Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

Description: กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

Search

Read the Text Version

พยอม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don ชื่อสามัญ Shorea, White meranti ชื่อวงศ์ (DIPTEROCARPACEAE ชื่อพื้นเมือง กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอม ดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) พะยอม (ภาค กลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน) ความหมาย ต้นไม้ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในวงศ์ของยางนา ปัจจุบันต้นไม้ชนิดนี้เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ โดย ปกติจะสามารถพบเจอได้ทั่วตามป่า เบญจพรรณแล้งและชื้น หรือตามป่าดิบแล้ง ทั่วไป ต้นพยอมสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ทั่ว ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจาก ระดับน้ำทะเลประมาณ 60-1200 เมตร รู้หรือ ไม่ว่าดอกของพยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด กาฬสินธุ์ และต้นพยอมยังเป็นต้นไม้ที่มี สรรพคุณเป็นยาสมุนไพรไทยสามารถรักษาโรค ได้หลายอาการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความเชื่อ ต้นพยอม คือต้นไม้มงคล หากบ้านไหนมีต้นพยอมปลูกในบ้านไว้บริเวณรอบบ้านจะทำให้ไม่ ขัดสนเรื่องเงินทอง และจะทำให้ผู้อื่นรักไคร่ อยากช่วยเหลือ หรือเห็นอกเห็นใจ เนื่องจากคำ ว่า พยอม มีความหมายว่า การยินยอม ผ่อนผัน หรือการประณีประนอม นอกจากนั้นคนสมัย ก่อนยังมีความเชื่ออีกว่าหากจะปลูกต้นไม้เพื่อเอาคุณ ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และผู้ปลูกควรเกิดในวันเสาร์ พะยอม คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในวงศ์ของยางนา ปัจจุบันต้นไม้ชนิดนี้เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยปกติจะสามารถพบเจอได้ทั่วตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือตามป่าดิบแล้งทั่วไป ต้น พยอมสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 60-1200 เมตร รู้หรือไม่ว่าดอกของพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และ ต้นพยอมยังเป็นต้นไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรไทยสามารถรักษาโรคได้หลายอาการ อีกทั้ง ยังมีเรื่องราวความเชื่อของคนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ ต้นพยอม หรือพะยอมกันให้มากขึ้น จะน่าสนใจแค่ไหนตามไปชมพร้อมๆ กันเลย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพะยอม ต้น ต้นพยอมไม้มงคลมีถิ่นกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว และประเทศไทยของเรา เป็นต้น พะยอมเป็นต้นไม้ที่มีขนาด กลางไปจนถึงขนาดใหญ่ จัดเป็นไม้ผลัดใบ ทรงพุ่มสวยงาม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งออก เพื่อ สร้างร่มเงาและมองดูสวยงาม ต้นพยอมมีความสูงลำต้น ประมาณ 15-20 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 300 เซนติเมตร สีของเปลือกลำต้นคือสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม ลำต้นแตกออกเป็นร่องยาว ตกสะเก็ด เนื้อไม้มีสีเหลืองอมสี น้ำตาล คล้ายกับต้นตะเคียนทอง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใบ ลักษณะของใบต้นพยอมมีใบเป็นรูปทรงรี ใบมน ปลายใบ แหลม โคนใบสอบ ใบพะยอมมีสีเขียว ส่วนผิวใบจะเกลี้ยง ผิวเป็นมัน ขอบใบเรียบเป็นคลื่น เส้นใบด้านหลังสามารถมอง เห็นได้ชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร และมี ความกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอก ดอกพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ดอกมีช่อ ขนาดใหญ่ ออกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ดอกประกอบไปด้วยกลีบดอก 3 กลีบ โค้งเล็ก น้อย มีความยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนของกลีบดอก ติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ดอกพะยอมจะดอกออก พร้อมกันเกือบทั้งต้นมองดูสวยงาม และจะออกดอกในช่วง เดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ผล มาในส่วนของผลกันบ้าง ลักษณะผล คือ เป็นผลแห้ง รูป ทรงไข่และกระสวย มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผล จะซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนมีปีก 5 ปีก ประกอบไปด้วยปีก ยาวรูปทรงขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร และ ปีกสั้นมี 2 ปีก โดยแต่ละปีกยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในหนึ่ง ผลจะมีเมล็ดเพียงแค่หนึ่งเมล็ด และจะติดผลในช่องเดือน มกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สรรพคุณทางด้านยาสมุนไพรของพะยอม ๑. เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ช่วยแก้อาการท้องร่วง หรือท้องเดิน ขับล้าง สารพิษออกจากลำไส้ เนื่องจากมีสาร Tannin จำนวนมาก จึงช่วยสมานแผลในลำไส้ได้ดี นอกจากนั้นหากนำมาเปลือกมาฝนยังสามารถใช้รักษาบาดแผล ลดอาการอักเสบ ป้องกันแผล ติดเชื้อได้อีกด้วย ๒. ดอกของพะยอมใช้เป็นยาหอมไว้แก้ลม ยาแก้ไข้ นอกจากนั้นยังใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีก ด้วย ประโยชน์ของพะยอม ๑. ปลูกเพื่อสร้างร่มเงาทำให้เกิดความร่มเย็น ต้นพะยอมสามารถทนทานต่อความ แห้งแล้งได้ดี อีกทั้งยังมีดอกที่สวยงาม กลิ่นหอมด้วย ๒. ดอกอ่อน สามารถนำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือจะนำไปชุบแป้งทอด กรอบ อร่อย พร้อมทั้งมีโภชนาการที่ดี ดอกพะยอมอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใย ไขมัน และแร่ธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ๓. เปลือกหรือชิ้นไม้เล็กๆ สามารถนำมาใส่ในเครื่องหมักดอง ทำเป็นสารกันบูดได้ ๔. ชันของต้นพยอมสามารถนำมาผสมกับน้ำมันทาไม้ ใช้ยาแนวเรือได้ ๕. ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อน สวยงาม เนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน มีความ คล้ายคลึงกันกับไม้ตะเคียนทอง สามารถนำไปแปรรูป หรือใช้ประโยชน์แทนกันได้และ ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำฟอร์นิเจอร์ เสาบ้าน ตง รอด พื้น ฝาบ้าน เป็นต้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การปลูก การดูแลรักษา และการขยายพันธุ์พะยอม การปลูกต้นพยอมหรือการขยายพันธุ์ต้นพยอมนั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง ข้อดีของการปลูกต้นพยอมคือเป็นต้นไม้ที่สามารถทนทานต่อความแห้งแห้ง ได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทยของเรา อย่างไรก็ตาม ต้นพยอม จะเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนดินทรายหรือดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ ประมาณ 12.5-45 องศาเซลเซียส การปลูกต้นพยอมด้วยการเพาะเมล็ดก็เหมือนกับการปลูก ต้นไม้ชนิดอื่นทั่วๆ ไป โดยกล้าไม้จะต้องมีความแข็งแกร่งและสมบูรณ์ก่อน หรือต้นกล้ามี ความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร จึงสามารถย้ายลงหลุมปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ เพื่อลดอัตราการตาย ก่อนนำกล้าไม้ลงหลุมปลูก ควรนำกล้าไปตากแดดทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงย้ายลงหลุมปลูก แนะนำให้ย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลังฝนตก ก่อนแกะถุง พลาสติกที่ห่อหุ้มออก ให้นำส่วนรากจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้รากดูดซึมน้ำจนอิ่มตัว วิธีนี้จะช่วย ให้ต้นพยอมมีอัตราการรอดตายสูง ระยะในการปลูกที่เหมาะสม คือ 3 x 3 เมตร สามารถปลูกต้นพยอมร่วมกับไม้โตเร็ว ตระกูลถั่วชนิดอื่นได้ เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่สูงสุด และไม้โตเร็วตระกูลถั่วจะช่วยตรึงไนรโต เจนช่วยให้ไม้พะยอมเจริญเติบโตเร็วขึ้น ในระยะแรกๆ ที่ต้นพยอมยังเป็นต้นอ่อนอยู่ หาก ปลูกร่วมกับไม้ชนิดอื่น อาจทำให้ถูกบดบังแสงแดดส่งผลให้โตช้า แต่เมื่อต้นพยอมเจริญ เติบโตเต็มที่แล้ว การแก่งแย่งแสงสว่างก็จะไม่ส่งผลต่อต้นพยอมมากนัก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับการดูแลรักษาต้นพยอม ดูแลรักษาไม่ยาก เพราะอย่างที่บอกว่าต้นพยอมเป็นต้นไม้ที่ ทนทานต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ดี การลิดกิ่งก็ไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากต้นพยอมมีทรงพุ่ม สวยงาม ยิ่งกิ่งเยอะยิ่งสวยและสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ ในช่วงระยะต้นกล้า หรือย้าย ต้นกล้าลงหลุมปลูก ควรมีการรดน้ำ 3-4 วันต่อหนึ่งครั้ง เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง แต่หลังจากที่ ต้นพยอมเจริญเติบโตขึ้น ก็สามารถลดการให้น้ำลงได้ตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องของโรค แมลง หรือหนอน ศัตรูพืชต่างๆ แมลงที่สามารถทำอันตรายต่อไม้พยอมได้ ก็คือ มอด ซึ่งมอด อาจเจาะไม้ หรือเปลือกไม้ รวมถึงกระพี้ไม้ทำให้เกิดความเสียหาย อาจให้สารเคมีกำจัดโดย เฉพาะ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ควรศึกษาการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดนั้นๆ จากฉลาก หรือคำแนะนำ พะยอม ต้นไม้ชนิดนี้มีประโยชน์มากมาย ทั้งการใช้ประโยชน์ในด้านยาสมุนไพร ปลูกเพื่อ สร้างร่มเงา เพื่อความสวมงาม รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะเนื้อไม้ ที่มีความ แข็งแรง ทนทาน มีสีเหลืองอ่อนคล้ายกับไม้ตะเคียนทอง สามารถใช้ทดแทนไม้ตะเคียนทองได้ นอกจากนั้นต้นพยอมยังมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวความเชื่อของคนไทย สำหรับใครที่ ต้องการปลูกต้นพะยอม หรือต้องการซื้อต้นกล้าไปปลูก สามารถหาซื้อต้นกล้าได้จากร้าน จำหน่ายขายพันธุ์ไม้ทั่วไป หรือจะสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็สะดวกสบายไปอีกแบบ ปัจจุบัน ราคาต้นกล้าพันธุ์ไม้พะยอม จำหน่ายกันที่ราคาประมาณ 20-50 บาทต่อต้น โดยมีความสูง ประมาณ 15-25 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ต้นพยอมในป่ากำลังจะสูญพันธุ์ไป เนื่องจาก ถูกบุกรุกเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าของคนบางกลุ่มที่เห็นแก่ตัว ซึ่งผิดกฎหมายและอาจมีโทษที่หนัก จึงอยากให้ทุกคนตระหนักว่าหากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของเราถูกทำลาย วันหนึ่งโลกของเราก็จะ ได้รับผลกระทบ อย่างเช่นภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นทุกวันนี้ และเมื่อโลกถูกทำลายจากฝีมือ ของมนุษย์ ท้ายที่สุดแล้วมันก็จะส่งผลย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์เอง. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายนพดล โตอุ่น คณะผู้จัดทำ นายบรรจง สุวรรณเพ็ชร นายกเทศมนตรีตำบลทับคล้อ นางธิติพร โตอุ่น รองนายกเทศมนตรีตำบลทับคล้อ รองนายกเทศมนตรีตำบลทับคล้อ ว่าที่ร้อยตรีบัญญญัติ ศศิวิมลกาล รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทนปลัดเทศบาลทับคล้อ หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข รักษาราชการแทน นายกิตติ ผลทองย้อย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทับคล้อ