กรณศี กึ ษาจากเกลอื หอม เกลือหอม เป็นโครงงานยอดนิยม ในที่นี้ นักเรียนช้ัน ม.2 ได้นาเกลือสะตุ (เกลือคั่ว) และเกลือที่ผ่านการตากแดดจนแห้ง มาเติมสีแต่งกล่ินกุหลาบ และกลิ่น พิมเสน แลว้ เปรียบเทยี บระดับความหอมและความคงทนของกล่ิน - 44 -
แม้จะเป็นการทาเกลือหอมธรรมดา แต่ส่ิงท่ีทาให้โครงงานน้ีแตกต่างจาก โครงงานเกลือหอมท่ัวไป คือการทดสอบประสิทธิภาพของ “ของ” ท่ีทา และพยายาม หาความร้มู าอธิบายปรากฏการณ์ท่พี บ คือ การเจือจางของกล่นิ การที่นักเรียนอธบิ าย วา่ พมิ เสนเปน็ ของแขง็ มันจงึ มกี ล่ินทนกวา่ ครูตอ้ งกระตุ้นใหน้ ักเรียนดึงสาระความรูม้ า อธิบายปรากฏการณ์น้ี สาระวิชาการเรื่องนี้คือ “การระเหิด” หากครูฝึกให้เขาอธิบาย จาก “กลไก” การปล่อยกลิ่น นักเรียนจะรอู้ ยา่ งละเอยี ดขึน้ กรณีศึกษาจากเสน้ บะหม่ฟี ักทอง โครงงานนี้เป็นของนักเรียนช้ัน ม.4 สายศิลป์ภาษา ที่ชอบกินบะหมี่แต่ก็ อยากให้บะหม่ีนั้นมีคุณค่าทางอาหารท่ีแตกต่างออกไป จึงมีแนวคิดนาฟักทองมาเป็น ส่วนผสมของเส้นบะหม่ี และเริ่มปรับสูตรการทาเส้นบะหม่ีไข่จนกระท่ังได้สูตรท่ี เหมาะสมสาหรับการทาเสน้ บะหม่ีฟักทอง ท้ังน้ี นักเรียนได้ทดลองหาเวลาที่เหมาะสม ในการลวกเสน้ วิธีการและระยะเวลาท่ีเกบ็ เสน้ ไวไ้ ดไ้ มเ่ สีย - 45 -
งานนแ้ี ตกตา่ งจากโครงงานอาหารทเี่ หน็ ทัว่ ไป คอื นักเรียนได้วเิ คราะห์ตน้ ทนุ ของเส้นบะหมี่ รวมทั้งสดั ส่วนของวัตถดุ บิ ท่ีมีการนาเขา้ จากตา่ งประเทศ โดยเปรยี บกบั สูตรเดิมดว้ ย ดงั นี้ - 46 -
ผู้เขียนชอบการนาเสนอข้อดีของเส้นบะหมี่ ท่ีนักเรียนได้ประมวลข้อมูล ท้ังหมดเข้าด้วยกัน จนสามารถสังเคราะห์ข้อดีท่ีเป็นเหตุ-ผลเพ่ือโน้มน้าวให้คนเช่ือว่า เส้นบะหม่ีของเขาดีกว่า สะท้อนให้เห็นความสามารถในการดึงความรู้เดิมมาใช้ และ การวิเคราะห์เช่ือมโยงจนเห็นภาพกว้าง อย่างไรก็ตาม การมองเพียงด้านดีอย่างเดียว อาจจะทาให้ติดกับดักความคิดได้โดยง่าย นักเรียนควรต้องคิดเอาข้อดีและเสียมา ประเมิน นาเสนอผลกระทบทง้ั ด้านบวกและลบ เพอื่ นาไปสูก่ ารตดั สนิ ใจทีด่ ีทส่ี ดุ - 47 -
บทท่ี 5 การคิดสรา้ งสรรค์ และการแก้ปัญหา ความขาดแคลนคือโอกาสทดี่ ขี องการเรยี นรู้ เมอื่ ขาดแคลนเคร่อื งมอื นักเรยี นจาเปน็ ตอ้ งแกป้ ญั หาดว้ ย ความคิดสร้างสรรค์ เพอ่ื ก้าวข้ามขีดจากัดของความไมม่ ใี หไ้ ด้ - 48 -
การคดิ สรา้ งสรรค์และการแก้ปัญหา ขนั้ การคิดสร้างสรรค์ (creating) คือการสร้างผลิตผลหรือสิ่งประดษิ ฐ์โดยการ เอาความรู้เปน็ วัตถดุ บิ รวมทั้งการนาเอาแนวความคิดเดิมมาปรับเปล่ยี นจนเกดิ แนวคิด ใหม่ ท้ังนี้การสร้างสรรค์ผลงานไม่จาเป็นต้องเร่ิมต้นจากศูนย์เสมอไป แต่อาจจะเป็น การดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยนของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิมก็ได้ พฤติกรรมท่ีแสดงให้ เห็นถึงความคิดสรรค์ของนักเรียน ได้แก่ การออกแบบ การเขียนภาพ การประพันธ์ อกั ษร การประพันธบ์ ทเพลง การวางแผน และการทบทวนงานเดิมเพื่อสรา้ งผลงานใหม่ ที่ดีกว่า การคิดสร้างสรรค์นี้เปน็ ข้ันสงู สุดของทักษะทางปัญญาของ Bloom ท่ีประเทศ ไทยยงั ไมป่ ระสบความสาเร็จ ท้ังนีอ้ าจเปน็ เพราะที่ผ่านมา เราใหค้ วามสาคญั แก่ผลงาน หรอื ชิ้นงาน มากกวา่ กระบวนการทางานมากเกนิ ไปนน่ั เอง ความขาดแคลนคือโอกาสท่ีดีของการเรียนรู้ ซ่ึงมักไม่ค่อยเกิดกับโรงเรียน ใหญ่ท่ีมีเคร่ืองมือพร้อม เพราะเมื่อมีเคร่ืองมือดี นักเรียนก็แทบไม่ได้เรียนความรู้ พื้นฐานอะไรเลย เพียงใช้เครื่องมือนั้นแล้วก็ได้ตัวเลขออกมา (สุธีระ ประเสริฐสรรพ์, 2561) แต่ในโรงเรียนที่ขาดแคลนเครื่องมือ นักเรียนจาเป็นต้องแก้ปัญหาด้วยความคดิ สร้างสรรค์ เพอื่ ก้าวข้ามขดี จากดั ของความไมม่ ีให้ได้ ความคิดสรา้ งสรรคใ์ นการวดั ผลโดยใชต้ ัวแทน ผู้เขียนขอยกตัวอยา่ งโครงงาน “แชมพูน้ามันมะพร้าว” ของนักเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง นักเรียนทาแชมพูสระผมที่มีน้ามันมะพร้าวผสม เพราะเขามีความรู้ว่าน้ามันมะพร้าวรักษาความชุ่มช้ืนได้ โดยไม่รู้ว่าในแชมพูมีสารชะ ล้างไขมัน แต่ความคิดออกแบบแบบการทดลองหาความชุ่มช้ืนของเส้นผม และ ประสิทธภิ าพของการทาความสะอาดทห่ี ลุดกรอบออกจากการใช้เครือ่ งมอื (ท่ีไม่ม)ี - 49 -
นักเรียนไม่สามารถทดลองกับผมคนได้ ไมร่ วู้ ่าจะวดั ความชุ่มชน้ื ของเสน้ ผมได้ อย่างไร แต่นักเรียนคิดเทียบกับใบไม้ เห็นความชุ่มช้ืนเป็นน้าในเซลล์ใบไม้ การรักษา ความชุ่มช้ืนคอื การท่ีน้าในใบไมไ้ ม่สูญเสยี ออกจากเซลล์ใบไม้ ตัวแทนการสญู เสยี ความ ชุ่มชื้นท่ีวัดได้คือน้าหนักใบไม้ท่ีหายไปเมื่อเอามาสระ (แกว่ง) ในแชมพูสูตรต่างๆ สรุปว่าแชมพูสูตรที่รักษาความชุ่มช้ืนของเส้นผม คือสูตรท่ีทาให้น้าหนักใบไม้หายไป น้อยท่ีสดุ - 50 -
นักเรียนวัดประสิทธิผลของการทาความสะอาดโดยอุปมาว่าขี้ฝุ่นเกาะผม เพราะผมมัน เขาเอาน้ามันพืชมาทาช้อน โรยแป้งลงไป เท่าน้ีก็ได้ตัวแทนของเส้นผม สกปรกจากฝุ่นและความมันของเส้นผมแล้ว ที่เหลือคือพิสูจน์ว่าแชมพูสูตรไหน ที่ล้าง แปง้ ออกไดโ้ ดยการแกว่งนอ้ ยทสี่ ดุ - 51 -
นักเรียนทาวิจัยโดยไม่สระผมสักเสน้ แต่ได้คาตอบว่าสตู รไหนรกั ษาความชุ่ม ช้ืนเส้นผม สูตรไหนทาความสะอาดดีกว่า แน่นอนว่านักเรียนไม่ได้คาตอบท่ีถูกต้อง เพราะใบไมไ้ มใ่ ช่เสน้ ผม น้าในใบไม้ไมใ่ ชค่ วามชมุ่ ชน้ื ของเส้นผม แป้งไม่ใช่ฝุ่นทเี่ กาะผม น้ามันพืชไม่ใช่น้ามันที่ทาให้เส้นผมสกปรก แต่เชื่อว่านักเรียนได้วิธีคิดมากกว่าการเอา ไปวิเคราะห์กับเครอ่ื งมอื เลิศหรใู นมหาวิทยาลัยพ่ีเลี้ยง - 52 -
แม้ว่านักเรียนจะวัดจาก “ตัวแทน” ที่มีองค์ประกอบไม่เหมือนของจริง แต่ การใช้ตัวแทนทาให้นักเรียนไดท้ ักษะการแก้ปัญหา การท่ีนักเรียนเอะใจถึงจุดด้อยของ ตัวแทนถือเป็นทักษะวิทยาศาสตร์อย่างหน่ึง เอาช้อนมาแทนเส้นผมเป็นตัวแทนสู้เอา พู่กัน (ท่ีทาจากขนม้า) ไม่ได้ และพู่กันย่อมสู้ผมคนจริง (จากร้านตัดผม) ไม่ได้ เส้นผม จากร้านตัดผมย่อมสู้เส้นผมคนบนหัวไม่ได้...แค่นักเรียนใช้ช้อนพลาสติกเพราะเอะใจ จากท่ีเคยพบว่าล้างไขมันออกจากจากจานพลาสติกยากมาก แค่นี้ก็แสดงทักษะ วิทยาศาสตร์แล้วสาหรับเด็กช้ัน ม.1 ในโรงเรียนท่ีเอาครูประถมมาสอนมัธยม ที่เรา เรียกโรงเรยี นขยายโอกาส (สุธีระ ประเสรฐิ สรรพ์, 2561) การออกแบบทดลองอยา่ งสร้างสรรค์ในบรบิ ทจริง ท่านผู้อ่านยังจาโครงงานอุปกรณ์เก็บยอดสะเดาได้ไหม นักเรียนต้องหาว่า อุปกรณ์ใหม่ที่พวกเขาทามีประสิทธิภาพดีกว่าของเดิมหรือไม่ นักเรียนเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทั้งสองโดยทดลองใช้ในบริบทจริงซึ่งควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ ยากมาก - 53 -
นักเรียนออกแบบการทดสอบสิ่งประดิษฐ์ของเขาโดยดูท้ังในเร่ืองคุณภาพ และปริมาณของสะเดา รวมถึงความเม่ือยล้าหลังการเก็บยอดสะเดา โดยพยายาม ควบคุมตวั แปรตา่ ง ๆ เทา่ ท่ีทาได้ - 54 -
นกั เรยี นหลีกเล่ยี งที่จะใชแ้ บบสอบถามเพื่อสารวจว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจหรือ รู้สึกอย่างไรบ้างกับอุปกรณ์ของพวกเขา แต่พยายามหาวิธีทดสอบและกาหนดเกณฑ์ คณุ ภาพทสี่ ามารถวดั ออกมาเป็นตัวเลขเพื่อใหส้ ามารถนาผลมาเปรียบเทยี บกนั ได้ สิ่งที่นักเรียนนามาเป็นเกณฑ์สาหรับเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เก็บสะเดา ได้แก่ ระดบั คณุ ภาพของสะเดา นา้ หนักของสะเดาทเ่ี กบ็ ได้ และระดบั สภาพ ร่างกาย ซ่ึงเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ท่ีไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคน จึงลด bias หรือ ความลาเอียงทาให้ข้อมูลดนู ่าเช่ือถอื แค่น้ีก็แสดงทักษะวิทยาศาสตรแ์ ละทักษะการทา วจิ ยั แล้วสาหรบั เด็กชน้ั ม.3 การออกแบบอยา่ งสร้างสรรค์ทีต่ อ้ งไมล่ มื คานงึ ถงึ บริบท ไม่แปลกอะไรที่เราออกแบบการทดลองท่ีควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ แต่นักเรยี น มักลืมบริบทท่ีกระทบผลการทดลอง การทดลองโดยจับปลวกมาใส่ขวดในตัวอย่าง ต่อไปน้ีเปน็ ตัวอย่างที่ดี เหมาะแกก่ ารเอามาเรยี นรู้ - 55 -
นักเรียนเอาไม้สะเดามาทาไม้ประดับเทียมโดยคานึงถึงปัญหาว่าไม้อาจจะ โดนปลวกกิน จึงทาการทดลองแช่ท่อนไม้ในสารสกัดที่ได้จากใบข้ีเหล็ก และใบ น้อยหน่า ที่พวกเขารู้มาว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกนั ปลวก พวกเขานาท่อนไม้ทแ่ี ช่ เสร็จแลว้ ไปตากแดด แลว้ เอามาใสใ่ นขวดโหล จากน้นั ใสป่ ลวกตามลงไป - 56 -
นกั เรียนเฝา้ สงั เกตการณ์เปล่ยี นแปลงของทอ่ นไม้และปลวกทกุ วันเปน็ เวลา 1 สัปดาห์ โอกาสที่ปลวกจะตายทั้งหมดมีสูงมาก เนื่องจากเป็นการออกแบบวิจัยท่ีไม่ได้ คานึงถึงธรรมชาติของปลวก มนั ไม่ใชส่ ตั ว์เลย้ี งเชน่ ไก่ ทีอ่ ย่ใู นที่จากดั รอคอยอาหารจาก คน ปลวกหาอาหารเองได้ และอาหารของมันก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลวก โดยท่ัวไปปลวกไมช่ อบแสงสว่าง ชอบท่ีมดื และอบั ชืน้ การทีน่ กั เรยี นจบั ปลวกมาใสข่ วด มันกาลังอยู่ในสภาวะสับสน แปลกถ่ิน และมันกาลังดิ้นรนหาทางออกจากขวด จึง อาจจะเป็นเหตุผลที่มันไมก่ ินท่อนไม้ท่ีผา่ นการแช่ในสารสกัดท้ังสองชนิด และตายดว้ ย สภาพท่ีอยู่อาศัยและอาหารไมเ่ หมาะกับมัน ดังจะเห็นได้จากปลวกที่อยู่ในขวดโหลท่ีมี ท่อนไม้ปกติ (ไม่แช่ในอะไรเลย) ก็ตายภายใน 3 วัน อย่างไรก็ตาม การออกแบบทีม่ ชี ดุ การทดลองควบคุมเช่นนี้ ก็ทาให้นักเรียนได้ข้อสรปุ ว่า สารสกัดจากใบน้อยหน่าหรอื ใบ ขี้เหลก็ มฤี ทธ์ทิ าให้ปลวกตาย (เพราะในท่อนไมป้ กติทไ่ี ม่ผา่ นการแช่ ปลวกยงั อยรู่ อดถึง 2 วนั ) - 57 -
ความคิดสรา้ งสรรคท์ าให้ออกแบบงานวจิ ัยไดส้ นกุ ขอยกตวั อยา่ งโครงงาน “เหยอ่ื ตกกุ้ง” ของนกั เรยี นช้ัน ม.1 ที่อยากรู้วา่ เหยื่อ ชนิดไหนตกกุ้งได้มากกว่ากัน ในตอนแรกนักเรียนออกแบบการทดลองโดยใช้เหยื่อ 3 ชนิด ได้แก่ หัวใจไก่ ไส้เดือน และกุ้งฝอย ตกกุ้งพร้อมกันในบ่อจริง และจะสลับ ตาแหน่งเหยื่อในแต่ละรอบ ซ่ึงเป็นการทดลองที่ควบคุมตัวแปรไดย้ ากมาก เพราะเปน็ บอ่ ตกก้งุ ทนี่ อกจากพวกเขาแลว้ ยงั มคี นอื่นๆ มาตกกุง้ ดว้ ย นักเรียนจึงออกแบบการทดลองใหม่ โดยจับกุ้งที่มีอายุและขนาดเท่ากันมา เลยี้ งก่อนการทดลอง เพอ่ื ใหก้ งุ้ ปรับสภาพเกดิ ความคนุ้ ชินกับสิ่งแวดลอ้ มใหม่ หลังจาก นน้ั จึงนาก้งุ มาทดลองโดยภาชนะโปร่งใส มีแผน่ พลาสติกวางคัน่ ตรงกลางภาชนะ ทฝ่ี ่ัง ด้านหนึ่งของภาชนะวางอาหารท้ัง 3 ชนิดไว้โดยเว้นระยะห่างเท่าๆ กัน แล้วจึงปล่อย กุ้งลงในฝ่ังท่ีไม่มีอาหาร จากน้ันดึงแผ่นพลาสติกตรงกลางออก บันทึกระยะเวลาและ ชนิดของเหยอื่ ทก่ี ุ้งเร่ิมกนิ เป็นลาดบั แรก - 58 -
- 59 -
ความคิดสร้างสรรค์ทาให้ออกแบบงานวิจัยได้สนุกเพราะไม่มีคาตอบตายตัว อาจจะมีนักเรียนคนอื่นๆ ออกแบบการทดลองได้น่าสนใจกว่าน้ี รูปแบบการทดลอง ตา่ งๆ ที่นักเรยี นคิดมา คือโอกาสการเรียนรูข้ องนักเรียนทั้งห้อง - 60 -
บทที่ 6 การสื่อสาร: หลักฐานแสดงทักษะคดิ ของผู้เรียน ความสามารถในการสอ่ื สารท่ีแสดงให้ผ้อู ืน่ เขา้ ใจไดอ้ ย่างชัดเจน และโดนใจ เป็นผลจากการประมวลความคดิ หลายขั้นตอน ท้ังวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงให้อยใู่ นรปู แบบ ท่ีเข้าใจง่าย เลือกใชส้ ่อื ท่ีเหมาะสม เปน็ ผลจากการ ฝึกฝนอย่างตอ่ เนือ่ งตลอดการทาโครงงาน - 61 -
การส่ือสาร : หลกั ฐานแสดงทักษะคิดของผู้เรยี น การส่ือสารถูกจัดเป็นกระบวนการสาคัญในการทางาน (ways of working) ต้ังแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทักษะน้ีเป็นทักษะสองทาง ประกอบด้วย “ทักษะการรับสารจากสอื่ ” เป็นทักษะท่ีใช้ในรับสารเพ่ือการเรียนรู้ ท่ีต้องวิเคราะหท์ งั้ แหล่งที่มา ความน่าเช่ือถือของสื่อ ความน่าเช่ือถือของสาร และการตีความสารจากสอ่ื และ “ทักษะการสื่อสาร” ไปยังบุคคลอ่ืน เป็นทั้งการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าผู้เรียนเข้าใจ อยา่ งไร และเป็นการประมวลเพ่ือเลอื กวธิ ีการสอ่ื สารไปยงั กลุ่มเปา้ หมายอย่างเหมาะสม โดยบทนี้จะเนน้ ในสว่ นของ “ทักษะการสอ่ื สาร” ไปยังบคุ คลอ่นื ทักษะการสอื่ สารไปยังบุคคลอื่น เกิดจากการจัดกระทาข้อมูลเพื่อสอื่ สารผลการทา โครงงานให้อยู่ในรูปท่ีเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ฟังเกดิ ความเข้าใจในเวลาจากัด อันจะเป็น ประโยชน์ท้ังด้านความรู้ หรือตัดสินใจต่อยอดในการนาไปใช้ นอกจากน้ียังหมาย รวมถงึ จรยิ ธรรมในการนาเสนอสาร และการนาสารของบุคคลอ่นื มาใชอ้ ย่างถูกตอ้ ง (Trilling & Fadel, 2009, pp. 54–56; วิจารณ์ พานชิ , 2555, น. 40–44) การนาเสนอโครงงานในปัจจุบัน ทักษะการส่อื สารท่ีปรากฎเด่นชัดในกระบวนการจดั การเรียนร้แู บบโครงงาน มกั จะอยู่ในรูปแบบการนาเสนอโครงงาน ทัง้ แบบปากเปลา่ (oral presentation) แบบ โปสเตอร์ (poster presentation) หรือการเขียนบทความหรือรายงาน (report) ทเ่ี ปน็ ผลิตผลของการทาโครงงาน จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในฐานะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ ข้อเสนอแนะโครงงานจานวนมาก พบว่า การนาเสนอโครงงานแบบปากเปล่าของ นักเรียนส่วนใหญ่เป็นการพูดตามบทท่ีเตรียมไว้ หรือพูดตามสไลด์/โปสเตอร์ท่ีใช้ นาเสนอ โดยเน้อื หาของสารทสี่ ือ่ มกั จะแบง่ ตามหัวขอ้ ในรายงานแบบ 5 บท ไดแ้ ก่ บท นา เอกสารและโครงงานที่เก่ียวข้อง วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และสรุปผลและ - 62 -
ขอ้ เสนอแนะ บางครัง้ สไลด์ท่ใี ชน้ าเสนอกับรายงานเหมือนกันเลยทีเดยี ว นอกจากนกี้ าร นาเสนอสว่ นใหญ่ยังขาดความสอดคล้องของเนื้อหาในแตล่ ะส่วน (บท) ท่ีนาเสนอ และ บางครั้งผูน้ าเสนอให้น้าหนกั ท่ีเอกสารหรอื งานทีเ่ กย่ี วขอ้ งมากกว่าผลหรอื ข้อค้นพบจาก โครงงาน สาหรับการนาเสนอโครงงานของนักเรียนเพาะพันธุ์ปัญญานั้น คนส่วนใหญ่ มักให้ความเห็นว่า แตกต่างจากการนาเสนอโครงงานตามปกติ อะไรทาให้เกิดความ แตกต่าง และครูผู้สอนพัฒนาทักษะการส่ือสารนี้อย่างไร บทน้ีจึงขอนาเสนอ กระบวนการที่ทาให้เกิดความแตกต่างอย่างเด่นชัด พร้อมยกตัวอย่างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ประกอบเปน็ กรณศี ึกษา ใชก้ ารทา้ ซ้า เปรียบเทียบ ภายใต้ขอ้ จา้ กัดและบรรยากาศ ทผ่ี ่อนคลายเพ่ือพัฒนาทกั ษะการสอื่ สาร การสอ่ื สารเปน็ ทกั ษะที่ต้องอาศยั เวลาในการพัฒนา ผา่ นการจดั กระบวนการ ที่ต่อเนื่องต้ังแต่ต้นจนจบการทาโครงงาน เพื่อให้เห็นภาพของการพัฒนาทักษะนี้ท่ีจะ เชอื่ มโยงไปยังทักษะคดิ ของผ้เู รยี น ผ้เู ขียนจึงขอยกตัวอย่างข้ันตอนการจดั กระบวนการ เรยี นรทู้ ่ีเป็นแกนหลกั สาคัญไว้ในส่วนนี้ ส่ิงท่ีสาคัญในการพัฒนาผู้เรียนระหว่างการทาโครงงาน คือ บรรยากาศการ เรียนรู้ท่ีผ่อนคลาย และเป็นกัลยาณมิตร มีการรับฟัง และการให้ข้อเสนอแนะเพ่ือ พัฒนา ในส่วนนี้ครูเพาะพันธ์ุปัญญาจะต้องนากระบวนการจิตตปัญญามาปรับใช้เพื่อ สร้างบรรยากาศท่ปี ลอดภัยในชั้นเรยี น สาหรับการพัฒนาทักษะการสอ่ื สารของผเู้ รยี น ผ้เู ขยี นขอสรปุ หลกั การสาคัญ โดยไล่เรยี งตามลาดบั การทาโครงงาน เปน็ 3 ขนั้ ตอน ดงั นี้ - 63 -
ขันท่ี 1 หาประเดน็ หลักของโครงงาน ข้ันนถี้ ือเป็นขนั้ ตอนแรกในการทาโครงงานฐานวจิ ยั และเป็นขน้ั ตอนสาคัญใน การฝึกฟัง และฝึกพูดโน้มน้าวผู้อ่ืน ถือเป็นข้ันตอนสาคัญในการสร้างความกล้าท่ีจะ พูดหรือนาเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อหน้าคนอื่น ในข้ันน้ีครูจะเปิดโอกาสให้ นักเรียนทุกคนได้พูดแสดงความคิดเห็น อย่างน้อยในกลุ่มย่อย และต้ังใจฟังในขณะท่ี เพือ่ นพูด ตัวอย่างกิจกรรมจติ ตปัญญาเพ่ือสร้างความไว้ใจและฝึกการส่ือสาร ของนักเรียน ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น โรงเรียนทานตะวนั ไตรภาษา จงั หวัดสมทุ รสาคร โดยการ ปิดตาและส่ือสารระหว่างกันเพ่ือให้คู่ของตนสามารถเดินผ่านอุปสรรคไปยัง เป้าหมาย หลังจัดกิจกรรม นักเรียนสรุปส่ิงที่ได้เรียนรู้ด้วยการฟังและสะท้อนคิด รายบุคคล รวบรวมเปน็ ข้อเรยี นรู้ของกลุ่ม และนาเสนอในช้นั เรยี น นอกจากผู้เรียนจะได้ฝึกพูดและฟัง ท้ังความคิดและความรู้จากส่ิงท่ีตนได้ ค้นคว้าหรือสอบถามผู้รู้ ผู้เรียนยังต้องวิเคราะห์และสรุปความรู้ที่ได้ เพ่ือจะเข้าสู่การ ตดั สนิ ใจเลือกประเด็นหลักในการทาโครงงานรว่ มกนั ทั้งช้นั เรยี น ในข้ันนี้ผเู้ รียนจะไดร้ ับ การพฒั นาทง้ั ทักษะการประเมินสอ่ื และประเมนิ ความน่าเชอ่ื ถอื ของข้อมูล ครอู าจถาม คาถามเหลา่ น้รี ะหว่างทาง อาทิ - 64 -
“ได้ขอ้ มลู จากท่ใี ด เช่อื ถอื ไดแ้ คไ่ หน” “รู้ได้อย่างไรวา่ ขอ้ มลู ที่คน้ ควา้ หรอื สอบถามมา มคี วามถกู ต้อง” “มีวธิ ตี รวจสอบความถูกต้องของขอ้ มลู อย่างไรไดบ้ ้าง” กระบวนการน้ียังมุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้จากเพ่ือนในกลุ่ม /ในชั้นเรียน อยา่ งไรก็ตามในกรณที ี่ความรนู้ ั้นผิด ครูจะยงั ไม่บอกทันทวี า่ “ผิด” แตจ่ ะเปดิ โอกาสให้ เพื่อนให้ความเห็น หรือเสริมข้อมูลเพิ่มเติม และร่วมกันพิจารณาประเมินความรู้นัน้ อกี ครัง้ ถา้ ไม่มใี ครเหน็ ว่าผดิ ครจู ะทาการแกไ้ ขให้ในทา้ ยที่สดุ ข้ันตอนนี้จะเกิดขนึ้ ซ้าๆ ย้าๆ ในช่วงแรก เพ่ือให้นักเรยี นเกิดความเคยชนิ กบั การสื่อสาร นาเสนอความรู้และแนวความคิดของตนเองไปยังผู้อื่น และเพ่ือเป็นการ พัฒนาทักษะคิดของนักเรียน นักเรียนบางคนอาจพัฒนาทักษะการพูดโน้มน้าวผู้อ่ืน โดยเฉพาะในระหว่างการนาเสนอ และโหวต (vote) เพ่ือเลือกประเด็นหลักในการทา โครงงาน นอกจากการพัฒนาทกั ษะการพูดนาเสนอแล้ว ข้ันน้สี ามารถฝึกการสรา้ งภาพ เพ่ือสื่อสารให้เห็นภาพรวม โดยนาเสนอผ่านแผนผังความคิด (mind map) ที่ใช้สื่อ ประมวลความรูท้ ่ีเกี่ยวขอ้ ง ถือไดว้ า่ นกั เรยี นไดพ้ ัฒนาการสร้างสอ่ื ประกอบการนาเสนอ ดังตวั อยา่ ง - 65 -
ภาพแสดงช่ือโครงงานที่อยู่ภายใต้ประเด็นหลักของโรงเรียนท่ีนาเสนอในรูปแบบ แผนผังความคดิ ภ า พ น า เ ส น อ ก ร อ บ ก า ร ท า โ ค ร ง ง า น ข อ ง โ ร ง เ รี ย น ท่ี อ ยู่ ภ า ย ใ ต้ ป ร ะ เ ด็ น ห ลั ก “กล้วยไม้” โดยใช้รูปภาพและแผนทป่ี ระกอบการนาเสนอ - 66 -
ขันท่ี 2 หาโจทย์ ออกแบบโครงงาน และลงมอื ท้าโครงงาน ข้ันน้ีนักเรียนจะได้ฝึกการวิเคราะห์สาร (ข้อมูล ความรู้) จากบุคคลหรือ เอกสารท่ีเก่ียวข้อง และสื่อไปยังเพื่อนในกลุ่ม ในทุกๆ ข้ัน ต้ังแต่หาโจทย์ ออกแบบ โครงงาน และลงมือทา โดยใช้การนาเสนอท้ังในกลุ่มย่อยและในชั้นเรียน เพ่ือกระตุ้น ทาซา้ ย้าจนเกิดความคนุ้ ชิน ในช่วงแรก ครูอาจให้นักเรียนแต่ละคนเขียนแนวคิดของตนเองใส่กระดาษ โน้ตแผ่นเล็กและแปะรวมกันเปน็ โปสเตอรข์ องกลมุ่ เพื่อให้ทุกคนได้อ่าน และเชื่อมโยง นามาซ่ึงความเหน็ ของกลมุ่ หลังจากนั้น เม่ือได้แนวทางของกลุ่มแล้ว ครูอาจฝึกให้นักเรียนเขียนส่ิงที่จะ นาเสนอบนกระดาษฟลิปชาร์ท (flipchart paper) เริ่มแรกนักเรียนอาจจะเขียนเป็น ความเรยี ง ดังรูปดา้ นลา่ ง - 67 -
หลังจากนั้น ค่อยปรับให้นักเรียนสกัดประเด็นสาคัญ และฝึกให้นักเรียนเล่า ความรู้ กระบวนการท่ีทา อย่างเป็นลาดับข้ันตอน มีตรรกะ โดยอาจปรับใช้แผนผัง (flow chart) และไดอะแกรม เป็นเครื่องมอื ช่วย อีกสิ่งที่สาคัญ คือ การฝึกให้นักเรียนได้น้าเสนอต่อหน้าเพื่อนในชันเรียน โดยก้าหนดเวลาและรูปแบบที่เหมาะสม อาทิ 3 นาที สาหรับการนาเสนอโครงร่าง โครงงานในกระดาษฟลิปชารท์ 1 หน้า รวมไปถึงฝึกตังค้าถามจากสิ่งท่ีได้ฟัง ให้มาก ที่สดุ เท่าทจ่ี ะเปน็ ไปได้ เพราะสิ่งเหลา่ นจ้ี ะช่วยพฒั นาทกั ษะคดิ วเิ คราะหแ์ ละสังเคราะห์ ซึ่งเป็นพ้ืนฐานในการต่อยอดเพ่ือประมวลและจดั กระทาข้อมูลเพื่อการนาเสนออย่างมี ประสทิ ธิภาพ สิ่งท่ีครูควรเน้นในข้ันตอนนี้ คือ การเปรียบเทียบการน้าเสนอของนักเรียน แต่ละกลุ่ม โดยเปรียบเทียบทังวิธีการพูดน้าเสนอ รวมไปถึงวิธีการจัดกระท้าข้อมูล เพ่อื นา้ เสนอ เน้นไปท่กี ารชีจุดเดน่ ของงานนา้ เสนอแต่ละงาน รวมถึงวิธีการน้าเสนอ ของแต่ละกลุ่ม เพ่ือเป็นตัวอย่างให้กับนักเรียนกลุ่มอ่ืน ได้พัฒนาตนเอง ครูควรหา จุดเด่นแม้แต่ประเด็นเล็กน้อยในการนาเสนอ อาทิ ขนาดตัวหนังสือที่ใช้ สีที่ใช้ในสื่อ นาเสนอ การเลือกภาพ การเลือกใช้คาเพ่ือส่อื สารอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการอ้างอิง - 68 -
ท่ีมาของภาพที่นามาใช้ อ้างอิงข้อมูลที่นาเสนอ เพ่ือเป็นทั้งกาลังใจให้แก่นักเรียน และ ยังเป็นการเติมเต็มประเด็นต่างๆ เพ่ือฝกึ การนาเสนอให้มีประสิทธิภาพ ขันที่ 3 ประมวลและสื่อสารโครงงาน ขั้นน้ีจัดเปน็ ข้ันสุดท้าย เม่ือได้ผลการศึกษาท่ีเกิดจากการทาโครงงาน จะต้อง มีการจัดกระทาข้อมูลท่ีได้ (ทักษะคิดวิเคราะห์และสงั เคราะห)์ ก่อนท่ีจะนาผลดังกลา่ ว มาประมวลและเลือกรูปแบบเพื่อนาเสนอข้อมูลอย่างเหมาะสม ภายใต้เวลาและ ทรัพยากรที่จากัด (อาทิ จานวนหน้าของสไลด์ จานวนกระดาษที่ใช้ประกอบการ นาเสนอ รูปแบบสื่อที่ใช้นาเสนอ ฯลฯ) ส่ิงเหล่าน้ีล้วนเป็นปัจจัยสาคัญท่ีกระตุ้นให้ นักเรียนเลือกนาเสนอประเด็นเด่น หรือชูจุดเด่น ของโครงงาน โดยอาจนาเทคนิค กระดาษหน้าเดียว (ดังตัวอยา่ ง) เป็นเคร่ืองมอื ชว่ ยในขนั้ นไี้ ด้ ตัวอย่างการปรับเทคนิคสรุปทุกอย่างลงในกระดาษแผ่นเดียวในการนาเสนอ ประเด็นทาวจิ ยั ปลากดั - 69 -
ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเด็นสาคัญท่ีควรคานึงถึงในการส่ือสาร ออกเป็น 2 สว่ น คอื 1. สอื่ คือ วิธกี าร รูปแบบ หรือช่องทางในการสง่ สารไปยงั บคุ คลอน่ื ในการ ทาโครงงานมักมีส่ือหลักท่ีใช้ 2 รูปแบบ คือ การพูดนาเสนอ หรือ การ สือ่ ผ่านช้ินงาน อาทิ บทความ โปสเตอร์ 2. สาร คือ สิ่งท่ีผู้นาเสนอต้องการส่งไปยังบุคคลอ่ืน ในการนาเสนอ โครงงาน ส่ิงท่ีผู้นาเสนอจะต้องคานึงถึง มีหัวใจหลัก คือ ผู้รับสารคือ ใคร และ ผู้รับสารอยากฟัง / อยากรู้อะไร โดยมาก ผู้นาเสนอมักบอก ในส่ิงท่ีอยากเล่า แต่ถ้าต้องการให้เกิดการนาเสนออย่างมีประสิทธิภาพ จาเป็นจะต้องมองในมุมของคนฟังเช่นกัน ว่าจะได้ประโยชน์อะไรจาก การเสพสารน้ี กรณีศึกษาการนาเสนอผลของโครงงานรองเท้าหอยเพื่อการผ่อนคลาย กลา้ มเน้ือ ดังท่กี ล่าวขา้ งตน้ หลายคร้งั ผ้เู ขียนพบวา่ การนาเสนอโครงงานแบบปากเปล่า ประกอบสไลด์และรายงานแทบจะเหมอื นกัน ตัวอย่างน้ีจะชี้ให้เห็นว่า เม่ือรูปแบบของ สื่อต่างกัน ควรจะดาเนนิ การหรือจัดกระทากับสารให้อยใู่ นรปู แบบทเ่ี หมาะสม ตัวอย่างน้ี จึงเป็นตัวอย่างของการเปรียบเทียบสารที่นาเสนอในรูปแบบ ต่างกัน โดยภาพบนเป็นการนาเสนอผลในรายงาน และภาพล่างเป็นการนาเสนอผล แบบเดยี วกันในสไลดป์ ระกอบการนาเสนอแบบปากเปล่า - 70 -
ภาพจากรายงานนาเสนอผลการทดสอบประสิทธิภาพของรองเท้าหอยในการผ่อน คลายกลา้ มเนื้อ ภาพจากสไลด์ประกอบการนาเสนอแบบปากเปล่า แสดงผลการทดสอบ ประสิทธิภาพของรองเทา้ หอยในการผอ่ นคลายกล้ามเน้อื โดยปกติเม่ือมีการเปรียบเทียบตัวแปรต้น (รูปแบบของการเรียงหอยบน รองเท้า) กับตัวแปรตาม (ระดับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท้า) หลายคร้ังผู้นาเสนอจะ - 71 -
เขียนเฉพาะคาอธิบายของรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิ เรียงเป็นระเบียบ เรียงตาม ลกั ษณะเท้า เรยี งแบบกระจาย (แกน x ของภาพล่าง) ลองนกึ ภาพตาม ถ้ากราฟแทง่ ใน ภาพไมม่ ีรูปแบบการเรียงหอยบนรองเทา้ ประกอบ ผฟู้ งั จะตอ้ งกลบั ไปนกึ ถึงรูปแบบของ การเรียงหอยบนรองเท้า ซึ่งค่อนข้างลาบาก แต่เม่ือผูน้ าเสนอนาภาพและกราฟแทง่ มา ประกอบการนาเสนอแบบปากเปล่า จะเห็นว่า ภาพด้านล่างส่ือได้อย่างชัดเจน ทาให้ ผฟู้ ังสามารถเขา้ ใจประเดน็ ทีต่ ้องการส่อื ได้ในระยะเวลาอนั สัน้ จะเห็นว่ารูปแบบการนาเสนอผลท้ัง 2 ภาพถูกเลือกใช้ให้เหมาะกับวิธีการ/ รูปแบบส่อื โดยภาพบนใช้ตารางนาเสนอผลในรายงาน มีข้อดีและเหมาะสม นั่นคือ ใน รายงานผู้อ่านไม่ถูกจากัดด้วยเวลาจึงสามารถอ่านข้อมูลท่ีให้อย่างละเอียดได้ และ รายละเอียดในตารางทาให้เราเห็นการกระจายตัวของข้อมูลซึ่งป้องกันการแปลผลที่ ผดิ พลาดได้ ในขณะทกี่ ารใช้กราฟแท่งประกอบรูปนาเสนอผลในสไลด์การนาเสนอแบบ ปากเปล่า ทาให้ผู้ฟังมองเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่า กราฟแท่งสีเขียวแสดง ค่าทีส่ ูงท่สี ุด เม่ือเปรียบเทียบการนาเสนอผลท้ัง 2 แบบ จะเห็นว่ามีจุดเด่น จุดด้อย ที่ ต่างกนั น่ันคอื - 72 -
รูปแบบการนาเสนอ ภาพบน ภาพลา่ ง จุดเด่น (สาหรับรายงาน) (สาหรบั สไลด)์ - ให้รายละเอียดของข้อมลู - เหน็ ความแตกตา่ งของ จุดดอ้ ย ครบถ้วน ข้อมูลได้อย่างชดั เจน ประเดน็ ท่ีสามารถพัฒนา - เหน็ แนวโน้มและการ - นาภาพท่แี สดงรปู แบบ ให้ดียง่ิ ขนึ้ กระจายตัวของขอ้ มลู รองเท้าประกอบกราฟแท่ง ชว่ ยในการเปรยี บเทยี บ - ใชเ้ วลาในการประมวลผล - เป็นการนาเสนอแบบ ภาพรวม มีโอกาสทีจ่ ะ - ใสก่ รอบหรอื เนน้ สขี ้อความ วเิ คราะห์ผลผิดพลาดได้ ของขอ้ มลู ท่ีโดดเด่น เพ่ือ - เพ่มิ เติมเสน้ แสดงส่วน ชว่ ยในการประมวลผลของ เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผูอ้ า่ น ของขอ้ มูล เพือ่ แสดงใหเ้ หน็ ถึงการกระจายตัวของข้อมลู - ระบแุ กน X และ แกน Y ของกราฟ ถ้ามีหนว่ ยควร ระบเุ ชน่ กัน จากกรณีตัวอย่างน้ี พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการประเมินเพื่อเลือก นาเสนอข้อมูลด้วยวิธีท่ีเหมาะสมกับรูปแบบที่ต้องการส่ือ อย่างไรก็ตามการนาเสนอ ขา้ งต้นยังสามารถปรับและพฒั นาให้สมบรู ณย์ ิง่ ขนึ้ ได้ ดงั รายละเอียดในตาราง กรณีศึกษาการใช้ไดอะแกรมประกอบการนาเสนอปัญหา กรณีน้ีเป็นตัวอย่างจากโครงงานสิง่ ประดิษฐ์ที่พบได้บ่อย โครงงานน้ีนักเรยี น นาเสนอโดยเริม่ จากการโน้มน้าวใหผ้ ้ฟู ังเห็นความสาคญั ของการพฒั นา “ตะขาบ” หรือ อุปกรณ์ในการไลก่ ระรอก หลังจากน้ัน จึงนาเสนอข้อจากัดของเคร่ืองมือแบบเดิม เพ่ือ ชใ้ี ห้เหน็ ประเด็นทน่ี ักเรยี นตอ้ งการทาโครงงาน ดงั ภาพ - 73 -
นอกจากน้ี นักเรียนยังเลือกใช้ผังเหตุ-ผล ในการอธิบายสมมติฐาน ท่ีนาไปสู่ การวัดตวั แปรตาม ปรากฏดงั รูปด้านลา่ ง การนาเสนอปัญหาและสมมติฐานในการทาโครงงานตามลาดับและรูปแบบ ข้างต้น นอกจากจะทาให้ผู้ฟังเห็นความสาคัญของโครงงานอย่างชัดเจน ในมุมของ - 74 -
นักเรยี น ซึง่ เห็นไดช้ ดั วา่ ผา่ นการฝกึ คิดวเิ คราะห์ สังเคราะห์มาหลายขัน้ จนในท้ายท่สี ุด เกดิ เป็นการนาเสนอนี้ได้ กรณศี กึ ษาการใชเ้ อกสารท่เี กีย่ วขอ้ งในการกาหนดวิธีการศึกษา กรณีศึกษานี้ นาเสนอตัวอย่างของการเลือกวิธีการศึกษา จากการวิเคราะห์ ปัญหาของผลิตภัณฑ์ ในที่นี้คือ เห็ดหยอง โดยพิจารณาจากปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเก็บ เห็ดหยอง นักเรียนได้นาเสนอดงั รูป ในภาพข้างต้น นักเรียนวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ โดยใช้ความรู้จากเอกสารท่ี เกี่ยวข้อง ประกอบกับการนาหลกั การทางวิทยาศาสตรท์ ่ีเคยเรยี นมาใช้ เหน็ ได้จากการ กล่าวถึงปัญหาการเหม็นหืนของไขมันจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน นักเรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนตน้ กลุ่มนี้ต้องวิเคราะห์และประยุกตค์ วามร้ทู ีเ่ คยเรียนมาแตกย่อยเป็น ประเด็น เพื่อนาไปสู่การออกแบบโครงงาน และจากแผนผังข้างต้น นักเรียนแยกวิธี การศกึ ษาออกเปน็ 2 สว่ น เพือ่ ศึกษาปัจจัยในแตล่ ะด้านใหช้ ัด มกี ารควบคุมการทดลอง และยังพยายามเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมเพ่ือการศึกษาผลที่เหมาะกับเคร่ืองมือที่ตนมี - 75 -
พรอ้ มทง้ั มีการออกแบบตารางในการบนั ทึกผล แสดงให้เห็นถงึ การคดิ รอบด้านและการ วางแผนการศกึ ษาอย่างรดั กุม ดงั รูปตอ่ ไปนี้ - 76 -
จากสไลด์นาเสนอท้ังหมด จะเห็นว่า นักเรียนได้วิเคราะห์และนาปัจจัยท่ี ส่งผลต่อการยืดอายุเห็ดหยองมาใช้ในการออกแบบการศึกษา รวมถึงการสร้างสรรค์ วิธีการเก็บข้อมูลทเี่ หมาะกบั บรบิ ทของตนเอง กรณีศึกษาการสรุปและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพ่ือนาไปสู่การ สงั เคราะห์ขอ้ เสนอแนะ กรณีตัวอย่างน้ี เป็นผลงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สนใจ ปัญหารอบตัวเกี่ยวกับการกินเหย่ือของกุ้งในบ่อตกกุ้ง ในการทาโครงงานน้ี จะเห็นว่า นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งชีววิทยาและพฤติกรรมของกุ้งในการกินอาหาร รวมท้ังการบันทึก และวิเคราะห์เพ่ือนาเสนอผลการศึกษา และที่สาคัญท่ีสุดคือ การอภิปรายผลในแง่มุม ต่างๆ เพอ่ื นาไปสขู่ ้อเสนอแนะแก่ผูเ้ กีย่ วขอ้ ง จากภาพข้อมูลท่ีนักเรียนบันทึกผลการศึกษา เม่ือนาเสนอข้อมูลแบบปาก เปล่า นักเรียนได้เลือกการนาเสนอผลแบบตาราง เพื่อให้ครอบคลุมรายละเอียดที่ เกี่ยวข้อง และเพ่ือช่วยสอ่ื สารให้ผ้ฟู ังเห็นข้อมลู ได้อยา่ งรวดเรว็ จึงใช้สีเป็นตัวแทนของ - 77 -
อาหารแต่ละแบบ จะเห็นว่า นักเรียนคิดวิเคราะห์และเลือกใช้รูปแบบการนาเสนอที่ เหมาะสมโดยผนวกจดุ เดน่ เขา้ ด้วยกนั จากผลการศึกษา นักเรียนได้นาความรู้ทางชีววิทยาและพฤติกรรมของกุ้งท่ี สืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดข้ึนในจากการ ทดลอง โดยเลือกประเด็นท่ีเหมาะสม แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในเน้ือหา อยา่ งดีจนสามารถนาไปใช้ได้ - 78 -
นอกจากน้ี นักเรียนนาบริบทที่เก่ียวข้อง มาใช้ในการประเมินและตัดสินใจ โดยให้ข้อเสนอแนะแก่ผูเ้ กี่ยวขอ้ ง ดังรปู ด้านล่าง ภาพแสดงผังเหตุ-ผลของจากการใช้หัวใจไก่ตกกุ้งที่ส่งผลต่อนักตกกุ้งและ ผปู้ ระกอบการ จากสไลด์นาเสนอต้ังแต่ต้นจนจบจะเห็นว่า นักเรียนกลุ่มน้ีมีทักษะคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ ค่า ดังแสดงในการนาเสนอโครงงานศกึ ษาเหยื่อตกกงุ้ นี้ - 79 -
กรณศี กึ ษาตัวอย่างสไลด์นาเสนอ การนาเสนอข้อมูลต่างๆ ของนักเรียนยังมีความหลากหลาย ในส่วนน้ีผู้เขียน ได้คดั เลือกตวั อย่างสไลด์ที่มีความน่าสนใจ ชดั เจน และเข้าใจงา่ ยมาให้เรยี นรู้ อาทิ 1. การนาเสนอกรอบการวจิ ัยโดยใชภ้ าพเปรียบเทียบ และรวบรวมประเดน็ ที่เก่ียวข้องไว้ในสไลด์เพียง 1 หน้า จะเห็นว่า นักเรียนกลุ่มนี้ต้อง วิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยท่ีเก่ียวข้องก่อนจะสรุปเฉพาะแก่น หรือ สาระสาคัญของโครงงานตนเองไวใ้ นสไลด์เพียงหนา้ เดียว - 80 -
2. ตวั อย่างการนาเสนอวิธกี ารศกึ ษาท่ีง่าย กระชับ แสดงตัวแปรตน้ ตวั แปร ตาม และตัวแปรควบคุมอย่างชัดเจน อีกท้ังยังเลือกแสดงประเด็นท่ี เหมาะสมในการสื่อใหผ้ ฟู้ ังเหน็ กระบวนการศึกษาอย่างครบถว้ น 3. การนาเสนอผลการศึกษา โดยใช้ภาพจริงประกอบตารางแสดงผลเพ่ือ ช่วยในการแปลผลทส่ี มจริง - 81 -
4. การนาเสนอผลการศึกษา โดยใชส้ แี ละคาอธบิ ายเพ่ิมเติมเพื่อเน้นให้เห็น สว่ นสาคญั ของผลการศกึ ษา กรณีศึกษาตัวอยา่ งโปสเตอ์แบบอนิ โฟกราฟกิ (infographics) ยุคน้ีเป็นยุคทค่ี นให้ความสนใจกับภาพทีส่ ่อื ข้อมลู ท่ีชดั อาจอยู่ในรูปของภาพ ท่ีมีข้อความหรือคาอธิบายสั้นๆ ประกอบ หรือท่ีคุ้นเคยในนามอินโฟกราฟิก ในส่วนน้ี ผู้เขียนได้หยิบตัวอย่างของภาพอินโฟกราฟิกของนักเรียนท่ีทาโครงงานพัฒนาถังขยะ แบบกดท่เี หมาะกบั การใชใ้ นห้องน้า ดังภาพ - 82 -
จากภาพจะเห็นว่า นักเรียนเลือกประโยชน์และจุดเด่นของถังขยะแบบกดที่ พัฒนามาสอื่ สาร โดยใช้ภาพทแี่ สดงอากปั กริยาน้นั ประกอบ ดังที่กล่าวมาตลอดในบทน้ี การสือ่ สารน้ัน ผู้นาเสนอต้องคานึงถึงว่าผรู้ ับสาร สนใจที่จะฟังสารแบบไหน ในการสร้างอินโฟกราฟิก นักเรียนต้องท้ังคิดวิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกสารท่ีต้องการส่ือให้ตรงจุด นอกจากนี้ยังต้องคิดสร้างสรรค์ เพ่อื ออกแบบการนาเสนอใหเ้ หมาะกับข้อมูลท่ีตอ้ งการสอื่ ดว้ ย - 83 -
บทท่ี 7 การตระหนักรู้ การใช้ข้อเขยี นสะท้อนคดิ ประกอบการตีความ โดยเชื่อมโยงกบั พฤตกิ รรมที่คาดหวงั ของการตระหนกั รใู้ นตนเองจะสามารถ สะทอ้ นภาพการตระหนักรขู้ องผู้เรยี นแต่ละคนได้เป็นอย่างดี - 84 -
การตระหนักรู้ ทาไมตอ้ งตระหนักรู้ สังคมปัจจุบนั มีการเปลย่ี นแปลงอย่างรวดเรว็ มคี วามผนั ผวนและซับซ้อน จน อาจเกิดสภาวะวิกฤต ทาให้มนุษย์ในสงั คมไมอ่ าจแก้ไขปญั หาหรอื จัดการกับชวี ติ ตนได้ นับแต่ปี พ.ศ.2542 ท่ีประเทศไทยเริม่ ตื่นตัวเพื่อให้เกิดการปรบั ปรุงคุณภาพการศกึ ษา ทาให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น และคาว่า การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ได้ถกู กลา่ วถึงในวงกว้าง เน่อื งดว้ ยการจัดการเรยี นรูท้ ี่ยดึ เอาสาระวิชาเป็นตัวตั้งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเผชิญ กับโลกจริงในสังคมท่ีซับซ้อนได้ หัวใจสาคัญของการจัดการเรียนรู้จึงจาเป็นต้องจัด ประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์และบริบทจริง เพื่อให้เกิดการพัฒนา ครบทุกด้าน (กาย จิต อารมณ์ สังคม และสติปัญญา) ดังตัวอย่างแนวทางการจัดการ เรยี นรทู้ ่สี ามารถพฒั นาผู้เรียนทั้งทางด้านความคิดและสติปัญญาทีก่ ล่าวมาแลว้ ในบทน้ีผู้เขียนขอนาเสนอผลที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ นั่นคือ “การตระหนักรู้” อันเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ท่ีอาศัยหลักแนวคิดท่ีว่า การวิจัย คือเครื่องมือ พัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เกิดข้ึนในตัวผู้เรียน มิใช่ มุ่งผลลัพธ์ที่เกิดจากการรู้จา เพราะความรู้และทักษะเกิดจากประสบการณ์ตรงของ ผู้เรียน ภายใต้บริบททม่ี คี วามแตกต่างหลากหลาย การตระหนกั รู้ เป็นทกั ษะชีวิตทส่ี าคัญ กลา่ วได้ว่าเป็นรากฐานสาคัญท่ีทา ให้ผู้เรียนเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learner) เพื่อส่งผลให้บุคคลนั้น ดาเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข เพราะ บุคคลท่ีมีความตระหนักรู้ในตนเองจะสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นในด้านต่างๆ และสามารถแสดงออกพฤตกิ รรมอนั เหมาะสมในการดาเนินชวี ิตได้ - 85 -
นักจิตวิทยาบางท่านกล่าวไว้ว่า การตระหนักรู้ในตนเองเป็นหน่ึงใน องค์ประกอบหรือรากฐานท่ีสาคัญของความฉลาดทางอารมณ์ หรือ emotional intelligence (Goleman, 2001) การตะหนักรู้ในตนเองหรือ self-awareness เป็น ทักษะซ่ึงบอกความสามารถในการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของตนเองตามสภาพจริง สามารถประเมินเพ่ือค้นหาและเข้าใจจุดเด่น ข้อบกพร่องหรือข้อควรพัฒนาปรับปรุง ของตนเองตามความเป็นจริงเพ่ือสามารถเปล่ียนแปลงตนเองได้ รวมถึงเข้าใจความ แตกต่างระหว่างบุคคล การตระหนักรู้ในตนเอง จึงหมายรวมถึง การรู้เท่าทันในอาการ ทางกาย อารมณ์ และความนึกคิดของตนเองท่ีเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ รู้ว่าตนเอง คือใคร และ ตอ้ งการอะไร ความตระหนักรู้น้ี เกี่ยวข้องอย่างมากกบั ความภาคภูมใิ จใน ตนเอง หรือ self-esteem ซง่ึ หมายถงึ ความรู้สึกวา่ ตนเองมคี ณุ คา่ ค้นพบและภูมิใจใน ความสามารถด้านต่างๆของตนเอง มีความม่ันใจ และเช่ือม่ันในความสามารถของตน และมีความนับถือตนเอง ดังน้ันบุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองสูงจะสามารถเผชิญ อุปสรรคท่ีเกิดข้ึนอย่างม่ันใจ ยอมรับสถานการณ์ที่ทาให้ตนรู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ กล้า เผชิญด้วยความกล้าหาญและความหวังที่จะฝ่าฝันอุปสรรคน้ันได้ ทาให้มีความสุขและ ดาเนินชีวิตตามที่ตนปรารถนาได้อยา่ งดีและประสบความสาเร็จในท่ีสดุ (ชัยวัฒน์ วงศ์ อาษา, 2556; ยงยุทธ วงศ์ภริ มย์ศาสนต์ิ และ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, 2553) ปัญหาความยงุ่ ยาก เปน็ ท่รี ู้กันว่าการสรา้ งความตระหนักรใู้ ห้เกดิ ขนึ้ นั้นยากพอควร แลว้ ครูจะทา อยา่ งไรให้นกั เรียนเกิดการตระหนกั รู้ หรือได้รับการพฒั นาให้ดยี ิง่ ข้ึน มกั เป็นประเด็นที่ ครูมองขา้ ม ดว้ ยมัวกังวลกับทาอย่างไรให้ สอนทนั สอนจบ หรอื คะแนน O-NET สูงขน้ึ เป็นไปตามแนวทางหรือนโยบายที่โรงเรียนกาหนด ส่งผลให้ครูมุ่งบรรลุความรู้ท่ีต้อง ถ่ายทอด จนอาจละเลยการสร้างทักษะ เจตคติ หรือคุณลักษณะบางประการ ด้วย เหตุผลคือ ไม่มีเวลา (ข้อมูลจากท่ีผู้เขียนได้ฟังมา) ก็เป็นครูเพียงส่วนหน่ึงเท่าน้ันท่ีคิด และทาเช่นนี้ ปัจจุบันมีโรงเรียนทางเลือกและอีกหลายโรงเรียนในประเทศไทยท่ีมอง การณ์ไกล ใหค้ วามสาคัญกบั การพฒั นาทกั ษะอืน่ ควบคู่ไปกับความรู้ มองว่า การศกึ ษา - 86 -
ในปัจจุบันและอนาคต เด็กจาเป็นต้องมีทักษะมีความสามารถเพ่ือนาไปปรับใช้ในชีวติ และการทางาน โรงเรียนและคุณครูเหล่านั้นจึงพยายามปรับเปลี่ยนตนซ่ึงจะส่งผลให้ ผเู้ รียนสามารถปรบั เปล่ยี นพัฒนาผเู้ รยี นไดเ้ ชน่ กัน การตระหนักรู้ดังท่ีกล่าวแล้วว่าเป็นทักษะชีวิตที่สาคัญประการหนึ่ง สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ระบุให้ต้องวัดและประเมินผล ผู้เรียนอย่างสม่าเสมอ มีเอกสารตัวชี้วัด ให้ครูได้บันทึกผลการประเมิน ที่ครูต้องทา เอกสารดังกลา่ วใหค้ รบถ้วนสมบูรณ์ แต่ใครจะรวู้ ่ากว่าจะมาเป็นตัวเลขผลการประเมนิ น้ัน ควรทาอย่างไรบ้าง ข้อมูลนั้นตรงหรือสะท้อนความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด จาก คาอธิบายความหมายของความตระหนกั รแู้ ละเหน็ คุณคา่ ในตนเองและผอู้ ่ืน สพฐ. ไดใ้ ห้ คาอธิบายความหมายของความตระหนักรู้รวมไว้กับการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ไว้ว่า การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้ความถนัด ความสามารถ รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยที่การเห็นคุณค่าในตนเองจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับ ความรัก การยอมรับ คาช่ืนชมจากบุคคลรอบข้าง เป็นความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ ทาให้ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สาหรับการเห็นคณุ คา่ ในผอู้ ่ืน จะเกิดขึ้นเม่ือผเู้ รียนยอมรับความ แตกต่างระหว่างกัน เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น ชื่นชมและมองเห็นด้านดีของ - 87 -
ผู้อื่น และไม่ตัดสินคุณค่าของคนจากสิ่งภายนอก ดังนั้นการตระหนักรู้และการเห็น คุณค่าในตนเองและผู้อื่น จึงมีความเก่ียวข้องสัมพันธ์กัน เพราะท้ังคู่ได้รับการพัฒนา หรือเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้สัมผัสและทดลองทาจนสาเร็จ เป็นผลจากการท่ี แต่ละคนน้ันรู้ความถนัดของตน ยอมรับในข้อจากัด รู้จุดแข็ง จุดอ่อน จนนาไปสู่การ ฝึกฝน ความหมนั่ เพียร ภายใต้สภาวะแวดลอ้ มและปัจจยั เกื้อหนุนทางบวก ครผู ้สู อนจงึ เป็นบคุ คลสาคัญทีช่ ว่ ยพฒั นาทักษะน้ีได้ (แผนงานสร้างเสริมสขุ ภาพจติ , 2555) เปิดใจต่างได้เรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (RBL) ส่ิงหน่ึงสาหรับครูที่เข้าร่วม โครงการได้ตกตะกอนต่อการออกแบบการเรียนรู้ คือ การใช้จิตตปัญญา ใช้จิตวิทยา เชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ ใช้กิจกรรมเพื่อปรับเปิดฐานใจ เปิดพื้นที่ให้เด็กนักเรียน รสู้ กึ ปลอดภัย มอี สิ ระ รู้จัก เข้าใจตนเองและผู้อ่ืน กิจกรรมตา่ งๆ ทถี่ กู ออกแบบอย่างมี ความหมาย เพอื่ ให้เด็กได้ฟงั อย่างลึกซ้ึง จนได้เรียนรู้ผา่ นการตกตะกอนความคิด ได้พบ คุณค่าขององค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนของตนเอง หรือได้สัมผัสจน เกิดประสบการณ์ที่มีความหมายซ่ึงเก่ียวข้องกับบริบทจรงิ ของเขาเอง ไม่ใช่การบอกให้ จาหรือเป็นอานาจส่ังให้ทาจากครู ครูฟังเด็ก เด็กฟังครู อิสรภาพเกิดข้ึน คุณค่าความ เป็นมนุษย์ถูกพัฒนาทั้งครูและเด็ก การลงมือทาโครงงานอันเป็นภาระงานท่ีท้าทาย ผ่านกันมาด้วยความยากลาบาก ต้องอดทน เพียรพยายาม ร่วมกันทางานเป็นทีม และ แลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกันท้ังห้องเรียน พัฒนาการของผู้เรียนท่ีเกิดจากสถานการณ์ ประสบการณ์ จากปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ส่ิงแวดล้อม ปฏิกิริยา โต้ตอบไปมา ทาให้ขอบเขตการรับรู้ของเขาหล่าน้ันขยายกว้างข้ึน เกิดการเรียนรู้และ เติบโตข้ึนทั้งท่ีมาจากความสาเร็จหรือล้มเหลว น่ันคือ ส่ิงที่ผู้เรียนต้องเผชิญ แก้ไขเอง ตามภาระงานท่เี ขามีอสิ ระเลอื กเอง กาหนดเอง และน่ันคอื โอกาสและอสิ รภาพท่ีผเู้ รยี น ได้จากครู เป็นพลังสาคัญท่ีคอยเดินเคียงข้าง ประคับประคองไปกับผู้เรียน ใช้การฟัง และป้อนคาถาม เพื่อช่วยย่อยสิ่งตา่ งๆให้ผเู้ รียนได้คอ่ ยๆ ใคร่ครวญ ค้นหาคาตอบผา่ น วิธีการของผู้เรียนเอง ความใส่ใจของครูและคาถามท่ีครูคอยป้อนให้คิด จึงเป็นเหมือน - 88 -
แสงจากตะเกียงที่ให้ท้ังความอบอุ่นและความสว่าง เป็นแนวทางให้ผู้เรียนเดินไปสู่ จุดหมายปลายทางที่เขาเป็นผู้กาหนด การประเมินจึงสามารถทาได้เป็นธรรมชาตแิ ละ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะจากพฤติกรรม คาพูด การสนทนาโต้ตอบ การนาเสนอผลงาน ตลอดจนการพูดคุย การเขียนสะท้อนเพือ่ บอกความรู้สกึ อารมณ์ ความคิด ครูมีหนา้ ที่ สาคัญคือเฝ้าติดตามประเมินเพ่ือดูการพัฒนา (formative assessment) จากการ บันทึกเก็บรวบรวมข้อมลู ตา่ งๆ ทง้ั โดยตรงจากครู นกั เรยี น และผ้เู ก่ียวขอ้ งคนอื่นๆ เพ่อื นามาแปลผล จากพฤติกรรม คาพูด ข้อคาถามท่ีปรากฏจากเกณฑ์ท่ีครูต้องสร้างขึ้น ดังน้ัน การวัดและประเมินผลจึงมีความสาคัญเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาได้ตรง ประเด็น ตัวช่วยการประเมนิ สานักวิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา (2554) ได้ระบุตัวชี้วดั และพฤติกรรม ท่ีคาดหวัง เพื่อเป็นแนวทางหรือตัวช่วยให้ครูสามารถระบุพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้ อย่างถกู ต้อง ดงั แสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 พฤติกรรมทักษะชวี ิตที่คาดหวังและตวั ช้วี ดั ท่ีเก่ียวขอ้ งกบั การตระหนกั รู้และเห็นคณุ ค่าใน ตนเองและผอู้ ่ืน สาหรบั ระดบั มธั ยมศึกษา (สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา, 2554, หนา้ 6) พฤติกรรมทักษะชีวติ ทีค่ าดหวัง ตวั ช้วี ดั 1. ร้จู กั ความถนัด ความสามารถและ 1.1 วิเคราะห์ความถนัด ความสามารถ ของตนเองได้ บุคลกิ ภาพของตนเอง 1.2 วิเคราะหล์ กั ษณะสว่ นตน อปุ นิสยั และคา่ นยิ ม ของตนเองได้ 2. รู้จกั จดุ เดน่ จดุ ดอ้ ยของตนเอง 2.1 วิเคราะห์จดุ เด่นจดุ ด้อยของตนเองได้ 2.2 กาหนดเปา้ หมายในชวี ิตของตนเองได้อย่าง เหมาะสม 3. ยอมรบั ความแตกต่างระหวา่ งตนเอง 3.1 ยอมรบั ในความแตกต่างทางความคดิ ความรสู้ กึ และผู้อ่นื และพฤติกรรมของตนเองและผอู้ ื่นได้อยา่ งมีเหตผุ ล 4. มองตนเองและผ้อู ื่นในแง่บวก 4.1 สะท้อนมมุ มองท่ีดขี องตนเองและผูอ้ น่ื ได้ - 89 -
พฤติกรรมทกั ษะชวี ติ ทีค่ าดหวัง ตวั ชว้ี ดั 5. รกั และเหน็ คณุ ค่าในตนเองและผูอ้ นื่ 5.1 แสดงความรสู้ ึกรักและเห็นคุณค่าในตนเองและ ผู้อ่นื ได้ 6. มคี วามภาคภูมิใจในตนเองและผอู้ ืน่ 5.2 นาเสนอคณุ ลกั ษณะท่ดี มี ีคณุ คา่ ของตนเองและ ผู้อ่นื ได้ 7. มคี วามความเชือ่ มน่ั ในตนเองและ 6.1 แสดงความรสู้ กึ ภาคภูมใิ จในความสามารถ ความ ผู้อ่ืน ดีของตนเองและผู้อื่น 6.2 แสดงความสามารถและความดีงามท่ตี นเอง 8. เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ภาคภมู ิใจ ใหผ้ ้อู น่ื รับรู้ได้ 7.1 กลา้ แสดงออกทางความคิด ความรสู้ กึ และการ 9. มที ักษะในการกาหนดเปา้ หมายและ กระทาของตนเองดว้ ยความมนั่ ใจ ทิศทางสูค่ วามสาเร็จ 7.2 ยอมรบั ในความคดิ ความร้สู กึ และการกระทาทดี่ ี ของผู้อ่นื 8.1 เคารพในสทิ ธิของตนเองและผอู้ ื่นตามวถิ ี ประชาธิปไตย 8.2 ปฏิบตั ิตามสิทธขิ องตนเอง 9.1 กาหนดทิศทางและวางแผนการดาเนินชีวติ ไปสู่ เป้าหมาย หรอื ความสาเรจ็ ทตี่ นเองคาดหวังได้ 9.2 ปฏิบตั ติ ามแผนการดาเนนิ ชีวติ ทก่ี าหนดไวแ้ ละ ปรบั ปรุง ให้มโี อกาสประสบความสาเรจ็ ตามเป้าหมาย ได้ เนื่องจากทักษะชีวิตเป็นทักษะพื้นฐาน ดังนั้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทักษะเหลา่ นจ้ี ึงไมไ่ ดย้ ึดตดิ กบั สาระวิชาใด สามารถบรู ณาการเข้ากบั 8 สาระการเรยี นรู้ ใดก็ได้ เพียงแต่จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่มีความหมายต่อชีวิตและบริบทในชุมชนของตน กระบวนการสาคัญท่ี สพฐ. ได้แนะนาไว้คือ เทคนคิ คาถาม R-C-A หมายถงึ เมอ่ื เสร็จ สิ้นกิจกรรมการเรียนรู้ใดๆ ผู้สอนจะใช้ประเด็นคาถามให้นักเรียนเกิดการสะท้อนคิด (reflect) การเช่อื มโยง (connect) และการประยุกต์ (apply) ไปสูบ่ ริบทอ่ืนๆ - 90 -
เนอ่ื งจากประเทศไทยใหค้ วามสาคัญเรื่องสมรรถนะของผเู้ รยี นเป็นสาคญั ทา ให้การวัดและประเมินผลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตเหล่าน้ี ใช้การสังเกต พฤติกรรมในชั้นเรียนควบคู่กับ rubric ที่ สพฐ. ได้กาหนดใหใ้ นคู่มอื ประเมนิ สมรรถนะ สาคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ปรากฏตวั ชวี้ ัดทีส่ มั พันธ์กบั ดา้ นความสามารถในการใช้ทักษะชวี ิต โดยการประเมินนไ้ี ด้ ถกู แบง่ ออกเปน็ 3 สว่ นคอื แบบประเมนิ ทใ่ี ห้ผู้สอนประเมนิ ผเู้ รยี นประเมนิ ตนเอง และ เพ่ือนประเมินผู้เรียน (สานักทดสอบทางการศึกษา, 2555) สาหรับสมรรถนะที่ครู ประเมินผู้เรียนด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตนั้น ได้กาหนด rubric ประกอบการประเมิน ดังแสดงตัวอย่างตัวชี้วัดย่อยที่ 4.2 เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ อยา่ งตอ่ เนือ่ ง ในตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 ตวั อยา่ ง Rubric ประกอบการประเมนิ สมรรถนะดา้ นเรยี นรดู้ ้วยตนเองและเรียนรอู้ ย่าง ต่อเนอื่ ง (สานกั ทดสอบทางการศกึ ษา, 2555, หนา้ 29) พฤติกรรมบง่ ชี้ ระดบั คณุ ภาพ ดเี ย่ยี ม ดี พอใช้/ผ่าน ปรับปรุง (3) (2) เกณฑ์ขั้นต่า (0) (1) มวี ิธีการใน มีวิธกี ารที่ มวี ิธีการที่ มวี ิธกี ารใน มีวธิ ีการใน การศึกษา หลากหลายใน หลากหลายใน การศึกษา การศกึ ษา ความรูเ้ พิ่มเติม การศกึ ษา การศกึ ษา ค้นคว้า คน้ ควา้ ข้อมลู เพ่อื ขยาย ค้นคว้า ขอ้ มูล คน้ ควา้ ขอ้ มลู ข้อมลู ขา่ วสารที่ ขา่ วสาร แตไ่ ม่ ประสบการณ์ ขา่ วสาร ข่าวสาร ไม่หลากหลาย สามารถสรา้ ง ไปส่กู ารเรียนรู้ เพื่อสรา้ ง เพื่อสรา้ ง เพ่ือสร้าง ประเด็นการ สิ่งใหม่ และ ประเด็นการ ประเดน็ การ ประเด็นการ เรียนร้ใู หม่ๆ สร้างองค์ความรู้ เรียนรใู้ หม่ๆ ที่ เรยี นรูใ้ หม่ๆ ที่ เรยี นรใู้ หม่ ๆ ที่ ตามความสนใจ เป็นประโยชน์ เปน็ ประโยชน์ เปน็ ประโยชน์ อย่างต่อเนอ่ื ง ตามความสนใจ ตามความสนใจ ตามความสนใจ อย่างตอ่ เนื่อง ได้ - 91 -
สาหรับสมรรถนะเก่ียวกับความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตที่ระบุให้ผู้เรียน ประเมินตนเอง มีลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า (rating scale) ตัวอย่างข้อ คาถามท่ใี ห้ผ้เู รียนประเมนิ ตนเอง เชน่ 1) ข้าพเจ้ารู้สกึ ว่างานทไ่ี มเ่ คยทาเปน็ งานทีท่ ้าทายความสามารถ 2) ขา้ พเจา้ ร้สู ึกมีความกระตือรือรน้ ทจี่ ะไดเ้ รียนรสู้ ิง่ ใหมๆ่ 3) ขา้ พเจา้ รสู้ ึกมีความสุขที่ได้ชว่ ยเหลือเพื่อน ครู ครอบครวั และผอู้ น่ื เมอื่ มีโอกาส 4) ขา้ พเจา้ สรา้ งชิ้นงานแปลกใหม่ท่มี ปี ระโยชน์จากจินตนาการของขา้ พเจา้ 5) ขา้ พเจา้ มีการแลกเปลยี่ นเรียนรกู้ บั บคุ คลอน่ื 6) ข้าพเจ้าเชือ่ มโยงความรูต้ ่างๆ เพอ่ื นาไปสู่การเรียนรู้ใหมๆ่ 7) ขา้ พเจ้าจัดหมวดหมู่ความรู้ทไี่ ดจ้ ากการศึกษาค้นคว้า 8) ข้าพเจ้าบันทึกข้อมูลท่ีได้จากแหล่งเรียนรู้ท้ังภายในและภายนอก โรงเรียน/ชมุ ชน 9) ขา้ พเจา้ ใชเ้ วลาวา่ งในการปฏบิ ตั ิกิจกรรมท่เี ปน็ ประโยชน์ เพ่ือผอ่ นคลาย ความเครยี ด 10) ข้าพเจ้าคดิ ว่าข้าพเจา้ มคี วามม่งุ มนั่ ศกึ ษาหาความร้ใู นเร่อื งทส่ี นใจ จากข้อมูลข้างต้น ท่ีว่าการวัดและประเมินความตระหนักรู้ถกู บูรณาการรวม กับทักษะชีวิต และจากตารางแสดงพฤติกรรมทักษะชีวิตทค่ี าดหวังและตัวช้ีวัดที่ สพฐ. ให้เป็นแนวทาง เราสามารถออกแบบหรือย่อยเพิ่มเติม เพ่ือนาไปสู่ทักษะชีวิตที่เรา ต้องการ โดยใช้การสงั เกตพฤติกรรมขณะผเู้ รียนทางานในช้ันเรียน ควบคู่กับ rubric ที่ เราสร้างขึ้นแองและ rubric ท่ี สพฐ. กาหนดไว้ในคู่มือ หรือการถอดข้อมูลจากการ สนทนา สัมภาษณ์ หรือการเขียนสะท้อนคิดตาม rubric ที่เรากาหนด ผู้เขียนได้ลอง สร้าง rubric เพื่อใช้ให้คะแนนการเขียนสะท้อนคิดในส่วนของการตระหนักรู้ ดัง แสดงในตารางที่ 3 - 92 -
ตารางที่ 3 ตวั อย่าง Rubric ประกอบการประเมินการตระหนกั รู้ จากการเขยี นสะทอ้ นคิดโดยผเู้ รยี น พฤติกรรมบง่ ช้ี ระดบั คุณภาพ ดีเยีย่ ม (3) ดี (2) พอใช้ (1) ปรับปรุง (0) ร้จู ักความถนัด สามารถระบุ รู้วา่ ตนเองมี รู้ว่าตนเองมี ไมค่ ดิ ว่าตนเองมี ความสามารถ ความสามารถ ความถนดั ใน ความสามารถใน ความสามารถใน และบคุ ลิกภาพ ของตนเอง และ ดา้ นในดา้ นหน่ึง บางเรื่องทต่ี น การทางานใดๆ/ ของตนเอง ร้วู ิธหี รอื หรือหลายดา้ น สนใจ แต่ยังไม่ หรอื พฒั นา แนวทางให้ แต่เปน็ ความ เช่อื มนั่ วา่ ตนเอง ตนเองได้ พัฒนาได้ สามารถทจี่ ากดั สามารถพัฒนา เพ่มิ เตมิ รวมถงึ อย่เู ฉพาะเร่อื งท่ี ได้ แสดงออกถึง ตนสนใจเทา่ น้นั ความสนใจใน การพัฒนา ความสามารถใน ดา้ นทตี่ นไม่ ถนดั /ไม่สนใจ เห็นคณุ ค่าและมี ระบคุ ณุ ลกั ษณะ ระบุคุณลักษณะ ระบุคณุ ลกั ษณะ ไมค่ ดิ ว่าตนเองมี ความภาคภูมิใจ ทด่ี ีของตนเองได้ ทดี่ ี/คุณคา่ ของ ท่ีดี/คุณค่าของ คณุ ค่าหรือ ในตนเอง อยา่ งครบถว้ น ตนเองได้ ตนเองไดอ้ ยา่ ง สามารถ เชอ่ื ม่นั ว่าตนเอง แสดงออกถงึ จากดั ไม่ สรา้ งสรรค์ มีคุณคา่ ความภาคภูมใิ จ แสดงออกถงึ ช้นิ งานที่ดหี รือมี แสดงออกถงึ ในชิ้นงาน/ ความภาคภูมิใจ ประโยชน์ได้ ความภาคภูมใิ จ ผลงานทต่ี นได้ ในช้นิ งาน/ ในชิ้นงาน/ พฒั นาขนึ้ ผลงานทตี่ นได้ ผลงานของตน พัฒนาขน้ึ วา่ มปี ระโยชน์ ตอ่ ชุมชน/สงั คม - 93 -
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124