Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 1 ประวัติของงานศิลปะ

หน่วยที่ 1 ประวัติของงานศิลปะ

Published by อัครพล พรหมเทพ, 2019-08-29 23:42:58

Description: ประวัติของงานศิลปะในยุคต่างๆ

Keywords: ประวัติของงานศิลปะ

Search

Read the Text Version

วิชาการเขียนภาพร่าง รหัสวิชา 2108-2112 หน่วยท่ี 1 ประวัตคิ วามเปน็ มาของงานศิลปะ

หน่วยที่ 1 ประวตั คิ วามเป็นมาของงานศิลปะ 1.1 ความเปน็ มาและวสั ดุอุปกรณข์ องงานศลิ ปะภาพรา่ ง ความเป็นมาของศิลปะและประเภทของวัสดุอุปกรณ์ของงานศิลปะภาพร่าง การเรียนรู้เกี่ยวกับด้านศิลปะทุก แขนงจะต้องเรียนรู้บทบาทและความสำคัญประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อเป็นพื้นฐานและองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่จะ นำไปสู่การรู้ถึงประวัติความเป็นมา คุณค่าความสำคัญของประวัติศาสตร์ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกแก่นักศึกษาที่ศึกษาใน ศาสตร์นี้รวมไปถึงผู้ที่สนใจทั่วไป นอกจากนี้ในเนื้อหารายวิชายังได้เพิ่มเติมในส่วนของลักษณะและประเภทของวัสดุ อุปกรณ์เพื่อให้รู้วิธีการใช้งานตลอดจนการฝึกทักษะจนมีความชำนาญ เนื้อหาในส่วนนี้ได้กล่าวประวัติ ความหมาย ความสำคญั ของศิลปะไว้ดงั นี้ 1.1.1 ประวตั ิศาสตร์ศลิ ปะสากล ประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะสากลแบง่ ไดเ้ ปน็ 4 ช่วงดังนี้ 1) ศิลปะยุคก่อนประวตั ิศาสตร์ 2) ศลิ ปะยุคหนิ เก่า 3) ศิลปะยุคหินกลาง 4) ศลิ ปะยุคหินใหม่ ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ การศึกษาศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาผลงานจากการสร้างสรรค์ ของมนษุ ยท์ ่เี ก่ียวกับบริบททเี่ ก่ยี วกบั การดำรงชวี ติ อยู่น่นั เอง ดังนนั้ การศึกษางานศิลปะสมัยกอ่ นประวัติศาสตร์แท้จริงแล้ว คือ การศึกษาร่องรอยการดำรงชีพโดยศึกษาจากซากเศษฟอสซิลของโครงกระดูกและอุปกรณ์ที่ใช้ดำรงชีพ ซึ่งสมัยนั้นยัง ไม่มีการคิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้และยังไม่มีรูปแบบของงานศิลปะที่ชัดเจน กล่าวโดยสรุปศิลปะก่อนประวัติศาสตร์จะมีอายุ ราว 2,000,000 – 500,000 ปีท่ีผา่ นมา ภาพจำลองการดำรงชพี ของมนษุ ยย์ คุ ก่อนประวัตศิ าสตร์ (prehistorical man)

ศิลปะยุคหนิ เกา่ สำหรบั ในซกี โลกด้านตะวันตก มนุษย์ทีม่ ชี ีวิตอยู่ในช่วงยุคหินเก่าท่ีปรากฏหลักฐานคือ มนุษย์ โครมนั ยอง ซ่ึงเรยี กชอื่ ตามถำ้ ทอ่ี ยู่อาศัยแถบบรเิ วณทิศตะวนั ตกของฝรั่งเศส ถ้ำแหง่ นี้ถูกค้นพบโครงกระดูกและวัตถุศิลปะ ของมนษุ ยเ์ ป็นจำนวนมาก เชน่ ภาพเขยี นตามผนงั ถำ้ และหนา้ ผา เครื่องดำรงชีพที่เป็นหนิ เป็นต้น โดยสงั เขปศลิ ปะยุคหิน เก่าจะมอี ายุราว 30,000 –10,000 ปีก่อนคริสตกาล ภาพงานจิตรกรรมฝาผนังยุคหนิ เกา่ ค้นพบทีเ่ มือง Lascaux ประเทศฝรง่ั เศษ ภาพงานประติมากรรมยุคหินเกา่ ดา้ นซา้ ยวีนัสแหง่ วลิ เลนดอรฟ์ พบทปี่ ระเทศออสเตรเลยี ดา้ นขวาวีนัสแหง่ แลสปกู ูพบท่ีประเทศฝรัง่ เศส

ศิลปะยุคหินกลาง ศิลปะยุคนี้จะมีช่วงอยู่ระหว่าง 8000 – 3000 ปี ก่อนคริสตกาล ลักษณะรูปแบบของงาน ศิลปะในยุคนี้จะเป็นช่วงรอยต่อจากยุคหินเก่าซึ่งมนุษย์จะมีชีวิตที่เป็นอยู่ไกล้เคียง กันกับสัตว์โดยใช้ชีวิตกลมกลืนกับ ธรรมชาติ โดยรวมของงานศิลปะที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรโดดเด่นลักษณะงานศิลปะจะคล้ายคลึงกันซึ่งจะเป็นช่วงเชื่อมต่อ ระหวา่ งยุคหนิ กลางกับยุคหินใหม่ ภาพจิตรกรรมผนงั ถ้าํ ทีก่ ัสเตย์ออง (Castellón) ในประเทศสเปน ทวปี ยุโรป (8,000 ปกี อ่ น ค.ศ.) ภาพแผ่นหินปนู แกะสลกั ภาพงานแกะสลกั เพงิ หนิ ท่ีใช้พักอาศัย

ศิลปะยุคหินใหม่ ในยุคหินใหม่มนุษย์ได้พัฒนาตนเองจากที่เคยดำรงชีพให้กลมกลืนกับธรรมชาติมาสู่ก้าวใหม่ ทางวิวัฒนาการ คือ คิดค้นสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเพื่อสื่อสารและพัฒนาตนเองไปสู่สังคมเกษตร มนุษย์ยุคนี้สามารถ เพาะปลูกได้ พร้อมทั้งเลี้ยงสัตว์และตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชน โดยมีการปลูกสร้างบ้านด้วยดินดิบและมุงหลังคาด้วยใบไม้ บางชนเผา่ ร้จู กั การปลกู ข้าวสาลีและขา้ วบาเลย์ รู้จกั ทำอาวุธ เชน่ ธนู ลูกศร รจู้ กั ใชห้ ิน เหล็ก ไฟ รูจ้ กั การทำภาชนะดินเผา ดา้ นงานศิลปะจะโดดเด่นทางด้านงานประตมิ ากรรม เชน่ ภาชนะดิน หินต้ัง เปน็ ตน้ ภาพงานประติมากรรมยุคหนิ ใหม่ สโตนเฮนจ ทค่ี อร์นวอลล์ (Cornwall) ประเทศอังกฤษ ภาพงานจติ รกรรมฝาผนังยุคหนิ ใหม่ 1.1.2 ประวตั คิ วามเปน็ มาของศิลปะไทย ศิลปะไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ไดด้ ังนี้ 1) จิตรกรรมไทย 2) ประติมากรรมไทย 3) สถาปัตยกรรมไทย

1) จิตรกรรมไทย (Thai Painting) จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่ แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คล่ีคลายตดั ทอน หรอื เพ่ิมเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อยา่ งสวยงาม ลงตัว น่าภาคภมู ิใจ และมีวิวัฒนาการ ทางด้านรูปแบบวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต ลายไทย เป็นส่วนประกอบของ ภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ซึ่งนำเอา รูปร่างจากธรรมชาตมิ าประกอบ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครอื เถา เปน็ ต้น หรือเปน็ รูปที่มาจาก ความเชอื่ และคตินิยม เชน่ รปู คน รปู เทวดา รูปสตั ว์ รปู ยักษ์ เปน็ ต้น จิตรกรรมไทยเป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะ และเปน็ ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรือ่ งทเ่ี กีย่ วกบั ศาสนา ประวตั ศิ าสตร์ โบราณคดี ชีวติ ความเป็นอยู่วัฒนธรรมการ แต่งกาย ตลอดจนการแสดงการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็น ภาพ จิตรกรรมไทย งานจิตรกรรม ให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์ น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวล มนุษยชาตไิ ดโ้ ดยทวั่ ไป ววิ ฒั นาการของงานจติ รกรรมไทย แบง่ ออกตามลักษณะรปู แบบทางศิลปกรรม ท่ปี รากฏในปจั จุบัน มีอยู่ 2 แบบ คือ ภาพลายไทยลักษณะตา่ ง ๆ 1.1) จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับ พุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยโบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต พุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระ อุโบสถวิหารอันเป็นสถานท่ีศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทาศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะแบบอุดมคติ

(Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงานจิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เชน่ อินเดยี ศรีลงั กา จีน และญป่ี นุ่ เป็นตน้ เป็นภาพทีร่ ะบายสแี บนเรยี บ ดว้ ยสีคอ่ นข้างสดใส และมีการตัดเส้น เป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบจิตรกรรมไทยแบบ ประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์วิหารและผนัง ด้านหน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และพหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลาย ๆสีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงาม และสีสันที่หลากหลายมากขึ้นรูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซ่ึ ง จิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้ เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเร่ืองและความสำคญั ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่า ด้วยลีลาอันชดช้อย แสดง อารมณค์ วามรูส้ กึ ปีติยนิ ดี หรือเศรา้ โศกเสียใจด้วยอากปั กริ ยิ าท่าทาง ถ้าเปน็ รูปยกั ษ์ มาร กแ็ สดงออกดว้ ยท่าทางที่บึกบึน แข็งขนั ส่วนพวกวานรแสดงลิงโลด คลอ่ งแคลว่ ว่องไวดว้ ยลลี าทว่ งท่าและหน้าตา สำหรบั พวกชาวบา้ นธรรมดาสามัญก็จะ เน้นความตลกขบขันสนุกสนานร่าเรงิ หรือเศร้าเสยี ใจออกทางใบหน้า สว่ นช้างม้าเหลา่ สัตว์ท้ังหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิต เป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรูส้ ึกในรูปแบบได้อย่างลึกซ้ึง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ชนชาตไิ ทยที่น่าภาคภูมใิ จ สมควรจะได้อนุรักษส์ ืบทอดใหเ้ ป็นมรดกของชาติสืบไป (ท่ีมา : https://th.wikipedia.org/wiki/จติ รกรรมไทย) ภาพภาพจติ รกรรมร่วมสมยั 1.2) จิตรกรรมไทยแบบรว่ มสมัย (Thai Contemporary Painting) จิตรกรรมไทยรว่ มสมัย เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การ ปกครอง การรับรู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด และแนวทางการ

แสดงออกของศิลปินในยุคต่อ ๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดและความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่า เชน่ เดยี วกัน อน่ึง สำหรบั ลักษณะเก่ียวกบั จิตรกรรมไทยรว่ มสมยั น้ัน ส่วนใหญเ่ ป็นแนวทางเดยี วกันกบั ลกั ษณะศลิ ปะแบบ ตะวนั ตกในลทั ธิต่าง ๆ ตามความนิยมของศิลปนิ แต่ละคน ภาพภาพจิตรกรรมร่วมสมัย 2) ประติมากรรมไทย (Thai Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั้น การ แกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้าง มักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูกฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และ ลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรมเช่นลวดลายปูนปั้ น ลวดลาย แกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงาน ประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเคร่ืองใชต้ ่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกตา่ งกันออกไปตามสกุลช่างประติมากรรมนูนต่ำและ นูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรมเช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์วิหาร พระราชวัง ฯลฯ ของแตล่ ะท้องถน่ิ หรือแตกต่างกันไป ตามคตนิ ิยมในแตล่ ะยคุ สมยั โดยทว่ั ไปแลว้ เรามักศกึ ษา ลักษณะของสกุลช่างทเ่ี ปน็ รูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนอื่ งจาก เป็นงานที่ มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจัดสร้างอย่างปราณีตบรรจงผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรอื ยคุ สมยั นัน้ ประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สรุปโดยรวมมี 3 ประเภทดังน้ี 2.1) งานประติมากรรมแบบนนู ตำ่ เปน็ งานประตมิ ากรรมที่ชัดเจนเพยี งเฉพาะด้านหนา้ จะมี ความนนู โดยคร่าว ๆ ประมาณ 2-10 มลิ ลเิ มตรเพ่ือให้มองเปน็ 3 มิติ สามารถมองเห็นด้านขา้ งได้แต่กส็ ่ือ ความหมายไมช่ ัดเจนเทา่ ดา้ นหน้า

ภาพประตมิ ากรรมแบบประเภทนูนตำ่ เหรยี ญเงินกรีก Apollo อายุ 415 ปีก่อนคริสตกาล 2.2) งานประติมากรรมแบบนูนสูง เปน็ งานประติมากรรมทช่ี ัดเจนด้านหน้าและดา้ นขา้ งจะมคี วามนนู โดยครา่ ว ๆ ประมาณ ½ หรือคร่งึ หนึง่ ของดา้ นข้างของห่นุ มองเป็น 3 มติ ิ สามารถมองเห็น 3 ดา้ น คือ ดา้ นหน้า ข้างซ้าย และข้างขวา ภาพประติมากรรมแบบประเภทนนู สงู 2.3) งานประติมากรรมแบบลอยตัว เปน็ งานประตมิ ากรรมทม่ี องเหน็ รอบด้านได้อย่างชัดเจน เป็นลกั ษณะ 3 มติ ิอยา่ งสมบรูณ์ ภาพประตมิ ากรรมแบบประเภทลอยตวั

3) สถาปตั ยกรรมไทย (Thai Architecture) สถาปัตยกรรมไทย หมายถงึ ศิลปะการกอ่ สรา้ งของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถปู และสง่ิ กอ่ สร้างอืน่ ๆ ที่มีมูลเหตทุ ่มี าของการก่อสรา้ ง อาคาร บา้ นเรือนในแต่ละท้องถ่ิน จะมลี กั ษณะผดิ แผกแตกตา่ งกันไปบา้ ง ตามสภาพทางภมู ศิ าสตร์ และคตินยิ มของแต่ ละท้องถ่นิ แตส่ ิ่งก่อสรา้ งทางศาสนาพุทธมักจะมลี ักษณะท่ีไมแ่ ตกตา่ งกันมากนัก เพราะมีความเชือ่ ความศรทั ธา และแบบแผนพธิ ีกรรมที่เหมอื น ๆ กนั สถาปตั ยกรรมท่มี กั นิยมนำมาเปน็ ข้อศกึ ษามักเป็นเป็น สถปู เจดยี ์ โบสถ์ วหิ าร หรือพระราชวงั เน่อื งจากเปน็ สิ่งกอ่ สร้างท่ีคงทน มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนอื่ ง ยาวนาน และไดร้ ับการ สรรคส์ ร้างจากชา่ งฝมี ือที่เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาทส่ี ำคญั ควรแก่การศึกษา อกี ประการหนึง่ กค็ ือ ส่ิงก่อสรา้ งเหล่านี้ ล้วนมคี วามทนทาน มีอายุยาวนานปรากฏเปน็ อนุสรณใ์ ห้เราได้ศกึ ษาเป็น อยา่ งดี สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหม่ตู ามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ ภาพงานสถาปตั ยกรรมไทย 3.1) สถาปัตยกรรมท่ีใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วัง และพระราชวงั เป็นต้น บ้านหรอื เรอื นเป็นทีอ่ ยู่อาศยั ของสามัญชนธรรมดาท่ัวไป ซ่งึ มที ้ังเรอื นไมแ้ ละเรือนปนู เรือนไมม้ อี ยู่ 2 ชนดิ คือ เรือนเครื่องผกู เป็น เรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบจาก หญ้าคาหรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดนิ เผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมดลกั ษณะเรือนไม้ของไทยในแต่ละท้องถ่นิ แตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน ตำหนัก และวัง เปน็ เรือนที่อยขู่ องชนชน้ั สงู พระราชวงศ์ หรอื ใชเ้ รียกที่ประทับชัน้ รองของพระมหากษัตรยิ ์ สำหรบั ระราช วงั เป็นทปี่ ระทับของพระมหากษตั รยิ ์ พระท่นี ง่ั เป็นอาคารท่มี ที ้องพระโรงซ่งึ มีท่ปี ระทับสำหรับออกวา่ ราชการหรือกิจการ อื่น

ภาพลกั ษณะเรือนไทยเครื่องผูก และเรือนไทยเครอ่ื งสบั 3.2) สถาปตั ยกรรมทเ่ี ก่ียวข้องศาสนา ซ่ึงสว่ นใหญอ่ ยใู่ นบรเิ วณสงฆ์ ทีเ่ รยี กว่า วัด ซง่ึ ประกอบไปด้วย สถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ วิหาร กุฎิ หอไตร หอระฆังและหอกลอง สถูป เป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอัน เก่ียวเน่อื งกบั ศาสนา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook