Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือมะเร็งปากมดลูก

คู่มือมะเร็งปากมดลูก

Published by wo2544, 2022-08-20 12:56:41

Description: มะเร็งปากมดลูก

Search

Read the Text Version

คู่มือ มะเร็งปากมดลูก Cervical Cancer มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็น อันดับ 2 ของมะเร็งที่เกิดขึ้นในสตรี ภัยเงียบที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

มะเร็งปากมดลูก คือ การมีก้อนเนื้อร้ายบริเวณช่องคลอด มดลูก หรือปาก มดลูก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส HPV พบมากในหญิงวัย 30-60 ปี ก้อนมะเร็ง ปากมดลูก ช่องคลอด มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมากจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือเรียกว่าเชื้อไวรัสหูด ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งหญิงและชาย แต่ผู้ชายจะไม่แสดงอาการ การติดเชื้อส่วนมากมาจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัส HPV ส่งผลให้เนื้อเยื่อผิวของปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง ของเนื้อเยื่อ หากมีการติดเชื้อเป็นเวลานาน เนื้อเยื่อปากมดลูกจะกลายเป็น มะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพั นธ์ การมีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพั นธ์กับผู้ที่มีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพั นธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การตั้งครรภ์เร็ว และคลอดบุตรหลายครั้ง มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพั นธ์ เช่นการติดเชื้อ HIV , หนองใน , เริม , ซิฟิลิส สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม มีตกขาว , สารคัดหลั่ง ทางช่องคลอดมากกว่าปกติ มีประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนมามาก หรือมานาน มีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือน หรือวัยทอง เจ็บขณะมีเพศสัมพั นธ์ มีอาการเจ็บ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อย ปัสสาวะปนเลือด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย

ระยะการเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งระยะก่อนลุกลาม ระยะ 0 มะเร็งปากมดลูกระยะนี้มักไม่แสดงอาการใดๆ แต่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มะเร็งระยะลุกลาม ระยะที่ 1 มะเร็งเริ่มลุกลามเล็กน้อย ไม่สามารถ มองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มลุกลามไปนอกปากมดลูก ระยะที่ 3 มะเร็งเริ่มลุกลามไปที่ผนังอุ้งเชิงกราน และเริ่มลุกลามซึ่งอาจทำให้ไตบวมและทำงานผิดปกติ ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปสู่นอกอุ้งเชิงกรานและ ลุกลามไปยังอวัยวะใกลเคียง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด สมอง ทวารหนัก ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4

การป้องกันเป็นมะเร็งปากมดลูก การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น การไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน การได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ก่อนการ มีเพศสัมพั นธ์ครั้งแรก การเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี แปปสเมียร์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี แปปสเมียร์ แปปสเมียร์ (Pap Smear) เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ โดยใช้ไม้ป้ายเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก จากนั้นป้ายลงบนแผ่นสไลด์ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว จึงทำให้สามารถรักษา โรคมะเร็งปากมดลูกให้หายขาดได้

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจภายใน 24-48 ชั่วโมง ไม่ควรเหน็บยาใดๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง ควรมารับการตรวจภายในหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาตรวจได้ตามสะดวก แปปสเมียร์ตรวจได้ที่ไหน ? โรงพยาบาลรัฐ/เอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย / รพสต. คลินิกสูตินารี

เมื่อเป็นแล้วรักษาอย่างไร ? มะเร็งระยะต้น - แพทย์อาจใช้การผ่าตัด (ระยะก่อนเป็นมะเร็ง) - ผลการรักษาดีมาก โอกาสหายสูงมาก มะเร็งระยะกลาง - ใช้การฉายรังสีรักษา (ระยะที่ 1 และ - ให้ยาเคมีบำบัด ระยะที่ 2 ขั้นต้น) - ผลการรักษาดีพอสมควร มะเร็งระยะสุดท้าย - ประคับประคองอาการ (ระยะ3 และ 4) และบำบัดอาการเจ็บปวด - ผลการรักษาไม่ค่อยดีนัก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook