สะทอ้ นคิดกบั การตคี วาม การใช้ข้อเขียนสะท้อนคิด ซ่ึงถูกกาหนดให้ผู้เรียนเขียนเพ่ือให้ผู้เรียนได้ ทบทวนและสะทอ้ นการกระทาของตน ดงั ที่ Gibbs (1988) ไดก้ ลา่ วไวว้ ่า ประสบการณ์ การเรียนรู้ท่ีขาดการสะท้อนคิด ไม่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างย่ังยืน เพราะ ความรู้หรือทักษะเหล่าน้ันอาจถูกลืมอย่างรวดเร็ว เป็นการเรียนรู้ท่ีไม่มีคุณภาพ การ เขียนสะท้อนคิดจะช่วยให้เกิดข้อเรียนรู้ที่คงทน ยั่งยืน หรือนาไปสู่การการพัฒนาต่อ ยอด ปรับปรุง หรือแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Finlay (2008) ได้ กล่าวถึง การเขียนหรือปฏิบัติการสะท้อนคิด (reflective writing/practice) ว่ามี องค์ประกอบที่สาคัญ 3 ทักษะ คือ การสะท้อนคิด (reflection) การตระหนักรู้ในตน (self-awareness) และ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ดังนั้นการท่ี ผู้เขียนใช้ข้อเขียนสะทอ้ นคดิ ประกอบการตีความ โดยเช่ือมโยงกับพฤตกิ รรมท่ีคาดหวัง ของการตระหนกั รู้ในตนเองดงั รายละเอยี ดในตารางท1่ี ข้างต้น จะสามารถสะทอ้ นภาพ การตระหนักรู้ของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ขอยกข้อเขียนสะท้อนคิดของผู้เรียน และครทู ่ีมีต่อผู้เรียน ประกอบการตคี วาม เพ่อื ใหเ้ หน็ ทกั ษะที่เกีย่ วขอ้ งกบั การตระหนัก รู้ของผู้เรียน ท่ีได้รับการพัฒนาอย่างเด่นชัดจากกระบวนการเรียนรู้ท่ีใช้โครงงานฐาน วจิ ัย ตวั อย่างขอ้ เขยี นสะท้อนคิดตอนหน่ึงของนกั เรียน “...ต้ังแต่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา หนูก็มีความพยายาม และความ อดทนมากข้ึน ตอนแรกคิดว่ามันต้องมีกิจกรรมท่ีน่าเบ่ือแน่เลย แต่จริงๆแล้ว ไม่เลย โครงงานสอนอะไรหลายๆอยา่ ง ตอนเขา้ มาใหม่ๆ กก็ ลวั ไปหมด กลัว จะทาไม่ได้ กลัวจะทางานเสีย แต่พอได้ทาเข้าจริงๆ เกิดความสนุกข้ึน ได้ สารวจ และลงพนื้ ทีจ่ รงิ ครใู ห้คาปรกึ ษาดีมาก...” - 94 -
จากข้อสะท้อนคิดข้างต้น เห็นได้ชัดว่า ผู้เรียนคนนี้สามารถก้าวข้ามความ กลัว โดยอาศัยความพยายาม อดทนและมุ่งมั่นเพ่ือให้สามารถทาโครงงานฐานวิจัยได้ สาเร็จ โดยมีครูเป็นปัจจัยสาคัญท่ีช่วยขับเคลื่อนการทางานผ่านการให้คาปรึกษา มิใช่ ช้ีนาให้ทาตามคาส่ัง ผู้เรียนจึงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการท่ีได้ลงพ้ืนท่ีจริง มิใช่ผู้เรียนน้ีคนเดียวท่ีสะท้อนให้เห็นการเติบโตทางความคิด ท่ีแต่ละคนสามารถ แก้ปัญหาและอุปสรรคอันเกิดจากความกลัวที่ตนเองสรา้ งภาพไว้ล่วงหน้า นักเรียนอีก คนก็ไดเ้ ขียนสะท้อนคิดไวว้ ่า “...ตอนแรกท่ีรู้ว่าจะได้ทาโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาก็รู้สึก ต่ืนเต้น เครียด กังวล มันมีหลายอารมณ์ท่ีไม่สามารถแสดงออกมาได้ คือไม่รู้ว่าเราจะทาได้ หรือเปล่า ไม่รมู้ นั ยากแคไ่ หน ไม่รูว้ ่าเราตอ้ งเจอกับอะไรบ้าง รู้สึกกลัวมาก กลัวโดนด่า กลัวโครงงานท่ีทาจะไม่สาเร็จ กลัวว่าจะทาไม่ดีพอ กลัวไป หมดทุกอย่าง.......แต่พอมาทาจริงๆ มันก็พอทาได้ ไม่ยากเกินไป ...แต่เราก็ เหนือ่ ยเพราะมกี ารบา้ น มโี ครงงานที่ตอ้ งทา มันทาใหเ้ ราทอ้ แต่คนที่เหน่ือย กวา่ เราคงเป็นอาจารยท์ ป่ี รึกษา...คอยให้คาปรกึ ษาในเร่ืองท่เี ราไม่เขา้ ใจ ไม่ สามารถทาได้ อยเู่ คียงข้างตลอดการทางาน ...” จากข้อสะท้อนคิดข้างต้น นอกจากการก้าวข้ามความกลวั ที่ผเู้ รียนไดส้ ะท้อน ให้เห็น ผู้เรียนยังกล่าวถึงปัญหาอุปสรรคด้านอื่นๆ ท่ีผู้เรียนประสบที่ทาให้ท้อแท้ ระหวา่ งการทางาน ผู้เรียนยังสะทอ้ นถึงความตระหนักในคณุ ค่าของผอู้ ่ืน (ในท่ีนีค้ ือครู) ท่ีท่านได้ทุ่มเทท้ังกาลังกาย ความคิด และ เวลาในการช่วยเหลือให้นักเรียนคนนี้ สามารถทางานได้สาเร็จลุล่วง และจากข้อสะท้อนคิดบางส่วนของครูได้กล่าวถึง พฒั นาการของผเู้ รียนที่สามารถก้าวข้ามความกลัว ปัญหา อุปสรรคได้อยา่ งไมย่ ่อท้อ ถึงแม้ว่าจะล้มก็สามารถลุกข้ึนมาแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ดังข้อเขียนสะท้อนคิด ตอนหนง่ึ ของคุณครทู ่านหนึง่ ที่กลา่ ววา่ - 95 -
“...ถึงแม้ปีน้ีโครงงานจะดูไม่ยาก แต่กลับเจออปุ สรรคมากมาย ต้องขอ ชื่นชมในความพยายามของนักเรียน ที่ถึงแม้จะล้มสักกี่คร้ัง ก็รีบลุก แล้วพยายามไปต่อ มองอุปสรรคเป็นแรงผลักดัน และร่วมแก้ปัญหา ดว้ ยความสามคั ค.ี ..” นอกจากนี้ ผู้เขียนพบว่า ผู้เรียนจานวนมากสะท้อนคิดว่า โครงงานฐานวิจัย แบบเพาะพันธ์ุปัญญา ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออกท้ังในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทา มีความเชื่อม่ันในตนเอง และยอมรับในผลอันเกิดจาก การกระทาของตนเองด้วยความมั่นใจ ดังจะเห็นได้จากข้อเขียนสะท้อนคิดของ นักเรยี นสองคนท่กี ลา่ วไวว้ ่า “... (การเรียนรู้ด้วย) โครงงานทาให้ฉนั ไดค้ ิด กล้าลงมือทา และกล้ายอมรบั ผล ไม่ว่าผลที่เกิดขึ้นจะดีหรือไม่ ก็ต้องยอมรับและหาทางแก้ไข เพาะพันธุ์ (ปัญญา) จึงทาให้ฉันเรียนรู้อะไรหลายๆอยา่ งๆได้ออกไปเปิดโลกทัศน์ท่ีกวา้ ง ข้นึ ...” “...โครงงานฐานวิจัยช่วยให้หนูกล้าแสดงออกมากขึ้น ท้ังในด้านการทา เสนองาน และการพูดตอบคาถาม และบางครั้งพ่ีๆในโรงเรียนก็ยังช่วยใน การบอกว่าเราควรจะเตมิ ตรงนี้ แกต้ รงน้นั บา้ ง จนทาใหห้ นเู ริ่มรู้จักกบั รุ่นพ่ีใน โรงเรียนนมี้ ากขน้ึ และการทห่ี นไู ดไ้ ปเห็นโครงงานของโรงเรียนอื่นๆ กท็ าให้ หนูได้ความรู้ใหม่ๆในการนาเสนอแบบต่างๆ ได้เห็นโครงงานมากมาย หลากหลายท่นี าของจากชีวิตประจาวนั มาใชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์มากข้นึ ...” - 96 -
จากข้อสะท้อนคิดของนักเรียนข้างต้น ผู้เขียนยังสามารถตีความในประเด็น ของการเติบโตทางด้านความรู้ที่เกิดจากการได้แลกเปล่ียนเรียนรู้กับคนอ่ืนที่ไม่ใช่ เพ่ือนในโรงเรียนเดียวกัน ซ่ึงสะท้อนให้เห็นภาพของการยอมรับในความแตกต่าง ระหวา่ งตนเองและผู้อ่ืนท่มี ีศักยภาพทแตกตา่ งกันแตส่ ามารถเรยี นรรู้ ว่ มกันได้ นอกจากน้ีผู้เขียนยังพบว่านักเรียนท่ีผ่านการเรียนรู้ด้วยโครงงานฐานวิจัย ท่ี เน้นให้เกิดการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศท่ีเป็นกัลยาณมิตร เป็นพื้นท่ีปลอดภัยที่เปิด โอกาสให้นกั เรยี นได้สะท้อนคิดทั้งอารมณ์ ความคิด และการกระทา อย่างต่อเน่ืองและ สม่าเสมอ ผู้เขียนจึงพบข้อสะท้อนคิดที่ผู้เรียนเขียนตามสภาพจริงท้ังทางบวกและทาง ลบ ดงั ตวั อยา่ งขอ้ สะทอ้ นคดิ ทวี่ ่า “...ตอนแรกๆที่หนูเรียนวิชา RBL หนูรู้สึกเบื่อมาก ไม่อยากเรียน เพราะว่า มันไม่สนุกเลย แล้วหนูก็ไม่กล้าแสดงออกดว้ ย และยังทาให้หนูเครียดมาก เพราะทางานไม่สาเร็จ แต่ก็มีครูและเพอื่ นชว่ ยกนั ทางานจนเสรจ็ ค่ะ แต่พอ เรียนไปเรียนมา ก็ทาให้หนูรู้สึกอยากเรียนมากขึ้น และคอยมีพี่ๆ มา ช่วยเหลือ คอยแนะนาส่ิงท่ีหนูและเพื่อนคนอื่นๆไม่เป็น เลยทาให้งาน ออกมาดีข้ึนค่ะ ในการท่ีหนูได้ไปเห็นโครงงานของโรงเรยี นอื่นๆ มันทาให้ หนูมีความรู้มากขึ้นมากกว่าเดิม และได้เรียนรู้วิธีการนาเสนอของโรงเรียน อน่ื และได้ทาความร้จู กั กบั เพ่อื นคนใหม่มากข้ึน...” นอกจากประเด็นเร่ืองความเชอื่ มน่ั ในศกั ยภาพของตน มคี วามม่ันใจและกล้า แสดงออกที่ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแลว้ น้ัน ข้อสะท้อนคิดของนักเรียนจานวนหนึ่ง ยัง สามารถตคี วามไดว้ ่า ผู้เรียนเห็นความสาคัญของการทางานเป็นทมี และเกิดการเรยี นรู้ โดยการหาข้อมูลจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ดังข้อความตอนหนึ่งของการเขียน สะท้อนคิดไวค้ อื - 97 -
“การเรียน RBL นั้นสามารถทาให้ผมได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆท่ีไม่เคยรู้จักกันมา ก่อนและมันทาให้เราสนิทกับคนอื่นมากขึ้น และยังทาให้ผมได้รู้จักความ สามคั คีในหม่คู ณะ ในกลมุ่ และการทางานเป็นทมี เพ่ือให้งานออกมาสาเร็จ ลุล่วงได้ และผมก็ได้รู้จักการหาความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน อาทิเช่น จาก สถานที่ท่ีผมไม่เคยไป จากหนังสือที่ไม่เคยอ่าน และผมได้รู้จักการนาเสนอ ทาให้ผมกล้าแสดงออกความสามารถของผมท่ีผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าผม สามารถทาไดต้ อ่ หน้าผคู้ นมากมายทง้ั ทผ่ี มรจู้ ักและไมร่ ูจ้ ัก ซ่ึงมนั สามารถทา ให้ผมและเพ่ือนๆได้เริ่มสนิทกันมากข้ึนจากที่ไม่กล้าคุยกันเลย และจากที่ไม่ เคยกล้าแสดงออกก็ทาให้ผมม่ันใจในตัวเองมากข้ึน ไม่อายที่จะออกไป นาเสนองานหนา้ ช้นั เรยี น” เน่ืองจากโครงงานฐานวิจยั ส่งเสรมิ ให้เรียนร้จู ากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตามความสนใจ ตามความชอบ ตามความถนัด ดังน้ันผู้เรียนจานวนมากจึงเขียน สะท้อนคิดในประเด็นเรือ่ ง ความภาคภูมใิ จในตนเอง การเรยี นรจู้ ากการลงมือทาตาม ความถนัด รู้ตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ทาอะไรได้ดีหรือไม่ดี ยอมรับใน ความสามารถของตนเอง และมองตนเองและผอู้ ืน่ ในแง่บวก ทาให้เกดิ การแบง่ งานและ ทางานร่วมกันได้ ถึงแม้จะเกิดปัญหาอุปสรรคบ้าง แต่ผู้เรียนก็พร้อมจะรับฟังและ ยอมรับความคิดเหน็ ท่ีแตกต่าง อีกท้ังยังสามารถสะท้อนให้เห็นจุดด้อยของตน ตีความ ไดว้ ่าผู้เรยี นรจู้ กั ตัวเองดขี น้ึ เมอ่ื ได้เรยี นรู้ดว้ ยกระบวนการของ RBL ดังตัวอยา่ งขอ้ เขียน สะทอ้ นคิดของนกั เรยี น 3 คน ดังน้ี “ตั้งแต่ผมได้เร่ิมเรยี นวิชา RBL ผมกร็ ้สู กึ ถงึ คณุ คา่ ของการทางานเปน็ กลุ่มมาก ขึ้น ผมได้นาเสนอโครงงาน ทาให้ผมรู้สึกว่า ผมมีความสามารถมากกว่าท่ี ผมคิด ...โครงงานมันเปลี่ยนชวี ิตผมไปในทางท่ีดี และทาให้ผมรู้สึกสนกุ กบั การทางาน...” - 98 -
“...การเรียนวิชา RBL ผมได้ฝึกกระบวนการคิดหลายๆอย่างท่ีไม่อาจหา ประสบการณ์ได้จากที่ไหน จากท่ีเม่ือก่อนตัวผมเองน้ันไม่เคยได้ทางานเป็น กลุ่ม อะไรๆก็ใช้ให้เพ่ือนทาตลอด ผมได้เปลี่ยนตัวเองใหม่ ผมได้รู้จักการ ช่วยเหลือกัน แบ่งเบาภาระซ่ึงกันและกัน และการมีความรับผิดชอบต่อ หน้าที่การงานท่ีตนเองได้รับมอบหมาย พอได้ชิ้นงานที่สาเร็จแล้วน้ันมัน ส่งผลให้ผมรู้สึกภูมิใจในตนเอง และรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเอง มากข้ึน จากที่เมื่อก่อนเวลาทางานกลุ่มนั้นผมไม่กล้าช่วยเพื่อน เพราะกลัวจะ ทางานเพอื่ นพงั ผมกไ็ ด้ช่วยเพ่ือนโดยการทาชิน้ งานและยังได้พรเี ซต์งาน ซงึ่ มัน ทาให้ผมน้ันกล้าแสดงออกมากขึ้น เพื่อฝึกความมั่นใจในตนเอง เพ่ือนาไป ประยุกต์ใช้กับวิชาอ่ืนท่ีต้องพรีเซนต์งาน ชีวิตประจาวัน และธุรกิจในอนาคต อกี ด้วยครับ...” “สาหรับวิชา RBL ท่ีเรียนมาตลอด 1 ปี เป็นวิชาที่สนุกมากค่ะ ได้ทางาน ร่วมกับเพื่อนๆในห้อง บางคนที่ไม่ค่อยคุยตอน ป.6 ตอนน้ีก็คุยกันมากข้ึน เป็นวิชาที่ดีมากค่ะคร้ังแรกท่ีจับกลุ่ม มีเพ่ือนใหม่พึ่งย้ายเข้ามา รู้สึกไม่ดีเลย ค่ะ แต่พอทางานด้วยกันก็รู้สึกดีข้ึน สนิทกัน คุยกันง่ายข้ึนเยอะเลย ตอนท่ีรู้ ว่าโครงงานสเปรย์ฆ่าหนอนที่ทากันในกลุ่มใช้ได้ผลจริง ดีใจมากค่ะ แต่ก็ ลองเปล่ียนความเข้มข้นบ้างเผื่อจะดีข้ึน และมันใช้ได้ผลมากขึ้นจริงๆ ค่ะ ที่ จรงิ แล้วหนเู ป็นคนทไ่ี มถ่ นดั พรเี ซนต์มากๆ พดู ตดิ ๆ ขดั ๆ จาเน้อื หาไม่คอ่ ย ได้ ดังน้นั เวลาขึ้นพรีเซนต์งานหนูจะนั่งอยขู่ า้ งเวที ไมก่ ็ยืนเฉยๆข้างๆคะ่ กลัว พาคนอื่นเสียไปด้วย นับเป็นข้อเสียอย่างหน่ึงของหนูค่ะ แต่ถึงหนูจะไม่ได้ ช่วยพรีเซนต์งานในโอกาสตา่ งๆ หนูก็ช่วยตอนทานา้ หมักนะคะ และบางครง้ั เพื่อนๆในกลุ่มไม่กล้าหยิบหนอนใส่บีกเกอร์ ก็มีแต่หนูเน่ียแหละค่ะที่หยิบ ข้ึนมาใส่บีกเกอร์ สาหรับโครงงาน RBL ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา รู้สึกขอบคุณ จรงิ ๆ คะ่ ทีท่ าใหไ้ ดพ้ ดู คยุ สอื่ สารกบั เพอ่ื นๆ ในห้องไดม้ ากขึ้น...” - 99 -
จากข้อเขียนสะท้อนคิดข้างต้น ผู้เขียนยังสามารถตีความจากข้อความที่ว่า “ตอนท่ีรู้ว่าโครงงานสเปรย์ฆ่าหนอนท่ีทากันในกลุ่มใช้ได้ผลจริง ดีใจมากค่ะ แต่ก็ลอง เปลย่ี นความเข้มข้นบา้ งเผื่อจะดีขนึ้ และมนั ใช้ได้ผลมากข้นึ จริงๆ ค่ะ” ได้อกี วา่ ผู้เรยี น คนน้ีมีทักษะในการวางแผนเพื่อดาเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตนคาดหวังได้ สาหรับ นักเรียนคนนี้ถ้าครูมีโอกาสได้ติดตามพัฒนาการอย่างต่อเน่ือง ผู้เขียนเห็นควรว่า เมื่อ นักเรียนเองตระหนักรู้ในข้อควรพัฒนาของตนแล้ว จะเป็นการดีท่ีครูจะเข้าไปช่วย กระตนุ้ หรือหาวิธีการตา่ งๆท่เี หมาะสมในการพัฒนาจุดดอ้ ยน้ัน จุดเด่นอย่างหน่ึงของการเรียนรู้ด้วย RBL คือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลง มอื ทาตามความสนใจ ความถนัด หรอื ความสามารถพ้นื ฐานของตน ดังนั้นผ้เู รยี นทกุ คน ไม่ว่าจะเก่งหรืออ่อน (จากมาตรวัดในระบบการศึกษาแบบปกติ) สามารถเรียนรู้และ พัฒนาไปพร้อมกันได้โดยไม่ท้ิงใครไว้ด้านหลงั ข้อเขียนสะท้อนคิดของนักเรียนจานวน หน่ึงสะท้อนภาพความตระหนักถึงศักยภาพของตนเองที่ไม่ว่าจะเก่งหรืออ่อนก็ สามารถเรียนรู้ได้ ดงั ตวั อยา่ งขอ้ สะทอ้ นคดิ ของนักเรยี นคนหน่งึ ที่วา่ “วชิ า RBL ไมไ่ ดน้ ่าเบอ่ื อย่างทค่ี ิด ผมไดท้ าการทดลองมากมาย เปน็ การทดลอง ในหัวข้อท่ีเราเลือกเราสนใจจริงๆ ซ่ึงเป็นอะไรท่ีดีท่ีสุด เพราะเมื่อเราชอบ อะไร เราก็จะจริงจังกับมัน โดยเราไม่รู้สึกเบ่ือหน่าย แต่บางคร้ังอาจจะมีท้อ บา้ ง แตพ่ วกเราในกลุ่มกใ็ หก้ าลงั ใจกัน จนในทีส่ ดุ งานกส็ าเร็จ...RBL ได้ฝกึ ให้เรา ทางานเป็นทีม เมื่อก่อนพอถึงงานกลุ่มที่ไร เพ่ือนในกลุ่มก็จะทาอยู่คนเดียว เสมอซ่ึงก็คือคนที่เก่งที่สุดในกลุ่ม แต่ RBL ทาให้ชีวิตการทางานกลุ่มก็ได้ เปลี่ยนไป เราได้ฝึกทางานเป็นทีม การแบ่งงานตามความถนัดเพ่ือให้งาน เสรจ็ ไว จนในทสี่ ดุ เราก็ทาสาเรจ็ และได้คาชมจากครแู ละคณาจารย์พ่ีเล้ยี ง ทา ให้ผมรู้สึกภูมิใจและปลาบปลื้มอย่างมากครับ เพราะงานสาเร็จด้วยแรงของ พวกเราเอง โดยใชค้ าตชิ มจากครูมาเป็นแรงผลกั ดันให้ทาโครงงานให้สาเร็จ” - 100 -
ผู้เขียนเคยไดย้ ินผู้รู้ท่านหนึ่งกลา่ วไว้ว่า อิสระทางความคิดเป็นปัจจัยสาคญั ที่ทาให้มนุษย์ได้เรียนรู้ ข้อสะท้อนคิดของเด็กชายข้างต้น ทาให้ผู้เขียนตระหนักใน ความเป็นจริงของข้อความดังกล่าว อีกทั้งยังถูกเน้นย้าให้เห็นเด่นชัดจากหลายๆ ขอ้ เขยี นสะทอ้ นคดิ ตัวอยา่ งเพ่ิมเติมแสดงให้เหน็ จากข้อเขียนสะทอ้ นคิดตอนหน่งึ วา่ “สาหรับหนูการทางาน RBLช่วยให้หนูไดล้ องทาในสิ่งท่ีไม่เคยทา ช่วยเปิด โลกของหนูให้กว้างข้ึนได้ลองทาอะไรใหม่ๆ เปิดประสบการณ์ชีวิตไดร้ ใู้ น สิง่ ที่ไมเ่ คยรู้ ไดท้ าตามท่ีเคยคิดหรือฝันไว้ สร้างอสิ ระในการคดิ การทางาน RBL เป็นงานทเ่ี ราต้องทาเป็นกลุม่ เปน็ ทีม ไดอ้ ยกู่ ับหอ้ งอ่นื ๆทีเ่ ราอาจไม่สนิท ด้วย แต่การทางานเป็นทีมทาให้เราสนิทกันมากขึ้น เสริมสร้างความสามัคคี ในกลุ่ม เพราะในการทางานร่วมกันในกลุ่มเราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันกัน เพื่อให้งานออกมาดี...ผลงานในชีวิตของเรากับ RBL นี้ช่วยให้เราได้ลองอะไร ใหม่ๆและไมป่ ิดก้ันความคดิ ความสามารถของเรา การทา RBL ยงั ช่วยใหเ้ รา กล้าแสดงออก กล้าออกความเห็น เสริมสร้างความม่ันใจให้กับเรามาก ย่ิงขึ้น กล้าท่ีจะลองและกล้าท่ีจะบอกเล่าเร่ืองราวใหม่ๆในชีวติ RBL ช่วยดงึ ความสามารถทีซ่ อ่ นอยู่ในตวั เราออกมา RBL ทาให้เราประยกุ ต์ใช้วชิ าต่างๆ ทีไ่ ด้เรียนมา ทงั้ วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ ซึ่งเปน็ ประโยชนใ์ นอนาคต หนคู ิด ว่า RBL เป็นตัวชว่ ยทด่ี ีในการปพู น้ื ฐานในอนาคต” ตลอดระยะเวลาของการทผ่ี ู้เขยี นเป็นพี่เล้ียงในโครงการเพาะพันธุป์ ัญญา ครู และผู้เรียนจานวนหนึ่งเข้าใจว่า ด้วยกระบวนการวิจัยหรือโครงงานฐานวิจัย ครู วิทยาศาสตร์หรือนักเรียนสายวิทยาศาสตร์เท่าน้ันที่จะเรียนได้ดี แต่ในความเป็นจริง แลว้ ไม่ใช่ การวิจยั เปน็ กระบวนการสร้างองคค์ วามรูท้ ่ไี ม่จาเพาะแค่ในสายวิทยาศาสตร์ เท่าน้ัน การแก้ความเข้าใจผิดน้ีจาเป็นต้องให้บุคคลเหล่าน้ันเปิดใจและเรียนรูจ้ ากการ ลงมือทาและสะท้อนคิดด้วยตนเอง ดังปรากฏในข้อสะท้อนคิดของนักเรียนสายศิลป์ จานวนหนึง่ ท่ีถกู เลอื กใหเ้ รยี นรูด้ ้วยโครงงานฐานวจิ ัย - 101 -
“ก่อนเข้าร่วมโครงการ ดิฉันคิดว่าทาไมห้องเรียนศิลป์ภาษาจึงต้องเรียน RBL เพราะเนื้อหาทุกอย่าง คนท่ีจะเข้าใจได้ดีคือเด็กสายวิทย์...เมื่อไดล้ งมอื ทาจริงๆ ก็พบว่า มันก็ไม่ได้ยากขนาดน้ัน เราแค่รู้จักบูรณาการส่งิ ต่างๆ ลง มือทดลอง ตัดสินอะไรต่างๆด้วยตัวของเราเอง ทุกวันน้ีรู้สึกสนุกค่ะ และจะ ทาออกมาให้ดีทส่ี ุด” “RBL ทาให้ได้เรียนรู้การทางานร่วมกับเพื่อนท่ีไม่เคยทางานมาก่อน การ แบ่งเวลาเพ่ือทาโครงงาน แบ่งหน้าที่ การแก้ปัญหาร่วมกับผู้อื่น ในวันที่ นักเรยี นทั้งสายช้นั ม.4 ตอ้ งจดั นทิ รรศการรว่ มกัน เราได้มองเห็นโครงงาน ของเพ่ือนสายวิทย์ ท่ีเราคิดว่า เขาน่าจะสามารถทาออกมาได้ดีกว่าเรา แน่ๆ แต่เม่ือดิฉันได้เดินดูแล้ว จริงๆ ส่ิงที่เราทามันก็ไม่ได้แย่อะไรแบบ น้ัน ชอบการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้มากๆ ค่ะ เราได้ แบง่ ปนั ความรูก้ ับเพือ่ นๆมากขนึ้ ได้ทาความรจู้ ักกนั มากข้ึน จนวันทีเ่ รามอง ย้อนกลบั ไปถงึ ความผิดพลาดมากมายของเรา การทางานท่ีผิดซ้าแล้วซา้ เลา่ ณ ตอนนี้เป็นโครงงานท่ีผใู้ หญ่ใหค้ วามสนใจ และมันก็ทาใหเ้ ราฉกุ คิดได้ว่า ไม่ใช่แคส่ ายวทิ ยห์ รอกท่ีทาได้” “ความรู้สึกแรก คือไม่คิดว่าจะได้เป็นนักเรียนห้องเรียนเพาะพันธ์ุปัญญา เพราะเป็นห้องเรียนศิลป์ภาษา ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยค่อนข้างน้อย และไม่มีความถนัด เท่าห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้าน วิทยาศาสตร์ แต่เมื่ออาจารย์ได้บอกเหตุผล ดิฉันจึงคิดว่าคงต้องทาให้สุด ความสามารถ ให้อาจารย์เห็นว่าเรามีศักยภาพอย่างท่ีอาจารย์เห็น ...ซึ่ง ถอื ว่าเปน็ โอกาสดี ทเ่ี ราจะไดศ้ ึกษาในสิง่ ที่ไม่เคยทา...” จากข้อสะท้อนคิดข้างต้น ผู้เขียนตีความไดเ้ พ่ิมเติมว่า การท่ีครูเช่ือม่ันในตวั นักเรียนและส่งผ่านความเช่ือมั่นน้ัน ไม่ว่าจะเป็นคาพูดหรือการกระทา ด้วยความ เอาใจใส่ นักเรียนจะมีกาลังใจ มีความเช่ือมั่นในศักยภาพของตนท่ีสามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทางบวกท่ีส่งเสริมให้นักเรียน สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า ครูเป็นผู้สนับสนุนท่ี - 102 -
คอยโอบอุ้ม ประคับประคอง หรือพร้อมท่ีเรียนรู้ไปด้วยกัน ซ่ึงโครงการเพาะพันธุ์ ปัญญาได้สะท้อนภาพการเกื้อกูลระหว่างครู-ครู นักเรียน-ครู และนักเรียน-นักเรียน ตัวอย่างข้อสะท้อนคดิ ของครสู อดคลอ้ งกบั ข้อสะท้อนคดิ ของนักเรียนในประเดน็ ปจั จยั เกอื้ หนนุ น้ี ดังตัวอยา่ งบางตอนของครู 2 ท่าน ดงั ตอ่ ไปน้ี “ครูไม่เคยคิดเลยว่า การทาโครงงานจะสามารถเปล่ียนแปลงบางสิ่ง บางอย่างในตัวนักเรียนที่ลงมือทาได้ เพราะมองว่านักเรียนม.ต้น น่าจะไม่ เขา้ ใจเนื้อหาของโครงงาน concept หลักได้ แต่นักเรียนท่ีทาโครงานทาให้ครู ท่ึงกับความสามารถท่ีไม่มีขีดจากัดในตัวของนักเรียน สามารถเข้าใจและ เรียนรู้เนื้อหายากๆในระดับ ม.ปลาย ซึ่งบางครั้ง ม ปลายบางคน ยังไม่เขา้ ใจ ด้วยซ้า แต่นั่นก็ต้องอาศัยท้ังความอดทนและเวลา น่ีเป็นการพิสูจน์ให้เห็น แล้วว่า ถ้าเราเชื่อว่าเราทาได้ เราก็จะทาได้ และมันจะสาเร็จแบบที่ คาดหวังไวแ้ นน่ อน...” “...“หนูอยากทาแล้ว” “ทาได้หรือยังคะ/ครับ” “หาหัวข้อเลยได้ไหม” พอ ครูได้ยินคารู้มีกาลังใจ ครูได้เห็นพัฒนาการ ความกระตือรือร้น การ ปรบั ตวั ในการทางาน เจตคตทิ ีม่ ีตอ่ RBL เด็กๆ เปล่ยี น สามารถทาได้เอง ลองแกป้ ัญหาเองโดยใช้ทกั ษะกระบวนการตามที่เคยได้เรียนจากปีก่อนๆ ท่ี เด็กมีความเครียด ความกังวล ปีน้ีเด็กๆ ได้คิดได้ทาอย่างเต็มท่ี อย่างอิสระ ไม่มีข้อแม้ เม่ือเกิดปัญหาเด็กๆ เดินเข้าหา บอกปัญหา ทาให้ช่วยกันแก้ไข และทางานต่างๆ ไดท้ นั เวลา.. ด้วยความที่การเขียนสะท้อนคิดการเขียนตามความรู้สึกของผู้เรียนมิได้มี กรอบมาบังคับ ผู้เขียนจึงพบความหลากหลายในประเด็นการเขียนสะท้อนคิด อีกท้ัง ผู้เขียนประทับใจหลายข้อเขียนของนักเรียนที่แสดงให้เห็นการเติบโตทางอารมณ์ ความคิด และพัฒนาการในด้านการเรียน ท่ีเกิดการสะท้อนคิดและปฏิบัติอย่างเป็น ลาดับขั้นตอน ดงั แสดงให้เหน็ ขอ้ ความบางส่วนของนกั เรยี น ดังน้ี - 103 -
“ผมค่อนข้างเหนื่อยเพราะการทาโครงงานฐานวจิ ัย ต้องใช้เวลาหาข้อมลู พอ ไดข้ ้อมูลก็ตอ้ งลงมอื ทา มที งั้ สาเร็จในครั้งแรกและไม่สาเรจ็ เมื่อไมส่ าเร็จก็ต้อง วิเคราะห์ และหาข้อมูลเพ่อื ทดลองใหม่ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ แต่ การผิดพลาดแต่ละคร้ังไม่เสียเปล่า เพราะผมได้เรียนรู้เร่ืองราวท่ีไม่ เหมือนกันในการทดลองผิดพลาดแต่ละครั้ง ทาให้ผมมีความละเอียด รอบคอบและช่างสังเกตมากข้ึน อีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้รับจากการทาโครงงาน เป็นกลุ่ม ทาให้ผมรู้จักการทางานเป็นทีม เรียนรู้นิสัยซ่ึงกันและกัน รู้จักการ เคารพเสียงส่วนใหญ่ ยอมรับความคิดเห็นซ่ึงกันละกัน รู้จักการแบ่งงานกัน ติดตามงานและได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหลายคร้ัง ผมรู้สึกว่าการทา RBL ทาให้ผมมีความรบั ผิดชอบมากขนึ้ ” “RBL ในมุมมองแรกของหนูมันเป็นแค่งานกลุ่มธรรมดาที่ใหค้ ิดค้นอะไรบางอย่าง แลว้ ลงมือทา แตพ่ อหนไู ด้มาสัมผสั หนกู ไ็ ด้ร้วู ่า RBL เป็นโครงงานท่เี ปดิ โอกาสให้ นักเรียนได้ลองคิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานออกมา ให้เป็นแนวทางความคิด ใหม่ๆ และมอบอสิ ระทางความคดิ ใหก้ ับเรา ถอื วา่ RBL คอื ชอ่ งทางการเปิดโลก ทัศน์อันกว้างไกลทางหน่ึง ของหนูเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าหนูอาจจะพบกบั อุปสรรค มากมาย ทั้งความคิด ความขัดแย้งในกลุ่ม หรือวิธีการดาเนินงาน แต่หนูเช่ือว่า อุปสรรคและความล้มเหลวเป็นตัวช้ีวัดความสาเร็จว่าเราเคยได้ลองทาส่ิงน้ัน ด้วยความต้งั ใจของเรา หนูไดเ้ รียนรู้ ไดเ้ ห็นมุมมองใหมๆ่ ของเพือ่ น เป็นโครงงาน ท่ีช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้โชว์ประสิทธิภาพของตัวเอง เป็นโครงงานที่แฝงไป ด้วยวิชาชีพ ก่อนหน้าน้ีหนูชอบทางานคนเดียว เพราะมันสะดวก ง่าย รวดเร็ว ไม่ ตอ้ งรอใคร แต่การทา RBL ก็ทาให้หนรู วู้ ่าการทางานกับเพ่ือนสนกุ กวา่ ทาคนเดียว เยอะเลย” - 104 -
บทสรุปทีไ่ ด้จากการสะทอ้ นคิด จากประสบการณก์ ารสัมผัสผูเ้ รียนทผี่ า่ นการเรยี นรดู้ ว้ ยโครงงานฐานวิจยั ทั้ง จากการสังเกต ถามตอบ และการอ่านขอ้ เขียนสะท้อนคิด ผู้เขียนขอสรุปประเด็นของ ประโยชนข์ องการตระหนักรทู้ ค่ี รสู ามารถพัฒนาใหเ้ กิดในตัวผ้เู รยี นได้ 7 ข้อ ดังนี้ 1) รู้เป้าหมายในชวี ิต รคู้ วามคาดหวงั รศู้ ักยภาพของตนเอง 2) รู้จดุ เดน่ และมแี นวทางในการปรบั ปรุงพัฒนาตนเองใหด้ งี าม 3) สามารถควบคมุ ตนเอง เพ่อื แสดงออกถงึ พฤตกิ รรมท่เี หมาะสม 4) สามารถตดิ ต่อ สรา้ งสมั พันธ์กับผู้อน่ื ได้ดี 5) มีสติ ระลึกรู้เทา่ ทันความคิด อารมณ์ และความรสู้ ึกตน 6) ใชป้ ระสบการณ์ท่เี รียนรแู้ ละเข้าใจตนเองเพ่อื เป็นพ้ืนฐานในการเรียนรู้ และเขา้ ใจคนอื่น 7) ม่นั ใจในตนเอง อยู่ท่ามกลางสถานการณต์ ่างๆ ไดอ้ ย่างไมท่ ุกข์ - 105 -
บทที่ 8 ครู RBL เหน็ อะไร แมว้ า่ เหตกุ ารณ์จะผ่านมาเปน็ ปี แต่สง่ิ ท่ผี า่ นการคิด การลงมือแก้ปญั หาด้วยตนเอง มันยงั คงประทบั อยใู่ นใจ เมื่อมโี อกาสใครค่ รวญสะทอ้ นคดิ พบวา่ ตัวตนทเ่ี ป็นอยขู่ ณะนี้ผ่านการพบเจอ เรยี นรู้ ฝกึ ฝนมาอยา่ งไรบา้ ง ทท่ี าใหเ้ ปน็ เราในวันน้ี - 106 -
ครู RBL เห็นอะไร ครตู ้อง...ปฏิรูปการศกึ ษา ครตู ้อง...เน้นทักษะศตวรรษที่ 21 ครตู อ้ ง..เน้นพัฒนาคุณลักษณะ ครูตอ้ ง...เน้นพัฒนาสมรรถนะ ครูตอ้ ง...สอนคิด ครูต้อง...พฒั นาทักษะชีวติ ครูต้อง...เปล่ียน เพราะมีหลากหลายท่ีครูต้องทา ครูต้องเน้น ครูต้องมี ครู ตอ้ งเกดิ ฯลฯ เปรยี บเสมือน ครตู อ้ ง..มีหนามอันแหลมคมรมุ อยู่ทุกดา้ น ขยับไปทางใดก็ ไมไ่ ด้ เหมือนหลงตดิ กับดักในวงั วนของความสบั สน - 107 -
ท่ามกลางความสบั สนของ “ครูต้อง” ท่ีเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน ครูต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ เพื่อให้ตอบโจทย์และตรงกับ ความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน เตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก อนาคต ครูต้องยึดจดุ มุ่งหมายของการศึกษา (education objective) ท่ีเป็นจุดเริม่ ตน้ สาคัญประการหนึ่งในการออกแบบจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุพฤติกรรมทาง การศึกษาท้ัง 3 ด้าน คือ 1) ด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) 2) ด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) และ 3) ด้านจิตพิสยั (affective domain) ครูต้องวัดและประเมินพฤติกรรมทั้ง 3 ด้านน้ี รวมถึงคุณลักษณะอันพึง ประสงค์และสมรรถนะที่สาคัญ ตลอดจนทักษะการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ เชื่อว่าครูเองรู้สึกสับสนวุ่นวายกับการเป็น “ครูต้อง” เพื่อให้ตอบโจทย์ของการปฏิรูป การศึกษา ทม่ี ีมานานนบั สบิ ปีแลว้ แต่ผล (ที่แทจ้ ริง) ก็ยังไมไ่ ปถงึ ไหน - 108 -
ปัจจุบนั มนี กั การศึกษา กลุ่มคนทส่ี นใจ ผู้นา และครหู ลายกลุ่ม มคี วามตระหนกั และยอมรับว่า “การศึกษาต้องเปล่ียน” ต่างลุกข้ึนมาตั้งโรงเรียนทางเลือก ต้ังองค์กร ต้ังกลุ่มค้นคว้าวิจัย รวมท้ังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิด ลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มจากตัวเอง เรา เปล่ียนตัวเอง ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน เพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นคนดีมี ความสามารถ มที ักษะ สามารถดารงชีวติ อยู่ในสงั คม รู้ทนั การเปลี่ยนแปลง แกป้ ญั หาท่ี ตอ้ งเผชิญได้ ซึ่งกค็ ือเปา้ หมายในการพฒั นาผเู้ รียนของครู ศักยภาพในตวั เด็กมมี ากกว่าที่คิด “ถ้าได้ฝึกฝน” ครูท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “เด็กมีความคิด มีความสามารถท่ีเราคาดไม่ถึงอีก มากมาย ห้องเรียนโครงงานฐานวิจัย (RBL) เปิดโอกาสให้เราได้เห็นศักยภาพของพวก เขา” การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ลงมือทา คิด และต้ังคาถาม ทาให้เด็กมองเห็น ปัญหา อุปสรรค ต้องคิดหาหนทางแก้ไข ทาให้เขารจู้ กั ตัวเองและเข้าใจผู้อน่ื โจทย์ของ RBL คือโจทย์ที่ใกล้ตัว เป็นบริบทของจริงในชุมชน ท่ีเขาต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทา ช่วยกันแก้ปัญหา ผ่านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ แล้วสื่อสารออกมาด้วยความ เข้าใจท่ีเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เขาต้องเผชิญด้วย ความยากลาบาก ไม่เป็นลูกนกรอป้อน ย่อมทาให้เขาเกิดความอดทนพยายามด้วยสติ และปัญญา ที่ผ่านการล้มลุกคลุกคลานซ้าแล้วซ้าเล่า จนเติบโตงอกงามให้เราได้เห็น พฤติกรรมอันพึงประสงค์ต่างๆ มีความสามารถและศักยภาพมากกว่าที่เราคิด ครูทอ่ี ยู่ เคียงข้างเด็กย่อมรับรู้ส่ิงน้ีได้ สาหรับพ่ีเลี้ยงเอง แม้นานทีจะได้พบกัน ก็ยังสัมผัสได้ถึง ความเปล่ียนแปลงของนักเรียน ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหน่ึง เป็นโรงเรียนที่ท้า - 109 -
ทาย นักเรียนทา RBL มาแล้ว 1 ปี (ตอน ม.1) พอข้ึนสู่ปีที่ 2 (ม.2) สิ่งที่ปรากฏชัดคือ เมื่อนักเรียนกลุ่มท่ีกาลังเสนอ ถูกซักถาม ถูกไล่ต้อน เพื่อนๆ ท่ีน่ังฟังต่างก้มหน้าก้มตา ค้นหาความรู้ในโทรศัพท์มือถือแบบ smart phone เพื่อช่วยกันหาข้อมูล และโต้ตอบ กันอย่างสนุกสนาน ห้องเรียนวันน้ันเป็นห้องเรียนที่ผู้เขียนรู้สึกว่ามันวิเศษมาก เป็น บรรยากาศของห้องเรียนที่ active มีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น ผลัดกันซักถาม นักเรียนบางคนต้ังคาถามที่ดี น่ันคือส่ิงที่ครูปรารถนา เพราะหากนักเรียนสามารถต้ัง คาถามได้เอง เขาก็จะสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ครูท่านหน่ึงได้บอกถึงสิ่งท่ีครูภูมิใจว่า “ความภูมิใจจากโครงการเพาะพันธุ์ ปัญญาคือ การเปล่ียนแปลงของนักเรียน เขาสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง รู้ลาดับ ข้ันตอนทจี่ ะทา เขาไดใ้ ช้ทกั ษะที่แตล่ ะคนเชีย่ วชาญ เอาออกมาทางานร่วมกัน” เปน็ ผล ที่เกิดข้ึนจาก RBL ท่ีครูท่านน้ีประจกั ษ์ชัด นักเรียนเองก็รูส้ ึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของ ตนเอง ดงั ทน่ี กั เรยี นหญิงชัน้ ม.2 คนหนึง่ ได้เขียนสะทอ้ นวา่ “เพาะพันธ์ุปัญญา ทาให้หนูกล้าคิด กล้าทา กล้านาเสนอแบบ มนั่ ใจ มันเปน็ ประสบการณจ์ ากโครงการนี้จริงๆ” - 110 -
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างนักเรยี นหญงิ อีกคนหนงึ่ ท่ีได้ไปแข่งขัน “ส้มตาลีลา” ท่ี มีเง่ือนไขคือ ต้องใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบในอาหาร เด็กคนน้ีเลือก “ชะคราม” โดยนามาชุบแปง้ ทอด ที่สาคัญเธอต้องเรียบเรียงเร่ืองราวเพอื่ นาเสนอ เธอ เลือกที่จะนาประเด็นปัญหาแล้วตามด้วยการบอกเคล็ดลับ ทาอย่างไรให้กรอบ ทา อย่างไรให้สูตรน้าปรุงอร่อย เป็นทักษะท่ีเธอผ่านการฝึกฝนซ้าแล้วซ้าเล่าจากช้ันเรียน RBL นักเรียนหญิงคนน้ีเปล่ียนแปลงพฤติกรรมไปจนเพื่อนๆ ครู และพ่ีเลี้ยง เห็น พัฒนาการไดอ้ ย่างชัดเจน จากเดก็ ทไี่ มก่ ล้า ไม่เกง่ ไมแ่ สดงออก ไม่เคยมบี ทบาทในเวที ใดๆ พอเข้าร่วมโครงการเพาะพันธ์ุปัญญาในตอนแรกก็รูส้ ึกเขินอาย ความสามารถของ นักเรยี นหญิงคนนถ้ี กู บ่มเพาะในช้นั เรยี น RBL เธอเรมิ่ เข้าร่วมกจิ กรรมของโรงเรยี น เชน่ การร่วมเป็นตัวแทนแข่งขันต่างๆ เป็นคณะกรรมการนักเรียน เป็นผู้นารุ่นน้องทา กิจกรรมในโรงเรียน ร่วมเป็นสมาชิกในทีมทาภาพยนต์สั้นส่งเข้าประกวดและได้รับ รางวัลระดับชาติ เป็นตัวแทนแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (science show) จน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และเข้าแข่งขันส้มตาลีลาจนได้รับรางวัลชนะเลิศ ในแต่ละ กิจกรรมลว้ นตอ้ งผ่านการคดิ ค้นคว้า กล่ันกรอง ออกแบบ และสื่อสารใหช้ ุมชนได้รบั รู้ โดยทเ่ี ธอไม่เขินอายอกี ตอ่ ไป อกี หนึ่งตวั อย่างท่ผี เู้ ขียนไดพ้ บ ในวนั ที่ไดต้ ิดตามท่าน รศ.ดร.ไพโรจน์ คีรรี ัตน์ ไปค้นหานวัตกรรมของห้องเรียนเพาะพันธุ์ปัญญาในโรงเรียนแห่งน้ี ผู้เขียนได้ชม ภาพยนตร์สั้นและรับฟังการนาเสนอของนักเรียนท่ีทาภาพยนตร์ส้ัน เด็กกลุ่มน้ีเป็น นักเรียนชั้น ม.5 ซึ่ง 3 ใน 5 คนเคยผ่านกระบวนการเพาะพันธ์ุปัญญาเม่ือตอน ม.ตน้ คนแรกคือนกั เรียนหญงิ คนทีไ่ ด้ยกตวั อยา่ งไปแลว้ อกี สองคนคือ คนพากษ์เสยี ง และคน ตดั ต่อคลปิ (clip) แคไ่ ดฟ้ งั เสยี งพากษ์ ผเู้ ขยี นกร็ ู้สกึ “หลงเสยี ง” ซงึ่ ผเู้ ขียนมาทราบภายหลังว่า เด็กผู้ชายคนที่พากษ์เสียงนี้ เดิมเป็นอีกคนท่ีไม่มีตัวตนในห้อง เป็นเด็กหลังห้อง ไม่ยุ่ง ไมส่ นใจใดๆ แตเ่ ม่อื เพือ่ นชวนเข้ากลุ่มเพื่อทางานช้นิ นี้ ก็ไดต้ อบรบั เพราะเห็นแกค่ วาม - 111 -
เป็นเพื่อน และครูเองก็ให้อิสระในการทางาน เป็นการทางานท่ีท้าทายทาให้เด็กคนน้ี เปลีย่ นแปลงพฤตกิ รรมและคน้ หาศกั ยภาพของตนได้ มือตดั ต่อคลิปของโรงเรียน เป็นเด็กชายรา่ งท้วม สูงใหญ่ ชอบการตัดต่อคลิป มาก และศักยภาพอันโดดเด่นของเขาก็ปรากฏให้เห็นในห้องเรียน RBL ต่อมาเขาเป็น คนรวบรวมเพ่อื นๆ มาทาภาพยนตเ์ พอ่ื สง่ เข้าแข่งขันจนได้รบั รางวลั ชนะเลศิ ในเขตพืน้ ท่ี การศึกษา และไปต่อจนถึงได้รางวัลท่ี 4 เหรียญทองในระดับชาติ ปัจจุบันได้ต้ังชมรม เพื่อนสอนเพื่อนและน้องๆ ทางานผลิตคลิป เป็นมือสาคัญของโรงเรียนในการทา วิดที ัศน์เผยแพรป่ ระชาสมั พนั ธง์ านตา่ งๆ ของโรงเรยี น เด็กชายคนนเี้ ลา่ ใหฟ้ ังว่า “เมอื่ คร้ังเขา้ รว่ มโครงการเพาะพนั ธุ์ปัญญาตอน ม.ตน้ ตอนทต่ี อ้ ง นาเสนองานประจาปี แต่งานของกลุ่มเราไมม่ ีของโชว์ เพราะเป็น งานเชิงสารวจ ผมคิดว่า แล้วจะทาอยา่ งไรให้ดึงดูดความสนใจได้ โจทย์ต่างๆ ท้าทายความสามารถมาก ตัวผมและเพื่อนไม่เคยจับ ไมค์ก็ต้องแสดงความกล้า ณ ตอนน้ัน เราคิดว่าน่าจะใช้ส่ือวิดีโอ และดนตรีมาร่วมนาเสนอ ผลปรากฏว่า ผลงานกลุ่มเราได้รับ เลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียนเพ่ือนาเสนอในเวทีระดับศูนย์พ่ี เลี้ยงท่ีมหาวิทยาลัยมหิดล และจากผลงานสร้างสรรค์ในคร้ังนั้น ทาให้ได้รับคะแนนโหวตจนได้รับคัดเลือกเป็นผลงานนาเสนอ ดีเด่น ผลจากการทางานและการตอบรับดังกล่าวได้สร้างความ มนั่ ใจและเปน็ แรงบันดาลใจ ทาใหผ้ มกล้าคิดและกลา้ ทาเรอ่ื ยมา” การลงมือทางานในโจทย์ท่ีท้าทายต่างๆ นักเรียนต้องเรียนรู้ แก้ปัญหา ผ่าน การคิด การทางานที่ต้องใช้หลายทกั ษะ นักเรียนต้องทางานเปน็ กลมุ่ ใช้ความสามารถ ท่ีแต่ละคนมี ดึงศักยภาพท่ีแตกต่างของแต่ละคนออกมาร่วมกันทางานจนผลงาน ปรากฏ สร้างความภาคภูมิใจ มั่นใจ ค้นพบตัวตนของเขาจากการทางาน การฝึกซ้าๆ จนมองได้ถึงอาชีพ ปัจจุบันแม้ว่ายังเรียนอยู่ในชั้น ม.6 แต่ด้วยความสามารถที่มี - 112 -
นักเรยี นชายคนน้ีได้รับงานพเิ ศษตดั ตอ่ ภาพยนตร์ ทาคลิปวิดีโอ หารายไดพ้ เิ ศษเปน็ ทุน สาหรับการศกึ ษาต่อในมหาวิทยาลัย นับได้ว่า RBL ได้ช่วยให้นักเรียนค้นพบตนเอง เรียนรู้ ฝึกฝน เผยให้เห็น ศกั ยภาพท่มี มี ากกวา่ ที่ครูคดิ เพราะวนั ที่เดก็ กลุ่มนีน้ าเสนอภาพยนตร์ส้ันให้พวกเราดู มี คุณครูหลายท่านของโรงเรยี นอน่ื “องึ้ ” กบั ความสามารถทเ่ี ห็น ไม่นกึ วา่ ผลงานระดบั นี้ จะมาจากการคิดของนักเรียน แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมาหลายปี แต่ถ้าส่ิงนั้นเป็นส่ิงที่ผ่านการคิด การทา การแก้ปัญหาดว้ ยตนเอง มนั ยงั คงประทับอยู่ในใจ เมือ่ มีโอกาสใคร่ครวญ สะท้อนคดิ จะ พบว่าตัวตนทีเ่ ป็นอยขู่ ณะน้ไี ดผ้ า่ นประสบการณ์ ได้เรียนรู้ ฝึกฝนมาอย่างไรบา้ งที่ทาให้ เป็นเราในวันนี้ ผู้เขียนประทับใจในศักยภาพของเด็กๆ ท่ีเขารู้จักและเข้าใจตัวเอง ค้นพบส่ิงท่ีเขามีเขาเป็นได้เรว็ ทักษะชีวิตท่ีถูกบ่มเพาะน้ี จะฝังลึกติดตัวเขาไป และทา ให้เขาดารงชีวิตอยู่รอดในสังคมที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้นกล้านวัตกรรมของโรงเรียนท่ีถูกพัฒนาขึ้นด้วย RBL ตามแนวทางของโครงการ เพาะพันธุ์ปัญญา คงตอบโจทย์ของการพัฒนาคุณภาพของครู นกั เรียน และโรงเรยี น ได้ ครบเกือบทุกตวั ชว้ี ดั ตัวอย่างต่างๆ ที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนอยากยืนยันจาก ประสบการณ์ตลอดระยะเวลาเกอื บ 6-7 ปี ของการร่วมเรยี นรู้ กล้าบอกไดว้ ่า RBL ทา แล้วและทาได้ดังปรากฏผลงานเชิงประจักษ์มากมาย แม้แต่ตัวผู้เขียนเองท่ีได้ร่วม ทางานในโครงการนี้ ก็เติบโต ได้เรียนรมู้ าตลอด ถ้าความหมายของการเรียนรู้ คือ การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทักษะหลายทักษะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างจริงจัง ส่งเสริม การนาไปใช้ใหเ้ หมาะสมกับเหตุการณ์ โจทย์ปัญหา และชีวิตจริง เป็นทักษะท่ีทาใหเ้ ขา รจู้ ริง ไม่แตร่ จู้ า ท่ีสาคญั เขาสามารถนาไปใชไ้ ดจ้ รงิ ดงั ท่ไี ด้กล่าวมา - 113 -
บรรณานุกรม Anderson, L., & Krathwohl, D. A. (2001). Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman. Binkley, M., Erstad, O., Herman, J., Raizen, S., Ripley, M., Miller-Ricci, M., & Rumble, M. (2012). Defining twenty-first century skills. In P. Griffin, B. McGaw, & E. Care (Eds.), Assessment and Teaching of 21st Century Skills. Dordrecht: Springer. Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York: David McKay Company, INC. Finlay, L. (2008). Reflecting on Reflective Practice. Retrieved 30 July 2019 from https://www.open.ac.uk/opencetl/sites/www.open.ac.uk.open cetl/files/files/ecms/web-content/Finlay-(2008)-Reflecting-on-reflec tive-practice-PBPL-paper-52.pdf Gibbs, G (1988). Learning by Doing: A Guide to Teaching and Learning Methods. Oxford: Further Education Unit, Oxford Polytechnic Retrieved 1 June 2019 from https://thoughtsmostlyaboutlearning. files. wordpress.com/2015/12/learning-by-doing-graham-gibbs.pdf Goleman, D. (2001). Emotional intelligence: Issues in paradigm building. In C. Cherniss, & D. Goleman (Eds.), The Emotionally Intelligent Workplace. San Francisco, CA: Jossey Bass. Trilling, B., & Fadel C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: Jossey Bass. - 114 -
ชัยวัฒน์ วงศอ์ าษา. (2556). การเห็นคุณค่าในตนเอง มหาวิทยาลัยมหิดล. Download เม่อื วนั ท่ี 15 มิถุนายน 2562 จาก http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/ detail/ index/909 แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต. (2555). 6 คาถามสร้างทักษะชีวิต: ประสบการณ์ สาหรับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจากัด จูน ลาย มอร์นง่ิ ยงยุทธ วงศภ์ ิรมยศ์ าสนต์ิ และ สวุ รรณา เรอื งกาญจนเศรษฐ์. (2553). ทักษะชวี ิต ศูนย์ สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี. Download เมื่อวันท่ี 15 มิถนุ ายน 2562 จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/11142 วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพ่ือศิษย์ในศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพมหานคร: มลู นธิ สิ ดศรี-สฤษดวิ์ งศ์ สานักทดสอบทางการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสาคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ช้ันมัธยมศึกษา ปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพส์ านกั งานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ. สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชวี ิต บูรณาการการ เรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จากดั . สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2558). สะเต็มศึกษา: ความท้าทายใหม่ของการศึกษาไทย. สงขลา: นาศลิ ปโ์ ฆษณา จากดั . สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2561). เพราะพันธุ์ปัญญา: ปัญญาจากโจทย์โครงงานฐาน วิจัย. หนงั สอื ชุดเบญจปญั ญา: กระบวนการบ่มเพาะเมล็ดพนั ธแ์ หง่ ปัญญาใน - 115 -
การศึกษาไทย เล่มท่ี 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จากัด. สธุ ีระ ประเสริฐสรรพ์. (2561). เพราะพนั ปัญญา: ปัญญาในการออกแบบ. หนงั สอื ชุด เบญจปัญญา: กระบวนการบ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งปัญญาในการศึกษาไทย เลม่ ท่ี 4. กรุงเทพมหานคร: บรษิ ัท โรงพมิ พ์อกั ษรสัมพันธ์ (1987) จากดั . สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2561). เพราะเพาะพันธ์ุพันปัญญา: ปัญญาการศึกษาจึงผลิ บาน. หนังสือชุดเบญจปัญญา: กระบวนการบ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งปัญญา ในการศึกษาไทย เล่มท่ี 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จากดั . - 116 -
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124