Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใช้สมาธิในการพัฒนา/บริหารสมองในวัยเด็ก

ใช้สมาธิในการพัฒนา/บริหารสมองในวัยเด็ก

Published by pawitchaya1331, 2021-09-22 04:33:16

Description: ใช้สมาธิในการพัฒนา/บริหารสมองในวัยเด็ก

Search

Read the Text Version

ใช้สมาธิในการพัฒนา/บริหารสมองวัยเด็ก

สารบัญ 3 บทนำ 4 การพัฒนาในวัยเด็ก สาเหตุของการขาดสมาธิในวัยเด็ก 5 ปัญหาของการที่เด็กขาดสมาธิ การแก้ปัญหาอาการขาดสมาธิ 6-7 ผลที่ได้จากการทำสมาธิ 8-9 10

บทนำ เด็กที่มีสมาธิจดจ่อดี ดูได้จากการที่เขาสามารถทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายหรืองานในความ รับผิดชอบได้เสร็จและงานนั้นออกมาเรียบร้อย เช่น ต่อบล็อกจนเสร็จแล้วไปเล่นอย่างอื่น นั่งทำการบ้านจนเสร็จไม่ค้างๆ คาๆ แต่ปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตที่รวดเร็ว อาจทำให้เด็กถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ส่งผลให้มีสมาธิจดจ่อน้อยลง เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องหรือทำงานที่ได้รับมอบหมาย ให้เสร็จ เพราะวอกแวกไปกับสิ่งเร้ารอบข้าง ไม่สามารถทนต่อสิ่งเร้าเหล่านั้นได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่พ่อแม่ต้องเสริมสร้างทักษะนี้ให้ลูกในชีวิตประจำวัน การที่คุณพ่อคุณแม่ กำหนดเวลาในการทำกิจวัตรแต่ละวันให้ลูกอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน จะช่วยให้เขามีใจจดจ่อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เสร็จเป็นอย่างๆ ก่อนจะทำกิจกรรมอื่นต่อไป ไม่ใช่ทำสิ่งนี้ไม่เสร็จ ก็ไปทำสิ่งอื่นๆ แล้ว เป็นต้น เด็กที่ถูกฝึกในเรื่องการวางแผนและบริหารเวลามาเป็นอย่างดี จะมีวินัยสูง มีความรับผิดชอบ รู้ ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น เวลาไหนควรอ่านหนังสือ เวลาใดควรเป็นเวลา พักผ่อน ฯลฯ เด็กในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่มีสมาธิจดจ่อที่ดี เนื่องจากเด็กจะรู้สึกมีความ มั่นคงและสบายใจในสิ่งที่เขาสามารถควบคุมได้โดยเฉพาะยิ่งเมื่อเขารู้ว่า ในแต่ละวันเขาจะต้องทำ อะไรบ้าง 3

การพัฒนาในวัยเด็ก ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือเรียกเกิดถึง 7 ปีหากมาส่งเสริม หลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไป ถึง 80 % ของผู้ใหญ่ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันพันเท่า เด็กเรียนรู็ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือ ข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิต ประจำวันที่ไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 4

สาเหตุของการขาดสมาธิในวัยเด็ก เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง โดยมี กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญ ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็น เพียงปัจจัยที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง มารดาที่ ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารผิดบางชนิดเช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น 30-40% ของเด็ก สมาธิสั้น จะพบความบกพร่องในทักษะการเรียน (Learning Disorders) ร่วมด้วย ไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาลหรือช็อกโกแลต มากเกินไป การขาดวิตามิน สีผสมอาหาร โรคภูมิแพ้ การดูทีวีหรือ เล่นวิดีโอเกมมากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิโรคสมาธิสั้น 5

ปัญหาของการที่เด็กขาดสมาธิ ด้านการขาดสมาธิจดจ่อตั้งใจ มีอาการ 6 ข้อขึ้นไป - มักจะล้มเหลวในการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ ต้องใส่ใจรายละเอียด เกิดความผิดพลาดอันเป็นผลมากจากความ ประมาททั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือการทำกิจกรรมใดๆเสมอ - มักมีปัญหาในการจดจ่อตั้งใจทำตามกำหนดการ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมเสมอ - มักไม่สนใจฟังแม้มีคนกำลังคุยด้วยอยู่ข้างหน้า - มักไม่ทำอะไรตามขั้นตอนและไม่สามารถทำงานที่โรงเรียน ทำงานบ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมายให้สำเร็จ ลุล่วงเช่น ขาดการมุ่งความสนใจ หรือพยายามหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอน - มักมีปัญหาในการบริหารจัดการสิ่งที่ต้องทำหรือกิจกรรมที่ต้องทำ - มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจทำตามกำหนดการที่ต้องใช้ความพยายามและความอดทนสูงในช่วงเวลา นานๆเช่น งานที่ได้รับหมอบหมายที่โรงเรียนและการบ้าน - มักจะลืมสิ่งของไม่จำเป็นในการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรม เช่น อุปกรณ์ในการเรียน ดินสอ หนังสือ เครื่องมือต่างๆ กระเป๋าสตางค์ กุญแจ เอกสาร แว่นตา โทรศัพท์มือถือ เป็นต้า - ใจลอย วอกแวกง่าย ขาดสมาธิจดจ่อสนใจ - มักลืมสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน 6

ปัญหาของการที่เด็กขาดสมาธิ ด้านการตื่นตัว อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น มีอาการ 6 ข้อขึ้นไป - มักอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง กระดิกมือหรือเท้าตลอด นั่งนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ - มักลุกออกจากที่นั่งในสถานการณ์ที่ไม่ควรลุกออกไป - มักวิ่งไปรอบๆ หรือปีนป่ายซุกซนในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก หรือรู้สึกอึดอัดกระสับกระส่ายในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ - มักไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมสันทนาการอย่างเงียบๆได้ - มักจะตื่นตัวหรือลุกลี้ลุกลนอยู่ตลอดเวลา - มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด - มักจะพูดตอบสวนคำถามไม่รอให้ถามคำถามให้จบก่อน - มักมีปัญหาเกี่ยวกับการรอให้ถึงจังหวะหรือลำดับของตนเอง - มักรบกวนหรือก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่น หรือขัดจังหวะในระหว่างบทสนทนา 7

การแก้ปัญหาอาการขาดสมาธิ การเพิ่มสมาธิ แนวทางในการเพิ่มสมาธิให้กับเด็กสมาธิสั้นได้หลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติตามวัยของเด็ก และความถนัดของผู้ดูแล สิ่งสำคัญเด็กต้องชอบรู้สึกสนุกและท้าทาย สรุปขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.ช่วยลูกแบ่งขั้น ตอนการทำงาน 2.การกำกับลูกแบบตัวต่อตัว 3.การหัดให้ลูกนั่งท ำงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นไม่สามารถทำ คุณควรฝึกให้ลูกทำงานอย่างต่อเนื่อง อะไรได้นาน การแบ่งย่อยงานและขั้น การกำกับลูกแบบตัวต่อตัวคือ การใช้ ตอนในการทำงานจะช่วยให้ลูกทำงาน เวลาในการดูแลลูกในการทำกิจกรรม จะนั่งได้นานเท่าใดขึ้นอยู่กับความ ได้สำเร็จจากนั้นค่อยๆเพิ่มงานให้มาก โดยการนั่งอยู่กับลูก คอยกำกับเด็ก รุนแรงของโรคและอายุของเด็กการนั่ง ขึ้น การเพิ่มช่วงสมาธิที่นานขึ้นและ แบบตัวต่อตัว จะช่วยให้เด็กมีสมาธิดี ทำงานอย่างต่อเนื่องคือการให้เด็กนั่ง ทำงานได้สำเร็จรวมถึงได้รับคำชมเป็น ขึ้น อย่าปล่อยให้ลูกทำงานคนเดียว ที่ยอมรับของพ่อแม่จะช่วยให้ลูกภาค เพราะลูกอาจใจลอยคุณควรนั่งทำงาน ทำงานโดยไม่รู้จะไปจนครบเวลาที่ ของคุณไปเงียบๆคอยถามเป็นระยะๆ กำหนด ควรมีนาฬิกาจับเวลาด้วยเพื่อ ภูมิใจในตนเองอีกด้วย เพื่อดึงสมาธิลูกกลับมาที่งาน ให้เด็กสามารถดูเวลาได้ เมื่อเด็ก 8 สามารถนั่งได้ตามเวลาที่กำหนดให้ ชื่นชมและควรเพิ่มเวลาขึ้นอีกเล็กน้อย ในครั้งต่อไป

การแก้ปัญหาอาการขาดสมาธิ 4.นั่งสมาธิในเด็กโต 5.ทำกิจกรรมที่ใช้พลั งงานอย่างสร้างสรรค์ 6.การกำหนดจุดสนใจ เช่นการออกกำลังกาย เด็กสมาธิสั้นมัก การนั่งสมาธิ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วย ให้ได้ผลดี โดยการฝึกให้นั่งสงบ เป็นเด็กที่พลังงานมากมาย การออก เราสามารถกำหนดจุดสนใจโดย และหลับตาจะกำหนดภาวนาลม กำลังกายจนเหนื่อยมากๆจะช่วยให้เด็ก การสอนให้ลูกสังเกตจุดเด่นของ สถานที่ วัตถุ ขณะผ่านเส้นทาง หายใจอย่างไรขึ้นอยู่กับความ สมาธิสั้นดีขึ้น วุ่นวายน้อยลง และยัง ต่างๆที่น่าสนใจ ถามว่าเห็นอะไร เหมาะสมหรืออาจให้เด็กนึกสร้าง เป็นกิจกรรมที่สร้างวินัยให้เด็กด้วย การ บ้างที่ขับผ่านเช่น รถ : เลขท้าย คำขึ้นในใจเช่น \"ฉันดีขึ้นทุก ออกกำลังกายควรทำอย่างสม่ำเสมอ รถ, ตู้ATM : สี เป็นต้น วัน\"หรือบางที่อาจดัดแปลงการ ตรงเวลาทุกวันและควรมีผู้ใหญ่ควบคุม ให้ออกกำลังกายอย่างจริงจัง การออก นั่งสมาธิโดยให้ลูกนั่งสงบ กำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดีขึ้น หลับตาและฟังเพลงเบาๆโดย ได้แก่ การวิ่ง ว่ายน้ำ เพราะเป็นการออก กำลังกายที่กระทำคนเดียวไม่มีคนอื่นมา ไม่มีสิ่งรบกวน ทำให้วอกแวก -สิ่งที่สำคัญในการเพิ่มสมาธิให้เด็กคือการที่พ่อแม่มีความเข้าใจลักษณะของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นการลดสิ่งเร้าจะเพิ่มสมาธิและ แบ่งขั้นตอนในการทำงานและทำตามขั้นตอนทีละขั้นจะช่วยให้เขาทำงานได้เสร็จจากนั้นค่อยๆเพิ่มงานให้มากขึ้นสมาธิของเขาจะ 9 นานขึ้นการมีสมาธิมีความตั้งใจจะช่วยให้เด็กทำกิจกรรมได้สำเร็จได้รับความชื่นชมเป็นที่ยอมรับนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในตนเอง

ผลที่ได้จากการทำสมาธิ การทำสมาธิมีส่วนช่วยในภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เช่น - ช่วยให้ทัศนคติใหม่ๆที่ดีขึ้น เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ ที่ทำให้เกิดความเครียด - เพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียด - ช่วยให้เกิดการรู้จักตนเอง - ช่วยมุ่งความสนใจให้อยู่กับปัจจุบัน - ลดอารมณ์หรือความคิดในแง่ลบ - ช่วยเพิ่มจิตนาการและความคิดที่สร้างสรรค์ - เพิ่มความอดทนอดกลั้น - เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการทำงาน 10

รายชื่อสมาชิก นางสาวปริยฉัตร ศรีเกาะ 64010498 หาข้อมูล นายปวรปรัชญ์ เลิศดรุณาณัติ 64010500 หาข้อมูล นางสาวปวิชญา นุ่นเอียด 64010502 รูปเล่มE-book นางสาวปางทิพย์ คงเพ็ชร 64010517 รูปเล่มE-book นางสาวเปมิกา ธนชัยสิทธิ์ 64010532 หาข้อมูล นายพงคภัค พรหมวิจิต 64010534 คลิปวิดิโอ นายพชร โรจน์ศิริทรัพย์ 64010545 คลิปวิดิโอ นายพชรพล สีแดง 64010548 รูปเล่มE-book นายพฤติรัตน์ มูลมะณี 64010565 คลิปวิดิโอ Thank you


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook