Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อารยธรรมกรีก (2)

อารยธรรมกรีก (2)

Published by Guset User, 2022-08-30 07:09:29

Description: อารยธรรมกรีก (2)

Search

Read the Text Version

อารยธรรมกรีก

อารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต ( Crete ) ในทะเลอีเจียน เมื่อประมาณเกือบ 2,000 ปี ก่อน คริสต์ศักราช อารยธรรมดังกล่าวเรียกว่า อารยธรรม ไมนวน ระยะนี้เรียกว่า สมัยวัง ที่ชาวเกาะครีตหรือพวก ครีตันจะใช้ความรู้ความสามารถในการก่อสร้างและ ขยายวังให้ใหญ่โต

กรีกมีลักษณะเป็นอารยธรรมทางทะเล รากเหง้าของอารยธรรมกรีก ได้ เเก่ อารยธรรมอีเจียนซึ่งประกอบด้วย อารยธรรมมิโนนเเละอารยธรรม ไมซินี อารยธรรมมิโนน อารยธรรมไมซีนี

อารยธรรมมิโนน อารยธรรมมิโนสหรือมิโนอัน (Minoan : 1700-1400 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช) ไม นอส เป็นกษัตริย์ในตำนานของคนอสซอส เป็นลูกของพระเจ้าเซอุส และพระนางยุโรป มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์เป็นรูปวัว ตามตำนานเล่าว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่รัก ศิลปะ ในรัชสมัยของพระองค์มีศิลปินหลายคนที่สำคัญ คือ เดดาลผู้แต่งเรื่อง “ทาง ปริศนา” และเรื่อง “วัวสัมริด” อักษรที่ใช้จากที่พบในแผ่นดินเหนียว พบว่าเป็นตัว อักษรแบบที่ เรียกว่า lineaire A ประกอบด้วยอักษรประมาณ 90 ตัว ไม่ทราบที่มา เช่นเดียวกับตราดินเหนียวทรงกลมมีรูปและอักษรสลักอยู่ อารยธรรมมิโนอัน รุ่งเรืองที่สุดที่เมืองคนอสโซส (คนอสซอส) ผู้ครองเมืองดำรงฐานะเป็นพระกษัตริย์ มี การสร้าง พระราชวังแบบใหม่ ขนาดใหญ่และซับซ้อนคล้ายทางปริศนา ที่คนอสโซส ไฟ สทอส และอักเฮียเทรียดามีระบบบริหารทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นแบบรวม อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางคล้ายในอียิปต์ ฐานะของสตรีสำคัญมากในสังคม

อารยธรรมไมซินี หน้ากากของอะกาเมมน เป็นวัฒนธรรมอีเจียนในช่วงปลายสมัยเฮลลาดิก (ยุคสำริด) เจริญอยู่ระหว่างปี 1650 จนถึงปี อนกษัตริย์ที่มีชื่อเสียง 1100 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนีเป็นอารยธรรมแรกที่แสดงความก้าวหน้าในระดับสูงบน แผ่นดินใหญ่ของกรีซ โดยมีจุดเด่นที่การสร้างพระราชวังที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เริ่มมีการ จัดตั้งชุมชนเมือง การสร้างงานศิลปะเครื่องปั้ นดินเผารูปเขียนสี และระบบการเขียน[1] ซึ่ง ปรากฏอยู่ในจารึกแผ่นดินเหนียวไลเนียร์บี อันเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในภาษา กรีก ชาวไมซีเนียนมีนวัตกรรมหลายอย่างทั้งในทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และทางการทหาร และ มีการเดินทางค้าขายไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนาของไมซีนีมีเทพเจ้าหลายองค์ เช่นเดียว กับเทพเจ้าในเทวสภาโอลิมปัส สังคมของชาวกรีกในยุคไมซีนีเป็นสังคมที่นักรบชาติกำเนิดสูงมี บทบาทหลัก และประกอบไปด้วยเครือข่ายรัฐพระราชวังที่มีระบบของลำดับชั้นทางปกครอง ความสัมพันธ์ทางสังคม และทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด ผู้ปกครองสูงสุดในสังคมเป็นกษัตริย์ ซึ่ง เรียกว่า อะนักซ์ (wanak)

อารยธรรมเฮเลน อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age) ในช่วงรัฐนี้เอเธนส์เป็นนครรัฐที่เด่นมาก โดยเฉพาะระบอบการปกครองแบบประ ธิปไตย โดยให้สิทธิแก่พลเมืองชายที่บรรลุนิติภาวะในการดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง สำหรับผู้หญิง เด็ก คนต่างด้าวไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนทาสที่ไม่มีฐานะทางสังคมมัก จะถูกเหยียดหยาม กรีกมีระบบเนรเทศผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของนครรัฐเป็น เวลาสิบปี จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยของกรีกมีอำนาจระดับหนึ่ง จนกรีกได้สมญา นามว่า “บิดาแห่งระบอบการปกครองประชาธิปไตย” ในสมัยนี้มีการสร้าง อาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่ม ต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กันของผู้คนใน นครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์

นครรัฐสปาร์ตา ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและ เมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาว สปาร์ตาจึง ต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง จนทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการ ปกครองแบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของชาวสปาร์ตาไม่มี ท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการ ติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการ รบอีกด้วย

2. นครรัฐเอเธนส์ เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพ ภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการทางด้าน การค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า



มีทั้งหมด5คน รายชื่อกลุ่ม นาย นิสุไลมาน โตะมิง เลขที่ 5 นาย มูฮัมหมัดรุสดี ยามา เลขที่ 6 นาย กาวากิ๊บ สะนิ เลขที่ 22 นาย ซากีรีน ดาโอะ เลขที่ 9 นาย สลาม เจ๊ะเลาะ เลขที่ 31


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook