Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โรคตาและการรักษา

โรคตาและการรักษา

Published by sirinutthawee2, 2021-12-31 10:44:41

Description: สิริณัฐวีร์ คณิศรโสภณ ม.6/12 เลขที่ 23

Search

Read the Text Version

โรคเกี่ยวกับตาต่างๆ และแนวทางรักษาที่ควรรู้ โรคตา และการรักษา สิ ริ ณั ฐวี ร์ คณิ ศรโสภณ

ตา เป็นอวัยวะที่ตอบสนองต่อแสงและแรงดัน ในฐานะเป็นอวัยวะ รับความรู้สึก ตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้สามารถเห็นได้ ช่วยให้เห็น ภาพเคลื่อนไหวเป็น 3 มิติ และปกติเห็นเป็นสีในช่วงกลางวัน เซลล์รูปแท่ง และเซลล์รูปกรวยในจอตาทำให้สามารถรับรู้แสงและเห็น รวมทั้งแยกแยะ สีและรับรู้ความใกล้ไกล ตามนุษย์สามารถแยกแยะสีได้ประมาณ 10 ล้าน สี และอาจสามารถตรวจจับโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียวได้ เหมือนกับตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เซลล์ปมประสาทไว แสง (photosensitive ganglion cell) ในจอตามนุษย์ซึ่งไม่ช่วยให้เห็น ภาพ จะได้สัญญาณแสงซึ่งมีผลต่อการปรับขนาดรูม่านตา ควบคุมและ ระงับการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และปรับตัวทางสรีรภาพและพฤติกรรม ตามจังหวะรอบวัน (circadian rhythm)

โรคตาต้องระวัง เช็กความเสื่อม รู้ ก่อนเสี่ยง 1) ต้อหิน ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตาส่ง ผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุดส่วนใหญ่มีความดันลูกตาสูง ซึ่ง อาการที่สามารถสังเกต ได้แก่ หากเป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน จะปวดตา ตา มัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนร่วม ด้วยได้ เนื่องจากความดันตาสูงมาก แต่ความน่าสนใจของโรคต้อหิน คือผู้ ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่มีอาการเลย เหมือนภัยเงียบค่อย ๆ ทำลายเส้น ประสาท โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ต้อหินเฉียบพลันพบบ่อยในคน เอเชียและปัจจุบันพบในคนอายุน้อย (เช่น เริ่มตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ) เพิ่ม มากขึ้น

การรักษา การใช้ยาหยอดตา การรักษาโรคต้อหินมักเริ่มด้วยยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งการ หยอดตาจะช่วยลดความดันลูกตา โดยไปลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา หรือช่วยเพิ่มอัตราการไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ตัวอย่างกลุ่มยาหยอดตาที่ใช้รักษาโรคต้อหิน มีดังนี้ แอลฟ่า อดริเนอจิก อโกนิส ช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา และ เพิ่มการไหลออกของของเหลว เบต้า บล็อคเกอร์ ช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตาและลดอัตราการ ไหลของของเหลวที่เข้าไปในลูกตา คาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ มีทั้งที่เป็นยาหยอดตา และยาเม็ด รับประทาน ออกฤทธิ์โดยช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา พลอสตาแกรนดินส์ ช่วยลดความดันลูกตาโดยเพิ่มการไหลออกของ ของเหลวในลูกตา โคลิเนอร์จิก เอเจนท์ การรับประทานยา หากการหยอดตาไม่ช่วยให้ความดันในตาลดลงไปในระดับที่ ต้องการ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยารับประทาน โดยทั่วไปจะใช้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ ซึ่งมีทั้งที่เป็นยาหยอดตาและยาเม็ดรับประทาน โดยจะช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา แต่มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย มีอาการชาที่นิ้วมือและนิ้วเท้า มีภาวะซึมเศร้า มีอาการ ปวดท้อง หรืออาจเกิดนิ่วในไตได้ การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เป็นวิธีนอกเหนือจากการใช้ยาหยอดตาและใช้ยารับประทาน ซึ่ง ประกอบไปด้วยกระบวนการการผ่าตัดหลายแบบ หรือการรักษาบำบัดด้วย การใช้เลเซอร์ โดยวิธีเหล่านี้มีเป้าหมายในการระบายออกของของเหลวใน ตาให้ดีขึ้น และลดความดันในตา เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ที่แพทย์จะยิง เลเซอร์รักษาโรคต้อหินชนิดมุมเปิด โดยใช้แสงเลเซอร์สร้างรูเปิดเล็ก ๆ ที่ มุมตา เพื่อช่วยให้ระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดความดัน ตาหรืออาจใช้การผ่าตัดเปิดทางระบายให้น้ำข้างในออกมาอยู่ที่ใต้เยื่อบุตา เพื่อลดความดันในลูกตากรณีที่การรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผล เป็นต้น

2) ต้อกระจก ต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว จาก ปกติที่มีความใส ทำให้แสงผ่านเข้าดวงตาลดลง บดบังทำให้ไม่สามารถ ทำให้จอประสาทตารับภาพได้ชัดเจน ทำให้การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ ส่วน ใหญ่พบในผู้สูงวัย อายุมากกว่า 50 – 60ปีขึ้นไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุก วัยตั้งแต่วัยเด็กหรือเป็นแต่กำเนิด หรือกลุ่มคนอายุน้อย หากมีการใช้สเตีย รอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อุบัติเหตุทางตา หรือโรคที่มีการอักเสบในตา เป็นต้น อาการที่สังเกตได้คือ ตาจะค่อย ๆ พร่ามัวลงเหมือนมีหมอกหรือฝ้า บัง เห็นภาพซ้อน เห็นแสงไฟกระจาย มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีผิดเพี้ยน ไป อาจมีค่าสายตาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น สายตาสั้นมากขึ้น ต้องเปลี่ยน แว่นตาบ่อยผิดปกติ

การรักษา ชว่ งแรกของการเป็นต้อกระจก การเปลี่ยนแว่นตาแก้ไขอาจทำให้ มองเห็นชัดขึ้นได้บ้าง ยังไม่มียาหยอดตาหรือยารับประทานใด ๆ ที่รักษา ต้อกระจกได้ เมื่อเป็นมากขึ้นมองไม่ชัด วิธีการรักษาคือการผ่าตัดเท่านั้น การผ่าตัดต้อกระจก 1) วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification With Intraocular Lens) วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แผลที่กระจกตาเล็กเพียง 3 มม. แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงาน ความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกจนหมดจึงใส่เลนส์ แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ แผลมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ ส่วนใหญ่ 2) วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens) วิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่ เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง จักษุแพทย์จะเปิดแผลบริเวณครึ่งบนของ ลูกตายาวประมาณ 10 มม.เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

3) ต้อเนื้อ ต้อลม ต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว จาก ปกติที่มีความใส ทำให้แสงผ่านเข้าดวงตาลดลง บดบังทำให้ไม่สามารถ ทำให้จอประสาทตารับภาพได้ชัดเจน ทำให้การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ ส่วน ใหญ่พบในผู้สูงวัย อายุมากกว่า 50 – 60ปีขึ้นไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุก วัยตั้งแต่วัยเด็กหรือเป็นแต่กำเนิด หรือกลุ่มคนอายุน้อย หากมีการใช้สเตีย รอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อุบัติเหตุทางตา หรือโรคที่มีการอักเสบในตา เป็นต้น อาการที่สังเกตได้คือ ตาจะค่อย ๆ พร่ามัวลงเหมือนมีหมอกหรือฝ้า บัง เห็นภาพซ้อน เห็นแสงไฟกระจาย มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีผิดเพี้ยน ไป อาจมีค่าสายตาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น สายตาสั้นมากขึ้น ต้องเปลี่ยน แว่นตาบ่อยผิดปกติ

การรักษา ต้อเนื้อที่เป็นน้อยอาจได้รับยาหยอดตาลดอาการอักเสบ ช่วยลด การระคายเคืองตา แต่ไม่สามารถรักษาต้อเนื้อให้หายไปได้ หากต้อเนื้อมี อาการมากจนมีผลต่อการมองเห็นจึงพิจารณาผ่าตัดลอกต้อเนื้อ การผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 2 วิธี คือ 1.การลอกต้อเนื้อ เป็นการลอกเนื้อที่ตาขาวและส่วนที่คลุมตาดำออก ซึ่งการลอกวิธีนี้จะทำให้การกลับมาเป็นซ้ำได้สูง 2.การลอกต้อเนื้อและปลูกเนื้อเยื่อบริเวณลอกเนื้อออกไป เนื้อเยื่อที่นำ มาปลูก อาจเป็นเนื้อเยื่อจากรก หรือเยื่อบุตาของคนไข้เอง อาจใช้ เวลานานขึ้น แต่การกลับเป็นซ้ำค่อนข้างน้อย

4) วุ้นตาเสื่อม วุ้นตา มีลักษณะเป็นเจลหนืดใสเหมือนวุ้นอยู่ภายในส่วนหลังของ ลูกตาโดยอยู่ติดกับจอประสาทตาที่ล้อมรอบมันอยู่ เมื่อวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) น้ำวุ้นในตามีการเปลี่ยนสภาพ บางส่วนจะ กลายเป็นของเหลวและบางส่วนจับเป็นก้อนหรือเป็นเส้นเหมือนหยากไย่ และวุ้นตาอาจจะหดตัวลอกออกจากผิวจอประสาทตา ทำให้มองเห็นเป็น เงาดำ จุดเล็ก ๆ เส้น ๆ วง ๆ หรือเส้นหยากไย่ลอยไปลอยมา ขยับไปมาได้ตามการกลอกตา หรือมี แสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป ความน่าสนใจคือ สาเหตุของโรคมักเกิดจากความเสื่อมตามวัย พบมากในคนที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และกลุ่มสายตาสั้น แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นโรคนี้อายุน้อยลงเรื่อย ๆ และ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษาอาจร้ายแรงถึงขั้นจอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรอง และหากมีอาการต้องรีบพบแพทย์ทันที

การรักษา การรักษาวุ้นตาเสื่อมในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่จำเป็น เพราะวุ้นตา เสื่อมไม่ทำให้เกิดปั ญหาที่รุนแรง นอกจากนั้น การใช้ยาหยอดตาหรือการ ใช้ยาอื่น ๆ ไม่ได้ส่งผลในการรักษาและไม่ได้ช่วยให้อาการหายไปได้ โดย ผู้ที่เป็นวุ้นตาเสื่อมเมื่อเวลาผ่านไปสมองอาจจะเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ สนใจและผู้ป่วยก็อาจจะไม่สังเกตเห็นอีก อย่างไรก็ตาม หากวุ้นตาเสื่อมรบกวนหรือทำให้เกิดความบกพร่องในการ มองเห็น ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษา ดังนี้ การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) เป็นขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อนำวุ้นตา ออกไปพร้อมกับเศษเนื้อตาย และจะทดแทนวุ้นตาด้วยสารละลายน้ำ เกลือ (Saline) โดยการผ่าตัดจะไม่ได้เป็นการนำวุ้นตาออกไป ทั้งหมดและวุ้นตาสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หลังจากการผ่าตัด แต่ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดวุ้นตาก็มีความเสี่ยง ได้แก่ เลือดออกในตา จอตาฉีกขาด จอตาลอก หรือต้อกระจก การทำเลเซอร์เพื่อแก้ปั ญหาวุ้นตาเสื่อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลาย วุ้นตาเสื่อมหรือเคลื่อนย้ายให้ออกไปจากการมองเห็น นอกจากนั้น ยังเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยกว่าการผ่าตัดวุ้นตา แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิจัยในเบื้องลึก ซึ่งผลการรักษาและความปลอดภัยยังไม่ เป็นที่แน่ชัด ซึ่งบางรายพบว่าได้ผล บางรายพบว่ามีการเปลี่ยนแปลง เล็กน้อย หรือไม่เกิดผลเลย

5) จอประสาทตาเสื่อมตามวัย จอประสาทตาเสื่อมตามวัย (Age – Related Macular Degeneration: AMD) เกิดจากจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตา เสื่อม มักเป็นไปตามวัย พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความร้ายแรงถึง ขั้นสูญเสียการมองเห็น อาการที่สังเกตได้คือ มองภาพไม่ชัด มองเห็นบิด เบี้ยว ตาพร่ามัว มีจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ ซึ่งจอประสาทตาเสื่อมเป็น โรคที่ต้องรีบทำการรักษากับจักษุแพทย์โดยเร็วเพื่อรักษาและช่วยควบคุม ไม่ให้การมองเห็นแย่ลงจนรบกวนคุณภาพชีวิต ที่น่าสนใจคือปัจจุบันยัง ไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาด การป้องกันดูแลที่ดีที่สุดคือ การตรวจคัดกรองและรักษาดูแลดวงตา เลี่ยงแดดจ้า ทานอาหารที่มี ประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ จะช่วย ชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้

การรักษา การรักษาวุ้นตาเสื่อมในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่จำเป็น เพราะวุ้นตา เสื่อมไม่ทำให้เกิดปั ญหาที่รุนแรง นอกจากนั้น การใช้ยาหยอดตาหรือการ ใช้ยาอื่น ๆ ไม่ได้ส่งผลในการรักษาและไม่ได้ช่วยให้อาการหายไปได้ โดย ผู้ที่เป็นวุ้นตาเสื่อมเมื่อเวลาผ่านไปสมองอาจจะเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ สนใจและผู้ป่วยก็อาจจะไม่สังเกตเห็นอีก อย่างไรก็ตาม หากวุ้นตาเสื่อมรบกวนหรือทำให้เกิดความบกพร่องในการ มองเห็น ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษา ดังนี้ การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) เป็นขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อนำวุ้นตา ออกไปพร้อมกับเศษเนื้อตาย และจะทดแทนวุ้นตาด้วยสารละลายน้ำ เกลือ (Saline) โดยการผ่าตัดจะไม่ได้เป็นการนำวุ้นตาออกไป ทั้งหมดและวุ้นตาสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หลังจากการผ่าตัด แต่ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดวุ้นตาก็มีความเสี่ยง ได้แก่ เลือดออกในตา จอตาฉีกขาด จอตาลอก หรือต้อกระจก การทำเลเซอร์เพื่อแก้ปั ญหาวุ้นตาเสื่อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลาย วุ้นตาเสื่อมหรือเคลื่อนย้ายให้ออกไปจากการมองเห็น นอกจากนั้น ยังเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยกว่าการผ่าตัดวุ้นตา แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิจัยในเบื้องลึก ซึ่งผลการรักษาและความปลอดภัยยังไม่ เป็นที่แน่ชัด ซึ่งบางรายพบว่าได้ผล บางรายพบว่ามีการเปลี่ยนแปลง เล็กน้อย หรือไม่เกิดผลเลย

6) เบาหวานขึ้นตา เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นความผิดปกติที่ เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน พบในผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่ น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้ชั้น จอประสาทในลูกตาเกิดความเสื่อม ถ้าทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตา มัวและตาบอดได้ ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยเบาหวานบางคนไม่ เคยตรวจตาเลยจึงไม่ทราบว่าการมองเห็นแต่ละข้างเป็นอย่างไร เพราะ โดยรวม 2 ข้างยังมองยังเห็นอยู่ แต่อาจมีด้านหนึ่งที่แย่กว่าแล้ว และบาง คนรู้สึกว่ามองเห็นโดยรวมยังปกติจึงไม่มาพบจักษุแพทย์ ทำให้บางครั้ง รักษาช้าเกินไปและตาบอดได้ในที่สุด (โดยทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจ อย่างน้อยปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นถ้าเริ่มมีเบาหวานขึ้นตา) ซึ่งการตรวจ คัดกรองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงควบคุมโรคเบาหวาน ให้ดีจะช่วยลดความเสียหายและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้กับตาและ อวัยวะอื่น ๆ

การรักษา การรักษามีจุดประสงค์เพื่อชะลอหรือยับยั้งอาการต่าง ๆ ที่จะเกิด ขึ้น โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของ อาการ โดยวิธีรักษาแต่ละวิธีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่มี เส้นเลือดเกิดใหม่ หากมีอาการเพียงเล็กน้อยจนถึงอาการในระดับ ปานกลาง อาจยังไม่จำเป็นต้องรักษาในทันที แต่แพทย์จะคอย สังเกตอาการหรือความผิดปกติของดวงตาอย่างใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ ป่วยอาจต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อยับยั้งไม่ให้อาการ ลุกลาม การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะก้าวหน้า ซึ่งเป็นระยะที่มีเส้นเลือดเกิด ใหม่ ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องรักษาด้วยเลเซอร์หรือผ่าตัด ซึ่งวิธีการ ก็จะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับแต่ละปั ญหาของจอตา ได้แก่ การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ มี 2 แบบ คือ Focal Laser จะช่วยชะลอหรือยับยั้งการรั่วซึมของเลือด และของเหลวในดวงตา หากผู้ป่วยมีอาการตามัวหรือมอง ไม่ชัดที่เป็นผลมาจากภาวะเบาหวานขึ้นตา การรักษาด้วยวิธี นี้อาจไม่ช่วยให้อาการเหล่านี้หายไป แต่อาจช่วยลดโอกาส ของอาการตามัวหรือมองไม่ชัด ไม่ให้มีอาการที่รุนแรงกว่า เดิม Scatter Laser จะช่วยหดกระชับเส้นเลือดที่มีความโป่งผิด ปกติ โดยจะยิงเลเซอร์ที่จอตา ยกเว้นบริเวณจุดภาพชัด หลังการรักษาด้วยวิธีนี้อาจส่งผลต่อการมองเห็น รวมถึง การมองเห็นในตอนกลางคืนของผู้ป่วย การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) เพื่อนำเลือดออกจากวุ้นตาและกำจัด แผลเป็นที่บริเวณจอตา การผ่าตัดวุ้นตาไม่ได้เป็นการรักษา เป็น เพียงการชะลอหรือยับยั้งอาการ ซึ่งจะยังคงมีโอกาสเกิดความเสีย หายต่อจอตาและสูญเสียการมองเห็นได้อยู่

7) ตาแห้ง ตาแห้ง (Dry Eyes) เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยในกลุ่มสูงวัยและใน วัยทำงาน มีอาการไม่สบายตา ระคายเคือง เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา แสบตาหรืออาจน้ำตาไหลมากได้ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานผิด ปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland Dysfunction) การ ใส่คอนแทคเลนส์ การใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นาน ๆ หรือการ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือโรคและการรับประทานยาบางชนิด หาก ปล่อยไว้ไม่ได้รักษาอาจทำให้การมองเห็นมัวลง มีการอักเสบของเยื่อบุตา หรือกระจกตา สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการตรวจตาอย่างละเอียดจาก จักษุแพทย์ รวมทั้งอาจมีวัดปริมาณและคุณภาพของน้ำตา การรักษาตา แห้งขึ้นกับสาเหตุ มักต้องใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วย ปรับพฤติกรรมการใช้งาน หรือประคบอุ่น นวดและทำความสะอาดเปลือกตากรณีมีเปลือกตาผิดปกติ

การรักษา 1.น้ำตาเทียม แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่ม ชื่นให้กับดวงตา 2.ยากระตุ้นทำให้เกิดน้ำตา (Secretogogue) เช่น Diquafosol เพิ่ม การสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำ 3.ยาลดการอักเสบของเปลือกตา เช่น ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ฯลฯ 4.ยาลดการอักเสบของตากลุ่ม Steroids ช่วยลดการอักเสบของผิวตา กรณีมีการอักเสบจากตาแห้ง 5.ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอด เช่น ยา Cyclosporine ชนิดหยอด เพื่อลดการอักเสบและเพิ่มปริมาณน้ำตา ลดอาการตาแห้ง 6.การดูแลทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่น (Warm Compression and Lid Hygiene) อาจใช้แชมพูเด็กผสมเจือจาง หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตา ลดอาการต่อมไขมันเปลือก ตาอุดตัน ทำให้ชั้นไขมันของน้ำตาดีขึ้น 7.Autologus Serum ช่วยรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรง ลดการ อักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพราะมีสารช่วยเรื่องการฟื้ นตัว กลับคืนสู่ปกติของเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น โดยเจาะเลือดของผู้ป่วยไปปั่ นและ แยกเตรียมเป็น Serum แล้วนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม 8.การอุดท่อระบายน้ำตา (Punctual Plug) เป็นการอุดบริเวณช่องทาง ที่ไหลออกของน้ำตา (Punctum) ลงสู่โพรงจมูก ซึ่งมีทั้งชนิดอุด ชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery โดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา ซึ่ง เป็นการอุดบริเวณไหลออกของน้ำตาแบบถาวรในกลุ่มที่เป็นรุนแรง มาก

8) ตาบอดสี ตาบอดสี (Color Blindness) เป็นความบกพร่องในการแยกแยะ ความแตกต่างของสี เช่น ตาบอดสีแดงกับเขียวอาจเห็นเป็นสีเทา ไม่ สามารถบอกสีได้ถูกต้อง หรือตาบอดสีแบบไม่เห็นสีอาจเห็นแค่สีขาวกับดำ ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ชายมีโอกาสเป็นตาบอดสีมากกว่าผู้หญิงและ จะรู้ว่าตาบอดสีต่อเมื่อได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์ ที่สำคัญตาบอดสีไม่ ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจากกรรมพันธุ์แต่กำเนิดได้เช่นกัน ซึ่งตาบอดสี ทำให้มีข้อจำกัดในชีวิต จึงควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดและปฏิบัติ ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์

การรักษา ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์หรือจักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่ มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็น ตาบอดสีที่มีสาเหตุมาจากสภาวะหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ อย่างโรคเบา หวานตา แพทย์จะรักษาจากสาเหตุหลักของโรค เพื่อช่วยให้อาการโดยรวม ดีขึ้นและบรรเทาอาการแทรกซ้อนทางสายตาให้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เทคนิคการจดจำตำแหน่งหรือใช้ ป้ายสัญลักษณ์แทนการใช้สีในบางกรณี เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ ง่ายขึ้น เช่น การจำตำแหน่งของไฟจราจรตามลำดับจากบนลงล่าง หรือ การใช้ป้ายเขียนบอกสีไว้ที่เสื้อผ้า จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสีเสื้อผ้าได้ ง่ายขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ควรมีการแจ้งครูและโรงเรียนเกี่ยวกับ ปัญหาตาบอดสีของเด็ก เพื่อช่วยปรับสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับ เด็กให้สามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงกับเด็กที่มีสายตาปกติมากขึ้น รวมไปถึง บอกกับตัวเด็กและคนรอบข้างเองว่าเกิดภาวะตาบอดสีขึ้นและควรปรับ ตัวอย่างไร

9) ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่อยู่ระหว่างเยื่อบุตาและตาขาวฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกและเห็นได้ชัดว่าบริเวณตาขาวกลายเป็นสีแดง โดยอาจ เกิดขึ้นเองหรือเกิดจากการไอ จาม หรือขยี้ตาอย่างรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ แทบไม่รู้สึกตัวว่าเกิดอาการขึ้น แต่อาการนี้มักหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อาการที่พบได้บ่อยของ Subconjunctival Hemorrhage คือ บริเวณตาขาวของผู้ป่วยจะกลายเป็นสีแดงและผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาพบว่ามี หย่อมสีแดงบริเวณตาขาว โดยเฉพาะภายใน 24 ชั่วโมงแรก แต่หลังจาก นั้นจะค่อยๆ ลดขนาดบริเวณที่เป็นสีแดงลง และกลับสู่สภาพปกติเพราะ เลือดถูกดูดซึมไปแล้ว ส่วนบางรายอาจมีอาการระคายเคืองตาร่วมด้วย แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจมองดูน่ากลัวและรุนแรง แต่ส่วนใหญ่มักไม่เป็น อันตรายและไม่กระทบต่อการมองเห็น เพราะเลือดที่ไหลออกมานั้นจะอยู่ เฉพาะบริเวณใต้เยื่อบุตา ซึ่งเป็นชั้นเยื่อเมือกใสบางๆ ที่ปกคลุมตาขาวอยู่ และไม่ได้มีเลือดไหลออกจากตาแต่อย่างใด

การรักษา อาการของ Subconjunctival Hemorrhage นั้น มักจะหายไปได้ เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังนี้ อาจหยอดน้ำตาเทียมเมื่อรู้สึกระคายเคืองตา หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบบางชนิดชั่วคราว เพ ราะยากลุ่มนี้อาจเพิ่มโอกาสในการมีเลือดออกมากขึ้น เช่น ยา แอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น ทั้งนี้ หากภาวะ Subconjunctival Hemorrhage เกิดจากการได้รับบาด เจ็บที่ดวงตาหรือมีอาการเลือดออกและบวมช้ำตามร่างกายโดยไม่ทราบ สาเหตุ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษา ที่ถูกต้อง เพราะอาจเกิดความเสียหายร้ายแรงบริเวณอื่นๆ ของดวงตาได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ รักษาเช่นกัน ซึ่งแพทย์อาจปรับเปลี่ยนการใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมกับ การรักษาอื่นๆ ด้วย

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B 8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C https://www.bangkokhospital.com/content/8-eye-diseases-must-be-careful https://www.pobpad.com/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94 %E0%B8%AA%E0%B8%B5 https://www.bangkokhospital.com/content/dry-eyes https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7 %E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95% E0%B8%B2 https://www.paolohospital.com/th- TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2 %E0%B8%A1- %E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B2/%E0%B8%88%E0%B8%AD %E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%95 %E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1 https://www.pobpad.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95% E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1 https://www.bangkokhospital.com/content/pterygium https://www.bangkokhospital.com/content/cataracts-causes-and-important-factors-to-be- aware-of https://www.pobpad.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4 %E0%B8%99 http://www.wircares.com/Article/Detail/114327


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook