รางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา และ รางวัลเชิด ชูเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมพลศึกษา ครบรอบ ๘๙ ปี วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
“…การกีฬานี้มีประโยชน์หลายด้านและสมควรที่จะส่งเสริมในทางที่ถูกต้อง ในหลักการการกีฬาเพื่อความสามัคคี และเพื่อให้คุณภาพของมนุษย์ดีขึ้นมา เวลานี้การกีฬาก็นับว่า มีความสำคัญในทางอื่นด้วยคือในทางสังคม ทำให้คนในประเทศชาติได้หันมาปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในทางสุขภาพของร่างกายและจิตใจ ทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด ความเจริญของบ้านเมือง และโดยเฉพาะในการกีฬาระหว่างประเทศ ก็ได้เพิ่มความสำคัญกับมนุษย์อื่นซึ่งอยู่ในประเทศอื่น ฉะนั้นกีฬามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับชีวิตของแต่ละคน และชีวิตของบ้านเมือง ถ้าปฏิบัติกีฬาอย่างที่ถูกต้อง หมายถึงว่า อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ ก็จะได้นำชื่อเสียงแก่ตน และแก่ประเทศชาติ ถ้าปฏิบัติกีฬาด้วยความเรียบร้อย ด้วยความสุภาพ ก็ทำให้มีชื่อเสียงเหมือนกัน และจะส่งเสริมความสามัคคีในประเทศชาติ การที่สมาคมได้ส่งเสริมการกีฬาโดยมีการเลือก นักกีฬายอดเยี่ยมเพื่อเป็นกำลังใจแก่นักกีฬา ก็เป็นสิ่งที่ดีมากและสมควรที่จะปฏิบัติต่อไป ขอให้วางหลักเกณฑ์ให้ดีเพื่อที่จะให้ได้เป็นการส่งเสริมการกีฬาโดยแท้” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตอนหนึ่ง ในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประจำปี ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๘
คำนิยม ของ ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา กรมพลศึกษา เริ่มก่อตั้งขึ้นในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ถือเป็ นหน่วยงานด้านการพลศึกษา และการกีฬา หน่วยงานแรกของประเทศไทย ซึ่งผู้บริหาร บุคลากรของกรมพลศึกษา และบุคลากร ด้านพลศึกษา และการกีฬาจากหน่วยงานอื่นๆ ต่างมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษาของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมพลศึกษาจึงได้จัดโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่การพลศึกษา ของชาติจนเป็ นที่ประจักษ์ต่อสังคมขึ้น โดยการมอบ “รางวัลพระพลบดี” โดยในปี ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม พระราชทาน \"รางวัลพระพลบดี\" และพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญอักษร พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานบนเข็มทองคำสำหรับมอบแก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ ให้แก่การพลศึกษาของชาติจนเป็ นที่ประจักษ์ต่อสังคมที่ได้ รับรางวัลพระพลบดีซึ่งเป็ นบุคคลผู้มีผลงานใน ๓ สาขา คือ สาขาการบริหารการพลศึกษา สาขาการส่งเสริมการพลศึกษา และสาขาการพัฒนาการเรียนการสอนพลศึกษา โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีบุคคลผู้ได้รับการพิจารณารับรางวัล รวม ๖ รางวัล และในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มีบุคคลผู้ได้รับการพิจารณารับรางวัล รวม ๓ รางวัล โดยหลังจากที่ว่างเว้นจากการพิจารณา มอบ“รางวัลพระพลบดี” มาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ กรมพลศึกษา ได้ดำริให้มีการมอบรางวัล “พระพลบดี” ขึ้นอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีการพิจารณาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้สอดคล้อง กับพันธกิจของกรมพลศึกษา มีบุคคลผู้ได้รับการพิจารณารับรางวัล รวม ๙ รางวัล โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในประเทศไทย กรมพลศึกษา ได้พิจารณาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน ๔ สาขา ประกอบด้วย สาขาการบริหารการพลศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา และ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา อีกทั้งพิจารณามอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ พลศึกษา รางวัลเชิดชูเกียรตินักกีฬานักเรียนยอดเยี่ยม และรางวัลเชิดชูเกียรตินักกีฬาผู้สูงอายุยอดเยี่ยม ในวาระสำคัญที่มีการมอบ“รางวัลพระพลบดี” และรางวัลเชิดชูเกียรติอีกครั้งในปี นี้ กรมพลศึกษา ขอขอบพระคุณ ในผลของคุณความดี และคุณประโยชน์ต่อวงการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่เกิดขึ้นจากผลงาน และการอุทิศตนของผู้ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ทุกท่านรวมไปถึงทายาทของผู้ได้รับรางวัล (ผู้วายชนม์) ทุกท่านที่ให้การสนับสนุนข้อมูล ตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง และให้เกียรติมารับรางวัลในครั้งนี้ สุดท้ายนี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกที่ท่านเคารพนับถือ พร้อมด้วยเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้โปรดคุ้มครองและดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว ประสบแต่ความสุขความเจริญ ถึงพร้อมด้วยจตุรพิธพรชัย แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง และสัมฤทธิ์ผล ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ พร้อมทั้งมีกำลังใจ มีความเข้มแข็ง สมบูรณ์ด้วยสติปั ญญาที่จะดำรงตน ในทางที่ดีที่เจริญ ซึ่งจะนำความสุขมาให้ทั้งตนเองและส่วนรวมตลอดไป (ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์) อธิบดีกรมพลศึกษา
กรมพลศึกษา กรมพลศึกษาได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖ ให้เป็ นกรมหนึ่งใน กระทรวงธรรมการตามพระราชบัญญัติการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีหน้าที่จัดการพลศึกษาของชาติ โดยรัฐบาลในสมัยนั้นมีนโยบายที่จะให้บุคคล ที่แม้ว่าได้รับจริยศึกษาและพุทธิศึกษามาแล้ว ให้ได้รับพลศึกษาด้วย ซึ่งจะทำ ให้มีร่างกายแข็งแรง ใจคอหนักแน่น อันจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้สมบูรณ์เต็มที่ นับตั้งแต่นั้นเป็ นต้นมา “พลศึกษา” จึงกลายเป็ นหลักสำคัญของการศึกษาของชาติ สืบมาจนกระทั่งปั จจุบัน แต่เดิมในสมัยที่ยังเป็ นกรมพลศึกษานั้น โรงเรียนส่วนใหญ่ ขาดการเอาใจใส่การพลศึกษาอย่างแท้จริง มุ่งแต่จะให้การอบรมความรู้และจริยธรรมศึกษาเท่านั้น ครูไม่มีเวลาพอที่จะส่งเสริมพลศึกษาแต่อย่างใด จึงเป็ นการสมควรที่จะจัดตั้ง กรมพลศึกษาขึ้นเพื่อแก้ปั ญหาเรื่องนี้ และในขณะเดียวกันก็เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาล ในสมัยนั้นยอมรับการเป็ นกรมพลศึกษาว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า พุทธิศึกษา และจริยศึกษาซึ่งเป็ นองค์ประกอบของการศึกษา โดย นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ริเริ่มกิจการทางพลศึกษาของชาติไว้หลายประการ ทั้งที่เป็ นเรื่องของการพลศึกษาและการกีฬา การสุขาภิบาลในโรงเรียน กิจการลูกเสือและยุวกาชาด เป็ นต้น อันเป็ นพื้นฐานของการจัดการศึกษา ของชาติให้มีความสมดุลระหว่างพุทธิศึกษา จริยศึกษาและพลศึกษา นับเป็ นความคิดริเริ่ม ที่นักการศึกษาทุกคนต่างประจักษ์ในความสามารถและเป็ นที่มาของห่วงไขว้ ๓ ห่วง ประดิษฐานอยู่ใต้รูปของพระพลบดี ได้แก่ ห่วงสีขาว แทน พุทธิศึกษา ห่วงสีเหลือง แทน จริยศึกษาและ ห่วงสีเขียว แทน พลศึกษา มีความหมายโดยนัยว่าบุคคล จะมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงและก่อประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้แท้จริงนั้น จะต้องมีความสมดุล ระหว่างความรู้ ความประพฤติ และพลานามัยดุจห่วงทั้งสามห่วงที่วางทับกัน ในยุคเริ่มแรก กรมพลศึกษามีผลงานเป็ นที่ประจักษ์หลากหลาย เช่น การจัดตั้งหน่วยสารวัตรนักเรียน การย้ายสนามแข่งขันกรีฑานักเรียน การทำสัญญาเช่าที่ดินตำบล วังใหม่ อำเภอปทุมวัน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ และอาคารโรงเรียน พลศึกษากลาง การแข่งขันกรีฑาประชาชนหญิงเป็ นครั้งแรกในประเทศไทย การส่งเสริมกิจกรรมลูก เสือ การย้ายวิชาพลศึกษาจากสวนกุหลาบวิทยาลัยมาทำการเรียนการสอน ณ โรงเรียนพลศึกษากลาง ซึ่งต่อมาก็เป็ นโรงเรียนฝึ กหัดครูพลานามัย วิทยาลัยพลศึกษา สังกัดกรมพลศึกษา โดยต่อมาเป็ นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา และคณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา ในปั จจุบัน ถือเป็ นแหล่งกำเนิด ของการพลศึกษา ผลิตบุคลากรทางพลศึกษาทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศเป็ นจำนวนมาก หน้า ๑
นอกจากนี้กรมพลศึกษายังให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่ตั้งในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ อาทิ องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปั จจุบัน คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย) ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการโอลิมปิ กแห่งประเทศไทย สำนักเยาวชนแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรม (ปั จจุบัน คือ กระทรวงวัฒนธรรม) สมาคมกีฬาต่าง ๆ รวมทั้งร่วมเป็ นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา ระดับสากล อาทิ การแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๑ โดยใช้กรมพลศึกษาพร้อมทั้งสนามกีฬาและ อุปกรณ์การแข่งขัน การดำเนินงานประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็ นอย่างมาก การแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ครั้งที่ ๕ ที่สนามกีฬาแห่งชาติมีการจัดประชุมทางวิชาการด้านพลศึกษา สุขศึกษาและนันทนาการเป็ นครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๐ ประเทศไทยจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ที่สนามกีฬาแห่งชาติและครั้งนี้ เป็ นประวัติศาสตร์ของกีฬาไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงแข่งขันกีฬาเรือใบและทรงได้เหรียญทอง ประเภท โอ.เค.พ.ศ. ๒๕๑๓ ประเทศไทยเป็ นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ครั้งที่ ๖ แทนประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ.๒๕๑๔ อีกทั้ง เริ่มขยายวิทยาลัยพลศึกษาไปสู่ภูมิภาค ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านพลศึกษามากขึ้น พ.ศ.๒๕๔๑ ประเทศไทยการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ครั้งที่ ๑๓ และ พ.ศ.๒๕๔๒ จัดแข่งขันกีฬาเฟสปิ กเกมส์ ครั้งที่ ๗ ในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ กรมพลศึกษารับผิดชอบการจัดการแข่งขัน พิธีการ การแสดง บุคลากรทางพลศึกษามีบทบาทหน้าที่ ด้านการจัดการแข่งขัน ด้านเทคนิค ผู้ตัดสิน ผู้ฝึ กสอนทั้งในทางระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากนั้นกรมพลศึกษายังรับผิดชอบการสร้างสนามกีฬาจังหวัด สนามกีฬาอำเภอ จัดตั้งโรงเรียนกีฬา จัดตั้งศูนย์พลศึกษาและกีฬาจังหวัด ปรับปรุงสนามกีฬาศุภชลาศัยเป็ นอุทยานการศึกษาและการกีฬา ใช้กระบวนการทางด้านกีฬา ลูกเสือยุวกาชาด ปลูกฝั งให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด พัฒนาหลักสูตรและ การเรียนการสอนพลศึกษาและสุขภาพ ส่งเสริมกีฬาและสุขภาพให้กับคนปกติและคนพิการสนับสนุน ไปแข่งขันในระดับนานาชาติมาโดยตลอด ฯลฯ ผลงานของกรมพลศึกษาเป็ นที่ประจักษ์ของชาวโลก และมีประวัติอันยาวนาน สร้างทั้งปูชนียสถานและปูชนียบุคคลแห่งการกีฬาของชาติไทยไว้มากมาย ความเปลี่ยนแปลงของกรมพลศึกษา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ ได้มีการปฏิรูประบบราชการไทย มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และยุบรวมหน่วยงานในกระทรวงต่างๆ ทำให้ภารกิจของกรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น ต้องแยกออกไปสังกัดหน่วยงานอื่น เช่น งานสารวัตรนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด การผลิตบุคลากร ทางการพลศึกษา แต่ให้มีภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการและวิทยาศาสตร์ การกีฬา รับผิดชอบกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬามวลชน และยุติบทบาทในชื่อของกรมพลศึกษา โดยให้เปลี่ยนเป็ นสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่กระแสความต้องการของชาวพลศึกษา โดยการนำของ นายสมบัติ คุรุพันธ์ ได้มีการเสนอขอใช้ชื่อ “กรมพลศึกษา” ซึ่งมีประวัติ มายาวนาน และเป็ นที่เชื่อถือ ศรัทธาของประชาชน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ และเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา การเปลี่ยนชื่อ “สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ” เป็ น “กรมพลศึกษา” ซึ่งชื่อนี้เป็ นชื่อที่มีมนต์ขลัง ได้รับความเชื่อถือ และศรัทธา และเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนา การกีฬาและนันทนาการ เป็ น กรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ ในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ จึงได้มีชื่อส่วนราชการว่า “กรมพลศึกษา” ซึ่งมีนโยบายและแนวทาง ส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษาสุขภาพ การกีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์ การกีฬา และการพัฒนาบุคลากรสาขาที่เกี่ยวข้อง หน้า ๒
กรมพลศึกษายุคปัจจุบัน กรมพลศึกษาในยุคปั จจุบัน ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยออกกำลังกาย เล่นกีฬา เเละนันทนาการเป็ นวิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน” โดยมีพันธกิจ ๔ ด้าน คือ การขับเคลื่อนการนำนโยบายด้านการออกกำลังกาย กีฬา เเละนันทนาการ ให้บรรลุผลตามเป้ าหมาย การสร้างเครือข่ายเเละบูรณาการการออกกำลังกาย กีฬาเเละนันทนาการ กับทุกภาคส่วน การส่งเสริมเเละพัฒนาบุคลากรการออกกำลังกาย กีฬา เเละนันทนาการให้มีมาตรฐาน และการส่งเสริม พัฒนาเเละเผยเเพร่องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการออกกำลังกาย กีฬาเเละนันทนาการ โดยการปรับตัวให้เป็ นองค์กรผู้เชี่ยวชาญ และมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการพลศึกษา สุขภาพ การกีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา และการพัฒนาบุคลากรสาขาที่เกี่ยวข้อง สร้างและพัฒนา เครือข่ายกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้มีความเข้มแข็ง เปิ ดโอกาสให้เด็ก เยาวชน ได้เล่นกีฬา ออกกำลังกาย และประกอบกิจกรรมนันทนาการอย่างทั่วถึง วางรากฐานการกีฬาของชาติ และองค์ความรู้ในทุกมิติตามยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการกีฬาและนันทนาการ บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อเป็ นเครื่องมือในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ และจากตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจิตร บุณยโหตระ ที่กล่าวว่า “หมอทำหน้าที่รักษา พลศึกษาทำหน้าที่ป้ องกัน” กรมพลศึกษา จึงมีหน้าที่ที่สำคัญ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ความปลอดภัย และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ อบรมบุคลากร ผู้ฝึ กสอน ผู้ตัดสินกีฬา และอาสาสมัครทางกีฬาทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เด็ก เยาวชน ประชาชนและผู้ด้อยโอกาส ทุกเพศ ทุกวัย มีสมรรถภาพสมบูรณ์ แข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีน้ำใจนักกีฬา จากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา เเละร่วมกิจกรรมนันทนาการจนเป็ นวิถีชีวิต สร้างความสุข ความปลอดภัย และยั่งยืน หน้า ๓
รายนามอธิบดีกรมพลศึกษา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนที่ ๑ นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) พพ.ศ.ศ..๒๒๔๔๗๗๗๗--พพ.ศ.ศ..๒๒๔๔๘๘๕๕ คนที่ ๒ มหาเสวกโท พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิชูโต) พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๘๘๕๕--พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๙๙๐๐ คนที่ ๓ หลวงประเวศ วุฑฒศึกษา (ประเวศ จันทนยิ่งยง) พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๙๙๐๐--พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๙๙๓๓ คนที่ ๔ นายอภัย จันทวิมล พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๙๙๔๔--พพ.ศ.ศ. .๒๒๔๔๙๙๕๕ คนที่ ๕ พลโท ผเชิญ นิมิบุตร พพ.ศ.ศ..๒๒๔๔๙๙๕๕--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๐๐๓๓ คนที่ ๖ นายกอง วิสุทธารมณ์ พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๐๐๓๓ -- พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๑๑๑๑ คนที่ ๗ ศาสตร์จารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน พพ..ศศ..๒๒๕๕๑๑๑๑--พพ..ศศ..๒๒๕๕๒๒๓๓ คนที่ ๘ ดร.สำอาง พ่วงบุตร พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๒๒๓๓ -- พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๒๒๙๙ คนที่ ๙ ดร.วิรัช กมุทมาศ พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๒๒๙๙--พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๓๓๐๐ คนที่ ๑๐ นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๐๐--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๕๕ คนที่ ๑๑ ดร.สนั่น อินทรประเสริฐ พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๕๕--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๖๖ คนที่ ๑๒ นายสุวิทย์ วิสุทธิสิน พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๖๖--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๗๗ คนที่ ๑๓ นายกว้าง รอบคอบ พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๓๓๗๗ -- พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๓๓๙๙ คนที่ ๑๔ นายไพฑูรย์ จัยสิน พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๓๓๙๙--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๔๔๐๐ คนที่ ๑๕ รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ - พ.ศ. ๒๕๔๑ คนที่ ๑๖ นายสุวรรณ กู้สุจริต พ.ศ. ๒๕๔๑ - พ.ศ. ๒๕๔๓ คนที่ ๑๗ นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ พ.ศ. ๒๕๔๔ - พ.ศ. ๒๕๔๔ คนที่ ๑๘ นายสุทธิ ผลสวัสดิ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ - พ.ศ. ๒๕๔๕ คนที่ ๑๙ ดร.จรวยพร ธรณินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๕ - พ.ศ. ๒๕๔๕ คนที่ ๒๐ นายสมบัติ กลิ่นผา พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๔๔๕๕ -- พพ..ศศ.. ๒๒๕๕๔๔๕๕ (ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ) คนที่ ๒๑ นายทินกร นำบุญจิตต์ พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๔๔๕๕--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๕๕๐๐ (ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ) คนที่ ๒๒ นายสมบัติ คุรุพันธ์ พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๕๕๐๐--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๕๕๔๔ คนที่ ๒๓ ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๕๕๔๔--พพ.ศ.ศ..๒๒๕๕๕๕๔๔ คนที่ ๒๔ นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๕๕๔๔- -พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๕๕๗๗ คนที่ ๒๕ ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๕๗๗- -พพ.ศ.ศ. .๒๒๕๕๕๘๘ คนที่ ๒๖ ดร.กิตติพงษ์ โพธิมู พพ.ศ..ศ๒. ๒๕๕๕๘๘- -พพ.ศ..ศ๒. ๒๕๕๕๙๙ คนที่ ๒๗ นายนเร เหล่าวิชยา พ.พศ.ศ๒. ๕๒๕๙๕๙- พ- .พศ.ศ๒. ๕๒๖๕๐๖๐ คนที่ ๒๘ ดร.ปัญญา หาญลำยวง พ.พศ.ศ๒. ๕๒๖๕๐๖๐- พ- .พศ.ศ๒. ๕๒๖๕๒๖๐ คนที่ ๒๙ ดร. สันติ ป่าหวาย พ.พศ..ศ๒. ๒๕๕๖๖๒๐––พ.พศ..ศ๒. ๒๕๕๖๖๓๓ คนที่ ๓๐ ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ พ.พศ.ศ๒. ๕๒๖๕๓๖๓– –ปัจปัจจุบจัุนบัน หน้า ๔
ความเป็นมาของรางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา ได้รับการสถาปนา เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นองค์กรที่รับผิดชอบ ด้านการกีฬาแห่งแรกของประเทศไทย มีหน้าที่ส่งเสริมการพลศึกษา สุขภาพ พลานามัย ของนักเรียน ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๗๕) ที่เน้นให้การศึกษา ๓ ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา การฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์อันจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้สมบูรณ์เต็มที่ นับตั้งแต่นั้นพลศึกษาจึงกลายเป็นหลักสำคัญของการศึกษาของชาติ สืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน และจากการปฏิรูประบบราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมพลศึกษา ได้ย้ายสังกัดจากกระทรวง ศึกษาธิการ มาสังกัด กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมพลศึกษา ได้จัดทำโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล “พลศึกษาแห่งชาติ” เพื่อส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่การพลศึกษาของชาติจนเป็นที่ประจักษ์ ต่อสังคม และมีขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์และพัฒนาการพลศึกษาของชาติให้เจริญสืบไป โดยในปีดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน \"รางวัลพระพลบดี\" และพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญอักษร พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานบน เข็มทองคำ มีบุคคลผู้ได้รับการพิจารณารับรางวัล รวม ๖ รางวัล ได้แก่ นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. เป็นอธิบดีกรมพลศึกษาคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้วางรากฐาน การพลศึกษาในประเทศไทย สาขาบริหารการพลศึกษา เป็นผู้ดำเนินการคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์เครื่องหมายสามห่วง ดำเนินการจัดอบรมครูพลศึกษาทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ดำเนินการจัดทำหลักสูตรครูสุขาภิบาลในโรงเรียน ดำเนินการเปิดสอนวิชาพลศึกษาหลักสูตร พลศึกษาโท (พ.ท.) และพลศึกษาเอก (พ.อ.) ดำเนินการจัดสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ ดำเนินการสร้างสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ที่บริเวณเชิงสะพานพุทธฯ ด้านฝั่งธนบุรี ดำเนินการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑานักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน ณ บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นประจำทุกปี นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา สไดม้ัดยำดเำนิรนงกตาำรแวหานง่รงาอกาฐจาานรยก์ใาหรญจั่ดโรทงำเหรียลันกพสูตลรศึกกาษราเกรียลนางกคานรสแอรกนวิชาสาขาการพัฒนาการเรียนการสอนพลศึกษา พลศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก ได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนวิชา พลศึกษาในโรงเรียนกลางได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่ยอมรับของ นักการศึกษาให้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในสถาบัน การศึกษา มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นอาจารย์สอนวิชากระบี่กระบอง และวิชาพลศึกษาอื่น ๆ สำหรับวิชา กระบี่กระบองนับเป็นมรดกของบรรพบุรุษไทย ที่ได้ถ่ายทอดไปสู่ ลูกหลานไทย ในการป้องกันประเทศชาติให้เป็นเอกราชมา จึงได้ดำเนินการ วางระบบการเรียนวิชากระบี่กระบองมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้เขียนตำราวิชากระบี่กระบอง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ในโรงเรียนพลศึกษากลางจนเป็นที่ยอมรับของศิษยานุศิษย์ หน้า ๕
นายกอง วิสุทธารมณ์ ส่งเสริมการจัดตั้งวิชาพลศึกษาในคณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสมาคมกีฬาต่าง ๆ เช่น สมาคมฟุตบอล สาขาการส่งเสริมการพลศึกษา สมาคมว่ายน้ำ สมาคมยิมนาสติก สมาคมกีฬายกน้ำหนัก เป็นต้น ปรับปรุงหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรครุศาสตร์ ดำเนินการจัดอบรมครูผู้สอนวิชาพลานามัยเป็นประจำทุกปี ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดสร้างสนามกีฬาประจำจังหวัดเพิ่มขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันมวยชิงชนะเลิศแห่งเอเชียขึ้น เป็นครั้งแรก ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดสร้างสนามฮอกกี้ โรงยิมเนเซี่ยม ๒ และ สนามกรีฑา ๒๐๐ เมตร ริเริ่มให้มีการเผยแพร่กีฬาทางสถานีโทรทัศน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่ง ประเทศไทย ในระหว่างปี ๒๕๐๙ - ๒๕๑๕ ระยะเวลารวม ๖ ปี ได้จัดหา สถานที่จัดตั้งสำนักงานถาวรและได้ดำเนินการก่อสร้างอินดอร์สเตเดี้ยม ขึ้นในสนามกีฬาหัวหมาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน เดเปปำ็็นนเนผิู“้นบุบกกิดาเบราิยขกกอกรงาะกรดาเัรรบียพกนลากศรึาศกึรกษสษาอแานขผวอินชงใาวหิพทม่ลยขศาอึกลงัษยไทพายลไ”ดศ้ึรกับษกาาขรึ้นยกเปย็่นอวงิทสยาาลขัยาวิชกาากรารบริหา รการพลศึกษา ศึกษา(พลศึกษา) ดำเนินการจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนภูมิภาคขึ้นเป็นครั้งแรก และผลการ จัดตั้งนั้นรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีวิทยาลัยพลศึกษา ๑๗ แห่ง (หมายเหตุปี ๒๕๓๘) เป็นรองประธานคณะกรรมการการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๖ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับ นานาชาติ และได้สร้างโรงยิมเนเซี่ยม ๓ ขึ้นภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการเปลี่ยนแปลงระบบโรงเรียนและการใช้หลักสูตรใหม่ เป็นผู้ดำเนินการจัดหาอัตรากำลังในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ไปดำเนินการ รับผิดชอบ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในระดับเขตการศึกษาและระดับจังหวัด พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ส่งเสริมด้านการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ เป็นประธานคณะกรรมการการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ สาขาส่งเสริมการพลศึกษา ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ เป็นประธานคณะกรรมการการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ เป็นประธานคณะมนตรี เอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ ประธานกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยหลายสมัย และ แบดมินตันโลก นายกสมาคมกอล์ฟ นายกสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กรรมการถาวรสหพันธ์เรือใบระหว่างประเทศ เป็นนักกีฬาเรือใบ ได้เหรียญเงิน ประเภทฟลายอิงดัชแมน ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๐๙ และ ได้เหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาเซียฟเกมส์ พ.ศ. ๒๕๑๐ Distinguished Service Award by the United States Sports Academy พ.ศ. ๒๕๒๖ หน้า ๖
ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ เพียรชอบ สาขาการพัฒนาการเรียนการสอนพลศึกษา เขียนและจัดทำตำราเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา เรื่อง “หลักการ และวิธีการสอนวิชาพลศึกษา” ซึ่งเป็นตำราที่ได้รับรางวัลจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประเภทเรียบเรียง ประกอบคำบรรยาย พ.ศ. ๒๕๒๒ ผลงานวิจัยทางด้านพลศึกษา อาทิ พฤติกรรมของผู้บริหารทางการพลศึกษา ในสถาบันผลิตครูพลศึกษาของไทย สมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิง ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โปรแกรมพลศึกษาและกีฬาเพื่อพัฒนาเยาวชนไทย ในชนบท การประเมินโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลในระดับ ชั้นมัธยมศึกษา ของไทย ด้านวิชาการ ได้แก่ เป็นประธานกรรมการ ร่างหลักสูตรวิชาพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ประธานกรรมการ จัดทำสื่อการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขียนบทความเกี่ยวกับพลศึกษา อาทิ กีฬากับสุขภาพจิต การพลศึกษา ในโรงเรียน คุณค่าของการออกกำลังกาย ฯลฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พิจารณามอบรางวัลรางวัลพระราชทาน รางวัลพระพลบดี จำนวน ๓ รางวัล ได้แก่ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) สาขาการส่งเสริมการพลศึกษา เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รู้จักกันในนาม “ครูเทพ” นักปฏิวัติการศึกษาคนสำคัญของไทย ท่านเป็นนักเรียนทุนหลวง ไปศึกษาเพิ่มเติม ณ ประเทศอังกฤษ โดยท่านสนใจเรียนทั้งด้านวิชาการและพลศึกษา เมื่อกลับสู่ ประเทศไทย ได้เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนจาก การนั่งเรียน เขียนกระดานดำบนพื้นกุฏิวัด มาเป็นนั่งเก้าอี้เรียนในห้อง เปลี่ยนการสอน ทีละชั้นมาเป็นการสอนทุกชั้นพร้อมกัน ทำให้การศึกษาพัฒนาไปอย่างมาก เป็นผู้บุกเบิกกีฬา“ฟุตบอล”ในประเทศไทยภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงไพศาล ศิลปศาสตร์” ท่านเห็นว่า เกมฟุตบอลสามารถทำให้เด็กรู้จักรักษาสุขภาพของตนเอง ก่อเกิดความสามัคคีต่อหมู่คณะ และสอนให้มีความอดทนต่อความสำเร็จ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ประพันธ์บทเพลง “กราวกีฬา” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยการ แต่งเป็นกลอนสดๆด้วยลายมือท่านเอง ที่บันทึกลงกระดาษปฏิทิน เพื่อจูงใจให้นักกีฬา รู้จักการแพ้ชนะและรู้จักการให้อภัย เนื้อหาของบทเพลงยังคงมนต์ขลังและเป็นอมตะ ที่ใช้ในการเชียร์กีฬามาจนถึงทุกวันนี้ หน้า ๗
นายอภัย จันทวิมล สาขาการบริหารการพลศึกษา มีส่วนในการดำเนินงาน ออกพระราชบัญญัติยกฐานะครูโรงเรียนประชาบาล ขึ้นเป็นข้าราชการ ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา จัดตั้งโครงการปรับปรุงส่งเสริม โรงเรียนประชาบาลในจังหวัดพระนครและธนบุรี ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา จัดตั้งสถานที่ประชุมสัมมนาครู ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโก จากนิวซีแลนด์ ริเริ่มจัดตั้งชั้นเด็กเล็กอายุ ๕ ปี ก่อนอายุถึงเกณฑ์บังคับให้เข้าเรียนโรงเรียนประชาบาล ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ตามโครงการฉะเชิงเทรา จัดการศึกษา ประเภทต่างๆ ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงส่งเสริม การศึกษาทั่วราชอาณาจักร จัดตั้งโรงเรียนมัธยมวิสามัญแบบประสม (ม.๑ - ม.๖) โรงเรียนอาชีวศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครู รวมทั้งการปรับปรุง การศึกษาผู้ใหญ่ และการอบรมครู ครูใหญ่ ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหาร การศึกษา ขอทุนจากยูเนสโกและสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งครู ครูใหญ่ ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารการศึกษาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญการสนับสนุนส่งเสริม คณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่ง ในความรับผิดชอบของกรมพลศึกษา พลตรี สำเริง ไชยยงค์ สาขาการพัฒนาการเรียนการสอนพลศึกษา เป็นนักฟุตบอลทีมชาติ เข้าแข่งขันโอลิมปิค ครั้งที่ ๑๖ และกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๑ - ๒ เป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมเยาวชนและทีมชาติไทย เป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมเยาวชนในประเทศเยอรมันนี เป็นผู้อบรม ผู้ฝึกสอนฟุตบอลแบบสมัยใหม่สากลทั่วประเทศ เป็นผู้สร้างทีมฟุตบอลราชวิถี ซึ่งเป็นทีมแรก สาธิตการเล่นฟุตบอลสมัยใหม่ ให้แพร่หลาย เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลในโรงเรียนนายร้อยดันทรูน ประเทศออสเตรเลีย ถวายงานการพลศึกษาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ จัดการถวายกีฬา การออกพระกำลัง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอฯ และกิจกรรมการเดิน ว่ายน้ำ เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นกิจกรรม ประจำของบุคคลสำคัญในโอกาสแปรพระราชฐาน เป็นคณะกรรมการบริการสมาคมฟุตบอลไทย และสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทย หน้า ๘
ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ กรมพลศึกษา เล็งเห็นความสำคัญของบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อยกย่อง เชิดชูและประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมพลศึกษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑. เป็นบุคคลที่มีผลงานด้านการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ ๑.๑ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการพลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ๑.๒ เป็นผู้หรือเคยเป็นผู้กำหนดหรือสนับสนุนนโยบาย หรือเป็นผู้มีผลงานทางด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พลศึกษา การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไป ๑.๓ เป็นผู้อุทิศตนให้แก่การพัฒนาวิชาชีพพลศึกษา การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ๑.๔ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ๑.๕ เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาด้านการพลศึกษา การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในทางสร้างสรรค์จนเป็นที่ประจักษ์ต่อชุมชนและสังคม ๑.๖ เป็นแบบการดำรงชีวิตที่ดีต่อสังคม ๑.๗ อื่น ๆ ตามคณะกรรมการฯ กำหนด โดยกรมพลศึกษา ได้จัดทำเหรียญพระพลบดีทำจากทองคำแท้ ๙๐ % น้ำหนัก ๑๒ กรัม ฝังเพชรขนาด ๒ ตัง จำนวน ๘ เม็ด และเพชรขนาด ๓ ตัง จำนวน ๑ เม็ด เพื่อมอบให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ รายนามดังต่อไปนี้ หน้า ๙
พระยาจินดารักษ์ สาขาการบริหารการพลศึกษา เริ่มรับราชการในกองราชเลขานุการในพระองค์ พระยาจินดารักษ์ ได้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม และขยันหมั่นเพียร จึงได้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับคัดเลือกไปเรียนและดูงานที่ประเทศ อังกฤษ จนกระทั่งจบการศึกษาจึงได้เดินทางกลับประเทศไทยได้รับ ตำแหน่งผู้ตรวจราชการภาคใต้ และโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร จากหลวงจินดารักษ์ เป็นพระยาจินดารักษ์ ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ตามลำดับ พระยาจินดารักษ์ เป็นผู้มีนิสัยรักกีฬามาแต่เด็ก มักจะใช้เวลาว่าง เนื่องจากประสบภัยทางการเมือง โดยเลือกใช้เวลาว่างไปช่วยฝึกสอน ฟุตบอลให้แก่ทีมโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ทั้งได้เป็นกรรมการกีฬาต่าง ๆ ของกรมพลศึกษา จนเป็นที่ชอบพอกับคุณหลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรม พลศึกษาในขณะนั้น และด้วยความกรุณาของคุณหลวงศุภชลาศัยนี้เอง ที่พระยาจินดารักษ์ได้มีโอกาสเข้ารับราชการอีกวาระหนึ่ง กระทรวง ศึกษาธิการได้มีคำสั่งลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ บรรจุพระยา จินดารักษ์ในตำแหน่งหัวหน้ากองกีฬากรมพลศึกษา ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมพลศึกษา แทนคุณหลวงศุภชลาศัย เมื่อสมัยอยู่โรงเรียนราชวิทยาลัยมีชื่อเสียงในทางฟุตบอล ได้เป็นหัวหน้าทีมของโรงเรียน มีสมญาว่า “เตียวหุย” เมื่อย้ายไปอยู่จังหวัดใด ก็มักจะพยายามส่งเสริมจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้น และเมื่อตอนรับ ตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ก็ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกติกาการแข่งขันกีฬาต่างๆ ให้ทันสมัย ได้เป็นผู้ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมกีฬาสมัครเล่นขึ้นหลายสมาคม ทั้งได้เคยเป็นหัวหน้านำนักกีฬาไทยไปแข่งขันในต่างประเทศหลายครั้ง นับว่าพระยาจินดารักษ์ มีส่วนในการเสริมสร้างกีฬาสมัครเล่นของประเทศไทยอยู่ไม่น้อย และได้รับเลือกเป็นกรรมการในสมาคมกีฬา สมัครเล่นต่างๆ เช่น ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคม กีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง สาขาการบริหารการพลศึกษา เลขาธิการฟุตบอลนักเรียนแห่งเอเชีย เลขาธิการสหพันธ์กีฬาโรงเรียนแห่งอาเซียน รองประธานสหพันธ์กีฬาโรงเรียนแห่งเอเชีย หัวหน้านักกีฬาไทย การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ ๒๐๐๐ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย หัวหน้านักกีฬาไทย การแข่งขันซีเกมส์ ณ ประเทศเวียดนาม คณะอำนวยการจัดการแข่งขันเอเซียนเกมส์ครั้งที่ ๑๓ กรุงเทพฯ ประเทศไทย คณะอำนวยการจัดการแข่งขันเอเซียนเกมส์ครั้งที่ ๒๔ นครราชสีมา ประเทศไทย เป็นกรรมาธิการกีฬา สภากีฬาโอลิมปิคแห่งเอเชีย เป็นกรรมการบริหารสมาคมกีฬาคนพิการแห่งเอเชียและเซ้าท์แปซิฟิค (FESPIC FEDERATION) หน้า ๑๐
พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ สาขาการบริหารการพลศึกษา เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง สหพันธ์กรีฑาแห่งเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เลขาธิการสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๒๖ (๖ สมัย) เหรัญญิกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๒๐ (๒ สมัย) ประธานสหพันธ์กีฬาตะกร้อแห่งเอเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ – ปัจจุบัน นายกสมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ – ปัจจุบัน (๓๑ สมัย) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหพันธ์ตะกร้อระหว่างประเทศ (ISTAF) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ประธานสหพันธ์ตะกร้อระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ – ปัจจุบัน กรรมการบริหารของ ASSOCIATION NATIONAL OLYMPIC COMMITTEE (ANOC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ – ปัจจุบัน (๕ ทวีปของโลก) รองประธานสหพันธ์กรีฑาเอเชียกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ - ตลอดชีวิต มนตรีสหพันธ์กีฬาซีเกมส์กิตติมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ - ตลอดชีพ รองประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเซีย (OCA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน รองประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน (๑๕ สมัย) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา อาจารย์เป็นคนแรกที่นำวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาช่วยพัฒนามาตรฐานการกีฬาของชาติ ได้เสนอให้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นในองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านได้สละกำลังกาย กำลังใจ และแม้กำลังทรัพย์ เพื่อดำเนิน กิจการของศูนย์ฯ สนับสนุนงานวิจัย และได้เสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมนานาชาติไม่น้อยว่า ๑๐ เรื่อง จัดประชุมวิชาการทางกีฬาเวชศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย และได้รับตำแหน่ง เกียรติยศทั้งในและ นอกประเทศหลายตำแหน่ง สนับสนุนแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ ไปศึกษาอบรมในประเทศเยอรมนีจนถึงระดับปริญญาเอก ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้เป็นกำลัง สำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา หากไม่มีท่าน วงการกีฬาของไทยคงไม่มีกีฬา เวชศาสตร์ที่แท้จริง เป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ทดสอบกำลังหลายชิ้น เช่น เครื่องวัดความสูงของการกระโดด เครื่องวัดการงอตัว เครื่องวัดความแม่นตรงของเครื่องวัดกล้ามเนื้อ และเครื่องทดสอบ การดึงข้อแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น นับเป็น \"บิดาแห่งการกีฬาสมัยใหม่ของไทย\" ผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการกีฬาของชาติกว่า ๒๐ ปี (เป็นความโชคดีทุกผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการกีฬาเวชศาสตร์ ที่มีบิดาที่ประเสริฐ เช่นท่าน เป็นศรีแก่ประเทศชาติที่บุคคลเช่นท่าน สมควรได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคล ของชาติ และเป็นบุคคลตัวอย่างของผู้ประกอบคุณความดีต่อคุณโดยแท้) เป็นผู้กำเนิดวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย และวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาของประเทศไทย เริ่มค้นคว้าผลการออกกำลังกายในขนาดและปริมาณต่าง ๆ เพื่อนำการประยุกต์กับวิชา พลศึกษา ทำให้มีการเรียนการสอนถูกต้องตามหลักวิชาการและให้ประโยชน์อย่างแท้จริง จัดตั้ง \"ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา\" ครั้งแรกในประเทศไทย และทดสอบสมรรถภาพนักกีฬา ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๐๙ ซึ่งถือเป็นวันกำเนิดกีฬาเวชศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะที่มีผลงานดีเด่นทางพลศึกษา ในโอกาสการประชุมทาง วิชาการสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ผู้ริเริ่มให้ประชาชนสนใจในการสร้างเสริมสุขภาพตนเองด้วยการออกกำลังกาย การวิ่ง - เดิน การกุศล เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนสนใจเสริมสร้างสุขภาพตนเองด้วยการออกกำลังกาย หน้า ๑๑
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิพิธพร แก้วมุกดา สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา เข้าร่วมการประชุมพลศึกษาและกีฬามวลชนที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุมวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษาที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เข้าร่วมการประชุมวิทยาศาสตร์การกีฬาและกีฬามวลชนที่เมื่องไปเป้ ประเทศโคลัมเบีย เข้าร่วมการประชุมพลศึกษาและกีฬาที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับทุนไปฝึกอบรมกรีฑา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับทุนไปฝึกอบรมวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษาที่เมืองคีล ประเทศสหพันธรัฐ เยอรมันนี เข้าร่วมการประชุมวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษาที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย เป็นหัวหน้านักกีฬา นักมวยเยาวชนสมัครเล่นไปแข่งขันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้านักกีฬา นักเรียนอาเซียนไปแข่งขันว่ายน้ำที่ประเทศสิงค์โปร์ เป็นหัวหน้านักกีฬานักเรียนอาเซียนไปแข่งขันแบดมินตัน ที่ประเทศอินโดนีเซีย คณะผู้ก่อตั้งสมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับโล่พลศึกษาดีเด่น ของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ แห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ อินทรปาณ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๔ เลขาธิการสภากีฬามหาวิทยาลัยแห่งอาเซียน พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๓๐ กรรมการบริหารสภากีฬามหาวิทยาลัยแห่งอาเซียน พ.ศ. ๒๕๒๖ มนตรีสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย พ.ศ. ๒๕๒๗ รองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ ประธานสหพันธ์โบว์ลิ่ง แห่งเอเชีย พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๖๑ กรรมการโอลิมปิกสากล (IOC member) พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๔๓ IOC Sydney Olympic Games Coordination Commission พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๕๘ IOC Culture and Olympic Education Commission พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๑ IOC Beijing Olympic Games Coordination Commission พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๖ IOC Olympic Programme Commission พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒ รองประธานสหพันธ์เทควันโดโลก พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๖๑ ประธานสหพันธ์ยิงเป้าบินแห่งเอเชีย พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๙ IOC Rio de Janeiro Olympic Games Coordination Commission ได้รับประกาศเกียรติคุณจากสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ แห่งประเทศไทย ยกย่องให้เป็นนักพลศึกษาดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ดร.ณัฐ มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันให้กีฬาสนุกเกอร์ เข้าสู่การแข่งขันระดับชาติ นั่นคือ ซีเกมส์ ครั้งที่ ๑๔ หรือเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ผู้ใหญ่ในคณะกรรมการโอลิมปิกในยุคนั่นคือ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นประธานฯ และ พ.อ. (พิเศษ) อนุ รมยานนท์ เป็นเลขาธิการ โดยมี พ.ต.จารึก อารีราชการัณย์ เป็นผู้ช่วยฯ ซึ่ง ดร.ณัฐ เป็นคณะกรรมการร่วมกับ ดร.สันติภาพ เตชะวณิชย์ จากนั้น กีฬาสนุกเกอร์ ได้ถูกบรรจุเข้าสู่เอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ๑๙๙๘ โดยได้รับการผลักดันและสนับสนุน จากนายสันติภาพ เตชะวณิช, พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ และดร.ณัฐ อินทรปาณ ตามด้วยการนำเสนอจนเข้าสู่แข่งขันเวิลด์เกมส์ ซึ่งเป็นรายการเตรียมสู่โอลิมปิก ตั้งแต่ อาคิตะ ปี ๒๐๐๑ ดุยส์บวร์ก ๒๐๐๕ และไทเป ๒๐๐๙ เท่ากับว่าบิลเลียดสปอร์ตได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เรียบร้อยแล้ว หน้า ๑๒
อาจารย์สืบ จุณฑะเกาศลย์ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา คณะกรรมการ อ.ก.ค. กรมพลศึกษา (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๓๖) คณะกรรมการดำเนินงานพิจารณาการวางแผนแม่บทการพลศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๓๑ คณะกรรมการจัดทำรายการวิทยุเพื่อการศึกษาเมื่อปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๑ คณะอนุกรรมการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ ๑๕ - ๒๕ ปี ของสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔) รองผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์นักเรียนนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๓๒) คณะกรรมการฝ่ายที่พักและสวัสดิการในการประชุมระดับโลก เรื่องการศึกษา ปวงชน วันที่ ๕ - ๙ มีนาคม ๒๕๓๕ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จังหวัดชลบุรี คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจโครงการเผยแพร่กฎหมายเยาวชนเพื่อเยาวชน ในการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ประธานกรรมการมูลนิธิกองสารวัตรนักเรียน กรรมการมูลนิธิพลโท ผเชิญ นิมิบุตร กรรมการมูลนิธิ ๘๐ ปี อาจารย์กอง วิสุทธารมณ์ กรรมการมูลนิธิพลศึกษาและการกีฬา กรรมการมูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน กรรมการสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กรรมการสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์ประวิทย์ ไชยสาม สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ๒ สมัย พ.ศ. ๒๕๑๘ และ พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแชมป์คิงส์คัพ ๓ สมัย พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๕ และ พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้ฝึกสอนฟุตบอลสโมสรกีฬาราชประชา ผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทยชุดปรีโอลิมปิก ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทยเยาวชนอายุ ๒๑ ปี ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทยเยาวชนโค้กคัพนานาชาติ ผู้ฝึกสอนฟุตบอลยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา แห่งประเทศไทย ผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลโค้กคัพ ในยุคแรกเริ่มปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกรมพลศึกษาร่วมกับ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด หน้า ๑๓
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมพลศึกษา ได้คัดเลือกบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และ วิทยาศาสตร์การกีฬา ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในประเทศไทย กรมพลศึกษา ยังคงเล็งเห็น ความสำคัญของบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อยกย่อง เชิดชู และประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมพลศึกษา โดยได้พิจารณาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน ๔ สาขา ประกอบด้วย สาขาการบริหาร การพลศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา และสาขาการเรียนการสอน พลศึกษาและการกีฬา โดยมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่มีผลงานด้านพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีทางด้านพลศึกษา กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยมีผลงาน เป็นที่ประจักษ์ เป็นผู้หรือเคยเป็นผู้กำหนดหรือสนับสนุนนโยบาย หรือเป็นผู้มีผลงานทางด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พลศึกษา กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นผู้อุทิศตนให้แก่การพัฒนาวิชาชีพพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขา ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาด้านพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในทางสร้างสรรค์ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อชุมชนและสังคม เป็นแบบการดำรงชีวิตที่ดีต่อสังคม และคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด โดยกรมพลศึกษา ได้จัดทำเหรียญพระพลบดีทองคำแท้ ๙๐ % เพื่อมอบให้กับบุคคล ที่ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษาการกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ อีกทั้งยังพิจารณามอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ได้แก่ รางวัลเชิดชูเกียรติสาขาผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพพลศึกษา รางวัลเชิดชูเกียรตินักกีฬานักเรียนยอดเยี่ยม และ รางวัลเชิดชูเกียรตินักกีฬาผู้สูงอายุยอดเยี่ยม ด้วย หน้า ๑๔
รายนามผู้ได้รับ \"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา จำนวน ๒ ราย ได้แก่ พลโท ผเชิญ นิมิบุตร ดร.จรวยพร ธรณินทร์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน ๑ ราย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิชัย วนดุรงค์วรรณ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา จำนวน ๓ ราย ได้แก่ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ คุณหญิง ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา จำนวน ๓ ราย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ ดร.วิชิต ชี้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต รายนามผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพพลศึกษา จำนวน ๓ ราย ได้แก่ ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน นายอรพงค์ จินทรักษา นายโสภณ เสือพันธ์ สาขานักกีฬานักเรียนยอดเยี่ยม จำนวน ๑ ราย ได้แก่ นายภูริพล บุญสอน สาขานักกีฬาผู้สูงอายุยอดเยี่ยม จำนวน ๑ ราย ได้แก่ นางสมสง่า บุญนอก
รางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา พลโท ผเชิญ นิมิบุตร วันเดือนปีเกิด : ๑๗ มิถุนายน ๒๔๕๖ ภูมิลำเนา : ตำบลบางกรวย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ครอบครัว : คู่สมรส ภริยา นางกวี นิมิบุตร รายนามบุตรและธิดา ๑. นายชัชวาลย์ นิมิบุตร ๒. นางชูชีพ นิมิตร ๓. พลโท วิชา นิมิบุตร ๔. นางสาวิตรี วัฒนกุล ๕. นางวรรณชื่น เอกะวิภาต ๖. นายพรประสิทธ์ นิมิบุตร การทำงานและการดำรงตำแหน่ง : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน (พ.ศ. ๒๕๐๐) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลของพลโท ถนอม กิตติขจร (พ.ศ. ๒๕๐๑) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๔ และ พ.ศ. ๒๕๐๐) เจ้ากรมทหารสื่อสาร (พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๐๔) เจ้ากรมเชื้อเพลิง ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม อธิบดีกรมพลศึกษา คนที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๓) นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙) นายกสมาคมคนแรกของสมาคมกีฬามวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ผลงานด้านการพลศึกษาและการกีฬา : พลโท ผเชิญ นิมิบุตร เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมชมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน ๑๙๕๒ ครั้งที่ ๑๕ ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ นับเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกของประเทศไทย พลโท ผเชิญ นิมิบุตร เคยเป็นอธิบดีกรมพลศึกษา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และเป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอล แห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พลโท ผเชิญ นิมิบุตร ได้รับเกียรติให้นำนามสกุลเป็นชื่อ \"อาคารกีฬานิมิบุตร\" ซึ่งเป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับ การแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ใช้เป็นสถานที่จัดแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๑ มีชื่อเดิมว่า อาคารยิมเนเซียม ๑ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ กรมพลศึกษา เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงท่าน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๓ (ภ.ป.ร.๓) หน้า ๑๗
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา ดร.จรวยพร ธรณินทร์ วันเดือนปีเกิด : วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๑ ภูมิลำเนา : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครอบครัว : สมรสกับ ดร.ผดุง ธรณินทร์ มีบุตร ธิดา ๒ คน ได้แก่ ๑. รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงภาวิณี ฤกษ์นิมิตร ๒. นายพิชชา ธรณินทร์ การศึกษา : ครุศาสตรบัณฑิตสาขาพลศึกษา (เกียรตินิยมอันดับสองและรางวัลเหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๒ รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตสาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๓๔ M.Ed in Physical Education, Colorado State University, สหรัฐอเมริกา โดยทุนคุรุสภา ในความต้องการของกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๕ Ph.D in Exercise Physiology, Florida State University, สหรัฐอเมริกา โดยทุนคุรุสภา ในความต้องการของกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๘ การทำงานและการดำรงตำแหน่ง : อาจารย์ตรีวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๑๒ อาจารย์ตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๙ หัวหน้าฝ่ายทดสอบสมรรถภาพ กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๐ หัวหน้ากองยุวกาชาด กรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓ ผู้อำนวยการกอง กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ) พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านส่งเสริมมาตรฐานพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ รองอธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๖ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๔๑ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๔ อธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๕ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑๘
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ผลงานด้านการพลศึกษาและการกีฬา : งานบริหารจัดการด้านพลศึกษาและกีฬา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ - ๓๐ กันยายน ๒๕๓๗) ในตำแหน่งรองอธิบดีกรมพลศึกษา ผลงานสำคัญดังนี้ ๑) ส่งเสริมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และพัฒนาหลักสูตร ปวช. เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา ๒๕๓๘ (ในช่วงปี ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖ จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาได้ลดลงอย่างมาก นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น จึงได้ปรับบทบาทให้วิทยาลัยพลศึกษา เปิดดำเนินการเป็นวิทยาลัยชุมชนอีกบทบาทหนึ่ง จึงช่วยแก้ปัญหา ของวิทยาลัยได้ในระดับหนึ่ง) ๒) ปรับแผนของวิทยาลัยพลศึกษา เพื่อเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาใหม่ อีก ๑ สาขา ได้แก่ ปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา ๒๕๓๘ ในวิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ ๓) รับผิดชอบในการนำเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี จนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนกีฬาแบบประหยัด ๓ แห่งแรก ได้แก่ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเริ่มเปิดสอน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ๔) ได้รับเกียรติจากการเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารสภากีฬาแห่งอาเซียน ให้เป็นประธานฝ่ายวิชาการ (Physical Fitness Committee) ถึง ๒ สมัย รวมทั้งในปี ๒๕๓๗ ขณะดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมพลศึกษา โดยได้ จัดประชุมวิชาการเรื่องการทดสอบสมรรถภาพทางกายของเยาวชนอาเซียน และจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ให้กับ ประเทศสมาชิกของสภากีฬาแห่งอาเซียน ผลงานในตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ – ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕) ๑) ปฏิรูประบบราชการของกรมพลศึกษาโดยได้ปรับโครงสร้างกรมพลศึกษา เป็นสำนักพัฒนาการกีฬาและ นันทนาการ ย้ายไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๒) แก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างหอพักในวิทยาลัยพลศึกษาและโรงเรียนกีฬา ๓) สานต่อการเตรียมการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ ๒๐ โดยได้ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ จัดประชุมคณะทำงานทุกสัปดาห์เพื่อรายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการการรายงาน ความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือโลก เมื่อวันที่ ๑๖ - ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๕ ที่สำนักงานลูกเสือโลก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ ๓๖ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ที่เมืองเธซาโรนิกกิ ประเทศกรีซ ๔) แก้ปัญหาในการบริหารงานบุคคลของกรมพลศึกษา ซึ่งมีปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้าง และปัญหาถูกร้องเรียน และมีเรื่องค้างการตรวจสอบทางวินัยจำนวนมาก โดยได้พยายามสร้างขวัญกำลังใจ กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ในการทำงานและบริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี จนหลายเรื่องได้มีข้อยุติ ๕) จัดทำข้อเสนอแนะและยุทธศาสตร์เรื่อง กระทรวงกีฬาและกิจการเยาวชนเพื่อนำเสนอแก่เจ้าหน้าที่ วิเคราะห์ของ ก.พ. เพื่อใช้ในการพิจารณาปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในเวลาต่อมา หน้า ๑๙
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา ดร.จรวยพร ธรณินทร์ เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ : รางวัลนักพลศึกษาดีเด่นด้านการบริหาร จาก สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๕ โล่รางวัล “ครุศาสตร์ปราชญ์จุฬา” จาก สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๖ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับรางวัล “บุคคลดีเด่นด้านป้องกันปัญหายาเสพติด” สำนักงาน ป.ป.ส. ประกาศเกียรติคุณบัตรและเหรียญลูกเสือ BP จากสำนักงานลูกเสือโลก ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะผู้มีผลงานสร้างคุณประโยชน์แก่วงการลูกเสือในระดับนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖ รางวัล “ศิษย์เก่าเกียรติยศ” คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าที่มีผลงานดีเด่น เป็นที่ประจักษ์ในวงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ เกียรติบัตรนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น จากสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศนียบัตรและเข็ม “เสมาคุณูปการ” พ.ศ. ๒๕๕๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : พ.ศ. ๒๕๓๒ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม) พ.ศ. ๒๕๓๕ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) พ.ศ. ๒๕๓๘ เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวชิรมงกุฏไทย (ม.ว.ม.) พ.ศ. ๒๕๔๕ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. ๒๕๔๖ เหรียญกาชาดสมมาคุณ ชั้นที่ ๑ ประสบการณ์หลังเกษียณราชการ : พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๘ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม วินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือน โดยจัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไขระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ในคณะกรรมาธิการบริหาร ราชการแผ่นดิน ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ คณะอนุกรรมาธิการ ชุดที่ ๒ พิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในคณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ – ปัจจุบันคณะอนุกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๓ ในคณะกรรมาธิการ กิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน กรรมการสภา และ อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี พ.ศ. ๒๕๖๕ - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการแห่งประเทศไทย หน้า ๒๐
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการบริหารการพลศึกษา ดร.จรวยพร ธรณินทร์ หน้า ๒๑
รางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิชัย วนดุรงค์วรรณ วันเดือนปีเกิด : วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๒ ภูมิลำเนา : ประเทศไทย ครอบครัว : สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงสายสุณี วนดุรงค์วรรณ บุตรและธิดา ๑. ศาสตราจารย์แพทย์หญิงรังสิมา วณิชภักดีเดชา ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพัฏ โรจน์มหามงคล ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์บวรรัฐ วนดุรงค์วรรณ ๔. นางสาวพัชรพรรณ วนดุรงค์วรรณ การศึกษา : ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ประกาศนียบัตรบัณฑิต (สาขาศัลยศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๐ วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ แพทยสภา พ.ศ. ๒๕๑๕ วุฒิบัตรแพทย์กีฬา F.I.M.S. สถาบันกีฬาเวชศาสตร์นานาชาติ พ.ศ. ๒๕๑๕ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์การกีฬา) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๙ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์การกีฬา) สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ การทำงานและการดำรงตำแหน่ง : ผู้อำนวยการนอกเวลา โรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๒ หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์แรงงานและการกีฬา ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช พยาบาล พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๔๒ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการกรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๓๒ ผู้ช่วยคณบดี, รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๒ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๘ ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๙ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ กรรมการบริหารศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๐ กรรมการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการพิจารณาหลักสูตรมหาวิทยาลัยเอกชน ของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๔๒ กรรมการสอบไล่ภายนอก สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการสอบไล่ภายนอก สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กรรมการพัฒนาหลักเกณฑ์การขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทบวงมหาวิทยาลัย กรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรและรับรองมาตรฐานการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทบวงมหาวิทยาลัย หน้า ๒๓
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิชัย วนดุรงค์วรรณ ผลงานด้านการพลศึกษาและการกีฬา : ด้านการส่งเสริมสนับสนุนวิทยาศาสตร์การกีฬา - ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๙ - คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ - ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมศิษย์เก่าวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล - กรรมการทางการแพทย์ คลินิกการกีฬา กรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ - แพทย์ที่ปรึกษาสมาคมกีฬาคนพิการ - ที่ปรึกษาสมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย - ที่ปรึกษาสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา - ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๐ - ประธานกรรมการวิชาการ สถาบันพัฒนากีฬาตะกร้อนานาชาติ - ประธานคณะอนุกรรมการวิทยาศาสตร์การกีฬา (พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๖) ในคณะกรรมการ การกีฬา (กกท.) - กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๘) ผลงานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา - ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๙ - คณะบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ - คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา - ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี ๒๕๕๘ จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดลในพระบรมราชินูปถัมภ์ รางวัลศิริราชเชิดชูเกียรติ ๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ จากสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ หน้า ๒๔
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิชัย วนดุรงค์วรรณ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน (รองศาสตราจารย์ ระดับ ๙) พ.ศ. ๒๕๑๘ ต.ม. ตริตาภรณ์มงกุฏไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ต.ช. ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๒๔ ท.ม. ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย พ.ศ. ๒๕๒๗ ท.ช. ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๒๙ ป.ม. ประถมาภรณ์มงกุฏไทย พ.ศ. ๒๕๓๒ ป.ช. ประถมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๗ ม.ว.ม. มหาวชิรมงกุฏ พ.ศ. ๒๕๓๗ ร.จ.พ. เหรียญจักรพรรดิมาลา (รับราชการ ๒๕ ปี) การดำรงตำแหน่งหลังเกษียณอายุราชการ : ประธานกรรมการ บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) (กลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล) ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีวิชัย ประธานกรรมการศรีวิชัยมูลนิธิ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ คณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข หน้า ๒๕
รางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา วันเดือนปีเกิด : วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๐ ครอบครัว : บิดา พลโท อรรถ ศศิประภา มารดา นางจำรูญ ศศิประภา ภริยา คุณหญิง อรพรรณ ศศิประภา บุตรและธิดา ๑. ดร.ปรภฏ ศศิประภา ๒. นางสาวอภิษฏา ศศิประภา ๓. นางสาววลัยพรรณ ศศิประภา ๔. นางสาวจันทิมา ศศิประภา การศึกษาในประเทศ : มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ.๒๔๙๗ การศึกษาโรงเรียนทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๐๔ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๔๘ พ.ศ. ๒๕๑๒ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๔ การศึกษาต่างประเทศ : หลักสูตรพลร่มและจู่โจม ณ ฟอร์ดเบนนิ่ง โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๐๕ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ ณ ฟอร์ดเบนนิ่ง โรงเรียนทหารราบ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๑๑ การฝึกอบรม หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น ๕๖/๒๐๐๖ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๒ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตำแหน่งปัจจุบัน ประธานกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน ประธานกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ สหพันธ์กีฬาซีเกมส์ พ.ศ. ๒๕๕๑ – ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬา แห่งชาติ ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐ หน้า ๒๗
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประวัติการทำงานและการดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ (๑ ตุลาคม ๒๕๑๔) รองผู้บังคับการ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ (๑๑ มีนาคม ๒๕๑๙) เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๑ (๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๒) เสนาธิการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ (๑๗ เมษายน ๒๕๒๔) รองผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ (๑ ตุลาคม ๒๕๒๖) เสนาธิการกรมการรักษาดินแดน (๑ ตุลาคม ๒๕๒๘) ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑ (๑ ตุลาคม ๒๕๓๑) รองแม่ทัพภาคที่ ๑ (๑ ตุลาคม ๒๕๓๒) ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายข่าว (๑ ตุลาคม ๒๕๓๓) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม (๑ ตุลาคม ๒๕๓๖) รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๑ เมษายน ๒๕๓๙) ปลัดกระทรวงกลาโหม (๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑) สมาชิกวุฒิสภา (๒๒ มีนาคม ๒๕๓๙–๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ( ๖ มกราคม – ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๔) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง (๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ๘ มีนาคม๒๕๔๘) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงกลาโหม (๓๑ มีนาคม ๒๕๔๘ – ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๙) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงกลาโหม (๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ – ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (๑๔ ตุลาคม – ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย (๓ กรกฎาคม – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ – ๑๗ มกราคม ๒๕๕๕) รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) (๑๘ มกราคม ๒๕๕๕ – ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง (๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ - ๖ กันยายน ๒๕๕๘) ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ - ๖ กันยายน ๒๕๕๘) สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐) ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม (๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐) หน้า ๒๘
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ราชการพิเศษและตำแหน่งที่สำคัญ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นราชองครักษ์เวร พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๓๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นราชองครักษ์พิเศษ รับราชการสนองพระเดช พระคุณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๖๒ ตุลาการศาลทหารสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ พ.ศ.๒๕๒๔ นายทหารพิเศษประจำกองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ พ.ศ.๒๕๒๔ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๒๕ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๒๖ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น พลเรือเอก และ พลอากาศเอก กับแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ และประจำกรม นักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๔๐ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๔๐ นายกสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๗ กรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๓๙ กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานกรรมการ บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ กรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๕ กรรมการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ กรรมการและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ นายกสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙ ประธานสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑ รองประธานบริษัท แพนเอเชีย สตอเรจ แอนด์ เทอร์มินอล พ.ศ. ๒๕๕๒ กรรมการบริษัท อมตะ ซิตี้ จำกัด (๓๐ เมษายน ๒๕๕๒) ที่ปรึกษา บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๔ สมัยต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๐ ประธานมูลนิธิโอลิมปิกแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๖๑ กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ – ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) กรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองด้านการพัฒนากีฬา (๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ – ๒ มีนาคม ๒๕๖๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ (๕ เมษายน ๒๕๖๒ – ๔ ตุลาคม ๒๕๖๕) หน้า ๒๙
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช. ) ๕ ธันวาคม ๒๕๐๙ จุตรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม. ) ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ เหรียญราชอิสริยาภรณ์ จตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) ๕ ธันวาคม ๒๕๑๔ เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี) (๓๑ มกราคม ๒๕๐๗) ตริตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ๕ ธันวาคม ๒๕๑๘ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น ๕ (๑ กันยายน ๒๕๐๗) ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ เหรียญราชการชายแดน ชั้น ๑ (๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๐) ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ (๒๘ มีนาคม ๒๕๑๕) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘ เหรียญชัยสมรภูมิประดับเปลวระเบิด (เวียดนามใต้ ) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (๑๕ เมษายน ๒๕๑๕) เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้น ๑ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑ (๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ Labor Medal (เหรียญ ชั้นที่ ๒) ของกระทรวงกรรมกร มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ๕ ธันวาคม ๒๕๓๖ แห่งชาติเวียดนามใต้ (๑๔ มกราคม ๒๕๑๕) ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐ Armed Forces Medal วน.ชั้น ๑ (๔ มีนาคม ๒๕๑๕) เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ Campange Medal (๑ เมษายน ๒๕๑๕) ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.) ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ Public Health Medal วน. ชั้น ๒ (๑๐ มีนาคม ๒๕๑๕) ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.) ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ Public Works Communication and Transportation เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ Medal วน. (ชั้น ๒) (๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕) ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ Ethnic Minority Development Medal (ชั้น ๒) (๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕) เกียรติคุณสำคัญที่เคยได้รับยกย่องด้านงานสังคม Cultural and Education Medal (ชั้น ๒) จากกระทรวง ได้รับรางวัลเมขลา สาขาสร้างสรรค์สังคม ติดต่อกัน ๓ ปี ศึกษาธิการเวียดนาม (๑ เมษายน ๒๕๑๕) (ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๑) โดยมีส่วนสำคัญ เหรียญกล้าหาญเวียดนามระดับ บรอนซ์สตาร์ (๕ เมษายน ๒๕๑๕) ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง “กองทัพบกพบ Police Honor Medal ชั้น ๒ จากกรมตำรวจแห่งชาติ ประชาชน” และรายการโทรทัศน์ “สนทนาปัญหา เวียดนาม (๑๒ เมษายน ๒๕๑๕) บ้านเมือง” Staff Service Medal ชั้น ๑ จากกองบัญชาการทหาร ได้รับรางวัลพ่อดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สูงสุดเวียดนาม (๑๒ เมษายน ๒๕๑๕) ได้รับรางวัลโล่พระราชทาน และเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ Civil Actions Medal วน. ชั้น ๑ (๑๕ เมษายน ๒๕๑๕) การอนุรักษ์ อาคารศาลาว่าการกลาโหมจาก สมเด็จ Social Warfare Medal วน. ชั้น ๒ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Sports Medal วน. เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ Gallantrys Cross With Bronze Star วน. (๕ เมษายน ๒๕๑๕) ได้รับรางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรเกียรติคุณ Army Commendation B สหรัฐอเมริกา (๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๕) ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา อิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ จาก สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ประเภทส่งเสริม กิจการคณะสงฆ์ ๒๕๔๑ (OLYMPIC COUNCIL OF ASIA MERIT AWARD) เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๗ หน้า ๓๐
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา หน้า ๓๑
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ วันเดือนปีเกิด : วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ ภูมิลำเนา : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครอบครัว : ภรรยา ผศ. ดร. สุดา ทัพสุวรรณ บุตร ๑. นางชลิดา ทัพสุวรรณ ๒. ดร. โศรดา ทัพสุวรรณ การศึกษา : มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๖) โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร เตรียมอุดมศึกษา (ม. ๘) โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยพลศึกษา (นักเรียนทุนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท) ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครุศาสตรมหาบัณทิต (ค.ม.) สาขา โสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Diploma of Recreation Leadership Education Department, NSW, Australia (นักเรียนทุนพระราชทาน) ครุศาสตรมหาบัณทิต (ค.ม.) สาขาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Ph.D (Administration of Physical Education and Sports) Oregon State University, USA. (นักเรียนทุน Teaching Assistantship, Oregon state University) ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งทางราชการในอดีต อาจารย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท อาจารย์ วิทยาลัยพลศึกษา กรมพลศึกษา หัวหน้างานทดสอบสมรรถภาพทางกาย กองส่งเสริมกีฬา กรมพลศึกษา คณบดี คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ตำแหน่งทางราชการในปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกีฬามวยการกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (คตป. กก.) ตำแหน่งสูงสุดทางราชการ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (คตป.กก.) หน้า ๓๒
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ตำแหน่งทางการกีฬาในอดีต : คณะกรรมการบริหาร สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เลขาธิการ สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย บทความทางวิชาการ : อุปนายก สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เรื่อง สัตตะลักษณ์นักพลศึกษา รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ เรื่อง เทคนิคการสอนพลศึกษาและกีฬา เลขาธิการ คณะกรรมการฝ่ายเทคนิค การแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๑๘ เรื่อง English for P.E. Professional ประธานคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ Bidding Committee การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ค.ศ. ๒๐๐๗ หัวข้อการบรรยาย : Bidding Committee การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ค.ศ. ๒๐๐๘ หัวข้อการบรรยายเกี่ยวกับการพลศึกษา ประธานคณะกรรมการฝ่ายเทคนิค การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๔ การกีฬาและศิลปะมวยไทยในการพัฒนา คณะกรรมการ Sport Development, Under the Cabinet Policy, Royal Thai คน สังคม และ ประเทศชาติ ตำแหนG่งoทveาrงnกmาeรnกีtฬาปัจจุบัน : บทบาทของพลศึกษาและกีฬาในการพัฒนาคน นายกสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สังคมและประเทศชาติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สัตตะลักษณ์นักพลศึกษา เลขาธิการ สภามวยไทยโลก (World Muaythai Council : WMC) การกีฬากับสังคม การบริหารการพลศึกษาและกีฬาระดับ นานาชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงสร้างการกีฬาระดับชาติ และนานาชาติ President : International Federation of Muaythai Association : IFMA (National and International Structure of กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล Sports) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (คตป. กก.) ด้านกีฬา การกีฬาในระบบของขบวนการโอลิมปิก ผลงานทางวิชาการ : (Olympic Movement) Thesis : มนุษยมิติของนักกรีฑาทีมชาติไทย ปัจจัยสู่ชัยชนะ ในการแข่งขันกีฬาระดับ นานาชาติ Thesis : บทบาทของสื่อการสอนต่อการเรียนการสอนพลศึกษา Sports Coaching Techniques Dissertation : The Roles and Functions of Physical Education Referee / Judges and Coach are a Key and Sports for the Nation Building of Thailand Role Model in Sports. วิทยากรพิเศษ ของสถาบันการศึกษา : Moral, Ethics and code of Ethics for จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Sports, Leaders มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สัตตะลักษณ์ของผู้นำที่เก่ง (Seven Characteristics of an Adept Leader) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ความสำคัญของมวยไทย มหาวิทยาลัยบูรพา สัตตะคุณาลักษณ์ของครูสอนมวยไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎ จอมบึง และเป็นกรรมการหลักสูตรปริญญาเอก หลักการต่อสู้ห้า (๕) ประการของ นักกีฬา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประเภท Martial Arts สถาบันการพลศึกษา (มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ) การนำขบวนการต่อสู้บนสังเวียนมวยไทยไปใช้ ในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ สมาธิมวยไทยสู่มวยโลก หน้า ๓๓
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : ประถมาภรณ์มงกุฎไทย วุฒิอาสาและรางวัลเชิดชูเกียรติ : วุฒิอาสาธนาคารสมอง สำนักงานยุทธศาสตร์ ด้านนโยบายสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้รับรางวัลครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง โดยสำนักงานส่งเสริม เอกลักษณ์ของชาติ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลศาสตรเมธี ด้านกีฬาและฉันทนาการ จากมูลนิธีศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Congratulations from Mr. Thomas Bach The President of International Olympic Committee : IOC International Licenses : FIFA Referee (Football) IRB Referee (Rugby Football) AIBA Referee (Amateur Boxing) Muaythai Referee (สนามมวยลุมพินี) Referee Instructor for FIFA, AIBA, Muaythai ภาระงานสำคัญของชาติ : เป็นประธานสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ มีหน้าที่และบทบาทโดยตรงในการผลักดันมวยไทย ให้ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาโอลิมปิก เป็นผู้นำในการผลักดันมวยไทยสู่ความเป็นกีฬานานาชาติ จนทำให้มวยไทยได้เป็นสมาชิกขององค์กรกีฬา นานาชาติที่สำคัญดังนี้ SportAccord (GAISF) International World Games Association : IWGA International University Sports Federation : FISU The Association for International Sports for All : TAFISA Association of The IOC Recognition International Sports Federation : ARISF ส่งเสริมและขับเคลื่อนจนทำให้มวยไทยได้การรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล International Olympic Committee : IOC ดำเนินการส่งเสริมมวยไทยให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกและเป็นที่ยอมรับ จนทำให้ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ จัดตั้งสมาคมกีฬามวยไทยแห่งชาติ (National Muaythai Association) ๑๓๘ ประเทศ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิกส์ ระยะ ๒ ปี (๒๐๒๐ – ๒๐๒๑) Strategic Plans for Muaythai Towards Olympics และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกาศเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) หน้า ๓๔
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ หน้า ๓๕
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล การศึกษา : ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๗ ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท พ.ศ. ๒๕๕๕ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๕๐ ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พ.ศ. ๒๕๕๖ ปริญญาดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๗ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๕๙ ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พ.ศ. ๒๕๕๙ ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยคริสเตียน พ.ศ. ๒๕๖๐ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการพลศึกษา (มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ) สาขาวิชาการพัฒนาการกีฬาและนันทนาการชุมชน การอบรม : พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศนียบัตรและเข็มวิทยฐานะ หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (นธป.) รุ่นที่ ๕ วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ ปริญญาบัตร หลักสูตรวปอ. รุ่นที่ ๕๘ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศนียบัตร หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน (วธอ.) รุ่นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง บ.ย.ส. รุ่นที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Wharton-Nida Executive Leadership Program, The Wharton School, University of Pennsylvania พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศนียบัตร สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) Director Certification Program (DCP) The Role of Chairman Program (RCP) Financial Statements for Directors (FSD) หน้า ๓๖
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล การทำงานและการดำรงตำแหน่ง : ประธานวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ (Thailand Philharmonic Orchestra; TPO) ประธานกรรมการ โรงแรม เฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท ประธานที่ปรึกษามูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพฯ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ดูแลด้านสังคมและ นายกกิตติมศักดิ์และผู้ก่อตั้งสมาคมขับร้อง สิ่งแวดล้อม บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน) ประสานเสียงแห่งประเทศไทย ประธานเจ้าหน้าที่ดูแลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กรรมการกิตติมศักดิ์สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) กรรมการอำนวยการมหิดลสิทธาคาร ประธานชมรมผู้รู้คุณแผ่นดิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบัน ประธานคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสนับสนุนส่งเสริมศิลปิน ในคณะทำงาน กรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดา ผู้ทรงคุณวุฒิของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมสมัย สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยใน อนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานดีเด่นของชาติ พระบรมราชินูปถัมภ์ – ประธานศูนย์ฝึกอาชีพหญิง สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตาบอดสามพราน กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ประธานคณะกรรมาธิการด้านวัฒนธรรมและมรดกโอลิมปิก ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี คณะกรรมาธิการกองทุนสงเคราะห์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมมาธิการปฏิรูป สมาชิกคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการโอลิมปิกแห่ง กีฬา สภาปฏิรูปแห่งชาติ เอเชีย (OCA) กรรมการที่ปรึกษาของมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ในพระบรมราชินูปถัมภ์ รองประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) กรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการประกอบการธุรกิจ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และอุตสาหกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (NOCT) ที่ปรึกษามูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (BAT) สยามบรมราชกุมารี ประธานคณะกรรมาธิการด้านวัฒนธรรม และกรรมการ ที่ปรึกษานายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพ บริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) แห่งประเทศไทยกรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาแม่ดีเด่นแห่งชาติ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสโมสรซอนต้ากรุงเทพฯ ๑ ประธานอนุกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ประธานที่ปรึกษาสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย หน้า ๓๗
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล การทำงานและการดำรงตำแหน่ง (ต่อ) : ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกสโมสรซอนต้ากรุงเทพ ๘ ที่ปรึกษาสมาคมเสริมสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุข ที่ปรึกษาสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิบราเดอร์เบอร์นาร์ด ที่ปรึกษานายกสมาคมสหสมาคมศิษย์เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร กรรมการที่ปรึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย เครื่องรทีา่ปชรอึิกสษริยาาปภรระณธ์านสภาเซอร์ร่าประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จตุตถจุลจอมเกล้า” พ.ศ. ๒๕๔๙ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ปฐมดิเรกคุณาภรณ์” พ.ศ. ๒๕๔๙ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตริตาภรณ์ช้างเผือก” พ.ศ. ๒๕๔๘ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก” พ.ศ. ๒๕๕๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อัศวินหญิงแห่งนักบุญเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่ จากสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ ๑๖ Dame of the Order of Saint Gregory the Great from His Holiness Pope Benedict XVI (2014) พ.ศ. ๒๕๕๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Goldenes Verdienstzeichen der Republik Österreich จากประเทศออสเตรีย พ.ศ. ๒๕๕๐ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Datin Paduka Jiwa Mahkota Kelantan Yang Amat Mulia (AI-Ismaili II) D.J.M.K จากประเทศมาเลเซีย วุฒิบัตร รางวัลเกียรติยศ โล่ และประกาศนียบัตร : พ.ศ. ๒๕๖๕ รางวัลผู้ที่มีความทุ่มเทให้กับการกีฬา \"Awarded by the ICF for contribution to the sport\"จากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสหพันธ์กีฬาแคนนูโลก (the 39th ICF Ordinary Congress) พ.ศ. ๒๕๖๕ รางวัลมนุษยสัมพันธ์ยอดยี่ยม ม.ส. ทองคำเกียรติยศประจำปี ๒๕๖๕ จากมนุษยสัมพันธ์ สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พ.ศ. ๒๕๖๔ เข้ารับเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ชั้นที่ ๒ อันเป็นเกียรติยิ่ง ประจำปี ๒๕๖๔ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงยุติธรรมและประกอบคุณงามความดีมีผลงาน เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน พ.ศ. ๒๕๖๔ รางวัลสมาคมกีฬายอดเยี่ยม สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวันนักกีฬายอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๔ พ.ศ. ๒๕๖๓ รางวัล “บุคลากรในวงการกีฬาที่ทำคุณประโยชน์ให้กับวงการกีฬาเนื่องในงานวันกีฬาแห่งชาติ” ประจำปี ๒๕๖๓ หน้า ๓๘
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล วุฒิบัตร รางวัลเกียรติยศ โล่ และประกาศนียบัตร (ต่อ): พ.ศ. ๒๕๖๒ รางวัลพลังใจ พิชิตชัย ในงานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๑ จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๑ รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ทางการกีฬา” จากงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาดีเด่น เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ รางวัลสมาคมกีฬายอดเยี่ยม สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จาก สยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ ๑๒ จัดโดย หนังสือพิมพ์สยามกีฬา เพื่อมอบรางวัลเกียรติยศให้แก่บุคคล ในวงการกีฬา ทั้งนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และบุคคลทรงคุณค่าที่ทำคุณประโยชน์ให้กับวงการกีฬาไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ รางวัล “ผู้บริหารดีเด่น” เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รางวัล “บุคลากรผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา” และสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ ได้รางวัลสมาคมกีฬา ยอดเยี่ยม จากงาน “วันนักกีฬายอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๐” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ รางวัล “บุคคลคุณภาพแห่งปี ๒๐๑๖ ด้านเด็กและเยาวชน” โดยการคัดสรรบุคคลจากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เพื่อประกาศเกียรติคุณและเป็นการยกย่องบุคคลที่ประสบ ความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตน ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ รางวัล Person of The Year 2016 จากนิตยสาร Thailand Tatler พ.ศ. ๒๕๕๙ รางวัลสมาคมกีฬายอดเยี่ยม สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จาก งานสยามกีฬา อวอร์ด ครั้งที่ ๑๐ จัดโดย หนังสือพิมพ์สยามกีฬา เพื่อมอบรางวัลเกียรติยศให้แก่ บุคคลในวงการกีฬาทั้งนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และบุคคลทรงคุณค่าที่ทำคุณประโยชน์ให้กับวงการกีฬาไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ รางวัลสมาคมกีฬายอดเยี่ยม สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากงานประกาศเกียรติคุณ \"วันนักกีฬายอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๘\" ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๗ รางวัล “ผู้ทรงคุณค่าในวงการกีฬา” ในงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬายอดเยี่ยม ในงาน “วันนักกีฬายอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๗” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ รางวัลสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยดีเด่น สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากงานวันประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่น เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๕ รางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยม แบดมินตันทีมชาติไทย ชุดกีฬาโอลิมปิก ลอนดอนเกมส์ ๒๐๑๒ จากงานวันนักกีฬา ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ รางวัลผู้จัดการทีมแบดมินตันดีเด่น แบดมินตันทีมชาติไทย ชุดกีฬาโอลิมปิก ลอนดอนเกมส์ ๒๐๑๒ จากงานวันนักกีฬาดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศนียบัตร นักยิงปืน จาก ค่ายสุรสีห์ กองพลทหารราบที่ ๑๑ จ.กาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๘ รางวัลนายจ้างสตรีดีเด่นภาคเอกชน จากกระทรวงแรงงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๘ โล่ประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างคุณประโยชน์แก่กิจการสตรีและสังคม เนื่องในวันสตรีสากล ปี ๒๕๔๘ จากสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๔๗ รางวัลสตรีดีเด่นแห่งชาติ สาขานักธุรกิจ ประจำปี ๒๕๔๗ จาก สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับการประดับปีกนักบินกิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศ ประจำปี ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ รางวัลแม่ศรีเรือน ประจำปี ๒๕๔๗ จาก สมาคมนักธุรกิจสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๗ รางวัลแม่ดีเด่น สาขาแม่นักธุรกิจผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อสาธารณชน จังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี ๒๕๔๗ หน้า ๓๙
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล หน้า ๔๐
รางวัลพระพลบดี ผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ วันเดือนปีเกิด : วันที่ ๖ กันยายน ๒๔๗๘ ภูมิลำเนา : จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษา : ประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา (ป.ป.) ประกาศนียบัตรครูพลศึกษาเอก (พ.อ.) B.Ed. (English) M.A. in Ed. (Administration and Supervision) Cert. in Youth Development (East-West Technology Institute, University of Hawaii) Ed.D. (Educational Administration), Southwestern University เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) รางวัลเกียรติยศ : ได้รับรางวัล \"นักนันทนาการดีเด่นประจำปี ๒๕๒๘ \" ของสมาคม สุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย ได้รับการลงประวัติในหนังสือ “WHO’s IN THAILAND 1986” ประสบการณ์ด้านบริหารการศึกษา : รองอธิการบดีฝ่ายสวัสดิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖) รองอธิการบดีฝ่ายสวัสดิการและโครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๒) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๖) ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๙ - ๒๕๒๒) ประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๒๒ - ๒๕๒๔) ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙) เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๕ - ๒๕๑๘) หัวหน้าภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๔ - ๒๕๒๒) ประธานคณะกรรมการพัฒนากีฬามหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙) รองประธานคณะกรรมการฝ่ายตำรามหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙) ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๒) ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๑๕ - ๒๕๒๓) คณะกรรมการวิชาการในคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยโลก (ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙) หน้า ๔๒
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ ประสบการณ์ด้านการสอน : ครูโรงเรียนนนทรีวิทยา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ปี ๒๔๙๖ - ๒๔๙๗) อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย กรมพลศึกษา (ปี ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐) อาจารย์วิทยาลัยพลศึกษา กรมพลศึกษา (ปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๓) อาจารย์บรรยายพิเศษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี ๒๕๐๐ - ๒๕๑๑) อาจารย์บรรยายพิเศษ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ปี ๒๕๐๘ - ๒๕๑๔) อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๑๔ - ปัจจุบัน) อาจารย์บรรยายพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ปี ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗) อาจารย์บรรยายพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี ๒๕๒๓ - ๒๕๓๔) อาจารย์บรรยายพิเศษโรงเรียนนายอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปี ๒๕๐๙ - ๒๕๑๒) วิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรความมั่นคงภายในรุ่น ๑ (ปี ๒๕๑๖) วิทยากรพิเศษการอบรม หน่วยสันติภาพ ( Peace Carp) ในเมือง Hllo, Hawell (ปี ๒๕๑๒) วิทยากรพิเศษ วิชา นันทนาการชุมชน\" การฝึกอบรมพัฒนาและพัฒนานิเวศน์ กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย ( ปี ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙) วิทยากรพิเศษวิชา \"การจัดและบริหารการกีฬาโรงเรียน\" สถาบัน ฝึกอบรมเตรียมผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ปี ๒๕๒๔ – ๒๕๒๖) วิทยากรพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ ( ปี ๒๕๓๐ – ปัจจุบัน) วิทยากรพิเศษ กรมพลศึกษา ( ปี ๒๕๒๑ – ปัจจุบัน) วิทยากรพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( ปี ๒๕๒๒ – ปัจจุบัน) วิทยากรพิเศษ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ( ปี ๒๕๒๘ – ปัจจุบัน) ประสบการณ์พิเศษและงานบริการชุมชน : ที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการ ทปม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานกรรมการประจำคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานกรรมการบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ข้าราชการในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และข้าราชการครู (ก.ค.) ที่ปรึกษาสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย กรรมการบริหารโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (อีสานเขียว) ในส่วนโครงการมหาวิทยาลัยสนับสนุน อุปนายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย อุปนายกสมาคมชาวนครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร รองประธานมูลนิธิเบญจมราชูทิศ กรุงเทพมหานคร หน้า ๔๓
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ ประสบการณ์พิเศษและงานบริการชุมชน (ต่อ) : ประธานชมรมชาวร่อนพิบูลย์ กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการอำนวยการพิจารณาผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ประจำปีรางวัล \"เมขลา\" ของสมาคม ผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย และรางวัล \"โทรทัศน์ทองคำ\" ของชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ฯ กรรมการพิจารณารางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมประจำปี ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการศัพทานุกรมทางพลศึกษา และนันทนาการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร คณะกรรมการ สวัสดิศึกษาแห่งชาติ ในคณะกรรมการอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการฝ่ายกิจกรรมสันทนาการในคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการฝ่ายกิจกรรมเยาวชนในคณะกรรมการสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย หัวหน้าโครงการฝึกอบรม \"การใช้ทรัพยากรให้เป็น\" แก่ผู้นำหมู่บ้าน ในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ภายใน โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (อีสานเขียว) ร่วมกับ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าโครงการผลิตวีดิทัศน์ โครงการพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส พระชนมายุครบ ๕ รอบ เรื่อง \"แสงสูรย์ส่องหล้าเหนือฟ้าภูพาน\" ในนามมหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมกับ จังหวัด สกลนคร และสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผลงานบทความ : บทความนำเสนอ เรื่อง \"กีฬามวลชน\" มาเผยแพร่ในประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ๕ ฉบับติดต่อกัน) เสนอบทความพิเศษ เรื่อง \"The Present Status of Teachers Training in Physical Education in Thailand\" เสนอต่อที่ประชุมสภาสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการนานาชาติ (ICHPER Congress) ณ กรุงดับลิน ประเทศ ไอร์แลนด์ (ปี ๑๙๖๘) เสนอบทความพิเศษ เรื่อง “Present Situation and Trends in Recreation in Thailand\" เสนอต่อ ที่ประชุม The First Asian Recreation Congress, Tokyo, Japan (ปี ๑๙๖๙) เสนอบทความเรื่อง “The Development of the university Sport in Thailand เสนอต่อที่ประชุม General Assembly of the Federation Internationals do Sport Universitaire, Moscow ณ ประเทศสหภาพโซเวียต รัสเซีย (USSR) (ปี ๑๙๗๒) เสนอบทความเรื่อง \"Trends of Mass Sport in South-East Asian Countries\" เสนอต่อที่ประชุม International Conference on Mass Sport, Lund University, Sweden, ( ปี ๑๙๘๑) เสนอบทความเรื่อง \"ทัศนะเกี่ยวกับกีฬาของประเทศไทยในการแข่งขันระดับชาติ : ปัญหาและการพัฒนา \" เสนอต่อที่ประชุมทางวิชาการพลศึกษาและ กีฬา ซึ่งจัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี ๒๕๕๑) เรื่อง \"บทบาทและสถานภาพของผู้บริหารการศึกษาในสังคมยุคใหม่” เสนอในการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษาแก่ประเทศไทย (ปี ๒๕๓๓) เรื่อง \"ปัญหาการใช้หลักสูตรและการขยายการศึกษาภาคบังคับ เสนอในการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๓๓) เรื่อง \"สภาวะความต้องการพื้นฐานและบริการสำหรับเด็ก\" เสนอในการ ประชุมสมัชชาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ ด้านการพัฒนาเด็ก ๒๕๓๓ จัดโดย สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ปี ๒๕๕๓) หน้า ๔๔
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ งานวิจัย : เรื่อง \"ปัญหาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย\" วิจัยตามความต้องการของ กระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๒๗) เรื่อง \"ลักษณะ ครูสุขศึกษาที่ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ต้องการ\" ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๒๙) เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร วิชาเอกพลศึกษาและสุขศึกษาของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับ สถาบันฝึกหัดครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ\" ได้รับทุน อุดหนุนจากคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (๒๕๓๕) ตำรา : นิรภัยศึกษา (ภาษาไทยเล่มแรกในประเทศไทย), โรงพิมพ์ราชวัตร พระนคร (๑๙๒ หน้า) สันทนาการชุมชน, (ภาษาไทยเล่มแรกในประเทศไทย) สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ, ๒๕๐๖ (๒๑๕ หน้า) พลศึกษา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๑, (๔๒๔ หน้า) สวัสดิ์ศึกษา สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๓ (๒๒๕ หน้า) สุขศึกษา พ.กศ., สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๐๖ (๔๑๗ หน้า) ปฐมพยาบาล, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๐๘ (๑๘๓ หน้า) การจัดค่ายพักแรม, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐ (๒๖๓ หน้า) คู่มือการสอนวิชาพลศึกษาในชั้นประถมศึกษา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ, ๒๕๐๙ (๒๒๕ หน้า) การทดสอบและการประเมินผลทางพลศึกษา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๔ (๒๓๑ หน้า) อธิบายศัพท์การศึกษาและจิตวิทยา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ ๒๕๐๘ (๑๙๕ หน้า) อธิบายศัพท์พลศึกษาและกีฬา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์กรุงเทพฯ, ๒๕๐๗ (๒๑๘ หน้า) สุขศาสตร์ในโรงเรียน, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๘ (๒๓๖ หน้า) คู่มือกีฬา, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๙ (๔๖๓ หน้า) คู่มือเกมส์, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๙ (๑๘๔ หน้า) อนามัยบุคคลและชุมชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๕ (๒๗๒ หน้า) อนามัยบุคคล, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ, ๒๕๒๕ (๒๓๐ หน้า) พลศึกษาเบื้องต้น, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๔ (๒๖๔ หน้า) อนามัยบุคคล, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ๒๕๒๓ (๓๖๕ หน้า) แบบเรียนสุขศึกษา, แบบเรียนกีฬาแบดมินตัน, เทเบิลเทนนิส, ซอฟบอล, ตะกร้อ, กระบี่กระบอง (สำหรับนักเรียน มัธยมศึกษา) สำนักพิมพ์อักษร เจริญทัศน์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๙ - ๒๑ หน้า ๔๕
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ ราชการต่างประเทศ : ผู้แทนประเทศไทยประชุมสภาสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการนานาชาติ (ICHPER) ณ ประเทศไอร์แลนด์ (๒๕๑๑) ร่วมประชุมสภาอาชีพครูแห่งโลก (WCOTP) ณ ประเทศไอร์แลนด์ (๒๕๑๑) ผู้แทนประชุมสภานันทนาการแห่งเอเชียครั้งที่ ๑ ประเทศญี่ปุ่น (๒๕๑๒) รับทุนฝึกอบรมโครงการ Youth Development Program, End, ณ สหรัฐอเมริกา (๒๕๑๓) ประชุมสภาสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการนานาชาติ ณ ประเทศ อังกฤษ (๒๕๑๔) ผู้แทนไทยประชุมคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยโลก และ สังเกตการณ์แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ณ สหภาพโซเวียต (๒๕๑๕) ร่วมสังเกตการณ์แข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมืองมิวนิค เยอรมันนี (๒๕๑๕) ผู้แทนไทยประชุมคณะกรรมการวิชาการกีฬามหาวิทยาลัยโลก \"กีฬามวลชน\" (Mass Sport) ณ ประเทศฟินแลนด์ (๒๕๑๖) ผู้แทนไทยประชุมกรรมการบริหารและหัวหน้าคณะนำนักกรีฑาร่วม แข่งขันกรีฑามหาวิทยาลัยโลก ณ ประเทศอิตาลี (๒๕๑๗) หัวหน้าคณะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางกีฬาไทย-โซเวียต โดยความแนะนำและร่วมมือของกระทรวงการต่างประเทศของไทย (๒๕๑๘) ดูงานด้านพลศึกษา ณ วิทยาลัยวิงเกท (Wingate College) ประเทศอิสราเอล และหัวหน้าคณะนำนักกีฬาไทย แข่งขันปิงปอง มหาวิทยาลัยโลก ณ มหาวิทยาลัยไฮฟา ประเทศอิสราเอล (๒๕๒๖) ได้รับเชิญประชุม \"นันทนาการสำหรับเยาวชน\" ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (๒๕๒๑) ผู้แทนไทยประชุม \"กีฬามวลชนในมหาวิทยาลัย\" และสังเกตการณ์แข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลก ณ ประเทศแม็กซิโก (๒๕๒๒) ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการจัดประชุม \"กีฬามวลชนในมหาวิทยาลัย\" ณ Lund University ประเทศสวีเดน (๒๕๒๓) ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีกระทรวงกีฬาและเยาวชนออสเตรเลีย ในฐานะ ผู้ประสานงานกลุ่มประเทศอาเซียตะวันออก เฉียงใต้ ฝึกอบรมกีฬา \"โอเรนเทียริ่ง\" และดูงานพลศึกษา และนันทนาการ ณ ประเทศ ออสเตรเลีย (ปี ๒๕๒๔) หัวหน้าคณะศึกษาดูงานการกีฬาในมหาวิทยาลัย ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน นำหัวหน้าภาควิชาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยได้รับเชิญจากรัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการสาธารณประชาชนจีน ในปี ๒๕๒๕ ได้รับเชิญจากคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ดูงานด้าน การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว (ปี ๒๕๒๗) ได้รับทุน จาก State Department ดูงานพลศึกษา สุขศึกษา และนันทนาการ ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐ (ปี ๒๕๒๘) หัวหน้าคณะศึกษาดูงานใช้เทคโนโลยี ผลิตวัสดุสร้างเคหสถานราคาประหยัด ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ณ ประเทศแคนนาดา โดยได้รับทุนจากสถานทูตแคนนาดา (ปี ๒๕๒๙) หัวหน้าคณะแลกเปลี่ยนนักวิชาการไทย-จีน ระหว่างสมาคมเพื่อความเข้าใจ อันดีระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปี ๒๕๕๓) หัวหน้าคณะเจรจาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับมหาวิทยาลัย แห่งรัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐ อเมริกา (ปี ๒๕๕๔) หัวหน้าคณะ นำคณะผู้บริหารการศึกษาโครงการฝึกอบรมผู้บริหารการศึกษา ดูงานการบริหารการศึกษา ประเทศ สหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการ ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคนซัส (ปี ๒๕๓๕) หน้า ๔๖
\"รางวัลพระพลบดี\" ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สาขาการเรียนการสอนพลศึกษาและการกีฬา ศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ ธานีรัตน์ งานริเริ่ม : ร่วมจัดตั้งศูนย์เยาวชนในกรุงเทพฯ กับ MR.STERLING S.WINANS ผู้เชี่ยวชาญ สันทนาการของสหรัฐ ที่มาช่วนสันนิบาตแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๐๒ - ๒๕๐๖) เป็นเลขานุการคณะกรรมการก่อตั้ง \"คณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ซึ่งเสนอขอเข้ารับการอุดหนุน ของรัฐบาล โดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี ปี ๒๕๑๔ ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (๓ สมัย) (ปี ๒๕๑๕ - ๒๕๒๑) ผู้จัดโครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพ (Sport for Health) ขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัด \"โครงการสัปดาห์ กีฬาสุขภาพสัญจร\" โดยให้มีนิทรรศการ สาธิตออกกำลังกาย ตรวจหัวใจ พิมพ์เอกสารความรู้ เป็นแผ่นพับแจกนิสิต นักศึกษา ออกจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด (ปี ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐) ผู้นำแนวคิด \"กีฬามวลชน\" (Mass Sport) มาเผยแพร่ในประเทศไทย ในปี ๒๕๑๗ โดยจัดพิมพ์เอกสารแจกจ่าย จัดประชุมสัมมนาบรรยายแก่ครู ทางพลศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นที่ปรึกษาโครงการ \"กีฬามวลชน กรุงเทพฯ\" จัดส่งเสริมให้ประชาชน ออกกำลังกายตามสวนสาธารณะ หรือที่ว่างริมถนนใหญ่ เพื่อสุขภาพของชาว กทม. (ปี ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙) โครงการสหกรณ์เคหะสถานสำหรับครู สหกรณ์ครู กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๖) ริเริ่ม \"โครงการค่ายอาสาพัฒนาสุขภาพพลานามัยนักเรียนชนบท\" เป็นครั้งแรก (ปี ๒๕๐๓) โครงการนำนักเรียน ฝึกหัดครู พลานามัย ออกค่ายอาสาพัฒนาสร้างส้วม ทำสนามกีฬาจัดสาธิตการเล่นกีฬา การใช้ส้วม การแปรงฟัน (แจกแปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ หนังสือ คู่มือสุขภาพ โรงเรียนบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และในปี ๒๕๐๔ ณ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งสองครั้งทำภาพยนต์มาเสนอ ผลงานเผยแพร่ทางโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม (ในสมัยนั้น) นำเสนอ \"กีฬาโอเรนเทียริ่ง\" (ORIENTEERING) เข้ามาฝึกแนะนำ สาธิตแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยอบรมอาจารย์ พลศึกษาและนักเรียนมัธยมศึกษา ในประเทศไทย โดยไปฝึกอบรมมาจาก Sweden และ Australia พร้อมนำ ผู้เชี่ยวชาญมาทั้งสองประเทศโดยความร่วมมือของสมาพันธ์กีฬา โอเรนเทียริ่งนานาชาติ (IOF - International Orienteering Federation) ตั้งอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ค (ซึ่งนักกีฬานี้เป็นกีฬามวลชนหนึ่ง ทุกคนไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ คนไม่เก่งก็เล่นได้ เพราะใช้วิ่งกับธรรมชาติและ เป็นการใช้เวลาวันหยุดให้เป็นประโยชน์และรักธรรมชาติ รักป่า ไม่ทำลายป่าไม้) กรรมการก่อตั้งสมาคมกีฬาเปตองแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๑๕) หน้า ๔๗
Search