Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 1 ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้า.pdf

หน่วยที่ 1 ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้า.pdf

Published by e27asy, 2018-05-21 11:25:16

Description: หน่วยที่ 1 ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้า.pdf

Search

Read the Text Version

หนว่ ยท่ี 1 ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟา้ เนื้อหาสาระการสอน/การเรียนรู้ 1.1 คณุ สมบัตขิ องไฟฟ้า ไฟฟูาจัดเป็นพลังงานชนิดหน่ึง ช่วยอานวยความสะดวกแก่มวลมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์บนโลกมีความเป็นอยู่ท่ีดีมากข้ึน โดยใช้ไฟฟูาเป็นแหล่งพลังงานจ่ายไปให้กับอุปกรณ์ เคร่ืองมือ เครื่องใช้ต่างๆ ให้สามารถทางานได้ ปจั จุบันมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟูาในการดาเนินชีวิต ประจาวัน และทากิจกรรมต่างๆ เพ่ิมมากข้ึนทุกขณะ สง่ ผลต่อการก่อให้เกิดโอกาสที่จะขาดแคลนพลังงานไฟฟูา เพราะไม่สามารถหาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟูามาเพม่ิ เตมิ ไดเ้ พียงพอ การผลิตไฟฟาู และการนาไฟฟาู ไปใช้งาน แสดงดงั รปู ที่ 1.1        รปู ที่ 1.1 การผลิตไฟฟูาและการนาไฟฟูาไปใชง้ าน ไฟฟูาเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปพลังงานได้ โดยอาศัยค่าแรงดันและกระแส จ่ายไปให้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ไฟฟูาให้เกิดการทางาน โดยจ่ายไปในรูปกระแสไหล ไฟฟูาเคลื่อนที่ได้ดีในวัตถุตัวนาจาพวกโลหะชนิดต่างๆ เช่น ทองคา ทองแดง เงิน เหล็ก ตะก่ัว และอะลูมิเนียม เป็นต้น ไฟฟูาไม่สามารถเคล่ือนท่ีผ่านไปได้หรือเคล่ือนท่ีไปได้ลาบากในวัตถุท่ีเป็นพวกฉนวน เช่น พลาสติก ยาง แก้ว ไม้ และเซรามกิ เปน็ ต้น ไฟฟาู เป็นสง่ิ ที่มองไม่เห็น ไม่สามารถรับรู้ได้นอกจากไปสัมผัสโดยตรง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สัมผัสถูกไฟฟูา จึงมักเรียกว่าภัยมืด การทดสอบว่าสายไฟฟูามีไฟฟูาหรือไม่ หรืออุปกรณ์ไฟฟูาที่ติดต้ังพร้อมใช้งานมีไฟฟูาหรือไม่ จะต้องทดลองใชอ้ ุปกรณ์ไฟฟาู เหล่านน้ั หรือใชเ้ ครือ่ งมอื วัดไฟฟาู ตรวจวัดทดสอบดู ไฟฟูามีประโยชน์อนันต์และมีโทษมหันต์ เป็นคากล่าวท่ีทันสมัยอยู่เสมอ ผู้ท่ีใช้ไฟฟูาทุกคนจาเป็นตอ้ งคานึงถงึ ความปลอดภัยในการใชง้ านทุกครั้ง และใช้งานด้วยความระมัดระวัง โดยไม่ตกอยู่ในความประมาท 1.1.1 ประโยชนข์ องไฟฟา้

ประโยชน์ของไฟฟูา มีมากมายมหาศาล ถูกนาไปใช้งานอย่างแพร่หลายท่ัวไป เช่น งานการผลิตทางอุตสาหกรรม งานทางการเกษตร งานด้านสื่อสารโทรคมนาคม งานด้านให้บริการ งานด้านอานวยความสะดวก และการให้ความรู้ ความบันเทิง เป็นต้น ประโยชน์ของไฟฟูาเม่ือพิจารณาทางด้านการนาไปใช้งาน แบ่งออกได้ดงั นี้ 1. ใหค้ วามร้อน โดยเปลยี่ นพลังงานไฟฟาู ใหเ้ ปน็ ความร้อน เช่น เตาไฟฟูา เตาอบ เตารีดไฟฟูาหมอ้ หุงขา้ วไฟฟาู เคร่ืองเปุาผม และหวั แรง้ บดั กรี เปน็ ต้น 2. ให้ความเย็น โดยเปล่ียนพลังงานไฟฟูาให้เป็นความเย็น เช่น ตู้แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้น้าเย็น และเครือ่ งปรับอากาศ เปน็ ต้น 3. ให้พลังงานกล โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟูาให้เป็นพลังงานกล เช่น มอเตอร์ พัดลมสว่านไฟฟูา เครอื่ งซกั ผ้า และเครอื่ งดดู ฝนุ เป็นต้น 4. ให้อานาจแม่เหล็ก โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟูาให้เป็นสนามแม่เหล็ก เช่น กระด่ิง ไฟฟูา หม้อแปลงไฟฟาู ลาโพง และแมเ่ หลก็ ไฟฟูา เป็นต้น 5. ใหแ้ สงสวา่ ง โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟูาให้เป็นแสงสว่าง เช่น ไฟฉาย หลอดไฟฟูา และการเกิดประกายไฟจากการเชอื่ มไฟฟูา เปน็ ต้น 6. ให้ความสะดวกสบาย โดยจ่ายพลังงานไฟฟูาไปให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทาให้เกิดการทางานในอปุ กรณอ์ ิเล็กทรอนิกส์ชนดิ ตา่ งๆ เช่น เครอื่ งรับวิทยุ เคร่ืองรับโทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นวีดีทศั น์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และวิทยุสอื่ สาร เปน็ ตน้ 1.1.2 โทษของไฟฟ้า โทษของไฟฟูามีมากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ไฟฟูาอย่างผิดวิธีขาดความระมัดระวงั หรือใช้ไฟฟาู ด้วยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดอันตรายตามมาอย่างมากมาย ทั้งต่อทรพั ย์สนิ เชน่ อปุ กรณ์ไฟฟาู และอิเล็กทรอนกิ ส์ชารดุ เสียหาย และทาให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น หรือต่อร่างกายมนุษย์ เชน่ รา่ งกายพิการ และเสียชีวติ เป็นตน้ จงึ จาเปน็ ต้องมีการปูองกันอันตรายท่ีอาจเกิดข้ึนจากการใช้ไฟฟูาอันตรายเกิดจากไฟฟูาแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ไฟฟูาช็อต (Short Circuit) และไฟฟูาดูด (ElectricShock) ท้ังสองลกั ษณะน้มี ีสาเหตุของการเกดิ ทต่ี ่างกนั และอันตรายที่ไดร้ ับก็ตา่ งกนั ดว้ ย 1. ไฟฟูาช็อต หรอื เรียกอีกชื่อวา่ ไฟฟูาลดั วงจร คือ สภาวะท่ีกระแสไฟฟูาไหลได้ครบวงจร โดยไม่ผา่ นอุปกรณ์ไฟฟาู เคร่ือง ใช้ไฟฟูา หรือภาระ (Load) ผลของไฟฟูาช็อต จะทาให้เกดิ ความร้อนสงู เม่ือความร้อนถงึ จุดลุกไหม้ ทาใหเ้ กิดเพลิงไหม้ขน้ึ ได้ การเกิดไฟฟูา ช็อตแสดงดังรูปท่ี 1.2

รปู ที่ 1.3 ไฟฟาู ดูด รปู ท่ี 1.2 เพลงิ ไหมเ้ กดิ จากไฟฟาู ชอ็ ต 2. ไฟฟูาดูด คือ สภาวะท่ีกระแสไฟฟูา ไหลผ่านร่างกายมนุษย์ลงพื้นดิน หรือไหลผ่าน ร่างกายมนุษย์ครบวงจร จะก่อให้เกิดอาการเกร็ง ของกล้ามเน้ือ จนร่างกายมนุษย์ไม่สามารถดิ้น หรอื สะบดั ให้หลดุ ออกจากไฟฟาู ได้ ผลท่ีเกิดจาก ไฟฟูาดูดอาจทาให้พิการ หรือถึงเสียชีวิตได้ การ เกิดไฟฟูาดดู แสดงดงั รูปที่ 1.3 1.2 อันตรายของไฟฟ้าตอ่ รา่ งกายมนษุ ย์ ไฟฟูาเป็นพลังงานที่สามารถเคลื่อนที่ได้ การนาไฟฟูาไปใช้งานโดยใช้ปริมาณของแรงดันท่ีแหล่งกาเนิดไฟฟูาผลิตขึ้นมา และปรมิ าณของกระแสทเ่ี กิดจากภาระต้องการใช้งาน คุณสมบัติของไฟฟูา คือกระแสไหลผ่านได้ดีในวัตถุตัวนาจาพวกโลหะทุกชนิด โดยที่ขณะกระแสไหลไม่สามารถมองเห็น เพียงแต่รับรู้ได้จากการท่ีอุปกรณ์ เครื่องมือ และเคร่ืองใช้ไฟฟูาเกิดการทางาน และจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดทดสอบทางไฟฟูาหรือจากการสัมผัสโดยตรงของร่างกายมนุษย์ที่ทาให้เกิดกระแสไหลครบวงจร นั่นคือเป็นผลของการเกิดไฟฟูาดูดร่างกายมนษุ ย์เปน็ ตัวนาไฟฟาู เชน่ เดียวกับตวั นาอ่นื ๆ ไฟฟาู สามารถผ่านร่างกายไปได้อย่างสะดวก ดังนั้นจึงควรระมดั ระวังไม่ใหร้ า่ งกายทุกสว่ นสมั ผัสถกู ตัวนาไฟฟูาท่ตี อ่ รบั พลังงานอยู่กับแหล่งกาเนิดไฟฟูา หรือในขณะท่ีมีกระแสไหลผ่านตัวนาไฟฟูาเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างย่ิงขณะที่ส่วนหน่ึงส่วนใดของร่างกายมนุษย์สัมผัสอยู่กับพื้นน้า พื้นดิน พื้นปูน หรือโลหะที่ต่อถึงพื้นดินหรือพ้ืนน้า กระแสสามารถไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดินหรือพ้ืนน้าได้สะดวก หรือในอีกกรณีหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์สัมผัสถูกสายตัวนาไฟฟูาพร้อมกันมากกว่าหนึ่งเส้นร่างกายมนุษย์จะกลายเป็นภาระไฟฟูาทันทีแทนเคร่ืองใช้ไฟฟูา จะทาให้เกิดกระแสไหลผ่านร่างกายมนุษย์ครบวงจร เรียกการเกิดกระแสไหลในลักษณะน้ีว่าไฟฟูาดูด การถูกไฟฟูาดูดของร่างกายมนุษย์จากการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟูา สามารถแยกตามลักษณะของการสัมผัสไฟฟูาได้ 2 แบบ คือ การสัมผัสโดยตรง ( DirectContact) และการสัมผสั โดยอ้อม (Indirect Contact) 1.2.1 การสัมผสั ไฟฟา้ โดยตรง

การสัมผัสไฟฟูาโดยตรง คือ เป็น รูปท่ี 1.4 การสมั ผสั ไฟฟูาโดยตรงกรณีที่ส่วนของร่างกายคนสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟูาจ่ายมาโดยตรง เช่น สายไฟฟูาร่ัวเพราะฉนวนชารุด มีคนใช้มือจับสายไฟฟูาที่รั่ว และจากการท่ีใช้นิ้วมือหรือโลหะขนาดเล็ก เช่น ลวด ไขควง หรือโลหะอื่นๆ แหย่เข้าไปในรูเต้ารับไฟฟูา เป็นต้น ลักษณะการสัมผัสไฟฟูาโดยตรงน้ี จะมีผลให้เกิดกระแสจานวนมากไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายคนไปลงดิน ทาให้เกิดอันตรายมากคนอาจพิการหรือถึงเสียชีวิตได้ การสัมผัสไฟฟูาโดยตรง แสดงดงั รปู ที่ 1.41.2.2 การสัมผัสไฟฟ้าโดยอ้อมการสัมผัสไฟฟูาโดยอ้อม เป็นการสมั ผัสท่ีคนไม่ได้สัมผัสกับส่วนท่ีมีไฟฟูาโดยตรง แต่เกิดจากคนสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟูา หรือเคร่ืองใช้ ไฟฟูาตามปกติ ซ่ึงโดยปกติจะไม่มีไฟฟูาจ่ายออกมาที่ตัวถังโลหะ แต่ถ้าเมื่ออุปกรณ์ไฟฟูา หรือเคร่ืองใช้ ไฟฟูาเกิดไฟฟูารั่ว จึงมีไฟฟูาจ่ายอยู่ท่ีตัวถังโลหะของอุปกรณ์ไฟฟูา หรือเครื่องใช้ไฟฟูาน้ัน เมื่อคนไปสัมผัสจึงเกิดก ร ะ แ ส ไ ห ล ผ่ า น เ ข้ า สู่ ร่ า ง ก า ย ค น ไ ป ล ง ดิ น รปู ท่ี 1.5 การสัมผัสไฟฟูาโดยออ้ มเชน่ เดยี วกับการสัมผสั ส่วนที่มีไฟฟูา การสัมผัสไฟฟูาโดยอ้อมมีอนั ตรายสงู มาก เพราะจากการขาดความระมัดระวังของผู้ใชง้ าน การสัมผสั ไฟฟูาโดยอ้อม แสดงดังรปู ท่ี 1.5ร่างกายคนเมอ่ื ถกู ไฟฟาู ดูด จะเกิดอาการเกร็งของกลา้ มเนื้อจนไม่มแี รงสะบัดให้หลุดออกจากไฟฟูาได้ผลของไฟฟูาดูดอาจทาให้บาดเจ็บ พิการ หรืออาจถึงเสียชีวิตได้ อันตรายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยข้ึนอยู่กับขนาดของกระแสที่ไหลผ่านร่างกายไป กระแสไหลผ่านน้อยเกิดอันตรายน้อย กระแสไหลผ่านมากเกิดอันตรายมาก ความสมั พันธข์ องปรมิ าณกระแสไหลผา่ นรา่ งกายคนมผี ลต่อปฏิกิริยาที่เกิดขน้ึ แสดงดงั ตารางท่ี 1.1ตารางที่ 1.1 ความสมั พันธ์ของปรมิ าณกระแสไหลผา่ นร่างกายคนมผี ลตอ่ ปฏกิ ริ ิยาที่เกิดขน้ึปริมาณกระแสไหลผ่าน ปฏิกิรยิ าทเ่ี กิดขึ้น

ร่างกายคน ยงั ไม่มีผลหรือไม่รูส้ ึกต่ากว่า 0.5 มลิ ลิแอมป์ (mA) รูส้ กึ จั๊กจีห้ รือกระตุกเลก็ น้อย รู้สึกส่นั เล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ คนส่วนใหญ่สามารถหนีได้ แต่ 1 mA การเคลอ่ื นท่อี ยา่ งไม่ระวงั จะทาให้เกิดอนั ตรายได้ 5 mA รู้สึกเจ็บปวด สูญเสียการควบคุมกล้ามเน้ือ น่ีคือปริมาณ 6 – 25 mA (ผ้หู ญงิ ) กระแสท่รี ่างกายไมส่ ามารถขยบั เขยื้อนได้ 9 – 30 mA (ผูช้ าย) ได้รับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก อวัยวะที่เก่ียวกับการ หายใจหยุดทางาน กล้ามเนื้อหดตัวอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อข้อ 50 – 150 mA ตอ่ จะแขง็ ทาใหเ้ สียชีวติ ได้ หัวใจหยุดเต้น กล้ามเนื้อหดตัว เส้นประสาทถูกทาลาย 1 – 4.3 แอมแปร์ (A) ทาให้เสียชีวติ 10 A หัวใจหยดุ เต้น และถูกเผาไหม้อย่างรุนแรง เสียชีวติ 15 A กระแสเกินค่าต่าสุดที่ฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์จะตัด วงจร นอกจากน้ันระยะเวลาที่กระแสไหลผ่านร่างกายคน จะส่งผลถึงอันตรายท่ีจะเกิดข้ึนน้อยหรือมากด้วยกระแสไหลผ่านใช้เวลานอ้ ยเกดิ อันตรายน้อย กระแสไหลผา่ นใช้เวลามากเกิดอันตรายมาก ระยะเวลาท่ีถูกไฟฟูาดูดดังนั้นถ้าไม่มีบุคคลอื่นช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อันตรายท่ีได้รับก็จะสาหัสมากขึ้น คือหัวใจเต้นรัวเร็วหรือช้าซ่ึงอาจได้รบั อนั ตรายถึงเสยี ชีวิต เม่อื ระยะเวลาที่ถูกไฟฟูาดูดนานเกินกว่าระยะเวลากาหนดที่บอกไว้ แสดงดังตารางท่ี 1.2ตารางท่ี 1.2 ความสมั พนั ธ์ของปรมิ าณกระแสไหลผา่ นรา่ งกายคนกับระยะเวลาทท่ี าให้เสียชีวติปรมิ าณกระแสไหลผ่าน ระยะเวลา หมายเหตุ รา่ งกายคน เสียชวี ิต 2 นาที 15 mA นานกว่า 1 นาที 20 mA นานกวา่ 35 วนิ าที 30 mA นานกวา่ 3 วินาที 100 mA นานกวา่ 0.11 วนิ าที 500 mA นานกวา่ 0.01 วินาที 1 A นานกวา่

1.3 ข้อควรปฏิบตั ใิ นการใชไ้ ฟฟ้าอยา่ งถูกตอ้ งปลอดภัย การใช้ไฟฟูาทุกคร้ังควรคานึงถึงความปลอดภัย ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้อย่างประหยัด ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ผู้ใช้ไฟฟูาจึงจาเปน็ ตอ้ งเรียนรูว้ ิธีการใชไ้ ฟฟาู อย่างถูกต้อง ข้อควรปฏิบัตใิ นการใชไ้ ฟฟูาอยา่ งถูกต้องปลอดภัย ปฏิบัติได้ดังน้ี 1. ควรตรวจสอบใหแ้ นช่ ัดกอ่ นจ้างงานหรือทาสัญญากับบริษัท หรือช่างท่ีจะดาเนินการออกแบบ และเดินสายไฟตดิ ตงั้ ระบบไฟฟูาว่าเป็นผู้ทม่ี ีประสบการณ์ มีความรคู้ วามชานาญเช่ือถือได้เท่านนั้ 2. อุปกรณ์การติดต้ังทางไฟฟูาต้องเป็นชนิดท่ีได้รับการรับรองจากมาตรฐานต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่นสานกั งานมาตรฐานผลิตภณั ฑ์อตุ สาหกรรม (สมอ.), UL, VDE และ IEC เปน็ ต้น เคร่ืองหมายมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟาู ประเทศตา่ งๆ แสดงดังรปู ที่ 1.6มอก. มาตรฐานไทย มาตรฐานอเมริกา มาตรฐานเยอรมัน มาตรฐานยุโรป รปู ท่ี 1.6 เคร่อื งหมายมาตรฐานอปุ กรณ์ไฟฟูาประเทศตา่ งๆ 3. การเดินสายไฟ และติดต้ังอุปกรณ์ไฟฟูา ต้องเป็นไปตามกฎการเดินสายและติดต้ังอุปกรณ์ไฟฟูาของการไฟฟูานครหลวง และการไฟฟูาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟูาท่ีการไฟฟูาทั้งสองยอมรบั 4. ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟูา ผู้ใช้ต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนาการใช้งานให้เข้าใจ และปฏิบัติตามคาแนะนาอยา่ งเคร่งครดั 5. ทุกครั้งท่ีจะใช้เคร่ืองใช้ไฟฟูา ควรตรวจสอบสายไฟ เต้าเสียบ และเต้ารับ ท่ีจะใช้งานว่ามีร่องรอยของการชารุดหรอื ไม่ 6. เคร่ืองใชไ้ ฟฟูาทีม่ เี ปลือกหุ้มภายนอกทาดว้ ยโลหะทุกชนิด หรือเครื่องใช้ไฟฟูาท่อี าจมีไฟฟูาร่ัวมากับน้า จาเป็นต้องต่อสายดินของเครื่องใช้ไฟฟูาเข้ากับระบบสายดิน หมายถึงจะต้องมีการติดต้ังระบบสายดินที่ถูกต้องภายในบ้าน และใช้เตาเสียบชนิดมี ข้ัวสายดิน กับเต้ารับชนิดมีขั้วสายดินท่ีเป็นมาตรฐานเดียวกัน เครื่องใช้ไฟฟูาเหล่านี้ เช่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงขา้ ว เตาไมโครเวฟ เตาไฟฟูา กระทะไฟฟูา หม้อต้มน้าร้อนเครื่องทาน้าอุ่น เคร่ืองปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เป็น

ต้น ลักษณะเต้าเสียบเต้ารับชนิดมีขั้วสายดิน แสดงดังรูปท่ี รูปที่ 1.7 เตา้ เสยี บเตา้ รบั ชนดิ มขี วั้ สาย1.7 ดนิ7. เม่ือร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟูา หรอื เครอ่ื งใช้ไฟฟาู โดยเด็ดขาด เพราะอาจมีไฟรั่วท่ีอุปกรณ์เหล่านั้น และความต้านทานต่อไฟฟูาของผิวหนังท่ีเปียกช้ืนจะลดลงอย่างมาก ทาให้กระแสไฟฟูาสามารถไหลผ่านร่างกายได้สะดวก ในกรณีที่จาเป็นต้องใช้ไฟฟูาขณะท่ีร่างกายเปียกช้ืน เช่น การใช้เครื่องทาน้าอุ่นในการอาบน้า นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วช่วยเสริมการทางานร่วมกับสายดินให้ รูปท่ี 1.8 เคร่อื งทานา้ อุน่ ทีม่ รี ะบบตดัปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย เคร่ืองทาน้าอุ่นที่มีระบบตัดไฟรั่ว ไฟร่ัวแสดงดังรปู ท่ี 1.88. ในการเดินสายไฟ หรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารเป็นการช่ัวคราว หรือถาวร เช่น งานก่อสรา้ ง ต่อเติม ปรับปรงุ นอกอาคาร นอกจากอปุ กรณ์ไฟฟาู และสายไฟฟูาต้องเป็นชนิดที่กันน้าและทนทานต่อสภาวะแวดล้อมทางกลและแสงแดดแล้ว วงจรไฟฟาู หรอื เตา้ รบั นนั้ ตอ้ งมีเครื่องตัดไฟรวั่ ดว้ ยจึงจะปลอดภยั9. ควรแยกวงจรไฟฟาู ท่ีนา้ อาจทว่ มถงึ ออกต่างหาก เชน่ ในบริเวณชั้นล่างของอาคาร เพ่ือให้สามารถปลดไฟออกได้ทนั ทีเม่อื เกิดนา้ ทว่ ม หรอื อาจติดตั้งเครอื่ งตดั ไฟรว่ั รว่ มดว้ ยกไ็ ด้10. หมั่นตรวจสอบอปุ กรณ์ติดตั้งทางไฟฟาู และเคร่ืองใชไ้ ฟฟูา เปน็ ประจาอยา่ งนอ้ ยปลี ะ 1 คร้งั 11. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตส่ิงผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอณุ หภูมิ รวม ท้ังการใช้เครื่องมือง่ายๆ ในการตรวจสอบ เช่น ไขควงลองไฟ เป็นต้น การสังเกต เช่น สีของสายไฟเปล่ียนไป มีกล่ินเหม็นไหม้ มีรอยเขม่า หรอื รอยไหม้ มอื จบั สวิตชไ์ ฟหรือเต้าเสียบแล้วรู้สึกอุ่น เป็น ต้น เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิด ปกติเกิดข้ึน อาจเกิดรปู ที่ 1.9 การใช้ไขควงลองไฟทดสอบ จากจุดต่อต่างๆ ไม่แน่น เต้าเสียบ เต้ารับหลวม เป็นต้น ไฟรวั่ การใชไ้ ขควงลองไฟทดสอบไฟร่ัว แสดงดงั รูปท่ี 1.9 12. อย่าพยายามใช้ไฟฟูาหรือเปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟูา เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณท่ีมีไอของสารระเหยหรอื กา๊ ซท่ีไวไฟปกคลมุ อยู่เต็มพืน้ ท่ี เชน่ ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ามนั เบนซนิ เป็นตน้ 13. ระมดั ระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟูาราคาถูกจากบางประเทศที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายกุ ารใชง้ านสน้ั แลว้ อาจไม่ปลอดภัยในการใชง้ านโดยเฉพาะในเรอ่ื งของอคั คภี ยั 14. อุปกรณ์ท่ีมีการเสียบปลั๊กท้ิงไว้นานๆ

โดยไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดิน หรือบันไดหม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (อะแดปเตอร์) และเคร่ืองชาร์จแบตเตอร่ีขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจาเป็นต้องใช้ให้หลีกเล่ียงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุท่ีติดไฟได้งา่ ยอยูใ่ กลๆ้ 15. ทุกครั้งท่ีเลิกใช้เคร่ืองใช้ไฟฟูา ควรปิดสวิตช์ท่ีเครื่องใช้ไฟฟูาก่อน และถอดเต้าเสียบออกจากเต้ารับทุกคร้ัง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟูาชารุดเสียหายง่าย การถอดเต้าเสียบออกจากเต้ารับทุกคร้ังเมอ่ื เลิกใชง้ านเครื่องใชไ้ ฟฟูา แสดงดงั รูปท่ี 1.10 16. อย่าพยายามซ่อมเคร่ืองใช้ไฟฟูาด้วยตัวเอง หรือโดยช่างซ่อมที่มีความรู้ความชานาญไม่เพียงพอเครื่องใช้ไฟฟูาบางประเภทจาเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบการรั่วออกมาของคลื่นไมโครเวฟ ไม่ให้มีมากเกินอัตราที่กาหนดหรือเคร่ืองใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความตอ่ เนอ่ื งและฉนวนของสายดินกบั สายศูนย์ เป็นต้น 17. หลีกเล่ียงการใช้เครื่องใช้ไฟฟูาในขณะที่มีฝนตกฟูาคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรทัศน์ เคร่ืองเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเสียงและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพ่ือเป็นการปูองกันไม่ให้เคร่ืองใช้ไฟฟูาเหล่าน้ีชารุดเสียหาย เมื่อมีฟูาผ่าเกิดข้ึนในบริเวณใกล้เคียง ให้ปิดเคร่ืองถอดเต้าเสียบออก รวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ รปู ที่ 1.11 การเกิดฟูาผา่ออกจากเครื่องทุกคร้ัง การเกิดฟูาผ่า แสดงดังรูปที่ 1.11 18. เครื่องใช้ไฟฟูาที่ควบคุมการเปิด ปิดด้วยปุมสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ หรือรีโมท คอนโทรล เช่น โทรทัศน์ เคร่ืองเล่นวีดีทัศน์ เคร่ืองเสียง และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟูาเหล่านี้เมื่อปิดเครื่องแล้วยังมี

ไฟเล้ียงวงจรควบคุมภายในเครื่องอยู่ตลอด เวลา จึงมีโอกาสทาให้เกิดอุปกรณ์ควบคุม ภายในชารุดได้ หรือบางคร้ังอาจทาให้เกิด เพลิงไหม้ทรัพย์สินเสียหายได้ ดังนั้นจึงควร ถอดเต้าเสยี บออก หรอื ตดิ ตง้ั วงจรสวิตช์ตัดต่อ วงจร เพื่อตัดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน การ เกิดเพลิงไหม้ของคอมพิวเตอร์ แสดงดังรูปที่ 1.12 รปู ที่ 1.12 การเกดิ เพลิงไหมเ้ ครอ่ื งคอมพิวเตอร์ 19. เมื่อไฟฟูาท่ีจ่ายมาจากการไฟฟูาดับ ให้ดับสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟูาทุกชนิดท่ีเปิดค้างอยู่ทันที เพื่อปูองกนั สาเหตทุ ีจ่ ะเกดิ ขึ้น ดังนี้  เครื่องใช้ไฟฟูาชารุดจากแรงดันท่ีผิดปกติขณะไฟฟูาดับไม่สนิท แรงดันอาจต่ากว่าปกติหรือขณะท่ีเริ่มมไี ฟฟูากลับเข้ามาใหม่ แรงดันอาจมากเกินปกติ  อุปกรณ์ตัดวงจรอาจทางานอีกคร้ัง เม่ือมีไฟกลับเข้ามา และมีเคร่ืองใช้ไฟฟูาที่กินไฟในการเร่มิ ทางานมากเปิดใช้งานอยู่ จะทาใหเ้ กิดไฟดับอีกครง้ั ได้  อันตรายจากเคร่ืองใช้ไฟฟูาท่ีมีความร้อนติดค้างอยู่ เช่น เตารีด และเตาไฟฟูา เป็นต้นในขณะทีม่ ไี ฟกลับเขา้ มาโดยไม่รู้ตวั 20. ฝึกฝนให้ร้จู ักวธิ ีแก้ไขและปอู งกันรวมทัง้ ชว่ ยเหลอื ปฐมพยาบาล เมือ่ มีอบุ ตั เิ หตทุ างไฟฟูาเกดิ ขนึ้ 1.4 การปฏบิ ตั งิ านด้านไฟฟ้าทีป่ ลอดภยั การสมั ผัสจับตอ้ งไฟฟูาถอื เป็นอันตรายต่อร่างกายคนอย่างร้ายแรง ดังนั้นการปฏิบัติงานทางด้านท่ีต้องเก่ียวข้องกับไฟฟูาจาเป็นต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก ต้องมั่นใจว่าเกิดความปลอดภัย ขณะปฏิบัติงานจะต้องมีอุปกรณ์อานวยความสะดวก และอุปกรณ์ปูองกันอันตรายท่ีเพียงพอ ต้องปฏิบัติงานให้ถูกขั้นตอนทางานอยา่ งเปน็ ระบบและมีความรอบคอบ หลกั การปฏิบัติ งานทางด้านไฟฟาู ทีป่ ลอดภัย มดี ังนี้ 1. ควรคานงึ ถงึ กฎแห่งความปลอดภัยทุกครั้ง ขณะทางานหรือซ่อมบารุงเครื่องใช้ไฟฟูา อุปกรณ์ไฟฟูาและอยา่ ทางานดว้ ยความประมาท

2. กอ่ นการปฏิบัติงานเก่ียวกับไฟฟูา ต้องถือ รปู ท่ี 1.13 ตดั ไฟฟูาทกุ ครัง้ ก่อนการวา่ เครอ่ื งใชไ้ ฟฟูา อปุ กรณ์ไฟฟูาเหล่าน้ันมีไฟฟูาจ่ายอยู่ ปฏบิ ัติงานต้องตรวจสอบจนแน่ใจก่อนว่าไม่มีไฟฟูาจ่ายให้แล้วตัดไฟฟูาทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงาน แสดงดังรูปท่ี1.13 3. จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟูาเรื่องใด ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นก่อนการปฏิบัติงานหรือถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจควรสอบถามผู้รู้ และให้ผู้รู้เป็นผู้กระทา4. อปุ กรณแ์ ละเครอ่ื งมอื ท่ใี ชใ้ นการปฏบิ ตั ิงาน หากมีส่วนชารดุ หรอื ไมส่ มบรู ณไ์ มค่ วรนามาใช้งาน5. อย่าปฏบิ ัติงานเมอื่ รู้สึก เหน่อื ย ออ่ นเพลีย งว่ งนอน หรือรับประทานยาทาให้เกดิ อาการง่วงซึม6. อย่าปฏิบัติงานในขณะมือเปียกน้า หรือยืนอยู่บนพื้นท่ีเปียกน้า ทาให้เกิดอันตรายได้ง่ายอนั ตรายเกิดจากไฟฟูากับนา้ แสดงดังรปู ท่ี 1.147. ถ้าจาเป็นต้องปฏิบัติงานในบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน หรือมีการปฏิบัติงานอ่ืนๆ ร่วมด้วย ต้องแขวนปูายหรือเขียนปูายแสดงการงดใช้ไฟฟูาไว้ให้มองเห็นชัดเจนทกุ ครง้ั ก่อนเริ่มการปฏิบัตงิ าน8. ถ้าจาเป็นต้องปฏิบัติงานในบริเวณท่ีไม่สามารถตัดไฟออกได้ ต้องก้ันบริเวณหรือปูองกันไม่ให้ผ้ไู มเ่ ก่ยี วขอ้ งเข้าใกลไ้ ด้ รูปที่ 1.14 อนั ตรายเกิดจากไฟฟูากบั น้า 9. การปฏบิ ตั งิ านถ้ามกี ารละงานไปชั่วคราว เช่น พักเที่ยง เมื่อกลับมาปฏิบัติงานต่อ ต้องตรวจสอบสวติ ช์ตดั ตอน สะพานไฟ ตลอดจนเครอ่ื งหมายตา่ งๆ ท่ีทาไวต้ ้องอย่ใู นสภาพเดิมก่อนปฏิบตั งิ านต่อไป 10. การปฏิบตั ิงานแต่ละครงั้ ควรมผี ้รู ่วมปฏบิ ัติงานดว้ ยอย่างน้อย 2 คน 11. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟูาแรงสูง ควรใช้เคร่ืองช่วยปูองกันไฟฟูาให้มากขึ้นกว่าปกติ เช่น ใช้เสอื่ ยางฉนวนปพู ้ืน สวมถุงมือฉนวน และปลอกแขนฉนวน เป็นต้น กอ่ นการปฏิบัติ งานทุกครัง้1.5 การชว่ ยเหลอื ผู้ประสบอันตรายจากไฟฟา้ ดูด

การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟูาดูดนับเป็นสิ่งจาเป็น และสาคัญอย่างยิ่งที่ต้องกระทาด้วยความรวดเร็วอย่างถูกวิธี มีความรอบคอบ และด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ผู้ประสบอันตรายมีโอกาสรอดพ้นจากอันตรายขั้นร้ายแรง และผู้ให้ความช่วยเหลือเกิดความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายตามไปด้วย ส่ิงสาคัญคือผูใ้ หค้ วามชว่ ยเหลือตอ้ งรจู้ กั วิธใี ห้ความช่วยเหลอื ที่ถกู ตอ้ ง และถูกวิธี การปฏบิ ัติทาไดด้ งั น้ี 1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่กาลังติดอยู่กับสายไฟฟูา หรือตัวนาไฟฟูาท่ีมีกระแสไหลผ่าน เพื่อปูองกนั ไม่ใหผ้ ใู้ หค้ วามช่วยเหลอื เกิดอันตรายตามไปดว้ ยอีกคน 2. รีบหาทางตัดทางเดินของไฟฟูาก่อน โดยถอดเต้าเสียบ ตัดสวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ หรือสวิตช์ประธาน ถ้าทาไม่ได้ให้ใช้วัสดุที่ไม่เป็นส่ือตัวนาไฟฟูา เช่น ผ้าแห้ง เชือกแห้ง ไม้แห้ง สายยางแห้ง หรือผ้าพลาสตกิ ทแี่ หง้ สนิท ลากตัวผู้ประสบอันตรายให้พ้นจากส่ิงที่มีไฟฟูา หรือใช้ไม้แห้งเข่ียสายไฟฟูาให้หลุดพ้นออกจากตวั ผู้ประสบอันตราย หรอื เขีย่ สว่ นของรา่ งกายผปู้ ระสบอันตรายให้หลดุ พน้ ออกจากสายไฟฟาู โดยเรว็ การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟูาดูด แสดงดัง รปู ที่ 1.15รูปท่ี 1.15 การชว่ ยผปู้ ระสบอนั ตรายจากไฟฟาู 3. เมื่อไม่สามารถทาวิธีอื่นใดได้แล้ว ให้ ดดู ใช้มีด ขวาน หรือของมีคมท่ีมีด้ามไม้หรือด้ามท่ี เป็นฉนวน ฟันสายไฟฟูาให้ขาดหลุดออกจาก ผู้ประสบภัยโดยเร็วท่ีสุด และต้องแน่ใจว่า สามารถทาไดด้ ว้ ยความปลอดภยั 4. ในกรณีท่ีมีกระแสอยู่ในบริเวณท่ีมีน้า ขัง อย่าลงไปในน้า ให้หาทางเข่ียสายไฟฟูา ออกไปให้พ้นน้า หรือตัดไฟฟูาออกก่อนจะลงไป ช่วยผูป้ ระสบอนั ตรายที่อยใู่ นบริเวณน้ัน 5. ถ้ากรณีท่ีเป็นสายไฟฟูาแรงสูง ให้พยายามหลีกเลี่ยงอย่าเข้าไปใกล้ และรีบแจ้งการไฟฟูาท่ีรบั ผิดชอบให้ทราบโดยเรว็ ที่สุด 1.6 การปฐมพยาบาลผ้ปู ระสบอนั ตรายจากไฟฟ้าดูด ผู้ประสบอันตรายจากกระแสไฟฟูาดูด ส่วนมากจะหมดสติไม่รู้สึกตัว ซ่ึงอาจจะไม่หายใจ และมีสภาวะหัวใจหยุดเต้น สังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นดังน้ี ริมฝีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้า ทรวงอกเคล่ือนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรเต้นช้าและเบามาก หากหัวใจหยุดเต้นจะคลาชีพจรไม่พบ ม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง การหมดสตเิ ชน่ นี้ต้องรีบใหก้ ารปฐมพยาบาลทนั ที เพ่อื ใหป้ อดและหัวใจทางาน เรียกการช่วยเหลือน้ีว่า การปฏิบัติการช่วยฟ้ืนคืนชีพ (Cardio Pulmonary Resuscitation ; CPR) โดยวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพข้ัน

พน้ื ฐาน (Basic Life Support ; BLS) ได้แก่ การผายปอดด้วยการให้ลมหายใจทางปากที่เรียกว่าการเปุาปากรว่ มกับการนวดหัวใจภายนอก ก่อนนาผ้ปู ุวยส่งแพทย์1.6.1 การผายปอดดว้ ยการให้ลมหายใจทางปากภาวะหยุดหายใจ (Respiratory Arrest) เป็นภาวะท่ีมีการหยุดการทางานของอวัยวะในระบบทางเดนิ หายใจและการไหลเวียนของโลหิต ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือท่ีถูกต้อง จะทาให้เสียชีวิตได้ การผายปอดด้วยการให้ลมหายใจทางปากเป็นวิธพี ้นื ฐานทจี่ าเป็นต้องปฏิบัติในเบ้ืองต้น ทาได้ดงั นี้1. ใหผ้ ปู้ ุวยนอนหงายราบกับพ้ืนจัดท่านอนให้เหมาะสม เพ่ือเปิดทางให้มีอากาศเขา้ สปู่ อดไดส้ ะดวก โดยผ้ปู ฐมพยาบาลจะอยู่ทางด้านขวา หรือด้านซ้ายบริเวณศีรษะของผู้ปุวยก็ได้ ลักษณะการจัดท่านอนท่ีถูกต้องเหมาะสมให้ผู้ปุวย แสดงดงั รปู ท่ี 1.16 2. ใช้มือข้างหน่ึงดึงคางผู้ปุวย รูปท่ี 1.16 การจัดทา่ นอนที่ถูกต้องเหมาะสมให้หรือดันใต้คอพร้อมกับใช้มืออีกข้างดันหน้าผากให้ ผปู้ ุวยหนา้ แหงน เปน็ วธิ ีปอู งกันไมใ่ ห้ล้ินตกไปอดุ ปิดทางเดินหายใจ และต้องระวังไม่ให้นิ้วมือท่ีดึง คางนั้น กดลึกลงไปในส่วนของเนื้อใต้คาง เพราะ จะทาให้อุดก้ันทางเดินหายใจได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กเล็ก สาหรับในเด็กแรกเกิด ไม่ควรหงาย คอมากเกินไป เพราะอาจทาให้เกิดหลอดลมรปู ท่ี 1.17 การใช้มอื จับศรี ษะผปู้ วุ ยให้หนา้ แหงน แฟบ และเกิดอุดตันทางเดินหายใจได้ ลักษณะ การใช้มือจับศีรษะผู้ปุวยให้หน้าแหงน แสดงดัง รูปท่ี 1.173. สอดน้วิ หวั แมม่ ือเขา้ ในปากผู้ปุวย จบั ขากรรไกรลา่ งยกขึน้ จนปากอ้าออก4. ล้วงเอาส่ิงอ่ืนๆ ท่ีอาจมีติดค้างอยู่ในปากและลาคอออกให้หมด เช่น ฟันปลอม และเศษอาหาร เปน็ ต้น เพอื่ ไม่ใหข้ วางทางลม

5. ตรวจสอบการหายใจของผู้ปุวยโดยเอียงหน้ามองไปทางปลายเท้าผู้ปุวย ให้หูชิดปากผู้ปุวย เพื่อฟังเสียงหายใจ ตาดูการ เคล่ือนไหวของทรวงอก ถ้าผู้ปุวยหายใจได้เองอย่างเพียงพอ ให้จัดท่านอนให้ผู้ปุวยใหม่ โดยจัดให้นอนตะแคงก่ึงคว่าเพื่อนอนพัก การจัดท่านอนให้ผู้ปุวยนอนตะแคงกึ่งคว่า รูปที่ 1.18 การจัดทา่ นอนให้ผู้ปวุ ยนอนตะแคงกงึ่ ควา่แสดงตามข้นั ตอนที่ 1 – 4 ตามรปู ท่ี 1.18 6. ถ้าผู้ปุวยไม่หายใจ ให้ผู้ปฐมพยาบาลทาการผายปอดด้วยการเปุาปากผู้ปุวย ผู้ปฐมพยาบาลอ้าปากใหก้ วา้ งหายใจเข้าปอดเต็มที่ มือขา้ งหนึ่งบีบจมูกผปู้ วุ ยใหแ้ น่นสนิท มืออีกข้างหนึ่งยังอยู่ที่คางผู้ปุวยอยู่ แลว้ จึงประกบปากปดิ ปากผู้ปุวยให้สนทิ พร้อมกับเปาุ ลมเขา้ ไปรูปท่ี 1.19 การผายปอดดว้ ยการเปุาลมเข้าปาก เป็นจังหวะประมาณ 12 – 15 ครั้ง/นาที ในเด็ก เล็กประมาณ 20 – 30 คร้ัง/นาที การผายปอด ดว้ ยการเปุาลมเขา้ ปาก แสดงดังรูปที่ 1.19 7. ขณะทาการเปุาปากผู้ปุวย ตาต้องเหลือบดูด้วยว่า หน้าอกผู้ปุวยมีอาการ ขยายขึ้นลงหรือไม่ หากไม่มีการกระเพ่ือมข้ึนลง อาจเป็นเพราะท่านอนไม่ดีหรือมีสิ่งกีดขวาง ทางเดินหายใจ ซึ่งต้องรีบแก้ไขจัดท่าใหม่ และ อย่าให้มีส่ิงกีดขวางทางเดินหายใจ การดูหน้าอก ผู้ปุวยขยายข้ึนลง แสดงดังรปู ท่ี 1.20 8. ถ้ากรณีท่ีไม่สามารถอ้าปากของผู้ปุวยได้ ใหใ้ ชม้ อื ปดิ ปากผ้ปู ุวยใหส้ นทิ และเปาุลมเข้าทางจมูกแทน โดยใช้วิธีการปฏิบัติในทานองเดยี วกบั การเปาุ ปาก 9. ขณะนาส่งโรงพยาบาล ให้ทาการเปุาปากไปด้วยจนกวา่ ผปู้ วุ ยจะฟ้ืน หรือเม่ือได้รบั การชว่ ยเหลอื จากแพทย์เปน็ ท่เี รยี บร้อยแล้ว รูปที่ 1.20 การดูหน้าอกผู้ปวุ ยขยายข้นึ ลง

1.6.2 การนวดหวั ใจภายนอกภาวะหวั ใจหยุดเต้น หมายถึงการไหลเวียนเลือดหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ซ่ึงทราบได้จากการหมดสติไม่มีการเคล่ือนไหว ไม่มีอาการไอ คลาชีพจรไม่ได้ ไม่มีการหายใจอย่างที่เป็นตามปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดข้ึนหลังจากภาวะหยุดหายใจ คนที่หยุดการหายใจและหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว ยังมีโอกาสฟ้ืนขึ้นได้ต้องรีบทาการช่วยใหห้ ัวใจกลับเตน้ ขน้ึ มาทนั ทีดว้ ยการนวดหัวใจ มีวิธกี ารปฏิบตั ิดังน้ี1. ให้ผปู้ ุวยนอนราบกับพื้นแข็งๆ หรือใช้ไมก้ ระดานรองหลงั ของผปู้ วุ ย ผ้ปู ฐมพยาบาลน่ังคุก เข่าลงข้างขวา หรอื ข้างซา้ ยบริเวณหนา้ อกผ้ปู วุ ย2. คลาหาส่วนล่างสุดของกระดูกอกท่ีต่อกับกระดูกซี่โครง โดยใช้สองน้ิวสัมผัสส่วนล่างกระดูกอกใช้ฝาุ มอื อีกข้างวางไล่ข้ึนมา ถ้าคุกเข้าข้างขวาใช้มือขวาคลา รูปที่ 1.21 ตาแหนง่ การวางมือเพ่ือนวดหาสว่ นล่างกระดูกอก หากคกุ เข่าข้างซ้ายใชม้ ือ หวั ใจซ้ายคลาหาส่วนล่างกระดูกอก ตาแหน่งการวางมือเพ่ือนวดหัวใจ แสดงดงั รปู ท่ี 1.21 3. วางมืออีกข้างทับบนหลังมือท่ีวางไว้ แล้วในตาแหน่งที่ถูกต้อง เหยียดน้ิวมือตรง และ เกี่ยวนวิ้ มอื 2 ขา้ งเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรงโน้ม ตัวต้ังฉากกับหน้าอกผู้ปุวย ท้ิงน้าหนักลงบนแขน ขณะกดหน้าอกผู้ปุวยให้กระดูกลดระดับลง 1.5 – 2 น้ิว หรือ 4 – 5 ซม. เม่ือกดสุดให้ผ่อนมือข้ึนทันที โดยที่ตาแหน่งมือไม่ต้องเลื่อนจากจุดที่กาหนดรูปที่ 1.22 ตาแหนง่ การวางมือบนหนา้ อกผปู้ วุ ย ขณะกดหน้าอกนวดหัวใจ ห้ามใช้น้ิวมือกดลงบน ซ่โี ครงผู้ปวุ ย ลักษณะการวางมือ บนหนา้ อกผปู้ ุวย แสดงดังรูปที่ 1.224. ขณะท่ีกดหน้าอกแต่ละคร้ังต้องนับจานวนครั้งที่กดดังนี้ หน่ึง และสอง และสาม และส่ี และห้า ….. โดยกดหน้าอกทุกคร้ังท่ีนับตัวเลข และปล่อยมือจากการกดตอนคาว่า “และ” สลับกันไปใหไ้ ดอ้ ตั ราการกดประมาณ 90 – 100 คร้ัง/นาที การกดหน้าอกผปู้ ุวย แสดงดงั รูปที่ 1.235. ถ้าผู้ปฏิบัติมีคนเดียว ให้นวดหัวใจ15 คร้ัง สลับกับการเปุาปาก 2 ครั้ง ทาสลับกันเช่นน้ีจนครบ 4 รอบ แล้วตรวจชีพจรและการหายใจ หาก รปู ท่ี 1.23 การกดหน้าอกผู้ปุวยคลาชพี จรไม่ได้ตอ้ งนวดหวั ใจตอ่ แต่ถา้ คลาชีพจรได้

และยงั ไมห่ ายใจตอ้ งเปาุ ปากตอ่ ไปอย่างเดียว 6. ถา้ มีผู้ปฏิบตั ิ 2 คน ใหน้ วดหวั ใจ 5 ครั้ง สลับกับการเปุาปาก 1 ครั้ง โดยขณะท่ีเปุาปากอีกคนต้องหยดุ นวดหัวใจ 7. ในกรณีช่วยเหลือเด็กอ่อน หรือเด็ก รปู ที่ 1.24 การนวดหวั ใจเดก็ อ่อนแรกเกิด การนวดหัวใจให้ใช้นิ้วเพียง 2 น้ิว กดบริเวณกึ่งกลางกระดูกหน้าอกให้ได้อัตราการกด 100 – 120ครงั้ /นาที การนวดหวั ใจเด็กออ่ น แสดงดงั รปู ที่ 1.24 8. การนวดหัวใจไม่ว่าผู้ใหญ่ หรือเด็กต้องทาอย่างระมัดระวัง และถูกวิธี มิเช่นนั้นอาจทาให้กระดูกซี่โครงหัก ตับแตก และม้ามแตกได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กตอ้ งใช้ความระมัดระวงั เป็นพเิ ศษ 1.7 บทสรุป ไฟฟูาเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง มีท้ังโทษและประโยชน์ในเวลาเดียวกัน หากใช้ถูกวิธีจะเกิดประโยชน์มากมายมหาศาล หากใช้ผิดวิธีจะมีโทษมากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน ไฟฟูาเคลื่อนที่ได้ดีในวัตถุตัวนาจาพวกโลหะชนิดต่างๆ ไฟฟูาไม่สามารถเคล่ือนท่ีผ่านไปได้หรือเคล่ือนที่ไปได้ลาบากในวัตถุท่ีเป็นพวกฉนวน ไฟฟูาสามารถไหลผ่านร่างกายคนได้อย่างสะดวก เกิดไฟฟูาดูดหรือไฟฟูาช็อต ปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายแตกตา่ งกัน เกิดอันตรายตอ่ ร่างกายแตกตา่ งกันไป กระแสไหลผ่านน้อยเป็นอันตรายน้อย กระแสไหลผ่านมากเปน็ อนั ตรายมาก มีผลทาให้บาดเจ็บ พกิ าร หรอื ถงึ เสยี ชีวติ ได้ การปฏิบัติงานทางด้านไฟฟูาท่ีปลอดภัย ผู้ใช้ไฟฟูาจะต้องทราบและเข้าใจคุณสมบัติของไฟฟูา ต้องระมัดระวัง ไมป่ ระมาท ทางานอยา่ งเปน็ ระบบและรอบคอบ คานึงถึงกฎแห่งความปลอดภัยขณะทางาน ผู้ใช้ไฟฟูาจึงจาเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ไฟฟูาอย่างถูกต้อง และเรียนรู้ข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟูาอย่างถูกต้องปลอดภัย ผู้ประสบอันตรายจากกระแสไฟฟูาดูด ส่วนมากจะหมดสติไม่รู้สึกตัว ซึ่งอาจจะไม่หายใจ และมีสภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วย การหมดสติเช่นนี้ต้องรีบให้การปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทางาน เรียกการชว่ ยเหลอื น้ีว่า การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพข้ันพื้นฐาน (BLS) ได้แก่ การผายปอดด้วยการให้ลมหายใจทางปาก ร่วมกับการนวดหัวใจภายนอก ก่อนนาผู้ปุวยส่งแพทย์ การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟูาเป็นส่ิงจาเป็น สาคัญอย่างยิ่ง ต้องกระทาอย่างถูกวิธี รวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวัง ทาให้ผู้ประสบอนั ตรายมีโอกาสรอดพน้ จากอันตราย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook