Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือครู ออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 สสวท.

คู่มือครู ออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 สสวท.

Published by Jumpol Phanchompoo, 2022-06-06 16:56:13

Description: คู่มือครู ออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 สสวท.

Search

Read the Text Version

แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 2 เวลา 10 ช่ัวโมง เทคโนโลยแี ก้ปญั หา 1. ตวั ช้ีวัดและสาระการเรยี นรู้ 1.1 ตวั ชว้ี ัด ว 4.1 ม.3/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพ สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วเิ คราะหข์ ้อมูลและแนวคดิ ท่ีเก่ียวข้องกับปัญหา โดยค�ำ นึงถงึ ความถกู ต้องด้านทรพั ยส์ ินทางปญั ญา ว 4.1 ม.3/3 ออกแบบวธิ กี ารแกป้ ัญหา โดยวิเคราะห์เปรยี บเทยี บ และตดั สนิ ใจเลอื กขอ้ มลู ทจ่ี ำ�เปน็ ภายใตเ้ ง่อื นไข และทรพั ยากรทม่ี อี ยู่ น�ำ เสนอแนวทางการแกป้ ญั หาใหผ้ อู้ นื่ เขา้ ใจดว้ ยเทคนคิ หรอื วธิ กี ารทห่ี ลากหลาย วางแผนขน้ั ตอนการท�ำ งาน และด�ำ เนินการแกป้ ัญหาอยา่ งเปน็ ขัน้ ตอน ว 4.1 ม.3/4 ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะหแ์ ละใหเ้ หตผุ ลของปญั หาหรอื ข้อบกพรอ่ งทเ่ี กิดข้ึนภายใต้กรอบเงือ่ นไข พรอ้ มทง้ั หาแนวทางการปรบั ปรุงแก้ไข และน�ำ เสนอผลการแกป้ ญั หา ว 4.1 ม.3/5 ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เคร่ืองมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องกับ ลักษณะของงาน และปลอดภัย เพือ่ แกป้ ญั หาหรือพัฒนางาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

52 แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ี 2 | เทคโนโลยแี ก้ปัญหา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 1.2 สาระการเรียนรู้ 1) ปัญหาหรือความต้องการอาจพบได้ในงานอาชีพของชุมชนหรือท้องถ่ิน ซ่ึงอาจมีหลายด้าน เช่น ด้านการเกษตร อาหาร พลังงาน การขนส่ง 2) การวเิ คราะหส์ ถานการณป์ ญั หาชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจเงอ่ื นไขและกรอบของปญั หาไดช้ ดั เจน จากนนั้ ด�ำ เนนิ การสบื คน้ รวบรวม ข้อมูล ความรูจ้ ากศาสตรต์ า่ งๆ ท่เี กี่ยวข้อง เพอ่ื นำ�ไปสกู่ ารออกแบบแนวทางการแกป้ ัญหา 3) การวเิ คราะห์ เปรยี บเทยี บ และตดั สนิ ใจเลอื กขอ้ มลู ทจ่ี �ำ เปน็ โดยค�ำ นงึ ถงึ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา เงอ่ื นไขและทรพั ยากร เชน่ งบประมาณ เวลา ข้อมูลและสารสนเทศ วสั ดุ เครอื่ งมอื และอปุ กรณ์ ชว่ ยให้ไดแ้ นวทางการแก้ปญั หาทีเ่ หมาะสม 4) การออกแบบแนวทางการแกป้ ัญหาท�ำ ได้หลากหลายวิธี เชน่ การร่างภาพ การเขียนแผนภาพ การเขยี นผงั งาน 5) เทคนิคหรือวธิ ีการในการน�ำ เสนอแนวทางการแกป้ ัญหามีหลากหลาย เช่น การใช้แผนภูมิ ตาราง ภาพเคล่ือนไหว 6) การก�ำ หนดขน้ั ตอนและระยะเวลาในการท�ำ งานกอ่ นด�ำ เนนิ การแกป้ ญั หาจะชว่ ยใหก้ ารท�ำ งานส�ำ เรจ็ ไดต้ ามเปา้ หมาย และลดข้อผดิ พลาดของการท�ำ งานท่อี าจเกดิ ขนึ้ 7) การทดสอบและประเมินผลเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือวิธีการว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้ กรอบของปญั หา เพ่ือหาข้อบกพร่อง และดำ�เนินการปรบั ปรงุ โดยอาจทดสอบซำ้�เพือ่ ใหส้ ามารถแกไ้ ขปัญหาได้ 8) การน�ำ เสนอผลงานเปน็ การถา่ ยทอดแนวคดิ เพอื่ ใหผ้ อู้ นื่ เขา้ ใจเกย่ี วกบั กระบวนการท�ำ งานและชนิ้ งานหรอื วธิ กี ารที่ ได้ ซึ่งสามารถท�ำ ได้หลายวิธี เช่น การเขยี นรายงาน การท�ำ แผน่ น�ำ เสนอผลงาน การจัดนิทรรศการ การนำ�เสนอผ่านส่ือออนไลน์ 9) วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น ไม้ โลหะ พลาสติก เซรามิก จึงต้องมีการวิเคราะห์สมบัติเพื่อเลือกใช้ ใหเ้ หมาะสมกบั ลักษณะของงาน 10) การสร้างชน้ิ งานอาจใชค้ วามรู้ เร่อื งกลไก ไฟฟ้า อิเลก็ ทรอนิกส์ เช่น LED LDR มอเตอร์ เฟอื ง คาน รอก ล้อ เพลา 11) อุปกรณ์และเครื่องมือในการสร้างช้ินงานหรือพัฒนาวิธีการมีหลายประเภท ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย รวมทง้ั รจู้ ักเกบ็ รกั ษา 2. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ 2.1 ประยกุ ต์ใช้ความรใู้ นการแกป้ ัญหาหรอื พัฒนางานอาชีพตามกระบวนการออกแบบเชงิ วิศวกรรม 2.2 เลอื กใชข้ อ้ มูลโดยไมล่ ะเมดิ ทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรียนร้ทู ่ี 2 | เทคโนโลยีแก้ปญั หา 53 3. ทักษะและกระบวนการท่เี ป็นจดุ เนน้ 3.1 กระบวนการออกแบบเชิงวศิ วกรรม 3.2 ทักษะการสือ่ สาร 3.3 ทกั ษะการคิดอย่างมีวจิ ารณญาณ 3.4 ทักษะการคิดเชิงระบบ 3.5 ทกั ษะการคดิ สรา้ งสรรค์ 3.6 ทักษะการแก้ปญั หา 3.7 ทักษะการท�ำ งานร่วมกบั ผ้อู น่ื 4. ความรูเ้ ดมิ ทีผ่ ูเ้ รียนต้องมี กระบวนการออกแบบเชงิ วศิ วกรรม เปน็ กระบวนการแกป้ ญั หาหรอื พฒั นางาน ชว่ ยสรา้ งแนวทางทเ่ี หมาะสมในการแกป้ ญั หา หรือสนองความต้องการอย่างเป็นข้ันตอน ประกอบด้วย ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูลและแนวคิดท่ีเกี่ยวข้องกับปัญหา ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา วางแผนและด�ำ เนินการแกป้ ญั หา ทดสอบ ประเมนิ ผล และปรับปรงุ แกไ้ ขวิธกี ารแก้ปญั หาหรือช้ินงาน น�ำ เสนอ วิธกี ารแกป้ ัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือช้นิ งาน 5. สาระสำ�คญั การเปลย่ี นแปลงหรอื พฒั นาเทคโนโลยนี นั้ จะตอ้ งอาศยั องคค์ วามรจู้ ากหลากหลายศาสตรม์ าบรู ณาการรว่ มกนั เพอ่ื พฒั นา เทคโนโลยใี หต้ อบสนองตอ่ ความตอ้ งการหรอื แกป้ ญั หาของมนษุ ย์ ดงั นนั้ การแกป้ ญั หาในชมุ ชนหรอื ในงานอาชพี จะตอ้ งประยกุ ต์ ใช้ความรูจ้ ากศาสตรต์ ่าง ๆ โดยผา่ นกระบวนการออกแบบเชิงวศิ วกรรม แนวคดิ แบบลนี สามารถน�ำ มาประยกุ ตใ์ ชก้ บั การวเิ คราะหส์ ถานการณป์ ญั หา ท�ำ ใหม้ แี นวทางในการสงั เกตปญั หาทเ่ี กดิ ขนึ้ หรอื ความสญู เสยี ในกระบวนการท�ำ งาน การรวบรวมขอ้ มลู และคดั เลอื กแนวคดิ นนั้ สามารถใชว้ ธิ กี ารระดมความคดิ ซงึ่ มหี ลกั การและขนั้ ตอนทเ่ี ออื้ ใหเ้ กดิ ความคดิ หรอื แนวทางใหม่ ๆ โดยจะต้องระวังการละเมดิ ทรพั ย์สินทางปัญญาของผู้อน่ื การนำ�เสนอสามารถทำ�ได้หลายรูปแบบ เช่น การเขียนรายงาน การนำ�เสนอผลงานด้วยวาจา การนำ�เสนอผลงานด้วย โปสเตอร์ การจัดนทิ รรศการ การนำ�เสนอผา่ นส่ือออนไลน์ ซึ่งอาจใช้วิธใี ดวิธีหนง่ึ หรอื หลายรูปแบบร่วมกนั ตามความเหมาะสม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

54 แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ัญหา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 6. ส่ือและอปุ กรณ์ 6.1 ใบกจิ กรรม ใบกจิ กรรม เรือ่ ง เวลา (นาที) กิจกรรมเสนอแนะท่ี 1 รถของเลน่ พลงั งานแสงอาทิตย์ 60 กจิ กรรมท่ี 2.1 สัมภาษณก์ นั อยา่ งไร 40 กิจกรรมท่ี 2.2 ค้นหาปัญหา 60 กจิ กรรมที่ 2.3 หาทางแก้ปัญหา 60 กิจกรรมที่ 2.4 มาออกแบบกันเถอะ 60 กิจกรรมท่ี 2.5 ลงมอื ท�ำ 60 กจิ กรรมที่ 2.6 ประเมินผลงาน 60 กจิ กรรมที่ 2.7 จดั ทำ�รายงาน 60 กจิ กรรมทา้ ยบท นำ�เสนอผลงาน 60 หมายเหตุ เวลาทรี่ ะบุในตารางเปน็ เวลาเฉพาะการท�ำ กจิ กรรมเทา่ น้ัน ไม่รวมเวลาสอน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 2 | เทคโนโลยีแก้ปญั หา 55 7. แนวทางการจดั การเรียนรู้ 1) ผสู้ อนใชค้ �ำ ถามน�ำ เพ่ือทบทวนความร้เู ดิมในบทเรียนดงั นี้ ผูเ้ รียนไดศ้ กึ ษาเทคโนโลยอี ะไรบ้างในบทท่ี 1 แนวค�ำ ตอบ เครอื่ ข่ายไร้สายยคุ ท่ี 5 (5G) รถยนตไ์ ฟฟ้า และการจดั การโลจสิ ติกส์ เทคโนโลยดี งั กล่าวต้องใชค้ วามรูด้ า้ นใดบา้ งในการพฒั นา และพัฒนาอย่างไร แนวคำ�ตอบ ผู้เรียนตอบตามที่ได้ศึกษามา จากหลักการที่ว่าเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อ่ืน เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วศิ วกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ โดยมีการน�ำ ความรู้ ความเขา้ ใจในศาสตร์ต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานน�ำ ไป สกู่ ารพัฒนาเทคโนโลยี หรอื เป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรอื พฒั นางาน ผเู้ รยี นคดิ วา่ การพฒั นาเทคโนโลยหี รอื การออกแบบเพอ่ื การแกป้ ญั หาในชวี ติ ประจ�ำ วนั จ�ำ เปน็ จะตอ้ งใชค้ วามรจู้ าก หลายศาสตร์หรือไม่ อยา่ งไร แนวค�ำ ตอบ ตอ้ งใชค้ วามรจู้ ากหลายศาสตร์ ขน้ึ อยกู่ บั สง่ิ ทผี่ เู้ รยี นยกตวั อยา่ ง เชน่ การสรา้ งอปุ กรณเ์ พอื่ ก�ำ จดั สตั ว์ รบกวน เชน่ มด หนู แมลงวนั อาจจะต้องใช้ความรดู้ ้าน กลไก สมบัตขิ องวสั ดุ ชนิดของเหยอ่ื ล่อ พฤติกรรมของสตั ว์ ในชวี ติ ประจ�ำ วนั ของผเู้ รยี นมอี าชพี อะไรบา้ งทตี่ อ้ งเกย่ี วขอ้ งกบั เทคโนโลยดี า้ นเครอื ขา่ ยไรส้ ายยคุ ท่ี 5 (5G) รถยนต์ ไฟฟา้ และการจัดการโลจิสติกส์ แนวค�ำ ตอบ ผเู้ รยี นตอบตามแนวคดิ ของตนเอง 2) ผู้สอนเกร่ินนำ�ว่าวันนี้เราจะศึกษาเก่ียวกับอาชีพต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 (5G) รถยนตไ์ ฟฟ้า และการจดั การโลจสิ ติกส์ แลว้ ใหผ้ เู้ รียนร่วมกนั ศึกษาหวั ข้อ 2.1.1 – 2.1.3 ขอ้ เสนอแนะเพม่ิ เตมิ ผสู้ อนอาจแบง่ กลมุ่ ผเู้ รยี นศกึ ษาหวั ขอ้ 2.1.1 – 2.1.3 และรว่ มกนั อภปิ รายเกย่ี วกบั หวั ขอ้ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย โดยใหก้ ลุ่มท่ศี กึ ษานำ�เสนอเนอื้ หาทกี่ ลุ่มตนเองได้ศกึ ษา 3) ผเู้ รียนและผู้สอนอภปิ รายรว่ มกนั โดยผู้สอนใช้ค�ำ ถามนำ�ดังนี้ อาชีพบริการส่งอาหาร (food delivery) เกดิ ขน้ึ จากสาเหตใุ ด แนวค�ำ ตอบ การรอต่อควิ หลายช่วั โมง บางรา้ นอย่ไู กลหรอื ในบริเวณที่มรี ถติดมาก การทจี่ ะเดนิ ทางเพื่อไปทรี่ ้าน จึงเปน็ เร่อื งลำ�บากและเสยี เวลา ในกระบวนการจัดสง่ อาหารผ่านแอปพลิเคชัน มผี ้ทู ี่เก่ยี วข้องคือใครบ้าง แนวค�ำ ตอบ ผู้ซอ้ื ร้านอาหาร และพนกั งานจดั ส่ง แอปพลเิ คชนั ที่ดคี วรมลี กั ษณะอย่างไร แนวค�ำ ตอบ - ใชง้ านง่าย แม้จะไมม่ ีคมู่ ือประกอบเมอ่ื ผใู้ ช้เห็นครั้งแรกก็สามารถทำ�ความเขา้ ใจไดเ้ องวา่ จะต้องใชง้ านอยา่ งไร - มีการออกแบบท่ดี ี ไม่ซับซ้อน เรยี บง่าย จดั เรยี งข้อมูลตา่ ง ๆ เป็นหมวดหมู่ ไมใ่ ชล้ กั ษณะตัวอักษรทอี่ ่านยาก สีฉูดฉาด เช่น มกี ารจัดหมวดหมู่รา้ นอาหาร และรายการอาหารอย่างชัดเจน โดยอาจแยกตามประเภทของอาหาร หรือรายการ อาหารยอดนยิ ม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

56 แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปัญหา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี - มฟี งั กช์ นั การใชง้ านทไ่ี มม่ ากจนเกนิ ความจ�ำ เปน็ ของผใู้ ช้ จนท�ำ ใหด้ รู กรงุ รงั และใชง้ านยาก รวมทง้ั ฟงั กช์ นั ตา่ ง ๆ เหลา่ นน้ั ต้องมคี วามสมบูรณใ์ นตัวเอง เช่น มชี ่องทางการช�ำ ระเงินท่ีหลากหลายให้เลอื กใช้ มีรูปแบบการสมัครสมาชิกทง่ี ่ายและ รวดเร็วสามารถเชือ่ มโยงขอ้ มูลกับฐานข้อมูลอืน่ ได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผู้สอนแนะนำ�สื่อเสริม เพ่ิมความรู้ว่า ผู้เรียนสามารถดูตัวอย่างการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อ สั่งอาหารได้ท่ี https://www.youtube.com/watch?v=STNGgzK-bQ0 อาชีพการขนส่งสินคา้ จะตอ้ งพฒั นาบรกิ ารหรอื น�ำ เทคโนโลยีเขา้ มาชว่ ยเน่ืองจากสาเหตใุ ด แนวคำ�ตอบ การส่งสินค้าล่าช้าอาจทำ�ให้สินค้าบางประเภทอาหารเน่าเสีย ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้ามีมากขึ้น ท�ำ ให้เกดิ การแข่งขนั ดา้ นความเร็ว ราคา และการบริการ อาชพี การขนส่งเก่ียวข้องกับเทคโนโลยีสอ่ื สารอย่างไร แนวค�ำ ตอบ มกี ารพฒั นาเทคโนโลยี 5G มาแทน 4G ทำ�ให้การสง่ ขอ้ มลู ของต�ำ แหนง่ ยานพาหนะไปยังระบบการ แสดงผลในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนท่ีของผู้ใช้งานมีความรวดเร็ว ระบุตำ�แหน่งได้แม่นยำ� และยังสามารถเชื่อมต่อกับ อปุ กรณ์แสดงผลไดจ้ �ำ นวนมากข้นึ ด้วย GPS tracking ช่วยแกป้ ญั หาอย่างไรบา้ ง แนวคำ�ตอบ - สามารถทราบตำ�แหน่งปัจจุบันและความเร็วของรถยนต์ได้ทันที ช่วยติดตามสถานะของรถยนต์และช่วยลด การสนิ้ เปลอื งเช้ือเพลงิ ในการใชค้ วามเรว็ เกนิ ก�ำ หนด - ชว่ ยควบคมุ พฤตกิ รรมการขบั รถทผ่ี ดิ วตั ถปุ ระสงคข์ องพนกั งาน เชน่ ขบั รถออกนอกเสน้ ทาง จอดรถตดิ เครอื่ ง เปดิ แอรน์ อน ขับรถเรว็ กว่าท่กี �ำ หนด - เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้รับ เพราะสามารถคำ�นวณระยะทางได้และเวลาที่เข้าถึงท่ีหมาย ได้อย่างแม่นย�ำ มากขึ้น - ผู้ให้บริการบางรายมีระบบการรายงานผลหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ เช่น รายงานพฤติกรรมของคนขับ รายงานกราฟสรปุ การใชง้ านรถ รายงานกราฟเดนิ ทางรายวนั ซง่ึ ผใู้ ชบ้ รกิ ารทเ่ี ปน็ บรษิ ทั หรอื องคก์ รสามารถน�ำ ไปใชป้ ระโยชนใ์ น การวางแผนและบรหิ ารจัดการงานใหม้ ปี ระสิทธิภาพดขี ้ึนได้ - ควบคุมเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางได้ ในกรณีท่ีรถประสบอุบัติเหตุสามารถระบุตำ�แหน่งของรถและ เข้าให้การชว่ ยเหลือไดอ้ ยา่ งทันท่วงที - ช่วยสรา้ งความมั่นใจใหแ้ กล่ กู ค้าทใ่ี ช้บริการ เนื่องจากลูกค้าสามารถติดตามสถานการณจ์ ดั สง่ ได้ทันที การผลิตไฟฟา้ จากเซลลแ์ สงอาทิตย์ หรอื โซลารเ์ ซลล์ (solar cell) ไดร้ บั การพฒั นาข้นึ จากสาเหตใุ ด แนวค�ำ ตอบ น�ำ้ มนั เชอ้ื เพลงิ ในการผลติ ไฟฟา้ ลดนอ้ ยลงไปเรอื่ ย ๆ มกี ารพฒั นาพลงั งานทางเลอื กในการผลติ ไฟฟา้ โดยเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปล่ียนพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานท่ีใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้นให้เป็น พลังงานไฟฟ้า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ญั หา 57 ระบบผลติ ไฟฟ้าเซลลแ์ สงอาทิตย์ทำ�งานอย่างไร แนวค�ำ ตอบ 1. แผงเซลลแ์ สงอาทิตย์ เปน็ อปุ กรณท์ ่ีใชส้ ำ�หรบั เปล่ียนพลงั งานแสงอาทติ ย์เปน็ พลังงานไฟฟ้า โครงสร้างภายใน จะเปน็ สารกง่ึ ตวั น�ำ ทท่ี �ำ หนา้ ทส่ี รา้ งสนามไฟฟา้ เมอ่ื มแี สงตกกระทบทแ่ี ผง จะเกดิ การสรา้ งพาหะน�ำ ไฟฟา้ ทเ่ี คลอ่ื นทใ่ี นสนามไฟฟา้ ท�ำ ให้เกดิ กระแสไฟฟ้าเพื่อนำ�ไปใช้งานตอ่ ไป 2. แบตเตอรี่ ทำ�หนา้ ทีเ่ ก็บพลงั งานไฟฟา้ เพอื่ สำ�รองไวใ้ ช้ในเวลากลางคนื หรอื ในเวลาท่มี เี มฆมาก 3. อปุ กรณค์ วบคุมการประจแุ บตเตอร่ี หรือชารจ์ เจอร์ เป็นส่วนควบคมุ การอดั หรือคายประจใุ หก้ ับแบตเตอรีห่ รอื อินเวอรเ์ ตอร์ 4. อินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ท่ีเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ออกมาจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพอ่ื ปอ้ นใหก้ ับอุปกรณห์ รือเครอ่ื งใช้ไฟฟ้าในบา้ นเรือน ในขณะทไ่ี ม่มีแสงจากดวงอาทติ ย์ มีการแกป้ ญั หาพลังงานไฟฟา้ อย่างไร แนวคำ�ตอบ ในเวลากลางคืนท่ีไม่มีแสงอาทิตย์จะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี แบตเตอร่ีซึ่งจะเป็นตัวท่ีเก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ในตอนกลางวัน เพ่ือสำ�รองไฟไว้ใช้ในเวลากลางคืนหรือในเวลาท่ี เซลลแ์ สงอาทิตยไ์ ม่สามารถผลติ ไฟฟ้าได้ 4) ผเู้ รยี นและผสู้ อนอภปิ รายเกรด็ นา่ รเู้ รอื่ งรถของเลน่ พลงั งานแสงอาทติ ย์ โดยใหห้ าความรเู้ พม่ิ เตมิ นอกเวลาเรยี น ผสู้ อน อาจจัดเป็นกจิ กรรมเสนอแนะ ให้ผเู้ รียนสรา้ งรถของเล่นที่ใช้พลงั งานแสงอาทติ ย์เปน็ แหลง่ พลงั งาน หรอื รถของเลน่ ท่ีสามารถใช้ พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร่ีและเซลล์แสงอาทิตย์ได้ (ดูรายละเอียดการสร้างรถของเล่นพลังงานแสงอาทิตย์ได้ในกิจกรรม เสนอแนะท่ี 1 รถของเล่นพลังงานแสงอาทติ ย์) 5) ผู้เรียนและผู้สอนร่วมอภิปรายสรุปเกี่ยวกับตัวอย่างของเทคโนโลยีที่นำ�มาใช้ในการบริการส่งอาหาร การขนส่งสินค้า และการผลติ ไฟฟา้ จากนน้ั ผสู้ อนสมุ่ ถามผเู้ รยี นโดยใชค้ �ำ ถามชวนคดิ วา่ ผเู้ รยี นคดิ วา่ ในชมุ ชนของผเู้ รยี นมกี ารน�ำ เทคโนโลยมี าใช้ ในการประกอบอาชีพอยา่ งไรบ้าง เพ่อื ใหผ้ ้เู รียนไดศ้ ึกษากิจกรรมต่อไป แนวคำ�ตอบ ผู้เรียนตอบได้หลากหลายตามบริบทที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยอาจตอบในลักษณะของการนำ�เทคโนโลยี แบบใหมม่ าใชแ้ ทนแบบเดิม หรือตอบในลกั ษณะของการน�ำ เทคโนโลยีมาใช้อยา่ งไร เชน่ - ใชร้ ถเกย่ี วนวดขา้ วแทนแรงงานคนในการเกย่ี วขา้ ว ใชร้ ะบบสปรงิ เกอรใ์ หน้ �ำ้ พชื ผลทางการเกษตรแทนการเดนิ รดน�ำ้ ใช้จกั รเยบ็ ผา้ ไฟฟ้าขนาดเล็กแทนจักรเยบ็ ผ้าขนาดใหญ่ท่ีใช้แรงคนในการถีบจักร - ใช้ QR code ตดิ ฉลากสนิ คา้ เพอ่ื ใหล้ กู คา้ รบั ทราบขอ้ มลู ของสนิ คา้ เพมิ่ เตมิ ใชว้ ธิ กี ารเจาะตน้ ยางแทนการกรดี ยาง ทำ�ให้ผลผลติ ท่ีเปน็ น�ำ้ ยางไม่เสียหายแมฝ้ นตก ใช้เครื่องดูดควันจากการท�ำ อาหารทำ�ใหไ้ มไ่ ปรบกวนลกู คา้ ที่นง่ั ในร้าน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

58 แผนการจดั การเรียนรูท้ ี่ 2 | เทคโนโลยีแกป้ ญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 6) ผเู้ รยี นและผสู้ อนรว่ มอภปิ รายทบทวนกระบวนการออกแบบเชงิ วศิ วกรรมเพอ่ื ใหไ้ ดข้ อ้ สรปุ ทว่ี า่ กระบวนการออกแบบ เชิงวศิ วกรรมเปน็ กระบวนการทำ�งานเพอ่ื แกป้ ัญหาหรอื พัฒนางานโดยใชค้ วามร้ทู างวทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และศาสตรอ์ ืน่ ๆ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำ�งานอย่างเป็นข้ันตอน ทำ�ให้การระบุปัญหาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ�งานมีความชัดเจน การรวบรวม ข้อมูลทำ�ได้ครอบคลุม ตรงประเด็น มีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกท่ีเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา มีการออกแบบ เพ่ือชว่ ยสอื่ สารให้ผปู้ ฏบิ ัติงานดว้ ยกันเข้าใจตรงกนั และยงั มีการทดสอบเพ่อื การปรบั ปรุงแก้ไขให้ดยี ิ่งขน้ึ 7) ผู้เรยี นอภปิ รายในกลมุ่ เกี่ยวกบั ค�ำ ถามชวนคดิ ว่าจะระบุปัญหาจากสถานการณ์ตัวอยา่ งนอี้ ยา่ งไรไดบ้ า้ ง “นกั เรยี นไดไ้ ปส�ำ รวจอาชพี ขายอาหารตามสง่ั ทร่ี า้ นแหง่ หนง่ึ พบวา่ รา้ นแหง่ นม้ี ลี กู คา้ มาก รอควิ นาน เมอ่ื ส�ำ รวจในรา้ น พบวา่ พนกั งานมนี อ้ ยตอ้ งท�ำ หลายหนา้ ท่ี แมค่ รวั ท�ำ อาหารไดท้ ลี ะจาน บางครง้ั ท�ำ อาหารผดิ รายการ การวางเครอ่ื งปรงุ และสถานท่ี ปรุงอาหารไมเ่ ป็นระเบียบ พนักงานเก็บจานช้า ลกู คา้ ทานอาหารไม่หมด” แนวค�ำ ตอบ ผเู้ รยี นตอบตามความความคิดของตนเอง 8) ผู้เรียนศึกษาหัวข้อ 2.1.1 แนวคิดแบบลีน จนถึงตัวอย่างแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง จากน้ันอภิปรายร่วมกันอีกคร้ัง เกี่ยวกับคำ�ถามชวนคิดที่ผ่านมา โดยผู้สอนชี้ให้เห็นว่าแนวคิดแบบลีนจะเป็นเครื่องมือหน่ึงที่ช่วยในการสำ�รวจและวิเคราะห์ สถานการณป์ ัญหา 9) ผู้เรียนอภิปรายกันในกล่มุ เกี่ยวกับค�ำ ถามชวนคดิ วา่ ผ้เู รยี นคิดวา่ เราสามารถนำ�แนวคดิ แบบลนี มาใช้วิเคราะห์ปัญหา ท่อี าจเกิดขน้ึ จากสถานการณ์ที่สนใจ ไดอ้ ย่างไร แนวคำ�ตอบ ผ้เู รยี นสามารถยกตัวอยา่ งสถานการณท์ ห่ี ลากหลาย เชน่ ตวั อยา่ งท่ี 1 การท�ำ งานกลมุ่ วเิ คราะหไ์ ดว้ า่ การใชค้ นไมถ่ กู กบั งาน – ใหค้ นทถี่ นดั ลงมอื สรา้ งชนิ้ งานมาเขยี นรายงาน การเคลื่อนไหว – วางวัสดอุ ุปกรณใ์ นการเขียนกระดาษปรู๊ฟอย่ไู กลกับคนเขียน กระบวนการทำ�งานมากเกนิ ไป – ไม่มกี ารแบง่ หน้าทีก่ ารท�ำ งานภายในกลุ่ม ท�ำ ใหต้ า่ งคนตา่ งทำ� หรืออาจท�ำ งานซำ้�ซ้อนกนั ตวั อยา่ งท่ี 2 ขยะในโรงเรยี น วเิ คราะหไ์ ดว้ า่ การรอคอย – เจา้ หนา้ ทท่ี ง้ิ ระยะเวลานานในการเกบ็ ขยะ ท�ำ ใหข้ ยะลน้ ถงั งานทตี่ ้องแกไ้ ข – ถังขยะเปยี กไม่มีการลา้ งท�ำ ความสะอาด ทำ�ใหม้ ีกลน่ิ เหมน็ การขนยา้ ย – เจ้าหนา้ ท่ีต้องเกบ็ ขยะทุกช้ัน และ ทุกหอ้ งเพื่อมารวมกันทีด่ า้ นล่างของแตล่ ะอาคาร 10) ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปว่า การนำ�แนวคิดแบบลีนมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา เพ่ือช่วย เป็นแนวทางในการหาจุดบกพร่องหรือจุดที่เป็นปัญหา ซ่ึงไม่จำ�เป็นต้องมีครบท้ัง 8 ประการ และแนวคิดแบบลีนจะช่วยให้เกิด การพฒั นาคุณภาพของงาน เพ่ิมประสทิ ธิภาพการทำ�งาน ลดการสญู เสียหรอื การสูญเปล่าในการด�ำ เนนิ การ 11) ผสู้ อนยกประเดน็ ค�ำ ถามชวนคดิ ขน้ึ มาวา่ การสมั ภาษณม์ คี วามจ�ำ เปน็ ในการระบปุ ญั หาหรอื ไม่ อยา่ งไร เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี น อภิปราย จากนนั้ ให้ผูเ้ รียนศึกษาหวั ข้อ 2.2.2 การสัมภาษณ์ แนวคำ�ตอบ – การสัมภาษณ์เป็นขั้นตอนท่ีจำ�เป็นในการระบุปัญหา เพ่ือให้เข้าใจประสบการณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ซงึ่ เปน็ ผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งกบั เรอ่ื งทเ่ี ราสนใจหรอื ก�ำ ลงั ศกึ ษาอยวู่ า่ มสี ง่ิ ทที่ �ำ ใหพ้ งึ พอใจ หรอื มปี ญั หาใด และตอ้ งการสงิ่ ใดเพอื่ ขจดั ปญั หา หรือทำ�ใหเ้ กดิ ความพึงพอใจ ท�ำ ใหไ้ ดข้ ้อมลู ทเี่ ป็นปญั หาหรอื ความต้องการท่ีแท้จรงิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 2 | เทคโนโลยแี ก้ปัญหา 59 12) ผู้เรียนทำ�กิจกรรมที่ 2.1 เร่ือง สัมภาษณ์กันอย่างไร โดยผู้เรียนฝึกการสัมภาษณ์เพื่อนในห้องเรียน เพื่อหาปัญหา ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสนใจ 1 เร่ือง โดยผู้เรียนท่ีเป็นผู้สัมภาษณ์จะกำ�หนดหัวข้อกิจกรรมที่สนใจ หรือเลือกจาก ตวั อยา่ งกจิ กรรมตา่ ง ๆ โดยใหจ้ บั คสู่ มั ภาษณก์ นั ในกลมุ่ เพอื่ ใหเ้ กดิ ทกั ษะทด่ี กี อ่ นไปสมั ภาษณจ์ รงิ จากนน้ั ผสู้ อนสมุ่ ผเู้ รยี นน�ำ เสนอ ข้อมลู ทไ่ี ด้จากการสัมภาษณ์เปน็ ตัวอยา่ งแลกเปลย่ี นเรียนรู้กัน ข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม ในการนำ�เสนอของผู้เรียน ไม่จำ�เป็นต้องเป็นรูปแบบการนำ�เสนอหน้าชั้นเพียงอย่างเดียว ผู้สอนอาจจัดให้มีวิธีการนำ�เสนอแบบอ่ืนร่วมด้วย เช่น การเดินชมผลงาน (Gallery walk) การจับคู่เพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้ (Think-Pair-Share) การใชส้ ่อื ออนไลน์ 13) ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่จะต้องทำ�งานร่วมกันในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอาชีพในชุมชนตามความเหมาะสม จากนัน้ ให้ผ้เู รียนทำ�กิจกรรมที่ 2.2 เร่อื ง ค้นหาปัญหา ข้อเสนอแนะเพมิ่ เตมิ 1. ผสู้ อนมอบหมายใหผ้ เู้ รยี นท�ำ กจิ กรรมในชว่ งนอกเวลาเรยี นเพอ่ื ลงพน้ื ทจ่ี รงิ แลว้ น�ำ ขอ้ มลู มาน�ำ เสนอในชว่ั โมงตอ่ ไป เม่ือผู้เรียนได้ข้อมูลมาแล้ว แต่ละกลุ่มนำ�เสนอข้อมูลให้เพ่ือนร่วมช้ันเรียนได้ร่วมอภิปรายกัน หากกลุ่มใดยังได้ข้อมูลจากการ สมั ภาษณไ์ มเ่ พยี งพอ ผสู้ อนควรแนะน�ำ ใหผ้ เู้ รยี นปรบั เปลย่ี นวธิ กี าร เชน่ สมั ภาษณก์ ลมุ่ ตวั อยา่ งเพม่ิ โดยเปลย่ี นกลมุ่ ตวั อยา่ งจากเดมิ ทเ่ี คยสัมภาษณเ์ พื่อให้พบปัญหาของผปู้ ระกอบอาชีพท่ีชัดเจนยง่ิ ขน้ึ 2. ผู้สอนทบทวนความรู้เดิมเรื่อง การตั้งคำ�ถาม 5W1H เพื่อเป็นแนวทางประกอบในการตั้งคำ�ถามสำ�หรับการ สัมภาษณ์ 14) ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายในกลุ่มโดยใช้คำ�ถามชวนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์ที่สมชาย ไปสัมภาษณ์แมค่ า้ ขายขา้ วเหนียวไก่ย่างในตลาด แล้วชว่ ยกันบนั ทกึ ลงในใบกิจกรรม ผสู้ อนสมุ่ บางกลุม่ เพื่ออภปิ รายร่วมกนั แนวคำ�ตอบ ประเดน็ ทตี่ ้องรวบรวมข้อมลู คอื 1. ปัจจัยที่ท�ำ ให้ไก่ไหม้ เช่น ระยะห่างระหว่างไกก่ ับไฟ ความแรงของไฟ เวลาท่ใี ชย้ ่างไก่ 2. ขน้ั ตอนการยา่ งไก่ และขน้ั ตอนการขายไกต่ ง้ั แตส่ บั ไกจ่ นถงึ ใสถ่ งุ ขาย เพอ่ื หาวธิ กี ารลดขน้ั ตอนการท�ำ งาน 3. ต้นทุนหรือคา่ ใชจ้ า่ ย หากเลอื กใช้วิธีการลงทนุ เพื่อแกป้ ัญหาว่าคมุ้ ค่าหรอื ไม่ เช่น การซื้ออุปกรณ์ ยา่ งไก่ การจา้ งพนักงานเพ่มิ การดดั แปลงอปุ กรณ์ยา่ งไก่ท่ใี ชอ้ ยู่ วธิ ีการแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเปน็ ไปได้ เชน่ 1. เพ่มิ ระยะหา่ งระหว่างไกก่ ับไฟ 2. ลดขัน้ ตอนในการขายไก่ (ปรับกระบวนการท�ำ งาน) 3. เปลย่ี นถา่ นหรือเชือ้ เพลิงส�ำ หรับยา่ งไก่ ใหเ้ หมาะสมกับการท�ำ งาน 15) ผเู้ รยี นศกึ ษาหวั ขอ้ 2.3 การรวบรวมขอ้ มลู และคดั เลอื กแนวคดิ โดยผสู้ อนควรเนน้ ย�ำ้ เรอ่ื งการละเมดิ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา ของผู้อ่นื การไมล่ อกเลยี นแบบ การนำ�ขอ้ ความหรือรูปภาพของผ้อู ่ืนมาใชต้ อ้ งไดร้ ับอนญุ าตหรืออา้ งองิ แหลง่ ท่มี า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

60 แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 2 | เทคโนโลยีแก้ปัญหา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 16) ผู้เรียนทำ�กิจกรรมที่ 2.3 เรื่อง หาทางแก้ปัญหา โดยระหว่างการทำ�กิจกรรม ผู้สอนเข้าร่วมอภิปรายกลุ่มย่อย เพือ่ เพิ่มเตมิ ส่วนทผ่ี ูเ้ รียนแตล่ ะกลุ่มรวบรวมขอ้ มูลยังไม่ครบ โดยใช้แนวค�ำ ถามดงั น้ี - ปญั หาของผูเ้ รยี นเกย่ี วข้องกบั ประเดน็ ใดบ้าง - ผูเ้ รียนคดิ วา่ ประเดน็ ท่จี ะสืบค้นครอบคลุมปญั หาทจี่ ะแกไ้ ขหรือไม่ ทราบได้อยา่ งไร 17) ผู้สอนสุ่มบางกลุ่มนำ�เสนอผลงานเพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จากนั้นผู้สอนแนะนำ�เพ่ิมเติมพร้อมท้ังให้ผู้เรียนศึกษา หัวขอ้ ต่อไป 18) ผู้สอนทบทวนเรื่องการออกแบบแนวคิดตามหัวข้อ 2.4 การออกแบบแนวคิด พร้อมกับแนะนำ�ส่ือเสริมเพิ่มความรู้ และเกร็ดนา่ รใู้ นหนงั สือเรียน 19) แต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมที่ 2.4 เร่ือง มาออกแบบกันเถอะ โดยสร้างทางเลือกในการออกแบบช้ินงานหรือวิธีการจาก แนวทางการแกป้ ัญหาของกลุ่มให้ได้มากท่สี ดุ และเขยี นอธิบายจุดท่ีส�ำ คัญของแบบนัน้ ๆ ทั้งวธิ ีการสรา้ งและการใชง้ าน จากนนั้ เลอื กรปู แบบทต่ี รงกบั ความตอ้ งการมากทส่ี ดุ พรอ้ มอธบิ ายเหตผุ ลในการเลอื ก ผสู้ อนใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ เตรยี มน�ำ เสนอโดยแนะน�ำ เกรด็ นา่ รู้ ในหนงั สอื เรยี นวา่ เราสามารถน�ำ เสนอขอ้ มลู หรอื เนอ้ื หาไดใ้ นหลายรปู แบบ เชน่ การท�ำ ขอ้ มลู ใหเ้ ปน็ ภาพ ภาพเคลอื่ นไหว แผนภมู ิ ตาราง เพ่ือให้ผู้อืน่ เขา้ ใจไดง้ า่ ย และเข้าใจประเด็นท่ผี ้นู �ำ เสนอตอ้ งการจะสอื่ สาร 20) แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอ่ืนโดยเสนอวิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มตน พร้อมกันน้ีผู้สอนและผู้เรียนกลุ่มอ่ืน รว่ มกันใหค้ ำ�แนะนำ�เพอื่ นำ�ไปปรบั ปรงุ กอ่ นจะลงมือสรา้ งแบบจ�ำ ลอง ข้อเสนอแนะเพม่ิ เตมิ 1. ผ้สู อนควรใหผ้ เู้ รยี นในหอ้ งมีสว่ นรว่ มในการให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ 2. ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะขณะที่แต่ละกลุ่มออกแบบ เมื่อแต่ละกลุ่มออกแบบเสร็จแล้วให้นำ�แบบท่ีร่าง (ภาพร่าง แผนภาพ ผังงาน) ไปปรึกษาครูหรอื ผ้เู ช่ยี วชาญเพอื่ ให้สามารถแกป้ ญั หาได้ตรงกบั ความต้องการมากทสี่ ุด หมายเหตุ ผเู้ ชย่ี วชาญหมายถงึ ผใู้ ชง้ านหรอื ผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การสรา้ งชน้ิ งาน เชน่ ครชู า่ ง ชา่ งเทคนคิ ผชู้ �ำ นาญเฉพาะดา้ น ตวั อยา่ งแบบบนั ทกึ ความคดิ เห็นจากผู้เชย่ี วชาญ รายการ ความคิดเหน็ จากผู้เชยี่ วชาญ ความเปน็ ไปได้ในการแกป้ ญั หา ความเปน็ ไปได้ในการสรา้ งชิน้ งานหรือวธิ ีการ ทรัพยากรทางเทคโนโลยี เชน่ วัสดุ เคร่ืองมือช่าง ข้อเสนอแนะอน่ื ๆ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ัญหา 61 21) แตล่ ะกลมุ่ ท�ำ กจิ กรรมท่ี 2.5 เรอ่ื ง ลงมอื ท�ำ โดยสรา้ งชน้ิ งานหรอื วธิ กี ารตามทแ่ี ตล่ ะกลมุ่ ออกแบบไวจ้ ากกจิ กรรมท่ี 2.4 เพ่ือทดสอบแนวคดิ หรอื ทดสอบการท�ำ งานของช้ินงานหรือวธิ ีการท่อี อกแบบไว้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม กรณีกลุ่มท่ีไม่สามารถสร้างช้ินงานได้จริง สามารถสร้างเป็นแบบจำ�ลองหรือทำ�โปสเตอร์ เพื่อนำ�ไปทดสอบและประเมินโดยผู้เช่ียวชาญ 22) ผู้เรียนศึกษาหัวข้อ 2.5 การทดสอบและประเมินผล และเกร็ดน่ารู้เก่ียวกับโปรแกรมท่ีช่วยจำ�ลองการทดสอบ แลว้ อภปิ รายรว่ มกนั เพอื่ ใหเ้ หน็ ประเดน็ วา่ การทดสอบและประเมนิ ผลมวี ธิ ที หี่ ลากหลายโดยใหพ้ จิ ารณาและเลอื กใชว้ ธิ กี ารทดสอบ ใหเ้ หมาะสมกบั จุดประสงค์ของการพฒั นาผลติ ภัณฑห์ รือวธิ กี ารเพื่อแกป้ ัญหาเปน็ สำ�คัญ 23) แต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมท่ี 2.6 เรื่อง ประเมินผลงาน โดยออกแบบวิธีการทดสอบและประเมินผลจากการใช้งานจริง จากนั้นด�ำ เนนิ การทดสอบและประเมนิ ผล ขอ้ เสนอแนะเพ่มิ เตมิ 1. กรณีกลุ่มที่เป็นแบบจำ�ลองของชิ้นงานหรือวิธีการ อาจทดสอบและประเมินผลจากผู้ใช้งานหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยใชแ้ บบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบสมั ภาษณ์ 2. ในการท�ำ งานในหอ้ งเรยี นจรงิ หากผเู้ รยี นมเี วลาจ�ำ กดั และไมส่ ามารถทดสอบซ�้ำ หลายครงั้ จนพฒั นางานไดส้ �ำ เรจ็ ผเู้ รยี นสามารถเขยี นเสนอแนะแนวทางการปรับปรงุ แก้ไขเพอ่ื โอกาสในการพฒั นางานให้ดใี นครง้ั ตอ่ ไป 24) ผูเ้ รยี นศกึ ษาหวั ขอ้ 2.6 การเขยี นรายงาน แลว้ อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกบั องคป์ ระกอบของรายงาน โดยผสู้ อนเน้นย�้ำ กบั ผเู้ รยี นว่าจะต้องแบง่ หนา้ ท่หี รอื แบง่ สว่ นความรับผิดชอบในการท�ำ รายงานของกลุ่ม 25) แต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมที่ 2.7 เร่ือง จัดทำ�รายงาน โดยรวบรวมรายละเอียดการดำ�เนินงานต้ังแต่ต้นจนจบกิจกรรม (กจิ กรรมท่ี 2.1 – 2.6) ขอ้ เสนอแนะเพม่ิ เตมิ ในระหวา่ งนห้ี ากผสู้ อนมเี วลาในชว่ั โมงการจดั การเรยี นรู้ อาจสอบถามแตล่ ะกลมุ่ วา่ มกี ารแบง่ งาน กันทำ�รายงานอย่างไร พบปัญหาใดบ้างและมวี ิธกี ารแกป้ ัญหาอย่างไร 26) ผเู้ รยี นศกึ ษาหวั ขอ้ 2.7 การน�ำ เสนองาน ผสู้ อนอาจเตรยี มสอ่ื ในรปู แบบตา่ ง ๆ มาใหผ้ เู้ รยี นดเู ปน็ ตวั อยา่ ง เชน่ โปสเตอร์ ฟลปิ ชารท์ โปรแกรมน�ำ เสนองาน การน�ำ เสนอโดยการจดั นทิ รรศการ การน�ำ เสนอผา่ นสอ่ื ออนไลน์ เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ รยี นรจู้ ากของจรงิ และเลือกรูปแบบไปจัดท�ำ เมื่อผเู้ รียนจัดเตรียมการนำ�เสนอผลงานเรยี บรอ้ ย (อาจจะใชเ้ วลานอกเวลาเรยี นในการเตรยี ม) ขอ้ เสนอแนะเพม่ิ เตมิ ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือสะท้อนความคิดเก่ียวกับผลงานของ แตล่ ะกลุ่ม 27) แต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมท้ายบท เร่ือง นำ�เสนอผลงาน โดยนำ�เสนองานต้ังแต่เร่ิมต้นคือสำ�รวจอาชีพในชุมชน จนถึง การทดสอบและประเมินผลแบบจำ�ลอง 28) ผู้สอนอภิปรายกับผู้เรียนในประเด็นของการทำ�งานตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำ�งานอย่างเป็นขั้นตอน มีการวางแผนก่อนลงมือ ปฏบิ ตั งิ าน ชว่ ยลดขอ้ ผดิ พลาด ลดทรพั ยากรทใ่ี ชใ้ นการท�ำ งาน เชน่ เวลา คน วสั ดุ อปุ กรณ์ หากน�ำ ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นการแกป้ ญั หา ในชุมชน จะช่วยให้เกดิ แนวทางการแก้ปัญหาท่ตี รงกบั ความต้องการของผใู้ ช้งาน เกดิ ประโยชน์ตอ่ สงั คม และเปน็ การนำ�สิ่งท่ี เรยี นรู้มาใชก้ ับชีวติ จริงได้ ข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม ผู้สอนอาจจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานของผู้เรียนโดยมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น การจัด นิทรรศการ การใช้สือ่ ออนไลน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

62 แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี 2 | เทคโนโลยีแกป้ ัญหา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 8. การวดั และประเมนิ ผล รายการประเมิน วธิ กี ารวัด เครอ่ื งมอื ท่ีใชว้ ัด เกณฑ์การประเมนิ การผ่าน ตรวจใบกิจกรรม คะแนน 17-24 หมายถงึ ดี 1. การทำ�งานตาม สังเกตพฤติกรรม แบบประเมิน คะแนน 9-16 หมายถงึ พอใช้ กระบวนการออกแบบ ตรวจรายงาน กิจกรรมท่ี 2.2 – 2.7 คะแนน 1-8 หมายถึง เชงิ วิศวกรรม และกิจกรรมท้ายบท ปรบั ปรุง ตรวจใบกจิ กรรม แบบสังเกตพฤตกิ รรม ผเู้ รยี นไดร้ ะดับคุณภาพ พอใช้ 2. การประยุกตใ์ ช้ความรู้ ตรวจรายงาน รายงาน ขึน้ ไป ถอื ว่าผ่าน จากศาสตร์ต่าง ๆ แบบประเมนิ มาแกป้ ญั หา ตรวจใบกิจกรรม กจิ กรรมที่ 2.3 ผู้เรยี นไดร้ ะดับคุณภาพ พอใช้ ตรวจรายงาน เร่ือง หาทางแกป้ ัญหา ข้นึ ไป ถือวา่ ผา่ น (ดูเกณฑก์ าร 3. การเลือกใช้ขอ้ มูลโดย รายงาน ประเมินในภาคผนวก) ไม่ละเมิดทรพั ย์สนิ ทาง การสงั เกต แบบประเมิน ปัญญา พฤตกิ รรม กิจกรรมท้ายบท เรอื่ ง นำ�เสนอผลงาน 4. ทกั ษะการท�ำ งานรว่ ม กบั ผูอ้ ่นื แบบสงั เกตพฤตกิ รรม 5. ทักษะการคดิ อย่างมีวจิ ารณญาณ 6. ทกั ษะการแกป้ ัญหา 7. ทักษะการทำ�งาน รว่ มกบั ผอู้ ื่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปญั หา 63 เกณฑ์การประเมิน 3 ระดบั คะแนน 1 2 ประเดน็ การประเมิน ระบุปญั หาท่ีพบจากการ สำ�รวจและสาเหตุของ ระบุปัญหาทพี่ บจาก ระบุปัญหาท่พี บจาก 1. การท�ำ งานตาม ปญั หาได้ 3 ขอ้ ขน้ึ ไป การสำ�รวจและสาเหตุ การส�ำ รวจและสาเหตุ กระบวนการออกแบบเชิง รวมทง้ั ระบุปญั หาที่กลมุ่ ของปัญหาได้ 1-2 ขอ้ ของปัญหาไดเ้ พยี ง วศิ วกรรม สนใจและสรุปกรอบของ รวมท้ังระบปุ ญั หาที่ ข้อเดยี ว ระบปุ ัญหา 1.1 การระบปุ ญั หา ปัญหาได้ กลุ่มสนใจและสรปุ ทกี่ ลุ่มสนใจและสรุป กรอบของปญั หาได้ กรอบของปัญหาได้ 1.2 การรวบรวมขอ้ มลู และ ระบปุ ระเดน็ และรวบรวม ระบปุ ระเดน็ และ ระบปุ ระเดน็ และ แนวคดิ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ข้อมลู ที่สอดคล้องกบั รวบรวมข้อมลู ที่ รวบรวมขอ้ มลู ท่ี ปญั หา แนวทาง การแก้ปญั หาได้ สอดคล้องกับแนวทาง สอดคลอ้ งกบั แนวทาง อย่างครบถว้ นสมบูรณ์ การแก้ปัญหาได้ครบ การแกป้ ญั หาไดบ้ างสว่ น 1.3 การออกแบบวธิ กี าร ถว้ นแต่ไมส่ มบรู ณ์ แกป้ ญั หา ออกแบบช้นิ งานหรอื ออกแบบชิ้นงานหรอื วิธกี ารไดส้ อดคลอ้ งกับ ออกแบบชิ้นงานหรือ วิธกี ารทีส่ อดคลอ้ งกบั 1.4 การวางแผนและ แนวทางการแก้ปัญหา วธิ กี ารได้สอดคล้อง แนวทางการแกป้ ญั หา ด�ำ เนนิ การแกป้ ญั หา และเงอื่ นไขทกี่ �ำ หนด กบั แนวทางการ ได้ 1 แนวทางและให้ โดยแสดงรายละเอียด แก้ปญั หาและเงือ่ นไข เหตุผลในการตัดสนิ ใจ ครบถ้วน สมบูรณ์ และ ท่กี �ำ หนด โดยแสดง ได้ถกู ตอ้ ง สามารถสอ่ื สารใหผ้ ูอ้ ่ืน รายละเอียด เขา้ ใจตรงกัน มกี ารวางแผนใน มกี ารวางแผนในการ การท�ำ งาน แต่ไมไ่ ด้ มกี ารวางแผนในการท�ำ งาน ท�ำ งานและดำ�เนนิ การ ดำ�เนนิ การแก้ปัญหา และดำ�เนินการแกป้ ญั หา แก้ปัญหาตามขั้นตอน ตามขน้ั ตอนทว่ี างแผนไว้ ตามขัน้ ตอนการท�ำ งานได้ การทำ�งานได้ อยา่ งถกู ตอ้ งและเหมาะสม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

64 แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 2 | เทคโนโลยีแกป้ ญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี ประเด็นการประเมิน 3 ระดบั คะแนน 1 1.5 การทดสอบ ประเมนิ ก�ำ หนดประเด็นในการ 2 ก�ำ หนดประเดน็ ในการ ผล และปรบั ปรงุ แกไ้ ข ทดสอบไดส้ อดคลอ้ งกับ ทดสอบได้สอดคลอ้ ง วธิ กี ารแกป้ ญั หาหรอื สถานการณท์ ่ีก�ำ หนด และ ก�ำ หนดประเดน็ ในการ กบั สถานการณท์ ่ี ชน้ิ งาน บันทึกผลการทดสอบได้ ทดสอบได้สอดคลอ้ ง ก�ำ หนด บนั ทึกผลการ อย่างละเอียด ครบถว้ น กบั สถานการณท์ ก่ี �ำ หนด ทดสอบ แตไ่ มค่ รบ 1.6 การน�ำ เสนอวธิ กี าร มกี ารปรบั ปรงุ หรือเสนอ และบันทึกผลการ ถว้ น ขาดรายละเอียด แกป้ ญั หา ผลการ แนวทางแกไ้ ขทส่ี อดคล้อง ทดสอบได้ แตข่ าด มีการปรับปรงุ หรอื แกป้ ญั หาหรอื ชน้ิ งาน กับปัญหาหากช้นิ งานหรอื รายละเอยี ดบางส่วน เสนอแนวทางแกไ้ ข วิธกี าร มีการปรับปรุงหรือ ไมส่ อดคล้องกับ 2. การประยุกตใ์ ช้ความรู้จาก เสนอแนวทางแกไ้ ขที่ ชน้ิ งานหรอื วิธีการ ศาสตร์ต่าง ๆ มาแกป้ ญั หา น�ำ เสนอรายละเอยี ดขน้ั ตอน สอดคล้องกับปญั หา การแก้ปญั หาได้ชัดเจน หากชน้ิ งานหรอื วธิ กี าร นำ�เสนอขั้นตอน 3. การเลือกใช้ข้อมลู โดยไม่ สือ่ สารใหผ้ อู้ ืน่ เขา้ ใจได้ การแกป้ ัญหาได้ แตม่ ี ละเมดิ ทรพั ยส์ ินทางปญั ญา อยา่ งครบถ้วน สมบูรณ์ นำ�เสนอรายละเอยี ด รายละเอียดไมช่ ัดเจน ขน้ั ตอนการแกป้ ญั หา อธบิ ายหรอื สรปุ ขอ้ มูลที่ได้ ไดช้ ัดเจน ส่อื สารให้ผู้ อธบิ ายหรือสรุปข้อมูล จากการรวบรวมขอ้ มลู ใน อ่ืนเขา้ ใจได้ ทีไ่ ด้จากการรวบรวม ประเดน็ ต่าง ๆ อยา่ ง ข้อมลู เพียงประเดน็ ครบถว้ น และสอดคลอ้ ง อธบิ ายหรือสรุปขอ้ มูล เดยี ว แตส่ อดคล้องกับ กับประเดน็ ทต่ี ้งั ไว้ ทไี่ ด้จากการรวบรวม ประเด็นทตี่ ้ังไว้ ขอ้ มูลเพยี งบางประเดน็ ระบุหรืออ้างองิ แหล่ง และสอดคล้องกับ ระบุหรอื อา้ งองิ ท่ีมาของขอ้ มูลและภาพ ประเดน็ ทตี่ ัง้ ไว้ แหลง่ ทมี่ าของข้อมลู อย่างชดั เจน โดยสามารถ และภาพครบถ้วน คน้ หาแหลง่ ทมี่ าของขอ้ มลู ระบหุ รอื อา้ งองิ แหลง่ สามารถคน้ หาแหล่ง นน้ั ได้ รวมทั้งไมล่ อก ทม่ี าของขอ้ มลู และภาพ ทมี่ าของขอ้ มูลนนั้ ได้ เลียนผลงานหรอื ละเมิด ไม่ครบถ้วน ท�ำ ใหไ้ ม่ แต่พบวา่ ลอกเลียน ทรพั ย์สินทางปัญญาของ สามารถคน้ หาแหลง่ ผลงานหรือละเมดิ ผูอ้ ่ืน ทม่ี าของขอ้ มลู นน้ั ได้ แต่ ทรัพย์สินทางปญั ญา ไมไ่ ดล้ อกเลยี นผลงาน ของผอู้ นื่ หรือละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาของผอู้ ่ืน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยีแก้ปญั หา 65 เกณฑ์การตดั สินระดับคุณภาพ คะแนน 17 - 24 คะแนน หมายถงึ ระดับคณุ ภาพ ดี คะแนน 9 - 16 คะแนน หมายถงึ ระดับคณุ ภาพ พอใช้ คะแนน 1 - 8 คะแนน หมายถงึ ระดับคณุ ภาพ ปรบั ปรงุ ** เกณฑ์การวดั และประเมนิ ผลสามารถปรับเปลี่ยนไดต้ ามความเหมาะสม 9. แหล่งเรียนรู้ 9.1 http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf การสัมภาษณ์ในกระบวนการคดิ เชิงออกแบบ (design thinking) 9.2 https://www.youtube.com/watch?v=CUDESJwBBEI แนวคิดแบบลนี 10. ขอ้ เสนอแนะ 10.1 บทบาทผ้สู อน ควรเปน็ ผอู้ ำ�นวยความสะดวกในการทำ�กิจกรรมให้แก่ผ้เู รียน โดยการจดั เตรยี มอปุ กรณใ์ นกิจกรรม การเรยี นรู้ จดั หาอปุ กรณใ์ นการออกแบบเพอื่ แกป้ ญั หาของผเู้ รยี น คอยใหค้ �ำ ปรกึ ษาระหวา่ งการท�ำ กจิ กรรมกลมุ่ โดยการเขา้ รว่ ม อภปิ รายกลุ่มยอ่ ย รว่ มรบั ฟังปญั หาและเสนอแนวทางแก้ปญั หาใหแ้ กผ่ ู้เรียน 10.2 บทบาทผู้เรียน ผู้เรียนต้องลงมือทำ�กิจกรรมด้วยตนเอง โดยการวางแผนแบ่งหน้าที่ในการทำ�งาน รวมถึงการ ให้ความรว่ มมอื และยอมรบั ฟงั ในการทำ�กิจกรรมกล่มุ และท�ำ ตามการวางแผนงานทว่ี างไวอ้ ยา่ งเคร่งครัด 10.3 ในการนำ�เสนอของผู้เรียน ไม่จำ�เป็นต้องเป็นรูปแบบการนำ�เสนอหน้าช้ันเพียงอย่างเดียว ผู้สอนอาจมีวิธีการนำ� เสนอแบบอ่นื ร่วมด้วย เชน่ 1) การเดนิ ชมผลงาน (gallery walk) โดยใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ เขยี นผลงานลงในกระดาษปรฟู๊ จากนน้ั แปะไวบ้ รเิ วณรอบ ๆ หอ้ งเรยี น เพอื่ ใหเ้ พอื่ น ๆ กลมุ่ อนื่ ไดเ้ ดนิ เวยี นชมผลงาน พรอ้ มกบั ใหผ้ ชู้ มเขยี นขอ้ เสนอแนะ ขอ้ สงสยั หรอื สง่ิ ทชี่ อบ ลงบนกระดาษ โพสต์อิท แลว้ ตดิ ไวท้ ่ีกระดาษปรูฟ๊ ของกล่มุ นนั้ ๆ เพ่ือเป็นการสะทอ้ นความคดิ และแลกเปลยี่ นเรยี นรซู้ ึ่งกันและกัน 2) คดิ เดย่ี ว-คดิ ค-ู่ แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ (Think-Pair-Share) โดยใหแ้ ตล่ ะคนคดิ หาค�ำ ตอบในประเดน็ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย จากนั้นจับคู่กับเพ่ือนในห้องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกัน แล้วร่วมกันบันทึกคำ�ตอบท่ีได้ หรืออาจสลับคู่กับเพ่ือนคนอ่ืนไป เร่ือย ๆ เพื่อให้ได้แนวคิดท่หี ลากหลาย แล้วบันทกึ ค�ำ ตอบท่ไี ด้เพิ่มเตมิ 3) การใชส้ อื่ ออนไลน์ อาจใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ น�ำ ผลงานอพั โหลดขนึ้ บนสอื่ ออนไลนต์ า่ ง ๆ ทที่ กุ คนสามารถเขา้ ถงึ ได้ เชน่ Facebook, Blog จากนั้นเปิดโอกาสให้เพ่ือนคนอ่ืน ๆ สามารถเข้าไปชมผลงานและเขียนข้อเสนอแนะ หรือข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อให้ได้ขอ้ มูลมาใชใ้ นการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีข้นึ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

66 แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 11. แนวคำ�ตอบกิจกรรม กจิ กรรมเสนอแนะที่ 1 เรอื่ ง รถของเลน่ พลงั งานแสงอาทติ ย์ สถานการณ์ นนทต์ อ้ งการสร้างรถของเล่นพลังงานแสงอาทติ ย์ซ่ึงสามารถเคล่ือนทไ่ี ดใ้ นบริเวณที่มแี สงแดด นกั เรียนจะชว่ ยนนท์ ออกแบบและสร้างรถของเล่นพลงั งานแสงอาทิตยท์ ่ีไดอ้ ยา่ งไร แนวคดิ ของกิจกรรม รถของเลน่ พลงั งานแสงอาทติ ย์ เปน็ รถของเลน่ ทอ่ี าศยั พลงั งานแสงอาทติ ยเ์ ปน็ แหลง่ พลงั งานในการขบั เคลอื่ นรถใหเ้ คลอื่ นท่ี โดยใชแ้ ผงโซลารเ์ ซลลห์ รอื เซลลแ์ สงอาทติ ยเ์ ปน็ ตวั รบั พลงั งานแสงอาทติ ยแ์ ลว้ เปลย่ี นใหเ้ ปน็ พลงั งานไฟฟา้ ไปขบั เคลอ่ื นใหม้ อเตอรห์ มนุ สว่ นการขบั เคลอื่ นรถจะใชก้ ลไกของเฟอื งในการท�ำ ใหล้ อ้ เคลอื่ นทโ่ี ดยใชเ้ ฟอื งขบั ซงึ่ เปน็ เฟอื งตรงขนาดเลก็ ตอ่ เขา้ กบั แกนมอเตอร์ และใช้เฟืองตามขนาดท่ีใหญ่กว่าเฟืองขับต่อเข้ากับเพลาของรถ เมื่อมอเตอร์หมุน จะทำ�ให้เฟืองขับท่ีติดกับแกนมอเตอร์หมุน แลว้ สง่ กำ�ลงั ใหเ้ ฟอื งตามท่ตี ิดกบั เพลารถหมนุ และมีกำ�ลังมากพอสง่ ผลใหล้ ้อรถหมนุ ตามไปด้วย วัสดุอุปกรณ์ 1) เซลลแ์ สงอาทิตย์ขนาด 5.5 โวลต์ 90 mA (หรือใกล้เคยี ง) 1 แผ่น 2) ไม้บัลซาหรือกระดาษลูกฟกู หรอื พลาสติกลกู ฟกู หรอื แผ่นโฟมอดั 1 แผ่น 3) สายไฟ 4) มอเตอร์ไฟฟา้ กระแสตรง (ใชก้ ระแสไฟต�ำ่ ) ขนาด 3 โวลต์ 1 ตวั 5) ไม้เสียบลูกช้นิ 2 ไม้ 6) หลอดนมกล่อง 2 หลอด 7) เฟืองตรงขนาดใหญ่ และเลก็ อย่างละ 1 ตัว 8) ลอ้ ทที่ �ำ จากพลาสตกิ กระดาษแข็งหรือฝาขวดน�ำ้ 4 ลอ้ 9) เทปใส เทปกาวสองหน้าแบบบาง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 2 | เทคโนโลยีแกป้ ญั หา 67 ตวั อย่างการสร้างรถของเล่นพลงั งานแสงอาทติ ยต์ ามกระบวนการออกแบบเชงิ วิศวกรรม 1. ระบปุ ญั หา ต้องการสรา้ งรถของเล่นที่ขบั เคลอื่ นดว้ ยพลังงานแสงอาทติ ย์ 2. รวบรวมขอ้ มูลและแนวคิดท่เี ก่ียวข้องกับปัญหา ใช้เซลล์แสงอาทติ ยใ์ นการเปลยี่ นพลงั งานแสงอาทิตย์เป็นพลงั งานไฟฟา้ โดยใชม้ อเตอร์เป็นตวั ขับเคลอ่ื น วัสดุท่ีใช้ทำ�ตัวรถต้องมีนำ้�หนักเบาและแข็งแรงพอที่จะรับนำ้�หนักของระบบขับเคล่ือนได้ วัสดุท่ีหาได้ท่ัวไป ได้แก่ ไมบ้ ัลซา กระดาษลูกฟกู พลาสติกลกู ฟกู แผน่ โฟมอดั จะตอ้ งมกี ลไกที่ใชใ้ นการสง่ ผ่านการขับเคลื่อนจากมอเตอรไ์ ปสเู่ พลาลอ้ เช่น เฟอื ง สายพาน รอก 3. ออกแบบวิธกี ารแก้ปญั หา สร้างรถของเล่นโดยใช้ไม้บัลซาทำ�เป็นตัวรถ ใช้เซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานไปขับเคล่ือนมอเตอร์ให้หมุน และ สง่ ผ่านก�ำ ลงั ไปยังเพลาลอ้ โดยใชเ้ ฟอื ง ไม้บัลซา เซลล์แสงอาทิตย์ เพลารถท�ำ จาก ล้อพลาสตกิ มุมมองด้านบนตวั รถ ไม้เสยี บลูกชนิ้ มอเตอร์ เฟือง มุมมองดา้ นขา้ งตัวรถ เฟอื งขบั เฟืองตาม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

68 แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยีแก้ปญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 4. วางแผนและด�ำ เนินการแกป้ ัญหา 4.1 เตรยี มวสั ดุอปุ กรณ์ทตี่ ้องใชไ้ ดแ้ ก่ 1) ไมบ้ ลั ซา 2) หลอดนมกล่อง 2 หลอด 3) ไม้เสยี บลกู ช้ิน 2 ไม้ 4) ล้อพลาสตกิ 4 ลอ้ 5) เฟอื งขบั และเฟืองตาม 6) มอเตอร์ 7) เซลลแ์ สงอาทติ ย์ 8) เทปใส 9) เทปกาวสองหนา้ ชนดิ บาง 4.2 สรา้ งรถของเล่นพลังงานแสงอาทิตยต์ ามทไ่ี ด้ออกแบบไว้ ดงั นี้ 1) ตัดแผน่ ไม้บลั ซาตามแบบรา่ ง จากน้นั ตดิ หลอดนมกล่องบริเวณทจ่ี ะใสเ่ พลาด้วยเทปใส 1 2) ประกอบล้อและเฟืองตามเขา้ กับไมเ้ สยี บลูกชนิ้ ท่ีใช้ทำ�เพลาท้ายรถ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ญั หา 69 34 3) ติดตั้งระบบขับเคล่ือน โดยข้ันแรกสอดไม้เสียบ 5 ลกู ช้ินทต่ี ดิ ตง้ั เฟืองแล้วเขา้ ไปในหลอดนมกล่อง จากนนั้ ประกอบ 6 ล้ออีกด้านหนึง่ เขา้ กบั ไมเ้ สียบลูกช้ิน 7 4) ประกอบเฟอื งขบั เขา้ กบั แกนมอเตอร์ จากนน้ั ตดิ ตง้ั มอเตอรก์ บั ตวั รถโดยใหเ้ ฟอื งขบั และเฟอื งตามสบกนั พอดี ทดลอง หมุนล้อให้สามารถหมุนได้โดยเฟืองขับท่ีติดกับมอเตอร์จะต้อง หมนุ ตามไปดว้ ยแสดงว่าการติดตง้ั ระบบขับเคลือ่ นเสร็จสมบูรณ์ 5) ติดตั้งลอ้ และเพลาหนา้ รถ 6) ตดิ ตงั้ เซลลแ์ สงอาทติ ย์ โดยตดั แผน่ ไมบ้ ลั ซาใหเ้ ปน็ รปู สามเหลยี่ ม 2 แผน่ เพอ่ื ท�ำ เปน็ ตวั ยดึ เซลลแ์ สงอาทติ ยก์ บั ตวั รถ (เซลลแ์ สงอาทติ ยจ์ ะมปี ระสทิ ธภิ าพสงู สดุ เมอื่ ท�ำ มมุ ตง้ั ฉากกบั แสง อาทิตย์ ดังนั้นจะต้องพิจารณาว่าควรติดต้ังแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ท�ำ มุมเทา่ ใด) จากนน้ั ติดตวั ยึดเซลล์แสงอาทิตยเ์ ข้ากับตัวรถ 7) ติดเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับตัวยึดแผ่นเซลล์แสง อาทิตย์ เช่ือมสายไฟของเซลล์แสงอาทิตย์กับมอเตอรเ์ ขา้ ด้วยกนั เป็นอันเสรจ็ สิ้นการสร้างรถของเลน่ พลังงานแสงอาทติ ย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

70 แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการ แก้ปัญหา หรอื ชนิ้ งาน ทดสอบการท�ำ งานเบอื้ งตน้ โดยน�ำ เซลลแ์ สงอาทติ ยท์ ตี่ ดิ ตงั้ บนรถของเลน่ ไปใกลก้ บั โคมไฟ หากลอ้ หมนุ กแ็ สดงวา่ ระบบ ขบั เคลอื่ นสามารถท�ำ งานได้ หากลอ้ ไมห่ มนุ ตอ้ งหาสาเหตแุ ลว้ ปรับปรุงแก้ไข หรืออาจทดสอบกับแสงอาทิตย์โดยตรงหาก สภาพอากาศเอือ้ อำ�นวย จากนั้นทดสอบการเคล่ือนที่ของรถว่าสามารถเคลื่อนที่ได้ตามท่ีต้องการหรือไม่ สาเหตุที่ทำ�ให้การทดสอบไม่เป็นไปตามท่ี ต้องการ อาจเน่ืองมาจากความฝืดของล้อ ตำ�แหน่งของเฟืองไม่พอดีกัน มุมรับแสงของเซลล์แสงอาทิตย์น้อย วงจรไฟฟ้าต่อไม่ สมบูรณห์ รือพน้ื ขรุขระเกนิ ไป กระแสไฟฟา้ หรอื ความตา่ งศกั ย์ไมเ่ พียงพอทจ่ี ะขบั มอเตอรใ์ หห้ มนุ ได้ ฯลฯ เม่อื หาสาเหตพุ บแล้ว จึงท�ำ การปรับปรงุ แก้ไข จนรถสามารถเคล่อื นทไี่ ดต้ ามท่ีต้องการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ญั หา 71 ขอ้ เสนอแนะเพม่ิ เติม 1. กจิ กรรมนเ้ี ปน็ กจิ กรรมเสนอแนะส�ำ หรบั ผสู้ อนในกรณที มี่ เี วลาเพยี งพอ เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นน�ำ ความรเู้ รอ่ื งการตอ่ วงจรไฟฟา้ เฟอื ง และพลงั งานแสงอาทติ ยม์ าสร้างชนิ้ งาน มที ักษะในการต่อวงจรไฟฟา้ ใช้อุปกรณ์เคร่อื งมือในการสร้างช้นิ งาน 2. หากผเู้ รยี นเคยสรา้ งรถของเลน่ พลงั งานแสงอาทติ ยห์ รอื กจิ กรรมลกั ษณะนม้ี าแลว้ ผสู้ อนอาจเลอื กกจิ กรรมทา้ ทายความคดิ ซง่ึ เปน็ กจิ กรรมถดั ไป มาจดั การเรยี นรู้แทนได้ 3. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนออกแบบรถของเล่นพลังงานแสงอาทิตย์ให้มีความหลากหลาย โดยพิจารณาเงื่อนไข หรือปัจจัย ตา่ ง ๆ เชน่ วสั ดอุ ปุ กรณ์ รปู รา่ ง และน�ำ้ หนกั ของตวั รถ ต�ำ แหนง่ และทศิ ทางของเซลลแ์ สงอาทติ ย์ ต�ำ แหนง่ ของมอเตอร์ ขนาดของเฟอื ง และล้อ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

72 แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี ใบความรู้ เร่ือง เฟอื ง เฟือง ท่พี บเห็นท่วั ไปมีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายล้อท่มี ีฟันเฟืองท่ขี อบโดยรอบ เป็นอุปกรณ์ท่ใี ช้ในการควบคุม ความเร็ว แรง หรือเปล่ียนทิศทางการเคลื่อนที่ โดยการส่งกำ�ลังหรือถ่ายทอดการหมุนจากเฟืองตัวหน่ึงไปยังเฟือง อกี ตวั หนง่ึ โดยทั่วไปเฟืองจะทำ�งานควบคู่กับเพลา ซ่ึงเพลาเป็นอุปกรณ์ทใี่ ชใ้ นการส่งกำ�ลงั จากจุดหน่ึงไปยังอกี จดุ หนึง่ ในลักษณะการหมุน หากเพลาเกิดการหมุนเฟืองก็จะหมุนตาม เฟืองมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เชน่ เฟืองตรง เฟอื งหนอน เฟอื งดอกจอก ซง่ึ ในกิจกรรมรถของเล่นพลังงานแสงอาทิตยจ์ ะใชเ้ ฟืองตรง การน�ำ เฟืองตรงมาใช้ประโยชน์ 1. เพ่ิมแรงและลดความเร็ว เฟอื งตรง ท�ำ งานโดยการหมนุ รอบแกนเพลาและสง่ แรงหมนุ นน้ั ไปยงั เฟอื งอกี ตวั หนงึ่ ผา่ นทางฟนั ของเฟอื งทง้ั สอง ทสี่ บกนั เฟอื งทตี่ อ่ อยกู่ บั ตน้ ก�ำ เนดิ ของแรงเรยี กวา่ เฟอื งขบั สว่ นเฟอื งทสี่ บอยแู่ ลว้ หมนุ ตามเรยี กวา่ เฟอื งตาม โดยเฟอื ง ท้ังสองตวั จะหมุนในทศิ ทางตรงกันขา้ ม จากรูปด้านลา่ ง ถ้าเฟอื งขบั มจี �ำ นวนฟัน 20 ซ่ี เฟืองตาม 60 ซี่ Output และเฟืองตามมจี ำ�นวนฟนั 60 ซี่ เฟอื งขบั จะต้อง หมุน 3 รอบเพื่อทำ�ให้เฟืองตามหมุนได้ 1 รอบ Input เฟืองตามหมนุ 1 รอบ ท�ำ ใหค้ วามเรว็ ในการหมนุ ของเฟอื งตามนอ้ ยลงแต่ เฟอื งขบั หมุน 3 รอบ เกิดแรงมากขึ้น 3 เทา่ แรงพยายามท่ีใช้หมุนเฟืองขับจะทำ�ให้เกิดแรงใน เฟอื งตามมากขน้ึ ถงึ 3 เทา่ การทำ�งานในลกั ษณะ เฟอื งขับ 20 ซ่ี นี้จะนำ�ไปใช้ในการเพิ่มแรงในการหมุน ตัวอย่าง รปู 1 การท�ำ งานของเฟืองตรงเพื่อเพิม่ แรงและลดความเร็ว การทำ�งานลักษณะน้ี เช่น การสร้างกลไกในการ ยกของหนกั ในงานก่อสรา้ งตา่ ง ๆ เฟอื งขบั 60 ซี่ Output 2. การลดแรงและเพิ่มความเรว็ Input เฟอื งตามหมนุ 3 รอบ ถ้าเฟืองตรงที่ใช้เป็นเฟืองขับมีจำ�นวนฟัน เฟืองขบั หมุน 1 รอบ แตแ่ รงนอ้ ยลง 60 ซ่ี และเฟืองตามจ�ำ นวนฟนั 20 ซ่ี เมือ่ เฟอื งขับ หมนุ ไป 1 รอบจะท�ำ ใหเ้ ฟอื งตามหมนุ ไปถงึ 3 รอบ เฟอื งตาม 20 ซี่ การใช้งานลักษณะน้ีเป็นการเพ่ิมความเร็วในการ รูป 2 การท�ำ งานของเฟอื งตรงเพื่อลดแรงและเพ่ิมความเรว็ หมุนให้มากข้ึนแต่จะมีแรงในการหมุนนอ้ ยลง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 | เทคโนโลยแี กป้ ัญหา 73 ใบความรู้ เรือ่ ง การตอ่ เซลลแ์ สงอาทติ ยห์ ลายเซลล์ เซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำ�เนิดไฟฟ้าอย่างหนึ่งคล้ายกับแบตเตอรี่ โดยปกติเซลล์แสงอาทิตย์หนึ่งเซลล์จะให้ค่า แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าท่ีค่อนข้างตำ่� บางคร้ังในการนำ�ไปใช้งานจะต้องมีการต่อเซลล์แสงอาทิตย์หลายเซลล์ เข้าด้วยกัน เพอื่ ใหไ้ ดแ้ รงดนั ไฟฟ้าและกระแสไฟฟา้ มากข้ึนตามท่ีต้องการ ซึ่งในการเพิ่มแรงดนั ไฟฟา้ หรอื กระแสไฟฟ้า นั้น สามารถตอ่ เซลล์แสงอาทิตย์ในรปู แบบทีแ่ ตกต่างกนั เชน่ 1. การตอ่ เซลลแ์ สงอาทติ ยเ์ พอ่ื เพม่ิ กระแสไฟฟา้ จะตอ้ งน�ำ เซลลแ์ สงอาทติ ยแ์ ตล่ ะเซลลม์ าตอ่ แบบขนานกนั กระแสไฟฟา้ รวมทไี่ ดจ้ ะเทา่ กบั ผลรวมของกระแสไฟฟา้ ทเ่ี ซลลแ์ สงอาทติ ยแ์ ตล่ ะเซลลผ์ ลติ ได้ แตแ่ รงดนั ไฟฟา้ รวมจะเทา่ กบั แรงดนั ไฟฟา้ เพยี งเซลลเ์ ดยี ว (ในกรณที เ่ี ป็นเซลลแ์ สงอาทิตย์ชนดิ เดียวกันและแรงดันไฟฟ้าของแตล่ ะเซลล์มคี ่าเท่ากนั ) 2. การต่อเซลล์แสงอาทิตย์เพ่ือเพ่ิมแรงดันไฟฟ้า จะต้องนำ�เซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์มาต่อแบบอนุกรม แรงดัน ไฟฟ้าที่ได้จะเท่ากับผลรวมของแรงดันไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์ผลิตได้ แต่กระแสไฟฟ้ารวมจะยังคงเท่ากับ เพยี งเซลลเ์ ดยี ว (ในกรณที ีเ่ ปน็ เซลล์แสงอาทิตยช์ นิดเดียวกันและกระแสไฟฟา้ ของแตล่ ะเซลล์มคี ่าเทา่ กนั ) หมายเหตุ วธิ กี ารค�ำ นวณดงั กลา่ วเปน็ การค�ำ นวณแบบเบอ้ื งตน้ เทา่ นน้ั ในการใชง้ านจรงิ ยงั จะตอ้ งค�ำ นงึ ถงึ ปจั จยั อน่ื ๆ ดว้ ย เช่น ความเขม้ แสงที่ตกกระทบ และการท�ำ งานของอุปกรณท์ ี่ตอ่ กบั เซลลแ์ สงอาทติ ย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

74 แผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี กจิ กรรมทา้ ทายความคดิ เรอื่ ง รถไฟฟ้าพลงั งานแสงอาทติ ย์ สถานการณ์ นนทไ์ ดส้ รา้ งรถของเลน่ เซลลแ์ สงอาทติ ยซ์ ง่ึ สามารถเคลอ่ื นทไ่ี ดใ้ นบรเิ วณทม่ี แี สงแดดไดแ้ ลว้ แตเ่ มอ่ื นนทน์ �ำ รถไปเลน่ ในบรเิ วณทไ่ี มม่ แี สงแดดหรอื แสงแดดนอ้ ย ปรากฏวา่ รถของนนทไ์ มส่ ามารถเคลอ่ื นทไ่ี ดเ้ ลย นนทจ์ งึ อยากจะสรา้ งรถของเลน่ ท่ี สามารถเกบ็ พลงั งานจากแสงอาทิตยเ์ พ่อื เอามาใชใ้ นกรณีท่ไี มม่ แี สงแดดหรอื แสงแดดนอ้ ยได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนจะช่วยนนท์ออกแบบและสร้างรถของเล่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถเคล่ือนที่ ในกรณที ีไ่ ม่มแี สงแดดหรือมแี สงแดดน้อยได้อยา่ งไร แนวคิดของกิจกรรม รถไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ย์ เปน็ รถของเลน่ ทอ่ี าศยั พลงั งานไฟฟา้ ไปขบั เคลอ่ื นรถใหเ้ คลอ่ื นท่ี โดยแหลง่ พลงั งานไฟฟา้ มาจาก แบตเตอร่หี รือเซลล์แสงอาทติ ย์ โดยเซลล์แสงอาทิตย์จะทำ�หน้าที่เป็นตัวรบั พลงั งานแสงอาทติ ยแ์ ล้วเปลี่ยนให้เปน็ พลังงานไฟฟ้า มีวงจรควบคุมการชาร์จไฟท่ีได้จากเซลล์แสงอาทิตย์เก็บไว้ในแบตเตอรี่ โดยมีสวิตช์เป็นตัวควบคุมว่าจะเลือกใช้พลังงานไฟฟ้า จากเซลลแ์ สงอาทิตยห์ รอื แบตเตอร่ี วสั ดุอุปกรณ์ 1) เซลล์แสงอาทติ ย์ขนาด 5.5 โวลต์ 90 mA (หรือใกล้เคยี ง) 1 แผ่น 2) ไม้บลั ซาหรอื กระดาษลูกฟูกหรือพลาสติกลกู ฟูก 1 แผ่น 3) สายไฟ 4) มอเตอรไ์ ฟฟ้ากระแสตรง (กระแสไฟต่ำ�) ขนาด 3 โวลต์ 1 ตัว 5) ไม้เสยี บลกู ช้ิน 2 ไม้ 6) เฟอื งตรงขนาดใหญ่ และเลก็ อย่างละ 1 ตัว 7) ล้อทีท่ �ำ จากพลาสตกิ กระดาษแขง็ หรอื ฝาขวดน�ำ้ 4 ลอ้ 8) ไดโอดชนดิ 1N4001 1 ตัว 9) แบตเตอร่ีชนดิ ท่ีสามารถชารจ์ ได้ พร้อมลังถ่าน 2 ก้อน 10) สวติ ช์ 2 ตวั สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ 2 | เทคโนโลยีแกป้ ญั หา 75 ตัวอย่างรถของเลน่ พลงั งานแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทติ ย์ ไดโอด มอเตอร์ เฟือง แบตเตอรี่ สวิตช์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

76 แผนการจดั การเรียนรูท้ ่ี 2 | เทคโนโลยีแกป้ ญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี ใบความรู้ เรอื่ ง ไดโอด ไดโอด เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำ�มาจากสารก่ึงตัวนำ� ทำ�หน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเคล่ือนที่ผ่านได้ทางเดียว เนอ่ื งจากไดโอดเปน็ อปุ กรณท์ ี่มขี ัว้ ดงั น้ันการใชง้ านไดโอดจึงตอ้ งต่อขั้วให้ถกู ตอ้ งตามการใช้งาน โดยข้ัวบวกของไดโอด เรยี กวา่ ขว้ั แอโนด (anode: A) และขว้ั ลบของไดโอด เรยี กวา่ ขว้ั แคโทด (cathode: K) สญั ลกั ษณข์ องไดโอดในวงจรไฟฟา้ คอื โดยสงั เกตขว้ั ของไดโอดไดจ้ ากแถบคาดสที ป่ี ลายดา้ นหนง่ึ ซง่ึ แสดงขาลบ และขาดา้ นทต่ี รงขา้ มคอื ขาบวก ขาบวกหรือขาแอโนด ขาลบหรอื ขาแคโทด แถบคาดสี รูป 3 การระบุขาของไดโอด การเลือกใช้ไดโอดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ต้องพิจารณาว่าในวงจรไฟฟ้าน้ันมีแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ท่ีต้องการให้ผ่านไดโอดเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น วงจรควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่ ท่ีใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์ ในการเปล่ียนพลังงานจากแสงอาทิตย์ท่ีมาตกกระทบ ให้เปล่ียนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเซลล์แสงอาทิตย์ท่ีใช้สามารถ ผลิตแรงดันไฟฟ้า 5.5 V และกระแสไฟฟ้าตรง 90 mA ดังนั้นการเลือกใช้ไดโอดที่ต่อในวงจรเพ่ือบังคับทิศทางการ เคลอ่ื นทข่ี องกระแสไฟฟา้ จะตอ้ งมคี ณุ สมบตั ทิ ส่ี ามารถทนคา่ แรงดนั ไฟฟา้ และกระแสไฟฟา้ ไดไ้ มน่ อ้ ยกวา่ ทเ่ี ซลลแ์ สงอาทติ ย์ ผลิตได้ไม่เช่นน้นั ไดโอดจะพังได้ ซ่งึ สามารถดูรายละเอียดค่าความสามารถของการรับแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ได้จากรายละเอยี ดคณุ สมบัติของไดโอดแตล่ ะตัว รปู 4 ตารางรายละเอียดคณุ สมบัตขิ องไดโอดแต่ละชนิด เลอื กใชไ้ ดโอด 1N4001 เน่ืองจากสามารถทนแรงดันไฟฟา้ ได้ 50 V และ กระแสไฟฟา้ 1 A ซึ่งมากกวา่ คา่ ที่ เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยีแกป้ ัญหา 77 ใบความรู้ เร่ืองวงจรไฟฟ้าสำ�หรบั รถไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ย์ วงจรไฟฟา้ ส�ำ หรบั รถไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ยใ์ นกจิ กรรมนี้ ตอ้ งการใหส้ ามารถเลอื กใชแ้ หลง่ ก�ำ เนดิ ไฟฟา้ ไดจ้ าก ทั้งเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอร่ี นอกจากนี้ยังต้องสามารถชาร์จไฟฟ้าให้กับแบตเตอร่ีได้อีกด้วย ดังนั้นวงจรไฟฟ้า จงึ ประกอบด้วย 1. แหล่งก�ำ หนดไฟฟา้ 2 ชนิด คือ เซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรแี่ บบชาร์จไฟฟา้ ได้ 2. ไดโอด ใชบ้ งั คบั ทศิ ทางไมใ่ หก้ ระแสไฟฟา้ เคลอื่ นทจี่ ากแบตเตอรไี่ ปยงั เซลลแ์ สงอาทติ ย์ เพราะอาจท�ำ ใหเ้ ซลล์ แสงอาทิตย์เสยี หายได้ 3. มอเตอร์ เป็นแบบทีใ่ ช้กระแสไฟฟ้าต่ำ� เช่น มอเตอร์ขับแผ่นดวี ดี ี 4. สวิตช์ไฟฟ้า ไดโอด สวติ ช์ S2 เซลลแ์ สงอาทิตย์ สวติ ช์ S1 มอเตอร์ แบตเตอร่ี รูป 1 วงจรไฟฟ้าส�ำ หรบั รถไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

78 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 | เทคโนโลยแี กป้ ญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี การทำ�งานของวงจรไฟฟ้า 1. เมื่อตอ้ งการให้รถเคลือ่ นทโี่ ดยใช้แหล่งพลังงานจากเซลล์แสงอาทติ ย์ กดหรอื เลอื่ นสวติ ช์ S2 ใหอ้ ยใู่ นสถานะสวติ ชป์ ดิ ( ) สว่ นสวติ ช์ S1 อยใู่ นสถานะสวติ ชเ์ ปดิ ( ) ดงั รูป 2 ไฟฟา้ จะเคลื่อนท่จี ากขั้วบวกของเซลลแ์ สงอาทติ ย์ไปตามลูกศรสแี ดงผ่านไดโอด ผ่านสวติ ช์ S2 และมอเตอร์ ไปถึงขัว้ ลบของเซลลแ์ สงอาทิตย์จึงครบวงจร ท�ำ ให้มอเตอร์ท�ำ งานได้ ไดโอด สวติ ช์ S2 เซลล์แสงอาทติ ย์ สวิตช์ S1 มอเตอร์ แบตเตอรี่ รปู 2 วงจรไฟฟา้ เม่ือต้องการให้รถเคลอ่ื นท่ีโดยใช้แหลง่ พลงั งานจากเซลล์แสงอาทติ ย์ ไดโอด สวิตช์ S2 สวติ ช์ S1 2. เมอื่ ตอ้ งการใหร้ ถเคลอ่ื นที่ แบตเตอร่ี โดยใช้แหล่งพลงั งานจากแบตเตอร่ี กดหรอื เลอื่ นสวติ ช์ S1 และ S2 ใหอ้ ยู่ในสถานะสวติ ชป์ ดิ ( ) ดงั รปู ท่ี 3 ไฟฟา้ จะเคลอ่ื นทจ่ี ากขว้ั บวก เซลลแ์ สงอาทิตย์ มอเตอร์ ของแบตเตอร่ีไปตามลูกศรสีแดงผ่าน สวิตช์ S1 สวิตช์ S2 และมอเตอร์ ไปถึงข้ัวลบของแบตเตอร่ีจึงครบวงจร ท�ำ ให้มอเตอร์ท�ำ งานได้ รูป 3 วงจรไฟฟ้าเมื่อตอ้ งการใหร้ ถเคลือ่ นที่โดยใชแ้ หลง่ พลังงานจากแบตเตอร่ี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี ก้ปัญหา 79 3. เมอื่ ต้องการชารจ์ ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทติ ยไ์ ปเก็บในแบตเตอรี่ กดหรือเล่อื นสวิตช์ S1 ใหอ้ ย่ใู นสถานะสวิตช์ปิด ( ) ส่วนสวิตช์ S2 อยใู่ นสถานะสวิตช์เปดิ ( ) ดังรูป 4 ไฟฟ้าจะเคลื่อนที่จากขั้วบวกของเซลล์แสงอาทิตย์ไปตามลูกศรสีแดงผ่านไดโอด ผ่านสวิตช์ S1 ไปเกบ็ ในแบตเตอรี่ ไดโอด สวติ ช์ S2 เซลล์แสงอาทติ ย์ สวติ ช์ S1 มอเตอร์ แบตเตอร่ี รูป 4 วงจรไฟฟ้าเม่ือต้องการชาร์จไฟฟา้ จากเซลลแ์ สงอาทิตย์ไปเกบ็ ในแบตเตอร่ี ตวั อยา่ งการประกอบอปุ กรณ์วงจรไฟฟา้ กับรถไฟฟ้าพลงั งานแสงอาทติ ย์ ไดโอด สวติ ช์ มุมมองด้านบนตัวรถ มมุ มองดา้ นล่างตัวรถ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

80 แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 2 | เทคโนโลยแี ก้ปญั หา คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี กจิ กรรมท่ี 2.1 เรือ่ ง สมั ภาษณก์ นั อยา่ งไร ใหน้ กั เรยี นฝกึ การสมั ภาษณเ์ พอื่ นในหอ้ งเรยี น เพอ่ื สรปุ ปญั หาทเ่ี กดิ ขน้ึ ในกจิ กรรมตา่ ง ๆ ทน่ี กั เรยี นสนใจ 1 เรอ่ื ง โดยนักเรียนท่ีเป็นผู้สัมภาษณ์เป็นผู้กำ�หนดหัวข้อกิจกรรมท่ีสนใจ หรือเลือกจากตัวอย่างกิจกรรมต่าง ๆ เชน่ การเดินทางมาโรงเรยี น กจิ กรรมทช่ี อบทำ�ยามวา่ ง กจิ กรรมในห้องเรยี นท่ีชอบ โดยมปี ระเดน็ ในการสัมภาษณ์ เช่น ลักษณะของกจิ กรรมท่ีทำ�เป็นอยา่ งไร ข้นั ตอนของกจิ กรรมนน้ั เป็นอย่างไร บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมมีใครบ้าง และเกย่ี วข้องอยา่ งไร มีเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์อะไรท่ี เกย่ี วข้องบา้ ง ในแตล่ ะข้นั ตอนพบปัญหาอะไรบา้ ง หากพบหลายปัญหาในกิจกรรมนั้น คิดว่าปัญหาใดสำ�คัญท่ีสุดท่ีควรได้รับ การแก้ไขกอ่ น หมายเหตุ นกั เรียนสามารถกำ�หนดประเด็นสมั ภาษณ์เพมิ่ เติมจากทีก่ �ำ หนดได้ หากพบวา่ ประเด็นสมั ภาษณย์ ังไม่เพียง พอเพื่อน�ำ มาสูก่ ารระบปุ ัญหาของกจิ กรรมนนั้ ๆ แนวคำ�ตอบ 1. หัวข้อการสมั ภาษณ์ หรอื กจิ กรรมที่สนใจ ____ก_ิจ_ก_ร_ร_ม__ท_ีไ่ _ด_ร้ _ับ_ม__อ_บ_ห_ม__า_ย_ใ_ห_ท้ _ำ�_ท__่ีบ_้า_น_ท__ุก_ว_ัน_:_ร_ด__น_้�ำ _ต_น้ _ไ_ม_ต้__อ_น_เ_ช_า้ _______________________________________ ______________________________________________________________________________________________ 2. ขั้นตอนหรอื รายละเอยี ดของกจิ กรรม ___ท__บี่ _า้ _น_ป__ล_กู _ไ_ม_ด้ _อ_ก__แ_ล_ะ_ไ_ม_ป้ _ร_ะ__ด_บั _บ_ร_เิ_ว_ณ__ร_อ_บ__ๆ_บ__า้ _น__น_บั _ร_ว_ม_ท__ง้ั _ส_น้ิ _ป__ร_ะ_ม_า_ณ__6__ช_น_ดิ__ม_ที __ง้ั แ__บ_บ_ท__ปี่ _ล_กู _ล_ง_ด__นิ _แ_ล_ะ_ป__ล_กู __ ใ_น_ก__ร_ะ_ถ_า_ง__ซ_่ึง_ส_่ว_น__ให__ญ_่จ_ะ__ป_ล_ูก_ใ_น_ก__ร_ะ_ถ_า_ง_ม_ีจ_ำ�_น__ว_น__1_0__ก_ร_ะ__ถ_า_ง_ว__า_งก__ร_ะ_จ_า_ย_ไ_ป_บ__ร_ิเว_ณ__ร_อ_บ__บ_้า_น__ท_ุก__ว_ัน_ต_อ__น_เ_ช_้า_ต_้อ_ง__ ร_ด__น_ำ�้ _ต_้น_ไ_ม__ท้ _ัง้ _ห_ม_ด__กอ่__น_ไ_ป_โ_ร_ง_เร_ยี__น_โ_ด_ย__ป_ก_ต_ิแ__ล_้ว_จ_ะ_ใ_ช_ส้ _า_ย_ย__า_ง_ฉ_ีด_ร_ด_น__้�ำ _ต_น้ _ไ_ม_้ _________________________________ ______________________________________________________________________________________________ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2 | เทคโนโลยแี กป้ ัญหา 81 4. บคุ คลท่ีเกี่ยวข้อง ____ไม__ม่ _ี _เพ__ร_า_ะ_ร_ด_น_ำ้�_ต_้น__ไ_ม_ค้ _น_เ_ด_ยี_ว___________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________ 5. เครอื่ งมอื หรอื อปุ กรณท์ ่เี ก่ยี วข้อง ____ส_า_ย_ย_า_ง_ร_ด_น__ำ�้ _ต_น้ _ไ_ม_้_ก_อ๊ _ก__น_ำ้�_____________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________ 6. ปญั หาทพี่ บ ___1__. _เ_น_ื่อ_ง_จ_า_ก__ต_้น_ไ_ม_้แ_ต__่ล_ะ_ก_ร_ะ_ถ__า_งอ__ย_ู่ห_่า_ง_ก_ัน__ท__ำ�_ใ_ห_้ต_้อ_ง_ล__า_ก_ส_า_ย_ย_า_ง_ไ_ป_ม__า_เ_พ__่ือ_ใ_ห_้ฉ_ีด_น__ำ้�_ได__้ท_่ัว_ถ_ึง__ท_ำ�_ใ_ห__้ใช__้เว_ล_า_น__า_น__ จ_น__บ_า_ง_ค_ร_งั้_เ_ห_ล_ือ__เว_ล_า_ใ_น__ก_า_ร_อ_า_บ_น__ำ้�_แ_ต__ง่ ต__วั _ท__า_น_ข_า้ _ว__ก_อ่ _น__ไป__โร_ง_เ_ร_ยี _น_น__อ้ _ย_ล_ง__________________________________ ___2__. _ส_า_ย_ย_า_ง_ม_คี__ว_า_ม_ย_า_ว_ม_า_ก_เ_ก_นิ __ค_ว_า_ม_จ_�ำ _เ_ป_น็ __ท_�ำ _ใ_ห_ข้_ณ__ะ_ล_า_ก__ส_า_ย_ย_า_ง_ไ_ป_ม_า__เก__ดิ _พ_นั__ก_นั __แ_ล_ะ_ห_กั__งอ__ท_�ำ _ใ_ห_น้ _�้ำ_ไ_ม_ไ่_ห_ล__ห_ร_อื __ ไ_ห_ล__ช_า้ _ต__้อ_ง_เส__ีย_เว_ล__า_เด_ิน__ม_า_จ_ดั _เ_ร_ยี _ง_ส_า_ย__ย_า_ง_ให__ม_่ ________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________ 7. ปัญหาทค่ี ดิ วา่ ส�ำ คัญและควรแกไ้ ขมากทส่ี ดุ _ ___ต_้อ_ง_ก_า_ร_ห__า_ว_ิธ_ีก_า_ร_เ_ป_ล_่ีย_น__จ_า_ก_ก_า_ร_ใ_ช_้ส__า_ย_ย_า_ง_ร_ด_น_ำ้�_ต__้น_ไ_ม_้เ_ป_็น_ว_ิธ__ีอ_ื่น__เ_พ_ร_า_ะ_น__อ_ก_จ_า_ก_จ_ะ__ช_่ว_ย_แ_ก_้ป__ัญ__ห_า_เร_ื่_อ_ง_ล_า_ก_ส_า_ย__ _ย_า_ง_ไป__ม_า_แ_ล_้ว__ย_งั _ช_่ว_ย__ล_ด_ป_ัญ__ห_า_ข__อ_ง_ก_า_ร_ส_า_ย_ย_า_ง_ห__กั _ง_อ__แ_ล_ะ_พ_นั__ก_นั _ไ_ด_ด้__้ว_ย_____________________________________ ______________________________________________________________________________________________ กจิ กรรมท่ี 2.2 - 2.7 แนวค�ำ ตอบ การระบุปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ข้ึนอยู่กับการดำ�เนินการของ แต่ละกลุ่ม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 3 เวลา 4 ชวั่ โมง เทคโนโลยเี พม่ิ มูลค่า 1. ตวั ช้วี ดั และสาระการเรยี นรู้ 1.1 ตัวชี้วัด ว 4.1 ม.3/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถ่ิน เพ่ือพัฒนางานอาชีพ สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วเิ คราะห์ขอ้ มลู และแนวคดิ ท่ีเก่ียวข้องกับปญั หา โดยค�ำ นึงถึงความถูกตอ้ งดา้ นทรัพย์สินทางปัญญา 1.2 สาระการเรียนรู้ การวเิ คราะห์ เปรยี บเทยี บ และตดั สนิ ใจเลอื กขอ้ มลู ทจี่ �ำ เปน็ โดยค�ำ นงึ ถงึ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา เงอื่ นไขและทรพั ยากร เช่น งบประมาณ เวลา ข้อมูลและสารสนเทศ วสั ดุ เครอื่ งมือและอุปกรณ์ ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาท่ีเหมาะสม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

84 แผนการจดั การเรียนร้ทู ่ี 3 | เทคโนโลยีเพม่ิ มูลค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 2. จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ 2.1 อธิบายความรู้เกย่ี วกับการเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยีและทรพั ย์สินทางปญั ญา 2.2 วเิ คราะห์และเสนอแนวทางการเพมิ่ มลู ค่าเทคโนโลยี 2.3 ประยุกต์ใชค้ วามรูเ้ กีย่ วกบั ทรพั ยส์ นิ ทางปัญญาในการพัฒนาผลงาน 3. ทักษะและกระบวนการทเี่ ป็นจุดเนน้ 3.1 ทักษะการสือ่ สาร 3.2 ทักษะการคิดอย่างมวี จิ ารณญาณ 3.3 ทกั ษะการทำ�งานรว่ มกบั ผู้อ่นื 4. ความรูเ้ ดิมทผี่ ู้เรยี นต้องมี เทคโนโลยเี กดิ จากการบรู ณาการองคค์ วามรจู้ ากศาสตรต์ า่ ง ๆ เชน่ วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ เทคโนโลยี ซง่ึ เปน็ ไดท้ ง้ั ชน้ิ งาน (สนิ คา้ หรอื ผลติ ภณั ฑ)์ หรอื วธิ กี ารทสี่ ามารถน�ำ ไปใชใ้ นการแกป้ ญั หาหรอื สนองความตอ้ งการของมนษุ ย์ ในการสบื คน้ ขอ้ มลู เพอื่ พัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีจะต้องเลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งท่ีน่าเชื่อถือ และต้องอ้างอิงถึงแหล่งท่ีมาของข้อมูล เพ่ือป้องกัน การละเมดิ ทรัพยส์ ินทางปญั ญาของผอู้ น่ื 5. สาระสำ�คัญ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญานนั้ เกดิ ขนึ้ จากความคดิ สรา้ งสรรคข์ องผสู้ รา้ ง การมที รพั ยส์ นิ ทางปญั ญากอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนแ์ กต่ นเอง สังคม และประเทศชาติได้ จึงถือได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตนเอง ตลอดจนสามารถแปลง ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาใหเ้ ปน็ เงนิ ทนุ เพอ่ื ประโยชนเ์ ชงิ พาณชิ ยไ์ ด้ ทง้ั นร้ี ะยะเวลาในการคมุ้ ครองทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาประเภทตา่ ง ๆ อาจมคี วามแตกตา่ งกนั รวมทง้ั อาจมคี า่ ใชจ้ า่ ยในการด�ำ เนนิ การจดทะเบยี น ผสู้ รา้ งผลงานจงึ ตอ้ งศกึ ษาและท�ำ ความเขา้ ใจใหถ้ อ่ งแท้ เพอ่ื ใหส้ ามารถเลอื กจดทะเบยี นตามประเภททรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาและช�ำ ระคา่ ธรรมเนยี มไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง และน�ำ ไปสกู่ ารขอรบั สทิ ธิ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งทางกฎหมายเพอื่ คมุ้ ครองทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาของตนเองได้ ในทางกลบั กนั เมอ่ื ตระหนกั รวู้ า่ ปญั ญาหรอื ความคดิ ของ ตนเองเป็นทรัพย์สินท่ีมีมูลค่าแล้ว ปัญญาหรือความคิดของผู้อ่ืนก็มีมูลค่าเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องหลีกเลี่ยงการละเมิดทรัพย์สิน ทางปญั ญาของผ้อู ื่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนร้ทู ี่ 3 | เทคโนโลยเี พ่มิ มลู ค่า 85 6. สื่อและอปุ กรณ์ 6.1 ใบกิจกรรม ใบกิจกรรม เรอ่ื ง เวลา (นาท)ี ใบกจิ กรรมที่ 3.1 การเพม่ิ มูลค่าใหก้ ับเทคโนโลยี 30 ใบกจิ กรรมท่ี 3.2 ชว่ ยนนทแ์ ละน�้ำ หวานค้นหาและจัดประเภททรัพยส์ นิ ทางปัญญา 30 กิจกรรมท้ายบท เพิม่ มูลคา่ ผลงานตนเอง 30 หมายเหตุ เวลาทีร่ ะบใุ นตารางเป็นเวลาเฉพาะการทำ�กิจกรรมเทา่ นนั้ ไมร่ วมเวลาสอน 6.2 สอื่ อน่ื ๆ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 2) บัตรภาพแตงโมทมี่ ีรปู รา่ งแตกตา่ งกนั 3) บตั รภาพตวั อยา่ งผลติ ภณั ฑท์ จ่ี ดั อยใู่ นทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาประเภทตา่ ง ๆ เชน่ สอ่ื ประกอบการเรยี นรู้ ของเลน่ เดก็ ปา้ ยโฆษณาสนิ ค้าหรือบรกิ าร ช่ือสนิ คา้ สัญลักษณห์ รือโลโก้สินคา้ เนือ้ เพลง การแสดงละครเวที 7. แนวทางการจัดการเรยี นรู้ 1) ผสู้ อนทบทวนความรทู้ เ่ี รยี นมาในบทที่ 2 วา่ ในการสรา้ งผลติ ภณั ฑห์ รอื วธิ กี ารส�ำ หรบั การแกป้ ญั หานนั้ ตอ้ งมกี ารสบื คน้ ขอ้ มลู เพอื่ ใชเ้ ปน็ แนวทางในการสรา้ งผลติ ภณั ฑห์ รอื วธิ กี าร ซง่ึ บางแนวทางอาจเปน็ การพฒั นาหรอื ตอ่ ยอดเทคโนโลยเี ดมิ ทมี่ ผี อู้ น่ื ทำ�ไวแ้ ลว้ ดังนั้นในการนำ�ข้อมูลมาใชใ้ นการพัฒนางานของตนเอง จะต้องอา้ งอิงแหล่งทม่ี าของผลงาน ซ่งึ เป็นหนา้ ทพ่ี ้นื ฐานของ ผู้พัฒนาหรอื ตอ่ ยอดเทคโนโลยที แ่ี สดงถึงการเคารพทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาของผู้อื่น 2) ผูส้ อนน�ำ เขา้ สู่บทเรยี นเกย่ี วกบั แนวทางการเพิ่มมลู ค่าของเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นผลติ ภัณฑ์หรือวิธีการ ซ่ึงอาจนำ�ไปสู่ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยนำ�บัตรภาพแตงโมท่ีมีลักษณะต่าง ๆ มาให้ผู้เรียนได้ร่วมอภิปราย ซึ่งอาจใช้ตัวอย่าง ค�ำ ถามต่อไปน้ี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

86 แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี 3 | เทคโนโลยเี พ่ิมมลู ค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แบบท่ี 1 แบบที่ 2 แบบท่ี 3 แตงโมในภาพทัง้ 3 แบบ มคี วามแตกต่างกนั อยา่ งไร เพราะเหตใุ ดเกษตรกรผปู้ ลกู จึงต้องท�ำ ให้แตงโมทั้ง 3 แบบมีความแตกต่างกนั นอกจากแตงโมทง้ั 3 แบบทเี่ ห็นแล้ว ผู้เรยี นเคยเห็นรปู แบบอนื่ อีกหรอื ไม่ อย่างไร 3) ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเก่ียวกับตัวอย่างการเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ จนเกิดเป็นนวัตกรรมท่ีสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิต และนำ�ไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำ�นวนมาก ช่วยให้เกิด การเรยี นรูแ้ ละพัฒนาในวงกว้าง เกดิ องคค์ วามรู้และเทคโนโลยใี หม่ ๆ ท่ีสามารถถา่ ยทอดไปสคู่ นร่นุ ตอ่ ๆ ไป เพอื่ ใหส้ ามารถใช้ องค์ความรู้ในการสร้างเทคโนโลยที ่ีเปน็ ประโยชนไ์ ด้ 4) ผู้สอนนำ�เข้าสู่เนื้อหาในหนังสือเรียน โดยใช้คำ�ถามชวนคิดเพ่ือกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจและให้แสดงความคิดเห็นตาม ความเข้าใจของตนเองวา่ การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยีคอื อะไร และสามารถท�ำ ได้หรือไม่ ดว้ ยวธิ ใี ดบา้ ง แนวคำ�ตอบ การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี คือ การทำ�ให้เทคโนโลยีท่ีเกี่ยวข้องมีมูลค่าสูงข้ึนท้ังในด้านราคาและมูลค่า ทางการตลาด ผผู้ ลติ สามารถเพม่ิ มลู คา่ ไดห้ ลายวธิ ี เชน่ การปรบั ปรงุ ผลติ ภณั ฑห์ รอื วธิ กี ารในดา้ นรปู ลกั ษณ์ บรรจภุ ณั ฑ์ หนา้ ทใี่ ชส้ อย การรบั ประกันคุณภาพ การเปล่ยี นชอ่ งทางการจำ�หนา่ ย 5) ผู้เรียนศึกษาแนวทางการเพ่ิมมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือวิธีการ จากหัวข้อ 3.1 การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี เพ่ือใช้เป็นข้อมูล ประกอบการทำ�กิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง การเพ่ิมมูลค่าให้กับเทคโนโลยี โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ตาม ความเหมาะสมหรอื คละความสามารถ จากนน้ั ใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ ชว่ ยกนั ระดมความคดิ โดยยกตวั อยา่ งเทคโนโลยมี า 1 อยา่ ง ซง่ึ เทคโนโลยี นน้ั อาจเปน็ สงิ่ ของเครอื่ งใชใ้ นชวี ติ ประจ�ำ วนั หรอื เปน็ ผลติ ภณั ฑข์ องชมุ ชน แลว้ วเิ คราะหว์ า่ หากตอ้ งการเพมิ่ มลู คา่ ใหก้ บั เทคโนโลยี เพอ่ื ใหส้ ามารถขายได้ในเชิงพาณิชย์ จะมขี อ้ เสนอแนะเกยี่ วกบั แนวทางในการเพิม่ มลู คา่ อยา่ งไร 6) แต่ละกลุ่มออกมานำ�เสนอผลการวิเคราะห์ โดยเปิดโอกาสให้เพ่ือนในห้องซักถามเกี่ยวกับประเด็นที่สงสัย หรือให้ ข้อเสนอแนะอนื่ ๆ เพ่มิ เตมิ ทงั้ นีผ้ ู้สอนอาจกำ�หนดใหแ้ ตล่ ะกล่มุ ซักถามหรือใหข้ ้อเสนอแนะกลมุ่ ละ 1 ประเด็น ขอ้ เสนอแนะเพมิ่ เตมิ ในการน�ำ เสนอของผเู้ รยี น ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งเปน็ รปู แบบการน�ำ เสนอหนา้ ชนั้ เพยี งอยา่ งเดยี ว ผสู้ อน อาจมวี ธิ กี ารน�ำ เสนอแบบอน่ื รว่ มดว้ ย เชน่ การเดนิ ชมผลงาน (gallery walk) การจบั คเู่ พอ่ื แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ (Think-Pair-Share) การใชส้ อื่ ออนไลน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรูท้ ่ี 3 | เทคโนโลยเี พม่ิ มลู คา่ 87 7) ผสู้ อนนำ�เขา้ สูก่ ิจกรรมในหัวขอ้ 3.2 เปดิ โลกทรัพย์สินทางปญั ญา โดยยกตัวอย่างผลิตภัณฑห์ รือธรุ กจิ เกีย่ วกับบรกิ าร ท่ีพบเห็นได้ทั่วไป แล้วตั้งคำ�ถามกับผู้เรียนเพ่ือให้ร่วมอภิปรายว่า เมื่อสังเกตผลิตภัณฑ์หรือบริการจะเห็นว่าต่างมีช่ือทางการค้า เคร่อื งหมายทางการคา้ หรือโลโก้ท่แี ตกตา่ งกนั ไป นกั เรียนคดิ วา่ เพราะเหตุใดจงึ เป็นเชน่ นั้น แนวค�ำ ตอบ เพอ่ื แสดงความเปน็ เจา้ ของใหผ้ บู้ รโิ ภคจดจ�ำ ได้ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความแตกตา่ งของผลติ ภณั ฑป์ อ้ งกนั ความสบั สน แก่ผบู้ ริโภค เพ่ือแสดงถงึ แหล่งท่มี า 8) ผสู้ อนใหต้ วั แทนกลมุ่ (อาจแบง่ กลมุ่ ใหมโ่ ดยคละความสามารถหรอื ใชก้ ลมุ่ เดมิ จากกจิ กรรมทผ่ี า่ นมา) ออกมาจบั สลาก บัตรภาพ 1 ใบต่อกลุ่ม แล้วร่วมกันระดมความคิดภายในกลุ่มว่า ผลิตภัณฑ์ในภาพจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด เพราะเหตใุ ด 9) แตล่ ะกลมุ่ ออกมาน�ำ เสนอผลการระดมความคดิ ของกลมุ่ โดยผสู้ อนและผเู้ รยี นกลมุ่ อน่ื ๆ รว่ มกนั อภปิ รายผลการน�ำ เสนอ ของกล่มุ นน้ั ๆ โดยใช้เนอ้ื หาในหัวขอ้ 3.2 เปดิ โลกทรพั ย์สินทางปัญญา ประกอบการอภิปราย ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อกระชับเวลาและเป็นการทบทวนความเข้าใจของผู้เรียน ผู้สอนควรมอบหมายให้ผู้เรียน ศึกษาหวั ข้อ 3.2 เปิดโลกทรพั ยส์ ินทางปญั ญา เป็นการบ้านหรอื นอกเวลาเรียนมาก่อนทำ�กจิ กรรมจับสลากบตั รภาพ 10) เมอ่ื ทกุ กลุ่มน�ำ เสนอเสร็จแลว้ ผูเ้ รยี นและผสู้ อนร่วมกนั อภปิ รายโดยใชค้ ำ�ถามชวนคดิ ในหนังสือเรยี นดังน้ี 1. ผู้เรียนคิดว่าทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธ์ิ มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน อยา่ งไรบา้ ง อภิปราย แนวคำ�ตอบ ตามความหมายของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ ลิขสิทธ์ิจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองประเภท และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด ความคมุ้ ครองประเภทยอ่ ยแตล่ ะชนดิ ทรพั ยส์ นิ ทางอตุ สาหกรรมแบง่ ไดเ้ ปน็ สทิ ธบิ ตั ร อนสุ ทิ ธบิ ตั ร เครอ่ื งหมายการคา้ ชอ่ื ทางการคา้ ความลบั ทางการคา้ แบบผงั ภมู ขิ องวงจรรวม และสง่ิ บง่ ชที้ างภมู ศิ าสตร์ ซงึ่ จะตอ้ งจดทะเบยี นตามประเภทนน้ั ๆ กบั กรมทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา หรอื ส�ำ นกั งานพาณชิ ยจ์ งั หวดั ทว่ั ประเทศ จงึ จะไดร้ บั ความคมุ้ ครองทางกฎหมาย สว่ นลขิ สทิ ธแ์ิ บง่ ไดเ้ ปน็ วรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม นาฏกรรม ภาพยนตร์ โสตทศั นวสั ดุ สงิ่ บนั ทกึ เสียง งานแพรเ่ สยี งแพร่ภาพ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วทิ ยาศาสตร์ หรอื ศลิ ปะ ผลงานลิขสทิ ธิ์เมอ่ื สร้างสรรคอ์ อกมาแล้วจะได้รบั ความคุ้มครองตามกฎหมายโดยไมต่ ้องจดทะเบียน 2. ร้านอาหารแหง่ หน่ึงในประเทศไทย เปดิ ให้บรกิ ารจ�ำ หนา่ ยอาหารประเภทก๋วยเตย๋ี ว โดยมลี ักษณะการใหบ้ รกิ ารที่ คล้ายกับร้านอาหารประเภทเดียวกันในต่างประเทศ ซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิบัตรเฉพาะในประเทศน้ัน แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรใน ประเทศไทย ใหผ้ เู้ รยี นวเิ คราะหว์ า่ รา้ นอาหารดงั กลา่ วในประเทศไทยไดล้ ะเมดิ สทิ ธบิ ตั รรา้ นอาหารของตา่ งประเทศหรอื ไม่ อยา่ งไร อภปิ ราย แนวคำ�ตอบ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตรจะมีผลคุ้มครองเฉพาะในประเทศท่ีผู้ผลิต ไปจดทะเบยี นเท่านนั้ ไมไ่ ด้คมุ้ ครองในต่างประเทศ รา้ นดังกลา่ วจึงไมไ่ ดล้ ะเมดิ สทิ ธบิ ตั รของรา้ นอาหารตา่ งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

88 แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 3 | เทคโนโลยีเพ่ิมมลู ค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 3. ถ้าผู้เรียนเป็นเจ้าของธุรกิจแห่งหน่ึงในประเทศไทย และได้จดสิทธิบัตรท่ีเก่ียวข้องกับการประกอบธุรกิจ ในประเทศไทยแล้ว ต่อมามีชาวต่างชาติมาพบเห็นและชอบแนวคิด รวมท้ังลักษณะการทำ�ธุรกิจของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ชาวตา่ งชาตคิ นนน้ั สามารถจดสทิ ธบิ ตั รธรุ กจิ เดยี วกบั ของผเู้ รยี นในประเทศของเขาไดห้ รอื ไม่ ผเู้ รยี นจะมวี ธิ กี ารคมุ้ ครองสทิ ธบิ ตั ร ของตนเองไดอ้ ย่างไร อภปิ ราย แนวค�ำ ตอบ หากผเู้ รยี นไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี นสทิ ธบิ ตั รในตา่ งประเทศ ชาวตา่ งชาตไิ มว่ า่ ชาตใิ ดสามารถท�ำ ธรุ กจิ ตลอด จนจดทะเบียนสทิ ธิบัตรในประเทศของเขาได้ ดงั นน้ั เมอ่ื ผู้เรยี นประดิษฐ์คดิ ค้นผลงานได้แล้ว จงึ ควรไปจดทะเบียนสทิ ธบิ ัตรใน ตา่ งประเทศ หรือจดทะเบียนกบั หนว่ ยงานที่ดแู ลสิทธิบัตรทวั่ โลก ไดแ้ ก่ องคก์ ารทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในประเทศที่เป็นสมาชิกของ WIPO หรือเป็นภาคี อนุสญั ญา/มคี วามตกลงดา้ นทรพั ยส์ ินทางปัญญาระหว่างประเทศ 4. ผ้เู รียนคดิ วา่ กรณตี วั อยา่ งต่อไปน้เี ปน็ การละเมดิ ทรัพยส์ ินค้าปัญญาหรอื ไม่ อยา่ งไร (1) การซ้อื ขายหรือทำ�ส�ำ เนาแผน่ CD, DVD เพลง ภาพยนตรท์ พ่ี บเห็นทัว่ ไป แนวคำ�ตอบ ผลงานที่มีลิขสิทธ์ิ เช่น แผ่น CD, DVD เพลง ภาพยนตร์ ผู้ซ้ือจะได้กรรมสิทธิ์ในผลงานนั้น ซ่งึ สามารถซ้ือขายแลกเปลยี่ นไดเ้ หมอื นทรัพยส์ ินอืน่ ๆ ทว่ั ไป (ยกเว้นกรณกี ารประกอบกิจการใหเ้ ช่า แลกเปล่ยี น หรอื จำ�หนา่ ย ภาพยนตร/์ วดี ทิ ศั นจ์ ะตอ้ งไดร้ บั อนญุ าตตามพระราชบญั ญตั ภิ าพยนตรแ์ ละวดี ทิ ศั น์ พ.ศ. 2551 ผฝู้ า่ ฝนื อาจโดนโทษปรบั เปน็ เงนิ จำ�นวนมากได้) แต่การทำ�ซำ้� ดัดแปลง แก้ไขหรือเผยแพร่ส่วนหน่ึงส่วนใดหรือทั้งหมดของผลงานนั้นโดยผู้ท่ีไม่ได้เป็นเจ้าของ ลขิ สทิ ธ์ิ จะตอ้ งพจิ ารณาแตล่ ะกรณไี ป เนอ่ื งจากเจา้ ของลขิ สทิ ธเ์ิ ปน็ ผมู้ สี ทิ ธก์ิ ระท�ำ การดงั กลา่ วเพยี งผเู้ ดยี ว แมก้ ฎหมายจะเปดิ โอกาส ให้สามารถน�ำ ผลงานลขิ สทิ ธไิ์ ปใชไ้ ด้ตามหลกั ความชอบธรรม (fair use) แตจ่ ะตอ้ งไมท่ �ำ ใหเ้ จา้ ของลิขสทิ ธเ์ิ สยี ประโยชนอ์ นั พงึ มี พึงได้จากผลงานน้ัน เช่น ไม่สามารถทำ�ซำ้�เพ่ือการค้าขาย และไม่สามารถทำ�ซำ้�ผลงานในปริมาณมากเกินควรจนทำ�ให้เจ้าของ ลขิ สทิ ธเิ์ สยี ประโยชน์ ดงั นนั้ ผตู้ อ้ งการท�ำ ซ�ำ้ ดดั แปลง แกไ้ ขหรอื เผยแพรผ่ ลงานลขิ สทิ ธไ์ิ ปใชป้ ระโยชนจ์ งึ ควรขออนญุ าตเจา้ ของ ลขิ สิทธิก์ ่อน (2) การถา่ ยเอกสารจากบทความ หรือหนังสอื เพอื่ ท�ำ รายงานสง่ ครู และน�ำ เสนอในช้นั เรยี น แนวคำ�ตอบ ผลงานเอกสาร บทความ หรือหนังสือเป็นผลงานลิขสิทธ์ิ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถทำ�ซ้ำ�หรือ ท�ำ ส�ำ เนาผลงานไดเ้ พยี งผเู้ ดยี ว แมก้ ฎหมายจะเปดิ โอกาสใหส้ ามารถน�ำ ผลงานลขิ สทิ ธไ์ิ ปใชไ้ ดต้ ามหลกั ความชอบธรรม (fair use) แต่จะต้องไม่ทำ�ให้เจ้าของลิขสิทธ์ิเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้จากผลงานน้ัน เช่น ไม่สามารถทำ�สำ�เนาเพ่ือการค้าขายได้ และ ไม่สามารถทำ�สำ�เนาผลงานในปริมาณมากเกินควรจนทำ�ให้เจ้าของลิขสิทธ์ิเสียประโยชน์ ดังน้ัน ผู้ต้องการท�ำ ซ�ำ้ ผลงานลิขสิทธิ์ ไปใชป้ ระโยชนจ์ ึงควรขออนุญาตเจา้ ของลิขสทิ ธก์ิ อ่ น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 3 | เทคโนโลยเี พ่มิ มูลคา่ 89 (3) ผู้เรียนเป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่ง และซ้ือแผ่น CD/DVD เพลงและภาพยนตร์ท่ีมีลิขสิทธ์ิตามกฎหมาย มาเปดิ ให้ลูกค้าฟงั และชมในร้านของตนเอง แนวค�ำ ตอบ ผทู้ ไ่ี ม่ใช่เจ้าของผลงานลิขสิทธท์ิ กุ คน เมือ่ ซ้ือผลงานนน้ั มาแลว้ สามารถใช้เพ่ือประโยชนส์ ว่ นตวั เทา่ นนั้ เนอื่ งจากการเผยแพรผ่ ลงานลขิ สทิ ธต์ิ อ่ สาธารณะ เจา้ ของลขิ สทิ ธสิ์ ามารถท�ำ ไดเ้ พยี งผเู้ ดยี ว หากเจา้ ของลขิ สทิ ธมิ์ องวา่ การ เผยแพรผ่ ลงานในรา้ นเปน็ สว่ นหนงึ่ ของการประกอบธรุ กจิ การคา้ ซงึ่ ท�ำ ใหเ้ จา้ ของลขิ สทิ ธเิ์ สยี ประโยชนก์ จ็ ะเปน็ การละเมดิ ลขิ สทิ ธ์ิ ดงั นั้น ผู้ต้องการเผยแพรผ่ ลงานลขิ สทิ ธใิ์ นร้านจงึ ควรขออนุญาตเจา้ ของลขิ สิทธกิ์ ่อน (4) ผ้เู รียนสรา้ งสรรคผ์ ลงานหนงั สอื “รวมทกุ ท่ที ่องเทีย่ วในประเทศไทย” โดยไดข้ ออนุญาตเจ้าของภาพถ่ายสถานที่ ท่องเท่ียวทั่วประเทศไทยจากอินเทอร์เน็ตท้ังหมดที่ไปรวบรวมมาเพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือสำ�หรับอ่านส่วนตัว แต่ก็มีคนมาเห็น และขอซ้ือดว้ ยความจำ�เปน็ ผูเ้ รยี นจึงขายในราคาถูก แนวคำ�ตอบ แมผ้ ูเ้ รียนจะขออนญุ าตเจ้าของภาพถ่ายอนั เป็นผลงานลิขสิทธเิ์ รียบร้อยแลว้ หากไมไ่ ดต้ กลงกนั เป็นอย่างอ่ืน เจ้าของลิขสิทธ์ิอนุญาตเฉพาะสำ�หรับการจัดทำ�เพ่ือใช้ประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่ใช่เพ่ือการค้าขาย เมื่อผู้เรียนขาย ผลงานนน้ั ไมว่ า่ ราคาเทา่ ใดกจ็ ะเปน็ การละเมดิ ลขิ สทิ ธิ์ รวมทงั้ การพมิ พแ์ จกฟรกี ต็ อ้ งขออนญุ าตเจา้ ของลขิ สทิ ธกิ์ อ่ นพมิ พท์ กุ ครง้ั 11) ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมว่าผลิตภัณฑ์หนึ่งชนิดอาจประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการ จดทะเบียนคุ้มครองของผู้ผลิต รวมทั้งการขอรับมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครอง ทางกฎหมายตามประเภทน้ัน โดยยกตวั อยา่ งผลิตภัณฑ์ในรูป 3.16 ในหนังสือเรียนเปน็ ตัวอยา่ งประกอบการอธบิ าย 12) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมท่ี 3.2 เร่ืองช่วยนนท์และนำ้�หวานค้นหาและจัดประเภททรัพย์สินทางปัญญา จากภาพ สถานการณใ์ นรา้ นขา้ วมนั ไกป่ า้ หมอน จากนน้ั สง่ ตวั แทนออกมาน�ำ เสนอ โดยเปดิ โอกาสใหเ้ พอ่ื นกลมุ่ อน่ื ซกั ถามหรอื ใหข้ อ้ เสนอแนะ เพมิ่ เติม 13) ในระหวา่ งทแ่ี ตล่ ะกลมุ่ น�ำ เสนอ ใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ เปรยี บเทยี บผลการน�ำ เสนอของกลมุ่ เพอ่ื นกบั กลมุ่ ของตนเองวา่ มปี ระเดน็ ใด ที่แตกต่างหรือน่าสนใจบ้าง จากนั้นให้เขียนประเด็นการวิเคราะห์อ่ืน ๆ เพ่ิมเติมลงไปในใบบันทึกกิจกรรมของกลุ่มตนเอง ให้สมบูรณ์ 14) ผเู้ รยี นศกึ ษาหวั ขอ้ 3.2.3 กรณศี กึ ษาผลงานการประดษิ ฐแ์ ละการออกแบบผลติ ภณั ฑ์ โดยเนน้ ประเดน็ เรอื่ งจดุ เดน่ ของ ผลงานในแตล่ ะกรณศี กึ ษาเพอื่ ใหเ้ หน็ วา่ การทจ่ี ะน�ำ ผลติ ภณั ฑห์ รอื วธิ กี ารไปจดทะเบยี นทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญานน้ั จ�ำ เปน็ ตอ้ งท�ำ ให้ มคี วามแตกต่างจากของเดิมที่มีอยโู่ ดยท่ไี มล่ ะเมิดความคดิ ของผูอ้ น่ื 15) ผเู้ รยี นแตล่ ะกลมุ่ ท�ำ กจิ กรรมทา้ ยบท เรอ่ื ง เพม่ิ มลู คา่ ผลงานตนเอง โดยน�ำ ผลงานของกลมุ่ ตนเองทไ่ี ดพ้ ฒั นาจากบทท่ี 2 มาวเิ คราะหว์ า่ เปน็ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาประเภทใด และใหเ้ สนอแนวทางการพฒั นาผลงานของตนเอง โดยสรปุ เปน็ จดุ เดน่ ของผลงาน ทีส่ ามารถนำ�ไปสกู่ ารจดทะเบยี นทรพั ยส์ ินทางปญั ญาได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

90 แผนการจดั การเรียนรูท้ ่ี 3 | เทคโนโลยีเพมิ่ มูลคา่ คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 16) แต่ละกล่มุ นำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรมทา้ ยบท โดยเปิดโอกาสให้เพือ่ นกลุ่มอน่ื ซักถามหรือใหข้ ้อเสนอแนะ 17) ผู้เรียนร่วมกับผู้สอนสรุปกิจกรรมทั้งหมดว่า ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถเพ่ิมมูลค่าให้กับผลงานของตนได้ ตลอดจน สามารถแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นเงินทุนเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย เมื่อตระหนักรู้ว่าปัญญาหรือความคิดของ ตนเองเป็นทรัพย์สินท่ีมีมูลค่าแล้ว ปัญญาหรือความคิดของผู้อ่ืนก็มีมูลค่าเช่นกัน ดังน้ัน จึงควรหลีกเล่ียงการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาของผอู้ ื่นดว้ ย 8. การวัดและประเมินผล รายการประเมิน วิธกี ารวัด เคร่อื งมือท่ีใช้วัด เกณฑก์ ารประเมนิ การผ่าน ตรวจ แบบประเมิน คะแนน 7-9 หมายถึง ดี 1. การอธบิ ายความรู้เก่ียวกับ กจิ กรรมที่ 3.2 คะแนน 4-6 หมายถึง พอใช้ การเพิ่มมูลคา่ เทคโนโลยีและ ใบกิจกรรม คะแนน 1-3 หมายถงึ ปรบั ปรงุ ทรัพยส์ ินทางปัญญา แบบประเมนิ ตรวจ กิจกรรมท่ี 3.1 ผู้เรยี นได้ระดบั คณุ ภาพ พอใช้ 2. การวิเคราะห์และเสนอแนวทาง ใบกิจกรรม แบบประเมิน ข้ึนไป ถอื วา่ ผ่าน การเพิม่ มลู ค่าเทคโนโลยี กจิ กรรมท้ายบท ตรวจ ผู้เรยี นไดร้ ะดับคุณภาพ 3. การประยกุ ต์ใชค้ วามรเู้ กย่ี วกับ ใบกจิ กรรม แบบสังเกต พอใช้ ขนึ้ ไป ถอื วา่ ผ่าน ทรพั ย์สนิ ทางปญั ญาในการ พฤติกรรม (ดเู กณฑ์การประเมิน พัฒนาผลงาน การสงั เกต ในภาคผนวก) พฤติกรรม 4. ทกั ษะการส่อื สาร 5. ทกั ษะการคดิ อย่างมี วจิ ารณญาณ 6. ทกั ษะการท�ำ งานรว่ มกบั ผอู้ น่ื สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 3 | เทคโนโลยเี พม่ิ มลู ค่า 91 เกณฑก์ ารประเมิน 3 ระดับคะแนน 1 ประเดน็ การประเมนิ ยกตัวอย่างส่งิ ทเ่ี ป็นและ 2 ยกตวั อย่างสงิ่ ทเี่ ปน็ และ ไม่เป็นทรพั ยส์ นิ ทาง ไมเ่ ปน็ ทรัพยส์ ินทาง 1. การอธบิ ายความ ปัญญาจากสถานการณ์ ยกตวั อย่างส่ิงท่ีเปน็ และ ปญั ญาจากสถานการณ์ รเู้ กยี่ วกับการเพ่ิม ทกี่ �ำ หนด พร้อมบอก ไม่เปน็ ทรัพยส์ นิ ทาง ที่ก�ำ หนด พรอ้ มบอก มลู ค่าเทคโนโลยีและ ประเภทยอ่ ยได้ถูกต้อง ปัญญาจากสถานการณ์ ประเภทยอ่ ยได้ 1-2 ทรัพยส์ ินทางปัญญา ครบถ้วน มากกวา่ 4 ทก่ี ำ�หนด พรอ้ มบอก อยา่ ง อย่าง ประเภทยอ่ ยได้ 3-4 2. การวิเคราะห์และ อย่าง ยกตัวอย่างเทคโนโลยี เสนอแนวทางการ ยกตวั อย่างเทคโนโลยี พรอ้ มเสนอแนะแนวทาง เพ่มิ มูลคา่ เทคโนโลยี พรอ้ มเสนอแนะแนวทาง ยกตวั อย่างเทคโนโลยี การเพ่ิมมลู คา่ ได้ การเพิม่ มูลคา่ ได้ พรอ้ มเสนอแนะแนวทาง 3. การประยกุ ต์ใช้ ครบถ้วน สมบรู ณ์ และ การเพ่มิ มลู ค่าได้ ตรวจสอบผลงานตนเอง ความรเู้ กย่ี วกบั มรี ายละเอียดท่ชี ดั เจน ครบถ้วน วา่ มีการละเมดิ ทรัพยส์ ิน ทรัพย์สินทางปัญญา ทางปัญญาได้ และเขียน ในการพฒั นาผลงาน ตรวจสอบผลงานตนเอง ตรวจสอบผลงานตนเอง จุดเด่นของแนวทางใน วา่ มีการละเมิดทรพั ย์สิน ว่ามกี ารละเมิดทรัพย์สนิ การปรบั ปรงุ พัฒนา ทางปัญญาไดถ้ กู ตอ้ ง และ ทางปญั ญาได้ถกู ตอ้ ง และ ผลงานได้ เขียนจดุ เด่นของแนวทาง เขยี นจดุ เดน่ ของแนวทาง ในการปรับปรงุ พัฒนา ในการปรบั ปรงุ พัฒนา ผลงานได้อย่างครบถว้ น ผลงานได้ สมบรู ณ์ เกณฑก์ ารตดั สินระดับคณุ ภาพ คะแนน 7 - 9 คะแนน หมายถึง ระดับคุณภาพ ดี คะแนน 4 - 6 คะแนน หมายถงึ ระดับคณุ ภาพ พอใช้ คะแนน 1 - 3 คะแนน หมายถึง ระดับคณุ ภาพ ปรบั ปรงุ ** เกณฑ์การวัดและประเมินผลสามารถปรบั เปล่ียนได้ตามความเหมาะสม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

92 แผนการจดั การเรียนร้ทู ่ี 3 | เทคโนโลยีเพม่ิ มลู ค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี 9. แหลง่ เรียนรู้ กรมการคา้ ภายใน (Department of Internal Trade: DIT, https://www.dit.go.th/ และ กรมพฒั นาธรุ กจิ การ คา้ (Department of Business Development: DBD, https://www.dbd.go.th/index.php) กระทรวงพาณชิ ย์ ถนนนนทบรุ ี ต�ำ บลบางกระสอ อำ�เภอเมือง จงั หวดั นนทบรุ ี 11000 กรมทรพั ย์สินทางปัญญา (Department of Intellectual Property: DIP, https://www.ipthailand.go.th/th/ home.html) กระทรวงพาณชิ ย์ ถนนนนทบุรี ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมอื ง จังหวดั นนทบุรี 11000 10. ขอ้ เสนอแนะ 10.1 การอภปิ รายของผเู้ รยี นในกจิ กรรมของบทเรยี นนน้ั ไมไ่ ดม้ จี ดุ ประสงคเ์ พอื่ หาผแู้ พห้ รอื ผชู้ นะ แตผ่ สู้ อนควรใหผ้ เู้ รยี น หาเหตุผลมาสนบั สนุนความคิดและหักล้างเหตผุ ลของเพอื่ น 10.2 ในการน�ำ เสนอของผเู้ รยี น ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งเปน็ รปู แบบการน�ำ เสนอหนา้ ชน้ั เพยี งอยา่ งเดยี ว ผสู้ อนอาจมวี ธิ กี ารน�ำ เสนอ แบบอืน่ รว่ มดว้ ย เช่น 1) การเดินชมผลงาน (gallery walk) โดยให้แต่ละกลุ่มเขียนผลงานลงในกระดาษปรู๊ฟ จากนั้นติดไว้บริเวณรอบ ๆ ห้องเรยี น เพ่ือใหเ้ พ่อื นกลมุ่ อ่ืนได้เดินเวยี นชมผลงาน พรอ้ มกบั ให้ผูช้ มเขียนขอ้ เสนอแนะ ข้อสงสยั หรือส่งิ ท่ชี อบ ลงบนกระดาษ โพสต์อทิ แลว้ ติดไว้ทีก่ ระดาษปรฟู๊ ของกลุ่มน้ัน ๆ เพื่อเปน็ การสะท้อนความคดิ และแลกเปล่ยี นเรียนรซู้ ึ่งกันและกัน 2) คดิ เดยี่ ว-คดิ ค-ู่ แลกเปลยี่ นเรยี นรู้ (think-pair-share) โดยใหแ้ ตล่ ะคนคดิ หาค�ำ ตอบในประเดน็ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย จากน้ันจับคู่กับเพ่ือนในห้องเพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกัน แล้วร่วมกันบันทึกคำ�ตอบท่ีได้ หรืออาจสลับคู่กับเพ่ือนคนอื่นไป เรอื่ ย ๆ เพือ่ ให้ได้แนวคดิ ทหี่ ลากหลาย แล้วบนั ทึกคำ�ตอบทไ่ี ดเ้ พม่ิ เติม 3) การใช้สื่อออนไลน์ โดยให้แต่ละกลุ่มนำ�ผลงานอัพโหลดขึ้นบนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่น Facebook, Blog จากน้ันเปิดโอกาสให้เพื่อนคนอื่น ๆ สามารถเข้าไปชมผลงานและเขียนข้อเสนอแนะ หรือข้อสงสัยต่าง ๆ เพือ่ ใหไ้ ดข้ ้อมลู มาใชใ้ นการปรบั ปรงุ แกไ้ ขงานให้ดขี ึ้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรยี นรูท้ ่ี 3 | เทคโนโลยเี พิม่ มลู ค่า 93 11. แนวค�ำ ตอบกิจกรรม กจิ กรรมที่ 3.1 เพิ่มมูลค่าใหก้ บั เทคโนโลยี นักเรียนยกตัวอย่างเทคโนโลยีท่ีพบเห็นในชีวิตประจำ�วันมา 1 ผลงาน พร้อมท้ังเสนอแนะแนวทางในการ เพ่ิมมลู คา่ ใหก้ บั เทคโนโลยีนั้นไดอ้ ย่างไรบา้ ง อภปิ ราย แนวค�ำ ตอบ . ... ........ต..วั ..อ..ย..า่..ง..เ.ท..ค...โ.น...โ.ล..ย..ที...พี่ ..บ...เ.ห...น็ ..ใ..น..ช..วี..ติ...ป..ร..ะ..จ..�ำ..ว..นั ...ไ..ด..แ้ ..ก..่.ภ...า..ช..น..ะ..โ..ฟ..ม...แ..ล..ะ..พ...ล..า..ส..ต..ก.ิ ..บ..ร..ร..จ..อุ..า..ห...า.ร...แ..น...ว..ท..า..ง..ก..า..ร..เ.พ...ม่ิ ..ม..ลู...ค..า่ โ..ด..ย..ใ..ช..ว้..ิธ..กี...า.ร..เ..ป..ล..ี่ย...น..บ...ร..ร..จ..ภุ ..ณั...ฑ...์ใ..ห..เ้.ป...็น..ม...ิต..ร..ก..ับ...ส..ง่ิ..แ..ว..ด..ล...้อ..ม............................................................................................. .... ........ป..ัจ..จ..บุ...ัน...จ..ะ..เ.ห...็น..ร..า้ ..น..ค...า้ ..ต..า่ ..ง...ๆ...น...ำ�..ภ..า..ช..น...ะ..ป...ร..ะ..เ.ภ..ท...โ.ฟ...ม....แ..ล..ะ..พ...ล..า..ส..ต...กิ ..ม..า..บ...ร..ร..จ..อุ ..า..ห..า..ร..ห...ร..ือ..ข..น...ม...ซ...งึ่ .ก...่อ..ใ.ห...้เ.ก..ิด...ม..ล..พ...ษิ.. ต...่อ..ส..งิ่..แ..ว..ด...ล..อ้ ..ม....เ.น..อ่ื...ง.จ...า.ก...โ.ฟ...ม..แ..ล...ะ..พ...ล..า..ส..ต..กิ...ใ.ช..เ้..ว..ล..า..ใ.น...ก..า..ร..ย..่อ..ย..ส...ล..า..ย..น...า.น...แ..ล..ะ...อ..า..จ..ม..สี...า.ร..พ...ษิ...จ..า..ก..ก..ร..ะ..บ...ว..น..ก...า..ร.ผ...ล..ิต..ภ...า..ช..น...ะ. เ..ห..ล...่า.น...้ีร..่ัว..ไ.ห...ล..ส..ู่ส...่ิง.แ...ว..ด..ล..้อ...ม..ไ.ด...้ .น...อ..ก..จ...า..ก..น..้ี..ข..้อ...ม..ูล..จ..า..ก...ก..ร..ม..ค...ว..บ..ค..ุม...ม..ล...พ..ิษ.....ก..ร..ะ..ท..ร..ว..ง..ท...ร..ัพ..ย...า.ก...ร..ธ..ร..ร..ม..ช..า..ต...ิแ..ล..ะ..ส..่ิง..แ..ว..ด...ล..้อ..ม.. ร..ะ..บ...วุ ..า่ ..ป..ี.พ.....ศ.....2..5...5..9...ป...ร..ะ..เ.ท...ศ..ไ.ท...ย..ม..ขี...ย..ะ..ป..ร..ะ..เ.ภ...ท..โ..ฟ..ม...แ..ล..ะ..พ...ล..า..ส..ต..กิ...ป..ร..ะ..ม..า..ณ.....3....1...ล..า้..น...ต..นั ...ห...ร..อื ..ป..ร..ะ..ม...า..ณ....8..,.4..0...0...ต..นั...ต..อ่..ว..นั.. .ซ..ึ่ง..ท..ำ�..ใ..ห..้เ..ก..ิด..ป...ัญ...ห...า..ด..้า..น...ก..า..ร..จ..ัด...ก..า..ร..ข..ย...ะ..แ..ล..ะ...ป..ัญ....ห..า..ด..้.า.น...ส..่ิง..แ..ว...ด..ล..้อ...ม.....ด...ัง..น..ั้น....จ...ึง.น...ำ�..เ.ส...น..อ...แ..น..ว..ท...า..ง..ก..า..ร..เ.พ...่ิม...ม..ูล..ค...่า..ใ.ห...้ก..ับ.. .เ.ท..ค...โ.น...โ.ล..ย..ีโ..ด..ย..ก...า..ร.เ..ป..ล..ี่ย...น..ม...า..ใ.ช..้บ...ร..ร..จ..ภุ ..ัณ....ฑ..์จ..า..ก...ธ..ร..ร..ม..ช..า..ต..ิ..เ.ช...่น....ใ.บ...จ..า..ก...ใ..บ..ต...อ..ง...ส...ำ�.ห...ร..บั ..บ...ร..ร..จ..ุอ..า..ห...า..ร.แ...ท..น...ก..า..ร..ใ.ช...โ้ .ฟ...ม..แ..ล...ะ. พ...ล...า.ส...ต..กิ ...โ..ด..ย..ต...ก..แ..ต...่ง.ใ..ห..้ม...คี ..ว..า..ม..ส...ว.ย...ง.า..ม...ซ..ึง่..น..อ...ก..จ..า..ก..จ..ะ...ส..า..ม..า..ร..ถ..ย..่อ...ย..ส..ล..า..ย..ไ..ด..เ้.อ...ง..ใ.น..ธ...ร.ร..ม...ช..า..ต..ิแ...ล..้ว...ย..งั..ท..ำ�..ใ..ห..้อ...า.ห...า..ร..ท..บี่...ร..ร..จ.ุ ด...นู ..า่..ร..บั...ป..ร..ะ..ท...า..น...ส..า..ม..า..ร..ถ...จ..�ำ ..ห..น...า่ .ย...บ..ร..ร..จ..ภุ...ณั ...ฑ...ไ์ .ด..ท้...ง้ั ..เ.ป..น็...ข..อ..ง..ท...รี่ ..ะ..ล..กึ ...แ..ล..ะ...จ..�ำ ..ห..น...า่ .ย...พ..ร..อ้...ม..อ..า..ห...า..ร.ไ..ด..อ้..กี...ด..ว้ ..ย...จ..งึ..เ.ป...น็ ..ก...า.ร..เ.พ...มิ่.. ม...ลู ..ค...่า.ใ..ห..ก้...ับ..ผ...ล..ิต..ภ...ัณ...ฑ...์ด..ัง..ก..ล..า่..ว...................................................................................................................................... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

94 แผนการจดั การเรยี นร้ทู ่ี 3 | เทคโนโลยเี พิม่ มูลค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี กิจกรรมที่ 3.2 ชว่ ยนนทแ์ ละน�้ำ หวานค้นหาและจดั ประเภททรพั ยส์ ินทางปญั ญา นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ วเิ คราะหส์ ถานการณแ์ ละ ป�าขห�าวมมันอไกน� ภาพตวั อย่างตอ่ ไปน้ี “นนทแ์ ละน�ำ้ หวานเขา้ มารบั ประทาน ปา� หขา� มวมอนั ไนก� อาหารในรา้ นขา้ วมนั ไกป่ า้ หมอน น�้ำ หวานจงึ ป�าหขา� มวมอันไนก� สงสยั วา่ การเปดิ รา้ นขายขา้ วมนั ไกข่ องปา้ หมอน รวมท้ังสิ่งของเครื่องใช้ และทรัพย์สินอื่น ๆ ในรา้ นข้าวมันไกน่ ี้ มปี ระเดน็ ใดบา้ งท่ีจัดเปน็ และไม่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา จัดเป็น ท รั พ ย์ สิ น ท า ง ปั ญ ญ า ก ลุ่ ม ท รั พ ย์ สิ น ท า ง อตุ สาหกรรม หรอื กลมุ่ ลขิ สทิ ธิ์ เพราะเหตใุ ด” ใหน้ กั เรยี นยกตวั อยา่ งประเดน็ หรอื สง่ิ ทอี่ ยใู่ นรา้ นขา้ วมนั ไกข่ องปา้ หมอนวา่ มสี ง่ิ ใดบา้ งทเ่ี ปน็ หรอื ไมเ่ ปน็ ทรพั ยส์ นิ ทางปัญญา ในตารางดา้ นลา่ ง แนวคำ�ตอบ เป็นทรพั ยส์ นิ เป็นกลุ่มทรพั ย์สนิ ประเดน็ การวเิ คราะห์ ทางปัญญา ทางอุตสาหกรรม เหตุผล หรือไม่ หรอื กลุม่ ลิขสิทธิ์ 1.... .ป..า้..ย..ช..อ่ื ..ร.้า..น................. .........เ.ป..็น.......... .......ท..ร..ัพ..ย..ส์ ..นิ ..ท...า.ง........ .ช..อ่ื ..ร.า้..น..จ..ดั ..เ.ป..น็ ..ช..อ่ื ..ท..า..ง.ก..า..ร.ค..า้..ป...า้ .ย..ช..อ่ื ..ร.า.้ .น..จ..ดั..เ.ป..น็..เ.ค..ร..อ่ื ..ง.ห..ม..า..ย... ....“.ข..้า..ว..ม..นั ..ไ.ก..่ป..า้..ห..ม..อ..น..”.... ...................... .......อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร..ร.ม......... .ท..า..ง.ก..า..ร.ค...้า...ป..ร.ะ..เ.ภ...ท..เ.ค..ร..ื่อ..ง.ห..ม..า..ย..บ..ร..ิก..า..ร...ซ..ึ่ง.ท..้ั.ง.ส..อ..ง..อ..ย..่า.ง..น..ี้ . .ถ..้า.ห...า.ก..จ..ด..ท..ะ..เ.บ...ีย..น..จ..ึง.จ..ะ..ไ.ด..้ร..ับ..ค..ว..า..ม..ค..ุ้ม..ค..ร..อ..ง.ท...า.ง..ก..ฎ..ห..ม..า..ย... .ต..ัว..ป..้า..ย..อ..า.จ..จ..ัด..เ..ป..็น..ผ..ล..ง..า..น..ก..า..ร.ป...ร.ะ..ด..ิษ...ฐ..์ซ..ึ่ง.ส..า..ม..า..ร..ถ..ข..อ..จ..ด... .ท..ะ..เ.บ..ยี ..น..ค..มุ้ ..ค.ร..อ..ง.แ..บ..บ..ส..ทิ..ธ..บิ..ตั..ร..ก..า.ร..ป..ร.ะ..ด..ษิ..ฐ..์ .(ต..อ้..ง..ม..คี .ว..า..ม..ใ.ห..ม..่ . .ไ.ม..่เ..ห..ม..ือ..น...ใ.ค..ร....ต..้อ..ง..ใ.ช..้.เ.ท..ค..โ..น..โ..ล..ย..ีข..ั้น..ส..ูง..ห...ร.ือ...ไ.ม..่ส..า..ม..า..ร..ถ... .ป..ร..ะ.ด...ิษ..ฐ..ไ์ .ด..โ้ .ด..ย..ง..า่ .ย...ต..้อ..ง..แ..ส..ด..ง.ก..ล..ไ..ก.ก..า..ร..ท..�ำ ..ง.า..น..ภ..า..ย..ใ.น..ห..ร..อื ... .ข..ั้น..ต..อ...น..ห..ร..ือ..ก..ร..ร..ม..ว..ิธ..ีก..า..ร..ท..ำ�..ง..า.น...อ..ย..่า..ง.ช...ัด..เ.จ..น....แ..ล..ะ..ต..้อ..ง... .ป..ร..ะ..ย..ุก..ต..์ใ.ช..้ใ..น..ท..า..ง.อ..ุ.ต..ส..า.ห...ก..ร.ร..ม..ไ..ด..้)..ห..ร..ือ..อ..า..จ..เ.ป..็น...อ..น..ุส..ิท..ธ..ิ . .บ..ัต..ร...(.เ.ป..็น...ก..า.ร..ป..ร..ะ..ด..ิษ..ฐ..์ค..ิด..ค..้น..เ.พ...ีย..ง.เ.ล..็ก..น..้อ..ย....ใ.ช..้เ.ท..ค..โ..น..โ.ล..ย..ี . .ไ.ม..่ม..า..ก..น..ัก..)..ห...ร.ือ..อ..า..จ..เ.ป..็น...ส.ิ.ท..ธ..ิบ..ัต..ร..ก..า.ร..อ..อ..ก..แ..บ..บ..ผ..ล..ิต...ภ..ัณ...ฑ..์ . .(.เ.น..น้ ..ร..ปู ..ล..กั ..ษ..ณ...์.ส..ี .ล..ว..ด..ล..า.ย..ภ..า..ย..น..อ..ก..)............................... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจัดการเรยี นรูท้ ่ี 3 | เทคโนโลยีเพม่ิ มูลค่า 95 เปน็ ทรัพยส์ นิ เป็นกลมุ่ ทรพั ย์สิน ประเดน็ การวิเคราะห์ ทางปญั ญา ทางอุตสาหกรรม เหตุผล หรอื ไม่ หรือกล่มุ ลขิ สทิ ธิ์ 2.....ร..ปู ..แ..บ..บ..ก..า..ร..จ..ดั ..ร.า้..น....... .......ไ.ม..เ่.ป...็น........ ...........ไ..ม..่เ.ป..น็ ............. ..ร.ปู..แ..บ...บ..ก..า.ร..จ..ดั ..ร.า้..น...เ.ช..น่ ...ก..า..ร.จ..ดั..ว..า.ง..โ.ต..ะ๊ ...เ.ก..า้ .อ..้ี.ห..ร..อื ..เ.ค..ร.อ่.ื .ง..ม..อื .. .................................. ...................... ............................... ..เ.ค..ร.่อื..ง..ใ.ช..้ป..ก..ต..ิใ..น..ร..้า.น..ไ..ม..่เ.ป..็น..ท..ร..ัพ..ย..์ส..ิน...ท..า.ง..ป..ัญ...ญ...า...เ.น..่อื ..ง.จ..า..ก.. ..เ.ป..น็ ..ส..ง่ิ ..ธ.ร..ร..ม..ด..า.ท...่ใี .ค..ร.ก..็ส..า..ม..า..ร.ถ..ท...�ำ .ไ.ด..้..ย..ก..เ.ว.น้...ใ.น..ก..ร..ณ..ีท...ม่ี ..ีก..า.ร.. ..แ..ส..ด..ง.ข..น้ั ..ต..อ..น..ห...ร.อื..ก..ร..ร.ม..ว..ธิ..ใี .น..ก..า..ร..ใ.ห..บ้ ..ร..กิ ..า.ร../.ก..า..ร..ท..�ำ .ธ..รุ..ก..จิ ..จ.งึ.. ..จ..ะ..จ..ัด..เ.ป..็น...ท..ร..ัพ..ย..์.ส.ิ.น..ท..า..ง..อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร..ร..ม..ป...ร.ะ..เ..ภ..ท..ส..ิท...ธ..ิบ..ัต..ร.. ..(.ต.อ.้ .ง..ม..คี ..ว.า..ม..ใ.ห..ม..ไ่.ม..เ่.ห..ม..อื..น..ใ.ค..ร...ต..อ้ ..ง.แ..ส..ด..ง.ข..น้ั ..ต..อ..น..ห..ร..อื ..ก.ร..ร..ม..ว.ธิ..ี ..อ..ย..่า.ง..ช..ัด..เ.จ..น....แ..ล..ะ..ต..้อ..ง.ป...ร.ะ..ย..ุก..ต..์ใ..ช..้ใ.น..ท...า.ง..อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร..ร.ม...ไ.ด..้). ..น..อ..ก..จ..า..ก..น..้ีห...า..ก..จ..ัด..ท..ำ�..ร..ูป..แ..บ..บ...ก..า..ร..จ.ั.ด..ร.้า..น...เ.ป..็น..ภ...า..พ..แ..ส..ด..ง.. ..ก..า.ร..อ..อ..ก..แ..บ..บ..ภ..า..ย..ใ.น...ภ..า.พ...พ..มิ..พ...เ์ .ข.ย.ี .ว...(.b..l.u..e.p...r.i.n..t.)..ส..ง่ิ .เ.ห..ล..า่..น..้ี ..จ..ะ.จ..ดั..เ.ป..น็..ผ..ล..ง..า.น...ล..ขิ .ส..ทิ...ธ.ป์ิ..ร..ะ..เ.ภ..ท..ศ..ลิ..ป..ก..ร..ร.ม....................... 3.... .ป..้า..ย..เ.ช..ล..ล..ช์ ..ว.น..ช...ิม......... .........เ.ป..็น.......... .......ท..ร..ัพ..ย..ส์ ..นิ ..ท..า..ง........ ..ป..้ า..ย..เ..ช..ล..ล..์.ช..ว..น...ช..ิ ม....ป..้ .า..ย..อ..า..ห...า.ร..ฮ...า..ล..า..ล..จ..ั ด...อ..ย..ู่ ใ..น..ก...ล.ุ่.ม.. ....ป..า้ ..ย..อ..า.ห..า..ร..ฮ..า.ล..า..ล........ ...................... .......อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร..ร.ม......... ..เ.ค..ร..่ือ..ง..ห..ม..า..ย..ท..า..ง..ก..า.ร..ค..้า....ป..ร..ะ..เ.ภ..ท..เ..ค..ร.่ือ...ง.ห...ม..า.ย...ร.ับ...ร.อ...ง.ซ..่ึง.. ..บ..คุ ..ค..ล..ห..ร..อื .ห...น..ว่ .ย..ง..า.น...ท..ข่ี ..อ..จ..ด.ท...ะ.เ.บ...ยี ..น..เ.ค..ร.อ่ื..ง..ห..ม..า..ย.เ.ห...ล..า่ .น..จี้..ะ.. ..ไ.ด..ร้ ..ับ..ค..ว..า.ม..ค..ุ้ม..ค..ร..อ..ง..ต..า.ม..ก..ฎ...ห..ม..า.ย.....ผ..ูป้ ..ร..ะ.ก..อ..บ...ก..า.ร..ส..า..ม..า.ร..ถ.. ..แ..ส..ด..ง.เ.ค..ร..อื่ ..ง.ห..ม..า..ย..เ.ห..ล..า่..น..ไี้ .ด..ต้..า..ม..เ.ง.อ่ื..น...ไ.ข..ห..ร..อื ..ข..อ้ .ก..�ำ..ห..น..ด..ข..อ..ง.. ..เ.จ..้า.ข..อ..ง..เ.ค..ร.่อื..ง..ห..ม..า..ย.................................................... 4.....ร..ปู ..ถ..า่ ..ย..ภ..า.ย..ใ..น..ร.้า..น........ .........เ.ป..็น.......... ...........ล..ิข..ส..ิท..ธ..์ิ .......... ..ร.ปู...ถ..า่ .ย..ภ..า..ย..ใ.น..ร..า้ .น...จ..ดั ..เ.ป..น็ ..ท..ร..พั ..ย..ส์..นิ..ท...า.ง..ป..ญั ...ญ..า..ก..ล..มุ่ ..ล..ขิ ..ส..ทิ ..ธ..์ิ .................................. ...................... ............................... ..ป..ร..ะ.เ..ภ..ท..ง..า.น..ศ..ิล..ป...ก..ร.ร..ม....(.ข..้อ..ก..ำ�.ห..น...ด..ข..อ..ง.ก..า..ร..ส..ร.้า..ง.ส..ร..ร..ค..์ผ..ล.. ..ง.า..น..ล..ขิ ..ส..ทิ ..ธ..ต์ิ ..อ้ ..ง.แ..ส..ด..ง..ห..ร..อื ..ถ..า่ .ย..ท..อ..ด..ค..ว..า..ม..ค..ดิ ..อ..อ..ก..ม..า.เ.ป...น็ ..ผ..ล.. ..ง.า..น...โ.ด..ย...ไ.ม..่ล..ะ...เ.ม..ิด..ล..ิ.ข..ส..ิท..ธ..์ิผ..ู้.อ..ื่น....แ..ล..ะ..อ..า..ศ..ัย...ค..ว..า..ม..ว..ิร..ิย..ะ.. ..อ..ุต..ส..า..ห..ะ..ใ.น..ก..า..ร..ส..ร.้.า.ง..ส..ร..ร.ค..์ไ..ด..้เ.ป..็น...ค..น..แ..ร..ก..)..จ..ึง..ไ.ด..้ร..ับ..ค..ว..า..ม.. ..ค..ุ้ม..ค..ร..อ...ง.ต...า.ม...ก..ฎ..ห...ม..า..ย..ล..ิข..ส..ิ.ท..ธ..์ิซ..่ึง..ไ..ม..่จ..ำ�..เ.ป..็.น..ต..้อ..ง..ย..ื่น...ข..อ.. ..จ..ด..ท..ะ..เ.บ..ยี ..น............................................................... .5.....เ.ฟ...อ..ร.์น..ิเ.จ..อ..ร..์ ............. ..........เ.ป..็น......... ........ท..ร..ัพ..ย..ส์ ..นิ ..ท..า..ง....... .เ.ฟ...อ..ร.น์...เิ .จ..อ..ร.์.เ.ช..น่ ...โ.ต..ะ๊...เ.ก..า้ .อ..ี้.ต..ล..อ..ด..จ..น..อ..ปุ..ก..ร..ณ...ต์ ..า่ ..ง..ๆ...ใ.น..ร..า้ .น... . ....อ..ปุ ..ก..ร..ณ..ต์..า่..ง..ๆ....ใ.น..ร..้า.น... ...................... ........อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร.ร..ม........ .จ..ัด..เ.ป...็น..ท..ร..ัพ..ย..์ส..ิน...ท..า.ง..อ..ุต..ส..า..ห..ก..ร..ร.ม....ซ..่ึง..อ..า.จ..เ.ป..็น...ผ..ล..ง.า..น..ก..า..ร.. .ป...ร.ะ..ด..ิษ...ฐ.์ห...ร.ือ..ก..า..ร..อ..อ..ก..แ..บ..บ..ผ..ล..ิต..ภ...ัณ..ฑ...์ต..า..ม..ข..้อ..ก..ำ�.ห...น..ด...โ..ด..ย.. .ใ..น..ป..จั ..จ..บุ ..นั ..อ..า..จ.ย..งั..ไ.ด..ร้..บั ..ค..ว..า.ม..ค..มุ้..ค..ร..อ..ง..ห..ร..อื ..ต..ก..เ.ป..น็..ท..ร..พั..ย..ส์..นิ... .ข..อ..ง..ส..า.ธ..า..ร..ณ..ะ...(.p..u..b..l.i.c...d..o..m...a..i.n..)..แ.ล..ว้..ก..็ไ.ด..้.ผ..ู้ป...ร.ะ..ก..อ..บ..ก..า..ร.. .ส..า..ม..า.ร..ถ..ซ.อ.้ื .เ.ฟ...อ.ร..น์ ..เิ .จ..อ.ร..ท์ ..ม่ี ..จี .�.ำ .ห..น..า่..ย.ท..ว่ั..ไ.ป...(.ซ.อ.้ื .ก..ร..ร.ม..ส..ทิ..ธ..ผ์ิ ..ล.ง..า.น... .ท...ี่ม..ีค..ว.า..ม..ค..ุ้ม..ค..ร..อ..ง..อ..ย..ู่ต..า.ม..ก..ฎ...ห..ม..า..ย.)...ม..า..ใ.ช..้ใ.น..ร..้า..น...ห..ร..ือ..อ..า..จ.. .ส...ร.้า..ง..เ.ฟ...อ..ร.์.น..ิเ.จ..อ..ร..์ใ..ห..ม..่โ..ด..ย..พ..ัฒ...น...า..ต..่อ..ย..อ..ด..ท...ร.ั.พ..ย..์ส..ิน...ข..อ..ง.. .ส..า..ธ..า..ร.ณ...ะ..ใ..ห..้ม..ีค..ว..า..ม..แ..ต..ก..ต..่า..ง.เ.พ...่ือ..ข..อ..จ..ด..ท..ะ..เ.บ...ีย..น..ค..ุ้ม..ค..ร..อ..ง.. .ผ..ล..ง..า..น..ข..อ..ง.ต..น...เ.อ..ง.ต..า..ม..ข..้อ..ก..�ำ .ห...น..ด..แ..ต..ล่ ..ะ..ป..ร..ะ.เ.ภ...ท..ก..ไ็ .ด..้ ......... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

96 แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี 3 | เทคโนโลยีเพ่ิมมูลค่า คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี กิจกรรมทา้ ยบท เรอ่ื ง เพ่ิมมลู คา่ ผลงานตนเอง นกั เรยี นน�ำ ผลงานของตนเองจากบทที่ 2 มาวิเคราะหใ์ นประเด็นต่อไปน้ี 1. ผลงานของนกั เรยี นเป็นทรัพย์สนิ ทางปญั ญาประเภทใด 2. เสนอแนวทางการพัฒนาผลงานของตนเอง โดยสรปุ เปน็ จุดเดน่ ของผลงาน ทีส่ ามารถนำ�ไปสู่ การจดทะเบียนทรพั ยส์ ินทางปัญญาได้ แนวคำ�ตอบ ................................................................................................................................................................................ .. ...ต..ัว..อ..ย..่า..ง.ผ..ล..ง..า.น....ก..า..ร.จ..ัด..ท...ำ�.ป...้า.ย..บ..อ..ก..ข...้อ..ค..ว.า..ม..ส..ว..ม..ค..ร..อ..บ..ก..ร..ว..ย..จ.ร..า..จ..ร...ซ..่ึง.ม...ีว.ัต..ถ..ุป...ร.ะ..ส..ง..ค..์ใ.น..ก..า..ร..แ..ส..ด..ง.พ...ื้น..ท..่ีส..ำ�..ห..ร..ับ..จ..อ..ด..ร..ถ..ย..น..ต..์เ.พ...ื่อ.... ..ส..ื่อ..ส..า.ร..ใ.ห...้เ.จ..้า..ข..อ..ง.ร..ถ..แ..ล..ะ..ผ..ู้เ.ก..่ีย..ว..ข..้อ..ง..ร..ับ..ร..ู้ว..่า.พ...้ืน..ท..ี่ด..ั.ง.ก..ล..่า..ว..ใ.ช..้ส..ำ�..ห..ร..ับ..จ..อ..ด..ร..ถ..ข..อ..ง..ใ.ค..ร....โ.ด..ย..ก..า..ร..แ..ส..ด..ง.ส..ัญ...ล..ัก..ษ...ณ..์..ช..ื่อ..ห..น...่ว..ย..ง.า..น....ห..ร..ือ.... ..ห..ม..า.ย..เ..ล.ข...ท..ะ..เ.บ..ีย..น..ร..ถ..ย..น..ต..์ท..่ตี..อ้..ง..ก..า.ร..ไ.ว..ท้..่ีป...้า.ย..แ..ล..ะ..น..ำ�..ไ.ป..ต..ดิ...ต..งั้ .ด..า้..น..บ..น...ก..ร.ว..ย..จ..ร.า..จ..ร...................................................................... รูปปา้ ยบอกขอ้ ความสวมครอบกรวยจราจร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 3 | เทคโนโลยเี พิ่มมูลค่า 97 .. ....1.....ผ...ล..ง..า.น...น..เี้..ป..น็...ท..ร..พั...ย..์ส...นิ ..ท...า.ง..ป...ญั ...ญ...า..ใ.น...ก..ล...มุ่ ..ท..ร..ัพ...ย..ส์...ิน..ท...า..ง.อ...ุต..ส..า..ห...ก..ร..ร..ม...จ..ดั...เ.ป...็น..ผ..ล...ง.า..น...ก..า..ร..ป..ร..ะ..ด...ิษ..ฐ..์...................... .. ....2.....ก..า..ร..จ..ดั ..ท..�ำ..ผ..ล...ง.า..น...น..้ี.พ...บ..ป...ญั ...ห..า..ต..อ..น...แ..ร..ก..ท..ไ.่ี .ม..ส่..า..ม..า..ร..ถ..ต...ดิ ..ต..ง้ั..ป..า้..ย..บ...น..ก..ร..ว..ย..จ..ร..า..จ..ร..ไ.ด...้ เ..น..อ่ื ..ง..จ..า..ก..ก..ร..ะ..ด..า..ษ...เ.ข..ยี ..น...ข..อ้ ..ค..ว..า..ม..น...น้ั ..ถ..ูก...ต..ิด...ล..ง..บ..น...ส..่ว..น...โ.ค...้ง.ข...อ..ง..ก..ร..ว..ย..จ...ร..า.จ...ร..ท..ำ�..ใ..ห..้เ.ห...็น..ข...้อ..ค...ว..า.ม...ไ.ด...้ไ.ม...่ช..ัด..เ..จ..น....แ..ล...ะ..อ..า..จ..ถ..ู.ก..ล..ม...พ..ัด...ข..า..ด....เ.ป...ีย..ก..น...้ำ�..ถ..้า..ฝ...น..ต..ก....ห...ร..ือ ..ห...ล..ุด..ห...า..ย..ไ.ป....ซ..ึง่..อ..า..จ..ท...ำ�..ใ.ห...ก้ ..า..ร..ส..อื่..ส...า..ร.ข...อ..ง..เ.จ..้า..ข..อ...ง.ส...ถ..า..น..ท...ี่แ..ล..ะ..ผ...ู้ม..า..ต..ิด...ต..่อ..เ..ข..้า..ใ.จ..ไ..ม..่ต...ร.ง..ก...นั ..แ..ล...ะ..อ..า..จ..เ.ก..ิด...ป..ัญ....ห..า..ข..ึ้น...ไ.ด...้ ...... .. ....เ.พ...ื่อ..เ.ป...็น..ก...า.ร..แ...ก..้ป...ัญ...ห..า..ด..ัง..ก...ล..่า..ว..จ..ึง..ไ.ด..้พ...ัฒ...น...า..อ..ุป...ก..ร..ณ...์ซ...่ึง.เ.ป...็น...จ..ุด..เ.ด...่น..ข...อ..ง..ผ..ล..ง..า..น..น...ี้ส..�ำ..ห...ร..ับ..ต...ิด..ต..ั้ง..ป...้า.ย...เ.ร..ีย..ก..ว..่า....“.ป...้า..ย..บ...อ..ก ..ข..อ้...ค..ว..า..ม..ส..ว..ม...ค..ร..อ..บ...ก..ร..ว..ย..จ..ร..า..จ..ร..”..ใ..น..ล...กั ..ษ..ณ....ะ..เ.ป..น็...แ..ผ..น่...พ...ล..า..ส..ต..กิ...ใ.ส..ด..า.้ .น...ห..น...า้ ..แ..ล..ะ..ด..า.้ .น...ห..ล...งั ..ซ...ง่ึ .ต...วั .พ...ล..า..ส...ต..กิ ..ใ.ส...ย..ดึ ..ต...ดิ ..ก..บั...โ.ฟ...ม ..ย..า..ง..ป...ร.ะ...เ.ภ..ท....E..t..h..y..l.e...n..e...V...i.n..y...l..A...c.e...t.a..t.e...ห...ร..อื ...E..V...A....F..o..a..m.....B..o..a..r..d...ช..น...ดิ ..ไ..ม..เ่.ป...น็ ..พ...ษิ....(.n..o..n...-.t..o..x..i.c..)..ม..า..ต...ดั ..เ.ป...น็ ..ช...น้ิ ..จ..�ำ..น...ว..น ..4....ช..น้ิ....โ.ด...ย..โ.ค...ร..ง.ท...ี่ส..่ว..น...บ..น...แ..ล..ะ..ส...่ว..น..ล..่า..ง..ท...งั้ .ส...อ..ง..ด..า้ ..น..ป...ร..ะ..ก..อ...บ..ข..นึ้...ม..า..ใ..น..ล..ัก...ษ..ณ....ะ..เ.ป..็น...ก..ร..อ..บ...ท...�ำ .ใ..ห..้ส...่ว..น..ก..ล...า..ง.เ..ป..็น...ช..อ่ ..ง..ว..่า..ง...ต..ัว ..ป...า้ ..ย..ส..า..ม..า..ร..ถ..ใ..ส..แ่ ..ผ..น่...ข..อ้...ค..ว..า..ม...ห..ร..อื...ส..ญั ...ล..กั..ษ...ณ...ต์...า่ .ง...ๆ...ท...ตี่ ..อ้..ง..ก..า..ร...เ.พ...อ่ื ..ส..อ่ื..ส...า.ร..ใ..ห..บ้ ..คุ...ค..ล..อ..น่ื...ท..ร..า..บ....ม..ขี...า.ต...ง้ั .ท...ส่ี ..า..ม..า..ร..ถ..ส..ว..ม..ค...ร.อ...บ ..ก..บั...ก..ร..ว..ย..จ..ร..า..จ..ร..ไ.ด..้.ข..า..ต..ง้ั..ป...ร.ะ..ก...อ..บ..ข..น.้ึ ..ร..ปู ..จ..า..ก..แ...ผ..น่ ..โ..ฟ..ม...ย..า..ง.ท...ท่ี ..�ำ..ไ.ด...ค..ทั ...(.D...i.e..c..u..t.t..i.n..g..)..เ.ป...น็ ..ช...น้ิ ..ส..ว่..น...ต..า่..ง...ๆ...ส..า..ม..า..ร..ถ..ใ..ช..ก้..บั...ก..ร..ว..ย ..จ..ร..า..จ..ร..ร..นุ่ ..เ.ก...า่ .ช...น..ดิ..ม...รี ..กู ..ล..ม..บ...น..ย...อ..ด..ก..ร..ว..ย...ห...ร.อื...ใ.ช..ก้...บั ..ก..ร..ว..ย..ร..นุ่...ใ.ห..ม...ท่ ..ยี่..อ...ด..ก..ร..ว..ย..ใ.ช...ต้ ..ดิ..ต...งั้ .ก..ล...อ่ ..ง..ส..ญั ...ญ...า..ณ...ไ.ฟ...เ.ต...อื ..น..ห...ร..อื ..ไ.ฟ...ฉ..กุ..เ.ฉ...นิ ..แ...ล..ะ...ส..า..ม...า..ร..ถ...จ..ัด...เ.ก..็.บ...ต..า..ม...ร..อ...ย..ไ..ด..ค...ัท...เ.พ...่ือ...ใ..ช..้ง..า..น...ค...ร..ั้ง..ต..่.อ..ไ..ป....พ...ร..้.อ..ม...แ..พ...ค...เ.ก...จ..ใ..น...ก..า...ร..จ..ัด...เ.ก...็บ......ป...้า..ย...บ...อ..ก...ข..้อ...ค..ว...า..ม ..ค..ร..อ...บ..ก..ร..ว..ย...จ..ร..า.จ...ร.ส...า.ม...า..ร..ถ..พ...ก..พ...า.ไ..ป..ใ..ช..ไ้..ด..ท้ ..กุ...ท..่ี .ใ..ช..ว้..สั..ด...ทุ ..ท่ี ..น...ท...า.น...ต..อ่..ส...ภ..า..พ...ภ..มู..อิ...า..ก..า..ศ...ส...า..ม..า..ร..ถ..ถ..อ..ด...ป..ร..ะ..ก...อ..บ..เ..พ..อ่ื..ท...�ำ ..ค..ว..า..ม ..ส..ะ..อ...า..ด..แ..ล..ะ..พ...ก..พ...า..ไ.ด..้..ต..วั ..ป...า้ .ย...ส..า..ม..า..ร..ถ..เ.ป...ล..่ยี..น...ข..้อ...ค..ว..า..ม..ท...ต่ี ..อ้..ง..ก..า..ร..ไ..ด..้ ..แ...ล..ะ..ส..า..ม...า.ร..ถ...น..�ำ..ไ.ป...ข..อ...จ..ด..ท...ะ..เ.บ...ยี ..น..ค...มุ้ ..ค..ร..อ...ง.ป...ร..ะ..เ.ภ...ท ..ส..ิท...ธ..ิบ...ัต..ร..ก..า..ร..ป...ร.ะ...ด..ิษ...ฐ..์ไ.ด..้..เ.น...่ือ..ง..จ..า..ก..เ.ป...็น..ก...า..ร.ป...ร..ะ..ด..ิษ...ฐ..์ค..ิด...ค..้น...ข..ึ้น...ใ.ห...ม..่ท..ี่ไ..ม..่ซ...�ำ้ ..ก..ับ..ข...อ..ง..ผ..ู้อ..ื่น.....ม..ีก..า..ร..แ..ส...ด..ง..ร..า.ย...ล..ะ..เ.อ...ีย..ด..ว..ิธ..ีก..า..ร ..ท...ำ�..ง.า..น...อ..ย..่า..ง..ช..ัด...เ.จ..น....ส..า..ม..า..ร..ถ..ป...ร..ะ..ย..ุก..ต...ใ์ .ช..ใ้..น..ท...า..ง..อ..ตุ ..ส..า..ห...ก..ร..ร..ม..ไ..ด..แ้..ล...ะ..แ..ก..้ป...ัญ...ห..า..ไ..ด..ต้..า..ม...ว..ัต..ถ..ุป...ร..ะ..ส..ง..ค..์............................ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ภาคผนวก 11 12 1 10 2 9 3 8 4 76 5