Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

Published by ห้องสมุดของนายอึ๊ง, 2022-08-02 08:20:25

Description: อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

Keywords: อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

Search

Read the Text Version

5 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วนั

สมเด็จพระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี พระราชทานรางวลั แก่นักเรยี นทีม่ คี วามประพฤติดี สมเดจ็ พระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี เสดจ็ ฯ ไปพระราชทานเหรยี ญทองค�ำรางวัลนักเรียนชา่ งกลปทมุ วันประพฤตดิ ี ณ โรงเรยี นช่างกลปทมุ วัน เขตปทุมวนั กรุงเทพมหานคร ตงั้ แต่ ปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2516

ส�ำนักงานองคมนตรี ทำ� เนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ The Office of His Majesty’s Privy Council Privy Council Chambers, Saranrom Palace Gardens, Pranakorn District, Bangkok 10200 ค�ำนยิ ม สถาบนั เทคโนโลยปี ทุมวัน เปน็ โรงเรยี นอาชีพช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ซง่ึ ก่อตัง้ และเปิดการสอนครง้ั แรกเม่ือปพี ทุ ธศกั ราช ๒๔๗๕ โดยคณะนายทหารเรือนำ� โดย นาวาเอกพระประกอบกลกจิ (เจ๋อ จนั ทรเวคิน) เพอ่ื อนรุ กั ษว์ ิชาชพี ชา่ งกลและส่งเสรมิ วชิ าชีพดา้ นช่างต่าง ฯ ให้แพรห่ ลายเปน็ คุณประโยชนแ์ กป่ ระเทศชาตสิ ืบไป โดยตลอดเวลา ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันได้ท�ำหน้าท่ีเป็นกลไกและเฟืองหลักที่ส�ำคัญในการถ่ายทอดความรู้ สร้างคนและพัฒนางานสู่สังคม ประเทศไทย ตลอดจน นานาประเทศอย่างแทจ้ ริง ผมมีความยินดีเป็นอย่างย่ิงที่ทราบว่าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มีบทบาทส�ำคัญในการสร้าง พัฒนา และส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาทางด้านช่างสาขาต่าง ๆ รวมถึง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย และงานวัตกรรม ไปสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ประกอบกับความมุ่งม่ันที่จะต่อยอดในการวางรากฐานให้กับ นักปฏิบัติมืออาชีพ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติเฉพาะทาง ด้วยการมอบองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อใช้ความรู้นั้นไปประกอบสัมมาชีพ ให้แกต่ นเอง พรอ้ มทง้ั สรา้ งจิตสำ� นกึ ในความมจี ิตอาสาแกส่ ว่ นรวม นบั เปน็ การสร้างประโยชน์ตอ่ สงั คมและประเทศชาติอยา่ งแทจ้ ริง ในโอกาสครบรอบ ๙๐ ปี วันคล้ายวันสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซ่ึงตรงกับวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และส่ิงศักด์ิสิทธิ์ในสากล ตลอดจนพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดดลบันดาลพระราชทานพร ใหค้ ณะผูบ้ รกิ าร คณาจารย์ พนักงาน บุคลากร นกั ศกึ ษาและศิษยเ์ ก่าทกุ ท่าน ประสบความสขุ ความเจรญิ มีกำ� ลังกาย ก�ำลังใจ สตปิ ญั ญา และมีความสามัคคใี นการปฏิบัติหนา้ ท่ี เพือ่ ใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุดแก่สถาบัน ฯ สงั คม และประเทศชาติอยา่ งยั่งยืน พลเอก (สุรยทุ ธ์ จุลานนท์) ประธานองคมนตรี

คานิยม พลเอก ไพบลู ย์ คมุ้ ฉายา องคมนตรี ท่านนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันและผู้เข้าร่วมงาน ณ ท่ีแห่งนี้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ได้มาร่วมแสดงความยนิ ดีในความสาเร็จ ความเจรญิ รุ่งเรืองของสถาบันการศกึ ษาอนั ทรงเกียรติ ทไ่ี ดส้ ร้างคน สร้างงาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติสืบเน่ืองยาวนานจนถึงกาล ครบรอบ ๙๐ ปีในวันน้ี นับได้ว่าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นสถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งและประสิทธิ์ประสาทวิชาองค์ความรู้ทางด้านช่างวิชาชีพสาขาต่าง ๆ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนานัปการ เพ่ือพัฒนาและต่อยอดการศึกษาให้ชุมชนทั้งใกล้ไกล โดยเฉพาะ การสนับสนุนให้บริการ วิชาการในสังคม การร่วมพฒั นา ทักษะความรู้ ผ่านโครงการตา่ งๆ มากมาย อาทิ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศกึ ษาเปน็ พี่เลี้ยง โครงการเครือขา่ ยเพื่อการพัฒนาอดุ มศกึ ษา สนับสนุนและวางรากฐานการศกึ ษาของเดก็ ชายขอบ โครงการสร้างคนดีมีงานทาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมตามฐานสมรรถนะวิชาชีพ เพ่ือความเสมอภาคทางการศึกษา หรือการดาเนินการจัดต้ังศูนย์การ เรียน กาญจนบุรี เพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบลงพ้ืนท่ีปฏิบัติจริง อันส่งผลต่อการก้าวข้ามความเหลื่อมล้าและความเสมอภาคทางด้านการศึกษาได้อย่างเป็น รูปธรรม จนเป็นที่ยอมรับในความเช่ียวชาญของการผลิตนักปฏิบัติมืออาชีพอย่างสมภาคภูมิ การท่ีจะดาเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยความ ร่วมแรงร่วมใจจากบุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันทุกท่าน รวมทั้งความขยันหม่ันเพียร ความช่ือสัตย์สุจริตเป็นสิ่งสาคัญ เพอื่ จะนาพาสถาบันเทคโนโลยปี ทมุ วนั แหง่ นี้ ใหเ้ จริญก้าวหนา้ ตอ่ ไปอย่างยั่งยืน ในโอกาสน้ี ผมขออาราธนาคุณพระศรีรตั นตรัย ส่งิ ศักดิ์สิทธ์ิในสากลโลก ตลอดจนพระบารมีปกเกล้าปกกระหมอ่ มของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ี โปรดดลบนั ดาลพระราชทานพรใหค้ ณะผบู้ รหิ าร บุคลากร นักศกึ ษาและศิษย์เกา่ ทกุ ท่าน ประสบความสุขความเจริญ มกี าลังกายและใจสติปัญญา ความเพยี ร ความสามัคคีในการปฏิบตั ิหน้าท่ี และหวงั เปน็ อย่างยงิ่ ว่าสถาบันเทคโนโลยีปทมุ วนั จะทาหน้าท่ีเผยแพร่องคค์ วามรู้ สรา้ งโอกาสใหเ้ ดก็ ดอ้ ยโอกาสและหา่ งไกลอยา่ งต่อเนื่อง อนั จะเปน็ ประโยชน์ต่อนกั เรียน นักศึกษาประชาชน สังคมและประเทศชาตเิ ช่นนี้ตลอดไป พลเอก (ไพบลู ย์ คุม้ ฉายา) องคมนตรี

สารนายกสภา สถาบันเทคโนโลยีปทมุ วัน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นสถาบันการศึกษาด้านอาชีพ ฝึกช่างฝีมือและช่างเทคนิค ก่อตั้งเม่ือ ปีพุทธศักราช 2475 แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน” เป็นโรงเรียนสอนระดับอาชีวะศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต่อมาเลื่อนระดับเป็นวิทยาลัยทาการเรียน การสอนในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพช้ันสูง ปวส. จนกระท่ังปัจจุบันยกฐานะเป็น “สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน” จัดการเรียนการสอน ในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก จะเห็นได้ว่าสถาบันฯ นั้น มิได้เพ่ิมเพียงตัวเลข แต่รวมถึงความ เจริญก้าวหน้า ทางด้านวิชาชีพ วิชาการ งานวิจัย ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมและประเทศชาติ อีกสิ่งหนึ่ง ท่ีเป็นท่ีน่าภาคภูมิใจของชาวปทุมวัน คือ ได้รับพระราชทานนามคาว่า “ปทุมวัน” จาก พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดกับสถาบันฯ เป็นอย่างย่ิง เพื่อเป็นการฉลองโอกาสอันเป็นมงคลครบรอบ 90 ปี ของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน อีกทั้งร่วมกันเทิดทูล “สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน” ไว้ด้วยใจ ท้ังผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าทุกท่าน จงรักษาชื่อเสียงของสถาบันฯ อุทิศแรงกาย แรงใจในการปฏิบัติหน้าท่ีของตนเอง ร่วมกัน มอบสิ่งดี ๆ ให้แก่ลูกศิษย์ที่เข้ามาศึกษายังสถาบันแห่งนี้ เพ่ือเขาเหล่านั้นสาเร็จการศึกษาไปแล้ว จะได้นาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติ และประกอบสัมมาอาชีพให้แก่ตนเองและครอบครัว ขอขอบคุณคณะกรรมการท่ีจัดทาหนังสืออนุสรณ์ ครบรอบ 90 ปี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ฉบับนี้ท่ีได้ ทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ในการเรยี บเรียงหนังสอื ฉบับนี้ขึน้ มา เพ่ือเป็นเครื่องยดึ เหน่ยี วจติ ใจของชาวปทุมวนั สบื ไป สุดท้ายน้ี ขออาราธนาส่ิงศักดิ์สิทธ์ิในสากลโลก ขอให้ท่านผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าทุกท่าน มีความสุข ความเจริญ มีกาลังกาย กาลังใจ สติปัญญาในการดาเนินชีวิต และปฏิบัติหน้าท่ีของตนเองด้วยความสามารถอย่างเต็มกาลัง เพ่ือพัฒนาและรักษา “ปทุมวัน” ร่วมกัน เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้มโี อกาสได้ศึกษาเล่าเรียน และเปน็ กาลงั หลกั ในการพฒั นาประเทศตอ่ ไป วา่ ทรี่ ้อยตรี (จรญู ชลู าภ) นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีปทมุ วัน

สารอธกิ ารบดี สถาบนั เทคโนโลยปี ทมุ วนั สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ยกฐานะข้ึนมาจาก \"วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน\" ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นใหผ้ ู้สาเร็จการศกึ ษาด้านอาชีวศึกษาเข้ามาศกึ ษาต่อเฉพาะทางในระดับปริญญา โดยตลอด ระยะเวลาท่ีผ่านมา สถาบันฯ ได้ผลิตบุคลากรเข้าสูต่ ลาดแรงงานและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาค ส่วนราชการและเอกชน ซ่ึงล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่สร้างชื่อเสียง ก่อคุณประโยชน์ให้แก่องค์กร และ เพ่อื เปน็ การระลึกถึงผู้มอี ุปการคุณ พร้อมท้งั เป็นเกยี รตปิ ระวตั ขิ องสถาบันเทคโนโลยีปทมุ วัน ในโอกาสอันดีน้ี ผมขอระลึกและขอบพระคุณบุคลากรทุกท่านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันท่ีได้เสียสละ อุทิศแรงกายแรงใจในการปฏิบัติหน้าที่ มอบองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ศึกษา เพื่อนาความรูไ้ ปใช้ประโยชน์ ประกอบสัมมาชีพให้แก่ตนเอง และขอแสดงความยินดีในความเจริญก้าวหน้าของสถาบันฯ ซึ่งจะเป็นสถานศึกษาผลิตบุคลากรอันทรงคุณค่าแก่สังคมไทย ทง้ั ยังเปน็ แกนหลกั สาคัญในการพัฒนาประเทศชาติใหม้ ีความมัน่ คงอยา่ งแท้จรงิ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็นมงคลครบรอบ 90 ปี ของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซ่ึงตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2565 ผมขอให้ส่ิงศกั ดิ์สิทธิ์ทที่ ่านเคารพนับถอื โปรดประทานพรให้คณะผบู้ รหิ าร คณาจารย์ พนักงาน บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าทกุ ทา่ น มีความสขุ มีกาลังกาย กาลังใจ สติปัญญาในการดาเนินชวี ิต มคี วามม่งุ มนั่ ความสามัคคีในปฏิบตั หิ นา้ ที่และมคี วามเจริญรุง่ เรืองก้าวหน้าสบื ไป.. รองศาสตราจารย์ ดร.เสถยี ร ธัญญศรีรัตน์ อธกิ ารบดสี ถาบันเทคโนโลยีปทมุ วัน

สาสน์ จากองคม์ นตรี





เพลง มารช์ ชา่ งกลปทุมวัน ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ คณุ ชลหมู่ ชลานุเคราะห์ ทำ� งานอยู่ทว่ี งดรุ ยิ างคส์ ากล โรงละครแหง่ ชาติ กองการสังคีต กรมศลิ ปากร บดิ าคุณชลธาร ชลานเุ คราะห์ นักเรียนช่างกลปทุมวัน รุ่น ๔๑ เลขประจ�ำตัว ๑๑๔๔๘ แผนกช่างกลโรงงาน ได้แต่งท�ำนองเพลง มาร์ชช่างกลปทุมวัน และหมื่นประไพเพลงประสม (เอิบ นฤมิตร) เป็นผแู้ ตง่ คำ� รอ้ ง ใหก้ บั โรงเรียนช่างกลปทมุ วัน จึงถกู ใช้เปน็ เพลงประจ�ำโรงเรยี นชา่ งกลปทุมวัน คำ� รอ้ ง....หมนื่ ประไพเพลงประสม ทำ� นอง...ชลหมู่ ชลานเุ คราะห์ (วงดุริยางคส์ ากล กองการสังคตี กรมศิลปากร โรงละครแห่งชาต)ิ เนื้อรอ้ ง เพลง มารช์ ชา่ งกลปทุมวัน พวกเราเหลา่ ชา่ งกลปทมุ วนั ใจยึดมัน่ สามัคคดี ีเลิศ ให้ก�ำเนดิ แสงสว่างชา่ งกล เพลงมาร์ช ชา่ งกลฯ รูปตราจักรเฟอื งเหน็ เด่นชเู ชิด เสริมงานช่างกล ฝกึ ฝนอดทนพากเพยี ร สร้างสรรค์ให้ล้วนชวนเรียน ทกุ คนม่งุ ม่นั เรยี นงานเพอื่ การสร้างตน เลา่ เรียน วิชาช่างกล เรารกั กันมีสัมพันธท์ กุ คน ชา่ งกล ให้ผลอนนั ต์ หวงั ทุกคนพฒั นาชาตไิ ทย สำ� คญั ยิ่งใหญเ่ รยี นไวส้ รา้ งไทยจ�ำเรญิ ม่ันใจไม่ขอแปรเปล่ียน พวกเราเหลา่ ชา่ งกลปทมุ วนั ต้ังใจ หมน่ั ศึกษาให้เกิดผล วชิ าทุกอย่างช่างกลต่างคนภูมิใจ



สถาบนั เทคโนโลยปี ทุมวนั (ชา่ งกลปทุมวนั ) สถาบันเทคโนโลยีปทมุ วัน (ชา่ งกลปทมุ วัน) เปน็ โรงเรยี นช่างกลแหง่ แรกของ หมดสิ้นไปทีละน้อย ๆ เพราะการเรียนฝ่ายช่างกล ในเวลาน้ันยังไม่มีโรงเรียนสอน ประเทศไทยท่ีจัดตั้ง โดยนาวาเอกพระประกอบกลกิจ (เจ๋อ จันทรเวคิน) และ วิชาช่างกลแบบนี้ในที่อื่นใด มีแต่สอนอยู่ในระดับวิศวกรรม (นายช่าง) ของ คณะทหารเรือ ณ ปัจจุบันเป็นสถาบันในระดับอุดมศึกษาท่ีจัดการศึกษาระดับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านจึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งโรงเรียน ปริญญาตรี ระดับบณั ฑิตศึกษา ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ช่างกล ด้วยจุดประสงค์เพ่ือต้องการสร้างช่างฝีมือข้ึนมาท�ำงานรับช่วงจากวิศวกร ซงึ่ มีการพฒั นาอยา่ งตอ่ เนื่องจากอดตี สปู่ จั จบุ นั ดงั ต่อไปนี้ และปลูกฝังสนับสนุนอาชีพช่างกลให้กับเยาวชนไทย เพื่อเป็นก�ำลังในการพัฒนา ประเทศสบื ตอ่ ไป โรงเรียนอาชพี ช่างกล (พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๗) ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ผลกระทบหลังสงครามโลกครั้งท่ี ๑ ท�ำให้เกิดภาวะ เศรษฐกิจถดถอยกระจายทั่วโลก ส่งผลให้เงินงบประมาณในการบริหารประเทศไทย ขาดแคลน จนต้องมีการแก้ไขปัญหา ด้วยการลดจ�ำนวนข้าราชการและยุบหรือ ควบรวมหน่วยงานราชการให้ลดน้อยลง ในส่วนของทางกองทัพเรือ ก็ต้องงดรับ นักเรียนนายเรอื ทง้ั พรรคนาวินและพรรคกลนิ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ กองทัพเรือ ได้เปิดรับนักเรียนนายเรือ เฉพาะพรรคนาวิน เท่านนั้ จนกระทั่งถงึ ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ กองทัพเรอื ก็ยังไมม่ ีนโยบายท่จี ะเปดิ รับนกั เรียน นายเรอื พรรคกลนิ อกี เลย นาวาเอกพระประกอบกลกิจ ซ่ึงด�ำรงต�ำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียน นายเรือแผนกพรรคกลิน มีความรู้สึกห่วงใย เร่ืองวิชาช่างกลของคนไทยจะไม่เจริญ ก้าวหน้าต่อไปในกาลข้างหน้า คนที่มีความรู้วิชาช่างกลของคนไทยย่อมร่อยหรอ 16 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทุมวัน

ท่านจึงได้นำ� แนวความคิดน้ี ปรกึ ษาหารอื กับ เรือเอกทพิ ย์ ประสานสขุ ร.น. ความร่วมมือเรี่ยไรเงินจากบรรดาทหารเรือคนละ ๑๐๐ บาท โดยเก็บเป็น และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. ท่ีเคยเป็นลูกศิษย์ของท่าน จนได้ผลสรุปตาม รายเดอื น ๆ ละ ๕ บาท พร้อมท้ังออกปากชักชวนเพื่อน ๆ ทหารเข้าร่วมด้วย โดยมี แนวทางนั้น ท่าน (นาวาเอกพระประกอบกลกิจ) จึงออกหนังสือเวียน เพื่อขอ ทหารเรอื ผรู้ ว่ มอุดมการณใ์ นคร้งั น้ันจ�ำนวน ๑๑๑ ทา่ น รปู ท่ี 1 นาวาเอกพระประกอบกลกจิ ร.น. (เจอ๋ จันทรเวคิน) บดิ าผูใ้ หก้ ำ� เนิดโรงเรียนอาชพี ชา่ งกล (ช่างกลปทมุ วัน) เรอื เอกทพิ ย์ ประสานสขุ ร.น. และ พลเรอื ตรสี งบ จรญู พร ร.น. ผชู้ ว่ ยเหลอื ใหเ้ กดิ โรงเรยี นอาชพี ชา่ งกล (ชา่ งกลปทมุ วนั ) ประวตั ิ คณะทหารเรอื ทีบ่ รจิ าค นาวาเอกพระประกอบกลกจิ เพอ่ื จดั ตั้งโรงเรียนชา่ งกล https://drive.google.com/drive/ https://drive.google.com/drive/ folders/1TwvgdzXJ1hqlPpqN-NgCcmiqog3IFSZT? folders/1TwvgdzXJ1hqlPpqN-NgCcmiqog3IFSZT? 17 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทุมวนั

หลังจากนั้น ท่านจึงไปเช่าอาคาร เลขที่ ๑๘ ของพระคลังข้างท่ี (ส�ำนักงานทรัพย์สิน ห้องเรียนทฤษฎี ส่วนช้ันล่างเป็นโรงที่ฝึกงาน และได้เปิดท�ำการเรียนการสอน ส่วนพระมหากษัตริย์) เป็นอาคาร ๒ ช้ัน ในตรอกกัปตันบุช (ปัจจุบันคือ ครั้งแรกใน วนั จันทรท์ ่ี ๑ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ (แรม ๑๕ คำ�่ เดอื น ๘ ปวี อก) โดย ซอยเจรญิ กรงุ ๓๐) ถนนเจรญิ กรงุ แขวงสพ่ี ระยา เขตบางรกั กรงุ เทพฯ (บรเิ วณปจั จบุ นั ใช้ช่ือวา่ โรงเรยี นอาชีพชา่ งกล เปน็ โรงเรียนช่างกลแหง่ แรกของประเทศไทย (First of เป็นส่วนสวนข้างอาคารบ้านเลขท่ี ๑) โดยชั้นบนใช้เป็นห้องท�ำงานของครูและ Engineering School) ตราสญั ลกั ษณ์ : โรงเรียนอาชพี ช่างกล เป็นรูปสมอไขว้กบั เฟอื งจกั ร, มใี บชัยพฤกษ์อย่เู บอื้ งล่าง, ทห่ี ่วงสมอมีรัศมี ความหมาย : “รูปสมอ” แสดงความหมายถึง การก่อก�ำเนิดของโรงเรียนแห่งน้ีมาจากกลุ่มทหารเรือ “เฟืองจักร” แสดงความหมายถึง การสอนวิชาช่างกล “ใบชัยพฤกษ์” แสดงความหมายถึง การมีโชคชัย, ชัยชนะ, ชนะศัตรู, ชนะอปุ สรรคต่าง ๆ “รศั ม”ี แสดงความหมายถงึ แสงสว่างแห่งความรู้ น�ำทางไปสู่ความสำ� เร็จและความเจริญรงุ่ เรือง รปู ท่ี ๒ แผนท่ตี รอกกปั ตันบุช (ซอยเจริญกรงุ ๓๐) และทตี่ ้ังโรงเรยี นอาชพี ช่างกล พ.ศ. ๒๔๗๕ และบรเิ วณทตี่ ้ังโรงเรียนอาชีพชา่ งกล ปัจจุบนั เป็นส่วนสวนข้างอาคารบ้านเลขท่ี ๑ 18 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วนั

โดยมี นาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. รูปที่ ๓ ภาพครูและนักเรียนโรงเรยี นอาชีพช่างกล พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นผู้อ�ำนวยการ, เรือเอกหลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. เป็นอาจารย์ใหญ่, เรือเอกสงวน คงศิริ ร.น. เป็นอาจารย์ผู้ปกครอง, เรือโทสมบุญ กายะสุต ร.น. สอนวิชาช่างท่ัวไป และการฝึกหัดงาน มีครูช่วยสอน ๓ ท่าน คือ นายไจ้จ๋ิว สุขชื่น, นายตึ๋ง อินทรสะอาด, นายเลื่อน กาญจนเสถียร ใช้หลักสูตรการสอนของ โรงเรียนนายเรือ แผนกพรรคกลิน มีวิชาท่ีเปิดสอน คือ ตีเหล็ก, ตะไบ, บัดกรีและประสาน, ช่างปรับ, ช่างยนต์, ช่างไฟฟ้า, ช่างกลึง, ช่างหล่อ, ช่างเดิน เครอ่ื งจกั ร, ช่างออกแบบและคณิตศาสตร์ โดยใชเ้ วลา ชว่ งเชา้ เปน็ เรยี นการสอนภาคทฤษฎี สว่ นชว่ งบา่ ยเปน็ ภาคฝึกปฏิบัติ เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนมีความช�ำนาญ มีความอดทนและไม่กลัวต่อคราบความสกปรก เลอะเทอะของอาชีพช่างกล เป็นช่างกลที่ดีในอนาคต ตลอดจนปลูกฝังระเบียบวินัย ความรักสามัคคี ระหวา่ งพ,่ี เพอื่ นและนอ้ ง ตามแบบระบบของทหารเรอื โดยมีกองทัพเรือให้การสนับสนุนและอุปการะให้ นักเรียนไปฝึกงานภาคปฏิบัติที่กรมอู่ทหารเรือและ ท่ีโรงงานของโรงเรียนนายเรือฝ่ายพรรคกลนิ การรบั นกั เรยี น รบั ผทู้ ม่ี คี วามรไู้ มต่ าํ่ กวา่ ชน้ั ประถมปที ี่ ๓ หรอื เทยี บเทา่ เขา้ เรยี นหลักสูตร ๒ ปี โดยที่ยังไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน เมื่อเรียนจบทางโรงเรียนจะออกใบรับรอง ความรู้ให้ มีนักเรียนรุ่นแรกจ�ำนวน ๓๔ คน 19 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

โรงเรยี นมธั ยมอาชพี ชา่ งกล พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๘๑ ตราสัญลักษณ์ : โรงเรยี นมัธยมอาชพี ช่างกล สญั ลักษณ์ของตราและความหมายเหมอื นเดมิ แตเ่ ปลี่ยนชือ่ เปน็ โรงเรียนมธั ยมอาชพี ชา่ งกล พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนอาชีพช่างกลได้ย้ายมาอยู่ท่ีอาคารแผนกการพิมพ์ ในปีนี้เองกระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน จะขยาย กรมแผนที่ทหารบก ติดท่าเรือราชินีเหนือ ซอยท่าข้าม ถนนมหาราช ตำ� บลท่าเตียน การศึกษาวิชาอาชีพต่าง ๆ ให้ด�ำเนินไปตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2475 (ปัจจุบัน คือ แขวงพระบรมมหาราชวัง) อ�ำเภอชนะสงคราม (เขตพระนคร) จังหวัด ท่ีได้ก�ำหนดให้มีวิสามัญศึกษา คือการศึกษาวิชาชีพซ่ึงจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ พระนคร มลฑลกรุงเทพฯ ปัจจุบัน คือ บริเวณที่ต้ังอาคารเสาวภาผ่องศรีภายใน เช่น กสิกรรม หัตถกรรม ช่างกล ช่างไม้ พาณิชยการ เพ่ือเป็นพ้ืนฐานความรู้ส�ำหรับ โรงเรียนราชินีล่าง เพราะท่ีนี่เป็นสถานท่ีที่กว้างกว่าที่เดิมใกล้ท่าน�้ำ สะดวกแก่ ประกอบอาชีพต่าง ๆ และเป็นก�ำลังในการพัฒนาประเทศ วิชาช่างกลเป็นวิชาชีพ การเดินทางข้ามไปฝึกงานที่กรมอู่ทหารเรือ หรือยืมเรือกลไฟจากกองเรือกลทหารเรือ แขนงหนึ่งท่ีกระทรวงธรรมการเห็นว่ามีความส�ำคัญ และมีนโยบายที่จะส่งเสริม มาให้นกั เรยี นฝึกหดั ท้งั สะดวกในการขอความอนเุ คราะห์นายทหารเรอื ให้มาชว่ ยสอน แต่ตอนน้ันกระทรวงธรรมการยังไม่มีโรงเรียนสอนช่างกลเลย การจะจัดตั้ง ทฤษฎีช่างในบางโอกาส ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเรื่องการจัดหาครูอาจารย์ที่มีความรู้ความช�ำนาญหาได้ยากย่ิง จึงได้ทาบทามขอโอนโรงเรียนอาชีพช่างกลท่ีอยู่ในความดูแลของนาวาเอก ลักษณะโรงเรียนเป็นอาคาร ๒ ชั้น มีร้ัวสังกะสีก้ันเขตกับโรงเรียนราชินีล่าง พระประกอบกลกิจ ร.น. ให้มาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการเสีย นาวาเอก ช้ันบนใช้เป็นห้องท�ำงานของครูและห้องเรียนทฤษฎี ๑ ห้อง ชั้นล่างเป็นโรงฝึกงาน พระประกอบกลกิจ ร.น. ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนมีความยินดีท่ีจะมอบให้กระทรวง ช่างกลึง ช่างตะไบและช่างยนต์ การเรียนทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องผลัดกันเรียน ธรรมการ ระหว่างนักเรียนชั้น ปี ๑ และชั้น ปี ๒ การฝึกภาคปฏิบัติส่วนหน่ึงต้องไปอาศัยฝึก ท่กี รมอ่ทู หารเรือ หรือโรงฝึกงานของโรงเรยี นนายเรอื 20 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

รปู ท่ี ๔ แผนทีบ่ ริเวณทตี่ ง้ั โรงเรียนมัธยมอาชพี ชา่ งกล เมื่อปี ๒๔๗๗ ภาพถา่ ย ทางอากาศบรเิ วณปากคลองตลาด (ภาพถ่ายทางอากาศของ วลิ เลียมฮนั ด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๘๙) และแผนทจี่ ากหอ้ งปฏบิ ัติการ แผนทีป่ ระวัตศิ าสตร์ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั 21 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทุมวนั

๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงเรียนอาชีพช่างกล โอนมาสังกัดกระทรวง ปีการศึกษา ๒๔๘๐ เปลี่ยนระเบียบรับนักเรียนท่ีจบช้ันมัธยมปีท่ี ๖ และ ธรรมการ เปลี่ยนช่ือเป็น “โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล” รับนักเรียนที่ส�ำเร็จช้ัน เปล่ียนหลักสูตรการศึกษาเป็น ๓ ปี เรียนจบแล้วได้วุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตร มธั ยมปีที่ ๔ อายุ ๑๕ - ๑๘ ปี หลักสตู รการเรยี น ๒ ปี ไมเ่ กบ็ ค่าเลา่ เรียน สอนวิชา มัธยมอาชวี ศึกษาตอนปลาย ชา่ งกลพนื้ ฐาน คอื ชา่ งตะไบ, ชา่ งตเี หลก็ , ชา่ งบดั กรี และชา่ งฟติ ปรบั วชิ าชา่ งกลหลกั ปกี ารศกึ ษา ๒๔๘๑ เร่มิ เก็บคา่ เลา่ เรยี นปีละ ๒๐ บาท คือ ช่างกลโรงงาน, ช่างเครื่องยนต์, ช่างไฟฟ้า, เครื่องจักรไอน้�ำ, วิชาเขียนแบบช่าง ชา่ งกล ประกอบดว้ ยวชิ าสามญั คอื คณติ ศาสตร,์ กลศาสตร,์ ภาษาไทย, ภาษาองั กฤษ และพลศึกษา รูปที่ ๕ ครูโรงเรียนมธั ยมอาชีพชา่ งกล พ.ศ. ๒๔๘๐ และ พ.ศ. ๒๔๘๒ 22 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

โรงเรียนชา่ งกลปทมุ วนั (Patumwan Engineering School) พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๑๖ ตราสญั ลักษณ์ : โรงเรยี นช่างกลปทุมวนั รูปเฟอื ง ทีอ่ ยหู่ ลังรปู เสมาธรรมจกั ร มีอกั ษรคำ� วา่ ”โรงเรียนช่างกลปทุมวนั ” อยู่ภายในวงเฟืองใต้ฐานเสมาธรรมจักร เฟือง แสดงความหมายถึง การเรียนเก่ียวกับวิชาช่างกล เสมาธรรมจักร แสดงความหมายถึง โรงเรียนในสังกัดกระทรวง ศกึ ษาธกิ าร และ ชื่อโรงเรยี น สปี ระจำ� สถาบนั : เหลอื งเลอื ดหมู : สเี หลอื ง แสดงความหมายถงึ ใชธ้ รรมเปน็ สง่ิ นำ� จติ ใจ สเี ลอื ดหมู แสดงความหมายถงึ สขี องโลหติ พระวษิ ณกุ รรม ครุ เุ ทพของชาววศิ วกร ดอกไมป้ ระจำ� สถาบนั : ดอกบัว ปรัชญา : “รักเรียน เพยี รงาน สรา้ งสรรค์สังคม” ต้นไม้ประจ�ำสถาบัน : ต้นประดู่ ไม้เนื้อแข็ง ท่ีมีความแข็งแรง ล�ำต้นเป็นสีน้�ำตาลเข้ม แสดงความหมายถึง ความแข็งแกร่ง ความยิ่งใหญ่ ความสมัครสมานสามัคคี ความรว่ มมือรว่ มใจเปน็ พลังอันหนง่ึ อนั เดยี วกนั และเพอื่ เป็นทรี่ ะลกึ ว่า โรงเรยี นแหง่ น้ีกอ่ ก�ำเนดิ โดยคณะทหารเรือ 23 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วัน

พ.ศ. ๒๔๘๐ พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. รัฐมนตรีกระทรวง ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๘๒ ได้ย้ายโรงเรียน “มัธยมอาชีพช่างกล” มาอยู่ท่ีน้ี ศึกษาธิการ ตระหนักถึงความส�ำคัญของวิชาช่างกลท่ีจะจรรโลงชาติให้ก้าวหน้าต่อไป และหมอ่ มเจา้ รัชฎาภิเษก โสณกุล ไดป้ ระทานชอ่ื ใหม่เป็น “โรงเรยี นชา่ งกลปทมุ วัน” ในอนาคต ท่านไดว้ างโครงการพฒั นาโรงเรียนมัธยมอาชพี ช่างกล และหางบประมาณ จัดหลักสูตรการสอนในระดับอาชีวศึกษาช้ันสูงแผนกช่างกล หลักสูตร ๓ ปี มาให้ ๕ แสนบาท เพื่อหาท่ีดินก่อสร้างอาคารเรียนและจัดหาเคร่ืองมือเครื่องจักรใน รับนักเรียนที่จบช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยน�ำหลักสูตรของเยอรมันมาปรับใช้ การฝึกสอนให้ทันสมัย ท่านได้มอบหมายให้หม่อมเจ้ารัชฎาภิเษก โสณกุล อธิบดีกรม แยกเรียนวิชาเฉพาะสาขาตอนช้ันปีที่ ๓ ซ่ึงแยกออกเป็น ๓ แขนงวิชา คือ ช่างยนต์ วิชาการด�ำเนินการ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเษก โสณกุล ได้ไปเช่าที่ดินของส�ำนักงาน ชา่ งไอน้ำ� และชา่ งไฟฟ้า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังเดิมของกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีเนื้อท่ีประมาณ ๑๘ ไร่ ก่อสร้างอาคารโรงเรียนข้ึน ๑ หลัง (ตึกอ�ำนวยการ) โรงฝึกงานอีก ๘ หลัง พร้อมท้ังจดั หาเครอ่ื งมอื เครอื่ งจกั ร รูปที่ 6 ภาพถา่ ยทางอากาศบริเวณ โรงเรียนช่างกลปทุมวนั เมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ภาพถา่ ยทางอากาศของ วลิ เลยี มฮันด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ) 24 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วนั

วนั ท่ี ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๑๙.๐๐ น. กองทหารญป่ี นุ่ ประมาณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ไดย้ ้ายไปทำ� การสอนทโ่ี รงเรียนชา่ งเยบ็ หนงั ๑๐๐ คนเศษ บกุ จะเข้ามายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวนั เพ่อื ใชเ้ ป็นโรงงานของกองกำ� ลงั และชา่ งโลหะรูปพรรณ (โรงเรยี นการชา่ งอินทราชัย) ท่เี ชิงสะพานเฉลิมโลก ประตูน�ำ้ ทหารช่าง โรงเรียนจึงต้องอพยพนักเรียนไปเรียนที่ห้องสมุดโรงเรียนมัธยม วัดเทพศิรินทร์ รปู ท่ี 7 ภาพถา่ ยทางอากาศ โรงเรียนการช่างอนิ ทราชัย พ.ศ.๒๔๘๙ (ถ่ายภาพโดย วิลเลียมฮันท์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมดุ แห่งชาติ) 25 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

วันท่ี ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๘๕ กระทรวงกลาโหมตอ้ งการชา่ งซ่อมเครอ่ื งยนต์ วนั ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ญ่ปี นุ่ ประกาศยอมแพส้ งคราม แตโ่ รงเรียน เปน็ จำ� นวนมาก เพอ่ื สง่ ไปชว่ ยงานดา้ นการซอ่ มรถยนตท์ กี่ องทพั สนามภาคพายพั จงึ ได้ ช่างกลปทุมวันยังถูกทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดต่อจากญี่ปุ่น จึงย้ายจาก ติดต่อขออาสาสมัครนักเรียนช่างยนต์ ช้ันปี ๓ จากโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ไปช่วย ซอยสามมติ รกลบั มาทำ� การสอนทโ่ี รงเรียนช่างหนังและโลหะพรรณที่ประตนู ้�ำ ราชการ นกั เรียนแผนกช่างยนต์ ชั้นปี ๓ ทั้งหมด จำ� นวน ๓๒ คน สมัครใจอาสาไปชว่ ย ชาติโดยพร้อมเพรียงกัน พร้อมด้วยครูผู้ควบคุมอีก ๒ ท่าน คือ ครูสิทธิชัย (ส่าหรี) วันท่ี ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้คืนพ้ืนที่ให้โรงเรียน คูหาแกว้ และครเู คลือบ ศิริวฒั นกลุ ได้ปฏิบัติราชการจนกระทัง่ ส้ินสุดสงคราม ชา่ งกลปทุมวัน จึงย้ายกลบั มาเปิดการสอนทหี่ นา้ สนามกีฬาแหง่ ชาตดิ ังเดมิ ปีการศึกษา ๒๔๘๖ ด้วยสภาวะสงคราม จึงได้รวมนักศึกษาช้ันปีที่ ๓ เข้าเรียนด้วยกันเป็นแผนกเดียวท้ัง ๓ ช่าง และงดการสอบในปีการศึกษาน้ัน โดยถือ เกณฑ์เวลาเรียน ร้อยละ ๖๐ ถือเปน็ การสอบผ่าน พ.ศ. ๒๔๘๗ กระทรวงศึกษาธิการมีค�ำส่ังให้ย้ายโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ออกจากโรงเรียนช่างเย็บหนังและช่างโลหะรูปพรรณท่ีประตูน�้ำ เน่ืองจากพื้นท่ีใกล้ โรงงานรถไฟมักกะสัน ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดเป็นประจ�ำ ซ่ึงเสี่ยง อันตรายที่จะถูกระเบิดทิ้งพลาดมาโดนแบบโรงเรียนเพาะช่าง ระยะแรกจึงเพียงแค่ ย้ายการเรียนภาคทฤษฎที ว่ี ัดธาตทุ อง พระโขนงในตอนเชา้ และในตอนบ่ายให้กลับมา ฝึกงานท่ีโรงเรียนช่างเย็บหนังและช่างโลหะรูปพรรณ การเรียนการสอนเป็นไปด้วย ความยากล�ำบาก เนื่องจากระยะทางระหว่างสถานท่ีเรียนภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี อยู่ไกล ล�ำบากต่อการเดินทางของนักเรียน ท�ำให้การเรียนการสอนไม่ประสบความ สำ� เรจ็ เท่าท่คี วร เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ย้ายไปเรียนที่อาคารเรียนและโรงฝึกงาน ชั่วคราวบนที่ดินหลังบ้านของนายทองห่อ เช็งสุทธา ท่ีซอยสามมิตร (ปัจจุบัน คือ ซอยสุขุมวิท ๑๖) 26 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วัน

ชว่ งหลังสงครามมหาเอเชียบรู พา หลวงประพรรด์จิ ักรกจิ ร.น. อาจารย์ใหญ่ ขนาดใหญ่ให้การประปานครหลวง ซ่อมโรงไฟฟ้าสามเสนและสร้างสะพานช่ัวคราว ส่งนักเรียนออกไปช่วยซ่อมแซมเคร่ืองจักรและสาธารณูปโภคที่เสียหายจาก (สะพานแบลีย์) เชอ่ื มสะพานพุทธ ภยั สงคราม เชน่ ซอ่ มโรงไฟฟา้ วดั เลยี บ ซอ่ มสะพานรถไฟโยทะกา ซอ่ มปม๊ั หอยโขง่ นำ�้ รปู ท่ี 8 ครแู ละนกั เรียนช่างกลปทุมวนั ซอ่ มแซมเคร่อื งจักรและสาธารณูปโภคทเ่ี สยี หายจากภยั สงคราม นกั เรียนชา่ งกลชว่ ยราชการ นักเรยี นช่างกลไปช่วยซ่อม ในสงครามท่ภี าคเหนือ สะพานพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลก https://drive.google.com/drive/folders/ https://drive.google.com/drive/ 1X1EvrXX-WKe1DieWR4GjWN96lZYw0xtI?usp=sharing folders/1hWNSZTZEiDHrJQcCf2ciOR325bf7awJ1? 27 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทมุ วนั

วันท่ี ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เปิดสอนหลักสูตรนักเรียนช่างฝึกฝีมือ คือ โรงเรียนช่างกลลพบุรี โรงเรยี นชา่ งกลนนทบรุ ี และโรงเรียนชา่ งกลพระนครเหนือ รบั ผจู้ บการศกึ ษาตง้ั แตช่ นั้ ประถมปที ี่ ๔ ขนึ้ ไป เพอื่ สรา้ งโอกาสใหก้ บั ผทู้ ส่ี นใจวชิ าชา่ งกล แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ กระทรวงฯ จึงมีนโยบายจะขยายโรงเรียนช่างกล ทั่วไปเข้ามาฝึกหัดงานพื้นฐานทางช่าง และเป็นการสร้างโอกาสให้เขาเหล่านั้น ไปตามภูมิภาคเพิ่มขึ้น อาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน เล็งเห็นว่าจะมีปัญหาเร่ือง มีรายได้เพิ่มขึ้น สอนเน้นงานภาคปฏิบัติและพื้นฐานงานช่าง เช่น ช่างพะเนิน การขาดแคลนครูช่าง จึงไดเ้ ปดิ หลักสูตรฝกึ หดั ครปู ระถมช่างกล รบั ผู้ที่จบอาชีวศึกษา (งานตีเหล็ก) ช่างตะไบ ช่างสกดั ช่างเครอื่ งมอื วัด ชา่ งเครอื่ งยนต์ เปน็ ต้น ไม่กำ� หนด ตอนปลาย จากโรงเรยี นการชา่ งตา่ ง ๆ มาเรยี น ๓ ปี ไดว้ ฒุ อิ าชวี ะชนั้ สงู แผนกฝกึ หดั ครู เวลาเรยี น เมื่อลาออกจะมีใบประกาศรับรองวา่ ได้เรียนร้วู ชิ าใดไปบา้ ง เปิดสอนรุ่นแรกปีการศึกษา ๒๕๐๐ ถึง ปีการศึกษา ๒๕๐๓ ผลิตครูช่างกลได้ ๑๕๙ คน วนั ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ กรมอาชวี ศึกษา มนี โยบายส่งเสรมิ การเรยี น วิชาชีพแก่ผู้ใหญ่ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้ใหญ่ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางวิชาชีพ อาจารย์ สิทธิผล พลาชวี ิน เพิ่มเติม เพ่ือน�ำวิชาชีพท่ีได้รับไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และ ประเทศชาติได้เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ๓ สาขา คือ ช่างยนต์ ช่างวิทยุ อดีตอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนชา่ งกล และขับรถยนต์ โดยหลักสูตรขับรถยนต์เรียน ๓ เดือน หลักสูตรช่างยนต์และวิทยุ ปทุมวัน - ลพบรี - นนทบุรี - พระนครเหนือ เรียน ๑ ปี จบแล้วได้ประกาศนียบัตรรับรอง รับผู้มีอายุต้ังแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป ความรู้ เพียงอ่านออกเขยี นได้ จงึ เปน็ หลกั สตู รทไ่ี ดร้ ับความสนใจจากประชาชนมาก ปีน้ี พลเอกเต็ม หอมเศรษฐี เจ้ากรมการรักษาดินแดน ประสานให้โรงเรียน ช่างกลปทุมวันออกแบบสร้างและติดตั้งเคร่ืองส่งวิทยุให้กับสถานีวิทยุของกรมการ รักษาดินแดน โดยตัวเคร่ืองส่งออกแบบและสร้างโดย อาจารย์สวัสดิ์ หงส์พร้อมญาติ ติดตง้ั และออกอากาศช่วงแรกที่ชา่ งกลปทมุ วนั ต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นักเรียนในจังหวัดพระนครและธนบุรี ได้ไปเรียกร้อง กระทรวงศึกษาให้ขยายรับนักเรียนแผนกช่างกลเพ่ิมเติม ซ่ึงตอนนั้นมีเพียงแห่งเดียว คอื โรงเรยี นชา่ งกลปทมุ วนั แมข้ ยายรบั นกั เรยี นเพม่ิ ขน้ึ กย็ งั ไมเ่ พยี งพอกบั ความตอ้ งการ มล. ปน่ิ มาลากลุ ปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร จงึ มอบหมายให้ อาจารยส์ ทิ ธผิ ล พลาชีวนิ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ขยายจัดตั้งโรงเรียนช่างกลเพิ่มขึ้นอีก ๓ ท่ี 28 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

รปู ที่ 9 นกั เรียนฝกึ หัดครชู า่ งกล ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ อาจารย์สิทธิผล มอบหมายให้ครูอาจารย์และนักเรียน องค์ประธานเปิดงาน เป็นที่พอพระราชหฤทัยและทรงโปรดฯ ให้อาจารย์สิทธิผล โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ออกแบบสร้างประกอบรถยนต์คันแรกของประเทศไทย พลาชีวิน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุมวันเขา้ เฝา้ ฯ ถวายงาน เร่อื งรถที่โรงเรียน เพ่ือน�ำไปแสดงในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนท่ีโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อวันท่ี ชา่ งกลปทมุ วนั ออกแบบสรา้ งประกอบ พระองคไ์ ดพ้ ระราชทานพระราชกระแสแนะน�ำ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๒ ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก และยังได้ขับทดสอบ เพ่ือน�ำมาปรับปรุงรถยนต์คันนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นท่ีปลาบปล้ืมใจแก่ครูอาจารย์ รถยนตต์ อ่ หนา้ พระพกั ตร์ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช และนกั เรียนโรงเรียนช่างกลปทมุ วนั อย่างสุดซ้งึ มหาราช บนมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในวันท่ีพระองค์เสด็จพระราชด�ำเนินเป็น 29 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวนั

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร รชั กาลท่ี ๙ ทรงพระราชกรณุ า พระราชทานพระราชกระแสแนะนำ� รถยนตท์ โี่ รงเรยี นชา่ งกลปทมุ วนั ออกแบบสรา้ งประกอบ แดอ่ าจารย์สิทธิผล พลาชีวิน เมอ่ื วันท่ี ๓ ธนั วาคม ๒๕๐๒ 30 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วัน

ปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเทศไทยได้รับเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทอง หรือ การแขง่ ขันกีฬาฯ ครง้ั นี้ โรงเรียนช่างกลปทมุ วนั ได้รับเหรยี ญเกยี รตยิ ศพิเศษ เซยี บเกมส์ (SEAP GAMES) ครงั้ ท่ี ๑ (ซง่ึ ปจั จบุ นั เรยี กวา่ กฬี าซเี กมส์ (SEA GAMES) พร้อมหนังสือชมเชยการแสดงของนักเรียนช่างกลปทุมวัน จากศาสตราจารย์ ในกาลน้ันนักเรียนช่างกลปทุมวัน ได้รับเกียรติเข้าร่วมท�ำการแสดงในพิธีเปิดและ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นเกียรติและ ปิดการแขง่ ขัน โดยวันท่ีเปดิ การแข่งขัน ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๒ นกั เรยี นชา่ งกลจ�ำนวน สรา้ งชอ่ื เสยี งใหก้ ับโรงเรียนเปน็ อย่างมาก ๑,๐๐๐ คน เข้าร่วมเดินพาเหรด, แสดงการแปรขบวนเป็นรูปธงชาติและแสดง ปกี ารศกึ ษา ๒๕๐๓ มกี ารเปลย่ี นแปลงหลกั สตู รอาชวี ศกึ ษาชนั้ สงู เปน็ ประโยค กายบริหาร วิชาชีพช่างกล แยกเรยี น ๔ แผนก คือ ช่างกลโรงงาน, ชา่ งเครอื่ งยนต,์ ชา่ งไฟฟ้า และ สำ� หรบั วนั ปดิ การแขง่ ขนั ๑๗ ธนั วาคม ๒๕๐๒ นกั เรยี นชา่ งกลปทมุ วนั จำ� นวน ช่างวทิ ยุ ๕๐๐ คน ได้รับเกียรติให้แสดงร�ำโคมในพิธีปิดการแข่งขันฯ จนท�ำให้โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๐๘ เปิดรับนักเรียนหญิงรุ่นแรก (First Lady Gold Gear) ชา่ งกลปทมุ วัน ได้รบั คำ� ช่ืนชมจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ประชาชนและสื่อมวลชน เข้ามาเรียนร่วมกบั นักเรยี นชาย มีนักเรยี นหญงิ สอบเข้ามาเรียนจ�ำนวน ๕๐ คน รูปที่ 11 นักเรยี นหญงิ ชา่ งกลรุ่นแรก 31 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวนั

ปีการศึกษา ๒๕๑๐ แยกการเรียนเป็น ๕ แผนก คือ แผนกช่างกลโรงงาน ขุดลอกคลองระบายน้�ำ ในหมู่บ้านอาคารสงเคราะห์ทหารเรือ วัดครุฑ ต�ำบล แผนกชา่ งยนต์ แผนกชา่ งไฟฟา้ แผนกชา่ งวทิ ยแุ ละโทรคมนาคม โดยแยกแผนกชา่ งเชอื่ ม บ้านช่างหล่อ อ�ำเภอบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และโลหะแผ่น ออกจากแผนกช่างกลโรงงาน อยงู่ านพฒั นาครง้ั น้ี ประสบผลสำ� เรจ็ เปน็ อยา่ งดี ไดร้ บั คำ� ชมเชยจากบรรดานายทหารเรอื เจ้าของอาคารเหล่านั้น และมีนายทหารผู้หน่ึงได้กล่าวว่า “ถ้านักเรียนส่วนใหญ่ ปีการศึกษา ๒๕๑๓ เปล่ียนช่ือหลักสูตร เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเช่นนี้ บ้านเมืองก็จะเจริญไปนานแล้ว เพราะเด็ก วชิ าชพี (ปวช.) ในวัยนี้ก�ำลังอยากจะสร้างสรรค์และอยากเด่นถ้าแนะน�ำได้ถูกทาง” จากค�ำพูด ประโยคนี้ สร้างความภาคภูมิใจกับนักเรียนเป็นอย่างมาก เป็นการจุดประกายให้เกิด กลางปีการศึกษา ๒๕๑๖ มีนักเรียนช่างยนต์ชั้นปีท่ี ๒ ประมาณ ๓๐ คน ความคิด จัดต้ังเป็น ชมรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ (ชุมรมอาสาพัฒนา) มีวัตถุประสงค์หลัก ไดอ้ าสาออกไปชว่ ยอาจารย์สนาน ศุขวฒั นะกลุ ซอ่ มแซมบ้านในระหวา่ งปดิ ภาคเรยี น เพอ่ื ออกซอ่ ม สรา้ งโรงเรียนในถิ่นทุรกนั ดาร เทอมกลาง เม่ืองานซ่อมแซมบ้านเสร็จ อาสาช่วยกันปรับพื้นถนนเก่าให้เป็นพ้ืนแผ่น คอนกรีต ขนาด ๒๔\" x ๒๔\" x ๒\" ปูเป็นแผ่นคู่ยาวประมาณ ๓๕๐ เมตร พร้อมท้ัง ตราสญั ลกั ษณ์ : ชมรมอาสาพัฒนา 32 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทุมวัน

ปีการศกึ ษา ๒๕๑๗ ไดอ้ อกค่ายคร้งั แรก ณ โรงเรยี นบ้านตลบั อ.เมือง จ.ชยั ภูมิ และมกี ารออกคา่ ยอย่างต่อเนอื่ งมาทุกปี ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ ชมรมอาสาพฒั นาฯ ไปสร้าง โรงเรียนให้กับกองบัญชาการต�ำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งโรงเรียนท่ีทางชมรมอาสาพัฒนาฯ ไปสร้างให้น้ีได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเดจ็ ย่า) ว่า “โรงเรยี นต�ำรวจตระเวนชายแดน ชา่ งกลปทมุ วนั อนุสรณ”์ เร่อื งราวคา่ ยชมรมอาสา พัฒนาชา่ งกลปทมุ วัน https://drive.google.com/drive/ folders/15kx3F2Npi2iW446yXiY5MEApsMWwI0E3? 33 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

วทิ ยาลัยชา่ งกลปทมุ วนั (Patumwan Technical Institute : PTI) พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๓๐ ตราสญั ลกั ษณ์ : วิทยาลัยชา่ งกลปทมุ วนั สญั ลักษณแ์ ละความหมายเหมือนกับโรงเรียนชา่ งกลปทุมวัน เพียงแต่เปล่ยี นชือ่ เป็น “วิทยาลยั ช่างกลปทมุ วนั ” ปีการศึกษา ๒๕๑๗ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยกฐานะโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๒๔ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้วิทยาลัยช่างปทุมวัน ชา่ งกลปทมุ วนั เปน็ วทิ ยาลยั ชา่ งกลปทมุ วนั (Patumwan Technical Institute : PTI) ใหส้ อนเฉพาะหลักสูตรประกาศนยี บัตรวชิ าชพี ช้ันสูง (ปวส.) แต่เพยี งหลกั สตู รเดยี ว เปิดสอนท้ังหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และเพ่ิมการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ส�ำหรับในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร ปีการศึกษา ๒๕๒๕ เปิดรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิชาชีพ (ปวช.) จัดใหม้ ีการเรยี นวิชาสามญั เหมอื นนกั เรียนมธั ยมปลาย ดังนนั้ นกั เรยี น ภาคสมทบ (รอบค่�ำรุ่น ๑) และเทอม ๒ เปิดรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ท่เี รียนจบชัน้ ปีท่ี ๒ จะไดร้ ับใบประกาศนยี บัตรมธั ยมปลายดว้ ย มีสิทธิที่จะสมคั รสอบ ชน้ั สูง (ปวส.) รอบบ่ายพเิ ศษ ชา่ งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ มหาวิทยาลยั ปีการศึกษา ๒๕๒๐ รบั นกั เรยี นมัธยมศกึ ษาปีท่ี ๕ (ม.ศ. ๕) จากโรงเรียนใน โครงการมัธยมผสม (คมส.) คือ โรงเรียนสายสามัญที่มีการสอนวิชาชีพและวิชาการ ร่วมกัน เข้าเรียนเก็บวิชาเรียนครบได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพ่ือ เปดิ โอกาสให้นกั เรียนท่ีเรียนมาในระบบนไี้ ด้วุฒกิ ารศึกษาทด่ี ีกวา่ 34 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวนั

วทิ ยาลัยช่างกลปทุมวนั (Pathumwan Technical College : PTC) พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๔๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๗ ใชห้ ลักสตู รใหม่ แยกเป็น ๕ แผนก ๑๑ สาขาวชิ า ดังน้ี ปีการศกึ ษา ๒๕๓๒ แผนกไฟฟา้ ก�ำลงั เปดิ สาขาใหม่ คือ สาขาเคร่ืองมือวัด แผนกช่างเทคนิคการผลิต (รับมาจากผู้จบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และควบคุมในอตุ สาหกรรม และสาขางานเทคนิคในอาคารใหญ่ (ปวช.) ช่างกลโรงงาน) เปดิ สอน ๒ สาขา คอื ๑. สาขางานเครื่องมอื กล ปีการศึกษา ๒๕๓๓ เปิดสอนสาขาเคมีอุตสาหกรรม หลักสูตร ๒ ปี ๒. สาขางานแม่พิมพ์ (ต่อมาแยกเป็นสาขางานแม่พิมพ์โลหะและสาขา รับนกั ศกึ ษาทส่ี ำ� เร็จการศกึ ษาระดับมัธยมปที ี่ ๖ จบแล้วได้วุฒิประกาศนยี บตั รวิชาชีพ งานแมพ่ มิ พ์พลาสตกิ ) เทคนิค (ปวท.) แผนกช่างเทคนิคอุตสาหกรรม (รับมาจากผู้จบหลักสูตรประกาศนียบัตร ต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมอาชีวศึกษา ได้ขยายวิทยาลัยอาชีวศึกษาลง วชิ าชพี (ปวช.) ชา่ งเชอื่ มและโลหะแผน่ , ชา่ งกลโรงงาน , ชา่ งยนต)์ เปดิ สอน ๒ สาขา คอื สู่ระดับอ�ำเภอ ในนามวิทยาลัยการอาชีพท่ัวประเทศ จึงต้องการครู-อาจารย์เป็น ๑. สาขางานการผลิต จ�ำนวนมาก กรมอาชีวศึกษามอบหมายให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตร ๒. สาขางานติดต้ังและบ�ำรุงรักษา ประกาศนยี บตั รครูเทคนคิ ช้ันสงู (ปทส.) เป็นหลักสูตรเทียบเทา่ ปรญิ ญาตรี ครศุ าสตร์ แผนกช่างยนต์ เปิดสอน สาขางานเทคนิคยานยนต์ บณั ฑิต เปิดสอนรุน่ แรก ปีการศกึ ษา ๒๕๓๓ เปิดสอน ๓ สาขา คอื แผนกชา่ งไฟฟา้ ก�ำลัง เปดิ สอน ๓ สาขา คอื ๑. สาขาวชิ าเครอ่ื งกล วชิ าเอกครูเทคนคิ ชา่ งยนต์ (เครอื่ งกล) ๑. สาขางานตดิ ต้งั และการควบคุม ๒. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอกเคร่ืองมือกล และวิชาเอกเช่ือม ๒. สาขางานเครอ่ื งกลไฟฟ้า ประสาน ๓. สาขางานท�ำความเยน็ และเครือ่ งปรบั อากาศ ๓. สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอกครูเทคนิคไฟฟ้าก�ำลัง และวิชาเอกกครูเทคนิค แผนกช่างอเิ ล็กทรอนิกส์ เปิดสอน ๓ สาขา คอื ไฟฟา้ สอ่ื สาร ๑. สาขางานอเิ ล็กทรอนิกสอ์ ตุ สาหกรรม ๒. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์คอมพวิ เตอร์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีนักศึกษาส�ำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร ๓. สาขางานการสื่อสาร เทคนิคครูชั้นสูง จ�ำนวน ๗๐ คน และได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการครูท้ังหมด ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ตลอดจนท�ำให้โครงการขยายการศึกษาสายอาชีพ ของไทย กระจายลงสู่ระดบั อ�ำเภอ ทีใ่ ชช้ ื่อวา่ วิทยาลัยการอาชีพ ด�ำเนินการได้ ทำ� ให้ คนไทยเขา้ ถึงการศึกษาอาชีวะไดง้ า่ ยขนึ้ และทัว่ ถึง 35 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน

ปีนี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลญ่ีปุ่น โครงการไจก้า (JICA) กับแผนก ๒. หลักสูตรประกาศนียบตั รวชิ าชีพเทคนคิ (ปวท.) ๑ สาขาวิชา เครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม, แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ และโครงการเปิด - สาขาวิชาเทคนคิ เคมอี ุตสาหกรรม แผนกใหม่ คอื แผนกเมคคาทรอนิกส์ ๓. หลักสูตรประกาศนยี บัตรวชิ าชพี ครูชน้ั สงู (ปทส.) ๓ สาขาวชิ า ปกี ารศึกษา ๒๕๓๖ เปิดสอนหลกั สูตร - สาขาวิชาเครอ่ื งกล วชิ าเอกครเู ทคนคิ ช่างยนต์ (เครือ่ งกล) ๑. หลกั สูตรประกาศนียบตั รวชิ าชพี ชั้นสงู (ปวส.) จำ� นวน ๖ สาขาวชิ า - สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอกเครื่องมือกลและวิชาเอก สาขาวชิ าช่างยนต์ เชื่อมประสาน สาขาวิชาเทคนคิ การผลติ เปิดสอน ๒ สาขาวิชา - สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอกครูเทคนิคไฟฟ้ากำ� ลังและวิชาเอกกครูเทคนิค ไฟฟา้ สอ่ื สาร สาขางานเครอื่ งมือกล สาขางานแม่พิมพ์ ปีการศึกษา ๒๕๓๗ รับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง รุ่นสุดท้าย สาขาวิชาชา่ งเทคนคิ อุตสาหกรรม เปิดสอน ๒ สาขา และเปิดสอนสาขาเมคคาทรอนิกส์ รุ่นแรก รับจากผู้ส�ำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) มาเรียน ๔ ปี จบแล้วได้วุฒปิ ระกาศนยี บัตรวิศวกรรมศาสตร์ (ปว.ศ) สาขางานการผลิต เทยี บเทา่ ปริญญาตรี สาขางานการตดิ ตง้ั และบำ� รงุ รักษา สาขาวิชาชา่ งไฟฟ้ากำ� ลงั เปดิ สอน ๔ สาขา พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช สาขางานตดิ ตง้ั และการควบคมุ มหาราช บนมนาถบพิตร รัชกาลท่ี ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานช่ือ สาขางานเคร่อื งกลไฟฟ้า วิทยาลยั ช่างกลปทมุ วนั เป็น “สถาบันเทคโนโลยปี ทมุ วัน” (ท่ี รล. ๐๐๐๓/๑๒๖๔๔ สาขางานท�ำความเย็นและเครือ่ งปรบั อากาศ สำ� นักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง กทม. ๑๐๒๐๐ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐) สาขางานเทคนิคในอาคารใหญ่ สาขาวชิ าชา่ งอเิ ล็กทรอนิกส์ เปดิ สอน ๓ สาขา วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับ สาขางานอิเล็กทรอนกิ ส์อุตสาหกรรม ปริญญาตรี ในสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน ได้รับการลงพระปรมาภิไธย สาขางานอิเล็กทรอนกิ ส์คอมพิวเตอร์ และส�ำนักงานเลขานกุ ารคณะรัฐมนตรไี ด้น�ำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา สาขางานการสอ่ื สาร สาขาวิชาชา่ งเคร่ืองมือวดั และควบคุมในอตุ สาหกรรม 36 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วัน

สถาบันเทคโนโลยีปทมุ วนั (Pathumwan Institute of Technology) พ.ศ. ๒๕๔๑ – ปจั จบุ ัน ตราสญั ลักษณ์ : สถาบันเทคโนโลยปี ทุมวัน ส่วนประกอบและความหมายของตราสัญลักษณ์ : เฟือง แสดงความหมายถึง สัญลักษณ์ของช่างกล, ดอกบัว หมายถึง ช่ือของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, ฉัตร หมายถึง ความร่มเย็นเป็นสุข คอยปกป้องสถาบันให้พ้นจากภัย, รัศมี หมายถึง แสงสวา่ งแหง่ ความรู้ น�ำทางไปส่คู วามส�ำเรจ็ และความมีช่อื เสียงของสถาบัน, สมอ หมายถงึ คณะทหารเรือเป็นผู้กอ่ ตั้งสถาบัน ปรัชญา (Philosophy) “สรา้ งบัณฑติ ปฏิบตั กิ ารได้จริง มุง่ เน้นคณุ ธรรมกา้ วน�ำนวัตกรรมและเทคโนโลยี” อตั ลักษณ์ (Identity) “นักปฏิบัตมิ ืออาชีพ” เอกลกั ษณ์ (Unique) “เชย่ี วชาญเทคโนโลยี มคี ณุ ธรรม นำ� ความรู้ สู่การปฏิบตั ”ิ วสิ ัยทัศน์ (Vision) “สถาบนั ชั้นนำ� ในการวจิ ัยและสร้างนวัตกรรมเพือ่ พัฒนาสงั คมอยา่ งย่งั ยนื ” พันธกจิ (Mission) ๑. สร้างบัณฑติ ทม่ี คี วามรคู้ ู่ทักษะดา้ นปฏิบตั ิการทางวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีท่มี คี ณุ สมบตั ิตรงกับความตอ้ งการของภาคอตุ สาหกรรม ๒. สรา้ งบณั ฑิตที่มคี ณุ ธรรม จติ อาสา ส่งเสรมิ ใหม้ กี ารท�ำนบุ ำ� รุงศลิ ปวฒั นธรรม และอนรุ ักษ์ส่ิงแวดลอ้ ม ๓. สง่ เสริมสถาบันให้เปน็ องค์กรแห่งการเรยี นรู้ มุ่งเนน้ งานวิจยั เพื่อการสร้างนวัตกรรม ๔. บรหิ ารจดั การองคก์ รด้วยหลักธรรมาภบิ าล ๕. ใหบ้ ริการวชิ าการและวิชาชีพแกช่ มุ ชนและสังคม 37 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๔๘ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้จัดให้มีพิธีพระราชทาน (ค.อ.บ.) หลักสูตร ๔ ปี รับนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปริญญาบัตร ขึ้นเป็นคร้ังแรก ในวันท่ี ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ โดยได้รับพระเมตตา (ปวช.) และวิศวกรรมศาสตรบณั ฑิต สาขาวศิ วกรรมเมคคาทรอนกิ ส์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในพิธี โดยมีผู้ส�ำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๔๓ - ๒๕๔๗ เป็นจ�ำนวน ๑,๖๒๕ คน ปกี ารศกึ ษา ๒๕๔๓ เปดิ สอนหลกั สตู รหลกั สตู รวศิ วกรรมศาสตรบณั ฑติ (วศ.บ.) ณ สวนอมั พร กรงุ เทพมหานคร - สาขาวิศวกรรมการวดั คมุ (วศิ วกรรมการวดั และควบคมุ ) - สาขาวศิ วกรรมเครอ่ื งกล พ.ศ. ๒๕๕๑ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) - สาขาวศิ วกรรมไฟฟา้ สาขาวชิ าวิศวกรรมการผลติ - สาขาวศิ วกรรมอิเลก็ ทรอนกิ สแ์ ละโทรคมนาคม ปกี ารศกึ ษา ๒๕๕๕ คณะวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปดิ สอน - สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม - สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ - สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หลักสูตร ๔ ปี รับผู้ส�ำเร็จการศึกษา เทคโนโลยีสงิ่ แวดล้อม ระดับ ปวช. ปีการศึกษา ๒๕๕๖ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ขยายการศึกษาในระดับ หลักสูตรวทิ ยาศาสตรบณั ฑิต (วท.บ.) หลักสตู ร ๔ ปี บัณฑิตศึกษา (ปรญิ ญาโทและปรญิ ญาเอก) ระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ๓ สาขา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร - สาขาวิชาเคมอี ุตสาหกรรม มหาบัณฑติ สาขาวชิ าวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๔๗ มผี ลบงั คบั ใชใ้ นวนั ท่ี ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ และยา้ ยมาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี การอดุ มศกึ ษา และการจดั การสิ่งแวดล้อม วันท่ี ๘ มกราคม – ๘ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ สถาบนั เทคโนโลยีปทมุ วนั น�ำนักศึกษาช่างกลปทุมวัน ท้ัง ๔ ช้ันปี ร่วมใจซับน�้ำตาชาวใต้ โดยสร้างท่ีพักอาศัย - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยี แก่ผู้ประสบภัยสึนามิ ท่ี อ.ตะก่ัวป่า จ.พังงา จ�ำนวน ๔ ชุด จ�ำนวนนักศึกษา ชุดละ การผลติ ข้ันสงู ๙๐ – ๑๐๐ คน โดยมอี าจารย์ปัญญา มินยง อาจารย์ประยูร สรุ นิ ทร์ อาจารย์ฉตั รชัย ระดบั ดุษฎบี ณั ฑิต (ปรญิ ญาเอก) ๓ สาขา เรืองไทย และอาจารย์พิทักษ์ พนาวนั เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม กระจายนักศึกษาไปสรา้ ง - หลกั สตู รวศิ วกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวชิ าวศิ วกรรมไฟฟ้า ท่ีอยู่อาศัยช่ัวคราวให้ชาวบ้าน ที่ศูนย์บางม่วง ที่ศูนย์คึกคัก ที่หาดทับตะวัน - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี ด้วยความทุ่มเท ขยันขันแข็งของนักศึกษา จนได้รับการชมเชยจากเจ้าหน้าที่และ และการจัดการสิง่ แวดล้อม เปน็ ท่รี กั และผกู พันดงั ญาตสิ นทิ กบั ชาวบา้ น - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยี 38 การผลิตข้ันสงู อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วนั

ประวัติ ช่างกลปทุมวันฉบับเต็ม https://drive.google.com/drive/ folders/17eGLBZwvlcnpTpVXUZRFN9fRu8fwr34c? 39 อนสุ รณ์ ๙๐ ปี ชา่ งกลปทมุ วัน



41 อนุสรณ์ ๙๐ ปี ช่างกลปทุมวัน










Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook