Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความฉลาดดิจิทัล นายวงศ์บวร อบบุญ 634110005

ความฉลาดดิจิทัล นายวงศ์บวร อบบุญ 634110005

Published by Cheer Wongborworn, 2021-09-02 03:23:02

Description: ความฉลาดดิจิทัล นายวงศ์บวร อบบุญ 634110005

Search

Read the Text Version

รายงาน วชิ า นวตั กรรมและเทคโนโลยสี ารสนเทศเพ่อื การสื่อสารการศกึ ษา เร่ือง ความฉลาดทางดิจทิ ัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) โดย นางสาวปรารถนา อุทยั แสงสกลุ รหสั นกั ศึกษา 634110015 ค.บ.2 สาขาวชิ าสงั คมศึกษา หมู่ 1 เสนอ อาจารยส์ ุธิดา ปรีชานนท์ รายงานนเ้ี ป็นสว่ นหน่งึ ของการเรียนรายวชิ านวตั กกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศเพอ่ื การสอ่ื สารการศึกษา PC 62506 ภาคการศึกษาท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2564 คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์

ก คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร การศึกษา (PC 62506) นกั ศึกษาชนั้ ปที ี่ 2 สาขาสงั คมศึกษา มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏหม่บู ้านจอมบึง โดย มีจุดประสงค์เพื่อให้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่าง ยง่ิ การสอ่ื สารในยุคดจิ ทิ ัลเปน็ การสอื่ สารท่ีไรพ้ รมแดนจำเป็นต้องมคี วามฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการ บริหารจัดการ ควบคุม กำกบั ตน รู้ผิดรู้ถกู และรู้เท่าทนั และจะกล่าวถึงทกั ษะ 8 ดา้ นของ ความฉลาดดจิ ิทลั ในระดับพลเมือง ดิจิทัล ผู้จัดทำได้ เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้จัดทำหวังว่า รายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากรายงานเล่มนี้ผิดพลาด ประการใด ตอ้ งขออภัย ณ ทีน่ ้ี นางสาวปรารถนา อทุ ัยแสงสกุล ผู้จดั ทำ

สารบัญ ข เรือ่ ง คำนำ หน้า สารบญั ก ความเปน็ พลเมืองดจิ ิทัล ข ความฉลาดทางดิจทิ ลั 1 รปู ภาพ และ วดี ีโอแนะนำ ความฉลาดทางดจิ ทิ ัล 1 เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทลั 2 การบริหารจดั การเวลาบนโลกดิจทิ ัล 3 การจัดการการกลน่ั แกล้งบนไซเบอร์ 3 การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครอื ขา่ ย 3 การจัดการความเป็นส่วนตัว 4 การคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ 4 ร่องรอยทางดจิ ิทลั 4 ความเหน็ อกเห็นใจและสรา้ งสมั พนั ธภาพทด่ี กี ับผู้อน่ื ทางดจิ ิทลั 5 บรรณานุกรม 5 6

1 ความฉลาดทางดจิ ทิ ัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้ อินเทอร์เน็ตในการ บริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง เหมาะสม มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และ ปลอดภัย พลเมืองดิจิทัลจึงต้อง ตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทัล เข้าใจถึงสิทธิและ ความรับผิดชอบในโลกออนไลน์ ความเป็น พลเมืองดิจิทัล นับเป็นมาตรฐานหนึ่งด้านทางเทคโนโลยี การศึกษาที่เสนอโดยสมาคมเทคโนโลยีการศึกษา นานาชาติ (ISTE : International Society for Technology in Education) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดง ความเข้าใจประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตาม ครรลองกฎหมายให้ใช้ขอ้ มลู ขา่ วสารไดอ้ ย่างปลอดภยั ถูกกฎหมาย ซึง่ มี ความสำคญั ในทักษะแห่งการ เรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21 ทกั ษะสำคญั ท่ีจะท าให้เป็นพลเมืองดิจิทัลทีส่ มบรู ณ์ ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นผลจากศึกษาและพัฒนาของ DQ institute หน่วยงานท่ีเกิดจากความ ร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนทั่วโลกประสานงานร่วมกับ เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม ( World Economic Forum) ที่มุ่งมั่นให้เด็ก ๆ ทุกประเทศได้รับการศึกษาด้านทักษะพลเมืองดิจิทัลที่มี คุณภาพและใช้ชีวิตบนโลก ออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความ ฉลาดทางดิจิทัล เป็นกรอบแนวคิดท่ี ครอบคลุมของความสามารถทางเทคนิคความรู้ความเข้าใจและ ความคดิ ทางสงั คมท่ีมีพ้ืนฐานอยู่ในค่านิยมทาง ศีลธรรมท่ีช่วยใหบ้ ุคคลที่จะเผชิญกับความท้าทายทาง ดิจิทัล ความฉลาดทางดิจิทัล มีสามระดับ 8 ด้าน และ 24 สมรรถนะที่ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยม โดยบทความนี้จะกล่าวถึงทักษะ 8 ด้านของ ความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมือง ดิจิทัล ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อในรูปแบบที่ ปลอดภัยรับผิดชอบ และมี จรยิ ธรรม ดงั น้ี

2

3 1. เอกลักษณ์พลเมืองดิจทิ ลั (Digital Citizen Identity) เอกลักษณพ์ ลเมอื งดจิ ิทัล เปน็ ความสามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่าง ดีทั้งในโลกออนไลน์ และโลกความจริงอัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของ ตนเองในแง่บวก ทั้งความคิดความรู้สึก และการกระท า โดยมีวิจารณญาณในการรับส่ง ข่าวสารและแสดงความ คิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จัก รับผิดชอบต่อการกระท า ไม่กระท าการที่ ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลขิ สิทธิ์ การกลั่นแกลง้ หรอื การใช้วาจาท่ีสรา้ งความ เกลียดชังผู้อ่ืนทางสอื่ ออนไลน์ 2. การบริหารจดั การเวลาบนโลกดจิ ิทลั (Screen Time Management) การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถควบคุมตนเอง ความสามารถ ในการจัดสรรเวลาในการ ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อสังคม (Social Media) และเกม ออนไลน์ (Online Games) ด้วยความ รับผิดชอบต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้ เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกความเป็นจรงิ อีกทั้งตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพ จากการใชเ้ วลาหน้าจอนานเกนิ ไป และผลเสียของการเสพติดสื่อดิจิทลั 3. การจัดการการกลน่ั แกลง้ บนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการป้องกันตนเอง การมี ภูมิคุ้มกันในการรับมือและจัดการกับ สถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญ ฉลาด การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการ กลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็ก จนถึง เด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอ่ืน หากแต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทำผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความ ทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะ เป็นคนแปลกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งรูปแบบของการกลั่น แกล้งมักจะเป็นการว่าร้าย ใส่ความ ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย การคุกคามทางเพศ ผ่านสื่อออนไลน์ การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น การแบล็กเมล์ การหลอกลวง การสร้างกลุ่มใน โซเชยี ลเพือ่ โจมตโี ดยเฉพาะ

4 4. การจดั การความปลอดภยั บนระบบเครอื ข่าย (Cybersecurity Management) การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความสามารถในการสำรวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเครือข่าย ป้องกัน ข้อมลู ดว้ ยการสรา้ งระบบความปลอดภัยท่ีเขม้ แข็ง และปอ้ งกนั การโจรกรรมข้อมูลหรือการถูก โจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์การรักษา ความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ คือการปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและ ขอ้ มูลส่วนตวั ไมใ่ หเ้ สยี หาย สญู หาย หรือถกู โจรกรรมจากผไู้ มห่ วังดใี นโลกไซเบอร์ 5. การจัดการความเปน็ ส่วนตวั (Privacy Management) การจัดการความเป็นสว่ นตัว เป็นความสามารถในการจัดการกับความเป็นสว่ นตัวของ ตนเองและของผู้อื่น การใช้ข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน การแบ่งปันผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการ บริหารจัดการ รู้จักป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วย เครื่องมือดิจิทัล การขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมีความสามารถในการฝึกฝนใช้ เครื่องมือ หรือวิธีการในการป้องกันข้อมูลตนเองได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้น ข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือสิทธิ การปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือการบริหารจัดการ ข้อมูลส่วนตัว รวมถึงการใช้ดุลยพินิจปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็นความลับของ ผู้อน่ื 6. การคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ (Critical Thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการตัดสินของบุคคลว่าควรเช่อื ไม่ควรเชื่อ ควรทำ หรือไม่ควรทำบนความคิดเชิงเหตุและผล มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะระหวา่ งข้อมูลที่ถกู ต้องและข้อมลู ท่ีผิด ขอ้ มูลท่ีมีเนอื้ หาเปน็ ประโยชน์และข้อมูลที่เขา้ ข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหาใดมีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัล เช่น ขา่ วปลอม เว็บไซตป์ ลอม ภาพตัดต่อ ขอ้ มูลอนั ทเี่ ท็จ เปน็ ต้น

5 7. รอ่ งรอยทางดิจทิ ัล (Digital Footprints) ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลก ดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลท้ิงไว้เสมอ ร่องรอยทางดจิ ิทลั อาจจะส่งผลกระทบในชวี ติ จริง ที่เกิดจากร่องรอยทางดิจิทลั เข้าใจผลลัพธท์ ี่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการจัดการกับชวี ติ บทโลกดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ ข้อมูลร่องรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การ โพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้าโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอย ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ ให้ผู้อื่นสามารถติดตามได้ และจะเป็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ อยา่ งงา่ ยดาย 8. ความเหน็ อกเห็นใจและสรา้ งสมั พันธภาพที่ดกี ับผอู้ ืน่ ทางดิจทิ ัล (Digital Empathy) ความเห็นอกเหน็ ใจและสร้างสัมพนั ธภาพที่ดีกับผูอ้ ื่นทางดจิ ิทลั เป็นความสามารถใน การเข้าใจผู้อื่น การตอบสนองความต้องการของผู้อื่น การแสดง ความเห็นใจและการแสดง น้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่าง เดียว และจะเป็นกระบอกเสยี งให้ผู้ที่ต้องการความชว่ ยเหลอื ในโลกออนไลน์ จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับ นักเรียน และบุคคลทั่วไปในการสื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอกลักษณ์พลเมือง ดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการ ความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย การจัดการความเป็นส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดจิ ิทลั ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อืน่ ทางดิจทิ ัล หากบุคคล มีทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการใช้ อนิ เทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคมุ กำกับตน รผู้ ดิ รู้ถูก และรูเ้ ทา่ ทนั เป็นบรรทัดฐานใน การใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ทีจ่ ะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย

6 บรรณานุกรม สถาบนั ส่ือเด็กและเยาวชน. (2561). การจัดทำ Fact Sheet‘ความฉลาดทางดิจทิ ลั ’ (Digital Intelligence : DQ) และการศกึ ษาการรงั แกกนั บนโลกไซเบอรข์ องวัยรุ่น. กรงุ เทพมหานคร : สถาบันส่อื เด็กและ เยาวชน Yuhyun Park. (2016). 8 digital skills we must teach our children. Retrieved March 8, 2017, https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must-teach our- children Yuhyun Park. (2016). 8 digital life skills all children need - and a plan for teaching them. Retrieved Janury 22, 2019 from https://www.weforum.org/agenda/2016/09/8- digitallife-skills-all-children-need-and-a-plan-for-teaching- them?utm_content=buffer4422b&utm_medium=social&utm_source=facebook.com&u tm_campaign=buffer. Project DQ. (2017). Digital Intelligence (DQ). Retrieved Janury 22, 2019 from https://www.projectdq.org สถาบนั ส่อื เดก็ และเยาวชน. (2561). ความฉลาดทางดจิ ิตอล (Digital Intelligence: DQ) และ การศกึ ษาการรงั แกกนั บนโลกไซเบอรข์ องวยั รุน่ . สบื ค้นเม่ือ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/contents/research/A2.-final.pdf. สถาบนั สือ่ เด็กและเยาวชน. (2562). การพฒั นาพลเมอื ง MILD จดุ เน้นตามชว่ งวัย. สืบคน้ เมอื่ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/ชุดความรู้สำหรับคร/ู ความร้/ู การพฒั นาพลเมือง- midl-จดุ เน้นตามชว่ งวัย. ปณติ า วรรณพิรณุ . (2560). “ความฉลาดทางงดิจทิ ลั ,” พฒั นาเทคนิคศึกษา. 29 (102), 12-20.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook