คู่มือหมอพื้นบ้าน ในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา โดย สำ� นักการแพทย์พน้ื บา้ นไทย กรมพฒั นาการแพทย์แผนไทยและการแพทยท์ างเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ
คู่มือหมอพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา ข้อมลู ทางบรรณานกุ รมหนงั สอื สำ� นักการแพทย์พื้นบา้ นไทย ค่มู ือหมอพืน้ บ้านในการรักษาผู้ปว่ ยกระดกู หักและการฟ้นื ฟสู ภาพผู้ป่วยหลังการรักษา/ผเู้ ขยี น วทิ เชษฐ พชิ ัยศักด,์ิ สุรชัย ปญั ญาพฤทธิ์พงศ,์ ยลชัย จงจริ ะศริ ิ, ศักด์ิสทิ ธ์ิ มหารัตนวงศ.์ -- นนทบรุ :ี สำ� นกั การแพทยพ์ ื้นบา้ นไทย กรมพัฒนาการแพทยแ์ ผนไทย และการแพทยท์ างเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ , ๒๕๕๖. ๑๕๐ หน้า : ภาพประกอบ. ๑. กระดกู หกั -การพยาบาล. ๒. กระดูกหัก-การรกั ษา. ๓. กายภาพบำ� บดั . ๔. การแพทย์แผนไทย. ๕. วทิ เชษฐ พชิ ยั ศักด.์ิ ๖. สรุ ชยั ปญั ญาพฤทธพ์ิ งศ์. ๗. ยลชัย จงจริ ะศิริ. ๘. ศักด์สิ ทิ ธิ์ มหารัตนวงศ์. ๙. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก. ๖๑๖.๗๑ คณะทป่ี รึกษา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก นายแพทยส์ มชัย นจิ พานิช นายแพทยป์ ภัสสร เจยี มบญุ ศรี รองอธบิ ดกี รมพฒั นาการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทยท์ างเลอื ก นายแพทยณ์ ัฐวฒุ ิ ประเสรฐิ สริ ิพงศ์ รองอธิบดกี รมพฒั นาการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทยท์ างเลือก ศาสตราจารย์เกียรติคณุ นายแพทย์ยงยทุ ธ วชั รดลุ ย์ ราชบัณฑติ ประเภทวิทยาศาสตรส์ ุขภาพ สาขาแพทยศาสตร ์ ดร.พรทพิ ย์ อันทิวโรทัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์วรรณี สตั ยววิ ัฒน ์ ท่ีปรกึ ษาชมรมพยาบาลออร์โธปดิ กิ สแ์ ห่งประเทศไทย นางเสาวณยี ์ กลุ สมบรู ณ ์ ผู้อำ� นวยการส�ำนกั การแพทย์พนื้ บา้ นไทย นายสุธน พรบัณฑติ ยป์ ัทมา นกั วิชาการอสิ ระ รองศาสตราจารยส์ ิริรัตน์ จนั ทรมะโน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายพั คณะบรรณาธกิ าร สำ� นักการแพทย์พน้ื บ้านไทย เรอื ตรหี ญงิ ธนิดา ขนุ บญุ จนั ทร ์ นางฉนั ทนา กระภฤู ทธิ ์ ส�ำนกั การแพทยพ์ ้ืนบ้านไทย นางสาวสิริลดา พิมพา สำ� นกั การแพทยพ์ ื้นบา้ นไทย นายกฤษณะ คตสุข ส�ำนักการแพทย์พื้นบา้ นไทย นางสาวอาภากรณ ์ เตชรัตน ์ สำ� นักการแพทยพ์ น้ื บา้ นไทย นางสาวละเอยี ด ปานทอง ส�ำนกั การแพทยพ์ น้ื บ้านไทย นายอาทิตย์ กระออมแก้ว ผู้ช่วยนกั วจิ ยั นายศราวธุ ปราชญากุล ผ้ชู ว่ ยนกั วิจยั นางสาวณฤดี ไชยายงค์ ผ้ชู ว่ ยนักวจิ ยั นางสาวศริ ิพรรณ แนวทอง ผชู้ ว่ ยนกั วจิ ัย ISBN 978-616-11-2040-5 สงวนลิขสิทธ์ติ ามพระราชบัญญัตลิ ขิ สิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ พิมพ์ครงั้ ท่ี ๑ มกราคม ๒๕๕๗ จ�ำนวนพิมพ์ ๘๐๐ เล่ม จัดพิมพโ์ ดย ส�ำนกั การแพทยพ์ ้ืนบา้ นไทย กรมพฒั นาการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทยท์ างเลือก กระทรวงสาธารณสุข อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบรุ ี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท/์ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๗๘๐๘ พมิ พท์ ่ี สำ� นักงานกิจการโรงพิมพ์ องคก์ ารสงเคราะหท์ หารผา่ นศึก ในพระบรมราชปู ถัมภ์ ๒/๙ ซอยกรุงเทพ-นนทบุรี ๓๑ เขตบางซ่อื กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๒๙๑๐-๗๐๐๑-๒ / ๐-๒๔๘๕-๖๔๖๖
่คู ืม อ ห ม อ ื้พ น ้บ า น ใ น ก า ร ัร ก ษ า ผู้ ่ป ว ย ก ร ะ ูด ก ัห ก แ ล ะ ก า ร ้ฟื น ฟู ส ภ า พ ู้ผ ป่ ว ย ห ลั ง ก า ร ัร ก ษ า คค� ำ�ำนน�ำ� ำ คมู่ อื หมอพน้ื บา้ นในการรกั ษาผปู้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟนื้ ฟสู ภาพผู้ป่วยหลังการรักษาเล่มนี้จดั ทำ�ขนึ้ เพ่ือเป็นแนวทางให้แก่หมอพ้ืนบ้านและผู้สนใจทุกท่านท่ีจะนำ�ความรู้ไปปรับใช้ในการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ ภายหลงั การรกั ษากระดูกหักในเบ้ืองตน้ ได้ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบันที่ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานสำ�คัญ ในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย เกิดการผสมผสานองค์ความรู้ในการรักษา และแลกเปลี่ยน เรียนรู้กระบวนทัศน์ของภูมิปัญญาดั้งเดิมกับระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบบริการ สุขภาพภาคประชาชน และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในชุมชนอีกด้วย เนื้อหาของคู่มือเล่มนี้ เป็นความรู้ข้ันพื้นฐานทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน ในประเด็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระดูก การรักษา ผู้ป่วยกระดูกหัก การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา นอกจากนั้นยังได้สอดแทรกเน้ือหาเบื้องต้นเก่ียวกับ การดูภาพเอกซเรย์และอาหารส�ำหรับผู้ป่วยกระดูกหัก เพื่อให้หมอพื้นบ้านและผู้สนใจได้เห็นมุมมองด้าน การรักษาและการดูแลมากย่ิงข้ึน ส�ำหรับความรู้ด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยกระดูกหักหลังการรักษาน้ันเป็น สาระส�ำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถน�ำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการฝึกและการใช้งานในกิจวัตรประจ�ำวัน ได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มน้ีจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่แพทย์แผนปัจจุบันและหมอพ้ืนบ้าน ท่ีรักษากระดูกหักในชุมชน และเป็นประโยชนแ์ ก่ผสู้ นใจที่จะน�ำแนวทางดังกล่าวไปใชไ้ ด้อย่างถกู ตอ้ ง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกขอขอบคุณคณะท่ีปรึกษาทุกท่าน คณะแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ที่ได้ร่วมกันเติมเต็มสาระท่ีทรงคุณค่า ขอขอบคุณในความร่วมมืออย่างดีของ หมอพื้นบ้านและเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และขอขอบคุณกองบรรณาธิการที่ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ จนสำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ทั้งนี้หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด โปรดแจ้งให้สำ�นักการแพทย์พื้นบ้านไทยทราบ เพอื่ จะไดพ้ ิจารณาปรับปรงุ ในโอกาสต่อไป (นายสมชยั นิจพานชิ ) อธิบดกี รมพฒั นาการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กนั ยายน ๒๕๕๖
่คู ืม อ ห ม อ ื้พ น ้บ า น ใ น ก า ร ัร ก ษ า ผู้ ่ป ว ย ก ร ะ ูด ก ัห ก แ ล ะ ก า ร ้ฟื น ฟู ส ภ า พ ู้ผ ป่ ว ย ห ลั ง ก า ร ัร ก ษ า ถ้อยค�ำแนถ�ำ ลง ภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้านไทยในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักเป็นภูมิปัญญาด้ังเดิมที่ยังคงพบเห็น ได้ทั่วไปในชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยส�ำคัญประการหน่ึงที่ท�ำให้ผู้ป่วยกระดูกหักยังคงไปรับการรักษากับ หมอพ้ืนบ้าน คือ ความเช่ือ ความศรัทธาในตัวหมอพ้ืนบ้าน ที่เป็นผู้มีความรู้ มีความเข้าใจและเต็มใจให้การรักษา โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ และให้ความเป็นกันเองกับผู้ป่วยและญาติ ท�ำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูง นับว่าเป็นคุณลักษณะที่ส�ำคัญของหมอพื้นบ้าน จึงมีผู้ป่วยยังคงไปรับการรักษาจากหมอพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าบทบาทของหมอพื้นบ้านและภูมิปัญญาดั้งเดิมจะถูกลดทอนลงจนแทบจะสูญหายไปก็ตาม แต่ในชุมชน ระบบสขุ ภาพภาคประชาชนกย็ งั คงมหี มอพน้ื บา้ นใหก้ ารรกั ษาและปรากฏใหเ้ หน็ อยทู่ ว่ั ทกุ แหง่ และเปน็ ทางเลอื กหนงึ่ ในการพ่ึงตนเองด้านสขุ ภาพของคนไทยมาอยา่ งต่อเน่ือง ในปัจจุบันระบบบริการสาธารณสุขของไทยมีโรงพยาบาลชุมชนที่ให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยทุกอ�ำเภอ ท่ัวประเทศ กระบวนการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก คือ การใส่เฝือกเพ่ือให้กระดูกได้พักอยู่นิ่ง ๆ ซึ่งจะท�ำให้ม ี การเช่ือมติดของกระดูกตามปกติ และมีการนัดตรวจเป็นระยะ แต่ผลข้างเคียงของการใส่เฝือกปูน มักท�ำให้ผู้ป่วย รูส้ กึ หนัก ร้อนและคนั ทำ� ให้หลายคนหนั ไปรกั ษากบั หมอพ้ืนบ้าน ซงึ่ จะรักษาโดยทาน�้ำมนั นวด และใส่เฝอื กไม้แทน เฝือกปูนซ่ึงเบากว่ามาก การไปหาหมอพื้นบ้านผู้ป่วยไม่ต้องรอคอยนาน ไม่เสียเวลาในการท�ำงานประจ�ำวัน คา่ ใชจ้ า่ ยนอ้ ย และผลการรักษามกั เปน็ ท่ีพอใจของผ้ปู ่วย กระบวนการรักษาดังกล่าวยังคงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและยังไม่มีหน่วยงานใดท่ีให้การดูแล และสนับสนุนหมอพื้นบ้าน นับต้ังแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ท่ีระบบการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามาแทนท่ีระบบ การแพทย์ดั้งเดิม จนกระท่ังกระทรวงสาธารณสุขมีการปฏิรูปโครงสร้างบทบาทภารกิจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๔๕) และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ (วันที่ ๙ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๔๕) จึงได้มกี ารจดั ต้ังกรมพัฒนาการแพทยแ์ ผนไทย และการแพทยท์ างเลือกขน้ึ โดยมีภารกจิ ที่ส�ำคัญ คือ การพฒั นาวิชาการ สร้างมาตรฐานให้ทดั เทียมกบั การแพทย์ แผนปจั จุบันและนาํ ไปใช้ในระบบสขุ ภาพอยา่ งมคี ณุ ภาพและปลอดภัยเพ่ือเปน็ ทางเลอื กแกป่ ระชาชนในการดูแลสขุ ภาพ ดังนั้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๑ ส�ำนักการแพทย์พ้ืนบ้านไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหน่ึงใน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้ด�ำเนินการศึกษาภูมิปัญญาหมอพ้ืนบ้านในการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหัก เพ่ือน�ำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพหมอพื้นบ้านต่อไป โดยครั้งแรก ได้เริ่มศึกษาในกลุ่มหมอพ้ืนบ้านที่มีประสบการณ์รักษาผู้ป่วยกระดูกหักในชุมชนไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ใน ๙ พ้ืนท ่ี น�ำร่อง และประเมินผลการรักษาของหมอพืน้ บ้าน โดยคณะแพทยเ์ ฉพาะทางดา้ นออร์โธปดิ กิ ส ์ จ�ำนวน ๓ คน รว่ มกนั ประเมนิ ใน ๒ สว่ น คอื ประเมนิ รปู รา่ งกระดกู จากการดฟู ลิ ม์ เอกซเรย์ และประเมนิ การใชง้ านจากการทดสอบ การเคลอ่ื นไหวของผปู้ ่วยจำ� นวนท้ังส้ิน ๒๑๖ ราย
่คู มื อ ห ม อ พ้ื น บ้ า น ใ น ก า ร รั ก ษ า ผู้ ่ป ว ย ก ร ะ ูด ก ัห ก แ ล ะ ก า ร ้ฟื น ฟู ส ภ า พ ู้ผ ป่ ว ย ห ลั ง ก า ร ัร ก ษ า ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยท่ีหมอพ้ืนบ้านรักษาได้ผลดีทั้งสองส่วน คือ รูปร่างการติดของกระดูก และการใช้งานดี มจี �ำนวน ๕๓ คน (ร้อยละ ๒๔.๕) ผู้ป่วยท่ีหมอพนื้ บา้ นรักษาได้ผลไมด่ ีทั้งด้านรูปร่างและการใชง้ าน มีจำ� นวน ๗๙ คน (รอ้ ยละ ๓๖.๖) ผู้ปว่ ยท่ีมกี ารใช้งานได้ดีถงึ แม้ว่ารปู ร่างจะไมเ่ หมอื นขา้ งปกติ มจี ำ� นวน ๘๐ คน (ร้อยละ ๓๗.๐) และผู้ป่วยท่ีมีรูปร่างการติดของกระดูกดี แต่การใช้งานไม่เหมือนข้างปกติ มีจ�ำนวน ๔ คน (ร้อยละ ๑.๙) จะเห็นได้ชัดว่า การรักษาของหมอพื้นบ้านมีข้อจ�ำกัด ซึ่งเม่ือศึกษาเชิงลึกจะพบว่าปัจจัยส�ำคัญ คอื ความรู้ด้านการรักษายงั ไมถ่ กู ต้อง ดงั น้ันประเดน็ ส�ำคญั เร่งดว่ นทตี่ อ้ งดำ� เนนิ การ คอื การเสริมความรูค้ วามเข้าใจ และทักษะท่ีถกู ตอ้ งให้แกห่ มอพนื้ บา้ น ด้วยเหตุนี้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้เล็งเห็นความส�ำคัญที่จะต้องเร่งรัด การพัฒนาศักยภาพของหมอกระดูกพื้นบ้านให้มีความรู้และทักษะในการรักษาท่ีถูกต้อง อันจะท�ำให้หมอพื้นบ้าน สามารถเป็นที่พ่ึงของคนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันท่ี ๒๔-๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเสริมความรู้เบื้องต้นให้แก่หมอพ้ืนบ้านรักษากระดูกหัก ใน ๔ ภูมภิ าค จ�ำนวน ๗๐ คน มคี ณะแพทยท์ างดา้ นออร์โธปิดกิ ส์เป็นวิทยากร โดยแบ่งกลมุ่ ๕ กลมุ่ กลมุ่ ละ ๑๔ คน ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัตินาน ๓๐ นาทีต่อกลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ ๑ การจับต้องผู้ป่วยในท่าที่ถูกต้อง ฝึ ึกอบรมโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์ ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาแพทยศาสตร์ กลุม่ ท่ี ๒ การใสเ่ ฝือกไหปลารา้ และกลมุ่ ท่ี ๓ การดงึ กระดกู ข้อมือดว้ ยปลอกนวิ้ มอื ฝกึ อบรม โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทเชษฐ พิชัยศักดิ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มที่ ๔ การทดสอบ การเคล่ือนไหว โดยนายแพทย์ยลชัย จงจิระศิริ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน และกลุ่มท่ี ๕ การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา โดย นายแพทย์สุรชัย ปัญญาพฤทธ์ิพงศ์ ผู้เช่ียวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ และมีประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ท�ำให้ หมอพ้ืนบ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการรักษากระดูกหักที่ถูกต้องมากขึ้น และมีโอกาสแลกเปล่ียนเรียนรู้ ระหว่างหมอพื้นบา้ นกับแพทย์แผนปจั จุบนั หลังจากนั้น คณะแพทย์ออร์โธปิดิกส์ได้ติดตามเย่ียมหมอพื้นบ้านในพื้นท่ีที่ศึกษา ท�ำให้หมอพื้นบ้าน เกิดความไว้วางใจและสามารถขอค�ำปรึกษาจากคณะแพทย์ออร์โธปิดิกส์ได้อย่างดี และยังได้ส่งผู้ป่วยท่ีมีอาการ บาดเจ็บรุนแรงเข้ารับการรักษาจากทีมแพทย์ออร์โธปิดิกส์อย่างต่อเน่ืองด้วย ซ่ึงเป็นผลดีแก่ผู้ป่วยอย่างย่ิง นบั เปน็ ผลสำ� เรจ็ เบ้อื งต้นในการสรา้ งความเข้าใจอันดรี ะหว่างแพทยแ์ ผนปจั จุบันและหมอพนื้ บ้าน นอกจากน้ี เพื่อถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นและทักษะในการรักษากระดูกหักไปสู่หมอพื้นบ้านท่ัวประเทศ ส�ำนักการแพทย์พ้ืนบ้านไทยจึงได้จัดท�ำ “คู่มือหมอพ้ืนบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักและการฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยหลังการรักษา” ข้ึน โดยคณะแพทย์ออร์โธปิดิกส์เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อหา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์ เป็ ็นท่ีปรึกษา หมอพ้ืนบ้านจากภูมิภาคต่าง ๆ ร่วมกันตรวจสอบเน้ือหา และเสนอข้อคิดเห็นเพ่ือปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสมย่ิงข้ึน และดร.พรทิพย์ อันทิวโรทัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ได้รว่ มพจิ ารณาทางดา้ นภาษาอีกดว้ ย
“คมู่ อื หมอพนื้ บา้ นในการรกั ษาผปู้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟน้ื ฟสู ภาพผปู้ ว่ ยหลงั การรกั ษา” ฉบับนี้นับเป็น คู่ มื อ ห ม อ พ้ื น บ้ า น ใ น ก า ร รั ก ษ า ผู้ ป่ ว ย ก ร ะ ดู ก หั ก แ ล ะ ก า ร ฟ้ื น ฟู ส ภ า พ ผู้ ป่ ว ย ห ลั ง ก า ร รั ก ษ า คู่มือสำ�หรับหมอพื้นบ้านที่จะได้เรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมให้ดำ�รงอยู่อย่างยั่งยืน สามารถที่จะพัฒนา และบูรณาการให้เข้ากับการแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับการฟื้นฟู สภาพผู้ป่วยหลังการรักษา จะเป็นส่วนสำ�คัญที่หมอพื้นบ้านสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสภาพผู้ป่วย หลังการรักษาให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้รับบริการที่ดีและมีคุณภาพอย่างแท้จริง สำ�นักการแพทย์พื้นบ้านไทยขอขอบคุณคณะแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้เรียบเรียงเนื้อหา คณะที่ปรึกษา ตลอดจนหมอพื้นบ้านรักษากระดูกหักทุกภูมิภาค และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งจนหนังสือเล่มนี้สำ�เร็จลุล่วงด้วยดี คณะบรรณาธกิ าร กันยายน ๒๕๕๖
(จ)ค่มู ือหมอพนื้ บา้ นในการรกั ษา ผู้ปว่ ยกระดูกหักและการฟืน้ ฟสู ภาพผปู้ ว่ ยหลังการรกั ษา สารบัญ หนา้ บ ท น� ำ บทที่ ๑ สถานการณ์ในการรกั ษาผูป้ ว่ ยกระดูกหกั ของหมอพ้นื บา้ น ๓ และแพทยแ์ ผนปจั จบุ นั โดย รศ.นพ.วิทเชษฐ พชิ ัยศกั ดิ์ คณะแพทยศาสตรศ์ ิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บทท่ี ๒ ความรทู้ ่วั ไปเกี่ยวกบั กระดูก ๖ โดย รศ.นพ.วิทเชษฐ พิชยั ศักด์ิ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ๒.๑ โครงรา่ งกระดูก ๖ ๒.๒ ความแตกตา่ งระหว่างกระดูกเด็กและกระดูกผู้ใหญ่ ๗ ๒.๓ โครงสร้างท่ใี ช้ในการเคลื่อนไหวของมนษุ ย์ ๑๐ ๒.๔ ปจั จยั ทมี่ ีผลต่อความแขง็ แรงของกระดกู ๑๓ กา รรั ก ษ า ผู ้ ป่ ว ย ก ระ ดู ก หั ก บทท่ี ๓ หลกั การรกั ษาผูป้ ่วยกระดกู หกั ๑๗ โดย รศ.นพ.วิทเชษฐ พิชยั ศกั ด์ิ คณะแพทยศาสตรศ์ ริ ริ าชพยาบาล มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล ๓.๑ การตรวจวินิจฉัย โดยการซักประวัติ ตรวจรา่ งกาย และการดูภาพเอกซเรย์ ๑๗ ๓.๒ การดูแลผ้ปู ว่ ยกระดกู หกั เบื้องต้น ๒๒ ๓.๓ วิธีจดั ดึงกระดกู ใหเ้ ข้าที่ ๒๔ ๓.๔ การท�ำใหก้ ระดูกอย่นู งิ่ ๒๖ บทท่ี ๔ การประเมินผลการรักษา ๓๕ โดย นพ.ยลชยั จงจริ ะศิริ โรงพยาบาลผ้สู งู อายบุ างขนุ เทยี น ๔.๑ ประเมินผลการใชง้ านอวัยวะต่าง ๆ ภายหลงั กระดูกหกั ๓๕ ๔.๒ การทดสอบการเคลอ่ื นไหวของอวัยวะ ๓๗
(ฉ) ค่มู อื หมอพ้ืนบา้ นในการรักษา ผู้ปว่ ยกระดกู หกั และการฟื้นฟูสภาพผูป้ ว่ ยหลงั การรกั ษา ส า ร บั ญ (ตอ่ ) หน้า บทท่ี ๕ ข้อควรระวงั ในการรักษากระดูกหกั ๔๔ โดย รศ.นพ.วิทเชษฐ พชิ ัยศกั ดิ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ๔๔ ๕.๑ กรณผี ู้ปว่ ยกระดกู หกั ทห่ี มอพ้ืนบ้านควรส่งต่อแพทย์แผนปจั จุบัน ๕๒ ๕.๒ ข้อควรระวงั ในการรักษา ๖๕ ก า ร ฟ้ื น ฟู ผู้ ป่ ว ย ก ร ะ ดู ก หั ก ๖๕ บทที่ ๖ การฟ้นื ฟสู ภาพหลังกระดูกหัก ๖๕ ๖๖ โดย นพ.สรุ ชยั ปัญญาพฤทธพ์ิ งศ์ แพทยผ์ ้เู ชีย่ วชาญด้านออรโ์ ธปิดกิ ส์ ๘๖ ๖.๑ ความสำ� คัญของการฟืน้ ฟูสภาพ ๖.๒ หลักการฟ้ืนฟสู ภาพผู้ปว่ ยกระดกู หัก ๖.๓ การฟนื้ ฟสู ภาพผู้ป่วยบรเิ วณแขนและมือ ๖.๔ การฟ้ืนฟูสภาพผู้ปว่ ยบริเวณขาและเทา้ เอกสารอ้างอิง ๑๐๖ การดูภาพเอกซเรย์ ภาคผนวก ๑๑๑ โดย นพ.ยลชยั จงจริ ะศิริ โรงพยาบาลผู้สูงอายบุ างขุนเทยี น นพ.ศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ มหารตั นวงศ์ โรงพยาบาลหลงั สวน ชมุ พร กระดูกหักประเภทตา่ ง ๆ ๑๑๘ ตัวอยา่ งการฝึกวนิ จิ ฉยั สภาพผ้ปู ว่ ยกระดูกหกั จากภาพเอกซเรย์ ๑๒๒ อาหารสำ� หรับผปู้ ว่ ยกระดกู หกั ๑๒๘ รายนามผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๓๓
(ช)คมู่ ือหมอพน้ื บ้านในการรักษา ผ้ปู ว่ ยกระดกู หกั และการฟื้นฟูสภาพผปู้ ่วยหลงั การรกั ษา ส า ร บั ญ ต า ร า ง หนา้ ตารางท่ ี ๑ ข้อมูลการกระจายตัวของแพทยแ์ ผนปจั จุบนั ในแต่ละภมู ิภาคของประเทศไทย ๓ ๒ ปริมาณแคลเซยี มท่ีแนะนำ� ให้คนไทยบริโภคตอ่ วนั ๑๓๑ ๓ อาหารทั่วไปทม่ี ปี รมิ าณแคลเซยี มมากกว่า ๒๐๐ มลิ ลกิ รมั ๑๓๒ ต่อปรมิ าณอาหารท่ีบริโภค
(ฌ) คูม่ อื หมอพ้ืนบา้ นในการรกั ษา ผู้ปว่ ยกระดูกหักและการฟ้ืนฟสู ภาพผ้ปู ว่ ยหลงั การรักษา ส า ร บั ญ ภ า พ หน้า ภาพท ี่ ๑ โครงรา่ งกระดูกและขอ้ ของคน ๖ ๒ ศนู ยเ์ จริญเตบิ โตของกระดกู รอยคลา้ ยกระดกู หกั ท่สี ว่ นปลาย (แต่ไม่ใชก่ ระดูกหกั ๘ ท่พี บได้ในเดก็ ) ๓ กระดกู หกั ในเดก็ ทารกเมือ่ แรกคลอดและการตดิ ของกระดกู ในช่วงอายุ ๐-๒ ปี ๙ ๔ การเล่นยมิ นาสตกิ โดยการใชข้ อ้ ตอ่ ที่เคลื่อนไหวได้อิสระหลายทิศทาง ๑๐ ๕ การงอและเหยยี ดนว้ิ โดยไม่สามารถเอียงขอ้ นว้ิ มือไปทางขวาและซ้ายได้ ๑๑ ๖ โครงสร้างกระดกู ขอ้ เขา่ ๑๑ ๗ ระบบประสาท ๑๒ ๘ กระดูกข้อมือหักเนื่องจากอบุ ตั ิเหตุ มรี ูปรา่ งผดิ ปกตคิ ล้ายสอ้ ม ๑๘ ๙ กระดูกแขนหกั เนื่องจากเกิดการติดเช้อื ในกระดกู ๑๘ ๑๐ ภาพเอกซเรยแ์ สดงเนอ้ื งอกในโพรงกระดกู ๑๙ ๑๑ ภาพเอกซเรยแ์ สดงเนอ้ื งอกกระดกู และการผา่ ตัดใสแ่ กนโลหะดามในโพรงกระดูก ๒๐ ๑๒ ภาพเอกซเรย์กระดูกแขนสว่ นปลายหกั ๒๑ ๑๓ ศูนยเ์ จริญเติบโตของกระดกู หน้าแขง้ ซง่ึ มีลกั ษณะเหมือนรอยหัก ๒๒ ๑๔ ลกั ษณะแผลถลอก ๒๓ ๑๕ กระดกู หน้าแข้งหักซ่งึ มแี ผลลกึ ถงึ กระดกู และมีฟองไขมันไหลออกมา ๒๓ ๑๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู แขนหักในเด็ก ๒๔ ๑๗ สาธติ วิธีการจดั ชิน้ กระดูกทีห่ ักเกยกันใหเ้ ขา้ ที ่ ๒๕ ๑๘ การเข้าเฝอื กปนู ทก่ี ระดกู แขนท่อนลา่ งหักสามารถพันคลุมข้อศอกและขอ้ มอื ๒๖ และยงั แนบกับผิวหนังได้ดกี วา่ เฝอื กไม ้ ๑๙ ภูมิปญั ญาหมอพนื้ บา้ นในการใส่เฝือกไมไ้ ผข่ า้ มข้อเท้าเพ่ือไมใ่ หข้ ้อขยับ ๒๗ ๒๐ การพันผ้าพนั ไหล่ให้เป็นเลข 8 ในกรณที กี่ ระดูกไหปลารา้ หัก ๒๘ ๒๑ ภาพเอกซเรย์กระดูกไหปลารา้ หัก ก่อนและหลังการรกั ษา ๒๙ ๒๒ ทศิ ทางการเคล่ือนของกระดูกไหปลาร้าทีห่ กั กอ่ นและหลังพันผ้าพันไหลท่ เ่ี ปน็ เลข 8 ๒๙ ๒๓ กระดกู น้วิ เท้าแตกและวิธกี ารรักษา ๓๐-๓๑ ๒๔ อปุ กรณป์ ลอกน้ิวมือชว่ ยในการดึงกระดูกขอ้ มอื ใหเ้ ข้าท่ี ๓๒ ๒๕ ภาพเอกซเรยแ์ ละวิธกี ารดึงกระดูกข้อมอื หกั แบบเคลอื่ นท่ี ๓๓
(ญ)คูม่ ือหมอพืน้ บา้ นในการรกั ษา ผปู้ ว่ ยกระดกู หักและการฟืน้ ฟสู ภาพผปู้ ่วยหลังการรักษา สารบัญภาพ (ตอ่ ) หน้า ภาพท ่ี ๒๖ ทา่ การทดสอบการเคล่อื นไหวกระดูกต้นแขน/ไหปลาร้าหกั ๓๗ ๒๗ ทา่ การทดสอบการเคล่อื นไหวกระดูกขอ้ ศอกหกั ๓๘ ๒๘ ทา่ การทดสอบการเคลอื่ นไหวกระดูกแขนส่วนล่าง/ข้อมือหัก ๓๙ ๒๙ ทา่ การทดสอบการควำ่� และหงายมือโดยการก�ำดินสอหรอื ปากกา ๔๐ ๓๐ ทา่ การทดสอบการกำ� มือ ๔๐ ๓๑ ท่าการทดสอบการเคลอื่ นไหวกระดูกตน้ ขา/หนา้ แข้งหกั ๔๑ ๓๒ ท่าการทดสอบการเคล่ือนไหวกระดกู ขอ้ เข่าหักหรอื สะบา้ แตก/เคลื่อน ๔๑ ๓๓ ท่าการทดสอบกระดกู ข้อเท้าหรอื กระดูกเท้าหกั /เคลื่อน ๔๒ ๓๔ กระดูกหน้าแขง้ หักท่ีมีบาดแผลลกึ ๔๔ ๓๕ แผลหนองเกิดจากการติดเชอื้ ภายหลังกระดูกหกั (ก) ๔๕ และการผ่าตัดเอากระดกู ทีต่ ายออก(ข) ๓๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ข้อสะโพกหักและการผ่าตัดใส่ขอ้ สะโพกเทียม ๔๖ ๓๗ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ต้นขาหกั และแกนโลหะดามกระดกู ตน้ ขาที่หกั ๔๖ ๓๘ ภาพเอกซเรย์แนวกระดูกท่แี ตกเข้าขอ้ บริเวณขอ้ เข่าและการดามกระดูกด้วยโลหะ ๔๗ ๓๙ กระดกู แตกเข้าขอ้ บริเวณตาตุม่ ขอ้ เท้าและส้นเท้า ๔๘ ๔๐ กระดูกแตกเข้าขอ้ บริเวณข้อศอกและการผา่ ตดั ใสโ่ ลหะดามกระดกู ๔๙ ๔๑ ภาพเอกซเรย์ขอ้ เขา่ หลุด(ก) และภายหลงั การดึงข้อเขา่ ให้เข้าท(ี่ ข) ๕๐ ๔๒ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกหกั แตกหลายชน้ิ ในกระดูกทอ่ นเดยี ว ๕๑ ๔๓ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกหักเหลอ่ื มซ้อนกนั มากและเริม่ มีกระดูกทีส่ ร้างใหมเ่ กิดขึน้ ๕๑ ทีป่ ลายของชิ้นกระดูกทห่ี ัก ๔๔ บาดแผลท่ีเกดิ จากการพันผ้าคล้องแขนทีร่ ดั แนน่ เกินไป ๕๓ ๔๕ อาการแทรกซอ้ นจากการใสเ่ ฝือก ๕๓ ๔๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู หกั ทตี่ ดิ ช้าเนือ่ งจากการใสเ่ ฝือกท่ีหลวมเกินไป ๕๔ ๔๗ ภาพเอกซเรย์กระดูกตน้ แขนหกั ทีร่ กั ษาแล้วกระดกู ไม่ตดิ ผลจากการใส่เฝอื ก ๕๔ ทไี่ ม่กระชบั และการไมค่ ล้องแขน ๔๘ ภาพเอกซเรย์กระดูกหน้าแขง้ หกั ทร่ี ักษาแลว้ กระดูกไมต่ ิดเน่อื งจากใส่เฝอื กไม่กระชบั ๕๕ ๔๙ ภาพเอกซเรย์กระดูกหนา้ แขง้ ทตี่ ิดแล้ว ๕๕
(ฎ) คมู่ ือหมอพนื้ บา้ นในการรักษา ผปู้ ่วยกระดกู หักและการฟนื้ ฟูสภาพผ้ปู ว่ ยหลงั การรักษา สารบัญภาพ (ต่อ) หน้า ภาพท ี่ ๕๐ ภาพเอกซเรย์กระดกู ตน้ แขนสว่ นปลายลา่ งหักและภาวะแขนคอก ๕๖ ๕๑ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกแขนใต้ขอ้ ศอกหกั ทั้งคแู่ ละหลงั รกั ษากระดกู ติดผดิ รปู ๕๖ ๕๒ ภาพเอกซเรย์กระดูกแขนใตข้ ้อศอกอนั ในส่วนปลายหกั และปลายกระดูกแขนอันนอก ๕๗ หลุดทข่ี อ้ ศอก (กระดูกหักชนดิ ซับซอ้ นและมีขอ้ เคลอ่ื นรว่ มดว้ ย) ๕๓ ภาพเอกซเรย์ปลายกระดกู แขนอันนอกหกั ร่วมกบั ปลายกระดกู แขนอนั ใน ๕๗ หลดุ เล่อื นตวั มองเห็นช่องวา่ งระหวา่ งข้อปลายกระดกู ๕๔ กระดูกตน้ แขนหกั หลงั รักษาแลว้ กระดกู ไม่ติด ๕๘ ๕๕ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ขอ้ ศอกเด็กข้างปกติเปรียบเทยี บกบั ขา้ งทห่ี ัก ๕๘ ๕๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ขอ้ ศอกแตกในเด็กเปรยี บเทยี บภาพดา้ นหนา้ กบั ด้านข้าง ๕๙ ๕๗ ภาพเอกซเรย์กระดูกแขนอันนอกหกั ใกล้กึ่งกลางแขน ๖๐ ๕๘ ภาพเอกซเรย์กระดูกแขนอนั ในสว่ นปลายบรเิ วณข้อมอื หัก ชนิ้ กระดกู มกี ารเคลอื่ นท่ี ๖๐ และเกยกันบางสว่ น ๕๙ การใชผ้ า้ คลอ้ งแขน ๖๗ ๖๐ การแกวง่ แขนเปน็ วงกลม ๖๘ ๖๑ การแกว่งแขนไปดา้ นหนา้ -หลัง ๖๘ ๖๒ การแกวง่ แขนเข้าด้านใน-ออกดา้ นนอก ๖๙ ๖๓ การใชม้ อื ไขว้จบั กนั ด้านหลงั ๖๙ ๖๔ ในกรณที ่ีมอื ไขวจ้ บั กันไม่ถึงให้ใชผ้ ้าชว่ ยจับแล้วดงึ ขนึ้ ลง ๗๐ ๖๕ ทา่ ไต่ผนงั ดา้ นหน้า ๗๐ ๖๖ ท่าไต่ผนังด้านข้าง ๗๑ ๖๗ ทา่ หมนุ ข้อไหลไ่ ปดา้ นหนา้ -หลงั ๗๑ ๖๘ การบรหิ ารข้อศอกโดยผูช้ ่วย ๗๒ ๖๙ การหงายมือ-ควำ�่ มอื ๗๒ ๗๐ การหงายมอื -ควำ�่ มอื โดยผชู้ ว่ ย ๗๓ ๗๑ การกระดกขอ้ มือข้นึ -ลงโดยผชู้ ว่ ย ๗๓ ๗๒ แสดงบริเวณข้อปลายนิ้ว/ข้อกลางน้วิ /ขอ้ โคนน้ิวและวธิ งี อ-เหยยี ดข้อนว้ิ โดยผูช้ ว่ ย ๗๔ ๗๓ การกำ� มอื โดยผชู้ ่วย ๗๕ ๗๔ การเหยียดน้ิวมอื เตม็ ท ี่ ๗๕
(ฏ)คมู่ อื หมอพ้นื บา้ นในการรักษา ผปู้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟ้ืนฟูสภาพผปู้ ว่ ยหลังการรกั ษา ส ารบัญภาพ (ตอ่ ) หนา้ ภาพท ี่ ๗๕ การงอขอ้ ปลายนิ้วและขอ้ กลางน้วิ ใหเ้ ตม็ ท่ีโดยขอ้ โคนนิ้วเหยยี ดตรง ๗๕ ๗๖ การงอข้อโคนนิ้วให้เต็มทโ่ี ดยข้อกลางน้ิวและขอ้ ปลายน้ิวเหยียดตรง ๗๕ ๗๗ การกำ� มอื ให้เตม็ ที่ ๗๖ ๗๘ การกาง-หบุ น้ิว ๗๖ ๗๙ การจีบนิว้ หวั แมม่ อื กบั นิ้วแต่ละนวิ้ ๗๗ ๘๐ การจีบนว้ิ หัวแม่มอื กบั น้ิวแต่ละน้ิวโดยผูช้ ว่ ย ๗๗ ๘๑ การเกร็งมือและเกร็งกล้ามเนื้อแขน ๗๘ ๘๒ การงอ-เหยยี ดศอกดว้ ยการต้านแรงตวั เอง ๗๙ ๘๓ การงอ-เหยียดศอกโดยใชก้ ารยกนำ�้ หนกั ๗๙ ๘๔ การขยำ� กระดาษ ๘๐ ๘๕ การคล่กี ระดาษ ๘๐ ๘๖ การใชย้ างยืดในการบริหารนิว้ มอื ๘๑ ๘๗ การใช้ที่หนบี ผา้ ในการบริหารน้วิ มือ ๘๑ ๘๘ การใช้เมล็ดถ่วั ในการบรหิ ารมือ ๘๒ ๘๙ การใชเ้ มล็ดพชื เลก็ ๆ ในการบริหารมอื ๘๒ ๙๐ การกางมือหยบิ จับวตั ถุขนาดต่าง ๆ ๘๓ ๙๑ การใชส้ ายรัดเปน็ อปุ กรณด์ ัดแปลง ๘๓ ๙๒ การใช้ฟองนำ�้ พนั ด้ามดินสอเพ่อื ให้จบั ไดง้ า่ ยข้ึน ๘๔ ๙๓ การฝกึ แต่งหนา้ เขยี นค้ิวทาปาก ๘๔ ๙๔ การฝึกรูดซปิ และตดิ กระดมุ เสื้อ ๘๕ ๙๕ การฝกึ เขียนหนังสือและใสร่ องเทา้ ๘๕ ๙๖ การยืดเอน็ รอ้ ยหวายโดยผู้ช่วย ๘๗ ๙๗ การงอ-เหยยี ดข้อเขา่ โดยผ้ชู ่วย ๘๗ ๙๘ การงอ-เหยยี ดขอ้ สะโพกโดยผูช้ ว่ ย ๘๘ ๙๙ การกาง-หบุ ขอ้ สะโพกโดยผู้ช่วย ๘๘ ๑๐๐ การหมนุ ขอ้ สะโพกเข้า-ออกโดยผ้ชู ่วย ๘๙ ๑๐๑ การเหยียดขอ้ สะโพกโดยผู้ช่วย ๘๙ ๑๐๒ การหนีบมว้ นผา้ ห่มเพ่ือบรหิ ารกล้ามเนอ้ื ข้อสะโพกและขอ้ เข่า ๙๐
(ฐ) คู่มือหมอพืน้ บ้านในการรักษา ผู้ปว่ ยกระดกู หกั และการฟื้นฟูสภาพผู้ปว่ ยหลังการรักษา สารบัญภาพ (ต่อ) หน้า ภาพที่ ๑๐๓ การบรหิ ารกล้ามเนื้อโดยการเหยียดข้อเขา่ ๙๑ ๑๐๔ การบรหิ ารกล้ามเนื้อโดยการงอขอ้ เขา่ ๙๑ ๑๐๕ การบรหิ ารกล้ามเนื้อโดยการเหยียดข้อเขา่ ๙๒ ๑๐๖ การบริหารกล้ามเนอ้ื โดยการเหยียดข้อเข่าและเพม่ิ แรงต้านด้วยถุงทราย ๙๒ ๑๐๗ การเหยยี ดงอ-เหยยี ดนิ้วเท้าโดยผ้ชู ่วย ๙๓ ๑๐๘ การกระดกข้อเทา้ ข้นึ -ลง ๙๓ ๑๐๙ การบิดฝ่าเทา้ ผู้ป่วยเขา้ ดา้ นใน-ออกดา้ นนอกโดยผ้ชู ่วย ๙๔ ๑๑๐ การหมนุ ปลายเท้าเปน็ วงกลม ๙๔ ๑๑๑ การหมนุ สน้ เทา้ เปน็ วงกลม ๙๕ ๑๑๒ การขย�ำกระดาษด้วยเท้า ๙๕ ๑๑๓ การจบั ไม้ค้�ำยนั รักแรท้ ถี่ กู ต้อง ๙๖ ๑๑๔ การเดนิ ลงนำ�้ หนักเทา้ บางสว่ นท้ังสองขา้ ง แบบ ๔ จงั หวะ ๙๗ ๑๑๕ การเดินลงนำ้� หนักเทา้ บางสว่ นทง้ั สองข้าง แบบ ๒ จังหวะ ๙๘ ๑๑๖ การเดินลงนำ้� หนกั เท้าข้างเดยี ว ๙๙ ๑๑๗ การเดนิ ลงนำ�้ หนกั ขาทเี่ จ็บบางสว่ น ๑๐๐ ๑๑๘ ความยาวของไมเ้ ทา้ ท่เี หมาะสม (ระดับกระเป๋ากางเกง) ๑๐๑ ๑๑๙ วิธกี ารใชไ้ มเ้ ท้าส�ำหรับเดินทางราบ ๑๐๒ ๑๒๐ เคร่อื งพยงุ เดนิ แบบต่าง ๆ ๑๐๓ ๑๒๑ การวัดความสงู ของเคร่ืองพยุงเดิน ๑๐๓ ๑๒๒ วิธกี ารเดินโดยใชเ้ ครอื่ งพยุงเดนิ ๑๐๔ ๑๒๓ การถา่ ยภาพเอกซเรย์ ๑๑๒ ๑๒๔ ภาพเอกซเรย์ข้อมอื ขา้ งขวา ๑๑๓ ๑๒๕ ภาพเอกซเรย์กระดูกหน้าแข้งท่ีหกั ๑๑๔ ๑๒๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ข้อมือทวี่ ัดมุมของกระดูกทหี่ ักในทา่ คว�่ำมือ ๑๑๔ ๑๒๗ ภาพเอกซเรย์กระดูกข้อมือในทา่ ตะแคงมอื ๑๑๕ ๑๒๘ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกขอ้ มือท่ีวัดความสั้นยาวของกระดูกท่ีหักในทา่ คว�่ำมือ ๑๑๕ ๑๒๙ การวัดมุมของกระดูกแขนทห่ี ัก สามารถวัดมุมได้ ๓๐ องศา ๑๑๖
(ฑ)ค่มู ือหมอพ้ืนบ้านในการรักษา ผปู้ ่วยกระดกู หกั และการฟืน้ ฟสู ภาพผปู้ ่วยหลังการรักษา ส ารบัญภาพ (ตอ่ ) หนา้ ภาพที่ ๑๓๐ การวดั มมุ ของกระดูกข้อมอื ทีห่ กั ลากตามขอบของกระดูก ๑๑๖ วดั ความสั้นได้ ๕ มิลลเิ มตร ๑๓๑ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ขอ้ มือทีห่ ัก ๑๑๗ ๑๓๒ กระดกู ติดผิดรูปทำ� ใหผ้ ู้ปว่ ยไม่สามารถงอขอ้ มอื ไดเ้ ตม็ ท่ี ในทา่ พนมมอื ๑๑๗ และทา่ หลังมอื ประสานกนั ปลายนวิ้ ช้ลี งพื้น ๑๓๓ รูปแบบของกระดกู หัก ๑๑๘-๑๒๑ ๑๓๔ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกไหปลารา้ ๑๒๒ ๑๓๕ ภาพเอกซเรย์กระดูกตน้ แขน ๑๒๒ ๑๓๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกขอ้ ศอก ๑๒๓ ๑๓๗ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกปลายแขน ๑๒๓-๑๒๔ ๑๓๘ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกข้อมอื ๑๒๔ ๑๓๙ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ตน้ ขา ๑๒๕ ๑๔๐ ภาพเอกซเรย์กระดกู ขอ้ เขา่ ๑๒๕ ๑๔๑ ภาพเอกซเรย์กระดูกปลายขา ๑๒๖ ๑๔๒ ภาพเอกซเรยก์ ระดกู ขอ้ เทา้ ๑๒๖ ๑๔๓ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกข้อสะโพก ๑๒๗
บท น� ำ
คู่มอื หมอพื้นบ้านในการรักษา 3 ผู้ปว่ ยกระดกู หักและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรกั ษา บทที่ ๑ สถานการณ์ในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหกั ของหมอพ้ืนบ้านและแพทย์แผนปจั จุบัน หมอพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน เน่อื งจาก โครงสร้างทางสังคม ภูมิศาสตร์ ประกอบกับการคมนาคมในพ้ืนท่ีชนบทยังไม่สะดวก ผู้ป่วยจึงพบ อุปสรรคในการเดินทางไปพบแพทย์ อีกประการหนึ่ง คือ จำ�นวนและการกระจายตัวของแพทย์แผน ปัจจบุ นั นน้ั ไมส่ ามารถให้การบริการประชาชนไดอ้ ยา่ งเพียงพอ พบว่าจำ�นวนแพทย์แผนปจั จุบันทีม่ อี ยู่ ยังไม่เพยี งพอเมอ่ื เทียบกบั จำ�นวนผ้ปู ่วย ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน้ี จากรายงานทรัพยากรสาธารณสุขของสำ�นักนโยบายและยทุ ธศาสตร์ สำ�นกั งานปลัดกระทรวง สาธารณสุข (๒๕๕๓) พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ การกระจายตัวของแพทย์แผนปัจจุบัน มีจำ�นวน ๒๒,๐๑๙ คน อยู่ในกรุงเทพมหานคร ๕,๔๒๐ คน คิดเป็นรอ้ ยละ ๒๔.๖๒ ตา่ งจงั หวัด ๑๖,๕๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๓๘ เม่ือพิจารณาการกระจายตัวในภูมิภาคต่าง ๆ พบว่า ภาคใต้มีจำ�นวนแพทย์ แผนปจั จบุ นั กระจายตวั อยนู่ อ้ ยทสี่ ดุ คอื จำ�นวน ๒,๕๒๗ คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๑๑.๔๘ ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื และภาคเหนอื มีจำ�นวนใกลเ้ คียงกนั คือ ๔,๓๕๓ และ ๓,๔๖๘ คน คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑๙.๗๗ และ ๑๕.๗๕ ตามลำ�ดบั ภาคกลางมจี ำ�นวนแพทยแ์ ผนปจั จบุ นั อยมู่ ากทส่ี ดุ จำ�นวน ๖,๒๕๑ คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๒๘.๓๙ ดังตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ ข้อมลู การกระจายตวั ของแพทย์แผนปจั จุบันในแตล่ ะภมู ิภาคของประเทศไทย ภาค จำ� นวนแพทย์แผนปจั จุบนั (คน) ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กรุงเทพมหานคร ๕,๙๘๔ ๔,๕๙๑ ๕,๔๒๐ ภาคกลาง (ไมร่ วม กทม.) ๕,๔๖๔ ๔,๙๘๕ ๖,๒๕๑ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ๔,๒๕๙ ๔,๔๒๓ ๔,๓๕๓ ภาคเหนอื ๓,๕๐๗ ๒,๗๘๙ ๓,๔๖๘ ภาคใต้ ๒,๓๕๕ ๒,๓๐๑ ๒,๕๒๗ รวม ๒๑,๕๖๙ ๑๙,๐๘๙ ๒๒,๐๑๙ ท่มี า: ดัดแปลงจาก ส�ำนักงานปลดั กระทรวงสาธารณสขุ สำ� นกั นโยบายและยทุ ธศาสตร,์ ๒๕๕๓.
4 คู่มอื หมอพื้นบา้ นในการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหกั และการฟนื้ ฟูสภาพผูป้ ่วยหลังการรักษา นอกจากน้ัน ยงั พบว่ามแี พทยใ์ นโรงพยาบาลชุมชน จำ� นวน ๓,๙๑๙ คน ซ่ึงแพทย์ ๑ คน ต้องดูแลผ้ปู ว่ ย ๑,๔๐๐ คน โรงพยาบาลทว่ั ไป ๒,๙๐๙ คน (แพทย์ ๑ คน ดแู ลผูป้ ่วย ๒,๓๙๐ คน) และแพทย์ในโรงพยาบาลศนู ย์ จำ� นวน ๓,๒๒๑ คน (แพทย์ ๑ คน ดแู ลผปู้ ว่ ย ๓,๐๒๗ คน) ในปจั จบุ ันสภาพสงั คมทม่ี ีความเจรญิ ขึ้น การจราจรที่หนาแนน่ ทงั้ จ�ำนวนรถยนต์ จักรยานยนต์ และจักรยานแปรผันโดยตรงกับจ�ำนวนอุบัติเหตุที่เกิดข้ึนตามมาด้วย ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ อนั เนื่องมาจากอบุ ตั ิเหตุนนั้ มจี �ำนวนเพิม่ ข้ึนอย่างตอ่ เนอื่ ง ผลการบาดเจ็บจากอบุ ัตเิ หตุสว่ นใหญ่ คอื กระดกู หัก ซงึ่ ต้องใหแ้ พทยเ์ ฉพาะทางด้านศลั ยกรรมกระดกู และขอ้ (ออรโ์ ธปิดิกส์) เปน็ ผดู้ แู ลรักษา ทง้ั นี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จำ� นวนแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะดา้ นออรโ์ ธปิดิกส ์ มจี �ำนวนท้งั สิ้น ๑,๑๖๖ คน ปฏบิ ตั ิงานอยู่ในกรุงเทพฯ ๒๘๓ คน อยู่ในเขตภาคกลาง ๓๖๒ คน ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื ๑๘๐ คน ภาคเหนือ ๒๐๒ คน ภาคใต้ ๑๗๖ คน จะเหน็ ได้ว่าจ�ำนวนแพทย ์ ผู้เช่ียวชาญยังไม่เพียงพอเม่ือเทียบกับจ�ำนวนอุบัติเหตุท่ีเกิดขึ้นและส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ ทำ� ให้สถานการณก์ ารให้บริการรกั ษาผูป้ ่วยกระดูกหกั และข้อเคลือ่ นเปน็ ปญั หาส�ำคญั ของประเทศ ภาระดังกล่าวจึงตกอยู่กับหมอพื้นบ้าน ประกอบกับความศรัทธาที่ชาวบ้านยังคงมีต่อ หมอพื้นบ้าน แมว้ า่ หมอพน้ื บา้ นสว่ นมากจะมอี าชพี ประจำ�อยแู่ ลว้ และไมไ่ ดป้ ระกอบอาชพี หมอพน้ื บา้ น เปน็ อาชพี หลกั แตด่ ว้ ยเจตนาทต่ี อ้ งการชว่ ยเหลอื บรรเทาความทกุ ขห์ รอื ความเจบ็ ปว่ ยของผอู้ น่ื มากกวา่ ความต้องการในทรัพย์สินเงินทอง หมอพ้ืนบ้านจึงไม่ได้เรียกร้องค่ารักษาใด ๆ จากผู้ป่วยท่ีมาขอรับ การรักษา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อหมอพ้ืนบ้านและความพึงพอใจของผู้ป่วย และญาติ แตใ่ นกรณที อี่ าการบาดเจบ็ ของผปู้ ว่ ยมอี าการรนุ แรงมาก ๆ หมอพน้ื บา้ นควรแนะนำ�ใหไ้ ปพบ แพทย์โดยเร็วจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยในระยะยาว ท้ังนี้เน่ืองจากการรักษากระดูกหักท่ีรุนแรง ซับซ้อน จำ�เป็นต้องใช้การรักษาด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือแบบทันสมัยซึ่งสามารถให้ผลการรักษาท่ีดีในด้านรูปร่าง และการใช้งานของกระดูกส่วนที่หักให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมมากที่สุด ดังนั้นหากหมอพื้นบ้าน ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยในเบื้องต้นแล้ว ควรแนะนำ�ให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันทีเพื่อความปลอดภัย และเพ่ือสรา้ งศรทั ธาให้แกห่ มอพน้ื บา้ นท่ีสามารถรกั ษาอาการบาดเจ็บในระยะแรกไดด้ ี
คูม่ อื หมอพน้ื บา้ นในการรกั ษา 5 ผู้ป่วยกระดูกหักและการฟื้นฟูสภาพผ้ปู ว่ ยหลงั การรักษา ทางออกในการแก้ปญั หาเหลา่ น้ี คอื หมอพ้ืนบา้ นและแพทยแ์ ผน ปัจจุบันควรมาปรึกษาหารือท�ำความเข้าใจกันเพื่อให้การรักษาเกิด ประโยชน์สงู สดุ แก่ผปู้ ว่ ย ดังนั้น สำ�นักการแพทย์พื้นบ้านไทยเห็นควรจัดทำ�หนังสือ “คู่มือหมอพื้นบ้านในการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหักและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา” เพื่อให้หมอพื้นบ้านนำ�ไปใช้เป็น แนวทางในการดูแลผู้ป่วยกระดูกหัก และคาดหวังว่าจะช่วยให้หมอพ้ืนบ้านทราบและตระหนักว่า กระดูกหักแบบใดที่สามารถรักษาได้หรือแบบใดไม่ควรรักษา ถ้าจำ�เป็นต้องให้การรักษาเน่ืองด้วย เหตุผลใด ๆ ก็ตาม ควรปฏิบัติเช่นไรและระมัดระวังในเร่ืองใดบ้างเพ่ือให้เกิดผลแทรกซ้อนกับผู้ป่วย น้อยที่สุด หากมีกรณีท่ีผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน ควรแนะนำ�แต่เนิ่น ๆ ให้ทันเวลา เน่ืองจากการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักท่ีขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้องและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน แล้วน้ันมักต้องแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งกระดูกท่ีหักมานานมากกว่า ๒ สัปดาห์มักจะผ่าตัดยากกว่า การผ่าตัดหลังจากกระดูกหักใหม่ ๆ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ท้ังยังต้องใช้เวลาในการดูแล รักษามากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นหากหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนปัจจุบัน หันมาร่วมมือกันจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงได้เป็นอันมาก ประโยชน์สุข จะเกิดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งเป็นการพัฒนาและส่งเสริม ภูมิปัญญาการแพทย์พน้ื บ้านไทยใหด้ ำ�รงอยอู่ ยา่ งยงั่ ยืนต่อไป
6 คมู่ ือหมอพื้นบ้านในการรักษา ผู้ปว่ ยกระดกู หกั และการฟนื้ ฟูสภาพผูป้ ว่ ยหลังการรกั ษา บทท่ี ๒ ความรทู้ ัว่ ไปเกย่ี วกับกระดูก การเรียนรู้เกี่ยวกับโครงร่างกระดูกจะท�ำให้มีความรู้ความเข้าใจในต�ำแหน่งของกระดูกท่ีหัก การจัดกระดูกใหเ้ ขา้ ที่อยา่ งถูกต้องและจะชว่ ยในการรักษาผปู้ ว่ ยได้ดีย่งิ ข้ึน ๒.๑ โครงร่างกระดกู กะโหลกศรี ษะ กระดูกขากรรไกร ข้อไหล่ กระดกู ไหปลาร้า กระดูกทรวงอก กระดกู แขนทอ่ นบน กระดูกซี่โครง ขอ้ ศอก กระดกู สนั หลงั กระดกู เชิงกราน กระดกู แขนทอ่ นล่างดา้ นใน กระดกู กน้ กบ กระดกู แขนทอ่ นลา่ งด้านนอก ขอ้ มอื กระดกู ฝา่ มอื กระดกู ตน้ ขา ขอ้ สะโพก ข้อเข่า กระดกู สะบา้ กระดูกแขง้ กระดูกน่อง กระดูกฝ่าเทา้ /กระดูกนิว้ เทา้ กระดกู ข้อเท้า ภาพที่ ๑ โครงรา่ งกระดูกและข้อของคน
คมู่ อื หมอพ้นื บา้ นในการรกั ษา 7 ผปู้ ่วยกระดกู หกั และการฟื้นฟูสภาพผู้ปว่ ยหลังการรักษา กระดกู ในรา่ งกายของคนมีจ�ำนวนทง้ั หมด ๒๐๖ ชิ้น แบง่ ออกเปน็ ๒ กลุ่มคือ กระดกู แกนและ กระดกู ระยางค์ ๑. กระดูกแกน เปน็ กระดกู ที่อยบู่ รเิ วณกลางล�ำตวั มี ๘๐ ชิ้น ประกอบด้วย • กระดูกกะโหลกศรี ษะ ๒๒ ช้ิน • กระดูกสันหลัง ๓๓ ช้ิน ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูก เช่ือมระหว่างขอ้ หมอนรองกระดูกท�ำหนา้ ท่รี บั และกระจายแรงกระแทก • กระดกู ซีโ่ ครง ๒๔ ชิน้ ท้งั หมด ๑๒ คู่ คู่ท่ี ๑๑ และ ๑๒ ไมเ่ ชอื่ มต่อกบั กระดูกหน้าอก • กระดูกหนา้ อก ๑ ชิน้ ปลายกระดกู น้มี ีกระดกู ล้ินป่ี ๒. กระดูกระยางค์ เป็นกระดูกท่ีเก่ียวข้องกับการเคล่ือนไหวของแขนขา มี ๑๒๖ ช้ิน ประกอบดว้ ย • กระดูกแขนข้างละ ๓๐ ชน้ิ • กระดกู ขาข้างละ ๓๐ ชนิ้ • กระดกู สะบักข้างละ ๑ ช้ิน • กระดูกเชงิ กรานข้างละ ๑ ชน้ิ • กระดูกไหปลาร้าขา้ งละ ๑ ชิ้น ๒.๒ ความแตกต่างระหวา่ งกระดูกเด็กและกระดูกผู้ใหญ่ ๑. กระดูกเด็กท่ีอยู่ในช่วงกำ�ลังเจริญเติบโตจะมี “ศูนย์เจริญเติบโตของกระดูก” (Epiphysis) ท่บี ริเวณส่วนปลายของกระดกู แขนและขา ทำ�หน้าทใ่ี ห้กระดกู ยืดยาวขึ้นซ่ึงส่วนนจ้ี ะไมม่ ี ในกระดกู ผใู้ หญ่ หากกระดกู เดก็ หกั ในบรเิ วณศนู ยเ์ จรญิ เตบิ โตของกระดกู น้ี จะสง่ ผลตอ่ การเจรญิ เตบิ โต ของกระดกู อาจทำ�ให้กระดูกผดิ รูปได้ เช่น แขนโกง่ เขา่ โก่ง ข้อเทา้ บดิ ฯลฯ
8 คมู่ อื หมอพ้นื บา้ นในการรกั ษา ผูป้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟ้นื ฟูสภาพผู้ปว่ ยหลงั การรักษา กระดกู หนา้ แขง้ หกั ศูนยเ์ จริญเติบโต ของกระดูก ภาพด้านข้าง ภาพดา้ นหนา้ ภาพดา้ นหน้า ภาพดา้ นข้าง ภาพที่ ๒ ศนู ย์เจริญเตบิ โตของกระดกู รอยคลา้ ยกระดูกหกั ท่สี ว่ นปลาย (แต่ไมใ่ ช่กระดูกหักท่ีพบไดใ้ นเด็ก) ๒. กระดูกเด็กมีความแข็งแรงน้อยกว่ากระดูกผู้ใหญ่ หากเกิดอุบัติเหตุล้มแล้วใช้มือ ยนั พน้ื กระดูกเด็กจะหักไดง้ ่ายมากกวา่ โดยเฉพาะบริเวณข้อศอก ๓. กระดกู หกั ในเดก็ จะตดิ เรว็ กวา่ กระดกู ผใู้ หญม่ าก ซงึ่ มขี อ้ ดคี อื ระยะเวลาการใสเ่ ฝอื ก ใช้เวลาส้ันกว่า หายเร็ว แตม่ ขี ้อเสียคอื หากมาพบแพทย์หรอื ไดร้ บั การรกั ษาชา้ จะทำ�ให้การดงึ กระดูก เขา้ ทไ่ี ดย้ ากเนอื่ งจากกระดกู มกั ตดิ กนั กอ่ นแลว้ การรักษาให้ได้ผลดีต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น ๔. กระดกู เดก็ สามารถปรบั แตง่ รปู รา่ งใหก้ ลบั มามสี ภาพดดี งั เดมิ ได้ แม้ว่าจะมีการติด ในแบบโก่งงอหรือผิดรูปไปบ้าง โดยบริเวณกลางลำ�กระดูกจะสามารถปรับแต่งรูปร่างได้มากกว่า บริเวณใกลข้ ้อ กระดกู ที่สรา้ งขึน้ ใหม่ ก. กระดูกแขนขวาหักในเด็กแรกคลอด (คลอดยากกว่าปกต)ิ
คมู่ ือหมอพืน้ บา้ นในการรักษา 9 ผู้ปว่ ยกระดูกหักและการฟ้ืนฟสู ภาพผู้ปว่ ยหลังการรักษา กระดกู สว่ นทนี่ นู จะถูก ปรับแต่งออก กระดกู ส่วนที่เวา้ จะมกี ระดกู ท่ีสรา้ ง ข้ึนใหม่ ข. แสดงกระดกู ตดิ ภายใน ๑ เดือน ค. กระดูกปรับแตง่ รูปรา่ งเมอื่ ๖ เดือน ง. การปรับแตง่ รปู รา่ งเปน็ ปกตเิ มอื่ ๒ ปี ภาพที่ ๓ กระดกู หกั ในเด็กทารกเมอ่ื แรกคลอดและการตดิ ของกระดกู ในชว่ งอายุ ๐-๒ ปี
10 คู่มอื หมอพืน้ บา้ นในการรกั ษา ผู้ป่วยกระดูกหักและการฟ้ืนฟสู ภาพผปู้ ว่ ยหลังการรกั ษา ๒.๓ โครงสรา้ งท่ใี ช้ในการเคล่ือนไหวของมนษุ ย์ การเคลือ่ นไหวของมนษุ ยต์ อ้ งอาศยั การทำ� งานร่วมกันของระบบอวัยวะท่สี �ำคัญ ๓ ระบบคอื ๑) ระบบโครงกระดูกและขอ้ ตอ่ ๒) ระบบกลา้ มเน้อื และ ๓) ระบบประสาท ท�ำงานร่วมกันเปน็ อยา่ ง ดี เพราะฉะน้นั การทีม่ รี ะบบใดระบบหน่งึ เสียไป จะสง่ ผลให้การเคล่อื นไหวมคี วามผดิ ปกติได้ ๑. ระบบโครงกระดกู และข้อต่อ ประกอบด้วย กระดูก กระดูกอ่อนและข้อต่อ มีหน้าที่ ค�้ำจุนรา่ งกายให้คงรปู ร่างอยไู่ ด้ กระดกู มีส่วนประกอบท่ีเป็นแคลเซียมเกอื บทั้งหมด เป็นโครงสรา้ งทแี่ ข็งแรง กระดกู อ่อน อยู่ทส่ี ว่ นปลายของกระดกู สองชนิ้ ท่มี าประกอบเปน็ ข้อตอ่ กระดูกออ่ นน้ีมี ลักษณะเรยี บและเป็นมนั เคลอื บด้วยนำ้� หล่อเลยี้ งขอ้ กระดกู อ่อนท�ำหน้าทีใ่ นการหุ้มปลายกระดกู ทีม่ า ประกอบเป็นขอ้ ต่อ เพอ่ื ใหเ้ คล่ือนไหวง่ายไม่เจ็บปวด ที่มา: ผจู้ ัดการออนไลน์, ๒๕๕๖: ออนไลน์ ภาพท่ี ๔ การเลน่ ยิมนาสติกโดยการใชข้ อ้ ตอ่ ที่เคลือ่ นไหวไดอ้ ิสระหลายทศิ ทาง ขอ้ ต่อ มีหนา้ ทเ่ี ชือ่ มต่อกระดกู แต่ละช้นิ ในรา่ งกายมนุษย์ แบง่ ออกเป็น ๒ ประเภท คอื ขอ้ ต่อทเี่ คลอ่ื นไหวไมไ่ ด้ และขอ้ ต่อทเี่ คลอ่ื นไหวได้ ดังน้ี ขอ้ ตอ่ ทเี่ คลอื่ นไหวไมไ่ ด้ เปน็ ขอ้ ตอ่ ทที่ ำ� หนา้ ทย่ี ดึ กระดกู เอาไว้ ไมส่ ามารถเคลอ่ื นไหว ได้เลย ได้แก่ ข้อต่อทกี่ ะโหลกศีรษะและข้อตอ่ ทีก่ ระดูกเชิงกราน เปน็ ต้น ขอ้ ตอ่ ท่ีเคลอ่ื นไหวได้ มี ๒ รปู แบบ คือ • ขอ้ ตอ่ ทท่ี ำ� ใหเ้ คลอื่ นไหวเพยี งทศิ ทางเดยี วเหมอื นบานพบั พบไดท้ ขี่ อ้ ตอ่ กระดกู นิว้ มอื น้ิวเทา้ ซ่งึ จะเคลือ่ นทไี่ ด้เฉพาะงอและเหยียดเทา่ น้นั ไมส่ ามารถเคล่ือนทีไ่ ปด้านขา้ งได้ • ข้อตอ่ ท่ที ำ� ใหเ้ คลือ่ นไหวไดอ้ ิสระหลายทศิ ทาง เน่ืองจากมีการเชื่อมต่อของ กระดูกคลา้ ยลกู กลมในเบา้ ไดแ้ ก่ ข้อตอ่ ของหัวไหล่และสะโพก เป็นตน้
11คมู่ อื หมอพ้นื บา้ นในการรักษา ผปู้ ่วยกระดูกหกั และการฟืน้ ฟสู ภาพผูป้ ่วยหลงั การรักษา ภาพที่ ๕ การงอและเหยยี ดนวิ้ โดยไมส่ ามารถเอียงข้อนิว้ มือไปทางขวาและซา้ ยได้ ภายในข้อต่อจะมีการสร้างของเหลวที่เราเรียกว่า “น้�ำไขข้อ” มีลักษณะเป็นเมือกใส ท�ำหน้าที่ในการหล่อลื่นให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีและมีแรงเสียดทานน้อย ท�ำให้ข้อมีความทนทานต่อ แรงที่มากระแทก นอกจากน้ีบริเวณข้อต่อยังมีเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นส่วนของกล้ามเน้ือท่ีติดกับ ข้อกระดูก และเอ็นกระดกู ที่ยดึ ขอ้ ตอ่ เอาไวด้ ว้ ยกัน ซงึ่ เป็นเนือ้ เย่ือท่เี หนยี วแนน่ และทนทาน กระดูกเหนอื เข่า กระดกู ออ่ น เอน็ ไขว้หลัง หมอนรองผิวขอ้ เอ็นไขวห้ นา้ เอ็นกระดูก เอน็ กระดกู ปุ่มกระดกู หนา้ แข้ง กระดูกนอ่ ง กระดูกหนา้ แข้ง ภาพที่ ๖ โครงสร้างกระดกู ขอ้ เข่า
12 คมู่ ือหมอพน้ื บา้ นในการรกั ษา ผู้ป่วยกระดกู หักและการฟืน้ ฟูสภาพผปู้ ว่ ยหลงั การรกั ษา ๒. ระบบกล้ามเน้ือ กล้ามเน้ือเป็นเน้ือเย่ือยืดหยุ่นพิเศษ พบได้ทุกส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อท่ีอยู่ใต้อำ�นาจจิตใจ เราสามารถบังคับตามใจเราได้ คือ กล้ามเน้ือลาย กล้ามเน้ือชนิดน้ี เป็นกล้ามเน้ือทย่ี ดึ ติดกับกระดกู บางครั้งจงึ เรยี กวา่ “กลา้ มเนือ้ กระดกู ” กล้ามเน้ือลายมีความแข็งแรง และสามารถหดตัวได้มาก มีระบบประสาทส่วนกลางคือสมอง ทำ�หน้าที่ส่ังการควบคุมการเคล่ือนไหว ของกล้ามเนื้อลาย ไดแ้ ก่ กลา้ มเน้ือแขน กลา้ มเนอื้ ขา กล้ามเนื้อลำ�ตัว เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเน้ือท่ีไม่ได้อยู่ใต้อ�ำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อท่ีไม่สามารถบังคับได้ ตามใจเรา คอื กล้ามเน้ือเรียบ ได้แก่ กล้ามเนือ้ ล�ำไส้ กล้ามเน้ือหวั ใจ เป็นต้น มีการเคล่ือนไหว หดตัวได้เอง สมองหรือจติ ใจเราส่ังการควบคุมไม่ได้ ๓. ระบบประสาท ประกอบดว้ ยสมอง ไขสนั หลังและเส้นประสาททคี่ วบคมุ การเคลื่อนไหว ระบบประสาทมีหนา้ ทใ่ี นการออกค�ำส่ังการท�ำงานของกล้ามเน้ือ ควบคุมการทำ� งานของอวยั วะต่าง ๆ ในรา่ งกาย เช่น กล้ามเน้ือบรเิ วณแขน ขา กลา้ มเน้อื บริเวณใบหน้า ลูกตา ฯลฯ ไขสันหลงั สมอง เส้นประสาทสันหลังสว่ นทรวงอก เสน้ ประสาทสันหลงั ส่วนคอ เส้นประสาทสันหลงั เส้นประสาทสนั หลังสว่ นบั้นเอว ส่วนกระเบนเหน็บ ท่ีมา: ปรับปรุงมาจากสรีรวทิ ยาการกฬี าและการออกก�ำลังกาย, ๒๕๕๖: ออนไลน์ ภาพที่ ๗ ระบบประสาท
13คมู่ ือหมอพ้ืนบา้ นในการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหักและการฟนื้ ฟูสภาพผู้ป่วยหลงั การรกั ษา ๒.๔ ปัจจัยทมี่ ีผลตอ่ ความแข็งแรงของกระดกู กระดูกเป็นโครงสร้างร่างกายที่มีความสำ�คัญต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยมีปัจจัยท่ีมี ผลตอ่ ความแขง็ แรงของกระดูก ๒ ดา้ น ดงั น้ ี ๑. ปจั จัยด้านบวก ได้แก่ ๑) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ เชน่ การออกกำ� ลงั กาย จะทำ� ให้กลา้ มเน้อื และกระดูก มคี วามแขง็ แรงมาก ๒) การรับประทานอาหารทดี่ ี ครบ ๕ หมู่ รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียมสงู เช่น นม ถ่ัว งา ปลาเล็กปลานอ้ ย จะเพม่ิ ความแขง็ แรงใหก้ ระดกู ได้ ๒. ปัจจัยด้านลบ ได้แก ่ ๑) การมีโรคประจำ� ตวั เช่น เบาหวาน ความดนั โลหติ สูง โรคไต โรคเหลา่ นี้จะท�ำให้ สุขภาพโดยทว่ั ไปไม่แขง็ แรงเทา่ ที่ควร โดยเฉพาะอย่างยง่ิ ถา้ ไมไ่ ด้รบั การรกั ษาอยา่ งถูกต้อง ๒) พฤติกรรมบางอยา่ ง เชน่ การสบู บุหรี่ การดืม่ สรุ า จะท�ำใหก้ ระดกู แข็งแรงน้อยลง ๓) การรบั ประทานยาบางชนิด เชน่ สเตียรอยด์ซง่ึ ใช้รกั ษาโรคบางกลุ่ม เชน่ โรคไต โรคเลือดเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรมู าตอยด์ หรือสเตียรอยดท์ พ่ี บว่ามผี สมอยใู่ นยาลูกกลอน หรือยา หมอ้ เกือบทุกขนาน เนอ่ื งจากสเตียรอยดเ์ ป็นยาครอบจกั รวาล สามารถหาซ้อื ไดง้ า่ ย ถา้ รับประทาน เป็นเวลานานจะสง่ ผลเสยี ตอ่ ระบบรา่ งกายต่าง ๆ มากมาย รวมทง้ั จะท�ำให้กระดกู พรุนและหกั งา่ ยด้วย ๔) อายุ ถ้าอายเุ กินกวา่ ๖๐ ปี กระดกู มักจะบางหรือพรุน เสยี่ งต่อการหกั ง่าย นอกจากความชำ� นาญของผู้รกั ษาแลว้ ปจั จัยต่าง ๆ เหลา่ นีส้ ามารถส่งผลต่อการติดของกระดกู ท่ีหักดว้ ย กลา่ วคือ... “ ”ปจั จยั ด้านบวกมีผลทำ� ใหก้ ระดกู ตดิ เรว็ ส่วนปัจจยั ด้านลบมีผลทำ� ให้กระดูกติดชา้
การรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก
17คู่มือหมอพ้นื บา้ นในการรักษา ผู้ป่วยกระดูกหกั และการฟนื้ ฟูสภาพผูป้ ว่ ยหลงั การรกั ษา บทที่ ๓ หลกั การรกั ษาผู้ปว่ ยกระดกู หกั การรกั ษาผู้ป่วยกระดกู หัก มีข้ันตอนที่สำ� คัญ ๔ ขน้ั ดงั น้ี ๑. การตรวจวินจิ ฉยั โดยการซกั ประวตั ิ ตรวจรา่ งกายและการดภู าพเอกซเรย์ ๒. การดูแลผู้ป่วยกระดูกหักเบอื้ งต้น ๓. วิธจี ัดดึงกระดูกให้เขา้ ท่ี ๔. การท�ำกระดูกให้อย่นู ิง่ ๓ .๑ การตรวจวินจิ ฉัย โดยการซกั ประวตั ิ ตรวจรา่ งกาย และการดภู าพเอกซเรย์ ๑. การซักประวตั ิและการตรวจร่างกาย ตอ้ งซักถามผปู้ ่วยถึงสาเหตทุ ี่ทำ�ให้กระดูกหักวา่ เกิดจากอะไร เช่น รถชน หกล้ม ขอ้ เทา้ พลกิ ตกจากที่สูง หมอพื้นบ้านสามารถรักษาผู้ป่วยกระดูกหักเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงได้ ตามความเหมาะสม ผปู้ ่วยกระดกู หกั ที่เกิดจากอบุ ัตเิ หตุ มักมอี าการดังนี้ • ปวดบริเวณที่กระดูกหักมาก • บวม มรี อยฟกช้�ำ ที่เกดิ จากการกระแทกใกล้กับบรเิ วณท่กี ระดูกหัก • กดบริเวณที่กระดกู หักจะรสู้ กึ เจบ็ มาก หรอื คล�ำแล้วได้ความรสู้ กึ กรอบแกรบ บริเวณปลายกระดูกท่หี กั สกี ัน • อวัยวะส่วนท่กี ระดกู หกั จะมรี ปู ร่างผิดไปจากเดมิ เชน่ แขนหรอื ขาสน้ั ลง บิดหรอื โก่งงอ • ไมส่ ามารถขยับอวยั วะส่วนทหี่ กั นน้ั ได้ เนอ่ื งจากปวดมาก ๆ
18 ค่มู อื หมอพน้ื บ้านในการรกั ษา ผปู้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟ้นื ฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรกั ษา ภาพที่ ๘ กระดกู ขอ้ มอื หกั เนอ่ื งจากอบุ ัตเิ หตุ มีรูปรา่ งผิดปกตคิ ลา้ ยสอ้ ม แตก่ รณีท่ผี ปู้ ่วยกระดกู หกั จากสาเหตอุ น่ื ๆ นอกเหนือจากการเกิดอุบตั ิเหตแุ ลว้ ควรรบี ส่งตอ่ ให้แพทยแ์ ผนปจั จุบนั โดยด่วน มิฉะน้นั อาจเกิดอันตรายจนผูป้ ่วยเสยี ชีวติ ได้ เช่น • การติดเชือ้ ในกระดูก ผูป้ ว่ ยมักมีไข้สงู และมอี าการปวดบวมบริเวณแขนขาท่มี กี ารตดิ เช้ือ การรักษาผู้ป่วยให้หายขาดเป็นปกติทำ�ได้ยาก จำ�เป็นต้องใช้ความรู้และเครื่องมือที่ทันสมัย รวมท้ัง ยาปฏิชวี นะเพอื่ ฆา่ เชอื้ โรค บริเวณที่มกี ารติดเชื้อและกระดกู หกั ก. ภาพด้านหนา้ ข. ภาพดา้ นขา้ ง ภาพท่ี ๙ กระดกู แขนหักเนื่องจากเกิดการติดเชือ้ ในกระดกู
19คมู่ อื หมอพื้นบ้านในการรักษา ผปู้ ่วยกระดกู หกั และการฟืน้ ฟูสภาพผ้ปู ่วยหลังการรกั ษา • เน้อื งอกหรอื มะเร็งในกระดูก ท�ำใหก้ ระดกู หกั ง่ายบรเิ วณทตี่ �ำแหนง่ เน้ืองอก ถ้ามะเรง็ แพร่กระจายจะมอี าการปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ร่วมกับมอี าการเบอื่ อาหารและน�้ำหนกั ลด วิธีการรักษากระดูกหักท่ีเกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็งในกระดูก คือการผ่าตัดใส่แกนโลหะดามในโพรง กระดูกและยึดดว้ ยสกรู เนือ้ งอกในโพรงกระดกู รอยกระดูกหัก ก. เนอ้ื งอกในโพรงกระดูก ข. รอยกระดูกหกั ผ่านตำ� แหนง่ เน้ืองอกในโพรงกระดกู ภาพท่ี ๑๐ ภาพเอกซเรย์แสดงเน้อื งอกในโพรงกระดูก
20 คู่มอื หมอพ้นื บ้านในการรกั ษา ผ้ปู ว่ ยกระดูกหกั และการฟื้นฟูสภาพผ้ปู ่วยหลังการรกั ษา แกนโลหะยึดโพรงกระดูก บริเวณกระดกู หัก เนื่องจากเนอ้ื งอกในกระดกู ตะปูเกลียวยดึ ปลายกระดูกหกั กับแกนโลหะ เพ่ือป้องกนั กระดกู หมุน ก. เน้อื งอกในโพรงกระดกู ข. การผ่าตัดใสแ่ กนโลหะ ต้นแขน ดามในโพรงกระดกู ท่หี ัก และยดึ ด้วยสกรู ภาพที่ ๑๑ ภาพเอกซเรยแ์ สดงเนอื้ งอกกระดกู และการผ่าตดั ใสแ่ กนโลหะดามในโพรงกระดูก
21ค่มู ือหมอพื้นบา้ นในการรักษา ผูป้ ่วยกระดกู หักและการฟ้ืนฟสู ภาพผูป้ ่วยหลังการรักษา ๒. การดูภาพเอกซเรย์ การเอกซเรยเ์ ปน็ การวนิ ิจฉัยทแี่ พทย์ใช้ในการตรวจวา่ ผปู้ ่วยมกี ระดกู หกั แบบไหน รนุ แรง หรือมีความผิดปกติมากน้อยเพียงใดหรือไม่ ภาพเอกซเรย์จึงช่วยวางแผนการรักษาของแพทย์ทั้ง ก่อนรักษาและภายหลงั การรกั ษาแล้ว การถา่ ยภาพด้วยรังสเี อกซเรย์ จะถ่ายอวัยวะทก่ี ระดูกหกั ใน ๒ ท่า คอื ภาพด้านหน้า และ ภาพด้านขา้ ง รังสีเอกซเรยผ์ า่ นกระดูกจะไดภ้ าพสีขาว แตถ่ า้ ผ่านเน้ือเย่ือรอบกระดกู หรือผา่ นปอดจะ ไดภ้ าพเปน็ สดี ำ� หรอื สีเทา ในภาพเอกซเรย์จะระบุ • ช่อื ผู้ปว่ ย วันทีถ่ า่ ยเอกซเรย์ • ป้ายแสดงข้างซา้ ยใชเ้ ครื่องหมาย “L” และแสดงขา้ งขวาใชเ้ คร่ืองหมาย “R” ป้ายแสดง ดังกล่าวจะติดอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งของฟิล์มเอกซเรย์ เนื่องจากไม่ต้องการให้บดบังภาพถ่ายกระดูก ในฟิลม์ เอกซเรยข์ องผูป้ ว่ ย ก. ภาพดา้ นข้างและด้านหน้าแขนซา้ ย (L) ข. ภาพด้านข้างและดา้ นหน้าแขนขวา (R) ภาพที่ ๑๒ ภาพเอกซเรย์กระดูกแขนสว่ นปลายหกั
22 คูม่ ือหมอพ้ืนบา้ นในการรักษา ผูป้ ว่ ยกระดูกหักและการฟ้นื ฟสู ภาพผปู้ ่วยหลังการรักษา สิ่งท่ีเป็นปัญหาคือ บางคร้ังการดูภาพเอกซเรย์ก็ไม่สามารถช้ีได้ชัดเจนว่ากระดูกหัก จริงหรือไม่ เช่น กระดูกหักในเด็กหรือกระดูกหักชนิดไม่เคล่ือนท่ี เนื่องจากในกระดูกเด็กมีศูนย์ เจริญเติบโตของกระดูกซ่ึงมีลักษณะเหมือนกับรอยหักอยู่ที่ปลายกระดูกแขนและขา หากไม่แน่ใจ วา่ กระดกู หักหรอื ไมค่ วรถ่ายภาพเอกซเรย์เปรยี บเทยี บกับขา้ งปกติ และควรสง่ ปรึกษาแพทย์ กระดกู ตน้ ขา กระดกู ลกู สะบา้ ศนู ย์เจริญเตบิ โตของกระดกู ศนู ย์เจรญิ เตบิ โตของกระดกู ศูนยเ์ จรญิ เติบโตของกระดกู กระดกู หนา้ แข้ง กระดกู น่อง ภาพที่ ๑๓ ศูนย์เจรญิ เตบิ โตของกระดูกหน้าแขง้ ซง่ึ มลี กั ษณะเหมือนรอยหัก ๓.๒ การดูแลผู้ปว่ ยกระดกู หักเบอ้ื งตน้ ก่อนท่ีจะจัดกระดูกให้เข้าท่ี หมอพ้ืนบ้านควรพิจารณาดูแลผู้ป่วยกระดูกหักเบ้ืองต้นและ ให้การชว่ ยเหลือ ดงั นี้ ๑) ลดอาการปวด การดงึ กระดกู ใหเ้ ขา้ ทผี่ ปู้ ว่ ยจะเจบ็ มากหากไมม่ กี ารบรรเทาอาการปวดกอ่ น ดังนั้นก่อนจัดดึงกระดูกประมาณคร่ึงชั่วโมงถึงหน่ึงชั่วโมง หมอพ้ืนบ้านท่ีมีความรู้เร่ืองยา ควรให้ ผปู้ ว่ ยรับประทานยาแกป้ วด ไดแ้ ก่ พาราเซตามอล เปน็ ต้น ๒) การประคบเย็น เหมาะกับผูป้ ว่ ยทไ่ี ม่มแี ผล จะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ โดยอาจใช้ ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ ห่อน้�ำแข็งมาประคบ หรืออาจใช้แผ่นประคบเย็นส�ำเร็จรูปก็ได้
23คมู่ ือหมอพื้นบา้ นในการรักษา ผปู้ ว่ ยกระดูกหกั และการฟืน้ ฟสู ภาพผู้ป่วยหลังการรักษา ๓) การดแู ลแผล สำ� หรบั แผลถลอกเลก็ น้อยอาจใช้น้�ำเกลอื ลา้ งให้สะอาด แลว้ ใช้ยาฆา่ เชือ้ โรค ทา ได้แก่ เบตาดีน เป็นต้น แลว้ จงึ ปดิ แผลด้วยผ้าก๊อซทส่ี ะอาด เพ่อื ป้องกนั การตดิ เชือ้ แต่ถา้ เปน็ แผลท่ี มีฟองไขมนั ออกมา ให้สันนิษฐานวา่ อาจเป็นกระดกู หกั ชนิดเปดิ ท่ีมีกระดูกทมิ่ ออกนอกเน้อื ซึง่ เส่ยี งตอ่ การติดเช้ือในโพรงกระดูกและรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้ยากมาก ต้องรีบท�ำความสะอาดตามวิธี ดงั กลา่ วข้างต้น แลว้ สง่ ให้แพทย์ดแู ลรักษาโดยดว่ น ไม่ควรรกั ษาผ้ปู ว่ ยเอง เนอ่ื งจากอาจเกดิ การติดเชื้อ และเปน็ อนั ตรายต่อชีวิตผปู้ ่วยได ้ ที่มา: วิกพิ เี ดียสารานกุ รมเสรี, ๒๕๕๖: ออนไลน ์ ภาพท่ี ๑๔ ลักษณะแผลถลอก ภาพท่ี ๑๕ กระดกู หน้าแข้งหกั ซง่ึ มแี ผลลึกถงึ กระดกู และมฟี องไขมนั ไหลออกมา
24 ค่มู อื หมอพ้ืนบา้ นในการรกั ษา ผ้ปู ่วยกระดูกหักและการฟ้ืนฟูสภาพผปู้ ่วยหลังการรักษา ๓.๓ วธิ ีจัดดงึ กระดูกใหเ้ ข้าท่ี หลักการท่ีสำ�คญั คอื การดึงกระดูกส่วนปลายให้เข้าที่กับกระดูกส่วนต้น ในกรณีที่เป็น กระดูกเด็กหกั ทไี่ ม่มกี ารซ้อนกนั สามารถรกั ษาได้งา่ ย โดยการจบั ดัดให้ตรงแล้วใส่เฝอื กไดเ้ ลย แตห่ าก เป็นกระดูกผู้ใหญ่เมื่อหักมักจะเกยกันและมีลักษณะผิดรูป จะต้องดึงยืดกระดูกออกไม่ให้เกยกัน กอ่ นดดั กระดูกให้ตรง รอยหักของกระดูก ก. ภาพด้านข้างกอ่ นการดงึ ข. ภาพด้านขา้ ง ค. ภาพด้านหน้า ภายหลงั การดึงให้เขา้ ที่ ภายหลังการดงึ ใหเ้ ขา้ ที่ ภาพท่ี ๑๖ ภาพเอกซเรยก์ ระดูกแขนหกั ในเด็ก หากกระดูกช้ินที่หักมีลักษณะเกยกันแล้วไม่สามารถจัดช้ินท่ีหักให้เข้าที่ได้ด้วยแรงดึง ตามแนวแกนยาวตรง ๆ เน่ืองจากถูกรั้งไว้ด้วยความตึงของเยื่อหุ้มกระดูก หรือหากดึงแล้ว กระดกู กลบั มาเกยกนั ใหมอ่ ีก ให้ผ่อนความตึงของเยื่อหุ้มกระดูกด้านที่ยังไม่ฉีกขาดลงด้วย การดันช้ินหักให้โก่งตามสภาพเหมือนกับที่มีแรงมากระทำ�ให้หักเพ่ือจัดให้รอยหักสบกัน ด้านหน่ึงก่อนแล้วจึงลดมุมโก่งลงเพ่ือให้รอยหักที่เหลือประกบกัน วิธีน้ีจะทำ�ให้กระดูกมี ความยาวเทา่ เดิม ดงั ภาพตอ่ ไป
25ค่มู อื หมอพืน้ บา้ นในการรกั ษา ผปู้ ่วยกระดกู หกั และการฟ้นื ฟสู ภาพผู้ปว่ ยหลงั การรักษา จับชน้ิ กระดกู ที่หักเกยกนั ทงั้ ๒ ช้นิ ดันช้นิ กระดกู หักให้โก่ง จนปลายกระดูกหักสบกนั จัดกระดูกใหร้ อยหักประกบกัน จัดปลายกระดกู หกั ทง้ั ๒ ช้นิ ใหอ้ ยใู่ นแนวตรง ภาพที่ ๑๗ สาธติ วิธีการจดั ช้ินกระดูกที่หกั เกยกันใหเ้ ข้าที่
26 คู่มือหมอพ้ืนบ้านในการรกั ษา ผู้ป่วยกระดูกหกั และการฟน้ื ฟสู ภาพผู้ป่วยหลังการรกั ษา ๓.๔ การทำ� ใหก้ ระดกู อย่นู ิ่ง หลักการรักษากระดูกหักคือ ดึงกระดูกให้เข้าที่และทำ�ให้กระดูกอยู่นิ่ง ๆ ดังน้ันหลังจาก จดั กระดกู ตอ้ งพยายามคลำ�จนแนใ่ จวา่ กระดกู เขา้ ทดี่ แี ลว้ จริง ๆ จึงดามกระดูกดว้ ยวิธีการ ดังน้ี ๑. การใสเ่ ฝอื ก การใส่เฝือกเปน็ การยดึ ตรงึ หรอื บังคบั ไมใ่ ห้บรเิ วณกระดกู ท่ีหกั นัน้ เคลอ่ื นไหว หลกั ในการ เข้าเฝือกท่ีสำ�คัญคือ ต้องเข้าเฝือกเหนือบริเวณท่ีกระดูกหัก ๑ ข้อ และใต้ข้อต่อบริเวณกระดูกหัก อกี ๑ ขอ้ เพอื่ ปอ้ งกนั การเคลอ่ื นของกระดูกที่ดามไว้จากการขยบั ของข้อต่อที่ใกล้กับบริเวณกระดกู หัก นน้ั เชน่ ถา้ หกั ทแ่ี ขนสว่ นปลายตอ้ งใสเ่ ฝอื กใหค้ ลมุ ขอ้ ศอกและขอ้ มอื ดว้ ย และควรจะใสเ่ ฝอื กในลกั ษณะ ทงี่ อข้อศอกเปน็ มมุ ฉาก ภาพที่ ๑๘ การเขา้ เฝือกปูนทกี่ ระดูกแขนทอ่ นลา่ งหกั สามารถพันคลุมขอ้ ศอกและขอ้ มือ และยงั แนบกับผิวหนงั ไดด้ ีกว่าเฝือกไม้ โดยท่วั ไปแพทย์มักใช้เฝือกปนู สว่ นหมอพ้ืนบ้านนิยมใช้เฝอื กไม้ไผ่ เฝือกปนู มีข้อดีคอื สามารถใส่ใหค้ ลมุ ขอ้ ได้ง่าย และสามารถลบู เฝือกใหพ้ อดีกับอวยั วะได้ แต่มีข้อเสียคือ ต้องระวังการบวมของเน้ือเยื่อท่ีอยู่โดยรอบกระดูกท่ีหัก การบวมของเนื้อเยื่อนี้จะ เกิดขึ้นอย่างตอ่ เนอื่ งเปน็ เวลานานหลายวนั โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ในวันแรก ๆ ภายหลงั กระดกู หกั เฝือกปนู อาจรัดแนน่ เกนิ ไปได้ จงึ เปน็ เหตผุ ลใหแ้ พทย์จำ�เป็นตอ้ งนดั ผ้ปู ่วยมาตรวจดูในวนั รุ่งขึ้นเสมอ
27คู่มือหมอพ้ืนบ้านในการรักษา ผปู้ ว่ ยกระดกู หกั และการฟื้นฟสู ภาพผูป้ ่วยหลงั การรักษา ภาพที่ ๑๙ ภมู ปิ ัญญาหมอพ้ืนบา้ นในการใสเ่ ฝอื กไมไ้ ผ่ขา้ มข้อเทา้ เพื่อไม่ให้ข้อขยับ เฝอื กไมไ้ ผ่ ของหมอพนื้ บา้ นมีข้อดี คือ เม่อื เนือ้ เย่อื รอบ ๆ กระดกู ทห่ี ักมีการบวมเกดิ ขึน้ เน้ือเยอ่ื กจ็ ะขยายออกมาตามช่องวา่ งของเฝอื กไม้ได้ ทำ� ให้ไมม่ ีการรัดแน่นจนเกนิ ไป ข้อเสยี ของเฝือกไม้ไผ่ คือ ไม่สามารถดัดให้แนบกบั ผิวหนัง หรอื โค้งงอตาม อวัยวะได้ โดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีท่ีต้องเข้าเฝือกข้ามข้อศอกหรือข้อเข่า เฝือกไม้ไผ่ไม่สามารถตรึง อวัยวะบริเวณข้อนี้ให้อยู่นิ่งได้ ข้อศอกหรือข้อเข่าที่ยังเคล่ือนไหวได้มีผลทำ�ให้กระดูกส่วนท่ีหัก มีการเคลื่อนไหวไม่อยู่น่ิงไปด้วย กระดูกส่วนที่หักจึงติดช้าหรือไม่ติด ดังนั้นหากใช้เฝือกไม้ไผ่ดาม ต้องมกี ารขยบั เฝือกให้แนน่ พอดี หากเฝือกหลวมเกินไปส่งผลใหก้ ารตรึงอวัยวะจะไมด่ นี ัก แต่หากเฝอื ก แน่นเกินไปก็อาจรัดให้เลือดเดินไม่สะดวกหรือถึงข้ันทำ�ให้เนื้อเย่ือบริเวณนั้นตายได้ เนื่องจากเน้ือเย่ือ มีการบวมมากข้ึนอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์แรก วิธีการแก้ไขที่หมอพื้นบ้านควรทำ� คือ การใช้สำ�ลี รองเฝือกจะเป็นการลดการบีบรัดที่แน่นมากเกินไปได้ และไม่ควรใช้รองเฝือกมากเกินไปจะทำ�ให้ เฝือกหลวมง่ายและมีการเคล่ือนของกระดูกอีก ปกติแล้วควรกระชับเฝือกไม้ไผ่ในวันท่ี ๕ ถึงวันท่ี ๗ หลงั จากวนั ทก่ี ระดูกหกั เนือ่ งจากเป็นชว่ งทีอ่ าการบวมจะยุบลง “ ระยะเวลาในการเข้าเฝือกก็เปน็ สงิ่ สำ� คัญ หากถอดเฝือกในขณะที่กระดกู ยงั ไมต่ ิดดี หรือเดินลงน้�ำหนักก่อนเวลา กระดกู อาจเกิดการเสียดสกี ัน ”ทำ� ให้กระดูกไม่ติดและอาจก่อใหเ้ กิดปัญหาในการใชง้ าน ของอวัยวะทหี่ ักตามมาในภายหลังได้
28 คู่มือหมอพื้นบา้ นในการรักษา ผ้ปู ่วยกระดูกหกั และการฟ้นื ฟสู ภาพผู้ป่วยหลังการรักษา ๒. การพันด้วยผ้า แพทย์มกั ใช้ “การพันด้วยผ้า” ในกรณที ่ีกระดกู ไหปลาร้าหกั โดยใช้ผา้ พันไหล่ท่เี ป็นเลข 8 แบบสำ�เรจ็ รปู เพราะสะดวกกวา่ และสามารถถอดซักได้ หมอพ้นื บ้านใชผ้ ้าอื่น ๆ เชน่ ผา้ ขาวมา้ ผา้ จวี ร ท่ีพระสงฆส์ ละแล้วทีส่ ะอาด มีความยาวประมาณ ๒ - ๓ เมตร พันใหร้ อบไหลเ่ พือ่ จำ�กดั การเคลือ่ นไหว ของกระดูกไหปลาร้าข้างที่หัก ยึดไหล่ให้อยู่น่ิง ช่วยให้กระดูกเกยกันน้อยลง กระดูกเร่ิมติดได้ดี ในระยะ ๖ - ๘ สปั ดาห์ การดึงกระดกู ไหปลาร้าท่ีหกั ใหผ้ ู้ป่วยนัง่ บนเกา้ อที้ ไ่ี ม่มีพนักพิง เท้าสะเอว แล้วแบะไหล่ออก เพื่อให้ง่ายต่อการใส่ ผ้าพันไหลใ่ หเ้ ปน็ เลข 8 ภาพท่ี ๒๐ การพันผา้ พันไหล่ให้เป็นเลข 8 ในกรณที ก่ี ระดกู ไหปลารา้ หกั
ตำ� แหนง่ กระดูกหัก 29คู่มอื หมอพ้ืนบา้ นในการรักษา ผู้ป่วยกระดกู หักและการฟ้นื ฟูสภาพผู้ป่วยหลงั การรักษา ตำ� แหน่งกระดูกหกั ภายหลงั การดึงให้เข้าที่ ก. ภาพกระดูกไหปลารา้ หักกอ่ นการรักษา ข. ผลการรักษากระดูกหกั ดว้ ยการพนั ผ้าพนั ไหล่ท่เี ป็นเลข 8 ภาพท่ี ๒๑ ภาพเอกซเรย์กระดกู ไหปลาร้าหัก ก่อนและหลังการรักษา ก. กระดกู ไหปลาร้าขณะยืดอก ข. หลงั พันผา้ พันไหล่ และแบะไหล่ ภาพที่ ๒๒ ทศิ ทางการเคล่อื นของกระดกู ไหปลาร้าที่หัก กอ่ นและหลังพันผา้ พันไหลท่ ี่เป็นเลข 8
30 ค่มู อื หมอพ้นื บา้ นในการรักษา ผปู้ ว่ ยกระดูกหักและการฟนื้ ฟสู ภาพผู้ปว่ ยหลังการรกั ษา ข้อแนะนำ� สำ� หรับผู้ปว่ ยในการใช้ผา้ พนั ไหล่ทเี่ ป็นเลข 8 ๑) ผ้ปู ่วยควรใส่ผา้ พนั ไหลท่ เ่ี ป็นเลข 8 ตดิ ต่อกันนาน ๖ - ๘ สปั ดาห์ ๒) ถา้ ผา้ ทพ่ี ันไวค้ ับหรอื หลวม ไม่พอดี ตอ้ งพนั ใหม่ โดยกลับไปให้หมอหรือญาติพนั ผ้า ให้ใหม่ ๓) หากผู้ป่วยเกิดอาการชาบริเวณมือทัง้ สองข้าง อาจเกิดจากการพนั ผา้ แน่นจนเกนิ ไป ใหค้ ลายผ้าลงเล็กน้อยจะชว่ ยให้อาการชาหายไปได ้ ๓. การดามกระดูก ใช้ในกรณีที่กระดูกนิ้วเท้าหักหรือแตก ให้ใช้ผ้าพันนิ้วที่หักติดกับนิ้วข้างเคียงเป็นเวลา ประมาณ ๑ เดือน โดยมีแผ่นกระดาษแข็งหรือวัสดุช่วยดามกระดูกค่ันกลางเพ่ือป้องกันความอับช้ืน ที่เกิดข้นึ จากการเสยี ดสรี ะหว่างทง้ั สองนิว้ ดงั ภาพ ข. และ ค. ก. น้วิ เทา้ นว้ิ ท่ี ๔ มอี าการปวดบวม
31คมู่ ือหมอพื้นบา้ นในการรกั ษา ผู้ปว่ ยกระดูกหักและการฟ้นื ฟสู ภาพผปู้ ่วยหลังการรักษา รอยกระดูกหัก ข. ภาพเอกซเรยก์ ระดกู นิว้ เทา้ นวิ้ ที่ ๔ แตก วสั ดุช่วยดามกระดูก ค. การพนั นิ้วที่หกั ใหด้ ามติดกับนว้ิ ข้างเคียงโดยใช้วัสดชุ ่วยดามกระดูกคนั่ กลาง ภาพท่ี ๒๓ กระดกู นว้ิ เท้าแตกและวิธีการรกั ษา
32 คมู่ ือหมอพนื้ บ้านในการรักษา ผู้ป่วยกระดกู หกั และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลงั การรักษา ๔. การถว่ งดึงกระดกู การถ่วงดงึ กระดกู เปน็ วธิ กี ารจดั เรียงกระดูกและดามกระดกู ในเวลาเดยี วกนั หลักสำ�คญั ของการถว่ งดงึ กระดกู คอื การใชแ้ รงดงึ ตามแนวทเี่ หมาะสม แกไ้ ขแนวแกนของกระดกู ทห่ี กั เพอื่ เอาชนะ แรงทที่ ำ�ใหก้ ระดกู เคลอ่ื นที่ ไดแ้ ก่ แรงกระทำ�จากภายนอก แรงโนม้ ถว่ งโลก แรงดงึ จากกลา้ มเนอ้ื เปน็ ตน้ ในกรณที ี่กระดูกข้อมอื เคล่ือนหรอื กระดูกแขนสว่ นปลายหัก หลงั การจดั กระดูกให้ เขา้ ท่ีแลว้ ควรถ่วงดึงนิ้วหวั แมม่ ือและนว้ิ ชี้โดยใช้อปุ กรณ์ชว่ ยถ่วงดึง เช่น การใช้ปลอกนวิ้ มือ ทีส่ ามารถแขวนไว้กับเสาได้ เพ่ือความสะดวกในการดงึ อาจใหผ้ ูป้ ่วยนอนหงายบนเตียง สวม ปลอกน้ิวมอื ทพี่ อดกี ับน้วิ หวั แมม่ อื และนว้ิ ช้ี โดยใหท้ ้ังสองนิว้ ต้งั ฉากกัน แล้วดึงใหแ้ นวของ นิ้วหัวแม่มืออยู่ในเส้นตรงเดียวกับกระดูกแขนเพ่ือช่วยรักษาให้กระดูกข้อมืออยู่ในแนวตรง หรอื เพ่มิ การถ่วงดงึ โดยใชถ้ ุงใส่ทรายที่มนี ้ำ� หนกั ประมาณ ๒ - ๕ กิโลกรัมบริเวณตน้ แขนด้วย ก. ปลอกนว้ิ มอื ขนาดต่าง ๆ ข. วธิ กี ารถว่ งดึงกระดกู ข้อมือ โดยใช้ปลอกนว้ิ มือ ภาพท่ี ๒๔ อปุ กรณป์ ลอกนว้ิ มือช่วยในการดงึ กระดูกขอ้ มอื ให้เข้าท่ี
33คมู่ ือหมอพืน้ บา้ นในการรักษา ผู้ปว่ ยกระดูกหักและการฟ้ืนฟสู ภาพผูป้ ่วยหลังการรักษา ก. ภาพเอกซเรย์กระดูกหกั ก่อนดึง ข. ภาพเอกซเรยก์ ระดกู หัก ภายหลังดงึ เขา้ ท่ีและใสเ่ ฝือก ค. ทศิ ทางการดงึ และหมนุ กระดูกหกั ง. แนวของกระดูกหักท่เี ข้าที่ ให้เขา้ แนวกอ่ นและหลงั การใส่เฝือก หลังการใสเ่ ฝอื ก (ภาพดา้ นหนา้ ) (ภาพดา้ นขา้ ง) ภาพท่ี ๒๕ ภาพเอกซเรยแ์ ละวธิ กี ารดึงกระดกู ขอ้ มอื หักแบบเคล่ือนที่
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152