื่นเสียง ไปสู่ ประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ หรือประสาททั้งห้า (การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการลิ้นรส) ชอ่ งทางประเภทนพี้ บในกระบวนการสอ่ื สารระหว่างบุคคล 2.4.3 วิธีในการเข้ารหัสและถอดรหัสสาร (mode of encoding and decoding) เช่น การใช้วิธีพูด การใช้วิธีเขียน เป็นต้น ซึ่งนักทฤษฎีนิเทศศาสตร์โดยทั่วไปไม่ยอมนิยาม “ช่องทางการสื่อสาร” ในความหมายน้ี สรุปได้ว่า กระบวนการสื่อสารของมนุษย์จะประกอบด้วยแหล่งสาร ซึ่งจะใส่รหัสสารและส่งสารผ่าน สื่อ หรือช่องทาง ผู้รับสารจะถอดรหัสที่แหล่งสารส่งมาให้ การท่ีจะเข้าใจ รับรู้ความหมายร่วมกันมากน้อย เพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบทางสังคม และวัฒนธรรมของ ผู้สง่ สารและผ้รู บั สาร กระบวนการติดตอ่ ส่อื สารมคี วามสมบูรณ์ยิ่งขน้ึ เมอื่ มีปฏกิ ริ ิยาตอบกลบั (feedback) 3. ลักษณะและความสำคญั ของภาษาไทย ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่ง ที่มคี วามงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตวั นกั ศึกษาในฐานะผู้ใช้ภาษาไทยควรอย่างย่ิงทจี่ ะเรียนรู้ลักษณะของ ภาษาไทย และตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยอันเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเป็นเครื่องมือสำคัญ ใน การสร้างเอกภาพความเปน็ ชาติไทย 3.1 ความหมายของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลกมีอยู่ เป็นจำนวนมาก บางภาษามีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แต่ในบางภาษาใช้ในการสนทนาเท่านั้น มีผู้ให้ ความหมายของภาษาไว้อย่างกว้างขวาง “ภาษา” มาจากคำ ภาษาสันสกฤต แปลว่า ถ้อยคำ หรือคำพูด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2534 : หน้า397) อธิบายความหมายของคำ “ภาษา” ไว้ดังนี้ “เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำ ทใ่ี ชพ้ ูดกัน มีความร้คู วามเข้าใจ” พระยาอนุมานราชธน (2515 : หน้า32-33) กล่าวว่า ภาษา ตามความหมายในนิรุกติศาสตร์ คือวิธีที่มนุษย์แสดงความในใจเพื่อให้ผู้ที่ตนต้องการได้รู้ โดยใช้เสียงพูดที่มีความหมายตามที่ได้ตกลงรับรู้กัน ซึง่ มีผไู้ ด้ยนิ รบั รแู้ ละเขา้ ใจ อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ (2537 : หน้า3) กล่าวว่า ภาษา ย่อมเป็นระบบสัญลักษณ์ในเชิงคำพูดหรือ เชิงการเขยี นทม่ี นุษย์เทา่ นนั้ กำหนดขน้ึ และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายต่อกันและกนั วิจินตน์ ภาณุพงศ์ (2538 : หน้า6) อธิบายว่า ภาษา หมายถึงเสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่ง มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสาร ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ และใช้ในการประกอบกิจกรรม รว่ มกนั

4 จากคำนิยามสามารถสรุปได้ว่า ภาษา คือ ระบบสัญลักษณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ ติดต่อสื่อสารกันในสังคมหนึ่ง ๆ มนุษย์ใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความรู้ มนุษย์จึงมีการถ่ายทอด ภาษาไปสลู่ กู หลาน และมนุษย์เรียนรู้ภาษาทั้งภาษาแรกของตนเอง และภาษาต่างประเทศอยูเ่ สมอ 3.2 ความสำคัญของภาษา ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มากเพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือ ของการเรียนรู้การพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอด วัฒนธรรมและการประกอบอาชีพที่สำคัญ ภาษาช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะ ภาษาเปน็ ถ้อยคำทใี่ ชใ้ นการส่ือสารสรา้ งความเขา้ ใจกันในสงั คม 3.3 ลักษณะของภาษาไทย การพูดการใช้ภาษาไทยจะมี คำ เป็นหน่วยภาษาที่แทนความหมาย เมื่อต้องการจะสื่อความหมายใดก็นำคำ ที่มีความหมายนั้นมาเรียงต่อกันเพื่อแทนความคิดหรือเรื่ องราว ทต่ี ้องการสอื่ ออกไป โดยคำนน้ั ๆ ไมต่ ้องเปล่ยี นแปลงรูป หรือผนั แปรเพอ่ื ใหส้ อดคล้องกับคำอ่ืนในลักษณะของ ความสมั พนั ธ์ทางไวยากรณ์ ในภาษาไทย คำมีความสัมพันธ์กนั ด้วยตำแหน่งและความหมาย เชน่ เป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับการกระทำ เป็นอาการที่กระทำ เป็นต้น ตำแหน่งและความหมายของคำสัมพันธ์กับหนา้ ท่ีของคำนน้ั ด้วยภาษาไทยมีลกั ษณะเฉพาะของตนเอง แตกตา่ งจากภาษาอ่ืน ดงั นี้ 3.3.1 คำภาษาไทยแต่เดิมเป็นคำพยางค์เดียว สามารถนำคำไปใช้ในประโยคได้ทันที แต่ในปัจจุบันภาษาไทยได้รับอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ ทำให้คำในภาษาไทยมีคำหลายพยางค์มากข้ึน คำพยางคเ์ ดยี วท่เี ปน็ ภาษาไทยแท้ ดังนี้ 1.1 คำเรียกสว่ นต่าง ๆ ของรา่ งกาย เชน่ หนา้ หัว หู 1.2 คำบอกอาการโดยท่วั ไป เช่น ไป มา นัง่ 1.3 คำเรียกเครอื ญาติ เชน่ พอ่ แม่ พี่ 1.4 คำสรรพนาม เช่น เขา แก เอง็ 1.5 คำเรียกช่อื สิ่งของ เช่น ถ้วย ชาม ไห 1.6 คำบอกจำนวน เชน่ หนึ่ง สอง สาม 1.7 คำเรยี กชอื่ เคร่ืองมอื เคร่ืองใช้ เช่น จอบ เสียม แพ เบด็ 1.8 คำเรยี กชอ่ื ธรรมชาติหรือปรากฏการณต์ ามธรรมชาติ เชน่ ดิน นำ้ ลม 1.9 คำทเี่ ปน็ ลักษณะนามแตเ่ ดมิ เช่น กอง ก้อน อัน 1.10 คำขยายทใี่ ช้แต่เดิม เช่น อ้วน ผอม สงู 1.11 คำเรียกสีต่าง ๆ เชน่ แดง ขาว ฟา้ 3.3.2 ภาษาไทยจะมตี ัวสะกดตรงตามมาตรา มี 8 มาตรา ดังน้ี 1. แม่กก พยญั ชนะในแม่กก คือ ก , ข , ค , ฆ ตัวสะกดตรงแม่ เช่น จาก รกั โบก ตัวสะกดไมต่ รงแม่ เช่น เมฆ เลข วิหค

5 2. แมก่ ด พยัญชนะในแม่กด คอื จ , ช , ซ , ฎ , ฏ , ฐ , ฑ , ด , ต , ถ , ท , ธ , ศ , ส, ษ ตวั สะกดตรงแม่ เช่น นดั ปัด ขาด ตวั สะกดไมต่ รงแม่ เช่น อาจ กา๊ ซ ปรากฎ อฐู ครฑุ 3. แม่ กบ พยญั ชนะในแม่กบ คือ บ , ป , พ , ฟ , ภ ตัวสะกดตรงแม่ เชน่ กราบ จับ หอบ ตัวสะกดไมต่ รงแม่ เช่น บาป ภาพ ลาภ 4. แม่ กง พยัญชนะในแมก่ ง คอื ง ตวั สะกดตรงแม่ เชน่ ปลง ขัง มุ้ง จงู 5. แม่ กน พยญั ชนะในแม่กน คือ ญ , ณ , น , ร , ล , ฬ ตวั สะกดตรงแม่ เชน่ ขน ปนั จาน ตัวสะกดไมต่ รงแม่ เช่น คณุ จร กาล 6. แม่ กม พยญั ชนะในแม่กม คือ ม ตัวสะกดตรงแม่ เชน่ จม มมุ บม่ 7. แม่ เกย พยญั ชนะในแม่เกย คือ ย ตวั สะกดตรงแม่ เชน่ พาย สวย คยุ 8. แมเ่ กอว พยัญชนะในแมเ่ กอว คอื ว ตวั สะกดตรงแม่ เช่น ราว วัว ปลิว 3.3.3 ภาษาไทยมีคำลักษณนาม เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนามขา้ งหนา้ หรือใช้เพือ่ แสดงรูปลักษณะและชนิดของสิ่งต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถจำแนกตามหมวด ดังน้ี 1. ลักษณะนามบอกชนดิ เช่น ภิกษุ สามเณร ชปี ะขาว ใช้ลักษณนามว่า รปู คน ใช้ลักษณนามว่า คน สตั ว์เดียรัจฉาน หรือสิง่ ของบางอยา่ ง เช่น โตะ๊ ตะปู ควาย ตุก๊ ตา ใชล้ ักษณนามวา่ ตัว ภาชนะส่วนมาก ผลไม้บางชนดิ ใบไม้ ใช้ลักษณนามว่า ใบ ปี่ ขลุ่ย ใชล้ ักษณนามวา่ เลา 2. ลักษณะนามบอกหมวดหมู่ เช่น ทหารหรือคนทำงานรวมกนั ของทรี่ วมกนั ไว้ เชน่ ทราย ใช้ลกั ษนามวา่ กอง คนหรอื สิ่งของทอ่ี ยรู่ วมกันและมีลกั ษณะเดียวกัน ใช้ลักษณนามว่า พวก,เหลา่ สัตวช์ นดิ เดยี วกนั ท่อี ยดู่ ้วยกันจำนวนมาก ใชล้ ักษณนามว่า ฝงู คนกลุม่ หน่งึ ที่ลอ้ มกนั เชน่ เตะตะกรอ้ เล่นดนตรี เลน่ เพลง ใช้ลกั ษณนามวา่ วง 3.ลกั ษณะนามที่บอกสัณฐาน เช่น สง่ิ ของที่มที รงกลม เชน่ แหวน กำไล ใช้ลักษณนามว่า วง สง่ิ ของลักษณะแบน ๆ เช่น กระดาษ กระเบอ้ื ง ใช้ลกั ษณนามว่า แผ่น สิ่งของทม่ี รี ปู แบนกว้างใหญ่ เชน่ ผ้า เสื่อ พรม ใชล้ ักษณนามว่า ผนื สิ่งของทบึ หนามีรปู รา่ งยาว เชน่ เหลก็ ดินสอ ใช้ลักษณนามวา่ แทง่ สง่ิ ของลกั ษณะกลมยาวมีปลอ้ งคัน่ เช่น ไม้ไผ่ อ้อย ใช้ลักษณนามว่า ลำ สง่ิ ของลกั ษณะเป็นเส้นเลก็ ยาว เชน่ เชอื ก ดา้ ย ลวด ใชล้ ักษณนามว่า เส้น

6 4.ลกั ษณะนามบอกจำนวนและมาตรา เชน่ สิ่งของทม่ี ชี ดุ ละ 2 สงิ่ เชน่ รองเทา้ ถงุ เทา้ ช้อนกับสอ้ ม เชิงเทียน ใชล้ กั ษณนามว่า คู่ จำนวนนบั สงิ่ ของท่ีเทา่ กบั 12 ใชล้ ักษณนามวา่ โหล 5.ลกั ษณะนามบอกอาการ เช่น ลกั ษณะการกรดี มาประกบซอ้ นกัน เชน่ การจบี พลู ใช้ลักษณนามว่า จีบ สง่ิ ท่เี ป็นมว้ นและมีขนาดยาว เชน่ บหุ รี่ ใชล้ กั ษณนามว่า มวน สิง่ ท่ถี กู รัดรวมเปน็ กลุ่ม เชน่ ฟืน ใชล้ ักษณนามวา่ มัด 3.3.4 คำภาษาไทยคำเดียวมีหลายความหมาย และมีหลายหน้าท่ี ภาษาเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกหน้าที่ของคำ คำจะมีหน้าท่ี และความหมาย เปล่ียนแปลงไปตามตำแหน่งที่ปรากฏในประโยค ตัวอย่าง คำว่า “ฉัน” ในประโยคต่อไปนี้ ประโยค 1 : ฉันและเพอ่ื นกำลังไปมหาวทิ ยาลยั (ประธาน) ประโยค 2 : พระภิกษุกำลังฉันภตั ตาหารเพล (กรยิ า) 3.3.5 ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ การเรียงคำเข้าประโยคในภาษาไทยเป็นเรื่องสำคัญมาก ความหมายของคำจะเปลยี่ นไป เม่อื ตำแหนง่ ทคี่ ำนัน้ ปรากฏในประโยคเปล่ียนไป ตวั อย่าง ประโยค 1 : เธอรกั เขา (เธอเป็นประธาน เขาเปน็ กรรม) ประโยค 2 : เขารักเธอ (เขาเปน็ ประธาน เธอเป็นกรรม) 3.3.6 คำขยายจะวางไว้หลังคำที่ถูกขยาย การวางคำขยายในภาษาไทยจะวางไว้หลังคำที่ถูก ขยาย คำขยายจะช่วยให้รายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น อากาศหนาว (คำขยาย หนาว ขยายคำว่า อากาศ) แขนขวา (คำขยาย ขวา ขยายคำวา่ แขน) เดินเรว็ (คำขยาย เร็ว ขยายคำว่า เดิน) 3.3.7 ภาษาไทยมีระบบเสียงพยัญชนะ เสยี งสระ เสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะ สว่ นใดส่วนหนึง่ ในปาก เช่น คอ ป่มุ เหงอื ก ฟัน ริมฝปี าก ซึง่ ทำใหเ้ กดิ เปน็ เสียงตา่ ง ๆ กัน โดยพยญั ชนะไทย มี 44 รปู 21 เสยี ง ดงั ต่อไปนี้ เสียง รูป 1 /ก/ ก 2 /ข/ ข ฃ ค ฅ ฆ 3 /ง/ ง 4 /จ/ จ 5 /ช/ ช ฌ ฉ 6 /ซ/ ซ ศ ษ ส

7 เสียง รปู 7 /ด/ ด ฎ 8 /ต/ ต ฎ 9 /ท/ ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ 10 /น/ น ณ 11 /บ/ บ 12 /ป/ ป 13 /พ/ พ ภ ผ 14 /ฟ/ ฟ ฝ 15 /ม/ ม 16 /ย/ ย ญ 17 /ร/ ร 18 /ล/ ล ฬ 19 /ว/ ว 20 /ห/ ห ฮ 21 /อ/ อ เสียงสระ หรือเสียงแท้คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใด ในปากแลว้ เกิดเสียงกอ้ งกงั วาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซง่ึ เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น สระเดีย่ ว สระเสยี งส้ัน (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ สระเสียงสระยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ เออ โอ ออ สระประสม มี 6 เสียง ดงั น้ี เอยี ะ เอยี เอือะ เอือ อวั ะ อัว สระประสมท่ีเกิดจากสระเสยี งสั้น (รสั สระ) อิ + อะ = เอยี ะ อึ + อะ = เออื ะ อู + อะ = อวั ะ สระประสมท่ีเกิดจากสระเสียงยาว (ทฆี สระ) อี + อา = เอีย อื + อา = เอือ อู + อา = อวั เสียงวรรณยกุ ต์ หรือเสยี งดนตรี ทใ่ี ชใ้ นภาษาไทยมี 5 เสียง ดงั ต่อไปนี้ 1. เสียงสามญั (ไม่มีรูป) เช่น ปา หมายถงึ ขว้างไป, ซัดไป

8 2. เสยี งเอก เช่น ปา่ หมายถงึ บรเิ วณท่ีมตี น้ ไมห้ ลายชนดิ ข้ึนอยอู่ ย่างแน่นหนาและกว้างใหญ่ 3. เสยี งโท เชน่ ป้า หมายถงึ พ่สี าวของพ่อหรอื แม่, คำเรยี กหญงิ ทมี่ อี ายมุ ากกว่าพ่อหรือแม่ 4. เสยี งตรี เช่น ป๊า หมายถึง พ่อ 5. เสียงจัตวา เชน่ ป๋า หมายถึง ชายสงู วยั ทีม่ กี ำลงั ทรัพย์ ปรนเปรอผหู้ ญิง 3.3.8 ภาษาไทยมีการสรา้ งคำใหม่ เปน็ วิธกี ารเพม่ิ จำนวนคำในภาษาไทยใหม้ ีความหลากหลาย ซึ่งภาษาไทยมวี ธิ ีการสรา้ งคำ ดงั น้ี ประสมคำ ซอ้ นคำ หรือ ซ้าคำ คำมูล (ชัยวัฒน์ สีแก้ว,2537 : หน้า11) ได้กล่าวถึงความหมายของคำมูลไว้ว่า คำมูล หมายถึง คำดัง้ เดิมในภาษา คำมูลอาจเปน็ คำไทยแท้ หรือเปน็ คำทมี่ าจากภาษาอื่น และอาจมีพยางค์เดียวหรือหลาย พยางค์ เช่น วิ่ง น้ำ นาฬิกา โดยคำมูลหลายพยางค์นั้น เมื่อแยกออกเป็นแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย เช่น มะมว่ ง คำประสม (พระยาอุปกิตศิลปสาร,2545 : หนา้ 60-62) ไดก้ ล่าวถึงลักษณะของคำประสม ดงั นี้ 1. คำประสมท่เี อาคำมลู มีเนอื้ ความต่างๆประสมเข้ากนั มใี จความเปน็ อกี อยา่ งหนึ่ง เชน่ หางเสอื (ทบี่ งั คบั ทิศทางเรอื ) 2. คำท่ีมีลักษณะคล้ายกับ “คำสมาส” ในภาษาบาลี คำประสมพวกนี้มีคำต่อไปนี้ประกอบอยู่ข้างหน้า คือ ชา่ ง ชาว นกั เครอ่ื ง หมอ เช่น ชา่ งไฟฟ้าชาวสวน เครือ่ งครวั นักศกึ ษา หมอดู 3. คำไทยประสมกับคำไทย เช่น ไฟ + ฟ้า = ไฟฟา้ 4. คำไทยประสมกับคำตา่ งประเทศ เชน่ พวง (ไทย) + หรีด (อังกฤษ – wreath) = พวงหรดี 5. คำตา่ งประเทศประสมกบั คำตา่ งประเทศ เชน่ รถ (บาล)ี + เก๋ง (จนี ) = รถเก๋ง คำซ้อน (วเิ ชียร เกษประทมุ ,2558 : หน้า58-61) ไดอ้ ธบิ ายลกั ษณะคำซ้อนไว้วา่ คำซ้อน คือ การนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ตรงข้ามกัน มาซ้อนเข้าคู่กัน เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขนึ้ คำซอ้ น สามารถจำแนกจดุ ประสงคข์ องการซอ้ นคำได้เปน็ 2 ลกั ษณะ ดงั น้ี 1. คำซ้อนเพื่อความหมาย เป็นการนำคำท่ีมคี วามหมายสมบรู ณ์มาซอ้ นกนั ตั้งแต่ 2 คำ ขน้ึ ไป ไดแ้ ก่ 1.1 คำที่มคี วามหมายเหมอื นกัน เชน่ บ้าน + เรอื น กลายเปน็ บ้านเรอื น 1.2 คำทีม่ ีความหมายคล้ายกัน เชน่ วัว + ควาย กลายเปน็ วัวควาย 1.3 คำทีม่ คี วามหมายตรงข้ามกนั เช่น ถกู + ผิด กลายเป็น ถูกผิด 2. คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกันมาซ้อนกัน คำที่นำมาซ้อนนั้น อาจมี ความหมายทั้งสองคำ มีความหมายเพียงคำเดียว หรือไม่มีความหมายทั้งสองคำก็ได้ เช่น นุ่มนิ่ม โด่งดัง ซบุ ซิบ ข้อสงั เกตเก่ียวกับคำซ้อน มีขอ้ สังเกตทสี่ ำคัญดังน้ี คำท่ีนำมาซอ้ นอาจมจี ำนวน 2 คำ 4 คำ หรอื 6 คำ คำซ้อนเรยี กอีกอยา่ งหน่ึงว่า คำคู่ เชน่

9 คำซ้อน 2 คำ ขา้ ทาส ศีลธรรม งอแง คำซอ้ น 4 คำ กู้หน้ยี มื สนิ ชว่ั ดถี ่ีหา่ ง ที่นอนหมอนมงุ้ คำซ้อน 6 คำ อดตาหลบั ขบั ตานอน นอนกลางดนิ กินกลางทราย คำซ้ำ (วันเพ็ญ เทพโสภา,2558 : หน้า79) ได้ให้คำนิยามของคำซ้ำไว้ว่า คำซ้ำ คือ การนำคำเดียวกนั มาซ้ำกนั เพ่ือให้มีความหมายเปลี่ยนไปซงึ่ ความหมายน้ันจะเพ่มิ หรือลดนอ้ ยลงก็ได้ ลกั ษณะความหมายของคำซำ้ มีดงั น้ี 1. คำซำ้ ที่บอกพหพู จน์ มักเปน็ คำนามและสรรพนาม เช่น เดก็ ๆ กำลังร้องเพลง พี่ ๆ ไปโรงเรยี น 2. คำซ้ำที่บอกแยกจำนวน มักเป็นคำลักษณะนาม เช่น ล้างชามให้สะอาดเป็นใบ ๆ อ่านหนังสือเป็น เร่อื ง ๆ 3. คำซ้ำท่ีเนน้ ความหมายของคำเดิม มักเปน็ คำวเิ ศษณ์ เชน่ พูดดัง ๆ นั่งน่งิ ๆ 4. คำซำ้ ที่บอกความหมายโดยประมาณท้ังทเ่ี ก่ยี วกบั เวลาและสถานท่ดี ังนี้ 4.1 บอกเวลาโดยประมาณ เช่น เราเรียนภาษาไทยตอนสาย ๆ 4.2 บอกสถานที่โดยประมาณ เชน่ แถว ๆ นวนครมีรา้ นกาแฟ 5. คำซ้ำทเ่ี ปน็ สำนวน เชน่ งๆู ปลา ๆ 3.3.9 ระดับของภาษา การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และ สัมพนั ธภาพระหวา่ งบุคคล ซ่งึ อาจแบง่ ภาษาเปน็ ระดบั ต่างๆได้ 5 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร การกล่าวสดดุ ีหรือการกล่าวเพ่ือจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกลา่ วปิดพธิ ี เปน็ ต้น ผู้สง่ สารระดับ น้ีมกั เปน็ คนสำคัญหรือมีตำแหน่งสงู ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดยี วกนั หรอื เปน็ กลมุ่ คนสว่ นใหญ่ สมั พนั ธภาพ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้า ท่ีประชุม ตวั อย่างเชน่ เน่ืองในโอกาสพระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ดว้ ยเกล้าดว้ ยกระหม่อม ขา้ พระพุทธเจ้า … ชื่อ-นามสกลุ …

10 2. ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียน ข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผสู้ ่งสารและผรู้ ับสารมกั เปน็ บุคคลในวงอาชพี เดียวกัน ภาษาระดับน้เี ป็นการสอื่ สารใหไ้ ด้ผลตามจุดประสงค์ โดยยดึ หลกั ประหยดั คำและเวลาให้มากท่สี ดุ ตัวอยา่ งเชน่ ธนาคารทรัพย์มหาชน ขอขอบพระคุณท่านสมาชิกบัตรที่ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคาร แต่เนื่องจากขณะนี้บัญชีบัตรเครดิตของท่านได้เลยกำหนดเวลาการชำระเงินแล้ว ธนาคารจึงใคร่ขอ ความรว่ มมอื จากทา่ นโปรดดำเนินการชำระยอดขนั้ ตำ่ ตามทร่ี ะบไุ ว้ข้างตน้ โดยทา่ นสามารถใช้ชุดชำระ เงนิ ซึง่ แนบมาพร้อมจดหมายน้ี หากทา่ นมีขอ้ สงสัยประการใด กรุณาตดิ ต่อเจ้าหน้าทีธ่ นาคาร 3. ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน มีการโต้แย้งหรือ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันเป็นระยะ ๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยาย ในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธรุ ะตา่ ง ๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน ตวั อยา่ งเชน่ “ปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย” ถ้าแปลตรงไปตรงมาก็จะต้องแปลว่า “การรบกับวัฒนธรรมไทย” ฟังชอบกลอยู่ หากจะใส่คำว่า “เพื่อ” เข้าไปสักคำหน่ึงระหว่าง “รณรงค์” กับ “วัฒนธรรมไทย” น่าจะฟงั เข้าใจง่ายขึน้ และตรงกบั วัตถปุ ระสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่เกนิ 4-5 คนในสถานท่แี ละกาละท่ีไม่ใชส่ ่วนตัว อาจจะเปน็ บุคคลที่คนุ้ เคยกัน การเขยี นจดหมายระหว่าง เพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึก คุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุม่ เนื้อหาเป็นเรือ่ งทั่วๆไป ในการดำเนิน ชีวิตประจำวนั กิจธุระต่างๆรวมถงึ การปรึกษาหารือรว่ มกัน ตวั อย่างเชน่ ผมไม่ใช่เด็กเรียนดีที่พอไปได้จริง ๆ ก็เป็นวิชาเกี่ยวกับภาษาและศิลปะนอกนั้นแล้ว กระท่อนกระแทน่ จะตกมิตกแหล่ ผมไม่ชอบอา่ นตำราไมช่ อบท่องจำอะไรทัง้ สน้ิ 5. ภาษาระดบั กันเอง ภาษาระดับน้มี ักใช้กันในครอบครวั หรอื ระหว่างเพ่ือนสนทิ สถานท่ีใช้มักเป็นพื้นท่ี สว่ นตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด มกั ใชใ้ นการพูดจากนั ไมน่ ิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้น นวนยิ ายหรือเรอ่ื งส้นั บางตอนท่ตี อ้ งการความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ผูห้ ญิงท่ปี ลอ่ ยให้พุงพลุย้ อว้ นเป็นพะโล้อย่างนี้ นอกจากจะดูไม่ได้แล้ว ยงั จะตายไวเสยี อกี ดว้ ย

11 4. ความสมั พันธ์ระหว่างภาษากับการสอื่ สาร มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการสื่อสารถึงกันและกัน ภาษากับการสื่อสารจึงมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ในที่นี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการสื่อสาร 3 ดา้ น ได้แก่ 4.1 ความสัมพันธ์ด้านความหมาย ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการใช้ภาษากับการสื่อสาร คือ ความพยายามทจ่ี ะเขา้ ถงึ เน้อื แท้ของภาษา เพื่อให้เกดิ ความเข้าใจและรับรู้ตรงกนั 4.2 ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์ เป็นขั้นตอนการใช้ภาษาที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ทุกระดับ สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์ซึ่งมักจะซ่อนอยู่ภายใน คือ เพื่อบ่งบอกถึงความในใจ บอกเล่าความต้องการ ถา่ ยทอดความรู้ ความคดิ และทัศนคติของผู้ใช้ภาษาหรือผู้ทาํ การสือ่ สารซ่ึงสามารถ สรุป ดงั น้ี 1) เพอื่ ใหค้ วามรูแ้ ละขอ้ มูลข่าวสาร 2) เพอื่ ให้ความสุขความบันเทงิ และความสบายใจ 3) เพ่อื ให้เกิดความคดิ ริเริ่มสร้างสรรค์ส่งิ ใหม่ๆ 4) เพอ่ื ให้เกดิ การตดิ ต่อประสานงานและสร้างสรรค์งานร่วมกัน 4.3 ความสัมพันธ์ด้านบทบาทและหน้าที่ เป็นสิ่งสําคัญที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปตลอดเวลา ในขณะที่การสื่อสารกําลังดําเนินไปอยู่อย่างต่อเนื่องนั้น บุคคลผู้ได้รับบทบาทตามองค์ประกอบของ การสอ่ื สารก็จะปฏิบตั ิหนา้ ทขี่ องตนไปตามบทบาททีไ่ ด้รบั บทบาทและหน้าท่ีของผู้ส่งสาร ในฐานะผ้สู ง่ สารสามารถทำได้อย่างชัดเจนสลับซับซ้อนมากที่สุดท้ัง ตรงไปตรงมา บิดเบือน จูงใจ เปรียบเทียบ อุปมา อุปไมย ปกติซ่อนเร้น หรือทำลายล้าง ฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็แตกต่างกันตามความสามารถในการสื่อสารที่ได้รับการฝึกฝนและประสบการณ์ ของแตล่ ะบุคคล มีบทบาทและหน้าท่ี ดังนี้ 1) มีความรู้เกี่ยวกับสารหรือเนื้อหาที่ตนต้องการจะสื่อไปยังผู้รับสารและรู้จักเลือกใช้ภาษาที่ตน จะสอ่ื ไปถึงผรู้ ับสารไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง 2) กําหนดจดุ มงุ่ หมายของเนอื้ หา และมเี จตนาท่แี น่ชัดทจ่ี ะให้ผู้รับสารไดร้ ับทราบเรื่องราวของตน 3) คํานึงถึงความสามารถและความพร้อมในการรับรู้สารของผู้รับสารที่ตนต้องการจะสื่อสารด้วย ซง่ึ พิจารณาได้จากพนื้ ความรู้ ประสบการณ์ และทศั นคตขิ องผรู้ บั สารเปน็ หลกั 4) มีความจรงิ ใจ ปรารถนาดมี นี ้ำใจและมใี จท่ีเปดิ กวา้ งยอมรับฟังความคิดเหน็ ของผู้รบั สาร 5) รู้จักเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมต่อการนําเสนอสาร โดยคํานึงถึงปัจจัยทางด้านเวลาและ ความคุ้มทนุ เปน็ เกณฑ์

12 บทบาทและหน้าที่ของผู้รับสาร ในฐานะผู้รับสารสามารถรับสารที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และ ความคดิ รวบยอดอยใู่ นวงกวา้ งที่สุดแตก่ ารเลอื กรับสารข้ึนอยกู่ บั ความสนใจ มบี ทบาทและหนา้ ท่ี ดงั นี้ 1) มีความสามารถในการกําหนด รู้ความหมายของสาร หรือเรื่องราวต่างๆที่ผู้ส่งสาร ตดิ ต่อมาถึงตนไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง 2) มคี วามรูพ้ นื้ ฐานทางดา้ นภาษาและกระตือรือร้นทจี่ ะแสดงปฏกิ ริ ิยาสนองตอบต่อสาร 3) มคี วามพรอ้ ม สนใจ และใสใ่ จท่ีจะรบั รเู้ รอ่ื งราวหรือขอ้ มลู ขา่ วสารตา่ ง ๆ อยเู่ สมอ 4) มีทศั นคติทด่ี ี มีความคิดรเิ ร่ิมสรา้ งสรรคร์ ้จู ักใชค้ วามคิดในการแกไ้ ขปัญหา และกลา้ ตดั สินใจ 5) มีสมาธิในการรับสารและมีวิจารณญาณที่ดีในการท่ีจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนไปตามเจตนา ข อ ง ผ ู ้ ส ่ ง ส า ร โ ด ย พ ิ จ า ร ณ า ว ่ า เ ร ื ่ อ ง ท ี ่ ต น ไ ด ้ ร ั บ ท ร า บ น ั ้ น ไ ม ่ ค ว ร เ ป ็ น เ ร ื ่ อ ง ท ี ่ น ํ า ค ว า ม ท ุ ก ข ์ ห รื อ ความเดอื ดรอ้ นมาสูต่ นเอง และผู้อื่น สรุปได้ว่า ภาษากับการสื่อสารมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน จึง ทำให้มีบทบาทสําคัญ ต่อวิถีการดําเนินชีวิตของมนุษย์อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ การใช้ภาษาอย่างถูกต้องจะช่วยขยายโอกาส การเรยี นรเู้ พราะภาษาท่ใี ชค้ อื หัวใจของการสอ่ื สาร

13 บรรณานุกรม สมหวัง อินทรไ์ ชย และคณะ. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวชิ า ภาษาไทยเพอ่ื การ ส่อื สาร GEN 1021. [Online]. เขา้ ถึงไดจ้ าก : https : //reg2.crru.ac.th/reg/files/20150928032030_1f93dc44b702fa66f529bf0b01f5c063.pdf [2564,สิงหาคม 26] การสื่อสาร. (2554). ใน จฬุ าวทิ ยานุกรม [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2 %E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8% A%E0%B8%B2%E0%B8%A3_(Communication) [2564, สงิ หาคม 26] สุปราณี ชัยวชั รพนั ธ.์ (2553). การสื่อสาร. นครศรฯี : โรงพมิ พ์อกั ษรการพิมพ์ ปัน่ อะทะเทพ และคณะ. (2551). ความสัมพันธร์ ะหว่างภาษากบั การสื่อสาร. [Online]. เขา้ ถึงได้จาก : http://www.eledu.ssru.ac.th/aekkaphob_in/file.php/1/1_.pdf?fbclid=IwAR2Quf1AFjV3n H4P86txql2i4GGHcjpn4kcbSqkdWBAxwWYqqMKOFaR0ZCw [2564,กรกฎาคม,14]


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook