Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

Published by srekanchan1, 2020-04-24 04:44:37

Description: อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

Search

Read the Text Version

๒๕๖๓ แผนการสอน/แผนการเรียนรู้ภาคทฤษฏี SARAWUT SRIKAENCHAN Nong Han Industrial and Community Education College24/04/63

แผนการสอน/การเรียนรภู้ าคทฤษฎี หน่วยที่ 1 ชื่อวิชา อเิ ล็กทรอนกิ ส์อตุ สาหกรรม สอนสัปดาหท์ ่ี 1 ช่ือหน่วย ทรานสดิวเซอร์ คาบรวม 5 ชอื่ เรอ่ื ง. ทรานสดิวเซอร์ จานวนคาบ 5 ขน้ั นำเขำ้ สู่บทเรยี น (15 นำที) สมรรถนะอำชพี ประจำหน่วย แสดงความรูเ้ กี่ยวกับทรานสดิวเซอร์ สำระสำคญั ทรานสดิวเซอร์ หรือ ตัวแปลง เป็นช่ือเรียกรวมอุปกรณ์ที่ทาหน้าท่ีเปล่ียนพลังงานรูปหน่ึงไปเป็น พลังงานอีกรูปหนึ่ง พลังงานท่ีจะนามาเปลี่ยนแปลงมีหลากหลายรูปแบบในทุกๆ ด้าน เช่น แสง เสียง สนามแม่เหล็ก ความร้อน ความเย็น ความช้ืน แรงดัน แรงกด ก๊าซ และควัน เป็นต้น หน้าที่ของทรานสดิวเซอร์ คอื รบั รู้ และแสดงค่า จานวน ขนาด และความถี่ จ่ายออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก ทรานสดิวเซอร์บางครั้งเรียกว่า เซน็ เซอร์ เพราะด้วยคณุ สมบัตทิ างฟซิ กิ ส์ทเ่ี หมือนกนั ในการนาไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนในกระบวนการทางาน ทางอุตสาหกรรมจาเป็นต้องใช้ทั้งสองส่วน การเลือกทรานสดิวเซอร์มาใช้งาน ควรพิจารณาจากปัจจัยพ้ืนฐาน เช่น ย่านการทางาน ความไว การตอบสนองความถี่ เหมาะสมกับการใช้งาน ความไวต่าสุด ความเที่ยงตรง ความ แข็งแรง และไฟฟา้ ทใ่ี ช้ เปน็ ต้น เรอ่ื งทจ่ี ะศึกษำ 1. ความหมายของทรานสดวิ เซอร์ 2. การเลือกทรานสดวิ เซอรม์ าใช้งาน 3. ทรานสดิวเซอรช์ นดิ ความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามตาแหน่ง 4. ความเป็นเชงิ เสน้ ของความต้านทานในตวั โพเทนชโิ อมเิ ตอร์ 5. รายละเอียดคณุ สมบตั ิของโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ 6. การใช้งานโพเทนชิโอมเิ ตอร์ จุดประสงคท์ ว่ั ไป 1. เพื่อใหร้ ้แู ละเขา้ ใจเก่ยี วกบั ความหมายของทรานสดวิ เซอร์ (ด้านความรู้) 2. เพอ่ื ใหม้ ีทกั ษะในการคานวณหาค่าการใชง้ านโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ลักษณะตา่ งๆ (ดา้ นทกั ษะ) 3. เพื่อให้เหน็ คุณค่าของรายละเอยี ดคณุ สมบัติของโพเทนชิโอมเิ ตอร์ (ดา้ นเจตคติ) 4. เพ่ือมีจิตสานึกที่ดีเกี่ยวกับเลือกทรานสดิวเซอร์มาใช้งาน (ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจ พอเพียง)

จดุ ประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม 1. อธิบายความหมายของทรานสดวิ เซอร์ได้(ด้านความรู้ความจา) 2. ขยายความทรานสดวิ เซอรช์ นิดความต้านทานเปลีย่ นแปลงตามตาแหน่งได้ (ดา้ นความเข้าใจ) 3. เขยี นกราฟแสดงความเปน็ เชงิ เสน้ ของความต้านทานในตวั โพเทนชิโอมิเตอรไ์ ด้ (ดา้ นการวเิ คราะห์) 4. สาธิตการคานวณหาค่าการใช้งานโพเทนชิโอมเิ ตอรล์ ักษณะต่างๆ ได้ (ดา้ นทักษะ) 5. เลือกทรานสดวิ เซอร์มาใช้งานได้ (ดา้ นจิตพสิ ัย) 6. จาแนกรายละเอียดคณุ สมบัติของโพเทนชโิ อมเิ ตอรไ์ ด้ (ดา้ นจติ พสิ ยั ) 7. มคี วามรอบรู้เกีย่ วกับทรานสดวิ เซอร์ได้ (ดา้ นคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)

ขน้ั ใหค้ วำมรู้ (75 นำที) + ข้ันประยุกต์ใช้ (60 นำที) เน้ือหำสำระกำรสอน/กำรเรียนรู้ 1. ควำมหมำยของทรำนสดิวเซอร์ ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) หรืออาจเรียกว่า ตัวแปลง เป็นช่ือเรียกรวมอุปกรณ์ท่ีทาหน้าที่เปล่ียน พลังงานรูปหน่งึ ไปเปน็ พลงั งานอกี รูปหนง่ึ พลังงานทจ่ี ะนามาเปลีย่ นแปลงมีหลากหลายรูปแบบในทุกๆ ด้าน เช่น แสง เสียง สนามแม่เหล็ก ความร้อน ความเย็น ความช้ืน แรงดัน แรงกด ก๊าซ และควัน เป็นต้ น ทรานสดิวเซอร์สามารถเปล่ียนแปลงพลังงานในรูปดังกล่าวไปเป็นพลังงานในหลายชนิดด้วยกัน คือ รูปไฟฟ้า (Electrical) รูปทางกล (Mechanical) รูปเคมี (Chemical) รูปแสง (Optical) หรือรูปความร้อน (Thermal) เป็นต้น กล่าวรายละเอียดได้ว่า ทรานสดิวเซอร์สามารถนาไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง และแพร่หลายในงาน ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ทาเป็นอุปกรณ์เปล่ียนกาลังทางกล หรือเข้าแทนที่กาลังทางกล ด้วยสัญญาณไฟฟ้า เป็น รปู แบบอปุ กรณ์ที่กว้างขวางมากและเป็นกลุ่มอุปกรณ์ท่ีสาคัญ ทรานสดิวเซอร์ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานท่ีพบได้ ทั่วไปในงานการผลิตทางอุตสาหกรรม ในขบวนการผลิตจะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหลายลักษณะ หลาย รปู แบบ และหลายข้ันตอน ในขบวนการผลติ แต่ละขั้นตอนจะตอ้ งผา่ นการตรวจสอบและตรวจวัด ดังนั้นอุปกรณ์ท่ี จะนามาใชใ้ นการตรวจสอบและตรวจวดั ดงั กลา่ ว จึงจาเปน็ ต้องสอดคลอ้ งและสมั พันธ์กับการปฏิบัติงานในข้ันตอน นัน้ ๆ รวมไปถงึ ตอ้ งเหมาะสมกับอปุ กรณ์แสดงผลด้วย หนา้ ท่ขี องทรานสดวิ เซอร์ คือ รับรู้ (Sense) และแสดงค่า (Presense) จานวนขนาด (Magnitude) การ เปล่ียนแปลงไป (Change in) และความถ่ี (Frequency) ในการวัดปริมาณบางสิ่งบางอย่าง หรือทาหน้าที่จัดหา (Provide) ปริมาณไฟฟ้าทสี่ ่งออกของกรรมวิธีท่ีเหมาะสมและจ่ายออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก ลักษณะการทางาน ของทรานสดวิ เซอร์ แสดงดงั รูปที่ 1.1 พลงั งานรปู หน่ึง ทรานสดวิ เซอร์ พลงั งานไฟฟ้า การกระตุน้ รูปที่ 1.1 บลอ็ กไดอะแกรมการทางานของทรานสดิวเซอร์ จากรูปที่ 1.1 แสดงบล็อกไดอะแกรมการทางานของทรานสดิวเซอร์ โดยรับพลังงานรูปหนึ่งเข้ามา ผ่าน ทรานสดิวเซอร์เปลย่ี นแปลงพลังงานทีป่ ้อนเขา้ ให้ออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า สภาวะการทางานของทรานสดิวเซอร์ อาจตอ้ งมกี ารกระตมุ้ การทางานใหท้ รานสดวิ เซอร์ดว้ ย ในงานที่เกย่ี วกบั การผลิตทางอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นิยมใช้ ทรานสดิวเซอร์ที่ให้ผลทางเอาต์พุต ออกมาในรูปพลังงานไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานที่นาไปใช้ในการแสดงผลได้ ง่าย นาไปจ่ายให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปสัญญาณท่ีแสดงผลได้ และรับรู้หรือสัมผัสได้ จึง ถูกนาไปใช้งานอย่างกว้างขวางแพร่หลาย

2. กำรเลอื กทรำนสดวิ เซอร์มำใชง้ ำน ทรานสดิวเซอร์ บางครั้งอาจถูกเรียกว่าเซ็นเซอร์ (Sensor) ก็ได้ เพราะด้วยคุณสมบัติทางฟิซิกส์ที่ เหมือนกันในการนาไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนในกระบวนการทางอุตสาหกรรมจาเป็นต้องใช้ทั้ง ทรานสดิวเซอร์และเซ็นเซอร์ในการทางาน จึงมีการผลิตขึ้นมาให้ทางานสัมพันธ์กัน ลักษณะทรานสดิวเซอร์และ เซ็นเซอร์แบบตา่ งๆ แสดงดังรปู ที่ 1.2 รปู ที่ 1.2 ทรานสดิวเซอรแ์ ละเซ็นเซอร์แบบต่างๆ ดังนั้นการเลือกทรานสดิวเซอร์มาใชง้ าน ควรพิจารณาจากปัจจยั พืน้ ฐานดังน้ี 1. ยา่ นการทางาน (Operating Rang) ทรานสดิวเซอร์จะต้องรักษาย่านการทางานตามที่กาหนดไว้ได้ดี อยา่ งสมา่ เสมอ 2. ความไว (Sensitivity) ทรานสดิวเซอร์จาเป็นต้องมีความไวที่เพียงพอกับการจ่ายพลังงานออก เอาต์พตุ 3. ตอบสนองความถ่ี และความถี่ได้ระดับ (Frequency Response and Resonant Frequency) ทรานสดิวเซอร์จะต้องทางานได้ราบเรียบในย่านความถี่ที่ต้องการ และความถี่ต้องถูกกระตุ้นให้ได้ระดับอย่าง สมา่ เสมอ 4. เหมาะสมกบั การใช้งานในบริเวณนั้น (Environmental Compatibility) ต้องใช้งานในย่านอุณหภูมิ ของทรานสดิวเซอร์ทางานได้ ของเหลวอาจทาให้เกิดสนิม มีแรงกดดัน ถูกกระตุ้นโ ดยรุนแรง และถูก กระทบกระเทอื นแรงๆ หรอื อาจมีปัญหาไปถึงเร่อื งขนาด และข้อจากดั ของชอ่ งใส่ตัวทรานสดิวเซอร์ 5. ความไวต่าสุด (Minimum Sensitivity) ตัวทรานสดิวเซอร์จาเป็นต้องมีความไวท่ีต่าสุดต่อการ กระตุ้นจากสง่ิ ตา่ งๆ ในบริเวณท่ีนาทรานสดิวเซอร์ไปใช้งาน 6. ความเทย่ี งตรง (Accuracy) ทรานสดิวเซอร์อาจจะมีปัญหาซ้าๆ และการปรับแต่งที่ผิดพลาด รวมถึง ความผิดพลาดทเี่ กิดจากการค้าง ความไว และการกระตุน้ จากส่ิงต่างๆ 7. การใชง้ านและความแข็งแรง (Usege and Ruggedness) ทรานสดิวเซอร์จะต้องมีความแข็งแรงมาก พอท้ังในดา้ นทางกล และทางไฟฟา้ ใหเ้ หมาะสมกบั ขนาดและน้าหนักของตัวทรานสดิวเซอร์ด้วย เม่ือคิดจะติดตั้ง และใช้งานทรานสดิวเซอร์ 8. ทางด้านไฟฟ้า (Electrical) ควรพจิ ารณาถงึ ความยาว และชนิดของสายเคเบิลที่ต้องการใช้ พิจารณา ถึงอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (Signal-to-Noise Ratios) เมื่อมีการเปรียบเทียบกับการจากัดค่า ของอัตราขยายและการตอบสนองความถ่ี

การพิจารณาเลอื กใช้งานทรานสดิวเซอรเ์ บ้ืองตน้ ควรพิจารณาจากส่ิงต่างๆ เช่น ชนิดของทรานสดิวเซอร์ ทีต่ อ้ งการใช้ เรื่องราวรายละเอียดที่บอกถึงการทางานของทรานสดิวเซอร์ สถานท่ีที่จะต้องนาทรานสดิวเซอร์ไป ใช้งาน การทางานพ้ืนฐานของตัวทรานสดิวเซอร์ กาลังงานท่ีใช้ทางานร่วมกัน และเงื่อนไขต่างๆ ท่ีจาเป็นต่อการ ใช้งาน ทรานสดวิ เซอรช์ นดิ ที่ใช้ท่ัวไปมีดงั น้ี  ชนดิ ตวั แบ่งไฟฟ้า  ชนดิ ใช้แรงกดทาใหค้ วามต้านทานเปลย่ี นแปลง หรอื สเตรนเกจ  ชนดิ หมอ้ แปลงแสดงความแตกตา่ ง  ชนิดความเหนย่ี วนา  ชนิดความจุ  ชนิดความดนั  ชนดิ คู่ควบความร้อน หรอื เทอรโ์ มคปั เปิล  ชนิดใชแ้ รงกดทาใหเ้ กดิ ไฟฟ้า  ชนิดรับแสงทาใหเ้ กิดไฟฟ้า  ชนิดตัวเปล่ยี นสญั ญาณ ฯลฯ 3. ทรำนสดวิ เซอรช์ นดิ ควำมตำ้ นทำนเปลย่ี นแปลงตำมตำแหนง่ ทรานสดิวเซอรช์ นิดความตา้ นทานเปล่ียนแปลงตามตาแหน่ง (Resistive Position Transducer) หรือ อาจเรียกว่า ทรานสดิวเซอร์ชนิดตัวแบ่งไฟฟ้า (Potentiometric Transducer) ถือเป็นทรานสดิวเซอร์พ้ืนฐานท่ี ทางานร่วมกับไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เป็นตัวทรานสดิวเซอร์ คือ ตัวโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) เป็น ตัวอุปกรณ์ท่ีสามารถทางานได้โดยลาพังตัวเดียว หรืออาจนาไปใช้ร่วมทางานกับระบบกลไกต่างๆ ได้ด้วย เพ่ือ เปล่ียนแปลงการเคล่ือนท่ีของระบบกลไก ให้มาเป็นการเปล่ียนแปลงค่าความต้านทานของตัวโพเทนชิโอมิเตอร์ หรือนาไปตอ่ ร่วมกับระบบไฟฟา้ กส็ ามารถเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าไปได้ตามค่าความต้านทานที่ปรับเปล่ียนไป โพเทนชิโอมิเตอร์ถูกนาไปใช้งานอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย ในงานด้านต่างๆ ท้ังทางด้านไฟฟ้าและทางด้าน อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนนาไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม สามารถใช้ตรวจสอบตาแหน่งของวัตถุ หรือหา ระยะทางท่ีวัตถุเคล่ือนท่ีไป โพเทนชิโอมิเตอร์ใช้งานด้านไฟฟ้า ด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านอุตสาหกรรม แสดง ดงั รปู ท่ี 1.3 (ก) ใช้งานด้านไฟฟ้าและอเิ ล็กทรอนิกส์ (ข) ใชง้ านด้านอตุ สาหกรรม รูปท่ี 1.3 โพเทนชิโอมเิ ตอรแ์ บบตา่ งๆ

ส่วนประกอบเบือ้ งต้นของตัวโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ ประกอบด้วยสว่ นขดลวดความต้านทาน (Wire – Wound Resistance) และส่วนหน้าสัมผัสปรับเคล่ือนท่ีได้ (Sliding Contact) สามารถปรับให้เคลื่อนท่ีไปยังส่วนต่างๆ ตลอดความยาวของขดลวดความต้านทาน คล้ายกับเป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ตัวโพเทนชิโอมิเตอร์มีข้ัวต่ อ ออกมาใชง้ าน 3 ขัว้ หรือมากกวา่ อาจมีโครงสร้างเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม (แบบหมุนปรับค่า) หรืออาจเป็น แท่งยาว (แบบเล่ือนปรับค่า) รูปร่างและโครงสร้างของโพเทนชิโอมิเตอร์ แสดงดังรูปท่ี 1.4 , รูปท่ี 1.5 และ สญั ลกั ษณข์ องโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ แสดงดงั รูปท่ี 1.6 AB W ขดลวดความตา้ นทาน ตวั ปรบั ความตา้ นทาน (ก) รูปร่าง (ข) โครงสรา้ ง รูปท่ี 1.4 โพเทนชิโอมิเตอรแ์ บบหมุนปรับคา่ จากรูปท่ี 1.4 แสดงโพเทนชิโอมิเตอร์แบบหมุนปรับค่า รูปร่างลักษณะของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้แสดง ดังรูปท่ี 1.4 (ก) (เป็นแบบหนึ่งท่ีผลิตมาใช้งาน ยังมีแบบอ่ืนที่แตกต่างออกไป) การปรับเปล่ียนค่าโดยการหมุนที่ แกนกลาง ไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกา รอบของการหมุนปรับเปล่ียนค่ามีต้ังแต่หมุนได้ไม่ถึง รอบไปจนถึงหมุนได้เป็นร้อยๆ รอบ การหมุนปรับเปล่ียนค่าทาให้เกิดค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเชิง เส้น (Linear) ค่าความต้านทานที่ผลิตมาใช้งานมีหลายค่าขึ้นอยู่กับการผลิต ส่วนรูปท่ี 1.4 (ข) เป็นโครงสร้าง ภายในของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบหมุนปรับค่า ประกอบด้วยขดลวดความต้านทานพันบนแกนฉนวน มีข้ัวต่อ A และ B เป็นขั้วต่อหัวท้ายของขดลวดความต้านทาน และขั้วต่อ W เป็นขั้วต่อปรับเคล่ือนที่ได้ เพ่ือเลือกค่าความ ตา้ นทานหรือแรงดนั จ่ายออกตามตอ้ งการ (ก) รปู ร่าง (ข) โครงสรา้ ง รูปท่ี 1.5 โพเทนชโิ อมเิ ตอรแ์ บบเล่ือนปรับค่า

จากรูปท่ี 1.5 แสดงโพเทนชโิ อมิเตอร์แบบเล่ือนปรับค่า รูปร่างลักษณะของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบน้ีแสดง ดงั รูปท่ี 1.5 (ก) (เปน็ แบบหนง่ึ ท่ผี ลิตมาใช้งาน ยังมแี บบอ่ืนท่ีแตกต่างออกไป) การปรับเปล่ียนค่าโดยการผลักหรือ ดันท่ีแกนกลาง ไปด้านหน้าหรือด้านหลัง แกนการชักใช้ปรับเปล่ียนค่ามีตั้งแต่ค่าต่าไม่ก่ีมิลลิเมตรไปจนถึงชักได้ เป็นร้อยๆ มิลลิเมตร การชักปรับเปล่ียนค่า เกิดค่าความต้านทานเปล่ียนแปลงเป็นแบบเชิงเส้น ค่าความ ต้านทานท่ีผลิตมาใช้งานมีหลายค่าข้ึนอยู่กับการผลิตเช่นเดียวกัน ส่วนรูปท่ี 1.5 (ข) เป็นโครงสร้างภายในของโพ เทนชิโอมิเตอร์แบบเล่ือนปรับค่า ประกอบด้วยขดลวดความต้านทานพันบนแกนฉนวน มีขั้วต่อ A และ B เป็น ข้ัวต่อหัวท้ายของขดลวดความตา้ นทาน และข้ัวต่อ W เป็นข้ัวต่อปรับเคล่ือนที่ได้ เพ่ือเลือกค่าความต้านทานหรือ แรงดันจา่ ยออกตามตอ้ งการ A W AWB B (ก) แบบหมนุ ปรับคา่ (ข) แบบเลอื่ นปรบั คา่ รปู ที่ 1.6 สัญลกั ษณ์โพเทนชโิ อมเิ ตอร์ จากรูปท่ี 1.6 แสดงสัญลักษณ์โพเทนชิโอมิเตอร์ แบบหมุนปรับค่าตามรูปที่ 1.6 (ก) แสดงสัญลักษณ์ตัว ต้านทานเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม แบบเลื่อนปรับค่าตามรูปที่ 1.6 (ข) แสดงสัญลักษณ์ตัวต้านทานเป็นรูป เส้นตรงยาว ข้ัวต่อ A และ B เป็นขั้วต่อหัวท้ายมีค่าความต้านทานคงที่ตามค่าความต้านทานของตัวโพเทนชิโอ มิเตอร์ ข้ัวต่อ W เป็นขั้วต่อใช้ปรับเปล่ียนตาแหน่งเพ่ือเลือกความต้านทานตามต้องการ การต่อใช้งานทาได้ทั้ง แบบ 2 ขา และแบบ 3 ขา มีลกั ษณะการต่อใช้งานเช่นเดยี วกบั ตัวตา้ นทานชนิดปรับค่าได้ 4. ควำมเป็นเชิงเสน้ ของควำมตำ้ นทำนในตัวโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ ความเป็นเชิงเส้นของความต้านทานที่เกิดข้ึนในตัวโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer Resistance Linearity) นบั วา่ เป็นส่วนสาคญั ของการสรา้ งโพเทนชโิ อมเิ ตอร์มาใช้งาน และสาคญั ต่อการนาโพเทนชิโอมิเตอร์ไป ประยุกตใ์ ช้งาน ในความเปน็ เชงิ เสน้ นเ้ี องจะชว่ ยทาให้กลไกเกิดการเคล่ือนที่มีความสม่าเสมอ ส่งผลต่อแขนกวาด หรือก้านชักเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานอย่างต่อเน่ือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ความต้านทานถูกเฉล่ียไปบน ความยาวท้ังหมดของส่วนที่เป็นความต้านทาน ส่งผลต่อความถูกต้องของมุมที่เปล่ียนแปลงไปอย่างเป็นเชิงเส้น หรือระยะทางทเ่ี คลือ่ นท่ไี ปอยา่ งเป็นเชงิ เสน้ รายละเอยี ดความเปน็ เชิงเส้นถูกบอกไว้ในรูปความผิดพลาดเป็นร้อย

ละ (%) หรือบอกไว้เป็นความเท่ียงตรงในรูปความผิดพลาดเป็นร้อยละ (%) ความเป็นเชิงเส้นแสดงในรูปกราฟ แสดงดงั รปู ที่ 1.7 ความตา้ นทาน ความตา้ นทาน (%) (%) 100 100 80 80 60 60 40 40 20 20 0 60 120 180 240 300 มมุ (องศา) 0 60 120 180 240 300 มมุ (องศา) 50 100 150 200 250 ระยะทาง (ม.ม.) 50 100 150 200 250 ระยะทาง (ม.ม.) (ก) แบบเชงิ เส้นสมบูรณแ์ บบ (ข) แบบเชิงเส้นข้ันบนั ได รูปท่ี 1.7 กราฟแสดงการเปล่ียนแปลงความตา้ นทานของโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ จากรูปท่ี 1.7 (ก) เปน็ กราฟแสดงการเปลย่ี นแปลงความต้านทานตามการหมนุ หรือตามความยาวของโพ เทนชิโอมเิ ตอร์ แบบเชิงเส้นสมบูรณแ์ บบ (Perfectly Linear) กราฟทแี่ สดงไว้เป็นเส้นตรง ส่วนรูปที่ 1.7 (ข) เป็น กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงความต้านทานตามการหมุน หรือตามความยาวของโพเทนชิโอมิเตอร์ แบบเชิงเส้น ขั้นบันได (Step Linear) กราฟท่ีแสดงไว้เป็นเส้นตรงข้ันบันได ค่าความต้านทานถูกกาหนดในแนวแกนตั้งของ กราฟ ค่ามุมการหมุนหรือค่าระยะทางการเคลื่อนท่ีถูกกาหนดในแนวแกนนอนของกราฟ ผลการเปลี่ยนแปลง ความตา้ นทานเป็นสัดสว่ นโดยตรงกับมุมการหมุนหรือระยะทางการเคล่ือนที่ เช่น แกนหนุนไปจากมุม 0o ถึง 60o (หรือจากระยะทาง 0 ถึง 50 ม.ม.) มีผลทาให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงไป 20% ในทานองเดียวกันหากแกน หนุนไปจากมุม 180o ถึง 240o (หรือจากระยะทาง 150 ถึง 200 ม.ม.) ก็คือมีมุมเปล่ียนแปลงไป 60o (หรือ ระยะทางเปลีย่ นแปลงไป 50 ม.ม.) เช่นเดมิ มผี ลทาใหค้ า่ ความต้านทานเปลยี่ นแปลงไปจาก 60% ถึง 80% น่ันคือ คา่ ความตา้ นทานเปล่ยี นแปลงไป 20% เหมอื นเดมิ โพเทนชิโอมเิ ตอร์ท่ีผลติ ข้นึ มาใช้งานจริง จะไม่สามารถทาให้ค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเชิงเส้นสมบูรณ์แบบ จรงิ ๆ ได้ ค่าการเปลย่ี นแปลงมีความผิดพลาดเกิดข้ึนบ้าง มักถูกบอกไว้ในรูปความผิดพลาดเป็นร้อยละ หรือบอก ไวเ้ ป็นความเทย่ี งตรงในรูปความผิดพลาดเป็นร้อยละ อย่างใดอย่างหน่ึง ดังตัวอย่าง โพเทนชิโอมิเตอร์บอกความ เป็นเชิงเส้นไว้ 0.1% ถึง 0.2% มีความหมายวา่ ค่าความต้านทานจริงมีโอกาสแตกต่างไปจากค่าที่ควรจะเป็น ไมเ่ กิน 0.1% ถึง 0.2% เชน่ เม่อื โพเทนชโิ อมิเตอร์ปรบั ค่าไดท้ ่ี 1k ค่าความต้านทานจริงมีโอกาสแตกต่าง ไปไม่เกิน 1 ถึง 2 นั่นคืออาจมีค่าความต้านทานที่แสดงไว้ 998 หรือ 999 ถึง 1001 หรือ 1002 เปน็ ต้น

5. รำยละเอยี ดคุณสมบตั ขิ องโพเทนชิโอมเิ ตอร์ โพเทนชิโอมิเตอร์ที่ผลิตมาใช้งาน มีคุณสมบัติในการทางานท่ีเหมือนกัน คือ ใช้ค่าความต้านทานในตัว โพเทนชิโอมิเตอร์ไปใช้ทางาน โดยค่าความต้านทานที่เปล่ียนแปลงไป ถูกนาไปปรับเปล่ียนให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เหมอื นกัน แต่สงิ่ ทเี่ กดิ ความแตกตา่ งกันของโพเทนชิโอมิเตอร์ท่ีผลิตมาใช้งาน ได้แก่ รูปร่าง ขนาด ลักษณะการ ทางาน ค่าความต้านทานท่ีผลิตมาใช้งาน และการนาไปประยุกต์ใช้งาน ส่ิงสาคัญก่อนการเลือกโพเทนชิโอ มิเตอร์มาใช้งาน มีความจาเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชิโอมิเตอร์ท่ีต้องการใช้เสียก่อน เพื่อให้สามารถเลือกโพเทนชิโอมิเตอร์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน เหมาะสมกับการทางาน และเหมาะสมกับ ระบบของงานนนั้ ๆ ตวั อย่างรายละเอยี ดคณุ สมบตั ขิ องโพเทนชโิ อมิเตอรบ์ างแบบ แสดงดังรูปที่ 1.8 รูปที่ 1.9 และ รปู ที่ 1.10 รูปท่ี 1.8 รายละเอยี ดคุณสมบัตขิ องโพเทนชโิ อมเิ ตอร์แบบปรับหมุน

จากรูปท่ี 1.8 แสดงรายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับหมุน สามารถปรับหมุนได้จาก 0-50 รอบ นาไปประยกุ ต์ใชง้ านเปน็ ตัวแบ่งแรงดัน (Voltage Divider) ได้ มีความเท่ียงตรงประมาณ 0.3% ถึง 0.15% ตัวถังเป็นอลูมิเนียม หรือเหล็กสเตนเลส แกนของโพเทนชิโอมิเตอร์สามารถรับภาระได้ถึง 5 ปอนด์ และทนอณุ หภมู ไิ ด้ –40oC ถงึ 90oC คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นโพเทนชิโอมิเตอร์ท่ีผลิตข้ึนมามีค่าความต้านทานหลายค่า คือ 500 , 1k , 5k , 10k , หรือเป็นแบบวงจรบริดจ์ ทนกาลังไฟฟ้าได้ 2W และสามารถรับแรงดันป้อนเข้ามาได้สูงสุด 30V ทั้งแรงดนั DC และ AC แรงดันเอาต์พตุ ทไ่ี ดอ้ อกมาประมาณ 94% 4% จากแรงดันอนิ พุตที่ป้อน รปู ท่ี 1.9 รายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชโิ อมเิ ตอรแ์ บบก้านชัก จากรูปท่ี 1.9 แสดงรายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบก้านชัก สามารถปรับก้านชักได้ยาว

0-3 น้ิว ถึง 0-30 นิ้ว. นาไปประยุกต์ใช้งานเป็นตัวแบ่งแรงดันได้ มีความเป็นเชิงเส้นประมาณ 0.04% ถึง 0.1% ตัวถังเป็นอลูมิเนียม ก้านชักของโพเทนชิโอมิเตอร์มีความเร็วในการชัก 200 น้ิวต่อวินาที และทน อณุ หภมู ิได้ –22oF ถงึ 212oF คณุ สมบตั ิทางไฟฟา้ เปน็ โพเทนชโิ อมเิ ตอร์ท่ีผลิตขึ้นมามีคา่ ความต้านทานหลายค่า คือ 3k, 5k, และ 10k มคี วามผิดพลาด 20% และสามารถรบั แรงดนั ป้อนเข้ามาไดส้ ูงสุด 25V ถงึ 30V ทง้ั แรงดัน DC และ AC

รูปท่ี 1.10 รายละเอียดคุณสมบัตขิ องโพเทนชโิ อมเิ ตอร์แบบปรับหมุนดว้ ยก้านชัก จากรูปท่ี 1.10 แสดงรายละเอียดคุณสมบัตขิ องโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับหมุนด้วยก้านชัก สามารถปรับ ก้านชักได้ยาวหลายค่า คือ 0-4.75 , 0-12.5 , 0-25 และ 0-50 นิ้ว สามารถนาไปใช้เป็นตัวแบ่งแรงดันได้ มีความ เป็นเชิงเส้นประมาณ 0.25% ถึง 1% ตัวถังเป็นโพลีคาร์บอเนต สายเคเบิลที่ใช้ชักของโพเทนชิโอมิเตอร์เป็น สายเหล็กสเตนเลสเคลือบไนลอน มเี ส้นผา่ ศนู ยก์ ลาง 0.019 นิว้ . และทนอุณหภูมิได้ –18oC ถงึ 71oC คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นโพเทนชิโอมิเตอร์มีค่าความต้านทาน 10k มีความผิดพลาด 10% ทน กาลังไฟฟ้าได้ 2W และสามารถรับแรงดันป้อนเข้ามาได้สูงสุด 30V ทั้งแรงดัน DC และ AC แรงดันเอาต์พุตที่ได้ ออกมาประมาณ 94% 4% จากแรงดนั อนิ พตุ ทป่ี อ้ น 6. กำรใช้งำนโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ การใช้งานโพเทนชิโอมิเตอร์ พบได้บ่อยในวงจรท่ีนาโพเทนชิโอมิเตอร์ต่อร่วมกับวงจรไฟฟ้า โดยต่อรับ แรงดนั เขา้ ทีป่ ลายทง้ั สองด้านของโพเทนชิโอมิเตอร์ เพื่อทาหน้าท่ีเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ทาหน้าที่เป็นวงจรควบคุม การไหลของกระแส หรือใช้เป็นส่วนประกอบของวงจรบริดจ์ เพ่ือปรับความสมดุลของวงจรบริดจ์ ลักษณะการต่อ วงจรแสดงดงั รูปที่ 1.11

AA R1 R1 R3 +W + WC VT VT Vo - - R2 Vo R2 R4 B B (ก) วงจรแบ่งแรงดัน (ข) วงจรบริดจ์ รปู ท่ี 1.11 การตอ่ ใชง้ านวงจรโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ จากรูปที่ 1.11 เป็นการต่อใช้งานวงจรโพเทนชิโอมิเตอร์ รูปที่ 1.11 (ก) เป็นการต่อใช้งานวงจรแบ่ง แรงดนั ขว้ั A, B ตอ่ รับแรงดันแหลง่ จา่ ยไฟตรง VT และขั้ว W ปรับเปล่ียนเลือกค่าความต้านทาน R2 ตามต้องการ เกิดแรงดันตกคร่อม R2 ส่งออกเอาต์พุต Vo ได้แรงดัน Vo ตามต้องการ จากวงจรรูปที่ 1.11 (ก) ขณะที่จุดออก เอาตพ์ ตุ Vo ไม่มโี หลด สามารถเขยี นสมการของวงจรไดด้ ังนี้ Vo R2 VT  R1  R2 …..(1.1) เม่อื Vo = แรงดันออกเอาต์พุต หน่วย โวลต์ (V) VT = แรงดันจา่ ยใหโ้ พเทนชิโอมเิ ตอร์ หน่วย โวลต์ (V) R1 = ความต้านทานตอนบนโพเทนชิโอมเิ ตอร์ หน่วย โอหม์ () R2 = ความต้านทานตอนลา่ งโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ หน่วย โอหม์ () ส่วนรูปที่ 1.11 (ข) เป็นการต่อใช้งานวงจรบริดจ์ มีโพเทนชิโอมิเตอร์ทาการแบ่งค่าความต้านทาน ออกเป็น 2 ตัว คือ R1, R2 และมี R3, R4 เป็นความต้านทานค่าคงท่ี ลักษณะวงจรต่อแบบวงจรบริดจ์มีจุดจ่าย แรงดันออกเอาต์พุต Vo ที่ขั้ว W และ C วงจรบริดจ์จะสมดุลเม่ือปรับข้ัว W เปลี่ยนค่าความต้านทาน R1, R2 จน ทาใหแ้ รงดนั ท่ี Vo มีศักยเ์ ป็น 0V เมือ่ วงจรบริดจส์ มดุลจะได้สมการดงั น้ี R1 R3 R2  R4 …..(1.2) ในกรณีที่ปรบั ข้ัว W ข้นึ หรอื ลงจนวงจรบรดิ จไ์ ม่สมดุลจะได้แรงดนั ออกเอาต์พตุ Vo เป็นบวก (+) หรือเป็น ลบ (-) กไ็ ด้ ขน้ึ อยู่กบั ศักยไ์ ฟฟา้ เกิดขึ้นที่ขว้ั W และขว้ั C ข้ัวใดมีศักย์ไฟฟ้ามากกว่า ข้ัวนั้นจะมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก (+)

ตัวอย่ำงท่ี 1.1 โพเทนชิโอมิเตอร์ตัวหนึ่งแขนชักมีความยาว 10 เซนติเมตร ถูกจัดวงจรตามรูปท่ี 1.12 ผลรวม ความต้านทานของโพเทนชิโอมิเตอรม์ คี ่า 2k จา่ ยแรงดัน VT ให้โพเทนชโิ อมเิ ตอร์ 8V เม่ือแขนชัก W เลื่อนไป 4 เซนตเิ มตร จากข้วั B จะมแี รงดนั ออกเอาต์พุต Vo เท่าไร A + LT = 10 ซ.ม. R1 RT = 2k W VT = 8V - R2 LR2 = 4 ซ.ม. Vo B รปู ท่ี 1.12 การต่อใชง้ านวงจรโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ใช้ในตวั อยา่ งท่ี 1.1 วิธีทำ R2 LR2 RT LT จาก  หรือ R2  LR2 RT LT เม่ือ R2 = ? RT = 2k LT = 10 ซ.ม. LR2 = 4 ซ.ม. 4ซ.ม. R2  10ซ.ม.  2000 = 800 สตู ร Vo  R2 VT R1  R2 R2 หรือ Vo  R1  R2 VT เมื่อ Vo = ? VT = 8V R2 = 800 RT = R1 + R2 = 2k 800  Vo  2000  8V  3.2V ตอบ

ตัวอย่ำงท่ี 1.2 โพเทนชิโอมิเตอร์สองตัวแขนชักมีความยาวตัวละ 20 เซนติเมตร โพเทนชิโอมิเตอร์แต่ละตัวมีค่า ความต้านทาน 5k ถูกจัดวงจรตามรูปที่ 1.13 จ่ายแรงดัน VT ให้โพเทนชิโอมิเตอร์ 10V ตาแหน่งเริ่มต้นที่ใช้เป็น จดุ อ้างอิงกาหนดให้ R1 = R2 และปรับความต้านทาน R3, R4 ใหบ้ รดิ จ์สมดุล (Vo = 0V) เมื่อปรับข้ัว W เล่ือนจาก เดิมไปทางขวั้ A อีก 2 เซนตเิ มตร บริดจจ์ ะไม่สมดลุ แรงดนั ออกเอาตพ์ ตุ Vo จะมีคา่ เทา่ ไร A R1 R3 + L12 = 20 ซ.ม. WC L34 = 20 ซ.ม. R12 = 5k Vo R34 = 5k VT = 10V - R2 R4 B รปู ท่ี 1.13 การตอ่ ใชง้ านวงจรโพเทนชิโอมิเตอร์ในรูปวงจรบริดจใ์ ช้ในตัวอยา่ งท่ี 1.2 วธิ ีทำ เมื่อบริดจ์สมดุลนั่นคือศักย์แรงดันที่ขั้ว W มีค่าเท่ากับศักย์แรงดันท่ีขั้ว C ค่าตาแหน่งเร่ิมต้นที่ใช้เป็น จุดอ้างองิ กาหนดให้ R1 = R2 และ R3 = R4 จะได้ = L12 LR1 = LR2 2 = 20 ซ.ม. = 10 ซ.ม. 2 = 5000  R2 2 = 2500 LR3 = LR4 = L34 2 20 = 2 ซ.ม. = 10 ซ.ม.  R4 = 5000 = 2500 2 ถ้าปรับขั้ว W ให้เคล่ือนที่ไปทาง A อีก 2 ซ.ม. ทาให้ขั้ว W อยู่ห่างจากขั้ว B เป็นระยะทาง 12 ซ.ม. หา ค่า R2 ใหม่มีคา่ เป็น R2 LR2 R12 L12 จาก 

หรือ R2  LR2 R12 L12 เม่อื R2 = ? R12 = 5k LR2 = 12 ซ.ม. L12 = 20 ซ.ม. 12ซ.ม. R2  20ซ.ม.  5000 = 3000 มีผลทาให้แรงดันตกครอ่ ม R2 มศี กั ยเ์ ปน็ บวกเทยี บกับแรงดันตกครอ่ ม R4 หาคา่ แรงดนั ออกเอาต์พตุ Vo Vo = VR2  VR4 R2 R4 Vo  R1  R2 VT  R3  R4 VT Vo   3000 10V    2500 10V  5000 5000 Vo = 6V  5V = 1V ตอบ โพเทนชโิ อมเิ ตอร์ รปู ท่ี 1.14 การต่อใชง้ านตวั โพเทนชโิ อมเิ ตอรใ์ นรถยนต์

แบบฝกึ หัดบทท่ี 1 ตอนที่ 1 เขยี นเคร่ืองหมายกากบาท (X) ลงในข้อท่ถี กู ต้องทีส่ ดุ 1. ทรานสดิวเซอรค์ ืออะไร ก. อุปกรณ์เปล่ียนพลังงานรปู หนงึ่ เปน็ อีกรปู หน่งึ ข. อปุ กรณอ์ านวยความสะดวกในการทางาน ค. อปุ กรณช์ ว่ ยควบคุมระบบการทางาน ง. อุปกรณ์เพม่ิ ประสิทธิภาพการทางาน 2. หน้าที่ของทรานสดิวเซอร์คืออะไร ก. รับรู้ ข. จัดหา ค. แสดงค่า ง. ถกู ทุกข้อ 3. สว่ นท่ีมคี วามสาคญั น้อยท่สี ุดในการพิจารณาเลอื กทรานสดวิ เซอร์มาใช้งานคืออะไร ก. สถานที่ตดิ ตงั้ ข. ชนิดทรานสดิวเซอร์ ค. กาลังงานท่ใี ช้งาน ง. รายละเอียดในการทางาน 4. โพเทนชิโอมิเตอร์คอื อะไร ก. อปุ กรณ์ใช้งานด้านอุตสาหกรรม ข. ทรานสดิวเซอรช์ นิดแบ่งแรงดันไฟฟ้า ค. อปุ กรณใ์ ชว้ ัดระยะทางของการเคล่อื นที่ ง. ทรานสดิวเซอร์เปลยี่ นแปลงค่าความตา้ นทานตามอณุ หภูมิ 5. A B W จากรูปถ้าปรับข้ัวต่อ W ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ค่า ความตา้ นทานที่ข้ัว A,B จะเปน็ อย่างไร ก. ลดลง ข. เพม่ิ ข้ึน ค. เท่าเดมิ ง. เพิ่มข้ึนหรอื ลดลงก็ได้ 6. ความตา้ นทาน จากรูปเป็นกราฟของโพเทนชิโอมิเตอร์แสดงสภาวะ (%) อะไร ก. ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมมุ และระยะทาง 100 ข. ความสมั พันธ์ระหวา่ งความต้านทานและมุม 80 ค. กราฟมคี วามสมั พนั ธ์กนั แบบไม่เป็นเชิงเสน้ 60 ง. การปรบั เพ่มิ ขึน้ ของความตา้ นทานเม่ือระยะทาง 40 20 การเคลอ่ื นท่นี ้อยลง 0 60 120 180 240 300 มมุ (องศา) 50 100 150 200 250 ระยะทาง (มม.) 7. โพเทนชิโอมิเตอร์บอกความเป็นเชิงเส้นไว้ 0.15% ตัวโพเทนชิโอมิเตอร์มีความต้านทาน 10k ค่าความ ต้านทานจริงมโี อกาสแตกตา่ งไปเท่าไร ก. 0.15 ข. 1.5 ค. 15 ง. 150

8. จากขอ้ 7 ถา้ จา่ ยแรงดนั ใหโ้ พเทนชโิ อมิเตอร์ 20V ปรับความต้านทานของโพเทนชิโอมิเตอร์ให้ได้ออกมา 5k จะมีแรงดันจ่ายออกมาเทา่ ไร ก. 1V ข. 2V ค. 5V ง. 10V 9. ความเป็นเชงิ เส้นของโพเทนชิโอมิเตอรม์ ีความหมายอย่างไร ก. ความตา้ นทานเปล่ยี นแปลงเป็นสดั ส่วนโดยตรงกบั ความยาวทเี่ ปลีย่ นแปลง ข. ความต้านทานเปล่ยี นแปลงเป็นสดั ส่วนโดยตรงกับมมุ ท่ีเปลยี่ นแปลง ค. ความต้านทานเพิม่ ขึ้นหรือลดลงเป็นไปตามลาดบั ตอ่ เนื่อง ง. ถกู ทุกข้อ 10. จากรูปโพเทนชิโอมิเตอร์มีความต้านทาน 5k มีความยาว 300mm ปรับความยาวจุด W,B ไป 1/4 เท่า ของความยาวทั้งหมด จะได้ค่าความต้านทานท่ีจุด W,B เทา่ ไร ก. 1k ข. 1.25k AWB ค. 1.5k ง. 2k ตอนที่ 2 อธบิ ายใหไ้ ด้ใจความสมบรู ณ์และแสดงวธิ ที าใหส้ มบรู ณถ์ ูกต้อง 1. การเลอื กใช้ทรานสดวิ เซอรค์ วรพจิ ารณาจากปจั จัยพนื้ ฐานอะไรบา้ ง 2. บอกลักษณะของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับหมุน และแบบเลื่อนปรับค่า มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน อยา่ งไร 3. ความเป็นเชิงเส้นของโพเทนชโิ อมิเตอร์คืออะไร บอกไว้เพ่อื ประโยชนอ์ ะไรบ้าง 4. รายละเอยี ดของโพเทนชโิ อมิเตอร์บอกถงึ อะไรบา้ ง การเลอื กใชง้ านควรพจิ ารณาจากสว่ นใด 5. A โพเทนชิโอมิเตอร์ตัวหน่ึง มีความ + LT = 20 cm R1 W ต้านทาน 500 มีแขนชักยาว 20 cm ถูก RT = 500 จัดวงจรตามรูป จ่ายแรงดันให้โพเทนชิโอ VT = 10V R2 มิเตอร์ 10V เม่ือแขนชัก W เลื่อนไป 12 - LR2 = 12 cm Vo cm จากข้ัว B จะมีแรงดันออกเอาต์พุต Vo เท่าไร B

ใบงำนที่ 1 กำรตรวจสอบควำมตำ้ นทำนของโพเทนชิโอมิเตอร์ เคร่อื งมือและอปุ กรณ์ 1 เคร่ือง แบบละ 1 ตัว 1. มัลติมเิ ตอร์ 2. โพเทนชโิ อมเิ ตอร์แบบหมนุ และแบบเลื่อน ลำดับข้ันกำรทดลอง 1. ใช้มลั ติมเิ ตอร์ตัง้ คา่ ไวท้ ่ีโอห์มมิเตอร์ ปรบั แต่งให้พรอ้ มใช้งาน 2. นาไปวดั ขาตา่ งๆ ของโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ แบบหมุนปรับค่าและแบบเลื่อนปรับค่าตามลาดับ ในตาแหน่ง ขาตา่ งๆ แสดงดังรปู ท่ี 1.1 0 A 0 A SANWA YX-360TR W SANWA YX-360TR W - + B - + B (ก) แบบหมุนปรับค่า (ข) แบบเล่ือนปรบั คา่ รูปที่ 1.1 การวดั คา่ ความต้านทานของโพเทนชิโอมเิ ตอร์ 3. บนั ทกึ ค่าท่วี ดั ไดจ้ ากการทดลองไว้ในตารางที่ 1.1 ในตาแหน่งตา่ งๆ ตามลาดับ ตำรำงท่ี 1.1 ขาวดั การปรับ แบบหมนุ ปรบั ค่า แบบเลอื่ นปรบั ค่า ค่าความตา้ นทาน () คา่ ความต้านทาน () A - B วัดคา่ ทงั้ หมด หมุนตามเข็มนาฬกิ า A - W หมนุ กึง่ กลาง หมุนทวนเข็มนาฬิกา หมนุ ตามเข็มนาฬกิ า B - W หมนุ ก่งึ กลาง หมนุ ทวนเข็มนาฬิกา สรุปผลกำรทดลอง ............................................................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................................

คำถำม 1. โพเทนชิโอมเิ ตอร์ทน่ี ามาทดลองมีคุณสมบัติเป็นเชิงเส้นหรือไม่ มีค่าความต้านทานรวมเท่าไร บอกมา แต่ละชนดิ ทใ่ี ชใ้ นการทดลอง ............................................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................................................. .....................................................................................................................................................................................

ใบงำนท่ี 2 กำรปรบั สมดุลของวงจรบรดิ จ์ด้วยโพเทนชิโอเตอร์ เคร่ืองมือและอุปกรณ์ 1 เครอื่ ง 2 ตัว 1. มลั ตมิ เิ ตอร์ 1 เครอ่ื ง 2. โพเทนชโิ อมเิ ตอร์แบบหมนุ หรือแบบเลือ่ นท่ีมีคา่ ต่างกนั 1 ชดุ 3. แหล่งจา่ ยแรงดนั ไฟตรงปรบั ค่าได้ 0-30V 4. แผงประกอบวงจรและสายตอ่ วงจร ลำดับข้นั กำรทดลอง 1. ประกอบวงจรตามรปู ท่ี 2.1 Pot1 Pot2 A1 A2 + W1 VDC W2 ET = 10V - B1 B2 รปู ท่ี 2.1 วงจรบรดิ จส์ มดุลปรบั คำ่ ดว้ ยโพเทนชิโอมเิ ตอร์ 2. ปรับแต่งขา W1, W2 จนบรดิ จ์สมดุล (VDC = 0V) 3. ปลดโพเทนชโิ อมิเตอรอ์ อกจากวงจร (ระวังการเคลือ่ นตัวของขากลาง) นาโพเทนชิโอมิเตอร์แต่ละตัวมา วดั ค่าความต้านทาน ท่ีจดุ W1 – B1 และ W2 – B2 บนั ทกึ คา่ ไว้ จุด W1 – B1 = ........................  จดุ W2 – B2 = ........................  4. ทดลองปรบั ไมส่ มดุลของวงจรบรดิ จ์ ให้ W1 มีศกั ย์เป็นบวก (+) และ W2 มีศกั ยเ์ ปน็ ลบ (-) 5. ปลดโพเทนชโิ อมิเตอรอ์ อกจากวงจร (ระวงั การเคลอ่ื นตัวของขากลาง) นาโพเทนชิโอมิเตอร์แต่ละตัวมา วัดค่าความตา้ นทาน ทจี่ ุด W1 – B1 และ W2 – B2 บนั ทกึ ค่าไว้ จดุ W1 – B1 = ........................  จดุ W2 – B2 = ........................  6. ปรับไมส่ มดุลของวงจรบรดิ จ์ ให้ W1 มศี ักยเ์ ป็นลบ (-) และ W2 มีศกั ย์เปน็ บวก (+) 7. ปลดโพเทนชิโอมิเตอรอ์ อกจากวงจร (ระวงั การเคลื่อนตัวของขากลาง) นาโพเทนชิโอมิเตอร์แต่ละตัวมา วัดคา่ ความต้านทาน ทีจ่ ดุ W1 – B1 และ W2 – B2 บันทกึ ค่าไว้ จุด W1 – B1 = ........................ 

จุด W2 – B2 = ........................  สรปุ ผลกำรทดลอง ............................................................................................................................. ...................................................... ................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................. คำถำม 1. คุณสมบตั ขิ องวงจรบรดิ จส์ มดลุ เปน็ เชน่ ไร แสดงออกมาดว้ ยศกั ย์ไฟฟ้าแต่ละสว่ นได้อยา่ งไร ............................................................................................................................. ...................................................... ................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ...................................................... ............................................................................................................................. .......................................... • ด้ำนทักษะ+ดำ้ นจิตพิสัย (ปฏิบัติ+ด้ำนจติ พสิ ัย) (จุดประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรมขอ้ ที่ 4-6) 1. แบบฝึกหดั บทที่ 1 2. ใบงานที่ 1 การตรวจสอบความตา้ นทานของโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ 3. ใบงานท่ี 2 การปรบั สมดุลของวงจรบริดจด์ ว้ ยโพเทนชิโอมเิ ตอร์ • ดำ้ นคณุ ธรรม/จรยิ ธรรม/จรรยำบรรณ/บรู ณำกำรเศรษฐกจิ พอเพียง (จดุ ประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรมข้อท่ี 7) 1. มคี วามรอบรู้เกย่ี วกับทรานสดิวเซอร์ได้

กจิ กรรมกำรเรียนกำรสอนหรอื กำรเรยี นรู้ ขัน้ ตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู ขั้นตอนการเรยี นรู้หรอื กจิ กรรมของนกั เรยี น 1. ขน้ั นำเข้ำสู่บทเรยี น (15 นำที ) 1. ขน้ั นำเข้ำสบู่ ทเรยี น (15 นำที ) 1. ผู้สอนจัดเตรียมเอกสาร พร้อมกับแนะนา 1. ผู้เรียนเตรียมอุปกรณ์และ ฟังครูผู้สอนแนะนา รายวิชา วิธีการให้คะแนนและวิธีการเรียนเรื่อง รายวิชา วิธีการให้คะแนนและวิธีการเรียนเร่ือง ทรานสดิวเซอร์ ทรานสดวิ เซอร์ 2. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนของหน่วย 2. ผู้เรียนทาความเข้าใจเก่ียวกับจุดประสงค์การ เรียนท่ี 1 และขอให้ผู้เรียนร่วมกันทากิจกรรมการ เรียนของหนว่ ยเรยี นท่ี 1 และการให้ความรว่ มมือในการ เรียนการสอน ทากิจกรรม 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนขยายความทรานสดิวเซอร์ 3. ผู้เรียนขยายความทรานสดิวเซอร์ชนิดความ ชนิดความตา้ นทานเปลย่ี นแปลงตามตาแหนง่ ต้านทานเปล่ยี นแปลงตามตาแหนง่ 2. ข้นั ใหค้ วำมรู้ (120 นำท)ี 2. ขน้ั ให้ควำมรู้ (120 นำที ) 1. ผู้สอนแนะนาวิธีการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ 1. ผู้เรียนศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยสอน วิชา อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม หน่วยท่ี วิช า อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม หน่วยที่ 1 1 ทรานสดิวเซอร์ และให้ผู้เรียนศึกษาจากเอกสาร ทรานสดิวเซอร์ และให้ผู้เรียนศึกษาจากเอกสาร ประกอบการสอน ประกอบการสอน 2. ผู้สอนเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนถามปัญหา และ 2. ผู้เรียนถามปัญหา และข้อสงสัยจากเนื้อหา โดย ข้อสงสัยจากเนื้อหา โดยครูให้นักศึกษาจาแนก ครใู ห้นกั ศกึ ษาจาแนกรายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชิ โอมเิ ตอร์ รายละเอียดคณุ สมบตั ขิ องโพเทนชโิ อมิเตอร์ 3. ขน้ั ประยกุ ต์ใช(้ 105 นำที ) 3. ขน้ั ประยกุ ต์ใช้ (105 นำที ) 1. ผู้สอนให้ผู้เรียนทาใบงานท่ี 1 เรื่อง การ 1. ผู้เรียนทาใบงานที่ 1 เร่ือง การตรวจสอบ ตรวจสอบความต้านทานของโพเทนชิโอมิเตอร์ หน้า ความตา้ นทานของโพเทนชโิ อมิเตอร์ หน้า 298-299 298-299 2. ผู้สอนให้ผู้เรียนทาใบงานท่ี 2 เร่ือง การ 2. ผเู้ รียนทาใบงานท่ี 2 เร่ือง การปรับสมดลุ ของ ปรบั สมดุลของวงจรบริดจ์ด้วยโพเทนชิโอมิเตอร์ หน้า วงจรบริดจ์ด้วยโพเทนชิโอมิเตอร์ หน้า 300-301 300-301 3. ผ้เู รยี นสบื ค้นข้อมลู จากอนิ เทอร์เน็ต 3. ผ้สู อนใหผ้ ูเ้ รียนสืบคน้ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

กิจกรรมกำรเรียนกำรสอนหรอื กำรเรยี นรู้ ขน้ั ตอนการสอนหรอื กจิ กรรมของครู ข้ันตอนการเรยี นรหู้ รือกิจกรรมของนกั เรียน 4. ขนั้ สรปุ และประเมินผล ( 60 นำที ) 4. ขนั้ สรปุ และประเมนิ ผล (60 นำที ) 1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปเน้ือหาท่ีได้เรียน 1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้ ให้มีความเข้าใจในทศิ ทางเดียวกัน เรยี นเพ่ือใหม้ ีความเขา้ ใจในทศิ ทางเดยี วกัน 2. ผ้สู อนใหผ้ เู้ รียนทาแบบฝึกหัดหนว่ ยที่ 1 หน้า 2. ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดหน่วยท่ี 1 หน้า 20- 20-21 21 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียน 3. ผู้เรียนศึกษาเพ่ิมเติมนอกห้องเรียน ด้วย ดว้ ยบทเรยี นคอมพิวเตอรช์ ่วยสอนที่จดั ทาข้นึ บทเรยี นคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอนทจ่ี ัดทาขน้ึ (บรรลจุ ุดประสงค์เชงิ พฤติกรรมขอ้ ท่ี 1-7) (บรรลจุ ุดประสงค์เชิงพฤติกรรมขอ้ ที่ 1-7) (รวม 300 นาที หรอื 5 คาบเรียน)

งำนทม่ี อบหมำยหรือกจิ กรรมกำรวัดผลและประเมินผล กอ่ นเรียน 1. จัดเตรยี มเอกสาร สื่อการเรียนการสอนหน่วยท่ี 1 2. ศึกษาเนื้อหา ในหน่วยที่ 1 3. ทาความเข้าใจเก่ยี วกบั จดุ ประสงค์การเรียนของหนว่ ยที่ 1 และใหค้ วามร่วมมอื ในการทากิจกรรมใน หนว่ ยที่ 1 ขณะเรียน 1. ศกึ ษาจากบทเรียนคอมพิวเตอรช์ ว่ ยสอนและเอกสารประกอบการสอน หนว่ ยท่ี 1 เร่ือง ทรานสดวิ เซอร์ 2. ซักถามปัญหาข้อสงสัยจากผสู้ อน 3. ทาใบงานท่ี 1 เรื่อง การตรวจสอบความตา้ นทานของโพเทนชิโอมิเตอร์ 4. ทาใบงานที่ 2 เรอื่ ง การปรับสมดุลของวงจรบรดิ จ์ดว้ ยโพเทนชิโอมิเตอร์ หลังเรยี น 1. สรปุ เนื้อหา 2. ทาแบบฝกึ หดั หนว่ ยที่ 1 3. สลับกันตรวจแบบฝึกหัด ผลงำน/ชิ้นงำน/ควำมสำเรจ็ ของผเู้ รยี น ใบงานท่ี 1 และใบงานที่ 2, แบบฝกึ หัดหนว่ ยท่ี 1

สือ่ กำรเรยี นกำรสอน/กำรเรียนรู้ สอื่ ส่ิงพิมพ์ 1. เอกสารประกอบการสอนวิชา อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (ใช้ประกอบการเรียนการสอน จดุ ประสงค์เชงิ พฤติกรรมข้อท่ี 1-7) 2. ใบความรู้ท่ี 1 เร่ือง ทรานสดิวเซอร์ (ใช้ประกอบการเรียนการสอนข้ันให้ความรู้ เพ่ือให้บรรลุ จุดประสงค์เชิงพฤตกิ รรม ข้อที่ 1-7) 3. ใบงานที่ 1 เรอื่ ง การตรวจสอบความตา้ นทานของโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ ขั้นประยกุ ตใ์ ช้ข้อ 1 4. ใบงานท่ี 2 เรอ่ื ง การปรบั สมดุลของวงจรบรดิ จด์ ว้ ยโพเทนชิโอมเิ ตอร์ ข้นั ประยกุ ต์ใชข้ อ้ 2 5. แบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 สรุปและประเมนิ ผล ข้อ 2 6. แบบประเมินผลงานตามใบงาน ใช้ประกอบการสอนขั้นประยุกตใ์ ช้ ข้อ 1 7. แบบประเมนิ พฤตกิ รรมการทางาน ใช้ประกอบการสอนขั้นประยกุ ตใ์ ช้ ขอ้ 2 ส่อื โสตทัศน์ (ถ้ามี) 1. บทเรยี นคอมพิวเตอรช์ ่วยสอน ส่อื ของจรงิ 1. ทรานสดวิ เซอร์ (ใชป้ ระกอบการเรียนการสอนจุดประสงค์เชงิ พฤติกรรมข้อท่ี 1-7)

แหล่งกำรเรยี นรู้ ในสถานศึกษา 1. ห้องสมดุ วทิ ยาลัยฯ 2. หอ้ งปฏบิ ัติการคอมพวิ เตอร์ ศกึ ษาหาข้อมลู ทาง Internet นอกสถานศึกษา ผ้ปู ระกอบการ สถานประกอบการ ในท้องถ่ิน กำรบรู ณำกำร/ควำมสมั พนั ธก์ บั วิชำอืน่ 1. การบูรณาการกบั วิชาภาษาไทย ดา้ นบคุ ลิกภาพในการนาเสนอหนา้ ช้นั เรยี น 2. การบรู ณาการกบั วิชาอิเล็กทรอนกิ สเ์ บื้องตน้

กำรประเมนิ ผลกำรเรยี นรู้  หลกั กำรประเมินผลกำรเรยี นรู้ กอ่ นเรียน 1. ความรคู้ วามเข้าใจก่อนการเรียนการสอน ขณะเรยี น 1. ตรวจผลงานตามทาใบงานที่ 1 เร่ือง การตรวจสอบความต้านทานของโพเทนชโิ อมิเตอร์ 2. ตรวจผลงานตามทาใบงานท่ี 2 เร่อื ง การปรบั สมดลุ ของวงจรบรดิ จ์ด้วยโพเทนชิโอมเิ ตอร์ หลังเรียน 1. ตรวจแบบฝึกหัดหนว่ ยที่ 1 คำถำม 1. จงอธบิ ายความหมายของทรานสดิวเซอร์ 2. การเลอื กทรานสดิวเซอร์มาใช้งาน มีเทคนคิ การเลือกอยา่ งไร 3. ทรานสดิวเซอรช์ นิดความตา้ นทานเปล่ียนแปลงตามตาแหน่ง มีลักษณะอย่างไร 4. ความเปน็ เชงิ เสน้ ของความต้านทานในตัวโพเทนชโิ อมิเตอร์ คอื 5. รายละเอียดคณุ สมบัติของโพเทนชิโอมเิ ตอร์ มีลักษณะอย่างไร 6. การใชง้ านโพเทนชโิ อมเิ ตอร์ ใช้งานอยา่ งไร ผลงำน/ช้ินงำน/ผลสำเร็จของผู้เรยี น ใบงานที่ 1 และใบงานท่ี 2, แบบฝึกหัดหนว่ ยที่ 1 สมรรถนะทพ่ี ึงประสงค์ ผูเ้ รยี นสรา้ งความเขา้ ใจเก่ยี วกบั ทรานสดวิ เซอร์ 1. วเิ คราะห์และตีความหมาย 2. ต้งั คาถาม 3. อภิปรายแสดงความคดิ เห็นระดมสมอง 4. การประยุกต์ความรสู้ ู่งานอาชีพ สมรรถนะกำรปฏบิ ตั ิงำนอำชีพ 1. แสดงความร้เู กย่ี วกบั ทรานสดิวเซอร์

สมรรถนะกำรขยำยผล ควำมสอดคล้อง จากการเรียน เร่ือง ทรานสดิวเซอร์ ทาให้ผู้เรียนมีความรู้เพ่ิมเกี่ยวกับ ทรานสดิวเซอร์ หรือ ตัวแปลง เป็นชื่อเรียกรวมอุปกรณ์ท่ีทาหน้าท่ีเปล่ียนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง พลังงานที่จะนามา เปล่ียนแปลงมีหลากหลายรูปแบบในทุกๆ ด้าน เช่น แสง เสียง สนามแม่เหล็ก ความร้อน ความเย็น ความชื้น แรงดัน แรงกด ก๊าซ และควัน เป็นต้น หน้าที่ของทรานสดิวเซอร์ คือ รับรู้ และแสดงค่า จานวน ขนาด และ ความถี่ จ่ายออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก ทรานสดิวเซอร์บางครั้งเรียกว่าเซ็นเซอร์ เพราะด้วยคุณสมบัติทางฟิ ซิกส์ท่ีเหมือนกันในการนาไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนในกระบวนการทางานทางอุตสาหกรรมจาเป็นต้องใช้ท้ัง สองส่วน การเลอื กทรานสดวิ เซอร์มาใชง้ าน ควรพจิ ารณาจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น ย่านการทางาน ความไว การ ตอบสนองความถ่ี เหมาะสมกับการใชง้ าน ความไวตา่ สดุ ความเทีย่ งตรง ความแขง็ แรง และไฟฟา้ ท่ีใช้ เป็นต้น

รายละเอียดการประเมนิ ผลการเรยี นรู้  จุดประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม ข้อที่ 1 อธิบายความหมายของทรานสดิวเซอรไ์ ด้ 1. วิธกี ารประเมนิ : ทดสอบ 2. เครอ่ื งมือ : แบบทดสอบ 3. เกณฑ์การใหค้ ะแนน : อธิบายความหมายของทรานสดิวเซอรไ์ ด้ จะได้ 1 คะแนน  จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม ข้อท่ี 2 ขยายความทรานสดิวเซอร์ชนดิ ความตา้ นทานเปลี่ยนแปลงตามตาแหน่งได้ 1. วิธกี ารประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เคร่อื งมอื : แบบประเมิน 3. เกณฑ์การให้คะแนน : ขยายความทรานสดิวเซอร์ชนดิ ความต้านทานเปลย่ี นแปลงตาม ตาแหนง่ ได้ จะได้ 1 คะแนน  จุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม ข้อท่ี 3 เขยี นกราฟแสดงความเปน็ เชิงเส้นของความต้านทานในตัวโพเทนชโิ อ มิเตอร์ได้ 1. วิธกี ารประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เครื่องมอื : แบบประเมนิ 3. เกณฑ์การใหค้ ะแนน : เขยี นกราฟแสดงความเปน็ เชงิ เสน้ ของความต้านทานในตัวโพเทนชิโอ มเิ ตอร์ได้ จะได้ 1 คะแนน  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ข้อท่ี 4 สาธติ การคานวณหาค่าการใชง้ านโพเทนชโิ อมิเตอร์ลักษณะตา่ งๆ ได้ 1. วิธีการประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เครอื่ งมอื : แบบประเมิน 3. เกณฑ์การให้คะแนน : สาธิตการคานวณหาคา่ การใช้งานโพเทนชโิ อมิเตอร์ลักษณะต่างๆ ได้ จะได้ 3 คะแนน  จดุ ประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม ข้อท่ี 5 เลือกทรานสดวิ เซอร์มาใชง้ านได้ 1. วิธกี ารประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เครอ่ื งมือ : แบบประเมนิ 3. เกณฑ์การใหค้ ะแนน : เลือกทรานสดิวเซอร์มาใชง้ านได้ จะได้ 1 คะแนน  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ข้อท่ี 6 จาแนกรายละเอยี ดคุณสมบัติของโพเทนชโิ อมิเตอร์ได้ 1. วิธีการประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เครื่องมอื : แบบประเมิน 3. เกณฑ์การให้คะแนน : จาแนกรายละเอียดคุณสมบัติของโพเทนชิโอมิเตอร์ได้ จะได้ 1 คะแนน

 จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม ข้อที่ 7 มคี วามรอบรูเ้ กี่ยวกับทรานสดิวเซอรไ์ ด้ 1. วิธีการประเมนิ : ตรวจผลงาน 2. เคร่อื งมือ : แบบประเมนิ กระบวนการทางานกลุ่ม 3. เกณฑ์การให้คะแนน : มคี วามรอบร้เู กย่ี วกับทรานสดวิ เซอรไ์ ด้ จะได้ 2 คะแนน

แบบประเมนิ กระบวนกำรทำงำน ชอื่ กล่มุ ……………………………………………ชน้ั ………………………หอ้ ง........................... รายชือ่ สมาชกิ 2……………………………………เลขที่……. 4……………………………………เลขท่ี……. 1……………………………………เลขท…่ี …. 3……………………………………เลขท…่ี …. ท่ี รายการประเมิน คะแนน ข้อคิดเหน็ 1 การกาหนดเปา้ หมายรว่ มกัน 321 2 การแบง่ หน้าท่ีรบั ผดิ ชอบและการเตรียมความพร้อม 3 การปฏิบตั หิ นา้ ทีท่ ไ่ี ดร้ บั มอบหมาย 4 การประเมนิ ผลและปรบั ปรงุ งาน รวม ผู้ประเมนิ ………………………………………………… วันที่…………เดอื น……………………..พ.ศ…………... เกณฑ์การให้คะแนน 1. การกาหนดเป้าหมายรว่ มกนั 3 คะแนน = สมาชิกทกุ คนมีสว่ นรว่ มในการกาหนดเปา้ หมายการทางานอยา่ งชดั เจน 2 คะแนน = สมาชกิ สว่ นใหญ่มีสว่ นรว่ มในการกาหนดเปา้ หมายในการทางาน 1 คะแนน = สมาชิกสว่ นนอ้ ยมีสว่ นร่วมในการกาหนดเป้าหมายในการทางาน 2. การมอบหมายหน้าทีร่ บั ผิดชอบและการเตรียมความพรอ้ ม 3 คะแนน = กระจายงานได้ท่ัวถงึ และตรงตามความสามารถของสมาชกิ ทกุ คน มีการจดั เตรียมสถานที่ สื่อ / อปุ กรณ์ไว้อยา่ งพร้อมเพรียง 2 คะแนน = กระจายงานไดท้ ั่วถงึ แตไ่ มต่ รงตามความสามารถ และมีส่อื / อปุ กรณไ์ วอ้ ยา่ งพรอ้ มเพรยี ง แตข่ าด การจดั เตรียมสถานที่ 1 คะแนน = กระจายงานไมท่ ่ัวถงึ และมีสือ่ / อปุ กรณ์ไม่เพยี งพอ 3. การปฏิบตั ิหนา้ ที่ที่ได้รบั มอบหมาย 3 คะแนน = ทางานได้สาเรจ็ ตามเป้าหมาย และตามเวลาท่กี าหนด 2 คะแนน = ทางานไดส้ าเร็จตามเปา้ หมาย แต่ชา้ กว่าเวลาที่กาหนด 1 คะแนน = ทางานไมส่ าเรจ็ ตามเปา้ หมาย 4. การประเมนิ ผลและปรบั ปรงุ งาน 3 คะแนน = สมาชิกทกุ คนร่วมปรึกษาหารอื ติดตาม ตรวจสอบ และปรบั ปรงุ งานเป็นระยะ 2 คะแนน = สมาชิกบางสว่ นมสี ่วนรว่ มปรกึ ษาหารือ แต่ไมป่ รบั ปรุงงาน 1 คะแนน = สมาชกิ บางสว่ นไม่มีส่วนรว่ มปรึกษาหารือ และปรับปรงุ งาน

บันทกึ หลงั กำรสอน หนว่ ยที่ 1 ทรำนสดวิ เซอร์ ผลกำรใชแ้ ผนกำรเรยี นรู้ 1. เน้ือหาสอดคล้องกับจุดประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม 2. สามารถนาไปใชป้ ฏบิ ัติการสอนได้ครบตามกระบวนการเรยี นการสอน 3. สือ่ การสอนเหมาะสมดี ผลกำรเรียนของนกั เรียน 1. นักศึกษาสว่ นใหญม่ ีความสนใจใฝ่รู้ เข้าใจในบทเรยี น อภิปรายตอบคาถามในกลุม่ และร่วมกัน ปฏบิ ัตใิ บงานทไ่ี ด้รบั มอบหมาย 2. นักศึกษากระตือรือรน้ และรับผิดชอบในการทางานกลุ่มเพ่ือให้งานสาเร็จทนั เวลาทีก่ าหนด 3. นักศึกษาแสดงความร้เู กยี่ วกับทรานสดิวเซอรไ์ ด้ ผลกำรสอนของครู 1. สอนเนื้อหาได้ครบตามหลักสตู ร 2. แผนการสอนและวิธีการสอนครอบคลมุ เนื้อหาการสอนทาให้ผสู้ อนสอนได้อยา่ งมัน่ ใจ 3. สอนได้ทนั ตามเวลาทก่ี าหนด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook